directions_run

โครงการบ้านท่าด่านน่าอยู่ สุขภาพดีด้วยวิถีพอเพียง

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


“ โครงการบ้านท่าด่านน่าอยู่ สุขภาพดีด้วยวิถีพอเพียง ”

หมู่ที่ 10 ตำบลทุ่งค่าย อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง

หัวหน้าโครงการ
พงศ์พัฒน์ พันธุศักดิ์

ชื่อโครงการ โครงการบ้านท่าด่านน่าอยู่ สุขภาพดีด้วยวิถีพอเพียง

ที่อยู่ หมู่ที่ 10 ตำบลทุ่งค่าย อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง จังหวัด ตรัง

รหัสโครงการ 55-01894 เลขที่ข้อตกลง 55-00-0854

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2555 ถึง 31 ตุลาคม 2556


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการบ้านท่าด่านน่าอยู่ สุขภาพดีด้วยวิถีพอเพียง จังหวัดตรัง" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน หมู่ที่ 10 ตำบลทุ่งค่าย อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการบ้านท่าด่านน่าอยู่ สุขภาพดีด้วยวิถีพอเพียง



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการบ้านท่าด่านน่าอยู่ สุขภาพดีด้วยวิถีพอเพียง " ดำเนินการในพื้นที่ หมู่ที่ 10 ตำบลทุ่งค่าย อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง รหัสโครงการ 55-01894 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 ตุลาคม 2555 - 31 ตุลาคม 2556 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 157,940.00 บาท จาก เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

 

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. 1.คนในชุมชนตระหนักเห็นความสำคัยในการดูแลสุขภาพ มีความรุ้ความสามารถในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคอ้วน ความดัน เบาหวาน และออกกำลังกายอย่างถูกวิธี เยาวชนห่างไกลยาเสพติด
  2. 2.เพื่อสร้างจิตสำนึกให้คนในชุมชน ในการอนุรักาณ์ทรัพยากรธรรมชาติป่าชายเลนและดูแลสิ่งแวดล้อม

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

     


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. ประชุมปฐมนิเทศโครงการร่วมสร้างชุมชนและท้องถิ่นน่าอยู่ ปี 2555

    วันที่ 3 พฤศจิกายน 2555 เวลา 12:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.คณะทำงานโครงการเข้าร่วมประชุมปฐมนิเทศน์เพื่อพัฒนาศักยภาพ ฝึกการใช้เว็บไซต์ happynetwork (คนใต้สร้างสุข ) จำนวน 2 วัน  ในวันที่ 3 - 4 พ.ย. 2556 โรงแรมไดอิชิ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.คณะทำงานโครงการฯ ได้มีการฝึกใช้เว้ปไซต์คนใต้สร้างสุข ซึ่งจากการฝึกปฎิบัติสามารถทำได้อย่างถูกต้อง
    2.มีความรู้ความเข้าใจในการบริหารจัดการโครงการ เช่น เอกสารการเงิน

     

    0 0

    2. ประชุมคณะกรรมการโครงการ

    วันที่ 10 พฤศจิกายน 2555 เวลา 13:00-16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมชี้แจงทำความเข้าใจโครงการให้กับคณะทำงาน ผู้นำชุมชนและประชาชนในพื้นที่ได้รับทราบเกี่ยวกับการดำเนินงานโครงการ โดยมีนายสายัญ วิทยากรพี่เลี้ยงจังหวัดตรัง มาร่วมกิจกรรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คนในชุมชนจำนวน 80 คน ที่ประกอบด้วย คณะทำงานโครงการ  ผู้นำท้องถิ่น กลุ่มแม่บ้าน ฯ เข้าร่วมรับฟังการชี้แจงการขับเคลื่อนกิจกรรมในโครงการบ้านท่าด่าน น่าอยู่ สุขภาพดีด้วยวิถีพอเพียง โดยมีนายสายัญ ชูฤิทธิ์ ซึ่งเป็นวิทยากรในการอธิบายทำความเข้าใจให้กับผู้เข้าร่วมประชุม ทำให้คนในชุมชนมีความเข้าใจในการทำกิจกรรมตามแผนงานโครงการ

     

    0 0

    3. จัดทำป้ายรณรงค์เขตปลอดบุหรี่

    วันที่ 14 พฤศจิกายน 2555 เวลา 13:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดทำป้ายรณรงค์เขตปลอดบุหรี่ จำนวน 1 ป้าย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    มีป้ายรณรงค์เขตปลอดบุหรี่ จำนวน 1 ป้ายเพื่อใช้รณรงค์การลดสูบบุหรี่ และจัดเป็นเขตปลอดบุหรี่ให้กับประชาชนที่เข้าร่วมกิจกรรมและประชาชนทั่วไปได้รับทราบ

     

    0 0

    4. ออกกำลังกายในชุมชน

    วันที่ 2 ธันวาคม 2555 เวลา 18:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    กลุ่มผู้หญิงอายุ 30-45 และเด็กเยาวชนคนในชุมชมร่วมกันออกกำลังกายเต้นแอร์โรบิค ใช้อุปกรณ์เสริม (ฮูลาฮูบ ) จำนวน 60 คน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คนในชุมชนออกกำลังกายโดยการเต้นแฮโรบิคโดยใช้อุปกรณ์เสริม (ฮูลาฮูบ)โดยมีกลุ่มเป้าหมายอายุระหว่าง 30-45 ปี ได้ร่วมการออกกำลังกายเป็นประจำทุกวันในช่วงเย็น ตลอดเดือนธันวาคม โดยมีคนในชุมชนเข้าร่วมจำนวนประมาณ 60 คน ทั้งกลุ่มผู้หญิงและเด็กเยาวชน

     

    0 0

    5. ตรวจสุขภาพคัดกรองโรคประจำปี และบันทึกผลการตรวจสุขภาพ

    วันที่ 11 ธันวาคม 2555 เวลา 12:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.ตรวจสุขภาพคัดกรองโรค และบันทึกผลการตรวจสุขภาพ ให้กับกลุ่มเสี่ยงและคนในชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งค่ายร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุขบ้านท่าด่าน ได้ทำกิจกรรมการตรวจสุขภาพ เช่น การตรวจวัดความดัน  การตรวจวัดนำตาลในเลือด (เบาหวาน)
    มีประชาชนที่มีความสนใจในการตรวจสุขภาพ  เข้าร่วมจำนวน 116 คน จากเดิมที่ตั้งเป้าหมายไว้ประมาณ 60 คน  การตรวจสุขภาพส่งผลให้ผู้รับการตรวจสุขภาพได้รับรู้ข้อมูลสุขภาพของตนเอง ซึ่งจะมีการติดตามผล 3 เดือน/ครั้ง ซึ่งจาการตรวจสุขภาพพบว่าคนในชุมชนที่เป็นกลุ่มผู้สูงอายุ จะมีอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย และมีความดันโลหิตสูง ซึ่งเกิดจากขาดการออกกำลังกายและการรับประทานอาหารที่มีรสจัดและอาหารประเภททอดมัน ขณะที่กลุ่มผู้หญิงที่มีอายุระหว่าง 35 -55 ปี มีนำหนักตัวและรอบเอวเกินกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ซึ่งอยู่ในภาวะโรคอ้วนลงพุง

     

    0 0

    6. อบรมให้ความรู้การดูแลสุขภาพกลุ่มเสี่ยง

    วันที่ 22 ธันวาคม 2555 เวลา 10:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    อบรมให้ความรู้การดูแลสุขภาพให้กับกลุ่มเสี่ยงในชุมชนบ้านทุ่งค่าย โดยวิทยากรจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งค่าย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คนในชุมชนทั้งที่เป็นกลุ่มเสี่ยงและคนทั่วไปในชุมชนที่มีความสนใจการดูแลรักษาสุขภาพ เข้ารับการอบรม จำนวน 100 คน จากเดิมที่ตั้งเป้าหมายไว้ 60 คน โดยมีเจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เป็นวิทยากรให้ความรู้  ซึ่งเจ้าหน้าที่ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหาร การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการกิน การออกกำลังกาย ทำให้คนในชุมชนมีความรู้  ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพโดยเฉพาะการบริโภคอาหารที่เหมาะสมกับช่วงวัย ตลอดจนลดการบริโภคอาหารประเภททอดมัน เน้นการนำผักพื้นบ้านที่มีอยู่ในชุมชนมาปรุงอาหาร เช่น ผักเหรียง ยอดขาไก่ ตำลึง ผักหวาน ฯลฯ เนื่องจากผักพื้นบ้านไม่ได้ใช้สารเคมีและเป็นผักที่ปลอดสารพิษ ซึ่งในชุมชนทุ่งค่ายมีการปลูกกันเกือบทุกครัวเรือน

     

    0 0

    7. ออกกำลังกายในชุมชน

    วันที่ 1 มกราคม 2556 เวลา 18:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คนในชุมชนร่วมกันออกกำลังกายเสริมสร้างสุขภาพโดยการเต้นแฮโรบิค ใช้อุปกรณ์เสริม(ฮูลาฮุบ )เป็นประจำทุกวันของช่วงเย็น เวลา 18.00 -19.00 น.ซึ่งมีกลุ่มผู้หญิงและเด็กเยาวชนเข้าร่วมออกกำลังกาย จำนวน 6o คน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คนในชุมชนร่วมกันออกกำลังกายเสริมสร้างสุขภาพโดยการเต้นแฮโรบิค ใช้อุปกรณ์เสริม(ฮูลาฮุบ )เป็นประจำทุกวันของช่วงเย็น เวลา 18.00 -19.00 น.ซึ่งมีกลุ่มผู้หญิงและเด็กเยาวชนเข้าร่วมออกกำลังกาย จำนวน 6o คน

     

    0 0

    8. จัดตั้งชมรมปลูกผักปลอดสารพิษในชุมชน

    วันที่ 10 มกราคม 2556 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.ประชุมทำความเข้าใจแก่คนในชุมชนที่สนใจเข้าร่วมเป็นสมาชิกกลุ่มปลูกผักปลอดสารพิษ
    2.รับสมัครผู้เข้าร่วมกิจกรรมโครงการปลูกผักปลอดสารพิษ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.คนในชุมชนจำนวน 70 ครัวเรือน มีความสนใจในการเข้าร่วมจัดตั้งชมรมเป็นกลุ่มปลูกผักปลอดสารพิษ โดยเน้นการใช้ปุ๋ยอินทรีย์แทนการใช้ปุ๋ยเคมี โดยกลุ่มมีการเสนอในที่ประชุมในส่วนของผักที่ปลูกเน้นผักที่สามารถดูแลได้ง่าย ทนต่อแมลง เจริญเติบโตเร็ว เช่น ผักบุ้ง ผักกวางตุ้ง ถั่วฝักยาว มะเขือ พริก ฯลฯ เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการซื้อปุ๋ย สารเคมี ตลอดจนสามารถลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ในครัวเรือนจากการจำหน่าย ขายผักที่ปลูกให้กับเพื่อนบ้านและชุมชนใกล้เคียง

     

    0 0

    9. พี่เลี้ยงลงพื้นที่ติดตามโครงการ โดยทีม สจรส.มอ.

    วันที่ 12 มกราคม 2556 เวลา 10:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ให้คำแนะนำการจัดทำเอกสารการเงินโครงการ ,การบันทึกข้อมูล รายงานในเว้ปไซต์ คนใต้สร้างสุข

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.สามารถลงข้อมูล  รายงานในเว้ปไซต์ คนใต้สร้างสุขได้อย่างถูกต้อง 2.การจัดทำเอกสารการเงินโครงการบางส่วนยังต้องมีการแก้ไขเพิ่มเติม

     

    0 0

    10. กิจกรรมออกกำลังกายสร้างเสริมสุขภาพ

    วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา 16.00 -17.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คนในชุมชนโดยเฉพาะกลุ่มผู้หญิง เด็กเยาวชน จำนวน 60 คน ได้ร่วมกันออกกำลัง โดยการเต้นแอร์โรบิค ณ.ลานกีฬาศาลาประชาคมในชุมชนบ้านท่าด่าน ในเดือนกุมพาพันธ์ 2556 (ตลอดทั้งเดือน )

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    การจัดกิจกรรมการออกกำลัง ในวันที่ 1-28 ก.พ 56 เวลา 17.00 -19.00 น.โดยมีวิทยากรเจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งค่าย เป็นคนนำในการเต้นท่าต่างๆ ตามจังหวะเพลง และดนตรี  ทำให้คนในชุมชนที่เป็นกลุ่มแม่บ้านที่มีอายุระหว่าง 30 - 45 ปี ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายได้ร่วมกันออกกำลังกายเป็นประจำทุกวัน จากเดิมมีกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม 60 คน แต่จากการจัดกิจกรรมออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องทำให้คนในชุมชนที่มีเวลาว่างในช่วงเย็น ได้มาออกกำลังเพิ่มขึ้นทุกวัน รวมแล้วจากการจัดกิจกรรมดังกล่าวจำนวน 26 วัน ทำให้เห็นว่าคนในชุมชนได้ให้ความสำคัญในเรื่องของการออกกำลัง  ซึ่งแต่ละวันกลุ่มผู้หญิงที่มาออกกำลังอาจมีเพิ่มขึ้นและลดลงบ้าง รวมคนที่เข้าร่วมกิจกรรมการออกกำลังจำนวน 60 คน

     

    0 0

    11. อบรมต้นแบบปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการออกกำลังกายอย่างเหมาะสม

    วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา 10:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.อบรมให้ความรู้ในการออกกำลังกาย ซึ่งมีคนในชุมชนที่ให้ความสนใจจำนวน 45 คน  จากเดิมที่ตั้งเป้าหมายไว้ 60คน

    2.ฝึกการออกกำลังกายตามท่วงท่าที่เหมาะสมกับช่วงวัย เช่น การยืด คลายกล้ามเนื้อ เนื่องจากคนในชุมชนส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม กรีดยางพารา ทำให้มีการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อบ่อยครั้ง ดังนั้นการใช้ท่าการออกกำลังกายที่เน้นการยืดคลายกล้ามเนื้อ  ทำให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถฝึกปฎิบัติได้อย่างคล่องแคร่ว ตามที่วิทยากรให้คำแนะนำ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    วิทยากรจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งค่ายได้ให้ความรู้การออกกำลัง เช่น การยืด คลายกล้ามเนื้อ  การเต้นแอร์โรบิค การใช้อุปกรณ์อื่นๆ เสริมในการออกกำลังกาย ทำให้คนในชุมชนที่เข้ารับการอบรมจำนวน 45 คน มีความเข้าใจในการออกกำลังกาย โดยวิทยากรมีการฝึกปฎิบัติการออกกำลังในแบบยืดคลายกล้ามเนื้อให้กับผู้เข้ารับการอบรมทำตาม และลองฝึกปฎิบัติ ซึ่งกลุ่มที่เข้ารับการอบรมสามารถทำได้อย่างคล่องแคร่ว โดยคนที่รับการอบรม 45 คน จะเป็นกลุ่มคนต้นแบบ ในการดูแลรักษาสุขภาพของตนเอง  คนในครอบครัว ตลอดจนการประชาสัมพันธ์ และเผยแพร่การออกกำลังแก่คนในชุมชน เนื่องจากชุมชนบ้านท่าด่านคนในชุมชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เช่น เลี้ยงสัตว์ ทำสวนยางพารา รับจ้างทั่วไป  ทำให้เกิดการเจ็บป๋วยจากการทำงาน เช่น การปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ตลอดจนขาดการใส่ใจในเรื่องของการออกกำลัง ทำให้เกิดภาวะนำหนักตัวเพิ่มมากขึ้นเสี่ยงต่อการเกิดภาวะโรคอ้วน และโรคประจำตัวอื่นๆ

     

    0 0

    12. พี่เลี้ยงลงพื้นที่ติดตามโครงการครั้งที่ 1

    วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา 10:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    พี่เลี้ยงลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานของโครงการบ้านท่าด่านน่าอยู่ด้วยวิถีพอเพียง ในเรื่องของบัญชี การเงินและการลงข้อมูลในเว็ปไซค์คนใต้สร้างสุข

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.จัดทำเอกสารการเงินโดยจัดเป็นหมวดแต่ละกิจกรรม
    2.การเพิ่มเติมข้อมูลในส่วนของรายงานผู้รับผิดชอบในเว้ปไซต์ คนใต้สร้างสุข โดยเน้นการเขียนรายงานที่เข้าใจง่าย ทั้งในเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ

     

    0 0

    13. พี่เลี้ยงลงพื้นที่ติดตามผลการดำเนินงานโครงการ ครั้งที่ 2

    วันที่ 2 มีนาคม 2556 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.แก้ไขรายงานข้อมูลในเว้ปไซต์ คนใต้สร้างสุข ที่ยังไม่เรียบร้อย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.สามารถเขียนรายงานผลการดำเนินงานโครงการในระยะที่ 1 ได้อย่างถูกต้อง และแก้ไขการบันทึกกิจกรรมในส่วนที่ยังไม่เรียบร้อย เช่น ปฏิทินโครงการ , รายงาน ส.1  จนแล้วเสร็จ

     

    0 0

    14. ปลูกต้นไม้ปรับภูมิทัศน์ในชุมชน

    วันที่ 5 มีนาคม 2556 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.ปลูกต้นไม้บริเวณริมถนนภายในชุมชนบ้านท่าด่าน หมู่ 10 ต.ทุ่งค่าย อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง โดยคนในชุมชน ประกอบด้วย กลุ่มผู้หญิง เด็กเยาวชน แกนนำชุมชน ผู้นำท้องถิ่น จำนวน 73 คน ปลูกต้นไม้ 1,000 ต้น

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.คณะกรรมการโครงการ แกนนำชุมชน กลุ่มแม่บ้าน ร่วมกันปลูกต้นไม้ ที่ จำนวน 1,000 ต้น ตลอดสองข้างริมถนนภายในชุมชน และสถานที่สำคัญในชุมชน เช่น โรงเรียน ,รพสต ,ทำให้คนในชุมชนได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนและสิ่งแวดล้อม ทำให้เกิดความรัก ความสามัคคี การทำกิจกรรมร่วมกัน 2.หลังจากที่คนในชุมชนได้ร่วมกันปลูกต้นไม้ ทำให้ทัศนียภาพภายในชุมชนมีความสวยงาม และเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับชุมชน

     

    0 0

    15. คืนเงินค่าเปิดบัญชีธนาคาร

    วันที่ 6 มีนาคม 2556 เวลา 13:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คืนเงินค่าเปิดบัญชีะนาคาร

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คืนเงินค่าเปิดบัญชีะนาคาร

     

    0 0

    16. ส่งรายงานการดำเนินงานโครงการ งวดที่ 1

    วันที่ 18 มีนาคม 2556 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ส่งรายงานงวดที่ 1

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ส่งรายงานงวดที่ 1

     

    0 0

    17. ส่งเสริมการร่วมกันออกกำลังกายเยาวชนในพืันที่โดยการตีกลองยาวจินตลีลาจำนวน 16 คน

    วันที่ 19 เมษายน 2556 เวลา 18:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วิทยากรสอนการตีกลองยาวจินตลีลาจำนวน 16 คน ณ.ศาลาเอนกประสงค์  ม.10  บ้านท่าด่าน 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    บุคคลเป้าหมายสามารถฝึกซ้อมและสามามารถเป็นผู้นำตนเองได้

     

    0 0

    18. ส่งเสริมการร่วมกันออกกำลังกายเยาวชนในพื้นทื่โดยการตืกลองยาวจินตลืลาจำนวน 16 คน

    วันที่ 1 พฤษภาคม 2556 เวลา 18:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    บุคคลเป้าหมาย 16 คน สามารถฝึกซ้อมตามวิทยากรและเยาวชนเข้าร่วมกิจกรรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    บุคคลเป้าหมายและเยาวชนฝึกซ้อมกลองยาวจิตลีลาและสามาถเป็นผู้นำตนเองได้

     

    0 0

    19. ติดตามการดำเนินกิจกรรมโครงการ จาก สจรส มอ และพี่เลี้ยง

    วันที่ 6 พฤษภาคม 2556 เวลา 12:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    พื่เลื้ยงให้คำแนะนำและสรุปโครงการที่ดำเนินการที่ผ่านมา

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สามารถสรุปโครงการที่ผ่านมาและแลกเปลื่ยนเรียนรู้สิ่งใหม่

     

    0 0

    20. มอบเกิยรติบัตรแก่ครัวเรีอนต้นแบบ

    วันที่ 10 มิถุนายน 2556 เวลา 13:00-16.00น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    นายพิรมณี มีรุ่งเรือง นายอำเภอย่านตาขาว ได้เข้าร่วมกิจกรรมมอบเกียรติ และมอบเกียรติให้กับบ้านเรือนน่าอยู่ จำนวน 70 ครัวเรือนของชุมชนบ้านท่าด่าน โดยมีคนในชุมชนเข้าร่วม 80 -100 คน ณ ศาลาประชาคมบ้านท่าด่าน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    นายพิรมณี มีรุ่งเรือง นายอำเภอย่านตาขาว ได้เข้าร่วมกิจกรรมมอบเกียรติ และมอบเกียรติให้กับบ้านเรือนน่าอยู่ จำนวน 70 ครัวเรือนของชุมชนบ้านท่าด่าน โดยมีคนในชุมชนเข้าร่วม 80 -100 คน ณ ศาลาประชาคมบ้านท่าด่าน

     

    0 0

    21. กิจกรรมประกวดบ้านเรือนน่าอยู่สะอาดถูกลักษณะ

    วันที่ 10 มิถุนายน 2556 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะกรรมการตัดสินบ้านเรือนน่าอยู่ถูกลักษณะแล้วแจ้งผู้ได้รับรางวัลทราบโดยมีนายอำเภอย่านตาขาวเป็นผู้มอบเกียรติบัตร

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    บ้านเรือนที่ได้รับรางวัลเข้ารับเกียรติบัตรและมีผู้เข้าร่วม 80-100คนโดยนายอำเภอย่านตาขาวเป็นผู้มอบ

     

    39 100

    22. ส่งเสริมการร่วมกันออกกำลังกายเยาวชนในพื้นที่โดยการตีกลองยาวจินตลีลาจำนวน 16 คน

    วันที่ 13 มิถุนายน 2556 เวลา 18:00-20.00น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วิทยากรสอนขั้นตอนการตีและแนะนำให้รู้จ้กการตีตามจังหวะตัวโนีตโดยมีการฝึกซ้อมจริง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    วิทยากรสอนขั้นตอนการตีและแนะนำให้รู้จ้กการตีตามจังหวะตัวโนีตโดยมีการฝึกซ้อมจริง

     

    0 0

    23. ส่งเสริมการร่วมกันออกกำลังกายเยาวชนในพื้นที่โดยการตีกลองยาวจินตลีลาจำนวน 16 คน

    วันที่ 1 กรกฎาคม 2556 เวลา 18:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เป้าหมายและเยาวชนเข้าร่วมฝึกซ่อมกลองยาวสามารถตีตามจังหวะตัวโน๊ตได้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เป้าหมายและเยาวชนสามารถตีกลองยาวตามจังหวะได้

     

    0 0

    24. พี่เลี้ยงติดตามความก้าวหน้าของโครงการ

    วันที่ 24 กรกฎาคม 2556 เวลา 17:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ลงข้อมูลในเว๊ปไซต์คนใต้สร้างสุข ตรวจสอบเอกสารการเงิน ของโครงการ ปรึกษาพี่เลี้ยงในเรื่องของค่าใช้จ่ายที่ใช้เกินกว่าแผน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    การลงข้อมูลในเว๊ปไซต์ครบถ้วนถูกต้อง เอกสารการเงินถูกต้อง และนำเรื่อง ค่าใช้จ่ายที่ใช้เกินกว่าแผนปรึกษา สจรส ในวันที่ 25 กรกฎาคม

     

    0 0

    25. ติดตามสนับสนุนโครงการจาก สจรส มอ และพี่เลี้ยง

    วันที่ 25 กรกฎาคม 2556 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เข้าร่วมกิจกรรมการดำเนินการตรวจสอบความก้าวหน้าของการดำเนินโครงการ ในเรื่องของการลงข้อมูลในเว๊ปไซค์และการทำเอกสารการเงิน ตามแผนที่ได้ตั้งไว้โดยทางพี่เลี้ยงสนับสนุนโครงการได้มาทำการตรวจสอบความก้าวหน้าของการดำเนินกิจกรรมดั้งกล่าวในวันที่ 24 กรกฏาคมและในวันที่25 ได้ทำการนำเอกสารการเงินดังกล่าวส่ง สจรส เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของการดำเนินกิจกรรมและเอกสารการเงินโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้ทำการส่งเอกสารการเงินโครงการแก่ สจรส เพื่อทำการตรวจสอบความถูกต้อง และมีกิจกรรมการมอบเกียติบัตรแก่ครัวเรือนตัวอย่างที่ได้ใช้จ่ายเกินงบประมาณที่ได้ขอไว้ จึงต้องดำเนินการเขียนบันทึกข้อความ ส่ง สสส เพื่อขออนุมัติเงินดังกล่าว

     

    0 0

    26. อบรมให้ความรู้ตระหนักถึงความสำคัญของป่าชายเลน

    วันที่ 10 สิงหาคม 2556 เวลา 10:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้มีการเรียนรู้การรักษาป่าชายเลนและผลกระทบจากการทำลายป่าชายเลนมีผู้เข้าร่วมเกินเป้าที่กำหนด

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    การอบรมให้ความรู้เรื่องป่าชายเลนมีผู้เข้าร่วม 80คนซึ่งเกินกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้และมีผู้สนในการรักป่าชายเลนเพื่อรักษาป่าไว้ให้สัตว์น้ำได้ขยายพันธุ์มากขึ้น

     

    50 80

    27. เพาะชำกล้าไม้

    วันที่ 11 สิงหาคม 2556 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คนในชุมชนร่วมกันเพาะชำกล้าไม้เพื่อไว้ปลูกในชุมชนให้สภาพแวดล้อมน่าอยู่

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สามารถเพาะชำกล้าไม้และปลูก 2 ข้างถนนเพื่อรักษาธรรมชาติ สภาพแวดล้อมให้น่าอยู่

     

    0 0

    28. ส่งเสริมการร่วมกันออกกำลังกายเยาวชนในพื้นที่โดยการตีกลองยาวจินตลีลาจำนวน 16คน

    วันที่ 12 สิงหาคม 2556 เวลา 18:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ฝึกซ้อมการตีกลองยาวตามวิทยากรผู้สอนและสามารถเป็นผู้นำตนเองได้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เป้าหมายในการฝึกซ้อมสามารถตีกลองยาวได้และมีเยาวชนเข้าร่วมผู้สนใจมาก

     

    0 0

    29. ส่งเสริมการร่วมกันออกกำลังกายเยาวชนในพื้นที่โดยการตีกลองยาวจินตลีลาจำนวน 16 คน

    วันที่ 7 กันยายน 2556 เวลา 18:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วิทยากรเป็นผู้นำตีกลองยาวตามตัวโน๊ตเยาวชนสามารถตีกลองยาวได้สามารถเป็นผู้นำตนเองได้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    มีผู้เข้าร่วมเป็นจำนวน 25 คน และสามารถตีกลองยาวจิตลีลาได้และสามารถเป็นผู้นำตนเองได้

     

    0 0

    30. พี่เลี้ยงลงพื้นที่แนะนำการเตรียมตัวทำรายงานสรุปปิดโครงการ

    วันที่ 14 กันยายน 2556 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    พี่เลียงแนะนำการทำรายงานสรุปปิดโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    โครงการได้รับคำแนะนำการพี่เลี้ยงในการทำรายงานสรุปปิดโครงการซึ่งประกอบไปด้วย ง1 ง2 ส 2 และ ส3

     

    0 0

    31. งานสร้างสุขภาคใต้

    วันที่ 28 กันยายน 2556 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่โดยได้เข้าร่วมในห้องย่อยประเด็นๆ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่โดยได้เข้าร่วมในห้องย่อยประเด็นๆดังนี้ 1 ประเด็นเกษตรอาหาร เศรษฐกิจพอเพียง 2 ประเด็นทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 3 เด็ก เยาวชน ครอบครัว ผู้สูงอายุ โรคเรื้อรัง

     

    0 0

    32. ทำรายงานสรุปปิดโครงการ

    วันที่ 30 กันยายน 2556 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ทำรายงานสรุปปิดโครงการ ง1 ง 2 ส 2 ส 3 และไลย์ใส่แผ่น CD

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สามารถทำรายงานสรุปปิดโครงการได้

     

    8 8

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

     

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 1.คนในชุมชนตระหนักเห็นความสำคัยในการดูแลสุขภาพ มีความรุ้ความสามารถในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคอ้วน ความดัน เบาหวาน และออกกำลังกายอย่างถูกวิธี เยาวชนห่างไกลยาเสพติด
    ตัวชี้วัด : 1. ร้อยละ 80ของกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจในการดำเนินงาน 2. บันทึกสุขภาพของประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปที่เข้าร่วมโครงการ 100เปอร์เซ็น 3. ร้อยละ 80ของผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจถูกต้องด้านการออกกำลังกาย การกินผักและผลไม้สด ลดอาหาร หวาน มัน เค็ม 4. ครัวเรือนเป้าหมายปลูกผักสวนครัว อย่างน้อย 70 เปอร์เซ็นต์ 5. ครัวเรือนต้นแบบ ได้รับประกาศเกียรติคุณเชิดชูเกียรติอย่างน้อย 80 เปอร์เซ็นต์ 6. ร้อยละ 80 คนของกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจในการออกกำลังกายที่ถูกวิธีและทำให้สุขภาพดี 7. กลุ่มเป้าหมายออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องอย่างน้อย 70 เปอร์เซ็น 8. เกิดกลุ่มเยาวชนออกกำลังกายในพื้นที่โดยการตีกลองยาวจินตลีลา 1 กลุ่ม

     

    2 2.เพื่อสร้างจิตสำนึกให้คนในชุมชน ในการอนุรักาณ์ทรัพยากรธรรมชาติป่าชายเลนและดูแลสิ่งแวดล้อม
    ตัวชี้วัด : 1.คนในชุมชน ได้มีความรู้ในเรื่องการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้น่าอยู่ อย่างน้อย70% 2.มีพันธ์กล้าไม้ จำนวน 1,000 ต้นและมีการปลูกในพื้นที่ 3.บ้านเรือนน่าอยู่สะอาดถูกลักษณะเพื่อเป็นต้นแบบดีเด่น อย่างน้อย 60%

     

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) 1.คนในชุมชนตระหนักเห็นความสำคัยในการดูแลสุขภาพ มีความรุ้ความสามารถในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคอ้วน ความดัน เบาหวาน และออกกำลังกายอย่างถูกวิธี เยาวชนห่างไกลยาเสพติด (2) 2.เพื่อสร้างจิตสำนึกให้คนในชุมชน ในการอนุรักาณ์ทรัพยากรธรรมชาติป่าชายเลนและดูแลสิ่งแวดล้อม

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    ส่วนที่ 3 ประเมินคุณค่าโครงการ

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ

    ชื่อโครงการ โครงการบ้านท่าด่านน่าอยู่ สุขภาพดีด้วยวิถีพอเพียง

    รหัสโครงการ 55-01894 รหัสสัญญา 55-00-0854 ระยะเวลาโครงการ 1 ตุลาคม 2555 - 31 ตุลาคม 2556

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นการคุณค่าที่เกิดจากโครงการในมิติต่อไปนี้

    • ความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพและนวัตกรรมเชิงระบบสุขภาพชุมชน
    • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีผลต่อสุขภาวะ
    • การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ
    • ผลกระทบเชิงบวกและนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาวะชุมชน
    • กระบวนการชุมชน
    • มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่

    1. เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้ใหม่ / องค์ความรู้ใหม่

    1.การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการบริโภคอาหารของคนในชุมชน จาก 80% เป็น 100 % ในกลุ่มเด็กเยาวชน กลุ่มผู้สูงอายุ และกลุ่มเสี่ยง(โรคความดัน เบาหวาน ) จากการบริโภคผักปลอดสารจากเกษตรอินทรีย์ของชุมชน

    2.ออกกำลังกายตามจังหวะของชีวิค
    เป็นการออกกำลังกายที่เหมาะสมในแต่ละช่วงวัย

      -กลุ่มผู้สูงอายุ  การยืดคลายกล้ามเนื้อ

      -กลุ่มอายุ 35 -45 ปี เต้นแอร์โรบิค

      -กลุ่มเด็กเยาวชน ร้อง รำ เต้น จิตลีลา สืบสานประเพณีกลองยาว


    3.สิทธิชุมชน  ในการจัดการที่ดินสาธารณประโยชน์ โดยการนำที่ดินมาใช้ร่วมกันของคนในชุมชนในด้านการเกษตรอินทรีย์แบบแปลงรวม


    4.เกษตรอินทรีย์สร้างชีวิต  เช่น การเพาะเห็ด การปลูกผักปลอดสารพิษ การบริโภคผักปลอดภัย  และการจำหน่ายผักจากตลาดชุมชน

    1.1 การสำรวจจากหัวหน้ากลุ่มบ้านท่าด่าน
    1.2 เอกสารบันทึกการสำรวจของแต่ละกลุ่มบ้าน จำนวน 5 โซน  จำนวน 178 ครัวเรือน ประชากร 817 คน
    1.3 คณะกรรมการกลุ่มบ้าน จำนวน 25 คน

    2.1 ทะเบียนการออกกำลังกายของคนในชุมชน

    3.1 การสืบค้นสารบบที่ดินอำเภอย่านตาขาวและมีการทำเอกสารสิทธิ นสล (ดินสาธารณประโยชน์)

    4.1 อาคารศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน และฐานการเรียนรู้เกษตรอินทรีย์

    5.1 สมุดบันทึกการประชุมประจำเดือน และการเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาหมู่บ้าน

    ชุมชนใกล้เคียงเข้ามาร่วมกิจกรรม

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สิ่งประดิษฐ์ / ผลผลิตใหม่

    1.กลุ่มปลูกผักปลอดสารพิษเพิ่มขึ้น จากเดิม 60 % เป็น 90% โดยปลูกในพื้นที่ของแต่ละครัวเรือน และที่ดินสาธารณประโยชน์ของชุมชนเนื้อที่20 ไร่ ที่ชุมชนได้มีการจัดแบ่งพื้นที่ เป็นที่ออกกำลังกาย เล่นกีฬา และแปลงเกษตรอินทรีย์ จำนวน 3 ไร่ โดยให้คนที่มีความสมัครใจเข้าร่วมเป็นกลุ่มและมีการจัดสรรรายได้ ให้กับกลุ่มชุมชน 50 % และอีก 50% เป็นรายได้ให้กับคนที่ปลูกผัก


    2. ตลาดไร้สารพิษ เกษตรปลอดภัย  ในพื้นที่แปลงรวมของชุมชน มีชนิดผักที่ปลูกในแปลง จำนวน 8 ชนิด ในพื้นที่ 3 ไร่ เช่น ผักกาดเขียวกวางตุ้ง มะเขือยาว ถั่วฝักยาว พริก
    ตะใคร้ ฯลฯ ผลิตและจำหน่ายในชุมชนและนอกชุมชน


    3. ศูนย์เรียนรู้ และศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน


    4. เกิดแกนนำชุมชนหญิง -ชาย จำนวน 30 คน  และการเปิดพื้นที่ชีวิตให้กับเยาวชนและบุคคลที่เกิดการผิดพลาดในการดำเนินชีวิต เช่น การพนัน สารเสพติด ได้เข้ามามีส่วนร่วมการทำเกษตรอินทรีย์ ปลูกผักปลอดสารพิษ ทำให้มีความรู้และมีอาชีพ มีรายได้ การเห็นคุณค่าในตนเอง เป็นการเยียวยาโดยกระบวนการชุมชน

    1. กลุ่มเกษตรอินทรีย์

    2. ศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน

    3. ตลาดชุมชนที่จำหน่ายผักอินทรีย์ทุกวัน เวลา 17.00 -18.00 น.

    4. แปลงเกษตรอินทรีย์ ในแปลงรวมเนื้อที่ 3 ไร่

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. กระบวนการใหม่

    กระบวนการสร้างความสัมพันธ์ สังคมแห่งการพึ่งพา โดยใช้กิจกรรม แลกต่อแลก เป็นการแลกเปลี่ยนผลผลิตจากครัวเรือนในชุมชน

    กลุ่มเศรษฐกิจพอเพียง บ้านท่าด่าน

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. วิธีการทำงาน / การจัดการใหม่

    กิจกรรม ทำก่อนแล้วรับ  เป็นการปลูกฝังด้านจิตอาสาให้กับคนในชุมชน โดยการร่วมทำประโยชน์ส่วนรวมก่อนประโยชน์ส่วนตน เช่นปลูกต้นไม้ในบริเวณชุมชน ถนน ป่าชุมชน เมื่อทำเสร็จแล้วก็จะได้รับต้นไม้ (ไม้ผล ไม้กินใบกลับไปปลูกที่บ้าน ทำให้เกิดแรงจูงใจให้กับคนในชุมชนในการมีส่วนร่วม

    สมุดรายชื่อการเข้าร่วมกิจกรรมของคนในชุมชน

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การเกิดกลุ่ม / โครงสร้างในชุมชนใหม่
    1. เกิดกลุ่มเกษตรอินทรีย์  50 ครัวเรือน


    2. เกิดกลุ่มปุ๋ยหมักชีวภาพ 1 กลุ่ม 12 คน


    3. เกิดกลุ่มธนาคารขยะ 1 กลุ่ม โดยแบ่งเป็นโซนบ้าน แต่ละโซนรับผิดชอบโดยการสำรวจปริมาณขยะในชุมชนในแต่ละอาทิตย์

    กลุ่มในชุมชน/ รายงาน ส3

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. แหล่งเรียนรู้ใหม่
    1. ศูนย์ฝึกอาชีพเกษตรอินทรีย์ ซึ่งจะมีฐานการเรียนรู้เกษตรอินทรีย์ เช่น  การปลูกผักปลอดสารพิษ การเพาะเห็ดนางฟ้า การเลี้ยงด้วงสาคู การทำปุ๋ยอินทรีย์


    2. ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน  สร้างคน สร้างสังคม บริหารจัดการสิ่งแวดล้อม
    1. ศูนย์การเรียนรู้และศูนย์ฝึกอาชีพในชุมชน

    2. วิทยากรชุมชน จำนวน 13 คน

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    99. อื่นๆ

     

     

     

    2. เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล

    1.ตรวจสุขภาพส่วนบุคคล 3 เดือนต่อครัังในวันประชุมประจำเดือนของหมู่บ้าน

    2.แต่ละเดือนให้หัวหน้ากลุ่มบ้านดำเนินการสำรวจบุคคลกลุ่มเสี่ยงต่อโรคความดัน เบาหวานโดยการแจ้ง อสม รับผิดชอบตามพื้นที่ที่ได้รับมอบหมาย

    1.เอกสารบันทึกกลุ่มเสี่ยง

    2.สมุดการจดบันทึกการตรวจสุขภาพ

    ดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การบริโภค

    ในแต่ละมื้อของอาหาร ชุมชนทานผักเพิ่มมากขึ้น ลดอาหารประเภท หวาน เค็ม และทอดน้ำมัน  สังเกตุได้จากครัวเรือนมีการปลูกผักเพิ่มมากขึ้น และมีการบริโภคผักปลอดสารพิษทั้งจากแปลงเกษตรของชุมชนและแปลงเกษตรของตนเอง

    สมุดบันทึกสุขภาพ

    ให้หมู่บ้านใกล้เคียงและคนในชุมชนปลูกผักปลอดสารพิษให้ครบ 100%

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การออกกำลังกาย

    1.มีการออกกำลังกายในชุมชนและหมู่บ้านใกล้เคียงมาร่วมกิจกรรมการออกกำลังกายกันมากขึ้น

    2.บุคคลที่ออกกำลังกายมีสุขภาพและโรคต่าง ๆลดน้อยลง

    1.เอกสารการตรวจสุขภาพของหมู่บ้านบุคลที่เป็นโรคเบาหวาน ความดัน

    2.สมุดรายชื่อการเข้าร่วมออกกำลังกายของชุมชน

    คนในชุมชนออกกำลังกายให้ครบ 100%

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. การลด ละ เลิก อบายมุข เช่น การพนัน เหล้า บุหรี่

    1.คนในชุมชนใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์โดยการปลูกผักไร้สารพิษ

    2.รณรงค์ให้ความรู้คนในชุมชนเกี่ยวกับโทษการดื่มเหล้า สูบบุหรี่

    3.ขอตกลงในการงดเลิก เหล้า อบายมุขในวันออกพรรษา

    1.เอกสารความรู้ความเข้าใจในเรื่องโทษของเหล้า บุหรี่

    2.บันทึกการประชุมประจำเดือน

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การลดพฤติกรรมเสี่ยง เช่น พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การขับรถโดยประมาท

    1.คนในชุมชนรู้กฏหมาย ระเบียบในการขับรถอย่างถูกวิธีและถูกกฏจราจร

    2.ชุดรักษาความสงบในหมู่บ้านดูแลระเบียบสังคมและการขับรถให้ถูกกฏจราจรโดยมีกฏกติกาในการดูแลความเป็นระเบียบในหมู่บ้าน

    3.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งค่ายให้ความรู้เรื่องเพศ

    1.กฏกติกาของหมู่บ้าน

    2.ภาพถ่ายการให้ความรู้เกี่ยวกับกฏหมายจราจรและพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. การจัดการอารมณ์ / ความเครียด

    1.จัดกิจกรรมให้โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนโดยกิจกรรมเน้นถึงความสนุกนานเช่น งานวันเด็กแห่งชาติ การแข่งขันว่าว งานลอยกระทง ฯลฯ

    2.แต่ละเดือนคนในชุมชนมาร่วมรับประทานอาหารร่วมกันโดยการจัดเป็นโซน ร่วมกันแก้ปัญหาต่าง ๆ ของแต่ละโซน

    1.ภาพถ่ายกิจกรรมต่าง ๆ

    2.สมุดบันทึกการทำงานและแก้ไขความเดือดร้อนต่าง ๆ ในชุมชน

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. การดำรงชีวิต / วิถีชีวิต เช่น การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น / สมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเอง

    1.ปลูกผักสมุนไพรไว้ใช้เองในครัวเรือนจำนวน 8 ชนิด เช่น ตะไคร้  ขมิ้น พริกไทย ข่า บัวบก อันชัญ  ฯลฯ

    2.ใช้สมุนไพรต่างๆมาเป็นส่วนผสมในอาหารเช่น ขมิ้นแก้โรคกระเพาะ  ตะไคร้แก้ลม ฯลฯ

    1.ผลผลิตในหมู่บ้านที่มีอยู่จริง

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    8. พฤติกรรมการจัดการตนเอง ครอบครัว ชุมชน

    1.สร้างความสัมพันธ์ในครอบครัวโดยการรับประทานอาหารพร้อมกัน

    2.จัดกิจกรรมความสัมพันธ์ในชุมชน เช่นรดน้ำผู้สูงอายุ กิจกรรมดูแลผู้สูงอายุ

    การจัดงานประเพณีของชุมชนในช่วงสงกรานต์

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    9. อื่นๆ

     

     

     

    3. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. กายภาพ เช่น มีการจัดการขยะ ป่า น้ำ การใช้สารเคมีเกษตร และการสร้างสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนที่ถูกสุขลักษณะ

    1.จัดตั้งธนาคารขยะ

    2.จัดตั้งกลุ่มรับผิดชอบในการเก็บขยะแต่ละโซน

    3.รณรงค์ไม่ให้ใช้สารเคมีมีการจัดตั้งกลุ่มชีวภาพในชุมชน และใช้ปุ๋ยหมักภูมิปัญญาท้องถิ่น

    4.ปลูกต้นไม้และพืชผักสวนครัวในครัวเรือน

    5.ปลูกต้นไม้ 2 ข้างถนน

    6.ตั้งชุดรักษาป่าชายเลน

    รายงาน ส3

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สังคม เช่น มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ลดการเกิดอุบัติเหตุ ครอบครัวอบอุ่น การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อเด็ก เยาวชน และกลุ่มวัยต่าง ๆ มีพื้นที่สาธารณะ/พื้นที่ทางสังคม เพื่อเอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชน มีการใช้ศาสนา/วัฒนธรรมเป็นฐานการพัฒนา

    1.ชุดรักษาความสงบในหมู่บ้านโดยการออกลาดตระเวนในหมู่บ้านอาทิตย์ละ 3 คืน และเฝ้าป้อมหมู่บ้านคืนละ 2 คน

    2.มีสนามกีฬาให้เยาชนออกกำลังกายในหมู่บ้านและใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

    3.มุมอ่านหนังสือประจำหมู่บ้านใช้ในการค้นคว้าหาความรู้ต่าง ๆ

    1.สถานที่จริง

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. เศรษฐกิจสร้างสรรค์สังคม /สร้างอาชีพ / เพิ่มรายได้

    1.มีกลุ่มอาชีพที่เสริมรายได้ในหมู่บ้านเช่า กลุ่มอาชีพเพาะเห็ดนางฟ้า กลุ่มอาชีพขนมปั้นสิบ  กลุ่มอาชีพผักปลอดสารพิษ  กลุ่มอาชีพเลี้ยงปลาดุก โดยมีรายได้เฉลี่ยคนละ 1,450 บาทในหนึ่งอาทิตย์

    บ้านท่าด่าน หมู่ที่ 10 รายงาน ส3

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการบริการสุขภาพทางเลือก และมีช่องทางการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ

    1.มีหมอพื้นบ้านในชุมชน เช่น หมอฟัน หมอตำแย หมองู

    บ้านท่าด่านหมู่ที่ 10

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. อื่นๆ

     

     

     

    4. การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. มีกฎ / กติกา ของกลุ่ม ชุมชน

    1.มีกฏกติกาในหมู่บ้านโดยการทำประชาคมในหมู่บ้าน

    บันทึกประชาคมหมู่บ้าน

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. มีมาตรการทางสังคมของกลุ่ม ชุมชน

    1.ใช้มาตรการทางสังคมโดยใช้กฏกติกาของหมู่บ้าน เช่นห้ามทิ้งขยะ 2 ข้างทางปรับ 500 บาท  บุคคลใดลักขโมยปรับ 10 เท่าของราคาของ

    บันทึกประชาคมหมู่บ้าน

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. มีธรรมนูญของชุมชน

    1.มีกติกาของหมู่บ้าน

    บันทึกประชาคมหมู่บ้าน

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. อื่นๆ เช่น ออกเป็นข้อบัญญัติท้องถิ่น ฯลฯ

     

     

     

    5. เกิดกระบวนการชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. เกิดการเชื่อมโยงประสานงานระหว่างกลุ่ม / เครือข่าย (ใน และหรือนอกชุมชน)

    1.มีการศึกษาดูงานจากตำบลและชุมชนอื่น

    2.มีเครือข่ายเข้าร่วมกิจกรรมในหมู่บ้าน เช่นการปลูกต้นไม้ การจัดกิจกรรมงานวันเด็ก ฯลฯ

    รางวัลหมู่บ้านดีเด่น สมุดเยี่ยม

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเรียนรู้การแก้ปัญหาชุมชน (การประเมินปัญหา การวางแผน การปฏิบัติการ และการประเมิน)

    1.ร่วมกันจัดประชุมประจำเดือนเพือแก้ปัญหาในชุมชนและให้หน่วยงานที่รับผิดชอบรับทราบปัญหาและหาแนวทางแก้ไข

    2.สภากาแฟ

    รายงานประชุมประจำเดือน

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ประโยชน์จากทุนในชุมชน เช่น การระดมทุน การใช้ทรัพยากรบุคคลในชุมชน

    1.มีแกนนำกกลุ่มและเครือข่ายในชุมชน

    2.ใช้ทรัพยากรมาใช้ในการทำอาหารเช่น หน่อไม้ป่า  กุ้ง หอย ปู ปลา

    กลุ่มในชุมชน

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกลุ่มและชุมชนที่เกิดจากโครงการอย่างต่อเนื่อง

    1.มีการสนับสนุนจากหน่วยงานของรัฐเช่น ส่งเสริมกลุ่มอาชีพเพาะเห็ดนางฟ้า  กลุ่มเศรฐกิจพอเพียงอย่างต่อเนื่อง

    กลุ่มเพาะเห็ดในชุมชน

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. เกิดกระบวนการจัดการความรู้ในชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. เกิดทักษะในการจัดการโครงการ เช่น การใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ การทำแผนปฏิบัติการ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. อื่นๆ

     

     

     

    6. มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเอง / กลุ่ม / ชุมชน

    1.ชุมชนมีความสุขในการทำกิจกรรมต่าง ๆ

    2.หมู่บ้านได้รับรางวัลพระราชทาน

    3.ได้รับรางวัลผู้ใหญบ้านยอดเยี่ยมปี2556

    รางวัลต่างๆ

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเห็นประโยชน์ส่วนรวมและส่วนตนอย่างสมดุล

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย และพอเพียง

    1.เป็นหมู่บ้านตามหลักปรัชญาพอเพียง

    กลุ่มปลูกผัก และกลุ่มต่างๆในชุมชน

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. ชุมชนมีความเอื้ออาทร

    1.แบ่งปันผลผลิตแก่กันเช่นผัก ผลไม้

    2.มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกันในชุมชน เช่นการดูแลซึ่งกันและกันเมื่อมีปัญหา การช่วยงานต่าง ๆ

    ชุมชนท่าด่าน

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. มีการตัดสินใจโดยใช้ฐานปัญญา

    1.ใช้ภูมิปัญญาในท้องถิ่นในการแก้ปัญหาและในการตัดสินใจในกิจกรรมต่าง ๆ

    รายงาน ส3

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. อื่นๆ

     

     

     

    โครงการบ้านท่าด่านน่าอยู่ สุขภาพดีด้วยวิถีพอเพียง จังหวัด ตรัง

    รหัสโครงการ 55-01894

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( พงศ์พัฒน์ พันธุศักดิ์ )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด