แบบรายงานผลการดำเนินโครงการประจำงวด 1

ชื่อโครงการ โรงเรียนชุมชนจัดการตนเองบ้านสวนป่า

ชุมชน บ้านสวนป่า ม.6 ต.วังมะปรางเหนือ อ.วังวิเศษ จ.ตรัง 92220

รหัสโครงการ 55-01778 เลขที่ข้อตกลง 55-00-1046

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2555 ถึง 31 ตุลาคม 2556

รายงานงวดที่ : 1 จากเดือน ตุลาคม 2555 ถึงเดือน กุมภาพันธ์ 2556

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินโครงการ (แสดงผลการดำเนินงานรายกิจกรรมที่แสดงผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. การประชุมปฐมนิเทศน์และแลกเปลี่ยนผู้รับทุนโครงการร่วมสร้างชุมชนและท้องถิ่นให้น่าอยู่ วันที่ 3-4 พ.ย.55 ณ โรงแรม ไดอิชิ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา

วันที่ 3 พฤศจิกายน 2555 เวลา 13:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • ทำความเข้าใจการจัดการบริหารโครงการ
  • การรายงานผลการดำเนินงานผ่านทางเว็ปไซด์ happynetwork

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • เกิดความเข้าใจร่วมกับคณะกรรมการและพี่เลี้ยงในการดำเนินงานตามกิจกรรม
  • ตัวแทนคณะกรรมการเข้าใจการบริหารจัดการโครงการ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • การประชุมปฐมนิเทศน์และแลกเปลี่ยนผู้รับทุนโครงการร่วมสร้างชุมชนและท้องถิ่นให้น่าอยู่

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ตัวแทนคณะทำงานโครงการฯจากชุมชนเข้าร่วมเวทีปฐมนิเทศเรียนรู้การบริหารจัดการโครงการ
    การรายงานผลการดำเนินงานผ่านทางเว็ปไซต์ happynetwork จำนวน 3 คน

 

0 0

2. ประชุมคณะกรรมการร่วมกับตัวแทนหน่วยงานพัฒนาในพื้นที่

วันที่ 21 พฤศจิกายน 2555 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

สร้างการมีส่วนร่วมระหว่างหน่วยงาน และชุมชนมากขึ้น และมีการนำแผนงานโครงการของหมู่บ้านเข้าสู่แผนปฏิบัติงานของหน่วยงานที่รับผิดชอบ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

มีครอบครัวอาสาเข้าร่วมโครงการจำนวน 36 ครัวเรือน และโรงเรียนสวนป่าแต่งตั้งกลุ่มสมุนไพรใกล้ตัวของโรงเรียนเข้าร่วมโครงการจำนวน 12 คน และเกิดการยอมรับในการดำเนินงานของคณะทำงานโครงการ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

หน่วยงานร่วมวางแผนและกำหนดบทบาทการหนุนเสริมโครงการฯ

กิจกรรมที่ทำจริง

มีคณะทำงานและครอบครัวอาสาเข้าร่วมจำนวน39คนประชุมทำความเข้าใจร่วมกับหน่วยงานในวันที่21พ.ค.55เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมระหว่างหน่วยงาน และชุมชนมากขึ้น และมีการนำแผนงานโครงการของหมู่บ้านเข้าสู่แผนปฏิบัติงานของหน่วยงานที่รับผิดชอบ

 

0 0

3. เวทีแลกเปลี่ยนความรู้ภูมิปัญญาชุมชน

วันที่ 8 ธันวาคม 2555 เวลา 13:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • จัดประชุมเวทีแลกเปลี่ยนความรู้ภูมิปัญญาชุมชน ณ โรงเรียนสวนป่าโดยมีผู้เข้าร่วม 22คน โดยตัวแทนครูจากโรงเรียนสวนป่า คณะทำงานครอบครัวอาสา และตัวแทนครอบครัวอาสา เพื่อกำหนดแนวทางการใช้วิถีชีวิตแบบพอเพียง โดยการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชนมาปรับใช้ เพื่อให้ตรงก

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • คณะทำงานและครอบครัวอาสามีการพูดคุยร่วมกับคณะครูโดยใช้หลักวิชาการกับภูมิปัญญาพื้นบ้านและที่ประชุมลงมติกำหนดพันธุ์พืชและสมุนไพร จำนวน 20 ชนิด ได้แก่ 1)ผักบุ้ง 2) ข้าวโพด 3) ดีปรีเชือก 4) ข้าวโพด 5 ) สับปะรด 6)มะขาม 7) ตะไคร้หอม 8) ขมิ้นชัน 9) หัวไพร 10) มะเขือ  11) มะกรูด 12) ผักหวาน 13) ขิงข่า 14)ชะอม 15) ชะมวง 16) ส้มหม้าว  17) ส้มปอย 18) พริกขี้หนู 19) ผักกูด 20) พริกไทย 21) มะละกอ
  • เกิดความเข้าใจร่วมกันของอาสาในการเข้าร่วมโครงการและร่วมกันพัฒนาแปลงสาธิตภายในโรงเรียนครอบครัว

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • คณะทำงานแลกเปลี่ยนความรู้/การดำเนินชีวิตของภูมิปัญญาชุมชนด้านพืชสมุนไพร การปลูกผัก การปลูกพืชสมรม

กิจกรรมที่ทำจริง

  • จัดประชุมเวทีแลกเปลี่ยนความรู้ภูมิปัญญาชุมชน ณ โรงเรียนสวนป่าในวันที่8ธ.ค.55โดยมีผู้เข้าร่วม 22คน โดยตัวแทนครูจากโรงเรียนสวนป่า คณะทำงานครอบครัวอาสา และตัวแทนครอบครัวอาสา เพื่อกำหนดแนวทางการใช้วิถีชีวิตแบบพอเพียง โดยการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชนมาปรับใช้ เพื่อให้ตรงกับวัตถุประสงค์ของโครงการและเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ครอบครัวอาสาเกษตรอินทรีย์ จำนวน 36 ครอบครัว และกลุ่มเยาวชนในโรงเรียนสวนป่าฯ เพื่อให้เกิดกิจกรรมการดำเนินงานที่เป็นรูปธรรม และแนวทางที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น

 

0 0

4. ประชาคมหมู่บ้านรับสมัครครอบครัวอาสาเกษตรอินทรีย์

วันที่ 26 ธันวาคม 2555 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

จัดเวทีประชาคมหมู่บ้านเพื่อรับรองสมาชิกครอบครัวอาสาเกษตรอินทรีย์ในการเข้าร่วมโครงการและการลงนามในหนังสือบันทึกความร่วมมือ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกันในการหนุนเสริมการดำเนินกิจกรรมของครอบครัวอาสาเกษตรอินทรีย์และการทำงานร่วมกันให้บรรลุตามเป

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

มีการร่างกติการ่วมกันของครอบครัวอาสา และการกำหนดแผนพัฒนาแปลงสาธิต

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ร่วมพิจารณาเกณฑ์(ปรับเสริม) ประชาสัมพันธ์/รับสมัครครอบครัวเข้าร่วมโครงการ

กิจกรรมที่ทำจริง

จัดเวทีประชาคมหมู่บ้านโดยมีคณะทำงานและครอบครัวอาสาเข้าร่วมจำนวน39คนเพื่อรับรองสมาชิกครอบครัวอาสาเกษตรอินทรีย์ในวันที่26ธ.ค.55เพื่อรับรองการเข้าร่วมโครงการและการลงนามในหนังสือบันทึกความร่วมมือ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกันในการหนุนเสริมการดำเนินกิจกรรมของครอบครัวอาสาเกษตรอินทรีย์และการทำงานร่วมกันให้บรรลุตามเป้าหมายของโครงการ โดยมีการยึดแนวปฏิบัติตามกฎกติกาของส่วนรวม เพื่อให้เกิดการร่วมกันปฏิบัติงานที่เป็นระบบ และเกิดรูปธรรมมากยิ่งขึ้นระหว่างชุมชนกับหน่วยงาน

 

0 0

5. ติดตามโครงการครั้งที่ 1

วันที่ 12 มกราคม 2556 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

คณะทำงานมาร่วมประชุมณ สวนดุสิตตรังเพื่อรายความคืบหน้าโครงการโดยมีทีมพี่เลี้ยงสจรส.มอ.คอยให้คำแนะนำและปรึกษา

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

คณะทำงานมีความเข้าใจเพิ่มมากขึ้นในการรายงานเอกสารการเงินและสรุปรายงานการประชุม

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

รายงานผลการดำเนินงาน

กิจกรรมที่ทำจริง

คณะทำงานมาร่วมประชุมณ สวนดุสิตตรังเพื่อรายความคืบหน้าโครงการโดยมีทีมพี่เลี้ยงสจรส.มอ.คอยให้คำแนะนำและปรึกษา

 

0 0

6. กิจกรรมสำรวจข้อมูลครอบครัวอาสา

วันที่ 20 มกราคม 2556 เวลา 13:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

ประชุมคณะกรรมการเพื่อทำความเข้าใจแบบสำรวจข้อมูลและการจัดทีมเพื่อลงพื้นที่สำรวจข้อมูล ครอบครัวอาสาเกษตรอินทรีย์ โดยมีการแบ่ง 3 ทีม ทีมที่ 1 นายประสิทธ์  เอ้งฉ้วน รับผิดชอบ 12 ครอบครัว ทีมที่ 2 นางเพลินตา  ชูหาญ รับผิดชอบ 13 ครอบครัว ทีมที่ 3 นางจิตรา  ทองห

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ประชุมสรุปการจัดเก็บข้อมูลครอบครัวอาสาเกษตรอินทรีย์จากการที่คณะกรรมการลงพื้นที่จัดเก็บข้อมูล ได้ประเด็นปัญหาที่สำคัญ
- ประเด็นที่ดินทำกิน โดยเฉพาะปัญหาพื้นที่ทางการเกษตรมีสภาพดินแข็งกระด้าง ถ้าต้องการปลูกพืชผักต้องใส่ปุ๋ยจำนวนมากในกางปลูกแต่ละครั้ง
- ประเด็นสวนยางพารา สภาพพื้นที่ดินหรือหน้าดินตอนนี้เสื่อมโทรมไม่เหมือนเมื่อก่อนเพราะการเตรียมพื้นที่เมื่อก่อนเกษตรกรมีการเผาตอไม้กิ่งไม้ในพื้นที่เศษเถ้าถ่านได้เป็นปุ๋ยที่สามารถปรับสภาพดินได้ แต่ตอนนี้ไม่มีเศษไม้ให้เผาแล้วทำให้ผู้ปลูกยางพาราต้องใส่ปุ๋ยเคมีในอัตราจำนวนมากทำให้เกิดผลกระทบต่อสภาพดิน
- ประเด็นโรคที่พบในการปลูกยางพารา มีโรคเชื้อราในช่วงฤดูฝนทำให้ยางพาราที่ทำการกรีดในหน้าฝนหน้ายางจะดำและเน่า  ซึ่งเป็นผลกระทบที่ยังแก้ปัญหาไม่ได้
- ประเด็นปัญหาที่สำคัญในการทำเกษตร คือการขาดน้ำในช่วงฤดูแล้ง   และในที่ประชุมมีการออกแบบฟอร์มในการสรุปข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดินของครอบครัวอาสาเกษตรอินทรีย์

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

คณะทำงานลงพื้นที่สัมภาษณ์ครอบครัวที่สมัครเพื่อดูความตั้งใจและ สภาพพื้นที่ทำการเกษตร

กิจกรรมที่ทำจริง

ประชุมคณะทำงานจำนวน15คนเพื่อทำความเข้าใจแบบสำรวจข้อมูลและการจัดทีมเพื่อลงพื้นที่สำรวจข้อมูล ครอบครัวอาสาเกษตรอินทรีย์ในวนที่20ม.ค.56 โดยมีการแบ่ง 3 ทีม
ทีมที่ 1 นายประสิทธ์  เอ้งฉ้วน  รับผิดชอบ 12 ครอบครัว ทีมที่ 2 นางเพลินตา  ชูหาญ  รับผิดชอบ 13 ครอบครัว
ทีมที่ 3 นางจิตรา  ทองหอม  รับผิดชอบ 13 ครอบครัว   โดยมีประเด็นที่สำคัญแต่ละทีมต้องเก็บประเด็นสภาพปัญหาของการใช้ประโยชน์ของที่ดิน และสภาพปัญหาของโรคพืชต่างๆ

 

0 0

7. อบรมเชิงปฏิบัติการครอบครัวอาสาวิเคราะห์พฤติกรรมเสี่ยงสุขภาพ

วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

อบรมเชิงปฏิบัติการครอบครัวอาสาและวิเคราะห์พฤติกรรมเสี่ยงสุขภาพให้ความรู้ด้านพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพในวันที่13ก.พ.56โดยมีคณะทำงานและครอบครัวอาสาเข้าร่วมจำนวน45คนเจ้าหน้าที่สาธารณสุขนายอำนาจ  บุญทรงธรรมและเกษตรนางฉลวย  เวียนคำโดยให้ครอบครัวอาสาวิเคราะห์สภาพ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ดังนั้นเพื่อให้ครอบครัวที่เข้าร่วมโครงการและประชาชนในพื้นที่ลดความเสี่ยงต่อสุขภาพ เราต้องหันมาสนใจในการบริโภคพืชผักต่างๆและหันมาปลูกผักกินเองเพื่อเป็นการลดรายจ่ายและสร้างรายได้เสริมแกครอบครัวได้ และทางสำนักงานเกษตรจะเป็นที่ปรึกษาและให้ความรู้ทุกด้านที่ทางหมู่บ้านประสานงานไปนายอำนาจ  บุญทรงธรรม สาธารณสุขตำบลวังมะปรางเหนือ มีการอธิบายเบื้องต้นว่าพิษภัยที่แฝงมากับผักซึ่งอันตรายจากผักแบ่งเป็น  3 ประเภท
1. อันตรายจากพยาธิและเชื้อโรค     ในปัจจุบันเกษตรกรใช้ปุ๋ยธรรมชาติเพื่อลดในการผลิตของเกษตรกรบางราย  ได้นำเอา  มูลสัตว์สด  มาใช้เป็นปุ๋ยรดผักตามแห่ลงเพาะปลูกต่างๆ  ซึ่งทำให้เกิดการปนเปื้อนของไข่พยาธิ ตัวอ่อนพยาธิ  และเชื้อโรคของระบบทางเดินอาหารชนิดต่างๆ  ในผักสดโดยทั่วไปผักที่พบไข่พยาธิ  ตัวอ่อนหรือเชื้อโรคส่วนมากมักจะเป็นผักชนิดที่ใบไม่เรียบและซ้อนกันมากๆ  เช่น  ผักกาดขาว  สะระแหน่  ผักชี  ต้นหอม  และ  กะหล่ำปลี  เป็นต้น  ซึ่งเป็นผักสดที่คนไทยนิยมบริโภคสดๆ  ทำให้มีโอกาสได้รับ ไข่พยาธิหรือเชื้อโรคจนทำให้เป็นโรคพยาธิชนิด  ต่างๆ  เช่นโรคพยาธิตืดหมู  โรคพยาธิแส้ม้า  โรคพยาธิไส้เดือน  เป็นต้น  หรือโรคของระบบทางเดินอาหาร  เช่น  โรคบิด    โรคอหิวาตกโรค  และโรคไทฟอยด์เป็นต้น
2. อันตรายจากสารฟอกขาว  (  โซเดียมไฮโดรซัลไฟต์  )
      คำว่าโซเดียมไฮโดรซัลไฟต์  หรือบ้านเราเรียกว่า  สารฟอกขาวชนิดหนึ่ง  สารชนิดนี้มีการใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมเส้นใยไหม  แหและอวน  แต่พบว่ามีพ่อค้าแม่ค้านำไปแช่ผักบางชนิด  เช่น  ถั่วงอก  หน่อไม้ไผ่ตง ขิงหั่นฝอย  และกระท้อน  เป็นต้น  ซึ่งหากเราได้รับสารนี้โดยการบริโภค  จะทำให้เกิดการอักเสบของอวัยวะ  ที่สัมผัสกับอาหาร  เช่น  ปาก  ลำคอ  กระเพาะอาหาร  จนเกิดอาการปวดท้อง อาเจียน แน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก ความดันโลหิตจะลดลงอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้แพ้อย่างรุนแรงหรือผู้ป่วยโรคหอบจะมีอาการช็อค หมดสติและเสียชีวิต ทั้งนี้สามารถหลีกเลี่ยงอันตรายจากสารนี้ได้ ด้วยการเลือกอาหารที่สะอาดและมีสีใกล้เคียงธรรมชาติ ไม่ขาวจนผิดปกติ 3. อันตรายจากสารตกค้าง     ปัจจุบันนี้มีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชกันอย่างแพร่หลาย และในปริมาณที่มากเกินความจำเป็น โดยที่เกษตรกรผู้ใช้ขาดความรู้ความเข้าใจที่ดี ซึ่งการใช้สารเคมีร่วมกันหลายชนิด หรือเมื่อใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชแล้วกลับเก็บผลผลิตก่อนครบกำหนดระยะเวลาที่กำหนดไว้ ทำให้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ยังสลายตัวไม่หมดเกิดการตกค้างในผักสด เมื่อร่างกายได้รับเข้าไปในปริมาณน้อยๆแต่บ่อยครั้งเป็นเวลานาน จะสะสมเพิ่มปริมาณมากขึ้น จนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเซลจนกลายเป็นเซลมะเร็งลุกลามไปยังส่วนต่างๆของร่างกายได้ เช่น มะเร็งตับและมะเร็งของลำไส้ และอื่นๆ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ให้ความรู้พฤติกรรมเสี่ยงสุขภาพโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและทดลองวิเคราะห์สภาพครอบครัว

กิจกรรมที่ทำจริง

อบรมเชิงปฏิบัติการครอบครัวอาสาและวิเคราะห์พฤติกรรมเสี่ยงสุขภาพให้ความรู้ด้านพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพในวันที่13ก.พ.56โดยมีคณะทำงานและครอบครัวอาสาเข้าร่วมจำนวน45คนเจ้าหน้าที่สาธารณสุขนายอำนาจ  บุญทรงธรรมและเกษตรนางฉลวย  เวียนคำโดยให้ครอบครัวอาสาวิเคราะห์สภาพความเป็นอยู่ของครอบครัวตนเองและมีการวางแผนด้านการดูแลสุขภาพของตนเองและสมาชิกในครอบครัว กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมจำนวน 45 คน

 

0 0

8. เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครอบครัวอาสา และครอบครัวอาสาสวนเกษตรอินทรีย์ ครั้งที่ 1

วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

คณะทำงานและครอบครัวอาสาจำนวน38คนมีการร่วมกับชมรมผู้สูงอายุในวันที่28ก.พ.56เพื่อร่วมกิจกรรมทำบุญเลี้ยงพระและเรียนรู้การดูแลสุขภาพตนเองด้วยการเสริมการออกกำลังกายโดยได้รับการแนะนำจากเจ้าหน้าที่แพทย์แผนไทย และการเฝ้าระวังเรื่องการบริโภคพืชผักอาหารที่ปลอดสารพิ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครอบครัวอาสา และครอบครัวอาสาสวนเกษตรอินทรีย์ ครั้งที่  1 โดยมีวัตถุประสงค์ สร้างการเรียนรู้ ด้านการทำเกษตรตามแนว ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยการนำความรู้และภูมิปัญญาพื้นบ้าน มาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน ของครอบครัวอาสาที่เข้าร่วมโครงการ และการพัฒนาพื้นที่ภายในโรงเรียน เพื่อยกระดับเป็นศูนย์เรียนรู้ด้านเศรษฐกิจพอเพียงภายในสถานศึกษา และเป็นแหล่งเรียนรู้ของประชาชนในหมู่บ้าน โดยเป้าหมายที่สำคัญ คือ เพื่อให้เกิดความร่วมมือกัน ระหว่าง ประชาชนในหมู่บ้าน และครูนักเรียนของโรงเรียนสวนป่าประชาอุปถัมภ์ 

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

เวทีแลกเปลี่ยนฯ ช่วงกลางปี และปลายปีครั้งที่ 1

กิจกรรมที่ทำจริง

คณะทำงานและครอบครัวอาสาจำนวน38คนมีการร่วมกับชมรมผู้สูงอายุในวันที่28ก.พ.56เพื่อร่วมกิจกรรมทำบุญเลี้ยงพระและเรียนรู้การดูแลสุขภาพตนเองด้วยการเสริมการออกกำลังกายโดยได้รับการแนะนำจากเจ้าหน้าที่แพทย์แผนไทย และการเฝ้าระวังเรื่องการบริโภคพืชผักอาหารที่ปลอดสารพิษและมีการให้คำปรึกษาเรื่องรูปแบบเอกสารที่ใช้ในการจัดเก็บข้อมูลด้านสุขภาพของครอบครัวอาสาโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขโรงพยาบาลวังวิเศษคอยให้การช่วยเหลือ กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมจำนวน 20 คน

 

0 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น

ส่วนที่ 2 ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการและปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินโครงการ

ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ

การดำเนินงานเมื่อเทียบกับการดำเนินงานทั้งโครงการทั้งหมดทำแล้ว10%20%30%40%50%60%70%80%90%100%
การทำกิจกรรม 35 8                  
การใช้จ่ายงบประมาณ 202,400.00 63,994.00                  
คุณภาพกิจกรรม 32 22                  

ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ)

ประเด็นปัญหา/อุปสรรคสาเหตุเพราะแนวทางการแก้ไขของผู้รับทุน

-ความไม่เข้าใจในวัตถุประสงค์ของผู้นำบางคนเพราะคิดว่างบประมาณที่ได้มาเหมือนโครงการของ อ.บ.ต. -ติดปัญหาในช่วงการเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้านต้องพักการดำเนินกิจกรรมของโครงการเป็นระยะ1 เดือน -บางครอบครัวยังรอดูว่าการดำเนินงานโครงการได้ผลหรือไม่

 

 

แผนงาน/กิจกรรม ที่จะดำเนินการในงวดต่อไป

(................................)
นายสายันต์ ชูหาญ
ผู้รับผิดชอบโครงการ