แบบบันทึกการติดตามสนับสนุนโครงการ ครั้งที่ 2

รหัสโครงการ 55-01779
สัญญาเลขที่ 55-00-0938

ชื่อโครงการ สินสืบสุขร่วมใจทำบ้านน่าอยู่สิ่งแวดล้อมสะอาดปราศจากโรค
รหัสโครงการ 55-01779 สัญญาเลขที่ 55-00-0938
ระยะเวลาตามสัญญา 1 ตุลาคม 2012 - 31 ตุลาคม 2013

ส่วนที่ 1 : ข้อมูลเบื้องต้นการติดตาม

1.1 ข้อมูลเบื้องต้นการติดตาม
ชื่อสกุลผู้ติดตาม 1 ...นางปาลีรัตน์ แก้วประดิษฐ์
ชื่อสกุลผู้ติดตาม 2
วันที่ลงพื้นที่ติดตาม 14 มิถุนายน 2013
วันที่ส่งรายงานถึง สสส. 14 มิถุนายน 2013
1.2 ผู้ให้ข้อมูล
ลำดับชื่อ-สกุลผู้ให้ข้อมูลที่อยู่หมายเลขโทรศัพท์
1 นางจิตติพร เรืองทอง 342/3 ม. 1 ต.ปากพนังฝั่งตะวันตกอ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช 0841829286
2 นางปรีญา สินธุพาชี 363/7…หมู่ที่ 1 ต.ปากพนังฝั่งตะวันตก อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช… 0810872556
3 นางเจียมจิตต์ เมตตาจิต 195…หมู่ที่ 1 ต.ปากพนังฝั่งตะวันตก อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช…
4

ส่วนที่ 2 : ข้อมูลโครงการและความก้าวหน้าการดำเนินงาน

2.1 วัตถุประสงค์และตัวชี้วัดความสำเร็จโครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ตัวชี้วัดความสำเร็จ

1.

1.เพื่อให้สมาชิกในชุมชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการจัดการขยะและการดูแลบ้านสะอาด เรียบร้อย ดูแลสิ่งแวดล้อมข้างบ้าน เกิดกฎกติกาของชุมชนเพื่อบ้านน่าอยู่สิ่งแวดล้อมสะอาดปราศจากโรค

.- 100 ครัวเรือนเข้าร่วมโครงการมีการปรับเปลี่ยนตามข้อกำหนดบ้านน่าอยู่สิ่งแวดล้อมสะอาดปราศจากโรค -มีระบบการจัดการขยะของชุมชนในซอย 3 ซอยมาจากกติกาชุมชนและมาตรการจัดการขยะในชุมชน

2.

  1. คนในชุมชนมีความสามัคคี ร่วมใจกันจัดการขยะในครัวเรือน

-มีครอบครัวต้นแบบในชุมชน 10 ครอบครัว -มีตัวแทนซอยจัดการขยะในซอยตนเอง ทุกซอย ในชุมชน ซอยละ 5 คน

2.2 ความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ
กลุ่มเป้าหมายงบประมาณผลการจัดกิจกรรมเชิงปริมาณผลการจัดกิจกรรมเชิงคุณภาพ/สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ
ที่ตั้งไว้(บาท)เกิดขึ้นจริง(บาท)จำนวนที่ตั้งไว้(คน)จำนวนเกิดขึ้นจริง(คน)

กิจกรรมย่อย: 1.ประชุมเพื่อสร้างทีมและพัฒนากระบวนการเรียนรู้ในสภาแกนนำสินสืบสุข ประจำ เดือนละครั้ง แบ่งงาน มอบหมายงานและครัวเรือนที่ต้องรับผิดชอบแต่ละซอยในการช่วยกันทำน้ำหมักชีวภาพ คัดแยกขยะi

15 คน 0.00 0.00 0 0 ผลการจัดกิจกรรมเชิงคุณภาพที่ตั้งไว้ :

12 ครั้ง 15 คน

ผลการจัดกิจกรรมที่เกิดขึ้นจริง :

8 ครั้ง 15 คน

สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ :

คณะทำงานมีการประชุมพบปะกันทุกเดือน ประมาณวันที่ 14-15 จำนวน  15 คน ซึ่งเป็นแกนนำจำนวน 7 คน และเป้นกรรมการ 7 คน และมีประธานชุมชนคุณพรรณี  มีแสง ร่วมประชุมบางครั้ง ในไตรมาสนี้ได้ประชุมทุกเดือนและแบ่งงานการจัดการในธนาคารขยะทุกวันที่ 5 ของเดือน ซึ่งคณะทำงานยอมรับและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย ได้แก่ พี่อุ่น หัวหน้าโครงการ เป็นผู้ติดต่อปาะสานงานรถรับซื้อขยะ พี่นง เป็นคนประชาสัมพันธ์เรื่องวันเวลา และราคา หญิงเป็นคนลงบัญชี พี่อ่วม และจเด๊ด เป็นรวบรวมขยะ ชั่ง แยกประเภทก่อนขาย เป็นต้น จากการติดตามพบว่า คณะทำงานมีการทำงานเป็นทีม

กิจกรรมย่อย: 2.ร่วมจัดตั้งกองทุนธนาคารขยะในชุมชน 1 แห่งและจัดการกองทุนโดยการรับซื้อและจำหน่ายต่อโดยให้พ่อค้ามารับทุกเดือนในวันที่ 5i

1 แห่ง 100 คน 0.00 0.00 0 0 ผลการจัดกิจกรรมเชิงคุณภาพที่ตั้งไว้ :

1 แห่ง 100 คน

ผลการจัดกิจกรรมที่เกิดขึ้นจริง :

1 แห่ง 80 คน

สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ :

มติชุมชนได้กำหนดกติกาชุมชนสินสืบสุขด้านการจัดการขยะ และได้ร่วมกันก่อตั้งธนาคารขยะ 1 แห่ง อยู่ที่ ปากซอยถมยา 3 พื้นที่ประมาณ 18 ตารางวา  โดยชาวชุมชนช่วยกันหาไม้วัสดุลวด อวน มากั้นแบ่งล็อคเพื่อแยกขยะเพื่อรับซื้อและเตรียมส่งจำหน่าย โดยพี่เอี่ยมและลุงพล เป็นช่างจัดการเรื่องสถานที่ พี่อุ่นจัดการเรื่องป้ายและระบบซื้อขาย หญิงเป็นคนจดบัญชีตามมติที่ประชุมพี่อุ่นเล่าว่า โดยเปิดครั้งแรกในวันที่ 5 มีค.56 มีคนมาร่วมประมาณ 20 ราย ได้ขยะนำไปขายต่อได้ 200 บาท ยังไม่ได้กำไร เพราะกองทุนซื้อสูงกว่าตลาดทั่วไป แต่วันนี้พี่นง บอกว่า คนในชุมชนเก็บขยะจากในบ้านและในซอยมาขายมากขึ้น เฉพาะบ้านพี่นงเอง เดือนนี้ได้เงินตั้ง 800 กว่าบาท ช่วยค่าน้ำ ค่าไฟได้พอดี และบ้านอื่นๆก๋เช่นเดียวกัน พี่เล็ก ที่เป็นแกนนำบอกว่า แต่ก่อนแกเดินเก็บขวดพลาสติก กระป่องเบียร์จากถังเทศบาลมาขายด้วยได้เดือนนึงเป็นกระสอบ เดี๋ยวนี้หาไม่ได้แล้ว เด็กในซอยขนไปขายที่กองทุนขยะหมด และในถัง และบนถนนแทบไม่มีขยะประเภทนี้ ช่วยให้ชุมชนสะอาดขึ้นมาก ส่วนเรื่องการแปลงขยะสด เปลือกผลไม้ เศษอาหาร ไปทำน้ำหมักแต่ละซอยนั้น พบว่าทำได้ไม่ครบทุกซอย คนที่ทำประจำได้แก่ บ้านพี่อุ่น ทำน้ำหมักจากเปลือกสัปะรดมาล้างห้องน้ำและโถส้วม ลดรายจ่ายจากผงขัดห้องน้ำไม่ต้องซื้อ บ้านลุงพล ทำประจำทำเป้นอาชีพเลยแบ่งปัน และแบ่งขายเป็นขวดๆละ 20 บาท ได้รายได้โขอยู่ และพี่นงได้ชวนไปดูบ้านพี่แป๋ว ซึ่งได้ชื่อว่าเจ้าแม่น้ำหมักไปแล้ว พี่แป๋วเป็นโรคเบาหวาน ความดัน ไขมัน ตอนนี้ทำน้ำหมักลูกยอ มะขามป้อม ใช้กินลดน้ำตาลในเลือดร่วมกับยาประจำ พบว่าช่วยลดน้ำตาลในเลือดได้และยังแบ่งให้คนอื่นๆที่มาขอด้วยโดยไม่ขาย ส่วน เปลือกสัปะรด มาทำปุ๋ยน่ำหมัก ใช้ล้างห้องน้ำ ราดท่อน้ำไม่อุดตัน เดือนๆลดรายจ่ายๆด้เกือบ 2000 บาทผู้ติดตามได้ลองชิมพบว่ารสชาติดี ดื่มได้ ขั้นตอนทำสะอาดถูกหลักอนามัย เก็บไว่กว่า 1 ปีมาแล้วทุกถัง นอกจากนั้นไปดูที่บ้านพี่ซิ่ว ปรีญา แกมีบ้านหลังเดิมในซอยสินสืบสุข แต่ลูกปลูกบ้านอีกหลังให้นอกซอย แกทำกิจกรรมแนวเกษตรพอเพียง เลี้ยงปลานิลปลาทับทิมไว้ที่หลังบ้านนำเศษกากมะพร้าวรวรวมมาจากงานต่างๆในชุมชนมาคลุกกับรำ และหั่นหยวกปั้นให้ปลากินลดค่าอาหารปลาได้หลายพันบาท และเลี้ยงไก่ โดยนำกล้วยน้ำหว้า และกากมะพร้าวเป็นอาหารไม่ต้องซื้อ นอกจากนั้นนำเศษกล้วย เศษผัก มาหมักทำปุ๋ยหมัก และน้ำหมักมารดผักสวนครัวเช่น พริก มะละกอ ใบกระเพรา ขมั้น ข่า แทนปุ๋ยเคมี แกบอกว่า คุณภาพชีวิตดีีขึ้นเยอะพอเพียง วันๆแทบไม่ต้องซื้ออะไร จะทำอะไรกินก็เดินมาหลังบ้านและได้แบ่งเพื่อนๆบ้านด้วย สี่พี่อุ่นเล่าว่า เดือนหลังๆ เด็กมาขายขยะได้เงินเอาไปออมใสส่กระปุกช่วงปิดเทอมกันหลายคน

กิจกรรมย่อย: 3, จัดกิจกรรมชุมชนสัมพันธ์ทุก 2 เดือน เพื่อสื่อสารกิจกรรม ความก้าวหน้าของโครงการแก่ผ้ร่วมโครงการและชุมชนเพื่อทราบและความมั่นใจi

4 ครั้ง 100คน/ครั้ง 0.00 0.00 0 0 ผลการจัดกิจกรรมเชิงคุณภาพที่ตั้งไว้ :

4 ครั้ง  100คน/ครั้ง

ผลการจัดกิจกรรมที่เกิดขึ้นจริง :

3ครั้ง  75คน/ครั้ง

สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ :

จากการติดตามพบว่า กิจกรรมครั้งแรกวันที่ 20  มีค 56 คนมาร่วมกิจกรรม ครบ แต่ ช่วงบ่ายเหลือคนจำนวนน้อย เนื่อจากไปช่วยงานบวชเพื่อนบ้านในซอย และได้ร่วมกิจกรรมนันทนาการประมาณ 40 กว่าคน แต่ได้ใช้งบประมาณค่าอาหารไปตามแผนแล้ว ส่วนอาหารว่างช่วงบ่อยนั้นได้ชวนเด็กนักเรียนร่วมกิจกรรมเก็บขยะในโรงเรียนแทนและจัดอาหารว่างให้เด็กๆนับว่าได้ดำเนินกิจกรรมและคุณภาพได้ตามเป้าหมาย ส่วนครั้งที่ 2 เป็นควันหลงจากเทศกาลสงกรานต์ จัดในวันที่ 15 พค 56  จึงมีกิจกรรมชุมชนร่วมกับรดย้ำผู้สูงอายุขอพรแก่คณะทำงานโครงการไปด้วยโดยวิทยากรจากเทศบาลเมืองปากพนังมาจัดกิจกรรมนันทนาการพร้อมกับทีมอสม. พบว่าผู้สูงอายุมีความสุขที่ลุกหลานมาร่วมรดน้ำกันทั้งชุมชน  ส่วนครั้งที่ 3 วางแผนจัดในวันที่ 21 มิถุนายน โดยจัดเป็นกิจกรรมแข่งขันกีฬาพื้นบ้านซอยมหาสนุกโดยให้แต่ละซอยส่งทีมเข้าแข่งขัน และจากการประชุมติดตามของพี่เลี้ยงในวันที่ 14 มิย. 56 เห็นว่าทีมงานแต่ละคนออกความคิดเห็นและมีส่วนร่วมและบรรยากาศในที่ประชุมดีเป้นกันเอง ให้เกียรติกันและแบ่งงานกัน

กิจกรรมย่อย: 4. การติดตามครัวเรือนในพื้นที่ด้านการจัดการขยะi

100 ครัวเรือน ต้นแบบ 10 ครัวเรือน 0.00 0.00 0 0 ผลการจัดกิจกรรมเชิงคุณภาพที่ตั้งไว้ :

100 ครัวเรือน ต้นแบบ 10 ครัวเรือน

ผลการจัดกิจกรรมที่เกิดขึ้นจริง :

70 ครัวเรือน

สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ :

จำนวนครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการต่อเนื่องจำนวน 70 ครัวเรือน เนื่องจากมีครัวเรือนจำนวน60 หลังที่ทะเบียนติดชุมชนแต่บ้านตั้งอยู่ห่างไกลออกไปถึงหลังวัดนาควารี ทำให้มาร่วมกิจกรรมยาก และบางครั้งแกนนำประชาสัมพันธ์ไม่ทั่วถึง

2.3.1 นวัตกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ

(นวัตกรรมคือ การจัดการความคิด กระบวนการ ผลผลิต และ/หรือเทคโนโลยีที่เหมาะสม มาใช้งานให้เกิดประสิทธิผล และ/หรือประสิทธิภาพมากกว่าเดิมอย่างชัดเจน)

ชื่อนวัตกรรมคุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรมผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์
1.ถุงหลากสีมีประโยชน์

คณะทำงานลดรายจ่ายจากการซื้อถุงใส่ขยะแจกครัวเรือน จึงตกลงให้ใช้ถุงกรอบแกรบที่ได้เวลาซื้อของมาแยกสีเก็บขยะโดยกำหนดสีขาวเป็นขยะแห้ง สีดำ หรือเขียวเป็นขยะเปียก สีฟ้าเป็นขยะที่ขายได้ ส่วนสีแดงเป็นขยะอันตราย ซึ่งแต่ละครัวเรือนยอมรับและปฏิบัติได้ ส่วนถุงใหม่ๆถ้้าพับเรียบร้อยรวบวมส่งให้พี่อุ่นรับซื้อกก.ละ 5 บาท

ลดขยะที่ทิ้งลงถัง ลดรายจ่ายในการซื้อถุงใส่ขยะของโครงการและครัวเรือน ประยุก นำขยะกลับมาใช้ใหม่ เอื้ออาทรกันมากขึ้นจากการส่งมอบถุง ยางเส้นมัดถุงให้แก่แม้ค้าในซอย

2.ออมให้ดี มีกระปุกออมสิน

กระตุ้นเด้กๆในชุมชนให้ร่วมโครงการและเก็บออมเงินโดยให้รางวัลเป็นกระปุกออมสินแก่เด้กที่ร่วมโครงการ ปลุกจิตสำนึกการหารายได้จากการขายขยะไม่ใช่เรื่องน่าอาย ช่วยพ่อแม่หารายได้ง่ายๆ

เด็กๆในชุมชนกระตือรือร้นทุกวันที่รับซื้อขยะ แย่งกันเก็บกระป่อง ขวดพลาสติกมาขายเพื่อเก็บเงินช่วยทำให้ชุมชนลดขยะ และสะอาดมากขึ้น

3.ขยะสวยสร้างค่า

ชาวสินสืบสุขใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ โดยการฝึกทำลูกกัลปพฤกษ์(ลูกคำพริก) ที่ใช้ในงานบวช งานศพ โดยนำเหรียนบาทมาห่อด้วยถุงพลาสติกสีสวยเช่นถุงน้ำยาล้างจาน ห่อผงซักฟอก ห่อขนม ริบบินใช้แล้ว เป็นต้น ซึ่งขยะเหล่านี้ขายไม่ได้ ทำลายยาก และทำลายบรรยากาศเพิ่มภาวะโลกร้อน การนำมาตัดและประดิษฐ์เป็นของใช้ หลายอย่าง ได้แก่ หลอดน้ำแข็งนำมาทำเป้นกระเช้าดอกไม้ประดิษฐ์ สายพลาสติกมัดของ นำมาสานเป็นตะกร้าสารพัดประโชน์ ไพ่ใช้แล้วนำมาประดิษฐ์เป็นกระเช้าของฝาก และนำริบบิ้น โบว์ที่ได้มาจากของขวัญนำมาทำดอกไม้ประดิษฐ์

  1. ใช้เวลายามว่าง ดูทีวี ฟังเพลงมาประดิษฐ์ของใช้จากขยะ
  2. มีส่วนร่วมในกิจกรรมครอบครัวสัมพันธ์ บางบ้านช่วยทำกันทั้งพ่อ แม่ ลูก
  3. มีรายได้จากการขายให้แก่คนที่สนใจแลละสะสม เป็นของที่ระลึก ถึงแม้รายได้ไม่มากก็เกิดความภูมิใจ
  4. ใช้สิ่งประดิษฐ์เป็นของฝาก และเป็นที่ระลึกของครอบครัวและชุมชน  ใช้ประดับตกแต่งบ้านเรือน
2.3.2 โครงการเด่น (Best Practice)

(โครงการเดิ่น คือ โครงการสร้างเสริมสุขภาพให้สัมฤทธิ์ผลที่เป็นรูปธรรมแล้วขยายผลอย่างยั่งยืน โดยแนวคิดกระบวนการ และผลงาน สามารถเป็นตัวอย่างที่จะนำไปขยายผลในชุมชน (Setting) อื่น ๆ ได้ การดำเนินงานมีส่วนร่วมของภาคีที่หลากหลาย มีการบริหารจัดการที่ดี โปร่งใสและตรวจสอบได้)

ชื่อ Best Practiceวิธีการทำให้เกิด Best Practiceผลของ Best Practice / การนำไปใช้ประโยชน์
เกิดกลุ่มน้ำหมักเพื่อบริโภค และน้ำหมักอุปโภคใช้ในครัวเรือนเพิ่มขึ้นจากก่อนโครงการ

การประชาสัมพันธ์โครงการแก่ผู้ร่วมกิจกรรม และส่งผลให้ผู้ที่ไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรมกระทำกิจกรรมในเชิงแข่งขันกันทำที่บ้านตนเอง และใช้กลวิธี ติดตามเยี่ยมชมถึงบ้าน ให้กำลังใจ และบันทึกภาพร่วมกันพร้อมขอซื้อตัวอย่างไปจัดนิทรรศการ

เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสร้างกระแสรักสุขภาพในชุมชน ครัวเรือนที่เคยรับการแบ่งปัน จากเพื่อนบ้านมีการหัดทำใช้เองบ้าง และขยายกลุ่มใหญ่มากขึ้น

2.3.3 เกิดแกนนำ/ผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านการสร้างเสริมสุขภาพในประเด็นต่าง ๆ
ชื่อ-สกุลที่อยู่ติดต่อได้สะดวกคุณสมบัติแกนนำ/ผู้นำการเปลี่ยนแปลง
นางปรีญา สินธุพาชี ...363/7…หมู่ที่ 1 ต.ปากพนังฝั่งตะวันตก อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช…

เป็นแบบอย่างที่ดีในชุมชนด้านการประหยัด การใช้ชีวิตแบบปรัชญาเศษรฐกิจพอเพียง ลดรายจ่ายจำเป็นเช่นค่ากับข้าวได้ทุกเดือน รายจ่ายค่าอาหารปลา ปุ๋ยเป็นต้น ได้สัมพันธ์เพื่อนบ้าน

นางเจียมจิตต์ เมตตาจิต ...195…หมู่ที่ 1 ต.ปากพนังฝั่งตะวันตก อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช…

เป็นแบบอยางที่ดีของชุมชนในการทำน้ำหมักเพื่อสุขภาพ และควบคุมโรคเรื้อรังที่เป็นได้ดี มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในทางที่พึงประสงค์มากขึ้น ไม่พึ่งหมอ พึ่งตนเองได้

นายพล เจริญศรี ...195…หมู่ที่ 1 ต.ปากพนังฝั่งตะวันตก อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช…

เป็นแบบอย่างที่ดีแก่ชุมชนด้านการทำน้ำหมักใช้ในครัวเรือนและแบ่งขายแก่เพื่อนบ้านอเนกประสงค์ตั้งแต่การทำน้ำหมัก น้ำยาล้างจาน สบู่ และร่วมกิจกรรมโครงการต่อเนื่องตลอดมา

2.3.4 มีสภาพแวดล้อมและปัจจัยทางสังคมที่เอื้อต่อสุขภาพ

เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อสุขภาพในชุมชนพื้นที่โครงการดังนี้

สถานที่/พื้นที่ ที่เปลี่ยนแปลงรายละเอียดการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
  1. ครัวเรือน

บ้านช่องสะอาดสะอ้าน ขยะน้อยลงที่ขายได้ก้ เก็บไปขายกับโครงการ ที่เป็นเศษอาหารใต้ถุนก้ไม่ทิ้ง เก็บไปแลกเปลี่ยนกับเพื่อนบ้าน ไม่มีขยะ ไม่มีสัตว์คุ้ยเขี่ย

  1. ถนนใหญ่ ถนนซอย

ถนนใหญ่สะอาดตา ไม่มีขยะ เพราะถังขยะไม่ล้านจนออกมาบนพื้นให้สุนัขคุ้ยเขี่ยหรือคนมาคุ้ยเก็บขยะ ส่วนในซอยก็สะอาดมากขึ้น

3.ใช้พื้นที่ในการใช้สอยประโยชน์มากขึ้น

บ่อร้างนำมาลอกทำบ่่อเลี้ยงปลาโดยใช้เศษกากอาหาร เลี้ยงไก่บ้าน เป็นวงจรลดรายจ่ายในครัวเรือน เพิ่มรายได้จากการทำสวนครัวข้างบ้าน

ส่วนที่ 3 : ปัญหาและอุปสรรคสำคัญที่มีผลกระทบต่อการดำเนินงาน

3.1 การดำเนินงานกจิกรรม/กลุ่มเป้าหมาย/ระยะเวลาดำเนินงาน/การดำเนินงาน/งบประมาณ
ประเด็นปัญหา/อุปสรรคการแก้ไขของผู้รับทุนข้อเสนอแนะ/การแก้ไขปัญหาและการเสริมพลังของผู้ติดตาม

ด้านกิจกรรมในการดำเนินงานทีมงานประเมินว่าช้า  ยาวนานเป็นปี ไม่ค่อยต่อเนื่อง ทำให้ปลุกกระแสได้น้อยกว่าที่ควร ส่วนการมาร่วมกิจกรรม ช่วงบ่อยคนที่มีภารกิจกินข้าวเที่ยงแล้วกลับเยอะทำให้บรรยากาศการทำกิจกรรมช่วงบ่อยไม่สนุกเท่าที่ควร ด้านงบประมาณ จัดงบประมาณค่าอาหารไว้แล้วก็ยกเลิกไม่ได้ทำให้ต้องปรับเปลี่ยนกลยุทธ์เพื่อให้กิจกรรมบรรลุตามจุดประสงค์ไม่เสียเวลาและงบประมาณไโดยไร้ประโยชน์

ปรับกิจกรรมเพิ่มเติมให้เกิดคุณค่าเหมาะสมกับงบประมาณรายจ่าย

ให้กำลังใจ ชี้แนะระเบียบและการแก้ไขเรื่องงบประมาณอย่างถูกต้องเป็นธรรมและสามารถทำให้ชุมชนเกิดความมั่นใแก่คณะทำงานและกระตุ้นให้ใช้งบประมาณตามแผน

3.2 การดำเนินงานกจิกรรม/กลุ่มเป้าหมาย/ระยะเวลาดำเนินงาน/การดำเนินงาน/งบประมาณ
ประเภทความเสี่ยง / ปัจจัยเสี่ยงระดับความเสี่ยง
(จากมากไปหาน้อย)
ข้อมูล ข้อสังเกตุ และข้อคิดเห็นของผู้ติดตาม
3210
1. ความเสี่ยงด้านการดำเนินงาน (Operational Risks)
1.1 โครงสร้างการดำเนินงาน

ดำเนินงานได้ตามเป้าหมายกิจกรรมที่กำหนดโดยอาจเลื่อนเปลี่ยนแปลงจากแผนเดิม

1.2 ศักยภาพและทักษะการดำเนินงาน

ผู้รับผิดชอบโครงการมีภาวะผู้นำและได้รับความร่วมมือจากชุมชนดี ส่วนทีมงานมีความรับผิดชอบช่วยกันทำงานตามที่มอบหมายไว้

1.3 ผลลัพธ์และผลสำเร็จของการดำเนินงาน

ผลลัพธ์เชิงปริมาณได้ประมาณร้อยละ 80 ส่วนด้านคุณภาพ พฤติกรรมคนในชุมชน และสภาพแวดล้อม แนวคิดเจตคติชุมชนเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีมากขึ้น

2. ความเสี่ยงทางการเงิน (Financial Risks)
2.1 ระบบและกลไกการบริหารจัดการ

ก่อนใช้เงินแต่ละกิจกรรมผู้รับผิดชอบขอมาปรึกษาและตรวจสอบความถูกต้องระเบียบกับพี่เลี้ยงทุกครั้งทำให้การใช้เงินไม่ผิดแผน ถูกต้องตามระเบียบ

2.2 การใช้จ่ายเงิน

เหมือนข้อ 2.1

2.3 หลักฐานการเงิน

ผู้รับผิดชอบและเจ้าหน้าที่การเงินทำหน้าที่ได้ถูกต้อง หลักฐานครบถ้วน

ผลรวม 0 0 0 0
ผลรวมทั้งหมด 0 ระดับความเสี่ยง : ???
เกณฑ์วัดระดับความเสี่ยง ???
สรุปการแก้ไขความเสี่ยง แก้ไขแล้ว ยังไม่ได้แก้ไข

ส่วนที่ 4 : สรุปความเห็นของผู้ติดตาม

ส่วนที่ 4สรุปความเห็นของผู้ติดตาม
4.1 กรณีเบิกเงินงวด/ติดตามเยี่ยมชม มีแนวโน้มสำเร็จตามเป้าหมายโครงการและติดตามปกติ
การวิเคราะห์ผลการดำเนินงานโครงการและสรุปข้อคิดเห็น

 

มีแนวโน้มเสี่ยง ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด เนื่องจาก
การวิเคราะห์ผลการดำเนินงานโครงการและสรุปข้อคิดเห็น

 

มีความเสี่ยง ต้องยุติโครงการ เนื่องจาก
4.2 กรณีสรุปปิดโครงการ ดำเนินงานได้ตามแผนปฏิบัติการและสามารถปิดโครงการได้
สรุปผลภาพรวมการดำเนินงาน-การเงินโครงการและข้อคิดเห็น

 

ไม่เป็นไปตามแผนปฏิบัติการ ให้ดำเนินการจัดระบบการเงิน ระบบรายงานให้ถูกต้องก่อนปิดโครงการ
สรุปผลภาพรวมการดำเนินงาน-การเงินโครงการและข้อคิดเห็น

 

ส่วนที่ 5 : สรุปภาพรวมของการติดตามประจำงวด (ข้อสังเกต/สิ่งดีๆ ที่ค้นพบ/ข้อพึงระวัง/บทเรียนที่ได้)

1.พฤติกรรมชุมชน และคนในชุมชนคนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม การดูแลบ้านช่องสะอาดเป็นสัดส่วน ไม่ทิ้งขยะเพ่นพ่าน สังเกตได้จากบริเวณข้างบ้าน ใต้ถุน และข้างถนน ไม่มีขยะให้เห็น กลุ่มที่ทำน้ำยาล้างจาน น้ำหมัก ก็ขยายผลนำมาแบ่งปัน ฝึกหัดเพื่อนบ้านที่สนใจ บางบ้านก็ขายในราคาถูก และส่งให้มีความสัมพันธ์กันดี เอื้ออาทรกันมากขึ้น  มีคนต้นแบบที่ทุกเช้าที่ออกกวิ่งออกกำลังกายแกจะมีถุง 1 ใบเพื่อเก็บขยะและนำไปทิ้งให้ลงถังถูกต้อง แกบอกว่า เดี๋ยวนี้ ไม่มีขยะให้แกเก็บมากเหมือนแต่ก่อน 2.เด้กๆในชุมชนเปลี่ยนไปในทางที่ดี เด็กรู้จักเก็บขยะรีไซเคิลที่อยู่ในครัวเรือน ในถนน และในพื้นที่ มาขาย รู้จักเก็บออมและรวมกลุ่มทำสิ่งที่มีประโยชน์เชิงช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อม
3. สิ่งแวดล้อมสะอาดมากขึ้น ยังไม่พบโรคที่ติดต่อเช่นท้องร่วง ไข้เลือดออกในชุมชน ถนนซอยทั้งถมยา 1-5 ไร้ขยะ สะอาดมากขึ้น

สร้างรายงานโดย paleerat