ประชุมสรุปบทเรียนงานสร้างสุขภาคใต้ ๒๕๕๑-๒๕๕๒

by Little Bear @9 พ.ค. 52 13.33 ( IP : 61...177 ) | Tags : สร้างสุขฅนใต้ 52
photo  , 800x600 pixel , 120,319 bytes.

๙ พ.ค. ๕๒ การประชุมสรุปบทเรียนงานสร้างสุขภาคใต้ ๒๕๕๑-๒๕๕๒ ได้เริ่มขึ้นแล้ว โดยจัดประชุมกันที่โรงแรมแกรนปาร์ค อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช และนับเป็นการประชุมครั้งแรกเพื่อเตรียมงานสร้างสุขของปีหน้าซึ่ง จ.นครศรีธรรมราช จะเป็นเจ้าภาพจัดงาน

เริ่มด้วยการสรุปภาพรวมของงานสร้างสุข ๔ ภาค โดย คุณหมอบัญชา พงษ์พานิช เป็นผู้สรุปให้ฟัง โดยแบ่งออกเป็นประเด็นคือ

  • ประเด็นบทเรียนรู้ ผ่านกรณีศึกษาที่แยกเป็นรายกรณี , การกระจายพื้นที่/ภาคี , รายประเด็น , จังหวัดเจ้าภาพ ซึ่งภาคใต้ไม่มีกรณีศึกษารายกรณีและการกระจายพื้นที่/ภาคี ภาพรวมก็อยู่ในเกณฑ์ดีพอสมควร ส่วนภาคอีสานจะทำได้ดีที่สุดเนื่องจากบทเรียนต่าง ๆ ได้มีการรวบรวมและผ่านการเรียบเรียงใหม่โดยนักเขียนของภาคอีสานจึงทำให้ได้งานออกมาเป็นหนังสือพ็อคเก็ตบุ๊คที่น่าอ่านมาก

  • ประเด็นเชื่อมร้อย & บูรณาการ ภาคีมีส่วนร่วม หลากหลาย หลัก-รอง-เข้าร่วม ทำได้อยู่ในเกณฑ์ที่ดี

  • เวทีแลกเปลี่ยน ๑ กลไกประสานเตรียมการ ๒ การนำเสนอ/เอกสาร ๓ การมีส่วนร่วม ๔ ผล ภาคใต้ทำได้ออกมาดี เต็ม ๔ เกือบหมด

  • ยุทธศาสตร์พื้นที่ สถานการณ์สุข-ทุกข์ ๒ คะแนน ประเด็นหลักประจำปี ๓ คะแนน การขับเคลื่อนประเด็น ๓ คะแนน

  • กลไกภาค ๔ คะแนน กลไกวิชาการ ๓ คะแนน จังหวัดเจ้าภาพ ๓ คะแนน กลไกภาคกับกลไกวิชาการยังซ้อนทับกันอยู่โดย สวรส.ภาคใต้เป็นคนทำ กลุ่มวิชาการของภาคใต้ยังอยู่ในวงเดิม ๆ และขึ้นอยู่กับ อ.พงค์เทพเป็นหลัก ต้องขยายออกไปสู่กลุ่มอื่น ๆ ให้มากขึ้น จังหวัดเจ้าภาพยังไม่ค่อยชัดเจนว่ากลุ่มไหนเป็นคนเคลื่อนขบวนหลัก มีการกระจัดกระจายกันมาก

  • อื่น ๆ นิทรรศการ ๔ คะแนน สื่อสาร-ประชาสัมพันธ์ ๓ คะแนน บรรยากาศ ๔ คะแนน พิธีการ-การแสดง ๒ คะแนน ภาคใต้ทำได้ดีเกือบทุกอย่าง ยกเว้นการทำประชาสัมพันธ์ การกินการอยู่มีความสุขสบายดีมาก การแสดงตอนเปิดงานมีหลุดไปหน่อยอย่างที่ไม่มีใครคาดถึง การสื่อสารประชาสัมพันธ์มีการตั้งโต๊ะสัมภาษณ์ออกวิทยุ-ทีวี

โจทย์ สิ่งที่ขาดไปคือไม่ให้น้ำหนักกับยุทธศาตร์ภาค การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ทางปัญญา การขับเคลื่อนของกลไกภาคที่จะช่วยเสริมศักยภาพของเจ้าภาพไม่ให้ทำงานหนักมากเกินไป

ถัดมาด้วยการรายงานผลการประเมินเบื้องต้นของการจัดงาน สามารถอ่านรายละเอียดได้จากไฟล์รายงาน ได้นะครับ

  • มีเสียงบ่นเรื่องอาหารกันมาก ทั้งอาหารไม่พอทั้ง ๆ ที่ใช้งบประมาณเรื่องอาหารไปตั้งหลายแสน
  • คณะกรรมการมีการแต่งตั้งกันเยอะมาก แต่คนที่ทำงานจริง ๆ มีไม่กี่คน
  • ผู้เข้าร่วมงานเยอะมากในวันแรก แต่พอวันหลังคนหายไปเกือบหมด
  • ป้ายบอกงานไม่ค่อยมี การประชาสัมพันธ์ไม่ทั่วถึง
  • พิธีเปิดติดขัด รวมทั้งพิธีกรไม่ค่อยคล่อง
  • การลงทะเบียนวุ่นวาย ช้า ไม่เป็นระบบ เอกสารแจกไม่ทั่วถึง
  • ของชำร่วยไม่พอ

ข้อเสนอแนะในการจัดงานครั้งต่อไป

  • อาหารควรหลากหลายกว่านี้ แต่ต้องพอเพียง
  • อาหารควรรสจัดกว่านี้ เป็นอาหารท้องถิ่น
  • อาหารควรอยู่ใกล้สถานที่จัดงาน โดยเฉพาะงานกลางคืน
  • พื้นที่จัดงานควรอยู่บริเวณเดียวกัน
  • ควรมีป้ายบอกในบริเวณจัดงานให้ชัดเจน
  • ควรมีข้อเสนอส่งต่อให้ผู้ทำงานทางนโยบาย
  • มีการจัดการแสดงให้มากขึ้น โดยเฉพาะเด็ก
  • ให้แต่ละจังหวัดได้อวดของดีของตนเอง
  • ควรให้ทางโรงเรียนเข้าร่วมมากขึ้น
  • ให้มีความร่วมมือกันหลายฝ่าย ประสานงานกันให้มากกว่านี้
  • เน้นความร่วมมือให้มาก
  • ฯลฯ

อยากเห็นความเปลี่ยนแปลงของการจัดงานสร้างสุขในแต่ละปีว่ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง พัฒนาการ มีอะไรใหม่ ๆ ขึ้นมาบ้าง

สิ่งที่น่าสนใจอย่างหนึ่งคือการสวดมนต์ตอนเช้าแล้วมีบรรยากาศของการออกกำลังกายจากคนกลุ่มหนึ่ง เป็นภาพที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ทำให้เห็นเป็นสิ่งที่น่าสนใจ

เรียนรู้เรื่องกระบวนการวิชาการในงานสร้างสุข

งานวิชาการน่าจะแบ่งเป็น ๒ เรื่องหลัก คือ เนื้อหาทางวิชาการ และ เรื่องของรูปเล่ม-วิธีการนำเสนอ ซึ่งการทำในปีแรกทำได้ค่อนข้างดี แต่ควรมีพัฒนาการที่ดีกว่านี้ ของภาคอีสานเป็นตัวอย่างการทำงานเอกสารที่ดี มีการแปลงข้อมูลทางวิชาการให้อยู่ในรูปแบบที่ชาวบ้านสามารถอ่านแล้วเข้าใจได้ง่าย ่ ช่วยกันมองยุทธศาสตร์ภาคใต้ว่าจะเดินไปทางไหน ให้ทำประเด็นเชิงรุกให้มากขึ้น เช่นประเด็นนาข้าวและข้าวพื้นเมืองที่ถูกรุกรานมากขึ้น ความมั่นคงด้านอาหาร การคาดการณ์ล่วงหน้าในแต่ละประเด็น

งานข้อมูลข่าวสาร-ความรู้เป็นหัวใจสำคัญของงานวิชาการ ต้องสร้างชุดความรู้ที่เข้มแข็งสำหรับนำมาใช้ในกระบวนการสาธารณะ สนับสนุนให้ทุกภาคีเห็นความสำคัญและช่วยกันทำ

พลังในการขับเคลื่อนงานพัฒนาสังคมต้องมีภาควิชาการเข้ามาช่วย สร้างข้อมูลในการสื่อสารเพื่อลดช่องว่างระหว่างภาคประชาชนกับภาครัฐ จะใช้พลังของวิชาการมาก่อให้เกิดพลังการขับเคลื่อนทางสังคมได้อย่างไร?

เรียนรู้เรื่องกระบวนการจัดการในงานสร้างสุขภาคใต้

สงขลา : (โดย ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ) ต้องการให้เป็นเวทีที่ให้เครือข่ายได้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน มีคนเข้าร่วมหลากหลายมาก จึงแบ่งออกเป็น ๔ กลุ่ม คือ เกษตรและอาหารที่เอื้อต่อสุขภาพ วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม ชุมชนพึ่งตนเอง โดยช่วงแลกได้เชิญแต่ละกลุ่มเข้ามาร่วมพูดคุยกัน มีฝ่ายวิชาการเข้ามาช่วยด้วย มีผลงาน Fact and Figures ออกมาปีละ ๑ เล่ม (จนถึงปัจจุบันออกมา ๓ เล่ม)

การดำเนินงานแบ่งออกเป็นหลายฝ่าย เช่นงานส่วนกลาง การจัดเวที ประชาสัมพันธ์ สื่อ ให้มีวาระสำคัญของเจ้าภาพคือการเซ็นต์ MOU แผนสุขภาพจังหวัดสงขลา และได้รับการขับเคลื่อนต่อเนื่องเรื่อยมา

ปัญหาเรื่องการจัดการ อาหารในงานให้เครือข่ายเกษตรวิถีธรรมวิถีไทรับจัดหามาให้ทั้งหมด การเดินทางและที่พักให้แต่ละเครือข่ายรับไปจัดการกันเองโดยให้งบประมาณในการดำเนินการไปให้

การจัดการทั้งหมดทำโดยเครือข่ายทั้งหมด จึงไม่ค่อยมีปัญหาอะไร แถมยังมีงบประมาณเหลือ

ผลที่ได้จากการจัดงานทำให้เกิดกลไกภาค และคิดต่อให้เกิดกลไกที่ดำเนินงานในปีต่อ ๆ ไป

ทุกคนมาด้วยจิดอาสาที่จะมาร่วมงาน ความเป็นวิชาการจึงมีไม่มากนัก

ปัญหาใหญ่ของการจัดงาน คือ กลไกเครือข่ายที่มาจากแต่ละจังหวัดมีน้อย เนื่องจากเป็นการจัดการเครือข่ายในเชิงประเด็น ความหลากหลายของกลุ่มต่าง ๆ มีน้อย

ภูเก็ต : (โดยคุณสุพจน์ สงวนกิตติพันธุ์) เข้าร่วมในงานสร้างสุขปีแรกโดยนำวัฒนธรรมในร่วมในการจัดงาน หลังจากการประชุมร่วมกันหลายครั้ง มีข้อเสนอให้รับจัดงานในปีต่อไป ได้มีการพูดคุยกันในกลุ่มจนในที่สุดก็รับจัดงานต่อ

จุดที่นำมาทำต่อคือเรื่องการประสานภาคีภาคใต้ทั้ง ๑๔ จังหวัด (ปีแรกมี ๘ จังหวัด) เมื่อได้ประสานงานแล้วทุกคนยินดีเข้ามาร่วมงาน

ยึดเอาประเด็นการท่องเที่ยวเป็นประเด็นหลักของการจัดงาน

หลังจากเวทีนี้ ผลที่ตามมาอย่างหนึ่งคือไม้ขาวจากที่ไม่ได้ทำนาข้าว ก็มีการทำนาข้าวขึ้นมาใหม่ ๕ ไร่

ดึง ๓ วัฒนธรรมทางศาสนาเข้ามร่วมงาน

สุราษฎร์ธานี : ไฟล์ประกอบ เปิดแฟ้มงานสร้างสุขภาคใต้ ๕๒ นำเสนอโดย อ.ทวีศักดิ์ สุขรัตน์

การทำงานต้องมองด้วยตานอกและตาใน

ตานอก - การตั้งชื่องาน "สุขภาวะทางปัญญา วาระสร้างสุขของฅนใต้" การจัดงานมีลักษณะแบบอยู่เข้าค่าย มีการออกกำลังการ ฝึกสมาธิ , สถานที่จัดงานทุกคนยอมรับว่าเหมาะและร่มรื่นดี , เนื้อหาวิชาการมีกลไกภาคทำงานนี้อยู่แล้ว , ช่วงเวลากระชั้นมาก

การจัดการ มี ๓ ขั้น คือ ๑ ขั้นเตรียมการ ๒ ขั้นปฏิบัติการ ๓ ประเมินผล-ถอดบทเรียน มีการกำหนด script งาน

การเตรียมงาน(ก่อนจัดงาน) หลังจากรับงานมาเมื่อปี ๔๙ ได้มีสถานการณ์หลายอย่างเปลี่ยนไป หลังจากรับธงมา ก็มีการดูงาน มีการฟอร์มทีม

ช่วงเตรียมงาน ทีมหด คนหาย เงื่อนไขต่อรองเยอะ เกิดวิกฤติ ๒ เดือนสุดท้าย กองเลขาไม่ขอร่วมงาน ทำให้ทีมงานต้องจัดหาใหม่หมด ทีมงานเลยไม่เข้มแข็ง ขาดประสพการณ์ ประชุมไม่ต่อเนื่อง

ระหว่างการจัดงาน หลายอย่างไม่เป็นไปตามสคริปต์ โดยเฉพาะการแสดงในพิธีเปิด พิธีกรของงานต้องเข้าใจคอนเซ็ปต์งาน คุมสภาพของงานได้ ป้ายบอกทางไม่ชัดเจน

สิ่งที่ต้องระวังคือระวังหลุมดำที่อาจจะเกิดขึ้น

บทเรียนการทำงาน ราชการกับประชาชนมีกรอบการทำงานที่ไม่เหมือนกัน

งานนี้พลังยังไม่เกิด การร่วมทำงานของคนเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ต้องออกแบบให้เติมพลังให้มากขึ้น

ตาใน - ซาบซึ้งน้ำใจเพื่อน ๆ อุปสรรคทำให้เราแข็งแกร่งขึ้น

สรุปภาพรวม

  • ประชาคมมิน่าจะเป็นเจ้าภาพ แต่เป็นเพียงผู้ประสาน
  • เจ้าภาพหลักควรให้จังหวัดเป็นเจ้าภาพหลักแทนประชาคม เครื่องมือพร้อม
  • จังหวัดขาดอิสระในการตัดสินใจ
  • ถ้าออกแบบใหม่น่าจะให้ดีกว่านี้
  • งานออกมาดี ทั้งๆที่เป็นงานอาสา (ควรภูมิใจน่ะ)

Reflection

  • สถานการณ์เปลี่ยน คนเปลี่ยน มุมมองเปลี่ยน
  • รู้จักหน้าแต่ไม่รู้ใจ
  • ระหว่างงานส่วนรวมกับตัวเอง
  • ระหว่าง ผลประโยชน์ เกียรติยศ กับชีวิตเชิงอุดมคติ และประชาชน
  • ถือข้าง ฝักฝ่าย แยกพวก ปรากฏการณ์ที่มาแรงในสังคมไทย
  • เฝ้ามองอย่างสะใจ สมเพทเวทนา มองอย่างเห็นใจกับการเข้ามาช่วยเหลือ แล้วใครได้ ผลกระทบ

การเชื่อมต่อกับราชการ ภูเก็ตมีการเชื่อมต่อกับสาธารณสุข ภาคีเป็นพันธมิตรหุ้นส่วนกับ สสจ. เข้าร่วมกันทุกงาน มาทำงานร่วมกัน ให้เขาเห็นว่าเขาก็ได้งานด้วย

แพร่ สสจ.ส่งนักสาธารณสุขเข้าไปช่วยเหลือ อบจ. และเป็นผู้ประสานงานหน่วยงานภาครัฐกับภาคประชาชนเข้าร่วมกัน

อุบล มีการทำงานมานานและเชื่อมต่อกันได้ สสจ.กับผู้ว่าเห็นว่างานนี้เกี่ยวข้องกับตัวเองก็เลยลงมาช่วยงาน

ต้องประเมินให้ได้ว่าจังหวัดเจ้าภาพจะเข้าร่วมงานในระดับไหน ให้จังหวัดและสสจ.เห็นประเด็นว่าสามารถใช้ประเด็นนี้ขับเคลื่อนงานตัวเองได้ด้วย ให้เห็นว่าเป็นผลงานของจังหวัดและสสจ.ด้วย

ความคาดหวังกระบวนการงานสร้างสุขต่อสุขภาวะของคนใต้

อ.กรรณิการ์ บรรเทิงจิตร

เป้าหมาย เพื่อคนไทยอยู่เย็นเป็นสุข

  • ด้วยการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพที่สอดคล้องกับความต้องการของพื้นที่
  • เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของภาคีเครือข่ายสร้างสุขของคนใต้

ประเด็นการขับเคลื่อน

  • ต้องสมประโยชน์ของรัฐ/ภาคีเครือข่าย
  • เชื่อมต่อกับวาระในสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ
  • มีกระบวนการติดตามมติจากเวทีสร้างสุขที่ผ่านมา

เครือข่ายพันธมิตร

  • ฐานข้อมูล
  • พัฒนาต่ออย่างไร สื่อสารต่ออย่างไร

การจัดการ

  • สถานที่
  • เวลา

กลไกการทำงาน

  • ระดับจังหวัด
  • ระดับประเด็น
  • ระดับภาค

คุณดวงพร เฮงบุณยพันธ์

การจัดงานสร้างสุขทุกครั้งมักจะมีปัญหาเรื่องการจัดการ

เราจะทำงานสร้างสุขให้เป็นงานที่ภาคนโยบายสนใจได้อย่างไร?

การสร้างศูนย์เรียนรู้ เพื่อนำมาขับเคลื่อนขยายผล

วาระของคนภาคใต้ ที่มีอยู่หลายประเด็นทำให้ลดพลังในการทำ หากทำเพียง ๒ เรื่องจะมีพลังมากขึ้น รวมทั้งแหล่งทุน เรื่องนั้น ๆ มีเจ้าภาพหลักในพื้นที่ที่สามารถชักชวนเข้าร่วมอย่างเต็มที่ ส่วนประเด็นอื่น ๆ ใช้วิธีทำแบบสะสมพลัง มาพูดคุยโต้แย้งกันทางวิชาการ

ประเด็นจังหวัดเจ้าภาพจัดงาน จะแบ่งจังหวัดเป็นคลัสเตอร์(กลุ่ม) โดยให้กลุ่มจังหวัดเป็นเจ้าภาพหลัก ทุก ๔ ปี แต่ละกลุ่มจังหวัดจะได้กลับมาจัดงานอีกครั้ง ซึ่งจะช่วยลดความไม่พร้อมของบางจังหวัดลงได้

ประเด็นของเครือข่าย ปีต่อ ๆ ไปจะมีเครือข่ายใหม่ ๆ เข้ามา เครือข่ายใหม่จะมีผู้นำหรือไม่ เราต้องดูแลเครือข่ายใหม่ซึ่งอาจจะไม่รู้เรื่องราวที่เป็นอยู่ หากมีคนใหม่เข้ามาเพียงปีละ ๑๐ คนก็นับว่าเยอะแล้ว

สปสช.

คาดหวัง ๔ ช.

  • เชื่อม สปสช. สาธารณสุข เวทีสร้างสุข กลไกภาค กลไกจังหวัด กลไกเชิงประเด็น กระบวนการทางวิชาการ
  • แชร์ เรื่องข้อมูล โดยเฉพาะข้อมูลทางวิชาการ
  • ชี้ ผลจากแต่ละเวทีน่าจะบอกได้ว่า สปสช.ควรจะทำอะไรได้อีกเพื่อให้ไปถึงเป้าหมายของสุขภาวะได้เร็วขึ้น
  • ใช้ จะให้ สปสช.ช่วยทำงานอะไรให้บ้าง สนับสนุนงบประมาณ สนับสนุนทางวิชาการ

การจัดงานแต่ละครั้งต้องมีการต่อยอด เพื่อให้เห็นผลของการก้าวหน้าในแต่ละปี

ภาคี

ภาคี

ภาคี

ี่###วันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๕๒

จังหวะก้าวของงานสร้างสุขภาคใต้ปี ๒๕๕๒-๒๕๕๓ ปี ๒๕๕๓-๒๕๕๔ ปี ๒๕๕๔-๒๕๕๕

จังหวะก้าวงานสร้างสุข ๓  ปี

โดยคุณมานะ ช่วยชู สมาคมดับบ้านดับเมือง

อัตลักษณ์... ที่ยังไม่ลงตัว

  • วาระหลักของภาคใต้ คม ชัด มีพลังทางนโยบาย
  • หาเพื่อน(ใหม่) เกิดเครือข่ายเรียนรู้ และเครือข่ายปฏิบัติการ
  • การเชื่อมโยงภาคประชาชน ภาครัฐ ภาคท้องถิ่น และภาควิชาการ

เลือกหรือเอาทั้งหมด

งานวิชาการ

  • เพิ่มมิติความลึก มีหน่วยวิชาการเพิ่มขึ้นที่ช่วยแบ่งเบา สวรส.
  • เปิด "กรณีศึกษา" ใหม่ ๆ
  • มีกระบวนการติดตาม ประเมินเสริมพลัง

การเคลื่อนนโยบาย

  • อบต. เทศบาล อบจ. ไม่ใช่เป็นแต่ประเด็นหนึ่ง แต่เป็นกลุ่มภาคีหลักในการผลักดันนโยบาย
  • จังหวัด / อบจ. / ภาคประชาสังคม เน้นพื้นที่เจ้าภาพงานสร้างสุขช่วยหนุนให้เกิด

การจัดการ

  • สรุปบทเรียน
  • คณะทำงานครอบคลุม กระชับ
  • คนทำงานร่วมจากจังหวัดอื่น ๆ
  • เริ่มแต่เนิ่น ๆ
  • สร้างการมีส่วนร่วมจากจังหวัด สสจ. สถาบันการศึกษา สื่อมวลชน
  • ต้องไม่ยุ่ง จนไม่ได้พัฒนางานของจังหวัด

คุณชัยพร จันทร์หอม

  • ต้องมีวิสัยทัศน์ของงานสร้างสุขระยะยาวเช่น ๕-๑๐ ปี
  • สร้างแกนนำที่มีศักยภาพ เพื่อสร้างขบวนของคนที่มีพลังในการขับเคลื่อน
  • จังหวะก้าวของพลังเพื่อการเปลี่ยนแปลง ใช้กระบวนการเรียนรู้ที่มีส่วนร่วม ไม่ใช่การรวมศูนย์
  • การเชื่อมร้อยเครือข่าย สร้างประชาคมของการเรียนรู้

ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ

  • ใช้ทุนภายในจังหวัดให้มากขึ้น เช่น จังหวัดต้องเข้ามาหนุนเสริม ร่วมกับ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคประชาชน
  • สร้างความเข้มแข็งของภาคีเพื่อสร้างพลังในการต่อรองกับแหล่งทุนหรือส่วนกลาง
  • สร้างสุขเป็นงาน ๓ ปี วางยุทธศาสตร์-แผนงานให้ชัดเจน

ความคิดเห็น

  • สปสช.ไม่ใช่แหล่งทุน แต่มีงบประมาณอยู่ หากนำทุนก้อนนี้มารวมกัน จัดมหกรรมงานวิชาการในแนว สปสช. ก็สามารถจัดได้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อ สปสช.ด้วย มีงบส่งเสริมป้องกันที่ให้ สสจ.ใช้อยู่ สามารถนำส่วนหนึ่งมาสนับสนุนให้กับภาคีภาคประชาชนได้
  • สปสช.ยินดีสนับสนุนงบระยะยาวแต่ต้องมีการทำแผนงานร่วมกัน
  • การจัดคลัสเตอร์เป็น ๔ โซน เวียนกันจัดงาน

สรุปแนวทางต่อไป

เป้าหมายร่วม

  • วาระหลักของภาคใต้ คม ชัด มีพลังทางนโยบาย
  • เกิดเครือข่ายเรียนรู้ และเครือข่ายปฎิบัติการ
  • การเชื่อมโยงภาคประชาชน ภาครัฐ ภาคท้องถิ่น และภาควิชาการ

ยุทธศาสตร์ภาค

  • ระดับภาค
  • ระดับอนุภาค
  • ระดับจังหวัด เช่น สมัชชาสุขภาพจังหวัด

สร้างวาระของภาคใต้

  • ช่องทางในพื้นที่ : แผนระดับจังหวัด , แผนระดับตำบล , หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  • ช่องทางระดับชาติ : ช่องทางสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ , ช่องทางสภาที่ปรึกษาฯ

วางแผน ๓ ปี

  • ปี ๕๒-๕๓ : นครศรีธรรมราช+พัทลุง+ชุมพร+สุราษฎร์ธานี+กระบี่ ประเด็น วัฒนธรรม,แผนพัฒนาท้องถิ่นสร้างสุข กองทุนสุขภาพท้องถิ่น,แผนพัฒนาภาคใต้,เศรษฐกิจพอเพียง

  • ปี ๕๓-๕๔ : ตรัง+ระนอง+พังงา+ภูเก็ต

  • ปี ๕๔-๕๕ : ปัตตานี+ยะลา+นราธิวาส+สตูล+สงขลา

การขับเคลื่อนผลจากสร้างสุข

  • ติดตามเจ้าภาพเดิม
  • ติดตามประเด็นเดิม

ขยายเครือข่าย

  • ภาคียุทธศาสตร์หลัก
  • สมัชชาคุณธรรม

กลไกการประสาน

  • กลไกประสานงานเว็บไซท์ http://happynetwork.org
  • กลไกสื่อ

ฐานทุน

  • ท้องถิ่น เช่น สมาคม อปท.ภาคใต้ , สปสช. , สถาบันวิชาการ
  • ส่วนกลาง เช่น สสส. , สช. , สวรส.

ภาคี ภาคี ภาคี ภาคี ภาคี ภาคี ภาคี ภาคี ภาคี ภาคี ภาคี ภาคี ภาคี ภาคี ภาคี ภาคี ภาคี ภาคี ภาคี ภาคี ภาคี ภาคี

Comment #1ทำงานสรุปได้รวดเร็ว
อารยา (Not Member)
Posted @11 พ.ค. 52 05.14 ip : 61...83

ขอบพระคุณทีมงานที่ทำงานสรุปได้รวดเร็วมากค่ะ ขอชื่นชมด้วยจิตคารวะ

Comment #2
Posted @11 พ.ค. 52 11.24 ip : 61...184

ขอบคุณสำหรับกำลังใจครับ จะพยายามรวบรวมข้อมูลในการจัดงานที่ผ่านมา นำมาจัดหมวดหมู่ให้สามารถเข้าถึงได้สะดวกและง่ายกว่านี้

ตอนนี้กำลังคอยไฟล์รายงานผลการประเมินเบื้องต้นฉบับสมบูรณ์อยู่ครับ ได้รับแล้วจะรีบนำมาลงให้ครับ