แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


“ ชุมชนสุขภาพดีวิถีชีวิตบ้านสมควร ”

หมู่ที่1บ้านสมควร ต.ควนหนองคว้า อ.จุฬาภรณ์ จ.นครศรีธรรมราช

หัวหน้าโครงการ
นางสาวยุพา ช่วยศรีนวล

ชื่อโครงการ ชุมชนสุขภาพดีวิถีชีวิตบ้านสมควร

ที่อยู่ หมู่ที่1บ้านสมควร ต.ควนหนองคว้า อ.จุฬาภรณ์ จ.นครศรีธรรมราช จังหวัด นครศรีธรรมราช

รหัสโครงการ 55-01782 เลขที่ข้อตกลง 55-00-1050

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2555 ถึง 31 ตุลาคม 2556


กิตติกรรมประกาศ

"ชุมชนสุขภาพดีวิถีชีวิตบ้านสมควร จังหวัดนครศรีธรรมราช" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน หมู่ที่1บ้านสมควร ต.ควนหนองคว้า อ.จุฬาภรณ์ จ.นครศรีธรรมราช

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
ชุมชนสุขภาพดีวิถีชีวิตบ้านสมควร



บทคัดย่อ

โครงการ " ชุมชนสุขภาพดีวิถีชีวิตบ้านสมควร " ดำเนินการในพื้นที่ หมู่ที่1บ้านสมควร ต.ควนหนองคว้า อ.จุฬาภรณ์ จ.นครศรีธรรมราช รหัสโครงการ 55-01782 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 ตุลาคม 2555 - 31 ตุลาคม 2556 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 160,800.00 บาท จาก เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

 

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อลดการใช้สารเคมีในชุมชน

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

     


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. ประชุมวางแผนเตรียมการปฎิบัติงาน

    วันที่ 19 ตุลาคม 2555 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ตัวแทนแกนนำประชุมร่วมกันทั้ง15คน โดยมีประธานโครงการนางยุพา ช่วยศรีนวลเป็นผู้ชี้แจงรายละเอียดตามแผนของโครงการ ให้แกนนำทราบ รวมถึงกฏ ระเบียบในการเข้าร่วมโครงการกับสสส. แกนนำซักถามถึงวิธีการที่จะหาคนเข้าร่วมโครงการ แต่ละคนก็ได้เสนอแนวคิดวิธีการว่าต้องทำอะไรบ้าง ผู้ประสานงานของโครงการคือนางสาคร พัฒโน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ตัวแทนรับทราบและเข้าใจการดำเนินงานตามแผนโครงการโดยการทำตามตั้งแต่กิจกรรมแรกไปยังกิจกรรมสุดท้ายเป็นระยะเวลา 1ปีโดยทุก1เดือนจะมีการประชุมแกนนำทั้งร15รคนพร้อมกันเพื่อสามารถแลกเปลี่ยนความคิด ร่วมกัน เพื่อที่จะให้โครงการดำเนินไปด้วยความราบรื่นและทำให้ชุมชนบ้านสมควรมีความน่าอยู่

     

    0 0

    2. ผู้รับผิดชอบโครงการประชุมปฐมนิเทศและแลกเปลี่ยนผู้รับทุนโครงการร่วมสร้างชุมชนและท้องถิ่นให้น่าอยู่

    วันที่ 5 พฤศจิกายน 2555 เวลา 12:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ตัวแทนโครงการชุมชนสุขภาพดีวิถีชวิตบ้านสมควรได้เข้าร่วมประชุมปฐมนิเทศและแลกเปลี่ยนผู้รับทุนโครงการร่วมสร้างชุมชนและท้องถิ่นให้น่าอยู่ ซึ่งทางสจรส.มอ.ได้อธิบายชี้แจงรายละเอียดต่างๆในการดำเนินงานต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ทางสจรส.มอ.ได้ชี้แจงระเบียบ วิธีการดำเนินงานโครงการ ตัวแทนโครงการชุมชนสุขภาพดีวิถีชีวิตบานสมควรทั้ง3คนรับทราบและเข้าใจวิธีการดำเนินโครงการ และสามารถบันทึกผลการปฎิบัติโครงการแบบออนไลน์ในเว็บไซต์คนใต้สร้างสุขได้และรู้วิธีการจ่ายเงินที่ถูกต้องว่าค่าอาหารต้องลงในช่องของค่าใช้สอย การเก็บหลักฐาน ใบเสร็จรับเงิน

     

    0 0

    3. ผู้รับผิดชอบโครงการมาประชุมปฐมนิเทศและแลกเปลี่ยนผู้รับทุนโครงการร่วมสร้างชุมชนและท้องถิ่นให้น่าอยู่

    วันที่ 6 พฤศจิกายน 2555 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ตัวแทนโครงการชุมชนสุขภาพดีวิถีชวิตบ้านสมควรได้เข้าร่วมประชุมปฐมนิเทศและแลกเปลี่ยนผู้รับทุนโครงการร่วมสร้างชุมชนและท้องถิ่นให้น่าอยู่ ซึ่งทางสจรส.มอ.ได้อธิบายชี้แจงรายละเอียดต่างๆในการดำเนินงานต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ทางสจรส.มอ.ได้ชี้แจงระเบียบ วิธีการดำเนินงานโครงการ ตัวแทนโครงการชุมชนสุขภาพดีวิถีชีวิตบานสมควรทั้ง3คนรับทราบและเข้าใจวิธีการดำเนินโครงการ และสามารถบันทึกผลการปฎิบัติโครงการแบบออนไลน์ในเว็บไซต์คนใต้สร้างสุขได้และรู้วิธีการจ่ายเงินที่ถูกต้องว่าค่าอาหารต้องลงในช่องของค่าใช้สอย การเก็บหลักฐาน ใบเสร็จรับเงิน

     

    0 0

    4. ประชุมสมาชิกร่วมงาน ภาคีสนับสนุนหัวหน้าบ้านต้นแบบและตรวจสารเคมีในเลือดของผู้ที่เข้าร่วมโครงการ

    วันที่ 13 พฤศจิกายน 2555 เวลา 10:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ชี้แจงรายละเอียดความเป็นมาของโครงการต่อที่ประชุม ตั้งแต่เริ่มโครงการและกิจกรรมต่อไปที่ผู้สมัครใจทั้ง50ครัวเรือนต้องเข้าร่วม ร่วมคิด ร่วมทำให้ชุมชนบ้านสมควรเป็นชุมชนที่น่าอยู่ และกิจกรรมต่อไปคือการตรวจสารเคมีในเลือดแก่ผู้ที่เข้าร่วมโครงการ เพื่อให้ทุกคนได้ทราบว่าในเลือดของตนเองได้รับสารเคมีอยู่ในระดับใด เพื่อเป็นแรงกระตุ้นในการลดการใช้สารเคมีจากกิจกรรมต่างๆ 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    มีผู้เข้าร่วมรับฟังการชี้แจงรายละเอียดโครงการและเข้ารับการตรวจสารเคมีในเลือดจำนวน70 คน โดยตัวแทนบ้านต้นแบบทั้ง10หลังคาเรือน ตัวแทนผู้เข้าร่วมโครงการ 50 คน ทีมภาคีจากกลุ่มปุ๋ยหมัก กลุ่มอาชีพของบ้านสมควร ในการตรวจสารเคมีในเลือดกลุ่มตัวแทนที่เข้าร่วมโครงการให้ความสำคัญ และสนใจกับกิจกรรมนี้มากเพราะตนเองจะได้รู้ว่าในร่างกายรับสารเคมีเข้าไปอยู่ในระดับใด โดยแบ่งเป็นระดับปกติ ปลอดภัย เสี่ยงสำหรับในการตรวจหาสารเคมีในร่างกายครั้งที่1นี้มีผู้เข้ารับการตรวจจำนวน70รายพบผู้ที่อยู่ในระดับปกติจำนวน15ราย ปลอดภัย22รายเสี่ยงจำนวน33รายเมื่อทุกคนทราบถึงผลการตรวจต่างก็ตกใจว่าจะมีวิธีแก้ยังไง ต้องกินยาไหม ทางเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ก็ได้ชี้แแจงให้ทุกคนรับทราบว่าอยู่ที่การปฎิบัติตนของแต่ละคน ไม่ต้องทานยา

     

    0 0

    5. ประชุมวางแผนการปฎิบัติงานก่อนและหลังทำกิจกรรมประจำเดือนพฤศจิกายน

    วันที่ 16 พฤศจิกายน 2555 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    แกนนำจำนวน 15 คนร่วมกันวางแผนดำเนินกิจกรรมและประชาสัมพันธ์โครงการ แบ่งงานรับผิดชอบ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    แกนนำได้ร่วมประชุม และมีมติที่ประชุม กำหนดสถานที่ในการจัดกิจกรรมและงานรับผิดชอบโดยใช้สถานที่หอประชุมหมู่ที่1บ้านสมควร พร้อมกันเวลา10.00น. ในส่วนของการกล่าวนำโครงการมอบให้เป็นหน้าที่ของกำนันเสนอ รามณี และประธานโครงการนางสาวยุพา ช่วยศรีนวลพร้อมด้วยตัวแทนโครงการรับหน้าที่ชี้แจงกติกาข้อบังคับของกลุ่มในการร่วมเป็นบ้านต้นแบบ ในส่วนของอาหารกลางวันเป็นหน้าที่ของนางบุญภา อินสุวรรณโณ

     

    0 0

    6. จัดเวทีประชาคมสร้างกติกาข้อบังคับของกลุ่มที่เข้าร่วมในการเป็นบ้านต้นแบบ

    วันที่ 20 พฤศจิกายน 2555 เวลา 10:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดเวทีประชาคมสมาชิกที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการมาประชุมพร้อมกันครบทั้ง50หลังคาเรือนและสร้างกติกาข้อบังคับของกลุ่มที่เข้าร่วมในการเป็นบ้านต้นแบบจำนวน9ข้อคือ1.ปลูกผักปลอดสารพิษ5ชนิด2.ทำน้ำหมัก/ปุ๋ยหมักชีวภาพ3.ลดการฉีดหญ้าในสวนยาง สวนปาล์ม นาข้าว4.ลด ละ เลิกบุหรี่5.ทำบัญชีครัวเรือน6.มีป้ายชื่อหน้าบ้าน7.ออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ3วัน8.บริโภคแกงกะทิสัปดาห์ละ2วัน9.ชั่งน้ำหนักวัดรอบเอวทุก3เดือน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ทีประชุมทั้ง50ครัวเรือนที่เข้าร่วมการเป็นบ้านต้นแบบพร้อมด้วยภาคีสนับสนุนเข้าร่วมประชุมพร้อมกันและจัดตั้งกติกาทั้ง9ข้อเป็นข้อบัญญัติชุมชนบ้านสมควร9ประการเพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการนั้นได้ปฎิบัติตรงกัน

     

    0 0

    7. ระดมสมองกำหนดวิธีการลดการฉีดหญ้าในสวนยาง สวนปาล์ม นาข้าว

    วันที่ 6 ธันวาคม 2555 เวลา 10:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ตัวแทนบ้านต้นแบบที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการร่วมกันระชุม แลกเปลี่ยนความคิดจากประสบการณ์การทำงานของแต่ละบุคคลเพื่อหาข้อตกลงร่วมกันในการลดการฉีดหญ้าในสวนยาง สวนปาล์ม นาข้าวของกลุ่มเอง โดยมีภาคีร่วมทั้งกำนัน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข เป็นวิทยากรและเข้าร่วมเสนอแนวคิดแก่ตัวแทนบ้านต้นแบบ มีผู้เข้าร่วมครบทั้ง70หลังคาเรือน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ตัวแทนบ้านสรุปข้อตกลงที่ได้ระดมความคิดร่วมกันคือ 1.ลดการใช้ยาฉีดหญ้าในสวนยาง และสวนปล์มโดยการตัดหญ้า เพราะสมาชิกบางรายมีการเลี้ยงวัวแล้วตัดหญ้าส่วนนั้นไปเป็นอาหารของวัว และอีกส่วนทำเป็นปุ๋ยธรรมชาติไว้ที่โคนต้นปาล์มต่อไป 2.ลดการฉีดหญ้าในนาข้าวโดยการใช้น้ำปุ๋ยหมักชีวภาพสลับกับการฉีดหญ้าโดยใช้สารเคมี

     

    0 0

    8. ประชุมวางแผนคณะกรรมการดำเนินโครงการประจำเดือนธันวาคม

    วันที่ 18 ธันวาคม 2555 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะกรรมการทั้ง15คนร่วมกันประชุมปรึกษาและเสนอแนะผลจากการดำเนินโครงการที่ผ่านมาว่าชาวบ้านให้ความสนใจดีเข้าร่วมโครงการตามเป้าหมายที่วางไว้พร้อมทั้งแบ่งงานที่จะดำเนินโครงการครั้งต่อไปในวันที่22มกราคม 2556

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะกรรมการร่วมกันเสนอผลจากการดำเนินโครงการระดมสมองลดการฉีดหญ้าในสวนยาง สวนปาล์ม นาข้าวว่าวิธีที่ได้จากมติที่ประชุมเป็นวิธีที่ดำเนินการได้ยากตัวแทนแกนนำทั้ง15คนพร้อมที่จะให้คำแนะนำและปรึกษาแก่ตัวแทนบ้านที่เข้าร่วม

     

    0 0

    9. ประชุมทีมคณะกรรมการก่อนและหลังทำกิจกรรมประจำเดือนมกราคม

    วันที่ 18 มกราคม 2556 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ตัวแทนแกนนำทั้ง15คนร่วมกันพูดคุยแบ่งงานตามความรับผิดชอบว่าใครจะรับผิดชอบเรื่องไหนบ้างในการจัดโครงการครั้งที่3เรื่องการทำบัญชีครัวเรือน โดยประธานโครงการเสนอให้สมาชิกในชุมชนของบ้านสมควรมาเป็นวิทยากรสอนเรื่องการทำบัญชีครัวเรือนคือนางนริศรา สมัยแก้ว ทุกคนเห็นด้วย โดยหน้าที่ที่ต้องแบ่งกันรับผิดชอบคือ1.หน้าที่ประสานวิทยากร2.หน้าที่จัดทำสมุดบัญชีครัวเรือน3.หน้าที่ประสานเรื่องอาหารกลางวัน แต่ละคนก็ได้เสนอว่าใครเหมาะสมที่จะต้องรับผิดชอบหน้าที่ใด ซึ่งกิจกรรมที่จะจัดขึ้นตรงกับวันที่22 มกราคม 2556 ณ ห้องประชุมรพ.สต.บ้านสมควร เวลา10.00น.

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ตัวแทนแกนนำทั้ง15คนรับทราบหน้าที่ที่ต้องปฎิบัติของแต่ละคนในการจัดโครงการครั้งต่อไป แกนนำชุมชนทั้ง15คนได้ร่วมกันพูดคุย เสนอแนะวิธีการที่จะทำให้ตัวแทนที่เข้าร่วมบ้านต้นแบบได้เข้าใจวิธีการลงบัญชีครัวเรือนคือต้องให้ตัวแทนฝึกปฎิบัติหัดเขียนเองลงในบัญชีครัวเรือน ซึ่งตัวแทนที่ประชุมก็เห็นด้วย สำหรับในการแบ่งงานว่าใครรับผิดชอบเรื่องใดบ้างในวันที่22มกราคม 2556โดย1.ประสานงานวิทยากรในพื้นที่ให้นางระนอง รามณีรับผิดชอบ2.จัดทำรูปเล่มบัญชีครัวเรือนให้นางสาวสาวิตรี ศรีสุวรรณ 3.ประสานเรื่องอาหารกลางวันให้นางจำเป็น จัตตุพงศ์เป็นผู้รับผิดชอบ จัดกิจกรรม ณ ห้องประชุมรพสต.บ้านสมควร ซึ่งแกนนำทั้ง15คนก็รับทราบเข้าใจตรงกัน

     

    0 0

    10. สจรส.มอ.ติดตามการดำเนินงานโครงการ

    วันที่ 20 มกราคม 2556 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ตัวแทนโครงการทั้ง3คนเข้าร่วมประชุมการติดตามการดำเนินงานของสจรส.มอ.ที่ได้มาชี้แจงรายละเอียดการดำเนินโครงการ ทั้้งการจัดเก็บเอกสารการเงิน การลงบันทึกข้อมูลลงในเว็บไซด์เพื่อให้ข้อมูลมีความสอดคล้องกับโครงการและมีความถูกต้องพร้อมที่จะส่งรายงานงวดที่1ให้กับสสส.

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ตัวแทนแกนนำของโครงการจำนวน3คนได้เข้าร่วมรับฟังการชี้แจงรายละเอียดการดำเนินโครงการจากทีมสจรส.มอ.ในเรื่องงานเอกสาร หลักฐานการเงินในการใช้จ่ายให้ตรงกับรายละเอียดตามแผนของโครงการ ให้มีความเรียบร้อย ถูกต้องเพื่อความสะดวกของผู้รับผิดชอบโครงการ และได้รับความรู้ในการเขียนรายงานส1ส2และง1เพื่อเตรียมเอกสารที่จะส่งรายงานงวดแรกของโครงการต่อไป

     

    0 0

    11. แนะนำวิธีทำบัญชีครัวเรือน

    วันที่ 22 มกราคม 2556 เวลา 10:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เรียนรู้วิธีการจัดทำบัญชีครัวเรือนโดยมีผู้ที่เข้าร่วมทั้งหมด70คนประกอบด้วยตัวแทนบ้านต้นแบบทั้ง50ครัวเรือนคณะกรรมการดำเนินงาน15คนตัวแทนภาคี กลุ่มชุมชน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และเชิญวิทยากรซึ่งเป็นสมาชิกในชุมชนบ้านสมควรเป็นผู้ที่มาแนะนำถึงความสำคัญของการทำบัญชีครัวเรือน พร้อมทั้งแนะนำวิธีการลงบันทึกรายรับรายจ่ายของแต่ละครอบครัว 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ตัวแทนครัวเรือนทั้ง50ครัวเรือนพร้อมทั้งตัวแทนคณะกรรมการดำเนินงานและกลุ่มภาคีสนับสนุนได้เข้าร่วมรับฟังถึงความสำคัญของการทำบัญชีครัวเรือนว่าทำให้ตนเองและคนในครอบครัวได้ทราบถึงรายรับรายจ่ายในการจ่ายเงินในแต่ละวันแต่ละเดือนของครอบครัว และสามารถนำข้อมูลการใช้จ่ายมาปรับ เปลี่ยนการดำเนินชีวิตประจำวันของครอบครัวได้ สมาชิกได้ให้ความสนใจดี สำหรับรูปแบบของสมุดบัญชีครัวเรือนทางกลุ่มได้ออกแบบกันเองเพื่อความสะดวกในการลงรายรับ รายจ่าย

     

    0 0

    12. สาธิตการทำน้ำหมักและปุ๋ยหมัก

    วันที่ 30 มกราคม 2556 เวลา 10:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    สาธิตการทำปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพจากวิทยากรในหมู่บ้านมีตัวแทนบ้านต้นแบบเข้าร่วมทั้ง50ครัวเรือน ตัวแทนกลุ่มอาชีพ และผู้ดำเนินโครงการจำนวน20คนโดยตัวแทนได้นำวัสดุการทำปุ๋ยที่มีในบ้านของตนเองทั้งมูลวัว มูลไก่ แกลบ เศษอาหารมารวมกัน ณ ที่ทำปุ๋ยหมักซึ่งเป็นบ้านของตัวแทนบ้านต้นแบบเอง และร่วมกันช่วยคลุกเคล้าผสมส่วนประกอบต่างๆเข้าทำปุ๋ย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สมาชิกทั้ง70คนเข้าร่วมกิจกรรมการสาธิตการทำปุ๋หมักและน้ำหมักพร้อมกันที่บ้านของตัวแทนบ้านต้นแบบคือบ้านนายไข่ หนูชมและมีวิทยาการในหมู่บ้านซึ่งเป็นผู้ที่มีความชำนาญในการทำปุ๋ย มาแนะนำวิธีการทำปุ๋ยหมักพร้อมทั้งเคล็ดลับในการทำน้ำหมัก ในส่วนของน้ำหมักให้นำส่วนผสมต่างๆใส่ในถุงพลาสติกขนาดใหญ่แล้วผสมด้วยกากน้ำตาลผูกปากถุงให้มิดชิดเป็นวิธีที่สะดวกกว่าการที่จะใส่ในถังเป็นการประหยัดพื้นที่และลดต้นทุนในการทำ สามารถเคลื่อนย้ายถุงน้ำหมักได้สะดวก ตัวแทนในกลุ่มรับทราบร่วมกันพร้อมที่จะนำไปทำต่อที่บ้านและทางตัวแทนโครงการก็ได้จัดหาเมล็ดพันธุ์ผัก กากน้ำตาลให้แก่ตัวแทนบ้านต้นแบบนำไปทำต่อที่บ้าน

     

    0 0

    13. ตัวแทนบ้านต้นแบบร่วมกันพลิกกลับปุ๋ยหมัก

    วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ตัวแทนบ้านต้นแบบแบ่งกลุ่มมาศึกษาวิธีการทำปุ๋ยหมักโดยแบ่งเป็น2กลุ่มสลับกันมาพลิกกลับปุ๋ยหมัก วันนี้มีตัวแทนบ้านต้นแบบเข้าร่วม30คน โดยสมาชิกช่วยกันนำอุปกรณ์เช่นจอบ คลาดมาช่วยกันพลิกกลับปุ๋ย โดยวิทยากรของหมู่บ้านนายวิชุณ เป็นผู้ที่คอยแนะนำวิธีทำปุ๋ยหมักให้สมาชิกได้รับทราบ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    การพลิกกลับปุ๋ยหมักทุก7วันจะทำให้วัสดุที่นำมาทำปุ๋ยมีการแตกตัวละเอียด และมีความคลุกเคล้ากันมากขึ้น โดยตัวแทนบ้านต้นแบบทั้ง30คนร่วมกันพลิก เติมน้ำหมักลงในปุ๋ย ครั้งแรกที่เปิดผ้ายางปิดปุ๋ยพบหนอนบนปุ๋ยหมักเป็นจำนวนมาก วิทยากรในชุมชนบอกสมาชิกว่าเป็นสิ่งที่ดีเพราะปุ๋ยจะเกิดแร่ธาตุ วัสดุที่นำมาทำไม่มีสารเคมีปนเปื้อน และทุกคนรับทราบวิธีการกลับปุ๋ยและนัดมาทำต่ออีก7วัน

     

    0 0

    14. จัดการเรียนรู้ศึกษาบ้านต้นแบบ10หลังคาเรือน

    วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา 10:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ตัวแทนบ้านต้นแบบที่เข้าร่วมโครงการและชาวบ้านหมู่ที่1บ้านสมควรที่มีความสนใจจำนวน121คนได้ไปดูที่บ้านต้นแบบซึ่งทางคณะกรรมของโครงการได้ประสานให้หัวหน้าบ้านทั้ง10หลังคาเรือนประจำอยู่ที่บ้านพร้อมทั้งให้ข้อมูลแก่ผู้ที่เข้าไปเยี่ยมชมบ้านต้นแบบ โดยหมู่ที่1บ้านสมควรแบ่งเป็น2กลุ่มบ้านกลุ่มแรกชาวบ้านละแวกบ้านหนองปรือไปศึกษาบ้านต้นแบบในละแวกบ้านหนองนนท์ ทำให้เห็นความแตกต่างของละแวกบ้านซึ่งอยู่ในชุมชนเดียวกัน ชีวิตความเป็นอยู่การจัดบ้านที่มีความแตกต่างกัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    หลังจากลงไปศึกษาบ้านต้นแบบละแวกบ้านแรกคือคนทางบ้านหนองนนท์ไปดูบ้านต้นแบบของบ้านหนองปรือพบว่า พื้นที่รอบๆบ้านส่วนใหญ่เป็นทุ่งนา ดินจะเป็นดินเหนียวชาวบ้านจะนำดินใส่ถุงปลูกผักปลูกพริกในถุงหรือปล่องปูนแทนการปลูกลงดิน มีการทำน้ำหมักใช้เองในครัวเรือน ในคูหน้าบ้านก็นำเมล็ดผักบุ้งไปหว่าน พบผักบุ้งขึ้นเต็มคูน้ำ บ้านต้นแบบนางสาวจินดา ได้พบมีการปลูกบวบ บนต้นมะพร้าว ทุกคนที่เห็นแปลกใจมากแล้วจะเอาบวบลงมาได้อย่างไร เจ้าของบ้านตอบว่าพืชต้นเล็กต้องพึ่งร่มโพธิ์ร่มไทรของพืชที่มีความมั่นคงกว่า
            ส่วนอีกกลุ่มละแวกบ้านหนองปรือไปศึกษาบ้านต้นแบบของละแวกบ้านหนองนนท์ ซึ่งพื้นที่บ้านหนองนนท์ส่วนใหญ่จะเป็นสวนยางและมีนาบ้าง ดินร่วนดีมีการปลูกผลไม้หลายชนิด เลี้ยงปลา เลี้ยงหมู ทำน้ำหมักใช้ในครัวเรือน บ้านต้นแบบนางเสนมีการเผาถ่านไว้ใช้ในครัวเรือนเองโดยไม่ใช้แก๊ส มีโรงสีข้าวเองในครัวเรือน             ทุกคนที่เข้าไปศึกษาดูบ้านต้นแบบเกิดความประทับใจเป็นอย่างมาก เจ้าของบ้านต้นแบบเองก็มีความยินดี ดีใจที่มีเพื่อนบ้านเข้ามาดู การดำเนินชีวิตของตน

     

    0 0

    15. จัดเวทีเสวนาแลกเปลี่ยนความคิด หลังจากลงไปศึกษาบ้านต้นแบบ

    วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา 10:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมด121คนซึ่งเป็นคณะทำงานและภาคเครือข่าย กลุ่มปุ๋ย ผู้นำชุมชน ครูกศน.ประจำตำบลควนหนองคว้า และตัวแทนบ้านที่มาประชุมประจำเดือนของหมู่บ้านเข้าร่วมรับฟังการบอกเล่า แลกเปลี่ยนประสบการณ์สิ่งที่พบเห็นด้วยตาตนเองมาเล่าให้เพื่อนๆได้ทราบ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    มีตัวแทนบ้านและตัวแทนผู้เข้าร่วมโครงการจำนวน4คนออกมาเล่าถึงสิ่งที่ตนเองพบว่าเห็นลองกองออกลูกเป็นคนบ้าง ปลูกแก้วมังกรบนต้นละมุด ปลูกบวบบนต้นมะพร้าวซึ่งเป็นวิถีการดำเนินชีวิตของแต่ละละแวกบ้านและนำมาเปรียบเที่ยบกับบ้านของตนเอง ทำให้เกิดข้อแตกต่างขึ้น บ้านเพื่อนเค้าทำน้ำหมักช้ในบ้าน ผักงอกเขียวชะอุ่มแต่บ้านเราเองไม่มีอะไร ในขณะที่มีเวลาว่างจากการตัดยางเหมือนกัน ทำให้เกิดข้อแตกต่างขึ้นเป็นแรงบันดาลใจให้ทำตามได้
          ในส่วนของการเล่าประสบการณ์โดยคนแรกจากป้าเสนไชยพลบาลเป็นทั้งโรคความดันและเบาหวานคนที่สองนายหนูเขียน บุญมีซึ่งปวดตามข้อ เมื่อยตามร่างกาย คนที่สามนางสีซ้อน พุมศรีชาย

     

    0 0

    16. ตัวแทนบ้านต้นแบบร่วมกันพลิกกลับปุ๋ยหมักครั้งที่2

    วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ตัวแทนบ้านต้นแบบแบ่งกลุ่มมาศึกษาวิธีการทำปุ๋ยหมักโดยแบ่งเป็น2กลุ่มสลับกันมาพลิกกลับปุ๋ยหมัก วันนี้มีตัวแทนบ้านต้นแบบเข้าร่วม30คน โดยสมาชิกช่วยกันนำอุปกรณ์เช่นจอบ คลาดมาช่วยกันพลิกกลับปุ๋ย โดยวิทยากรของหมู่บ้านนายวิชุณ เป็นผู้ที่คอยแนะนำวิธีทำปุ๋ยหมักให้สมาชิกได้รับทราบ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    การพลิกกลับปุ๋ยหมักทุก7วันครั้งนี้เป็นครั้งที่2จะทำให้วัสดุที่นำมาทำปุ๋ยมีการแตกตัวละเอียด และมีความคลุกเคล้ากันมากขึ้น โดยตัวแทนบ้านต้นแบบทั้ง30คนร่วมกันพลิก เติมน้ำหมักลงในปุ๋ย ครั้งนี้เมื่อเปิดผ้ายางจะไม่เจอตัวหนอนแต่พบว่าบริเวณรอบๆกองปุ๋ยหมักมีความร้อนมากและนัดมาทำต่ออีก7วัน

     

    0 0

    17. พี่เลี้ยงติดตามโครงการ

    วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา 13:00-17.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    มีพี่เลี้ยงอำเภอ ๔ คน (นางอัมพร พูนทอง นายวิรัตน์ สมัยแก้ว นางอาภรณ์ นุถภักดิ์ นางสาวผกามาศ ศิริรอด)  พี่เลี้ยงจังหวัด ๑ คน (นางกำไล สมรักษ์) และตัวแทนโครงการหนึ่งในนั้นคือประธานโครงการที่เป็นผู้เล่าถึงสิ่งที่ได้ทำมาตลอดเวลา5เดือน ได้ร่วมแลกเปลี่ยนการดำเนินงาน โดยอาจารย์พี่เลี้ยงจากจังหวัดสาธิตการถอดบทเรียนพื้นที่ให้พี่เลี้ยงอำเภอร่วมเสนอแนะ หลังจากนั้นได้ข้อมูลมาสังเคราะห์เพื่อค้นหาสิ่งดีดีอย่างต่อเนื่อง เพิ่มเติมเรื่องการติดตามประเมินผลให้ได้ผลงานโดยการเสริมสร้างพลังอำนาจให้กับพื้นที่ให้ทำอย่างมีความสุข 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ทางคณะทำงานโครงการและตัวแทนที่เข้าร่วมโครงการได้จัดกิจกรรมตามแผนของโครงการคือ๑ การจัดเวทีชี้แจงโครงการ ทำน้ำหมัก ทำปุ๋ยหมัก สอนการทำบัญชีครัวเรือน ระดมสมองลดการใช้ยาฉีดหญ้า  และเรียนรู้บ้านต้นแบบ ๒. กิจกรรมขับเคลื่อนต่อ คือ แกนนำ ๑๕ คน ติดตามตามบ้าน ๕๐ บ้าน มีคนฝีปากจัด ๔ คน แล้ว ต้องขับเคลื่อนเพิ่มเติม คาดว่าจะได้มากกว่า ๑๐ คน ๓. ผลลัพธ์ที่ได้   - มีป้ายบ้านจาการมีส่วนร่วมสนับสนุนทุนของเจ้าบ้าน ซึ่งเป็นบ้านต้นแบบ เกิดความภูมิใจของเจ้าบ้านและคนในหมู่บ้าน   - มีเครือข่ายมาสนับสนุนเพิ่มในเวที ได้แก่ เกษตรตำบล หมอดิน อบต. ผู้นำชุมชน สาธารณสุขอำเภอ
    - แกนนำติดตามเยี่ยมตามบ้านแล้วมีการต้อนรับที่ดีมีความรู้ เกิดคุณค่าที่ทำ มีการพึ่งตนเอง การให้เรื่องการพึ่งตนเองเป็นความสุขของคนทำงาน เจ้าของบ้านปลื้มใจ ยินดีต้อนรับ และได้ความรู้ใหม่ ได้แก่ การปลูกบวบบนต้นมะพร้าว ใช้แนวคิดพืชธรรมชาติพึ่งพาซึ่งกันและกัน

     

    0 0

    18. ประชุมคณะกรรมการร่วมโครงการประจำเดือนกุมภาพันธ์

    วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะกรรมการทั้ง15คนร่วมกันประชุมปรึกษาและเสนอแนะผลจากการดำเนินโครงการที่ผ่านมาว่าชาวบ้านให้ความสนใจดีเข้าร่วมโครงการตามเป้าหมายที่วางไว้พร้อมทั้งแบ่งงานที่จะดำเนินโครงการครั้งต่อไปในการพลิกกลับปุ๋ยหมัก

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะกรรมการร่วมกันเสนอผลจากการสาธิตการทำปุ๋ยหมักจากมติที่ประชุมเป็นวิธีที่สามารถไปทำได้ในบ้านของตนเอง และต้องให้เข้าร่วมดูและช่วยกันกลับพลิกปุ๋ยให้ครบตมสูตรเป็นเวลา1เดือน

     

    0 0

    19. ตัวแทนบ้านต้นแบบร่วมกันพลิกปุ๋ยครั้งที่3

    วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ตัวแทนบ้านต้นสลับกันมาพลิกกลับปุ๋ยหมัก วันนี้มีตัวแทนบ้านต้นแบบเข้าร่วม15คน โดยสมาชิกช่วยกันนำอุปกรณ์เช่นจอบ คลาดมาช่วยกันพลิกกลับปุ๋ย โดยวิทยากรของหมู่บ้านนายวิชุณ เป็นผู้ที่คอยแนะนำวิธีทำปุ๋ยหมักให้สมาชิกได้รับทราบ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    การพลิกกลับปุ๋ยหมักทุก7วันจะทำให้วัสดุที่นำมาทำปุ๋ยมีการแตกตัวละเอียด และมีความคลุกเคล้ากันมากขึ้น โดยตัวแทนบ้านต้นแบบทั้ง15คนร่วมกันพลิก เติมน้ำหมักลงในปุ๋ย ครั้งนี้พบว่าปุ๋ยมีความสะเอยดมากขึ้นแต่ยังเปียกชื้น อาจเป็นผลมาจากการที่ฝนตกติดต่อกันหลายวันทำให้ปุ๋ยมีความชื้นมากขึ้นทางกลุ่มนัดมาทำเกลี่ยปุ๋ยอีกครังก่อนที่จะนำไปใสกระสอบและสามารถนำไปใช้ได้เรียกว่าการตากปุ๋ย

     

    0 0

    20. ตัวแทนบ้านต้นแบบร่วมกันพลิกแปรปุ๋ยหมักครั้งที่4

    วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา 10:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ตัวแทนบ้านนัดกันมาเกลี่ยปุ๋ยเป็นครั้งที่4เพื่อที่จะเกลี่ยปุ๋ยอีกครั้งก่อนที่จะนำไปใช้ได้โดยสมาชิกช่วยกันนำอุปกรณ์เช่นจอบ คลาดมาช่วยกันพลิกกลับปุ๋ย โดยวิทยากรของหมู่บ้านนายวิชุณ เป็นผู้ที่คอยแนะนำวิธีทำปุ๋ยหมักให้สมาชิกได้รับทราบ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    การพลิกกลับปุ๋ยหมักครั้งนี้ปุ๋ยมรความละเอียดรแตกตัวดี โดยตัวแทนบ้านต้นแบบร่วมกันพลิกพลิกกลับปุ๋ยโดยจะไม่เติมกากน้ำตาลลงไปแล้วปุ๋ยที่ได้จะมีความร้อนแผ่ออกรอบๆบ่อหมัก แต่จะไม่ค่อยส่งกลิ่นเหม็น สามารถตักแบ่งนำไปใช้ใส่ผักได้

     

    0 0

    21. ติดตามโครงการ

    วันที่ 6 มีนาคม 2556

    กิจกรรมที่ทำ

    มีพี่เลี้ยง 2 คน (นางกำไล สมรักษ์ นายวิรัตน์ สมัยแก้ว) และสมาชิกของโครงการของพื้นที่ติดตามผลงานจากกิจกรรมที่ดำเนินการไปของโครงการซึ่งเป็นวันเดียวกับที่ทางกลุ่มได้นัดกันตักแบ่งปุ๋ยหมักเพื่อนำไปใช้ในครัวเรือน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ทางพี่เลี้ยงจากจังหวัดและพี่เลี้ยงในพื้นที่ได้เห็นการดำเนินกิจกรรมตามโครงการ ทำปุ๋ยหมัก และปลูกผักภายในบริเวณบ้าน พบผักที่หายากซึ่งตัวแทนบ้านต้นแบบคือบ้านนายไข่ หนูชมได้ปลูกไว้เก็บไว้ให้รุ่นลูกรุ่นหลานได้ดู เกิดการแลกเปลี่ยนตามบ้านซึ่งกันและกัน มีการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน มีการพูดคุยเล่าเรื่องการปลูกผักกันระหว่างบ้านต้นแบบและบ้านที่เริ่มเข้าโครงการ ได้ความรู้มาแลกเปลี่ยนกัน

     

    0 0

    22. คืนเงินสำรองจ่ายค่าเปิดบัญชีธนาคารไทยพานิชย์

    วันที่ 14 มีนาคม 2556 เวลา 12:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คืนเงินสำรองจ่ายค่าเปิดบัญชีธนาคารไทยพานิชย์ จำนวน 500 บาท

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คืนเงินสำรองจ่ายค่าเปิดบัญชีธนาคารไทยพานิชย์ 500 บาท

     

    0 0

    23. กรรมการเดินตรวจสอบให้คะแนนบ้านที่เข้าร่วมโครงการจำนวน50หลังคาเรือนครั้งที่1

    วันที่ 15 มีนาคม 2556 เวลา 10:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    กรรมการทั้ง10คนรับผิดชอบคนละ5หลังคาเรือนในการเดินตรวจให้คะแนนบ้านที่ตนเองรับผิดชอบว่าดำเนินการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การปฎิบัติตามข้อบัญญัติชุมชนบ้านสมควร9ประการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จากการเดินตรวจสอบบ้านที่เข้าร่วมโครงการทั้ง50หลังคาเรือนพบว่า ข้อปฎบัติมีทั้งหมด9ข้อ แต่ละครัวเรือนมีการดำเนินการไม่ครบทุกครัวเรือน แต่มีการปลูกผักรอบบริเวณบ้านมากขึ้น ส่วนการทำปุ๋ยหมักและน้ำหมักมีเพียง15หลังคาเรือน

     

    0 0

    24. ประชุมคณะกรรมการร่วมโครงการประจำเดือนมีนาคม

    วันที่ 16 มีนาคม 2556 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะกรรมการทั้ง15คนร่วมกันประชุมปรึกษาและเสนอแนะผลจากการดำเนินโครงการที่ผ่านมาว่าชาวบ้านให้ความสนใจระดับในการปฎิบัติตามกติกาข้อบังคับทั้ง9ข้อ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ครัวเรือนทั้ง50ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการปฎิบัติตามกติกาข้อบังคับทั้ง9ข้อของบ้านสมควรโดยจากการเดินตรวจให้คะแนนบ้านต้นแบบที่เข้าร่วมนำมาสรุปผลและหาแนวทางในการตัดสินเกณฑืการให้คะแนนในครั้งที่2ต่อไปเพื่อความเข้าใจตรงกันของกรรมการที่ตรวจและชาวบ้านที่เข้าร่วมโครงการ

     

    0 0

    25. จัดเวทีสรุปผลการตรวจสอบบ้านที่เข้าร่วมโครงการว่าดำเนินการปรับเปลี่ยนบ้านต้นแบบตามข้อบัญญัติชุมชนบ้านสมควรอยู่ในระดับใดครั้งที่1

    วันที่ 1 เมษายน 2556 เวลา 10:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ตัวแทนบ้านต้นแบบ ตัวแทนกลุ่มอาชีพ ผู้นำชุมชน เจ้าหน้าที่สาธารณสุขจำนวน70คนจัดเวทีแลกเปลี่ยนความคิดสรุปผลกาตรวจสอบบ้านที่เข้าร่วมโครงการตามข้อบัญญัติทั้ง9ประการ พร้อมทั้งมีวิทยากรในพื้นที่มาให้ความรู้แลกเปลี่ยนความคิดจากการปฎิบัติตามข้อบัญญัติ เสนอแนวคิด

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จากการเดินตรวจสอบบ้านต้นแบบปรากฎว่าบ้านที่เข้าร่วมทั้ง50หลังมีอยู่15หลังที่ปฎิบัติได้ทั้ง9ข้อที่เหลือขาดไปบ้างบ้านละ1ข้อ2ข้อส่วนใหญ่จะติดที่ตรงการทำปุ๋ยหมัก/น้ำหมักทางวิทยาได้แนะนำว่าถ้าทำปุ๋ยหมักบางทียุ่งยากเกินไปก็ทำน้ำหมักจากเศษอาหารเหลือใช้ในบ้านมาหมักในถังสีที่มีฝาปิดเก็บไว้ข้างบ้านเวลาใช้ก็สะดวกกว่า

     

    0 0

    26. จัดเวทีให้ความรู้ในเรื่องผลที่เกิดจากการใช้สารเคมีและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมครั้งที่1

    วันที่ 10 เมษายน 2556 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดอบรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการใช้สารเคมีและการปรับเปล่ยนพฤติกรรมจากวิทยากรทั้งสองคนมีผู้เข้าร่วมโครงการ70คน ประกอบไปด้วยกลุ่มอาชีพ หมอดิน กำนันต.ควนหนองคว้าตัวแทนบ้านต้นแบบณ ห้องประชุมรพ.สต.บ้านสมควร

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สมาชิกโครงการและตัวแทนกลุ่มอาชีพ กำนันต.ควนหนองคว้าเข้าร่วมรับฟังแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในช่วงเช้าจากนายอนุภาส เพ็งจันทร์ซึ่งเป็นหมอดินของตำบลควนหนองคว้ามาพูดคุยเรื่องการใช้สารเคมี และมีการแนะนำความรู้ในเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดหวานมันเค็มจากนายวิชัย พูนทองในการดูแลสุขภาพ ตัวแทนบ้านต้นแบบร่วมแลกเปลี่ยนความคิด

     

    0 0

    27. จัดเวทีให้ความรู้ในเรื่องผลที่เกิดจากการใช้สารเคมีและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมครั้งที่2

    วันที่ 11 เมษายน 2556 เวลา 10:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แสดงความคิดเห็นเรื่องการใช้สารเคมีและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยมีวิทยากรทั้งสองคนเข้าร่วมรับฟังและพร้อมเสนอข้อแนะนำมีผู้เข้าร่วมโครงการ70คน ประกอบไปด้วยกลุ่มอาชีพ หมอดิน กำนันต.ควนหนองคว้าตัวแทนบ้านต้นแบบณ ห้องประชุมรพ.สต.บ้านสมควร

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สมาชิกโครงการและตัวแทนกลุ่มอาชีพ กำนันต.ควนหนองคว้าเข้าร่วมรับฟังแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในช่วงเช้าจากนายอนุภาส เพ็งจันทร์ซึ่งเป็นหมอดินของตำบลควนหนองคว้ามาพูดคุยเรื่องการใช้สารเคมี และมีการแนะนำความรู้ในเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดหวานมันเค็มจากนายวิชัย พูนทองในการดูแลสุขภาพ ตัวแทนบ้านต้นแบบร่วมแลกเปลี่ยนความคิด

     

    0 0

    28. ประชุมคณะกรรมการร่วมโครงการประจำเดือนเมษายน

    วันที่ 24 เมษายน 2556 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะกรรมการทั้ง15คนร่วมกันประชุมปรึกษาและเสนอแนะผลจากการดำเนินโครงการที่ผ่านมาว่าชาวบ้านให้ความสนใจดีแต่บ้านที่ดำเนินการหรือปฎิบัติตามข้อบัญญัติได้ทั้ง9ประการมีไม่ถึงครึ่งของบ้านที่เข้าร่วม และตัวแทนกรรมการก็ได้พูดคุยถึงการที่จะออกตรวจบ้านครั้งที่2ในเดือนพฤษภาคม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ประธานโครงการนางสาวยุพาได้เสนอผลจากการดำเนินการตรวจสอบบ้านว่าบ้านต้นแบบที่เข้าร่วมโครงการปฎิบัติตามข้อบัญญัติได้ไม่ถึงครึ่ง นางสาครพัฒโนก็เสนอว่าเรากรรมการควรให้คำแนะนำหรือตอบข้อสสัยที่ทำไมบ้านต้นแบบปฎิบัติไม่ได้ เกิดจากสาเหตุใด และสามารถหาข้อสรุปนี้เพื่อนำไปปรับปรุงในการเดินสำรวจครั้งที่2ในเดือนพฤษภาคม นางจำเป็นบอกว่าเราต่างก็ต้องไปถามบ้านต้นแบบที่เรารับผิดชอบว่าเพราะสาเหตุใดที่ปฎิบัติตามข้อบัญญัติไม่ได้แล้วค่อยนำเหตุผลนั้นมารวบรวมกันอีกครั้ง ตัวแทนสมาชิกที่เหลือก็เห็นด้วย

     

    0 0

    29. แลกเปลียนเรียนรู้และถอดบทเรียนผลการดำเนินโครงการร่วมกับสจรส.มอ.

    วันที่ 13 พฤษภาคม 2556 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเสนอโครงการใหม่เพื่อของบประมาณในปี 2557 และตอบคำถามตามแบบประเมินคุณค่าของโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ที่ประชุมมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการทำงานของแต่ละโครงการ โดยเฉพาะโครงการใหม่ที่เสนอมามาหลายโครงการที่เสนอมา ในส่วน อ.จุฬาภรณ์ มี 1โครงการที่ต้องการต่อยอดคือ โครงการ ม.3 ต.สามตำบล และคณะทำงานร่วมวิเราะห์โดยการตอบคำถามตามแบบประเมินคุณค่าที่เกิดจากการดำเนินโครงการ

     

    0 0

    30. กรรมการเดินตรวจสอบให้คะแนนบ้านที่เข้าร่วมโครงการจำนวน50หลังคาเรือนครั้งที่2

    วันที่ 15 พฤษภาคม 2556 เวลา 10:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ตัวแทนบ้านต้นแบบ ตัวแทนกลุ่มอาชีพ ผู้นำชุมชน เจ้าหน้าที่สาธารณสุขจำนวน70คนจัดเวทีแลกเปลี่ยนความคิดสรุปผลกาตรวจสอบบ้านที่เข้าร่วมโครงการตามข้อบัญญัติทั้ง9ประการ พร้อมทั้งมีวิทยากรในพื้นที่มาให้ความรู้แลกเปลี่ยนความคิดจากการปฎิบัติตามข้อบัญญัติ เสนอแนวคิด

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จากการเดินตรวจสอบบ้านต้นแบบปรากฎว่าบ้านที่เข้าร่วมทั้ง50หลังมีอยู่25หลังที่ปฎิบัติได้ทั้ง9ข้อซึ่งเพิ่มขึ้นจากเดิม10หลังที่เหลือขาดไปบ้างบ้านละ1ข้อ2ข้อส่วนใหญ่จะติดที่ตรงการลดละเลิกบุหรี่ของสมาชิกในครัวเรือนและการทำบัญชีครัวเรือน

     

    0 0

    31. ประชุมวางแผนคณะกรรมการดำเนินโครงการประจำเดือนพฤษภาคม

    วันที่ 16 พฤษภาคม 2556

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะกรรมการทั้ง15คนร่วมกันประชุมปรึกษาและเสนอแนะผลจากการเดินตรวจสอบบ้านต้นแบบของแต่ละคนว่าเป็นอย่างไรบ้างโดยแต่ละคนก็สรุปในส่วนรับผิดชอบของตนเองและนำข้อมูลที่ได้มารวมกันปรากฎว่าบ้านต้นแบบที่ปฎิบัติได้ตามทั้งหมด9ข้อมีเพียง25หลังถือว่าได้50%ของบ้านที่เข้าร่วมทั้งหมด

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จากการประชุมเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านทางตัวแทนได้เสนอว่าให้แต่ละคนไปหาเหตุผลว่าทำไมบ้านที่เข้าร่วมโครงการไม่สามารถปฎิบัติได้ตามข้อบัญญัติทั้ง9ข้อกรรมการคนแรกบอกว่าบ้านต้นแบบบอกมาว่าการทำปุ๋ยหมักเป็นเรื่องที่ทำได้ยากต้องใช้วัสดุหลายอย่าง บ้างก็บอกว่ายายแก่แล้วเขียนบัญชีครัวเรือนไม่เห็นซึ่งเหตุผลเหล่านี้นำพามาสู่ว่าทำไมบ้านต้นแบบปฎิบัติได้ไม่ครบทั้ง9ข้อ ตัวแทนกรรมการอีกคนเสนอว่าถ้าอย่างนั้นในวันที่เรานัดประชุมสรุปผลค่อยเสนอแนะแนวทางให้บ้านต้นแบบทราบอีกครั้งเพื่อจะได้แก้ไขปัญหาในส่วนนี้

     

    0 0

    32. ตรวจสารเคมีในเลือดครั้งที่2

    วันที่ 18 พฤษภาคม 2556 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    สมาชิกโครงการและภาคีสนับสนุนจำนวน70คนเข้าร่วมกันตรวจสารเคมีในเลือดโดยกรรมการโครงการได้ขอความร่วมมือจากทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควนมุดเพื่อมาสนับสนุนการตรวจสารเคมีในครั้งนี้ถือเป็นครั้งที่2เพื่อให้สมาชิกที่เข้าร่วมโครงการได้ทราบถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากครั้งที่1

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จากการมีความเห็นตรงกันของกรรมการโครงการและสมาชิกโครงการที่มีความเห็นตรงกันว่าควรตรวจสารเคมีซ้ำอีกครั้งหลังจากการดำเนินปรับเปลี่ยนพฤติกกรมจากข้อบัญญัติจัดการสุขภาพบ้านสมควรทั้ง9ประการ ทางคณะกรรมจึงประสานเรื่องไปยังโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควนมุดมาช่วยตรจสารเคมีในเลือดให้แก่สมาชิกโครงการ ผลการตรวจจะแบ่งระดับความปลอดภัยออกเป็น1.ระดับปลอดภัย 2.ระดับปกติ3.ระดับมีความเสี่ยง4.ระดับไม่ปลอดภัย โดยในวันนี้มีผู้ที่เข้ารับการตรวจครบทั้ง70คนแบ่งผลการตรวจออกเป็นดังนี้ 1.ระดับปลอดภัยจำนวน37ราย 2.ระดับปกติ10ราย 3.ระดับมีความเสี่ยง14 4.ระดับไม่ปลอดภัย9ราย ซึ่งจากผลการตรวจนี้สมาชิกต่างยอมรับและนำข้อบัญญัติบ้านสมควรทั้ง9ประการไปปฎิบัติกันต่อไป

     

    0 0

    33. จัดเวทีสรุปผลการตรวจสอบบ้านที่เข้าร่วมโครงการว่าดำเนินการปรับเปลี่ยนบ้านต้นแบบตามข้อบัญญัติชุมชนบ้านสมควรอยู่ในระดับใดครั้งที่2

    วันที่ 1 มิถุนายน 2556 เวลา 10:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ตัวแทนบ้านต้นแบบ ตัวแทนกลุ่มอาชีพ ผู้นำชุมชน เจ้าหน้าที่สาธารณสุขจำนวน70คนจัดเวทีแลกเปลี่ยนความคิดสรุปผลกาตรวจสอบบ้านที่เข้าร่วมโครงการตามข้อบัญญัติทั้ง9ประการ พร้อมทั้งมีวิทยากรในพื้นที่มาให้ความรู้แลกเปลี่ยนความคิดจากการปฎิบัติตามข้อบัญญัติ เสนอแนวคิดจากการติดตามเยี่ยมบ้านครั้งที่2

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จากการเดินตรวจสอบบ้านต้นแบบปรากฎว่าบ้านที่เข้าร่วมทั้ง50หลังมีอยู่15หลังที่ปฎิบัติได้ทั้ง9ข้อที่เหลือขาดไปบ้างบ้านละ1ข้อ2ข้อส่วนใหญ่จะติดที่ตรงการทำปุ๋ยหมัก/น้ำหมักทางวิทยาได้แนะนำว่าถ้าทำปุ๋ยหมักบางทียุ่งยากเกินไปก็ทำน้ำหมักจากเศษอาหารเหลือใช้ในบ้านมาหมักในถังสีที่มีฝาปิดเก็บไว้ข้างบ้านเวลาใช้ก็สะดวกกว่า

     

    0 0

    34. ประชุมวางแผนคณะกรรมการดำเนินโครงการประจำเดือนมิถุนายน

    วันที่ 16 มิถุนายน 2556 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะกรรมการทั้ง15คนร่วมกันประชุมปรึกษาและเสนอแนะผลจากการเดินตรวจสอบบ้านต้นแบบของแต่ละคนว่าเป็นอย่างไรบ้างโดยแต่ละคนก็สรุปในส่วนรับผิดชอบของตนเองและนำข้อมูลที่ได้มารวมกันปรากฎว่าบ้านต้นแบบที่ปฎิบัติได้ตามทั้งหมด9ข้อมีจำนวน30หลังคาเรือนของบ้านที่เข้าร่วมทั้งหมด

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จากการประชุมเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านทางตัวแทนได้เสนอว่าให้แต่ละคนไปหาเหตุผลว่าทำไมบ้านที่เข้าร่วมโครงการไม่สามารถปฎิบัติได้ตามข้อบัญญัติทั้ง9ข้อกรรมการคนแรกบอกว่าบ้านต้นแบบบอกมาว่าการทำปุ๋ยหมักเป็นเรื่องที่ทำได้ยากต้องใช้วัสดุหลายอย่าง บ้างก็บอกว่ายายแก่แล้วเขียนบัญชีครัวเรือนไม่เห็นซึ่งเหตุผลเหล่านี้นำพามาสู่ว่าทำไมบ้านต้นแบบปฎิบัติได้ไม่ครบทั้ง9ข้อ ตัวแทนกรรมการอีกคนเสนอว่าถ้าอย่างนั้นในวันที่เรานัดประชุมสรุปผลค่อยเสนอแนะแนวทางให้บ้านต้นแบบทราบอีกครั้งเพื่อจะได้แก้ไขปัญหาในส่วนนี้

     

    0 0

    35. กรรมการเดินตรวจสอบให้คะแนนบ้านที่เข้าร่วมโครงการจำนวน50หลังคาเรือนครั้งที่3

    วันที่ 15 กรกฎาคม 2556 เวลา 10:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    การติดตามตรวจสอบให้คะแนนครั้งนี้เป็นครั้งที่3โดยคณะกรรมการจะออกติดตามบ้านที่รับผิดชอบว่าผลการดำเนินตามข้อปฎิบัติตามข้อบัญญัติบ้านสมควร9ประการเป็นอย่างไร เพื่อจะได้นำผลที่ออกมา มาสรุปผล รวมทั้งช่วยกันนำปัญหาที่พบมาแก้ไขต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะกรรมการได้ออกติดตามดูผลการการปฎิบัติตามข้อบัญญัติบ้านสมควรทั้ง9ประการเพื่อจะได้นำผลตรงนั้นมาปรับปรุง สรุป แก้ไข ผลจากการปฎิบัติเพื่อเป็นข้อสรุปว่าครัวเรือนทั้ง50ครัวเรือนมีความพึงพอใจและความคิดเห็นเป็นอย่างไร

     

    0 0

    36. ประชุมคณะกรรมการดำเนินโครงการประจำเดือนกรกฎาคม

    วันที่ 16 กรกฎาคม 2556 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะกรรมการทั้ง15คนร่วมกันประชุมปรึกษาและเสนอแนะผลจากการเดินตรวจสอบบ้านต้นแบบของแต่ละคนว่าเป็นอย่างไรบ้างจากการเดินให้คะแนนบ้านที่ผ่านมา ปรากฎว่าการที่จะปฎิบัติให้ครบทั้ง9ประการนั้นชาวบ้านที่เข้าร่วมบอกว่าเป็นสิ่งที่ดีให้กับครอบครัวของตน การมีสุขภาพดี รู้รายได้ รายรับของครอบครัว จากนั้นนางยุพา ช่วยศรีนวล ประธานโครงการก็ได้หารือกันในเรื่องการนำข้อมูลที่ได้จากการสำรวจมาสรุปผลให้ชาวบ้านฟังว่าผลออกมาเป็นยังไง  นางสาวรัตนาพร บอกว่าในเขตรับผิดชอบของตนชาวบ้านก็เห็นด้วยกับการปฎิบัติทั้ง9ประการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จากการประชุมเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านทางตัวแทนได้เสนอว่าให้แต่ละคนไปหาเหตุผลว่าทำไมบ้านที่เข้าร่วมโครงการไม่สามารถปฎิบัติได้ตามข้อบัญญัติทั้ง9ข้อกรรมการต่างก็เสนอผลจากการเดินไปสำรจบ้านต้นแบบว่าจากการไปเดินมาแล้ว3ครั้งพบว่าการที่จะปฎิบัติให้ได้ครบทั้ง9ประการเป็นสิ่งที่ทำได้ยากแต่ก็มีอีกหลายครัวเรือนที่สามารถทำได้ครบทั้ง9ประการกรรมการคนอื่นๆก็เห็นด้วยกับที่กรรมการกล่าวมา ต่างก็หาทางปรับปรุงแก้ไข หาข้อเสนอแนะให้กับสมาชิกนำไปปฎิบัติเพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ โดยนางจำเป็นก็เสนอว่าเราเอาผลการเดินสำรวจของกรรมการแต่ละคนมารวมกันและแบ่งรายละเอียดว่า บ้านในเขตที่รับผิดชอบปฎิบัติได้ทั้ง9ประการหรือไม่ และให้สมาชิกออกมาแสดงความคิดเห็นว่าแต่ละคนรู้สึกอย่างไร ให้เพื่อนๆที่เข้าร่วมรับฟัง หากมีปัญหาก็จะได้ช่วยกันแก้ไข ที่ประชุมก็เห็นด้วยและพร้อมนำไปชี้แจงต่อในที่ประชุม

     

    0 0

    37. สจรส.มอ.ติดตามการดำเนินงานโครงการงวด2

    วันที่ 21 กรกฎาคม 2556 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ตัวแทนโครงการทั้ง3คนเข้าร่วมประชุมการติดตามการดำเนินงานของสจรส.มอ.ที่ได้มาชี้แจงรายละเอียดการดำเนินโครงการ ทั้้งการจัดเก็บเอกสารการเงิน การลงบันทึกข้อมูลลงในเว็บไซด์เพื่อให้ข้อมูลมีความสอดคล้องกับโครงการและมีความถูกต้องพร้อมที่จะส่งรายงานงวดที่2ให้กับสสส.

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ตัวแทนแกนนำของโครงการจำนวน3คนได้เข้าร่วมรับฟังการชี้แจงรายละเอียดการดำเนินโครงการจากทีมสจรส.มอ.ในเรื่องงานเอกสาร หลักฐานการเงินในการใช้จ่ายให้ตรงกับรายละเอียดตามแผนของโครงการ ให้มีความเรียบร้อย ถูกต้องเพื่อความสะดวกของผู้รับผิดชอบโครงการ และได้รับความรู้ในการเขียนรายงาเพื่อเตรียมเอกสารที่จะส่งรายงานงวดสองของโครงการต่อไป

     

    0 0

    38. จัดเวทีสรุปผลการตรวจสอบบ้านที่เข้าร่วมโครงการว่าดำเนินการปรับเปลี่ยนบ้านต้นแบบตามข้อบัญญัติชุมชนบ้านสมควรอยู่ในระดับใดครั้งที่3

    วันที่ 1 สิงหาคม 2556 เวลา 10:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ตัวแทนบ้านต้นแบบ ตัวแทนกลุ่มอาชีพ ผู้นำชุมชน เจ้าหน้าที่สาธารณสุขจำนวน70คนจัดเวทีแลกเปลี่ยนความคิดสรุปผลกาตรวจสอบบ้านที่เข้าร่วมโครงการตามข้อบัญญัติทั้ง9ประการ พร้อมทั้งมีวิทยากรในพื้นที่มาให้ความรู้แลกเปลี่ยนความคิดจากการปฎิบัติตามข้อบัญญัติ เสนอแนวคิดจากการติดตามเยี่ยมบ้านครั้งที่3

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จากการเดินตรวจสอบบ้านต้นแบบปรากฎว่าบ้านที่เข้าร่วมทั้ง50หลังคาเรือนปฎิบัติตามข้อบัญญัติชุมชนบ้านสมควร9ประการได้ทั้ง9ข้อคิดเป็นร้อยละ82 ทั้งหมด41หลังคาเรือนที่เหลือขาดไปบ้างบ้านละ1ข้อ2ข้อส่วนใหญ่จะติดที่ตรงการทำบัญชีครัวเรือน เพราะสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการจะเป็นวัยผู้สูงอายุอาศัยอยู่กับหหลานจะลงบัญชีในสมุดก็มองไม่เห็น หรือไม่ก็บอกว่าที่บ้านอยู่กันน้อยไม่ต้องลงในบัญชีก็ได้ ทำให้ข้อนี้มีคนทำได้น้อย

     

    0 0

    39. ประชุมคณะกรรมการดำเนินโครงการประจำเดือนสิงหาคม

    วันที่ 14 สิงหาคม 2556 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะกรรมการโครงการทั้ง15คนร่วมกันปรึกษาและวางแผนการจัดกิจกรรมในวันที่15สิงหาคมในการจัดเวทีพัฒนาแกนนำ(จาก50ครัวเรือน)เพื่อเป็นตัวแทนของกลุ่มโดยคัดเลือกจากผลงานดี ฝีปากจัด โดยแบ่งหน้าที่กันรับผิดชอบในเรื่องการจัดสถานที่ อาหาร

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จากการปรึกษาพูดคุย/วางแผนกิจกรรมการจัดเวทีพัฒนาแกนนำเพื่อเป็นตัแทนของกลุ่มโดยคัดเลือกจากผลงานดี ฝีปากจัดเพื่อจะได้บอกต่อให้เพื่อนบ้านได้เข้าร่วมเพิ่มขึ้น โดยประธานโครงการนางยุพา ได้เสนอว่าเกณฑ์ในการคัดเลือกข้อ1มาจากคะแนนทั้ง9ข้อที่ปฎิบัติ ข้อ2ดูจากการแสดงความคิดเห็นในการพูดถึงสิ่งที่ได้รับจากการดำเนินโครงการตลอดระยะเวลา1ปี ข้อ3จากการยอมรับจากที่ประชุม ซึ่งกรรมการคนอื่นๆต่างเห็นด้วยและเห็นว่าเหมาะสมกับการคัดเลือกแกนนำผลงานดีฝีปากจัด ส่วนในเรื่องอาหารมอบคุณจำเป็น รับผิดชอบ เรื่องสถานที่คุณสาคร รับผิดชอบ

     

    0 0

    40. พัฒนาแกนนำ(จาก50ครัวเรือน)เพื่อเป็นตัวแทนของกลุ่มโดยการคัดเลือกจาก(ผลงานดี ฝีปากจัด)

    วันที่ 15 สิงหาคม 2556 เวลา 10:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    สมาชิกโครงการ ตัวแทนบ้านต้นแบบ พร้อมด้วยภาคีเครือข่ายในการสนุนโครงการจำนวน70คนเข้าร่วมกิจกรรมการจัดเทีพัฒนาแกนนำ(จาก50ครัวเรือน)เพื่อเป็นตัวแทนของกลุ่มโดยคัดเลือกจากผลงานดี ฝีปากจัดเพื่อจะได้บอกต่อให้เพื่อนบ้านได้เกิดความสนใจและอยากเข้าร่วมโครงการมากขึ้น ทางกรรมการโครงการได้ชี้แจงหลักเกณฑ์ ในการคัดเลือกว่ามีอะไรบ้างโดยข้อ1มาจากคะแนนทั้ง9ข้อที่ปฎิบัติ ข้อ2ดูจากการแสดงความคิดเห็นในการพูดถึงสิ่งที่ได้รับจากการดำเนินโครงการตลอดระยะเวลา1ปี ข้อ3จากการยอมรับจากที่ประชุม และได้มีตัวแทนสมาชิกโครงการออกมาแสดงแนวคิดของตนเองต่อเวทีจัดกิจกรรม สมาชิกคนใดมีข้อสงสัยเกี่ยวกับตัวแทนที่ออกมาพูด/เล่าเรื่องของตนเองสามารถสอบถามรายละเอียดข้อข้องใจต่างๆได้ ตัวแทนที่ออกมาเล่าก็ต้องตอบคำถามทุกคำถามเท่าที่ตนเองเข้าใจเหมือนกัน หลังจากที่ตัวแทนออกมาเล่าประสบการณ์ของตนเองก็มีการออกมาพูดคุยถึงผลความพึงพอใจในการเข้าร่วมโครงการและสรุปผลว่าใครได้เป็นตัวแทนที่จะบอกต่อได้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จากการจัดเวทีพัฒนาแกนนำ(จาก50ครัวเรือน)เพื่อเป็นตัวแทนของกลุ่มโดยคัดเลือกจากผลงานดี ฝีปากจัดเพื่อจะได้บอกต่อให้เพื่อนบ้านได้เข้าร่วมมากขึ้นสมาชิกและผู้เข้าร่วมทั้ง70คนก็ให้ความสำคัญเข้าร่วมกิจกรรมกันอย่างพร้อมเพรียงโดยตัวแทนสมาชิกที่ออกมาเล่าเรื่องของตัวเองในการปฎิบัติตามข้อบัญญัติทั้ง9ประการอย่างมีความภาคภูมิใจที่ตนเองทำได้และคิดว่าเป็นสิ่งที่ดี พร้อมที่จะบอกให้เพื่อนบ้านคนอื่นๆเข้าร่วมได้ ส่วนสมาชิกคนอื่นๆที่รับฟังก็ถามเกี่ยวกับการทำแต่ละข้อว่าคุณคิดว่าข้อไหนทำยากที่สุดตัวแทนที่ออกมาเล่าบางคนบอกว่าการทำบัญชีครัวเรือนนั้นยาก บางคนว่าการงดสูบบุหรี่เป็นเรื่องที่ยากเพราะต้องพูดกับบุคคลในครอบครัว ต้องอธิบายถึงวัตถุประสงค์ของโครงการให้เข้าใจกว่าจะเข้าใจก็พูดกันหลายครั้งเหมือนกัน จากการสรุปผลการพัฒนาแกนนำทางโครงการวางไว้10ครัวเรือนปรากฎว่าเราได้แกนนำครบทั้ง10คนที่มีความรู้ควมสามารถที่จะบอกต่อให้เพื่อนบ้านคนอื่นๆเข้าร่วมได้ พูดกันน้ำไหลไฟดับ สมาชิกทุกคนยอมรับการการตัดสินใจในการลือกแกนนำทั้ง10คน

     

    0 0

    41. ประกวดบ้านต้นแบบที่ปฎิบัติตามข้อบัญญัติชุมชนบ้านสมควร9ประการ

    วันที่ 23 สิงหาคม 2556 เวลา 10:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    สมาชิกโครงการ ภาคีเครือข่ายจำนวน70คนเข้าร่วมกิจกรรมประกวดบ้านต้นแบบที่จัดร่วมกับอบต.ควนหนองค้าในกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพมีประชาชนทุกกลุ่มอายุเข้าร่วมกันอย่างมาก โดยในงานมีการจัดนิทรรศการของโครงการหมู่ที่1และหมู่ที่4บ้านควนตราบ ต.ควนหนองคว้า จัดนิทรรศการเกี่ยกับกิจกรรมของโครงการที่ดำเนินการมาทั้งหมดเกือบระยะเวลา1ปี และมีการจัดแข่งกีฬาสีเชื่อมสัมพันธ์ของนร.และผู้ปกครอง มีการมอบเกียรติบัตรให้กับสมาชิกของแต่ละโครงการที่ปฎิบัติตามข้อบัญญติได้อย่างดีเยี่ยมจากนายอำเภอจุฬาภรณ์ และมีอ.กำไล สมรักษ์เข้าร่วมเป็นเกียรติในกิจกรรมการประกวดบ้านต้นแบบอีกด้วย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สมาชิกโครงการได้มีการนำผลผลิตที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการมีทั้งผลไม้ ผักปลอดสารพิษ น้ำหมักมาแสดงนิทรรศการ และมีการประมวลภาพถ่ายกิจกรรมของโครงการชุมชนสุขภาพดีิถีชีวิตบ้านสมควรให้สมาชิกแต่ละคนเก็บไว้เป็นที่ระลึก ในการมอบรางวัลแก่บ้านต้นแบบนั้นได้รับเกียรติจากนายอำเภอจุฬาภรณ์ ซึ่งสมาชิกโครงการต่างช่วยกันนำเสนอข้อมูลกิจกรรมที่ได้ดำเนินมาตลอดระยะเวลา1ปีแก่ชาวบ้านที่เข้าร่วมกิจกรรมเพื่อเป็นการเผยแพร่กิจกรมและผลที่ได้รับจากการดำเนินโครงการ

     

    50 70

    42. ถอดบทเรียนการดำเนินโครงการ

    วันที่ 30 สิงหาคม 2556 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะกรรมการ ตัวแทนผู้เข้าร่วมโครงการและเครือข่ายผู้เข้าร่วมโครงการจำนวน40คนเข้าร่วมกิจกรรมการจัดเวทีถอดบทเรียนการดำเนินโครงการเพื่อสรุปผลการเรียนรู้ของสมาชิกโครงการตลอดระยะเวลาการดำเนินโครงการร่วมกัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เกิดเวทีถอดบทเรียนของโครงการชุมชนสุขภาพดีวิถีชีวิตบ้านสมควร ณ ห้องประชุม รพ.สต.บ้านสมควร ซึ่งมีผู้เข้าร่วมถอดบทเรียนประกอบไปด้วย คณะกรรมการดำเนินกิจกรรมโครงการ ตัวแทนสมาชิกโครงการ และเครือข่ายผู้เข้าร่วมโครงการรวมทั้งสิ้น จำนวน 40 คน ซึ่งจากการจัดเวทีถอดบทเรียนพอจะสรุปได้ว่าจากผลการดำเนินโครงการครั้งนี้ได้เกิดผลประโยชน์มากมายแก่สมาชิกที่เข้าร่วมโครงการ ไม่ว่าจะเป็นทางด้ายกายภาพ คือ สภาพแวดล้อมบริเวณบ้านและชุมชนที่เปลี่ยนแปลงไปบริเวณริมถนนที่เป็นพื้นที่ว่างเปล่าประชาชนก็หันมาปลูกพริก ปลูกบวบจากเดิมเคยเป็นที่รกร้างว่างเปล่า หรือบางแห่งที่สำหรับทิ้วขยะของครัวเรือน ได้กลายมาเป็นแปลงปลูกผักของสมาชิกโครงการ และที่สำคัญอีกด้านหนึ่งที่ได้เปลี่ยนแปลงไป คือ กระบวนการคิดของชาวชุมชนบ้านสมควรจากเดิมที่สมาชิกมีเวลาว่างก็มักจะปล่อยให้เสียประโยชน์หรือไม่ก็ไปเล่นการพนันก็หันมาทำกิจกรรมร่วมกันตลอดระยะเวลา 1 ปี ทำให้ได้กลับมาปรับปรุงพื้นที่มากขึ้น และอีกสิ่งหนึ่ง คือความคิดขั้นพื้นฐานของชุมชนจากเดิมหลังจากทำงานประจำเสร็จ อยู่กันเฉยๆ เล่นการพนัน ตั้งวงนินทาผู้อื่น ฯลฯ แล้วแต่ความถนัดของแต่ละคน ปัจจุบันนี้ได้กลับกลายมาเป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์โดยการปลูกผักสวนครัวในบริเวณที่ว่างเปล่าที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ และในอดีตการนั่งแบมือรอรับของแจกจากทางราชการก็เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างปกติ แต่ได้กลายมาเป็นการพึ่งพาตนเองกันมากขึ้น เช่น การปลูกผักต้องได้รับการแจกเมล็ดพันธ์ผักจึงจะปลูกกัน แต่ตอนนี้ได้หาซื้อกันด้วยตัวเองไม่ต้องนั่งรอรับของแจกอย่างเดียว

     

    30 50

    43. ประชุมคณะกรรมการดำเนินโครงการประจำเดือนกันยายน

    วันที่ 5 กันยายน 2556 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะกรรมการทั้ง15คนร่วมกันจัดเก็บเอกสารหลักฐาน ตรวจดูความถูกต้องและเรียบร้อย พร้อมทั้งสรุปรายละเอียดต่างๆในการสรุปรูปเล่มรายงานฉบับสมบูรณ์โดยหัวหน้าโครงการนางยุพาจะรับผิดชอบลักษณะโครงการโดยรวมซึ่งประกอบไปด้วยความเป็นมา วัตถุประสงค์ของโครงการ กิจกรรมการดำเนินงาน ผลที่ได้รับ การประเมินผล ปัญหาและอุปสรรคฯ ส่วนนางสาครพัฒโนจะรับผิดชอบบทสรุปคัดย่อการดำเนินงานพอสังเขป ส่วนในเรื่องอื่นๆทั้งหน้าปก คำนำ กิติกรรมประกาศ ก็ช่ยกันพิมพ์และคิดกันในกลุ่ม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะกรรมการแต่ละคนได้ช่ยกันคิด รวบรวมข้อคิดเห็นทั้งหมดตลอดโครงการพร้อมทั้งจัดทำแบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์(ส3) โดยบางหัวข้อก็ต้องใช้เวลาในการสรุปในเรื่องของลักษณะโครงการโดยรวมซึ่งหัวหน้าโครงการและกรรมการคนอื่นๆก็ช่วยกันคิดและจัดพิมพ์เป็นรายงานขึ้น

     

    0 0

    44. จัดทำเอกสารเพื่อเผยแพร่สรุปการดำเนินงานและสรุปโครงการฉบับสมบูรณ์

    วันที่ 9 กันยายน 2556 เวลา 10:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    สรุปผลการดำเนินกิจกรรมตามโครงการทั้งหมดฉบับบสมบูรณ์หลังเสร็จสิ้นการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีคณะกรรมการโครงการ จำนวน 15 คน ผลตามแผน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะกรรมการดำเนินโครงการ จำนวน 15 คน ช่วยกันสรุปผลการดำเนินกิจกรรมโครงการทั้งหมด และได้ดำเนินการจัดทำรายงานต่างๆ ตามคู่มือการดำเนินงาน ซึ่งได้สรูปเป็นเอกสารฉบับสมบูรณ์ เพื่อสามารถนำไปเสนอ หรือเผยแพร่ให้หน่วยงาน หรือประชาชนทั่วไปได้รับรู้ถึงผลที่เกิดขึ้นจากโครงการชุมชนสุขภาพดีวิถีชีวิตบ้านสมควร

     

    0 0

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

     

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 เพื่อลดการใช้สารเคมีในชุมชน
    ตัวชี้วัด : 1.1 ร้อยละ80ของครัวเรือนที่เข้าร่วมปฏิบัติตามข้อบัญญัติบ้านสมควร 9 ประการ 1.2 มีแกนนำลดการใช้สารเคมีผลงานดี ฝีปากจัด (10ครัวเรือน)

     

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อลดการใช้สารเคมีในชุมชน

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    ส่วนที่ 3 ประเมินคุณค่าโครงการ

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ

    ชื่อโครงการ ชุมชนสุขภาพดีวิถีชีวิตบ้านสมควร

    รหัสโครงการ 55-01782 รหัสสัญญา 55-00-1050 ระยะเวลาโครงการ 1 ตุลาคม 2555 - 31 ตุลาคม 2556

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นการคุณค่าที่เกิดจากโครงการในมิติต่อไปนี้

    • ความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพและนวัตกรรมเชิงระบบสุขภาพชุมชน
    • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีผลต่อสุขภาวะ
    • การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ
    • ผลกระทบเชิงบวกและนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาวะชุมชน
    • กระบวนการชุมชน
    • มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่

    1. เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้ใหม่ / องค์ความรู้ใหม่

    การที่บุคคลในหมู่บ้านเล็งเห็นถึงพิษภัยจากการใช้สารเคมีจากการดำเนินชีวิตแบบเดิมๆแล้วมีความรู้ใหม่ในการลดการใช้สารพิษโดยการปรับภูมิทัศน์รอบบ้านตนเองก่อนโดยการปลูกผักปลอดสารพิษแทนการฉีดหญ้า

    จากการสอบถามและปฎิบัติจริงในบ้านตนเอง

    มีการอบรมให้ความรู้อย่างต่อเนื่องต่อสมาชิกของชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สิ่งประดิษฐ์ / ผลผลิตใหม่

    ในที่ประชุมของหมู่บ้านมีการตกลงร่วมกันในการร่วมกันจัดตั้งข้อบัญญัติจัดการสุขภาพขึ้นทั้ง9ข้อ

    ป้ายข้อบัญญัติจัดการสุขภาพชุมชนบ้านสมควร9ประการที่ติดไว้ที่หอประชุมของหมู่ที่1บ้านสมควร

    เมื่อมีผู้ที่สามารถปฎิบัติตามข้อบัญญัติทั้ง9ประการได้ในที่ประชุมหมู่บ้านก็จะมีการยกย่องเชิดชูให้เพื่อนบ้านได้รับทราบและร่วมกันแสดงความยินดี

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. กระบวนการใหม่

    การใช้วิธีการโดยนำข้อบัญญัติที่เกิดจากชุมชนมาเป็นตัวบังคับควบคุมการปฎิบัติของบุคคลในชุมชนเอง ส่งผลให้หมู่บ้านหรือเพื่อนบ้านข้างเคียงเห็นการปรับภูมิทัศน์รอบบ้านโดยการปลูกผักข้างถนนบริเวณหน้าบ้านแล้วนำไปปฎิบัติในบ้านเรือนตนเอง

    ข้อบัญญัติชุมชนบ้านสมควร9ประการที่ผู้เข้าร่วมโครงการตกลงร่วมกันในการนำไปปฎิบัติและภูมิทัศน์บริเวณหน้าบ้านที่หันมาปลูกผักปลอดสารพิษแทนที่พื้นที่ว่างเปล่า

    สามารถนำข้อปฎิบัตินี้นำไปขยายให้เพื่อนบ้านหรือหมู่บ้านข้างเคียงจากการเห็นถึงการปฎิบัติของกลุ่ม

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. วิธีการทำงาน / การจัดการใหม่

    เน้นการทำงานเป็นทีมเป็นกลุ่มจากหลายๆกลุ่มในหมู่บ้านเช่นกลุ่มผู้นำชุมชน กลุ่มอาชีพ กลุ่่มปุ๋ยหมักมาแลกเปลี่ยนความคิด

    จากรายชื่อผู้ที่เข้าร่วมประชุม

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การเกิดกลุ่ม / โครงสร้างในชุมชนใหม่

    เดิมหมู่ที่1บ้านสมควรมีบ้านต้นแบบจำนวน10หลังคาเรือนหลังจากเข้าร่วมโครงการขยายเพิ่มเป็น50ครัวเรือนในการทำกิจกรรมลดการใช้สารเคมีร่วมกัน

    รายชื่อสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการทั้ง50ครัวเรือน

    ขยายการเข้าร่วมให้ครัวเรือนที่เหลืออยู่เข้าร่วมโครงการต่อทั้งหมู่บ้าน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. แหล่งเรียนรู้ใหม่

    มีโรงเรือนเพาะชำสำหรับการเพาะเมล็ดให้กับสมาชิกในโครงการได้ช่วยกันมาเพาะปลูกแล้วได้แบ่งบันกันไปปลูกต่อที่บ้าน

    โรงเรือนเพาะชำสำหรับเพาะเมล็ดผักที่รพ.สต.บ้านสมควร

    มีการขยายขนาดและจำนวนโรงเรือนเพาะชำให้มีความเพียงพอแก่สมาชิกดดยการทดลอง ลองผิดลองถูกในการใช้วิธีการ การเลือกเมล็ดพันธุ์ผัก

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    99. อื่นๆ

     

     

     

    2. เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล

    นำข้อบัญญัติ9ประการมาดูแลสุขภาพของตนเองและสมาชิกในครอบครัวอย่างถูกต้อง

    จากการสอบถามเดินสำรวจให้คะแนนบ้านต้นแบบโดยตัวแทนกลุ่มทั้ง10คน

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การบริโภค

    รู้จักวธีการเลือกบริโภคผักปลอดสารพิษ อาหารปลอดสารพิษที่ส่งผลดีต่อสุขภาพ

    มีการปลูกผักปลอดสารพิษรับประทานเองในครัวเรือน

    ครัวเรือนเล็งเห็นถึงความสำคัญในการบริโภคและปลูกผักปลอดสารพิษแล้วส่งผลต่อการปลูกผักอย่างต่อเนื่อง โดยปลูกพืชสลับกันเป็นพืชหมุนเวียนในครัวเรือนเอง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การออกกำลังกาย

    มีการเคลื่อนไหวร่างกายในด้านการปลูกผักเช่นรดน้ำ พรวนดินหร้อมกับได้ปฎิบัติตามกฎข้อบัญญัติ

    จากการเดินสำรวจให้คะแนนโดยตัวแทนกลุ่มทั้ง10คน

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. การลด ละ เลิก อบายมุข เช่น การพนัน เหล้า บุหรี่

    ได้รับความรู้จากการเข้าร่วมโครงการในเรื่องโทษและภัยที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพจากการเสพอบายมุข

    จากการสอบถามเดินสำรวจให้คะแนนบ้านต้นแบบโดยตัวแทนกลุ่มทั้ง10คน

    นำบุคคลที่สามารถลด ละ เลิกอบายมุขมาตรวจสุขภาพและบอกต่อต่อที่ประชุมให้เพื่อนบ้านได้รับทราบและพร้อมที่จะลดละเลิกการใช้อบายมุข

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การลดพฤติกรรมเสี่ยง เช่น พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การขับรถโดยประมาท

    ได้รับความรู้เรื่องโทษและภัยของอบายมุขแลัวสมาชิกนำมาปฎิบัติ ทำให้ส่งผลต่อการลดการเกิดอุบัติเหตุต่างๆได้

    ดูจากสถิติการเฝ้าระวังใน7วันอันตรายช่วงสงกรานต์ปี2556

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. การจัดการอารมณ์ / ความเครียด

    สมาชิกที่เข้าร่วมโครงการมีการจัดการอารมณ์

    ดูจาการเข้ารับบริการรักษาณ รพ.สต.บ้นสมควร

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. การดำรงชีวิต / วิถีชีวิต เช่น การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น / สมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเอง

    หมู่บ้านบ้านสมควรเป็นบ้านชนบท

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    8. พฤติกรรมการจัดการตนเอง ครอบครัว ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    9. อื่นๆ

     

     

     

    3. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. กายภาพ เช่น มีการจัดการขยะ ป่า น้ำ การใช้สารเคมีเกษตร และการสร้างสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนที่ถูกสุขลักษณะ

    หลังจากที่สามชิกเข้าร่วมโครงการแล้วเห็นได้ว่าชุมชนได้หันมาตัดหญ้า ถางหญ้าแทนการฉีดหญ้า

    บริเวณสวนผลไม้ การใช้เครื่องตัดหญ้าของสมาชิก

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สังคม เช่น มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ลดการเกิดอุบัติเหตุ ครอบครัวอบอุ่น การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อเด็ก เยาวชน และกลุ่มวัยต่าง ๆ มีพื้นที่สาธารณะ/พื้นที่ทางสังคม เพื่อเอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชน มีการใช้ศาสนา/วัฒนธรรมเป็นฐานการพัฒนา

    เมื่อสมาชิกในโครงการเข้ารวมกลุ่มกันตัดหญ้าทำให้สภาพแวดล้อมน่าอยู่บรรยากาศดีไม่มีกลิ่นของสารเคมี

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. เศรษฐกิจสร้างสรรค์สังคม /สร้างอาชีพ / เพิ่มรายได้

    มีการรวมกลุ่มตัดหญ้าได้ค่าแรงสืบเนื่องมาจากมีผู้ว่าจ้างและใช้พื้นที่ว่างของบริเวณบ้านปลูกผักปลอดสารเคมีไว้กินเอง ซึ่งมีจำนวนหนึ่งที่เหลือ นำไปจำหน่ายที่ตลาดนัดในหมู่บ้านสมควร หรือนำไปฝากขายตามร้านชำในหมู่บ้านมีรายได้เพิ่มขึ้น

    การพอมี พอกิน ของสมาชิกโครงการเป็นอยู่อย่างพอเพียงมากขึ้น อาหารหาได้จากบริเวณบ้านได้มากขึ้น ทำให้ลดค่าใช้จ่ายได้เป็นอย่างดี

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการบริการสุขภาพทางเลือก และมีช่องทางการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ

    ในชุมชนบ้านสมควรผู้รู้หรือมีปราชญ์ชาวบ้านหลายแขนงทั้งหมองู หมอนวด หมอสมุนไพร ซึ่งสมาชิกของชุมชนสามารถใช้บริการได้อย่างสะดวกรวดเร็ว และมี รพ.สต.บ้านสมควร คอยให้บริการประชาชนในพื้นที่ สามารถใช้บริการได้ทั้งใน และนอกเวลาราชการ

    การใช้บริการแพทย์ทางเลือกของสมาชิกในชุมชน

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. อื่นๆ

     

     

     

    4. การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. มีกฎ / กติกา ของกลุ่ม ชุมชน

    สมาชิกของชุมชนร่วมกันคิดกำหนดกติกาข้อบัญญัติ9ประการที่เอื้อต่อสุขภาพภายในหมู่บ้านขึ้น(1)ปลูกผักปลอดสารพิษ5ชนิด(2)ทำน้ำหมัก/ปุ๋ยหมักชีวภาพ(3)ลดการฉีดหญ้าในสวนยาง สวนปาล์ม นาข้าว(4)ลด ละ เลิกบุหรี่(5)ทำบัญชีครัวเรือน(6)มีป้ายชื่อหน้าบ้าน(7)ออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ3วันวันละ30นาที(8)บริโภคแกงกะทิสัปดาห์ละ2วัน(9)ชั่งน้ำหนักวัดรอบเอวทุก3เดือน

    ข้อบัญญัติของชุมชนบ้านสมควร

    นำกิจกรรมที่ดำเนินมาปรับและเพิ่มเป็นกติกาต่อเพื่อความครอบคลุมมากขึ้น

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. มีมาตรการทางสังคมของกลุ่ม ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. มีธรรมนูญของชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. อื่นๆ เช่น ออกเป็นข้อบัญญัติท้องถิ่น ฯลฯ

     

     

     

    5. เกิดกระบวนการชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. เกิดการเชื่อมโยงประสานงานระหว่างกลุ่ม / เครือข่าย (ใน และหรือนอกชุมชน)

    เกิดการเชื่อมโยงประสานงานระหว่างกลุ่มเครือข่ายต่างๆ ทั้งในพื้นที่และนอกพื้นที่ เช่น อสม.,หมอดิน,กศน,กลุ่มในชุมชน ได้เข้าร่วมเป็นวิทยากร และสังเกตการณ์ การดำเนินงานโครงการของสมาชิกโครงการ การขยายผลการดำเนินการไปในเชตละแวกบ้าน

    บันทึกภาพกิจกรรมการจัดอบรม

    แกนนำ นำไปขยายผล และจัดอบรมเพิ่มเติมสำหรับผู้ที่สนใจในครั้งต่อไป

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเรียนรู้การแก้ปัญหาชุมชน (การประเมินปัญหา การวางแผน การปฏิบัติการ และการประเมิน)

    เกิดการเรียนรู้ในสิ่งใหม่ๆ และสามารถนำไปแก้ปัญหาของชุมชนได้ระดับหนึ่ง เช่น การส่งเสริมให้สมาชิกโครงการหันมาพึ่งตนเองให้ได้ เพื่อลดปัญหาการพึ่งพาภาครัฐที่ต้องให้ความช่วยเหลือ

    จากการติดตามเยี่ยมบ้านของคณะกรรมการ

    ขยายผลไปยังกลุ่มอื่นๆ และในอีกหลายๆ ปัญหาของชุมชนที่ต้องแก้ไขในอนาคต

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ประโยชน์จากทุนในชุมชน เช่น การระดมทุน การใช้ทรัพยากรบุคคลในชุมชน

    ระหว่างการดำเนินโครงการได้รับความร่วมมือสนับสนุนจากบุคคลในชุมชนต่างๆหลายฝ่าย เช่น จนท.จากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสมควร ปราชญ์ชาวบ้าน หมอดิน เกษตรตำบล เกษตรอำเภอ กศน. ผู้นำชุมชน อสม.ในพื้นที่ เป็นต้น  ทุกฝ่ายให้ความร่วมมือในการขับเคลื่อนทุกกิจกรรมจนประสบผลสำเร็จในปัจจุบัน

    จากข้อมูลการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน ที่เกิดจากการซักถาม ความคืบหน้าของโครงการ และจากการเข้าร่วมประชุม

    ยังมีทุนทางสังคมในชุมชนที่ยังไม่สามารถนำมาปรับใช้ได้อีกหลายแขนง เช่น หมอพื้นบ้านต่างๆ ปราชญ์ชุมชน เป็นต้น

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกลุ่มและชุมชนที่เกิดจากโครงการอย่างต่อเนื่อง

    แกนนำกลุ่มย่อย และแกนนำหลักทุกคน ทุกละแวกบ้าน ยังคงมีการขับเคลื่อนโครงการอย่างต่อเนื่อง โดยการนัด แนะ พบเจอกัน เพื่อพูดคุยปัญหา และช่วยหาข้อแก้ไข อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง

    รายชื่อผู้เข้าร่วมประชุม ตามแผน ตามปฏิทินโครงการ  และผลสรุปการประชุมจากการรายงานของผู้รับผิดชอบโครงการ

    นำไปเข้าร่วมที่ประชุมของหมู่บ้านในทุกๆเดือน เพื่อให้พัฒนาต่อยอดไปยังกลุ่มต่างๆของชุมชนเอง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. เกิดกระบวนการจัดการความรู้ในชุมชน

    เกิดกระบวนการการจัดการความรู้ที่มีอยู่ในชุมชนได้มีการรวบรวมองค์ความรู้ในด้านต่างๆ เพื่อให้สามารถนำกลับมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด เกิดแนวคิดการสร้างทีมงานเพื่อเป็นกำลังสำคัญในร่วมกันระดมความคิดพัฒนาชุมชน เกิดกระบวนการ การนำภูมิปัญญาสมัยก่อนกลับมาใช้ใหม่ในการดำเนินชีวิตประจำวันของคนในชุมชน

    จากการจัดกิจกรรมที่ผ่านมาทั้งหมดจนเห็นถึงความเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีของชุมชนบ้านสมควร

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. เกิดทักษะในการจัดการโครงการ เช่น การใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ การทำแผนปฏิบัติการ

    ผู้รับผิดชอบโครงการ  แกนนำกลุ่มย่อย และแกนนำหลัก เกิดทักษะในการจัดการกับโครงการ เกิดความรู้ที่ได้รับคำแนะนนำจากการอบรมหรือ จากการติดตามจากพี่เลี้ยงพื้นที่ พี่เลี้ยงจาก สจ.รส.เพิ่มขึ้น จนสามารถตัดสินใจได้ด้วยตนเอง โดยมีพี่เลี้ยงคอยติดตามอีกครั้ง

    จากการพูดคุย จากการซักถาม และจากการตอบคำถามที่ผ่านมา

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. อื่นๆ

     

     

     

    6. มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเอง / กลุ่ม / ชุมชน

    สมาชิกที่เข้าร่วมโครงการมีความภาคภูมิใจในตัวเอง ที่สามารถพึ่งตนเองได้ เช่น การปลูกผักรอบๆ บริเวณบ้าน เกิดทั้งความสวยงาม เรียบร้อย และสามารถนำมาประกอบอาหารได้โดยไม่ต้องซื้อ และที่สำาคัญสสามารถปฎิบัติตามข้อบัญญัติบ้านสมควรทั้ง9ประการ

    การติดตามเยี่ยมบ้านของคณะกรรมการโครงการ

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเห็นประโยชน์ส่วนรวมและส่วนตนอย่างสมดุล

    สมาชิกโครงการให้ความร่วมมือกันเป็นอย่างดีในการทำกิจกรรมต่างๆ ของชุมชน ทั้งกิจกรรมตามโครงการที่มีความเห็นอกเห็นใจกัน การแบ่งบันในเรื่องการรวมกลุ่มทำปุ๋ยหมัก การออกแรงคนละม้ายคนละมือ

    ความร่วมมือในทุกกิจกรรมที่เกิดขึ้นในชุมชน

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย และพอเพียง

    เกิดการพึ่งตนเองของคนในชุมชน ครอบครัว ลดค่าใช้จ่าย การประหยัดเกิดขึ้นในครัวเรือน เนื่องจาก ที่บ้านมีแหล่งอาหารที่สามารถนำมารับประทานได้เลย และปลอดภัยจากพิษต่างๆ

    จากการเยี่ยมบ้านวิถีชีวิตของคนในชุมชนที่มีความเป็นกันเอง เรียบง่าย

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. ชุมชนมีความเอื้ออาทร

    สมาชิกของชุมชนมีความเอื้ออาทรซึ่งกันและกัน การเน้นการทำงานเป็นกลุ่มเป็นทีมให้ความช่วยเหลือกันร่วมกันคิดแก้ไขปัญหานำผลผลิตที่ได้มาแลกเปลี่ยนกันในละแวกบ้าน

    ความสามัคคีที่เกิดขึ้นในชุมชน การให้ความร่วมมือ ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน จากภาพถ่ายกิจกรรม จากการจับกลุ่มปรึกษาหารือปัญหากันของแต่ละคน

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. มีการตัดสินใจโดยใช้ฐานปัญญา

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. อื่นๆ

     

     

     

    ชุมชนสุขภาพดีวิถีชีวิตบ้านสมควร จังหวัด นครศรีธรรมราช

    รหัสโครงการ 55-01782

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นางสาวยุพา ช่วยศรีนวล )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด