directions_run

ชุมชนประมงพื้นบ้านอนุรักษ์ ฟื้นฟูทะเลหน้าบ้านบางปออย่างยั่งยืน

แบบการติดตามประเมินผลการดำเนินกิจกรรมของโครงการ (Process Evaluation)

กิจกรรมระยะเวลาเป้าหมาย/วิธีการผลการดำเนินงานปัญหา/อุปสรรค/แนวทางแก้ไข
ตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริง
เพื่อให้ชาวประมงพื้นบ้านมีความรู้ความเข้าใจและมีความตระหนักใส่ใจต่อการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรประมงชายฝั่งอย่างยั่งยืน 1 ก.ค. 2566

 

 

 

 

 

เพื่อให้เกิดกลไกการทำงานที่มีประสิทธิภาพ 1 ก.ค. 2566

 

 

 

 

 

เพื่อให้เกิดการบริหารที่มีประสิทธิภาพ(หมวดบริหารโครงการกับ สสส.) 1 ก.ค. 2566

 

 

 

 

 

เพื่อให้เกิดการปรับสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการอนุรักษ์ ฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่ง 1 ก.ย. 2566

 

 

 

 

 

เพื่อให้แกนนำมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทางสุขภาวะตนเอง โดยการปรับพฤติกรรมการบริโภคอาหารทะเลปลอดภัย จากพื้นที่ 1 มี.ค. 2567

 

 

 

 

 

เก็บและจัดทำข้อมูลฐานทรัพยากรสัตว์น้ำชายฝั่งและการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ดำเนินโครงการ 1 ก.ค. 2566 1 ก.ค. 2566

 

1.ออกแบบ จัดทำแบบสอบถาม 2.นำแบบสอบถามลงเก็บข้อมูลฯ 3. จัดทำรายงานข้อมูลฐานทรัพยากรสัตว์น้ำชายฝั่งและการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ดำเนินโครงการ

 

  • ข้อมูลทั่วไปชุมชนบ้านบางปอ
  • ชนิด ประเภทพันธุ์สัตว์น้ำ ชายฝั่งทะเลในพื้นที่
  • เครื่องมือประมงพื้นบ้านที่ชาวประมงใช้ในการประกอบอาชีพ
  • เศรษฐกิจชุมชนประมง เป็นต้น

 

การประชุมปฐมนิเทศโครงการแผนงานร่วมทุนสนับสนุนการสร้างสุขภาวะในพื้นที่ชุมชนประมงพื้นบ้าน 5 จังหวัดชายฝั่งทะเล ครั้งที่ 1 13 ก.ค. 2566 13 ก.ค. 2566

 

1.ชี้แจงความเป็นมาของโครงการ 2.เป้าประสงค์ของโครงการ 3.ชี้แจงการดำเนินโครงการทั้ง 3 ขนาด 4.ชี้แจงการจัดทำการเงิน บัญชี รายงานต่างๆ 5.การบันทึกข้อมูลผลการดำเนินงานลงในระบบออนไลน์

 

1.ผู้เข้าร่วมประชุมและผู้รับทุนโครงการฯมีความเข้าใจความเป็นมาของโครงการแผนงานร่วมทุนสนับสนุนการสร้างสุขภาวะในพื้นที่ชุมชนประมงพื้นบ้าน 5 จังหวัดชายฝั่งทะเล 2.ผู้เข้าร่วมประชุมมีความเข้าใจในเป้าประสงค์ของโครงการฯ 3.ผู้เข้าร่วมประชุมมีความเข้าใจลักษณะของโครงการที่ได้รับการพิจารณาให้ดำเนินการรับทุนสนับสนุน 4.ผู้เข้าร่วมประชุมสามารถจัดทำระบบการเงิน บัญชี และรายงานต่างๆในการดำเนินโครงการได้ 5.ผู้เข้าร่วมประชุมสามารถบันทึกข้อมูลผลการดำเนินงานผ่านระบบออนไลน์ได้

 

การประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการ ครั้งที่ 1 29 ก.ค. 2566 29 ก.ค. 2566

 

  1. ชี้แจงชุมชนประมงพื้นบ้านอนุรักษ์ ฟื้นฟูทะเลหน้าบ้านบางปออย่างยั่งยืน แผนงานร่วมทุนสนับสนุนการ
        สร้างสุขภาวะในพื้นที่ชุมชนประมงพื้นบ้าน 5 จังหวัดชายฝั่งทะเล
  2. ตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนกิจกรรมต่างๆ
  3. กำหนดแผนงาน และวางกรอบการทำงาน

 

มีคณะทำงาน จำนวน 10 คน

 

การประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการ ครั้งที่ 2 19 ส.ค. 2566 19 ส.ค. 2566

 

  1. ชี้แจงแผนงานโครงการ
  2. แบ่งหน้าที่ประสานการทำงาน
  3. กำหนดเป้าหมายผู้เข้าร่วมกิจกรรม

 

มีคณะทำงานตามแผนงานโครงการฯจำนวน 10 คน

 

การประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการ ครั้งที่ 3 1 ก.ย. 2566 1 ก.ย. 2566

 

  1. ชี้แจงแผนงานโครงการ
  2. แบ่งหน้าที่ประสานการทำงาน
  3. กำหนดเป้าหมายผู้เข้าร่วมกิจกรรม

 

1.มีคณะทำงานจำนวน 16 คน เข้าร่วมการประชุม 2.เกิดการวางแผนการดำเนินกิจกรรมในแผนงานต่อไป 3.เกิดการกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่จะเข้าร่วมกิจกรรมตามแผนงาน 4.คณะทำงานโครงการมีการแบ่งบทบาทหน้าที่กันทำ

 

จัดเวทีสร้างความรู้ความเข้าใจด้านการอนุรักษ์ ฟื้นฟูและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรประมงชายฝั่ง 4 ก.ย. 2566 4 ก.ย. 2566

 

1.ทำความเข้าใจด้านการอนุรักษ์ ฟื้นฟูและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรประมงชายฝั่ง   อย่างยั่งยืน โดยมีวิทยากรมาให้ข้อมูลแลกเปลี่ยนประสบการณ์. 2.ทบทวนบทเรียนการฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่งทะเลชุมชน 3.จัดทำรายงานสรุปผลจากการจัดเวทีฯ

 

ชาวประมงพื้นบ้านมีความรู้ความเข้าใจและมีความเข้าใจต่อการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรประมงชายฝั่งที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตชุมชน

 

การจัดทำป้าย สสส. และโลโก้ปลอดบุหรี่ 4 ก.ย. 2566 4 ก.ย. 2566

 

1.ออกแบบป้าย 2.จ้างจัดทำป้าย

 

1.มีป้าย สสส.และโล้โก้ปลอดบุหรี่ ติดตั้งไว้ที่สถานที่ดำเนินโครงการ

 

จัดเวทีประชุมทำแผนปฏิบัติการอนุรักษ์ ฟื้นฟูและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรประมงชายฝั่งอย่างยั่งยืน 15 ก.ย. 2566 15 ก.ย. 2566

 

1.ทำความเข้าใจกับการจัดทำแผนการจัดการทรัพยากรประมงชายฝั่งแบบมีส่วนร่วมที่ดี โดยมีวิทยากร   เข้าร่วมแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในเวที 2.ระดมความคิดเห็นในการจัดทำแผนฯ 3. จัดทำรายงานสรุปผลจากการจัดเวทีฯ

 

1.องค์กรชุมชนประมงพื้นบ้านมีแผนการอนุรักษ์ฟื้นฟูและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรประมงชายฝั่ง 2.ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้แสดงความคิดเห็น มีประเด็น เช่น   - กลุ่มประมงพื้นบ้านควรจัดทำแนวเขตอนุรักษ์ทะเลชุมชนให้มีความชัดเจนอยู่สม่ำเสมอ   - ควรมีการปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ เช่น ปลากะพงขาว กุ้งแชร์บ้วย อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง   - ควรมีการจัดทำบ้านปลาทุกๆปี อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง   - ควรมีการจัดตั้งธนาคารสัตว์น้ำชายฝั่งทะเล เช่น ธนาคารปูม้า ธนาคารแม่พันธุ์กุ้งแชร์บ้วย เป็นต้น

 

การประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการ ครั้งที่ 4 12 ต.ค. 2566 12 ต.ค. 2566

 

  1. ประชุมคณะทำงานเดือนละ 1 ครั้ง
  2. ตั้งคณะทำงานขับเคลื่่อนกิจกรรมตามแผนงานโครงการ
  3. กำหนดมาตราการแผนงาน และวางกรอบการทำงาน

 

1.คณะทำงานขับเคลื่อนโครงการเข้าร่วมประชุมปรึกษาหารือกันอย่างพร้อมเพรียง 2.มีการแบ่งบทบาทหน้าที่กัน เช่น การทำเอกสาร การประสานงานในการจัดกิจกรรมครั้งต่อไป 3.การกำหนดวันเวลาที่เหมาะสมในการจัดกิจกรรมครั้งต่อไป 4.ทำความเข้าใจกรอบเนื้อหาการทำงานต่อไป

 

จัดเวทีประชุมสร้างกฎกติกาและกำหนดเขตอนุรักษ์ชายฝั่งทะเลชุมชน 19 ต.ค. 2566 19 ต.ค. 2566

 

  1. การทำความเข้าใจในการสร้างกฎกติกาและกำหนดเขตอนุรักษ์ชายฝั่งทะเลชุมชน     ที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตชุมชน โดยมีวิทยากรผู้มีประสบการณ์เข้าร่วมแลกเปลี่ยนในเวที
  2. ระดมความคิดเห็นในการจัดทำกฎกติกาและกำหนดเขตอนุรักษ์ชายฝั่งทะเลชุมชน
  3. จัดทำรายงานสรุปผลจากการจัดเวทีฯ

 

  1. เครือข่ายประมงพื้นบ้านบางปอมีความเข้าใจถึงเหตุผลสำคัญที่จะต้องมีกฎ กติกาในการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรประมงชายฝั่งทะเล
  2. สรุปประเด็นข้อห้ามที่สำคัญ มีดังนี้     ห้ามดำเนินการหรือกิจกรรมใดๆ ในเขตอนุรักษ์ทรัพยากรประมงชายฝั่งทะเลบ้านบางปอ ดังนี้ 2.1 ทำการประมงด้วยเครื่องมือประมงและไม่ใช้เครี่องมือประมงในเขตอนุรักษ์ 2.2 ให้อาหารโลมาเพื่อการท่องเที่ยว 2.3 การทิ้งของเสีย ขยะ น้ำเสีย ลงบริเวณชายหาด ลงทะเล และบริเวณแนวปะการัง 2.4 จับ เก็บ กักขัง หรือล่อสิ่งมีชีวิตในเขตอนุรักษ์เพื่อให้นักท่องเที่ยวดู 2.5 การปลูกสร้าง วางท่อดูดหรือระบายน้ำทิ้งในเขตอนุรักษ์ ยกเว้นได้รับอนุญาตตามกฎหมาย 2.6 ดำเนินกิจกรรมใด ๆ พื้นที่เขตอนุรักษ์ หรือบริเวณชายหาดและชายฝั่ง ที่มีผลกระทบกับ ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 2.7 การทำประมงแบบใช้เครื่องมืออวนลาก อวนรุน หรือการทำประมงแบบผิดกฎหมายประมง พ.ศ. 2560 2.8 ทำการประมงด้วยเครื่องมือประมงและวิธีการทำประมงที่เป็นอันตรายต่อโลมา เต่าทะเล วาฬ ฉลามวาฬ ปะการัง และสัตว์ทะเลหายากอื่นๆ 2.9 จับปูลม ตลอดแนวชายฝั่งที่อยู่ในบริเวณเขตอนุรักษ์ 2.10 ห้ามจับปลิงทะเลตลอดแนวที่ประกาศเขตอนุรักษ์

 

จัดเวทีสรุปผลการดำเนินงาน (ARE) ครั้งที่ 1 22 ต.ค. 2566 22 ต.ค. 2566

 

  1. ประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนงานทั้งหมดและสมาชิกกลุ่มประมงพื้นบ้านบางปอ มีประเด็นสำคัญดังนี้     - สรุป ติดตาม ทบทวนกิจกรรมในรอบ 4 เดือน ในส่วนของกิจกรรมที่ได้ดำเนินการไปแล้ว       - การสร้างความรู้ ความเข้าใจด้านการอนุรักษ์ ฟื้นฟูและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรประมงชายฝั่ง         - สิ่งที่ขาดตกบกพร่อง         - คุณประโยชน์ที่ได้รับ     - การจัดทำแผนด้านการอนุรักษ์ ฟื้นฟูและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรประมงชายฝั่ง           - อุปสรรค         - คุณประโยชน์ที่ได้รับ     - การสร้างกฎกติกาและกำหนดเขตอนุรักษ์ชายฝั่งทะเลชุมชน           - ปัญหา           - สิ่งที่ต้องปรับปรุงแก้ไข           - ประโยชน์ที่ได้รับ
  2. กำหนดแผน วางกรอบในพัฒนากิจกรรมครั้งต่อไป

 

สรุป ติดตาม ทบทวนกิจกรรมในรอบ 4 เดือน ในส่วนของกิจกรรมที่ได้ดำเนินการไปแล้ว มีผลที่เกิดขึ้นพอสังเขป ดังนี้       - การสร้างความรู้ ความเข้าใจด้านการอนุรักษ์ ฟื้นฟูและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรประมงชายฝั่ง         สมาชิกประมงพื้นบ้านและผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ทบทวนสิ่งที่ขาดตกบกพร่อง         และประโยชน์ที่ได้รับจากการให้ความรู้และการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกัน     - การจัดทำแผนด้านการอนุรักษ์ ฟื้นฟูและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรประมงชายฝั่ง           - อุปสรรค เช่น แผนที่ไม่ได้รับการตอบสนอง แผนที่เกินกำลังความสามารถที่จะดำเนินการได้         - คุณประโยชน์ที่ได้รับ เช่น เป็นข้อมูลรองรับการสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และทิศทางการทำงานของเครือข่ายประมงพื้นบ้าน     - การสร้างกฎกติกาและกำหนดเขตอนุรักษ์ชายฝั่งทะเลชุมชน           - ปัญหา เช่น การไม่ยอมรับในการปฏิบัติ           - สิ่งที่ต้องปรับปรุงแก้ไข เช่น สร้างกติกาที่ทุกฝ่ายให้การยอมรับและสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง           - ประโยชน์ที่ได้รับ เช่น เป็นการฟื้นฟูทะเลที่ยั่งยืน ในเมื่อไม่มีใครทำการประมงผิดกฎหมายและผิดกติกาชุมชน 2. กำหนดแผน วางกรอบในพัฒนากิจกรรมครั้งต่อไป

 

การประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการ ครั้งที่ 5 5 พ.ย. 2566 5 พ.ย. 2566

 

  1. ประชุมคณะทำงานเดือนละ 1 ครั้ง
  2. ตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนชุดต่างๆ
  3. กำหนดมาตราการแผนงาน และวางกรอบการทำงาน

 

1.มีคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการเข้าร่วมประชุม จำนวน 13 คน 2.ผู้รับผิดชอบโครงการได้มีการชี้แจงกิจกรรมตามแผนงานโครงการ 3.เกิดการแบ่งหน้าที่กันในการช่วยกันดำเนินกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นตามแผนงานโครงการ

 

การประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการ ครั้งที่ 6 3 ธ.ค. 2566 3 ธ.ค. 2566

 

  1. ประชุมคณะทำงานเดือนละ 1 ครั้ง
  2. ตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนกิจกรรมตามแผนงานโครงการ
  3. กำหนดมาตรการแผนงาน และวางกรอบการทำงาน

 

1.มีคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการเข้าร่วมประชุม จำนวน 11 คน 2.ผู้รับผิดชอบโครงการได้มีการชี้แจงกิจกรรมตามแผนงานโครงการ 3.เกิดการแบ่งหน้าที่กันในการช่วยกันดำเนินกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นตามแผนงานโครงการ

 

การประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการ ครั้งที่ 7 7 ม.ค. 2567 7 ม.ค. 2567

 

  1. ประชุมคณะทำงานเดือนละ 1 ครั้ง
  2. ตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนกิจกรรมตามแผนงานโครงการ
  3. กำหนดมาตรการแผนงาน และวางกรอบการทำงาน

 

1.มีคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการเข้าร่วมประชุม จำนวน 10 คน 2.ผู้รับผิดชอบโครงการได้มีการชี้แจงกิจกรรมตามแผนงานโครงการ 3.เกิดการแบ่งหน้าที่กันในการช่วยกันดำเนินกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นตามแผนงานโครงการ

 

การประชุมโครงการแผนงานร่วมทุนสนับสนุนการสร้างสุขภาวะในพื้นที่ชุมชนประมงพื้นบ้าน 5 จังหวัดชายฝั่งทะเล ครั้งที่ 2 29 ม.ค. 2567 29 ม.ค. 2567

 

1.ชี้แจงความเป็นมาของการประชุม
2.เป้าประสงค์ของการประชุม 3.รายงานความก้าวหน้าการดำเนินโครงการทั้ง 3 ขนาด
4.ทบทวนการจัดทำการเงิน บัญชี รายงานต่างๆ
5.การบันทึกข้อมูลผลการดำเนินงานลงในระบบออนไลน์

 

1.ผู้เข้าร่วมประชุมและผู้รับทุนโครงการฯมีความเข้าใจการจัดประชุมของโครงการแผนงานร่วมทุนสนับสนุนการสร้างสุขภาวะในพื้นที่ชุมชนประมงพื้นบ้าน 5 จังหวัดชายฝั่งทะเล 2.ผู้เข้าร่วมประชุมมีการรายงานความก้าวหน้าการดำเนินโครงการทั้ง 3 ขนาด 3.ผู้เข้าร่วมประชุมมีความเข้าใจการจัดทำการเงิน บัญชี รายงานต่างๆ 4.ผู้เข้าร่วมประชุมสามารถจัดทำระบบการเงิน บัญชี และรายงานต่างๆในการดำเนินโครงการได้ 5.ผู้เข้าร่วมประชุมสามารถบันทึกข้อมูลผลการดำเนินงานผ่านระบบออนไลน์ได้

 

การประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการ ครั้งที่ 8 4 ก.พ. 2567 4 ก.พ. 2567

 

  1. ประชุมคณะทำงานเดือนละ 1 ครั้ง
  2. ตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนกิจกรรมตามแผนงานโครงการ
  3. กำหนดมาตรการแผนงาน และวางกรอบการทำงาน

 

1.มีคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการเข้าร่วมประชุม จำนวน 10 คน 2.ผู้รับผิดชอบโครงการได้มีการชี้แจงกิจกรรมตามแผนงานโครงการ 3.เกิดการแบ่งหน้าที่กันในการช่วยกันดำเนินกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นตามแผนงานโครงการ

 

การประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการ ครั้งที่ 9 3 มี.ค. 2567 3 มี.ค. 2567

 

  1. ประชุมคณะทำงานเดือนละ 1 ครั้ง
  2. ตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนกิจกรรมตามแผนงานโครงการ
  3. กำหนดมาตรการแผนงาน และวางกรอบการทำงาน

 

1.มีคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการเข้าร่วมประชุม จำนวน 10 คน 2.ผู้รับผิดชอบโครงการได้มีการชี้แจงกิจกรรมตามแผนงานโครงการ 3.เกิดการแบ่งหน้าที่กันในการช่วยกันดำเนินกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นตามแผนงานโครงการ

 

รณรงค์เก็บขยะริมชายหาดบ้านบางปอ (Baan Bangpor Big Cleaning Day) 6 มี.ค. 2567 6 มี.ค. 2567

 

  1. ประสานงานผู้เข้าร่วมกิจกรรมและจัดหาอุปกรณ์การเก็บขยะ
  2. ดำเนินการเก็บขยะริมชายฝั่งทะเลพื้นที่บ้านบางปอ

 

คณะทำงานขับเคลื่อนโครงการชุมชนประมงพื้นบ้านอนุรักษ์ ฟื้นฟูทะเลหน้าบ้านบางปออย่างยั่งยืน และเครือข่ายประมงชายฝั่งพื้นบ้านบางปอ อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช จัดกิจกรรมรณรงค์เก็บขยะริมชายฝั่งทะเลบ้านบางปอ ร่วมกับ เจ้าหน้าที่หน่วยป้องกันและปราบปรามประมงทะเลสิชล และ เจ้าหน้าที่ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่านครศรีธรรมราช ระยะทางเก็บ 300 เมตร ขยะส่วนใหญ่จะเป็นเศษโฟม พลาสติกและขวดแก้ว และเครื่องมือประมง ขยะที่เก็บได้ทั้งหมดมีน้ำหนักประมาณ 550 กิโลกรัม และทางเทศบาลตำบลทุ่งใส จะดำเนินการจัดการอย่างเหมาะสมต่อไป กิจกรรมครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมจำนวน 60 คน

 

ปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำคืนสู่ทะเล 13 มี.ค. 2567 13 มี.ค. 2567

 

1.ประสานงานผู้เข้าร่วมกิจกรรมและจัดหาพันธุ์สัตว์น้ำ 2.ดำเนินการปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำคืนสู่ทะเล

 

คณะทำงานขับเคลื่อนโครงการชุมชนประมงพื้นบ้านอนุรักษ์ ฟื้นฟูทะเลหน้าบ้านบางปออย่างยั่งยืน และเครือข่ายกลุ่มประมงชายฝั่งพื้นบ้านบางปอ อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช จัดกิจกรรมปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำคืนสู่ทะเลบ้านบางปอ ร่วมกับ เจ้าหน้าที่หน่วยป้องกันและปราบปรามประมงทะเลสิชล เทศบาลตำบลทุ่งใส และ เจ้าหน้าที่ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่านครศรีธรรมราช เพื่อเป็นการเพิ่มปริมาณปูม้าริมชายฝั่งทะเลให้มีปริมาณมากขึ้น พันธุ์สัตว์ที่ปล่อยในครั้งนี้เป็นลูกพันธุ์ปูม้า จำนวน 5,000,000 ตัว ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มอนุรักษ์และขยายพันธุ์ปูม้าบ้านเกาะลอย กิจกรรมครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมจำนวน 60 คน

 

การประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการ ครั้งที่ 10 7 เม.ย. 2567 7 เม.ย. 2567

 

  1. ประชุมคณะทำงานเดือนละ 1 ครั้ง
  2. ตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนกิจกรรมตามแผนงานโครงการ
  3. กำหนดมาตรการแผนงาน และวางกรอบการทำงาน

 

1.มีคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการเข้าร่วมประชุม จำนวน 10 คน 2.ผู้รับผิดชอบโครงการได้มีการชี้แจงกิจกรรมตามแผนงานโครงการ 3.เกิดการแบ่งหน้าที่กันในการช่วยกันดำเนินกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นตามแผนงานโครงการ

 

สร้างบ้านให้ปลา (ชั้งเชือกและทางมะพร้าว) 19 เม.ย. 2567 19 เม.ย. 2567

 

1.จัดเตรียมเตรียมอุปกรณ์การสร้างบ้านปลา เช่น เชือก ทุ่น สมอ ทางมะพร้าว 2.นำซั้งที่ประกอบชุดแล้วลงไปวางในเขตอนุรักษ์ชายฝั่งทะเลชุมชนที่ได้กำหนดขึ้น

 

คณะทำงานขับเคลื่อนโครงการชุมชนประมงพื้นบ้านอนุรักษ์ ฟื้นฟูทะเลหน้าบ้านบางปออย่างยั่งยืน เจ้าหน้าที่ศูนย์ศึกษาธรรมชาติสัตว์ป่านครศรีธรรมราช เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติหาดขนอม หมู่เกาะทะเลใต้ ชมรมนักตกปลาสมัครเล่นสิชล และเครือข่ายกลุ่มประมงพื้นบ้านอำเภอสิชล สมาชิกกลุ่มประมงชายฝั่งพื้นบ้านบางปอ อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช ดำเนินการประสานงาน จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ จัดทำซั้งบ้านปลาโดยภูมิปัญญาชุมชน ของกลุ่มประมงชายฝั่งพื้นบ้านบางปอ ซึ่งการดำเนินในครั้งนี้ทางกลุ่มประมงชายฝั่งพื้นบ้านบางปอ มีเป้าหมายที่จะสร้างซั้งเชือก(บ้านปลา) จำนวน 35 ชุด ในพื้นที่ชายฝั่งทะเลชุมชน บ้านบางปอ อำเภอสิชล ออกจากชายฝั่ง 200 เมตร ยาวขนานชายฝั่ง 400 เมตร เพื่อเป็นแหล่งอนุบาล หลบภัย และอาศัย ของสัตว์น้ำริมชายฝั่งทะเลบ้านบางปอ อำเภอสิชล มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้จำนวน 51 คน

 

จัดเวทีเวทีสรุปผลการดำเนินงาน (ARE) ครั้งที่ 2 28 เม.ย. 2567 28 เม.ย. 2567

 

  1. ประชุมคณะทำงานที่เกี่ยวข้อง สรุป ติดตาม ทบทวนกิจกรรมที่ได้ดำเนินการการไปแล้วในรอบ 4 เดือน
  2. กำหนดแผน
    3.วางกรอบในพัฒนากิจกรรมครั้งต่อไป

 

สรุป ติดตาม ทบทวนกิจกรรมในรอบ 4 เดือน ในส่วนของกิจกรรมที่ได้ดำเนินการไปแล้ว มีผลที่เกิดขึ้นพอสังเขป ดังนี้       - การทบทวนกิจกรรมหรือกระบงนการด้านการอนุรักษ์ ฟื้นฟูและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรประมงชายฝั่ง ทำให้สมาชิกประมงพื้นบ้านและผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ทบทวนสิ่งที่ขาดตกบกพร่อง มองเห็นจุดอ่อน จุดแข็ง อุปสรรค โอกาสของกลุ่มองค์กรตนเอง และประโยชน์ที่ได้รับจากการให้ความรู้และการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกัน     - การสร้างมาตรการดูแลสิ่งแวดล้อม(ขยะชายฝั่งทะเล)และทรัพยากรประมงชายฝั่ง           - ปัญหา เช่น การขาดการเอาใจใส่ดูแลจากชุมชนและทุกภาคส่วน           - สิ่งที่ต้องปรับปรุงแก้ไข เช่น จัดให้มีการรณรงค์เก็บขยะ ปรับภูมืทัศน์ชายฝั่งทะเลให้สวยงามอยู่เสมอ     - การปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำคืนสู่ทะเล ประโยชน์ที่ได้รับ เช่น มีปริมาณสัตว์น้ำชายฝั่งทะเลเพิ่มมากขึ้น     - การสร้างกฎกติกาและกำหนดเขตอนุรักษ์ชายฝั่งทะเลชุมชน           - ปัญหา เช่น การไม่ยอมรับในการปฏิบัติ           - สิ่งที่ต้องปรับปรุงแก้ไข เช่น สร้างกติกาที่ทุกฝ่ายให้การยอมรับและสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง           - ประโยชน์ที่ได้รับ เช่น เป็นการฟื้นฟูทะเลที่ยั่งยืน ในเมื่อไม่มีใครทำการประมงผิดกฎหมายและผิดกติกาชุมชน   - การฟื้นฟูทะเลโดยการทำซั้งบ้านปลา           - ประโยชน์ที่ได้รับ เช่น เป็นแหล่งของการฟื้นฟูทะเลที่ยั่งยืน สัตว์น้ำนานาชนิดได้อยู่อาศัย การเชื่อมโยงสุขภาวะ - ทรัพยากรเพิ่มขึ้นทั้งชนิดและปริมาณโดยสังเกตจากการออกทำการประมงในแต่ละครั้งทำให้ชาวประมงมีรายได้สม่ำเสมอลดข้อกังวลในการใช้จ่ายทำให้ครอบครัวมีความสุข ทำให้เกิดความสุขใจ - ลดระยะทางในการออกไปทำการประมงเดิมระยะทาง  3  ไมล์  ปัจจุบัน  1.5 ไมล์ ทำให้เกิดความสุขกาย - ลดค่าใช้จ่ายในการทำการประมง ทำให้มีแรงผลักดันมีแรงผลักดัน - ทำให้มีความสุขมากขึ้นในการประกอบอาชีพสุขภาพดีขึ้น ทำให้เกิดสุขอาชีวะ) - มีการบริโภคสัตว์น้ำที่จับได้สม่ำเสมอทุกมื้อ ปลาที่จับได้ไม่มีการแช่สารเคมี ( ฟอร์มารีน ) ทำให้ได้กินปลา กุ้ง หอย ปูทะเลที่ปลอดภัยและมีสุขภาพที่ดีคนในชุมชนได้กินปลาที่ปลอดสารเคมีด้วย ทำให้เกิดสุขบริโภคนิยม

 

เก็บและจัดทำข้อมูลฐานทรัพยากรสัตว์น้ำชายฝั่งและการใช้ประโยชน์ในพื้นที่หลังการดำเนินโครงการ 29 เม.ย. 2567 29 เม.ย. 2567

 

1.ออกแบบ จัดทำแบบสอบถาม 2.นำแบบสอบถามลงเก็บข้อมูลฯ 3. จัดทำรายงานข้อมูล เศรษฐกิจชาวประมง ฐานทรัพยากรสัตว์น้ำชายฝั่งและการใช้ประโยชน์ และอื่นๆในพื้นที่หลังการดำเนินโครงการ

 

มีข้อมูลในพื้นที่ดำเนินการ เช่น     - ข้อมูลพื้นฐานชุมชน     - ชนิด ประเภทพันธุ์สัตว์น้ำ     - เครื่องมือประมง     - เศรษฐกิจชุมชนประมง ผลลัพธ์ 1.แกนนำชุมชนเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารทะเลปลอดภัยจากพื้นที่ เช่น การนำสัตว์น้ำทะเลที่หามาได้ นำมาปรุงอาหารสำหรับการบริโภคเองในครัวเรือน อย่างน้อย 15 มื้อ ในแต่ละสัปดาห์ 2.แกนนำสตรีประมงพื้นบ้าน มีการทดลองแปรรูปกุ้งเคยที่จับมาได้ ทดลองแปรรูปเป็นกะปิปลอดสารเมี และไม่มีรสเค็มจัดจนเกินไป 3.สำรวจพบพันธุ์สัตว์น้ำที่เข้ามาอาศัยในเขตอนุรักษ์ทะเลชุมชนเพิ่มขึ้น 3 ชนิด เช่น ปลาจวด ปลาแป้น กุ้งเคย เป็นต้น 4.ชาวประมงพื้นบ้านขายอาหารทะเลในภาพรวม ทั้งปลา กุ้ง หอย ปูม้าได้เพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยรายละ 200 - 300 บาท/ครั้ง/วันทำการประมง ทำให้ 1.สมาชิกในชุมชนทั้งที่เป็นชาวประมงพื้นบ้านและแกนนำชุมชนที่เข้าร่วมกิจกรรมตามโครงการ มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการบริโภคอาหารที่ปลอดภัยมากขึ้นโดยให้ความสำคัญกับการบริโภคอาหารที่ปลอดสารเคมีอันตรายต่อสุขภาพ และครัวเรือนในชุมชนมีการประกอบอาหารที่หามาได้เองสำหรับการบริโภคในครัวเรือนได้ทุกมื้อในแต่ละวัน หลีกเลี่ยงอาหารสำเร็จรูปต่างๆ 2.ชาวประมงพื้นบ้านสามารถดำเนินการแปรรูปอาหารทะเลปลอดภัยได้อย่างเป็นรูปธรรม

 

การจัดทำรายงานผลการดำเนินโครงการ 30 เม.ย. 2567 30 เม.ย. 2567

 

1.รวบรวมข้อมูลอเกสารต่างๆ 2.เรียบเรียงตรวจทาน 3.จัดพิมพ์ 4.บันทีกลงในระบบสื่อคนสร้างสุขออนไลน์

 

มีข้อมูลรายงานผลการดำเนินงานตลอดระยะเวลาดำเนินโครงการ วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้ชาวประมงพื้นบ้านมีความรู้ความเข้าใจและมีความตระหนักใส่ใจต่อการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรประมงชายฝั่งอย่างยั่งยืน ตัวชี้วัด
1.1 ชาวประมงพื้นบ้านมีความรู้ความเข้าใจและมีความเข้าใจต่อการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรประมงชายฝั่งที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตชุมชน อย่างน้อย 50 คน
1.2 มีข้อมูลในพื้นที่ดำเนินการ เช่น - ชนิด ประเภทพันธุ์สัตว์น้ำ - เครื่องมือประมง
- เศรษฐกิจชุมชนประมง
- ภูมิปัญญาการทำประมงพื้นบ้าน - การใช้ประโยชน์จากฐานทรัพยากรสัตว์น้ำชายฝั่งทะเล
ผลผลิต 1. จัดเวทีสร้างความรู้ความเข้าใจด้านการอนุรักษ์ ฟื้นฟูและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรประมงชายฝั่ง 2.เก็บและจัดทำข้อมูลฐานทรัพยากรสัตว์น้ำชายฝั่งและการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ดำเนินโครงการ ผลลัพธ์ 1.ชาวประมงพื้นบ้านบางปอทั้งสตรีและผู้ชาย คณะทำงานขับเคลื่อนโครงการ แกนนำชุมชน และผู้นำชุมชน มีความรู้ความเข้าใจและมีความเข้าใจต่อการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรประมงชายฝั่งที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตชุมชน จำนวนไม่น้อยกว่า 50 คน จากผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 51 คน 2.มีฐานข้อมูลเบื้องต้นประกอบด้วยของพื้นที่ดำเนินการ เช่น ข้อมูลทั่วไปชุมชน ข้อมูลอาชีพ ข้อมูลทรัพยากร ข้อมูลภูมิปัญญาการทำประมงพื้นบ้าน ชนิด ประเภทพันธุ์สัตว์น้ำ เครื่องมือประมงในพื้นที่การใช้ประโยชน์จากฐานทรัพยากรสัตว์น้ำ ชายฝั่งทะเล และข้อมูลรายได้ของประชากร เพื่อการวางแผนการทำงานของชุมชน และตามโครงการที่ได้รับการสนับสนุน วัตถุประสงค์ 2. เพื่อให้เกิดกลไกการทำงานที่มีประสิทธิภาพ ตัวชี้วัด
2.1 มีคณะทำงานไม่ต่ำกว่า 10 คน 2.2 มีแผนงานการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรประมงชายฝั่งของชุมชน
2.3 มีเวทีสรุปผลการดำเนินงาน (ARE) อย่างน้อย 2 ครั้ง ผลผลิต 1.การประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการ 2.จัดเวทีประชุมทำแผนปฏิบัติการอนุรักษ์ ฟื้นฟูและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรประมง ชายฝั่งอย่างยั่งยืน 3.จัดเวทีเวทีสรุปผลการดำเนินงาน (ARE) ผลลัพธ์ 1.มีการจัดประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการอย่างสม่ำเสมอจำนวนไม่น้อยกว่า 10 คน ตลอดทุกเดือนระยะเวลา 10 เดือน ของการดำเนินโครงการ ที่มาจากสมาชิกของชุมชน แกนนำชาวประมงพื้นบ้าน และภาคีความร่วมมือที่เข้ามาช่วยเหลือหนุนเสริมการดำเนินงานโครงการ 2.มีแผนการดำเนินงานการอนุรักษ์ ฟื้นฟูและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรประมงชายฝั่ง เช่น การฟื้นฟูสัตว์น้ำ การจัดการขยะทะเล การแปรรูปอาห่ารทะเลปลอดภัย และการสร้างอาชีพเสริม เช่น การแปรรูปอาห่ารทะเลปลอดภัยและการขายออนไลน์ เป็นต้น 3.เกิดการพูดคุยแลกเปลี่ยนทบทวนผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการและบันใดผลลัพธ์ ตามรูปแบบ ARE จำนวน 2 ครั้ง ครั้งที่ 1 จำนวน 20 คน ครั้งที่ 2 จำนวน 20 คน วัตถุประสงค์ 3.เพื่อให้เกิดการปรับสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการอนุรักษ์ ฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่ง ตัวชี้วัด
3.1 มีกฎกติกาและกำหนดเขตอนุรักษ์ชายฝั่งทะเลชุมชน
3.2 เกิดการสร้างบ้านให้ปลา (ชั้งเชือกและทางมะพร้าว) จำนวน 35 ชุด
3.3 มีการปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำคืนสู่ทะเล อย่างน้อย 1 ครั้ง
3.4 เกิดการรณรงค์เก็บขยะริมชายหาดบ้านบางปอ
อย่างน้อย 1 ครั้ง 3.3 มีการปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำคืนสู่ทะเล อย่างน้อย 1ครั้ง
3.4 เกิดการรณรงค์เก็บขยะริมชายหาดบ้านบางปอ
อย่างน้อย 1 ครั้ง ผลผลิต 1.จัดเวทีประชุมสร้างกฎกติกาและกำหนดเขตอนุรักษ์ชายฝั่งทะเลชุมชน 2.สร้างบ้านให้ปลา(ชั้งเชือกและทางมะพร้าว) 3.ปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำคืนสู่ทะเล 4.รณรงค์เก็บขยะริมชายหาดบ้านบางปอ (Baan Bangpor Beach Cleaning Day) ผลลัพธ์ 1. มีกติกา ข้อตกลง แนวเขตเขตอนุรักษ์ชายฝั่งทะเลชชุมชนที่ได้ผ่านการทบทวนจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องพร้อมที่จะนำไปสู่การมีเวทีประชาคมเพื่อทบทวนและประกาศกติกาเขตอนุรักษ์ชายฝั่งทะเลชุมชนบ้านบางปอ ต่อไป และมีผู้เข้าร่วมเวที จำนวน 50 คน 2.มีบ้านปลา(ชั้งเชือกและทางมะพร้าว)จำนวน 35 ชุด ตั้งอยู่ในเขตอนุรักษ์ชายฝั่งทะเลชุมชนบ้านบางปอ ตำบลทุ่งใส อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยมีผู้เข้าร่วมสร้างบ้านให้ปลา จำนวน 51 คน 3.ชุมชนประมงพื้นบ้านบางปอ อำเภอสิชล มีการปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำคืนสู่ทะเลจำนวน 1 ครั้ง โดยได้รับการสนับสนุนลูกพันธุ์ปูม้า จำนวน 5,000,000 ตัว จากกลุ่มอนุรักษ์และขยายพันธุ์ปูม้าบ้านเกาะลอย อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยมีผู้เข้าร่วมปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ จำนวน 51 คน 4.ชุมชนประมงพื้นบ้านบางปอ จัดกิจกรรมรณรงค์เก็บขยะริมชายหาดบ้านบางปอ จำนวน 1 ครั้ง ร่วมกับ เจ้าหน้าที่กรมประมง และเยาวชนบ้านบางปอ ระยะทางเก็บ 300 เมตร ขยะส่วนใหญ่จะเป็นเศษโฟม พลาสติกและขวดแก้ว และเครื่องมือประมง ขยะที่เก็บได้ทั้งหมดมีน้ำหนักประมาณ 550 กิโลกรัม และทางเทศบาลตำบลทุ่งใส จะดำเนินการจัดการอย่างเหมาะสมต่อไป กิจกรรมครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมจำนวน 60 คน วัตถุประสงค์ 4. เพื่อให้แกนนำมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทางสุขภาวะตนเอง โดยการปรับพฤติกรรมการบริโภคอาหารทะเลปลอดภัย จากพื้นที่ ตัวชี้วัด
4.1 แกนนำเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารทะเลปลอดผลผลิตจากพื้นที่ก่อน/หลังการดำเนินการ 4.2 สัตว์น้ำผลผลิตที่เพิ่มขึ้นอย่างน้อย 2 ชนิด ผลผลิต 1.เก็บและจัดทำข้อมูลฐานทรัพยากรสัตว์น้ำชายฝั่งและการใช้ประโยชน์ในพื้นที่หลังการดำเนินโครงการ ผลลัพธ์ 1.แกนนำชุมชนเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารทะเลปลอดภัยจากพื้นที่ เช่น การนำสัตว์น้ำทะเลที่หามาได้ นำมาปรุงอาหารสำหรับการบริโภคเองในครัวเรือน อย่างน้อย 15 มื้อ ในแต่ละสัปดาห์ 2.แกนนำสตรีประมงพื้นบ้าน มีการทดลองแปรรูปกุ้งเคยที่จับมาได้ ทดลองแปรรูปเป็นกะปิปลอดสารเมี และไม่มีรสเค็มจัดจนเกินไป 3.สำรวจพบพันธุ์สัตว์น้ำที่เข้ามาอาศัยในเขตอนุรักษ์ทะเลชุมชนเพิ่มขึ้น 3 ชนิด เช่น ปลาจวด ปลาแป้น กุ้งเคย เป็นต้น 4.ชาวประมงพื้นบ้านขายอาหารทะเลในภาพรวม ทั้งปลา กุ้ง หอย ปูม้าได้เพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยรายละ 200 - 300 บาท/ครั้ง/วันทำการประมง