แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


“ โครงการชุมชนท่าแขกน่าอยู่ ”

ชุมชนบ้านท่าแขก หมู่ที่ 5 ตำบลนาทุ่ง อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร

หัวหน้าโครงการ
นายมนตรี พุ่มพวง

ชื่อโครงการ โครงการชุมชนท่าแขกน่าอยู่

ที่อยู่ ชุมชนบ้านท่าแขก หมู่ที่ 5 ตำบลนาทุ่ง อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร จังหวัด ชุมพร

รหัสโครงการ 55-01862 เลขที่ข้อตกลง 55-00-0920

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2555 ถึง 31 ตุลาคม 2556


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการชุมชนท่าแขกน่าอยู่ จังหวัดชุมพร" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ชุมชนบ้านท่าแขก หมู่ที่ 5 ตำบลนาทุ่ง อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการชุมชนท่าแขกน่าอยู่



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการชุมชนท่าแขกน่าอยู่ " ดำเนินการในพื้นที่ ชุมชนบ้านท่าแขก หมู่ที่ 5 ตำบลนาทุ่ง อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร รหัสโครงการ 55-01862 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 ตุลาคม 2555 - 31 ตุลาคม 2556 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 204,000.00 บาท จาก เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

 

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. สมาชิกชุมชนมีความรู้เรื่องการคัดแยกขยะและสามารถคัดแยกขยะได้

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

     


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. ประชุมคณะทำงานโครงการ

    วันที่ 10 ตุลาคม 2555 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมชี้แจงงบประมาณที่ได้รับและแบ่งหน้าที่ให้กับคณะทำงานออกสำรวจข้อมูลขยะ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้รับความร่วมมือจากคณะทำงานในโครงการร่วมกันและแบ่งหน้าทีการรับผิดชอบต่อคณะงานให้รับทราบในการทำงานของแต่ละคนเป็นอย่างดี

     

    0 0

    2. สำรวจข้อมูลเกี่ยวกับขยะในชุมชน

    วันที่ 11 ตุลาคม 2555 เวลา 17:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะทำงานออกพื้นที่เพื่อสำรวจข้อมูลขยะฝอยของชุมชนที่เกิดขึ้นจริง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะทำงานลงสำรวจพื้นที่ในชุมชน เช่น วัด , โรงเรียน เป็นต้น เรื่องที่มาของการเกิดขยะในพื้ที่ชุมชนและทราบสาเหตุที่มาของขยะในชุมชนมากขึ้น

     

    0 0

    3. จัดเวทีประชาคมตัวแทนครัวเรือน

    วันที่ 23 ตุลาคม 2555 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดเวทีประชาคมตัวแทนครัวเรือน  เพื่อวิเคราะห์ปัญหา /วางแผนแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอย   1  คัดเลือกแกนนำ กลุ่ม อสม. กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มเยาวชน และตัวแทนกลุ่มทุนต่างๆในพื้นที่  เพื่อเป็นผู้นำในการดำเนินกิจกรรม   2  จัดตั้งกลุ่มกิจกรรมการจัดการขยะ เช่น กลุ่มเก็บขยะสะสมขายเป็นเงิน กลุ่มทำปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ กลุ่มเยาวชนอาสาพิทักษ์สิ่งแวดล้อม   3  กำหนดกิจกรรมการจัดการขยะอย่างครบวงจร

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ประชาชนในชุมชนมีความรู้ความเข้าเรื่องการจัดการขยะให้ความร่วมมือในการทำโครงการเกี่ยวกับเรื่องขยะเพื่อทำให้ชุมชนท่าแขกน่าอยู่และภูมิทัศน์น่ามองสร้างสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงต่อชุมชนเป็นอย่างดี

     

    0 0

    4. ประชุมปฐมนิเทศ

    วันที่ 5 พฤศจิกายน 2555 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    12:30-13:00  ลงทะเบียน 13:00-14:00  - สสส.กับแนวคิดการพัฒนาและขับเคลื่อนกระบวนการสร้างชุมชนและท้องถิ่นให้น่าอยู่ -  ภาพรวมขั้นตอนกระบวนการพัฒนา และกระบวนการติดตามสนับสนุนโครงการร่วมสร้างชุมชนภาคใต้ตอนบน โดย ผศ.ดร.พงศ์เทพ สุธีวุฒิ 15:00-16:00  ติดตามประเมินผลด้วยตัวเอง โดย ผศ.ดร.พงศ์เทพ สุธีวุฒิ 16:00-17:00  สนับสนุน ติดตามประเมินผลผ่าน website โดย คุณภาณุมาศ นนทพันธ์ 17:00-21:00  แบ่งกลุ่มตามรายจังหวัดฝึกปฏิบัติการโดยโครงการจากจังหวัดชุมพรทีมพี่เลี้ยงให้ความช่วยเหลือและประเมิน โดย คุณเบญจา รัตนมณี

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะทำงานโครงการมีความรู้ความเข้าใจในการประชุมปฐมนิเทศเรื่องการลงกิจกรรมผ่าน website เป็นอย่างดี

     

    0 0

    5. จัดให้ความรู้เรื่องการคัดแยกขยะ

    วันที่ 24 พฤศจิกายน 2555 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดให้ความรู้เรื่องการคัดแยกขยะโดยวิทยากรจากกองสาธารณสุขเทศบาลเมืองชุมพรเพื่อให้ประชาชนในชุมชนได้รู้จักวิธีการคัดแยกขยะและจัดการขยะอย่างครบวงจรและประชุมร่วมของชุมชนเพื่อสะท้อนสภาพปัญหาด้านการจัดการขยะของชุมชนและทราบสภาพที่แท้จริง ร่วมทั้งวางแผนพัฒนาต่อยอดและสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน โดย   4.1 จัดให้มีแกนนำเยาวชนเป็นอาสา สมัครรณรงค์การคัดแยกขยะ
      4.2 ร่วมตกลงกติกาการดำเนินงานของกลุ่มให้ชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการจัดการกลุ่มหรือบริหารงบ ประมาณ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ประชาชนเริ่มมีความสนใจที่จะรู้เรื่องการคัดแยกขยะและการจัดการขยะโดยแนะนำบุตรหลานที่เป็นเยาวชนให้ช่วยกันเป็นอาสาสมัครรณรงค์การจัดการขยะและคัดแยกขยะเพื่อช่วยสร้างจิตสำนึกให้กับเยาวชนในการรักษาความสะอาดต่อไปในอนาคต

     

    0 0

    6. แกนนำเยาวชนลงสำรวจพื้นที่

    วันที่ 26 พฤศจิกายน 2555 เวลา 17:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    แกนนำและเยาวชนช่วยกันลงพื้นที่ออกสำรวจตามชุมชนและบริเวณใกล้เคียงบ้านตนเองเกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจเรื่องการจัดการขยะและการคัดแยกขยะที่ได้รับมาจากการจัดกิจกรรมให้ความรู้เรื่องขยะของชุมชนว่ามีความเข้าใจมากน้อยเพียงใด

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    แกนนำเยาวชนลงสำรวจพื้นที่ตามบ้านเรือนของประชาชนในชุมชนทุกบ้านและสอบถามความรู้ความเข้าใจในเรื่องการจัดการขยะและการคัดแยกขยะที่ได้รับการความรู้มาจากการจัดกิจกรรมของชุมชนว่าเข้าใจมากหรือน้อยอย่างไร

     

    0 0

    7. จัดกิจกรรมรณรงค์ทำความสะอาดชุมชนในวันเฉลิมฯ

    วันที่ 5 ธันวาคม 2555 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชาชนให้ความร่วมมือในการจัดระเบียบความสะอาดสาธารณประโยชน์เช่น วัด,โรงเรียนของชุมชนเพื่อเป็นมหากุศลในวันเฉลิมฯ พร้อมกับร่วมกันเดินเทอดพระเกียรติถวายในหลวง มีประชาชนในชุมชนให้ความร่วมมือประมาณ 80 คน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ประชาชนและเยาวชนตอบรับกับกิจกรรมที่ชุมชนจัดและให้ความร่วมมือต่อกิจกรรมเป็นอย่างดี

     

    0 0

    8. จัดให้เยาวชนทำความสะอาดวัดชุมพรรังสรรค์

    วันที่ 10 ธันวาคม 2555 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดให้เยาวชนช่วยทำความสะอาดสถานที่สำคัญให้ชุมชน เช่น เก็บขยะ ,ทำบุญ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เยาวชนให้ความร่วมมือต่อกิจกรรมรณรงค์นี้ประมาณ 20 คน และได้รับความร่วมต่อเยาวชนในการทำความสะอาดและทำประโยชน์ต่อสถานที่สาธารณะเป็นอย่างดี

     

    0 0

    9. ร่วมประชุมจัดตั้งกองทุนการกำจัดขยะ

    วันที่ 22 ธันวาคม 2555 เวลา 09:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ร่วมประชุมจัดตั้งกองทุนการกำจัดขยะโดยผู้สนใจที่เข้าร่วมโครงการ ในหลังคาเรือนจะมีการแยกขยะเป็นชนิดต่างๆ ได้แก่
    1 ขยะสดที่เป็นเศษอาหารมีการกำจัดโดยทิ้งใส่ถังหมักที่มีกากน้ำตาลเพื่อเป็นปุ๋ยหมักชีวภาพนำไปบำรุงดิน หรือพัฒนาเป็นน้ำหมักไล่แมลงรดพืชผัก ต้นไม้ ที่ปลูกในสวนหรือไร่นา 2 ขยะแห้งให้มีการคัดแยกแต่ละชนิดในครัวเรือน พลาสติก กระดาษ แก้ว อาจแยกขยะใส่ภาชนะที่จัดเก็บหรือใช้ถุงปุ๋ยที่มีมากอยู่แล้วในชุมชนเก็บไว้แล้วทำการนัดหมายสมาชิกกลุ่มมารวมขยะเพื่อจะบันทึกน้ำหนักขยะ ของแต่ละครัวเรือนพร้อมนัดหมายรถรับซื้อขยะเข้ามาชื้อขยะรีไซเคิลในชุมชน และนำเงินที่ได้บริหารจัดการตามข้อตกลงของกลุ่ม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ประชาชนมาเข้าร่วมประชุมจัดตั้งกองุทนการกำจัดขยะกับชุมชนประมาณ 80 คน และประชาชนให้ความร่วมมือในการเข้าร่วมโครงจัดตั้งกองทุนการกำจัดขยะเป็นอย่างดี

     

    0 0

    10. ประชุมหารือเครือข่าย

    วันที่ 12 มกราคม 2556 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมหารือเครือข่ายเพื่อขยายงานแก่แกนนำชุมชนและหน่วยงานหรือองกรณ์ต่างๆ ในชุมชน 1.  แบ่งหน้าที่การปฏิบัติให้กับแกนนำของชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะทำงานให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่อไปของชุมชนและร่วมระดมความคิดในการสานต่อกิจกรรมต่างๆให้สำเร็จ

     

    0 0

    11. ประชุมติดตามโดย สจรส.มอ.

    วันที่ 14 มกราคม 2556 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ทีมงานผู้รับผิดชอบโครงการ จำนวน 2 คน นำข้อมูลการจัดกิจกรรมโครงการเข้าร่วมประชุมติดตาม โดยปรับและลงข้อมูลกิจกรรมให้เป็นปัจจุบัน ซึ่งการดำเนินการค่อนข้างเป็นปัจจุบัน ปรับบ้างตรงปฏิทินโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ทีมงานผู้รับผิดชอบโครงการจำนวน 2 คนเข้าร่วมประชุมติดตามโครงการร่วมกับพี่เลี้ยงจังหวัดและ สจ.รส.มอ. ณ ห้องประชุมกองสาธารณสุขเทศบาลตำบลวังไผ่ในเวลา 13.40 น. ส่วนกรรมการอีก 3 คน ทีมงานอ้างว่าติดภาระกิจ ไม่สามารถเข้าร่วมได้ ซึ่งทีมงานที่มาต้องรับผิดชอบกลับไปพัฒนาทีมงานส่วนที่เหลือให้สามารถเรียนรู้ไปอย่างเท่าเทียมกัน

     

    0 0

    12. แกนนำชุมชนประสานงานกับวัดเรื่องการคัดแยกขยะ

    วันที่ 19 มกราคม 2556 เวลา 09:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    โดยคณะทำงานโครงการประสานงานกับเจ้าอาวาสวัดชุมพรรังสรรค์ให้ช่วยแนะนำคณะพระสงฆ์และสามเณรเรื่องความรู้ความเข้าใจในการคัดแยกขยะโดยคณะทำงานได้ทำแผ่นพับหรือโปสเตอร์ให้กับทางวัดชุมพรรังสรรค์ช่วยแนะนำและแจกพระสงฆ์และสามเณรเพื่อสร้างความเข้าใจและเพื่อสร้างจิตสำนึกให้กับนคณะพระสงฆ์และสามเณรและทางคณะทำงานได้จัดทำปัายรณรงค์การคัดแยกขยะให้กับวัดชุมพรรังสรรค์อย่างครบวงจรเพื่อติดตั้งไว้กับวัดชุมพรรังสรรค์ให้ประชาชนทุกคนที่มาทำบุญได้ทราบและตระหนักเรื่องขยะมากยิ่งขึ้น

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้รับความร่วมมือจากเจ้าอาวาสวัด,คณะพระสงฆ์และสามเณรเป็นอย่างดี โดยทางวัดจะนำโปสเตอร์ ให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องขยะไปแจก และเเนะนำให้คณะพระสงฆ์และสามเณรในวัด เพื่อที่จะให้คณะพระสงฆ์และสามเณรได้ส่งต่อความรู้นี้สู่ประชาชนทุกคนที่มาปฏิบัติธรรมหรือมาทำบุญที่วัดทุกวันพระ

     

    0 0

    13. แกนนำประสานงานกับผู้อำนวยการโรงเรียนเกี่ยวกับการจัดการขยะ

    วันที่ 26 มกราคม 2556 เวลา 09:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    โดยคณะทำงานโครงการประสานงานกับผู้อำนวยการโรงเรียนพุทธยาคมศรียาภัยและครูประจำชั้นให้ช่วยแนะนำเด็กเรื่องความรู้ความเข้าใจในการคัดแยกขยะโดยคณะทำงานได้ทำแผ่นพับหรือโปสเตอร์ให้กับทางโรงเรียนช่วยแนะนำและแจกเด็กนักเรียนเพื่อสร้างความเข้าใจและเพื่อสร้างจิตสำนึกให้กับนักเรียนในโรงเรียนและทางคณะทำงานได้จัดทำปัายรณรงค์การคัดแยกขยะให้กับโรงเรียนอย่างครบวงจรเพื่อติดตั้งไว้กับโรงเรียน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้รับความร่วมมือจากผู้อำนวยการโรงเรียนและครูพุทธยาคมศรียาภัยและนักเรียนเป็นอย่างดี โดยทางโรงเรียนจะนำโปสเตอร์ ให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องขยะไปแจก และเเนะนำให้นักเรียนในชั้นเรียน เพื่อที่จะให้นักเรียนได้ส่งต่อความรู้นี้สู่ผู้ปกครองและครอบครัว

     

    0 0

    14. จัดแกนนำทำป้ายรณรงค์

    วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา 09:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะทำงานโครงการร่วมจัดทำป้ายรณรงค์การกำจัดขยะอย่างครบวงจรในชุมชน และนำไปตั้งติดที่ทางเข้าชุมชนบ้านท่าแขก

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ประชาชนในชุมชนให้การตอบรับู้และให้ความร่วมในการทำป้ายรณรงค์แก่ชุมชนเป็นอย่างดี และได้รู้จักการคัดเเยกขยะและการกำจัดขยะ

     

    0 0

    15. การติดตามรายงานงวดครั้งที่ 1 จาก สจรส.ม.อ.(เพื่อส่งรายงานงวด)

    วันที่ 5 มีนาคม 2556 เวลา 08:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะทำงานเดินทางเพื่อส่งรายงานงวดครั้งที่ 1 ให้กับ ส.จรส.ม.อ. ที่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา และพบปะพูดคุยกับทีมงานและทีมงาน ส.จรส.ม.อ. ตรวจสอบรายงานงวด ว่าถูกต้องสมบูรณ์หรือไม่

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะทำงานของชุมชนเข้าพบปะพูดคุยกับทีมงาน ส.จรส.ม.อ. และส่งรายงานงวดให้กับทีมงามตรวจสอบความถูกต้องและรับฟังคำแนะนำจากทีมงานเรื่องที่จะทำโครงการงวดต่อไปแบบไหนให้สำเร็จและถูกต้องมากที่สุด

     

    0 0

    16. จัดแกนนำทำป้ายรณรงค์

    วันที่ 9 มีนาคม 2556 เวลา 09:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะทำงานโครงการร่วมจัดทำป้ายรณรงค์การกำจัดขยะอย่างครบวงจรในชุมชน และนำไปตั้งติดที่วัดชุมพรรังสรรค์ชุมชนบ้านท่าแขก

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะเจ้าอาวาสและพระภิษุณสงฆ์และสามเณรในวัดให้การตอบรับและให้ความร่วมในการทำป้ายรณรงค์ให้แก่วัดชุมพรรังสรรค์เป็นอย่างดี และยังได้รู้จักการคัดเเยกขยะและการกำจัดขยะที่ถูกวิธีอีกด้วยและยังทำให้คณะพระและสามเณรมีความกระตือรือร้นในการกำจัดขยะเพื่อสร้างความสะอาดให้แก่วัดและเพื่อสร้างภาพลักษณะให้กับชาวบ้านในชุมชนเห็นเป็นตัวอย่างที่ดีและนำกับไปทำที่บ้านอีกด้วย

     

    0 0

    17. จัดแกนนำทำป้ายรณรงค์

    วันที่ 23 มีนาคม 2556 เวลา 09:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะทำงานโครงการร่วมจัดทำป้ายรณรงค์การกำจัดขยะอย่างครบวงจรในชุมชน และนำไปตั้งติดที่โรงเรียนพุทธยาคมศรียาภัยชุมชนบ้านท่าแขก

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะเจ้าอาวาสและพระภิษุณสงฆ์และสามเณรในวัดให้การตอบรับและให้ความร่วมในการทำป้ายรณรงค์ให้แก่วัดชุมพรรังสรรค์เป็นอย่างดี และยังได้รู้จักการคัดเเยกขยะและการกำจัดขยะที่ถูกวิธีอีกด้วยและยังทำให้คณะพระและสามเณรมีความกระตือรือร้นในการกำจัดขยะเพื่อสร้างความสะอาดให้แก่วัดและเพื่อสร้างภาพลักษณะให้กับชาวบ้านในชุมชนเห็นเป็นตัวอย่างที่ดีและนำกับไปทำที่บ้านอีกด้วย

     

    0 0

    18. จัดเวทีติดตามผลงานเรื่องการจัดการขยะ

    วันที่ 6 เมษายน 2556 เวลา 10:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดเวทีติดตามผลงานเรื่องการจัดการขยะ ของชุมชนครั้งที่ 1 และร่วมกันรณรงค์จัดการสิ่งแวดล้อมบิรเวณบ้านและชุมชนให้น่าอยู่และเน้นการสร้างจิตสำนึกของประชาชนในชุมชนให้ตระหนักในการรักษาความสะอาดและช่วยกันดูและช่วยกันตรวจสอบพื้นที่บริเวณใก้ลเคียงบ้านพักของตนเองว่ามีการเปลี่ยนแปลงไปแล้วมากหรือน้อยหรือมีปัญหาในเรืองใดบ้างเกี่ยวกับช่วยกันจัดการขยะในชุมชนเพื่อทำให้ชุมชนท่าแขกน่าอยู่น่ามอง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ประชาชนทุกคนในชุมชนให้ความร่วมมือในการติดตามผลงานเรื่องการจัดการขยะและช่วยกันดูแลพื้นที่ข้้างเคียงของตนเองไม่เกิดการสร้างขยะมากขึ้น

     

    0 0

    19. ลงพื้นที่ติดตามโครงการ

    วันที่ 10 พฤษภาคม 2556 เวลา 09:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

     

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

     

     

    0 0

    20. จัดประชุมประกวดบ้านน่าอยู่

    วันที่ 11 พฤษภาคม 2556 เวลา 09:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมชี้แจงให้กับประชาชนในชุมได้รับทราบเรื่องการจัดประกวด " บ้านน่าอยู่" ในชุมชนท่าแขก

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ประชาชนให้ความเข้าร่วมมือและตอบรับในเรื่องจัดประกวด " บ้านน่าอยู่ " เป็นอย่างดี

     

    0 0

    21. ประชุมติดตามการดำเนินงานโดย สจรส.มอ.

    วันที่ 11 พฤษภาคม 2556 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    มีการประชุมแลกเปลี่ยการเรียนรู้ จากผู้รับผิดชอบโครงการพื้นที่ภาคใต้และทบทวน นำเสนอผลการดำเนินงาน เช่น ความคาดหวัง เป้าหมาย และแผนการดำเนินงาน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    โครงการได้แลกเปลี่ยนการเรียนรู้และการนำเสนอผลงานที่ดำเนินการไปแล้วและนำเสนอแผนการดำเนินงานพัฒนาโครงการต่อไปในอนาคต กับ สจรส.มอ.

     

    0 0

    22. ประชุมคณะทำงานโครงการ

    วันที่ 15 มิถุนายน 2556 เวลา 09:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมหารือคณะทำงานและจัดตั้งคณะกรรมในการให้คะแนนตั้งกติกาในการให้คะแนนเพื่อจัดประกวด “บ้านน่าอยู่” ปีละ 1 ครั้ง เพื่อเป็นแรงบันดาลใจให้กับสมาชิกชุมชนผู้สูงวัย และเป็นแบบอย่างแก่เยาวชนรุ่นหลังรวมทั้งได้สร้างภูมิทัศน์ชุมชนให้น่ามอง คือ 1.หน้าบ้านสวยไม่มีขยะ 5 คะแนน 2.มีเครื่องประดับตกแต่งโดยสิ่งของใช้แล้ว 5 คะแนน 3.มีการคัดแยกขยะและคนในบ้านมีส่วนร่วมช่วยกันทำความสะอาดบริเวณบ้าน 5 คะแนน 4.มีต้นไม้ดอกไม้ประดับหน้าบ้าน 5 คะแนน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะทำงานและคณะกรรมที่จัดตั้งให้ความร่วมมือและรับอาสาออกสำรวจบริเวณบ้านในชุมชนเพื่อให้เก็บคะแนนเป็นอย่างดี

     

    0 0

    23. คณะทำงานออกพื้นที่สำรวจเก็บคะแนนประกวด บ้านน่าอยู่

    วันที่ 1 กรกฎาคม 2556 เวลา 17:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะกรรมการที่จัดตั้งขึ้นออกพื้นที่สำรวจบริเวณบ้านของชาวบ้านในชุมชนเืพื่อเก็บคะแนนครั้งที่ 1 โดยใช้ระยะเวลารวม 5 วันทำการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะกรรมลงพื้นที่ออกสำรวจและสังเกตุการในการให้คะแนนรอบที่ 1 และเก็บคะแนนบ้านที่น่ามองไว้เพื่อสะสมการให้คะแนนครั้งที่ 2 ต่อไป เพื่อประกอบความเหมาะสมในการรับรางวัลต่อไป

     

    90 90

    24. คณะทำงานออกพื้นที่สำรวจเก็บคะแนนประกวด บ้านน่าอยู่

    วันที่ 15 กรกฎาคม 2556 เวลา 17:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะกรรมการที่จัดตั้งขึ้นออกพื้นที่สำรวจบริเวณบ้านของชาวบ้านในชุมชนเืพื่อเก็บคะแนนครั้งที่ 2 โดยใช้ระยะเวลารวม 5 วันทำการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะกรรมการลงพื้นที่ออกสำรวจและสังเกตุการในการให้คะแนนรอบที่ 2 และนำคะแนนทั้ง 2 ครั้งมารวมกันเพื่อประกอบการได้รับรางวัลต่อไป

     

    90 90

    25. ประชุมคณะทำงานเรื่องผลรางรัล บ้านน่าอยู่

    วันที่ 1 สิงหาคม 2556 เวลา 16:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะทำงานและคณะกรรมการรวบรวบคะแนนและสรุปผลบ้านน่ามองที่ได้รับรางวัลมีทั้งหมด 10 หลัง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะทำงานและคณะกรรมการรวบรวมคะแนนและสรุปผลการประกวด บ้านน่าอยู่ได้ทั้งหมด 10 หลัง 10 รางวัล ๆ ละ 1000 บาท

     

    19 20

    26. ประชุมติดตามผลการดำเนินงานโดย สจรส.มอ.

    วันที่ 2 สิงหาคม 2556 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมเพื่อตรวจสอบเอกสารต่างๆ ของชุมชนและแนะนำการทำกิจกรรมให้ถูกต้องและเป็นปัจจุบัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะ สจรส.มอ. แนะนำการทำกิจกรรมในเว็ปไซร์ให้เป็นปัจจุบันและตรวจสอบใบสำคัญการรับเงินของชุมชนว่าเรียบร้อยหรือต้องเปลี่ยนแปลงแก้ไขให้ถูกต้องอย่างไร

     

    2 2

    27. ประชุมคณะทำงานและประกาศผลรางวัล บ้านน่าอยู่

    วันที่ 15 สิงหาคม 2556 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมคณะทำงานและประกาศผลรางวัล บ้านน่าอยู่ โดยการติดประกาศให้ชาวบ้านรับรู้และประกาศให้ชาวบ้านรับรางวัลโดยพร้อมเพียงกัน ในวันที่ 15 สค. 56 นี้ ทั้งหมด 10 รางวัล ๆ ละ 1,000 บาท และรางวัลชมเชย 5 รางวัล ๆ ละ 500 บาท รวม 15 รางวัล

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้รับความร่วมมือจากคณะทำงานและชาวบ้านของชุมชนท่าแขกเป็นอย่างดีและได้ทำการรับรางวัลเป็นไปอย่างเรียบร้อย

     

    19 20

    28. จัดเวทีติดตามงานครั้งที่ 2

    วันที่ 1 กันยายน 2556 เวลา 09:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ชุมชนและชาวบ้านในชุมชนทั้งหมดเข้าร่วมกิจกรรมการจัดเวทีติดตามงานโครงการที่ทำมาทั้งหมดและพูดคุยสอบถามความรู้ความเข้าใจอีกครั้งเี่กี่ยวกับเรื่องขยะและการคัดขยะ และการดำรงชีวิตอย่างไรให้ปราศจากโรคภัยที่จะมาเบียดเบียนคนในชุมชนและมีการชี้แจงการดำิเนินโครงการที่ผ่านมาว่าประสบผลสำเร็จมากหรือน้อยอย่างไร และชาวบ้านกลุ่มไหนบ้างที่ให้ความร่วมมือและไม่ให้ความร่วมมือ และกลุ่มไหนบ้างที่ต้องการให้มีการทำโครงการแบบนี้เกิดขึ้นมาอีกในชุมชนของเรา และร่วมกันประกาศเจตนารมณ์ทำให้ชุมชนน่าอยู่ เน้นปลูกจิตสำนึกประชาชนในชุมชนให้ตระหนักในการรักษาความสะอาดบริเวณบ้านและบริเวณต่าง ๆ ของชุมชนอีกด้วย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ชาวบ้านให้ความร่วมมือในการมาเข้าร่วมกิจกรรมจัดเิวทีติดตามงานของชุมชนเป็นอย่างดี

     

    80 200

    29. ประชุมสรุปผลการดำเนินงาน

    วันที่ 15 กันยายน 2556 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะทำงานร่วมประชุมสุรปผลการดำเนินงานโครงการและแลกเปลี่ยนความรู้ความใจที่จะมีการดำเนินโครงการครั้งต่อไปอย่างไร

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะทำงานให้ความร่วมมือในการมาเข้าร่วมประชุมสรุปผลการดำเนินโครงการและร่วมกันชี้แจงและวิเคราะห์การทำโครงการว่าเกิดประโยชน์ต่อชุมชนอย่างไรบ้างและสมควรที่จะมีการทำโครงการต่ออย่างไรให้ชุมชนน่าอยู่และปราศจากโรคภัยไข้เจ็บที่เกิดมาจากสิ่งแวดตามธรรมชาติและสิ่งแว้ดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้นเองและมีวิธีหลีกเลี่ยงอย่างไรบ้าง

     

    14 7

    30. ร่วมสร้างชุมชนและท้องถิ่นน่าอยู่สู่วิถีจัดการตนเอง(งานสร้างสุขภาคใต้)

    วันที่ 28 กันยายน 2556 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ในประเด็นเกษตร อาหาร เศรษฐกิจพอเพียง เด็กและเยาวชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ในประเด็นเกษตร อาหาร เศรษฐกิจพอเพียง เด็กและเยาวชน

     

    2 2

    31. จัดทำรายงานสรุปปิดโครงการ

    วันที่ 30 กันยายน 2556 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดทำรายงานสรุปปิดโครงการฉบับสมบูรณ์ ส.3,ส.4 และเอกสารการเงินโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จัดทำรายงานสรุปปิดโครงการฉบับสมบูรณ์ ส.3,ส.4 และเอกสารการเงินโครงการ

     

    14 9

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

     

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 สมาชิกชุมชนมีความรู้เรื่องการคัดแยกขยะและสามารถคัดแยกขยะได้
    ตัวชี้วัด : สมาชิกชุมชนที่เข้าร่วมโครงการสามารถคัดแยกขยะได้อย่างถูกต้อง

     

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) สมาชิกชุมชนมีความรู้เรื่องการคัดแยกขยะและสามารถคัดแยกขยะได้

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    ส่วนที่ 3 ประเมินคุณค่าโครงการ

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ

    ชื่อโครงการ โครงการชุมชนท่าแขกน่าอยู่

    รหัสโครงการ 55-01862 รหัสสัญญา 55-00-0920 ระยะเวลาโครงการ 1 ตุลาคม 2555 - 31 ตุลาคม 2556

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นการคุณค่าที่เกิดจากโครงการในมิติต่อไปนี้

    • ความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพและนวัตกรรมเชิงระบบสุขภาพชุมชน
    • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีผลต่อสุขภาวะ
    • การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ
    • ผลกระทบเชิงบวกและนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาวะชุมชน
    • กระบวนการชุมชน
    • มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่

    1. เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้ใหม่ / องค์ความรู้ใหม่

    เกิดการนำขยะต่างๆ นำมาแปรรูปเป็นปุ๋ยหมักเพื่อใช้ต่อในชุมชนหรือขายต่อเป็นรายได้เข้าชุมชน , วัด , โรงเรียน เพื่อนำมาพัฒนาชุมชน , วัด , โรงเรียน ต่อไป

    การอบรมให้ความรู้เรื่องขยะและการคัดแยกขยะและรูปถ่ายประกอบ

    ทำบ่อปุ๋ยหมักทีวัดชุมพรรังสรรค์และเป็นแหล่งเรียนรู้ใหม่ให้กับกลุ่มเยาวชนและกลุ่มผู้สูงอายุทำกิจกรรมร่วมกัน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สิ่งประดิษฐ์ / ผลผลิตใหม่

    เมื่อคัดแยกขยะแล้วนำขยะที่รีไซร์เคลิร์แล้วนำกับมาทำปลาตะเพียนจากขวดน้ำ ,ทำโมบาย เพื่อประดับหน้าบ้านให้น่ามอง

    หน้าบ้านคุณกรองแก้ว กุวัยการ

    ส่งเสริมผลผลิตใหม่ให้เป็นต้นแบบในการคิดริเริ่มสร้างสรรค์ชิ้นงานใหม่จากขยะรีไรเคิลร์

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. กระบวนการใหม่

    การจัดการขยะโดยใช้กลไกทางการเงิน(ให้เด็กและเยาวชนเก็บขยะมาขายได้ทุกข์ประเภท/ทุกวัน ที่ศูนย์รับซื้อขยะของชุมชน)

    ศูนย์รับซื้อขยะชุมชน บ้านคุณราตรี  แผ้วสมุทร

    ธนาคารขยะชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. วิธีการทำงาน / การจัดการใหม่

    การใช้ "คู่หูต่างวัย" ในการเฝ้าระวังขยะชุมชน (กลุ่มผู้สูงอายุจับมือกับกลุ่มเด็กและเยาวชนเฝ้าระวังเรื่องขยะของชุมชน โดยแบ่งพื้นที่รับผิดชอบเป็นโซนๆ ทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีของคนในชุมชน เด็กหันมาใส่ใจเพื่อนต่างวัยมากขึ้น)

    กลุ่ม "คู่หูต่างวัย"

    สนับสนุนให้เกิดกลุ่มเพื่อนสามวัย(ผู้สูงอายุ/วัยทำงาน/เด็กและเยาวชน)ที่เดินไปด้วยกันในการพัฒนาชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การเกิดกลุ่ม / โครงสร้างในชุมชนใหม่

    กลุ่มการจัดการขยะในวัด(พระภิกษุสงฆ์,สามเณร)

    พระสมุห์ชัยวัฒน์ อัตตทีโป วัดชุมพรสังรังสรรค์ โทร.081-6913642

    วัดชุมพรรังสรรค์เป็นแหล่งเรียนรู้ใหม่ในเรื่องการจัดการขยะและการผลิตปุ๋ยชีวภาพ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. แหล่งเรียนรู้ใหม่

    เกษตรปลอดสารพิษและศูนย์รับซื้อขยะของชุมชน

    1.ศูนย์รับซื้อขยะชุมชน(เกิดการสร้างงานสร้างอาชีพใหม่ในชุมชน : คุณราตรี แผ้วสมุทร อยู่บ้านเลขที่ 23/2 ม.5 ต.นาทุ่ง อ.เมือง จ.ชุมพร 86000 โทร.085-7820227 2.การเลี้ยงเป็ดแบบคนท่าแขก 3.การเกษตรอินทรีย์(ปลูกผักปลอดสาร/มะลิปลอดสารพิษ)

    ชุมชนเกษตรอินทรีย์และธนาคารขยะชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    99. อื่นๆ

     

     

     

    2. เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล

    มีการปลูกพืชผักปลอดสารพิษในชุมชน(สำหรับรับประทานและเหลือขาย)

    คุณถวิล  กกนาค อยู่บ้านเลขที่ 239 ม.5 ต.นาทุ่ง อ.เมือง จ.ชุมพร

    มีการรวมกลุ่มเยาวชนและผู้สูงอายุให้ปลูกพืชผักปลอดสารพิษบริโภคเองและเหลือจากบริโภคนำไปขายต่อเพื่อสร้างรายได้ต่อไป

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การบริโภค

    ประชาชนส่่วนมากบริโภคพืชผักที่ปลูกเองหรือซื้อจากชาวบ้านในชุมชนที่ปลูกเพื่อสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชนอีกทาง และให้ความสำคัญการการเลือกซื้อสินค้าที่ปลอดภัยในการบริโภค

    มีชาวบ้านบางกลุ่มปลูกพืชผักบริโภคเอง โดยคุณถวิล  กกนาค เป็นต้นแบบ

    สร้าง อย.น้อยชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การออกกำลังกาย

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. การลด ละ เลิก อบายมุข เช่น การพนัน เหล้า บุหรี่

    วรวิทย์ พึ่งพระ เป็นผู้หนึ่งที่สูบบุหรี่ ตั้งวันที่พี่เลี้ยงเข้าไปช่วยวิเคราะห์สภาพปัญหาของชุมชน วันเปิดประชุมชี้แจงโครงการ ก็ยังนั่งสูบให้เห็น วรวิทย์บอกว่า คนในครอบครัวทำโครงการและพี่เลี้ยงก็เคยพูดว่าถ้ามีคนเลิกบุหรี่หรือสุราถือเป็นสุดยอด วรวิทย์เลยลองลด ละและเลิกได้ ในขณะที่ พนม บอกพี่เลี้ยงด้วยใบหน้ายิ้มแย้มว่าเลิกได้แล้วทั้งบุหรี่และเหล้า ทำให้มีเงินเหลือเก็บ

    นายวรวิทย์  พึ่งพระ อยู่บ้านเลขที่ 305 หมู่ที่ 5 ตำบลนาทุ่ง อำเภอเมือง จังหวัดชุมพรและนายพนม  กลบหาด อยู่บ้านไม่มีเลขที่ หมู่เดียวกัน

    ขยายผลโดยใช้วรวิทย์และพนมเป็นต้นแบบสู่การสร้างการมีส่วนร่วมในกลุ่มวัยที่ใกล้เคียงกัน เพื่อเป็นต้นแบบให้เด็กและเยาวชนรุ่นใหม่ในการทำสิ่งดีๆ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การลดพฤติกรรมเสี่ยง เช่น พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การขับรถโดยประมาท

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. การจัดการอารมณ์ / ความเครียด

    จากการจัดกิจกรรมต่างๆ ส่งผลจากคนที่ไม่เคยพูดคุยกันหันกลับมาพูดคุยเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและแนวทางการทำกิจกรรมที่ดีต่อไปมากขึ้นจากเดิม

    กลุ่มเยาวชนและกลุ่มผู้สูงอายุในชุมชน

    จัดกิจกรรมเดินทางไหว้พระ 9 วัด ในชุมชนเพื่อสร้างความสามัคคีและความปองดองให้เกิดขึ้นในกลุ่มเยาวชนและกลุ่มผู้สูงอายุ( คู่หูต่างวัย ) มากขึ้น

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. การดำรงชีวิต / วิถีชีวิต เช่น การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น / สมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเอง

    1.มีชาวบ้านนำใบหญ้านางมาคั้่นน้ำและนำไปต้มมาดื่มแทนน้ำโดยช่วยลดน้ำตาลในเลือดเหมาะสำหรับคนเป็นโรคเบาหวาน ความดัน 2.นำบอระเพ็ดมาบดให้ละเอียดและผสมกับน้ำผึ้งและปั้นเป็นลูกกลอนรับประทานครั้งละ 3 เม็ด เพื่อลดไขมันทำให้ไม่อ้วนและไม่มีโรคตามมา

    โดย คุณสุนีย์  ชูแก้ว อยู่บ้านเลขที่ 304 ม.5 ต.นาทุ่ง อ.เมือง จ.ชุมพร โทร.080-6954122

    1.ขยายผลสู่ประชาชนในชุมชนในการดูแลตนเองมากยิ่งขึ้น
    2.การปลูกพืชสมุนไพร 3.สวนสมุนไพรชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    8. พฤติกรรมการจัดการตนเอง ครอบครัว ชุมชน

    ให้ความรู้แก่เด็กและเยาวชนให้เรี่องการจัดการขยะ(ทำอย่างไรไม่ให้ขยะเพิ่มขึ้น และหรือเมื่อมีขยะทำอย่างให้หมดไป)ครอบครัวชุมนปลอดขยะ

    รายงานการอบรมให้ความรู้/ภาพถ่าย

    ชุมชนท่าแขกน่าอยู่ "ท่าแขกปลอดขยะ"

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    9. อื่นๆ

     

     

     

    3. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. กายภาพ เช่น มีการจัดการขยะ ป่า น้ำ การใช้สารเคมีเกษตร และการสร้างสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนที่ถูกสุขลักษณะ

    กลุ่มเพื่อนคู่หูช่วยกันเฝ้าระวังดูแลปัญหาขยะในละแวกที่ตนเองรับผิดชอบ

    กลุ่มเพื่อนคู่หู

    จัดชาวบ้านผู้มีจิตอาสาช่วยดูแลบริเวณต่างๆที่ความเสี่ยงต่อสุขภาพคนในชุมชนและช่วยทำให้จุดเสี่ยงนั้นหมดไป

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สังคม เช่น มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ลดการเกิดอุบัติเหตุ ครอบครัวอบอุ่น การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อเด็ก เยาวชน และกลุ่มวัยต่าง ๆ มีพื้นที่สาธารณะ/พื้นที่ทางสังคม เพื่อเอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชน มีการใช้ศาสนา/วัฒนธรรมเป็นฐานการพัฒนา

    ประชาชนในชุมชนทุกคนช่วยกันสอดส่งดูแลและตรวจสอบพฤติกรรมบุคคลแปลกหน้าและรถยนต์ , รถจักรยานยนต์ ที่เข้ามาในชุมชน ทุกคนทุกคัน เพื่อลดปัญหาที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับการลักขโมย หรือความปลอดภัยในการใช้ชีวิต ของทุกคนในชุมชนที่จะเกิดขึ้น

    กลุ่มประชาชน,กลุ่มเยาวชน,กลุ่มผู้สูงอายุ ทุกคนในชุมชน

    จัดกลุ่มประชาชนผู้มีจิตอาสาเป็นยามชุมชนช่วยดูแลชุมชนไม่ให้มีการลักขโมยหรืออันตรายต่างที่จะเกิดขึ้นในชุมชนต่อไป

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. เศรษฐกิจสร้างสรรค์สังคม /สร้างอาชีพ / เพิ่มรายได้

    1.มีการสร้างอาชีพ จากการรับซื้อขยะต่างๆ มาแยกขายโดยสร้างรายได้ให้ตนเองและคนในชุมชน 2.มีการสร้างรายได้โดยเก็บขยะมาขายต่อสร้างได้ 3.กลุ่มประดิษฐของตกแต่งบ้านจากวัสดุเหลือใช้และจากขยะเกิดรายได้เสริม

    1. รับซื้อขยะโดยคุณราตรี แผ้วสมุทร อยู่บ้านเลขที่ 23/2 ม.5 ต.นาทุ่ง อ.เมือง จ.ชุมพร 86000 โทร. 085-7820227
    2. เก็บขยะมาขายต่อโดยเยาวชน เช่น   2.1 ด.ญ.รุ้งทอง บำรุงสุข นักเรียนชั้น ม.1 รร.เทศบาลบ้านท่าตะเภา
        2.2 ด.ญ.ชนัญชิดา พึ่งพระ นักเรียนชั้น ป.3 รร.เทศบาลบ้านท่าตะเภา   2.3 ด.ช.ศุภนัฐ  พุ่มพวง นักเรียนชั้น ป.3 รร.เทศบาลบ้านท่าตะเภา

    มีองค์กรการรับชื้อขยะไปแปรรูปในด้านต่างๆ มากขึ้น เช่น นำไปขาย ,นำไปประดิษฐ์สิ่งของ,นำไปทำปุ๋ย

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการบริการสุขภาพทางเลือก และมีช่องทางการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. อื่นๆ

     

     

     

    4. การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. มีกฎ / กติกา ของกลุ่ม ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. มีมาตรการทางสังคมของกลุ่ม ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. มีธรรมนูญของชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. อื่นๆ เช่น ออกเป็นข้อบัญญัติท้องถิ่น ฯลฯ

     

     

     

    5. เกิดกระบวนการชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. เกิดการเชื่อมโยงประสานงานระหว่างกลุ่ม / เครือข่าย (ใน และหรือนอกชุมชน)

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเรียนรู้การแก้ปัญหาชุมชน (การประเมินปัญหา การวางแผน การปฏิบัติการ และการประเมิน)

    ทำแบบสอบถามเพื่อประเมินความรู้ความเข้าใจเรื่องการคัดแยกขยะให้กับคนในชุมชน

    กลุ่มประชาชน,กลุ่มเยาวชน,กลุ่มผู้สูงอายุ

    ทำแบบสอบถามความพึงพอใจการในการทำโครงการการจัดขยะและการคัดแยกขยะให้ถูกวิธีเพื่อชุมชนน่าอยู่ ภูมิทัศน์น่ามอง สร้างสุขภาพที่ดีในชุมชนต่อไป

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ประโยชน์จากทุนในชุมชน เช่น การระดมทุน การใช้ทรัพยากรบุคคลในชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกลุ่มและชุมชนที่เกิดจากโครงการอย่างต่อเนื่อง

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. เกิดกระบวนการจัดการความรู้ในชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. เกิดทักษะในการจัดการโครงการ เช่น การใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ การทำแผนปฏิบัติการ

    1.มีการสำรวจข้อมูลจำนวนและปริมาณขยะของชุมชนก่อนและหลังดำเนินการรวมทั้งสำรวจความพึงพอใจ 2.มีการนำเสนอผลการสำรวจและผลการดำเนินงานเพื่อหาข้อสรุปในการพัฒนาชุมชนต่อไป

    คณะกรรมการโครงการ/กลุ่มพระภิภษุสงฆ์ , กลุ่มสามเณร , กลุ่มเยาวชน , กลุ่มผู้สูงอายุ,ประชาชนในชุมชน

    โครงการต่อยอด ปี 2

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. อื่นๆ

     

     

     

    6. มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเอง / กลุ่ม / ชุมชน

    คณะกรรมการโครงการและประชาชนในชุมชนเกิดความภาคภูมิใจ ที่ทุกคนให้ความร่วมมือและมีส่วนร่วมในกิจกรรมการจัดการขยะ การเฝ้าระวังความปลอดภัยในชุมชน เป็นอย่างดี

    คณะกรรมการโครงการ,แกนนำชุมชน,กลุ่มพระภิภษุสงฆ์ ,สามเณร , กลุ่มเยาวชน , กลุ่มผู้สูงอายุ,และประชาชนในชุมชน

    ทำให้คนในชุมชนรักและห่วงที่จะต้องทำให้กิจกรรมเรื่องขยะเป็นหนึ่งของการดำรงชีวิตประจำวันต่อไป

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเห็นประโยชน์ส่วนรวมและส่วนตนอย่างสมดุล

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย และพอเพียง

    การปลูกผักปลอดสาร การเลี้ยงเป็ด การเก็บขยะขาย การรับซื้อขยะ การทำปุ๋ยใช้เอง และการดูแลสุขภาพด้วยภูมิปัญญาพื้นบ้าน เป็นความเรียบง่ายในการดำรงชีวิตประจำวันของประชาชนชุมชนท่าแขกปัจจุบัน

    วิถีชีวิตประจำวันของคนชุมชนท่าแขก

    เกิดสำนึกรักถิ่นสำนึกพลเมือง(วัฒนธรรมชุมชน)

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. ชุมชนมีความเอื้ออาทร

    ชุมชนมีความสามัคคีและเอื้ออาทรในทุกเรื่องมาขึ้น เช่น ช่วยกันสอดส่งดูแลความสะอาดทุกพื้นที่ในชุมชน และ ช่วยสอดส่งดูแลความปลอดภัยในชีวิตประจำในทุกด้าน

    กลุ่มเยาวชน , กลุ่มผู้สูงอายุ,และวัยทำงาน

    วัฒนธรรมชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. มีการตัดสินใจโดยใช้ฐานปัญญา

     

    กลุ่มพระภิภษุสงฆ์ , กลุ่มสามเณร , กลุ่มเยาวชน , กลุ่มผู้สูงอายุ

    ชุมชนจะสร้างความรู้และความเข้าใจรายละเอียดเนื้อหาร่วมกันให้เกิดความเป็นเอกภาพในการตัดสินใจ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. อื่นๆ

     

     

     

    โครงการชุมชนท่าแขกน่าอยู่ จังหวัด ชุมพร

    รหัสโครงการ 55-01862

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นายมนตรี พุ่มพวง )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด