แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


“ โตดนุ้ยรักษ์ถิ่น - เล - ป่า ”

บ้านเกาะยะระโตดนุ้ย

หัวหน้าโครงการ
นายดลฮอนี สุวาหลำ

ชื่อโครงการ โตดนุ้ยรักษ์ถิ่น - เล - ป่า

ที่อยู่ บ้านเกาะยะระโตดนุ้ย จังหวัด สตูล

รหัสโครงการ 55-01814 เลขที่ข้อตกลง 55-00-1057

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2555 ถึง 31 ตุลาคม 2556


กิตติกรรมประกาศ

"โตดนุ้ยรักษ์ถิ่น - เล - ป่า จังหวัดสตูล" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน บ้านเกาะยะระโตดนุ้ย

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โตดนุ้ยรักษ์ถิ่น - เล - ป่า



บทคัดย่อ

โครงการ " โตดนุ้ยรักษ์ถิ่น - เล - ป่า " ดำเนินการในพื้นที่ บ้านเกาะยะระโตดนุ้ย รหัสโครงการ 55-01814 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 ตุลาคม 2555 - 31 ตุลาคม 2556 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 194,218.00 บาท จาก เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

 

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อให้เกิดจิตสำนึกอนุรักษ์ร่วมใจเพิ่มแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อน
  2. เพื่อสร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วมดำเนินงานธนาคารปูไข่

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

     


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. เตรียมความพร้อมและประชาสัมพันธ์โครงการ

    วันที่ 26 ตุลาคม 2555 เวลา 13:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ประชุมชี้แจงโครงการและกิจกรรมโครงการ
    • เปิดโอกาสให้แลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นต่อกิจกรรมโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ชาวบ้านและเยาวชนเข้าร่วมรับฟังประชุมชี้แจงโครงการ 90 คน
    • ชาวบ้านเข้าใจที่มา วัตถุประสงค์ ให้ความสนใจโดยดูจากการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

     

    0 0

    2. การประชุมปฐมนิเทศกองทุนโครงการร่วมสร้างชุมชน และท้องถิ่นให้น่าอยู่ภาคใต้

    วันที่ 3 พฤศจิกายน 2555 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    -ทบทวนและออกแบเชิงระบบของโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    -ผู้เสนอโครงการได้รับความรู้เกี่ยวกับการลงข้อมูลโครงการในเว็บ www.happynetwork.org -ได้รับทราบวิถีการทำบัญชีเงินสดรายวัน

     

    0 0

    3. จัดทำฐานข้อมูลทรัพยากรทางทะเล 2/1

    วันที่ 25 พฤศจิกายน 2555 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ประชาสัมพันธ์เสียงตามสายของมัสยิดให้เยาวชนและชาวบ้านรับทราบถึงกิจกรรมที่จัดเพื่อรับสมัครเยาวชนและตัแทนกลุ่มต่างเพื่อสำรวจข้อมูลทรัพยากรทางทะเลเยาวชน มาลงทะเบียนสมัคจำนวน 22 คน ตัวแทนกลุ่มต่างๆ 12 คน รวมทั้งหมด 34 คน จึงรับไว้ทั้งหมด

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้แกนนำทำฐานข้อมูลฯทั้งหมด 34 คน

     

    0 0

    4. จัดทำฐานข้อมูลทรัพยากรทางทะเล 2/2

    วันที่ 25 พฤศจิกายน 2555 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • เยาวชน ตัวแทนกลุ่มต่างๆ  ลงปฏิบัติสำรวจป่าชายเลน ตั้งแต่บริเวณหน้าเกาะถึงหลังเกาะ เพื่อสำรวจสิ่งมีชีิวิตในป่าชายเลน โดยให้เยาวชนและตัวแทนกลุมต่างๆ จดบันทึกข้อมูลที่พบเช่น ชื่อต้นไม้แต่ละชนิด สัตว์น้ำแต่ละชนิด

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • เยาวชน 24 คน ตัวแทนกลุ่มต่างๆ 10 คน รวมทั้งหมด 34 คน ลงปฏิบัติสำรวจป่าชายเลน ตั้งแต่บริเวณหน้าเกาะถึงหลังเกาะ เพื่อสำรวจสิ่งมีชีวิตในป่าชายเลน โดยให้เยาวชนและตัวแทนกลุ่มต่างๆ จดบันทึกข้อมูลที่พบเช่น ชื่อต้นไม้แต่ละชนิด สัตว์น้ำแต่ละชนิด ซึ่งเยาวชนได้จดบันทึกไว้ สิ่งที่ไม่รู้จักก็จะสอบถามจากตัวแทนกลุ่มที่ได้ไปร่วมสำรวจร่วมกัน จากการสำรวจในครั้งนี้ทำให้เยาวชนได้รู้จักชื่อพันธ์ไม้ ชื่อสัตว์น้ำมากขึ้น จากที่ได้สอบถามเยาวชนที่ไปสำรวจป่าชายเลนว่ามีความรู้สึกอย่างไรในการไปสำรวจป่าครั้งนี้ เยาวชนได้ตอบว่า รู้สึกภูมิใจที่ป่าบริเวณรอบเกาะยังคงอุดมสมบูรณ์อยู่ และในการสำรวจในครั้งนี้ทำให้ได้รู้จักชื่อพันธ์ไม้ที่ไม่รู้จักมากขึ้น ได้เรียนรู้ว่าในป่าชายเลนนั้นมีสิ่งมีชีวิตหลายอย่างอาศัยอยู่ จากที่เห็นแบบผ่านตาก็ได้รู้มาขึ้น และจะช่วยอนุรักษ์ป่าชายเลนรอบเกาะให้มีความอุดมสมบูรณ์ต่อไป

    ทรัพยากรที่พบในป่าชายเลน

    1. ต้นไม้

    - ต้นโกงกางใบเล็ก - ต้นโกงกางใบใหญ่ - ต้นแสม - ต้นปีปี - ต้นมูตา (ต้นตาตุ่ม) - ต้นปาด - ต้นลำพู (ต้นแซะ) - ต้นดูหงุน - ผักบุ้งทะเล

    1. หอย

    - หอยเข็ม - หอยตาแดง - หอยลอกัน (หอยหยวก) - หอยลิงโก้ง (หอยควาย) - หอยแครงลิง - หอยแครง - หอยนางรมเล็ก - หอยเสียบ

    1. ปู

    - ปูดำ - ปูลม - ปูหิน - ปูก้ามดาบ - ปูเปรี้ยว

    1. ปลา

    - ปลาตีน - ลูกปลากระบอก - ปลาตาปู (ปลากัวกัว) - ปลาหัวมัน - ปลาโทงเล็ก

    1. กุ้ง

    - กุ้งฝอย - กุ้งเคย - ลูกกุ้งขาว

    1. นก

    - นกควัก - นกกระยาง - นกกุนจง

    1. มด

    - มดแดง - มดตะนอย

     

    0 0

    5. จัดทำฐานข้อมูลทรัพยากรทางทะเล 2/3

    วันที่ 30 พฤศจิกายน 2555 เวลา 14:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ตัวแทนเยาวชน ตัวแทนเยาวชน 4 คน ออกมาเล่าจากการที่ได้ไปสำรวจสิ่งมีชีวิตในป่าชายเลนให้ผู้เข้าร่วมประชุมรับฟัง ว่าได้ไปพบอะไรมาบ้างและมีความรู้สึกอย่างไรที่ได้ไปสำรวจมา

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ข้อมูลที่ได้ไปสำรวจมาว่ามีอะไรบ้างดังนี้ ทรัพยากรที่พบในป่าชายเลน 1. ต้นไม้ - ต้นโกงกางใบเล็ก - ต้นโกงกางใบใหญ่ - ต้นแสม - ต้นปีปี - ต้นมูตา (ต้นตาตุ่ม) - ต้นปาด - ต้นลำพู (ต้นแซะ) - ต้นดูหงุน 2. หอย - หอยเข็ม - หอยตาแดง - หอยลอกัน (หอยหยวก) - หอยลิงโก้ง (หอยควาย) - หอยแครงลิง - หอยแครง - หอยนางรมเล็ก - หอยเสียบ 3. ปู - ปูดำ - ปูลม - ปูหิน - ปูก้ามดาบ - ปูเปรี้ยว 4. ปลา - ปลาตีน - ลูกปลากระบอก - ปลาตาปู (ปลากัวกัว) - ปลาหัวมัน - ปลาโทงเล็ก 5. กุ้ง - กุ้งฝอย - กุ้งเคย - ลูกกุ้งขาว 6. นก - นกควัก - นกกระยาง - นกกุนจง 7. มด - มดแดง - มดตะนอย

    มีชาวบ้ายเยาวชนเข้าร่วมกิจกรรม 50คน

     

    0 0

    6. ธนาคารปูไข่

    วันที่ 30 พฤศจิกายน 2555 เวลา 15:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ประชุมสมาชิกนำธนาคารปูไข่ 34 คน ณ อาคารเอนกประสงค์ วันที่ 30 พฤศจิกายน  2555
    • มีการคัดเลือกกรรมการโดยสมาชิก

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • คณะกรรมการทำงานมีดังนี้
    1. นายสุรัตน์  อังสุพานิชย์ ประธาน

    2. นายสุวรรณ  ตีกาสม รองประธาน

    3. นายเปน  ลัดเลีย รองประธาน

    4. นายบากาด  หลงกอหราบ เหรัญญิก

    5. นายสมศักดิ์  สันเหล็ม เลขา

    6. นายสำสูเด็น  ใบดี ประชาสัมพันธ์

    7. นายบุญรักษ์  สันเหล็ม กรรมการ

    8. นายวีระ  ยีละงู กรรมการ

    9. นายลำหลี  อุโหยบ กรรมการ

    10. นายวัชรินทร์  ยาวาระยะ กรรมการ

    11. นายเจ๊ะมาหนุน  อุไสนี กรรมการ

    12. นายหมาน  หนูชูสุก กรรมการ

    13. นายอารี  เหมรา กรรมการ

    14. นายเจ๊ะเหรน  อุโหยบ กรรมการ

    15. นายอนันต์  ขาวผ่อง กรรมการ

    16. นายสุรัช  สุวาหลำ กรรมการ

    17. นายอาหลี  เหมรา กรรมการ

    18. นายประพันธ์  จันงาม กรรมการ

    19. นายสอแหละ  เหมรา กรรมการ

    20. นายดลฮอนี  สุวาหลำ กรรมการ

    ที่ปรึกษา

    1. นายตาเหลบ  หัสนี อีหม่ำ

    2. นายอัมพร  เอียดนุช อาจารย์โรงเรียนบ้านเกาะยะระโตดนุ้ย

    เวลา 16.00 น. นายดลฮอนี  สุวาหลำ ปิดประชุม

     

    0 0

    7. ทำโรงเพาะชำกล้าไม้ป่าชายเลน

    วันที่ 6 ธันวาคม 2555 เวลา 14:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • คณะแกนนำทั้งหมด 30 คน ประชุมร่วมกันเพื่อวางแผนการทำงาน ทำโรงเพาะชำกล้าไม้ป่าชายเลน ปรึกษากันว่าจะทำขนาดความกว้าง-ยาว เท่าไหร่ โดยออกแบบกันว่าทำรูปแบบในลักษณะไหน ทำบริเวณไหน ที่เหมาะแก่การเพาะชำกล้าไม้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้กำหนดรูปแบบโรงเพาะชำกล้าไม้ มีขนาดความกว้าง 4 เมตร ยาว 6 เมตร สถานที่ในการทำโรงเพาะชำบริเวณร่องเรือหน้าเกาะเป็นพื้นที่ราบมีขนาดกว้างเหมาะแก่การทำโรงเพาะชำและสะดวกในการดูแลกล้าไม้ ได้ออกแบบโรงเพาะชำกล้าไม้เสร็จ ก็แบ่งงานกันทำ โดยแบ่งออกเป็น 2 ทีม ทีมแรก 25 คน ทีมที่สอง 5 คน ทีมแรกไปตัดไม้เพื่อมาทำโรงเพาะชำกล้าไม้ ทีมที่สองไปซื้ออุปกรณ์มาทำโรงเพาะชำกล้าไม้ โดยในแต่ละทีมกำหนดวันเอาเองว่าจะทำวันไหน โดยกำหนดวันที่ 22 ธันวาคม 2555 มาทำโรงเพาะชำกล้าไม้ร่วมกัน

     

    0 0

    8. เก็บข้อมูลปริมาณปูไข่ที่จับได้ 13/1

    วันที่ 7 ธันวาคม 2555 เวลา 14:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ประธานโครงการ นายดลฮอนี สุวาหลำ ได้ชี้แจงรายละเอียดของกิจกรรมเก็บข้อมูลปูไข่และชี้แจงวิธีการจดบันทึกข้อมูลในสมุดบันทึกว่าต้องบันทึกอะไรบ้าง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    -หลังชี้แจงรายละเอียดให้ตัวแทนครัวเรือน 36 คนลองลงข้อมูลดู ผลปรากฎว่าผู้ที่ทำอวนปูทั้งหมด 36 ครัวเรือนสามารถลงได้ถูกต้องทุกคน  จากเดิมคาดว่าจะมีสมาชิกธนาคารปูไข่ 50 ครัวเรือนแต่พบว่าอ 14 ครัวเรือนออกนอกพื้นที่เพื่อทำงาน ทำให้เป้าหมายที่วางไว้ลดจำนวนลง

     

    0 0

    9. ทำโรงเพาะชำกล้าไม้

    วันที่ 8 ธันวาคม 2555

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมกลุ่มประมง กลุ่มธนาคารปูไข่และอาสาสมัครอื่นๆ 30 คนเพื่อวางแผนการทำโรงเพาะชำกล้าไม้ โดยแบ่งการทำงานออกเป็น 2 ทีม ทีมแรก 25 คน ที่มที่สอง 5 คน ทีมแรกไปตัดไม้เพื่อมาทำโรงเพาะชำกล้าไม้ ทีมสอง ไปซื้ออุปกรณ์ทำโรงเพาะชำ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ประชุมกลุ่มประมง กลุ่มธนาคารปูไข่และอาสาสมัครอื่นๆ 30 คนเพื่อวางแผนการทำโรงเพาะชำกล้าไม้ โดยแบ่งการทำงานออกเป็น 2 ทีม ทีมแรก 25 คน ที่มที่สอง 5 คน ทีมแรกไปตัดไม้เพื่อมาทำโรงเพาะชำกล้าไม้ ทีมสอง ไปซื้ออุปกรณ์ทำโรงเพาะชำ หลังประชุมเสร็จทีมแรกก็เข้าป่าเพื่อตัดไม้นำมาสร้างโรงเพาะชำทีมที่สองนัดวันที่จะขึ้นฝั่งเพื่อไปซื้ออุปกรณ์มาทำโรงเพาะชำ

     

    0 0

    10. ชักชวนผู้ทำอวนปูที่เหลือเข้าร่วมกลุ่ม

    วันที่ 9 ธันวาคม 2555 เวลา 14:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    -ออกเดินพบปะถึงประตูบ้าน เพื่อพูดคุยชักชวนให้ 30 ครัวเรือนเข้าร่วมธนาคารปูไข่ โดยแสดงให้เห็นถึงพลังของคนในชุมชน ประโยชน์ที่จะได้รับร่วมกันหากสามัคคีกัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ออกเดินพบปะถึงประตูบ้าน เพื่อพูดคุยชักชวนให้ 30 ครัวเรือนที่ยังไม่เข้าร่วม เข้าร่วมธนาคารปูไข่ โดยแสดงให้เห็นถึงพลังของคนในชุมชน ประโยชน์ที่จะได้รับร่วมกันหากสามัคคีกัน

     

    0 0

    11. ทำโรงเพาะชำกล้าไม้ป่าชายเลน 3/2

    วันที่ 22 ธันวาคม 2555 เวลา 00:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ตัวแทนกลุ่มต่างๆ จำนวน 30 คน ร่วมกันสร้างโรงเพาะชำ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ตัวแทนกลุ่มต่างๆ จำนวน 30 คน ร่วมกันสร้างโรงเพาะชำฯ แต่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ จะทำต่อในวันพรุ่งนี้

     

    0 0

    12. ทำโรงเพาะชำกล้าไม้ป่าชายเลน 3/2

    วันที่ 23 ธันวาคม 2555 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    -  กลุ่มประมง ,กลุ่มธนาคารปูไข่ ร่วมกันสร้างโรงเพาะชำกล้าไม้ต่อจากวันแรกที่ยังสร้างไม่เสร็จสร้างต่อจนเสร็จ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    กลุ่มประมง ,กลุ่มธนาคารปูไข่ 30 คน ร่วมกันสร้างโรงเพาะชำกล้าไม้ต่อจากวันแรกที่ยังสร้างไม่เสร็จสร้างต่อจนเสร็จสมบูรณ์

     

    0 0

    13. ทำโรงเพาะชำกล้าไม้ป่าชายเลน 3/3

    วันที่ 31 ธันวาคม 2555 เวลา 08:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • มีชาวบ้ากลุ่มต่างๆตัวแทนกลุ่มต่างๆและเยาวชนทั้งหมด 35 คน ร่วมกันเอาดินบรรจุลงถุงเพาะชำ และนำพันธ์กล้าไม้โกงกางมาเพาะชำลงในถุง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้ต้นกล้าโกงกางทั้งหมด 500 ต้นกล้า -เด็กๆได้ทำกิจกรรมร่วมกัน และร่วมกับผู้ใหญ่ เด็กๆกล้าคิดกล้าพูดกับพวกผู้ใหญ่มากขึ้น แสดงความคิดเห็นในการทำงานว่าน่าจะทำอะไรก่อน อะไรหลัง ขอทำงานชำกล้าไม้ให้เสร็จก่อนรับประทานอาหารถึงแม้จะเหนื่อยและเลอะเทอะแต่หน้าตามีความสุขทุกคน

     

    0 0

    14.

    วันที่ 18 มกราคม 2556 เวลา 14:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • คณะกรรมการปูไข่ ร่วมประชุม ประจำเดือนมกราคม โดยมี ประธานปูไข่ นายสุรัตน์ อังสุพานิชย์ กล่าวเปิดการประชุม และชี้แจงที่จะอบรม เรื่องธนาคารปูไข่ให้แก่ชาวบ้าน เพื่อชักชวนชาวบ้านที่เหลือเข้าร่วมกลุ่มธนาคารปูไข่ ในวันที่ 24 มกราคม 2556

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • คณะกรรมการปูไข่ 23 8น ร่วมประชุม ประจำเดือนมกราคม โดยมี ประธานปูไข่ นายสุรัตน์ อังสุพานิชย์ กล่าวเปิดการประชุม และชี้แจงที่จะอบรม เรื่องธนาคารปูไข่ให้แก่ชาวบ้าน เพื่อชักชวนชาวบ้านที่เหลือเข้าร่วมกลุ่มธนาคารปูไข่ ในวันที่ 24 มกราคม 2556 จัดที่อาคารอเนกประสงค์มัสยิดโตดนุ้ย หลังจากชี้แจงให้กรรมการทุกท่านทราบ ก็ได้แบ่งหน้าที่ให้กับแต่ละคนไป เพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดสถานที่ ติดต่อวิทยากร และประชาสัมพันธ์ให้ชาวบ้านได้ทราบถึงเรื่องที่จะอบรมธนาคปูไข่ เพื่อให้ชาวบ้านได้รับทราบ และเข้าร่วมรับฟังการอบรมตามวันเวลาดังกล่าวได้ถูกต้องและพร้อมเพียงกัน

     

    0 0

    15.

    วันที่ 24 มกราคม 2556 เวลา 10:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • จัดอบรมเรื่องธนาคารปูไข่ ให้กับครัวเรือนที่ทำอวนปู โดยวิทยากร ชื่อนายสนธยา บุญสุข เจ้าหน้าที่ชำนาญการพิเศษ ประมงทะเลจังหวัดสตูล  ที่อาคารอเนกประสงค์มัสยัดโตดนุ้ย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    วิทยากรให้ความรู้เกี่ยวกับ - อัตราการจับสัตว์น้ำจากเรือสำรวจประมงฝั่งทางทะเลอันดามัน
    - สาเหตุที่ทำให้ทรัพยากรสัตว์น้ำเสื่อมโทรม - แนวทางการฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำและแหล่งประมง -การสร้างแหล่งอาศัยทางทะเล
    - วงจรชีวิตของปูม้า
    - วิธีการดูแลบ่ออนุบาลปูม้า

    หลังจากที่วิทยากรให้ความรู้ในด้านต่างๆเสร็จก็ได้เปิดให้ชาวบ้านได้ซักถามข้อแลกเปลี่ยนกัน ประเด็นที่ชาวบ้านให้ความสนใจมากที่สุด คือ วงจรชีวิตปูม้า ซึ่งชาวบ้านได้ทำอวนปูกันมาเกือบตลอดชีวิตแต่ไม่ค่อยสนใจว่า ธรรมชาติของปูม้านั้นเป็นอย่างไรบ้าง หลังจากการอบรมทำให้ชาวบ้านได้ทราบว่ากว่าจะเป็นตัวปูที่สามารถให้จับได้นั้น ต้องใช้ระยะเวลาในแต่ช่วงนั้นนานเท่าไหร่ และปูไข่นั้นมมีสีไข่กี่สีและใช้ระยะเวลาในแต่ละสีนั้นใช้กี่วันกว่าจะออกมาเป็นตัวอ่อน และระยะเวลากว่ากว่าจะเป็นที่สามารถจับได้ จากที่ได้รับความรู้นั้นชาวบ้านได้ให้ความสำคัญในการทำธนาคารปูไข่มากยิ่งขึ้น

     

    0 0

    16. สายตรวจป่าชายเลน

    วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา 08:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • เยาวชนและตัวแทนกลุ่มต่างๆ  ออกตราจตราต้นไม้  ปลูกซ่อมแซม บริเวณชายหาดรอบเกาะ พร้อมกับ เก็บพันธ์ไม้โกงกางกลับมาเพาะชำ ณ โรงเพาะชำกล้าไม้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • มีเยาวชนและตัวแทนกลุ่มต่างๆ รวม 45 คน ออกตราจตราต้นไม้ บริเวณชายหาดรอบเกาะ พร้อมทั้งจดบันทึก พบว่า พบต้นไม้ที่ปลูกไว้ตาย 20 ต้น มีต้นโกงกางรอบต้น 10 นิ้วถูกตัด 22 9้น ไม่พบการปลูกทดแทน และ เก็บพันธ์ไม้โกงกางกลับมาเพาะชำได้ 650 ฝัก
    • เยาวชนให้ความร่วมมือและสนใจเป็นอย่างมากในการออกตรวจตราต้นไม้ เก็บพันธ์ไม้ และนำมาเพาะชำ ซึ่งที่ผ่านมาในหมู่บ้านไม่ค่อยมีกิจกรรมเหล่านี้เท่าไหร่ จากที่กิจกรรมนี้เกิดขึ้นเยาวชนรู้สึกสนุกในกิจกรรมและได้เรียนรู้ว่าต้นไม้แต่ละต้นกว่าที่โต ต้องใช้เวลานานเท่าไหร่ เราต้องห่วงแหนไม่ให้ใครมาตัดไม้ทำลายป่า

     

    0 0

    17. สายตรวจป่าชายเลน

    วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา 13:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • เยาวชนมารายงานผลการสำรวจป่าให้ชาวบ้านรับทราบที่มัสยิดโตดนุ้ย
    • จากสำรวจป่าได่มีการเก็บฝักโกงกางเพื่อมาเพาะชำด้วย
    • ชาวบ้านที่มารับฟังายงานมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นสอบถามเด็กๆเรื่องลักษณะต้นโกงกางที่พบว่ามีการตัดทำลาย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • เยาวชนและตัวแทนกลุ่มต่างๆ มาร่วมกิจกรรมทั้งหมด 45 คน
    • ผลการำรวจมาป่ายังคงถูกตัดทำลายพอสมควร คือ พบต้นโกงกางขนารอบ 10 นิ้ว จำนวน 22 ต้น ไม่พบเห็นการปลูกทดแทนในบริเวณที่ต้นโกงกางถูกตัด
    • เยาวและตัวแทนกลุ่มต่างๆก็ได้ฝักโกงกางมาเพาะ 650 ฝัก นำกลับมาเพาะต่อ
    • หลังจากรับฟังการรายงานผลแล้วทำให้ทุกคนมีความกระตือรือร้นที่จะดูแลและหวงแหนป่า โดยการตั้งกฏในการตัดไม้ ซึ่งจะมีในกกิจกรรมครั้งหน้า

     

    0 0

    18. ปลูกป่าชายเลน 4/1

    วันที่ 1 มีนาคม 2556 เวลา 14:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • กลุ่มประมง,ธนาคารปูไข่และชาวบ้าน มาวางแผนการทำงาน โดย กำหนดขอบเขตสถานที่ในการปลูกป่าชายเลน มีการสอบถามชาวบ้านว่าควรปลูกด้านไหนของเกาะมากที่สุด ชาวบ้านได้เสนอให้ปลูกด้านหลังเกาะหรือด้านทิศตะวันตก เนื่องจากด้านหลังเกาะไม่ค่อยมีต้นไม้ และเดี่ยวนี้น้ำทะเลได้กัดเซ๊าะชายฝั่งเข้ามาทำให้หน้าดินพัง และชาวบ้านได้เสนอว่าถ้าปลูกแล้วควรนำอวนมาล้อมเป็นรั้วเพื่อป้องการแพะมากัดกินยอดอ่อนของต้นโกงกางและให้มีการตรวจตราทุกๆเดือนเพื่อให้ต้นไม้เป็นได้มากที่สุด
    • การสร้างจิตสำนึก ประธานเสนอให้ใช้ป้ายรณรงค์ ที่ประชุมเห็นด้วยให้ทำป้าย  10 ป้ายกระจายไปทั่วหมู่บ้าน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • กลุ่มประมง,ธนาคารปูไข่และชาวบ้าน จำนวน 51 คน เข้าร่วมประชุมเพื่อวางแผนการทำงาน
    • วางแผนจะปลุกป่าที่ด้านหลังเกาะเนื่องจากยังมีป่าน้อย น้ำทะเลกัดเซษะชายฝั่งรุนแรง ได้ตกลงวันว่าเป็นวัน อาทิตย์ ที่ 3 มีนาคม 56 เพื่อให้เยาวชนได้มีส่วนร่วมในการปลูกป่าด้วย และในวันเสาร์ บ่ายให้ไปร่วมกันเก็บพันธ์ไม้เพื่อนำมาปลูกในวันอาทิตย์ ในส่วนที่เพาะชำแล้วก็เก็บไว้ซ่อมแซ
    • รูปแบบการรณรงค์ให้ใช้ป้ายไวนิล มอบหมายให้มเจ๊ะบาหนีดำเนินการทำป้าย จำนวน 10 ป้าย

     

    0 0

    19. ปลูกป่าชายเลน 4/2

    วันที่ 3 มีนาคม 2556 เวลา 08:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • มีชาวบ้าน กลุ่มประมง กลุ่มปูไข่ และเยาวชนมาร่วมกิจกรรม ทั้งหมด 53 คน
    • ติดป้ายอนุรักษ์ป่าชายเลนเพื่อสร้างจิตสำนึกการอนุรักษ์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ตัวแทนกลุ่มต่างๆชาวบ้านและเยาวชน ทั้งหมด 53 คน ร่วมกันปลูกต้นโกงกางด้านหลังเกาะหรือด้านทิศตะวันตก จำนวน 700 ต้น พร้อมทั้งติดป้ายอนุรักษ์ป่าชายแลน จำนวน 10 ป้าย ในขณะที่ปลูกป่าชาวบ้านก็ได้พูดคุยกับเยาวชนถึงประโยชน์ของป่าชายเลนว่ามีอะไรบ้าง และให้ช่วยกันดูแล ถ้าหากไม่ดูแลในอนาคตข้างหน้าลูกหลานเราอาจจะไม่ได้เห็นป่าชายเลนว่ามีหน้าตาเป็นอย่างไร และเยาวชนก็ตอบรับว่าจะช่วยดูแลมาตรวจตราไม่ให้แพะมากัดกินยอดอ่อนของต้นเพื่อให้ต้นไม้ได้งอกมากที่สุด

     

    0 0

    20. ส่งรายงานทางการเงิน ส.1 ส.2 ง.1

    วันที่ 6 มีนาคม 2556 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ได้รับการตรวจสอบเอกสารทางการเงิน และจัดพิมพ์รายงาน ส.1 ส.2 ง.1

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    รายงาน ส.1 ส.2 ง.1

     

    0 0

    21. ลดการทิ้งขยะลงทะเล

    วันที่ 8 มีนาคม 2556 เวลา 14:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    -ครัวเรือนติดทะเล แกนนำ และเยาวชน 54 คน ร่วมประชุมทำความเข้าใจ ลดการทิ้งขยะลงทะเล

    -รับสมัครเยาวชนตรวจตราการทิ้งขยะลงทะเล 10 คน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ชาวบ้านครัวเรือนที่ติดทะเล แกนนำ และเยาวชน ร่วมประชุมเพื่อทำความเข้าใจเรื่องการลดการทิ้งขยะลงทะเล ทั้งหมด 54 คน โดยมีนายดลฮอนี ประธานโครงการ ร่วมชี้แจงไม่ให้ชาวบ้านทิ้งขยะลงทะเล และบริเวณข้างทาง เพื่อให้หมู่บ้านของเรามีความสะอาดน่าอยู่ และเป็นที่ประทับใจและแขกผู้มาเยือน ประธานได้แจ้งให้ชาวบ้านทราบว่าจะมีการเก็บขยะร่วมกันเดือนละครั้ง หลังละหมาดวันศุกร์ และจะมีน้องๆเยาวชน 10 คนที่เป็นอาสาสมัคร ในการตรวจตราว่าพี่น้องในหมุ่บ้านเรายังทิ้งขยะลงทะเลอยู่อีกไหม หลังจากนั้นจะมีการรายงานผลการตรวจตราจากน้องๆเยาวชนว่าพี่น้องให้ความร่วมมือกันมากแค่ไหนในการลดการทิ้งขยะลงทะเลและข้างทาง

     

    0 0

    22. ธนาคารปูไข่

    วันที่ 10 มีนาคม 2556 เวลา 14:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะกรรมการกลุ่มประชุมประจำเเดือนมีนาคม 2556 20 คน เพื่อวางแผนการทำงานเดือน มีนาคม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    -วันที่ 16 มีนาคม 2556 มีการประชุมร่วมกันออกกฏมาตราฐานทางสังคมเรื่องการอนุกรักษ์ป่ามีพี้เลี้ยงมาร่วมให้คำแนะนำในการออกกฏด้วย

    -วันที่ 17 มีนาคม 2556 มีการรณรงค์ครัวเรือนที่ติดริมทะลไม่ให้ทิ้งขยะลงทะเลและร่วมกันเก็บขยะ

    -มีกรรมการกลุ่ม จำนวน 8 คนออกเดินชักชวนครัวเรือนที่ทำอวนปูให้เข้าร่วมกลุ่มธนาคารปูไข่

    -ขอให้กรรมการทุกคนช่วยกันประชาสัมพันธ์ข่าวให้ชาวบ้านได้ทราบด้วยและช่วยกันชักชวนให้มาร่วมกันออกกฏมาตราการทางสังคมเรื่องการอนุกษ์ป่า

     

    0 0

    23. วางกติกาการใช้ประโยชน์จากป่าชายเลน

    วันที่ 16 มีนาคม 2556 เวลา 14:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ชาวบ้าน,เยาวชนและตัวแทนกลุ่มต่างๆเข้าร่วมประชุมวางกติกาการใช้ประโยชน์จากป่าชายเลนเพื่อกำหนดมาตรการทางสังคม จำนวน 72 คน โดยมีนายดลฮนี เป็นประธานในที่ประชุม และมี นางนฤมล อุโหยบ พี่เลี้ยง เข้าร่วมประชุม เพื่อกำหนดมาตรการทางสังคม การอนุรักษ์ป่าชายเลน ในที่ประชุมก็ได้ให้ชาวบ้านช่วยกันเสนอมาตรการว่าจะทำอย่างไรในการที่จะลดการตัดไม้ทำลายป่า จากที่ชาวบ้านได้ช่วยกันเสนอได้มาตรการทางสังคม ออกมา ทั้งหมด 10 ข้อ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ชาวบ้าน,เยวชนและตัวแทนกลุ่มต่างๆ ทั้งหมด 72 คน ได้ร่วมกันมาประชุมเพื่อวางกติกาการใช้ประโยชน์จากป่าชายเลน โดยการกำหนดมาตรการทางสังคมการอนุรักษ์ป่าชายเลน โดยมีพี่เลี่ี้ยง นางนฤมล อุโหยบ ให้คำแนะนำ ในการกำหนดมาตรการทางสังคม การอนุรักษ์ป่าชายเลน ซึ่งได้ข้อสรุปทั้งหมด 10 ข้อ ซึ่งชาวบ้านทุกคนรวมใจกันเพื่ออนุรักษ์ป่าชายเลนของหมู่บ้าน ให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศน์ ให้มีป่า มีปลา มีปู มีกุ้ง มีหอย เพิ่มขึ้น ลูกหลานได้ศึกษาเรียนรู้ที่มาของแหล่งอาหาร แหล่งอาชีพของพ่อแม่ปู่ย่า ตายาย และเพื่อแสดงถึงพลังสามัคคี ร่วมแรงร่วมใจ ความมีจิตอนุรักษ์ของชาวโตดนุ้ยทุกคน จึงมีกติการ่วมกัน ดังนี้ 1.การตัดไม้ ต้องแจ้งให้หรรมหารหมู่บ้านทราบทุกครั้งในประเด็น จำนวน ขนาด สถานที่ ที่ตัดไม้ 2. การตัดไม้อนุญาติเฉพาะการใช้ประโยชน์ ไม่อนุญาติเพื่อการค้าทำกำไร 3. การตัดไม้ 1 ต้น ให้ปลูกทดแทน 1 ต้น หากมีการทำผิดกติกา เช่น ไม่แจ้ง ไม่ปลูกทดแทน ต้องทำการปลูกทดแทน 10 ต้น 4. กำหนดให้บริเวณ ป่า"แป๊ะหยิน" เป็นพื้นที่ป่าอนุกรักษ์ ห้ามไม่ให้มีการตัดไม้ ล่าสัตว์ทุกชนิด 5. ชาวบ้านทุกคนจะมีการร่วมกันตัดตกแต่งป่าอนุรักษ์ ทุก 6 เดือน ในเดือน พฤษภาคม และ กันยายนของทุกปี 6. ชาวบ้านทุกคนจะมีการร่วมกันปลูกป่าทดแทนและเพิ่มพื้นที่ป่าชายเลนที่ป่าอนุรักษ์ปีละ 1 ครั้ง ในเดือนธันวาคมของทุกปี 7. ชาวบ้านทุกคนจะช่วยกันดูแลสอดส่องพื้นที่ป่าอนุรักษ์และช่วยกันกำกับดูแลมาตรการทางสังฉบับนี้ 1. ป้องกัน 2. อนุรักษ์ 3.พัฒนา 4. ฟื้นฟู 8. จะมีเวทีพูดคุยเสวนาเรื่องการอนุกรักษ์ป่าชายเลนเดือนละ 1 ครั้ง เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องยั่งยืน 9. ทีมสำรวจป่าชายเลนจะนำเสนอผลการติดตามความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ทุก 3 เดือน 10. ชาวเกาะโตดนุ้ยทุกคนมีฝันร่วมกันที่จะทำให้พื้นที่ป่าอนุรักษ์เป็นแหล่งเรียนรู้ป่าชายเลนและแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ที่สามารถรับนักท่องเที่ยวจากภายนอกได้ในปี 2560

     

    0 0

    24. สายตวจป่าชายเลน

    วันที่ 16 มีนาคม 2556 เวลา 08:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ผู้ใหญ่จากกลุ่มธนาคารปูไข่ ครู นำเด็กๆออกสำรวจพื้นที่ป่าโกงกางใกล้ๆกับพื้นที่ที่ทำการปลูกป่าโกงกางเพิ่ม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    พบว่าต้นโกงกางที่ปลูกไว้ตายไปถึงครึ่งหนึ่ง เนื่องจากมีหอยและเพรียงมากินต้นอ่อน เด็กและผู้ใหญ่จึงร่วมกันปลูกทดแทนด้วยฝักโกงกางรวม 350 ฝัก

     

    0 0

    25. ลดการทิ้งขยะลงทะเล

    วันที่ 17 มีนาคม 2556 เวลา 13:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    -ชี้แจงว่าเริ่มเก็บขยะจากไหนถึงไหน และแจกถุงดำเพื่อใส่ขยะ

    -ครัวเรือนติดทะเล เยาวชน และพี่เลี้ยงโครงการร่วมกันเก็บขยะจากมัสยิดถึงชายทะเลฝั่งตะวันตก

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ครัวเรือนติดทะเล แกนนำ เยาวชนและพี่เลี้ยงโครงการ จำนวน 51 คน ร่วมกันเก็บขยะ จากมัสยิดถึงบรเวณชายทะเลฝั่งตะวันตก โดยแจกถุงดำคนละใบเพื่อใส่ขยะ จากการที่เก็บขยะส่ิงที่เจอมากที่สุด คือถุงพลาสติก รองลงมา ขวดพลาสติก พบมากบริเวณข้างทางและร้านค้า

     

    0 0

    26. ชักชวนผู้ทำอวนปูที่เหลือเข้าร่วมกลุ่ม 9/3

    วันที่ 30 มีนาคม 2556 เวลา 14:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะกรรมการ 5 คนร่วมออกเดินตามครัวเรือน เพื่อพูดคุยชักชวนครัวเรือนที่ทำอวนปู เข้าร่วม กลุ่มธนาคารปูไข่ 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    -คณะกรรมการออกเดินตามครัวเรือนพูดคุยกับพี่น้องชาวบ้านที่ทำอวนปู ชักชวนให้ร่วมกลุ่มธนาคารปูไข่ สองวันได้ 28 ครัวเรือน -ครัวเรือนที่ทำอวนปูตอบรับการเข้าร่วมกลุ่มธนาคารปูไข่

     

    0 0

    27. คืนข้อมูลปริมาณปูที่จับได้

    วันที่ 5 เมษายน 2556 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ทางกลุ่มธนาคารปูไข่รวบรวมข้อมูลวิเคราะผลการจับปูของครัวเรือนเพื่อให้ชาวบ้านทราบ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ชาวบ้านได้ทราบถึงอัตราการจับสัตว์น้ำของอวนจมปูบริเวณเกาะสาหร่าย

     

    0 0

    28. ธนาคารปูไข่

    วันที่ 7 เมษายน 2556 เวลา 14:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    -กรรมการธนาคารปูไข่ 20 คน ประชุมวางแผนการทำงานเดือน เมษายน 2556

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    -จะมีสายตรวจออกตรวจตราและซ่อมแซมต้นไม้ที่ไ้ปลูกปลูกไปเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2556 ในวันที่ 11 เมษายน 2556

    -จะมีพี่เลี้ยง นางนฤมล อุโหยบ ลงมาสรุปถอดบทเรียนโครงการและติดตามงาน 6 เดือนแรก ในวันที่ 12 เมษายน 2556

    -มีการปลูกป่าในวันที่ 22 เมษายน 2556

    -ให้กรรมการทุกคนช่วยประชาสัมพันธ์ให้ชาวบ้านได้ทราบกันทุกคนและชักชวนให้มาร่วมกันตรวจตราป่าและปลูกป่ากันมากๆ

     

    0 0

    29. สายตรวจป่าชายเลน

    วันที่ 12 เมษายน 2556 เวลา 08:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เยาวชนและตัวแทนกลุ่มอนุรักษ์ กลุ่มธนาคารปูไข่ ออกตรวจตราและปลูกซ่อมแซม 49 คน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    -เยาวชนและกลุ่มอนุรักษ์ กลุ่มธนาคารปูไข่ 49 คนร่วมกันเก็บพันธ์ไม้เพื่อนำไปซ่อมแซมต้นที่ตายหลังจากที่ปลูกไปเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2556 - เยาวชนและกลุ่มอนุกษ์ กลุ่มธนาคารปูไข่ได้สำรวจต้นที่ตายไปหลังจากที่ปลูกไปเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2556 พบว่ามีต้นที่ตายไปทั้งหมด ประมาณ400 ต้น จากที่ปลูกไป 700 ต้น ซึ่งตอนนี้ต้นที่รอดได้แตกยอดอ่อนมาต้นละ 2-3 ใบ -หลังจากสำรวจว่าตายไปทั้งหมดกี่ต้น เยาวชนและตัวแทนกลุ่ม ช่วยกันปลูกทดแทนต้นที่ตายไปทั้งหมด 500 ต้น

     

    0 0

    30. พี่เลี้ยงชวนถอดบทเรียน

    วันที่ 14 เมษายน 2556 เวลา 15:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ตัวแทนแกนนำ กลุ่มต่างๆ 16 คน พูดคุยสรุปการทำงาน 6 เดือนแรก

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ตัวแทนแกนนำ กลุ่มต่างๆ 16 คน พูดคุยสรุปการทำงาน 6 เดือนแรก
    สรุปถอดบทเรียน ติดตามโครงการ 6 เดือนแรก (โดยหวังผลลัพธ์) - ชุมชนเข้มแข็ง - ประเมินผลระหว่างทาง กิจกรรมหลักโครงการ - ธนาคารปูไข่ - ลดการทิ้งขยะ - อนุรักษ์ป่า - วางแนวเขต แกนนำร่วมแสดงความคิดเห็นการดำเนินงานที่ผ่านมา จากการทำโครงการมา 6 เดือน มีความเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง ด้านเยาวชน - เด็กเยาวชนได้เรียนรู้ - ได้มีการรวมตัว - เมื่อก่อนความใกล้ชิดห่างเหินไม่มีกิจกรรมร่วมกัน - เมื่อก่อนเวลามีกิจกรรมไม่ค่อยมีเยาวชนมามีส่วนร่วม - เยาวชนมีความกระตือรือร้นที่จะทำงานมากขึ้น - เยาวชนรู้สึกมีค่ามากขึ้น - มีการกลับมาเล่าสู่กันฟังคนในครอบครัว - ได้มีความรู้นอกห้องเรียน ด้านผู้ใหญ่ - อยากเป็นตัวอย่างให้กับเยาวชน - อยากพัฒนาหมู่บ้าน - มีความกระตือรือร้นที่จะทำงานมากขึ้น - เมื่อก่อนกิจกรรมนานๆครั้ง พอมีโครงการของสสส.ลงมามีกิจกรรมมากขึ้นทำให้ชาวบ้านมีการพบปะพูดคุยมากขึ้น กระบวนการทำงานมีการเปลี่ยนแปลง - มีการแบ่งหน้าที่อย่างชัดเจน - มีส่วนร่วมมากขึ้น - มีโรงเพาะชำกล้าไม้ - มีป่ามากขึ้น - ชาวบ้านรับรู้การอนุรักษ์มากขึ้น ปัญหาการทำงาน - คณะกรรมการมีเวลาไม่พร้อมกัน (แกนนำมีหลายตำแหน่ง) - จัดกิจกรรมบางคนไม่ให้ความสำคัญ - ขาดสภาองค์กรชุมชน - ใช้คนมากไม่สอดคล้องกับวิถีชีวิต - การเมืองมีส่วนในการทำงาน - ขาดแกนนำรุ่นใหม่ๆ ต่อยอด กิจกรรมโครงการ - ขยะไม่มีที่กำจัด - อบรมให้ความรู้เรื่องขยะ - ขยะที่มาจากทะเล เช่น (บารัง) เอามาทำอะไรได้บ้าง - ให้เยาวชนได้มีเวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน ระหว่างนอกหมู่บ้าน

     

    0 0

    31. ลดการทิ้งขยะลงทะเล

    วันที่ 19 เมษายน 2556 เวลา 14:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เยาวชนตัวแทนแกนนำต่างๆร่วมกันเก็บขยะหลังละหมดวันศุกร์ 55 คน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เยาวชนตัวแทนแกนนำต่างๆร่วมกันเก็บขยะหลังละหมดวันศุกร์ 55 คน ร่วมกันเก็บตั้งแต่มัสยิดถึงสะพานท่าเทียบเรือ หลังจากที่เก็บไปครั้งหนึ่งเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2556 ขยะข้างทางลดน้อยลง เยาวชนเยาวชนลดการทิ้องขยะข้างทางมากขึ้น จากที่ได้สังเกตุมาเยาวชนบางคนนำถุงขนมที่กินแล้วกลับไปทิ้งที่บ้านไม่ทิ้งบริเวณข้างทางอย่างเมื่อก่อน

     

    0 0

    32. ปลูกป่าชายเลน 4/3

    วันที่ 22 เมษายน 2556 เวลา 08:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เยาวชนและตัวแทนแกนนำกลุ่มต่างๆ ทั้งหมด 53 คนร่วมกิจกรรมปลูกป่า

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เยาวชนและตัวแทนแกนนำกลุ่มต่างๆ ทั้งหมด 53 คนร่วมกิจกรรมปลูกป่า ซึ่งได้ปลูกทางทิศตะวันตกของเกาะ ปลูกต่อจากที่ปลูกไปในรอบที่แล้ว ซึ่งยังไม่เต็มพื้นที่ ที่ได้กำหนดไว้ 1 ไร่ ซึ่งในรอบนี้ก็ได้ปลูกเพิ่มไปอีก 1,500 ต้น ซึ่งตอนนี้ก็ปลูกอยู่ประมาณ 3 งาน และชาวบ้านตั้งความหวังว่าปลูกในรอบต่อไปจะต้องได้    1.5 ไร่

     

    0 0

    33. วางทุ่นแนวเขตอนุรักษื

    วันที่ 2 พฤษภาคม 2556 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ได้วางทุ่นบริเวณหน้าเกาะด้านทิศตะวันออกโดยมีทุ่นวางแนวเขตจำนวน15ชุดและใช้เรือในการวางทุ่น3ลำและมีการอบรมชาวบ้านว่าไม่ให้เข้ามาจับสัตว์นำในเขตอนุรักษ์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สัตว์น้ำขยายพันธุ์เพื่มมากขึ้นเพราะชาวประมงไม่เข้ามาจับสัตว์น้ำในเขตอนุรักษ์

     

    20 20

    34. ทำบ่อนุบาลปูไข่

    วันที่ 3 พฤษภาคม 2556 เวลา 14:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะกรรมการปูไข่ทั้งหมด 20 คน ประชุมวางแผนทำบ่ออนุบาลปูไข่

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะกรรมการปูไข่ทั้งหมด 20 คน ประชุมวางแผนทำบ่ออนุบาลปูไข่ - ประธาน นายสุรัตน์  อังสุพานิชน์ เปิดประชุม -กำหนดวางแผนการทำบ่ออนุบาลปู่ไข่ โดยแบ่งกรรมการออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรก 15 คน กลุ่่มที่สอง 5 คน
    -วันที่ 4 พฤษภาคม 2556 กรรมการกลุ่มแรก 15 คน ไปตัดไม้เพื่อมาซ่อมแซมอาคารธนาคารปูไข่ กลุ่มที่สอง 5 คน ขึ้นฝั่งเพื่อซื้ออุปกรณ์ทำบ่ออนุบาลปปูไข่ -วันที่ 5 พฤษภาคม 2556 กรรมการทั้งหมด 20 คน ร่วมกันซ่อมแซมอาคารธนาคารปุไข่และร่วมกันสร้างบ่ออนุบาลปูไข่ -วันที่ 6 พฤษภาคม 2556 กรรมปูไข่ทุกคนนำปูไข่คนละตัวมาปล่อยในบ่ออนุบาลปูไข่

     

    0 0

    35. ร่วมกันทำบ่อปูอนุบาล

    วันที่ 4 พฤษภาคม 2556 เวลา 14:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    กรรมการปูไข่ 20 คน ร่วมกันซ่อมแซมอาคารธนาคารปูไข่ และขึ้นฝั่งซื้ออุปกรณ์ทำบ่ออนุบาลปูไข่

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    กรรมการธนาคารปูไข่แบ่งออกเป็นสองกลุ่ม กลุ่มแรก 15 คน กลุ่มที่สอง 5 คน  กลุ่มแรกเข้าป่าเพื่อตัดไม้ซ่อมแซมอาคารธนาคารปูไข่ กลุ่มที่สอง ขึ้นฝั่งซื้ออุปกรณ์ทำบ่ออนุบาลปูไข่

     

    0 0

    36. ร่วมกันทำบ่ออนุบาลปูไข่

    วันที่ 5 พฤษภาคม 2556 เวลา 00:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    กรรมการธนาคารปูไข่ 20 คน ร่วมกันทำบ่ออนุบาลปูไข่

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    กรรมการธนาคารปูไข่ 20 คน ร่วมกันทำบ่ออนุบาลปูไข่

     

    0 0

    37. ประชุมเรียนรู้ผู้รับผิดชอบโครงการสร้างเสริมสุขภาวะพื้นที่ภาคใต้

    วันที่ 6 พฤษภาคม 2556

    กิจกรรมที่ทำ

    ร่วมประชุมเรียนรู้ผู้รับผิดชอบโครงการสร้างเสริมสุขภาวะื้พื้นที่ภาคใต้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ร่วมประชุมเรียนรู้ผู้รับผิดชอบโครงการสร้างเสริมสุขภาวะื้พื้นที่ภาคใต้และร่วมทำแบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ ที่เกิดจากโครงการในมิติต่อไปนี้ 1. ความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพและนวัตกรรมเิงระบบสุขภาพชุมชน 2. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีผลต่อสุขภาวะ 3. การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ 4. ผลกระทบเชิงบวกและนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาวะชุมชน 5. กระบวนการชุมชน 6. มิติสุขภาวะปัญญา/สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

     

    0 0

    38. ประชุมทำความเข้าใจแกนนำและครัวเรือนที่อยู่ติดทะเล

    วันที่ 11 พฤษภาคม 2556

    กิจกรรมที่ทำ

    ครัวเรือนที่ติดทะเล กลุ่มแม่บ้าน ตัวแทนกลุ่มต่างๆทั้งหมด 55 คน เข้าร่วมรับฟังให้ความรู้การคัดแยกขยะ 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    มีวิทยากรจากอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา ฝ่ายนันทนาการมาให้ความรู้เกียวกับการคัดแยกขยะ ว่าขยะนั้นมีกี่ประเภท อะไรบ้าง และมีโทษอย่างไร ชาวบ้านเข้าร่วมรับฟังทั้งหมด 55 คน
    - ในช่วงกลางคืนก็มีกิจกรรมสันทนาการร่วมกับวิทยากรที่มาให้ความรู้และร่วมกันจัดตั้งกระบวนการบริหารจัดการธนาคารขยะ โดยให้แบ่งออกเป็นโซน ได้ทั้งหมด 4 โซนและให้มีตัวแทนแกนนำแต่ละโซนๆละ 3-5 คน แต่ไม่สามารถจัดตั้งกรรมได้เนื่องจากชาวบ้านยังไม่เข้าใจกระบวนการที่ชัดเจน จึงนัดประชุมใหม่ในวันที่ 17 พฤษภาคม 2556 สรุปผลมอบหมายให้ นางสุรีพร ใบดี แกนนำกลุ่มแม่บ้านเป็นผู้ดำเนินการ ซึ่งสรุปได้ดังนี้  1.รับสมัครอาสสมัคแยกขยะครัวเรือ ได้ทั้งหมด 16 คน 2. นำขยะมารวบรวมจำหน่ายทุกวันที่ 20 ของเดือน 3.รายได้จัดสรรเป็นเปอร์เซ็น 3 ส่วน คือ บรหารจัดการกลุ่ม,แบ่งให้เจ้าของขยะ,บริจาคให้การกุศล (มัสยิด,โรงเรียน)

     

    0 0

    39. ปลูกป่าชายเลน 4/4

    วันที่ 12 พฤษภาคม 2556 เวลา 08:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เยาวชน, แกนนำธนาครปูไข่,ชาวบ้าน,พี่เลี้ยงและเจ้าหน้าที่หน้าที่ฝ่ายสื่อและสันทนาการอุทยานแห่งชาติเกาะเภตรา ทั้งหมด 54 คน ร่วมกันปลูกป่า 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เยาวชน, แกนนำธนาครปูไข่,ชาวบ้าน,พี่เลี้ยงและเจ้าหน้าที่หน้าที่ฝ่ายสื่อและสันทนาการอุทยานแห่งชาติเกาะเภตรา ทั้งหมด 54 คน ร่วมกันปลูกป่าทางฝั่งทิศตะวันตกต่อจากที่เดิมที่ปลูกไปแล้วในครั้งนี้ปลูกไปทั้งหมด จำนวน 3,000 ต้น เนื้อที่ประมาณ ครึ่งไร่ และพร้อมติดป้ายอนุรักษ์ป่าชายเลน

     

    0 0

    40. เก็บข้อมูลปริมาณปูไข่ที่จับได้ 13/4

    วันที่ 17 พฤษภาคม 2556 เวลา 14:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    กลุ่มธนาคารปูไข่รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ผล การจับปูของครัวเรือนที่ทำอวนปูทั้งหมด 53 ครัวเรือนตั้งแต่เดือน ธันวาคม 2555 - มีนาคม 2556 ทั้งหมด 4 เดือน ซึ่งแยกออกเป็น อวนจมปูและอวนลอยปู นำเสนอที่ประชุมกลุ่มและหมู่บ้าน 70 คน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    กลุ่มธนาคารปูไข่รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ผล การจับปูของครัวเรือนที่ทำอวนปูทั้งหมด 53 ครัวเรือนตั้งแต่เดือน ธันวาคม 2555 - มีนาคม 2556 ทั้งหมด 4 เดือน ซึ่งแยกออกเป็น อวนจมปูและอวนลอยปู นำเสนอที่ประชุมกลุ่มและหมู่บ้าน 70 คน

     

    0 0

    41. วางกติกาของกลุ่มธนาคารปูไข่

    วันที่ 18 พฤษภาคม 2556 เวลา 14:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะกรรมการปูไข่ 20 คนร่วมกันกำหนดกติกากฎระเบียบธนาคารปูไข่

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะกรรมการปูไข่ 20 คนร่วมกันกำหนดกติกากฎระเบียบธนาคารปูไข่ ได้ดังนี้ 1. การบริจาคปู บริจาคเดือน 2 ครั้ง ในช่วงน้ำ 15-2 ค่ำ
    2. บริจาคปูคนละ 1-2 ตัว 3. ให้เลขา เป็นผู้บันทึกข้อมูลในการบริจาคในแต่ละครั้ง และให้จดบันทึกจำนวนลูกปูที่ปล่อยลงสู่ทะเลในแต่ละครั้งด้วยว่าได้ปล่อยลงไปจำนวนกี่ตัวเพื่อจัดเก็บเป็นข้อมูลสถิติการปล่อยปู 4. หลังจากขายปูที่สลัดไข่แล้วเงินที่ได้นำมาบริหารจัดการในกลุ่ม ได้แก่ ค่าไฟ ,ค่าซ่อมแซมอุปกรณ์ที่ชำชุด ในกรณีที่เืดือนใดค่าไฟฟ้าสูงกว่าจำนวนปูที่ขายได้ให้กรรมการบริจาคเพิ่ม 5.ทุกเดือนหลังจากขายปูที่สลัดไข่ทิ้งให้เหรัญญิกรายงานยอดเงินที่ขายได้และที่จ่ายไปให้สมาชิกทราบ 6.กรรมการต้องมีการประชุมทุกวันศุกร์แรกของเดือนทุกเดือนเพื่อวางแผนการดำเนินงาน

     

    0 0

    42. สายตวจป่าชายเลน

    วันที่ 18 พฤษภาคม 2556 เวลา 08:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    กลุ่มธนาคารปูไข่และเยาวชนรวม 42 8น ออกสำรวจป่าชายเลนที่เขื่อนหลังเกาะ 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    พบว่าต้นโกงกางตายไปประมาณ 100 ต้นเนื่องจากมีปูเสฉวนและแพะมากัดกินต้นอ่อน จึงมีการปลูกทดแทน 500 ฝักและได้นำอวนมากั้นเพื่อป้องกันปูเสฉวนและแพะ ส่วนต้นที่ไม่ตายเริ่มมียอดอ่อนออกมาแล้ว

     

    0 0

    43. ธนาคารปูไข่

    วันที่ 7 มิถุนายน 2556 เวลา 14:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะกรรมการปูไข่ 20 คนร่วมฟังการสรุปผลงานบรคิจาคปูพูดคุยวางแผนการทำงานต่อ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะกรรมการปูไข่ 20 คนได้ร่วมประชุม ประจำเดือน และได้สรุป จำนวนปูที่ได้รับบริจาค ในเดือนนี้ คือ 60 ตัว มีคนบริจาคพันธุ์ปูในเดือนนี้ คือ 24 คน เป็นคณะกรรมการ 20 คน ชาวบ้านร่วมบริจาค12 คน จับปูที่ปล่อยไข่ไปขาย 6 ครั้ง ได้รับเงินมา 682 บาทและได้แจ้งสมาชิกทุกคนทราบแล้ว

     

    0 0

    44. สายตรวจป่าชายเลน

    วันที่ 15 มิถุนายน 2556 เวลา 08:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เยาวชนเเละกลุ่มนุรักษ์กลุ่มธนาคารปูไขรวม 41 คนออกสำรวจป่าชายเเลนบริเวรหน้าเกาะ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    พบป่าชายเเลนตายเนื่องจากปูเฉชวนเเละเเพะกัดกินป่าชายเเลนเเละได้ปลูกทดเเทนด้วยต้นที่เพาะชำขึ้นเอง  จำนวน 450 ต้น

     

    0 0

    45. ลดการทิ้งขยะลงทะเล

    วันที่ 29 มิถุนายน 2556 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ครัวเรือนที่ติดทะเล ชาวบ้าน เยาวชนรวม 50 คน ร่วมกันเก็บขยะริมชายหาดและสองข้างถนนริมทะเล

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เยาวชนและผู้ใหญ่ร่วมกันทำงานอย่างสนุกสนาน เด็กๆวิ่งแย่งกันเก็บขยะ มีการพูดคุยให้ทิ้งขยะเป็นที่เป็นทาง  ชักชวนให้บ้านริมทะเลไม่นำขยะทิ้งลงทะเล วันนี้เก็บขยะได้ 22 ถุงดำ

     

    0 0

    46. กำหนดกติกาการจับปู

    วันที่ 29 มิถุนายน 2556

    กิจกรรมที่ทำ

    • วิทยากรจากประมงจังหวัดสตูลมาบรรยายเรื่องการกำหนดแนวเขตโดยไม่ผิดกฎหมาย
    • วิทยากรเสนอแนะกติกาการห้ามและอนุญาตจับปู

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • วิทยากรชี้แจงว่าสามารถวางแนวเขตของหมู่บ้านห่างจากฝั่งไม่เกิน 3 กม.
    • กติการที่ควรนำไปปฏิบัติคือ ห้ามจับภายในแนวเขตแต่หากคนในหมู่บ้านอื่นร่วมบริจาคแม่ปูสม่ำเสมอก็ให้อนุญาตให้จับได้เช่นกัน
    • อย่างไรก็ตามวิทยากรแสดงความชื่นชมที่ชาวบ้านเข้มแข็งสามารถจัดการเรื่องธนาสคารปูไข่ขึ้นมาเอง ให้เปิดเป็นศูนย์เรียนรู้แก่หมู่บ้านอื่น

     

    50 50

    47. ลดการทิ้งขยะลงทะเล

    วันที่ 5 กรกฎาคม 2556 เวลา 14:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เยาวชนและแกนนำกลุ่มอนุรักษ์ กลุ่มปูไข่รวม 55 คน ร่วมกันเก็บขยะที่ชายหาดด้านทิศตะวันออกของเกาะ 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ขยะที่ได้ส่วนมากเป็นพลาสติกถุงขนมและเศาขยะที่ลอยมากับน้ำทะเล ได้ขยะ 22 ถุงดำ

     

    0 0

    48. สายตวจป่าชายเลน

    วันที่ 6 กรกฎาคม 2556 เวลา 08:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เยาวชน กลุ่อนุรักษ์ กลุ่มปูไข่รวม 40 คนได้ออกสำรวจป่าชายเลนที่ปลุกไว้ด้านหน้าเกาะ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    พบว่าต้นที่ปลูกไว้เริ่มแข็งแรง มีตายบ้างเป็นส่วนน้อยประมาณ 30 ต้น ได้ทำการปลูกทดแทนและปลูกเพิ่มโดยใช้ต้นโกงกางที่เพาะเองจำนวน 100 ต้น

     

    0 0

    49. ลดการทิ้งขยะลงทะเล

    วันที่ 12 กรกฎาคม 2556 เวลา 14:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เยาวชน 20 คนและกลุ่มอนุรักษ์มาร่วมกันรายงานผลการทำกิจกรรมลดการทิ้งขยะลงทะเลให้ที่ประชุมชาวบ้านทราบ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    พบว่าครัวเรือนติดทะเลมีการทำถังขยะแยกเป็นชนิดๆ ทิ้งขยะเป็นที่เป็นทางเพราะอายเด็กๆที่มาเก็บขยะทุกเดือน เด็กๆลดการทิ้งขยะตามสองข้างทางระหว่างกลับจากโรงเรียนสังเกตจากปริมาณขยที่เก็บได้ลดลงทุกเดือน

     

    0 0

    50. เก็บข้อมูลธนาคารปูไข่ที่จับได้ 13/5

    วันที่ 12 กรกฎาคม 2556 เวลา 14:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    รวบรวมวิเคราะผลและมานำเสนอ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    กลุ่มธนาคารปูไข่ได้รวบรวม วิเคราะห์ผลนำเสนอที่ประชุมกลุ่มและหมู่บ้าน 70 คน ถึงปริมาณปูไข่ที่จับได้ ตั้งแต่เดือน เม.ย-ก.ค 2556 มีผู้บริจาคปูที่จับได้ใน 4 เดือน คือ 85 คน (กรรมการบริจาคปูไข่ที่จับได้ รวม 4 เดือน 70 คน) และ(ชาวบ้านบริจาคปูไข่ที่จับได้ รวม 4 เดือน 15 คน)และมี(กรรมการค้างบริจาคใน 4 เดือน 12 คน) รวมปูไข่ที่จับได้ใน 4 เดือน คือ 152 ตัว และ จับปูไปขายใน 4 เดือน รวมเป็นเงิน 1,075 บาท ทุกครั้งที่จับปูไปขาย จะนำเงินที่ได้ไปมอบไห้เหรัญญิก เพื่อนำเงินดังกล่าวไปบริหารกลุ่มธนาคารปูไข่ต่อไป

     

    0 0

    51. ส่งรายงาน สสส.

    วันที่ 16 กรกฎาคม 2556 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ผู้รับผิดชอบโครงการ 2 คน นำเอกสารการเงินงวด 2 ให้ จนท.สจรส.ตรวจสอบ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ขาดเอกสารบางรายการ เช่น ใบลงทะเบียน ใบสำคัญรับเงิน จนท.ให้ดำเนินให้เรียบร้อยและให้พี่เลี้ยงตรวจสอบต่อ

     

    0 0

    52. ธนาคารปูไข่

    วันที่ 19 กรกฎาคม 2556 เวลา 14:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมและสรุปข้อมูลปูที่ได็รนับบริจาค

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะกรรมการปูไข่ 20 คนได้ร่วมประชุม ประจำเดือน และได้สรุป จำนวนปูที่ได้รับบริจาค ในเดือนนี้ คือ 60 ตัว มีคนบริจาคพันธุ์ปูในเดือนนี้ คือ 24 คน เป็นคณะกรรมการ 20 คน ชาวบ้านร่วมบริจาค 5 คน จับปูที่ปล่อยไข่ไปขาย 4 ครั้ง ได้รับเงินมา 398 บาทและได้แจ้งสมาชิกทุกคนทราบแล้ว

     

    0 0

    53. ลดการทิ้งขยะลงทะเล

    วันที่ 9 สิงหาคม 2556 เวลา 14:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เยาวชน แกนนำหมู่บ้าน และครัวเรือนติดทะเลรวม 50 คน ช่วยกันเก็บขยะที่ชายทะเลตะวันตก

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ขยะที่เก็บได้ส่วนใหญ่เป็นถุงพลาสติก ขวดพลาสติก แต่สังเกตว่าปริมาณลดลงมาก เก็บเสร็จเร็วขึ้น ได้จำนวน 12 ถุงดำ

     

    0 0

    54. สายตรวจป่าชายเลน

    วันที่ 10 สิงหาคม 2556 เวลา 08:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เยาวชน กลุ่มอนุรักษื กลุ่มปูไข่รวม 40 คนร่วมกันออกเดินสำรวจป่าชายเลนบริเวณด้านหน้าเกาะ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จากการสำรวจพบว่าฝักโกงกางที่ปลูกไว้ถูกน้ำทะเลซัดพาล้มไปบ้างประมาณ 150 ต้น ส่วนต้นที่ปลูกกับกล้้าไม้โกงกางอยู่ติดดีและแตกยอดอ่อน นอกจากนี้ยังมีการช่วยกันปลูกเพิ่มแต่จำเป็นต้องปลูกด้วยฝักเนื่องจากต้นที่เพาะเองยังโตไม่ทัน ปลูกได้ 400 ฝัก

     

    0 0

    55. ปลูกป่าชายเลน 4/5

    วันที่ 12 สิงหาคม 2556 เวลา 08:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ปลูกป่าชายเลนด้านหลังเกาะ 500 ต้น

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ชาวบ้านและเยาวชน ทั้งหมด 54 คนร่วมกันปลูกป่าชายเลน ด้านหลังเกาะด้านทิศตะวันตก จำนวน 500 ต้น พร้อมติดป้ายอนุรักษ์และพูดคุยกับเยาวชน ถึงประโยชน์ของป่าชายเลน ว่าเป็นแหล่งอนุบาสสัตว์น้ำต่อไปในอนาคต หากไม่ช่วยกันรักษาดูแลในอนาคตข้างหน้าจะไม่มีแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำ ให้ปูปลาได้วางไข่ และเาวชนจะอาสามาดูแลเพื่อไม่ไห้ปูเฉฉวนและแพะมากัดกินยอดอ่อนของต้นไม้

     

    0 0

    56. ลดการทิ้งขยะลงทะเล

    วันที่ 16 สิงหาคม 2556 เวลา 14:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    กลุ่มอนุรักษ์มารายงานผลการทำกิจกรรมให้ชาวบ้านรับทราบ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เยาวชนและกลุ่มอนุรักษ์ได้รายงานว่าทำกิจกรรมเก็บขยะ 7 ครั้งพบว่าสภาพแวดล้อมของหมู่บ้านสะอาดขึ้น ปริมาณขยะที่เก็บได้เริ่มลดลง อยากให้ต่อไปกลุ่มแม่บ้านทำกิจกรรมรับซื้อขยะเพื่อลดการเผาทำลาย และให้กรรมการหมู่บ้านหาทางกำจัดขยะจากซากสัตว์ประมงชายฝั่งเพื่อให้เกิดความสะอาดทั่งทั้งเกาะ

     

    0 0

    57. ธนาคารปูไข่

    วันที่ 23 สิงหาคม 2556 เวลา 14:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    กลุ่มธนาคารปูไข่นำข้อมูลปรืมาณปูไข่ที่จับได้มาคิดคำนวนว่าปริมาณเพิ่มขึ้นหรือไม่อย่างไร และนำข้อมูลการบริจาคปูไข่ให้กับธนาคารปู

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    พบว่าปริมาณปูที่จับได้เฉลี่ยทุกครัวเรือนแล้วเพิ่มขึ้นประมาณ 6 กก.ต่อเดือน ที่ประชุมเล่ากันว่าบริเวณใกล้ๆกับธนาคารปูจะหาปูได้ง่ายขึ้น ทุกคเห็นด้วยในการดำเนินกิจกรรมธนาคารปูต่อแม้ไม่มีโครงการใดสนับสนับสนุน  ทุกครัวเรือนที่เป็นสมาชิกธนาคารปูทุกครัวเรือนมีการนำแม่ปูไข่มาบริจาคสม่ำเสมอดีร้อยละ 90

     

    0 0

    58. ลดการทิ้งขยะลงทะเล

    วันที่ 6 กันยายน 2556 เวลา 14:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ชาวบ้านและเยาวชน จำนวน 50 คน ช่วยกันเก็บขยะตามสถานที่ต่างๆ
    • แกนนำโครงการเก็บข้อมูลครัวเรือนที่ยังมีการทิ้งขยะลงทะเล

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • เยาวชนและชาวบ้านร่วมกันเก็บขยะ ร่วมเก็บตั่งแต่มัสยิดและบริเวณชายฝั่งทะเลด้านทิศตะวันออกและบริเวณตามถนนโดยแจกถุงดำเพื่อใส่ขยะ จากที่เก็บสิ่งที่เจอมากที่สุด คือ ถุงพลาสติก และขวดพลาสติก พบมากบริเวณชายฝั่งทะเล และ สองข้างทาง และบอกกับเยาวชนว่า อย่าทิ้งขยะลงทะเลเพราะจะทำไห้น้้ำเน่าเสีย เก็บได้ 18 ถุง
    • มีครัวเรือนอยู่ติดชายทะเลทั้งหมด 11 ครัวเรือน ยังคงมีการทิ้งขยะลงทะเล 3 ครัวเรือน คิดเป็นครัวเรือนที่ไม่ทิ้งขยะลงทะเลร้อยละ 81.82

     

    0 0

    59. เก็บข้อมูลปริมาณปูไข่ที่จับได้ 13/6

    วันที่ 6 กันยายน 2556 เวลา 14:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    กลุ่มปูไข่ได้รวบรวม วิเคราะห์ผลนำเสนอที่ประชุมหมู่บ้าน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    กลุุ่มธนาคารปูไข่ได้รวบรวม วิเคราะผล การจับปูของครัวเรือนที่ทำอวนปูทั้งหมด 53 ครัวเรือน ตั้งแต่เดือน มิ.ย-ก.ย 2556 ทั้งหมด 4 เดือน ซึ่งแยกออกเป็นอวนจมปู และอวนลอยปู นำเสนอที่ประชุมกลุ่มและหมู่บ้าน 70 คน รายงานผลข้อมูลปริมาณการจับปูบ้านยะระโตดนุ้ย หมู่ 4 เกาะสาหร่าย อ.เมือง จ.สตูล อัตราการจับสัตว์น้ำ(กก./วัน/อวน100เมตร)ของอวนจมปูเดือน มิถุนายน ปูม้าเป็น 38.30% ปูม้าใหญ่ 24.40% ปูม้ากลาง 25.80% ปูม้าเล็ก 11.50% เดือน กรกฎาคม ปูม้าเป็น 35.25% ปูม้าใหญ่ 34.33% ปูม้ากลาง 18.22% ปูม้าเล็ก 12.20% เดือน สิงหาคม ปูม้าเป็น 36.26% ปูม้าใหญ่ 28.44% ปูม้ากลาง 25.18% ปูม้าเล็ก 9.12% เดือนกันยายน ปูม้าเป็น 37.25% ปูม้าใหญ่ 30.33% ปูม้ากลาง 20.00% ปูม้าเล็ก 11.20%

     

    70 70

    60. ธนาคารปูไข่

    วันที่ 13 กันยายน 2556 เวลา 14:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะกรรมการปูไข่ 20 คนได้ร่วมประชุมและได้สรุปจำนวนปูที่ได้รับบริจาค ในเดือนนี้คือ 34ตัว มีคนร่วมบริจาคพันปูในเดือนนี้คือ 19 คน เป็นคณะกรรมการ 18 คน ชาวบ้าน 1 คน จับปูไปขาย 2 ครั้งได้เงินมา 220 บาท หลังจากประชุมเสร็จ คณะกรรมการได้ร่วมกันปล่อยพันธ์ปูคืนสู่ธรรมชาติต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • มีการบริจาคแม่ปูไข่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ
    • สมาชิกได้รับทราบผลการทำงาน สถานการณ์การบริจาค การนำปูสลัดไข่แล้วไปขาย

     

    0 0

    61. ร่วมงานสร้างสุขภาคใต้

    วันที่ 28 กันยายน 2556 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    แกนนำโครงการ 2 คนทำไวนิลกิจกรรมโครงการไปแสดงในงาน และร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับโครงการพื้นที่ีอื่นๆ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้แสดงผลงาน ชมผลงานของพื้นที่อื่นๆ ในประเด็นโครงการที่แตกต่างกันออกไป เพื่อนำสิ่งที่ดีๆมาปรับใช้กับพื้นที่ตนเอง

     

    0 0

    62. จัดทำรายงานสรุปปิดโครงการ

    วันที่ 30 กันยายน 2556 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดทำรายงานสรุปปิดโครงการ  เช่น รายงานฉบับสมบรูณ์ ส.3 ส.4 และเอกสารการเงิน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จัดทำรายงานสรุปปิดโครงการ  เช่น รายงานฉบับสมบรูณ์ ส.3 ส.4 และเอกสารการเงิน

     

    0 0

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

     

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 เพื่อให้เกิดจิตสำนึกอนุรักษ์ร่วมใจเพิ่มแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อน
    ตัวชี้วัด : 1. มีการปลูกป่าชายเลนเพิ่มขึ้น 2 ไร่ต่อปี 2. ครัวเรือนที่ตั้งอยู่ริมชายฝั่งไม่ทิ้งขยะลงทะเลร้อยละ 80

     

    2 เพื่อสร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วมดำเนินงานธนาคารปูไข่
    ตัวชี้วัด : 1. ครัวเรือนที่มีอาชีพจับปูมีรายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 20

     

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้เกิดจิตสำนึกอนุรักษ์ร่วมใจเพิ่มแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อน (2) เพื่อสร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วมดำเนินงานธนาคารปูไข่

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    ส่วนที่ 3 ประเมินคุณค่าโครงการ

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ

    ชื่อโครงการ โตดนุ้ยรักษ์ถิ่น - เล - ป่า

    รหัสโครงการ 55-01814 รหัสสัญญา 55-00-1057 ระยะเวลาโครงการ 1 ตุลาคม 2555 - 31 ตุลาคม 2556

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นการคุณค่าที่เกิดจากโครงการในมิติต่อไปนี้

    • ความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพและนวัตกรรมเชิงระบบสุขภาพชุมชน
    • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีผลต่อสุขภาวะ
    • การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ
    • ผลกระทบเชิงบวกและนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาวะชุมชน
    • กระบวนการชุมชน
    • มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่

    1. เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้ใหม่ / องค์ความรู้ใหม่
    • เยาวชนเกาะโดตถึงแม้เป็นเด็กชาวเกาะแต่ถูกเลี้ยงด้วยระบบพ่อแม่สมัยใหม่ไปโรงเรียนในช่วงเวลากลางวัน เสาร์อาทิตย์ดูทีวีและขี่จักรยานเล่นไม่ค่อยมีการช่วยพ่อแม่ทำงานดังนั้นจึงไม่มีความรู้เชิงลึกในเรื่องทรัพยากรป่าชายเลน เมื่อได้มีการสำรวจป่าชายชายเลนทำให้เด็กๆมีองค์ความรู้เชิงลึกในเรื่องป่าชายเลนมากขึ้น เช่น ชื่อพันธุ์ไม้พื้นถิ่นและชื่อสามัญของพันธุ์ไม้ป่าชายเลน พันธุ์สัตว์ทะเล นก งู
    • รายงานการสำรวจป่าชายเลน
    • รายงานที่เด็กๆมาเล่าผลการสำรวจให้ผู้ใหญ่ฟังที่มัสยิด
    • พัฒนาเป็นคู่มือป่าชายเลนของชุมชน
    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สิ่งประดิษฐ์ / ผลผลิตใหม่
    • โรงเพาะชำกล้าไม้โกงกาง  ปกติโกงกางปลูกได้ 2 วิธีคือ การปลูกด้วยฝักและการนำฝักไปเพาะชำเป็นต้นกล้า ซึ่งวิธีหลังจะแน่นอนกว่าในเรื่องการติดต้นกล้า แต่จะยุ่งยากกว่า  แต่กลไกการทำโรงเพาะชำเป็นกลวิธีในการที่ผู้ต้องการตัดไม้โกงกางจะต้องมาเบิกต้นกล้าไปปลูกทดแทน  อีกทั้งกระบวนการเก็บฝัก การเพาะชำเป็นการปลูกจิตสำนึกให้เด็กและผู้ใหญ่มีจิตอาสา จิตอนุรักษ์ไปด้วยพร้อมกัน
    • บ่ออนุบาลปูไข่  เดิมธนาคารปูไข่ที่เคยดำเนินการใช้บ่อธรรมชาติคือการกั้นอวนที่ริมชายฝั่งแต่โครงการนี้ กรรมการคิดที่จะทำบ่ออนุบาลด้วยถังกวนปูน เพื่อควบคุมปูไข่จนกว่าจะสลัดไข่และจับคืนให้กับสมาชิกที่มาปล่อยปูไข่ไว้จากนั้นจึงนำลูกปูไข่ไปปล่อยลงทะเล
    • ภาพเรือนเพาะชำกล้าไม้/กิจกรรมเพาะชำ
    • ภาพบ่ออนุบาลปูไข่/กิจกรรมปล่อยปูไข่ลงบ่อ
    • ตั้งเป็นศูนย์เรียนรู้การเพาะชำกล้าโกงกาง ชุมชนสามารถพึ่งตนเองได้ไม่ต้องขอกล้าพันธุ์จากหน่วยป่าชายเลน
    • ตั้งเป็นศุนย์เรียนรู้ธนาคารปูไข่
    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. กระบวนการใหม่
    • เกิดกระบวนการทำงานร่วมกัน ระหว่างกลุ่มต่างๆของชุมชน ได้แก่  เด็กเยาวชน กลุ่มธนาคารปูไข่ แม่บ้าน ผู็นำศาสนา จากเดิมที่ต่างคนต่างอยู่ต่างทำภาระกิจของตน
    • จากเวทีที่พี่เลี้ยงลงไปถอดบทเรียน ชาวบ้านสูงอายุคนนึงบอกว่า "พอทำโครงการนี้ทำให้เราได้ประชุมกันบ่อย ได้คุยกันบ่อย รู้สึกว่าได้ใกล้ชิดกันมากขึ้น มีปัญหาก็เอามาคุยกัน อย่างเรื่องการปล่อยแพะไปกินต้นไม้ชาวบ้าน ก็มาวางข้อตกลงกัน"
    • ต่อยอดเป็นสภาชุมชน
    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. วิธีการทำงาน / การจัดการใหม่
    • เกิดวิธีการทำงาใหม่ของกลุ่มธนาคารปูไข่ จากที่เคยจัดตั้งมาแล้ว  1 ครั้ง คราวนี้มีวิธีการทำงานใหม่ ได้แก่ กลไกการประชุมทุกเดือน การรวบรวมข้อมูลปูไข่  การลงแรงร่วมกันทำงาน
    • รายงานประชุมกลุ่ม ข้อมูลปูไข่
    • ต่อยอดวิธีการทำงานไปยังกลุ่มอื่นๆ
    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การเกิดกลุ่ม / โครงสร้างในชุมชนใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. แหล่งเรียนรู้ใหม่
    • ศุูนย์เรียนรู้ โรงเพาะชำกล้าไม้
    • ศูนย์เรียนรู้ กลุ่มธนาคารปูไข่
    • โรงเพาะชำกล้าไม้
    • บ่ออนุบาลธนาคารปูไข่
    • เชิญหมู่บ้านอื่นมาศึกษาดูงาน
    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    99. อื่นๆ

     

     

     

    2. เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การบริโภค

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การออกกำลังกาย

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. การลด ละ เลิก อบายมุข เช่น การพนัน เหล้า บุหรี่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การลดพฤติกรรมเสี่ยง เช่น พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การขับรถโดยประมาท

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. การจัดการอารมณ์ / ความเครียด

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. การดำรงชีวิต / วิถีชีวิต เช่น การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น / สมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเอง

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    8. พฤติกรรมการจัดการตนเอง ครอบครัว ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    9. อื่นๆ

     

     

     

    3. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. กายภาพ เช่น มีการจัดการขยะ ป่า น้ำ การใช้สารเคมีเกษตร และการสร้างสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนที่ถูกสุขลักษณะ
    • การจัดการป่าชายเลน โดยมีทั้งการป้องกัน อนุรักษ์ พัฒนา และฟื้นฟู
    • การจัดการขยะริมชายฝั่ง และในครัวเรือน
    • กิจกรรมสำรวจ/ศึกษาป่าชายเลน ปลูกป่า เพาะชำกล้าไม้
    • กิจกรรมเก็บขยะริมทะเล ในหมู่บ้าน รณรงค์  ให้องค์ความรู้การจัดการขยะ และธนาคารขยะ
    • ต่อยอดเป็นศูนย์เรียนรู้ในพื้นที่เกาะ
    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สังคม เช่น มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ลดการเกิดอุบัติเหตุ ครอบครัวอบอุ่น การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อเด็ก เยาวชน และกลุ่มวัยต่าง ๆ มีพื้นที่สาธารณะ/พื้นที่ทางสังคม เพื่อเอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชน มีการใช้ศาสนา/วัฒนธรรมเป็นฐานการพัฒนา
    • ครอบครัวอบอุ่นขึ้นเมื่อพ่อ แม่ ลูก ปู่ย่า ตายายได้มาทำกิจกรรมร่วมกัน สิ่งที่ผู้ใหญ่ในชุมชนชอบมากคือ การที่เด็กๆมาเล่ากิจกรรมที่เด็กๆได้ไปทำมาในเวทีหลังการละหมาดวันศุกร์
    • รายงาน/ภาพกิจกรรมของโครงการ
    • ชาวเกาะที่มีตามทะเบียนประชกร 300 คน แต่อยู่ที่เกาะประมาณแค่ 100 คน เมื่อมีกิจกรรมดีๆที่คน 100 คนเห็นว่าเกิดครอบครัวอบอุ่น จึงมีแนวคิดร่วมกันในการจัดวันครอบครัวอบอุ่น โดยชักชวนให้ชาวบ้านที่ไปทำงานบนฝั่งกลับมาทำกิจกรรมร่วมกัน เช่น วันฮารีรายา
    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. เศรษฐกิจสร้างสรรค์สังคม /สร้างอาชีพ / เพิ่มรายได้
    • กลุ่มธนาคารปูไข่ การทำแนวเขตจับปู การทำกติกาจับปู ทำให้จับปูไข่ได้มากขึ้น รายได้มากขึ้น
    • รายงาน/ภาพกิจกรรมของโครางการ
    • ต่อยอดเป็นศูนย์เรียนรู้ธนาคารปูไข่
    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการบริการสุขภาพทางเลือก และมีช่องทางการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. อื่นๆ

     

     

     

    4. การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. มีกฎ / กติกา ของกลุ่ม ชุมชน
    • กติกาหมู่บ้านในการจับ/จัดการขยายพันธุ์ปูไข่
    • ระเบียบข้อบังคับธนาคารปูไข่
    • การกำกับดูแลข้อบังคับ มาตรการทางสังคมให้เกิดความต่อเนื่อง
    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. มีมาตรการทางสังคมของกลุ่ม ชุมชน
    • กติกาหมู่บ้านในการอนุรักษ์ป่าชายเลน
    • มาตรการทางสังคมเรื่องการอนุารักษ์ป่าชายเลน
    • การกำกับดูแลข้อบังคับ มาตรการทางสังคมให้เกิดความต่อเนื่อง
    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. มีธรรมนูญของชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. อื่นๆ เช่น ออกเป็นข้อบัญญัติท้องถิ่น ฯลฯ

     

     

     

    5. เกิดกระบวนการชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. เกิดการเชื่อมโยงประสานงานระหว่างกลุ่ม / เครือข่าย (ใน และหรือนอกชุมชน)
    • มีการประสานงานหลักๆ  3 ส่วนได้แก่ ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำศาสนา และกลุ่มแม่บ้าน โดยมีเด็กๆเข้ามาร่วมกิจกรรมทุกครั้ง
    • รายงานกิจกรรม/ภาพกิจกรรม

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเรียนรู้การแก้ปัญหาชุมชน (การประเมินปัญหา การวางแผน การปฏิบัติการ และการประเมิน)
    • ระหว่างการทำกิจกรรมโครงการที่มีการประชุมกลุ่มแกนนำโครงการเริ่มมีการนำปัญหาอื่นๆของชุมชนมาปรึกษากัน เช่น ปัญหาการปล่อยแพะไปกัดกินพืชผลเพื่อนบ้านนำไปสู่กติกาของหมู่บ้าน  ปัญหาขยะเศษเปลือกหอยที่ติดมากับอวนนำไปสู่การจัดเวทีหาทางออกแต่ยังไม่สิ้นสุดกระบวนการ
    • กิจกรรมโครงการมีการทำงานบนแนวคิด PDCA เรื่องธนาคารปูไข่ โดยเริ่มจากปัญหาของกลุ่มที่เคยล้มเหลวสู่การกำหนดกระบวนการทำงานใหม่อย่างรัดกุม  มีการเก็บข้อมูลปูไข่ที่จับได้เพื่อปเปรียบเทียบผลงาน ซึ่งอยู่ในกระบวนการอยู่ยังไม่สามารถประเมินผลได้
    • รายงานถอดบทเรียนของพี่เลี้ยง

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ประโยชน์จากทุนในชุมชน เช่น การระดมทุน การใช้ทรัพยากรบุคคลในชุมชน
    • กลุ่มแม่บ้านมีการขอทุนจากแหล่งอื่นมาเสริมกิจกรรมธนาคารขยะ
    • รายงานกิจกรรมลดการทิ้งขยะลงทะเล

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกลุ่มและชุมชนที่เกิดจากโครงการอย่างต่อเนื่อง
    • การสำรวจป่าต่อเนื่องทุกเดือน
    • เก็บขยะต่อเนื่องทุกเดือน
    • เก็บข้อมูลปูที่จับได้ทุกวัน
    • รายงานกิจกรรมโครงการ

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. เกิดกระบวนการจัดการความรู้ในชุมชน
    • การจัดการความรู้เรื่องป่าชายเลนจากรุ่นพ่อแม่ปู่ย่าสู่รุ่นลูกรุ่นหลาน
    • การจัดการความรู้เรื่องวงจรชีวิตปูม้าไข่นอกกระดอง
    • รายงานกิจกรรมโครงการ

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. เกิดทักษะในการจัดการโครงการ เช่น การใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ การทำแผนปฏิบัติการ
    • การใช้ข้อมูลปูที่จับได้ สู่การปรับกติกาให้สมาชิกนำปูไข่มาส่งธนาคารให้เพิ่มมากขึ้นในรอบ 15 วัน
    • ข้อบังคับธนาคารปูไข่

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. อื่นๆ

     

     

     

    6. มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเอง / กลุ่ม / ชุมชน
    • ภูมิใจที่สามารถดึงการมีส่วนร่วมจากกลุ่มหลักๆให้มาทำงานร่วมกัน
    • รายงานกิจกรรมถอดบทเรียน

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเห็นประโยชน์ส่วนรวมและส่วนตนอย่างสมดุล
    • การร่วมคิด ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับธนาคารปูไข้ โดยไม่นำปูไข่ไปขายทั้งหมดต้องเก็บไปให้ธนาคารส่วนหนึ่งอย่างสม่ำเสมอ และไม่ใช้เครื่องมือที่ห้ามจับปู
    • รายงานกิจกรรมโครงการ

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย และพอเพียง

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. ชุมชนมีความเอื้ออาทร

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. มีการตัดสินใจโดยใช้ฐานปัญญา
    • การใช้ภูมิปัญญาเรื่องวงจรชีวิตปูไข่มากำหนดระเบียบข้อบังคับธนาคารปูไข่
    • ข้อบังคับธนาคารปูไข่

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. อื่นๆ

    ธนาคารปู

     

     

    โตดนุ้ยรักษ์ถิ่น - เล - ป่า จังหวัด สตูล

    รหัสโครงการ 55-01814

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นายดลฮอนี สุวาหลำ )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด