directions_run

โครงการบ้านวัดเลียบพอเพียง ทำ กิน อยู่ใช้ ด้วยปัญญา(หมู่บ้านเกษตรปลอดสารพิษ ชีวิตพอเพียง) "พันธุกรรมนำชีวิต สู่เศรษฐกิจพอเพียง"

assignment
บันทึกกิจกรรม
จัดทำรายงานเพื่อปิดโครงการฯ11 ตุลาคม 2556
11
ตุลาคม 2556รายงานจากพื้นที่ โดย freedomkob
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อส่งรายงานปิดโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

จัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์เพื่อปิดโครงการ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มีการแก้ไขปรับรายงานเพื่อความสมบูรณ์มากขึ้น ก่อนทำการส่งรายงานฉบับสมบูรณ์

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

เกือบได้ตามเป้าหมาย (2)

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ร่วมงานสร้างสุขคนใต้28 กันยายน 2556
28
กันยายน 2556รายงานจากพื้นที่ โดย Nongluk_R
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์กับโครงการชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ภายในพื้นที่ภาคใต้

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

รับชมนิทรรศการจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและโครงการท้องถิ่นน่าอยู่ในจังหวัดต่าง ๆ รับฟังการเสวนา และร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์กับโครงการชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่อื่น ๆ ทั่วภาคใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นอาหารและเกษตรพอเพียง

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ได้เรียนรู้แนวคิดและวิธีการดี ๆ จากประสบการณ์ในการดำเนินงานของโครงการอื่น ๆ ทั่วภาคใต้ ผ่านทางชุดนิทรรศการ และการเสวนากลุ่มย่อยในประเด็นอาหาราและเกษตรพอเพียง
  • ได้แนวคิดและแรงบันดาลใจในการดำเนินงานโครงการจากการเสวนาในเรื่องคุณค่าของการจัดการชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

กิจกรรมที่ 5 สรุปกิจกรรม -ประเมินผลโครงการ -ถอดบทเรียน และปิดโครงการ18 สิงหาคม 2556
18
สิงหาคม 2556รายงานจากพื้นที่ โดย freedomkob
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อสรุปกิจกรรม ถอดบทเรียน และ ประเมินผลโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

ให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ซึ่งประกอบด้วย สมาชิก 3 โซน  นักสร้างเสริมสุขภาพ  เด็ก/เยาวชน และผู้สนใจมาร่วมกันพูดคุย สรุปผลที่ได้ทำกิจกรรมในโครงการนี้

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งหมดได้ร่วมกันสรุปผลที่ได้ทำกิจกรรมตั้งแต่ต้น โดยสามารถสรุปได้ดังนี้

  1. มีการทำกิจกรรมร่วมกันในการเสริมสร้างสุขภาวะที่ดีทั้งด้านร่างกาย คือ การบริโภคพืชผักที่ปลอดสารเคมี และมีการทำน้ำหมักเอนไซม์เพื่อใช้ในการบริโภค  สุขภาวะทางจิตใจ คือ ได้มีการฝึกการทำสมาธิแบบเคลื่อนไหว ซึ่งเป็นบริหารจิตให้เป็นสมาธิ และส่งผลต่อการดำเนินชีวิตในปัจจุบัน

  2. ได้ฝึกการบริหารจัดการในการแบ่งกลุ่มเพื่อทำกิจกรรมในแต่ละโซน

  3. มีธนาคารเมล็ดพันธุ์เกิดขึ้นในชุมชน ซึ่งเป็นแหล่งฐานอาหารที่สำคัญและยั่งยืนในชุมชน

พร้อมทั้งมีการคืนเงินเปิดบัญชีให้กับผู้รับผิดชอบโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย

 

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
ภก.สมชาย ละอองพันธุ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

--

กิจกรรมที่ 3.7 อบรมการจัดการระบบการจัดเก็บเมล็ดพันธุ์ และติดตามผลการจัดการทั้ง 3 โซน30 มิถุนายน 2556
30
มิถุนายน 2556รายงานจากพื้นที่ โดย freedomkob
circle
วัตถุประสงค์
  1. เพื่ออบรมให้ความรู้การจัดเก็บเมล็ดพันธุ์แก่นักสร้างเสริมสุขภาพและผู้เข้าร่วมกิจกรรม
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ
  • เรียนรู้ระบบการจัดเก็บเมล็ดพันธุ์พืชต่างๆ และข้อมูลต่างๆเกี่ยวกับเมล็ดพันธุ์ โดยมีวิทยากรจาก ม.ทักษิณ(วิทยาลัยการจัดการเพื่อการพัฒนา) คือ อ.เทพรัตน์  จันทพันธ์ เป็นผู้ให้ความรู้
  • สมาชิกในโซนทั้ง 3 โซน ได้ฝึกปฏิบัติจริงในแปลง
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • นักสร้างเสริมสุขภาพและผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนการจัดทำธนาคารเมล็ดพันธุ์ และได้ให้ความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์เมล็ดพันธุ์ต่างๆ รวมทั้งความรู้ในการจดสิทธิบัตรพันธุ์พืชอีกด้วย

  • สมาชิกในแต่ละโซนได้มาร่วมกันลงแปลง เพื่อปฏิบัติกิจกรรมร่วมกัน

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 78 คน จากที่ตั้งไว้ 78 คน
ประกอบด้วย

 

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
ภก.สมชาย ละอองพันธุ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

กิจกรรมที่ 4 รับสมัครสมาชิก 3 โซน เพื่อยกระดับเป็นแปลงเรียนรู้เข้าร่วมโครงการ หมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงเกษตร23 มิถุนายน 2556
23
มิถุนายน 2556รายงานจากพื้นที่ โดย freedomkob
circle
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อรับสมัครสมาชิก 3 โซน เพื่อรองรับเป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงเกษตร

  2. เพื่อเตรียมความพร้อมในแปลงของทั้ง 3 โซน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ
  1. รับสมัครสมาชิก 3 โซน

  2. ประชุมเตรียมความพร้อมของแปลงทั้ง 3 โซน

  3. วางแผนการจัดการในโซน 3 โซน รวมทั้งกติกาและข้อกำหนดของแต่ละโซน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. ได้สมาชิกทั้ง 3 โซนที่แน่นอนจำนวน    โซน

  2. ได้วางแผนการจัดการในแปลงทั้ง 3 โซน พร้อมทั้งได้ข้อกำหนด/กติกาในแปลงทั้ง 3 โซน

  3. มอบปัจจัยส่งเสริมพัฒนาต่อยอดให้ในแต่ละโซน

นอกจากนี้โครงการยังได้รับงบประมาณสบทบเพิ่มเติมจาก สปสช. และอบต.ชิงโค เป็นจำนวนเงิน 28,660 บาท เพื่อจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ในการทำกิจกรรม

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 78 คน จากที่ตั้งไว้ 78 คน
ประกอบด้วย

 

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
ภก.สมชาย ละอองพันธุ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ประชุมปฐมนิเทศน์ แลกเปลี่ยนเรียนรู้โครงการร่วมสร้างชุมชนและท้องถิ่นให้น่าอยู่ พื้นที่ภาคใต้ปี 2553, 2554 และ 2555 รอบ 219 มิถุนายน 2556
19
มิถุนายน 2556รายงานจากพื้นที่ โดย freedomkob
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงานร่วมกับโครงการชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ในพื้นที่จังหวัดใกล้เคียง

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ
  • การป้อนข้อมูลรายละเอียดโครงการในเว็บ
  • ทบทวนและออกแบบเชิงระบบของโครงการ
  • การวางแผนการดำเนินงาน และการป้อนแผนการดำเนินงานในปฏิทินโครงการ
  • การรายงานผลการจัดกิจกรรม และรายจ่ายในกิจกรรม
  • การรายงานงวด
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. ประเมินผลการดำเนินโครงการ
  2. นำเสนอผลการดำเนินงานโครงการเพื่อเป็นแนวทางในการพิจารณาการต่อยอดโครงการให้กับฝ่ายติดตาม (สจรส. ม.อ.)
  3. ร่วมรับฟังความก้าวหน้าในการดำเนินงานของโครงการต่าง ๆ ในจังหวัดใกล้เคียง
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ลงพื้นที่ทบทวนและติดตามโครงการครั้งที่ 217 มิถุนายน 2556
17
มิถุนายน 2556รายงานจากพื้นที่ โดย freedomkob
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อติดตามโครงการและทบทวนโครงการในพื้นที่บ้านวัดเลียบ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

ลงพื้นที่บ้านวัดเลียบเพื่อให้คำแนะนำกับคณะทำงานโครงการ และทบทวนโครงการที่ผ่านมา

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คณะทำงานโครงการได้มาช่วยกันสรุปและทบทวนโครงการร่วมกัน เพื่อช่วยกันเติมเต็มโครงการให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 20 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย

 

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
ภก.สมชาย ละอองพันธุ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ลงพื้นที่ทบทวนและติดตามโครงการครั้งที่ 217 มิถุนายน 2556
17
มิถุนายน 2556รายงานจากพี่เลี้ยง โดย twoseadj
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อทบทวนการดำเนินกิจกรรมที่ผ่านมาและแนวทางการทำกิจกรรมในช่วงที่ 3 ตลอดจนการต่อยอดโครงการปี 3

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

เป็นการประชุมร่วมระหว่างคณะทำงานโครงการ จำนวน 10 คน(ประกอบด้วย ผู้ใหญ่บ้าน ผู้รับผิดชอบโครงการ คณะทำงานโครงการ อบต. ) เพื่อนำเสนอผลการดำเนินกิจกรรมที่ผ่านมา ปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นจากการทำกิจกรรม และร่วมกันวิเคราะห์แนวทางการทำกิจกรรมในงวดที่ 3 และวางแผนการต่อยอดโครงการปีที่ 3

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. พี่เลี้ยงและผู้รับผิดชอบโครงการซึ่งเป็นคณะทำงานทั้ง 10 คน ร่วมกันนำเสนอกิจกรรมที่ดำเนินการที่ผ่านมา
  2. พี่เลี้ยงได้ทบทวนวัตถุประสงค์โครงการซึ่งตั้งไว้ จำนวน 3 ข้อ ประกอบด้วย

2.1 การพัฒนาให้เกิดความมั่นคงและปลอดภัยด้านอาหารในหมู่บ้าน 2.2 การพัฒนาศักยภาพแกนนำสร้างสุขภาพ 2.3 การผลักดันสู่หมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงเกษตร

  • กิจกรรมการพัฒนาธนาคารเมล็ดพันธุ์มีการดำเนินการแล้ว แต่พบว่า ยังขาดการใส่กระบวนการเท่าที่ควร กล่าวคือ ต้องมีการตั้งจุดมุ่งหมายชัดเจนของธนาคารเมล็ดพันธุ์ เช่น การเก็บรักษาหรืออนุรักษ์เมล็ดพันธุ์พืช การขยายพันธุ์พืช การจัดระบบการเก็บที่ถูกต้อง การแลกเปลี่ยนเมล็ดพันธุ์พืช

พี่เลี้ยงเสนอแนะ: ให้มีการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องความสำคัญของเมล็ดพันธุ์พืช วิธีการเก็บเมล็ดพันธุ์พืช ระบบระเบี่ยนเมล็ดพันธุ์พืช

  • กิจกรรมการอบรมนักสร้างเสริมสุขภาพระดับชุมชน เพื่อเตรียมความพร้อมของการเป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงเกษตร ที่ผ่านมามีการอบรมแล้ว 8 หลักสูตร แก่นักเรียนที่สมัครมาเรียนจำนวน 20 คน

พี่เลี้ยงเสนอแนะ:ควรมีการทบทวนผลการจัดว่าความน่าสนใจของผู้เรียนมีมากน้อยขนาดใหน และควรมีการให้ผู้เข้าเรียนมาตั้งหรือความหวังหรือความต้องการว่าหากเรียนแล้ว สิ่งที่ควรเปลี่ยนแปลงในการมาเรียนคือ อะไร อะไรคือลักษณะของนักสร้างเสริมสุขภาพ และเมื่อเรียนแล้วควรมีการประเมินผลการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพหรือการนำเอาหลักสูตรไปปฏิบัติ

  • การผลักดันนโยบายหมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงเกษตร ควรมีการนัดคุยวิทยากรกระบวนการเพือจัดทำแผนที่ท่องเที่ยวของหมู่บ้าน และเตรียมความพร้อมของคณะทำงาน ต่อจากนั้นควรลองให้คนที่สนใจมาท่องเที่ยวจริง เช่น การติดต่อชมรมจักรยานของหาดใหญ่มาท่องเที่ยว
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ภ.ก.สมชาย ลงพื้นที่ร่วมกิจกรรมอบรมการจัดเก็บข้อมูลเพื่อการจัดการชุมชน9 มิถุนายน 2556
9
มิถุนายน 2556รายงานจากพื้นที่ โดย freedomkob
circle
วัตถุประสงค์
  1. เพื่ออบรมให้ความรู้แก่นักสร้างเสริมสุขภาพ หลักสูตรที่ 7 การจัดการข้อมูลชุมชน

  2. นักสร้างเสริมสุขภาพสามารถลงพื้นที่จริงเพื่อจัดเก็บข้อมูลชุมชนได้

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

จัดอบรมให้ความรู้เรื่องการจัดการข้อมูลชุมชนให้แก่นักสร้างเสริมสุขภาพ โดยมี ภ.ก.สมชาย  ละอองพันธุ์  เข้าร่วมชี้แนะ และให้คำแนะนำ ความรู้เพิ่มเติมแก่นักสร้างเสริมสุขภาพในครั้งนี้ด้วย

    มีการให้นักสร้างเสริมฯทั้ง 20 คน ได้ลองฝึกการออกแบบเครื่องมือการเก็บข้อมูล  คือ การออกแบบ แบบสอบถาม ที่จะใช้ในการเก็บข้อมูลในพื้นที่

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.  นักสร้างเสริมสุขภาพทั้ง 2 คน มีความรู้เพิ่มขึ้นในเรื่องของการจัดการข้อมูลชุมชน และได้เรียนรู้เครื่องมือในการเก็บข้อมูลแบบต่างๆ

  1. นักสร้างเสริมสุขภาพฯ ได้ฝึกทักษะการออกแบ แบบสอบถามก่อนลงพื้นที่เก้บข้อมูลจริงๆ
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
ภ.ก.สมชาย ละอองพันธุ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ภ.ก.สมชาย ลงพื้นที่ร่วมกิจกรรมอบรมการจัดเก็บข้อมูลเพื่อการจัดการชุมชน9 มิถุนายน 2556
9
มิถุนายน 2556รายงานจากพี่เลี้ยง โดย twoseadj
circle
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนผลการดำเนินโครงการชุมชนเข้มแข็งในระยะที่ผ่านมา ตลอดจนการสังเคราะห์ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการ
  2. เพื่อร่วมหาแนวทางการแก้ไขปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการ
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

ตลอดจนการให้คำแนะนำการจัดกิจกรรม แนวทางการจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง ส่งที่ควรปรับปรุงเพื่อการจัดกิจกรรมมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. พี่เลี้ยงมีการพูดคุยกับคณะทำงานโครงการเพื่อร่วมกันวิเคราะห์ ทบทวนผลการดำเนินงานที่ผ่านมาของโครงการฯในพื้นที่
  2. ร่วมกันแลกเปลี่ยนแนวทางการพัฒนากิจกรรมให้ดีขึ้น ประกอบด้วย
  • ควรมีการรวบรวมเอกสารเกี่ยวกับหลักสูตรแต่ละเรื่อง
  • ควรมีการประเมินความพึงพอใจผู้เข้าร่วมหลักสูตร เช่น การตอบแบบสอบถาม เป็นต้น
  • ควรประเมินผลและทบทวนลักษณะของหลักสูตรแต่ละเรื่องว่าควรปรับปรุงประเด็นใดบ้าง
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

เกือบได้ตามเป้าหมาย (2)

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

1.ลักษณะของหลักสูตรที่เรียนบางหลักสูตรมีลักษณะเป็นเนื้อทางทฤษฎีเกินไปทำให้ไม่ค่อยได้รับความสนใจจากผู้เข้าเรียน

แนวทางการแก้ไขปัญหา: ควรทบทวนหลักสูตรที่เปิดเรียนในแง่ของลักษณะเนื้อหา และการสอนอาจจะเป็นความร่วมมือระหว่างวิทยากรในพื้นที่ ซึ่งมีความชำนาญในแต่ละด้าน

2.การผลักดันให้หลักสูตรการเรียนรู้มีความน่าสนใจ เช่น การทำกิจกรรมเชิงเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจริง ไม่เน้นหนักทางทฤษฎีมากเกินไป

3.การผลักดันให้หลักสูตรบรรจุหรือหน่วยงานในพื้นที่ให้การสนับสนุุนอยู่อย่างต่อเนื่อง เช่น การที่ รพ.สต. อบต.ชิงโค เป็นต้น

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

กิจกรรมที่ 3.5 อบรมหลักสูตรนักสร้างเสริมสุขภาพ หลักสูตรที่ 5 การเผาถ่านเพื่อทำน้ำส้มควันไม้2 มิถุนายน 2556
2
มิถุนายน 2556รายงานจากพื้นที่ โดย freedomkob
circle
วัตถุประสงค์
  1. เพื่ออบรมให้ความรู้แก่นักสร้างเสริมสุขภาพในหลักสูตรที่ 5 การเผ่าถ่านเพื่อทำน้ำส้มควันไม้
  2. นักสร้างเสริมสุขภาพมีความรูัความเข้าใจในหลักสูตรฯ และสามารถนำไปปฏิบัติจริงได้
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

อบรมให้ความรู้แก่นักสร้างเสริมสุขภาพทั้ง 20 คน ในหลักสูตรที่ 5 คือ การเผาถ่านเพื่อทำน้ำส้มควันไม้ โดยมีคุณสมจิตร  นิลวงศ์ ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญในการทำน้ำส้มควันไม้ มาเป็นวิทยากรให้ความรู้และสาธิตขั้นตอนกสรเผาถ่านเพื่อทำน้ำส้มควันไม้

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. นักสร้างเสริมสุขภาพทั้ง 20 คนได้เรียนรู้วิธีการเผาถ่านเพื่อทำน้ำส้มควันไม้ เพื่อใช้ประโยชน์ในการเป็นสารไล่แมลง

  2. เนื้อหาสาระที่ได้จากการเรียนรู้มีดังนี้

ขั้นตอนการเผามีดังนี้

  1. เตรียมวัสดุอุปกรณ์ ซึ่งมีไม้ที่ต้องการจะเผาถ่าน ตัดทิ้งไว้ประมาณ 1 สัปดาห์  เศษไม้สำหรับจุดไฟเผาหน้าเตา  ดินเหนียว  กระป๋องปลากระป๋องใช้แล้ว 3 กระป๋อง  กระป๋องนมใช้แล้ว
    1 กระป๋อง  ภาชนะรองน้ำส้มควันไม้ 3 ใบ

  2. การวางเตาเผา  ต้องวางหันหน้าเข้าหาทิศทางลม  ตัดไม้ที่ต้องการเผาถ่านยาวประมาณ 60 เซนติเมตร

  3. การวางไม้ในเตาเผา  เอาไม้ขนาดเล็กเรียงในแนวนอนไว้ชั้นล่างสุด 1 แถว  แล้ววางเรียงในแนวตั้งโดยให้ปลายของไม้ลงด้านล่างตั้งทรง  ไม้ขนาดเล็กวางไว้ชั้นนอกสุด  ไม้ขนาดใหญ่วางไว้ตรงกลาง  เมื่อเรียงไม้เสร็จแล้วปิดฝาเตาให้มิดชิด

  4. เริ่มเผาโดยการจุดไฟหน้าเตาไล่ความชื้นประมาณ 2 ชั่วโมง  เมื่อครบ 2 ชั่วโมงให้ใส่น้ำที่ท่อรองน้ำส้มควันไม้แล้วเอาภาชนะรองน้ำส้มควันไม้

  5. เผาไฟหน้าเตาให้ไฟติดในเตาเผา  เป็นระยะเวลาติดต่อกันประมาณ 4 ชั่วโมงแล้วหยุดไฟหน้าเตา  พร้อมกับปิดฝาหน้าเตาไว้ประมาณครึ่งหนึ่ง

  6. สังเกตควันที่ท่อ  เมื่อหมดควันแต่ละท่อให้ปิดท่อด้วยกระป๋องที่เตรียมไว้พร้อมกับปิดหน้าเตาและรูรองน้ำส้มควันไม้ด้วยดินเหนียวที่เตรียมไว้

  7. ทิ้งไว้  เมื่อเตาเผาเย็นจนจับด้วยมือเปล่าได้  เปิดฝาเตาจะได้ถ่านประมาณ 15-20 กิโลกรัม  นำไปใช้หุงต้มได้ตามต้องการ

ประโยชน์ของน้ำส้มควันไม้ ด้านการเกษตร - ใช้เป็นสารปรับปรุงดิน - ใช้เป็นสารป้องกันและกำจัดศัตรูพืช - ใช้เป็นฮอร์โมนพืช ด้านอุตสาหกรรม - ใช้ผลิตสารดับกลิ่นตัว - ใช้ผลิตสารปรับผิวนุ่ม ด้านเวชภัณฑ์/ยารักษาโรค - ใช้ผลิตยารักษาโรคผิวหนัง

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

เกือบได้ตามเป้าหมาย (2)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 20 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย

 

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
คุณสมชาย ละอองพันธุ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

กิจกรรมที่ 3.4 อบรมหลักสูตรนักสร้างเสริมสุขภาพ หลักสูตรที่ 4 แผนแม่บทชุมชนสู่แผนสุขภาพ26 พฤษภาคม 2556
26
พฤษภาคม 2556รายงานจากพื้นที่ โดย freedomkob
circle
วัตถุประสงค์

1) มีนักสร้างเสริมสุขภาพ เข้าเรียนอย่างน้อย 20 คน 2) มีการจัดอบรมหลักสูตรนักสร้างเริมสุขภาพหลักสูตรที่ 4 แผนแม่บทชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

จัดอบรมหลักสูตรนักสร้างเสริมสุขภาพ หลักสูตรที่ 4 แผนแม่บทชุมชนสู่แผนสุขภาพ ให้กับนักสร้างเสริมสุขภาพทั้ง 20 คน โดยมีวิทยากรผู้ให้ความรู้คือ คุณระนอง  ซุ้นสุวรรณ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1) นักสร้างเสริมสุขภาพทั้ง 20 คน ได้เรียนรู้หลักการทำแผนแม่บทชุมชนจากวิทยากร คือ นายระนอง  ซุ้นสุวรรณ เป็น ผู้มีความรู้และเชี่ยวชาญด้านการจัดทำแผนข้อมูลชุมชนจากพื้นที่ต.วัดจันทร์
2) นักสร้างเสริมสุขภาพทั้ง 20 คน ได้ฝึกกระบวนการ การทำแผนข้อมูล โดยเน้นที่กระบวนการเก็บข้อมูล โดยคนในชุมชนต้องเป็นผู้รู้ข้อมูลในชุมชนเป็นอย่างดี จึงจะสามารถทำกระบวนการจัดทำแผนชุมชนได้ประสบผลสำเร็จ

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

เกือบได้ตามเป้าหมาย (2)

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
คุณสมชาย ละอองพันธุ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

กิจกรรมที่ 3.3 อบรมหลักสูตรนักสร้างเสริมสุขภาพ หลักสุตรที่ 3,6และ 819 พฤษภาคม 2556
19
พฤษภาคม 2556รายงานจากพื้นที่ โดย freedomkob
circle
วัตถุประสงค์
  1. เพื่ออบรมให้ความรู้แก่นักสร้างเสริมสุขภาพในหลักสูตรที่3, 6 และ 8

  2. นักสร้างเสริมสุขภาพมีความรู้ความเข้าใจในหลักสูตรที่ 3, 6 และ 8 และสามารถนำไปปฏิบัติได้

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

จัดอบรมหลักสูตรนักสร้างเสริมสุขภาพ หลักสูตรที่ 3, 6 และ 8 เศรษฐกิจพอเพียง /กองทุนสวัสดิการ และ การจัดการเวลา โดยมีวิทยากรผู้ให้ความรู้คือ คุณเรืองวิทย์  ศรีสุวรรณ และคุณภูมิอดุลย์

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1) นักสร้างเสริมสุขภาพทั้ง 20 คนได้รับความรู้ทั้ง 3 หลักสูตร นั่นคือ หลักสูตรเศรษฐกิจพอเพียง  หลักสูตรกองทุนสวัสดิการ และหลักสูตรการจัดการเวลา โดยเนื้อหาหลักสูตรทั้ง 3 หลักสูตร ได้จัดเป็นรูปเล่ม เพื่อง่ายต่อการเรียนรู้สำหรับนักสร้างเสริมสุขภาพแล้ว

2) เกิดชุดความรู้ในรูปแบบเอกสารในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง /กองทุนสวัสดิการ และการจัดการเวลา

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

(0)

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

กิจกรรมที่วางแผนไว้เกิดการคลาดเคลื่อน จึงจำเป็นต้องปรับและกระชับหลักสูตรให้มาอยู่รวมกัน ในบางหลักสูตรที่สามารถรวมกันได้

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
คุณสมชาย ละอองพันธุ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

กิจกรรมที่ 3.2 อบรมหลักสูตรนักสร้างเสริมสุขภาพ หลักสูตรที่ 2 จิตบำบัด ด้วยสมาธิแบบเคลื่อนไหว12 พฤษภาคม 2556
12
พฤษภาคม 2556รายงานจากพื้นที่ โดย freedomkob
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจและฝึกทักษะเกี่ยวกับจิตบำบัดด้วยสมาธิแบบเคลื่อนไหวแก่ผู้เข้าร่วมอบรมนักสร้างเสริมสุขภาพ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

เป็นการอบรมโดยวิทยากรกระบวนการประจำหลักสูตร คือ คุณชิด  ศรีสุวรรณ ร่วมกับการฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการฝึกทำสมาธิแบบเคลื่อนไหว

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1) นักสร้างเสริมสุขภาพทั้ง 20 คน มีความรู้และความเข้าใจในการทำจิตบำบัดด้วยสมาธิแบบเคลื่อนไหว และได้เรียนรู้รูปแบบการทำสมาธิแบบเคลื่อนไหวในลักษณะต่างๆ  ซึ่งเนื้อหาการเรียนและการปฏิบัติ ได้จัดเก็บเป็นรูปเล่มเรียบร้อยแล้ว

2) นักสร้างเสริมสุขภาพสามารถปฏิบัติตามการอบรมหลักสูตรที่ได้รับการอบรมได้เป็นอย่างดี ซึ่งหลังจากจบหลักสูตรทั้ง 8 หลักสูตรแล้ว จะได้มีการทดสอบความรู้ที่ได้เรียนทั้ง 8 หลักสูตรด้วย

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
คุณสมชาย ละอองพันธุ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

กิจกรรมที่ 3.1 อบรมหลักสูตรนักสร้างเสริมสุขภาพ หลักสูตรที่ 1 กาย-ธรรมชาติบำบัด6 พฤษภาคม 2556
6
พฤษภาคม 2556รายงานจากพื้นที่ โดย freedomkob
circle
วัตถุประสงค์
  1. นักสร้างเสริมสุขภาพมีความรู้ความเข้าใจและสามารถนำไปปฏิบัติจริงได้เรื่องกาย-ธรรมชาติบำบัด
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

อบรมหลักสูตรนักสร้างเสริมสุขภาพหลักสูตรที่ 1 คือหลักสูตรกาย-ธรรมชาติบำบัด โดยทีมผู้ทรงคุณวุฒิ คือ นางวันเพ็ญ  นิลวงศ์/ นางซ่อนกลิ่น  ศรีสุวรรณ และผู้ช่วยอีก 2 คน ซึ่งมีผู้เข้าร่วมอบรมในหลักสูตรนี้คือ นักสร้างเสริมสุขภาพจำนวน 20 คน และผู้สนใจอีก 5 คน

  ลักษณะการอบรมเป็นการฝึกปฏิบัติร่วมกับการฝึกทางทฤษฎี

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. นักสร้างเสริมสุขภาพทั้ง 20 คน ได้มีความรู้ความเข้าใจหลักในการทำ กาย-ธรรมชาติบำบัดด้วยการทำน้ำหมักเอนไซม์ ซึ่งเนื้อหาที่ใช้ในการอบรม มีดังนี้

  1) ธรรมชาติบำบัด  (Naturopathy หรือ naturopathic medicine หรือ natural medicine) คือการดูแลสุขภาพด้วยวิธีทางธรรมชาติ ในหลายแบบไม่ว่า ดีท็อกซ์ อโรมาเธอราปี โยคะ สมุนไพร สปา การนวด ฝังเข็ม ชี่กง สมาธิ หรือการทานอาหารตามแนวทางธรรมชาติ ธรรมชาติบำบัดเป็นวิธีต่างๆ ของการแพทย์ทางเลือก ที่เน้นการบำบัดรักษาโดยวิธีที่เป็นธรรมชาติและโดยความเชื่อที่ว่าร่างกายมีความสามารถในการบำบัดรักษาตนเอง

  2) การทำน้ำหมักชีวภาพ หรือ เอนไซม์  เพื่อการบริโภคนั้น นับเป็นธรรมชาติบำบัดวิธีหนึ่ง ซึ่งเป็นวิธีที่นิยมมากวิธีหนึ่งในขณะนี้ และเป็นวิธีที่ง่ายต่อการปฏิบัติอีกด้วย การผลิตน้ำหมักชีวภาพเป็นเทคโนโลยีที่ผมผสานระหว่าง ภูมิปัญญาพื้นบ้านและความรู้ความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งการหมักน้ำเอนไซม์ มีกระบวนการทางเคมีทางทฤษฎีของการเปลี่ยนแป้งและน้ำตาลจากผลไม้เป็นกรดน้ำส้ม และเพิ่มโอโซนธรรมชาติในชั้นบรรยากาศมากขึ้น เมื่อร่างกายได้รับเอนไซม์จากขบวนการดังกล่าวจะช่วยทำให้เซลล์และขบวนการทางเคมีต่าง ๆ ในร่างกายเกิดสภาวะสมดุล จนเกิดการซ่อมแซมเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายได้อย่างรวดเร็ว

  3) ขั้นตอนการทำน้ำหมักเอนไซม์

  • จัดเตรียมอุปกรณ์ ซึ่งประกอบด้วย ผลไม้หรือสมุนไพร : น้ำผึ้ง(น้ำตาลทรายแดง) : น้ำสะอาด  ในอัตราส่วน 3:1:5
  • นำผลไม้มาทำความสะอาด ถ้าผลไม้ใหญ่ให้แบ่งเป็นชิ้นเล็ก แล้วใส่ในภาชนะตามอัตราส่วนโดยเหลือพื้นที่ 1/5 ของภาชนะ เพื่อให้อากาศภายในมีการหมุนเวียน
  • ปิดฝาและทำประวัติติดข้างภาชนะหมัก ประกอบด้วย
  • ชนิดของผลไม้  *วันเดือนปีที่ผลิต

  2. เกิดชุดความรู้เกี่ยวกับหลักสูตรกาย-ธรรมชาติบำบัดในรูปแบบเอกสารและแผ่นพับ

  3. นักสร้างเสริมสุขภาพ 20 คน ลงมือปฏิบัติจริงเกี่ยวกับการทำน้ำหมักเอนไซม์เพื่อใช้เอง โดยใช้วัสดุในครัวเรือน

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

1) การที่ผู้เข้าร่วมอบรมมักจะมีภาระกิจ เช่น งานตามประเพณีในหมู่บ้าน

แนวทางแก้ไข: ได้กำหนดวันจัดอบรมใหม่ เพื่อให้สามารถเข้าร่วมกิจกรรมมากที่สุด

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
คุณสมชาย ละอองพันธุ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

กิจกรรมที่ 3 ยกระดับแกนนำประจำกลุ่มโซนเป็นครูนักสร้างเสริมสุขภาพ -เตรียมความพร้อมในการจัดทำธนาคารเมล็ดพันธุ์พืช31 มีนาคม 2556
31
มีนาคม 2556รายงานจากพื้นที่ โดย freedomkob
circle
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อปฐมนิเทศน์นักสร้างเสริมสุขภาพทั้ง 20 คนซึ่งสมัครเข้าร่วมการฝึกอบรมเพื่อร่วมกันออกแบบแผนงานตารางการอบรมหลักสูตร
  2. เพื่อเพิ่มศักยภาพให้กับนักสร้างเสริมสุขภาพทั้ง 20 คน โดยการอบรมหลักสูตรนักสร้างเสริมสุขภาพ 8 หลักสูตร
  3. เพื่ออบรมระบบการจัดเก็บเมล
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ
  • ปฐมนิเทศน์ผู้ได้รับคัดเลือกให้เป็นนักสร้างเสริมสุขภาพจำนวน 20 คน
  • ทำความเข้าใจกับนักสร้างเสริมสุขภาพเกี่ยวกับแผนงาน/ตารางการอบรมหลักสูตร
  • เตรียมความพร้อมในการเรียนหลักสูตรฯที่ 1
    -เป็นการร่วมกันหารือเกี่ยวกับตารางหลักสูตรอบรมทั้ง 8 หลักสูตร ซึ่งมี เป้าหมายของการเรียน/ลักษณะกิจกรรมในหลักสูตรเพื่อให้เกิดความมั่นใจ
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • นักสร้างเสริมสุขภาพทั้ง 20 คน มีความรู้ความเข้าใจในแผนงาน/ตารางการอบรมหลักสูตรนักสร้างเสริมสุขภาพทั้ง 8 หลักสูตร
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
คุณสมชาย ละอองพันธุ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ประชุมปฐมนิเทศและแลกเปลี่ยนผู้รับทุนโครงการฯ (3-4 พ.ย. 55)16 มีนาคม 2556
16
มีนาคม 2556รายงานจากพื้นที่ โดย freedomkob
circle
วัตถุประสงค์
  1. การติดตามประเมินผลด้วยตัวเอง
  2. การสนับสนุน ติดตามประเมินผลผ่านเวปไซต์
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ
  1. การติดตามประเมินผลด้วยตัวเอง
  2. การสนับสนุน ติดตามประเมินผลผ่านเวปไซต์
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • สามารถบันทึกกิจกรรมการดำเนินโครงการผ่านเวปไซต์ได้
  • สามารถประมินผลด้วยตนเอง
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
คุณสมชาย ละอองพันธุ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ร่วมวางแผนตารางการเรียนรู้องนักสร้างเสริมสุขภาพ3 มีนาคม 2556
3
มีนาคม 2556รายงานจากพื้นที่ โดย freedomkob
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อสร้างตารางการเรียนรู้หลักสูตรนักสร้างเสริมสุขภาพ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

นัดประชุมนักสร้างเสริมสุขภาพมาร่วมวางแผนตารางการเรียนการสอนนักสร้างเสริมสุขภาพ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

แต่ละหลักสูตรจะใช้เวลาในการเรียนทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติจำนวน  1 สัปดาห์ โดยสรุปได้ตารางการเรียนรู้หลักสูตรนักสร้างเสริมสุขภาพดังนี้

  - หลักสูตรที่ 1    ตั้งแต่วันที่  1-7  เม.ย.  2556

  - หลักสูตรที่ 2    ตั้งแต่วันที่  8-11  เม.ย. 2556  และ  17-19  เม.ย.  2556

  - หลักสูตรที่ 3    ตั้ังแต่วันที่  20 - 26  เม.ย.  2556

  - หลักสูตรที่ 4    ตั้งแต่วันที่  27 เม.ย. 2556  - 3 พ.ค. 2556

  - หลักสูตรที่ 5    ตั้งแต่วันที่  4 - 10  พ.ค.  2556

  - หลักสูตรที่ 6    ตั้งแต่วันที่  11 - 15  พ.ค.  2556

และ  17 - 18  พ.ค. 2556

  - หลักสูตรที่ 7    ตั้งแต่วันที่  19 - 25  พ.ค.  2556

  - หลักสูตรที่ 8    ตั้งแต่วันที่  26 -  1  มิ.ย.  2556

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • เวลาในการเรียนเรียนรู้ของนักสร้างเสริมสุขภาพไม่ค่อยตรงกัน ทำให้ยากต่อการจัดตารางการเรียนรู้
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

กิจกรรมที่ 2 เตรียมความพร้อม(สร้างกระบวนการความร่วมมือ) กับหน่วยงาน – ภาคีร่วม – คนจิตอาสา – คณะทำงานฯ และสร้างธนาคารเมล็ดพันธุ์พืช20 มกราคม 2556
20
มกราคม 2556รายงานจากพื้นที่ โดย freedomkob
circle
วัตถุประสงค์

1) ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ร่วมกันวางแผนงานการสร้างธนาคารเมล็ดพันธุ์พืช

2) เพื่อสร้างธนาคารเมล็ดพันธุ์พืช

3) ได้ร่วมกันวางโครงสร้างหลักสูตร นักสร้างเสริมสุขภาพ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

1) ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ร่วมกันวางแผนงานการสร้าง ธนาคารเมล็ดพันธุ์

2) ได้ร่วมกันวางโครงสร้างหลักสูตร นักสร้างเสริมสุขภาพ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • รายงานการประชุมเตรียมความพร้อม

  • ได้แผนงานการสร้างธนาคารเมล็ดพันธุ์พืช

  • ธนาคารเมล็ดพันธุ์พืชจำนวน 1 หลัง เพื่อไว้สำหรับจัดเก็บเมล็ดพันธุ์ ซึ่งมีลักษณะเป็นอาคารปูนชั้นเดียว มีประตูและหน้าต่างที่มิดชิดและเปิดเข้าออกสะดวก ภายในทำเป็นชั้นๆ เพื่อไว้เป็นที่สำหรับเก็บเมล็ดพันธุ์ต่างๆได้

  • ได้โครงสร้างหลักสูตรการเรียนรู้สำหรับนักสร้างเสริมสุขภาพ จำนวน 8 หลักสูตร ดังนี้

1) กาย ธรรมชาติบำบัด : ใช้สมุนไพรและพืชที่หาได้ทั่วไปมาผ่านกรรมวิธีเพื่อนำมาบำบัดร่างกาย

  • ผู้ให้ความรู้คือ คุณวันเพ็ญ นิลวงศ์ และคุณซ่อนกลิ่น  ศรีสุวรรณ ผู้เชี่ยวชาญด้านธรรมชาติบำบัด

2) จิตบำบัด ทำสมาธิแบบเคลื่อนไหว : การเจริญสติในรูปแบบของกายเคลื่อนไหว

  • ผู้ให้ความรู้คือ คุณชิด  ศรีสุวรรณ

3) เศรษฐกิจพอเพียง : หลักในการดำเนินชีวิตแบบพอเพียง ซึ่งเน้นหลักในการประกอบอาชีพตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง

  • ผู้ให้ความรู้คือ คุณนภัทรพจน์ กาเลี่ยง  พัฒนากรอำเภอสิงหนคร

4) แผนแม่บทชุมชนนำสู่แผนสุขภาพ  : เรียนรู้ขั้นตอนการทำแผนแม่บทชุมชน และการเชื่อมโยงแผนชุมชนไปสู่แผนสุขภาพ

  • ผู้ให้ความรู้ คือ คุณปณัฐพร  ฤกขะวุฒิกุล  อาจารย์ประจำหลักสูตรสถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชน

5) การเผาถ่านเพื่อทำน้ำส้มควันไม้ : เรียนรู้ขั้นตอนการทำน้ำส้มควันไม้เพื่อนำมาเป็นสารไล่แมลง

  • ผู้ให้ความรู้คือ คุณสมจิตร  นิลวงศ์  นักวิชาการท้องถิ่นประจำบ้านวัดเเลียบ

6) กองทุนสวัสดิการ : เรียนรู้รายละเอียดและทำความเข้าใจเกี่ยวกับกองทุนสวัสดิการเพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน

  • ผู้ให้ความรู้คือ คุณเรืองวิทย์  ศรีสุวรรณ ประธานกองทุนสวัสดิการตำบลชิงโค

7) การจัดการข้อมูล  : เรียนรู้การจัดการข้อมูลตั้งแต่วิธีเริ่มต้นการเก็บข้อมูลจนไปถึงการวิเคราะห์และสังเคราะ ห์ข้อมูล

- ผู้ให้ความรู้ คือ น.ส.ธีรดา  ศรีสุวรรณ และ น.ส.อุบลรัตน์ ณ รังษี บัณฑิตรักถิ่นจ.สงขลา

8) การจัดการเวลา : เรียนรู้เรื่องการบริหารจัดการเวลา เพื่อนำไปสู่การบริหารจัดการชีวิต

  • ผู้ให้ความรู้คือ คุณเรืองวิทย์  ศรีสุวรรณ

  รายชื่อนักสร้างเสริมสุขภาพ จำนวน 20 คน ดังนี้

1) นายจำนัล  นิลรัตน์

2) นายธงชัย  แก้วบุญส่ง

3) น.ส.กานติมา  ณะรังษี

4) น.ส.รมณีย์  คังฆะสุวรรณ

5) นางรัชฎาพร  ไชยเทพ

6) นางจีบ  บุญราศรี

7) นางวาสนา  คังฆะสุวรรณ

8) นางเชื้อ  แก้วมณี

9) น.ส.วันวิสาข์  ปภาพันธุ์

10) ด.ช.โชติกวัฒน์  นิลวงศ์

11) นายภูวชัย  มะหะพันธุ์

12) นายวุฒิกร  สะกวี

13) นายธีรภัทร์  นิลวงศ์

14) นายภูบดี  ปะสะกวี

15) น.ส.ไปรยา  ตรีสุวรรณ

16) นายแช้ม  เกตุแก้ว

17) นางหนูเผียน  เฝือคง

18) นางแผ้ว  บุญยรัตน์

19) นางสุดาทิพย์  อินทสระ

20) นางจำเนียร  บุญคงดำ

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
คุณสมชาย ละอองพันธุ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ทำความเข้าใจหลักสูตรแผนแม่บทชุมชน6 มกราคม 2556
6
มกราคม 2556รายงานจากพื้นที่ โดย teeradach kung
circle
วัตถุประสงค์

1.เพื่อเป็นหลักสูตรอบรมนักสร้างเสริมสุขภาพ

2.เพื่อสร้างภาคีเครือข่ายเพิ่มเติม

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

จัดเวทีทำแผนดำเนินการตามกิจรรม ได้ร่วมกันวิเคราะห์แผนแม่บทชุมชน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1) ได้หลักสูตรแผนแม่บทเพื่อใช้ในการอบรมนักสร้างเสริมสุขภาพ

2) มี สถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชน (มหาลัยชีวิต)เป็นภาคีเครือข่ายเพิ่มขึ้นในชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

กิจกรรมที่ 1 จัดเวทีทำความเข้าใจโครงการและวัตถุประสงค์ของโครงการ24 พฤศจิกายน 2555
24
พฤศจิกายน 2555รายงานจากพื้นที่ โดย freedomkob
circle
วัตถุประสงค์

-เพื่อจัดเวที  ทำความเข้าใจโครงการฯและวัตถุประสงค์ของโครงการ

-เพื่อรับสมัครคนจิตอาสาเข้าร่วมเป็น “นักสร้างเสริมสุขภาพ”

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

-ชี้แจงวัตถุประสงค์ของโครงการ และทำความเข้าทบทวนโครงการฯปีที่ 1 และทำความเข้าใจโครงการฯปีที่ 2 ให้กับผู้ร่วมโครงการ -มีวิทยากรในพื้นที่มาให้ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับ"พันธุกรรม"และ "สุขภาวะ" ในชุมชม เพื่อนำไปสู่ "เศรษฐกิจพอเพียง" -รับสมัคร ครูนักสร้างเสริมสุขภาพ จำนวน 20 คน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-ผู้เข้าร่วมโครงการจำนวน  175 ได้มีความเข้าใจในวัตถุประสงค์และกิจกรรมต่างๆของโครงการ เพื่อจะได้ทำกิจกรรมต่างๆของโครงการได้อย่างราบรื่น

-ได้ผู้สมัครเข้าร่วมเป็นครูนักสร้างเสริมสุขภาพจำนวน 20 คน ซึ่งเป็นบุคคลที่มีจิตอาสาและมีใจรักที่จะเป็นครูนักสร้างเสริมสุขภาพที่ดี

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-