แบบรายงานผลการดำเนินโครงการประจำงวด 2

ชื่อโครงการ โครงการชุมชนคนไทดำเตรียมพร้อมรับมือภัยพิบัติ

ชุมชน ชุมชนไทดำไทรงาม ตำบลท่าข้าม,บ้านทับชัน ตำบลกรูด,บ้านท่าสะท้อน อำเภอพุนพินและตำบลทรัพย์ทวีอำเภอบ้านนาเดิม

รหัสโครงการ 55-01848 เลขที่ข้อตกลง 55-00-0864

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2555 ถึง 30 กันยายน 2556

รายงานงวดที่ : 2 จากเดือน มีนาคม 2556 ถึงเดือน ตุลาคม 2556

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินโครงการ (แสดงผลการดำเนินงานรายกิจกรรมที่แสดงผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ประชุมเตรียมงานวัฒนธรรมไทดำ

วันที่ 8 มีนาคม 2556 เวลา 13:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อให้กลุ่มเยาวชนและชุมชนได้เสนอแนะความคิดเห็นในการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้กับเยาวชนชุมชนผ่านงานสงกรานต์สืบสานวัฒนธรรมไทดำ ประจำปี 2556
  • เพื่อเตรียมการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์และสื่อสารงานสงกรานต์สืบสานวัฒนธรรมไทดำ ประจำปี 2556
  • เพื่อให้ครูภูมิปัญญา แ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ชุมชนได้มีส่วนร่วมประชุมเตรียมความพร้อมการจัดงานวัฒนธรรมไทดำ
  • ได้ความเห็นเสนอแนะความคิดเห็นในการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้กับเยาวชน ชุมชนผ่านงานสงกรานต์สืบสานวัฒนธรรมไทดำ ประจำปี 2556 ดังนี้
  1. ให้เยาวชนจัดกระบวนการเรียนรู้เรื่องภาษาไทดำในทุกกิจกรรมให้สื่อสารกันมากยิ่งขึ้น โดยเริ่มต้นจากคำทักทาย  หมวดร่างกาย ของใช้ในชีวิตประจำวัน  ผักและผลไม้ เป็นต้น  นอกจากนั้นจัดให้มีหลักสูตรเรื่องการเย็บลายผ้า  พร้อมทั้งให้บอกคุณค่าความหมาย ความสำคัญของแต่ละลายได้ซึ่งจะทำให้เยาวชนมีความภาคภูมิใจในการเรียนรู้ภูมิปัญญาเรื่องลายผ้ามากขึ้น
  2. จัดพื้นที่นำเสนอให้เยาวชนได้แสดงออก เล่าเรื่อง สรุปการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นและประชาสัมพันธ์ให้กับผู้ปกครองและคนในชุมชนได้ทราบในวงกว้างขึ้น
  • ได้แบ่งหน้าที่ รับผิดชอบ ในการประสานสงกรานต์สืบสานวัฒนธรรมไทดำ ประจำปี 2556
  • นำเสนอการเตรียมการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์และสื่อสารงานสงกรานต์สืบสานวัฒนธรรมไทดำ ประจำปี 2556ดังนี้
  • การสือสารผ่านหนังสือทำมือการจัดกิจกรมของเยาวชน
  • ประมวลภาพกิจกรรมน้ำท่วมและกิจกรรมที่ผ่านมาของชุมชน
  • สื่อวีดีทัศน์
  • ได้แนวทางในการระดมทุนเพื่อการพัฒนาศูนย์เรียนรู้ภูมิปัญญาไทดำ
  • ได้รูปแบบการจัดงานวัฒมนธรรมไทดำ โดยการมีการจัดงาน 2 วัน คือวันที่ 14 - 15 เมษายน 2556 วันแรกจะเป็นการนำเสนอบทเรียนการทำงานด้านการฟื้นฟูภูมิปัญญาโดยเยาวชน ร่วมกับชุมชนและเสวนารากเหง้าปู่เหง้าเยาย่า และพิธีกรรมขึ้นบ้านใหม่ไทดำ
  • วันที่ 2 เป็นการละเล่นของไทดำและฟ้อนแคน และงานเลี้ยงโต๊ะไทดำเพื่อการจัดระดมทุนศูนย์เรียนรู้ภูมิปัญญาไทดำ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ประชุมเตรียมความพร้อมการจัดงานวัฒนธรรมไทดำ
  • ระดมความเห็นเสนอแนะความคิดเห็นในการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้กับเยาวชนชุมชนผ่านงานสงกรานต์สืบสานวัฒนธรรมไทดำ ประจำปี 2556
  • เตรียมการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์และสื่อสารงานสงกรานต์สืบสานวัฒนธรรมไทดำ ประจำปี 2556

กิจกรรมที่ทำจริง

  • จำนวนคนผู้เข้าร่วม 50 คน -ประชุมเตรียมความพร้อมการจัดงานวัฒนธรรมไทดำ
  • ระดมความเห็นเสนอแนะความคิดเห็นในการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้กับเยาวชนชุมชนผ่านงานสงกรานต์สืบสานวัฒนธรรมไทดำ ประจำปี 2556
  • นำเสนอการเตรียมการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์และสื่อสารงานสงกรานต์สืบสานวัฒนธรรมไทดำ ประจำปี 2556

 

0 0

2. งานวัฒนธรรมไทดำ

วันที่ 14 เมษายน 2556 เวลา 08:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

-เพื่อสืบทอดและสืบสานภูมิปัญญาไทดำ -เพื่อเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ภูมิปัญญาไทดำ -เพื่อสร้างความสามัคคีในชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

-การจัดงานเปิดศูนย์เรียนรู้ภูมิปัญญาไทดำ (อย่างเป็นทางการ )    งานเปิดศูนย์เรียนรู้ภูมิปัญญาไทดำ (อย่างเป็นทางการ )ซึ่งจัดขึ้นในช่วงวันสงกรานต์ 14 – 15 เมษายน 2556  เพื่อสื่อสารให้คนในชุมชนและภายนอกได้ศึกษาได้เห็นถึงคุณค่าภูมิปัญญาไทดำ จากการศึกษาค้นคว้า และจัดกระบวนการเรียนรู้สืบทอดของเยาชนร่วมกับชุมชน ซึ่งในการจัดงานครั้งนี้ทำให้หลายภาคส่วนที่ได้มีโอกาสเข้ามาร่วมงานและเยี่ยมชม ได้ความรู้ ความเข้าใจและเห็นความสำคัญของการสร้างการเรียนรู้จากฐานภูมิปัญญามากขึ้น พร้อมด้วยมีการเสวนาเพื่อแลกเปลี่ยนเติมเต็มข้อมูลประวัติความเป็นมา และทิศทางการก้าวต่อไปในสืบสานภูมิปัญญาไทดำ ซึ่งมีอาจารย์พิเชฐ  สายพันธ์  อาจารย์ประจำคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านกลุ่มชาติพันธุ์ไทดำมาร่วมเป็นวิทยากรในครั้งนี้ด้วย  นอกเหนือจากนั้นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตำบลท่าข้าม มีข้อเสนอและสนับสนุนให้จัดกระบวนการเรียนรู้ให้เกิดความต่อเนื่อง ภายในศูนย์เรียนรู้ฯ( ซึ่งจะมีการนัดหมายเปิดเวทีด้านความร่วมมือกันต่อไป ) 

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

-จัดงานวัฒนธรรมประจำปี - จัดกิจกรรมเปิดศูนย์เรียนรู้

กิจกรรมที่ทำจริง

งานวัฒนธรรมไทดำ เป็นงานที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ในวันที่ 14-15 เมษายน ภายในงานได้จัดกิจกรรมต่างๆดังนี้ - พิธีการเปิดศูนย์เรียนรู้ภูมิปัญญาไทดำอย่างเป็ฯทางการ -เสาวนาเรียนรู็รากเหง้าลูกหลานไทดำ - มีผู้เข้าร่วมงานซึ่งเป็นคนในชุมชนและเครือข่ายจำนวน 300 - 400  คน

 

0 0

3. เยียมบ้านผู้สูงอายุ

วันที่ 4 พฤษภาคม 2556 เวลา 10:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อสร้างความสนิทสนมกับผู้สูงอายุ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ลงพื้นที่เยี่ยมผู้สูงอายุ ม.7 ต.ท่าข้าม อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี ทั้งหมด 32 คน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ลงพื้นที่เยี่ยทเยียน สร้างความสนิทสนมกับผู้สูงอายุและพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพ

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ลงพื้นที่เยี่ยมผู้สูงอายุ ม.7 ต.ท่าข้าม อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานีพื่อสร้างความสนิทสนมกับผู้สูงอายุและพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพ

 

0 0

4. เยี่ยมบ้านผู้สูงอายุ

วันที่ 5 พฤษภาคม 2556 เวลา 10:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อสร้างความสนิทสนมและพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ลงพื้นที่เยี่ยมผู้สูงอายุ ม.2 ต.กรูด อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี ทั้งหมด 24 คน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ลงพื้นที่เยี่ยมเยียน สร้างความสนิทสนมกับผู้สูงอายุและพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพ

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ลงพื้นที่เยี่ยมผู้สูงอายุ ม.2 ต.กรูด อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานีพื่อสร้างความสนิทสนมกับผู้สูงอายุและพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพ

 

0 0

5. ฝึกทักษะอาชีพเสริมให้เยาวชน

วันที่ 10 พฤษภาคม 2556 เวลา 08:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

-เพื่อเพิ่มความรู้ความเข้าใจและทักษะในการสรา้งอาชีพเสริมให้กับเยาวชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • เยาวชนได้ความรู้เรื่องการทำอาชีพเสริมซึ่งสามารถทำได้ทั้งรายบุคคลและรายกลุ่ม - 

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ฝึกทักษะอาชีพเสริมให้เยาวชนเพื่อเพิ่มรายได้ให้ครอบครัว

กิจกรรมที่ทำจริง

ฝึกทักษะอาชีพเสริมให้เยาวชน
- การปลูกผัก
- ความรู้ความเข้าใจเรื่องอาชีพเสริมและอาชีพที่สอดคล้องกับบริบทพื้นที่น้ำท่วม -ทดลองฝึกอาชีพเสริม

 

0 0

6. ฝึกอบรมเชิงปฎิบัติการสุขภาพผู้สูงวัย

วันที่ 17 พฤษภาคม 2556 เวลา 08:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อต้องการให้ผู้สูงอายุรู้จักการรักษาสุขภาพที่ถูกต้องและการออกกำลังกายรวมถึงการไปตรวจสุขภาพประจำปี

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • มีผู้สูงอายุและผู้ที่สนใจในพื้นชุมชนไทดำมาตรวจสุขภาพและฟังคำแนะนำการดูแลสุขภาพจากเจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาลพุนพิน  จากหมู่ที่ 2 ต.กรูด ,หมู่ที่ 4 ต.ท่าสะท้อน และหมู่ที 7 ต.ท่าข้าม อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี ทั้งหมด 70 คน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • มีการตรวจสุขภาพของผู้สูงอายุและผู้ที่สนใจในพื้นที่ชุมชนไทดำเพื่อต้องการให้ผู้สูงอายุรู้จักการรักษาสุขภาพที่ถูกต้องและการออกกำลังกายรวมถึงการไปตรวจสุขภาพประจำปี

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ได้มีการตรวจสุขภาพของผู้สูงอายุและผู้สนใจในพื้นที่ชุมชนไทดำ

 

0 0

7. ฝึกอบรมเชิงปฎิบัติการสุขภาพผู้สูงวัย

วันที่ 19 พฤษภาคม 2556 เวลา 09:00 - 16.00 น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อให้ผู้สูงอายุและเยาวชนมีความสามารถในการดูแลสุขภาพตนเองเบื้องต้นในการเตรียมพร้อมเผชิญยามเกิดภัยพิบัติ
  • เพื่อให้ผู้สูงอายุและเยาวชนมีความเข้าใจการเกิดภัยพิบัติน้ำท่วมและภัยพิบัติต่างๆมากขึ้น
  • เพื่อให้ผู้สูงอายุและเยาวชนใช้หลักศาสนธรรมทางศาสนาเตรี

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ผู้สูงอายุและเยาวชนมีความสามารถในการเตรียมพร้อมเผชิญยามเกิดภัยพิบัติ  ในด้านต่างๆ ดังนี้
  1. การดูแลตัวเองเบื้องต้น และสามารถแนะนำผู้อื่นได้
  2. ความรู้ความเข้าใจและการเตรียมพร้อมเผชิญยามเกิดภัยพิบัติ
  3. การใช้หลักศาสนธรรมกับการเตรียมพร้อมทั้งก่อนเกิด ขณะเกิดและเกิดภัยพิบัติ
  • ผู้สูงอายุและเยาวชนมีความเข้าใจและสามารถวางบทตนเองต่อการเตรียมพร้อมเผชิญยามเกิดภัยพิบัติ
  • เกิดอาสามาสมัครจิตอาสา ในการจัดกิจกรรมสร้างการเรียนรู้เตรียมพร้อมเผชิญยามเกิดภัยพิบัติ  และกู้ภัยในชุมชนเพิ่มมากขึ้น
  • อสม.ได้ร่วมวางแผนการติดตามการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุและเยาวชนอย่างต่อเนื่อง
  • เกิดกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงวัยของชุมชน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ผู้สูงอายุและเยาวชนมีความสามารถในการดูแลสุขภาพตนเองเบื้องต้นในการเตรียมพร้อมเผชิญยามเกิดภัยพิบัติ
  • ผู้สูงอายุและเยาวชนมีความเข้าใจการเกิดภัยพิบัติน้ำท่วมและภัยพิบัติต่างๆมากขึ้น
  • ผู้สูงอายุและเยาวชนใช้หลักศาสนธรรมทางศาสนาเตรียมตนเองทั้งก่อนเกิดและขณะเกิดภัยพิบัติ -ผู้สูงอายุและเยาวชนมีความเข้าใจและสามารถวางบทตนเองต่อการเตรียมพร้อมเผชิญยามเกิดภัยพิบัติ

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ให้ความรู้ ความเข้าใจและฝึกทักษะในการดูแลสุขภาพตนเองเบื้องต้นในการเตรียมพร้อมเผชิญยามเกิดภัยพิบัติ -การระดมความเห็นการเกิดภัยพิบัติและเพิ่มเติมความเข้าใจภัยพิบัติน้ำท่วม -พระสงฆ์เทศนาเรียนรู้ รู้จักหลักธรรมสำคัญในการดำเนนิชีวิต

 

0 0

8. ฝึกอบรมเชิงปฎิบัติการสุขภาพผู้สูงวัยและเยาวชน

วันที่ 13 มิถุนายน 2556 เวลา 09:00 - 17.00 น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อให้เยาวชนมีความเข้าใจเรื่องภัยพิบัติน้ำท่วม
  • เพื่อให้เยาวชนเรียนรู้ระบบภูมิศาสตร์ของชุมชน เพื่อให้เยาวชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • เยาวชนมีความเข้าใจเรื่องภัยพิบัติน้ำท่วมโดยการร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นจากเครือข่ายกล่มจัดการภัยพิบัติบ้านท่าเรือ และคลองยัน ทำให้เกิดเครือเฝ้าระวังภัยด้านภัยพิบัติมากขึ้น -เยาวชนได้ทำแผนที่ระบบภูมิศาสตร์ในชุมชนไทดำโดยการลงพื้นที่สำรวจสภาพจริงและทดลองทำแผนที่ทำมือชุมชน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • พูดคุยและสร้างความเข้าใจเยาวชนมีความเข้าใจเรื่องภัยพิบัติน้ำท่วม
  • เพื่อให้เยาวชนเรียนรู้ระบบภูมิศาสตร์ของชุมชน

กิจกรรมที่ทำจริง

  • พูดคุยและสร้างความเข้าใจเยาวชนมีความเข้าใจเรื่องภัยพิบัติน้ำท่วมโดยการร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นจากเครือข่ายกล่มจัดการภัยพิบัติบ้านท่าเรือ และคลองยัน -ฝึกทำแผนที่ระบบภูมิศาสตร์ในชุมชนไทดำโดยการลงพื้นที่สำรวจสภาพจริงและทดลองทำแผนที่ทำมือชุมชน

 

0 0

9. พัฒนาและปรับปรุงภูมิทัศน์ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงและกู้ภัยชุมชน

วันที่ 20 มิถุนายน 2556 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • ช่วงเวลาในการเพื่อประสานงานคนในชุมชนให้ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันมาร่วมกิจกรรมเพื่อสร้างสามัคคีและฝึกการทำงานร่วมกันให้มากยิ่งขึ้น

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ชุมชนได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาและปรับปรุงภูมิทัศน์ศูนย์เรียนรู้และกู้ภัยชุมชน ส่วน ต่างๆได้แก่  การตัดแต่งกิ่งไม้  การปรับปรุงซ่อมแซมบันได  ห้องน้ำ และสนามหญ้า
  • ได้วางแผนการปรับปรุงและเพิ่มเติมข้อมูลของชุมชนในการช่วยเหลือคนในชุมชนยามเกิดภัยพิบัติ
  • ได้เผยแพร่ข้อมูลการเกิดภัยพิบัติ และการเตรียมพร้อมรับมือภัยพิบัติของชุมชนโดยการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้และกู้ภัยชุมชน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • พัฒนาและปรับปรุงภูมิทัศน์ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงและกู้ภัยชุมชน

กิจกรรมที่ทำจริง

  • การพัฒนาและปรับปรุงภูมิทัศน์ศูนย์เรียนรู้และกู้ภัยชุมชน

 

0 0

10. ประชุมคณะทำงาน

วันที่ 3 กรกฎาคม 2556 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อชี้แจงและทำความเข้าใจกับคณะทำงาน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • เข้าใจเกี่ยวกิจกรรมที่ตองทำในชุมชนไทดำมากขึ้นและปฎิบัติงานได้อย่างมีศักยภาพมากขึ้น

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ประชุมคณะทำงานเพื่อชี้แจงและทำความเข้าใจกับคณะทำงาน

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ได้ชี้แจ้งและทำความเข้าใจเกี่ยวกับกิจกรรมต่างๆ ที่จะต้องทำในชุมชนไทดำ

 

30 15

11. เวทีระดมความคิดเห็วทางกองนเพื่อวางแนทุนการจัดการอาชีพทางเลือก

วันที่ 5 กรกฎาคม 2556 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อประสานความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอกให้สามารถเข้าร่วมสมทบทุนกับชุมชนได้
  • เพื่อบริหารจัดการโดยชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ได้สร้างความเข้าใจหลักการ  กระบวนการ  วิธีการ  และงบประมาณในการจัดกองทุนอาชีพทางเลือก
    โดยมีหลักการที่ได้ระดมความเห็นร่วมกันคือ
  • เป็นกองทุนช่วยเหลือผู้ประสบภัยในชุมชน
  • เป็นการใช้เงินหมุนเวียน ( โดยไม่มีดอกเบี้ย )
  • ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอกให้สามารถเข้าร่วมสมทบทุนกับชุมชนได้
  • บริหารจัดการโดยชุมชน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ประชุมทีมงานและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องวางแผนจัดการจัดกองทุนอาชีพทางเลือกวันที่ 5 กรกฎาคม 2556

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ประชุมคณะทำงานและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อวางแผนจัดการจัดกองทุนอาชีพทางเลือกของชุมชนไทดำ

 

50 50

12. ประชุมคณะทำงานวางแผนการจัดการกองทุนอาชีพทางเลือก

วันที่ 8 กรกฎาคม 2556 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อสร้างความเข้าใจกับคณะทำงานวางแผนการจัดการกองทุนอาชีพทางเลือก

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • มีกลุ่มอาชีพที่หลากหลายในชุมชนที่แต่ละคนหรือครอบครัวมีความถนัด
  • ช่วยสร้างรายได้ของคนในชุมชนและเกิดแนวคิดเรื่องการดำรงชีวิตที่ดีขึ้นในท่ามกลางปัญหาภัยธรรมชาติที่คาดการณ์ไม่ได้

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ประชุมคณะทำงานวางแผนการจัดการกองทุนอาชีพทางเลือก

กิจกรรมที่ทำจริง

  • สมาชิกกลุ่มอาชีพได้ทำความเข้าใจกฎกติการ่วมกัน
  • เกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างกลุ่มอาชีพที่ได้ปฎิบัติจริงและเกิดผลสำเร็จ

 

30 50

13. ประชุมคณะทำงาน จัดตั้งศูนย์กูภัยชุมชน

วันที่ 11 กรกฎาคม 2556 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่ิอสร้างความเข้าใจหลักการ  กระบวนการ  วิธีการ  และงบประมาณในการจัดตั้งศูนย์กู้ภัย โดยมีหลักการที่ได้ระดมความเห็นร่วมกัน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. ได้สร้างความเข้าใจหลักการ  กระบวนการ  วิธีการ  และงบประมาณในการจัดตั้งศูนย์กู้ภัย     โดยมีหลักการที่ได้ระดมความเห็นร่วมกัน ดังนี้
  • เป็นศูนย์กู้ภัยช่วยเหลือผู้ประสบภัยในชุมชนอย่างทันท่วงที
  • เป็นศูนย์กู้ภัยที่ให้ความรู้ความเข้าใจด้านภัยพิบัติกับชุมชน
  • เป็นการประสานความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอกให้สามารถเข้าร่วมเรียนรู้และแลกเปลี่ยนกับชุมชน

  2. ได้ทราบบทบาทของคณะทำงานชัดเจนมากขึ้น ในการประสานงานและปฏิบัติการกู้ภัย

  3. ได้ปรึกษาและวางแผนการจัดตั้งศูนย์กู้ภัยและระดมทุนในการขับเคลื่อนการเตรียมพร้อมรับมือภัยพิบัติและการสร้างอาชีพทางเลือกอย่างเป็นทางการในช่วงเดือนกันยายน 2556

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ได้สร้างความเข้าใจหลักการ  กระบวนการ  วิธีการ  จัดตั้งศูนย์กู้ภัย
  • ได้เผยแพร่การดำเนินโครงการชุมชนไทดำเตรียมพร้อมรับมือภัยพิบัติ
  • ได้วางบทบาทของคณะทำงานในการประสานงานให้ความช่วยเหลือคนในชุมชน

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ประชุมคณะทำงานจัดตั้งศูนย์กู้ภัย

 

150 0

14. รับสมัครและจัดตั้งเครือข่ายอาสาสมัครเฝ้าดูและระวังภัย

วันที่ 26 กรกฎาคม 2556 เวลา 09:00 - 15.00 น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อให้เกิดกลุ่มอาสาสมัครกู้ภัยในชุมชนไทดำที่มีความพร้อมในการให้ความช่วยเหลือคนในชุมชนด้วยกัน
  • เพื่อให้อาสาสมัครกู้ภัยเห็นคุณค่าและบทบาทของอาสมัครกู้ภัย

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • อาสาสมัครมีความเข้าใจในการเป็นอาสาสมัครกู้ภัยมากขึ้น โดยในการจัดประชุมครั้งนี้ได้เชิญวิทยากรมาร่วมบรรยายและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการกู้ภัย เพื่อสรา้งแรงบรรดาลใจให้อาสาสมัครทุกคน
  • ชุมชนไทดำมีอาสมัครกู้ภัยประจำหมู่บ้าน และมีจิตอาสาที่พร้อมให้ความช่วยเหลือยามเกิดภัยพิบัติ โดยมีรายชื่อดังต่อไปนี้
  • รายชื่อตัวแทนครอบครัวที่สมัครเป็นจิตอาสาชุมชนช่วยเหลือในยามเกิดอุทกภัย หมู่ที่ 2 ตำบลกรูด อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี
  1. นายนพวัลย์        ราชแขวง 089-5914430
  2. นายสายชล        ทองดอนหับ 089-7270623
  3. นายสำเภา          รัตนา 087-0127274
  4. นายสมบัติ          บัวแก้ว -
  5. นายจำเริญ          รัตนา 089-5871216
  6. นายสังวาล        ถ้อยทัด 089-8715509
  7. นางสาวอรอุษา  ยองสาร 089-5933411
  8. นายชัยยา            พันชูแร่ 087-2804493
  9. นางอารีย์          พันชูแร่ 087-2804493
  10. นายปรีชา        แสงทอง 087-2743889
  11. นายสมบูรณ์    ศรีสุวรรณ -
  12. นายสุนิรัน      ยองสาร 087-8974068
  13. นายอภัย        เพชรทวน 086-2784219
  14. นายเอกชัย    พึ่งยาง 080-1421459
  15. นายจันทร์รัตน์  รู้พันธ์ 084-1839858
  16. นายศุภพงค์  แค้นคุ้ม 088-4429565
  17. นายสุรชัย  สระทองแอ 084-7199157
  18. นางเพลินจิตรา  เพียรเสมอ 082-4276808
  19. นางสุภาพร  บัวแก้ว 081-4777486
  20. นายสมศักดิ์  บูชา 084-4469871
  21. นายสุราษ  ถิ่นท่าเรือ -
  22. นายไมตรี  เพชรติ่ง 082-2825763
  23. นายวิชัย  เกลี้ยงบุญอาน 087-2777614
  24. นายสมศักดิ์  สระทองบุญ -
  25. นายหิรัญ  สระทองบุญ -
  26. นายเจณรงค์  เพชรติ่ง 081-6077089
  27. นายสุวิทย์  แก้วพินิจ 088-3830383
  28. นายอาธร  สระทองเยาว์
  • รายชื่อตัวแทนครอบครัวที่สมัครเป็นจิตอาสาชุมชนช่วยเหลือในยามเกิดอุทกภัย  หมู่ที่ 4 ตำบลท่าสะท้อน อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี
  1. นายธนากร  นะมะ 086-2676904
  2. นายมะหนาด  สระทองบุญ 084-3045915
  3. นายธงชัย  สระทองเยาว์ 087-0617702
  4. นายปรีชา  จ้อยทอง -
  5. นายสงบ  ตรีอินทอง 085-7851807
  6. นายสังเวียน  ถ้อยทัด 081-6769477
  7. นายสมเหียะ  สระทองไหม 081-4779375
  8. นายกิตติ  พุ่มมาลี
  • รายชื่อตัวแทนครอบครัวที่สมัครเป็นจิตอาสาชุมชนช่วยเหลือในยามเกิดอุทกภัย  หมู่ที่ 7 ตำบลท่าข้าม อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี
  1. นายจินต์  ชื่นชมน้อย 082-8183977
  2. นายทวีศักดิ์  พ่วงโสม
  3. นายมงคล  แซ่โค้ว 089-5896699
  4. นางสาวนัสรินทร์  พรมจันทร์
  5. นายวีระศักดิ์  จันทร์ผ่องศรี 089-5911320
  6. นายอุสเซ็นส์  รำมะสิทธิ์
  7. นายธรรมรงค์  สัมฤทธิดิ์ 083-6439709
  8. นายรุ่งโรจน์  แซ่ตั้ง
  9. นายฉะโอน  แจ่มแจ้ม 089-2902572
  10. นายณรงค์  แซ่ตั้ง
  11. นายจำรัส  แซ่โค้ว 086-1202957
  12. นายณรงค์  บุญศรี
  13. นางสายพิณ  สามงามทอง 087-2715069
  14. นายสุชาติ  สุขอนุเคราะห์
  15. นายบุญรือ  พลอยทองคำ 085-7853175 ุ16. นายสมบัติ  อินแฉล้ม
  16. นายประวิทย์  คุ้มเมือง 086--495969
  17. นางละม้าย  อำพล
  18. นางจินดา  สวัสดิ์ปาน 087-4174127
  19. นายบุญส่ง  แตงสุข
  20. นางสาววันเพ็ญ  แซ่โค้ว 086-2784455
  21. นายปรีชา  ฮะทะโชติ
  22. นางศรี  ฮะทะโชติ 086-2829915
  23. นายสมหวัง  ไม่รู้จบ
  24. นายสุรินทร์  สวนมา 084-8407519
  25. สมชัย  พร้อมประเสริฐ
  26. นายบุญช่วย  พร้อมประเสริฐ 084-8449325
  27. นายพินิจ  ดวงราม

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • จัดเวทีแลกเปลี่ยนการทำงานอาสาสมัครกู้ภัย
  • รับสมัครอาสาสมัครกู้ภัย

กิจกรรมที่ทำจริง

  • จัดเวทีแลกเปลี่ยนการทำงานอาสาสมัครกู้ภัย โดยเชิญวิทยากร ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และระดมความคิดเห็นบทบาทและความสำคัญของงานกู้ภัย
  • รับสมัครอาสาสมัครกู้ภัยของแต่ละหมู่บ้าน

 

40 66

15. รายงานความก้าวหน้าโครงการ

วันที่ 4 สิงหาคม 2556 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อสรุปทบทวนการดำเนินงานโครงการที่ผ่านมา
  • เพื่อตรวจสอบบัญชีรายรับรายจ่ายและการจัดทำรายงานผลการดำเนินงาน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • คณะทำงานมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการบันทึกรายงานผลการทำกิจกรรมมากขึ้น คือต้องเพิ่มเติมและเล่ารายละเอียดการดำเนินงานให้เห็นภาพการดำเนินกิจกรรมและต้องมีภาพประกอบกิจกรรมทุกครั้ง
  • ได้เข้าใจเรื่องการทำบัญชีรับจ่ายเงินมากขึ้นและสามารถนำไปปรับปรุงแก้ไขได้

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • รายงานผลการดำเนินงานในช่วงที่ผ่านมา ณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี

กิจกรรมที่ทำจริง

  • รายงานผลการดำเนินงานในช่วงที่ผ่านมา ณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี
  • ตรวจสอบการบันทึกรายรับรายจ่าย ความถูกต้องของใบสำคัญรับเงินของโครงการฯและภาพร่วมผลการใช้จ่ายเงินโครงการฯ

 

2 2

16. ประชุมคณะทำงาน

วันที่ 13 สิงหาคม 2556 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • สรุปทบทวนการขับเคลื่อนงาน โครงการชุมชนคนไทดำเตรียมพร้อมรับมือภัยพิบัติที่ผ่านมา
  • เตรียมการอบรมกู้ภัยครั้งที่ 1

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • สรุปการดำเนนิงานที่ผ่านมา โดยมีคุณครูสักรินทร์  ทิพ์พินิจ  นายจันทรัตน์  รู้พันธ์ ได้นำเสนอการดำเนินงานที่ผ่านมาได้มีการจัดกิจกรรมตามแผนการดำเนินงานที่วางไว้ซึ่งการดำเนินงานที่ผ่านมาได้รับความร่วมือจากคนในชุมชนระดับหนึ่ง และยังต้องมีการประชาสัมพันธ์ เพิ่มขึ้น ส่วนการประสานงานกับภายนอกเพื่อสร้างความร่วมมือและส่งเสริมชุมชนเรื่องการสร้า้งกองทุนกู้ภัยและอาชีพเสริม ขณะนี้มีการประสานงานกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตตำบลเขาหัวควาย อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ในการส่งเสริมชุมชนด้านอาชีพเสริม การทำปุ๋ยหมัก และการเก็บข้อมูลต่างๆด้านภัยพิบัติได้นำข้อมูลไปลงในโปรแกรม GIS เพื่อความสะดวกในการค้นข้อมูล ตำแหน่ง พิกัดที่ต้องการความช่วยเหลือได้อย่างสะดวกและแม่นยำ
  • การออกแบบและวางแผนการฝึกอบรมอาสมัครกู้ภัย ซึ่งจัดขึ้นในวันที่ 21 สิงหาคม 2556 เนื้อและกระบวนการจะมีการฝึกการปฐมพยาบาลผู้ป่วยและผู้ประสบภัย การเคลื่อนย้ายผู้ป่วย/ผู้ประสบภัย การผูกเงื่อนที่จำเป็นต้องใช้ยามเกิดภัยพิบัติ และการปฏิบัติการช่วยเหลือทางน้ำ จากวิทยากรที่เชี่ยวชาญจากศูนย์ป้องกันสาธารณะภัยจังหวัดสุราษฏร์ธานี

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ประชุมคณะทำงานประจำเดือนสิงหาคม

กิจกรรมที่ทำจริง

  • จัดประชุมคณะทำงานโครงการชุมชนคนไทดำเตรียมพร้อมรับมือภัยพิบัติเพื่อสรุปทบทวนการดำเนนนิงานที่ผ่านมา
  • เตรียมงานการจัดอบรมอาสาสมัครกู้ภัยครั้งที่ 1

 

30 20

17. ฝึกอบรมอาสาสมัครกู้ภัย ครั้งที่1

วันที่ 21 สิงหาคม 2556 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่ออบรมอาสาสมัครเรื่องภัยพิบัติ บทบาทการเป็นอาสาสมัคร และการใช้อุปกรณ์กู้ชีพให้กับเยาวชนและอาสาสมัครในพื้นที่

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. อาสาสมัครและคนในชุมชนได้ความรู้เรื่องการกู้ภัย  มีความเข้าใจเรื่องภัยพิบัติมากขึ้นและการปฐมพยาบาลเบื้องต้น โดยมีเนื้อหาสรุปดังนี้ ความหมายของภัยพิบัติ
  • ราชบัณฑิตยสถานได้อธิบายไว้ว่า คำว่า ภัยพิบัติ (อ่านว่า ไพ-พิ-บัด) ประกอบด้วยคำว่า ภัย หมายถึง สิ่งที่ทำให้กลัว หรืออันตราย กับ คำว่า พิบัติ หมายถึง ความฉิบหาย หรือหายนะ ภัยพิบัติ หมายถึง อันตรายที่นำไปสู่หายนะ หรือหายนะที่เป็นอันตราย มีทั้งที่เกิดจากภัยธรรมชาติและเกิดจากการกระทำของมนุษย์ เช่น น้ำท่วม แผ่นดินไหว พายุไซโคลน ภูเขาไฟระเบิด เป็นภัยธรรมชาติที่ทำให้เกิดภัยพิบัติ เครื่องบินตก เรือล่ม รถไฟตกราง สงคราม เป็นภัยพิบัติที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ คำว่า ภัยพิบัติ อาจใช้ว่า พิบัติภัย (อ่านว่า พิ-บัด-ไพ) ก็ได้ เช่น ทุกประเทศควรมีระบบป้องกัน บรรเทา และฟื้นฟูผลอันเนื่องมาจากพิบัติภัย
  • ภัยพิบัติ (Disaster) หมายถึง ภัยที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติหรือจากการกระทําของมนุษย์ และส่งผลกระทบหรือสร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของคนในสังคมหรือชุมชน โดยชุมชนที่ประสบภัยพิบัติไม่สามารถจัดการกับภัยพิบัติที่ เกิดขึ้นได้ด้วยตนเอง
  • อุทกภัย คือ ภัยหรืออันตรายที่เกิดจากน้ำท่วม หรืออันตรายอันเกิดจากสภาวะที่น้ำไหลเอ่อล้นฝั่งแม่น้ำ ลำธาร หรือทางน้ำ เข้าท่วมพื้นที่ซึ่งโดยปกติแล้วไม่ได้อยู่ใต้ระดับน้ำ หรือเกิดจากการสะสมน้ำบนพื้นที่ซึ่งระบายออกไม่ทันทำให้พ้นที่นั้นปกคลุมไปด้วยน้ำ
  • โดยทั่วไปแล้วอุทกภัยมักเกิดจากน้ำท่วม ซึ่งสามารถแบ่งเป็นลักษณะใหญ่ๆ ได้ 2 ลักษณะ คือ 1) น้ำท่วมขัง/น้ำล้นตลิ่ง เป็นสภาวะน้ำท่วมที่เกิดขึ้นเนื่องจากระบบระบายน้ำไม่มีประสิทธิภาพ มักเกิดขึ้นในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำและบริเวณชุมชนเมืองใหญ่ๆ มีลักษณะค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งเกิดจากฝนตกหนัก ณ บริเวณนั้นๆ ติดต่อกันเป็นเวลาหลายวัน หรือเกิดจากสภาวะน้ำล้นตลิ่ง น้ำท่วมขังส่วนใหญ่จะเกิดบริเวณท้ายน้ำและมีลักษณะแผ่เป็นบริเวณกว้างเนื่องจากไม่สามารถระบายได้ทัน ความเสียหายจะเกิดกับพืชผลทางการเกษตรและอสังหาริมทรัพย์เป็นส่วนใหญ่ สำหรับความเสียหายอื่นๆ มีไม่มากนักเพราะสามารถเคลื่อนย้ายไปอยู่ในที่ที่ปลอดภัย 2) น้ำท่วมฉับพลัน เป็นภาวะน้ำท่วมที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลันในพื้นที่ เนื่องจากฝนตกหนักในบริเวณพื้นที่ซึ่งมีความชันมาก และมีคุณสมบัติในการกักเก็บหรือการต้านน้ำน้อย เช่น บริเวณต้นน้ำซึ่งมีความชันของพื้นที่มาก พื้นที่ป่าถูกทำลายไปทำให้การกักเก็บหรือการต้านน้ำลดน้อยลง บริเวณพื้นที่ถนนและสนามบิน เป็นต้น หรือเกิดจากสาเหตุอื่นๆ เช่น เขื่อนหรืออ่างเก็บน้ำพังทลาย น้ำท่วมฉับพลันมักเกิดขึ้นหลังจากฝนตกหนักไม่เกิน 6 ชั่วโมง    และมักเกิดขึ้นในบริเวณที่ราบระหว่างหุบเขา ซึ่งอาจจะไม่มีฝนตกหนักในบริเวณนั้นมาก่อนเลยแต่มีฝนตกหนักมากบริเวณต้นน้ำที่อยู่ห่างออกไป เนื่องจากน้ำท่วมฉับพลันมีความรุนแรงและเคลื่อนที่ด้วยความรวดเร็วมากโอกาสที่จะป้องกันและหลบหนีจึงมีน้อย ดังนั้นความเสียหายจากน้ำท่วมฉับพลันจึงมีมากทั้งแก่ชีวิตและทรัพย์สิน สาเหตุของการเกิดอุทกภัยจากธรรมชาติ มีดังนี้
  • ฝนตกหนักจากพายุหรือพายุฝนฟ้าคะนอง เป็นพายุที่เกิดขึ้นติดต่อกันเป็นเวลาหลาย ชั่วโมง มีปริมาณฝนตกหนักมากจนไม่อาจไหลลงสู่ต้นน้ำลำธารได้ทันจึงท่วมพื้นที่ที่ อยู่ในที่ต่ำ มักเกิดในช่วงฤดูฝนหรือฤดูร้อน ฝนตกหนักจากพายุหมุนเขตร้อน เมื่อพายุนี้ประจำอยู่ที่แห่งใดแห่งหนึ่งเป็นเวลานานหรือแทบไม่เคลื่อนที่ จะทำให้บริเวณนั้นมีฝนตกหนักติดต่อกันตลอดเวลา ยิ่งพายุมีความรุนแรงมาก เช่น มีความรุนแรงขนาดพายุโซนร้อนหรือไต้ฝุ่น เมื่อเคลื่อนตัวไปถึงที่ใดก็ทำให้ที่นั้นเกิดพายุลมแรง ฝนตกหนักเป็นบริเวณกว้างและมีน้ำท่วมขัง นอกจากนี้ถ้าความถี่ของพายุที่เคลื่อนที่เข้ามาหรือผ่านเกิดขึ้นต่อเนื่องกัน ถึงแม้จะในช่วงสั้นแต่ก็ทำให้น้ำท่วมเสมอ
  • ฝนตกหนักในป่าบนภูเขา ทำให้ปริมาณน้ำบนภูเขาหรือแหล่งต้นน้ำมาก มีการไหลและเชี่ยวอย่างรุนแรงลงสู่ที่ราบเชิงเขา เกิดน้ำท่วมขึ้นอย่างกะทันหัน เรียกว่าน้ำท่วมฉับพลัน เกิดขึ้นหลังจากที่มีฝนตกหนักในช่วงระยะเวลาสั้นๆ หรือเกิดก่อนที่ฝนจะหยุดตก มักเกิดขึ้นในลำธารเล็กๆ โดยเฉพาะตอนที่อยู่ใกล้ต้นน้ำของบริเวณลุ่มน้ำ ระดับน้ำจะสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว จังหวัดที่อยู่ใกล้เคียงกับเทือกสูง เช่น จังหวัดเชียงใหม่ เป็นต้น
  • ผลจากน้ำทะเลหนุน ในระยะที่ดวงอาทิตย์และดวงจันทร์อยู่ในแนวที่ทำให้ระดับน้ำทะเลขึ้นสูงสุด น้ำทะเลจะหนุนให้ระดับน้ำในแม่น้ำสูงขึ้นอีกมาก เมื่อประจวบกับระยะเวลาที่น้ำป่าและจากภูเขาไหลลงสู่แม่น้ำ ทำให้น้ำในแม่น้ำไม่อาจไหลลงสู่ทะเลได้ ทำให้เกิดน้ำเอ่อล้นตลิ่งและท่วมเป็นบริเวณกว้างยิ่งถ้ามีฝนตกหนักหรือมีพายุเกิดขึ้นในช่วงนี้ ความเสียหายจากน้ำท่วมชนิดนี้จะมีมาก
  • ผลจากลมมรสุมมีกำลังแรง มรสุมตะวันตกเฉียงใต้เป็นมรสุมที่พัดพา ความชื้นจากมหาสมุทรอินเดียเข้าสู่ประเทศไทย ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงตุลาคม เมื่อมีกำลังแรงเป็นระยะเวลาหลาย วัน ทำให้เกิดคลื่นลมแรง ระดับน้ำในทะเลตามขอบฝั่งจะสูงขึ้น ประกอบกับมีฝนตกหนักทำให้เกิดน้ำท่วมได้ ยิ่งถ้ามีพายุเกิดขึ้นในทะเลจีนใต้ก็จะยิ่งเสริมให้มรสุมดังกล่าวมีกำลังแรง ขึ้นอีก ส่วนมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดจากประเทศจีนเข้าสู่ไทย ปะทะขอบฝั่งตะวันออกของภาคใต้ มรสุมนี้มีกำลังแรงเป็นครั้งคราว เมื่อบริเวณความกดอากาศสูงในประเทศจีนมีกำลังแรงขึ้นจะทำให้มีคลื่นค่อนข้าง ใหญ่ในอ่าวไทย และระดับน้ำทะเลสูงกว่าปกติ บางครั้งทำให้มีฝนตกหนักในภาคใต้ ตั้งแต่จังหวัดชุมพร ลงไปทำให้เกิดน้ำท่วมเป็นบริเวณกว้าง
  • ผลจากแผ่นดินไหวหรือภูเขาไฟระเบิด เมื่อเกิดแผ่นดินไหว หรือภูเขาไฟบนบกและภูเขาไฟใต้น้ำระเบิด เปลือกของผิวโลกบางส่วนจะได้รับความกระทบกระเทือนต่อเนื่องกัน บางส่วนของผิวโลกจะสูงขึ้นบางส่วนจะยุบลง ทำให้เกิดคลื่นใหญ่ในมหาสมุทรซัดขึ้นฝั่ง เกิดน้ำท่วมตามหมู่เกาะและเมืองตามชายฝั่งทะเลได้ เกิดขึ้นบ่อยครั้งในมหาสมุทรแปซิฟิก
  • สิ่งของที่ต้องนำติดตัวเมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน ตราประทับ, เงินสด, สมุดบัญชี, ไฟฉาย, ถ่านไฟฉาย, ไฟแช็ค, ที่เปิดกระป๋อง, มีด, กล่องปฐมพยาบาล, เทียนไข, เสื้อผ้า, ถุงมือ, ผ้าห่ม, หมวกกันน็อค, ผ้าหนาสำหรับคลุมป้องกันศรีษะ, น้ำดื่ม, ขวดนม, อาหาร, บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป, วิทยุ (แนะนำให้ใช้ชนิดที่สามารถรับข้อความจากสถานีวิทยุได้)  หากมีของที่สามารถใช้แทนกันได้ในบ้าน ก็สามารถนำมาใช้ได้ สิ่งสำคัญคือการเตรียมสัมภาระต่างๆให้พร้อม
  • สิ่งของที่ควรเก็บสะสมไว้ยามจำเป็น ปกติแล้วกว่าอาหารจะถูกเริ่มแจกจ่ายจะใช้เวลา 3 วัน จึงควรเตรียมเสบียงอาหารและน้ำดื่มสำหรับ 3 วัน ( 1 คน 1 วัน 3 ลิตร) ครอบครัวที่มีเด็กทารก และผู้สูงอายุ ควรเตรียมนมผง และอาหารที่ทานง่าย ผ้าอ้อม ยาต่างๆเอาไว้ด้วย  ชุดปฐมพยาบาล, น้ำดื่ม ( 1 คน 1 วัน 3 ลิตร), อาหาร (ขนมปังแห้ง, ข้าวที่สามารถทานได้เมื่อเติมน้ำร้อน, อาหารกระป๋อง, อาหารแห้ง เป็นต้น) , หม้อ, เตาแก๊สพกพา, เสื้อผ้า, ถุงนอน, ผ้าห่ม, อุปกรณ์กันฝน, ถ่านไฟฉายสำรอง, อุปกรณ์สำหรับเขียน
  • เงือนเชือก
  1. เงื่อนพิรอด  เป็นเงื่อนที่มีประโยชน์มากในการดำเนินชีวิตประจำวันของเรา โดยเฉพาะการต่อปลายเชือก 2 ข้างเข้าด้วยกัน ซึ่งเงื่อนนี้จะแน่นมาก แต่สามารถแก้ออกได้อย่างง่ายดาย ประโยชน์

- ใช้ต่อเชือกขนาดเท่ากัน เหนียวเท่ากัน - ใช้ผูกปลายเชือกเส้นเดียวกัน เพื่อผูกมัดห่อสิ่งของและวัตถุต่างๆ - ใช้ประโยชน์ในการปฐมพยาบาลผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ เช่น ผูกชายผ้าพันแผล ผูกชายผ้า ทำสลิงคล้องคอ เป็นต้น - ผูกเชือกรองเท้าผูก 2. เงื่อนบ่วงสายธนู  เป็นเงื่อนที่ไม่รูด ไม่เลื่อนเข้าไปรัดกับสิ่งที่ผูก ตัวบ่วงจะคงที่ ประโยชน์ - ใช้ผูกสัตว์ไว้กับหลักหรือต้นไม้ เป็นเงื่อนที่ไม่รูดและไม่เลื่อนเข้าไปรัด กับหลัก เหมาะสำหรับการผูกล่าม เพราะสามารถหมุนรอบได้ - ใช้ผูกเรือกับหลัก เมื่อเวลาน้ำขึ้นหรือน้ำลงบ่วงจะเลื่อนขึ้นลงได้เอง - ใช้คล้องกันธนูเพื่อโก่งคันธนู - ใช้คล้องคนให้หย่อนตัวจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำแทนเงื่อนเก้าอี้ - ใช้ผูกปลายเชือก ผูกถังตั้งหรือถังนอน - ใช้เป็นบ่วงคล้องช่วยคนตกน้ำลากขึ้นมาจะไม่รูดเข้าไปรัด เวลาลากต้องจับต้นคอคนตกน้ำให้หงายขึ้นเพื่อให้จมูกพ้นน้ำ 3. เงื่อนตะกรุดเบ็ด  เป็นเงื่อนที่ใช้งานต่างๆ ได้มากมาย เช่น ผูกสิ่งของต่างๆ ผูกเหล็ก ผูกรั้ว ผูกตอม่อในการสร้างสะพาน ผูกแขวนรอก ผูกสมอเรือ ผูกบันได ผูกเบ็ด ประโยชน์ - ใช้ผูกเชือกกับเสาหรือหลักเพื่อล่ามสัตว์เลี้ยงหรือแพ - ใช้ผูกบันใดเชือก บันใดลิง - ใช้ในการผูกแน่น เช่น ผูกประกบ ผูกกากบาท - ใช้แขวนรอก , ใช้ผูกเต้นท์ - ใช้ทำหอคอย , ใช้ผูกเบ็ด - ใช้ผูกตอม่อสร้างสะพาน

  • การกู้ชีพขั้นพื้นฐาน (Basic life support, BLS) เป็นขั้นแรกของการช่วยเหลือผู้ที่หัวใจหยุดเต้น เป็นส่วนหนึ่งของขั้นตอนในการกู้ชีพ การตรวจสอบว่ามีการหยุดเต้นของหัวใจ (Immediate recognition of cardiac arrest) และการเรียกหน่วยแพทย์ฉุกเฉิน (Activation of the emergency response system)
  1. การนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพ (Early cardiopulmonary resuscitation, CPR)
  2. การรักษาด้วยไฟฟ้า (Rapid defibrillation)
  3. การกู้ชีพขั้นสูง (Effective advanced life support)
  4. การดูแลหลังได้รับการกู้ชีพ (Integrated post-cardiac arrest care)
  • ขั้นตอนในการกู้ชีพขั้นพื้นฐาน  เพื่อให้การกู้ชีพมีประสิทธิภาพสูงสุด แนวทางสำหรับการกู้ชีพขั้นพื้นฐานสำหรับบุคคลทั่วไปมีรายละเอียดดังนี้  เมื่อพบกับผู้ที่ไม่รู้สึกตัว ให้ตรวจสอบว่ามีการหยุดเต้นของหัวใจหรือไม่ โดยเคาะที่ไหล่ ตะโกนเรียก หรือสังเกตการหายใจ หากผู้ป่วยไม่ตอบสนองต่อการเรียก หยุดหายใจ หรือมีลักษณะการหายใจแปลกๆ(เช่น หายใจเฮือกๆ) ให้ถือว่าผู้ป่วยมีการหยุดเต้นของหัวใจ ขั้นตอนนี้มีความสำคัญมาก ความตกใจ ความตื่นเต้น ความไม่แน่ใจว่าจะทำอย่างไร เป็นการประวิงเวลาที่ผู้ป่วยควรได้รับการช่วยเหลือ และทำให้โอกาสที่ผู้ป่วยจะเสียชีวิตเพิ่มขึ้น เมื่อตรวจสอบแล้วว่าผู้ป่วยเรียกไม่รู้สึกตัว หยุดหายใจ หรือหายใจแปลกๆ ให้รีบแจ้งหน่วยแพทย์ฉุกเฉิน
  • หลังจากแจ้งหน่วยแพทย์ฉุกเฉินแล้ว ให้เริ่มทำนวดหัวใจทันที การนวดหัวใจจะทำให้เลือดในร่างกายหมุนเวียน ทำให้สมองและหัวใจได้รับเลือดและออกซิเจน วิธีนวดหัวใจคือประสานมือแล้วกดตรงๆ ลงไปที่กลางหน้าอกให้ลึกอย่างน้อย 5 เซนติเมตร หรือ 2 นิ้ว ในอัตราเร็ว มากกว่า 100 ครั้งต่อนาที และปล่อยให้หน้าอกคืนกลับสู่ตำแหน่งเดิมทุก ครั้งก่อนที่จะกดครั้งใหม่ ระหว่างการกดควรมีช่วงหยุดให้น้อยที่สุด (push hard, push fast, fully recoiled, minimally interrupted) สำหรับผู้ที่ไม่เคยฝึกฝนการกู้ชีพ ให้ใช้วิธีการนวดหัวใจแบบ hands-only คือ ใช้แต่เพียงมือกดหน้าอกเท่านั้น โดยไม่ต้องผายปอดหรือช่วยหายใจ จนกระทั่งหน่วยแพทย์ฉุกเฉินมาถึง จึงทำการผายปอดร่วมกับการนวดหัวใจ และพิจารณาให้การรักษาด้วยไฟฟ้า
  • การกู้ชีพขั้นพื้นฐานสำหรับเด็กมีขั้นตอนที่แตกต่างกันออกไป ในการช่วยเหลือผู้ที่หัวใจหยุดเต้น มักจะเกิดความรู้สึกตื่นเต้น กังวล และไม่กล้าให้ความช่วยเหลือด้วยเหตุผลต่างๆ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการไม่เคยฝึกฝนมาก่อน แต่จะเห็นได้ว่าขั้นตอนในการกู้ชีพขั้นพื้นฐานสำหรับบุคคลทั่วไปเป็นสิ่งที่ ทำได้ไม่ยากนัก การตรวจสอบความรู้สึกตัวและการหายใจ การเรียกหน่วยแพทย์ฉุกเฉิน และการนวดหัวใจกู้ชีพ ล้วนเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยคืนชีวิตให้กับผู้ป่วยที่เราพบได้

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ฝึกอบรมอาสาสมัครกู้ภัย

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ความรู้ความเข้าใจเรื่องภัยพิบัติ
  • บทบาทการเป็นอาสาสมัครกู้ภัย
  • ทักษะการใช้อุปกรณ์กู้ภัย

 

30 40

18. ฝึกอบรมอาสาสมัครกู้ภัย ครั้งที่2

วันที่ 28 สิงหาคม 2556 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อให้อาสมัครกู้ภัยในชุมชนได้เรียนรู้แผนที่ชุมชน
  • เพื่อให้อาสาสมัครในชุมชนมีความรู้เรื่องการกู้ชีพทางน้ำมากขึ้น

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • อาสมัครกู้ภัยในชุมชนได้เรียนรู้แผนที่ชุมชน ซึ่งทำให้ทราบตำแหน่ง สถานที่สำคัญในชุมชนที่สามารถเป็นแหล่งพักพิง และศูนย์กู้ภัยยามเกิดภัยพิบัติได้ ได้แก่  วัดดอนมะลิ โรงเรียนบ้านไทรงาม โรงเรียนบ้านทับชันฯ เป็นต้น
  • อาสาสมัครในชุมชนมีความรู้เรื่องการกู้ชีพทางน้ำมากขึ้น ซึ่งมีประเด็นหลักในการจัดฝึกอบรมดังนี้             *การใช้อุปกรณ์กู้ชีพทางน้ำ  ได้แก่ เรือ แพ  ชูชีพ  และการประยุกต์ใช้อุปกรณ์ที่ช่วยในการลอยน้ำได้
    • การเตรียมอุปกรณ์ยังชีพ  ได้แก่ การก่อไฟ  การปรุงอาหาร  ยารักษาโรค ข้าวสาร อาหารแห้ง  เป็นต้น
    • การเคลื่อนย้ายอพยพคนให้ไปที่ปลอดภัย  ซึ่งมีการเคลื่อนย้ายจากลำดับคนที่ต้องการความช่วยเหลือเร่งด่วน ได้แก่ เด็ก คนชรา ผู้พิการ ภิกษุ สามเณร เป็นต้น

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ฝึกอบรมอาสาสมัครกู้ภัยทางน้ำ การช่วยชีวิตผู้ประสบภัยทางน้ำ

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ฝึกอบรมอาสาสมัครกู้ภัย ครั้งที่ 2 เรื่องการกู้ภัยทางน้ำ การช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำ

 

30 30

19. ฝึกอบรมอาสากู้ภัย ครั้งที่3

วันที่ 30 สิงหาคม 2556 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่ออาสาสมัครได้ฝึกทักษะการใช้วิทยุสื่อสารยามเกิดภัยพิบัติ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • อาสาสมัครได้ฝึกทักษะการสื่อสาร ( วิทยุสื่อสาร ) ยามเกิดภัยพิบัติ โดยมีเนื้อหาในการฝึกอบรมดังนี้ หลักปฏิบัติในการติดต่อสื่อสารและการเตรียมการก่อนการเรียกขาน
    1. ต้องจดบันทึกหรือเตรียมข้อความที่จะพูดไว้ก่อน เพื่อความรวดเร็ว การทวงถามถูกต้อง และเป็นหลักฐานในการติดต่อของสถานีตนเองอีกด้วย
    2. ข้อความที่จะพูดทางวิทยุ ต้องสั้น กะทัดรัด ชัดเจน และได้ใจความ
    3. ก่อนพูดต้องฟังก่อนว่าข่ายสื่อสารนั้นว่างหรือไม่ เพื่อจะได้ไม่เกิดการรบกวนการทำงานของสถานีอื่น โดยต้องใช้นามเรียกขานที่กำหนดให้เท่านั้น
    4. ตรวจสอบนามเรียกขานของหน่วยงานหรือบุคคลที่จะต้องทำการติดต่อสื่อสารก่อน
    5. การเรียกขานหรือการตอบการเรียก ต้องปฏิบัติตามระเบียบปฏิบัติของข่ายสื่อสารการเรียกขาน การเรียกขานต้องครบองค์ประกอบ ดังนี้     - “นามเรียกขาน”  ของสถานี, บุคคลฯ ที่ถูกเรียก
          - “จาก”     - “นามเรียกขาน” ของสถานี, บุคคลฯ ที่เรียก     - “เปลี่ยน”

การตอบรับการเรียกขาน       การตอบในการเรียกขาน ครั้งแรกต้องตอบแบบเต็ม  ซึ่งประกอบด้วย       ก.  “นามเรียกขาน” ของสถานี, บุคคลฯ ที่เรียก
      ข.  “จาก”       ค.  “นามเรียกขาน” ของสถานี, บุคคลฯ ที่ถูกเรียก       ง.  “เปลี่ยน”
*ตัวอย่างที่  1 (ศูนย์ฯ เรียก)  เขตไทรงาม  401  จาก  อุบัติภัย เปลี่ยน ลูกข่ายตอบ)  อุบัติภัย จาก เขตไทร  401  เปลี่ยน หรือ (ลูกข่ายตอบ)  จาก เขตไทรงาม  401  ว.2 เปลี่ยน (ตอบอย่างย่อ) หรือ (ลูกข่ายตอบ)  เขตไทรงาม  401  ว.2 เปลี่ยน (ตอบอย่างย่อ)

ขั้นตอนการติดต่อสื่อสาร

  1. การติดต่อสื่อสารโดยทั่วไปเรียกศูนย์ฯ  ที่สังกัด

- การเรียกขาน / การตอบ - ใช้นามเรียกขานที่กำหนด 2. แจ้งข้อความ / วัตถุประสงค์ / ความต้องการ - สั้น กะทัดรัด ชัดเจน ได้ใจความ - ใช้ประมวลสัญญาณ ว. ที่กำหนด 3. จบข้อความลงท้ายคำว่าเปลี่ยน

ข้อปฏิบัติและมารยาทในการใช้วิทยุสื่อสาร
    1.ใช้ข้อความสั้น ๆ กะทัดรัดได้ใจความ ไม่ใช้ข้อความเกินความจำเป็นและไม่ควรเปลี่ยนแปลง โค้ด ว. ไปลักษณะเชิงพูดเล่น เช่น ว.4 ทางน้ำ
    2.ต้องใช้ภาษาราชการหรือภาษาไทยกลางเท่านั้น ไม่ใช้ภาษาท้องถิ่นถึงแม้คู่สถานี (ผู้ที่เรากำลังติดต่อทางวิทยุด้วย) จะเป็นคนท้องถิ่นเดียวกันและเพราะผู้ฟังอื่นไม่เข้าใจได้ทั้งหมดเป็นการแบ่งพรรคแบ่งพวก แบ่งเชื้อชาติเป็นทางให้เกิดความแตกแยกสามัคคี
    3.ต้อง ใช้เฉพาะความถี่ที่ที่หน่วยงานของตนได้รับอนุญาตเท่านั้นเพราะการออกนอกความ ถี่อาจไปรบกวนความถี่ต่างข่ายงานทำให้เกิดความเสียหายแก่หน่วยงานอื่น ๆ ได้ (ข้อนี้เป็นการผ่อนผันระหว่างฝ่ายปกครองกับข่ายตำรวจ สภ.อ.พาน เพื่อการประสานงานร่วมกัน )
    4. ต้องขออนุญาตสถานีควบคุมข่ายก่อนเมื่อจะติดต่อสื่อสารกันโดยตรง การติดต่อโดยตรงระหว่างลูกข่าย ต้องแจ้งแม่ข่ายทราย ไม่สมควรเรียกเข้าต่างข่ายงานด้วยตนเอง (ยกเว้นกรณีฉุกเฉินรอไม่ได้) เพราะนามเรียกขานอาจซ้ำกับลูกข่ายนั้นฯ
    5. ต้องไม่ใช้ช่องสื่อสารในขณะที่ยังมีการรับ ส่งข่าวสารกันอยู่ ไม่ควรเรียกแทรกเข้าไปในขณะที่การรับส่งข่าวสารในความถี่นั้นฯ ยังไม่เสร็จสิ้นเพราะอาจทำให้เสียหายต่อทางราชการ (ยกเว้นการแจ้งเหตุซึ่งสามารถกระทำได้ทันทีจะได้กล่าวถึงในช่วงต่อไป) ผมถึงบอกว่าก่อนที่จะติดต่อทางวิทยุให้ยกขึ้นมาแนบหูฟังดูก่อนว่าคลื่นความถี่ของคู่สถานีที่เราต้องติดต่อนั้นว่างหรือไม่
    6. ต้องไม่ส่งเสียงเพลง เสียงดนตรี หรือรายการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ หรือเสียงแปลกประหลาดออกอากาศ หรือชอบทำคีย์ค้างบ่อย ๆ เป็นประจำ คงเป็นการจงใจให้ค้างเป็นแน่ ๆ การประชาพันธ์บนความถี่ทำได้เฉพาะสถานีควบคุมข่าย และโดยพนักงานวิทยุที่ปฏิบัติหน้าที่เท่านั้น
    7. ต้องไม่วิจารณ์ บุคคล การเมือง การค้า ศาสนา หรือส่งข้อความที่เป็นการละเมิดกฎหมายบ้านเมือง การวิจารณ์ย่อมเกิดข้อขัดแย้ง การพูดหรือวิจารณ์ในส่วนที่มีผลประโยชน์ผู้เสียผลประโยชน์เกิดความแค้น อาจก่อให้เกิดการรบกวนช่องความถี่สื่อสารโดยการจงใจ
    8. ต้องไม่แอบอ้าง หรือใช้นามเรียกขานของคนอื่น และไม่ให้ผู้อื่นนำนามเรียกขานของตนเองไปใช้ ( ข้อนี้ยังมีตำรวจบางนายซึ่งไม่ทราบข้อปฏิบัติและมารยาทในการใช้วิทยุสื่อสารการะทำอยู่ ซึ่งไม่ควรเอาอย่าง)
    9. ต้องไม่ให้ผู้อื่นหยิบยืมเครื่องมือสื่อสารของตนเองไปใช้ ยกเว้นการนำเครื่องกองกลางไป
ปฏิบัติงานชั่วคราว โดยได้ดำเนินการเป็นลายลักษณ์อักษรแล้วเท่านั้น
    10. ต้องพกพาวิทยุสื่อสารในลักษณะเหมาะสม เปิดเครื่องได้ก็ควรกระทำ และอีกสาถนการณ์หนึ่งหากตัวเราเข้าไปอยู่ในบริเวณที่กลุ่มมิจฉาชีพ หรือญาติของผู้ที่ประกอบการผิดกฎหมายและเราเปิดวิทยุเสียงดังแล้วคนร้ายย่อมได้ยินและรับรู้ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ได้
    ท่านที่มีและใช้วิทยุอยู่พึงระลึกอยู่เสมอว่าไม่มีความลับบนความถี่จะกดคีย์ให้คิดก่อน เพราะว่าหากท่าน ว. ส่งข้อความไปแล้วทุกคนที่มี ว. และเปิดในย่านความถี่นั้นฯ ก็สามารถรับฟังข้อความของท่านได้ เพราะฉะนั้นก่อนที่ส่งข้อความออกไปทาง ว. ให้คิดก่อนว่าต้องการพูดกับใคร เรื่องอะไร อยู่ในย่านความถี่ใด มีอยู่บ่อย ๆ ว.เปิดย่านความถี่ตำรวจพาน แต่ส่ง ว. เป็นว่า ขออนุญาต ไชยา ... เรียกอยู่นั่นแหละเป็น สิบกว่าครั้ง ก็มันต่างคลื่นความถี่ จะ ว. 2 ได้ยังไง ( หวังว่าต่อไปกรณีนี้ในส่วนของตำบลม่วงคำคงจะไม่มีให้ได้ยินอีกนะครับ) การแจ้งเหตุสามารถแจ้งได้ทันทีโดยทำได้ดังนี้ ขออนุญาตแจ้งเหตุ พาน จาก ม่วงคำ .. ว.2 เมื่อ พานตอบ ว.2 แล้วก็แจ้งเหตุเป็นข้อความ (ว.8) เข้าไป แต่ต้องเป็นเหตุด่วน เหตุร้าย เหตุเร่งด่วนจริง ๆ ถ้าหากไม่เป็นกรณีเร่งด่วนให้ย่านความถี่ว่างก่อนค่อยเรียกเข้าไปในย่านความถี่นั้น ๆ ก่อนแจ้งเหตุต้องดูให้ดี รู้ให้จริงชัดเจนว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร ถ้าจะให้แน่นอนไปดูที่เกิดเหตุด้วยตนเองก่อนให้ชัดแล้วค่อยแจ้งทาง ว. ยกเว้นกรณีฉุกเฉิน หรือเหตุเร่งด่วน จริง ๆ เพราะว่าหากเป็นเหตุเล็กๆ น้อยๆ ไม่รุนแรงสามารถตกลงรอมชอมกันได้ หรือไม่มีเหตุเกิดขึ้นจริง จะได้ไม่เสียเวลา และเกิดความเสียงหายต่อทางราชการได้) เช่นเดียวกันการแจ้งเหตุทาง ว. ให้ใช้ข้อความสั้น ๆ ฟังแล้วเข้าใจง่าย ใช้ขอความสั้น ๆ กะทัดรัดได้ใจความ หรือจะใช้รหัส ว. แทนก็ได้
รหัสการแจ้งเหตุทางวิทยุ
เหตุ 100 ประทุษร้ายทรัพย์
เหตุ 111 ลักทรัพย์
เหตุ 121 วิ่งราวทรัพย์
เหตุ 131 ชิงทรัพย์
เหตุ 141 ปล้นทรัพย์
เหตุ 200 ประทุษร้ายต่อร่างกาย
เหตุ 211 ทำร้ายร่างกายไม่ได้รับบาดเจ็บ
เหตุ 231 ทำร้ายร่างกายได้รับบาดเจ็บสาหัส
เหตุ 241 ฆ่าคนตาย
เหตุ 300 การพนันเป็นบ่อน
เหตุ 510 วัตถุต้องสงสัยเกี่ยวกับระเบิด
เหตุ 511 ได้เกิดระเบิดขึ้นแล้ว
เหตุ 512 วัตถุระเบิดได้ตรวจสอบแล้วไม่ระเบิด
เหตุ 600 นักเรียนจะก่อเหตุทะเลาะวิวาท
เหตุ 601 นักเรียนรวมกลุ่มมีสิ่งบอกเหตุเชื่อว่าจะก่อเหตุ
เหตุ 602 นักเรียนก่อเหตุหลบหนีไปแล้ว
เหตุ 603 นักเรียนก่อเหตุยกพวกทำร้ายซึ่งกันและกัน
เหตุ 604 นักเรียนก่อเหตุยกพวกทำร้ายซึ่งกันและกันถึงตาย
เหตุ 605 นักเรียนก่อเหตุยกพวกทำร้ายซึ่งกันและกันมีวัตถุระเบิด
รหัส ว.
ว.0 ขอรับคำสั่ง ต้องการทราบ ให้บอกด้วย
ว.00 คอยก่อน
ว.1 ขอทราบที่อยู่
ว.2 ได้ยินหรือไม่
ว.3 ให้ทวนข้อความซ้ำอีก
ว.4 ออกไปปฏิบัติการตามปกติ
ว.5 ปฏิบัติการลับ
ว.6 ขออนุญาตติดต่อทางวิทยุ
ว.7 ขอความช่วยเหลือ
ว.8 มีข่าว ข้อความยาวที่จะส่งทางวิทยุ
ว.9 มีเหตุฉุกเฉิน เหตุด่วนสำคัญ ให้ทุกสถานีคอยรับคำสั่งจากศูนย์ รถวิทยุมีเหตุฉุกเฉินเหตุด่วนขออนุญาตใช้ไฟแดงและไซเรน
ว.10 หยุดรถปฏิบัติงาน สังเกตการณ์ติดต่อทาง ว. ได้
ว.11 หยุดรถไม่เกี่ยวกับหน้าที่ แต่ติดต่อทาง ว. ได้
ว.12 หยุดรถ ปิดเครื่องวิทยุ
ว.13 ให้ติดต่อทางโทรศัพท์
ว.14 เลิกตรวจ เลิกปฏิบัติการ
ว.15 ให้ไปพบ
ว.16 ทดลองเครื่องรับ – ส่ง วิทยุ
ว.16 – 1 ฟังไม่รู้เรื่อง มีเสียงรบกวนมาก
ว.16 – 2 รับฟังไม่ชัดเจน
ว.16 – 3 รับฟังชัดเจนพอใช้ได้
ว.16 – 4 รับฟังชัดเจนดี
ว.16 – 5 รับฟังชัดเจนดีมาก
ว.17 จุดอันตราย ห้ามผ่าน (บอกสถานที่)
ว.18 นำรถออกทดลองเครื่องยนต์
ว.19 สถานีวิทยุอยู่ในภาวะคับขัน ถูกยึดหรือถูกโจมตี ไม่สามารถป้องกันตนเองได้
ว.20 ตรวจค้น
ว.21 ออกจาก
ว.22 ถึง
ว.23 ผ่าน
ว.24 เทียบเวลา แจ้งเวลา
ว.25 จะไปที่ใด ที่หมายใด
ว.26 ให้ติดต่อทางวิทยุให้น้อยที่สุด
ว.27 ติดต่อทางโทรพิมพ์
ว.28 ประชุม
ว.29 มีราชการอะไร
ว.30 ขอทราบจำนวน (คน สิ่งของ อาวุธ)
ว.31 ความถี่วิทยุช่อง 1
ว.32 ความถี่วิทยุช่อง 2
ว.33 ความถี่วิทยุช่อง 3
ว.34 ความถี่วิทยุช่อง 4
ว.35 เตรียมพร้อมออกปฏิบัติงาน
ว.36 เตรียมพร้อมเต็มอัตรา
ว.37 เตรียมพร้อมครึ่งอัตรา
ว.38 เตรียมพร้อมหนึ่งในสาม
ว.39 การจราจรคับคั่ง
ว.40 มีอุบัติเหตุทางรถ
ว.41 มีสัญญาณไฟจราจรเสีย
ว.42 ขอให้จัดยานพาหนะนำขบวน
ว.43 จุดตรวจ ด่านตรวจยานพาหนะ (บอกสถานที่)
ว.44 ติดต่อทางโทรสาร
ว.45 ตรวจสอบบุคคล
1. พบข้อมูล
2. ไม่พบข้อมูล
รหัสหรือโค้ด ว. ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันมีอยู่ ตั้งแต่ ว.0 ถึง ว.46 นอกเหนือจากนั้นให้ใช้เป็นรหัสตัวเลขแทน โดยไม่มีคำว่า ว. นำหน้าตัวเลข เช่น ที่ทำงานใช้ รหัส 01 บ้านพักใช้รหัส 02 รถยนต์ใช้ 03 ห้องประชุมใช้รหัส 04 ที่เคยใช้ 60 ควรใช้คำว่า ญาติ , เพื่อน , พ่อ , แม่ ฯลฯ
61 ควรใช้คำว่า ขอบคุณ
62 ควรใช้คำว่า เสบียง หรือสิ่งของ (ให้ระบุชื่อสิ่งของนั้นฯ)
63 ควรใช้คำว่า บ้านพัก หรือ 02
64 ควรใช้คำว่า ภารกิจส่วนตัว
51 หรือ 605 ควรใช้คำว่า รับประทานอาหาร
100 ควรใช้คำว่า ภารกิจส่วนตัว
28 (สองแปด) ควรใช้คำว่า ว.สอง ว.แปด
ว.10 (ว.หนึ่งศูนย์) ควรใช้ ว.10 (ว.สิบ)
ว.21 (ว.ยี่สิบเอ็ด) ควรใช้ ว.21 (ว.ยี่สิบหนึ่ง)
ว.40 (ว.สี่ศูนย์) ควรใช้ ว.40 (ว.สี่สิบ)
กำลังโมบาย ควรใช้คำว่า 03 หรือยังอยู่ในรถ , กำลังขับรถ , ทำหน้าที่พลขับ
ล้อหมุน ควรใช้คำว่า 21 (ว. ยี่สิบหนึ่ง) หรือ เคลื่อนที่
ไม่มีความลับในความถี่ จะกดคีย์ให้คิดก่อน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ฝึกอบรมอาสากู้ภัย ครั้งที่ 3 โดยฝึกทักษะเพิ่มเติมจาก 2 ครั้งที่ผ่านมา

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ฝึกอบรมอาสาสมัครกู้ภัย ครั้งที่ 3 เรื่องการใช้วิทยุสื่อสารในสถานการณ์ภัยพิบัติ

 

30 40

20. ฝึกทักษะอาชีพทางเลือก

วันที่ 6 กันยายน 2556 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อสร้า้งทางเลือกอาชีพเสริมในชุมชน
  • เพื่อให้เยาวชนได้ฝึกทักษะการทำอาชีพเสริม

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเริ่มต้นกระบวนการโดยมีวิทยากรการปูพื้นความเข้าใจปัญหาเรื่องเศรษฐกิจในครอบครัวโดยเฉพาะค่าใช้จ่ายที่ฟุ่มเฟือย ซึ่งสามารถลดรายจ่ายได้ ได้แก่  น้ำยาล้างจาน แชมพู  ผงซักฟอก สบู่ ฯลฯ จากนั้นระดมความเข้าใจเรื่องอาชีพเสริมคืออะไร และอาชีพอะไรบ้างที่สามารถสร้า้งรายได้ในครอบครัว โดยมีความคิดเห็นในเวทีดังนี้
    1. อาชีพเสริมคือ
  • การสร้า้งรายได้เพิ่มจากอาชีพหลัก
  • การลดรายจ่ายในครอบครัว
  • การสร้า้งอาชีพใหม่ที่หลากหลาย
  • การสร้า้งอาชีพที่เพิ่มจากอาชีพประจำที่มีอยู่แล้ว เพื่อจะเพิ่มช่องทางการทำเงิน หรือเพิ่มรายได้ ให้มากยิ่งขึ้น หรือให้เพียงพอต่อการดำรงชีวิต
  1. สรา้งรายได้โดยวิธีการ / อาชีพเสริมที่สนใจอยากทำ

3.ปฏิบัติการทำน้ำยาเอนกประสงค์

เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ 1. ถังพลาสติกสีเข้มมีฝาปิดมิดชิด  1 ใบ
2. เครื่องชั่งน้ำหนัก
3. ถ้วยตวงน้ำ 1 ใบ
4. ช้อน ไม้พาย สำหรับคน 1 คัน 5. ผ้าขาวบางสำหรับกรอง 1 ผืน
6.น้ำด่าง ( หมักจากขี้เถ่า 5คืน ) 10 ลิตร 7. เกลือแกง  1 กิโลกรัม 8. N70  1 กิโลกรัม

วิธีการทำ - กวน N70 จากใสๆ ให้กลายเป็นสีขาวขุ่น - เติมน้ำเกลือและกวนให้เข้ากัน -เติมน้ำด่างและกวนให้เข้ากันจนกว่านืดและข้นทิ้งไว้ 1 คืนเพื่อให้ฟองหมดแล้วบรรจุใส่ถังหรือขวดที่เตรียมไว้


    การทำแชมพูมะกรูด

การทำแชมพูมะกรูด 100% ไร้สารพิษ มะกรูด เป็นสมุนไพรพื้นบ้านมีสรรพคุณลด อาการคัน รังแค ผมแห้ง ทำให้ผมดกดำเป็นเงางาม สามารถใช้สระล้างสารพิษจากการย้อม ยืด และโกรกผม ให้หลุดออกไป แชมพูมะกรูด 100% ตามแนวเศรษฐกิจ พอเพียง มีวิธีการผลิตที่ง่ายและรวดเร็ว สามารถทำใช้ ได้เองในครัวเรือน ส่วนผสม มะกรูดแก่จัดตามจำนวนที่ต้องการ วิธีทำ 1. นำมะกรูดไปย่างไฟให้พอเหลือง ผ่าควักเอาเมล็ดออก หั่นเป็นชิ้น ขนาดพอเหมาะ 2. เติมน้ำพอท่วม แล้วปั่นให้ละเอียด 3. กรองเอาเฉพาะน้ำโดยใช้ผ้าขาวบาง จากนั้นนำมาตั้งไฟให้พออุ่น เพื่อฆ่าเชื้อ แล้วกรอกใส่ขวดขณะยังอุ่นอยู่

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • การระดมความเห็นเรื่องอาชีพเสริมในชุมชน
  • ความสำคัญของการทำบัญชีรับจ่ายและการหารายได้เสริมให้สอดคล้องกับบริบทของชุมชน
  • ฝึกอบรมการทำน้ำยาล้างจาน

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ระดมความเห็นเรื่องอาชีพเสริมในชุมชน และลดรายจ่ายคนในชุมชน
  • ความสำคัญของการทำบัญชีรับจ่ายและการหารายได้เสริมให้สอดคล้องกับบริบทของชุมชนไทดำ
  • ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ น้ำยาเอนกประสงค์

 

50 40

21. จัดทำแผนกู้ภัยชุมชน

วันที่ 10 กันยายน 2556 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อให้ชุมชนมีความพร้อมในการเตรียมตัวรับมือภัยพิบัติ
  • เพื่อให้ชุมชนได้รับทราบข้อมูล และมีส่วนร่วมในการวางแผนในการจัดการยามเกิดภัยพิบัติ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • จากการประชุมสรุปเนื้อหาจากการประชุมไว้ดังนี้ แผนการกู้ภัยเฉาะหน้า
  1. จากการจัดประชุมเพื่อจัดทำแผนกู้ภัยชุมชนทำให้ได้ทราบข้อมูลของชุมชนด้านการช่วยเหลือตามเนื้อหาดังนี้
  • เส้นทางการอพยพในหมู่ที่ 2  ตำบลกรูด  อำเภอพุนพิน  จังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้แก่  โรงเรียนบ้านทับชันฯหรือศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงทับชันสามัคคี  วัดประชาวงศาราม
  • บ้านเรือนที่ต้องการรับการช่วยเหลือเร่งด่วนคือ นางลอย  ทองบ่อ , นางเรียม  พึ่งยาง นางปิ่น  สระทองแพ, นายนพวัลย์  ดอนไพรวัลย์, นายเหลา  แก้วแหวน ,นางสาวรัตนพร  บุญสวัสดิ์,นายไหมทอง  กำมณี, นายชัยยันต์  แร่อ่อน  ซึ่งเป็นบ้านเรือนที่มีระดับน้ำที่ความสูง 4- 5 เมตร
  • เส้นทางการอพยพในหมู่ที่  7  ตำบลท่าข้าม อำเภอพุนพิน  จังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้แก่  โรงเรียนบ้านไทรงาม  ถนนสายเอเชีย 41
  • บ้านเรือนที่ต้องการรับการช่วยเหลือเร่งด่วนคือ นายมานะ  อินทแพทย์ นายบวรนันท์  อินทแพทย์  นายเดี่ยว  บัวแก้ว นายแดง  เพชรติ่ง นายสายนต์  ถ้อยทัด  ซึ่งเป็นบ้านเรือนที่มีระดับน้ำที่ความสูง 4- 5 เมตร
  • เส้นทางการอพยพในหมู่ที่  4  ตำบลท่าสะท้อน อำเภอพุนพิน  จังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้แก่  โรงเรียนบ้านไทรงาม  ถนนสายเอเชีย 41
  • บ้านเรือนที่ต้องการรับการช่วยเหลือเร่งด่วนคือ นายใย  พุ่มมาลี  นายไมตรี  เพชรติ่ง  นางจันทร์จิรา  เพชรติ่ง นางไลย  สระทองฮะ  สมศักดิ์  สระทองบุญ  นายสมศักดิ์  มีจั่นเพชร

  • ได้แผนระยะยาวในกู้ภัยของชุมชน             - การจัดกระบวนการให้ผู้สูงอายุและคนในชุมชนเพื่อเพื่อเตรียมพร้อมรับมือภัยพิบัติ เดือนละ 1 ครั้ง

    • การปรับแก้แผนผังภูมิทัศน์และโครงสร้างพื้นฐานเชิงนโยบาย เช่น เส้นทางการระบายน้ำของชุมชน
    • การเผยแพร่ข้อมูลชุมชนผ่านแผนที่ GIS กับเครือข่ายในเขตภัยพิบัติ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ประชุมจัดทำแผนกู้ภัยชุมชนไทดำแบบมีส่วนร่วมของคนในชุมชน

กิจกรรมที่ทำจริง

  • การจัดการประชุมจัดทำแผนกู้ภัยของชุมชนในครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน  40 คน ซึ่งเป็นตัวแทนจากชุมชนและเพื่อนเครือข่ายที่ให้การสนับสนุนการจัดการภัยพิบัติโดยชุมชน

 

40 40

22. ประชุมคณะทำงาน

วันที่ 13 กันยายน 2556 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อชี้แจ้งและทำความเข้าใจกับคณะทำงาน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ชุมชนได้นำเสนอข้อมูลกิจกรรมที่ได้ร่วมดำเนินการแก่ผู้ร่วมประชุมเพื่อสร้างความเข้าใจ
  • ชุมชนได้มีศูนย์กู้ภัยชุมชนที่สามารถใช้ประโยชน์ได้จริงทั้งด้านข้อมูลและอุปกรณ์การช่วยเหลือ รวมทั้งจัดตั้งกองทุนภัยพิบัติโดยชุมเพื่อชุมชน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ประชุมคณะทำงานเพื่อชีแจงและทำความเข้าใจการทำงานที่ผ่านมา

กิจกรรมที่ทำจริง

  • จัดเวทีประชุมแลกเปลี่ยนการจัดการกองทุนว่ามีผลดีกับชุมชนอย่างไร และช่วยกันเสนอแนวทางจัดตั้งกองทุนที่ยั่งยืน
  • รับฟังความคิดเห็น เสนอสภาพปัญหาความจำเป็นของชุมชนต่อภาคีหน่วยงานเพื่อร่วมสนับสนุนกิจกรรมชุมชน

 

30 0

23. จัดตั้งศูนย์กู้ภัยชุมชนและจัดกิจกรรมระดมทุน

วันที่ 16 กันยายน 2556 เวลา 10:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  1. เกิดศูนย์กู้ภัยชุมชนทีมีความพร้อมรับมือภัยพิบัติในภูมินิเวศน์ไทดำ 2 จุด
  2. เกิดความเข้าใจและเห็นความสำคัญของการจัดตั้งศูนย์และเกิดกองทุนการจัดการภัยพิบัติระดับชุมชนโดยมีส่วนร่วมกับภาคีท้องถิ่นภายนอกชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. เกิดความตระหนักภายในชุมชนในเรื่องภัยพิบัติ แม้เหตูการจะเว้นว่าง
  2. เกิดกระบวนการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • จัดกิจกรรมเพื่อประชาสัมพันธ์และนำเสนอข้อมูลกิจกรรมที่ชุมชนร่วมกันดำเนินการที่ผ่านมารวมทั้งเน้นย้ำทำความเข้าใจเป้าหมายและหลักฐานจัดตั้งศูนย์กู้ภัยชุมชนที่เกิดประโยชน์ตลอดเวลาแม้ยังไม่เกิดภัย

กิจกรรมที่ทำจริง

  • มีการจัดกิจกรรมดำเนินการจัดตั้งศูนย์ที่มีประสิทธิภาพสายพิบัมารถรับมือภัยพิบัติ 2 โซน ที่มีเตียงสำหรับผู้ประสบภัยและมีเครื่องมือเครืองใช้ เช่น เรือสำหรับอพยพประชาชนและสิ่งของเครื่องใช้โดยได้ระบบความร่วมมือและสนับสนุนจากสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์กรมหาชน) การไฟฟ้าฝ่ายผลิต โรงไฟฟ้าเขาหัวควาย อบต.ท่าข้ามและผูใหญ่บ้าน

 

150 0

24. ร่วมงาน "คนใต้สร้างสุข"

วันที่ 28 กันยายน 2556 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำงานโครงการร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่
  • เพื่อแสดงผลงานการดำเนินงานโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • สามารถนำแนวทางการทำงาน ประสบการณ์การทำงานในลักษณะเดียวกันจากพื้นที่อื่นๆ ในภาคใต้มาปรับใช้ในการทำงานด้านพัฒนาชุมชน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ชมนิทรรศการ
  • แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การทำงานชุมชน

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ชมนิทรรศการผลการดำเนินงานโครงการอื่นๆ
  • พูดคุย สอบถาม แลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงานโครงการร่วมสรา้งชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ภาคใต้

 

2 2

25. จัดทำรายงานสรุปปิดโครงการ

วันที่ 30 กันยายน 2556 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อจัดทำรายงานโครงการ รายงานฉบับสมบูรณ์ (ส.3)
  • เพื่อตรวจสอบรายงานการเงิน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • รายงานการเงินเสร็จสมบูรณ์
  • รายงานผลการเำเนินงานโครงการ รายงานปิดโครงการยังไม่สมบูรณ์ เนื่องจากยังบันทึกกิจกรรมของโครงการไม่เรียบร้อย จึงยังไม่สามารถจัดทำรายงาน ส.3 ได้

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • บันทึกกิจกรรมโครงการ
  • จัดทำรายงานปิดโครงการ ส.3
  • จัดทำรายงานการเงิน

กิจกรรมที่ทำจริง

  • บันทึกการทำกิจกรรมในพื้นที่
  • ตรวจสอบเอกสารการเงิน รายงานการเงิน

 

2 3

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น

ส่วนที่ 2 ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการและปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินโครงการ

ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ

การดำเนินงานเมื่อเทียบกับการดำเนินงานทั้งโครงการทั้งหมดทำแล้ว10%20%30%40%50%60%70%80%90%100%
การทำกิจกรรม 42 41                  
การใช้จ่ายงบประมาณ 191,600.00 206,165.00                    
คุณภาพกิจกรรม 164 122                  

ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ)

ประเด็นปัญหา/อุปสรรคสาเหตุเพราะแนวทางการแก้ไขของผู้รับทุน

 

 

 

แผนงาน/กิจกรรม ที่จะดำเนินการในงวดต่อไป

(................................)
นายจันทรัตน์ รู้พันธ์
ผู้รับผิดชอบโครงการ