แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


“ ร่วมด้วยช่วยกัน สานฝัน พัฒนาบ้านเรา ”

หมู่ที่ 7 ตำบลท่าแพ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล

หัวหน้าโครงการ
นายวรพงศ์ ดำท่าคลอง

ชื่อโครงการ ร่วมด้วยช่วยกัน สานฝัน พัฒนาบ้านเรา

ที่อยู่ หมู่ที่ 7 ตำบลท่าแพ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล จังหวัด สตูล

รหัสโครงการ 55-01801 เลขที่ข้อตกลง 55-00-0960

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2555 ถึง 31 ตุลาคม 2556


กิตติกรรมประกาศ

"ร่วมด้วยช่วยกัน สานฝัน พัฒนาบ้านเรา จังหวัดสตูล" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน หมู่ที่ 7 ตำบลท่าแพ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
ร่วมด้วยช่วยกัน สานฝัน พัฒนาบ้านเรา



บทคัดย่อ

โครงการ " ร่วมด้วยช่วยกัน สานฝัน พัฒนาบ้านเรา " ดำเนินการในพื้นที่ หมู่ที่ 7 ตำบลท่าแพ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล รหัสโครงการ 55-01801 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 ตุลาคม 2555 - 31 ตุลาคม 2556 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 195,740.00 บาท จาก เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

 

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของแกนนำชุมชนในการอนุรักษ์ป่าชายเลนและเกิดความหวงแหนป่าชายเลน
  2. คนรุ่นกลางและเยาวชน จำนวน 40 คนได้เรียนรู้เรื่องภูมิปัญญาท้องถิ่น

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

     


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. ประชุมวางแผนโครงการ

    วันที่ 17 ตุลาคม 2555 เวลา 19:35 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ประชุมและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    มีคณะกรรมการ จำนวน 10 คน พร้อมผู้ร่วมรับฟัง จำนวน 3 คน รวมผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 13 คน - ได้คณะกรรมการรับผิดชอบโครงการในแต่ละซอย ดังนี้ - ซอยควนสัก ผู้รับผิดชอบ นายฮะซัน  เหตุปาตี - ซอยบ้านกลาง ผู้รับผิดชอล นายสหัส  สำมะเนี๊ยะ - ซอยท่าโตด ผู้รับผิดชอบ นายอดุล  สำมะเนี๊ยะ - ซอยหัวพาน ผู้รับผิดชอบ นายยำอาด อุมายี - ซอยท่าออก ผัรับผิดชอบ นายวรพงศ์  ดำท่าคลอง

     

    0 0

    2. การประชุมปฐมนิเทศ

    วันที่ 3 พฤศจิกายน 2555 เวลา 12:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    กรอกข้อมูลผ่านทางhttp://www.happynetwork.org ข้อมูลด้านโครงการ รายละเอียด แผนภาพ และปฎิทินกิจกรรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้กรอกข้อมูลผ่านทางhttp://www.happynetwork.org ข้อมูลด้านโครงการ รายละเอียด แผนภาพ และปฎิทินกิจกรรม ครบถ้วนตามเป้าหมาย

     

    0 0

    3. ประชุมวางแผนโครงการ

    วันที่ 9 พฤศจิกายน 2555 เวลา 16.00 - 17.30 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะกรรมการร่วมประชุม จำนวน 10 คน ในการรับทราบการปฐมนิเทศและวางแผนการดำเนินงาน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะกรรมการมีมติหน้าที่รับผิดชอบเป็นฝ่ายต่างๆ ดังนี้

    • ฝ่ายสถานที่ รับผิดชอบโดย  นายอดุล  สำมะเนี๊ยะ

    • ฝ่ายประสานงาน รับผิดชอบโดย นายสหัส สำมะเนี๊ยะ

    • ฝ่ายเอกสารลงทะเบียน รับผิดชอบโดย นายสมาน เงดหมาน

    • ฝ่ายอาหาร รับผิดชอบโดย นางสนี เหรบราเย็น

    • ฝ่ายประชาสัมพันธ์ รับผิดชอบโดย นายอรรถสิทธิ์  ขุนดำ

    • ฝ่ายประสานงานกลุ่มประมง รับผิดชอบโดย นายฮะซัน เหตุปาตี

     

    0 0

    4. ประชาสัมพันธ์โครงการ

    วันที่ 10 พฤศจิกายน 2555 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ประชุมชาวบ้าน รวม 121 คน
    • ผู็รับผิดชอบโครงการ นายวรพงษ์ ดำท่าคลองเป็นผู้ชี้แจงรายละเอียดโครงการ
    • มีพี่เลี้ยงโครงการร่วมชี้แจงที่มา วัตถุประสงค์โครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • มีข้อชักถามในบางประเด็นที่ผู้เข้าร่วมไม่เข้าใจ ใช้วิธีการบอกเล่าขั้นตอนการดำเนินงานตั้งแต่ก่อนเริ่มโครงการที่มีการทำประชาเข้าใจ ต่อด้วยการทำประชาคม และการดำเนินการเขียนโครงการ จนเสร็จสิ้นกระบวนการที่ได้มาของโครงการในนามโครงการร่วมด้วยช่วยกัน สานฝันพัฒนาบ้านเรา  และกิจกรรมแรกของโครงการคือกิจกรรมประชาสัมพันธ์โครงการ โดยผู้รับผิดชอบโครงการได้เล่ารายละเอียดของโครงการทั้งหมดพร้อมรับสมัครสมาชิกสภาแกนนำชุมชน โดยแบ่งเป็น ๓ กลุ่มๆละ ๔๐ คน โดยชุมชนมีการรับรู้ผ่านกระบวนการบอกเล่าเกี่ยวกับรายละเอียดของโครงการและความสำคัญของสภาแกนนำชุมชนเพื่อการอนุรักษ์ ทุกคนเห็นด้วยที่มีโครงการนี้เกิดขึ้นในหมู่บ้าน แต่อาจจะมีบางคนที่บอกว่ามีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องของเวลาเพราะกิจกรรมเยอะและเวลาอาจไม่ตรงกัน แต่ก็ถือเป็นโอกาสดีที่เราชาวบ้านสายควนได้มีส่วนร่วมในการรับรู้ว่าตอนนี้หมู่บ้านของเราจะมีอะไร กำลังทำอะไร และทุกคนสามารถมีส่วนร่วมได้อย่างไรบ้าง

     

    0 0

    5. จัดเขตปลอดบุหรี่

    วันที่ 10 พฤศจิกายน 2555 เวลา 09:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ติดไวนิลประชาสัมพันธ์เขตปลอดบุหรี่ในพท้นที่จัดกิจกรรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้ไวนิลประชาสัมพันธ์เขตปลอดบุหรี่ในพื้นที่จัดกิจกรรม

     

    0 0

    6. ประชุมวางแผนโครงการ

    วันที่ 16 พฤศจิกายน 2555 เวลา 19.30 - 21.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • คณะกรรมการโครงการ จำนวน 10 คน ได้ร่วมเสนอแนะและแสดงความคิดเห็นการจัดกิจกรรมสร้างความเข้มแข็งให้สภาแกนนำชุมชนเพื่อการอนุรักษ์ โดยเสนอให้ทำกิจกรรมตามที่โครงการกำหนด  ให้เด็กคัดเลือกตำแหน่งต่างๆกันเอง  และในกิจกรรมของเด็กให้มีผู้ใหญ่เข้าร่วมทุกครั้ง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    มติคณะกรรมการโครงการ 1. จัด ณ ศูนย์อบรมจริยธรรมมัสยิดดารุดดีนวิทยา 2. ลักษณะกิจกรรม
    - กิจกรรมร่วมรู้ คือให้สภาแกนนำชุมชนรู้ว่าขณะนี้เราอยู่ไหน อะไรคือปัญหาของชุมชน และมีวีดีโอของ สสส.มาให้ดูด้วย - กิจกรรมร่วมคิด ก็ให้วิทยากรมาบรรยายแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน
    - กิจกรรมร่วมทำ บอกถึงบทบาทหน้าที่ว่าคำว่าสภาแกนนำชุมชนมีกิจกรรมอะไรบ้างที่เราต้องช่วยกัน เช่นการปลูกทดแทน การจังกาบร่วมกัน เป็นต้น 3.  หน้าที่ความรับผืดชอบของแต่ละคน ให้ปฏิบัติเหมือนครั้งที่ผ่านมา

     

    0 0

    7. 3.สร้างความเข้มแข็งให้สภาแกนนำชุมชนเพื่อการอนุรักษฯ

    วันที่ 17 พฤศจิกายน 2555 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • สภาแกนนำชุมชนเพื่อการอนุรักษ์ป่าชายเลน ได้เข้าร่วมกิจกรรม และได้เปิดวีดีโอของ สสส.ให้ดูพร้อมนำสนอpowerpoint ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมขับเคลื่อน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.  มีการอบรมบทบาทหน้าที่ของกลุ่มสภาแกนนำชุมชนเพื่อการอนุรักษ์ป่าชายเลน

    2.  มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ความคิดเห็นซึ่่งกันและกัน

     

    0 0

    8. 4.สร้างความเข้มแข็งให้สภาแกนนำเด็กและเยาวชนเพื่อการอนุรักษ์ป่าชายเลน

    วันที่ 24 พฤศจิกายน 2555 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • มีวิทยากรมาละลายพฤติกรรมและสะท้อนปัญหารวมทั้งการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลน พร้อมสอดแทรกกิจกรรมค้นหาผู้นำ
    • สมาชิกได้ทำกิจกรรม ทำให้รู้จักสนิทกันมากขึ้น มีความสามัคคีในหมู่คณะ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สภาเด็กและเยาวชน เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 54 คน

    วิทยากรเริมต้นด้วยการสร้างกระบวนการละลายพฤติกรรม แบ่งกลุ่มออกเป็น 4 กลุ่ม

    • กิจกรรมฉันมาทำอะไรที่นี่ บางคนบอกว่ามาเพื่ออนุรักษ์ป่าชายลน มาเพื่อกินข้าว มาเพื่อร่วมสนุกสาน มาเพราะอยากร่วมกิจกรรม มาเพราะอยากได้ความรู้ เป็นต้น

    • กิจกรรมบ้านสายควนบ้านฉันมีอะไร แต่ละกลุ่มได้เริมปฏิบัติการลงข้อมูลในชาร์ตที่แจกให้แต่ละกลุ่มๆไป และให้ออกมานำเสนอ เช่น มีสระสาธารณะของหมู่บ้าน  มีโต๊ะอิหม่ามที่ได้รับรางวัลโต๊ะอิหม่ามดีเด่นระดับจังหวัด มีป่าชายเลน มีป่าจาก มีป่าเตย มีมัสยิด มีโรงเรียนสองระบบแห่งแรกในจังหวัดสตูล มีดรงเรียนสอนฮาฟิร (สอนศาสนาอิสลามสำหรับผู้ชาย)แห่งเดียวในจังหวัดสตูล เป็นต้น โดยวิทยากรได้สอบถามแต่ละสถานที่และบุคคลที่เป็นจุดเด่นของหมู่บ้าน โดยมีผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน นายสหัส  สำมะเนี๊ยะ ตอบข้อสักถามเพิ่มเติม

    • การเสวนาแลกเปลี่ยน รู้จักสภาเด็กและเยาวชน โดยทนายความอิสระ จังหวัดสงขลา ได้แลกเปลี่ยนกับเด็กและเยาวชน

    • สอดแทรกกิจกรรมนันทนาการ

    • แลกเปลี่ยนประสบการณ์จากวิทยากรเรื่ององค์ความรู้การอนุรักษ์ป่าชายเลน และร่วมรับประทานอาหารว่างร่วมกัน

    • กิจกรรมเงื่อนมนุษย์ และสรุปสาระที่ได้จากกิจกรรม คือ การวางแผน มีผู้นำ มีผู้ตา การคิดแก้ปัญหา  เป็นต้น

    -  กิจกรรมซ่อนป้ายชื่อ ทำให้เกิดกระบวนการคิดรอบคอบ การฟัง  การคิดวิเคราะห์ การช่วยเหลือกัน  การตัดสินใจร่วมกัน เป็นต้น

    • รับประทานอาหารร่วมกันและหมาดร่วมกัน

    • ฟังการแลกเปลี่ยนความรู้จากครูในโรงเรียน  และร่วมสรุปผลการดำเนินกิจกรรมสองที่ได้จากการจัดกิจกรมในครั้งนี้

    บทบาทสภาเด็กและเยาวชนในการอนุรักษ์โดยร่วมเป็นอาสาอนุรักษ์ และร่วมปลูกทดแทนป่าชายเลน และเป็นกระบอกเสียงผ่านช่องทางเสียงตามสายของมัสยิดและจัดบอร์ดที่มัสยิด และกิจกรรมที่สภาเด็กและเยาวชนต้องดำเนินการคือ กิจกรรมปลูกทดแทนที่มีเป็นประจำทุกเดือน

    สภาเด็กและเยาวชนได้รับความรู้เรื่องการอนุรักษ์ป่าชายเลน

     

    0 0

    9. 6.คนสามวัยร่วมใจปลูกป่าชายเลนทดแทน 1/10

    วันที่ 24 พฤศจิกายน 2555 เวลา 14:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • เด็กและเยาวชนรวมทั้งคณะกรรมการโครงการชาวบ้านมาร่วม รวม 60 คน
    • ปลูกได้ 500 ต้น

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • จำนวนที่ปลูกประมาณ 1 ไร่กว่าๆ
    • มีชาวบ้านเด็กและเยาวชนเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 60คน
    • ต้นไม้ที่ปลูกคือต้นโกรงกางใบใหญ่ จำนวน 300 ต้น ต้นโกงกางใบเล็ก จำนวน 200 ต้น รวมจำนวน 500 ต้น ต้นไม้ที่ปลูกมีผลต่อการซ่อมแซมต้นโกงกางให้เพิ่มขึ้น และช่วยเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำ วันที่ปลูกทดแทนฝนตกหนักมากแต่เด็กและเยาวชน คณะกรรมการโครงการ รวมทั้งชาวบ้านบางส่วนได้ช้วยกันปลูกต้นไม้ป่าชายเลนทดแทนแม้ว่าฝนจะตกหนัก

     

    0 0

    10. 7.เสียงตามสายจากนักสืบน้อย 1/10

    วันที่ 29 พฤศจิกายน 2555 เวลา 12:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    น้องๆสภาเด็กและเยาวชนส่งตัวแทนจัดบอร์ดและทำคริปพร้อมส่งน้อง 1 คนอ่านคริปรายการเสียงตามสาย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ๒๙  พฤศจิกายน  ๒๕๕๕ ผู้จำทำคริปรายการพร้อมจัดบอร์ด ๑  เด็กชายอุสมาน  สำลี ๒  นางสาวธีภาภรณ์ สำมะเนี๊ยะ ๓  นางสาวซัลมา  กาสาเอก ๔  เด็กหญิงวราภรณ์ ศรีเสน ๕  เด็กหญิงทิพนภา กาสาเอก

    สคริปรายการประจำเดือน  พฤศจิกายน ๒๕๕๕ จากผู้ใหญ่บ้าน คณะกรรมการหมู่บ้าน ได้ประชาคมเรื่องโครงการเสนอ สสส. มีกิจกรรมที่ทุกคนอยากทำมากมาย จนคณะกรรมการหมู่บ้านเลือกหัวข้อของเรื่องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นประเด็นสำคัญ และได้นำเสนอโครงการจนผ่านการพิจารณา ชื่อโครงการร่วมด้วยช่วยกัน สานฝัน พัฒนาบ้านเรา ชื่อโครงการก็บอกอยู่แล้วว่าเราต้องร่วมมือกัน ช่วยกัน ร่วมแสดงความคิดเห็นแก้ไขปัญหา พัฒนา อนุรัก์ทรัพยากรธรรมชาติไปพร้อมกันๆ จากกิจกรรมประชาสัมพันธ์โครงการ พร้อมรับสมัครสร้างแกนนำชุมชน โดยจัดประชาสัมพันธ์ ๓ ครั้ง ในวันเสาร์ที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ ที่ผ่านมาทำให้เรารู้ว่าตอนนี้หมุ่บ้านเรามีอะไร จะทำอะไร และจะทำอย่างไร พร้อมการสร้างความเข้มแข็งให้สภาแกนนำชุมชนเพื่อการอนุรักษ์ โดยการอบรมให้ความรู้การทำงานร่วมกันที่มัสยิดเมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ ทำให้ทุกคนเข้าใจไปในทางเดียวกัน ทุกคนเห็นด้วยที่จะให้มีสภาแกนนำชุมชน เพื่อเป็นกระบอกเสียงให้กับคนในชุมชนเอง ร่วมรับฟังปัญหา ร่วมแก้ไขปัญหาด้วยกัน และที่สำคัญได้จัดกิจกรรมสร้างความเข้มแข็งให้สภาแกนนนำเด็กและเยาวชนเพื่อการอนุรักษ์ป่าชายเลน ถึงแม้ว่ากลุ่มเป้าหมายจะไม่ได้ตามที่คาดไว้ เพราะเด็กและเยาวชนส่วนหนึ่งติดกิจกรรมโรงเรียนมัสยิดดารุดดีนวิทยาก็ตาม แต่สิ่งที่วิทยากรชื่นชมนั่นคือน้องๆพี่ๆที่มาร่วมกิจกรรมเป็นวัยที่ห่างกันมาก นั่นไม่ใช่อุปสรรค์ของพี่ๆเลย กลับกันมันไม่ใช่เรื่องความอาย มันไม่ใช่เรื่องวัย เรื่องอายุ แต่มันคือใจที่จะร่วมทำกิจกรรมกับน้องๆจนจบกิจกรรมในวันนั้น นี่คือรอยยิ้ม เสียงสะท้องจากสภาแกนนำชุมชน เสียงสะท้องจากสภาเด็กและเยาวชน เป็นสัญญานแรกของการร่วมมือกัน แก้ไขปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบ้านสายควน ขอบคุณทุกคนที่ร่วมรับฟังกระบอกเสียงเล็กๆจากนักสืบน้อย พวกผมขอขอบคุณมากครับ อัสลามมูอาลัยกุมวาเราะห์มาตุลลอฮ์อีวาบารากาอาตุฮฺ

     

    0 0

    11. 8.ประชุมแกนนำและสภาเด็กและเยาวชน 1/10

    วันที่ 30 พฤศจิกายน 2555 เวลา 16:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • มีผู้เข่าร่วมกิจกรรมรวม  76 คน
    • แกนนำผู้ใหญ่นำเสนอผลกิจกรรมที่ผ่านมา
    • แกนนำสภาเด็กและเยาวชนมาเล่าเรื่องบทบาทการอนุรักษ์ป่าชายเลน และประโยชน์ของป่าชายเลน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • นายวรพงศ์ ดำท่าคลอง ผู้รับผิดชอบโครงการ โดยได้บอกรายละเอียดกิจกรรมที่ผ่านมา เช่น กิจกรรมประชาสมพันธ์โครงการ ทำให้เราได้รู้ว่าจริงๆแล้วบมุคนในชุมชนที่มีความคิดที่จะพัฒนาหมู๋บ้านอีกเยอะแต่ยังขาดการเข้าถึงบุคคลก็เท่านั้นเอง ก้าวแรกจากการประชาสัมพันธฺโครงการทำให้คณะทำงานมีกำลังใจในการเดินไปในทิศทางเดียวกัน  และกิจกรรมสภาแนนำชุมชน โดยมีนายอรรถสิทธิ์ ขุนดำ ผู้บริหารโรงเรียนฮาฟิร ซึ่งมีที่เดียวในอำเภอท่าแพ ท่านได้มาร่วมแลกเปลี่ยนการทำงานร่วมกัน และยังมีนายวรพงษ์  ฮะอุรา นายกอบต.ท่าแพ ได้มาให้ความรู้และแนวทางการทำงานอีกด้วย
    • กิจกรรมสภาเด็กและเยาวชนอาจเกิดปัญหาเนื่องจากกลุ่มเป้าหมานติดภารกิจ มีพี่ๆจากมหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา  ครูจากโรงเรียนบ้านแป-ระ ทนายความอิสระ  มาให้ความรู้ถึงวัตถุประสงค์การจัดตั้งสภาแกนนำชมุชน แนวทางในการจัดตั้ง และให้กำลังใจในการขัยเคลื่อนสภาเด็กและเยาวชน พร้อมมีกิจกรรมต่างๆแทรกเพื่อให้ได้กระบวนการมีส่วนร่วม และกิจกรรม 3 วัยร่วมใจปลูกทดแทน
    • การปลูกทดแทน ทำให้เกิดการทำงานร่วมกันเป็นมิติใหม่ของชุมชน แต่ก้าวแรกของการทำงานร่วมกันระหว่างหลายกลุ่ม หลายบุคคล หลายวัย ก็เกิดขึ้นด้วยรอยยิ้มทีละน้อยๆ และขอขอบคุณทุคนที่เป็นส่วนหนึ่ง ซึ่งชื่อโครงการก็บอกอยู่แล้วว่าร่วมด้วยช่วยกันสานฝันพัฒนาบ้านเรา  และได้สอบถามถึงวิธีการแก้ปัญหาในสิ่งที่เกิดขึ้น เช่นปัญหาการร่วมกิจกรรมน้อย ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติ(ฝนตก) แกนนำเสนอว่าให้มีคนรับผิดชอบแต่ละกลุ่ม ในเรื่องฝนตกเราไม่สามารถควบคุมได้ แต่กิจกรรมต่อไปคงมีคนในชุมชนมาร่วมกิจกรรมมากกว่านี้แน่นอน
    • แกนนำสภาเด็กและเยาวชนมาเล่าเรื่องบทบาทการอนุรักษ์ป่าชายเลน และประโยชน์ของป่าชายเลน และมีการตั้งคำถามเพื่อให้คนที่เข้าร่วมกิจกรรมมตอบคำถามเพื่อกระตุ้นการฟังและการร่วมกิจกรรม

     

    0 0

    12. 3.อาสาอนุรักษ์สำรวจข้อมูลป่าชายเลน 1/3

    วันที่ 5 ธันวาคม 2555 เวลา 14:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • เวลา 13.30 น. ทุกคนพร้อมกันที่สถานที่พานซอยหัวพานและแบ่งกันเป็น 2 กลุ่ม จำนวน 3 ลำเรือ และได้แยกย้ายกันสำรวจ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ข้อมูลการสำรวจป่าชายเลน

    วันที่ ๕  ธันวาคม  ๒๕๕๕

    ณ พื้นที่ป่าชายเลนซอยหัวพาน บ้านสายควน

    คลองซอยหัวพานที่ใช้เป็นเส้นทางในการประกอบอาชีพ ดังนี้

    ๑.  คลองโต๊ะหลงมูสา (ท่านา)

    ๒. คลองใบโหด

    ๓.  คลองลัด

    ๔.  คลองต้นปาป

    ๕.  คลองป่าจาก

    ๖.  คลองทะลุไปตำบลสาคร

    ๗.  คลองมาแรกัน (ทะลุไปตำบลท่าเรือ)

    ๘.  คลองมุนตาด (นาจีน)


    หลังจากนั้นพวกเรานักอนุรักษ์ได้ข้อสรุปการสำรวจพื้นที่ถูกทำลายจากการตัดไม้เป็นจำนวนมาก ประมาณ ๕ ไร่  และอีกทีมสำรวจป่าสมบูรณ์  ระหว่างการเดินทางบรรยากาศลมพัดเย็นสบาย ต้นไม้ริมน้ำส่วนใหญ่จะเป็นพันธุ์ไม้เลื้อยต้นเล็กๆเป็นแห่งๆ มีไม้ที่ไม่มีใบแล้วมีแต่ก้านพบเยอะเหมือนกัน


    สรุปผลการสำรวจ

    จุดเด่นของซอยหัวพานคือ  ต้นจาก และต้นเตยปาหนัน

    พื้นที่ป่าเสื่อมโทรมที่ถูกทำลาย จำนวน ๕ ไร่

    สวนโป สมัยก่อนมีคนจีนชื่อโป มาจับจองที่ดิน ปลูกต้นจาก ต้นมะพร้าวจำนวนมาก ปัจจุบันยังมีร่องรอยอยู่ บ้าง  แต่พวกเราไม่ได้ลงไปดูเพราะแบ่งกันสำรวจตรงจุดที่สำคัญ

    พันธุ์พืชที่พบ ๑.  ต้นโกงกางใบเล็ก ๒. ต้นโกงกางใบใหญ่ ๓. ต้นกระเพราะปลา ๔. ต้นต้นขลู่ (ซุ่มไต๋) ๕. ต้นจาก ๖. ต้นจิกทะเล ๗. ต้นช้าเลือด (สาบแหร่งสาบกา) ๘.  ต้นตะบูนขาว (แซะ) ๙. ต้นตะบูนดำ ๑๐. ต้นตีนเป็ดทะเล (ปุมปง) ๑๑. ต้นตีนเป็ดทราย ๑๒. ต้นเตยทะเล ๑๓. ต้นถอบแถบน้ำ (ยันสาวดำ) ๑๔. ต้นถั่วขาว (โรย) ๑๕. ต้นถั่วดำ (หลังกาดัย) ๑๖. ต้นน้ำนอง (สาวดำเล) ๑๗. ต้นใบพาย (พบเฉพาะสตูล ภูเก็ต และระนอง) ๑๘. ต้นปรงทะเล ๑๙. ต้นปรงหนู ๒๐. ต้นปอทะเล ๒๑. ต้นเป้งทะเล ๒๒. ต้นโปรงขาว (แหม) ๒๓. ต้นฝาดดอกขาว (สุมตม) ๒๔. ต้นฝาดดอกแดง ๒๕. ต้นพังกา – ถั่วขาว ๒๖. ต้นพังกาหัวสุมดอกแดง ๒๗. ต้นมะคะ (ไข่แพะ) ๒๘. ต้นมะนาวผี ผลกลม ๒๙. ไพร ๓๐. ต้นเตยปาหนัน

    พันธุ์สัตว์ที่พบ ๑.ไก่เถือน ๒.หอยดาแดง ๓. หอยเข็ม ๔. ปลาโทง ๕. ปลากระบอก ๖. ปูตัวเล็กๆ ๗. กุ้งตัวเล็กๆ ๘. มดดำ ๙. มดสีแดงตัวเล็ก

     

    0 0

    13. 7.เสียงตามสายจากนักสืบน้อย 2/10

    วันที่ 7 ธันวาคม 2555 เวลา 12:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • แกนนำสภาเด็กและเยาวชนได้นัดกันสรุปการจัดรายการเสียงตามสายจากนักสืบน้อยต่อกิจกรรมที่ผ่านมา และส่งตัวแทนนำเสนอ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผู้จำทำคริปรายการพร้อมจัดบอร์ด ๑  เด็กชายอานัฐ  สำลี ๒  เด็กหญิงกัญติมา  ลาดิง ๓  เด็กหญิงจันทร์จิรา บิลล่าหมาน ๔  เด็กหญิงเมรีญา ยาหน่าย ๕  เด็กหญิงซอฟีย๊ะฮ์ ทิ้งทอง
    • สคริปรายการประจำเดือน  ธันวาคม  ๒๕๕๕ อัสลามมูอาลัยกุมวาเราะห์มาตุลลอฮ์อีวาบารากาอาตุฮฺ ผมและเพื่อนๆจากรายการเสียงตามสายจากนับสืบน้อยครับ จะมาเล่ากิจกรรมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พวกผมและปะๆ หวาๆ ได้จัดกิจกรรมคนสามวัย ร่วมใจปลูกทดแทน  เพื่อเป็นการสร้างวิถีชุมชน กิจกรรมจัดวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ เวลา ๑๓.๓๐ – ๑๖.๓๐ น. ณ พื้นที่ป่าชายเลนบ้านหัวพานครับ วันนั้นฝนตกหนักมาก ชาวบ้านมะๆ ปะๆ มาร่วมกิจกรรมน้อย แต่พวกผมและปะๆ หวาๆ ไม่กลัวฝนครับ  พวกผมร่วมกันปลูกต้นโกงกางใบเล็ก กางกางใบใหญ่ แต่ขอบอกว่าโคลนถึงเข่าเลยละครับ  ถึงฝนะตกแต่ก็สนุกครับ ติดโคลนกันเป็นแถวๆเลย กิจกรรมของพื้นที่ป่าชายเลนยังไม่หมดนะครับ ยังมีกิจกรรมสำรวจข้อมูลป่าชายเลนซอยหัวพานด้วย เมื่อวันพุธที่ผ่านมานี่เอง  พวกผมได้ร่วมกิจกรรมด้วยเพราะจำเป็นวันหยุดวันพ่อครับ ขอบอกว่าช่วงเช้าปลูกป่าที่หมู่ ๑  ช่วงบ่ายมาต่อด้วยสำรวจ เหนื่อยอยู่แต่ก็สนุกครับ ไม่ใช่มีเฉพาะพวกผมแต่มีอาสาอนุรักษ์ของซอยหัวพานด้วย เราไปกัน ๓ ลำเรือ สำรวจป่าสมบุรณ์ ป่าเสื่อมโทรม พันธ์ไม้ พันธ์สัตว์มากมาย ถ้าอยากรู้ว่ามีอะไรบ้างก็ติดตามได้จากบอร์ประชาสัมพันธ์ได้เลยครับ เพราะเวลาผมน้อย เอาเป็นว่าชาวซอยหัวพานยังเปิดรับสมัครอาสาอนุรักษ์อยู่นะครับ หากสนใจคราวหน้าจะได้สำรวจละเอียดกว่านี้ ส่วนชาวบ้านสายควนใครอยากทำหน้าที่เป็นอาสาอนุรักษ์ก็สามารถสมัครได้ที่นายวรพงศ์  ดำท่าคลอง หรือบังบ่าวรีและผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน อสม. ได้ตลอดเลยนะครับนี่เป็นเรื่องราวป่าชายเลนซอยหัวพานที่ผ่านมาครับ กิจกรรมต่อไปคือ วันเสาร์ที่ ๘ ธันวาคม ๒๕๕๕ พรุ่งนี้เชิญทุกคนที่สนใจทำหน้าที่อาสาอนนุรักษ์ซอยควนสัก ก็ขอเรียนเชิญว่าจะลงพื้นที่สำรวจป่าชายเลนกันเวลา ๑๓.๓๐ น.เป็นต้นไปนะครับ  สุดท้ายผมขอบอกว่าใครอยากเป็นส่วนหนึ่งในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ก็สามารรถสมัครสภาแกนนำชุมชน อาสาอนุรักษ์ ส่วนเด็กและเยาวชน ก็สามารถมาสนุกพร้อมประสบการณ์มากมายได้โดยสมัครเป็นส่วนหนึ่งของสภาเด็กและเยาวชนได้เลยครับ  สุดท้ายผมและเพื่อนๆจากนักสืบน้อย ขอกล่าวคำว่า วัสสลามมูอาลัยกุมวาเราะห์มาตุลลอฮ์อีวาบารอกาอาตุฮ.

     

    0 0

    14. 3.อาสาอนุรักษ์สำรวจข้อมูลป่าชายเลน 2/3

    วันที่ 8 ธันวาคม 2555 เวลา 14:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • อาสาอนุรักษ์ได้สำรวจพื้นที่ป่าชายเลนซอยควนสักโดยรอบ ที่อยู่ในเขตความรับผิดชอบของหมู่ที่ 7  พร้อมได้นำต้นกล้าโกงกางปลูกทดแทน โดยการสำรวจป่าชายเลน ซอยควนสัก พื้นที่ป่าชายเลนบ้านควนสักติดกับป่าชายเลนบ้านท่าน้ำเค็มใต้ หมู่ที่ 1 และบ้านลุ่ม หมู่ที่ 6  พื้นที่ป่าชายเลนโดยภาพรวมอุดมสมบูรณ์มาก มีบางแห่งเท่านั้นโล่งซึ่งเกิดจากการตัดไม้ มีลูกคลองของซอยควนสักมี จำนวน  7 ลูกคลอง  ดังนี้ 1.  คลองหมู       2.  คลองลูกหมู       3.  คลองเข้น้ำเค็ม
            4.  คลองกรอง       5.  คลองนางสีดา       6.  คลองนาท่าโต๊ะสูฉา         7.  คลองนาท่าก่อโง๊ะ
      โดอาสาอนุรักษ์ได้สอบถามชาวประมงที่นำสำรวจพื้นที่ตัดสินใจลงพื้นที่คลองกอโงะและคลองกรองเพื่อปลูกทดแทน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • มีบางพื้นที่ๆต้องมีการปลูกทดแทนเนื่องจากากรตัดไม้  ผลการสำรวจ ดังนี้ พื้นที่ป่าชายเลนบ้านควนสักติดกับป่าชายเลนบ้านท่าน้ำเค็มใต้ หมู่ที่ 1 และบ้านลุ่ม หมู่ที่ 6
      โดยพื้นที่ป่าชายเลนโดยภาพรวมอุดมสมบูรณ์มาก มีบางแห่งเท่านั้นโล่งไม่มีไม้โกงกาง ไม้แสม  ซึ่งเกิดจากการตัดไม้ ลูกคลองของซอยควนสักมี จำนวน  7 ลูกคลอง  ดังนี้
            1.  คลองหมู       2.  คลองลูกหมู       3.  คลองเข้น้ำเค็ม
            4.  คลองกรอง       5.  คลองนางสีดา       6.  คลองนาท่าโต๊ะสูฉา         7.  คลองนาท่าก่อโง๊ะ
      และได้มาสรุปผลสำรวจที่พบ ดังนี้ พันธุ์พืชที่พบ
      • ต้นโกงกางใบใหญ่  (ลำต้นใช้ก่อสร้าง  เผาถ่าน สีจากเปลือกใช้ย้อมแห อวน เชือก จะเป็นสีแดง) -  ต้นโกงกางใบเล็ก -  ต้นสแมขาว (ปีปี) เปลือกต้มรับประทานกับน้ำแก้ท้องร่วง แก้อาเจียน แก้บิด หรือใช้ชะล้างบาดแผล -  ต้นฝาดดอกขาว (สุมตม) -  ต้นฝาดดอกแดง
        -  ต้นตะบูนขาว (ลูกแซะ) -  ต้นตะบูนดำ  เนื้อไม้มีสีและลวดลายสวยงาม  ใช้ตกแต่งททำเฟอร์นิเจอร์ และก่อสร้างได้ -  ต้นสแหม (ไม้แหม)
        -  ต้นขลู่  (ซุมไต๋) พันธ์พืชเพิ่มเติม -  ต้นชำเลือด ( สาบแร่งสาบกา) -  ต้นถอดแถบน้ำ (ยันสาวดำ) เป็นไม้เลื้อย -  ต้นถั่วขาว  (โร๊ย) ลูกต้มหลายๆครั้งนำมากินเนื้อด้านในรสชาติขมๆกินด้วยมะพร้าวมขูดน้ำกระทิ  ลำต้นใช้ทำฟืน  เผาถ่าน ทำเครื่องมือจับปลา (เสาโพงพาง) -  ต้นถั่วดำ (หลังกาดัย) -  ต้นเทพี (ลูกกาหมีด) เป็นหนาม ไม้เลื้อย -  ต้นเป้งทะเล
        -  ต้นโปรงแดง  ลำต้นใช้ทำฟืน เผาถ่าน ที่อยู่อาศัย เครื่องมือประมง เปลือกใช้ต้มกับน้ำไว้ชะล้างบาดแผล -  ต้นลำพูทะเล (ปาด)  รากหายใจช่วยในการดักสิ่งปฏิกูล -  ต้นเหงือกปลาหมอดอกขาว -  ต้นเหงือกปลาหมอดอกม่วง  ต้น ราก ใช้ต้มอาบแก้พิษไข้  ต้นสดตำละอียดเอาพอกปิดหัวฝี -  ต้นเหงือปลาหมอดอกเครือ -  ต้นหวายลิง -  ต้นเสม็ดขาว -  ต้นสีอ้ำ -  ต้นปรงทะเล -  ต้นจาก -  ต้นสาหวา

    พันธุ์สัตว์ที่พบ -  หอยตาแดง  หอยเข็ม -  นกยาง -  กุ้งเคย - ปูเปรี้ยว ปูแสม  ปูก้ามดาบ -  ปลาตีน -  ปูเสฉวน พันธุ์สัตว์เพิ่มเติม -  กุ้งกุลาดำ -  หอยปะ -  หอย -  ปูดำ -  ปลา

     

    0 0

    15. ประชุมแกนนำและสภาเด็กและเยาวชน 2/10

    วันที่ 28 ธันวาคม 2555 เวลา 16:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • สภาแกนนำเด็ฏและผู้ใหญ่ รวม 70 คนประชุมประจำเดือนธันวาคม มีการเสนอผู้รับผิดชอบป่าชายเลนแต่ละพื้น

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • นายสมศักดิ์  หยีละงู อยากให้มีป้ายอนุรักษ์ป่าชายเลนเพิ่มอีก พร้อมกับเบอร์ติดต่อสถานที่ทำงานป่าชายเลน เผื่อว่าเวลามีการลักลอบตัดไม้จะได้โทรแจ้งให้หน่วยงานโดยตรง
    • นายหมาด  จาปัง เสนอว่าควรจะมีคณะกรรมการที่เป็นผู้หญิงเพิ่มอีก เพาะผู้หญิงจะทำงานได้เก่งและอดทนกว่าผู้ชาย
    • รายชื่อแกนนำแต่ละพื้นที่และให้ไปหาทีมเพิ่มให้มีแกนนำทีมละ 5-8 คน 1.  ซอยควนสัก ผู้รับผิดชอบ นายฮะซัน  เหตุปาตี 2.  ซอยท่าโตด ผู้รับผิดชอบ นายอดุล  สำมะเนี๊ยะ 3.  หัวพาน ผู้รับผิดชอบ นายยำอาด อุมายี 4.  ลานเต่า ผัรับผิดชอบ นายวรพงศ์  ดำท่าคลอง

     

    0 0

    16. 5. ตั้งกลุ่มนักสืบน้อยป่าชายเลน

    วันที่ 29 ธันวาคม 2555 เวลา 08:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • มีแกนนำเด็ฏและผู้ใหญ่รวม 62 คนร่วมกิจกรรมนี้
    • แกนนำสภาเด็กและเยาวชนได้ลงสัมภาษณ์ผู้เฒ่าาก่อนแล้วเพื่อให้กิจกรรมสามารถเสร็จจในระยะเวลาที่กำหนด
    • แกนนำเล่าเร่ืองราวที่ได้ให้น้องกลุ่มใหญ่ฟัง
    • จัดกระบวนให้น้องๆเด็กและเยาวชนทำหนังสือและมีวิทยากรมาแนะนำวิธีการทำ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผู้ใหญ่ที่มาให้ความรู้เรื่องป่าชายเลน  คือ นางหยัน อาหน่าย  นางย๊ะ เปรมใจ และนายยำอาด อุมายี ได้เล่าประวัติความเป็นมาของบ้านสายควน อดีตเป็นอย่างไร ปัจุจบันเป็นอย่างไร ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเมื่อก่อนเป็นอย่างไร ตอนนี้เป็นอย่างไร และการใช้ชีวิตของคนรุ่นก่อนกับตอนนี้ต่างกันอย่างไร
    • จากนั้นเมื่อน้องๆได้ความรู้และเก็บข้อมูลแล้ว  เริ่มเข้าสู่การทำหนังสือเล่าเรื่องป่าชายเลน คำว่าต้นไม้ชุมชน คืออะไร และได้แบ่งกลุ่มน้องๆออกเป็น ๕ กลุ่มเพื่อผลิตหนังสือเล่มนี้
    • สรุปสาระสำคัญของหนังสือ ต้นไม้ชุมชน ดังนี้ ๑.  ราก ปัจจุบันรากเง้าในหมู่บ้าน กำลังถูกกลืนโดยวัฒนธรรมบริโภค ระบบการศึกษาแบบเมือง และนโยบายการพัฒนาต่างๆ เด็กที่ออกจากบ้านมาเรียนในเมืองมากขึ้น อยากอยู่อย่างสบายและคิดว่าการแข่งขันในระบบจะช่วยให้ชีวิตที่ดีขึ้น ไม่รู้รากเง้าของชุมชน  ของทรัพยากรธรรมชาติป่าชายเลน  ทำให้ไม่รู้คุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติ  จึงบริโภควัตถุนิยมเพื่อช่วยให้ตัวเองมีคุณค่า
      บ้านสายควน สังคมในอดีต เป็นสังคมที่มีการช่วยเหลือกัน มีการอาศัยอยู่ติดริมคลอง คนมีการศึกษาน้อย การรักษาพยาบาลมีน้อยต้องอาศักการรักษาแบบหมอพื้นบ้าน โดยการใช้ยาสมุนไพร อย่กันแบบพี่น้อง พึ่งพาอาศัยกัน ปัจจุบันสังคมเริ่มเปลี่ยนแปลงต่างคนต่างอยู่ มีการปลูกบ้านเรือนใกล้ถนนเพื่อความสะดวกในการสัญจร การศึกษาสูง ใช้การรักษาตามโรงพยาบาล คนมีความเห็นแก่ตัว ต่างคนตต่างอยู่  ในด้านสิ่งแวดล้อม อดีต ป่าไม้มีความอุดมสมบูรณ์ อาหารหาง่ายกินง่ายรอบๆตัว อากาศบริสุทธิ์ มีแต่ต้นไม้ลำคลอง น้ำมีความสะอาด สัตว์เมื่อก่อนหาได้ตามทุ่งนนา  ปัจจุบันเริ่มมีการตัดไม้ทำลายป่าเพื่อนายทุนต่างพื้นที่ อาหารอาศัยยความสะดวกออกไปซื้อที่ตลาด อากาศก็ไม่เหมือนอดีต น้ำเริ่มมีการปล่อยน้ำเสียทำให้สัตว์น้ำทะเลหายากกว่าเมื่อก่อน สัตว์ในการประกอบอาหารก็เหลือน้อยเต็มที  ในเรื่องของเศรษฐกิจ อดีตอาชีพส่วนใหญ่ทำการเกษตร เป็นอาชีพหลัก แหล่งที่มาของรายได้มีน้อยเพราะส่วนใหญ่พิ่งพาอาสัยซึ่งกันและกัน ใช้ชีวิตแบบพอเพียง ปัจจุบัน คนมีอาชีพหลากหลาย เช่นรับราชการ รับจ้าง เป็นต้น รายได้หลายช่องทางเพื่อความอยู่รอด มีการใช้จ่ายฟุ่มเฟือย  สิ่งที่ททำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมาจากหลายปัจจัย เช่นความเจริญทางวัตถุ คนทีการศึกามากขึ้น การตัดไม้ลำลายป่า ระชากรเพิ่มขึ้น มีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในทางผิด มีการอพยพของคนมากขึ้นพฟติกรรมของคนเปลี่ยนแปลงไป
      คำจากวิทยากร ไม่ตัดสินชุมชนด้วยความคิดจากบุคคลภายนนอก จากการกล่าวขาน เพราะเราเข้าใจป่าชายเลน  เข้าใจชุมชนอย่างแท้จริง

    ๒.กิ่งก้าน ความสัมพันธ์ของคนบ้านสายควน ส่วนใหญ่จะอยู่กันแบบระบบเครือญาติ การตั้งบ้านเรือนก็จะอยู่เป็นกลุ่มพี่น้องเดียวกันเป็นส่วนใหญ่ เมื่ออดีตดำรงชีวิตโดยการแบ่งปัน ใครมีอะไร ใครหาปูหาปลามาได้ ก็จะแบ่งกันไปกิน  โดยไม่คิดเงินคิดทอง การพึ่งพาอาศัยกันทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน จนถึงปัจจุบัน แม้ว่ากระแสทุนนิยมบริโภคจะพยายามที่จะแตกแยกความสัมพันธ์ขของคน  ในเครือญาติออกจากกันด้วยเครื่องอำนวยความสะดวกต่างๆ และความบันเทิงทางวัตถุมากมาย แต่สายใยสัมพันธ์ที่เหนี่ยวแน่นก็ยังถูกยึดโยงกันอยู่โดยเฉพาะความสัมพันธ์ในระบบเครือญาติ  ความสัมพันธ์ของกลุ่มต่างๆ จากในหมู่บ้าน จากภายนอก ล้วนมีบทบาทมีอิทธิพลต่อความเปลี่ยนแปลงของคนในชุมชน ในนามกลุ่มอำนาจ ทำโน่นทำนี่ ทั้งแง่บวกแง่ลบ ในอดีตมีการติดต่อสื่อสารสัมพันธ์กับคนชุมชนอื่นๆตลอด แบบเกลอกัน มีข้าวมีปลาส่งแลกเปลี่ยนกัน
    กิ่งก้าน ทำให้เข้าใจถึงความสัมพันธ์ที่มีในบ้านสายควน ทราบถึงบทบาทหน้าที่ และความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างกลุ่มต่างๆ แล้วก็ทำให้เราเข้าใจสภาพสังคมของบ้านเราได้ดีขึ้น  ในสายใยชุมชนบ้านสายควน มีกลุ่มอสม. กลุ่มประมงชายฝั่ง กลุ่มคณะกรรมการหมู่บบ้าน กลุ่มจักรสานเสื่อเตย กลุ่มนำยางสด กลุ่มมหิงสาสายสืบ กลุ่มปุ่ยอินทรีย์น้ำ กลุ่มต้นปาล์ม
    ๓  ใบ โครงสร้างความรู้ที่มีหลักการ มีเหตุผลในตัวมันเอง น่าศึกษาและควรอนุรักษ์สืบทอดต่อไป ในบ้านสายควนมีภูมิปัญญาหลายอย่างบวกกับทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่น  มีทั้งทรัพยากรบุคคลและทรัพยากรความรู้เกี่ยวกับอาชีพต่างๆในชุมชน การอนุกรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ขาดไม่ได้คือ ปราชญ์ชาวบ้าน เป็นคนที่สำคัญของชุมชน เป็นแหล่งความรู้ที่เราสามารถเรียรนรู้จากท่านได้ น่าแปลกที่ปัจจุบันคนรุ่นหลังเข้าไม่ถึงผู้รู้ในหมู่บ้าน หรือมองไม่เห็นความสำคัญของความรู้ที่มีเนื่องจากวิถีชีวิตเปลี่ยนไปพึ่งพาระบบตลาด ในบ้านสายควน มีภิปัญญาหลักๆ คืกการสานเสื่อจากต้นเตยปาหนัน การประดิษฐ์ดอกไม้จากผ้าใยบัว การประดิษฐ์ตุดง (หมวดชชาวนา) การทำขนมรังผึ้ง หมอพื้นบ้าน การรัษาโรคตามแบบพื้นบบ้าน การทำอุปกรณืดักจับสัตว์น้ำ การทำน้ำตาลจาก จากต้นจาก เป็นต้น ยกตัวอย่างเช่น การสานเสื่อเตยปาหนันน ขั้นตอนคือ ตัดต้นเตย ยางาดหนาม คูดให้นิ่ม ยางาดให้เป็นเส้น มัด ต้มน้ำประมาณ ๓๐ นามี  แช่น้ำ ตากแดด ย้อมสี ตากแดด และการทำการสาน คำจากวิทยากรความรู้จากผืนดิน  ภูมิปัญญามีคุณค่ามากมาย แต่ในยุคสมัยนี้ คนรุ่นใหม่หรือคนวัยแรงาน มักจะเดินออกไปศึกษาและทำงานนอกพื้นที่ ทำให้การสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นของคนรุ่นใหม่ลดน้อยลง  ดังนั้นเราจะรัก และภาคภูมิใจในถิ่นบ้านสายควนบ้านเกิดของเราเพื่อจะได้สืบสานภูมิปัญญาที่ดีไม่ให้สูญหายไปในอนาคต

    ๔.ลำต้น ลำต้น เชื่อมโยงส่วนอื่นๆ ทำหน้าที่ส่งน้ำหล่อเลี้ยงไปส่วนอื่นๆเวลาเราตัดต้นไม้กันเราตัดที่ลำต้น นั้นคือประเพณี วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่ สะท้อนความคิด ความเชื่อ ค่านิยมของคนในชุมชน บ้านสายควน ถือว่าคนในชุมชนนับถือศาสนาอิสลาท ๑๐๐ % เพราะฉะนั้นวิถีชีวิต วัฒนธรรม ความเชื่อ จึงอยู่บนพื้นฐานของอิลาม เช่น เดือนมกราคม จะมีการเกี่ยวข้าวเดือนกุมภาพันธ์ เกี่ยวข้าว เดือนมีนาคมเด็กๆจะปิดภาคเรียนกัน และมีการทำบุญกุโบร์ เดือนเมษายน พิธีเข้าสุนัต เดือนพฤษภาคม มีกีฬาสัมพันธ์ชุมชน เดือนมิถุนายนฤดูเก็บเกี่ยวข้าวโพด เดือนกรกฎาคม  ปลูกข้าวไร่ (ตำข่าวม่าม) เดือนสิงหาคม ถือศิลอด จ่ายซะกาต เดือนกันยายน วันฮารีรายาอิดิ้ลฟิตรี เดือนตุลาคม เดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ ปลูกข้าว เดือนพฤศจิกายน วันฮารีรายาอิดิ้ลอัฎฮา เชือดสัตว์ทำกุรบาน เดือนฮันวาคม กวนอาชูรอ (ต้นเปียดโซรา)  และที่สามมารถทำได้ตลอดคือ อาตัมอุลกรุอ่าน นูรี(ทำบุญ) ซอดาเกาะห์ละหมาดวันศุกร์ ขึ้นบ้านใหม่ ทำเกษตรกรรม ๕.  ผล ปัจจุบันวิถีการทำมาหากินก็ได้เปลี่ยนแปลงไปเป็นการทำมาหาเงิน ง่ายๆคือปัจจุบันการทำให้ได้มาซึ่งเงินทองเท่านั้นก็พอ บางคนถึงขั้นที่ว่า ทำอย่างไรก็ได้เพื่อให้ได้มาซึ่งเงินก็มี จะดทษคนๆเดียวก็ไม่ได้ เพราะระบบเศรษฐกิจและระบบตลาดเข้ามาแทนที่วิถีเศรษฐกิจเดิมของชุมชน
    แม้หลายอย่างจะเปลี่ยนไป แต่บ้านสายควรก็มีหลายอย่างคงอยู่ วิถีการผลิตการทำมาหากินยังสอดคล้องกับธรรมชาติอยู่ ด้วยภูมิปัญญาที่สั่งสมจากรุ่นสู่รุ่น  บ้านสายควนมีการทำมาหากิน คือ ทำสวนยางพารา อาชีพประมง ทำสวนเงาะ(บ่อหลวง) ทำสวนปาล์ม อาชีพเลี้ยงปลากระชัง อาชีพประกอบการนากุ้ง ทำไร่ ทำนา ทำไร่อ้อย ทำการเกษตร เลี้ยงสัตว์ (เป็ด ไก่ วัว แมว แพะ นก) ติดตายาง ตัดเย็บเสื้อผ้า รับจ้างก่อสร้าง รับจ้างเย็บปักถักร้อย ค้าขาย (ขายของชำ ขายผลไม้ ขายผัก) รับราชการ (ตำรวจ ครู  หมอ) จักสานเสื่อใบเตย ใบจาก ช่างไฟฟ้า รับซื้อเศษเหล็ก รับซื้อน้ำยางสด รับซื้อขี้ยางแห้ง,เปียก  เพาะเห็ดปาล์มขาย

     

    0 0

    17. คนสามวัยร่วมใจปลูกป่าชายเลนทดแทน 2/10

    วันที่ 29 ธันวาคม 2555 เวลา 15:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • เด็กและเยาวชน คนรุ่งกลาง ตัวแทนผู้สูงอายุ รวม 59 คนมาร่วมกิจกรรม
    • ได้ปลูกไม้ป่าชายเลนได้แก่ แสม 100 ต้น  โกงกางใบเล็ก 200 ต้น รวม 300 ต้น
    • ถ่ายรูปครอบครัวได้ 4 ครอบครัว

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • คนสามวัยรวม 59 คนมาปลูกไม้ป่าชายเลนรวม 300 ต้น ในพื้นที่ปลูก 1 ไร่กว่าๆ  ที่ปลุกต้นโกงกางใบเล็กและต้นแสมเพราะเหมาะสมกับพื้น
    • ผู้หญิงในซอยช่วยกันทำอาหารจึงไม่ได้มาปลูกด้วย
    • เส้นทางที่ค่อนข้างไกลและต้องเดินถือต้นไม้ไปเองคนละ ๕ – ๖ ต้น คนเฒน่าส่วนใหญ่ไม่ไหว จึงส่งคนรุ่งกลางมาแทน ในการปลูกทดแทนครั้งนี้ ทุลักทุเลพอสมควรเพราะทางอบต.ท่าแพ ได้ทำถนนพอดี ทำให้เส้นทางที่จะนำกล้าไม้ลงลำบากหน่อย เพราะต้องเดินถือไป
    • มีบังๆในชุมชนที่เรียนไกลๆกลับบ้านเพราะปิดปีใหม่ ได้มาช่วยขุดหลุมให้น้องๆได้ปลูกทดแทนกัน  ถือว่าเป็นการร่วมมือครั้งแรกจากน้องๆเยาวชนที่เรียนนอกจังหวัด
    • วันนี้แดดร้อนมาก แต่ถือว่าน้องๆเด็กและเยาวชนในพื้นที่สนุกกันใหญ่เลยคะ
    • ต้นไม้ที่เหลือ 200 ต้น จะนำไปปลูกทดแทนในการสำรวจพื้นที่ป่าชายเลนซอยท่าโตดเหมือนทุกครั้งที่ผ่านมา

     

    0 0

    18. 7.เสียงตามสายจากนักสืบน้อย 3/10

    วันที่ 4 มกราคม 2556 เวลา 12:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • นักสืบน้อยชายหญิงรวม 5 คนมาช่วยกันจัดบอร์ดและร่วมทำคริปพร้อมทั้งส่งตัวแทนเเสยงตามสายนักสืบน้อยป่าชายเลน ณ มัสยิดดารุดดีนวิทยา

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • สมาชิกที่มาทำจัดรายการเสียงตามสายหลังละหมาดวันศุกร์ เวลา 12.30 - 13.30 น. วันที่๔  มกราคม  ๒๕๕๖ กิจกรรม ได้แก่
      ๑  เด็กชายอัลดุลเลาะห์ เด่งนุ้ย ๒  เด็กหญิงอฐิตา เส็มหมาด ๓  เด็กหญิงอฐิชา เส็มหมาด ๔  เด็กหญิงตรีญดา หมีดหรน ๕  เด็กหญิงปรีญา เหตุปาตี

    • สคริปรายการประจำเดือนมกราคม ๒๕๕๖ อัสลามมูอาลัยกุมวาเราะห์มาตุลลอฮ์ฮีวาบารอกาอาตุฮ. ผมเป็นตัวแทนของนักสืบน้อยป่าชายเลนประจำเดือนมกราคม ๒๕๕๖ นี่ครับ สำหรับกิจกรรมที่ผ่านมาสภาแกนนำชุมชนและสภาเด็กและเยาวชนบ้านสายควนได้จัดกิจจกรรมอะไรกันบ้าง เดี๋ยวผมจะเล่าให้ฟังครับ วันที่ ๘  ธันวาคม  ๒๕๕๕ อาสาอนุรักษ์ได้สำรวจข้อมูลป่าชายเลน ซอยควนสักครับปรากฏว่าพื้นทีป่าชายเลนยังเป็นพื้นที่ๆอุดมสมบูรณ์อยู่ครับ ไม่มีป่าเสื่อมโทรม มีแค่บางแห่งเท่านั้นที่มีการตัดไม้ และอาสาอนุรักษ์ได้นำต้นโกงกางไปปลูกทดแทนประมาณ ๓๐ ต้น              แล้วครับ ในเรื่องนี้สภาแกนนำชุมชน จะมีการสรุปผลการสำรวจอีกครั้ง  แต่ผมมาแบ่งปันให้ฟังก่อนครับ กิจกรรมต่อมา วันที่ ๒๘  ธันวาคม ๒๕๕๕ มีการประชุมสภาแกนนนำชุมชนและสภาเด็กและเยาวชน ครั้งที่ ๒ ก็มีการสรุปกิจกรรมที่ได้ทำมาพร้อมทั้งแลกเปลี่ยนการแก้ไขปัญหาร่วมกัน และการวางแผน  ผมขอสรุปสาระการประชุมคร่าวๆนะครับ ในการประชุมครั้งนี้มีการปรึกษาหารือถึงการแต่งตั้งคำสั่งสภาแกนนำชุมชนอย่างเป็นทางการ ประธานสภาแกนนำชุมชนคือคนที่เรารู้จักกันดี เป็นคนที่คนในหมู่บ้านให้ความเคารพนับถือ เพราะคนๆนี้ได้เสียสละ  ทำงานเพื่อหมู่บ้านของเรา ช่วยแก้ไขปัญหาหลายๆอย่างให้คลี่คลาย เป็นคนที่น่านับถือ และที่สำคัญเป็นคนที่ใจดี คนๆนี้ คือนายยำยาด อุมายี หรือเราเรียกกันว่าหวาอาด นั้นแหละครับ ส่วนคณะกรรมการมีใครบ้างก็สามารถดูได้จากบอร์ดประชาสัมพันธ์ของนักสืบน้อยได้เลยครับและมีรูปกิจกรรมที่ผ่านมาให้ดูด้วย กิจกรรมต่อมา คือ วันที่ ๒๙  ธันวาคม  ๒๕๕๕ กิจกรรมตั้งกลุ่มนักสืบน้อยป่าชายเลน กิจกรรมนี้แกนนำนอนที่โรงเรียนครับ ตั้งแต่วันที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๕ เพื่อวางแผนการทำงานสนุกทีเดียว เพราะมีกิจกรรมมากมายให้เราได้คิด ได้วางแผน              ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการทำงานจริงๆเป็นครั้งแรก โดยมีการเลือกตั้งคณะกรรมการสภาแกนนำเด็กและเยาวชนบ้านสายควน โดยใช้ระบอบประชาธิปไตย มีการเสนอรายชื่อ ทั้งหมด ๔ คน  คือ เบอร์ ๑ นายโชคชัย เตบสู  เบอร์ ๒  นายอับดุลเลาะห์  เด่งนุ้ย เบอร์ ๓ นางสาวธิภาภรณ์ สำมะเนี๊ยะ เบอร์ ๔นายวิศรุต  เหรบราเย็น  แล้วแต่ละคนมีสิทธิเลือก ๑ คน ๑ คะแนน ๑ เบอร์ เท่านั้น เสร็จแล้วมีฝ่ายเรียกชื่อคะแนน ฝ่ายจดคะแนน ฝ่ายรับกระดาษคะแนน  ฝ่ายตรวสอบ แต่มี ๒ คน คะแนนสูงสุดเท่ากัน คือ นายวิศรุต  เหรบราเย็น และนายอับดุลเลาะห์ เด่งนุ้ย จึงให้สิทธิที่ปรึกษาสภาเด็กและเยาวชนบ้านสายควน นายประพล  อุโหยบ เป็นคนจับฉลาก ซึ่งคนที่ต้องทำงานตำแหน่ง ประธานสภาเด็กและเยาวชนบ้านสายควน คือ นายวิศรุต  เหรบราเย็น              คืนนั้นก็มีการแบ่งหน้าที่ เพราะพี่เลี้ยงบอกว่าพรุ่งนี้แกนนำจะต้องดำเนินการจัดกระบวนการเอง ตั้งแต่ลงทะเบียนเลยละครับ รุ่งขึ้นวันที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๕๕ก็ได้จัดกระบวนการนักสืบน้อยป่าชายเลน มีติดขัดบ้างแต่ก็ผ่านไปด้วยดี ที่สำคัญได้รับความรู้จากวิทยากรในหมู่บ้านในเรื่องประวัติความเป็นมา สมัยก่อนเป็นอย่างไร ปัจจุบันต่างกันอย่างไร และนักสืบน้อยป่าชายเลนก็ได้แบ่งกลุ่มจัดทำหนังสือเล่าเรื่องป่าชายเลนบ้านสายควน หน้าตาเป็นอย่างไร สามารถดูได้จากบอร์ดประชาสัมพันธ์นักสืบน้อยป่าชายเลนนะครับ ยังไม่หมดยังมีการร่วมกิจกรรม ๓ วัยร่วมใจปลูกทดแทน ที่ลานเต่า ซอยควนสัก สนุกมากครับ  เอาละครับผมใช้เวลามากแล้ว ถ้าอย่างไรก็จะมีการเล่าเรื่องเสียงตามสายถึงความเป็นไปของบ้านสายควนเป็นประจำทุกเดือน ไม่ใช่เฉพาะเรื่องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เท่านั้นนะครับ หากมีเรื่องอะไรให้พวกผมและเพื่อนๆ เป็นกระบอกเสียงประชาสัมพันธ์ทางเสียงตามสายและบอร์ดประชาสัมพันธ์นักสืบน้อย ผม        และเพื่อนๆยินดีครับ สุดท้ายหากผมพูดผิดประการใด ก็ขอมาอัฟไว้ ณ ที่นี้ด้วย  วาบิลลาฮีเตาฟิกวันฮีดาย๊ะ วัสลามมูอาลัยกุมวาเราะห์มาตุลลอฮ์อีวาบารากาอาตุฮฺ

    • ผู้ใหญ่สนใจฟังเป็นส่วนใหญ่ มีบ้างที่ต้องรีบกลับไปปฏิบัติภาระกิจ มีการสอบถามเด็กในคำถามต่างๆ เช่น สนุกไหม ได้เจออะไรบ้าง

     

    0 0

    19. 8.ประชุมแกนนำและสภาเด็กและเยาวชน 3/10

    วันที่ 10 มกราคม 2556 เวลา 14:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • มีสมาชิกสภาแกนนำดเด็กฯมาประชุมจำนวน 52 คน
    • มีอบต.เขต นายวรพงศ์  ดำท่าคลอง และ ผู้อวุโสนายยำอาด  อุมายี และผู้ใหญ่อีกหลายท่านมาร่วมประชุม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ที่ประชุมได้กำหนดให้ตัวแทนสภาเด็ก 5 คนเป็นผู้ทำรายงานสรุปผลการสำรวจป่าชายเลนแต่ละครั้ง
    • การสำรวจครั้งต่อไปลงพื้นที่ซอยท่าโตด
    • วางแผนจัดประชุมชาวบ้านเพื่อสร้างมาตรการทางสังคมเรื่องการอนุรักษ์ป่าชายเลน กำหนดปลายเดือน มค. วันที่จะกำหนดอีกครั้ง
    • ที่ประชุมเสนอให้การจัดเสียงตามสายให้มีช่วงก่อนการอ่านคุตบะห์วันศุกร์ เพราะคนจะเยอะกว่า
    • ยังไม่ได้หาวิธีการกำหนดผู้รับผิดชอบป่าชายเลนในแต่ละพื้นที่

     

    0 0

    20. 6.คนสามวัยร่วมใจปลูกป่าชายเลนทดแทน 3/10

    วันที่ 26 มกราคม 2556 เวลา 16:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ผู้รับผิดชอบโครงการได้ขอความอนุเคราะห์พันธุไม้ป่าชายเลน  จำนวน  500 ต้น จากสถานีพัฒนาทรัพยากรป่าชายเลนที่ 36 แต่ได้มาเพียง 200 ต้น พื้นที่ปลูกทดแทนทางเข้าค่อนข้างลำบากเนื่องจากมีพันธ์ไม้ปกคลุมและไม่เคยมีใครเข้าไปดูแลเป็นพื้นที่ว่างประมาณ ครึ่งไร่ การขนย้ายพันธ์ไม้ค่อนข้างลำบากแต่ทั้งเด็ก เยาชนและประชาชนก็ช่วยกันขนย้ายจนได้ปลูกนั้นแหละ
    • ครั้งนี้ใช้เป็นต้นโกงกางใบเล็ก และต้นโกงกางใบใหญ่เพราะบริเวณ          ที่ปลูกเป็นดินโคลน และที่ปลูกเนื่องจากบริเวณนั้นไม่มีต้นโกงกางอยู่เลย เป็นพื้นที่ดินโคลนว่างเปล่าพวกเราจึงช่วยกันปลูกทดแทนหลังจกนั้นเด็กและเยาวชนเมื่อปลูกเสร็จโคลนถึงเข่าจึงอาบน้ำคลองซะเลย          แต่มีผู้ใหญ่คอยดูแลเพื่อความปลอดภัยของเด็กและเยาวชนในพื้นที่เอาเป็นว่างานนี้เด็กและเยาวชนยิ้มแป้นเลยละเพราะไม่เพียงแต่ได้ทำประโยชน์เพื่อสังคมแต่ได้เล่นน้ำคลองเป็นการออกกำลังกายไปด้วยสนุกสนานกันใหญ่
    • รูปครอบครัวที่มาครบ โต๊ะ ป๊ะ ลูก ยังไม่ได้ต้องประชาสัมพันธ์ให้ได้ผลกว่าเดิมในครั้งต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้ปลูกต้นโกงกางใบใหญ่และโกงกางใบเล็ก รวม 200 ต้น
    • ยังไม่มีครอบครัวที่มาครบโต๊ะ ป๊ะ ลูก ต้องเร่งรณรงค์เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ และเป็นการส่งเสริมความสัมพันธ์ในครอบครัว

     

    0 0

    21. 3.สรุปผลการสำรวจและการปลูกป่าชายเลน 1/3 ควนสัก

    วันที่ 26 มกราคม 2556 เวลา 14:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • สมาชิกสภาแกนนำฯมาประชุมรวม 43 คน
    • มีการรับฟังผลการสำรวจป่าชายเลนซอยควนสักอย่างตั้งใจ มีการแลกเปลี่ยนเสนอความคิดเห็นทั่วทั้งที่ประชุม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • รายงานการสรุปผลการสำรวจและการปลูกป่าชายเลน
    • ลูกคลองของซอยควนสักมี จำนวน 7 ลูกคลอง ดังนี้
    1. คลองหมู
    2. คลองลูกหมู
    3. คลองเข้น้ำเค็ม
    4. คลองกรอง
    5. คลองนางสีดา
    6. คลองนาท่าโต๊ะสูฉา
    7. ครองนาท่าก่อโง๊ะ
    • พันธุ์พืชที่พบ
    1. ต้นโกงกางใบใหญ่ (ลำต้นใช้ก่อสร้าง เผาถ่าน สีจากเปลือกใช้ย้อมแห อวน เชือก จะเป็นสีแดง)
    2. ต้นโกงกางใบเล็ก
    3. ต้นสแมขาว (ปีปี) เปลือกต้มรับประทานกับน้ำแก้ท้องร่วง แก้อาเจียน แก้บิด หรือใช้ชะล้างบาดแผล
    4. ต้นฝาดดอกขาว (สุมตม)
    5. ต้นฝาดดอกแดง
    6. ต้นตะบูนขาว (ลูกแซะ)
    7. ต้นตะบูนดำ เนื้อไม้มีสีและลวดลายสวยงาม ใช้ตกแต่งททำ เฟอร์นิเจอร์ และก่อสร้างได้
    8. ต้นสแหม (ไม้แหม)
    9. ต้นขลู่ (ซุมไต๋)
    10. ต้นชำเลือด ( สาบแร่งสาบกา)
    11. ต้นถอดแถบน้ำ (ยันสาวดำ) เป็นไม้เลื้อย
    12. ต้นถั่วขาว (โร๊ย) ลูกต้มหลายๆครั้งนำมากินเนื้อด้านในรสชาติขมๆกิน ด้วยมะพร้าวมขูดน้ำกระทิ ลำต้นใช้ทำฟืน เผาถ่าน ทำเครื่องมือจับปลา (เสาโพงพาง)
    13. ต้นถั่วดำ (หลังกาดัย)
    14. ต้นเทพี (ลูกกาหมีด) เป็นหนาม ไม้เลื้อย
    15. ต้นเป้งทะเล
    16. ต้นโปรงแดง ลำต้นใช้ทำฟืน เผาถ่าน ที่อยู่อาศัย เครื่องมือประมง เปลือกใช้ต้มกับน้ำไว้ชะล้างบาดแผล
    17. ต้นลำพูทะเล (ปาด) รากหายใจช่วยในการดักสิ่งปฏิกูล
    18. ต้นเหงือกปลาหมอดอกขาว
    19. ต้นเหงือกปลาหมอดอกม่วง ต้น ราก ใช้ต้มอาบแก้พิษไข้ ต้นสดตำ ละเอียดเอาพอกปิดหัวฝี
    20. ต้นเหงือปลาหมอดอกเครือ
    21. ต้นหวายลิง
    22. ต้นเสม็ดขาว
    23. ต้นสีอ้ำ
    24. ต้นปรงทะเล
    25. ต้นจาก
    26. ต้นสาหวา
    • พันธุ์สัตว์ที่พบ
    1. หอยตาแดง หอยเข็ม
    2. นกยาง
    3. กุ้งเคย
    4. ปูเปรี้ยว ปูแสม ปูก้ามดาบ
    5. ปลาตีน
    6. ปูเสฉวน

    พันธุ์สัตว์เพิ่มเติม 1. กุ้งกุลาดำ 2. หอยปะ 3. หอย 4. ปูดำ 5. ปลา

    • มีการทำสะพานให้แก่เด็กและเยาวชน เพื่อจะได้ใช้ในสำรวจ เดินทางไปปลูกป่า และใช้ในการจอดเรือลำเล็กของชาวประมง
    • มีการเสนอให้ตั้งชื่อสะพาน ที่ประชุมมีมติให้ใช้ชื่อ สะพานสภาเด็กและเยาวชน

     

    0 0

    22. 3.อาสาอนุรักษ์สำรวจข้อมูลป่าชายเลน 3/3 ท่าโตด

    วันที่ 26 มกราคม 2556 เวลา 14:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • อาสาอนุรักษ์ 21 คน ได้ลงสำรวจป่าชายเลนซอยควนสัก
    • โดยเดินเรือไปทางซอยท่าโตดและวนกลับทางซอยควนสัก
    • มีการจดบันทึกลักษณะพื้นที่ป่า พันธุ์ไม้ พันธ์สัตว์ที่พบ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • พบพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมที่ถูกทำลาย จำนวน  1-2  ไร่
    • พบที่ปากคลองะมีโพงพางดักปลา 2 จุด
    • พันธุ์พืชที่พบ
    1. ต้นโกงกางใบใหญ่  (ลำต้นใช้ก่อสร้าง  เผาถ่าน สีจากเปลือกใช้ย้อมแห อวน เชือก จะเป็นสีแดง)
    2. ต้นโกงกางใบเล็ก
    3. ต้นเป้งทะเล
    4. ต้นสแมขาว (ปีปี) เปลือกต้มรับประทานกับน้ำแก้ท้องร่วง แก้อาเจียน แก้บิด หรือใช้ชะล้างบาดแผล
    5. ต้นตะบูนขาว (ลูกแซะ)
    6. ต้นตะบูนดำ  เนื้อไม้มีสีและลวดลายสวยงาม  ใช้ตกแต่งททำเฟอร์นิเจอร์ และก่อสร้างได้
    7. ต้นฝาดดอกแดง(สุมตม)
    8. ต้นโปร่งขาว
    9. ต้นถั่วดำ (หลังกาดัย)
    10. ต้นถั่วขาว  (โร๊ย) ลูกต้มหลายๆครั้งนำมากินเนื้อด้านในรสชาติขมๆกินด้วยมะพร้าวมขูดน้ำกระทิ  ลำต้นใช้ทำฟืน  เผาถ่าน ทำเครื่องมือจับปลา (เสาโพงพาง)
    11. ต้นเหงือกปลาหมอดอกม่วง (แก้มกูหมอ)  ต้น ราก ใช้ต้มอาบแก้พิษไข้  ต้นสดตำละอียดเอาพอกปิดหัวฝี
    12. ต้นตาตุ่มทะเล (ต้นมูตา)
    13. ต้นลำพูทะเล (ต้นปาด)

    - พันธุ์สัตว์ที่พบ

    1. หอยตาแดง  หอยเข็ม
    2. นกยาง
    3. กุ้งเคย
    4. หอยตีเตบ
    5. หอยปะ
    6. ปลาตีน
    7. ลิง
    8. ตัวเงินตัวทอง
    9. ปลาแกตัง
    10. ปลาแกแดด
    11. หอยเตรีม
    12. นกยาง
    13. นกบีดีเล
    14. นกเขา

     

    0 0

    23. 7.เสียงตามสายจากนักสืบน้อย 4/10

    วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา 12:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • น้องๆ นักสืบน้อย 5 คน ได้นัดประชุมทำคริป  จัดรายการ และจัดบอร์ดที่มัสยิด เกี่ยวกับผลงานของโครงการในเดือน มค.56 จำนวน 1 บอร์ด

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    -  วันที่ ๑  กุมภาพันธ์  ๒๕๕๖ มีผู้มาร่วมประชุมเพื่อทำคริปรายการพร้อมจัดบอร์ดดังนี้ ๑  เด็กชายหัสนัย สุขใจ ๒  เด็กหญิงซีดาร์ เงดหมาน ๓  เด็กหญิงไหมกาโสม หมันสัน ๔  เด็กหญิงซาฟีฉ๊ะ ละใบยูโส๊ะ ๕  เด็กหญิงลาตีฟ๊ะ สำลี

    • สคริปรายการประจำเดือน  กุมภาพันธ์  ๒๕๕๖ อัสลามมูอาลัยกุมวาเราะห์มาตุลลอฮ์อีวาบารากาอาตุฮฺ.  ผมเป็นตัวแทนของนักสืบน้อยป่าชายเลน จากสภาเด็กและเยาวชนบ้านสายควน นี่ก็เป็นครั้งที่ ๔ แล้วในการนำเสนอกิจกรรมที่ผ่านมาของบ้านเรานะครับ เดือนที่ผ่านมาก็มีการประชุมสภาแกนนำชุมชน สภาเด็กและเยาวชนประจำเดือนมกราคม ซึ่งจะมีการประชุมทุกเย็นวันที่ ๑๐ ของเดือน หากใครมีอะไรก็สามารถนำเข้าที่ประชุมได้เลย เพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆร่วมกัน และในการประชุมครั้ง        ที่ผ่านมา สภาเด็กและเยาวชนได้ขอความร่วมมือคนในชุมชนทำสะพานเพื่อเตรียมความพร้อมการตรวจความก้าวหน้าโครงการมหิงสาสายสืบ และเป็นสะพานในการจอดเรือของคนในชุมชนอีกด้วย ซึ่งทางคณะกรรมการสภาแกนนำชุมชนได้ให้ความร่วมมือกันและสร้างให้      วันเสาร์ ที่ ๒๖  มกราคม  ๒๕๕๖ ที่ผ่านมา ทางสภาเด็กและเยาวชนต้องขอขอบคุณปะๆหวาๆชูๆ ทั้งหลายที่ช่วยสร้างสะพานให้นะครับ ขอบคุณมากๆ เพราะหากปะๆหวาๆไม่ช่วยกันก็คงไม่มีสะพานในการอนุรักษ์ต้นตะบูนและไม่มีสะพานสำหรับจอดเรืออย่างแน่นอน ไม่รู้จะบอกยังไง บอกได้แค่ว่าขอบคุณมากๆครับ  และในวันเดียวกัน ก็มีเด็กและเยาวชน อสม. สภาแกนนำชุมชน ได้ร่วมกันปลูกต้นโกงกาง ณ ท่าเรือซอยควนสักอีกด้วย  ยังไม่หมดครับ ยังมีการสำรวจป่าชายเลนซอยท่าโตดอีกด้วย ขอบอกว่าระหว่างทางเรือดับต้องแจวเรือกันละครับ แถมด้วยการหาหอยกาปะด้วยสนุกมาก และในเดือนนี้ก็จะมีการปลูกทดแทนป่าชายเลนซอยท่าโตดด้วย หากพปะๆมะๆน้องๆ ว่างกัน ก็ไปร่วมกิจกรรมด้วยกันนะครับ ผมก็ไม่ขอรบกวนเวลามาก หากใครมีข่าวสารอะไรให้พวกผมช่วยประชาสัมพันธ์ผ่านเสียงตามสายนักสืบน้อยก็ยินดีครับ สุดท้าย ผมและเพื่อนๆจากนักสืบน้อยป่าชายเลน ขอกล่าวคำว่า  วัสสลามมูอาลัยกุมวาเราะห์มาตุลลอฮ์อีวาบารอกาอาตุฮ.

     

    0 0

    24. 8.ประชุมแกนนำและสภาเด็กและเยาวชน 4/10

    วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา 16:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมแลกเปลี่ยนพร้อมพบปะเจ้าหน้าที่จากกรมป่าไมและเจ้าหน้าที่จากกรมส่งเสริมคุณภาพสอ่งแวดล้อม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ครั้งที่ ๔ / ๒๕๕๕ วันที่  ๙  กุมภาพันธ์  ๒๕๕๖ ณ ท่าเรือซอยควนสัก บ้านสายควน ตำบลท่าแพ

    เปิดประชุมเวลา  ๐๙.๓๐ น.

    • นายยำอาด  อุมายี อัสลามมูอาลัยกุมวาเราะห์มาตุลลอฮ์ฮีวาบรอกาอาตุ วันนี้ผมก็ขอต้อนรับและขอบคุณทางกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่มาตรวจความก้าวหน้าโครงการมหิงสาสายสืบของเด็กและเยาวชนในหมู่บ้านถือเป็นโอกาสดีในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหลายๆภาคี และขอขอบคุณนายกองค์การบริหารส่วนตำบลท่าแพ ที่มาร่วมกิจกรรมในครั้งนี้

    • นายวรพงษ์  ฮะอุรา ขอต้อนรับจากคณะจากกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม และขอชื่นชมเด็กและเยาวชนในหมู่บ้านที่ดำเนินกิจกรรมจนมาเป็นสภาเด็กและเยาวชนบ้านสายควนและพร้อมที่จะสนับสนุนโครงการดีๆแบบนี้อย่างต่อเนื่อง

    • นายยำอาด  อุมายี มีเจ้าหน้าที่จากสถานีพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติป่าชายเลนมาร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และชมผลงานน้องๆในวันนี้ เชิญเจ้าหน้าที่พบปะพูดคุยกับเจ้าหน้าที่จากกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม สภาแกนนำชุมชน สภาเด็กและเยาวชน

    • นายอานนท์  อารีมาน เจ้าหน้าที่ตรวจป่า จากสถานีพัฒนาทรัพยากรป่าชายเลน ที่ ๔๑ ขอบคุณครับผมก็กล่าวถึงสภาพป่าชายเลนของตำบลท่าแพที่รับผิดชอบอยู่  มีจำนวน  ๔,๐๐๐ ไร่ อยากให้พวกเราทุกคนช่วยกันดูแลรักษา และขอชื่นชมน้องๆ ลูกๆหลานๆที่รวมกลุ่มกันอนุรักษ์ป่าชายเลน และขอขอบคุณสภาแกนนำชุมชนที่มาในวันนี้และช่วยกันรักษาพร้อมทั้งปลูกป่าชายเลนทดแทน หากโอกาสหน้าผมว่างก็จะขอมาร่วมกิจกรรมด้วย และในโอกาสนี้ผมขอมอบสื่อเอกสารและหนังสือเกี่ยวกับป่าชายเลนให้กับกลุ่มอนุรักษ์

    • นายหรน  สำมะเนี๊ยะ ผมอยากทราบว่าไม้ซีงำ ที่คนส่วนใหญ่ตัดไปนั้น เป็นไม้ประเภทใด เป็นไม้อนุรักษ์หรือไม่

    • นายอานนท์  อารีมาน ไม้ทุกประเภทในป่าชานเลน ถือเป็นไม้ในการอนุรักษ์ทั้งสิ้น แต่โทษความผิดจะไม่เท่ากัน ถ้าไม้ประเภทใดที่หายากเราควรอนุรักษ์ไว้ ซึ่งความผิดก็จะมาก เรื่องการตัดก็อย่างที่รู้กันว่า ไม้ที่ตัดไปตัดไปเพื่ออะไร

    • นายสมศักดิ์  หยีละงู ผมคิดว่าการทางเจ้าหน้าที่มาจับกุมในการตัดไม้ก็ถือว่าเป็นการดีอย่างหนึ่ง จะได้รู้ว่าเขาตัดไม้อาจโดนจับได้ จะได้เกรงกลัวกันบ้าง

    • นายสมหมาย ตุกังหัน ผมก็เป็นคนหนึ่งที่ได้รับความไว้วางใจจากพี่น้องในการทำหน้าที่ สจ.สตูล ก็ขอชื่นชมน้องๆเด็กและเยาวชนในรวมตัวกันทำกิจกรรม ถือเป็นการแก้ไขปัญหาเรื่องเด็กและเยาวชนไม่ให้เด็กมีเวลาว่างมากเกินไป พอมีเวลาว่างเด็กๆจะไปมั่วสุมกับยาเสพติด เราเป็นผู้นำควรอย่างยิ่งที่ต้องสนับสนุนกิจกรรมของเด็ก

    • นายสราวุธ  ขาวพุฒิ ผมก็ขอขอบคุณทุกคนที่มาต้อนรับและได้รู้ว่าที่นี้มีการร่วมมือกัน ในส่วนของเรื่องกิจกรรมเดี๋ยวผมจะคุยนอกรอบอีกครั้ง

    • นางสาวเฟื่องลัดดา ดวนขันธ์ จากการที่ได้ดูหนังสือเล่าเรื่องป่าชายเลนของสภาเด็กและเยาวชน มีสิ่งที่น่าสนใจคือการจักรสานเสื่อเตย ปาหนัน อยากให้น้องๆได้นำไปแบ่งปันที่กรุงเทพหากมีโอกาส

    • นายยำอาด  อุมายี ขอบคุณครับทางสภาแกนนำชุมชนจะดำเนินการเปิดโรงเรียนสนภูมิปัญญาม้องถิ่นให้สภาเด็กและเยาวชนที่สนใจ จากนี้ก็ขอเชิญทางกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมตรวจความก้าวหน้าของเด็กและเยาวชนได้เลย และขอเชิญเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานต่างๆพร้อมทั้งสภาแกนนำชุมชนทุกคนเดินดูผลงานของเด็กและเยาวชนบ้านเราได้ตามสบายเลย และเที่ยงนี้เราจะร่วมรับประทานอาหารเที่ยงร่วมกัน อยากให้ทุกคนได้ร่วมพูดคุยกันในระหว่างนี้ใครมีอะไรจะเสนอหรือสงสัย หรืออยากเสนอแนะอีกไหม ถ้าไม่มีแล้วผมขอขอบคุณทุกคนที่เข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้ อัสลามมูอาลัยกุมวาเราะห์มาตุลลอฮ์อีวาบารอกาอาตุฮ์.

    ประธานปิดประชุม  เวลา ๑๐.๓๐ น.

     

    0 0

    25. 6.คนสามวัยร่วมใจปลูกป่าชายเลนทดแทน 4/10

    วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    สภาเด็กและเยาวชนพร้อมตัวแทนสภาแกนนำชุมชนร่วมปลูกพันธ์ไม้ป่าชายเลนทดแทน กิจกรรมคนสามวัยร่วมใจปลูกป่าชายเลนทดแทน  ครั้งที่ 4
    ประจำเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ ในวันเสาร์ที่  23  กุมภาพันธ์ 2556 เวลา  09.00 – 11.30 น. ณ พื้นที่ป่าชายเลนหัวพาน  บ้านสายควน ผู้รับผิดชอบโครงการได้ขอความอนุเคราะห์พันธุไม้ป่าชายเลน  จำนวน  500 ต้น
    จากสถานีพัฒนาทรัพยากรป่าชายเลนที่ 36 แต่ได้มาเพียง 100 ต้น เพราะทางสถานีบอกว่าต้นกล้าที่เพาะไม่พอสำหรับการขอความอนุเคราะห์ และขอชื่นชมทางแกนนำชุมชนบ้านสายควนที่ขอความอนุเคราะห์พันธ์ไม้ป่าชายเลนจนตอนนี้ทางสถานีเพาะพันธ์ไม้ป่าชายเลนให้ไม่ทันต่อการปลูกทดแทนแล้ว ซึ่งในครั้งนี้แกนนำสภาเด็กและเยาวชนได้ไปขนย้ายกล้าไม้ป่าชายเลนพร้อมสภาแกนนำชุมชนด้วย ตื่นตั้งแต่ 06.00 น. และกลับมาเวลา 09.00 น.พอดี ระหว่างที่สภาแกนนำชุมชนและสภาเด็กและเยาวชนมาอย่างพร้อมเพรียงกัน จึงทำการขนย้ายกล้าไม้ ในครั้งนี้ระหว่างการขนย้ายสะพานข้ามไปปลูกป่าชายเลนนั้นพัง ทำให้สภาแกนนำชุมชนต้องช่วยกันสร้างสะพานเพื่อให้เด็กและเยาวชนปลูกด้วยความปลอดภัย ส่วนที่เหลือก็ร่วมมือกันปลูกทดแทนป่าชายเลนซึ่งในการปลูกครั้งนี้เป็นต้นโกงกางใบใหญ่ ซึ่งเหมาะสมและเติบโตได้ดีบริเวณพื้นที่ดินโคลน ในการจัดกิจกรรมครั้งนี้ทำให้รู้ว่าสภาแกนนำชุมชนตระหนักถึงความปลอดภัยของเด็กและเยาวชนเป็นอย่างมาก และได้รับเสียงการสอบถามว่าเดือนต่อไปเราจะไปปลูกทดแทนที่ไหนอีก นี่คือเสียงสะท้องที่เป็นกำลังใจให้สภาแกนนำชุมชมมีกำลังใจและเป็นแรงผลักดันในการสร้างสรรค์กิจกรรมดีๆให้เกิดขึ้นในหมู่บ้านอีกด้วย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    กิจกรรมคนสามวัยร่วมใจปลูกป่าชายเลนทดแทน  ครั้งที่ 4
    ประจำเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ ในวันเสาร์ที่  23  กุมภาพันธ์ 2556 เวลา  09.00 – 11.30 น. ณ พื้นที่ป่าชายเลนหัวพาน  บ้านสายควน

    • ผู้รับผิดชอบโครงการได้ขอความอนุเคราะห์พันธุไม้ป่าชายเลน  จำนวน  500 ต้น

    • จากสถานีพัฒนาทรัพยากรป่าชายเลนที่ 36 แต่ได้มาเพียง 100 ต้น เพราะทางสถานีบอกว่าต้นกล้าที่เพาะไม่พอสำหรับการขอความอนุเคราะห์ และขอชื่นชมทางแกนนำชุมชนบ้านสายควนที่ขอความอนุเคราะห์พันธ์ไม้ป่าชายเลนจนตอนนี้ทางสถานีเพาะพันธ์ไม้ป่าชายเลนให้ไม่ทันต่อการปลูกทดแทนแล้ว

    • ซึ่งในครั้งนี้แกนนำสภาเด็กและเยาวชนได้ไปขนย้ายกล้าไม้ป่าชายเลนพร้อมสภาแกนนำชุมชนด้วย ตื่นตั้งแต่ 06.00 น. และกลับมาเวลา 09.00 น.พอดี ระหว่างที่สภาแกนนำชุมชนและสภาเด็กและเยาวชนมาอย่างพร้อมเพรียงกัน

    • จึงทำการขนย้ายกล้าไม้ ในครั้งนี้ระหว่างการขนย้ายสะพานข้ามไปปลูกป่าชายเลนนั้นพัง

    • ทำให้สภาแกนนำชุมชนต้องช่วยกันสร้างสะพานเพื่อให้เด็กและเยาวชนปลูกด้วยความปลอดภัย

    • ส่วนที่เหลือก็ร่วมมือกันปลูกทดแทนป่าชายเลนซึ่งในการปลูกครั้งนี้เป็นต้นโกงกางใบใหญ่ ซึ่งเหมาะสมและเติบโตได้ดีบริเวณพื้นที่ดินโคลน ในการจัดกิจกรรมครั้งนี้ทำให้รู้ว่าสภาแกนนำชุมชนตระหนักถึงความปลอดภัยของเด็กและเยาวชนเป็นอย่างมาก

    • และได้รับเสียงการสอบถามว่าเดือนต่อไปเราจะไปปลูกทดแทนที่ไหนอีก

    • นี่คือเสียงสะท้องที่เป็นกำลังใจให้สภาแกนนำชุมชมมีกำลังใจและเป็นแรงผลักดันในการสร้างสรรค์กิจกรรมดีๆให้เกิดขึ้นในหมู่บ้านอีกด้วย

     

    0 0

    26. 7.เสียงตามสายจากนักสืบน้อย 5/10

    วันที่ 1 มีนาคม 2556 เวลา 12:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ตัวแทนนำเสนอข้อมูลกิจกรรมต่างๆก่อนเวลาละหมาดวันศุกร์ตามคำแนะนำของสภาแกนนำชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สคริปรายการประจำเดือน  มีนาคม  ๒๕๕๖ อัสลามมูอาลัยกุมวาเราะห์มาตุลลอฮ์อีวาบารากาอาตุฮฺ.  ผมเป็นตัวแทนของนักสืบน้อยป่าชายเลน จากสภาเด็กและเยาวชนบ้านสายควน นี่ก็เป็นครั้งที่ ๕ แล้วในการนำเสนอกิจกรรมที่ผ่านมาของบ้านเรานะครับ เดือนที่ผ่านมาก็มีกิจกรรมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม สถานีพัฒนาทรัพยากรป่าชายเลนที่ 41 พร้อมด้วยสภาแกนนำชุมชนและแกนนำสภาเด็กและเยาวชน เนื่องจากกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม  มาตรวจสอบความก้าวหน้าโครงการมหิงสาสายสืบของนักสืบน้อยป่าชายเลนด้วย จึงได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน สิ่งที่สำคัญคือเจ้าหน้าที่จากกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมอยากให้นักสืบน้อยป่าชายเลน เรียนรู้เรื่องการจักรสาน ซึ่งเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น และนำไปแบ่งปันตอนที่ไปรับโล่พร้อมประกาศเกียรติคุณที่กรุงเทพฯ และได้ชื่นชมสภาแกนนำชุมชนทุกคนที่ให้ความร่วมมือ ช่วยเหลือ ส่งเสริมกิจกรรมของเด็กและเยาวชน รวมทั้งมีกิจกรรมคนสามวัยร่วมใจปลูกป่าชายเลนทดแทน  ประจำเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ ทางสถานีพัฒนาทรัพยากรป่าชายเลนบอกว่าต้นโกงกางที่เพาะไว้ไม่ทันต่อการปลูกทดแทนของชุมชนแล้ว ไม่รู้ว่าจะดีใจหรือเสียใจดีเพราะว่า เดือนนี้เราจะได้ปลูกต้นโกงกางกันอีกไหม  ในการทำกิจกรรมครั้งนี้ระหว่างการ  ขนย้ายต้นไม้  ปรากฎว่าสะพานที่ใช้ข้ามไปปลูกป่าชายเลนนั้นพัง ทำให้สภาแกนนำชุมชนต้องช่วยกันสร้างสะพานเพื่อให้เด็กและเยาวชนข้ามไปด้วยความปลอดภัย ผมในฐานะที่ทำหน้าที่เสียงตามสายในครั้งนี้ก็ขอขอบคุณทางสภาแกนนำชุมชนมากครับที่ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของเด็กและเยาวชนเป็นอย่างมาก ในการปลูกทดแทนเดือนนี้ผมอยากให้ปะๆ มะๆ  ทุกคนในบ้านสายควน ไปร่วมกิจกรรมกันเยอะๆ  อย่างน้อยจะได้เป็นกำลังใจให้พวกผม  สภาเด็กและเยาวชนในหมู่บ้านต่อไป ผมก็ไม่ขอรบกวนเวลามาก หากใครมีข่าวสารอะไรให้พวกผมช่วยประชาสัมพันธ์ผ่านเสียงตามสายนักสืบน้อยก็ยินดีครับ สุดท้าย ผมและเพื่อนๆจากนักสืบน้อยป่าชายเลน ขอกล่าวคำว่า  วัสสลามมูอาลัยกุมวาเราะห์มาตุลลอฮ์อีวาบารอกาอาตุฮ.

     

    0 0

    27. ติดตามระหว่างดำเนินงานโดย สจรส

    วันที่ 7 มีนาคม 2556 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เสนอผลงานและแลกเปลี่ยน ปัญหา อุปสรรค์ที่เกิดขึ้นระหว่างการดำเนินโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    รายงานผลการดำเนิงาน

     

    0 0

    28. 8.ประชุมแกนนำและสภาเด็กและเยาวชน 5/10

    วันที่ 10 มีนาคม 2556 เวลา 16:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมประจำเดือนมีนาคม 2556

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    รายงานการประชุมสภาแกนนำชุมชนและสภาเด็กและเยาวชน

    ครั้งที่ ๕ / ๒๕๕๕

    วันที่  ๑๐  มีนาคม  ๒๕๕๖

    ณ ศูนย์อบรมคุณธรรมจริยธรรมบ้านสายควน

    เปิดประชุมเวลา  ๑๕.๓๐ น. -  นายยำอาด  อุมายี กล่าวเปิดการประชุม ก่อนเปิดการประชุมให้ผู้เข้าร่วมได้อ่านซูเราะห์อัลฟาติฮะ เพื่อเปิดประชุมด้วยดุอา จากนั้นกล่าวขอบคุณทุกคนที่เข้าร่วมการประชุมและ อยากให้ผู้เข้าร่วมการประชุมได้สะท้อนปัญหาต่างๆของชุมชนและปัญหาของการ ทำงานสสส. -  นายวรพงศ์  ดำท่าคลอง  ผู้รับผิดชอบโครงการกล่าวถึงภารกิจที่จะต้องดำเนินกิจกรรมในรอบเดือนมีนาคม ว่ามีกิจกรรมเสียงตามสายจากนักสืบน้อยซึ่งน้องๆสภาเด็กและเยาวชนได้นำเสนอ ไปแล้ว และกิจกรรมคนสามวัยร่วมใจปลูกทดแทนในช่วงเดือนนี้เราจะปลูก ทดแทนต้นเตยปาหนันกัน ณ นาจีน เวลา ๑๕.๐๐ น. เป็นต้นไป จึงอยากให้ทุกคน ได้เข้าร่วมกิจกรรม ในวันเสาร์ที่ ๓๐  มีนาคม  ๒๕๕๖ -  นายยำอาด อุมายี มีผู้เข้าร่วมประชุมท่านใดจะสอบถามหรือว่าเสนอแนะเพิ่มเติมเชิญครับ -  นายสัน  สำมะเนี๊ยะ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ ๗  ผมขออนุญาตเสนอแนะว่า อยากให้พ่อแม่ของเด็กๆที่ยังไม่ได้ เข้าร่วมกิจกรรมช่วยบอกกับเด็กๆให้ได้เข้าร่วมกิจกรรมกันมากๆ เด็กๆจะได้มี กิจกรรมที่ทำร่วมกัน จะได้ช่วยแก้ไขปัญหาเด็กและเยาวชน ลดปัญหาการใช้เวลา ไปมั่วสุมอย่างอื่น เช่น เล่นเกมร้านอินเตอร์เน็ต ไปมั่วสุมยาเสพติดต่างๆ ช่วงนี้ รู้สึกว่าเด็กๆจะมั่วสุมสิ่งเหล่านี้มาก -  นายดลรอหมาน  เตบสัน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ ๗ ผมอยากเสนอว่า กลุ่มมหิสาสายสืบหรืนักสืบน้อย ป่าชายเลนที่ทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่องอยู่แล้ว ประมาณ ๒๐ คน เราก็ไปชวนเพื่อน ที่เราสนิทมาคนละ ๑ คนเราจะได้สมาชิกเพิ่มมาอีก ๒๐ คน ผมคิดว่าเด็กๆน่าจะ ทำได้ -  ยำอาด อุมายี ก็ถือว่าเป็นแนวคิดที่ดีทั้ง ๒ ท่าน เสนอมา ถ้าแบบนั้นวันที่ ๓๐ มีนาคม ๒๕๕๖ นี้ เวลาบ่าย ๓ โมง อย่าลืมพร้อมกันที่ นาจีนหรือป่าต้นเตยปาหนัน โดยเราไปจอดรถ ที่บ้านเตะเน๊าะ แล้วเดินลงไปทางทิศใต้ประมาณ ๑ กิโลเมตร ถึงที่ปลูกเตยปาหนัน ทดแทน ท่านอื่นมีใครจะเสนออะไรอีกไหม ถ้าไม่มี ผมประชุมในครั้งนี้ อัสลามมู อาลัยกุมวาเราะห์มาตุลลอฮ์อีวาบารอกาอาตุฮ์.

    ประธานปิดประชุม  เวลา ๑๖.๓๐ น.

     

    0 0

    29. อัดรูปนำเสนอกิจกรรมงานข้าวโพดหวาน

    วันที่ 29 มีนาคม 2556 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ได้จัดบอร์ดและนำเสนอผลงานที่ผ่านมา

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จัดบอร์ดนำเสนอผลงานจากโครงการ

     

    0 0

    30. 6.คนสามวัยร่วมใจปลูกป่าชายเลนทดแทน 5/10

    วันที่ 30 มีนาคม 2556 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    กลุ่มจักสารได้เป็นผู้ประสานงานในการปลูกทดแทนในครั้งนี้และมีสภาแกนนำชุมชนพร้อมสภาเด้กและเยาวชนร่วมปลุูกทดแทนต้นเตยปาหนัน ตามแถวเรียงต่อๆกัน

    กิจกรรมคนสามวัยร่วมใจปลูกป่าชายเลนทดแทน  ครั้งที่ 5
    ประจำเดือน มีนาคม 2556 ในวันเสาร์ที่  30  มีนาคม 2556 เวลา  15.30 – 15.45 น. ณ พื้นที่ป่าชายเลนหัวพาน  บ้านสายควน - ผู้รับผิดชอบโครงการได้ประสานกลุ่มจักรสานในหมู่บ้านดำเนินการเพาะพันธ์ต้นเตยปาหนันใส่ถุง โดยเตรียมไว้ก่อนหน้านี้ จนถึงวันนี้ที่มีการปลูกทดแทน
    - เส้นทางไกลพอสมควรเนื่องจากต้องเข้าไปใกล้ป่าชายเลนผ่านบ้านเรือน ผ่านชุมชน ทางกลุ่มจักรสานได้ดำเนินการจัดเตรียมสถานที่สำหรับเพาะปลูกเป็นที่เรียบร้อยแล้ว - เมื่อสภาแกนนำชุมชน สภาเด็กและเยาวชนมาพร้อมเพรียงก็ลุยปลูกทดแทนต้นเตยปาหนัน ซึ่งตอนนี้ถือว่าเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สำคัญ - วัถุดิบที่ใช้ก็เป็นต้นเตยปาหนัน ที่เราต้องปลูกทดแทนเนื่องจากคนในชุมชนหมู่บ้านใกล้เคียง และต่างตำบลมาตัดไปเพื่อทำจักรสานเหมือนกันเพราะบ้านเค้าไม่มีเตยปาหนัน
    - พวกเราดำเนินการปลูกทดแทนเป็นแถวยาวเรียงกันไป บริเวณที่ปลูกก็เหมาะแก่การเจริญเติบโตเนื่องจากปลูกบริเวณดินที่น้ำทะเลท่วมไม่ถึงแต่
    - นี่เป็นครั้งแรกที่พวกเราได้ปลูกทดแทนต้นเตยปาหนันและได้รู้ว่าเราในฐานะที่มีทรัพยากรธรรมชาติท้องถิ่นที่ควรอนุรักษ์เอาไว้เราต้องหาวิธีการกันอีกครั้งในการที่คนนอกพื้นที่เข้ามาใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาตอในท้องถิ่นเรา และทำอย่างไรให้คงอยู่ต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    กิจกรรมคนสามวัยร่วมใจปลูกป่าชายเลนทดแทน  ครั้งที่ 5
    ประจำเดือน มีนาคม 2556 ในวันเสาร์ที่  30  มีนาคม 2556 เวลา  15.30 – 15.45 น. ณ พื้นที่ป่าชายเลนหัวพาน  บ้านสายควน ผู้รับผิดชอบโครงการได้ประสานกลุ่มจักรสานในหมู่บ้านดำเนินกรเพาะพันธ์ต้นเตยปาหนันใส่ถุง โดยเตรียมไว้ก่อนหน้านี้ จนถึงวันนี้ที่มีการปลูกทดแทน เส้นทางไกลพอสมควรเนื่องจากต้องเข้าไปใกล้ป่าชายเลนผ่านบ้านเรือน ผ่านชุมชน ทางกลุ่มจักรสานได้ดำเนินการจัดเตรียมสถานที่สำหรับเพาะปลูกเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เมื่อสภาแกนนำชุมชน สภาเด็กและเยาวชนมาพร้อมเพรียงก็ลุยปลูกทดแทนต้นเตยปาหนัน ซึ่งตอนนี้ถือว่าเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สำคัญ วัถุดิบที่ใช้ก็เป็นต้นเตยปาหนัน ที่เราต้องปลูกทดแทนเนื่องจากคนในชุมชนหมู่บ้านใกล้เคียง และต่างตำบลมาตัดไปเพื่อทำจักรสานเหมือนกันเพราะบ้านเค้าไม่มีเตยปาหนัน  พวกเราดำเนินกรปลูกทดแทนเป็นแถวยาวเรียงกันไป บริเวณที่ปลูกก็เหมาะแก่การเจริญเติบโตเนื่องจากปลูกบริเวณดินที่น้ำทะเลท่วมไม่ถึงแต่  นี่เป็นครั้งแรกที่พวกเราได้ปลูกทดแทนต้นเตยปาหนันและได้รู้ว่าเราในฐานะที่มีทรัพยากรธรรมชาติท้องถิ่นที่ควรอนุรักษ์เอาไว้เราต้องหาวิธีการกันอีกครั้งในการที่คนนอกพื้นที่เข้ามาใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาตอในท้องถิ่นเรา และทำอย่างไรให้คงอยู่ต่อไป

     

    0 0

    31. 7.เสียงตามสายจากนักสืบน้อย 6/10

    วันที่ 5 เมษายน 2556 เวลา 12:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ตัวแทนได้นำเสนอข้อมูลผ่านเสียงตามสายของอบต.ท่าแพ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สคริปรายการประจำเดือน  เมษายน  ๒๕๕๖ อัสลามมูอาลัยกุมวาเราะห์มาตุลลอฮ์อีวาบารากาอาตุฮฺ.  ผมเป็นตัวแทนของนักสืบน้อยป่าชายเลน จากสภาเด็กและเยาวชนบ้านสายควน นี่ก็เป็นครั้งที่ ๖ แล้วในการนำเสนอกิจกรรมที่ผ่านมาของบ้านเรานะครับ เดือนที่ผ่านมาก็มีกิจกรรมประชุมคณะกรรมการสภาแกนนำชุมชนและสภาเด็กและเยาวชน และกิจกรรมปลูกทดแทนครั้งนี้เป็นการปลูกทดแทนเตยปาหนัน และที่สำคัญคือการร่วมกิจกรรมจัดนิทรรศการเทศกาลงานข้าวโพดหวาน อำเภอท่าแพ ในวันที่ 29 -30  มีนาคม  2556  ณ สนามหน้าที่ว่าการอำเภอท่าแพ ที่ทางองค์การบริหารส่วนตำบลท่าแพจัดขึ้น ซึ่งมีกลุ่มจักรสาน กลุ่มดอกไม้ประดิษฐ์ และกลุ่มพวกเราเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ด้วย ซึ่งในกิจกรรมครั้งนี้พวกผมได้พบปะผู้ว่าราชการจังหวัดสตูลด้วย ท่านได้สอบถามที่มาของกลุ่ม กลุ่มทำอะไรบ้าง และท่านก็ได้ฝากให้พวกผมคิดว่าในเมื่อเราทำกิจกรรมแล้วเราต้องรู้ด้วยว่าเราจะให้กลุ่มดำเนินต่อไปได้อย่างไรให้มีความชัดเจนมากขึ้น และฝากให้คนในชุมชนได้ส่งเสริมในส่วนนี้ เพราะปัจจุบันเด็กส่วนใหญ่ใช้เวลาว่างไม่เกิดประโยชน์ เช่นเสพยาเสพติดบ้าง ซิ่งรถจักรยานยนตร์บ้างละ จึงถือการการรวมกลุ่มที่ดี  ที่สำคัญการนำเสนอกลุ่มนักสืบน้อยป่าชายเลนก็ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง ประเภทความคิดสร้างสรรค์ ถือเป็นกำลังใจสำคัญที่จะทำให้พวกผมและเพื่อนๆได้เห็นคุณค่าของการทำกิจกรรมเพื่อสังคมและส่งเสริมให้พวกผมมีกำลังใจที่จะทำกิจกรรมเพื่อชุมชนบ้านสายควนของเราต่อไป  ผมคงรบกวนเวลาเท่านี้นะครับ หากใครมีข่าวสารอะไรให้พวกผมช่วยประชาสัมพันธ์ผ่านเสียงตามสายนักสืบน้อยก็ยินดีครับ สุดท้าย ผมและเพื่อนๆจากนักสืบน้อยป่าชายเลน ขอกล่าวคำว่า            วัสสลามมูอาลัยกุมวาเราะห์มาตุลลอฮ์อีวาบารอกาอาตุฮ.

     

    0 0

    32. 8.ประชุมแกนนำและสภาเด็กและเยาวชน 6/10

    วันที่ 10 เมษายน 2556 เวลา 16:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมประจำเดือนเมษายน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    รายงานการประชุมสภาแกนนำชุมชนและสภาเด็กและเยาวชน

    ครั้งที่ ๖ / ๒๕๕๕

    วันที่  ๑๐  เมษายน  ๒๕๕๖

    ณ ศูนย์อบรมคุณธรรมจริยธรรมบ้านสายควน

    เปิดประชุมเวลา  ๑๕.๓๐ น.

    • นายยำอาด  อุมายี กล่าวเปิดการประชุมประจำเดือนเมษายน ก่อนเปิดการประชุมให้ผู้เข้าร่วมได้ อ่านซูเราะห์อัลฟาติฮะเพื่อเปิดประชุมด้วยดุอา ขอบคุณทุกคนที่เข้าร่วมการ
      ประชุมในวันนี้ ให้ผู้รับผิดชอบโครงการได้รายงานผลการจัดกิจกรรม

    • นายวรพงศ์  ดำท่าคลอง  - การดำเนินกิจกรรมในรอบเดือนที่ผ่านมาเกี่ยวกับปลูกเตยปาหนันทดแทน ผล ดำเนินกิจกรรมลุล่วงไปด้วยดี แต่ยังมีกลุ่มวัยผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรมน้อย จึง อยากให้ทางพ่อแม่พี่น้องได้เข้าร่วมกิจกรรมกันเยอะๆในโอกาสต่อไป - สำหรับกิจกรรมต่อไปที่จะต้องทำในเดือนเมษายนคือโครงการคนเฒ่าเปิด โรงเรียนสอนภูมิปัญญา ชึ่งโครงการนี้เราตั้งกลุ่มเป้าหมายไว้ ๔๐ คน ทั้งเด็กและ เยาวชนและประชาชนพร้อมคณะกรรมการโครงการ ตอนนี้ที่มาลงชื่อไว้ของเด็ก และเยาวชนประมาณ ๒๕ คน  ทำการฝึกอบรมและมีการปฏิบัติจริงโดยมีตัวแทน จากกลุ่มจักรสานใบเตย เป็นวิทยากรให้ความรู้ เพื่อเป็นการสืบทอดภูมิปัญญา ท้องถิ่นของเราไม่ให้หายไปจากชุมชน ตามโปรแกรมเราจะฝึกเป็นเวลา ๓ วัน ให้ เริ่มวันที่ ๒๘ เมษายน ๒๕๕๖ เป็นต้นไป ถ้าหากว่าพ่อแม่คนใดอยากให้ลูกหลาน ได้เข้าร่วมโครงการนี้ ก็ให้ส่งรายชื่อได้ที่น้องฝารีด๊ะ สุวาหลำ - ในวันที่ ๒๗  เมษายน ๒๕๕๖ จะมีการปลูกทดแทนอีกครั้ง จะทำหนังสือแจ้งให้ พี่น้องได้ทราบอีกครั้ง

    • นายสาลี กาสาเอก วันก่อนผมได้ไปตกปูดำใกล้ๆกับที่เราไปปลูกป่าวันก่อน ก็ได้เห็นว่าต้นโกงกางที่ เราปลูกมันเริ่มเติบโตแล้ว

    • นายนราศักดิ์  หมีดหรน จากการที่เราสำรวจวันก่อนหลายเดือนมาแล้วตอนที่เริ่มต้นโครงการใหม่ๆ ณ วันนี้ก็ผ่านมาหลายเดือนแล้ว เราควรจะเข้าไปสำรวจใหม่อีกครั้ง เพื่อเราจะได้เห็น การเปลี่ยนแปลงของป่าที่เราได้ไปปลูกด้วย และเราอาจจะถ่ายภาพเก็บเอาไว้

    • นายยำอาด อุมายี ขอบคุณที่ให้ข้อเสนอแนะ ถือว่าเป็นสิ่งที่ดีเดือนหน้าเราก็ลองลงพื้นที่สำรวจ  บริเวณพื้นที่ๆเราได้ไปสำรวจมาแล้วว่ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง ต้นโกงกาง ที่เราไปปลูกไว้นั้น มันเป็น หรือมันตาย อย่างไรบ้าง

    • นายสหัส  สำมะเนี๊ยะ ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ ๗ ผมมีเรื่องที่จะประชาสัมพันธ์ให้พี่น้องได้ทราบ คือจา การประชุมประจำเดือนที่อำเภอเมื่อวันก่อน ท่านายอำเภอคนใหม่มีนโยบาย เข้ม
      เรื่องการแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยจะร่วมกับทางเจ้าหน้าที่ตำรวจตรวจเข้มเรื่องยา เสพติด จึงอยากฝากบอกถึงพี่น้องว่าช่วยตักเตือนลูกหลานเราด้วย และอีกอย่างถ้า หากพ่อแม่ท่านใดที่มีลูกหลานติดยาเสพติดและต้องการบำบัดก็ให้มาติดต่อได้ที่ ผู้ใหญ่บ้านหรือผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านทุกคน ทางเจ้าหน้าที่ๆเกี่ยวข้องจะช่วยพาบุตร หลานของเราไปบำบัดโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายอะไร และจะมีการส่งเสริมอาชีพ ฝึกอาชีพให้ด้วย

    • นายยำอาด อุมายี พี่น้องท่านใดมีอะไรจะเสนออะไรอีกไหม ถ้าไม่มี ผมประชุมในครั้งนี้ อัสลามมู อาลัยกุมวาเราะห์มาตุลลอฮ์อีวาบารอกาอาตุฮ์.

    ประธานปิดประชุม  เวลา ๑๗.๓๐ น.

     

    0 0

    33. 6.คนสามวัยร่วมใจปลูกป่าชายเลนทดแทน 6/10

    วันที่ 27 เมษายน 2556 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ในการปลูกทดแทนคร้ังนี้แยกที่มาของต้นเตยปาหนันเป็นสองที่มาคือ 1.ได้จากกลุ่มจักรสานที่เพาะเอาไว้ 2.ได้จากการตัดต้นเตยปาหนันจากต้นที่ต้นแน่นนำมาแยกปลูกเพื่อให้ต้นโตเร็ว กิจกรรมครั้งนี้ทำให้เด็กและเยาวชนที่เข้าร่วมกิจกรรมได้รู้จักต้นเตยปาหนันมากยิ่งขึ้นเห็นได้จากการสอบถามของเด็กๆที่ว่าเมื่อก่อนเค้าเอาไปทำอะไร เมื่อก่อนมีเยอะไหม  อดีตมีเฉพาะต้นเตยปาหนันไหม หรือมีชนิดอื่นด้วย จากคำถามที่ได้ฟังรู้สึกว่าเด็กและเยาวชนมีความอยากรู้อยากเห็นเกี่ยวกับต้นเตยปาหนันกว่าคร้ังที่ผ่านมาในการปลูกทดแทน ถือเป็นเสียงที่ได้ยินที่ดีอย่างน้อยเราก็รู้แล้วว่าคณะกรรมการก็ทำให้เด็กและเยาวชนในชุมชนได้รู้จักต้นเตยปาหนัน ได้เห็นคุณค่า ถือเป็นการปลูกจิตสำนึกที่ดีในการอนุรักษ์และหวงแหนทุนของท้องถิ่นต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    กิจกรรมคนสามวัยร่วมใจปลูกป่าชายเลนทดแทน  ครั้งที่ 6

    ประจำเดือน เมษายน  2556

    ในวันเสาร์ที่  27  เมษายน  2556

    เวลา  15.30 – 15.45 น.

    ณ พื้นที่ป่าชายเลนหัวพาน  บ้านสายควน

    • ผู้รับผิดชอบโครงการได้ประสานสภาแกนนำชุมชนและสภาเด็กและเยาวชนในการปลูกทดแทน

    • ในครั้งนี้เป็นการปลูกทดแทนต้นเตยปาหนัน เพราะก่อนที่เราจะรู้จักการสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นการสานเสื่อจากต้นเตยปาหนันเราก็มารู้จักต้นเตยปาหนันกันก่อน

    • โดยการบอกกล่าวของกลุ่มจักสารบ้านสายควนเพื่อให้ความรู้แก่เด็กและเยาวชนในชุมชน

    • และเริ่มปลูกทดแทนในครั้งนี้เป็นบรรยากาศร้อนนิดหน่อย และบริเวณปลูกทดแทนก็เป็นที่โล่ง ในกิจกรรมครั้งนี้ได้ปลูกทดแทนต้นเตยปาหนัน ประมาณ 150 ต้น

    • หลังจากปลูกเสร็จก็นั่งเสวนาการจัดกิจกรรมคนเฒน่าเปิดโรงเรียนสอนภูมิปัญญาท้องถิ่น

     

    0 0

    34. 10. คนเฒ่าเปิดโรงเรียนสอนภูมิปัญญา

    วันที่ 28 เมษายน 2556 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วันแรกละลายพฤติกรรมเด็กและเยาวชนพร้อมเรียนรู้ที่มาของภุิปัญญาและขั้นตอนการผลิตเส้้ตเตย วันที่ 2 เริ่มจักรสาร วันสุดท้ายก็สานต่อจนเสร็จสิ้นกระบวนการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    กิจกรรมคนเฒ่าเปิดโรงเรียนสอนภูมิปัญญา
    ระหว่างวันที่  28  -  30  เมษายน  2556 เวลา  08.30 – 17.00 น. ณ บ้านเลขที่  ซอยหัวพาน  บ้านสายควน

    ผู้รับผิดชอบโครงการได้ประสานกับประธานกลุ่มจักรสานเพื่อมาเป็นวิทยากรให้เด็กและเยาวชนในชุมชน ที่สนใจเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น
    โดยวันแรกวิทยากรได้การนำเสนอข้อมูลและวิธีการได้มาของภูมิปัญญาท้องถิ่น ว่ามีการสืบสานภูมิปัญญานี้มารุ่นต่อรุ่น จนมาถึงรุ่นของวิทยากร แต่มีคนให้ความสำคัญน้อย สมัยก่อนชาวบ้านจักเตยปาหนัน  หลังจากนั้นก็เริ่มกระบวนการที่ 2 ก่อนเนื่องจากแดดร้อยไปตัดเตยไม่ได้กลัวน้องๆจะไม่สบาย
    กระบวนการที่ 2 คืดการย้อมสีเตยปาหนัน วิธีการคือ 1. ต้มน้ำให้เดือด
    2.ใส่สี (เคมี) ประมาณ 1 กำมือหรือ เศษ 1/3
    3. ม้วนเตย 1 กำมือ 4. ใส่เตยลงในหม้อ
    5. คนให้สีเข้าเส้นเตย
    6.ต้มประมาณ 30 นาที
    7. เมื่อต้มเสร็จนำเตยมาตากแดด ให้เวลาประมาณ 30 นาที จนกว่าสีจะแห้งไม่ติดมือ
    ได้เคล็ดลับด้วยน้ำสีที่เหลือเราสามารถนำไปย้อมเสื้อได้ด้วย เสร็จกระบวนก็เย็นแล้ว

    จึงได้เวลาย้อนกลับไปกระบวนที่ 1 คือการตัดเตย
    วิธีการคือ  1.คัดเลือกเตยตามขนาดที่เราต้องการ
    2.เสร็จตัดกลางต้นนำมารวมกัน
    3.หาเชือกสำหรับมัดรวมเตย
    4. ตัดปลายเตยเลือกเฉพาะส้นที่ไม่แก่เกินไปไม่อ่อนเกินไปและไม่ขาด
    5. รวมเป็นชั้นๆเพื่อให้มัดรวมสะดวก
    6.ตัดปลายเตยที่ไม่ต้องการออก
    7.มัดรวมเตย  ก็จะสิ้นสุดกระบวนที่ 1 ในการเตรียมเตย

    วันที่สอง วิทยากรได้จัดกระบวนการสอนภูมิปัญญาท้องถิ่น จักรสานเสื่อใบเตยปาหนัน แต่ว่าไม่มีใครทำเสร็จสักคนเลยอะ จึงมาทำต่อในวันสุดท้าย ในที่สุดความพยายามของน้องๆก็สำเร็จ ทุกคนได้ผลงานเป็นของตัวเองจากฝีมือของตัวเอง และเสียงสะท้องว่าอยากเรียนต่ออีกเพราะได้ความรู้ความ มีความอดทน บางเพราะขั้นตอนยากมาก สนุกและทำให้จิตใจสงบ ได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ มีความสุข มีความรับผิดชอบมากขึ้น  ปิดท้ายด้วยการกล่าวขอบคุณวิทยากรจากตัวแทนสภาเด็กและเยาวชนในการเสียสละเวลามาให้ความรู้ในการสืบสานภูมิปัญญาในครั้งนี้ เป็นส่วนหนึ่งของการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น ในการคิดค้นนวัตกรรมใหม่เราจะ นัดวันกันอีกครั้ง  ในส่วนของคู่มือเราทำไม่ทันและจะนัดกันทำเป็นคู่มืออีกครั้ง ขั้นตอนการก่อและปิดท้ายยากที่สุดเลย  ส่วนที่ชอบก็ขั้นตอนหลังจาก่อแล้วเพราะสานไม่ยาก  และวิทยากรก็อยากให้น้องๆนำความรู้ที่ได้ไปใช้เพราะหากไม่ได้ใช้ประโยชน์เราก็จะลืมและดีใจที่น้องๆสนใจในการศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น สุดท้ายด้วยการจัดกระบวนการนิทรรศการผลงานของหนูและมอบรางวัลจากผู้รับผิดชอบโครงการนั่นคือรางวัลแห่งความภูมิใจอันดับ 1 -2
    รางวัลขวัญใจภูมิปัญญา  และรางวัลขวัญใจวิทยากร 1 รางวัล ผู้รับผิดชอบโครงการฝากในเรื่องของความตั้งใจของน้องๆ อยากให้รักษา เอาไว้ และที่สำคัญคือการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เราได้เรียนรู้ไป ขอบคุณน้องๆทุกคนที่ให้ความสำคัญของการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น และยังมีหลายกิจกรรมที่เราต้องทำไปด้วยกัน ขอบคุณอีกครั้งที่มาร่วมกิจกรรมในครั้งนี้

     

    0 0

    35. 7.เสียงตามสายจากนักสืบน้อย 7/10

    วันที่ 3 พฤษภาคม 2556 เวลา 09.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    น้องๆได้ส่งตัวแทนจัดรายการเสียงตามนักสืบน้อยป่าชายเลนเพื่อแบ่งปันกิจกรรมที่ผ่านมาให้คนชาวท่าแพได้รับทราบ ประชุมทำคริปประจำเดือนพฤษภาคม จัดรายการเสียงตามสาย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สคริปรายการประจำเดือน  พฤษภาคม  ๒๕๕๖


    -อัสลามมูอาลัยกุมวาเราะห์มาตุลลอฮ์อีวาบารากาอาตุฮฺ.ก่อนอื่นก็ต้องขอความสุขจงบรรดาลแก่พี่น้องชาวตำบลท่าแพทุกท่าน

    -  พวกเรากลุ่มสภาเด็กและเยาวชนบ้านสายควน นักสืบน้อยป่าชายเลน หรือกลุ่มมหิงสาสายสืบ

    • ก็มีสิ่งดีๆมาเล่าให้พี่น้องชาวตำบลท่าแพทุกท่านได้รับทราบ

    • ก่อนหน้านั้นก็จะประชาสัมพันธ์กิจกรรมต่างๆที่เกิดขึ้นในหมู่บ้านผ่านทางเสียงตามสายของมัสยิด

    • ครั้งนี้องค์การบริหารส่วนตำบลท่าแพได้ให้โอกาสพวกเรามาร่วมพูดคุยกับพี่น้องชาวตำบลท่าแพ ถึงการทำงานของคนบ้านสายควนว่าเป็นอย่างไร ก่อนอื่นก็ต้องเล่าที่มาก่อนว่าพวกเราได้ทำกิจกรรมโครงการมหิงสาสายสืบจนได้รับความไว้วางใจจากคนในชุมชนให้ร่วมทำกิจกรรมเพื่อชุมชน จึงรวมกลุ่มกันประกอบกับบ้านสายควนมีสภาแกนนำชุมชนอยู่แล้วจึงได้แต่งตั้งพวกเราเป็นสภาเด็กและเยาวชนบ้านสายควน เพื่อการใช้เวลาให้เกิดประโยชน์ ก็คงจะรู้จักกันพอประมาณแล้ว

    • มาถึงการนำเสนอขอมูลการทำกิจกรรมของชุมชนบ้าง เดือนที่ผ่านมาก็มีการประชุมสภาแกนนำชุมชนประจำเดือนเพื่อปรึกษาหารือในการดำเนินงานของชุมชนให้ก้าวหน้า อย่างน้อยได้มีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน พร้อมทั้งการจัดกิจกรรมคนสมวัยร่วมใจปลูกทดแทน

    • โดยพวกเราได้ทำการปลูกทดแทนทั้งต้นโกงกางใบเล็ก โกงกางใบใหญ่  ต้นแสม ต้นเตยปาหนัน มาโดยตลอดที่ผ่านมาก็ปลูกต้นจาก  มีการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นการสานเสื่อจากใบเตยปาหนัน

    • และพวกเราได้ทำคู่มือการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นการสานเสื่อจากใบเตยปาหนันด้วย ซึ่งพี่น้องชาวตำบลท่าแพก็ ได้เห็นเร็วๆนี้

    • พวกเราก็ขอขอบคุณผู้ใหญ่บ้านหมู่ ๗ สมาชิกสภา สภาแกนนำชุมชนทุกท่าน และองค์การบริหารส่วนตำบลท่าแพ ที่โอกาสพวกเราได้นำกิจกรรมที่ทำมาให้พี่น้องชาวตำบลท่าแพได้รับทราบที่สำคัญคือการที่พวกเราได้เรียนรู้การจัดรายการเสียงตามสายในครั้งนี้  หวังว่าเดือนมิถุนายน เราจะมาพบกันอีก

    • สุดท้ายขอกล่าวคำว่า วัสสลามมูอาลัยกุมวาเราะห์มาตุลลอฮ์อีวาบารอกาอาตุฮ.

     

    0 0

    36. การติดตามระหว่างการดำเนินงาน

    วันที่ 6 พฤษภาคม 2556 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    แลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดกิจกรรมพร้อมเสนอเอกสารต่างๆ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    นำเสนอข้อมูลการจัดกิจกรรมในโครงการที่ผ่านมา

     

    0 0

    37. สรุปผลการสำรวจข้อมูลป่าชายเลน 2/3

    วันที่ 10 พฤษภาคม 2556 เวลา 10:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    นำเสนอข้อมูลการสำรวจเขตหัวพาน มีการเสนอให้จัดทำป้ายบอกเขตพื้นที่ป่าชายเลนของชุมชนหมู่ที่ 7 ซึ่งทางคณะกรรมการโครงการจะดำเนินการปรึกษาทางสำนักพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอีกครั้งเพื่อดำเนินการตามเสนอ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    นำเสนอผลการสำรวจป่าชายเลนเขตพื้นที่หมู่ที่ 7 จากการลงพื้นที่สำรวจเขตหัวพาน รายงานการสรุปผลการสำรวจและการปลูกป่าชายเลน (หัวพาน) ครั้งที่ 2 วันที่  10  พฤษภาคม  2556 ณ มัสยิดบ้านสายควน เปิดประชุมเวลา  10.00 น.

    • นายยำอาด  อุมายี อัสลามมูอาลัยกุมวาเราะห์มาตุลลอฮ์ฮีวาบรอกาอาตุ วันนี้เรามาร่วมกิจกรรมสรุปผลการสำรวจและการปลูกป่าชายเลนครั้งที่ 2 ในครั้งนี้จะเป็นการนำเสนอข้อมูลการสำรวจของซอยหัวพาน โดยมีสภาเด็กและเยาวชนได้ลงพื้นที่สำรวจแบ่งออกเป็นสองกลุ่ม คือกลุ่มที่ 1 สำรวจป่าสมบูรณ์ กลุ่มที่ 2 สำรวจป่าเสื่อมโทรม รายละเอียดให้นายวรพงศ์ ดำท่าคลอง นำเสนอข้อมูล
    • นายวรพงศ์  ดำท่าคลอง ก็ตามเอกสารที่ให้ไว้นะครับและดูเพิ่มเติมได้จากบอร์ดประชาสัมพันธ์ จากการปลูกทดแทนเราก็ปลูกต้นโกงกางใบเล็ก โกงกางใบใหญ่ ต้นแสม บริเวณหัวพานและควนสัก ไปแล้วต่อเดือนประมาณ 500 ต้นนะครับ และขอเริ่มสรุปผลการสำรวจป่าชายลเนจากคลองซอยหัวพานที่ใช้เป็นเส้นทางในการประกอบอาชีพ มีทั้งหมด 8 คลองคือคลองโต๊ะหลงมูสา (ท่านา) คลองใบโหด คลองลัด  คลองต้นปาป  คลองป่าจากคลองทะลุไปตำบลสาคร  คลองมาแรกัน (ทะลุไปตำบลท่าเรือ)
      คลองมุนตาด (นาจีน)  หลังจากนั้นนักอนุรักษ์ได้ข้อสรุปการสำรวจพื้นที่ถูก ทำลายจากการตัดไม้เป็นจำนวนมาก ประมาณ ๕ ไร่  และอีกทีมสำรวจป่าสมบูรณ์  ระหว่างการเดินทางบรรยากาศลมพัดเย็นสบาย ต้นไม้ริมน้ำส่วนใหญ่จะเป็นพันธุ์ ไม้เลื้อยต้นเล็กๆเป็นแห่งๆ มีไม้ที่ไม่มีใบแล้วมีแต่ก้านพบเยอะเหมือนกัน
    • ผมขอสรุปผลการสำรวจสั้นๆนะครับว่า จุดเด่นของซอยหัวพานคือ  ต้นจาก และ ต้นเตยปาหนัน  พื้นที่ป่าเสื่อมโทรมที่ถูกทำลาย จำนวน ๕ ไร่ สวนโป สมัยก่อนมี คนจีนชื่อโป มาจับจองที่ดิน ปลูกต้นจาก ต้นมะพร้าวจำนวนมาก ปัจจุบันยังมี ร่องรอยอยู่บ้าง  แต่พวกเราไม่ได้ลงไปดูเพราะแบ่งกันสำรวจตรงจุดที่สำคัญ
    • พันธุ์พืชที่พบ คือ  ต้นโกงกางใบเล็ก  ต้นโกงกางใบใหญ่  ต้นกระเพราะ ปลา  ต้นต้นขลู่ (ซุ่มไต๋)  ต้นจาก  ต้นจิกทะเล  ต้นช้าเลือด (สาบแหร่งสาบกา) ต้นตะบูนขาว (แซะ)  ต้นตะบูนดำ  ต้นตีนเป็ดทะเล (ปุมปง)  ต้นตีนเป็ดทราย ต้นเตยทะเล  ต้นถอบแถบน้ำ (ยันสาวดำ) ต้นถั่วขาว (โรย)  ต้นถั่วดำ (หลังกาดัย) ต้นน้ำนอง (สาวดำเล)  ต้นใบพาย (พบเฉพาะสตูล ภูเก็ต และระนอง) ต้นปรงทะเล ต้นปรงหนู  ต้นปอทะเล ต้นเป้งทะเล ต้นโปรงขาว (แหม)  ต้นฝาดดอกขาว            (สุมตม) ต้นฝาดดอกแดง ต้นพังกา – ถั่วขาว ต้นพังกาหัวสุมดอกแดง ต้นมะคะ (ไข่แพะ) ต้นมะนาวผี ผลกลม ไพร ต้นเตยปาหนัน
    • ส่วนพันธุ์สัตว์ที่พบคือ ไก่เถือน หอยดาแดง  หอยเข็ม ปลาโทง ปลากระบอก ปูตัวเล็กๆ  กุ้งตัวเล็กๆ  มดดำ  มดสีแดงตัวเล็ก
    • นายสัน  สำมะเนี๊ยะ มีเฉพาะบางรูปที่ให้ดู อยากให้มีรูปของแต่ละชนิดเพื่อที่เราจะได้ดู
    • นายวรพงศ์  ดำท่าคลอง บางรูปพวกเราไม่ได้ถ่ายไว้และอีกส่วนหนึ่งเราได้สอบถสมเพิ่มเติมจากพี่น้องที่ประกอบอาชีพประมงแถบนี้ เพราะเวลาเราไม่พอ สำรวจจนเย็นแล้วมีเด็กและเยาวชนด้วยจึงไม่อยากให้กลับช้า แต่ก็ถือว่าเป็นกิจกรรมที่เด็กและเยาวชนสนุกอีกกิจกรมหนึ่ง
    • สรุปมติที่ประชุม หากเรามีข้อมูลอยากให้เพิ่มรายละเอียดการกำหนดเขตพื้นที่ป่าชายเลนของหมู่ที่ 7
    • นายวรพงศ์  ดำท่าคลอง ทางคณะกรรมการเห็นด้วยและจะนำไปประสานงานกับส่วนที่เกี่ยวข้องอีกครั้ง
      • นายยำอาด  อุมายี ใครมีอะไรจะเสนออีกไหม หากไม่มีผมขอปิดการประชุมในวันนี้ วัสลามมูอาลัย กุมวาเราะห์มาตุลลอฮ์อีวาบารากาอาตุฮฺ


        ประธานปิดประชุม  เวลา  11.00 น.

     

    0 0

    38. 8.ประชุมแกนนำและสภาเด็กและเยาวชน 7/10

    วันที่ 10 พฤษภาคม 2556 เวลา 16:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมประจำเดือนพฤษภาคม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    รายงานการประชุมสภาแกนนำชุมชนและสภาเด็กและเยาวชน ครั้งที่ ๗ / ๒๕๕๕ วันที่  ๑๐  พฤษภาคม ๒๕๕๖ ณ ศูนย์อบรมคุณธรรมจริยธรรมบ้านสายควน

    เปิดประชุมเวลา  ๑๖.๐๐ น. นายวรพงศ์  ดำท่าคลอง ผู้รับผิดชอบโครงการกล่าวเปิดการประชุมบอกเล่าถึงความคืบหน้าของโครงการ ว่าตอนนี้โครงการร่วมด้วยช่วยกันสานฝันพัฒนาบ้านเราเข้าสู่ไตรมาศที่๒ ซึ่งยังมี อีกหลายกิจกรรมที่เรายังไม่ได้ดำเนินการ กิจกรรมที่ต่อเนื่องคือ กิจกรรมเสียงตาม สายจากนักสืบน้อยป่าชายเลน  กิจกรรมประชุมสภาแกนนำชุมชนและสภาเด็ก และเยาวชน กิจกรรมคนสามวัยร่วมใจปลูกทดแทน และยังมีกิจกรรมเรียนรู้              ภูมิปัญญาขบคิดนวตกรรมใหม่ กิจกรรมประชาคมเพื่อสร้างมาตรากรทางสังคม - สำหรับโครงการคนเฒ่าเปิดโรงเรียนสอนภูมิปัญญา (เสื่อใบเตย เราได้ทำการเปิด สอนเสร็จเรียบร้อยแล้วเพราะเห็นว่าอยู่ในช่วงปิดเทอมเลยนำเอาโครงการนี้ทำ ก่อนเปิดเทอม
    - ตอนนี้ยังขาดกิจกรรมประชาคมเพื่อสร้างมาตรากรทางสังคม ซึ่งเราก็ได้พูดคุย กันว่าอยากให้รับผิดชอบโครงการได้ค้นหาตัวอย่างหรือโมเดลของชุมชนอื่นที่เขา ทำว่าเขาทำกันอย่างไรแล้วก็ให้นำเสนอเพื่อประยุกต์ให้เข้ากับบริบทชุมชนของเรา เพราะถ้าให้ชาวบ้านช่วยนำเสนอไม่มีใครกล้าเสนอ - สำหรับเรื่องการปลูกป่าตอนนี้พันธ์ไม้โกงกางยังไม่มีเพราะฉะนั้นเดือนนี้เราต้อง ปลูกต้นจากทดแทน เดี๋ยวให้พี่น้องช่วยเสนอวันที่จะปลูกด้วย - สำหรับเรื่องการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ ภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์หาดใหญ่นั้น ผมได้เข้าร่วมกับจังหวัดสงขลา พัทลุง ปัตตานี ยะลา นราธิวาส จริงๆแล้วต้องเข้าร่วมกับจังหวัดโซนภาคใต้ ตอนบนที่จังหวัดตรัง แต่พวกเราไม่มีใครว่างก็เลยไม่ได้เข้าร่วมเพราะฉะนั้นเรา ต้องไปร่วมที่มอ.หาดใหญ่ สรุปผลคร่าวๆของการเข้าร่วมประชุมคือ   - ความคาดหวัง เป้าหมาย ผลการดำเนินงานว่าเป็นอย่างไรบ้าง - แผนและการดำเนินการมีปัญหาอย่างไรบ้าง - ปัญหา อุปสรรค์ที่เกิดขึ้นแก้ไขอย่างไร -  นำเสรอประมาณ 10 นาที ในวันที่ 2 ก็จะมาสรุปภาพรวมของแต่ละพื้นที่ว่าจะทำอย่างไรต่อไปบ้างให้พี่เลี้ยง ร่วมเสนอแนะเตรียมความพร้อมที่จะดำเนินกิจกรรมในไตรมาศที่ 2 ต่อไป นายยำอาด  อุมายี ปัญหาอุปสรรค์ของการทำงานดูแล้วตอนนี้คือการเข้าร่วมกิจกรรมยังขาดคนวัย กลางคนและวัยผู้ใหญ่ จึงอยากให้พวกเราที่เป็นผู้ใหญ่ให้เข้าร่วมกิจกรรมเยอะๆ เดี๋ยวเด็กๆจะหมดกำลังใจ นายสัน  สำมะเนี๊ยะ ผมอยากเสนอให้พวกเราได้ทำโครงการเพาะชำต้นกล้าพันธ์ไม้เป็นของตนเองด้วย ไม่ต้องไปขอสนับสนุนจากสถานีพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติป่าชายเลน ถ้าเรามี แปลงเพาะชำเองก็จะดีมาก และลองหาที่ดูว่าตรงไหนเหมาะสม นายสหัส  สำมะเนี๊ยะ ผมอยากเสนอให้เราทำโครงการเพื่อให้ได้มีถนนตัดผ่านไปตามแนวกับเขต ป่าชายเลน เพื่อความสะดวกในการเดินทาง ต่อไปเราต้องทำที่ตรงนั้นให้เป็น แหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับป่าชายเลน ระบบนิเวศต่างๆ นายวรพงศ์  ดำท่าคลอง เดี๋ยวจะทำหาแนวทางโครงการที่ผู้ใหญ่บ้านเสนอ  และที่นายสหัส  สำมะเนี๊ยะ เสนอ จะนำไปพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าแพเพื่อขอ งบประมาณดำเนินการต่อไป

    ประธานปิดประชุม  เวลา ๑๗.๓๐ น.

     

    0 0

    39. 6.คนสามวัยร่วมใจปลูกป่าชายเลนทดแทน 7/10

    วันที่ 25 พฤษภาคม 2556 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ในครั้งมีการปลูกทดแทนต้นจากซึ่งคนในชุมชนได้เพาะต้นจากเอาไว้ก่อนหน้านี้แล้ว กิจกรรมครั้งนี้จะแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนที่1 เด็กและเยาวชนพร้อมคนในชุมชนร่วมปลูกจากทดแทน จำนวน 100 ต้น ณพื้นที่ป่าชายเลนหัวพาน ส่วนที่ 2 คนในชุมชนร่วมถางหญ้าบริเวณสวนปาล์มของชุมชนใกล้เคียงพื้นที่ปลูกจาก ในกิจกรรมครั้งนี้ถือเป็นการทำประโยชน์ร่วมกันเห็นได้จากการนำจอบ เสียม และถือต้นจากมาอย่างพร้อมเพรียงกัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    กิจกรรมคนสามวัยร่วมใจปลูกป่าชายเลนทดแทน  ครั้งที่ 7
    ประจำเดือน พฤษภาคม  2556 ในวันเสาร์ที่  25  พฤษภาคม  2556 เวลา  15.30 – 15.45 น. ณ พื้นที่ป่าชายเลนหัวพาน  บ้านสายควน

    • ผู้รับผิดชอบโครงการได้ประสานสภาแกนนำชุมชนและสภาเด็กและเยาวชนในการปลูกทดแทน -  ในครั้งนี้เป็นการปลูกทดแทนต้นจากเนื่องด้วยทุนทางสังคมที่เรามีนอกจากต้นเตยปาหนันแล้วยังมีต้นจากอีกด้วย เป็นกิจกรรมการปลูกทดแทนต้นจาก
    • เริ่มต้นด้วยการบอกกล่าวข้อมูลต้นจากให้น้องๆได้รับทราบว่าต้นจากมีประโยชน์อย่างไรบ้าง
    • และทำการปลูกทดแทนประมาณ 100 ต้น ในกิจกรรมครั้งนี้ทางสภาแกนนำชุมชนได้แบ่งเป็นสองกลุ่ม คือ กลุ่มที่หนึ่งทำการปลูกทดแทน
    • กลุ่มที่สองทำการถางหญ้าบริเวณสวนปาล์มใกล้ที่ปลูกต้นจากทดแทน และมาร่วมตัวกันอีดครั้ง
    • เมื่อเสร็จสิ้นกิจกรรมได้เป็นเวทีแลกเปลี่ยนปัญหาและอุปสรรค์ที่พบเจอในการจัดโครงการเพราะส่วนใหญ่เป็นเด็กและเยาวชน
    • และสภาแกนนำชุมชนที่เป็นผู้ชาย ส่วนผู้หญิงก็มีมาร่วมกิจกรรมแต่ยังน้อย จึงมานั่งปรึกษากันว่าจะทำอย่างไร สรุปอยากให้มีการจัดกิจกรรมร่วมภาคีอื่นๆเพื่อกระตุ้นการเข้าร่วมกิจกรรม-

     

    0 0

    40. สรุปผลการสำรวจและการปลูกป่าชายเลน 3/3

    วันที่ 7 มิถุนายน 2556 เวลา 16:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    นำเสนอข้อมูลที่ได้สำรวจ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    รายงานการสรุปผลการสำรวจและการปลูกป่าชายเลน (ท่าโตด) ครั้งที่ 3

    วันที่  7  มิถุนายน  2556

    ณ ศูนย์อบรมคุณธรรมจริยธรรมมัสยิดบ้านสายควน

    เปิดประชุมเวลา  16.30 น.

    • นายยำอาด  อุมายี อัสลามมูอาลัยกุมวาเราะห์มาตุลลอฮ์ฮีวาบรอกาอาตุ วันนี้เรามาร่วมกิจกรรมสรุปผลการสำรวจและการปลูกป่าชายเลนครั้งที่ 3 ในครั้งนี้จะเป็นการนำเสนอข้อมูลการสำรวจของซอยท่าโตด โดยมีสภาเด็กและเยาวชนได้ลงพื้นที่สำรวจแบ่งออกเป็นสองกลุ่ม คือกลุ่มที่ 1 สำรวจป่าสมบูรณ์ กลุ่มที่ 2 สำรวจป่าเสื่อมโทรม รายละเอียดให้นายวรพงศ์ ดำท่าคลอง นำเสนอข้อมูล -  นายวรพงศ์  ดำท่าคลอง ก็ตามเอกสารที่ให้ไว้นะครับและดูเพิ่มเติมได้จากบอร์ดประชาสัมพันธ์ จากการคลองซอยท่าโตดที่ใช้เป็นเส้นทางในการประกอบอาชีพ ดังนี้ 1.  คลองท่าโตด (ทางตัน) 2. คลองต่อไปซอยหัวพาน 3.  คลองต่อไปซอยควนสัก

    • จุดเด่นของซอยท่าโตด คือ  ต้นเป้งทะเล เพรามีเยอะกว่าพื้นที่ๆสำรวจมาและอีกอย่างซอยท่าโตดเป็นซอยตัน จุดเด่นเป็นเส้นทางต่อไปคลองอื่นๆได้ และมีพื้นที่น่าสนใจคือ โขดหินปูน จะเป็นพื้นที่ดินเป็นหินแต่ลงสำรวจไม่ได้เนื่องจากมีปลาแกแดด ปลาแกตัง ซึ่งมีลักษณะเป็นหนาม เป็นห่วงในความปลอดภัยจึงไม่ได้ลง   พื้นที่ป่าเสื่อมโทรมที่ถูกทำลาย จำนวน  1-2  ไร่ ปากคลองจะมีโพงพางดักปลา     แบบสมัยก่อนมีการใช้ไม้ปัจจุบันได้ใช้แกลอนใหญ่ผูกแทน ระหว่างทางมีเรื่องตลกด้วยนั้นก็คือเครื่องเรือไม่ทำงานทำให้ต้องแจวกันละ ตั้ง 3 ครั้งที่ต้องแจว ถือเป็นประสบการณ์ในการแจวเรือพร้อมเสียงหัวเราะเพราะไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ในส่วนของพันธ์พืชและพันธ์สัตว์ที่พบให้ตัวแทนสภาเด็กและเยาวชนได้นำเสนอ

    -  นายอับดุลเลาะห์  เด่งนุ้ย พันธุ์พืชที่พบ- ต้นโกงกางใบใหญ่  (ลำต้นใช้ก่อสร้าง  เผาถ่าน สีจากเปลือกใช้ย้อมแห อวน เชือก จะเป็นสีแดง) -  ต้นโกงกางใบเล็ก -  ต้นเป้งทะเล -  ต้นสแมขาว (ปีปี) เปลือกต้มรับประทานกับน้ำแก้ท้องร่วง แก้อาเจียน แก้บิด หรือใช้ชะล้างบาดแผล -  ต้นตะบูนขาว (ลูกแซะ) -  ต้นตะบูนดำ  เนื้อไม้มีสีและลวดลายสวยงาม  ใช้ตกแต่งททำเฟอร์นิเจอร์ และก่อสร้างได้ -  ต้นฝาดดอกแดง(สุมตม) -  ต้นโปร่งขาว -  ต้นถั่วดำ (หลังกาดัย) -  ต้นถั่วขาว  (โร๊ย) ลูกต้มหลายๆครั้งนำมากินเนื้อด้านในรสชาติขมๆกินด้วย  มะพร้าวมขูดน้ำกระทิ  ลำต้นใช้ทำฟืน  เผาถ่าน ทำเครื่องมือจับปลา (เสา โพงพาง) -  ต้นเหงือกปลาหมอดอกม่วง (แก้มกูหมอ)  ต้น ราก ใช้ต้มอาบแก้พิษไข้  ต้นสด ตำละอียดเอาพอกปิดหัวฝี -ต้นตาตุ่มทะเล (ต้นมูตา) -  ต้นลำพูทะเล (ต้นปาด) พันธุ์สัตว์ที่พบ  หอยตาแดง  หอยเข็ม  นกยาง  กุ้งเคย  หอยตีเตบ  หอยปะ  ปลาตีน ลิง  ตัวเงินตัวทอง ปลาแกตัง ปลาแกแดด หอยเตรีม นกยาง นกบีดีเล นกเขา - นายสุดีน  สำลี รู้ได้ยังไงว่าอะไรทำอะไรเป็นยาอะไรได้บ้าง - นายอับดุลเลาะห์  เด่งนุ้ย  จากการสอบถามของคนในชุมชน - นายสัน  สำมะเนี๊ยะ อยากให้มีป้ายบอกอาณาเขตป่าชายเลนของซอยท่าโตด - นายวรพงศ์  ดำท่าคลอง จะนำไปประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป
    - นายยำอาด  อุมายี ขอขอบคุณทุกการแสดงความคิดเห็น และสภาเด็กและเยาวชนที่เข้าร่วมกิจกรมและร่วมทำกิจกรรมมาโดยตลอดใครมีอะไรจะเสนออีกไหม หากไม่มีผมขอปิดการประชุมในวันนี้ วัสลามมูอาลัย กุมวาเราะห์มาตุลลอฮ์อีวาบารากาอาตุฮฺ

    • ประธานปิดประชุม  เวลา  17.30 น.

     

    0 0

    41. 7.เสียงตามสายจากนักสืบน้อย 8/10

    วันที่ 8 มิถุนายน 2556 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดรายการเสียงตามสายขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าแพ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สคริปรายการประจำเดือน  มิถุนายน  ๒๕๕๖

    • อัสลามมูอาลัยกุมวาเราะห์มาตุลลอฮ์อีวาบารากาอาตุฮฺ.  พบกันอีกแล้วกับพวกเราสภาเด็กและเยาวชนบ้านสายควนในการมาพูดคุยกับพี่น้องชาวตำบลท่าแพทุกท่าน วันนี้ก็มีสิ่งดีๆของชุมชนบ้านสายควนมาฝากกัน อยากรู้ไหมว่าเดือนที่ผ่านมาพวกเรามีกิจกรรมอะไรบ้าง ก็ขอร่วมแบ่งปันกับพี่น้องชาวตำบลท่าแพเลยแล้วกัน

    • กิจกรรมแรกคือเวทีประชุมสภาแกนนำชุมชนและสภาเด็กและเยาวชนบ้านสายควน หารือเกี่ยวกับเรื่องการแนวทางการสร้างมาตรการทางสังคม

    • สรุปวาระการประชุมมอบหมายสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลท่าแพค้นหาข้อมูล แนวทางเพิ่มเติมจากสถานีพัฒนาทรัพยากรป่าชายเลนที่ ๔๑ และสถานีพัฒนาทรัพยากรป่าชายเลนที่ ๓๖ เ

    • เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการสร้างมาตรการทางสังคม และกำหนดขอบเขตพื้นที่ป่าชายเลนของชุมชนให้ชัดเจน

    • ส่วนกิจกรรมต่อมาคือเวที ๓ วัย ร่วมใจปลูกทดแทนต้นจาก ถามว่าทำไมต้องปลูกทดแทน อย่างแรกคือต้องการให้เด็กและเยาวชนรู้ว่าท้องถิ่นของเรามีทรัพยากรที่มีคุณค่ามากมาย บางคนยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่าท้องถิ่นเรามีต้นจาก และประโยชน์จากต้นจากมีอะไรบ้าง  ซึ่งเป็นทุนที่สำคัญในท้องถิ่น

    • วันนี้พวกเราอยากมาแบ่งปันประโยชน์ของต้นจากให้พี่น้องชาวตำบลท่าแพได้รับทราบจากการพูดคุยและการค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม เห็นได้ว่าการใช้ประโยชน์จากใบในปัจจุบันพบเห็นได้น้อยในชุมชนมีเพียงการทำใช้ประโยชน์จากใบอ่อนที่เพิ่มแตกยอดมาทำม้วนบุหรี่สุบ การทำน้ำตาลจากที่กำลังจะหายไปจากชุมชน

    • คนในชุมชนไม่มีการนำต้นจากมาเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของหมู่บ้าน เพราะต้นจากสามารถใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วนทั้งของกินของใช้ เช่น ปงจาก นำมาทำเป็นทุนสำหรับเกาะว่ายน้ำ เพื่อไม่ให้จมได้  ทำเรือ ทำปืนเด็กเล่น หรือดาบก็ได้  ทางจากอดีตมีการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการทำปลอกแจวเรือได้ ทำตับจากก็ได้ ทางจากแก่ชาวประมงยังนำมาทำเป็นตระเกรงย่างปลา  อีกด้วย  ส่วนของใบจาก ใบอ่อนทำตีหมาจากใช้วิดน้ำในเรือได้ เพราะตีหมาจากไม่กินเนื้อไม้ ทำให้เนื้อไม้ไม่เสีย ใบนำมาห่อขนมจาก ใบแก่เย็บเป็นตับจากใช้มุงหลังคาได้  ซึ่งใบจากทนความร้อนได้ดี ทำฝาชีครอบกับข้าวก็ได้  ส่วนก้านจากสามารถนำมาทำเสวียงหม้อและไม้กวาดได้อีก ในส่วนของผู้ประกอบการนากุ้งอดีตนำน้ำตาลจากไปหมักผสมกับอาหารกุ้งช่วยให้น้ำในบ่อกุ้งไม่เน่าเสียแต่ปัจจุบันจากการสอบถามในพื้นที่ไม่มีบ่อกุ้งไหนเลยที่ใช้ประโยชน์จากต้นจากเหมือนอดีตที่ผ่านมา  เป็นยังไงกันบ้างในการการแบ่งปันกิจกรรมในชุมชนและที่สำคัญคือประโยชน์ของต้นจาก เห็นไหมละว่าต้นจากมีประโยชน์มากมาย เพียงแต่เราบางคนมองข้าเพราะมัวแต่หลงไหลวัตถุนิยม หลงใหลกระแสวัฒนธรรมตะวันออก จนลืมภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีมาจากบรรพบุรุษ

    • หากใครอยากรู้ข้อมูลเพิ่มเติมก็ติดต่อได้ที่ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ ๗  สภาแกนนำชุมชนทุกท่าน และสภาเด็กและเยาวชนบ้านสายควนกันได้

    • สำหรับวันนี้ขอกล่าวคำว่าวัสสลามมูอาลัยกุมวาเราะห์มาตุลลอฮ์อีวาบารอกาอาตุฮ.

     

    0 0

    42. 8.ประชุมแกนนำและสภาเด็กและเยาวชน 8/10

    วันที่ 10 มิถุนายน 2556 เวลา 16:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมประจำเดือนมิถุนายน 2556

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    รายงานการประชุมสภาแกนนำชุมชนและสภาเด็กและเยาวชน

    ครั้งที่ ๘ / ๒๕๕๕

    วันที่  ๑๐  มิถุนายน  ๒๕๕๖

    ณ ศูนย์อบรมคุณธรรมจริยธรรมบ้านสายควน

    เปิดประชุมเวลา  ๑๕.๓๐ น.

    -  นายวรพงศ์  ดำท่าคลอง    กล่าวเปิดการประชุมในวันนี้ และประธานสภาแกนนำชุมชนติดภารกิจ ไม่สามารถเข้าร่วมประชุมกับพี่น้องได้จึงให้ผมช่วยดำเนินกิจกรรมตาม แผน
    - ก่อนอื่นผมก็ต้องขอขอบคุณพี่น้องทุกคนที่เข้าร่วมกิจกรรมการปลูก ทดแทนต้นจาก มีพี่น้องร่วมกิจกรรมหลายคน - นอกจากนี้เรายังได้ติดป้ายประชาสัมพันธ์การอนุรักษ์ป่าชายเลน ตอนนี้ เขตป่าชายเลนที่เราปลูกซอยหัวพานเราได้ติดตั้งเรียบร้อยแล้ว และในครั้ง ต่อไปเราจะไปติดที่ซอยท่าโตด และซอยควนสัก เป็นลำดับต่อไป -  สำหรับเงินโครงการของงวดที่ ๒ เราได้เปิดมาแล้วเมื่อวันที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๕๖ เป็นเงิน ๔๐,๐๐๐.-บาท เพื่อมาดำเนินกิจกรรมต่อไป

    • นายสหัส  สำมะเนี๊ยะ ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ ๗ อยากให้พื้นที่ๆเราไปปลูกต้นจากวันก่อนนั้น โอกาสต่อไปเราน่าจะเอาต้นเตยปาหนันไปปลูกด้วย อนาคตต่อไปเอาจะ ทำเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชนเกี่ยวกับต้นไม้ที่ขึ้นบริเวณป่าชายเลน เพราะยังมีพื้นที่ให้เพาะปลูกอีกมาก

    -  นายสุดีน  สำมะเนี๊ยะ ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ ในวันที่เราไปปลูกต้นจากวันก่อนผมเห็นรอยคน ตัดต้นแหม ๒ – ๓ ต้น อยากให้เราช่วยกันดูแลรักษาด้วยอย่าให้ใครเข้ามา ตัดต้นไม้ในบริเวณนั้น

    • นายสมศักดิ์  หยีละงู ผมคิดว่าคนที่ตัดคงมีไม่กี่คนเราก็รู้อยู่ ถ้าเป็นไปได้เราก็ทำเป็นว่าไปบอก เขาให้ช่วยดูแลรักษาอย่าตัดต้นไม้ในเขตพื้นที่ของเรา และตอนนี้เราก็ติด ป้ายไว้แล้ว ผมคิดว่าเขาคงไม่กลับมาตัดต้นไม้อีก อยากให้ทุกคนช่วยกัน สอดส่องดูแลรักษา

    • นายวรพงศ์  ดำท่าคลอง เป็นสิ่งที่ดีที่เราควรช่วยกันสอดส่องดูแล  และกิจกรรมในเดือนหน้าเราจะ ปลูกทดแทนป่าชายเลนในเขตพื้นที่ซอยท่าดตด สุดซอยโดยให้-

    • นายสาลี กาสาเอก ช่วยเก็บลูกโกงกางให้สัก ๕๐๐ ลูก เพื่อใช้ในการปลูกครั้งต่อไป

    • นายสาลี  กาสาเอก เดี๋ยวผมจะเก็บมาให้

    • นายวรพงศ์  ดำท่าคลอง ทางคณะกรรมการจะมีค่าแรงให้ และอยากให้ทุกคนเข้าร่วมกิจกรรมครั้ง นี้ด้วย พี่น้องท่านใดมีอะไรจะเสนอเพิ่มเติมอีกไหม ถ้าไม่มี ผมประชุมใน วันนี้ อัสลามมูอาลัยกุมวาเราะห์มาตุลลอฮ์อีวาบารอกาอาตุฮ์.

    ประธานปิดประชุม  เวลา ๑๗.๓๐ น.

     

    0 0

    43. 6.คนสามวัยร่วมใจปลูกป่าชายเลนทดแทน 8/10

    วันที่ 29 มิถุนายน 2556 เวลา 14:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    กิจกรรมคนสามวัยร่วมใจปลูกป่าชายเลนทดแทน  ครั้งที่ 8

    ประจำเดือน มิถุนายน  2556

    ในวันเสาร์ที่  29  มิถุนายน  2556

    เวลา  15.30 – 15.45 น.

    ณ พื้นที่ป่าชายเลนหัวพาน  บ้านสายควน

    • ผู้รับผิดชอบโครงการได้ประสานสภาแกนนำชุมชนและสภาเด็กและเยาวชนในการปลูกทดแทน ในครั้งนี้เป็นการปลูกทดแทนต้นจาก จำนวน 100 ต้น
    • ในครั้งนี้พันธ์ต้นจากที่ชาวบ้านเพราะไว้ไม่เพียงพอต่อการปลุกทดแทนเพราะมีคนร่วมกิจกรรมเยอะกว่าเดือนที่ผ่านมา ทำให้ต้องปลูกร่วมกัน
    • หลังกิจกรรมเสร็จสิ้นสภาแกนนำชุมชนได้ช่วยกันแต่งสะพานข้ามคลองเพื่อความปลอดภัยแก่เด็กและเยาวชนที่เข้าร่วมกิจกรรม
    • ร่วมกันติดตั้งป้ายอนุรักษ์ป่าชายเลนที่ได้เตรียมไว้ในกิจกรรมครั้งนี้ทำให้เราเห็นความร่วมมือมากขึ้นในการเห็นความสำคัญและการช่วยเหลือกันของคนในชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ปลูกทดแทนต้นจาก
    • ปลูกเสร็จก็ช่วยกันติดป้ายประชาสัมพันธ์อนุรักษ์
    • ช่วยกันทำสะพานข้าม

     

    0 0

    44. 7.เสียงตามสายจากนักสืบน้อย 9/10

    วันที่ 6 กรกฎาคม 2556 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • จัดรายการเสียงตามสายจากนักสืบน้อยประจำเดือนตามคริป
    • นำเสนอข้อมูลพูดคุยนอกคริป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • สคริปรายการประจำเดือน  กรกฎาคม  ๒๕๕๖
    • อัสลามมูอาลัยกุมวาเราะห์มาตุลลอฮ์อีวาบารากาอาตุฮฺ.
        ก่อนอื่นก็ต้องขอความสุขจงบรรดาลแก่พี่น้องชาวตำบลท่าแพทุกท่าน พวกเรากลุ่มสภาเด็กและเยาวชนบ้านสายควน   มาแบ่งปันกิจกรรมดีๆของชาวบ้านสายควน ประจำเดือนมิถุนายนที่ผ่านมากันนะคะ คือทางสภาแกนนำชุมชนได้จัด   กิจกรรมสรุปผลการสำรวจและการปลูกป่าชายเลนของบ้านสายควนจากการสำรวจพื้นที่ป่าชายเลนท่าโตดทำให้เรา   ทราบว่าพันธ์ไม้ป่าชายเลนได้ถูกตัดและพื้นที่ป่าชายเลนมีลักษณะแตกต่างกันออกไป และกิจกรรมต่อมาคือ   การประชุมสภาแกนนำและสภาเด็กและเยาวชนบ้านสายควนสรุปมติที่ประชุมอยากให้มีการอนุรักษ์พันธ์ไม้ป่าชายเลน   เพิ่มขึ้นและมีแหล่งเรียนรู้เพื่อที่จะให้ได้ศึกษาต่อไป กิจกรรมต่อมาคือกิจกรรมคนสามวัยร่วมใจปลูกทดแทนโดย   ครั้งนี้จะปลูกทดแทนต้นจากจำนวน 100 ต้น ดีใจมากที่ผู้ใหญ่ในชุมชนให้ความสำคัญและร่วมกิจกรรมมากขึ้น
        จากที่เราได้นำเสนอข้อมูลประโยชน์ของป่าชายเลน ประโยชน์ของต้นเตยปาหนัน ประโยชน์ของต้นจากไปแล้ว
        พวกเราหวังว่าการแบ่งปันที่ผ่านมาคงจะเป็นการแลกเปลี่ยนสิ่งดีๆเพื่อให้ชาวพี่น้องตำบลท่าแพได้รับทราบทั่วกัน
        ยังไงก็ขอเชิญร่วมกิจกรรมกับพวกเราได้ในการปลูกป่าชายเลนทดแทนซึ่งจะจัดกิจกรรมทุกเดือน หากสงสัยหรือ   มีข้อสักถามก็สามารถติดต่อสภาแกนนำชุมชนบ้านสายควน สภาเด็กและเยาวชนบ้านสายควน
        สมาชิกสภาอบต.ท่าแพ หมู่ที่ 7 ได้เลย  สุดท้ายพวกเราก็ขอขอบคุณผู้ใหญ่บ้านหมู่ ๗ สมาชิกสภา
        สภาแกนนำชุมชนทุกท่าน และองค์การบริหารส่วนตำบลท่าแพ ที่โอกาสพวกเราได้นำกิจกรรมที่ทำมา   ให้พี่น้องชาวตำบลท่าแพได้รับทราบที่ หวังว่าเดือนสิงหาคม  เราจะมาพบกันอีก
        สุดท้ายขอกล่าวคำว่า วัสสลามมูอาลัยกุมวาเราะห์มาตุลลอฮ์อีวาบารอกาอาตุฮ.

     

    0 0

    45. 6.คนสามวัยร่วมใจปลูกป่าชายเลนทดแทน 9/10

    วันที่ 7 กรกฎาคม 2556 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เยาวชนและชาวบ้านรวม  50 คนปลูกทดแทนป่าชายเลน ต้นโกงกางใบเล็ก โกงกางใบใหญ่ จำนวน 500 ต้น ณ พื้นที่ป่าชายเลนซอยท่าโตด

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ปลูกทดแทนป่าชายเลน ต้นโกงกางใบเล็ก โกงกางใบใหญ่ จำนวน 500 ต้น
    ณ พื้นที่ป่าชายเลนซอยท่าโตด ได้พื้นที่ครึ่งไร่

     

    0 0

    46. 8.ประชุมแกนนำและสภาเด็กและเยาวชน 9/10

    วันที่ 10 กรกฎาคม 2556 เวลา 16:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    แกนนำและสภาเด็กเยาวชนรวม 55 คนร่วมประชุมสรุปผลงานประจำเดือนกรกฎาคม และวางแผนการทำงานกิจกรรมต่างๆ เดือนต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลสรุปของการประชุม ได้แก่

    1. เหลือการปลูกครั้งสุกท้ายจะใช้พื้นที่หัวพานเพราะจะนำเป็นศูนย์เรียนรู้ต่อไป
    2. ในการกิจกรรมอยากให้มีภาคีร่วม ซึ่งที่ประชุมมีมติให้ผู้รับผดชอบโครงการเชิญกลุ่มต่างๆที่รู้จักและเสนอเพิ่มเติมศูนย์พัฒนาสังคมที่ 57 สตูล และสถานีพัฒนาป่าชายเลนที่ 41 สตูล
    3. มาตราการทางสังคมเสนอให้คณะกรรมการร่างมาก่อนตามที่ได้แจกไปมติที่ประชุมให้แจกกลุ่มเป้าหมายในชุมชนเพื่อจะได้ครอบคลุมกว่ากาีรประชาคมและได้ข้อมูลที่ชัดเจนกว่า
    4. ในการปลูกคร้ังสุดท้ายอยากให้ขอพันธ์ไม้ 1,000 ต้น
    5. ให้เด็กประชาสัมพันธ์ทางเสียงตามสายของอบต.ท่าแพอีกครั้ง

     

    0 0

    47. 11.นักเรียนเรียนรู้ภูมิปัญญาขบคิดผลิต

    วันที่ 26 กรกฎาคม 2556 เวลา 16:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เด็กและเยาวชนได้ร่วมประชุมสรุปความคิดเห็นโดยแบ่งเป้น 3 กลุ่ม สรุปนวตกรรมใหม่จากที่เด็ฏและเยาวชนคิดคือ

    1. โมบายปลาตะเพียน
    2. กุจแจสานเสื่อเตยน้อย
    3. กุจแจดอกไม้
      และเพิ่มเติมหากระยะเวลาทันก็จะทำที่ใส่โทรศัพท์มือถือ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    วันแรกประชุมสรุปผลการระดมความคิดเห็นว่าจะทำอะไร สรุปได้ 3 อย่างคือ

    1. โมบายปลาตะเพียน
    2. กุจแจสานเสื่อเตยน้อย
    3. กุจแจดอกไม้
      และเพิ่มเติมหากระยะเวลาทันก็จะทำที่ใส่โทรศัพท์มือถือ

    ในวันที่ 2 วิทยากรเริ่มสอนไปพร้อมๆกันในการทำกิจกรรมนวตกรรมใหม่เป็นงานละเอียดอ่อนทำให้วันที่สองเด็กและเยาวชนได้ชิ้นงานเพียงบางคนเท่านั้นและบางคนได้นำกลับไปทำที่บ้านในเวลากลางคืน

    วันที่ 3 เด็กและเยาวชนได้นวตกรรมใหม่ของแต่ละกลุ่มและขอว่าอยากเรียนของกลุ่มอื่นด้วยจึงนัดกันวันเสาร์นี้เรียนอีกครั้งหนึ่ง

     

    30 30

    48. 7.เสียงตามสายจากนักสืบน้อย 10/10

    วันที่ 2 สิงหาคม 2556 เวลา 12:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • นักสืบน้อยจัดรายกานทางเสียงตามสายมี่มัสยิดตามสคริปรายการที่เตรียมไว้
    • มีการแบ่งหน้าที่ให้อีกกลุ่มจัดบอร์เกี่ยวกับผลงานของเดือนที่ผ่านมาไว้ที่หน้ามัสยิด

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สคริปรายการประจำเดือน  สิงหาคม  ๒๕๕๖ อัสลามมูอาลัยกุมวาเราะห์มาตุลลอฮ์อีวาบารากาอาตุฮฺ.  ก่อนอื่นก็ต้องขอความสุขจงบรรดาลแก่พี่น้องชาวตำบลท่าแพทุกท่าน พวกเรากลุ่มสภาเด็กและเยาวชนบ้าน          สายควนมาแบ่งปันกิจกรรมดีๆของคนในชุมชนบ้านสายควน กิจกรรมที่ว่านี่คือทางสภาแกนนำชุมชนและสภาเด็กและเยาวชนบ้านสายควนจะมีกิจกรรมคนสามวัยร่วมใจปลูกทดแทน เทิดพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ในวันที่  24  สิงหาคม 2556  ณ ป่าชายเลนหัวพาน บ้านสายควน หมู่ที่ 7 ตำบลท่าแพ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล ทางเราก็ขอเชิญชวนพี่น้องชาวตำบลท่าแพทุกท่านมาร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ โดยเฉพาะการร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการปลูกทดแทน เทิดพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ การสร้างมาตรการทางสังคมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยใช้ทุนท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์สูงสุด และจะมีเจ้าหน้าที่จากสถานีพัฒนาทรัพยากรป่าชายเลนที่ 41 ร่วมพูดคุยความสำคัญและประโยชน์ของป่าชายเลน พร้อมร่วมตอบคำถามและมอบรางวัลแก่เด็กและเยาวชนที่ร่วมแสดงความคิดเห็นด้วย ยังไม่หมดยังมีผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาสังคม หน่วยที่ 57 จังหวัดสตูล พบปะผู้เข้าร่วมโครงการ และยังมีภาคีร่วมจากลุ่มต่างๆภายในตำบลท่าแพมาร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ด้วย จึงขอเชิญชวนทุกๆคนร่วมเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญในกิจกรรมครั้งนี้  มาร่วมกิจกรรมได้ตั้งแต่เวลา 10.00 น.เป็นต้นไป อยากให้มากันเยอะๆ พวกเราสภาเด็กและเยาวชนบ้านสายควนหวังว่าคงได้พบเจอกับพี่น้องตำบลท่าแพทุกๆคน สุดท้ายพวกเราก็ขอขอบคุณประธานสภาแกนนำชุมชนผู้ใหญ่บ้านหมู่ ๗ สมาชิกสภา กรรมการสภาแกนนำชุมชนทุกท่าน และองค์การบริหารส่วนตำบลท่าแพ ที่โอกาสพวกเราได้นำกิจกรรมที่ทำมาให้พี่น้องชาวตำบลท่าแพได้รับทราบและร่วมกิจกรรม สุดท้ายขอกล่าวคำว่า วัสสลามมูอาลัยกุมวาเราะห์มาตุลลอฮ์อีวาบารอกาอาตุฮ.

     

    0 0

    49. 8.ประชุมแกนนำและสภาเด็กและเยาวชน 10/10

    วันที่ 10 สิงหาคม 2556 เวลา 16:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประธานแกนนำสภาฯ นำการประชุมเพื่อวางแผนการทำงานกิจกรรมปลูกป่า การนำเสนอมาตรการทางสังคม การติดป้ายมาตรการ โดยแบ่งหน้าที่รับผิดชอบให้แต่ละฝ่ายไปเตรียมงาน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สรุปมติที่ประชุม

    1 .คนสามวัยร่วมใจปลูกทดแทน เทิดพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ จะดำเนินการวันที่ 24 ส.ค. 2556

    1. มีภาคีร่วม คือ อบต.ท่าแพ กลุ่มเยาวชนคนรักท่าแพ กลุ่มเยาวชนหมู่ที่ 1 กลุ่มอนุรักษ์หมู่ที่ 6 ตัวแทนจากหมู่ที่ 3 ตัวแทนจากหมู่ที่ 10 ศูนย์ 3 วัยสานสายใยรักแห่งครอบครัวตำบลท่าแพ จังหวัดสตูล ผู้ใหญ่บ้านทุกหมู่บ้าน โรงเรียนบ้านสายควน สถานีพัฒนาทรัพยากรป่าชายเลนที่ 41 (ท่าแพ จ.สตูล) ศูนย์พัฒนาสังคมหน่วยที่ 57 ท่าแพ จังหวัดสตูล และสภาแกนนำชุมชน สภาเด็กและเยาวชนบ้านสายควน รวมทั้งประชาชนในพื้นที่

    2. นำเสนอมาตรการทางสังคมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติป่าชายเลน

    3. ติดป้ายประชาสัมพันธ์เขตอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติป่าชายเลน หมู่ที่7

    4. แบ่งความรับผิดชอบตามโคงการมีอะไรก็ให้ช่วยๆกัน

     

    0 0

    50. 9.ประชาคมเพื่อมาตรการทางสังคม

    วันที่ 23 สิงหาคม 2556 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    นำแบบสอบถามที่ทุกคนได้กรอกข้อมูลว่าเห็นด้วย หรือไม่เห็นด้วย และควรเพิ่มเติมแก้ไขมากตราการทางสังคมที่ให้ไปนำมาสรุปและได้นำเสนอที่ประชุมจะทำไวนิลติดตอนกิจกรมคนสามวัยร่วมใจปลูกทดแทน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    มาตราการทางสังคมดังนี้

    1. จัดตั้งสภาแกนนำชุมชนเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
    2. ผู้จะใช้ประโยชน์จากไม้โกงกาง แสม ตะบูน ฯลฯ  ต้องขออนุญาตจากผู้ใหญ่บ้าน
    3. จัดทำเอกสารการใช้ประโยชน์ไม้โกงกาง แสม ตะบูน ฯลฯ  เพื่อเป็นข้อมูลในการอนุรักษ์
    4. ติดประกาศเขตอนุรักษ์ป่าชายเลน ซอยหัวพาน ซอยควนสัก  ซอยท่าโตด
    5. ประกาศเขตอนุรักษ์ต้นเตยปาหนัน
    6. ประกาศเขตอนุรักษ์ต้นจาก
    7. ฝึกอบรมเยาวชนด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
    8. ให้ความรู้การใช้ประโยชน์จากธรรมชาติอย่างประหยัด
    9. อบรมการใช้ประโยชน์จากต้นจาก
    10. รณรงค์การใช้ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติเช่นเสื่อจากเตยปาหนัน หมวกตุดง เป็นต้น
    11. ปลูกป่าชายเลนทดแทน
    12. ส่งเสริมการปลูกป่าชายเลน
    13. สื่อเสียงตามสายของมัสยิดโดยนำความรู้ด้านการอนุรักษ์เผยแพร่ให้กับประชาชน เพื่อสร้างความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้อง เกี่ยวกับทรัพยากร
    14. สภาแกนนำชุมชนควรได้รับการยกย่อง มีประกาศเกียรติคุณ
    15. สภาเด็กและเยาวชนควรได้รับการยกย่อง มีประกาศเกียรติคุณ
    16. ต้องมีกองทุนอนุรักษ์ป่าชายเลน

     

    50 50

    51. 6.คนสามวัยร่วมใจปลูกป่าชายเลนทดแทน 10/10

    วันที่ 24 สิงหาคม 2556 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    กำหนดการ คนสามวัยร่วมใจปลูกทดแทน เทิดพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ       วันที่    24  สิงหาคม 2556   ณ ป่าชายเลนหัวพาน บ้านสายควน หมู่ที่ 7 ตำบลท่าแพ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล    
    09.00  -  10.00 น. ลงทะเบียน 10.00 – 10.15 น. พร้อมกัน ณ เต็นท์พิธีการ 10.15 – 10.30 น. กล่าวต้อนรับ โดยนายสัน  สำมะเนี๊ยะ พิธีเปิดโครงการ
    - นายยำอาด  อุมายี  กล่าวรายงาน - นายวรพงษ์  ฮะอุรา  (นายกอบต.ท่าแพ) กล่าวเปิด 10.30 – 10.40 น. เจ้าหน้าที่จากสถานีพัฒนาทรัพยากรป่าชายเลนที่ 41 (ท่าแพ จ.สตูล)  พบปะผู้เข้าร่วมโครงการ 10.40 – 10.50 น. ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาสังคม หน่วยที่ 57 จังหวัดสตูล พบปะผู้เข้าร่วมโครงการ 10.50 – 11.15 น. ผู้รับผิดชอบโครงการนำเสนอมาตรการทางสังคมการอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยใช้ทุนท้องถิ่นให้เกิด ประโยชน์สูงสุด พร้อมมอบป้ายประชาสัมพันธ์เขตอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติป่าชายเลน
    11.15 – 11.30 น. เจ้าหน้าที่จากสถานีพัฒนาทรัพยากรป่าชายเลนที่ 41 ร่วมพูดคุยความสำคัญและประโยชน์ของป่าชายเลน พร้อมตอบคำถาม และมอบรางวัล 11.30 – 12.00 น. กิจกรรมปลูกป่าชายเลนทดแทน เทิดพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินีนาถ 12.00 -13.00 น. รับประทานอาหารร่วมกัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • นายก อบต. ผอ.ศูนย์พัฒฯาสังคมฯ จนท.ป่าชายเลนที่ 41 เปิดงาน
    • ผู้รับผิดชอบโครงการนำเสนอมาตรการทางสังคมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยใช้ทุนท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์สูงสุด พร้อมมอบป้ายประชาสัมพันธ์เขตอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติป่าชายเลน
    • กิจกรรมปลูกป่าชายเลนทดแทน เทิดพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ
    • น้องๆนักสืบน้อยป่าชายเลนจัดนิทรรศกาลผลงานตลอดระยะเวลาโครงการ
    • มีผู้เข้าร่วมโครงการ 200 คน
    • ปลูกป่าได้ 3 ไร่ ปลูกต้น โกงกาง ลำพูรวม 700 ต้น

     

    0 0

    52. ร่วมงานสร้างสุขภาคใต้

    วันที่ 28 กันยายน 2556 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    แกนนำโครงการ  2 คน ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เวทีสร้างสุขคนใต้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้ชมผลงานของพื้นที่อื่น
    • เกิดความรู้นำไปปรับใช้ในพื้นที่ตนเอง

     

    0 0

    53. รายงานปิดโครงการ

    วันที่ 30 กันยายน 2556 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ผู้รับผิดชอบโครงการนำเอกสาร ส.2 ส.3 ส. 4 และหลักฐานการเงินให้ จนท.สจรส.ตรวจสอบ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เอกสารครบ สามารถปิดโครงการได้สมบูรร์

     

    0 0

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

     

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของแกนนำชุมชนในการอนุรักษ์ป่าชายเลนและเกิดความหวงแหนป่าชายเลน
    ตัวชี้วัด : - มีแผนของสภาแกนนำชุมชนในการอนุรักษ์ป่าชายเลน 2)จำนวนพื้นที่ ที่เพิ่มขึ้นของต้นเตยปาหนันและต้นจาก จำนวน 5 ไร่ 3)มีมาตรการกลางของชุมชนในการอนุรักษ์ป่าชายเลน

     

    2 คนรุ่นกลางและเยาวชน จำนวน 40 คนได้เรียนรู้เรื่องภูมิปัญญาท้องถิ่น
    ตัวชี้วัด : 1)จำนวนคนที่ได้เรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น

     

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของแกนนำชุมชนในการอนุรักษ์ป่าชายเลนและเกิดความหวงแหนป่าชายเลน (2) คนรุ่นกลางและเยาวชน จำนวน 40 คนได้เรียนรู้เรื่องภูมิปัญญาท้องถิ่น

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    ส่วนที่ 3 ประเมินคุณค่าโครงการ

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ

    ชื่อโครงการ ร่วมด้วยช่วยกัน สานฝัน พัฒนาบ้านเรา

    รหัสโครงการ 55-01801 รหัสสัญญา 55-00-0960 ระยะเวลาโครงการ 1 ตุลาคม 2555 - 31 ตุลาคม 2556

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นการคุณค่าที่เกิดจากโครงการในมิติต่อไปนี้

    • ความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพและนวัตกรรมเชิงระบบสุขภาพชุมชน
    • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีผลต่อสุขภาวะ
    • การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ
    • ผลกระทบเชิงบวกและนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาวะชุมชน
    • กระบวนการชุมชน
    • มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่

    1. เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้ใหม่ / องค์ความรู้ใหม่
    • เด็กเยาวชนได้เรียนรู้ระบบนิเวศน์ของพื้นที่ป่าชายเลน พันธุ์พืช สัตว์ทะเล นก วิธีการทำมาหากินของชาวชุมชน

    • เด็กเยาวชนได้เรียนรู้ภูมิปัญญาการผลิตเสื่อจากใบเตยปาหนัน

    • รายงานกิจกรรมการสำรวจป่าชายเลน และสมุดบันทึกการประชุมของโครงการ


    • รายงานกิจกรรมเรียนรู้ภูมิปัญญา และผลงานที่ผลิตออกมาของเยาวชน แต่ไม่ได้ผลิตต่อเนื่องจะผลิตเมื่อมี order เช่น ทำไปเป็นของขวัญของฝาก นำไปแสดงผลงานเยาวชน

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สิ่งประดิษฐ์ / ผลผลิตใหม่
    • ผลิตภัณฑ์จากเตยปาหนัน ทำเป็นของใช้และของที่ระลึก ได้แก่ พวงกุญแจ ซองโทรศัพท์ โมบาย
    • ภาพกิจกรรมในรายงานกิจกรรมโครงการ  ผลงานนี้ไม่ได้ผลิตต่อเนื่องจะผลิตเมื่อมี order เช่น ทำไปเป็นของขวัญของฝาก นำไปแสดงผลงานเยาวชน

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. กระบวนการใหม่
    • กระบวนการสภาเด็กและสภาชุมชน
    • กระบวนการประชาสัมพันธฺกิจกรรมโดยให้เยาวชนมาเล่าทางเสียงตามสาย
    • รายงานกิจกรรม และสคริปรายการที่เยาวชนเขียนก่อนจัดรายการ

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. วิธีการทำงาน / การจัดการใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การเกิดกลุ่ม / โครงสร้างในชุมชนใหม่
    • เกิดกลุ่มนักอนุรักษ์ตัวน้อย
    • รายงานกิจกรรม กลุ่มนี้เชื่อมโยงบูรณาการกับกลุ่มเยาวชน มหิงสา ของกรมทรัพยากรทางทะเลที่จัดโครงการให้เด็กๆศึกษาเรียนรู้ป่าชายเลน กลุ่มนี้จัดขึ้นที่โรงเรียนบ้านสายควน อ.ท่าแพ จ.สตูล

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. แหล่งเรียนรู้ใหม่
    • ป่าชายเลนของชุมขนที่เข้าไปทำการปลูกเพิ่ม

    -ป่าชายเลนของหม่บ้านบริเวณสะพานทุ่งริ้น

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    99. อื่นๆ

     

     

     

    2. เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การบริโภค

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การออกกำลังกาย

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. การลด ละ เลิก อบายมุข เช่น การพนัน เหล้า บุหรี่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การลดพฤติกรรมเสี่ยง เช่น พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การขับรถโดยประมาท

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. การจัดการอารมณ์ / ความเครียด

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. การดำรงชีวิต / วิถีชีวิต เช่น การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น / สมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเอง

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    8. พฤติกรรมการจัดการตนเอง ครอบครัว ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    9. อื่นๆ

     

     

     

    3. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. กายภาพ เช่น มีการจัดการขยะ ป่า น้ำ การใช้สารเคมีเกษตร และการสร้างสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนที่ถูกสุขลักษณะ
    • การปลูกป่าชายเลนเพื่อเพิ่มพื้นที่ป่า
    • ป่าชายเลนของหมู่บ้านมีปริมาณต้นไม้ป่าชายเลนเพิ่มขึ้น ทดแทนส่วนที่ถูกตัดทำลายและเสื่อมโทรม

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สังคม เช่น มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ลดการเกิดอุบัติเหตุ ครอบครัวอบอุ่น การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อเด็ก เยาวชน และกลุ่มวัยต่าง ๆ มีพื้นที่สาธารณะ/พื้นที่ทางสังคม เพื่อเอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชน มีการใช้ศาสนา/วัฒนธรรมเป็นฐานการพัฒนา

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. เศรษฐกิจสร้างสรรค์สังคม /สร้างอาชีพ / เพิ่มรายได้

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการบริการสุขภาพทางเลือก และมีช่องทางการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. อื่นๆ

     

     

     

    4. การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. มีกฎ / กติกา ของกลุ่ม ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. มีมาตรการทางสังคมของกลุ่ม ชุมชน
    • มาตรการทางสังคมเรื่องการอนุรักษ์ป่าชายเลน

    ป้ายไวนิลมาตรการทางสังคมติดที่มัสยิดหมู่บ้าน

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. มีธรรมนูญของชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. อื่นๆ เช่น ออกเป็นข้อบัญญัติท้องถิ่น ฯลฯ

     

     

     

    5. เกิดกระบวนการชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. เกิดการเชื่อมโยงประสานงานระหว่างกลุ่ม / เครือข่าย (ใน และหรือนอกชุมชน)
    • การทำงานเรื่องป่าชายเลนมีการประสานงานกับหน่วยงานป่าชายเลนที่ 41

    หนังสือประสานขอพันธุ์ไม้ป่าชายเลน

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเรียนรู้การแก้ปัญหาชุมชน (การประเมินปัญหา การวางแผน การปฏิบัติการ และการประเมิน)

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ประโยชน์จากทุนในชุมชน เช่น การระดมทุน การใช้ทรัพยากรบุคคลในชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกลุ่มและชุมชนที่เกิดจากโครงการอย่างต่อเนื่อง

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. เกิดกระบวนการจัดการความรู้ในชุมชน
    • การถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นจากรุ่นผู้ใหญ่สู่รุ่นเด็ก
    • รายงานกิจกรรม และการสัมภาษณ์คนแก่ที่สอนเด็กๆสานเสื่อ

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. เกิดทักษะในการจัดการโครงการ เช่น การใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ การทำแผนปฏิบัติการ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. อื่นๆ

     

     

     

    6. มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเอง / กลุ่ม / ชุมชน
    • เยาวชนเกิดความภาคภูมิใจที่ได้ทำกิจกรรมที่เกิดประโยชน์ต่อส่วน
    • รายงานกิจกรรม และการสัมภาษณ์เยาวชน

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเห็นประโยชน์ส่วนรวมและส่วนตนอย่างสมดุล

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย และพอเพียง

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. ชุมชนมีความเอื้ออาทร

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. มีการตัดสินใจโดยใช้ฐานปัญญา

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. อื่นๆ

     

     

     

    ร่วมด้วยช่วยกัน สานฝัน พัฒนาบ้านเรา จังหวัด สตูล

    รหัสโครงการ 55-01801

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นายวรพงศ์ ดำท่าคลอง )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด