แบบบันทึกการติดตามสนับสนุนโครงการ ครั้งที่ 1

รหัสโครงการ 55-01779
สัญญาเลขที่ 55-00-0938

ชื่อโครงการ สินสืบสุขร่วมใจทำบ้านน่าอยู่สิ่งแวดล้อมสะอาดปราศจากโรค
รหัสโครงการ 55-01779 สัญญาเลขที่ 55-00-0938
ระยะเวลาตามสัญญา 1 ตุลาคม 2012 - 31 ตุลาคม 2013

ส่วนที่ 1 : ข้อมูลเบื้องต้นการติดตาม

1.1 ข้อมูลเบื้องต้นการติดตาม
ชื่อสกุลผู้ติดตาม 1 ..นางปาลีรัตน์ แก้วประดิษฐ์.
ชื่อสกุลผู้ติดตาม 2 ...นางกำไล สมรักษ์
วันที่ลงพื้นที่ติดตาม 27 กุมภาพันธ์ 2013
วันที่ส่งรายงานถึง สสส. 10 มีนาคม 2013
1.2 ผู้ให้ข้อมูล
ลำดับชื่อ-สกุลผู้ให้ข้อมูลที่อยู่หมายเลขโทรศัพท์
1 ...นางจิตติพร เรืองทอง ...342/3 ม.1 ต.ปากพนังฝั่งตะวันตก อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช ...08 41829286
2 ...นางสาวพรรณี มีแสง ...372/11 ม.3 ต.ปากพนังฝั่งตะวันตก องปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช ...08 1894 6725
3 ...นายเลือดไทย ไหมนวล ...สมาชิกสภาเทศบาลเมืองปากพนัง เขต 3

ส่วนที่ 2 : ข้อมูลโครงการและความก้าวหน้าการดำเนินงาน

2.1 วัตถุประสงค์และตัวชี้วัดความสำเร็จโครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ตัวชี้วัดความสำเร็จ

1.

1.เพื่อให้สมาชิกในชุมชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการจัดการขยะและการดูแลบ้านสะอาด เรียบร้อย ดูแลสิ่งแวดล้อมข้างบ้าน เกิดกฎกติกาของชุมชนเพื่อบ้านน่าอยู่สิ่งแวดล้อมสะอาดปราศจากโรค

.- 100 ครัวเรือนเข้าร่วมโครงการมีการปรับเปลี่ยนตามข้อกำหนดบ้านน่าอยู่สิ่งแวดล้อมสะอาดปราศจากโรค -มีระบบการจัดการขยะของชุมชนในซอย 3 ซอยมาจากกติกาชุมชนและมาตรการจัดการขยะในชุมชน

2.

  1. คนในชุมชนมีความสามัคคี ร่วมใจกันจัดการขยะในครัวเรือน

-มีครอบครัวต้นแบบในชุมชน 10 ครอบครัว -มีตัวแทนซอยจัดการขยะในซอยตนเอง ทุกซอย ในชุมชน ซอยละ 5 คน

2.2 ความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ
กลุ่มเป้าหมายงบประมาณผลการจัดกิจกรรมเชิงปริมาณผลการจัดกิจกรรมเชิงคุณภาพ/สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ
ที่ตั้งไว้(บาท)เกิดขึ้นจริง(บาท)จำนวนที่ตั้งไว้(คน)จำนวนเกิดขึ้นจริง(คน)

กิจกรรมย่อย: ประชุมทีมi

กรรมการ 15 คน 0.00 0.00 0 0 ผลการจัดกิจกรรมเชิงคุณภาพที่ตั้งไว้ :

ประชุมทีมก่อนและหลังทำกิจกรรม

ผลการจัดกิจกรรมที่เกิดขึ้นจริง :

มีทีมงานเข้าร่วมประชุมครบ และประสานงานเรื่องการจัดกิจกรรม ยังไม่ได้ติดต่อวิทยากร น้ำหมักชีวภาพ

สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ :

กรรมการจัดกิจกรรมช่วยกันแบ่งงานรับผิดชอบ และมีการปฏิสัมพันธ์ในเชิงสร้้างสรรค์ และให้ความร่วมมือ เนื่องจากเห็นว่า ผู้รับผิดชอบโครงการนั้นมีความตั้งใจและความรับผิดชอบสูง

กิจกรรมย่อย: อบรมการจัดการขยะi

แกนนำครัวเรือน จำนวน 100 คน 0.00 0.00 0 0 ผลการจัดกิจกรรมเชิงคุณภาพที่ตั้งไว้ :

...จัดอบรมแก่ชาวบ้าน 100 คน เรื่องการจัดการขยะ และการหมักน้ำหมักชีวภาพ โดยวิทยากรภายนอก

ผลการจัดกิจกรรมที่เกิดขึ้นจริง :

......มีผู้เข้าร่วมประชุมอย่างน้อยร้อยละ 80 และจัดกิจกรรมตามแผน วันที่ 1 เป็นการพูดคุยโดยวิทยากรจากองสาธารณสุขแนะนำเรื่องการจัดระบบจัดการขยะ และชวนคิดชวนทำเรื่องกติกาชุมชน และเกิดผลลัพธ์กติกาชุมชนขึ้นมา 1 ฉบับ ส่วนวันที่ 2 ติดต่อวิทยากรจากพัฒนาชุมชน มาแนะ

สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ :

จากการชวนคิดชวนคุยในวันที่ไปสังเกตการณ์ในวันที่ 20 ธค.56 พบว่า ชาวชุมชนให้ความสนใจ และกระตือรือร้น ในการมาร่วมกิจกรรม และยินดีกับแกนนำที่สามารถหางบประมาณมาช่วยพัฒนาชุมชน จากการสังเกต พบว่า ผู้เข้าร่วมประมาณ80 คน ในตอนเช้า ผู้อำนวยการโรงเรียนเทศบาล เจ้าของสถานที่เห็นว่ามีประโยชน์จึงขอนำนักเรียน ป.6 มาร่วมรับฟังด้วย เห็นว่า เป็นการดำเนินการแบบมีส่วนร่วม และคุ้มค่าตามแผนที่โครงการตั้งไว้ และ ช่วงบ่าย แกนนำสามารถสรุปกติกาชุมชนออกมาจำนวน 5 ข้อคือ 1) ครัวเรือนแยกขยะออกเป็น 3 ประเภท คือ เปียก ทั่วไป และรีไซเคิล โดยใช้ถุงหรือวัสดุที่มีในครัวเรือน 2) ชุมชน กำหนด 5 ซอย มีผู้รับผิดชอบประจำซอยในการประสานงาน สนับสนุนแต่ละซอย และประเมินพฤติกรรมการจัดการขยะครัวเรือน 3) ขยะเปียกสะสมเก็บเพื่อทำน้ำหมักสะสมแต้ม 4)ขยะรีไซเคิลสะสมเก็บขายโครงการเดือนละ1 ครั้ง ทุกวันที่ 5 5) สะสมแต้ม ขยะทั่วไปเก็ยใส่ถุง ทิ้งถังเทศบาล ลดขยะทั่วไป 1กก เท่ากับได้แต้ม เพิ่ม 1 แต้มเป็นต้น 2.จากการติดตามสนทนากับผู้นำชุมชน พี่ตุ๊ก ซึ่งเป็นอดีตประธานชุมชน มาร่วมกิจกรรมด้วย พี่ตุ๊กเล่าว่า ท่าทางจะไปได้สวย ชุมชนเริ่มคิดกันเรื่องบ้านตนเองจะทำอย่างไร เองแล้ว ไม่พึ่งแต่เทศบาลเหมือนก่อน และอาจารย์เลือดไทย ไหมนวล ซึ่งเป็น สท.ในเขต และรับเชิญเป็นประธานในพิธีเปิดประชุมวันแรก เล่าว่า ท่านสนับสนุนและเป็นกำลังใจให้เต็มที่ ที่ชุมชนทำสิ่งดีดีด ไม่ว่าจะเป็นด้านวิทยากร การประสานงานกับเทศบาล และจะเห็นว่า มีรองนายก คุณ ฉัตรชัย สร้อย ทอง และสท.อีกท่าน คุณสุสัมพันธ์  สร้อยทอง มาร่วมกิจกรรมทั้ง 2 วัน
จากการประเมินความก้าวหน้าด้วยการทำAAR ได้คำตอบจากทีม ว่า มีสิงที่ดีเกิดขึ้นมา พี่นง นางลักษณ์ พรหมชาติ บอกว่า ตอนเช้าเห็นคนมาน้อย ตกใจไปปรึกษาอาจารย์ให้นำเด้กมาร่วมฟัง กลัวว่าอาหารกลางวัน จะเหลือ แต่พอประมาณเกือย 10 โมง คนทยอยกันมาจนเต็มเก้าอี้ กลายเป็นว่าเกินจำนวนที่จัดเนื่องจากอาจารย์นำเด็กมาฟังด้วย ก้หายกังวลไปเลย  ส่วนพี่อ่น ประธานโครงการ ยิ้มว่า ดีใจที่คนมาร่วมกันมาก ค่อยมีกำลังใจทำต่อ เป็นต้น ...

กิจกรรมย่อย: ประชุมทีมและพี่เลี้ยงติดตามโครงการi

แกนนำชุมชน 15 คน พี่เลี้ยง ๒ คน 0.00 0.00 0 0 ผลการจัดกิจกรรมเชิงคุณภาพที่ตั้งไว้ :

ประชุมทีมก่อนและหลังทำกิจกรรม

ผลการจัดกิจกรรมที่เกิดขึ้นจริง :

แกนนำชุมชน 14 คน ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการจัดการขยะโดยชุมชน ร่วมวางแผนการดำเนินงานต่อเนื่อง

สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ :

วิเคราะห์สถานการณ์การดำเนินงาน สรุปประเด็นการจัดการขยะ จากการแลกเปลี่ยนของทุกคน ได้ ๓ แบบ ได้แก่ ขยะแห้งที่นำมาขายได้ ทุกคนจะคัดแยกนำมาขาย ขยะเปียก บางคนใส่ถุงมาทิ้งในถังขยะเทศบาล ส่วนบางคนนำไปเป็นอาหารสัตว์ คือปลา และเป็ด ส่วนขยะมีพิษยังไม่ได้จัดเก็บให้ถูกต้อง ยังรวบรวมมาทิ้งในถึงเทศบาลรวมกับขยะอื่นๆ จากการแลกเปลี่ยนดังกล่าวทุกคนช่วยกันเสนอและตั้งเป็นกติกาของชุมชน คือ จัดตั้งกองทุนสวัสดิการขยะเพื่อชุมชนโดยชุมชน ขยะที่เข้ามาซื้อขายในกองทุนต้องมาจากบ้านเรือนในชุมชนไม่ใช่มาจากตลาดเพราะชุมชนมีจุดรวมรับซื้อที่แพงกว่าตลาดและคืนกำไรเป็นสวัสดิการให้กับคนในชุมชนที่มาขาย มีการบันทึกข้อมูลเป็นสมุดการรับซื้อและขาย มีรายละเอียดของประเภทขยะและผู้นำมาขาย สรุปประโยชน์จากการติดตามวันนี้คือ ๑)ได้สถานการณ์ปัจจุบันเรื่องการจัดการขยะของชุมชน ๒)ได้แลกเปลี่ยนขยะจากเพื่อบ้านที่คิดว่าไม่มีค่าให้เป็นของมีค่าสำหรับอีกคน เช่น เสื้อผ้าเด็กเก่าๆ นำมาให้ช่างซ่อมเครืองไว้เช็เครื่องมือ ๓)ได้แนวทางการนำคำถามเพื่อไปเรียนรู้และแลกเปลี่ยนกันเมื่อไปศึกษาดูงาน ๔)เกิดกติกาชุมชนเพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมจัดการขยะโดยชุมชน

กิจกรรมย่อย: ถอดบทเรียนi

คณะกรรมการ 15 คน ตัวแทนผู้เข้าร่วมโครงการ 20 คน เครือข่ายผู้ร่วมโครงการ 5 คน 0.00 0.00 0 0 ผลการจัดกิจกรรมเชิงคุณภาพที่ตั้งไว้ :

ถอดบทเรียนการดำเนินโครงการ

ผลการจัดกิจกรรมที่เกิดขึ้นจริง :

แกนนำและภาคีเข้าร่วมถอดบทเรียนมากกว่าเป้าหมาย

สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ :

เกิดการเปลี่ยนแปลง

  1. ด้านคน

  1.1 มีความตระหนักเรื่องจัดการขยะ นำความรู้ไปปฏิบัติเพื่อจัดการขยะในบ้านตนเองและในชุมชนได้ เกิดความสัมพันธ์ที่ดีกันมากขึ้น  ดังคำพูดว่า
“สร้างกระแสเรื่องสิ่งแวดล้อมสะอาดได้ดี ชาวบ้านไม่อ้าน(ขี้เกียจ)เหมือนก่อน รู้จักเก็บ รู้จักแยก รู้จักขาย ได้ตังมาเป็นค่ากับข้าวอีกที่บ้านก็ทำตามที่อบรม แยกขยะใส่ถุงก่อน ส่วนที่ขายได้ก็เก็บแยกไว้ขาย เก็บถุงหิ้วจากการซื้อของในตลาด มาพับเก็บรวมให้แม่ค้าในแผงที่ชุมชน ก็ช่วยลดขยะที่บ้าน และทำประโยชน์ให้เพื่อน ทำให้คนดีกัน (เลือดไทย, แจว,เอียด)

1.2 เพิ่มเครือข่ายการจัดการขยะไปชุมชนใกล้เคียง ดังคำพูดว่า “เห็นสินสืบสุขทำ จึงไปทำน้ำหมักเองที่บ้าน เอามารดผักได้แล้ว” (เจี๊ยบ บ้านสระแก้ว)

1.3 มีการทำงานเป็นทีม มีโครงสร้างการทำงานที่เอื้อต่อกัน ช่วยเหลือ เอื้ออาทรซึ่งกันและกัน และมีทีมงานสนับสนุนในพื้นที่เข้มแข็ง สามารถให้การปรึกษาและสนับสนุนได้ดี เช่น ผู้นำชุมชน สมาชิกเทศบาล กองสาธารณสุข โรงพยาบาล และโรงเรียน ดังคำพูดว่า
“ ตอนแรกกังวลทุกเรื่องทั้งเรือง งบโครงการมาก กลัวจะมีปัญหา กิจกรรมไม่ชัด ไม่รู้จะทำอย่างไร กลัวคนจะไม่มาร่วมกิจกรรม ก็ปรึกษากับพี่นง พี่นงก็ชวนกันมาปรึกษาน้องอ้อย พี่เลี้ยงที่ชุมชนอีกต่อ แต่พอทำกิจกรรมเรื่องประชุม ไม่มีปัญหาเลย ทุกคนมาครบ มาตรงเวลา ตามแผน ส่วนกิจกรรมที่ผ่านไป 2 ครั้ง คือ อบรมเรื่องขยะ และไปแลกเปลี่ยนที่ตรัง นั้น สนุก ทุกคนชอบ และได้ความรู้มาใช้มาก  ส่วนพี่นงบอกว่า แกนนำอยากไปด้วยหลายคน แต่รถไม่พอ ก็จัดไปตามแผน และบอกให้เค้าเข้าใจ เรื่องงบในการไปดูงาน ได้แบ่งภาระหน้าที่กันทำงานตามความถนัด เช่น ชักชวนคนมาประชุม ทำอาหาร บริการทั่วไป บันทึกและสรุปรายงาน หญิงรับเรื่องการดูแลอาหารเครื่องดื่ม ก็ทำได้ดี ไม่มีปัญหาอะไร และมีพี่ซิ้น พี่อารี และผู้ช่วยเสริฟหลายคน ส่วนน้องกานหน้าที่หลักเวลามีกิจกรรมคือ ชักชวนและบอกให้คนมาประชุม และลงทะเบียน ส่วนพี่อุษา และพี่เอียม จเด็ด หน้าที่หลักคือจัดการเรื่องสถานที่ ก็ช่วยๆกัน ทั้งเวลาจัดประชุม อบรม หรือว่า รับซื้อขยะของกองทุน”  (จิตติพร, หญิง, ศิริภัสสร, จด็จ, อารี) “ เป็นโครงการที่ดี ชุมชนได้รู้จักจัดการขยะเอง ไม่ต้องพี่งเทศบาลมาก และเทศบาลจะเป็นคนให้คำปรึกษาและมาร่วม ให้ชุมชนบอก ยินดีมากที่ได้ร่วมช่วยโครงการ ที่ผ่านมา ได้ช่วยเรื่องติดต่อวิทยากร น้ำหมัก จากรมพัฒนาที่ดินจังหวัด  และอาสาเป็นพี่เลี้ยงให้ตลอดโครงการ (คุณสุสัมพันธ์, นายเลือดไทย, สุรางค์)

  1. ด้านสิ่งแวดล้อม เปลี่ยนแปลงในทางที่ดีมากขึ้น บ้านเรือนสะอาด ชุมชนสะอาด ถุงใต้ถุนบ้านน้อยลง  บ้านเรือนเป็นระเบียบมากขึ้น และมีมาตรการชุมชนตามข้อตกลงในวันประชุม เกิดกลไกการขับเคลื่อนโดยมีกติกาชุมชน

  2. เกิดกลไกการขับเคลื่อนโดยชุมชน ใช้เวทีการประชุมชุมชนสร้างกลไก มีกติกาชุมชนสินสืบสุข 1 ) ชาวสินสืบสุขร่วมใจไม่ทิ้งขยะเพ่นพ่านเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม 2 ) ชาวสินสืบสุขต้องแยกขยะเปียก ขยะทั่วไป ขยะรีไซเคิล ก่อนนำไปทิ้งในถังที่จัดวาง 3 ) ชาวสินสืบสุขร่วมกันสร้างและจัดการกองทุน/ธนาคารขยะของชุมชน 4 ) ชาวสินสืบสุขเคารพในกฎกติกาชุมชนเรื่องการจัดการขยะในครัวเรือนและชุมชน 5 ) ชาวสินสืบสุขมีการแลกเปลี่ยนขยะและสร้างมูลค่าโดยการจัดการขยะในชุมชนเอง

  3. สิ่งที่ทำต่อเนื่อง คือ การพัฒนากองทุนขยะให้เป็นระบบ ฝึกเจ้าหน้าที่การเงินให้เข้าใจการทำรายงาน

2.3.1 นวัตกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ

(นวัตกรรมคือ การจัดการความคิด กระบวนการ ผลผลิต และ/หรือเทคโนโลยีที่เหมาะสม มาใช้งานให้เกิดประสิทธิผล และ/หรือประสิทธิภาพมากกว่าเดิมอย่างชัดเจน)

ชื่อนวัตกรรมคุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรมผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์

 

 

2.3.2 โครงการเด่น (Best Practice)

(โครงการเดิ่น คือ โครงการสร้างเสริมสุขภาพให้สัมฤทธิ์ผลที่เป็นรูปธรรมแล้วขยายผลอย่างยั่งยืน โดยแนวคิดกระบวนการ และผลงาน สามารถเป็นตัวอย่างที่จะนำไปขยายผลในชุมชน (Setting) อื่น ๆ ได้ การดำเนินงานมีส่วนร่วมของภาคีที่หลากหลาย มีการบริหารจัดการที่ดี โปร่งใสและตรวจสอบได้)

ชื่อ Best Practiceวิธีการทำให้เกิด Best Practiceผลของ Best Practice / การนำไปใช้ประโยชน์
2.3.3 เกิดแกนนำ/ผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านการสร้างเสริมสุขภาพในประเด็นต่าง ๆ
ชื่อ-สกุลที่อยู่ติดต่อได้สะดวกคุณสมบัติแกนนำ/ผู้นำการเปลี่ยนแปลง
...นายเลือดไทย ไหมนวล สมาชิกเทศบาล

จิตอาสา ทำงานเพื่อชุมชน

2.3.4 มีสภาพแวดล้อมและปัจจัยทางสังคมที่เอื้อต่อสุขภาพ

เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อสุขภาพในชุมชนพื้นที่โครงการดังนี้

สถานที่/พื้นที่ ที่เปลี่ยนแปลงรายละเอียดการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

...ชุมชนสินสืบสุขมีลักษณะเป็นซอย 5 ซอย เรียกว่าอยถมยา1-5 แต่ละซอยมีแกนนำโครงการประจำ คอยคติดต่อประสานงาน และเกิดการแข่งขันแต่ละซอยเชิงสร้างสรรค์

...ครัวเรือนเริ่มต้นลดขยะ สะอาดขึ้น สิ่งแวดล้อมสะอาดขึ้น  ซอยทุกซอยสะอาด ส่งผลให้ชุมชนน่าอยู่สิ่งแวดล้อมสะอาดลดโรคจากขยะ

ส่วนที่ 3 : ปัญหาและอุปสรรคสำคัญที่มีผลกระทบต่อการดำเนินงาน

3.1 การดำเนินงานกจิกรรม/กลุ่มเป้าหมาย/ระยะเวลาดำเนินงาน/การดำเนินงาน/งบประมาณ
ประเด็นปัญหา/อุปสรรคการแก้ไขของผู้รับทุนข้อเสนอแนะ/การแก้ไขปัญหาและการเสริมพลังของผู้ติดตาม

...ไม่มี

...ให้กำลังใจ และติดตามใกล้ชิด

 

3.2 การดำเนินงานกจิกรรม/กลุ่มเป้าหมาย/ระยะเวลาดำเนินงาน/การดำเนินงาน/งบประมาณ
ประเภทความเสี่ยง / ปัจจัยเสี่ยงระดับความเสี่ยง
(จากมากไปหาน้อย)
ข้อมูล ข้อสังเกตุ และข้อคิดเห็นของผู้ติดตาม
3210
1. ความเสี่ยงด้านการดำเนินงาน (Operational Risks)
1.1 โครงสร้างการดำเนินงาน

 

1.2 ศักยภาพและทักษะการดำเนินงาน

 

1.3 ผลลัพธ์และผลสำเร็จของการดำเนินงาน

 

2. ความเสี่ยงทางการเงิน (Financial Risks)
2.1 ระบบและกลไกการบริหารจัดการ

 

2.2 การใช้จ่ายเงิน

 

2.3 หลักฐานการเงิน

 

ผลรวม 0 0 0 0
ผลรวมทั้งหมด 0 ระดับความเสี่ยง : ???
เกณฑ์วัดระดับความเสี่ยง ???
สรุปการแก้ไขความเสี่ยง แก้ไขแล้ว ยังไม่ได้แก้ไข

ส่วนที่ 4 : สรุปความเห็นของผู้ติดตาม

ส่วนที่ 4สรุปความเห็นของผู้ติดตาม
4.1 กรณีเบิกเงินงวด/ติดตามเยี่ยมชม มีแนวโน้มสำเร็จตามเป้าหมายโครงการและติดตามปกติ
การวิเคราะห์ผลการดำเนินงานโครงการและสรุปข้อคิดเห็น

 

มีแนวโน้มเสี่ยง ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด เนื่องจาก
การวิเคราะห์ผลการดำเนินงานโครงการและสรุปข้อคิดเห็น

 

มีความเสี่ยง ต้องยุติโครงการ เนื่องจาก
4.2 กรณีสรุปปิดโครงการ ดำเนินงานได้ตามแผนปฏิบัติการและสามารถปิดโครงการได้
สรุปผลภาพรวมการดำเนินงาน-การเงินโครงการและข้อคิดเห็น

 

ไม่เป็นไปตามแผนปฏิบัติการ ให้ดำเนินการจัดระบบการเงิน ระบบรายงานให้ถูกต้องก่อนปิดโครงการ
สรุปผลภาพรวมการดำเนินงาน-การเงินโครงการและข้อคิดเห็น

 

ส่วนที่ 5 : สรุปภาพรวมของการติดตามประจำงวด (ข้อสังเกต/สิ่งดีๆ ที่ค้นพบ/ข้อพึงระวัง/บทเรียนที่ได้)

คนในชุมชน...สนิทสนมกันพูดคุยหยอกล้อกัน และมีความเคารพเชื่อถือผู้รับผิดชอบโครงการ น่าจะเป็นสิ่งแวดล้อมที่ดีที่ส่งเสริมให้ขับเคลื่อนได้ไม่ยากนัก  กติกา หรือมาตรการที่เกิดขึ้น ควรนำมาขยายผล และชวนคิดต่อเพื่อเสริมพลังให้มากขึ้น

สร้างรายงานโดย paleerut