แบบบันทึกการติดตามสนับสนุนโครงการ ครั้งที่ 3

รหัสโครงการ 55-01779
สัญญาเลขที่ 55-00-0938

ชื่อโครงการ สินสืบสุขร่วมใจทำบ้านน่าอยู่สิ่งแวดล้อมสะอาดปราศจากโรค
รหัสโครงการ 55-01779 สัญญาเลขที่ 55-00-0938
ระยะเวลาตามสัญญา 1 ตุลาคม 2012 - 31 ตุลาคม 2013

ส่วนที่ 1 : ข้อมูลเบื้องต้นการติดตาม

1.1 ข้อมูลเบื้องต้นการติดตาม
ชื่อสกุลผู้ติดตาม 1 ...นางปาลีรัตน์ แก้วประดิษฐ์
ชื่อสกุลผู้ติดตาม 2
วันที่ลงพื้นที่ติดตาม 14 กันยายน 2013
วันที่ส่งรายงานถึง สสส. 15 กันยายน 2013
1.2 ผู้ให้ข้อมูล
ลำดับชื่อ-สกุลผู้ให้ข้อมูลที่อยู่หมายเลขโทรศัพท์
1 ...นางสาวอรลักษณ์ พรหมชาติ ...119/1 ม,1 ค.ปากพนังฝั่งตะวันตก
2 ...นายฉัตรชัย สร้อยทอง ...เทศบาลเมืองปากพนัง
3 ...นางจิรา สิทธิรัตน์ ...221/1 ม.1 ต.ปากพนังฝั่งตะวันตก

ส่วนที่ 2 : ข้อมูลโครงการและความก้าวหน้าการดำเนินงาน

2.1 วัตถุประสงค์และตัวชี้วัดความสำเร็จโครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ตัวชี้วัดความสำเร็จ

1.

1.เพื่อให้สมาชิกในชุมชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการจัดการขยะและการดูแลบ้านสะอาด เรียบร้อย ดูแลสิ่งแวดล้อมข้างบ้าน เกิดกฎกติกาของชุมชนเพื่อบ้านน่าอยู่สิ่งแวดล้อมสะอาดปราศจากโรค

.- 100 ครัวเรือนเข้าร่วมโครงการมีการปรับเปลี่ยนตามข้อกำหนดบ้านน่าอยู่สิ่งแวดล้อมสะอาดปราศจากโรค -มีระบบการจัดการขยะของชุมชนในซอย 3 ซอยมาจากกติกาชุมชนและมาตรการจัดการขยะในชุมชน

2.

  1. คนในชุมชนมีความสามัคคี ร่วมใจกันจัดการขยะในครัวเรือน

-มีครอบครัวต้นแบบในชุมชน 10 ครอบครัว -มีตัวแทนซอยจัดการขยะในซอยตนเอง ทุกซอย ในชุมชน ซอยละ 5 คน

2.2 ความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ
กลุ่มเป้าหมายงบประมาณผลการจัดกิจกรรมเชิงปริมาณผลการจัดกิจกรรมเชิงคุณภาพ/สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ
ที่ตั้งไว้(บาท)เกิดขึ้นจริง(บาท)จำนวนที่ตั้งไว้(คน)จำนวนเกิดขึ้นจริง(คน)

กิจกรรมย่อย: i

ชาวสินสืบสุข100 ราย 0.00 0.00 0 0 ผลการจัดกิจกรรมเชิงคุณภาพที่ตั้งไว้ :

ตัวแทนมีส่วนร่วมในกิจกรรมตลอด บรรยากาศเป็นกันเอง มีภาคีเครือข่ายจากสท.และเทศบาลเมืองปากพนัง ครูรร.เทศ 3 และผอ.รร มร่วมกิจกรรมและสร้างข้อตกลงเรื่องโรงเรียนร่วมสร้างชุมชนน่าอยู่

ผลการจัดกิจกรรมที่เกิดขึ้นจริง :

จัดกิจกรรมนันทนาการเพื่อสร้างความสุขและความสามัคคี มีเด็กนักเรียนร่วมกิจกรรม จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนและสื่อสารผลการดำเนินงานและจัดนิทรรศการมีชีวิตให้ชุมชนใกล้เคียงและผู้สนใจได้เข้าชม ผลลัพธ์ได้แก่ นวัตกรรมถุงหลากสี ขยะสวยสร้างค่า ในรูปแบบสิ่งประดิษฐ์ของใช้หลากหลาย และมีการฝึกทำแก่ผู้สนใจ

สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ :

ผู้เข้าร่วมกิจกรรมร้อยละ 70 และผู้รับผิดชอบโครงการร่วมกับสท.ในพื้นที่เป็นผู้ดำเนินรายการมีรองนายกเทศมนตรีมาเป็นประธานเปิดและให้กำลังใจ มีวิทยากรจากอาจารย์มหาลัยชีวิตปากพนังสร้างกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มีภาคีเครือข่ายจากโรงเรียนและชุมชนอื่นและกองสาธารณสุขมาเยี่ยมชมกิจกรรมและนิทรรศการสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมชุมชน

กิจกรรมย่อย: i

ผู้ร่วมโครงการและคณะกรรมการ 40 คน 0.00 0.00 0 0 ผลการจัดกิจกรรมเชิงคุณภาพที่ตั้งไว้ :

พี่เลี้ยงโครงการร่วมกับอ.สุธรรมแก้วประดิษฐ์ร่วมกันถอดบทเรียนในชุมชน และมีส่วนร่วมจากนายเฉลียว ไสยรัตน์ ทำหน้าที่ผู้ดำเนินรายการและร่วมเสวนา สินสืบสุขน่าอยู่ได้อย่างไร ผู้เข้าร่วมให้ความร่วมมือและร่วมแลกเปลี่ยน

ผลการจัดกิจกรรมที่เกิดขึ้นจริง :

จากการแลกเปลี่ยนได้ข้อตกลงการจัดกิจกรรมในปีหน้าคร่าวๆ ได้แก่ การส่งสิ่งประดิษฐ์เป็นของที่ระลึกในลักษณะ 1 commune 1 product และมีร้านขายส่งรับซื้อที่ชุมชนคงคาสวัสดิ์ และต้องการพัฒนากลุ่มอาชีพสร้างรายได้จากการนำขยะมาแปลงรูปเป็นปุ๋ยหมักและปลูกผักสวนครัวปลอดสารพิษ ที่บริเซณเกาะกลางถนนและสองข้างทาง

สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ :

เกิดภาคีเครือข่าย เกิด MOU ในชุมชน เกิดพลังชุมชนขับเคลื่อนในลักษณะสภาผู้นำที่มีคนหลากหลายเข้าร่วม

กิจกรรมย่อย: i

ตัวแทนโครงการ2 คน 0.00 0.00 0 0 ผลการจัดกิจกรรมเชิงคุณภาพที่ตั้งไว้ :

นำเอกสารหลักฐานโครงการตรวจสอบความถูกต้อง

ผลการจัดกิจกรรมที่เกิดขึ้นจริง :

พบว่า ไม่มีปัญหาเอกสารส่วนใหญ่ถูกต้องครบถ้วนและจัดเก็บเป็นระเบียบเรียบร้อยตรวจสอบง่าย

สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ :

 

กิจกรรมย่อย: i

10 หลัง 0.00 0.00 0 0 ผลการจัดกิจกรรมเชิงคุณภาพที่ตั้งไว้ :

ตัวแทนคณะกรรมการ 5 คน ประจำแต่ละซอย พร้อมกับผู้รับผิดชอบโครงการตระเวณตรวจตราบ้านเรือนที่เข้าโครงการพร้อมถ่ายรูปเพื่อประเมินผลประกวดบ้านน่าอยู่เพื่อเป็นครัวเรือนต้นแบบและให้กำลังใจ

ผลการจัดกิจกรรมที่เกิดขึ้นจริง :

ได้ครัวเรือนน่าอยู่ตามเกณฑ์ 4 ข้อที่ชุมชนร่วมกันตั้งขึ้น และมีครัวเรือนเข้าร่วมกิจกรรมทุกครัวเรือน ทำให้เกิดการพัฒนาสิ่งแวดล้อมร่วมกัน และได้ครัวเรือนต้นแบบจำนวน 10 หลัง พร้อมรับรางวัลและทำไวนิลเกียรติบัตรโชว์ไว้ที่ชุมชน

สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ :

เกิดเกณฑ์ครัวเรือนน่าอยู่ 4 ข้อ ดังนี้ 1. มีการจัดการขยะในครัวเรือนตามข้อตกลง 3 R 2. มีการร่วมกิจกรรมทุกครั้งของชุมชน 3. ปฏิบัติตามข้อตกลง และกติกาชุมชนสินสืบสุขปลอดขยะ 4. มีผลลัพธ์ในการจัดการขยะที่เป็นจุดเด่นและเชิงประจักษ์เป็นรูปธรรม

กิจกรรมย่อย: i

100 คน 0.00 0.00 0 0 ผลการจัดกิจกรรมเชิงคุณภาพที่ตั้งไว้ :

มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมร้อยละ 70 และได้ข้อสรุปครัวเรือนน่าอยู่ และชุมชนยอมรับ และมีกิจกรรมร่วมสร้างความสัมพันธ์ทุกเดือน

ผลการจัดกิจกรรมที่เกิดขึ้นจริง :

ชาวสินสืบสุขร่วมกิจกรรมร้อยละ 70 พบว่าได้ตามเป้าหมาย และได้จัดการมอบรางวัลและประกาศเกียรติคุณแก่ครัวเรือนที่ชนะการประกวดบ้าน่าอยู่ซอยละ 1 ครัวเรือน ครบทุกซอย และ อีก 5 หลังสำหรับบุคคลที่เป็นต้นแบบในชุมชน อีก 5 คน

สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ :

ประกาศเกณฑ์ครัวเรือนน่าอยู่เป็นข้อตกลงชุมชนในการร่วมกันสำนึกรักสิ่งแวดล้อม

กิจกรรมย่อย: i

กรรมการ 7 คน 0.00 0.00 0 0 ผลการจัดกิจกรรมเชิงคุณภาพที่ตั้งไว้ :

ทีมงานร่วมกันจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์

ผลการจัดกิจกรรมที่เกิดขึ้นจริง :

ทีมงานแบ่งงานกันทำรายงาน อรลักษณ์ทำบัญชีการเงิน จิตติพร ทำเรื่องรูปเล่มร่วมกับพี่เลี้ยง จิรา จัดการเรื่องรูปถ่าย อุสาห์รวบ รวมเอกสาร วัชรินทร์ ช่วยวิ่งถ่ายเอกสาร ส่วนจเด็จ ให้ข้อมูลชุมชนในการร้อยเรียงเขียนรูปเล่ม เป็นต้น

สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ :

ได้เอกสารฉบับสมบูรณ์ครบถ้วนและพร้อมนำส่ง สจรส.ตรวจสอบ

กิจกรรมย่อย: i

กรรมการ 15 คน ชาวสินสืบสุข 0.00 0.00 0 0 ผลการจัดกิจกรรมเชิงคุณภาพที่ตั้งไว้ :

กรรมการเปิดการรับซื้อขยะทุกเดือนได้ขยะสร้างรายได้แก่ครัวเรือน และสิงแวดล้อมสะอาด ปลอดขยะ กรรมการร่วมประชุมเพื่อร่วมกันขับเคลื่อนชุมชนน่าอยู่

ผลการจัดกิจกรรมที่เกิดขึ้นจริง :

กรรมการเปิดการรับซื้อขยะทุกเดือนได้ขยะเฉลี่ย 200 กก ต่อเดือน ช่วยสร้างรายได้แก่ครัวเรือน และสิงแวดล้อมสะอาด ปลอดขยะ กรรมการร่วมประชุมเพื่อร่วมกันขับเคลื่อนชุมชนน่าอยู่ ต่อเนื่อง

สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ :

เกิดกิจกรรมพัฒนาชุมชนต่อเนื่อง ครัวเรือนเกิดรายได้ ชุมชนสะอาด สินสืบสุขน่าอยู่

กิจกรรมย่อย: i

คณะทำงาน 15 8น 0.00 0.00 0 0 ผลการจัดกิจกรรมเชิงคุณภาพที่ตั้งไว้ :

พี่เลี้ยงประเมินชุมชนด้านความก้าวหน้า ความเสี่ยง และแผนการต่อยอดโครงการ

ผลการจัดกิจกรรมที่เกิดขึ้นจริง :

ทีมงานให้ข้อมูลเกี่ยวกับความต้องการของชุมชนที่กรรมการแต่ละคนรับผิดชอบแต่ละซอยมาพูดคุยและหารือความเป็นไปได้ในการต่อยอดปีหน้า และพี่เลี้ยงช่วยตรวจสอบรายงาน หลักฐาน ให้ทีมงานช่วยกันทำ เพื่อความสมบูรณ์และพัฒนาทีมงานให้เกิดการเรียนรู้การทำงานร่วมกัน

สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ :

โครงการมีความก้าวหน้าตามแผน มีผลความสำเร็จขั้นต้น คือเกิดนวัตกรรมชุมชน เกิดต้นแบบในชุมชน และเป็นตัวอย่างให้ชุมชนใกล้เคียง ได้รับการยกย่องจากเทศบาลเมืองปากพนังในการขับเคลื่อนจนเกิดผลลัพธ์ที่ดีในด้านสิ่งแวดล้อมสะอาดโดยได้รับงบจากหน่วยงานอื่นๆ

กิจกรรมย่อย: i

ผู้รับผิดชอบโครงการ 2 คน 0.00 0.00 0 0 ผลการจัดกิจกรรมเชิงคุณภาพที่ตั้งไว้ :

รายงานและเอกสารถูกต้อง ครบถ้วน

ผลการจัดกิจกรรมที่เกิดขึ้นจริง :

ผู้รับผิดชอบโครงการ นำรายงานฉบับสมบูรณ์และหลักฐษฯโครงการเข้าตรวจสอบที่ ม.วลัยลักษณ์เพื่อให้ทีมสจรส.มอ.ตรวจสอบความถูกต้อง พบว่า เอกสารครบถ้วนและถูกต้อง

สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ :

ผู้รับผิดชอบได้ข้อสรุปว่า รายงานฉบับสมบูรณ์เป็นสิ่งที่ทำยากและทีมงานโครงการยังไม่สามารถดำเนินการเองได้ในปีนี้ และจะพัฒนาศักยภาพตนเองเพิ่มมากขึ้น โดยในการจัดการคราวนี้ให้พี่เลี้ยงพื้นที่เป็นผู้ช่วยและพี่เลี้ยงเป็นผู้ที่สำคัญและมีประโยชน์และช่วยโรงการได้มากที่สุด

กิจกรรมย่อย: i

ผู้รับผิดชอบ 2 คน 0.00 0.00 0 0 ผลการจัดกิจกรรมเชิงคุณภาพที่ตั้งไว้ :

ตัวแทนโครงการได้ร่วมกิจกรรมสร้างสุขภาคใต้ และแลกเปลี่ยน กระบวนคิด การลงมือทำ และการขับเคลื่อนชุมชนน่าอยู่จากนิทรรศการ การนำเสนอ และการพูดคุยกับโครงการต่างๆ

ผลการจัดกิจกรรมที่เกิดขึ้นจริง :

โครงการได้รับการเสนอชื่อเป็นโครงการเด่น4ภาคใต้ปี 56 และได้เป็นหนึ่งในเรื่องเล่าในหนังสือสวรรค์บ้านใต้ ของ ถนอม  ขุนเพ็ชร ซึ่งทำให้คนในคณะทำงานเกิดความภาคภูมิใจและกำลังใจเป็นอย่างยิ่ง

สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ :

เกิดพลังการขับเคลื่อนและสร้างกระบวนการคิดต่อยอดแก่ผู้เข้าร่วมโครงการ เกิดความภาคภูมิใจในความสำเร็จในขั้นแรกของชุมชน

2.3.1 นวัตกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ

(นวัตกรรมคือ การจัดการความคิด กระบวนการ ผลผลิต และ/หรือเทคโนโลยีที่เหมาะสม มาใช้งานให้เกิดประสิทธิผล และ/หรือประสิทธิภาพมากกว่าเดิมอย่างชัดเจน)

ชื่อนวัตกรรมคุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรมผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์
1 commune 1 product

ครัวเรือนใช้เวลาว่างผลิตสิ่งประดิษฐ์จากขยะและอื่นๆเพื่อเพิ่มมูลค่า เพิ่มรายได้ รวมกันมาไว้ที่ร้านค้าชุมชนที่ชุมชนคงคาสวัสดิ์ จำหน่ายปลีกและส่งเป็นของที่ระลึก เป็นของใช้ในงานบวช งานศพ ได้แก่ ลูกกัลปพฤกษ์จากถุงน้ำยาล้างจาน และขนมซอง กระเช้าของฝาก จากไพ่ป๊อกเก่า กระถางไม้สดชื่น จากหลอดพลาสติกเหลือใช้ พานไตร ชุดอุปสมบท และ อื่นๆ

สร้างการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ระหว่างแม่บ้านและผู้ที่ประดิษฐ์ ฝึกหัดกันทำ นำมาโชว์ ปบ่งปันกัน และสร้างความสัมพันธ์ในครัวเรือนระหว่างพ่อแม่ลูก

2.3.2 โครงการเด่น (Best Practice)

(โครงการเดิ่น คือ โครงการสร้างเสริมสุขภาพให้สัมฤทธิ์ผลที่เป็นรูปธรรมแล้วขยายผลอย่างยั่งยืน โดยแนวคิดกระบวนการ และผลงาน สามารถเป็นตัวอย่างที่จะนำไปขยายผลในชุมชน (Setting) อื่น ๆ ได้ การดำเนินงานมีส่วนร่วมของภาคีที่หลากหลาย มีการบริหารจัดการที่ดี โปร่งใสและตรวจสอบได้)

ชื่อ Best Practiceวิธีการทำให้เกิด Best Practiceผลของ Best Practice / การนำไปใช้ประโยชน์
ข้อตกลงสินสืบสุขร่วมใจทำบ้านน่าอยู่

จากกิจกรรมประกวดครัวเรือนต้นแบบแต่ละซอย ทำให้คณะกรรมการประจำแต่ละซอยจัดประชุมเกณฑ์การประกวดบ้านน่าอยู่ และได้ข้อสรุป4 ข้อ และแจ้งให้ชาวสินสืบสุขทราบเพื่อนำไปปฏิบัติ ดังนี้ 1. มีการจัดการขยะในครัวเรือนตามข้อตกลง 3 R 2. มีการร่วมกิจกรรมทุกครั้งของชุมชน 3. ปฏิบัติตามข้อตกลง และกติกาชุมชนสินสืบสุขปลอดขยะ 4. มีผลลัพธ์ในการจัดการขยะที่เป็นจุดเด่นและเชิงประจักษ์เป็นรูปธรรม

ชาวสินสืบสุขภูมิใจที่ชุมชนเป้นผู้นำในการขับเคลื่อนชุมชนอื่นๆและการนำข้อตกลงไปใช้ทุกครัวเรือนทำให้ชุมชนน่าอยู่และสะอาดปราศจากโรค

2.3.3 เกิดแกนนำ/ผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านการสร้างเสริมสุขภาพในประเด็นต่าง ๆ
ชื่อ-สกุลที่อยู่ติดต่อได้สะดวกคุณสมบัติแกนนำ/ผู้นำการเปลี่ยนแปลง
นายพล เจริญศรี ...327/2 ม.1 ต.ปากพนังฝั่งตะวันตก

ริเริ่มทำผลิตภัณฑ์ใช้ในครัวเรือนเองได้แก่ สบู่ น้ำยาล้างจาน น้ำหมัก และแบ่งปันให้เพื่อนบ้านนำไปใช้ มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และมีจิตอาสา เป็นที่รักและนับถือของชาวสินสืบสุข

..นางเจียมจิตร์ เมตตาจิต ...196 ม.1 ต.ปากพนังฝั่่งตะวันตก

เป็นคนมีโรคเบาหวาน ความดัน และไขมันรักษาต่อเนื่องแต่อาการไม่ดีขึ้น ริเริ่มทำน้ำหมักจากลูกยอและมะขามป้อม เพื่อรับประทานเพื่อสุขภาพและพบว่าทำให้คุมน้ำตาลในเลือดและความดันโลหิตได้ดีกว่าเดิม ไม่ต้องเพิ่มขนาดยา และบอกต่อผู้ที่เป็นโรคเดียวกัน แบ่งปันน้ำหมักให้ผู้สนใจและฝึกวิธีทำ จนเป็นที่รู้และเรียกกันว่า เจ้าแม่น้ำหมัก

นายชาตรี ศรีพุ่ม 387/1 ม. ต.ปากพนังฝั่งตะวันตก

เป็นคนชาวต่างจังหวัดมาจากภาคกลางอาศัยอยู่ในสินสืบสุขหลายปี และมีพฤติกรรมเด่นในการพกถุงเพื่อเก็บขยะตามถนนหนทางในขณะวิ่งออกกำลังกายทุกเช้า มาตลอดเป็น 10 ปี และสะสมขยะที่สามารถใช้ต่อ ขายต่อได้ และรวบรวมทิ้งในขยะที่สูญเปล่า แกบอกว่า ได้ทั้งสุขภาพ ได้ช่วยกันทำความสะอาดบ้านเมือง ใครไม่ทำก้ไม่ว่า แต่ผมทำตลอดชีวิต และผมใม่ได้บ้านะ

2.3.4 มีสภาพแวดล้อมและปัจจัยทางสังคมที่เอื้อต่อสุขภาพ

เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อสุขภาพในชุมชนพื้นที่โครงการดังนี้

สถานที่/พื้นที่ ที่เปลี่ยนแปลงรายละเอียดการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

 

 

1.ถนนในซอยทั้งถมยา 1 ถึง ถมยา 5 สะอาดไร้ขยะในบริเวณพงหญ้า 2 ข้างทาง

  1. ถนนวารีสวัสดิ์เลียววัดใต้ สะอาด ถังขยะไม่ล้น ไม่ส่งกลิ่น ขยะเหลือแต่ประเภททั่วไปที่รอรถเก็บขยะเทศบาลมาเก็บ

ชาวบ้านร่วมกันตัดทำให้ชุมชนสะอาด ปลอดภัย มองเห็นรถผ่านไปมาสะดวกเวลาข้ามถนน เนื่องจากชาวสินสืบสุขเห็นคุณค่าขยะ คัดแยกขยะจากครัวเรือน ทำให้ลดปริมาณขยะทิ้ง

ส่วนที่ 3 : ปัญหาและอุปสรรคสำคัญที่มีผลกระทบต่อการดำเนินงาน

3.1 การดำเนินงานกจิกรรม/กลุ่มเป้าหมาย/ระยะเวลาดำเนินงาน/การดำเนินงาน/งบประมาณ
ประเด็นปัญหา/อุปสรรคการแก้ไขของผู้รับทุนข้อเสนอแนะ/การแก้ไขปัญหาและการเสริมพลังของผู้ติดตาม

ชาวบ้านที่อยู่บริเวณหลังวัดนาควารี ประมาณ 60 หลัง ไม่ได้เข้าร่วม เนื่องจากการแบ่งเขตใหม่ของชุมชนในปี 55 ตามบ้านเลขที่ แต่ตั้งอยู่ห่างไกลจากชุมชนเก่า การสื่อสารไม่ทั่วถึง ทำให้ไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรม

แจ้งให้ตัวแทนกลุ่มทราบและทำเป็นหนังสือเชิญเข้าร่วมกิจกรรม

จัดตั้งตัวแทนกลุ่มในบริเวณดังกล่าวและร่วมเป็นคณะกรรมการดำเนินงาน 1 คน เพื่อสื่อสารและร่วมกิจกรรม

3.2 การดำเนินงานกจิกรรม/กลุ่มเป้าหมาย/ระยะเวลาดำเนินงาน/การดำเนินงาน/งบประมาณ
ประเภทความเสี่ยง / ปัจจัยเสี่ยงระดับความเสี่ยง
(จากมากไปหาน้อย)
ข้อมูล ข้อสังเกตุ และข้อคิดเห็นของผู้ติดตาม
3210
1. ความเสี่ยงด้านการดำเนินงาน (Operational Risks)
1.1 โครงสร้างการดำเนินงาน

 

1.2 ศักยภาพและทักษะการดำเนินงาน

 

1.3 ผลลัพธ์และผลสำเร็จของการดำเนินงาน

 

2. ความเสี่ยงทางการเงิน (Financial Risks)
2.1 ระบบและกลไกการบริหารจัดการ

 

2.2 การใช้จ่ายเงิน

 

2.3 หลักฐานการเงิน

 

ผลรวม 0 0 0 0
ผลรวมทั้งหมด 0 ระดับความเสี่ยง : ???
เกณฑ์วัดระดับความเสี่ยง ???
สรุปการแก้ไขความเสี่ยง แก้ไขแล้ว ยังไม่ได้แก้ไข

ส่วนที่ 4 : สรุปความเห็นของผู้ติดตาม

ส่วนที่ 4สรุปความเห็นของผู้ติดตาม
4.1 กรณีเบิกเงินงวด/ติดตามเยี่ยมชม มีแนวโน้มสำเร็จตามเป้าหมายโครงการและติดตามปกติ
การวิเคราะห์ผลการดำเนินงานโครงการและสรุปข้อคิดเห็น

 

มีแนวโน้มเสี่ยง ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด เนื่องจาก
การวิเคราะห์ผลการดำเนินงานโครงการและสรุปข้อคิดเห็น

 

มีความเสี่ยง ต้องยุติโครงการ เนื่องจาก
4.2 กรณีสรุปปิดโครงการ ดำเนินงานได้ตามแผนปฏิบัติการและสามารถปิดโครงการได้
สรุปผลภาพรวมการดำเนินงาน-การเงินโครงการและข้อคิดเห็น

การดำเนินงานพบว่าชุมชนร่วมกันขับเคลื่อนโครงการสร้างชุมชนน่าอยู่ได้ และมีศักยภาพในการแสวงหาทุน ภาคี เครือข่ายนอกชุมชนได้ การเงินโครงการ พบว่า การจัดการระบบการเงินโปร่งใส ตรวจสอบหลักฐานได้ตลอดเวลา มีกรรมการเบิกเงิน และเก็บรักษาเงินคนละคนกัน และกระจายกิจกรรมที่สร้างงานในชุมชนได้ดี
ระบบเอกสารรายงาน กรรมการโครงการให้ข้อมูล เขียน ทำรายงานได้ แต่ยังขาดความชำนาญ และความคล่องตัว เนื่องจากมีความสามารถทางคอมพิวเตอร์และ IT น้อย ต้องพึีงพี่เลี้ยง และบุคคลอื่นนการจัดทำรายงาน แต่ผู้รับผิดชอบโครงการมีความตั้งใจในการพัฒนาตนเองสูงเพื่อแก้ปัญหาส่วนขาด

ไม่เป็นไปตามแผนปฏิบัติการ ให้ดำเนินการจัดระบบการเงิน ระบบรายงานให้ถูกต้องก่อนปิดโครงการ
สรุปผลภาพรวมการดำเนินงาน-การเงินโครงการและข้อคิดเห็น

 

ส่วนที่ 5 : สรุปภาพรวมของการติดตามประจำงวด (ข้อสังเกต/สิ่งดีๆ ที่ค้นพบ/ข้อพึงระวัง/บทเรียนที่ได้)

สรุปการเปลี่ยนแปลงที่สังเกตและพบเห็นได้แก่ 1. ด้านคน พบว่า มีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงเรื่องคัดแยกขยะ และสร้างค่าจากขยะ ในรูป ขายขยะรีไซเคิล ทำน้ำหมัก ปุ๋ย จาก ไม่เคยมีเลย เป้น อย่างน้อย 100 กว่าครัวเรือนที่เข้าร่วมกิจกรรมร่วมกันทำตามกติกาชุมชน 2. ด้านกลไกชุมชน  เกิดกติกาชุมชน ข้อตกลงบ้านน่าอยู่ และ ธนาคารขยะสินสืบสุข มีกรรมการและกิจกรรมต่อเนือง มีการประชุมร่วมกันสม่ำเสมอ 3. ด้านสิ่งแวดล้อม เกิดต้นแบบรักสิ่งแวดล้อม คนเก็บขยะตัวอย่าง และ กลุ่มนักเรียนในโรงเรียนร่วมประดิษฐ์กลุ่มทำของใช้จากพลาสติก บ้านเรือนสะอาด ชุมชนสะอาด ชุมชนปลอดโรคไข้เลือดออก และได้รับรางวัลดีเด่นจาก สปสช.ด้านการกำจัดยุงลาย ได้รับโล่ห์

สร้างรายงานโดย paleerat