แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


“ สร้างกระบวนการเรียนรู้สู่ชีวิตที่ปลอดโรค ”

บ้านอู่แก้ว หมุ่ที่ 9 ตำบลเขาพระบาท อำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช

หัวหน้าโครงการ
นางสาววันดี อักษรคง

ชื่อโครงการ สร้างกระบวนการเรียนรู้สู่ชีวิตที่ปลอดโรค

ที่อยู่ บ้านอู่แก้ว หมุ่ที่ 9 ตำบลเขาพระบาท อำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัด นครศรีธรรมราช

รหัสโครงการ 55-01833 เลขที่ข้อตกลง 55-00-0964

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2555 ถึง 31 ตุลาคม 2556


กิตติกรรมประกาศ

"สร้างกระบวนการเรียนรู้สู่ชีวิตที่ปลอดโรค จังหวัดนครศรีธรรมราช" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน บ้านอู่แก้ว หมุ่ที่ 9 ตำบลเขาพระบาท อำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
สร้างกระบวนการเรียนรู้สู่ชีวิตที่ปลอดโรค



บทคัดย่อ

โครงการ " สร้างกระบวนการเรียนรู้สู่ชีวิตที่ปลอดโรค " ดำเนินการในพื้นที่ บ้านอู่แก้ว หมุ่ที่ 9 ตำบลเขาพระบาท อำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช รหัสโครงการ 55-01833 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 ตุลาคม 2555 - 31 ตุลาคม 2556 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 149,160.00 บาท จาก เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

 

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อพัฒนาศักยภาพทีมให้เกิดกระบวนการเรียนรู้นำมาปฏิบัติตน เกิดวิธีคิดแบบเศรษฐกิจพอเพียง สู่ความเข้มแข็งและพึ่งตนเองได้

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

     


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. ประชุมชี้แจง ปฐมนิเทศ และแลกเปลี่ยนผู้รับทุนโครงการ

    วันที่ 5 พฤศจิกายน 2555 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    พี่เลี้ยงและผู้รับผิดชอบโครงการ จำนวน 2 คน เข้าร่วมประชุมที่โรงแรมทวินโลตัส เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวโครงการ การจัดทำกิจกรรมและการบันทึกข้อมูลโปรแกรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้เรียนรู้เกี่ยวกับระบบการทำงานที่ถูกต้อง และฝึกการทำระบบรายงานผลการดำเนินงานโครงการ

     

    0 0

    2. ประชุมชี้แจง ปฐมนิเทศ และแลกเปลี่ยนผู้รับทุนโครงการ

    วันที่ 5 พฤศจิกายน 2555 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ผู้รับผิดชอบโครงการและพี่่เลี้ยงเข้าร่วมกิจกรรมการดำเนินงานตามโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผู้รับผิดชอบ 2 คน และพี่เลี้ยงเข้าร่วมประชุมเพื่อรับทราบแนวทางการดำเนินงาน

     

    0 0

    3. ประชุมคณะกรรมการเพื่อเตรี่ยมงานครั้งที่ 1 ณ ศูนย์เรียนรู้บ้านวันดี

    วันที่ 13 พฤศจิกายน 2555 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมชี้แจงการทำงานตามโครงการ และมอบหมายหน้าที่รับผิดชอบอย่างชัดเจน ดังนี้ 1.สุนีย์ ติดตามกลุ่มเป้าหมาย 2.สุวลักษณ์เตรีมหนังสือเชิญประชุม 3.สุธาเตรียมอาหารและเครืองดื่ม 4.วันดีให้ความรู้ ประสานเจ้าหน้าที่มาช่วยดูความเรียบร้อยในขณะเจาะเลือด 5.ผู้ใหญ่บ้านเตรียมสถานที่และเครืองเสียง 6.สมาชิก อบต. ช่วเตรียมสถานที่และรับส่งผู้เข้าร่วมประชุม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.คณะกรรมการทุกคน (ร้อยละ 100)  จำนวน 15 คนและผู้ทรงคุณวุฒิ (ครู รร.อู่แก้ว) 1คน เข้าร่วมประชุมและรับทราบบทบาทหน้าที่ของตนเอง และวางแผนในการเตรียมจัดกิจกรรม ครั้งต่อไป 2.ภาคีเครือข่ายประกอบด้วยผู้ใหญ๋บ้าน ผู้ช่วยฯ สอบต.รองนายกอบต. ครู และกลุ่ม อสม  สิ่งที่ได้เรียนรู้จากโครงการคือ คณะกรรมการมีความพร้อม ให้ความร่วมมือ ร่วมคิด ร่วมทำ และสร้างความเข้มแข็งของชุมชนได้

     

    15 15

    4. ประชุมครัวเรือนเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ คร้งที่ 1

    วันที่ 20 พฤศจิกายน 2555 เวลา 13.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมครัวเรือนเป้าหมายเพื่อชี้แจงทำความเข้าใจในการลดการใช้สารเคมี เครื่องปรุงรส โดยให้แต่ละครัวเรือนหาวิธีการลดสารเคมีในครัวเรือน ลดการใช้เครือ่งปรุงรส 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    กลุ่มเป้าหมาย 60 คน ภาคีประกอบด้วย ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยฯ สอบต.และแกนนำครัวเรือน ผลการดำเนินงานพบว่า1.ได้มีการประชุมร่วมกัน และได้เสนอแนวทางการลดสารเคมีในครัวเรือนโดยการลดใช้เครื่องปรุงรส ผงชูรส ปลูกผักไว้กินเองข้างบ้าน
    2.รับสมัครครัวเรือนเข้าร่วมกิจกรรม
    3.สมาชิกมีความพอใจต่อกิจกรรมมาก 4.ประชาชนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี

     

    0 0

    5. กิจกรรมทำน้ำหมักในครัวเรือน

    วันที่ 21 พฤศจิกายน 2555 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ครัวเรือนเป้าหมายได้เรียนรู้เกี่ยวกับการลดใช้สารเคมี และการเพาะพันธุ์ผัก และแจกจ่ายเมล็ดผักให้กับครัวเรือนเป้าหมาย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.ครัวเรือนแกนนำและครัวเรือนเป้าหมาย 30 ครัวเรือน ร่วมกันสาธิตทำน้ำหมักชีวภาพและเพาะพันธุ์เมล็ดผักในแปลงผักรวม 2.กลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 30 คน เป็นผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วย สอบต. กลุ่มอสม และแกนนำครอบครัว เ้ข้าร่วมกิจกรรม
    3.กลุ่มเป้าหมายมีความพึงพอใจและสร้างความร่วมมือในการพัฒนาหมู่บ้าน

     

    60 60

    6. จัดกิจกรรมรื้อครัวและปรับปรุงครัว

    วันที่ 23 พฤศจิกายน 2555 เวลา 13.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.ให้ความรู้แก่สมาชิกในการลดการใช้เครื่องปรุงรสในครัวเรือน และลดการใช้สารเคมีในชีวิตประจำวัน 2.แจ้งให้คร้วเรือนเป้าหมายทราบเพื่อร่วมกันปลุกผักปลอดสารพิษไว้กินที่บ้าน 3.สมาชิกในครัวเรือนจะต้องร่วมกันลดสารปรุงรส เคมีที่บริโภคในชีวิตประจำวัน 4.กลุ่มเป้าหมายต้องมีการเจาะเลือดหาสารเคมีตกค้าง 5.ต้องมีการบันทึกภาพถ่ายก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.กลุ่มเป้าหมาย 60 คน มีความเข้าใจและรับรู้ถึงโทษ ภัยที่จะเกิดขึ้นจากพฤติกรรมการบริโภค 2.ฝึกปฏิบัติโดยเดินไปตามบ้านกลุ่มเป้าหมายร่วมกัน เพื่อให้กำลังใจและเชียรให้ร่วมกิจกรรม 3.ภาคีที่เข้าร่วมกิจกรรมมีผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วย สอบต. กลุ่มอสม.และแกนนำคร้วเรือน 4.ได้ปรับแนวคิดประชาชนในการลดการปนเปื้อนสารเคมีในครัวเรือน และรับรู้ว่าผงชูรส ทำให้ความดันโลหิตสูง
    5.รองนายกอบต. กล่าวว่า คนบ้านเราต้องร่วมมือกัน คิดใหม่ ทำใหม่ อย่ามองข้ามเรื่องใกล้ตัว 

     

    60 60

    7. ประชุมคณะกรรมการครั้งที่ 2

    วันที่ 4 ธันวาคม 2555 เวลา 13:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.ประเมินผลการดำเนินงานที่ทำไปแล้ว 2.วางแผนการทำกิจกรรมครั้งต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.คณะกรรมการที่เข้าร่วมประชุม 15 คน มองเห็นการเปลี่ยนแปลงในกิจกรรม พบว่าทุกครัวเรือนที่เข้าร่วมกิจกรรมให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี 2.ประชาชนในหมู่บ้านหันมาให้ความร่วมมือ  ความสัมพันธ์ในชุมชนเริ่มเปลี่ยนแปลง 3.ภาคีที่เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยฯ สอบต. รองนายกฯ และกลุ่มอสม. ทุกคนพอใจต่อกิจกรรมที่เกิดขึ้นเพราะโครงการมีความก้าวหน้า

     

    15 15

    8. ประชุมกลุ่มเป้าหมายทุกคน ครั้งที่ 2 กิจกรรมลดสารเคมี

    วันที่ 6 ธันวาคม 2555 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วันนี้คุณวันดี ได้กล่าวถึงรายละเอียดของโครงการถึงความก้าวหน้า เพื่อให้ประชาชนได้รับรู้อันตรายจากสารเคมี และผลที่ได้รับจากการลดสารเคมีที่ตกค้างในร่างกาย ผลที่ได้รับจาการปลูกผักปลอดสารเคมี  ช่วยลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน เพราะได้ทำน้ำหมักใช้เอง ผลิตปุ๋ยเคมีใช้เอง  และวันนี้นายก อบต.เขาพระบาท  ได้เข้ามาร่วมกิจกรรม ได้มาให้ความรู้เพิ่มเติมและสนับสนุนการทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง และชื่นชมความสามารถของหมู่บ้าน และหมู่บ้านนี้ก็เป็นหมู่บ้านที่เข้มแข็. เป็นต้นแบบได้  คุณยงยุทธ์(พี่เลี้ยงโครงการ) ได้ให้ความรู้ถึงวิธีการลดสารเคมีในเลือด และการทำกิจกรรมร่วมกันตามโครงการ มีการเชื่อมโยงกิจกรรมว่า การรื้อครัว ช่วยลดสารเคมี ลดสารปรุงรส ลดการใช้ผงชูรส จะทำให้สุขภาพดีขึ้น ไม่ป่วยเป็นโรค และวันนี้ได้มีการเจาะหาสารเคมีตกค้างในเลือด สรุปกิจกรรมวันนี้คือ 1.ให้ความรุ้เกี่ยวสารเคมีตกค้างในเลือด 2.ให้ความรุ้เกี่ยวกับการปรับปรุงสภาพดิน 3.เจาะเลือดหาสารเคมีในกลุ่มเป้าหมาย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.กลุ่มเป้าหมายและผู้สนใจทั่วไปเข้าร่วมประชุม 118 คน  2.นายก อบต.เขาพระบาท และทีมบริหาร เข้าร่วม 4 คน 3.เจ้าหน้าที่จาก รพ.สต.เขาพระบาท เข้าร่วม 5 คน  ผลงานที่เกิดขึ้นมีดังนี้ 1.ประชาชนได้รับความรู้ 118 คน 2.ประชาชนเป้าหมายได้รับการเจาะเลือด 67 คน พบเสี่ยงสูง 29คน(ร้อยละ 43.28) เสี่ยงปานกลาง 18 คน (ร้อยละ 26.86) เสียงตำ่ 17 คน(ร้อยละ 25.37) ปกติ 2 คน (ร้อยละ 2.98)  สิ่งที่ได้เกินความคาดหมาย คือ ประชาชนบางคนที่มีการดูแลสุขภาพเป็นอย่างดี ก็ยังมีสารเคมีตกค้างในเลือดระดับสูงมาก  สิ่งที่ได้เรียนรู้คือ ประชาชนเริ่มตระหนักที่จะลดระดับสารเคมีในเลือด

     

    100 118

    9. พี่เลี้ยงระดับจังหวัดติดตามเยี่ยมพื้นที่เกี่ยวกับการดำเนินกิจกรรมโครงการ

    วันที่ 6 ธันวาคม 2555 เวลา 16:00-19.00น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    พี่เลี้ยงระดับจังหวัดและพี่เลี้ยงพื้นที่ ร่วมกันถอดบทเรียนจากคณะทำงาน จำนวน 20 คน 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรม 15 คน และมีทีมงานจาก หมู่ที่ 4  บ้านไกรไทยอีก 10 คน
    2.กลุ่มที่เข้าร่วมถอดบทดเรียนประกอบด้วย ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วย สอบต.และกลุ่ม อสม.พบว่าคณะกรรมการและแกนนำชุมชน ให้ความร่วมกันดำเนินกิจกรรมตามโครงการเป็นอย่างดี ดังนี้ -ประชุมกรรมการ 2 ครั้ง
    -ประชุมกลุ่มเป้าหมาย 2 ครั้ง
    -มีการทำน้ำหม้กชีวภาพ ปลูกผัก -มีการเจาะหาสารเคมีในเลือด 3.คณะกรรมการทกคนมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมตามโครงการฯ 

     

    0 0

    10. สาธิตการทำน้ำหมีกชีวภาพครั้งที่ 2

    วันที่ 18 ธันวาคม 2555 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ในการประชุมครั้งนี้ได้เชิญ นายพิทักษ์ เสียงแจ้ง เกษตรอำเภอเชียรใหญ่ มาเป็นวิทยากรร่วมบรรยายในการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ ได้ให้ความรู้ ดังนี้ พด1.คือสารเร่งจุลินทรีย์ กองปุ๋ยหมักให้เปื่อยเร็ว สลายเร็วขึ้นกับวัสดุที่ใช้ เช่นฟางข้าว จะเปื่อยเร็ว ละลายน้ำใน 10 นาที  พด.2ใช้กับน้ำหมักแห้ง  เช่นกล้วยสุก มะละกอ แตงกวา อย่างละ 3 กิโล ต่อ 1 กกคือ กากน้ำตาล หมัก 21 วันอย่าใส่น้ำ สาเหตุที่ใช้ใช้สูตร 3ต่อ1 เนื่องจากในพืชมีน้ำตาลอยู่แล้ว แต่ใช้หอยเชอรี่ หัวปลา จะใช้ 1ต่อ1  และให้ความรุ้เรื่องปุ๋ยเคมี  รวมทั้งได้ชวนกันสาธิตปฏิบัติ สรุปสิ่งที่ได้คือ  1.ประชุมกลุ่มเป้าหมายและผุ้ที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรม 150 คน  2.ให้ความรุ้เกี่ยวกับทำน้ำหมักชีวภาพ 3.จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กิจกรรมที่ผ่านมา 4.ฝึกสาธิตการทำน้ำหมักชีวภาพ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.กลุ่มเป้าหมาย 150 คนได้รับความรุ้ในการน้ำหมักชีวภาพและปุ๋ยชีวภาพจากวิทยากรคือเกษตรอำเภอ  2.กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.เขาพระบาทมอบถังน้ำหมักชีวภาพให้ครัวเรือนละ 2 ถัง รวม 120ใบ  3.ภาคที่เข้าร่วมกิจกรรมคือ ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยฯ รองนายกอบต. ทีมอสม. สอบต. คณะกรรมการกองทุนฯ เกษตรอำเภอและแกนนำครัวเรือน  4.แกนนำครัวเรือนได้เรียนรู้แนวคิดเศรษกิจพอเพียง และมองเห็นวิธีการลดรายจ่าย เพิ่มรายได้  สิ่งที่ได้เรียนรู้คือ ประชาชนในชุมชนให้ความสนใจเกี่ยวกับน้ำหมักชีวภาพและหันมาทำปุ๋ยชีวภาพในการปลูกผักเพิ่มขึ้น รวมทั้งลดปริมาณขยะในชุมชน สิ่งที่มองเห็นการเปลี่ยนแปลงคือ ประชาชนให้การสนใจ ตระหนักเรื่องสุขภาพ รัก สามัคคีมากขึ้น

     

    60 150

    11. ประชุมกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มปลูกผักครั้งที่ 1

    วันที่ 20 ธันวาคม 2555 เวลา 08:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ในการประชุมวันนี้เป็นการประชุมชี้แจงให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 30 ครัวเรือน  มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการให้มีครัวเรือนต้นแบบในการลดการใช้สารเคมี โดยมีคณะทำงานและคณะกรรมการ  มีแกนนำชุมชนและประชาชนเข้าร่วมโครงการ เราต้องทำงาน ดำเนินกิจกรรมตามแผนงาน โดยจะให้ความรุ้ในเรื่องของสารเคมีตกค้างในเลือด การเข้าสู่รางกายและโทษ และทุกคนในโครงการได้เรียนรู้วิธีการลดสารพิษตกค้างในเลือด  กิจกรรมวันนี้ให้ความรู้ในการลดการใช้สารเคมีในเลือด โทษ พิษภัย การที่เราปลุกผักปลอดสารพิษ เราสามารถใช้ดินที่่ว่างเปล่า ได้ใช้ประโยชน์ และวันนี้พวกเราทุกคนต้องเรียนรุ้วิธีการลดสารเคมีในเลือด  เมื่อเสร็จโครงการนี้แล้ว เราสามารถลดปริมาณสารเคมีในเลือด ลดปริมาณขยะในชุมชน โดยนำมาทำเป็นน้ำหมักชีวภาพ มีผักปลอดสารพิษรับประทานทุกครัวเรือน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.กลุ่มเป้าหมายคณะกรรมการ  60 ได้รับความรู้เกี่ยวกับวิธีการลดสารเคมีในเลือด  2.มีกลุ่มที่สนใจสมัครเข้าร่วมโครงการเพิ่มขึ้น อีก 50 ครัวเรือน  3.ภาคีที่เข้าร่วมประชุมมีผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วย รองนายกฯ สอบต. อสม แกนนำชุมชนและผู้ทรงคุณวุฒิ 4.กิจกรรมคร้งนี้ได้สร้างความรัก ความสามัคคี และรู้จักช่วยเหลือกัน  การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น กลุ่มเป้าหมายได้เดินเข้ามาพูดคุย ให้ความร่วมมือจากเดิมแบ่งพรรค แบ่งพวก ไม่เข้าร่วมกิจกรรม  ลดปริมาณการใช้สารเคมีในชุมชน ปรับปรุงที่ดินว่างเปล่าให้เกิดประโยชน์ สร้างความรักความสามัคคีให้เกิดขึ้นในชุมชน ชุมชนเริมเข้มแข็ง และพึ่งตนเองได้

     

    60 60

    12. แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการทำฐานการเรียนรู้ปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพที่บ้านผู้ใหญ่

    วันที่ 27 ธันวาคม 2555 เวลา 08:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วันนี้ประชุมคณะกรรมการ ชี้แจงถึงกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กิจกรรมการทำน้ำหมักและร่วมกันหาแนวทางสร้างแหล่งเรียนรู้ในชุมชน เพื่อเป็นการถ่ายทดความรู้ให้กันและกัน  สานสัมพันธ์กันและกันในชุมชน เพื่อพัฒนาสถานที่ในหมุ่บ้านให้เป็นแหล่งเรียนรู้ ศูนย์เรียนรู้ในชุมชน ประชาชนสามารถเข้าร่วมโครงการได้ตามความสนใจของตนเอง  ส่ิงที่ได้เรียนรู้จากกิจกรรมการลดการใช้สารเคมี และการลดละการใช้เครื่องปรุงรส เราต้องทำจากครอบครัวก่อน แล้วค่อยขยายไปยังชุมชน  การทำกิจกรรมน้ำหมัก ทำให้ลดปริมาณขยะ ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้กับครัวเรือนได้  ในวันนี้ถือว่าเราทำโครงการ ประสบความสำเร็จระดับหนึ่ง สามารถนำความรู้ที่ได้ไปถ่ายทอดให้กับประชาชนได้ และคณะกรรมการ รวมทั้งประชาชนก็พึงพอใจกิจกรรมเหล่านี้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    กลุ่มเป้าหมาย 55 คน ภาคที่เข้าร่วมมีผู้ใหญ่บ้าน สอบต. ผู้ช่วย กลุ่มอสม สิ่งที่ได้ 1.ได้รับความร่วมมือจากประชาชนเป็นอย่างดีและทุกฝ่ายก็ให้ความร่วมมมือ 2.มีบ้านผู้ใหญ่ เป็นแหล่งเรียนรู้ในชุมชน และพัฒนาเป็นศูนย์เรียนรู้ในชุมชน 3.ประชาชนได้รับความรู้เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับการทำน้ำหมักชีวภาพ 4.ได้แลกเปลี่ยนความรู้ เ่ช่น สูตรทำน้ำหมัก
    สิ่งที่ได้เรียนรู้คือ ได้มีการเปลี่ยนทัศนติ มีมุมมองใหม่ มีแนวคิดใหม่ในการพัฒนาหมู่บ้าน เช่น การจัดตั้งกลุ่มและพัฒนาเป็นกลุ่มอาชีพ สร้างรายได้เสริมให้กับครอบครัว ได้แก่ การผลิตปุ๋ยชีวภาพใช้เองและจำหน่ายแก่ผู้สนใจ 

     

    30 55

    13. ประชุมคณะกรรมการครั้งที่ 3

    วันที่ 28 ธันวาคม 2555 เวลา 13.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วันนี้เป็นการประชุมครั้งที่ 3  เพื่อจัดเตรียมกจิกรรมครั้งต่อไป โดยมอบหมายหน้าที่แต่ละคน คือการเตรียมน้ำยาเอนกประสงค์  การประชุมคณะกรรมการครั้งนี้ทำให้เห็นว่า พวกเรามีความสามัคคีกันมากขึ้น มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ชวนคิด ชวนคุย ในเรื่องของโครงการ กรรมการทุกคนเกิดความพร้อม ในการทำกิจกรรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.คณะกรรมการ 16 คน ได้แบ่งหน้าที่การทำงานอย่างชัดเจนในการจัดกิจกรรมต่อไป 2.ภาคีที่ร่วมกิจกรรมประกอบด้วย ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยฯ สอบต. กลุ่ม อสม สรุปว่า สิ่งที่เห็นชัดในตอนนี้คือ คนในหมู่บ้านมีความพร้อมเพรียงกันมากขึ้นในการพัฒนา
    3.คณะกรรมการมีความสนิทสนมกันมากขึ้น และให้ความร่วมมือทุกอย่าง ส่ิงที่ได้เรียนรู้คือความไว้วางใจ  มีกติการ่วมกันในการทำงาน  สร้างสามัคคี

     

    15 16

    14. สาธิตการทำน้ำยาเอนกประสงค์

    วันที่ 6 มกราคม 2556 เวลา 08:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    การเข้าร่วมกิจกรรมวันนีี้ เป็นครัวเรือนเป้าหมาย 30 ครัว ได้เรียนรู้การทำน้ำยาเอนกประสงค์ และสาธิตการทำน้ายาเอนกประสงค์โดยใช้สมุนไพรในชุมชน กิจกรรมดังกล่าวสามารถลดรายจ่ายของครอบครัว เพิ่มรายได้  ทุกครัวเรือนสามารถทำได้เอง ทำไม่ยาก อุปกรณ์ที่ใช้มี  n70 ผงข้น  f24 น้ำมะนาว ผงฟอง กะละมังขนาดใหญ่หรือถัง 2 ใบ  น้ำสะอาด 10 กฺิโล นำส่วนผสมมาทำตามขั้นตอน แล้วทิ้งไว้ประมาณ 8-10 ชั่วโมง แล้วนำไปบรรจุขวด สิ่งที่ได้ในวันนี้คือ 1.มีการเรียนรู้เรื่องน้ำยาเอนกประสงค์ ลดการปนเปือ้นสารเคมี  2.มีการกระบวนการเรียนรุ้ 3.ใช้สมุนไพรในชุมชนให้เกิดประโยชน์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.กลุ่มเป้าหมาย 60 คน ประกอบด้วยผู้ใหญ่บ้าน สอบต. ปราญช์ชุมชน กลุ่ม อสม คณะกรรมการกองทุน รองนายกฯ แกนนำครัวเรือน เข้าร่วมประชุม  2.ได้เรียนรุ้วิธีการลดรายจ่ายในครัวเรือน โดยการทำน้ำยาเอนกประสงค์ใช้เอง 3.เรียนรู้วิธีการลดเคมีในชีวิตประจำวัน โดยใช้สมุนไพรจากธรรมชาติจากมะนาว มะเฟือง  4.ชาวบ้านให้ความร่มมมือเป็นอย่างดี และให้ความสำคัญต่อการลดสารเคมี 5.ทุกคนที่เข้าร่วมประชุมมีความพึงพอใจ มาก  สิ่งที่เกิดขึ้นเกินเป้าหมายคือ ครัวเรือนกลุ่มเป้าหมายและเพื่อนบ้านใกล้เคียงให้ความสนใจ และสมัครใจเข้าร่วมโครงการเพิ่มขี้น

     

    60 60

    15. สาธิตการทำน้ำยาเอนกประสงค์ครั้งที่ 3

    วันที่ 14 มกราคม 2556 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้น้ำเอนกประสงค์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    กลุ่มเป้าหมาย 60 คน เข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลียนเรียนรู้การทำน้ำยาเอนกประสงค์ มีการพูดคุยและชวนคุยผลที่เกิดจากกิจกรรม ดังนี้
    1.ลดรายจ่ายในครัวเรือน เพราะการทำน้ำยาเอนกประสงค์สามารถใช้ได้หลายอย่าง 2.ได้เรียนรู้ส่วนผสมที่หลากหลายและการใช้สมุนไพรสด 3.ลดการปนเปื้อนสารเคมี 4.มีการดำเนินชีวิตแบบดั้งเดิมอยู่แบบพอเพียง 5.เพิ่มความสามัคคี ลดความขัดแย้ง 6.มีการช่วยเหลือกันและกัน ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันจริงๆ

     

    0 0

    16. ประชุมคณะกรรมการครั้งที่ 4

    วันที่ 14 มกราคม 2556 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะกรรมการได้สรุปความคิดจากประชาชนกลุ่มเป้าหมาย มีความพึงพอใจและเห็นด้วยกับการทำน้ำยาเอนกประสงค์ ประชาชนหลายคนชอบกิจกรรมรื้อครัว เพราะได้ปรับปรุงกันจริงๆ เป็นการลดปริมาณสารเคมี สารปรุงรส และทุกคนต้องตั้งเป้าหมายร่วมกัน ต้องลด ละ เลิก ให้ได้ เพราะในเครื่องปรุงรส มีสารเคมีปนเปื้อนทุกชนิด เราสามารถลดการกินเครื่องปรุงรส ลงทีละน้อย จากที่ใช้มากก็สามารถค่อยๆ ลดปริมาณลงมา และต่อจากนี้หวังว่าครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการได้รับสิ่งที่เป็นประโยชน์ แก่ตัวเองและครอบครัว

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.คณะกรรมการเข้าร่วมประชุม 15 คน ประกอบด้วยผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยฯ สอบต.ผู้ทรงคุณวุฒิ และอสม 2.กลุ่มเป้าหมายให้ความร่วมมือเกินความคาดหมาย
    3.สร้างความรัก ควาามสามัคคีให้เกิดในหมุ่บ้านได้

     

    0 0

    17. ประชุมกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรมปลูกผักและรื้อครัว

    วันที่ 15 มกราคม 2556 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ในวันนี้้ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ มีแปลงปลูกผักปลอดสารพิษทุกครัวเรือน ในครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ 30 ครัว และคณะกรรมการ 30 คน โดยจัดประชุมกลุ่มปลูกผักโดยใช้น้ำหมักชีวภาพ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม โดยให้แต่ละกลุ่มได้จัดทำแปลงเพาะพันธุ์ผักเพื่อกระจายให้กับสมาชิกของกลุ่ม สมาชิกต้องดำเนินการปลูกผักในแปลงของตนเอง โดยใช้น้ำหมักชีวภาพ โดยในกิจกรรมนี้ครัวเรือนที่เข้าร่วมต้องให้ความสนใจกันมากขึ้น ร่วมกันดูแลมากขึ้น เพราะต้องนำประเด็นต่างๆ มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สรุปกิจกรรมวันนี้คือจัดประชุมกลุ่มผู้ทีปลูกผัก เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน  และแจกจ่ายเมล็ดผักที่เพาะในแปลงผักรวม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.กลุ่มเป้าหมายได้เข้าร่วมกิจกรรม 75 คน ประกอบด้วยผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยฯ สอบต. กลุ่ม อสม ครู รองนายกฯ แกนนำครอบรัว 2.กลุ่มเป้าหมายแลกเปลี่ยนเรียนรู้กิจกรรมการรื้อครัวเพื่อลดการใช้เครื่องปรุงรสและผงชูรส การปลูกผักข้างบ้านกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรมมีส่วนร่วมดีมาก
    3.มีการพูดคุยถึงกิจกรรมที่ได้ทำคือการลดผงชูรส หันมาปลูกผักข้างบ้าน ปลูกสมุนไพรไว้กินเองไม่ต้องไปซื้อ ชักชวนทำกับข้าวกินเอง ไม่ซื้อกิน
    4.สิ่งที่ได้เรียนรู้คือ ประชาชนเริ่มตื่นตัว และคำพูดที่ได้ยินคือ รายจ่ายลดลง เพราะไม่ต้องซื้อ ขอเป็นกำลังใจและชมว่าเยี่ยม
    บทเรียนคือครัวเรือนที่เข้าร่วมกิจกรรมให้ความสนใจในกิจกรรมเพราะได้ลดสารเคมี ลดรายจ่าย ในครัวเรือนได้ ได้กินอาหารที่สด และปลูกเอง  ทำให้มองเห็นวิธีการลดสารเคมี ลดการเกิดโรค

     

    60 75

    18. ประชุมกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรมปลูกผักและรื้อครัว

    วันที่ 15 มกราคม 2556 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ชวนกลุ่มเป้าหมายพูดคุย เกี่ยวกับกิจกรรมการรื้อครัว เพื่อลดการปนเปื้อนสารเคมีประจำวัน 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.กลุ่มเป้าหมายได้เข้าร่วมกิจกรรม 75 คน ประกอบด้วยผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยฯ สอบต. กลุ่ม อสม ครู รองนายกฯ แกนนำครอบรัว 2.กลุ่มเป้าหมายแลกเปลี่ยนเรียนรู้กิจกรรมการรื้อครัวเพื่อลดการใช้เครื่องปรุงรสและผงชูรส การปลูกผักข้างบ้านกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรมมีส่วนร่วมดีมาก
    3.มีการพูดคุยถึงกิจกรรมที่ได้ทำคือการลดผงชูรส หันมาปลูกผักข้างบ้าน ปลูกสมุนไพรไว้กินเองไม่ต้องไปซื้อ ชักชวนทำกับข้าวกินเอง ไม่ซื้อกิน
    4.สิ่งที่ได้เรียนรู้คือ ประชาชนเริ่มตื่นตัว และคำพูดที่ได้ยินคือ รายจ่ายลดลง เพราะไม่ต้องซื้อ ขอเป็นกำลังใจและชมว่าเยี่ยม

     

    60 0

    19. คืนเงินเปิดบัญชี

    วันที่ 19 มกราคม 2556 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    -

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    -

     

    0 0

    20. ประชุมแลกเปลี่ยนรู้กลุ่มทำน้ำหมักชีวภาพ ปุ๋ยชีวภาพ

    วันที่ 19 มกราคม 2556 เวลา 00:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วันนี้ได้ชวนกลุ่มเป้าหมายในโครงการเข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถอดบทเรียน  โดยมีนายยงยุทธ์ (พี่เลี้ยง)และนายมนูญ (พี่เลี้ยง) เข้าร่วมกระบวนการชวนคิด ชวนคุย  พี่เลี้ยงบอกว่าตอนี้โครงการนี้ก้าวหน้าไปเยอะมาก เป็นต้นแบบได้ เพราะประชาชนมาร่วมคิด ร่วมทำกิจกรรมกันจริงๆ  การพูดคุยวันนี้จะพูดคุยแลกเปลี่ยนเรืิ่องน้ำหมักชีวภาพ การรื้อครัวเพื่อลดสารเคมี การทำปุ๋ยชีวภาพ กิจกรรมโครงการนี้เป็นการสร้างกระบวนการเรียนรู้ สู่ชีวิตที่ปลอดโรค เพื่อลดสารเคมีในร่างกาย โดยเฉพาะเครื่องปรุงรส ผลชูรส มีสารเคมีทั้งนั้น วันนี้ถ้าเราชวนกันทำเอง โดยเริ่มจากครัวเรือน ลดสารปรุงรสในครัวเรือน  เช่น แป้งหวาน เป็นอนุพันธ์ของเกลือ ยิ่งกินยิ่งความดันขึ้น มีคนในโครงการหลายคนบอกว่า พยามยามลดปริมาณของสารเคมี ลดสารปรุงรส เพราะเป็นอันตรายต่อสุขภาพ คำถามที่พวกเราต้องคุยคือ เราจะรื้อสารเคมีในครัวออกได้อย่างไร เราต้องค่อยๆลดไปทีละอย่าง การที่จะทำอาหารให้อร่อย เราต้องใช้ของสดในการทำอาหาร ผักสดมีรสหวานเพราะเป็นผักที่เราปลูกเอง และวันนี้พี่เลี้ยงโครงการ ได้ให้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวคิดสุขภาพพอเพียง วิถีพอเพียง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรม 65 คน ประกอบด้วย ผู้ใหญ่บ้าน รองนายกอบต. กลุ่มอสม. สอบต. ผู้ช่วยฯ ครู
    2.กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรมและชวนคุยดีมาก
    จากการถอดบทเรียน พบว่า 1.กิจกรรมรื้อครัว ทำให้ทุกครัวเรือนลดการใช้ผงชูรส เครื่องปรุงรส และหันมาทำกับข้าวกินเอง ปลูกผักกินเอง ลดรายจ่ายครัวเรือน 2.กิจกรรมทำน้ำหมัก กลุ่มเป้าหมายบอกว่า ขยะในบ้านลดลง

    สิ่งที่ได้เรียนรู้คือ
    1.ร้อยละ 100 ของครัวเรือนที่เข้าร่วมกิจกรรมลดการใช้ผงชูรส
    2.ร้อยละ 30 เลิกใช้ผงชูรสแล้ว
    3.การทำน้ำหมักทำให้ลดปริมาณขยะในครัวเรือน การปลูกผักทำให้ลดรายจ่าย ขอเมื่อลงไปติดตามที่บ้าน มีการทำน้ำหมัก มีการปลูกผัก
    4.กลุ่มเป้าหมายทุกคนพึงพอใจ

     

    60 75

    21. การติดตามผลการดำเนินงานกิจกรรมของโครงการของพี่เลี้ยง

    วันที่ 19 มกราคม 2556 เวลา 08:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    พี่เลี้ยงระดับภาค 2 คน พี่เลี้ยงจังหวัด 1 คนและพี่เลี้ยงพื้นที่ 2 คน และกลุ่มเป้าหมาย 5 คน เข้าร่วมกิจกรรมติดตามรายงานผลความก้าวหน้าโดยพี่เลี้ยงระดับภาค สิ่งที่ได้รับคำแนะนำคือให้ปรับกระบวนการบันทึกข้อมูลให้ละเอียดมากกว่าเดิม เอกสารทุกอย่างเรียบร้อย 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.พี่เลี้ยงได้ติดตามผลการดำเนินงาน พบว่าเอกสารทุกชนิดเรียบร้อย ให้ดำเนินการรวบรวมส่งหลักฐานงวดถัดไป 2.สิ่งที่ต้องปรับแก้ไขคือการบันทึกข้อมูลต้องละเอียด

     

    0 0

    22. ประชุมแลกเปลี่ยนรู้กลุ่มทำน้ำหมักชีวภาพ ปุ๋ยชีวภาพ

    วันที่ 19 มกราคม 2556 เวลา 00:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    กลุ่มเป้าหมาย 65คน เข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และิติดตามเยี่ยมบ้าน กลุ่มเป้าหมาย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรม 65 คน ประกอบด้วย ผู้ใหญ่บ้าน รองนายกอบต. กลุ่มอสม. สอบต. ผู้ช่วยฯ ครู
    2.กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรมและชวนคุยดีมาก
    สิ่งที่ได้เรียนรู้คือ
    1.ร้อยละ 100 ของครัวเรือนที่เข้าร่วมกิจกรรมลดการใช้ผงชูรส
    2.ร้อยละ 30 เลิกใช้ผงชูรสแล้ว
    3.การทำน้ำหมักทำให้ลดปริมาณขยะในครัวเรือน การปลูกผักทำให้ลดรายจ่าย ขอเมื่อลงไปติดตามที่บ้าน มีการทำน้ำหมัก มีการปลูกผัก
    4.กลุ่มเป้าหมายทุกคนพึงพอใจ

     

    60 0

    23. ประชุมคณะกรรมการครั้งที่ 5

    วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมคณะกรรมการเพื่อมอบหมายงานและติดตามความก้าวหน้า

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะกรรมการ 15 คน เข้าร่วมประชุมเพื่อแบ่งงานในหน้าที่รับผิดชอบ โดยมอบคณะกรรมการจัดเตรียมเอกสารและเนื้อหาในการจัดกิจกรรมคัรั้งต่่อไป  คณะกรรมการทุกคนเต็มใจและทำหน้าที่ของตนเอง

     

    0 0

    24. สาธิตการทำน้ำยาเอนกประสงค์ ครังที่2

    วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดกิจกรรมเรียนรู้ในการทำน้ำยาเอนกประสงค์โดยใช้สมุนไพรในชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.กลุ่มเป้าหมาย 60 คน เข้าร่วมกิจกรรมทำน้ำยาเอนกประสงค์โดยใช้สมุนไพรในชุมชน 2.การทำน้ำยาเอนกประสงค์ สามารถนำไปใช้ได้หลายอย่าง 3.กลุ่มเป้าหมายได้เรียนรุ้วิธีการน้ำยาเอนกประสงค์มากขึ้น 4.มีการดำเนินชีวิตตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง เกิดความสามัคคีและลดการขัดแย้ง 5.ลดการใช้สารเคมีน้อยลง 6.ลดรายจ่ายครัวเรือน

     

    60 60

    25. พี่เลี้ยงติดตามโครงการ

    วันที่ 3 มีนาคม 2556 เวลา 15:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    กลุ่มเป้าหมายซึ่งเป็นแกนนำ 6 คน เข้าร่วมกิจกรรมรายงานความก้าวหน้าของและรับคำนแนะนำจากพี่เลี้ยง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ทีมงานร่วมกันเล่าผลงานที่เกิดขึ้นให้พี่เลี้ยงฟัง ดังนี้
    1.มีการประชุมคณะกรรมการไปแล้ว 5 ครั้ง ประชุมชี้แจงประชาชนและรับสมัครเข้าร่วมกิจกรรมด้วยความสมัครใจ 60 ครัวเรือน 2.มีกิจกรรมรื้อครัว โดยการรณงค์ลดการใช้เครื่องปรุงรส ปลูกผักสด และปรุงสดๆ แทน
    3.กิจกรรมทำน้ำหมักชีวภาพ มีการจัดกิจกรรมไปแล้ว 2 ครั้ง
    4.กิจกรรมน้ำยาเอนกประสงค์ จัดกิจกรรมไปแล้ว 2 ครั้ง
    5.กิจกรรมปลูกผัก จัดกิจกรรมไปแล้ว 2 ครั้ง

     

    0 0

    26. ประชุมคณะกรรมการครั้งที่ 6

    วันที่ 6 มีนาคม 2556 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมคณะกรรมการเพื่อติดตามความก้าวหน้าของโครงการ ในกิจกรรมที่ผ่านมา และวางแผนจัดกิจกรรมครั้งต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.คณะกรรมการ 18 คนเข้าร่วมประชุม 2.คณะกรรมการร่วมกนประเมินผลงานที่ผ่าน ซึ่งเป็นตามไปแผนที่กำหนดไว้ 3.คณะกรรมการประเมินความพึงพอใจ พบว่าร้อยละ 100 กลุ่มเป้าหมาย พึงพอใจและให้ความร่วมมือเกินคาดหมาย 4.เป็นการสร้างความรัก ความสามัคคีให้เกิดกับกลุ่มเป้าหมาย 5.กรรมการเสนอว่าปัญหาที่พบคือปัญหาการบันทึกข้อมูลผ่านระบบออนไลน์ ต้องไปใช้ internet ที่ รพ.สต.

     

    0 0

    27. ประชุมกลุ่มปลูกผัก ครั้งที่3

    วันที่ 8 มีนาคม 2556 เวลา 08:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ครัวเรือนเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรรมตามโครงการที่บ้านผู้ใหญ่บ้าน (เป็นฐานเรียนรู้ในชุมชน) มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันว่าเมื่อเราปลูกผักปลอดสารพิษแล้วไปใช้ประโยชน์มีผลดีเป็นอย่างไร 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    กลุ่มเป้าหมายมีการพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการปลุกผักปลอดสารพิษ สิ่งที่พบคือ 1.กลุ่มเป้าหมายให้ความร่วมมือเป็อย่างดี 2.เกิดฐานเรียนรู้ในชุมชนเกี่ยวกับการปลูกผักปลอดสารพิษ 3.กลุ่มเป้าหมายร้อยละ 100 บอกว่ากิจกรรมนี้มีประโยชน์มาก และทำให้ทุกคนมีสุขภาพดีถ้าปฏิบัติจริง
    4.ทุกคนได้รับความรู้เกี่ยวกับวิธีการลดสารเคมี่ในเลือด 5.การเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดคือผู้มีการเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและวิถีการดำรงชีวิตที่ทำให้สุขภาพดีขึ้น 6.สภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงคือใช้เกษตรอินทร์ปลูกผัก อนุรักษ์ดิน 7.มีการปรับปรุงดินที่ว่างเปล่ามาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด 8.มีแกนนำชุมชน เช่น อบต. ผู้นำ ผู้ช่วย และ อสม.ให้ความร่วมมือในการพัฒนาเป็นอย่างดี 9.แต่ละครัวเรือนยอมรับและถ่ายความรู้ให้กันและกัน

     

    60 60

    28. กิจกรรมรื้อครัว ครั้งที่ 3

    วันที่ 19 มีนาคม 2556 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    กลุ่มเป้าหมาย 60 คน เข้าร่วมกิจกรรมรั้อครัว ที่ศาลาเอนกประสงค์ ให้และความรู้เพิ่มเติม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.กลุ่มเป้าหมาย 60 คนเข้าร่วมกิจกรรมถอดบทเรียนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 2.ครัวเรือนที่เข้าร่วมกิจกรรมลดปริมาณการใช้สารเคมี หันมาปรุงรสตามธรรมชาติ 3.ครัวเรือนได้ตระหนักถึงการปรุงอาหารด้วยของสดได้รสชาติ ได้ประโยชน์ 4.ทุกคร้วเรือนยอมรับในกิจกรรมนี้

     

    60 60

    29. แลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพ ครั้งที่ 2

    วันที่ 25 มีนาคม 2556

    กิจกรรมที่ทำ

    กลุ่มเป้าหมาย 60 คน ร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการทำปุ๋ยและน้ำหมักชีวภาพ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.กลุ่มเป้าหมาย 60 ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำน้ำหมักและปุ๋ยหมักชีวภาพ 2.ประชาชนให้การตอบรับเป้นอย่างดี 3.ประชาชนได้รับความรู้เพิ่มขี้นจากกระบวนการพัฒนา 4.ประชาชนในชุมชนได้เจอแต่ส่ิงที่ดี ทำให้เพิ่มคุณค่าในตนเองและชุมชนเข้าใจกันมากขึ้น

     

    60 60

    30. ประชุมคณะกรรมการครั้งที่ 7

    วันที่ 6 เมษายน 2556 เวลา 13:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมเพื่อประเมินผลการดำเนินงานและวางแผนในการพัฒนากิจกรรมต่อไป 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.คณะกรรมการเห็นด้วยกับพัฒนากิจกรรม พบว่ามีความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง 2.กลุ่มเป้าหมายพึงพอใจต่อกิจกรรมทุกกิจกรรม
    3.ประชาชนก็ให้ความร่วมมือเป้นอย่างดี

     

    0 0

    31. เผยแพร่ แลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานโครงการร่วมจัดเวทีเรียนรู้กับเครือข่ายในอำเภอ

    วันที่ 19 เมษายน 2556 เวลา 09.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดกิจกรรมถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานให้กับเครือข่ายระดับอำเภอเชียรใหญ่ ทั้งแนวทางการปฏิบัติและผลที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.เครือข่ายระดับอำเภอให้ความสนใจและร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ พร้อมทั้งเขียนคำนิยม
    2.ภาคีเครือข่ายระดับอำเภอมีความพึงพอใจเกี่ยวกับผลการดำเนินงาน
    3.ได้แลกเปลี่ยนวิธีการปลูกผักโดยใช้นำหมักชีวภาพและการใช้ฮอร์โมนไข่เร่งราก 

     

    0 0

    32. สาธิตการทำน้ำยาเอนกประสงค์ ครังที่4

    วันที่ 27 เมษายน 2556 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    กลุ่มเป้าหมาย 60 คน เข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ศาลาเอนกประสงค์ในการทำน้ำยาเอนกประสงค์ โดยใช้อุปกรณ์มี n70 ผงข้น น้ำมะนาว f24  ผงฟอง มะละมัง2 ใบ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.กิจกรรมครั้งนี้สามารถลดรายจ่าย เพิ่มรายได้จริง 2.มีกระบวนการเรียนรู้ ใช้สมุนไพรของชุมชนมาใช้ให้เกิดประโยชน์ 3.ชาวบ้านให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี และให้ความสำคัญต่อการลดสารเคมี 4.สามารถใช้สมุนไพรจากธรรมชาติจากมะนาว มะเฟือง มาใช้เป็นส่วนผสมในการทำน้ำยาเอนกประสงค์ 

     

    60 60

    33. ประชุมกลุ่มปลูกผัก ครั้งที่4

    วันที่ 4 พฤษภาคม 2556 เวลา 08:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    กลุ่มเป้าหมาย 60 คน เข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการปลูกผักปลอดสารพิษ มีการชวนพูด ชวนคุย ชวนคิด

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.ครัวเรือนที่เข้าร่วมกิจกรรมมีการปลูกผักปลอดสารพิษทุกครัวเรือน 2.ได้เริ่มรายได้ ลดรายจ่ายให้กับครัวเรือน 3.ประชาชนเริิ่มตื่่นตัวและให้ความสำคัญกับการลดรายจ่าย การลดโรคและการเพิ่มรายได้ 4.ลดปริมาณขยะในชุมชนเพราะขยะที่เหลือใช้ ลงถังทำเป็นปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ
    5.แกนนำชุมชนให้ความสนใจ 6.เกิดฐานเรียนรู้การทำน้ำหมักและปุ๋ยหมักชีวภาพ

     

    60 60

    34. ประชุมคณะกรรมการครั้งที่ 8

    วันที่ 6 พฤษภาคม 2556 เวลา 12:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะกรรมการสรุปผลการดำเนินงานตามกิจกรรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.คณะกรรมการ 15 คน เข้าร่วมประชุมตามแผนที่กำหนด 2.จากการสอบถามครัวเรือนพบว่าทุกครัวให้ความสนใจในการทำกิจกรรมดังกล่าว 3.กิจกรรมดังกล่าวทำให้คนในชุมชนมีความกระตือรือร้นมากขึ้น 4.ทำให้แกนนำชุมชนและประชาชนร่วมมือกันเป็นอย่างดี

     

    0 0

    35. เผยแพร่ผลการดำเนินงาและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับภาคีสุขภาพระดับอำภอและจังหวัด

    วันที่ 7 พฤษภาคม 2556 เวลา 08:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ได้รับคัดเลือกให้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกระบวนการพัฒนาชุมชนสร้างกระบวนการเรียนรู้สู่ชีวิตที่ปลอดโรคให้กับเครือข่ายอำเภอเชียรใหญ่และ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครศรีธรรมราช 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.แลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนสร้างชีวิตที่ปลอดโรคให้กับภาคีอำเภอเชียรใหญ่ จำนวน 10 ตำบล รวม 100 คน
    2.กลุ่มภาคีเครือข่ายมีข้อเสนอแนะที่ดีในการพัฒนา 

     

    0 0

    36. ติดตามผลการดำเนินงานและสรุปบทเรียนของ สจมรส.มอ.และสสส.

    วันที่ 13 พฤษภาคม 2556 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ทีมงาน 5 คน เข้าร่วมกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และนำผลผลิตที่ได้จากชุมชนไปแสดง เพื่อให้เห็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงและผลลัพธ์ทีเกิดขึ้นในพื้นที่ 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ทีมงานร่วมกันคิดและนำเสนอผลการเปลี่ยนแปลง ดังนี้

    1.กิจกรรมที่ทำไปแล้วได้แก่ -การรื้อครัวเพือลดการใช้สารเคมี -เศษผักจากครัวเรือนทำปุ๋ยหมักชีวภาพ -น้ำหมักชีวภาพนำมาใช้ปลูกผักเป็นผักปลอดสารพิษ -การทำน้ำยาเอนกประสงค์โดยใช้สมุนไพรสด -การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การทำปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ

    2.เหตุผลที่ทำโครงการ -ต้องการลดการใช้สารเคมีในชีวิตประจำวัน -ต้องการลดสิ่งปนเปื้อนในอาหาร -ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ -ต้องการนำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้พัฒนาชุมชน

    3.สิ่งที่เกิดขึ้น -น้ำหมักฮอร์โมนซาวข้าว -น้ำหมักลูกยอล้างจาน -น้ำยาเอนกประสงค์สมุนไพร -ศูนย์เรียนรู้การทำน้ำหมัก -ทุกครัวเรือนมีการปลูกผักปลอดสารพิษ -ทุกครัวเรือนเป้าหมายมีการรื้อครัวเรือนลดการใช้เครื่องปรุงรส

    4.องค์ความรู้ใหม่ -การทำฮอร์โมนซาวข้าว -น้ำหมักลูกยอ

    5.กระบวนการที่ใช้คือการมีส่วนร่วม มีการมอบหมายอย่างชัดเจนในชุมชน มีกลุ่มปลูกผัก กลุ่มปุ๋ยหมัก กลุ่มน้ำยาเอนกประสงค์

    6.มีฐานเรียนรู้ในชุมชน 2 ฐานคือน้ำหมักชีวภาพและน้ำยาเอนกประสงค์

    7.บทเรียนที่ได้คือ ทุกวันนี้ประชาชนในบ้านอู่แก้ว สนใจการบริโภค ปลูกเอง ใช้น้ำหมักชีวภาพ ปลูกผักกินเอง ผักเหลือก็แลกเปลี่ยนกัน ลดการใช้เครื่องปรุงรส นำภูมิปัญญามาใช้ร่วมกันในการจัดกิจกรรม โดยใช้สมุนไพรมาดุแลสุขภาพ ทำยาสระผม

    8.สิ่งที่เปลี่ยนแปลง -ปลูกผักกินเอง ขยะเหลือใช้ก็นำไปทำปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ -พื้นที่ว่างเปล่าก็ถุกนำมาใช้ประโยชน์ -ผู้ใหญ่บ้าน,  อบต.เป็นแกนนำหลักในการพัฒนา -สร้างอาชีพ สร้างรายได้ -ใช้ทุนที่มีอยู่ในสังคมเป็นกลไกในการพัฒนา -กองทุน อบต.เขาพระบาท, โรงเรียน. รพสต. กศน. อบต.เขาพระบาท โรงเรียนอุ่แก้ว ให้การสนับสนุนการทำงาน -คนรักกัน สามัคคีกัน -ปลูกผักใช้สมุนไพรช่วยรักษาดิน -ประชาชน รัฐ ช่วยกันทำงาน

     

    0 0

    37. กิจกรรมรื้อครัว ครั้งที่ 4

    วันที่ 20 พฤษภาคม 2556 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ติดตามกลุ่มเป้าหมายในการลดใช้เครื่องปรุงรสและแลกเปลี่ยนเรียนรู้จาการดำเนินกิจกรรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.กลุ่มเป้าหมาย 60 คน เข้าร่วมกิจกรรมรื้อครัว ร้อยละ 100
    2.กลุ่มเป้าหมายสามารถลดเครื่องปรุงรสได้ ร้อยละ 50 3.ทุกครัวเรือนให้ความร่วมมือเป้นอย่างดี 4.ร้อยละ 50 ที่เหลือมีการปรับลดปริมาณการใช้อย่างต่อเนื่อง 5.ประชาชนได้ความรู้และเรียนรู้วิธีการเลิกใช้เครื่องปรุงรส ใช้ผักสดแทนหรือใช้อาหารธรรมชาติแทน 6.มีการเรียนรู้การปรุงอาหารตามธรรมชาติ เช่น เก็บผักสดๆ แล้วมาทำเป็นผักเหนาะ  แกงปลาทีจับได้สดๆ 

     

    0 0

    38. ประชุมคณะกรรมการครั้งที่ 9

    วันที่ 6 มิถุนายน 2556 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เพื่อประเมินผลการดำเนินงานและสรุปความก้าวหน้าของโครงการและจัดกิจกรรมครั้งต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.คณะกรรมการ 15 คน เข้าร่วมประชุมตามระยะเวลาที่กำหนด

    2.กลุ่มเป้าหมายให้ความรว่มมือเป็นอย่างดี

    3.เกิดความรัก ความสามัคคีในหน่วยงาน

    4.ได้เรียนรุ้กระบวนการพัฒนางานและวิธีการทำงานให้มีประสิทธิภาพ

    5.มีกระบวนการพัฒนางานอย่างเป็นขั้นเป็นตอน

    บทเรียนที่ได้จากการพัฒนา
    1.แกนนำ ผู้นำชุมชน คิดบวก คิดใหม่ ทำใหม่ ถึงแม้ว่าจะเป็นเรื่องเดิม แต่ถ้าเปลี่ยนกระบวนการทำงาน ก็จะประสบความสำเร็จ
    2.ทีมงาน ทำงานด้วยความเสียสละ ตั้งใจจริง และมีการกำหนดเป้าหมายไว้ร่วมกัน และเป็นเป้าหมายเดียวคือการลดสารเคมี 3.การนำแนวคิดเศรษฐกิจของพ่อหลวงมาร่วมพัฒนา เป็นสิ่งที่ถูกต้องในเวลา ช่วยประหยัด และทุกคนทำได้
    4.การพัฒนามีการเปลี่ยนแปลงในทิศทางที่ดีขึ้น พบว่าประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมกิจกรรม  ผู้นำชุมชนพัฒนาด้วยตนเอง เกิดความรัก ความสามัคคี และทุกคนเข้าร่วมกิจกรรมด้วยความสมัครใจ

     

    0 0

    39. ถอดบทเรียน การดำเนินงานครั้งที่ 1

    วันที่ 17 มิถุนายน 2556 เวลา 09:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ครัวเรือนเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้จำนวน 60 ครวเรือน ในประเด้น 1.การทำน้ำหมักชีวภาพและปุ๋ยชีวภาพ 2.ผลที่ได้จากการดำเนินงานตามโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.ครัวเรือนเป้าหมาย 60 คน เข้าร่วมกระบวนการถอดบทเรียน โดยการบอกเล่าและชวนคุย พบว่า ร้อยละ 100 มีความพึงพอใจ และอยากเห็นกิจกรรมนี้อีกในปีถัดไป

    2.ครัวเรือนเป้าหมาย มีการวิธีการลดปริมาณขยะในครัวซึ่งเป็นขยะสดที่ย่อยสลายได้ ให้มีปริมาณลดลง โดยการทิ้งลงถังหมัก เพื่อนำไปทำเป็นปุ๋ยและน้ำหมักชีวภาพ

    3.ประชาชนในชุมชนมองเห็นวิธีการลดสารเคมีชัดเจนขึ้น คือการผลิตปุ๋ยชีวภาพใช้เอง และร่วมกันทำงานจนเกิดกระบวนการพัฒนางานที่่ชัดเจน มีการมอบหมายงานในหน้าที่ และช่วยกันทำ

    4.ประชาชนในชุมชนเกิดความรักและช่วยเหลือกัน

    5.ทุกครัวเรือนมีการปลูกผักปลอดสารพิษ นำกินได้โดยเชื่อมั่น และผักมีรสชาติที่หวาน ได้กินของ และเริ่มเข้าใจวิธีลดโรค ทำให้เกิดหลักคิดคือ ปลูกผักที่กิน กินผักที่ปลูก

    6.มีกลวิธีในการลดเครืองปรุงรส คือ การกินผักสดทำให้ได้รสหวาน ลดการใช้เครื่องปรุงรส

    7.นำภุมิปัญญาและสุมนไพรมาใช้ในการทำน้ำยาเอนกประสงค์ เพื่อลดการปนเปื้อนสารเคมี

     

    60 60

    40. แลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพ ครั้งที่ 3

    วันที่ 22 มิถุนายน 2556 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรมพูดคุยและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กิจกรรมร่วมกัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.กลุ่มเป้าหมาย 60 คน เข้าร่วมกิจกรรมอย่างพร้อมเพรียงกันและเต็มใจเข้าร่วมกิจกรรม 2.ได้รับการสนับสนุน จาก กศน.เชียรใหญ่ เป็นวัสดุทำปุ๋ยชีวภาพ เป้นเงิน 9,000 บาท
    3.กองทุนหลักประกันสุขภาพให้การสนับสนุนถังหมัก 100 ถัง เป็นเงิน 20,000 บาท
    4.ประชาชนได้เรียนรู้วิธีการแก้ปัญหาร่วมกัน
    5.ได้เรียนรู้วิธีการทำน้ำหมักชีวภาพสูตรใหม่ -ผงพะโล้ ช่วยไล่แมลง -ผงกะหรี่่ ช่วยไล่แมลง -เครื่องแกง ช่วยไล่แมลง 6.ชุมชนมีความเสียสละ ช่วยเหลือกันมากขึ้น
    7.ปัจจุบันสังคมน่าอยู่มากขึ้น

     

    60 60

    41. ประชุมคณะกรรมการครั้งที่ 10

    วันที่ 6 กรกฎาคม 2556 เวลา 13:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะกรรมการ 15 คน ประชุมเพื่อติดตามความก้าวหน้าของโครงการและประเมินผลการทำงาน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะกรรมการ 15 คน เข้าร่วมประชุมและเพื่อความก้าวหน้าของการดำเนินงาน พบว่า
    1.คนในชุมชนร่วมกิจกรรม มีความรู้สึกเป็นเจ้าของมากขึ้น มีทัศนคติและมุมมองที่เปลี่ยนไป สัมพันธภาพแบบมิตรไมตรีเกิดขึ้นในชุมชน เกิดความรัก หวงแหนและมี ความสามัคคี

    2.ทีมงานเกิดความรัก เป็นพวกเดียวกัน มีการเรียนรู้ร่วมกัน ร่วมกันขับเคลื่อนงานและเกิดกลไกลการพัฒนาที่ชัดเจน

    3.มีการปลูกผักปลอดสารเคมี  เพิ่มผลผลิตโดยฮอร์โมนธรรมชาติ ทำน้ำหมักชีวภาพและปุ๋ยชีวภาพ

    4.ผู้นำชุมชน สมาชิก อบต. เข้าร่วมกิจกรรมมากขึ้น

    5.มีผู้รู้ ปราชญ์ชุมชนและประชาชน เข้ามาร่วมพัฒนาอย่างจริงจัง

    6.มีการวางแผนงานอย่างต่อเนื่อง

    นวัตกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ ได้แก่ 1.น้ำหมักลูกยอล้างจาน นำลูกยอสุกมาหมัก โดยหมักกับน้ำตาลทรายแดง เป็นเวลา 6 เดือนปิดฝาไว้ เมื่อครบระยะเวลาก็นำมาล้างจาน ไม่ต้องผสมกับอะไร กลิ่นสะอาด ล้างจานได้หมดจด ไม่มีสารเคมีปนเปื้อน
    2.น้ำซาวข้าว สูตรเร่งลูก เป็นการนำน้ำซาวข้าว  นำมาหมักเป็นสูตรเร่งดอก เร่งผล ทำให้ลูกดก
    3.น้ำหมักชีวภาพแบบสมรม ใช้เศษอาหารที่เหลือจากในครัวเรือน หัวปลา เศษผัก เศษข้าว ผสมกับกากน้ำตาล และผสมกับสะเดา ยาเส้น เพื่อใช้ในการไล่แมลง

    กิจกรรมเด่น คือ กิจกรรมรื้อครัว เป็นวิธีการลดการใช้เครื่องปรุงรส โดยกลุ่มเป้าหมายสำรวจว่าบ้านของตนเองใช้เครื่องปรุงอะไรบ้าง มีโทษอย่างไร และหาวิธีการโดยการค่อยๆลด และมีการปลูกผักสดไว้ทดแทน  มีการปรุงอาหารก่อนกิน เพื่อให้ได้รสชาติอร่อย

     

    15 15

    42. จัดนิทรรศการเผยแพร่ผลการดำเนินงานตามโครงการ

    วันที่ 8 กรกฎาคม 2556 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดนิทรรศการแสดงผลงาน โดยการจัดเป็นฐานเรียนรู้ให้กับผู้ที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมได้รับชม แลกเปลี่ยนความรู้ และช่วยเติมเต็ม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.มีการถ่ายทอดความรู้ให้กับกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรม วันละ 2 รอบ รอบละ 200 คน รวม 400 คนต่อวัน
    2.จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการเรียนรุ้สุ่ชีวิตที่ปลอดโรคในประเด็น -การพัฒนาตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง -การทำน้้ำหมักชีวภาพ -การทำปุ๋ยชีวภาพ -การทำน้ำยาเอนกประสงค์ -การใช้สมุนไพรในการไล่แมลง -สูตรน้ำฮอร์โมนต่างๆ -กิจกรรมรื้อครัวลดสารปรุงแต่ง 3.การจัดกิจกรรมครั้งนี้ได้รับคำชมจากผุ้บริหารของกระทรวงสาธารณสุข รองเลขาธิการ สปสช. นายแพทย์ สสจ.นครศรีฯ และผู้เข้าร่วมกิจกรรม ว่ามีการถ่ายทอดความรุ้ กระบวนการและเนื้อหาได้ดีมาก

     

    0 0

    43. กิจกรรมรื้อครัว ครั้งที่ 5

    วันที่ 13 กรกฎาคม 2556 เวลา 13:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    กลุ่มเป้าหมาย 60 คน เข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรุ้และสรุปกิจกรรมการรื้อครัว

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.กลุ่มเป้าหมาย 60 คน เต็มใจกับกิจกรรม ร้อยละ 100
    2.กลุ่มเป้าหมายมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ลดเครื่องปรุงรส -30 ครัวเรือน ลดการใช้เครื่องปรุงทุกชนิด (ร้อยละ 50) -30 ครัวเรือน ลดการใช้เครื่องปรุงจาก 2 ชนิดเหลือ 1 ชนิด (ร้อยละ 50) -10 ครัวเรือน เลิกการใช้ผงชูรส ไม่ใช้เลย คิดเป็นร้อยละ 20 -ครัวเรือนเป้าหมาย มีการปลูกผักสดไว้กินเองข้างบ้าน ร้อยละ 100 -ครัวเรือนเป้าหมาย มีการจัดการขยะโดยทิ้งลงถังหมัก ร้อยละ 100 -ครัวเรือนเป้าหมายมีการปรับปรุงสภาพแวดล้อมข้างบ้านให้ดีขัึ้น ร้อยละ 100
    -กลุ่มเป้าหมาย ร้อยละ 100 มีส่วนร่วมในการลดการใช้สารเคมี และลดปริมาณสารเคมีที่เข้าสู่ร่างกาย
    -กลุ่มเป้าหมาย ร้อยละ100 ร่วมกันพัฒนาชุมชน จนทำให้เกิดความรัก ความสามัคคี   

     

    0 0

    44. พี่เลี้ยง สจรส.ติดตามโครงการ

    วันที่ 21 กรกฎาคม 2556 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    พี่เลี้ยงพื้นที่และผู้รับผิดชอบโครงการ 3 คน นำเอกสารและให้ผลการดำเนินงานให้ สจรส.มอ.ตรวจสอบ 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.สจรส.มอ.ได้ตรวจสอบเอกสารผลการดำเนินงานทั้งกระดาษและรายงานผลออนไลน์ 2.แนะนำให้เพิ่มเติมรูปถ่ายในการประชุมคณะกรรมการ

     

    0 0

    45. ประชุมคณะกรรมการครั้งที่ 11

    วันที่ 6 สิงหาคม 2556 เวลา 13:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะกรรมการเข้าร่วมประชุม 15 คน เพื่อสรุปงานและมอบหมายหน้าที่

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะกรรมการ 15 คน เข้าร่วมประชุม สรุปผลงานทีผ่านมาและมอบหน้าที่กิจกรรม เพื่อให้ผลงานบรรลุตามวัตถุประสงค์
    การจัดกิจกรรมครัั้งนี้ทุกคนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี 

     

    0 0

    46. แลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพ ครั้งที่ 4

    วันที่ 20 สิงหาคม 2556 เวลา 10:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กลุ่มเป้าหมาย 60 คน มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.กลุ่มเป้าหมายร่วมกันถอดบทเรียนเกี่ยวกับการทำน้ำหมักชีวภาพ 2.เกิดองค์ความรุ้ใหม่ที่จะนำไปปฏิบัติงาน ได้แก่ น้ำหมักลูกยอ น้ำหมักซาวข้าว ฮอร์โมนไข่ 3.ประชาชนได้แลกเปลี่ยนความรู้กัน ได้พูดคุย สนุกสนาน ลดความข้ดแย้ง 4.สิ่งที่ได้เรียนรู้คือ  หากไมเข้าร่วมสังคมบ้าง ก็จะมีความรู้เท่าที่มีอยู่ แต่หากได้พูดคุยกับคนอื่นจะมีความรุ้เพิ่มมากขึ้น

     

    0 0

    47. ถอดบทเรียนการดำเนินงานตามโครงการ

    วันที่ 23 สิงหาคม 2556 เวลา 08:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    กลุ่มเป้าหมาย 40 คนเข้าร่วมกิจกรรมสรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.กลุ่มเป้าหมาย 40 คน เข้าร่วมกิจกรรมสรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ 2.กลุ่มเป้าหมายได้มีโอกาสพูดคุย แลกเปลี่ยนแนวทางการดูแลตนเองและผลการเปลี่ยนแปลง 3.ได้แลกเปลี่ยนความรู้เรื่องการทำน้ำหมักทำแล้วได้ผลดี 4.แลกเปลี่ยนการปลูกผักปลอดสารพิษ เป็นตู้เย็นข้างบ้าน ลดสารพิษ ลดรายจ่าย
    5.พบว่าครัวเรือนที่เข้าร่วมกิจกรรม ร้อยละ 100 อยากเข้าร่วมกิจกรรมอีกในปีถัดไปเพราะ 5.1มีการลดขยะในครัวเรือน ได้ร้อยละ 80
    5.2 ขยะที่เหลือและย่อยสลายได้สามารถทำน้ำหมักชีวภาพได้ 5.3มีกลวิธีลดเครื่องปรุงรสคือ ปรุงด้วยผักสด ทำให้ได้รสหวาน 5.4ได้เรียนรู้สูตรการทำน้ำหมัก บำรุงปุ๋ยต้นไม้หลายสูตร
    5.5 มีการปรับสภาพดิน ให้อุดมสมบูรณ์ขึ้น 5.6ใช้ที่ดินว่างเปล่าให้เกิดประโยชน์ 5.7 สุขภาพแข็งแรง ได้ออกแรง
    5.8 ครัวเรือนได้ช่วยเหลือ รักกันมากขึ้น
    5.9ผู้นำชุมชน ประชาชน หันหน้ามาพูดคุยและร่วมทำกิจกรรม 

     

    60 60

    48. ประชุมคณะกรรมการครั้งที่ 12

    วันที่ 6 กันยายน 2556 เวลา 10:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะกรรมของโครงการ 15 คน เข้าร่วมประชุมเพื่อปิดโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.คณะกรรมการและพี่เลี้ยง ร่วมกันสรุปผลการดำเนินงาน 16 คน
    2.การดำเนินงานครั้งนี้ประสบผลสำเร็จคือ 2.1 กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรมด้วยความสมัครใจ 2.2 มีฐานเรียนรู้ในชุมชน คือฐานปุ๋ยหมัก ฐานน้ำหมัก ฐานน้ำยาเอนกประสงค์ และฐานรื่อครัว 2.3เกิดความรัก ความสามัคคีในกลุ่มทีมงาน
    2.4ระดับสารเคมีในเลือดกลุ่มเป้าหมาย เปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้น
    2.5 ผู้นำชุมชน แกนนำชุมชน มีความเสียสละ ทำให้โครงการนี้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี
    2.6 นวัตกรรมได้แก่ น้ำหมักลูกยอ น้ำซาวข้าว น้ำหมักสูตรไล่แมลง

     

    0 0

    49. ประชุมสรุปผลการดำเนินงานและเผยแพร่กิจกรรมตามโครงการ

    วันที่ 7 กันยายน 2556 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    กลุ่มเป้าหมายคือคณะกรรมการ 15 คน และประชาชนผุ้สนใจ 30คน เข้าร่วมกิจกรรมเจาะเลือดหาระดับสารเคมีในเลือด และยืนยันผลการเปลี่ยนแปลงจากการเข้าร่วมกจิกรรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.กลุ่มเป้าหมาย 30 คน เข้าร่วมกิจกรรมเจาะเลือดหาระดับสารเคมีในเลือด 2.จากการพูดคุยสรุปผลการดำเนินงาน พบว่า
    2.1เกิดองค์ความรู้ใหม่คือฮอร์โมนน้ำซาวข้าวใช้เร่งดอกผล และน้ำหมักชีวภาพผสมผงพะโล้ เครื่องแกง ใช้ในการไล่แมลง
    2.2เกิดนวัตกรรมคือฮอร์โมนน้ำซาวข้าว น้ำหมักลูกยอ น้ำหมักชีวภาพ ปุ๋ยชีวภาพและน้ำยาเอนกประสงค์สูตรสมุนไพร 2.3กระบวนการทำงานเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมคือเมื่อก่อนทำงานแบบตัวใครตัวมัน ปัจจุบันทำงานเป็นกลุ่มและมีส่วนร่วม 2.4เกิดแแหล่งเรียนรู้ในชุมชนคือฐานเรียนรู้น้ำหมักชีวภาพ ปุ๋ยชีวภาพ ฐานเรียนรู้น้ำยาเอนกประสงค์ และฐานเรียนปลูกผักปลอดสารพิษ/รื้อครัว 2.5 เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภค พบว่า กลุ่มเป้าหมายหลักและรอง (60 ครัวเรือน) ลดการใช้เครื่องปรุงรส จำนวน 30 ครัวเรือน (ร้อยละ 50)
    -ลดการใช้เครื่องปรุงทุกชนิด -ร้อยละ 20 เลิกการใช้ผงชูรส
    -ร้อยละ 100 ปลูกผักสดไว้กินเอง 2.6การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพคือ เศษอาหารจากครัวเรือนที่ย่อยสลายได้ นำมาทำปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพ ทำให้ดินอุดมสมบุูรณ์และลดปริมาณขยะ
    2.7เกิดกฎ กติกาคือ วัสดุอุปกรณ์ทุกอย่างที่ใช้จัดกิจกรรมเก็บไว้ที่ศูนย์เรียนรู้ และกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรมถ้าไม่ทำกิจกรรมจะโดนตัดสิทธิ์การเข้าร่วมกิจกรรม

     

    0 0

    50. สรุปปิดโครงการ

    วันที่ 15 กันยายน 2556 เวลา 08:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ทีมงานและพี่เลี้ยงร่วมกันสรุปผลการดำเนินงานและปิดโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.ทีมงานร่วมกันสรุปผลการดำเนินงานและรายงานความก้าวหน้าตามโครงการ 2.ตรวจการบันทึกข้อมูลออนไลน์ตามโปรแกรม 3.จัดทำสรุปรายงน ส.1 ส.2 และส.3 พร้อมทั้ง ส่ง ส.4

     

    0 0

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

     

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 เพื่อพัฒนาศักยภาพทีมให้เกิดกระบวนการเรียนรู้นำมาปฏิบัติตน เกิดวิธีคิดแบบเศรษฐกิจพอเพียง สู่ความเข้มแข็งและพึ่งตนเองได้
    ตัวชี้วัด : 1.มีฐานการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงในชุมชน 4 ฐาน การทำน้ำหมักชีวภาพ การปลูกผักปลอดสารพิษ การทำข้าวกล้อง การทำน้ำยาเอนกประสงค์ สบู่ ยาสระผม 2.มีครัวเรือนต้นแบบในการลดการใช้สารเคมี จาก 5 ครัว เพิ่มเป็น 30 ครัวเรือน ภายใน 1 ปี

     

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อพัฒนาศักยภาพทีมให้เกิดกระบวนการเรียนรู้นำมาปฏิบัติตน เกิดวิธีคิดแบบเศรษฐกิจพอเพียง สู่ความเข้มแข็งและพึ่งตนเองได้

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    ส่วนที่ 3 ประเมินคุณค่าโครงการ

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ

    ชื่อโครงการ สร้างกระบวนการเรียนรู้สู่ชีวิตที่ปลอดโรค

    รหัสโครงการ 55-01833 รหัสสัญญา 55-00-0964 ระยะเวลาโครงการ 1 ตุลาคม 2555 - 31 ตุลาคม 2556

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นการคุณค่าที่เกิดจากโครงการในมิติต่อไปนี้

    • ความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพและนวัตกรรมเชิงระบบสุขภาพชุมชน
    • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีผลต่อสุขภาวะ
    • การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ
    • ผลกระทบเชิงบวกและนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาวะชุมชน
    • กระบวนการชุมชน
    • มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่

    1. เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้ใหม่ / องค์ความรู้ใหม่

    1.มีองค์ความรู้เกี่ยวกับการทำฮอร์โมนจากน้ำซาวข้าว ส่วนผสมใช้กากน้ำตาล พด.1 กับน้ำซาวข้าว หมักนาน 1 เดือน ใช้ในการเร่งดอกและผล

    2.มีองค์ความรู้เกี่ยวกับน้ำหมักลูกยอ หมักนาน 6 เดือน นำไปใช้ล้างจานซึ่งขจัดคราบไขมันได้ดี

    3.มีองค์ความรู้เกี่ยวกับน้ำหมักผัก-ผลไม้รวม ได้แก่ กล้วย มะละกอ แตงโม แตงกวา สัปปะรด  หมักรวมกับกากน้ำตาลและพด.1 น้ำหมักสูตรนี้ใช้เวลา 21 วัน ใช้บำรุงต้นและบำรุงใบ

    4.มีองค์ความรู้เกี่ยวกับการทำน้ำหมักชีวภาพสูตรไล่แมลง มีส่วนผสมผงพะโล้ เครื่องแกง ใช้ในการไล่แมลง

    1.ฮอร์โมนน้ำซาวข้าว เก็บรวบรวมไว้ที่แหล่งเรียนรู้ปุ๋ยหมัก-น้ำหมักชีวภาพ บ้านผู้ใหญ่โฉมพยงค์ ชูแก้ว

    2.การทำน้ำหมักชีวภาพสูตรไล่แมลง มีอยู่ทุกครัวเรือนเป้าหมาย ผู้รับผิดชอบหลักคือนางสุนีย์  อักษรคง

    พัฒนาต่อโดยการเพิ่มกลุ่มเป้าหมายที่เหลือในชุมชน จัดทำเป็นฐานเรียนรู้ และให้สมัครเข้าเป็นสมาชิกกลุ่ม

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สิ่งประดิษฐ์ / ผลผลิตใหม่

    สิ่งที่เกิดขึ้นใหม่ จากการทำโครงการ คือ

    1.ฮอร์โมนน้ำซาวข้าว เป็นสูตรเร่งดอก เร่งผล

    2.น้ำหมักลูกยอ ใช้ล้างจาน

    3.น้ำหมักชีวภาพและปุ๋ยชีวภาพ ทำจากวัสดุที่เหลือใน ครัวเรือน ซึ่งย่อยสลายได้

    4.น้ำยาเอนกประสงค์สูตรสมุนไพร นำเอาสมุนไพรในชุมชนมาทำน้ำยาเอนกประสงค์ ได้แก่  มะนาวสดใช้ขจัดคราบและแต่งกลิ่นมะนาว  และเติมสีจากธรรมชาติเพื่อเพิ่มคุณค่าให้น่าใช้ได้แก่ สีม่วงจากอัญชัน  สีเขียวจากใบเตย สีแดงจากกระเจี๊ยบ

    1.ฮอร์โมนน้ำซาวข้าว

    2.น้ำหมักลูกยอ

    3.น้ำหมักชีวภาพ

    4.ปุ๋ยชีวภาพ

    5.น้ำยาเอนกประสงค์สูตรสมุนไพร

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. กระบวนการใหม่

    เดิมทำงานแบบตัวใครตัวมัน ไม่สนใจการพัฒนาชุมชน  แต่ตอนนี้รวมตัวกัน ทำงานเป็นกลุ่ม แบ่งหน้าที่รับผิดชอบและมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม รวมทั้งมีการชักชวนภาคีเครือข่ายร่วมทำงาน

    1.บันทึกการประชุมและลายมือชื่อผู้เข้าร่วมประชุม

    2.มีการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ศูนย์เรียนรู้บ้าน ผู้ใหญ่โฉมพยางค์ และบ้านคุณวันดี อักษรคง

    3.มีฐานเรียนรู้ของชุมชน 4 ฐาน
    4.มีภาคีร่วมทำงานและสนับสนุนกิจกรรมได้แก่
    -กศน. สนับสนุนงบประมาณ
    -อบต.เขาพระบาทเป็นพี่เลี้ยงดำเนินงาน

    -รพ.สต.เขาพระบาท สนับสนุนวิทยากร

    -เกษตรอำเภอ สนับสนุนวิทยากร

    พัฒนาให้เกิดเป็นสภาชุมชน สร้างวิธีการทำงานให้ทุกคนมีส่วนร่วม ตัดสินใจร่วมกัน สร้างมติ-กติการ่วมกัน จนเป็นธรรมนูญหมู่บ้าน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. วิธีการทำงาน / การจัดการใหม่

    มีการรวมกลุ่มกันทำงาน แบ่งหน้าที่รับผิดชอบ มีการมอบหมายงานอย่างเป็นทางการ และชี้แจงบทบาทของแต่ละบุคคล และทุกคนทำงานด้วยความสมัครใจ มีกลุ่มใหม่เกิดขึ้นได้แก่  กลุ่มผักปลอดสารพิษ กลุ่มปุ๋ยหมักชีวภาพ กลุ่มน้ำยาเอนกประสงค์  กลุ่มข้าวกล้อง

    1.มีการมอบหมายหน้าที่อย่างชัดเจนและจัดทำผังแบ่งหน้าที่มอบหมายงาน ติดไว้ที่ศูนย์เรียนรู้บ้านผู้ใหญ่โฉม          พยงค์

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การเกิดกลุ่ม / โครงสร้างในชุมชนใหม่

    มีกลุ่มใหม่เกิดขึ้นได้แก่ กลุ่มผักปลอดสารพิษ กลุ่มปุ๋ยหมักชีวภาพ กลุ่มน้ำยาเอนกประสงค์  กลุ่มยาสระผมมะกรูด

    ทะเบียนรายชื่อและสมาชิกกลุ่ม

    พัฒนาต่อยอดการดำเนินงานของกลุ่มให้เป็นวิสาหกิจชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. แหล่งเรียนรู้ใหม่

    มีการจัดทำฐานเรียนรู้ในชุมชนจำนวน 4 ฐานได้แก่ 1.ฐานเรียนรู้การทำน้ำหมักชีวภาพ ปุ๋ยชีวภาพ 2.ฐานเรียนรู้การทำน้ำยาเอนกประสงค์ 3.ฐานเรียนรู้เกี่ยวกับการปลูกผักปลอดสารพิษ 4 ฐานรื้อครัวและข้าวกล้อง

    ฐานเรียนรู้ในชุมชน 4 ฐาน ดังนี้

    1.ฐานน้ำหมักบ้านผู้ใหญ่โฉมพยงค์

    2.ฐานน้ำยาเอนกประสงค์บ้านวันดี

    3.ฐานปลูกผักทุกบ้านเป้าหมาย

    4.ฐานรื้อครัวและข้าวกล้อง ทุกบ้าน

    พัฒนาให้เป็นแหล่งเรียนรู้มีชีวิต และใช้ทุนทางสังคม

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    99. อื่นๆ

    การสร้างภาคีเครือข่าย มีการเชิญชวนภาคีเครือข่าย เข้ามาเป็นสมาชิกและร่วมทำงาน โดยให้การสนับสนุนบุคลากร ความรู้วิชาการและงบประมาณเพิ่มเติมในการพัฒนา ตลอดจนมีการถ่ายทอดความรู้และเผยแพร่กระบวนการพัฒนาไปยังหมู่บ้านใกล้เคียง มีการสนับสนุนดังนี้

    1.กศน.เชียรใหญ่ ให้การสนับสนุนงบประมาณในการจัดซื้อวัสดุทำปุ๋ยชีวภาพ เป็นเงิน 9,000 บาท

    2.กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.เขาพระบาท ให้การสนับสนุนถังหมักชีวภาพ 100 ใบ เป็นเงิน 20,000 บาท

    3.รพ.สต.เขาพระบาท  และ อบต.เขาพระบาทร่วมเป็นวิทยากรในการถ่ายทอดความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย

    4.เกษตรอำเภอเชียรใหญ่ เป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้

    1.บันทึกการประชุม 2.หลักฐานการสนับสนุนงบประมาณแต่ละกิจกรรม
    3.ภาพถ่ายการทำกิจกรรม

     

    2. เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล

    1.ครัวเรือนเป้าหมาย 30 ครัวเรือน ได้รับความรู้เกี่ยวกับวิธีลดสารเคมีและการลดระดับสารเคมีตกค้างในกระแสเลือด

    2.ครัวเรือนเป้าหมาย 30 ครัวเรือน ได้รับความรู้เกี่ยวกับสุขบัญญัติส่วนบุคคล

    3.ครัวเรือนเป้าหมาย 30 ครัว ร่วมกันกำจัดขยะโดยการทิ้งขยะที่ย่อยสลายได้ ลงถังหมักชีวภาพ

    1.ทะเบียนกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการเจาะหาระดับสารเคมีตกค้างในเลือดก่อนและหลังเข้าร่วมกิจกรรม จากบุคลากร รพ.สต.เขาพระบาทร่วมกับทีมงาน

    2.ครัวเรือนเป้าหมายได้รับความรู้เพิ่มเติมจากบุคลากร รพ.สต.เขาพระบาท

    3.ครัวเรือนเป้าหมายได้รับถังหมักชีวภาพ สนับสนุนจาก กองทุนหลักประกันสุขภาพ ต.เขาพระบาท

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การบริโภค

    1.กลุ่มเป้าหมายมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบริโภค จากการเก็บข้อมูลพบว่า

    1.1 กลุ่มเป้าหมาย 30 ครัวเรือน ลดการใช้เครื่องปรุงรส จำนวน 30 ครัวเรือน (ร้อยละ 100) โดยลดการใช้เครื่องปรุงทุกชนิด หรือลดการใช้เครื่องปรุงรสจาก 2 ชนิด เหลือ 1 ชนิด จำนวน 18 ครัวเรือน (ร้อยละ 40) เลิกการใช้เครื่องปรุงผงชูรสและไม่ใช้เลย 12 ครัวเรือน(ร้อยละ 40)

    1.2 ร้อยละ 100 ครัวเรือนเป้าหมาย ปลูกผักสดไว้กินเองข้างบ้าน โดยไม่ต้องซื้อผักกิน รวมทั้งมีการแลกเปลี่ยนกันผักด้วยกันเอง

    1.3 ร้อยละ 100 ครัวเรือนเป้าหมาย มีการจัดการขยะที่ย่อยสลายได้ในครัว  โดยทิ้งลงถังหมักชีวภาพ

    1.4 กลุ่มเป้าหมาย ร้อยละ 100 มีส่วนร่วมในการลดการใช้สารเคมี และลดปริมาณสารเคมีที่เข้าสู่ร่างกาย

    1.จากการบันทึกหลักฐานการถอดบทเรียนโดยพี่เลี้ยงพื้นที่

    2.จากการเก็บข้อมูลและติดตามเยี่ยม ซึ่งเก็บไว้ที่ฐานเรียนรู้ชุมชน

    3.ทะเบียนกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรม

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การออกกำลังกาย

    1.ครัวเรือนเป้าหมายได้ออกกำลังกายจากวิถีชีวิตประจำวัน คือ การได้ออกแรงขุดดิน การปลูกผัก การรดน้ำต้นไม้ ในแต่ละวันใช้เวลาไม่น้อยกว่า 30 นาที

    1.ข้อมูลได้จากการบันทึกการถอดบทเรียนโดยพี่เลี้ยงพื้นที่

    2.จากการเก็บข้อมูลและติดตามเยี่ยม ซึ่งเก็บไว้ที่ฐานเรียนรู้ชุมชน

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. การลด ละ เลิก อบายมุข เช่น การพนัน เหล้า บุหรี่

    1.มีการติดป้ายห้ามสูบบุหรี่ในบริเวณที่ประชุมและศูนย์เรียนรู้ชุมชน และบ้านกลุ่มเป้าหมาย

    2.กลุ่มเป้าหมายที่ร่วมโครงการเลิกสูบบุหรี่ 2 คน และลดการสูบบุหรี่ 6 คน

    1.ป้ายห้ามสูบบุหรี่ติดไว้ที่อาคารเอนกประสงค์และศูนย์เรียนรู้ชุมชน

    2.ป้ายรณรงค์ลด ละเลิกบุหรี่ที่บ้านครัวเรือนเป้าหมาย

    พัฒนาต่อให้เป็นคนต้นแบบ ครัวเรือนต้นแบบ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การลดพฤติกรรมเสี่ยง เช่น พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การขับรถโดยประมาท

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. การจัดการอารมณ์ / ความเครียด

    1.กลุ่มเป้าหมายที่เข้ากิจกรรมมีการพูดคุย และมีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนามากขึ้น  การพูดคุยใช้เหตุผล ไม่โต้เถียงหรือใช้อารมณ์พูดคุย

    2.ประชาชนในหมู่บ้าน มีสีหน้ายิ้มแย้มมากขึ้น เพราะกลไกการทำกิจกรรมของโครงการ ทำให้คนสุขภาพดี ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ สอดคล้องกับวิถีชีวิตประจำวัน

    3.กิจกรรมดังกล่าว ทำให้ประชาชนหันหน้ามาพูดคุยมากขึ้น ลดทิฐิ เป็นการสร้างความสุขให้เกิดขึ้นในหมู่บ้าน

    1.จากบันทึกผลการถอดบทเรียนพบว่าครัวเรือนเป้าหมาย ลดการซื้อเครื่องปรุงรส ลดรายจ่าย

    2.ทุกครัวเรือนเป้าหมาย ปลูกผักกินเองที่บ้านและผักที่เหลือนำไปขาย มีรายได้

    3.บันทึกการถอดบทเรียนจากพี่เลี้ยงและแกนนำ

    พัฒนาต่อยอดกิจกรรมโดยใช้วิถีวัฒนธรรมชุมชนร่วมด้วย เพื่อสร้างคุณค่าให้เกิดกับกลุ่มคน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. การดำรงชีวิต / วิถีชีวิต เช่น การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น / สมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเอง

    1.นำสมุนไพรในชุมชน มาใช้ในการทำน้ำยาเอนกประสงค์ เช่น

    -น้ำมะนาว ซึ่งเป็นกรด นำมาทำเป็นน้ำยาล้างจาน ให้ให้สะอาดขึ้น ลดไขมัน มีกลิ่นมะนาว

    -นำสมุนไพรมาผสมให้เกิดสี ในน้ำยาเอนกประสงค์เพื่อเพิ่มคุณค่าผลิตภัณฑ์สร้างการยอมรับ ได้แก่ สีเขียวจากใบเตย สีเหลืองจากขมิ้น สีแดงจากกระเจี๊ยบ อีกทั้งเป็นการลดสารเคมีที่จะเข้าสู่ร่างกายอีกด้วย

    -นำยาเส้น ยากลาย มาผสมกับปุ๋ยหมักชีวภาพ เพื่อใช้ไล่แมลง

    -นำไข่ที่เลี้ยงเอง มาผสมทำเป็นฮอร์โมนไข่ เร่งผล    เร่งดอก

    1.น้ำยาเอนกประสงค์ มีประจำไว้ที่ฐานเรียนรู้บ้านวันดี 2.น้ำหมักชีวภาพ มีประจำไว้ที่ฐานเรียนรู้บ้านผู้ใหญ่โฉม พยงค์

    พัฒนาต่อยอดเป็นฐานเรียนรู้ภูมิปัญญาชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    8. พฤติกรรมการจัดการตนเอง ครอบครัว ชุมชน

    1.ครัวเรือนเป้าหมาย30 ครัว (ร้อยละ 100) มีการเรียนรู้ที่จะลดการใช้เครื่องปรุงรส โดยใช้ผักสด หรือปรุงอาหารสดๆ  ทำให้ได้รสชาติที่หวาน กลมกล่อม

    2.ครัวเรือนเป้าหมาย30 ครัวเรือน (ร้อยละ100) ลดปริมาณขยะโดยการทำเป็นปุ๋ยและน้ำหมักชีวภาพ

    3.ครัวเรือนเป้าหมาย 30 ครัวเรือน (ร้อยละ 100) มีการเรียนรู้ที่จะอยู่อย่างมีความสุข บนพื้นฐานแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง

    1.จากหลักฐานบันทึกข้อมูลการถอดบทเรียนของพี่เลี้ยงพื้นที่

    2.บันทึกการทำกิจกรรมของครัวเรือนเป้าหมาย มีการทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่องและจากข้อมุลการติดตามผลของหัวหน้าโครงการ

    พัฒนาต่อยอดเป็นฐานเรียนรู้ด้านสุขภาพ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    9. อื่นๆ

     

     

     

    3. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. กายภาพ เช่น มีการจัดการขยะ ป่า น้ำ การใช้สารเคมีเกษตร และการสร้างสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนที่ถูกสุขลักษณะ

    1.มีการทำปุ๋ยหมักชีวภาพและน้ำหมักชีวภาพ โดยใช้เศษอาหารที่เหลือจากในครัวเรือน หัวปลา เศษผัก เศษข้าว ผสมกับกากน้ำตาล และผสมกับสะเดา ยาเส้น เพื่อใช้ในการไล่แมลง  หรือผสมกับผงพะโล้และเครื่องแกง เป็นสูตรไล่แมลง

    1.บันทึกการทำกิจกรรมของครัวเรือนเป้าหมาย และการทำน้ำหมักชีวภาพจากถังหมักชีวภาพ ครัวเรือนละ 2 ใบ

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สังคม เช่น มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ลดการเกิดอุบัติเหตุ ครอบครัวอบอุ่น การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อเด็ก เยาวชน และกลุ่มวัยต่าง ๆ มีพื้นที่สาธารณะ/พื้นที่ทางสังคม เพื่อเอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชน มีการใช้ศาสนา/วัฒนธรรมเป็นฐานการพัฒนา

    1.เป็นกลวิธีที่ส่งเสริมให้ครอบครัวได้อยู่ร่วมกัน ได้ช่วยกันทำงานบ้าน ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ พ่อแม่ปลูกผัก ตอนเย็นลูกกลับจากโรงเรียนก็ช่วยรดน้ำผัก นำผักที่ปลูกไปทำอาหารตอนเย็น และตอนค่ำๆ ก็กินข้าวพร้อมกันทั้งครอบครัว เป็นการป้องกันไม่ให้บุตรหลานออกไปเที่ยวเตร่นอกบ้าน ลดปัญหายาเสพติดในชุมชน

    1.ข้อมูลที่ได้จากการพูดคุยและถอดบทเรียนในชุมชนจากพี่เลี้ยง

    พัฒนาต่อยอดโดยการนำวัฒนธรรมชุมชนมาบูรณาการร่วมกับการสร้างสุขภาพ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. เศรษฐกิจสร้างสรรค์สังคม /สร้างอาชีพ / เพิ่มรายได้

    1.ครัวเรือนเป้าหมาย 30 ครัวเรือน ลดรายจ่ายในการซื้อเครื่องปรุงรสน้อยลงทุกครัวเรือน ร้อยละ 100  ลดการซื้อน้ำยาเอนกประสงค์ทุกครัวเรือน (ร้อยละ 100) จากเดิมซื้อน้ำยาล้างจาน ปีละ 648 บาท (ครัวเรือนละ 2 ถุง ถุงละ 27 บาท เดือนละ54 บาท) ลดเหลือปีละ 300 บาท (น้ำยาเอนกประสงค์ 1ชุดต่อสมาชิกครอบครัว 2-3 คน ราคา 300 บาท) แตกต่างกัน 348 บาท จากเดิมซื้อรสดี ผงชูรส เดือนละ 15 บาท ปีละ 180 บาท ปัจจุบันไม่บริโภค ลดค่าผงชูรส รสดีได้ปีละ 180 บาท (ทั้ง 2 รายการ ลดได้ครัวเรือนละ 528 บาทต่อปี ถ้า 30 ครัวเรือน ลดได้ 1,5840 บาทต่อปี ถ้ารวมทั้งหมู่บ้าน 147 ครัวเรือน เป็นเงิน 77,616 บาทต่อปี)

    2.ครัวเรือนเป้าหมาย มีการปลูกผักสดไว้รับประทานเองข้างบ้าน โดยไม่ต้องซื้อจากรถเร่ ได้อาหารสะอาด สด ปลอดสารเคมี

    1.จากภาพถ่ายครัวเรือนที่เข้าร่วมกิจกรรม

    2.บันทึกการติดตามเยี่ยมของทีมงาน

    3.บันทึกการติดตามเยี่ยมบ้านโดยพี่เลี้ยงพื้นที่

    พัฒนาต่อยอดเป็นการเรียนรู้บัญชีครัวเรือน หรือสวัสดิการชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการบริการสุขภาพทางเลือก และมีช่องทางการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. อื่นๆ

     

     

     

    4. การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. มีกฎ / กติกา ของกลุ่ม ชุมชน

    มีการตั้งกติกากลุ่มคือ
    1.เครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ ที่ใช้ในการดำเนินงานตามกิจกรรมของโครงการ ให้เก็บรวบรวมไว้ที่กองกลางคือฐานเรียนรู้แต่ละแห่ง ใครต้องการใช้ให้มายืมและเก็บไว้ที่เดิม ดังนี้
    1.1 วัสดุเกี่ยวกับการทำน้ำหมักชีวภาพและปุ๋ยหมักชีวภาพ ยืมได้จากศูนย์เรียนรู้บ้านผู้ใหญ่บ้าน

    1.2 วัสดุเกี่ยวกับการทำน้ำยาเอนกประสงค์ ยืมได้ที่บ้านคุณวันดี

    1.เครื่องมือ-เครื่องใช้ และอุปกรณ์เก็บไว้ที่ศูนย์เรียนรู้ไว้เป็นกองกลาง

    จัดทำเป็นแผ่นป้ายเพื่อแสดงให้ทุกคนได้รับรู้ และเป็นกฎบังคับใช้ในชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. มีมาตรการทางสังคมของกลุ่ม ชุมชน

    ทางกลุ่มมีมาตรการดังนี้

    1.มาตรการในการปลูกผัก ถ้ากลุ่มมอบเมล็ดผักไปให้แล้ว ยังไม่ปลูกหรือเพาะชำ เมื่อทีมงานไปเยี่ยม ก็จะถูกตัดสิทธิ์ในรอบถัดไป ไม่อนุญาตให้เข้าร่วมกิจกรรมอย่างน้อยเป็นเวลา 1 เดือน

    2.มาตรการในการทำน้ำหมักชีวภาพ ถ้ามอบถังให้แล้ว ไม่ทำน้ำหมักชีวภาพหรือนำถังไปใส่น้ำ ก็จะถูกยึดคืนและตัดสิทธิ์ทุกกิจกรรม

    1.บันทึกการประชุมประจำเดือนในการกำหนดมาตรการที่เข้าร่วมกิจกรรม

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. มีธรรมนูญของชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. อื่นๆ เช่น ออกเป็นข้อบัญญัติท้องถิ่น ฯลฯ

     

     

     

    5. เกิดกระบวนการชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. เกิดการเชื่อมโยงประสานงานระหว่างกลุ่ม / เครือข่าย (ใน และหรือนอกชุมชน)

    มีการเชื่อมโยงกับภาคีเครือข่ายเพื่อเข้าร่วมกระบวนการพัฒนา ดังนี้

    1.อบต.เขาพระบาท โดยรองนายก เป็นผู้เปิดเวทีประชุมและให้ความสำคัญต่อการพัฒนาหมู่บ้าน

    2.กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.เขาพระบาท ให้การสนับสนุนงบประมาณร่วมพัฒนา ถังหมักชีวภาพ 100 ใบ

    3.ชมรม อสม.ให้การสนับสนุนในการพัฒนางานในพื้นที่และเป็นพี่เลี้ยงร่วม

    4.รพ.สต.เขาพระบาท ให้การสนับสนุนบุคลากรและวิทยากรในการถ่ายทอดความรู้

    5.กศน.เชียรใหญ่ ให้การสนับสนุนงบประมาณในการจัดซื้อวัสดุทำปุ๋ย เป็นเงิน 9,000 บาท

    1.หลักฐานจากการเก็บข้อมูลและติดตามของพี่เลี้ยงพื้นที่
    2.หลักฐานที่ศูนย์เรียนรู้ คือปุ๋ยชีวภาพ

    3.หลักฐานที่บ้านกลุ่มเป้าหมายคือถังหมักชีวภาพ

    พัฒนาต่อยอดให้เกิดสภาชุมชนร่วมกับภาคีเครือข่าย

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเรียนรู้การแก้ปัญหาชุมชน (การประเมินปัญหา การวางแผน การปฏิบัติการ และการประเมิน)

    1.ทีมงานได้เรียนรู้วิธีการแก้ปัญหาและวิธีพัฒนาชุมชน คือ การกำหนดแนวทางพัฒนา ใช้หลักการคือความสมัครใจ และร่วมพัฒนาความสามารถ การเลือกวิธีการโดยการโหวดหาข้อยุติ

    2.การวางแผน โดยการเปิดโอกาสให้ทุกคนเข้ามามีส่วนร่วมในการทำงาน และรับฟังทุกความคิด

    3.การปฏิบัติการคือ ทุกคนต้องร่วมกันทำข้อมูล การทำอะไรต้องเก็บเอกสารหลักฐานต่างๆ ไว้ การใช้จ่ายเงินต้องเคลียร์ โปร่งใส และชัดเจน

    4.การประเมินผล ต้องมีการประเมินทั้งคนในชุมชนเองเพื่อดูการเปลี่ยนแปลง และเชิญคนภายนอกชุมชนร่วมประเมินเพื่อยืนยัน

    1.บันทึกการประชุมของคณะกรรมการ

    2.บันทึกเอกสารการถอดบทเรียน

    พัฒนาต่อยอดให้เกิดการจัดทำแผนพัฒนาหมู่บ้านในสภาชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ประโยชน์จากทุนในชุมชน เช่น การระดมทุน การใช้ทรัพยากรบุคคลในชุมชน

    1.ด้านวิชาการ มีการเชิญวิทยากรผู้ที่มีความรู้มาถ่ายทอด ได้แก่ เรื่องสารเคมี เชิญวิทยากรจาก รพ.สต.เขาพระบาท ด้านน้ำหมักชีวภาพจากเกษตรอำเภอเชียรใหญ่  น้ำยาเอนกประสงค์จาก กศน.เชียรใหญ่

    2.ใช้สมุนไพรที่มีอยู่ในหมู่บ้านมาใช้ประโยชน์ ได้แก่ ลูกยอมาทำน้ำหมัก  มะนาวมาทำน้ำยาเอนกประสงค์  สะเดาและเครื่องแกงนำมาทำยาไล่แมลง  น้ำซาวข้าว มาทำฮอร์โมน

    1.บันทึกการประชุมประจำเดือน

    2.น้ำหมักชีวภาพ  น้ำยาเอนกประสงค์ จากฐานเรียนรู้ในชุมชน

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกลุ่มและชุมชนที่เกิดจากโครงการอย่างต่อเนื่อง

    1.มีการจัดทำฐานเรียนรู้ในชุมชน มีการมอบหมายหน้าที่ในการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งถ่ายทอดความรู้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ตลอดเวลา

    1.บันทึกการประชุมประจำเดือน

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. เกิดกระบวนการจัดการความรู้ในชุมชน

    1.กลุ่มมีการประชุมและเก็บข้อมูลเสมอ

    2.กลุ่มมีการรวบรวมความรู้ และปรึกษาพี่เลี้ยง เขียนเป็นบทความวิชาการนำเสนอ จนได้รับรางวัล

    1.มีการเขียนบทความวิชาการลงในงานวิชาการประจำปีของกองทุนหลักประกันสุขภาพภาคใต้ตอนบนเมื่อ 8-9 กรกฎาคม 2556

    2.โล่รางวัลการนำเสนอผลงาน

    พัฒนาต่อยอดการจัดการความรู้ชุมชนโดยสภาชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. เกิดทักษะในการจัดการโครงการ เช่น การใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ การทำแผนปฏิบัติการ

    1.มีการพูดคุยและสรุปผลการดำเนินงาน ทำให้เกิดการเรียนรู้สิ่งที่ดี แนวทางที่ดี ได้แก่ การทำน้ำยาเอนกประสงค์ และกิจกรรมรื้อครัว สามารถลดรายจ่ายครัวเรือนละ 528 บาทต่อปี  กลุ่มเป้าหมาย 30 ครัวเรือน ลดได้ 15,840 บาทต่อปี  ถ้าพัฒนาทั้งหมู่บ้าน 147 ครัว มีเงินออมปีละ  77,616 บาท ทำให้เกิดแนวคิดการออมจากกิจกรรมดังกล่าวในปีถัดไป

    1.บันทึกการประชุมประจำเดือน

    2.สรุปผลการถอดบทเรียน

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. อื่นๆ

     

     

     

    6. มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเอง / กลุ่ม / ชุมชน

    1.ชุมชนได้ร่วมมือกับพื้นที่ ในการจัดนิทรรศการเพื่อแสดง เผยแพร่ผลการดำเนินงานตามโครงการ จนได้รับรางวัลแห่งความภาคภูมิใจ

    2.ทีมงานรู้สึกภูมิใจที่ได้เสียสละ  ช่วยเหลือสังคม และพัฒนาชุมชนให้น่าอยู่

    1.โล่รางวัลแห่งความภาคภูมิใจ

    2.บันทึกการประชุมประจำเดือน

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเห็นประโยชน์ส่วนรวมและส่วนตนอย่างสมดุล

    1.ทีมงาน ประกอบด้วย ผู้ใหญ่บ้าน สอบต. กลุ่ม          อสม.และทีมงาน ร่วมมือกันเป็นหนึ่งเดียว  ทำงานด้วยความเสียสละ ไม่มีค่าตอบแทน แต่ทุกคนมีจุดหมายเดียวกันคือ ทำเพื่อพี่น้องประชาชนให้มีความสุข บนพื้นฐานความพอเพียง

    1.บันทึกการถอดบทเรียน

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย และพอเพียง

    1.ประชาชนกลุ่มเป้าหมายและกลุ่มขยาย ปลูกผักกินเอง ภายใต้คำพูด “ปลูกผักที่กิน กินผักที่ปลูก”

    2.ปัจจุบันดำเนินชีวิตที่เรียบง่าย ได้แก่ เมื่อถึงเวลาทำอาหาร เดินไปเก็บผักมาปรุงอาหาร ล้างเอง ปรุงเอง กินทันที ทำให้ได้รสชาติที่อร่อย ไม่เสียเวลา ไม่ปนเปื้อนสารเคมี

    1.บันทึกการถอดบทเรียน

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. ชุมชนมีความเอื้ออาทร

    1.ชุมชนให้ความเชื่อถือ ช่วยเหลือกัน ให้ความเคารพกัน

    2.ชุมชนเกิดความรัก ความสามัคคี มองเห็นประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตน

    3.มีการนำเสนอผลงานวิชาการและความก้าวหน้าโครงการ จำนวน 3 ครั้ง -นำเสนอให้กับภาคีระดับอำเภอเชียรใหญ่ 150 คน
    -นำเสนอให้กับภาคีจังหวัดและอำเภอ 200 คน
    -นำเสนอในงานวิชาการกองทุนหลักประกันสุขภาพภาคใต้ตอนบน 8-9 กค 56 จำนวน 1800 คน

    1.ภาพถ่ายการออกแสดงนิทรรศการและการให้ความช่วยเหลือกันของทีม ที่จัดนิทรรศการจนได้รับคำชม

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. มีการตัดสินใจโดยใช้ฐานปัญญา

    1.แกนนำและประชาชนมีการระดมความคิดในเวทีประชาคมและถอดบทเรียน โดยทุกคนมีสิทธิ์ออกความคิดเห็นและเคารพสิทธิระหว่างบุคคล

    2.มีการนำภูมิปัญญาและระดมทุนทางสังคมที่มีอยู่ในชุมชนมาใช้ในการพัฒนา ได้แก่ นำลูกยอมาทำน้ำหมัก เชิญครูหรือปราชญ์ในชุมชนเข้าร่วมกระบวนการพัฒนา  การตัดสินใจทุกครั้งใช้มติของที่ประชุม  การทำกิจกรรมหรือจัดสรรวัสดุอุปกรณ์ ใช้หลักข้อตกลงจากมติกลุ่มตามลำดับ

    1.บันทึกการประชุมประจำเดือน

    พัฒนาต่อยอดเป็นฐานเรียนรู้ภูมิปัญญาเพื่อสร้างคุณค่าของคนในชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. อื่นๆ

     

     

     

    สร้างกระบวนการเรียนรู้สู่ชีวิตที่ปลอดโรค จังหวัด นครศรีธรรมราช

    รหัสโครงการ 55-01833

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นางสาววันดี อักษรคง )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด