directions_run

โครงการพัฒนาศักยภาพ เยาวชนนักพัฒนา (ผลัดกันแลลูกเธอลูกฉัน)

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


“ โครงการพัฒนาศักยภาพ เยาวชนนักพัฒนา (ผลัดกันแลลูกเธอลูกฉัน) ”

บ้านป่าชิง ม. 1 ต.ป่าชิง อ.จะนะ จ.สงขลา

หัวหน้าโครงการ
นางสาวจินตหรา บัวหนู

ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาศักยภาพ เยาวชนนักพัฒนา (ผลัดกันแลลูกเธอลูกฉัน)

ที่อยู่ บ้านป่าชิง ม. 1 ต.ป่าชิง อ.จะนะ จ.สงขลา จังหวัด สงขลา

รหัสโครงการ 56-00245 เลขที่ข้อตกลง 56-00-0377

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 เมษายน 2556 ถึง 30 เมษายน 2557


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการพัฒนาศักยภาพ เยาวชนนักพัฒนา (ผลัดกันแลลูกเธอลูกฉัน) จังหวัดสงขลา" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน บ้านป่าชิง ม. 1 ต.ป่าชิง อ.จะนะ จ.สงขลา

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการพัฒนาศักยภาพ เยาวชนนักพัฒนา (ผลัดกันแลลูกเธอลูกฉัน)



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการพัฒนาศักยภาพ เยาวชนนักพัฒนา (ผลัดกันแลลูกเธอลูกฉัน) " ดำเนินการในพื้นที่ บ้านป่าชิง ม. 1 ต.ป่าชิง อ.จะนะ จ.สงขลา รหัสโครงการ 56-00245 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 เมษายน 2556 - 30 เมษายน 2557 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 188,400.00 บาท จาก เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 140 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

 

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. 1 เพื่อสร้างความเข้าใจก่อให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วม ร่วมคิด ร่วมทำ ของผู้ใหญ่และเยาวชนในชุมชน
  2. สร้างกระบวนการคิดในการพึ่งพาตนเอง
  3. เพื่อเสริมสร้างกำลังใจให้เด็กและเยาวชน
  4. ติดตามและสนับสนุนการดำเนินงานโครงการโดยทีม สสส.และ สจรส.มอ.หาดใหญ่

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

     


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. ประชุมทีมทำงาน

    วันที่ 2 พฤษภาคม 2556 เวลา 17:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • แจ้งรายละเอียดโครงการ
    • ชี้แจงงบประมาณการทำโครงการ -พูดคุยแลกเปลี่ยนการวางแผนงานในระยะเวลา 1 ปี ผู้เข้าร่วมประชุม 14 คน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    มีการวางแผนกิจกรรมในแต่ละกิจกรรม  ศึกษาความเป็นไปได้ของกิจกรรมโดยคาดการณ์ จากบริบทของพื้นที่ ในบ้านป่าชิงโดยตรง  และร่วมกันสะท้อนความคิดเห็นในแต่ละตัวกิจกรรม

     

    60 14

    2. ประชุมทีมทำงาน

    วันที่ 14 พฤษภาคม 2556 เวลา 18:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ร่วมกันวางแผนกิจกรรมแรกของโครงการเพื่อนำไปสู่การเข้ามามีส่วนร่วมโครงการของคนในหมู่บ้าน โดยที่ประชุมต้องการให้คนในหมู่บ้านเองเป็นกำลังหลักในการดึงดูดคนเข้ามาร่วมกิจกรรม  จึงมีข้อเสนอว่าเราต้องจัดกิจกรรมเพื่อนสร้างความสัมพันธ์ในชุมชน สร้างความรักสามัคคี แน่นแฟ้น โดยให้คนเฒ่าคนแก่ในชุมชน เล่าเรื่อง ประวัติการก่อตั้งบ้านป่าชิง วิถีชีวิต และประเพณีวัฒนธรรม ซึ่เป็นตัวก่อกำเหนิดให้พวกเราทุกคนมีความเป็นอยู่ที่ดีจนถึงวันนี้  มีผู้เข้าร่วม 11  คน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ทุกคนร่วมกันวางแผนและจัดการหน้าที่กับตัวเอง

     

    60 11

    3. ลงพื้นที่ถ่ายภาพ "ทำบุญป่าช้า บ้านป่าชิง"

    วันที่ 19 พฤษภาคม 2556 เวลา 08:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วันนี้ลงพื้นที่ถ่านทำประเพณีการทำบุญป่าช้า บ้านป่าชิง ซึ่งเป็นสถานที่เก็บกระดูกและฝัง ร่างของบรรพบุรุษเรา แต่ก่อน เป็นทำบุญและอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลไปให้บรรพบุรุษที่จากเราไปแล้ว  รวมทั้งไปพบปะญาติพี่น้องอีกด้วย
    ผู้ที่ถ่ายทำจำนวน 2 คน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ถ่ายภาพรวม ของประเพณีในวันนั้น ทั้งภาพรวมของแต่ละบัว  และภาพรวมของการทำบุญตักบาตร

     

    60 2

    4. ระดมความคิดเห็นเยาวชนครั้งที่1

    วันที่ 20 พฤษภาคม 2556 เวลา 18:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    พูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่ ความทรงจำ  วิถีชีวิต ภาคภูมิใจในอดีต

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เกิดความรู้ใหม่ๆ  ที่ยังไม่เคยทราบมาก่อน  และเรียนรู้จากที่ไหนไม่ได้

     

    60 10

    5. พัฒนาแกนนำเด็กและเยาวชน

    วันที่ 31 พฤษภาคม 2556 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ลงพื้นที่สัมภาษณ์ ตาวุ่น แล้วถ่าย VDO เพื่อทำสารคดีเรียนรู้ป่าชิง - ให้ตาวุ่นเล่าวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ของคนบ้านป่าชิง ในอดีต -  ตาวุ่นเล่า เรื่องการตั้งชุมชนป่าชิง และเล่าความเป็นมาของชื่อป่าชิง
    มีผู้เข้าร่วม 3 คน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้ความรู้เรื่องความเป็นมาของบ้านป่าชิง ความเป็นมาของชื่อป่าชิง

     

    60 3

    6. ถ่ายงาน"วิถีชีวิต ป่าชิงในอดีต" (ตาเอี่ยม)

    วันที่ 2 มิถุนายน 2556 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ลงพื้นที่สัมภาษณ์ ตาเอี่ยม แล้วถ่าย VDO เพื่อทำสารคดีเรียนรู้ป่าชิง - ให้ตาเอี่ยมเล่าวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ของคนบ้านป่าชิง ในอดีต -  ตาเอี่ยมเล่า เรื่องการตั้งชุมชนป่าชิง และเล่าความเป็นมาของชื่อป่าชิง ผู้เข้าร่วม  3  คน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้ความรู้เรื่องความเป็นมาของบ้านป่าชิง ความเป็นมาของชื่อป่าชิง ได้ชุดความรู้เกี่ยวกับการสร้างถนน หน้าบ้านป่าชิง

     

    60 3

    7. ถ่ายงานวิถีชีวิต ป่าชิง "ทวดเพียร"

    วันที่ 3 มิถุนายน 2556 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    สัมภาษณ์ ทวดเพียร แล้วถ่าย VDO เพื่อทำสารคดีเรียนรู้ป่าชิง - ให้ทวดเพียรเล่าวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ของคนบ้านป่าชิง ในอดีต
    - ทวดเพียรเล่าเรื่องการสร้างวัดเชิงคีรี ซึ่งเป็นสถานที่ประกอบศาสนกิจของชาวบ้านป่าชิง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สัมภาษณ์ ทวดเพียร แล้วถ่าย VDO เพื่อทำสารคดีเรียนรู้ป่าชิง - ให้ทวดเพียรเล่าวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ของคนบ้านป่าชิง ในอดีต
    - ทวดเพียรเล่าเรื่องการสร้างวัดเชิงคีรี ซึ่งเป็นสถานที่ประกอบศาสนกิจของชาวบ้านป่าชิง

     

    60 3

    8. ระดมความคิดเห็นของเยาวชนในเชิงสร้างสรรค์ครั้งที่ 2

    วันที่ 7 มิถุนายน 2556 เวลา 18:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ไปเยี่ยมปู่จ้วน  บัวหนู  ถามทุกข์สุข ปู่จ้วน  ย่าเกลื่อน  นั่งพูดคุย  ปู่จ้วนจะเล่าเรื่องราวที่ประทับใจในอดีต เล่าเรื่องราว ประเพณีวัฒนธรรม วิถีชีวิตความเป็นอยู่  ของคนสมัยแต่ก่อน มีทีมทำงาน 7 คน  ลูกหลานปู่จ้วน 4 คน ปู่จ้วนและย่าเกลื่อน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ไปเยี่ยมปู่จ้วน  บัวหนู  ถามไถ่ทุกข์สุข ปู่จ้วน  ย่าเกลื่อน  นั่งพูดคุย  ปู่จ้วนจะเล่าเรื่องราวที่ประทับใจในอดีต เล่าเรื่องราว ประเพณีวัฒนธรรม วิถีชีวิตความเป็นอยู่  ของคนสมัยแต่ก่อน มีทีมทำงาน 7 คน  ลูกหลานปู่จ้วน 4 คน ปู่จ้วนและย่าเกลื่อน

     

    60 11

    9. ประชุมทีมทำงาน

    วันที่ 11 มิถุนายน 2556 เวลา 18:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    -วางแผนงาน ต้องการรูปแบบงานที่อบอุ่น เป็นกันเอง  นำเอาบรรยากาศเก่าๆ มานั่งกินข้าวล้อมวง นั่งพูดคุย

    -วางแผนการเชิญคนเฒ่าคนแก่มาพูดคุยเล่าประสบการณ์ เล่าประวัติความเป็นมาของป่าชิงบ้านเรา - แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบของแต่ละคน

    มีผู้เข้าร่วม 10  คน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • วางแผนงาน ต้องการรูปแบบงานที่อบอุ่น เป็นกันเอง  นำเอาบรรยากาศเก่าๆ มานั่งกินข้าวล้อมวง นั่งพูดคุย
    • วางแผนการเชิญคนเฒ่าคนแก่มาพูดคุยเล่าประสบการณ์ เล่าประวัติความเป็นมาของป่าชิงบ้านเรา
    • แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบของแต่ละคน

     

    60 10

    10. ปฐมนิเทศโครงการ

    วันที่ 19 มิถุนายน 2556 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ชีแจงวัตถุประสงค์ แนวทางการดำเนินโครงการ
    • การติดตามกระประเมินผลการเรียนรู้ด้วยตัวเอง
    • การสนับสนุนการติดตามประเมินผลผ่านเว็ปไซต์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้ฝึกการรายงานผลการดำเนินโครการผ่านเว็ปไซต์

     

    2 2

    11. ระดมความคิดเห็นเยาวชนเชิงสร้างสรรค์ ครั้งที่3

    วันที่ 20 มิถุนายน 2556 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • การบริหารจัดการโครงการ  วางแผนการทำงาน ร่วมกันเสนอประเด็นที่น่าสนใจในชุมชนป่าชิงบ้านเรา  รวมถึงสถานที่สำคัญของป่าชิง  และออกแบบการมาตรการปกป้อองทรัพยากร
    • การบริหารจัดการงบประมาณ  แะการสนับสนุนกิจกรรม

    มีผู้เข้าร่วม 13  คน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    น้องๆ  มีความสนใจและร่วมแสดงความคิดเห็นในการวางแผนการเก็บข้อมูลและลงพื้นที่ศึกษาวิถีวัฒนธรรมของป่าชิง  บ้านเรา

     

    60 13

    12. ประชุมเตรียมความพร้อม และแบ่งงานกิจกรรม สาสน์เสวนา ป่าชิงอบอุ่น "หลบมาแล ป่าชิงบ้านเรา"

    วันที่ 21 มิถุนายน 2556 เวลา 21:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    -  คณะทีมทำงานร่วมกันประชุมเพื่อเตรียมงาน เวทีสาสน์เสวนา ป่าชิงอบอุ่น เรียนรู้ป่าชิง "หลบมาแลป่าชิงบ้านเรา"

    -  วางแผนการทำงาน และแบ่งหน้าที่งาน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • มีการวางแผนงาน  แต่เกิดการถกเถียงกันหลายประเด็นทำให้ได้พูดคุยกันยังไม่ครบทุกประเด็นตามที่วางแผนไว้
    • เกิดการถกเถียงกันในเรื่องของบริบทพื้นที่ ทำให้ยังไม่ได้ข้อมูลที่ชัดเจน

     

    60 12

    13. คืนเงินเปิดบัญชี

    วันที่ 21 มิถุนายน 2556 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คืนเงินเปิดบัญชี

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    -

     

    2 2

    14. เตรียมงาน เวที สาสน์เสวนา "หลบมาแลป่าชิงบ้านเรา"

    วันที่ 22 มิถุนายน 2556 เวลา 10:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ทีมสถานที่ เตรียมพร้อมเรื่องสถานที่ เตรียมพื้นที่ต้อนรับคนมาร่วมกิจกรรม
    • ทีมเทคนิค เตรียมเช็คเครื่องเสียง ไฟล์ข่าวพลเมือง สารคดีที่จะเปิดในงาน
    • ทีมศิลป์ จัดสถานที่จัดป้ายโครงการ และ จัดนิทรรศการ ของเล่นพื้นบ้านแต่แรก

    ผู้เข้าร่วม 5  คน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ทีมสถานที่ เตรียมพร้อมเรื่องสถานที่ เตรียมพื้นที่ต้อนรับคนมาร่วมกิจกรรม
    • ทีมเทคนิค เตรียมเช็คเครื่องเสียง ไฟล์ข่าวพลเมือง สารคดีที่จะเปิดในงาน
    • ทีมศิลป์ จัดสถานที่จัดป้ายโครงการ และ จัดนิทรรศการ ของเล่นพื้นบ้านแต่แรก

     

    60 5

    15. สาสน์เสวนาบ้านป่าชิง

    วันที่ 23 มิถุนายน 2556 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    กิจกรรมตามแผนที่ทีมทำงานร่วมกันวางไว้และได้ปฎิบัติจริง กลุ่มเป้าหมาย ที่เข้าร่วมเวที สาสน์เสวนาในครั้งนี้ คือต้องการผู้เข้าร่วมทุกวัย ทั้งคนเฒ่าคนแก่ คนกลางคน เด็กๆ มาร่วมวงเสวนาครั้งนี้เพื่อช่วยกันเติมเต็ม ความต้องการความเป็นอยู่ที่แท้จริงของคนบ้านป่าชิง  โดยมี - กิจกรรม ทานข้าวล้อมวง เสมือนกินข้าวบ้านพี่บ้านน้อง มาพบปะพูดคุยกันในวงอาหาร  มีการเอื้อเฟื้อ ซึ่งกันและกัน - คนเฒ่าคนแก่ในบ้านป่าชิง เป็นทั้งปราชญ์ชาวบ้าน ครูภูมิปัญญา เข้ามาให้ความรู้ในข้อมูลส่วนที่เป็นอดีต ดังนี้

    1.ปู่จ้วน  บัวหนู  ปราชญ์ชาวบ้านด้านภูมิปัญญา

    2.ตาเอี่ยม เพชรศรี  ปราชญ์ชาวบ้านด้านประเพณีวัฒนธรรม

    3.ตาฉั้น  บัวหนู    ปราชญ์ชาวบ้านด้านอาชีพ  และครูภูมิปัญญาด้านการเกษตร

    4.ตาเกลื้อม แก้วนะ  ครูภูมิปัญญา มโนราห์พื้นบ้าน โนราห์โรงครู

    5.ตาเปือน ชูหนู  ปราชญ์ชาวบ้านด้านภูมิปัญญาและวิถีชีวิต บ้านป่าชิง

    นอกจากนั้น  ยังมีคนเฒ่าคนแกในบ้านป่าชิง  มาเล่าวิถีชีวิต  และความเป็นอยู่ในสมัยแต่ก่อน อีก 2 ท่าน  คือ ตาภู่ มะลิวัลย์  และตาฉุ้น  บัวหนู

    • มีซุ้มนิทรรศการ ของเล่นพื้นบ้านแต่แรก  ทั้งเดินกะลามะพร้าว  ฉับโพง  ม้าก้านกล้วย  ปืนก้านกล้วย  ไว้ให้เด็กๆ เข้ามาศึกษาเรียนรู้และได้ลองย้อนอดีตเล่นของเล่น แต่แรกของบ้านเรา ซึ่งเป็นของเล่นที่ทำขึ้นเอง  ไม่ต้องซื้อ ไม่ต้องขาย และที่สำคัญเป็นภูมิปัญญาที่สมัยนี้หาเล่นได้ยากมาก

    บรรยากาศในวันนี้เปรียบเสมือน พ่อเฒ่าเล่านิทานแต่แรกให้ลูกๆ หลานๆฟัง ลูกหลาน สงสัยอะไรก็ซักถามพ่อเฒ่า และร่วมกันเติมเต็ม ภาพป่าชิงที่เราอยากเห็นทั้งในปัจจุบันและต่อไปในอนาคต

    มีจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งหมด 88 คน

    • วิทยากร 5 คน + ผู้ให้ความรู้เพิ่มเติม 2 คน =  7 คน

    • ทีมทำงาน                15  คน

    • ผู้เข้าร่วม                  64  คน

    • ทีมพี่เลี้ยงจาก สจรส.    2  คน

              รวมทั้งหมด  88 คน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    มีคนเข้ามาเรียนรู้เกินตามเป้าหมายที่เราวางไว้ และคนเฒ่าคนแก่ก็มีข้อมูลหลายส่วนที่จะเล่าลงลึกได้มากกว่าประเด็นที่ได้รับมอบหมายให้บรรยาย จึงคิดว่าน่าจะนำไปสู่การต่อยอดการเรียนรู้ครั้งต่อไปที่ลึกกว่าวันนี้  และภูมิปัญญาบางอย่าง อยากจะลงมือปฏิบัติจริง

    • ช่วงหลังๆเด็กๆ เริ่มจะให้ความสนใจน้อยลง เพราะเป็นการบรรยายเพียงอย่างเดียว

    • การเรียนรู้ในซุ้มนิทรรศการ เด็กๆก็ให้ความสนใจ  แต่ยังมีของเล่นที่น้อยเกินไป น่าจะมีของเล่นที่มากกว่านี้

     

    60 100

    16. ประชุมแกนนำเยาวชน

    วันที่ 14 กรกฎาคม 2556 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    แกนนำเยาวชนเสนอแนวคิดและกิจกรรมที่เขาต้องการจะทำเสริม    อย่างเช่น - ปลูกต้นไม้รอบคลอง - ขุดลอกคลองกรวด ซึ่งเป็นคลองตายน้ำไม่ได้ถ่ายเปลี่ยน เพื่อเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาและสัตว์น้ำ - ปล่อยปลา ในคลอง  เพื่อเป็นแหลงอาหารให้คนป่าชิงและใกล้เคียง มีผู้เข้าร่วม 7  คน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เด็กๆ  มีความตั้งใจและมีศักยภาพสูงกว่าที่คาดหวังไว้  ทำให้เขาออกแบบกิจกรรมได้น่าสนใจ

     

    60 7

    17. ประชุมละติดตามผลการดำเนินงานกิจกรรม ของทีมทำงาน

    วันที่ 19 กรกฎาคม 2556 เวลา 18:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    แลกเปลี่ยนเรียนรู้กิจกรรม  ที่ผ่านมา แล้วร่วมกันถอดบทเรียนกลไกที่ก่อให้ชุมชนเกิดการเปลี่ยนแปลงเมื่อทีมทำงาน  และเด็กๆ ได้ลงพื้นที่ทำกิจกรรม ทำให้เห็บพัฒนาการมีคนเข้ามามีส่วนร่วมและสนใจติดตามกิจกรรมเพิ่มมากขึ้น นำเอาเรื่องราวที่เรียนรู้มาเล่าสู่กันฟังแล้วช่วยกันถอดบทเรียนร่วมกัน มีผู้เข้าร่วม 13 คน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้ของมูลที่เป็นข้อเท็จจริงของชุมชน  และเกิดก่ีเรียนรู้ใหม่ๆ  เมื่อต่างฝคนต่างมาแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเรียนรู้ของแต่ละคน

     

    60 13

    18. สร้างสรรค์บ้านป่าชิง ครั้งที่ 1

    วันที่ 20 กรกฎาคม 2556 เวลา 11:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เด็กๆ ร่วมกันแต่งเพลง “เพลง ให้บ้านเรา” แต่งเพลงที่มีความหมายให้  รัก และรักษ์  บ้านเรา  นำทีมโดยพี่วัจน์  สุวัจน์  มุสิการัตน์  ร่วมกันแต่งเนื้อเพลงและแกะคอร์ส เพลง  เพื่อเป็นการเรียนรู้การแต่งเพลงเบื้องต้น  น้องเจมส์  น้องข่า น้องตะใคร้ น้องฟิล  ช่วยกันแต่งเพลงรักษ์ป่าชิง  แต่ยังไม่ประสบความสำเร็จ  สังเกตเห็นแววตาและความสนุกสนานของเด็กๆ เพราะว่าหลายคนอยากเล่นเครื่องดนตรี และร้องเพลง มีผู้เข้าร่วม 7 คน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เด็กๆ  มาร่วมกันศึกษา การเล่นดนตรี  และร่วมกันแต่งเพลง  เกิดความสนุกสนาน ร่วมแลกเปลี่ยนแนวคิดในการแต่งเพลงเพื่อสื่อสารออกมาได้ี

     

    60 7

    19. เฝ้าระวังทางสังคม ครั้งที่ 1

    วันที่ 21 กรกฎาคม 2556 เวลา 10:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ร่วมกันกำหนดกรอบในการออกสำรวจพื้นที่คลองพลู  เพราะ พวกเราเล็งเห็นถึงความสำคัญของคลองพลูแม้ว่าจะเป็นสายน้ำสายเล็กๆ แต่คลองพลูก็มีน้ำตลอดปี ไม่เคยแห้ง และที่สำคัญที่สุด คลองพลูเป็นคลองที่หล่อเลี้ยงปากท้องของคนป่าชิง  เพราะการทำนาของบ้านป่าชิงต้องอาศัยน้ำจากคลองพลู มาคอยหล่อเลี้ยง คลองพลูจึงเป็นทั้งที่กักเก็บน้ำในยามที่ฝนแล้ง และเป็นที่ชะลอน้ำในหน้าฝน เราจึงมองเห็นความสำคัญของคลองพลู จึงตั้งทีม “นักสืบ สายน้ำ”  เพื่อเก็บข้อมูลของคลองพลูและการใช้น้ำอย่างละเอียดแล้วเราก็นำมาวิเคราะห์ว่าน่าจะต้องสร้างฝายชะลอน้ำ  โดยต้องปรึกษากับผู้ที่รู้เรื่องนี้โดยตรง  แต่เด็กๆ ก็ช่วยกันเก็บข้อมูลพื้นฐานของคลองพลู  โดยแผนการที่วางไว้คือวันพรุ่งนี้  มีผู้เข้าร่วม 5  คน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เด็กๆได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลคลองพลู  และสามารถบอกถึงความสำคัญกับคนบ้านป่าชิงได้ และได้สื่อสารลงบนเฟสบุ๊ค ซึ่งเป็นเครื่องมือสื่อสารอีกช่องทางหนึ่ง

     

    60 5

    20. เฝ้าระวังทางสังคมครั้งที่ 1

    วันที่ 22 กรกฎาคม 2556 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    “นักสืบ สายน้ำ”  ลงพื้นที่ คลองพลู เด็กๆตั้งความคาดหวังก่อนที่จะออกเดินทางไปยังคลองพลูดังนี้ 1. เราต้องการจะสืบหาต้นน้ำของคลองพลูอย่างแท้จริง  ว่ามีกี่แห่ง 2. วัดขนาดความลึกของคลองพลู 3. กะความยาวของคลองตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ 4. สำรวจว่ามีสิ่งมีชีวิตกี่ชนิด 5. สำรวจพันธุ์ไม้ที่ขึ้นรอบๆคลอง 6. สำรวจปริมาณน้ำ ในแต่ละช่วงฤดู เมื่อลงพื้นที่จริง เด็กๆ  เก็บข้อมูลได้ยังไม่ครบทุกข้อที่วางไว้ เนื่องด้วยสภาพของคลองมีความแตกต่างกันมาก ส่วนของต้นน้ำจะเป็นเส้นทางน้ำสายเล็กๆ และระยะทางห่างกันมาก ทำให้ต้องเปลี่ยนแผน  ศึกษาแต่เฉพาะส่วนของต้นน้ำเท่านั้น จึงได้ข้อมูลเฉพาะส่วนของต้นน้ำ มีผู้เข้าร่วม 5 คน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เด็กได้เรียนรู้ประโยชน์ของคลองพลูและการนำน้ำจากคลองไปใช้ประโยชน์

     

    60 5

    21. ประชุมทีมทำงานและถอดบทเรียนงานที่ผ่านมา

    วันที่ 24 กรกฎาคม 2556 เวลา 16:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมทีมทำงาน  ร่วมกันถอดบทเรียนงานที่ผ่านมา  และร่วมกันวางแผนการทำงานขั้นต่อไป  และมีการพัฒนาวัดเชิงคีรี เพื่อสร้างจิตสำนึกในการดูแลปกป้องสถานที่สาธารณะของชุมชน มีผู้เข้าร่วม 9 คน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ทีมทำงานได้มีส่วนร่วมรับรู้กิจกรรมทุกกิจกรรมของโครงการและร่วมกันเสนอแนะกิจกรรม

     

    60 9

    22. ประชุมทีมเยาวชนทำสื่อ และถอดบทเรียนสื่อที่ผลิต

    วันที่ 26 กรกฎาคม 2556 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วางแผนการทำสื่อ  การผลิตสื่อ เพื่อประชาสัมพันธ์บ้านป่าชิง  มีผู้เข้าร่วม 5 คน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    มีแกนนำจำนวน 5  คน  สนใจที่จะทำสื่อประชาสัมพันธ์บ้านป่าชิง

     

    60 5

    23. กระบวนการใช้หลักจิตวิทยาบำบัด

    วันที่ 27 กรกฎาคม 2556 เวลา 10:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    การใช้หลักจิตวิทยาบำบัด เพื่อให้เด็กมีกฏใจการจัดการกับอารมณ์ตนเอง  ออกแบบให้มีการวาดรูป  เพื่อให้เกิดสมาธิ มีผู้เข้าร่วม 6 คน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    น้องๆ  มีพื้นฐานในการทำสมาธิ  จึงเกิดความนิ่งและทำกิจกรรมได้บรรลุตามเป้าหมาย

     

    60 6

    24. "เรียนรู้วิถีชีวิต คน-คลอง"

    วันที่ 28 กรกฎาคม 2556 เวลา 11:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ลงพื้นที่คลองนาทับเพื่อศึกษาวิถีชีวิต คนรอบคลองนาทับ และได้ลงเก็บหอยนางรมด้วยตัวเอง เพ มีผู้เข้าร่วม 5  คน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    น้องๆให้ความร่วมมือและให้ข้อเสนอกิจกรรมที่หลากหลาย คิดเป็น 90 % และมีความสนุกสนานเพลิดเพลินกับกิจกรรม ถือเป็นการพักผ่อนอีกวิธีหนึ่ง

     

    60 5

    25. เก็บข้อมูลชุมชนป่าชิงครั้งที่ 1

    วันที่ 29 กรกฎาคม 2556 เวลา 11:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ร่วมกันเสนอสถานที่สำคัญของบ้านป่าชิง  ซึ่งมีน้องๆ เสนอ ตั้งแต่ วัด โรงเรียน ทวดเพชร ทวเลียบ  คลองนุ้ย  คลองโพมา  คลองพลู คลองเฉียงพร้า แล้วช่วยกันวิเคราะห์ว่าสถานที่ดังกล่าวมีความสำคัญกับตัวเรามากน้อยเพียงไร  มีผู้เข้าร่วม 10 คน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    น้องๆให้ความร่วมมือและให้ข้อเสนอกิจกรรมที่หลากหลาย คิดเป็น 90 %

     

    60 10

    26. สร้างสรรค์ป่าชิง ครั้งที่ 2

    วันที่ 2 สิงหาคม 2556 เวลา 11:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เด็กๆ ร่วมกันแต่งเพลง “เพลง ให้บ้านเรา” แต่งเพลงที่มีความหมายให้  รัก และรักษ์  บ้านเรา  นำทีมโดยพี่วัจน์  สุวัจน์  มุสิการัตน์  ร่วมกันแต่งเนื้อเพลงและแกะคอร์ส เพลง  เพื่อเป็นการเรียนรู้การแต่งเพลงเบื้องต้น  น้องเจมส์  น้องข่า น้องตะใคร้ น้องฟิล  ช่วยกันแต่งเพลงรักษ์ป่าชิง  แต่ยังไม่ประสบความสำเร็จ  สังเกตเห็นแววตาและความสนุกสนานของเด็กๆ เพราะว่าหลายคนอยากเล่นเครื่องดนตรี และร้องเพลง มีคนเข้าร่วม  6  คน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    มีเพลงที่เกี่ยวกับบ้านป่าชิง  เพื่อปลุกจิตสำนึกให้คนตระหนักถึงวิถีชุมชนที่บรรพบุรุษได้สร้างมา  เพราะเป็นวิถีที่ยั่งยืน คนที่ยังคงดำรงวิถีนี้อยู่จะอยู่ย่างมีความสุข

     

    60 6

    27. ประชุมทีมทำงาน

    วันที่ 3 สิงหาคม 2556 เวลา 16:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    พูดคุยสรุปการทำกิจกรรมที่ผ่านมา  และวางแผนกิจกรรมถัดไป  มีคนเข้าร่วมประชุม 7  คน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    พูดคุยสรุปการทำกิจกรรมที่ผ่านมา  และวางแผนกิจกรรมถัดไป มีทีมทำงานได้เสนอแนวคิดการทำกิจกรรมต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของเด็ก  ผู้ปกครองของเด็กรับรู้และข้าใจการมาทำกิจกรรมของเด็ก  และทราบว่าแต่ละครั้งลงพื้นที่ที่ไหน

     

    60 7

    28. เฝ้าระวังทางสังคม ครั้งที่ 2

    วันที่ 4 สิงหาคม 2556 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    “นักสืบ สายน้ำ”  ลงพื้นที่ คลองเฉียงพร้า เด็กๆตั้งความคาดหวังก่อนที่จะออกเดินทางไปยังคลองดังนี้ 1. เราต้องการจะสืบหาต้นน้ำของคลองเฉียงพร้าอย่างแท้จริง  ว่ามีกี่แห่ง 2. วัดขนาดความลึกของคลอง 3. กะความยาวของคลองตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ 4. สำรวจว่ามีสิ่งมีชีวิตกี่ชนิด 5. สำรวจพันธุ์ไม้ที่ขึ้นรอบๆคลอง 6. สำรวจปริมาณน้ำ ในแต่ละช่วงฤดู เมื่อลงพื้นที่จริง เด็กๆ  เก็บข้อมูลได้ยังไม่ครบทุกข้อที่วางไว้ เนื่องด้วยสภาพของคลองมีความแตกต่างกันมาก ส่วนของต้นน้ำจะเป็นเส้นทางน้ำสายเล็กๆ และระยะทางห่างกันมาก ทำให้ต้องเปลี่ยนแผน  ศึกษาแต่เฉพาะส่วนของต้นน้ำเท่านั้น จึงได้ข้อมูลเฉพาะส่วนของต้นน้ำ มีผู้เข้าร่วม 7 คน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้ข้อมูลของคลองตรงตามเป้าหมายที่วางไว้  น้องโม เป็นคนในพื้นที่รอบตคลองเฉียงพร้าได้บรรยายความสนุกเมื่อได้ลงไปเล่นน้ำคลองฉียงพร้า แล้วสามารถบอกได้ว่าส่วนไหนตื้น ส่วนไหนลึก

     

    60 7

    29. เก็บข้อมูลชุมชนป่าชิงครั้งที่ 2

    วันที่ 7 สิงหาคม 2556 เวลา 10:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เยาวชนกลุ่ม “หลบมาแล ป่าชิงบ้านเรา”  ศึกษาประวัติศาสตร์ชุมชน  ตอน ความเชื่อของคนป่าชิง พวกเรามารวมตัวกันแล้ววางแผนในการลงพื้นที่เพื่อให้ได้ข้อมูลมา  อย่างถูกต้องที่สุด  โดยพวกเราชวนกันเดินขึ้นไปบนควนป่าชิง จุดมุ่งหมายของพวกเราคือ ศาลาทวดเพชร  โดยมี ตาฉุ้น  นายฉุ้น  บัวหนู  เป็นคนให้ความรู้ ตาฉุ้นเล่าว่า ทวดเพชรเป็นรุขเทวดาที่เราชาวป่าชิงเคารพนับถือมาเป็นระยะเวลานานมาแล้ว  ทวดเพชรที่ว่านี้เป็นต้นไข่เขียว หรือ ต้นไก่เขียว  ข้างลำต้นมีพอนของต้นออกมาเป็นรูปคนยืนอยู่ หันหน้าไปยังควนป่าชิง  คาดว่าต้นทวดนี้ น่าจะมีอายุประมาณ 500-600 ปีมาแล้ว  เป็นสิ่งศักดิ์สิทธ์ที่ชาวป่าชิงนับถือบูชาเพราะเชื่อว่าทวดเพชรเป็นเทวดาที่คอยดูแลปกป้องบ้านป่าชิง  ไม่ว่าจะเดินทางไปไหน ก็จะบอกจะกล่าวขึ้นมาลอยๆ “ลูกจะไปข้างนอก  ให้ทวดเพชร ได้ปกป้องคุ้มครองด้วย”  หรือหากทำนาทำสวนจะให้ได้ผลดี ก็บอกกล่าวทวดให้ปกป้องพืชพันธุ์ ด้วย ตาฉุ้นยังเล่าอีกว่า ชาวบ้านจะทำบุญให้กับทวดทุกๆ ปีเพื่อแสดงความนับถือ และขอบคุณที่คอยปกป้องบ้านให้อยู่เย็นเป็นสุข มีผู้เข้าร่วม 6  คน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เด็กๆได้เข้ามามีส่วนร่วมในการศึกษาข้อมูลของบ้านป่าชิง ให้ความร่วมมือกับกิจกรรมและตั้งใจปฏิบัติตามหน้าที่ของตนเอง

     

    60 6

    30. เก็บข้อมูลชุมชนป่าชิงครั้งที่ 2

    วันที่ 7 สิงหาคม 2556 เวลา 11:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    สำรวจความอุดมสมบูรณ์ของคลองเฉียงพร้า
    -  การใช้ประโยชน์จากคลอง -  ความสมบูรณ์ของคลอง

    ผู้เข้าร่วม 7  คน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้ข้อมูลในส่วนของ
    -สิ่งมีชีวิตที่อาศัยในคลองและรอบคลอง - การใช้ประโยชน์จากคลอง

     

    60 7

    31. สรุปผลการเก็บข้อมูลชุมชนป่าชิง

    วันที่ 9 สิงหาคม 2556 เวลา 10:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    สรุปผลการเก็บข้อมูลชุมชนป่าชิง  และร่วมกันถอดบทเรียนการทำกิจกรรมที่ผ่านมา ทำให้เราพบว่าบ้านเรา(ป่าชิง)ยังมีความอุดมสมบูรณ์ ท้งทรัพยากร วัฒนธรรมวามเชื่อวิถีชีวิต และยังเป็นแลงเรียนรู้แบบไม่มีที่สิ้นสุด มีผู้เข้าร่วม 9 คน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เปลี่ยนรูปแบบการถอดบทเรียนมาเป็นการเขียนบรรยา  การทำกิจกรรมที่ผ่านมา  เรารู้สึกอย่างไร  ทำให้เด็กๆ ได้สะท้อนแง่คิดออกมาได้ดีกว่าการพูด

     

    10 10

    32. เฝ้าระวังทางสังคม ครั้งที่ 3

    วันที่ 10 สิงหาคม 2556 เวลา 11:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ร่วมกันกำหนดกรอบในการออกสำรวจพื้นที่คลองพลู  เพราะ พวกเราเล็งเห็นถึงความสำคัญของคลองพลูแม้ว่าจะเป็นสายน้ำสายเล็กๆ แต่คลองพลูก็มีน้ำตลอดปี ไม่เคยแห้ง และที่สำคัญที่สุด คลองพลูเป็นคลองที่หล่อเลี้ยงปากท้องของคนป่าชิง  เพราะการทำนาของบ้านป่าชิงต้องอาศัยน้ำจากคลองพลู มาคอยหล่อเลี้ยง คลองพลูจึงเป็นทั้งที่กักเก็บน้ำในยามที่ฝนแล้ง และเป็นที่ชะลอน้ำในหน้าฝน เราจึงมองเห็นความสำคัญของคลองพลู จึงตั้งทีม “นักสืบ สายน้ำ”  เพื่อเก็บข้อมูลของคลองพลูและการใช้น้ำอย่างละเอียดแล้วเราก็นำมาวิเคราะห์ว่าน่าจะต้องสร้างฝายชะลอน้ำ  โดยต้องปรึกษากับผู้ที่รู้เรื่องนี้โดยตรง  แต่เด็กๆ ก็ช่วยกันเก็บข้อมูลพื้นฐานของคลองพลู  มีผู้เข้าร่วม  7  คน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เด็กมีความตั้งใจและร่วมมือในการเก็บข้อมูล และเกิดความรู้สึกตระหนักรักทรัพยากรในชุมชนมากขึ้น เมื่อน้องโม  เจอเห็ดนมหมูซึ่งเป็นตัวบ่งบอกควาสมบูรณ์ของพื้นที่  จึงเป็นประเด็นให้เด็กๆได้พูดจา แลกเปลี่ยนข้อมูลเรื่องอาหารในชุมชน

     

    60 7

    33. เก็บข้อมูลชุมชนป่าชิง ครั้งที่ 3

    วันที่ 11 สิงหาคม 2556 เวลา 11:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เด็กๆ ช่วยกันวาดรูปภาพป่าชิงในความประทับใจของแต่ละคน เพื่อเป็นมุมมองเล็กให้คนที่ดูได้เห็นว่ามุมมองเล็กของป่าชิงก็มีความหมาย อย่าเช่น ควนป่าชิง  ที่ทุกคนก็เห็นกันอยู่ทุกวันแต่ไม่ได้ใส่ใจ ว่ามีความสำคัญกับตัวเรามากน้อยแค่ไหน  และมีความสวยามอย่างไร คนที่มองผ่านภาพนี้แล้ว  คงจะไปหยุดดูความสวยงามของคลองป่าชิง "น้องตะใคร้ กล่าว ขึ้นมาขณะวาดรูป"
    มีผู้เข้าร่วม  7  คน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เด็กๆ มีความตั้งใจในการวาดภาพ  และอยากให้ภาพที่ตนวาดอกมาสวยสะดุดใจ คนที่เข้ามาดู

     

    60 7

    34. เก็บข้อมูงชุมชนป่าชิงครั้งที่ 3

    วันที่ 12 สิงหาคม 2556 เวลา 10:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เด็กๆ ช่วยกันวาดรูปคลองเฉียงพร้าในมุมที่ตนเองชอบ  เพื่อสื่อสารว่าตัวเองต้องการสภาพคลองอย่างไร  พื่อเป็นสื่อให้คนในปาชิงได้ตระหนักถึงความสำคัญของคลอง และวิถีชีวิตที่เกี่ยวกับคลอง  โดยมีผู้เข้าร่วม 9 คน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เด็กๆ  ให้ความร่วมมือและร่วมกันวาดภาพคลองเฉียงพร้า

     

    60 9

    35. ระดมความคิดเห็นเยาวชนในเชิงสร้างสรรค์ครั้งที่ 4

    วันที่ 24 สิงหาคม 2556 เวลา 11:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของเด็กและยาวชนป่าชิง ร่วมกันดูผลงาน วิคราะห์การทำงาน ที่ผ่านมา เพื่อสื่อสารว่าวิถีในอดีตและที่เป็นอยู่ยังมีความเป็นชุมชนที่แท้จริง  ดังนั้นคนที่จะวางแผนขับเคลื่อนชุมชนนั้นก็คือคนบ้านเราเอง  เพื่อเป็นสื่อให้คนในปาชิงได้ตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องราวบ้านเราเอง  มีผู้เข้าร่วม 16 คน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เด็กๆ และผู้ใหญ่ ให้ความร่วมมือสะท้อนผลงานที่ได้ดูไป แล้ววิเคาระห์ว่าเราจะไม่ทิ้งกัน หากมีปัญหาก็จะช่วยกันแก้ไป ทีมผู้ใฟหญ่ใหฟ้ความช่วยเหลือเด็กๆเต็มที่

     

    60 16

    36. ฝึกกระบวนการสร้างแกนนำเยาวชนในการสื่อสารประชาสัมพันธ์ เกี่ยวกับชุมชนบ้านป่าชิง

    วันที่ 28 สิงหาคม 2556 เวลา 11:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    กระบวนการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ชุมชนบ้านป่าชิง  28 กรกฎาคม 2556
    เริ่มต้นด้วยการดูภาพกิจกรรมการศึกษาชุมชนที่พี่จอยทำ มีเด็กๆ บางส่วนในห้องนี้ไปร่วมและมีรูปอยู่ด้วย
    แนะนำตัวพี่จอยเป็นใคร ลูกใครมีใครเป็นพี่น้องบ้าง ชื่อน้อง เฟิร์น  บอล บาว โดน มีน นอกถนน ข้ามสะพานไปด้วย ดอน เฉียงพร้า  น้อยหน่า บ้านอยู่ควนมิน พิว ขิม ม้าเงย เชียร์ ศาลานำ้  อยู่ม้าเงย บ้านจริงอยู่กำแพงเพชร ดิว ควนมิน กาฟิว ถนนพาด กุ๊ก นารอบ จิกกี๊ ม้าเงย แอน นารอบ  พีชไทรขึง กวาง นารอบ พี่พี่กุ๊ก  พี่วัฒ บ้านอยู่ไทรขึง
    พี่จอย มีโครงการสสส.สนับสนุนชุมชน มีงบประมาณอยู่ มาชวนพวกเราทำกิจกรรมชุมชน ชวนกันศึกษาชุมชน ประวัติศาสตร์ชุมชน ทำให้เห็นเป็นรูปธรรม ทำให้เห็นได้  อย่างทำเป็นวิดีโอ พ่อแม่ทำสิ่งเหล่านี้อยู่ทุกวัน ถ้าน้องๆ ได้มาร่วมกิจกรรมด้วยกัน ก็จะทำให้เห็นชัดขึ้น
    มีพี่ๆ คนอื่นๆ พี่เจม ตอนนี้มีพี่รุ่นเก่าเป็นแกนนำ เราลงพื้นที่ไปเก็บข้อมูล ไปกันหลายที่แล้ว แอนไปคลองเฉียงพร้ามา วาดรูป เล่นนำ้ หาหอย
    แอน วาดรูปและเขียนบรรยาย ไปงมหอยกัน  ของที่บ้านกวางไม่ได้กินพ่อเอาไปผัดเผ็ด กินอร่อย
    น้องเฟิร์น ได้ไปนั่งคุยกับพี่ๆ ที่บ้านพี่จอย ไปกินข้าว ไก่ทอด แกงจืด ผัดเผ็ดหมู พี่ๆ คิดเมนูด้วยกัน แล้วเอาผลงานที่พี่ๆ เขาทำกันมา เอามาโชว์
    เปิดซีดีชุดที่สอง  เล่าประวัติบ้านป่าชิง
    ถามชื่อ คุณตาที่พูด ใครรู้จักบ้าง ตอบ ตาเชี่ยง
    ป่าชิงเรามาจากไหนกันแน่ ข้อมูลที่พวกเราไปช่วยกันทำ จะทำให้เรารู้ว่าบ้านป่าชิงเรามาจากไหนกันแน่
    พวกเราอยากทำอะไรกันบ้าง  วาดรูป  ทำวิดีโอ  ถ่ายภาพนิ่ง นิทรรศการของเล่นจากวัสดุในท้องถิ่น  ทำหนังสือพิมพ์ชุมชน สิ่งประดิษฐ์-ทำกระปุกออมสิน จากไม้ไผ่
    โพรงงู สำคัญกับป่าชิง ตรงที่คนบ้านเราใช้นำ้มาทำนา
    คลองเฉียงพร้า  ที่มีกอสาคูมากๆ
    นักสืบสายนำ้ดูปลา แลสายนำ้  เขาจะสืบว่านำ้สายนี้มาจากไหน  คลองพลูจากจากควนไน คลองเฉียงพร้ามาจากเหมืองหิน ดูว่ามีสิ่งมีชีวิตอะไรบ้าง ไปโดดคลองกันมา งมหอยโข่ง ได้มากถุงใหญ่ประมาณ 5  กิโลได้ เก็บกัน 7  คน
    อยากทำกิจกรรมกันวันเสาร์อาทิตย์  บางคนไม่ไป เพราะเล่นเกม
    สถานที่ที่น่าสนใจบ้านป่าชิง  คลองเฉียงพร้า คลองพลู คลองโพมา  คลองนุ้ย คลองตรวจ วัด โรงเรียน  คลองยาง  ทวดเพชร อยู่หลังวัด ทวดเลียบ ทวดโคมาเป็นโคนินตัวสีดำ ขี้ออกทอง ส่วนคลองโพมาใต้นำ้จะมีโพรง มีจระเข้อาศัยอยู่ คราวหน้าจะมีคนที่รู้มาเล่าให้ฟัง  ทางรถไฟ
    อยากไปทำกิจกรรมที่คลองเฉียงพร้าเป็นที่แรก  สองคลองโพมา คลองโพมา  ทวดโพมา ทวดเพชร  คลองยาง คลองนุ้ย  คลองตรวจ วัด ทวดเลียบ  มีผู้เข้าร่วม 22  คน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลเกินความคาดหวัง  มีนักเรียนให้ความสนใจกิจกรรม ประมาณ  80%

     

    60 22

    37. นิเทศรายงานโครงการกับทีมพี่เลี้ยง

    วันที่ 30 สิงหาคม 2556 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    รายงานและติดตามการทำงานโครงการ เยาวนักพัฒนา(ผลัดกันแลลูกเธอลูกฉัน)  ติดตามและแก้ไขรายละเอียดเอกสารการเงิน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ติดตามและแก้ไขรายละเอียดเอกสารการเงิน รายงาน ส1  ส2

     

    2 0

    38. ประชาคมหมู่บ้านและรายงานกิจกรรมที่ผ่านมา

    วันที่ 1 กันยายน 2556 เวลา 11:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เวทีประชาคมหมู่บ้าน...ประชาคมหมู่บ้านกับการจัดการตนเอง  และสรุปงานเยาวชนที่ผ่านมา

    ตอนนี้โรงไฟฟ้าจะนะจะมาทำคูให้ เพื่อพิจารณาการป้องกันและแก้ไขน้ำท่วม  หลังจาก “อาจารย์จำลอง น้ารุณ ครูนพ” ประสานงานวางแผน พูดคุยกัน การดำเนินการมีการบริจาคที่ดิน ที่ต้องเปิดเป็นคลองขนาดกว้าง ยาว “ครูจำลอง” ให้ข้อมูลว่า มีการถมที่กันมาก ทางน้ำมี 4 เมตร ทางถนนรถไฟเดิมมีบ่อดิน สะพานรถไฟ น้ำต้องให้ไหลลงทางบ่อจีนเดิม ทำให้น้ำไหลสะดวก ตอนนี้มีเอื้องเต็มขวางทางน้ำการระบายน้ำลงแนวตามทางรถไฟ ตรงอื่นเป็นที่เอกชนเขาถมหมดแล้ว มีบ่อดินอยู่ 4 เมตร จะให้น้ำไหลไปทางทุ่งแนะก็ไม่ได้ เราต้องเปิดทางน้ำ ลอกด้านข้าง ขุดคลองใต้สายไฟแรงสูง ตั้งเป้าว่าจะขุดยี่สิบเมตร ประสานทางหลวงให้เจาะถนน เป้าหมายเพื่อระบายน้ำทุ่งป่าชิงให้ลงไปทุ่งและคลองแม่น้ำให้ได้เร็วที่สุด มีเจ้าของที่สามเจ้า น้าบูลหนึ่งแปลง น้องแหวง ลุงจันทร์ ได้ไปคุยสามแปลงนี้แล้ว ทุกคนให้เนื่องจากของน้าบูล ตรงนี้ห้าสิบเมตรความกว้างของสายไฟ ขุดพื้นที่ไปแล้วในที่ของน้าบูลเอง เมื่อขุดลึกประมาณแปดเมตร ที่เราคิดไว้ขุดแนวนี้ยี่ิสิบเมตร เอาดินมาทำถนนให้เขากว้างประมาณสิบเมตร ทำให้เขาเข้าที่ดินได้ ของลุงจันท์ไม่ติดถนน สามารถเข้าตรงนี้ได้เช่นเดียวกับของน้องแหวง ของน้าบูลเว้นทางด้านหลังเป็นทางเข้า มันจะกลายเป็นกำแพงขวางน้ำที่ผ่านมาได้ ได้พูดคุยกันสองสามครั้ง โดยวางไว้ว่าทางแรก ทำทาง อิฐบล๊อก ใช้งบประมาณล้านกว่าบาท เสนอให้ใส่ท่อหนึ่งเมตร ใช้งบประมาณห้าแสนกว่าบาท กระบวนการขุด ได้คุยกับโรงไฟฟ้า เขาจะออกเครื่องจักรในการขุด
    ทางชุมชนเจรจาเรื่องพื้นที่ เรื่องนี้เป็นปัญหาของหมู่หนึ่งของเราเอง ความเห็นพี่น้อง จะเอางบมาจากไหน หนึ่งล้าน แปดแสน ห้าแสน มีการคุยคร่าวๆ ว่าอาจมีการเลี้ยงน้ำชา เป็นทางหนึ่ง รู้ปัญหาแล้วส่งผ่านไปทางหน่วยงานของท้องถิ่นด้วยได้ไหม ถ้าไม่ใช่ทางสาธารณะไม่สามารถกระทำได้ ทางท้องถิ่นจะช่วยผลักดันหาจากหน่วยงานอื่น ประสานทางอำเภอประสานรถไฟ ถนนรถไฟ การลอกเอื้อง รถไฟไม่ยินยอม จึงต้องไปขุดด้านนอก ทุ่งพระมีการขุดทางระบายน้ำทางรถไฟด้วย ถ้าคิดไปลอกใต้สะพาน โดยแรงคน ถ้าเป็นของรถไฟเขาทำได้ กระบวนการ พี่น้องเห็นด้วยว่าเป็นแนวทางที่ใช่ จากนี้จะขอให้ทางผู้ใหญ่บ้านทำเรื่องไปยังการรถไฟ ทางหลวง ร่วมกับไฟฟ้า ร่วมคุยกัน เพราะไฟฟ้ารับปากจะขุดที่ให้ ทางรถไฟก็ต้องชี้แจงปัญหาให้อย่างไร จะไม่รออนาคตจะขับเคลื่อนร่วมกันไป พี่น้องที่เสียสละที่ดินตรงนี้ให้ เป็นบุญคุณ ส่วนรายจ่ายที่เกิดขึ้น เมื่อก่อนไม่มีการกั้นตรงดินหยุด ถมติดหมดแล้ว ช่องน้ำห้าหกช่อง ตันหมดแล้วเหลือที่วังไข่เน่า เหลืออยู่สองช่อง ที่นาน้ารุณ ถ้าเรารวมกันเราทำได้ ถ้าเขาไม่ยอมทางเลือกสุดท้ายอาจต้องมาร่วมกัน ป่าชิงเป็นทางน้ำธรรมชาติเดิม เมื่อมีการถมที่ทางเดิมเปลี่ยน มีทางน้ำธรรมชาติ
    กรณีของลุงนิต เห็นใจคนบ้านเรา ที่ดินทางนายกช่วยขยับท่อให้เข้าไปอยู่กลางแดนเสีย ที่นายกทำโรงเรียนเด็กเล็ก จำเป็นต้องใช้ที่แต่ตรงนั้นเป็นลำรางน้ำเดิม จึงมีการขยับ ถ่ายรูป ถ่ายวิดีโอ เก็บภาพไว้ และเห็นทำให้รู้ที่ไปที่มา
    เรื่องผังเมืองสีเขียว  ส่วนของผังเมืองที่ประกาศทั่วประเทศ มีอยู่สามสิบจังหวัดที่ยังไม่ประกาศหนึ่งในนั้นมีจังหวัดสงขลาด้วย หากเราต้องการทำข้อมูลเพื่อให้บ้านเราเป็นพื้นที่สีเขียว เราพอใจกับชีวิตความเป็นอยู่ทุกวันนี้แล้วหรือยัง ตอนนี้ของสงขลาเป็นช่องว่างของกฎหมายทำให้คนที่ต้องการทำพื้นที่อุตสาหกรรมใช้ช่องนี้ในการหาผลประโยชน์ได้ อยากให้คนในหมู่บ้านได้เห็นมาบตาพุดด้วย ชาวบ้านจะได้ตื่นตัว เพราะเขากลัว เพียงเห็นภาพอาจไม่พอ ไม่อยากเห็นโรงงานอุตสาหกรรม อยากเลี้ยงวัว เลี้ยงหมู เลี้ยงเป็ดเลี้ยงไก เคยทะเลาะกับรถไฟมาแล้วไม่กลัว พวกเรารุนรถถอยไปทิ้งที่ข้างทาง ถ้าเราร่วมมือกันจริงๆ ทำได้ กรณี จ.นครฯ บอกว่าให้ย้ายตัวเขาเอง ทั้งผุู้กำกับ พวกเราต้องใจมั่น ถ้าสิบคนก็สิบคนไปรอดแน่นอน เราไม่เอาอุตสาหกรรม ทำให้คนข้างนอกเห็นว่า เรามีมูลค่าทางทรัพยากรอยู่เท่าไร่ สะท้อนค่าให้เขาเห็นตัวเลข เพราะคนข้างบนมองไม่ออกว่าเราทำนาได้ผลผลิตเท่าไหร่ ข้อมูลเหล่านี้จะมีทีมพวกเราไปเก็บข้อมูล  ตอนนี้มีทีมพวกเราไปยื่นหนังสือกับผู้ว่ามาแล้ว วันนั้นผู้ว่าฯ พูดกับทีมที่ไปอย่างไร หลวงขาว เป็นหนึ่งในสามสิบคน เล่าให้ฟังว่า  มีเลขามาต้อนรับขึ้นห้องประชุม ไปนั่งโต๊ะกลมคุย มีเลขาโยธาจังหวัดที่เกี่ยวข้องเรื่องผังเมือง รองผู้ว่ามานั่งคุย ถามเรื่องการมีส่วนร่วมอยู่อย่างไร ที่ผ่านมาขี้หกทั้งนั้น การมีส่วนร่วมให้ชาวบ้านร่วมตัดสินใจ แต่ในความเป็นจริงเราไม่ค่อยมีส่วนร่วมในการตัดสินใจจริงๆ หลังจากนี้เขาบอกจะลงหามีส่วนร่วม ประชาพิจารณาครั้งที่สอง  คนบ้านเราไปแสดงความคิดเห็นสี่คน เมื่อวันก่อนที่เขามาทำเวทีที่อนามัย นศ.จุฬา มาทำวิจัย ป.โท ผู้นำก็ไม่ค่อยได้มีส่วนร่วม    หลังจากนี้เราจะช่วยกันทำข้อมูล ขอความร่วมมือกับพี่ๆน้อง เพื่อยื่นยันคุณค่าของบ้านป่าชิงเรา  และจะมีทีมเด็กๆ  เข้ามาช่วยเก็บข้อมูลส่วนนี้ด้วย  ในการประชุมประชาคมครั้งนี้มีผู้เข้าร่วม  34  คน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คนป่าชิงร่วมกันแสดงความคิดเห็น  และเสนอแนวคิด  และร่วมกันหาทางออก

     

    60 34

    39. ออกแบบกิจกรรมเรียนรู้ความเชื่อคนป่าชิง

    วันที่ 3 กันยายน 2556 เวลา 11:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วางแผนจัดกิจกรรม ศึกษาความเชื่อคนป่าชิง วางแผนจัดกิจกรรมกับเด็กๆโรงเรียนป่าชิง  เพื่อแผนกิจกรรม และแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ
    โดยเราออกแบบกระบวนการการเก็บข้อมูล แบ่งหน้าที่บันทึกข้อมูล ถ่ายภาพนิ่ง ถ่ายวีดีโอ เพื่อการเก็บข้อมูลเป็นไปได้อย่างสมบูรณ์  มีน้องๆเข้าร่วมวางแผน 15  คน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    วางแผน การเก็บข้อมูล  ความเชื่อของคนป่าชิง  แบ่งและมอบหมายหน้าที่รับผิดชอบ

     

    60 15

    40. ศึกษาความเชื่อของคนป่าชิง

    วันที่ 7 กันยายน 2556 เวลา 10:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เก็บข้อมูลบ้านป่าชิง กิจกรรมนี้มีการลงพื้นที่  วัดเชิงคีรี  โดยลงศึกษาพุทธประวัติ พระเจ้า 5 พระองค์ โดยมีตาฉั้น บัวหนู  และตาฉุ้น บัวหนู เป็นผู้เล่าถ่ายทอดความรู้ โดยเชื่อว่า พระมานุษิพุทธเจ้า คือพระผู้ซึ่งได้สำเร็จโพธิญาณ โดยอาศัยที่ได้เสวยพระชาติเป็นพระโพธิสัตว์มาแล้วเป็นลำดับ  ตามคติมหายานกล่าวไว้ว่า พระมานุษิพุทธเจ้า ก็คือพระพุทธเจ้า ที่เสด็จมาประสูตร ตรัสรู้ และปรินิพพาน ในมนุสสภูมิ หรือ ในโลกมนุษย์ นั่นเอง ตัวอย่างเช่นพระพุทธเจ้าในกัปป์ปัจจุบัน ซึ่งเป็นกัปป์ที่มีพระพุทธเจ้า ถึง 5 พระองค์ ได้เสด็จลงมาแล้วถึง 4 พระองค์ และจะเสด็จมาตรัสรู้ภายหน้าอีกพระองค์หนึ่ง (กัปป์ที่มีพระพุทธเจ้า 5 พระองค์ เรียกว่าภัทรกัปป์)
    ดังมีพระนามตามลำดับต่อไปนี้คือ
              1 พระกกุสันโธ
              2 พระโกนาคม
              3 พระกัสสปะ
              4 พระโคตมะ (ยุคปัจจุบัน)
              5 พระศรีอาริยเมตไตรย์ (ยังไม่เสด็จลงมา) ซึ่งประดิษฐานอยู่ในโรงธรรม วัดเชิงคีรี  ในจังหวัดสงขลาเป็นเพียงวัดเเดี่ยวที่มีพระเจ้า 5 พระองค์ไว้บูชา กิจกรรมครั้งนี้มีผู้เข้าร่วม 24  คน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เด็กมีความเข้าใจ ใส่ใจที่จะศึกษาประวัติศาสตร์ชุมชน  ให้ความร่วมมือในการทำข้อมูลทุกรูปบบ  ไม่ว่าจะถ่ายรูป ถ่ายวีดีโอ  และจดบันทึก

     

    60 24

    41. ประชุมทีมทำงาน

    วันที่ 9 กันยายน 2556 เวลา 17:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมทีมทำงาน รายงานผลการทำงานที่ผ่านมา และถอดบทเรียนกิจกรรมที่ผ่านมา ประชุมทีมทำงาน  เพื่อรายงานกิจกรรมที่มผ่านมาถอดบทเรียนกิจกรรมที่ผ่านมาว่าเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้  แต่ค่อนข้างจะไปแบบช้าๆ เนื่องจากเด็กมักมีภารกิจเรื่องการเรียน ผู้เข้าร่วมจึงยังคงเป็นกลุ่มเดิม ไม่เติบโตมากนัก ตอนนี้มีเด็กจากโรงเรียนบ้านป่าชิง สนใจกิจกรรมมากขึ้น อาจจะเน้นกิจกรรมเด็กเล็กให้มากขึ้น  มีผู้เข้าร่วมประชุม 8  คน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ทีมทำงานได้มาปรึกษาพูดคุยและได้แลกเปลี่ยนความคิดที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรม

     

    60 8

    42. เฝ้าระวังทางสังคม

    วันที่ 9 กันยายน 2556 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ลงพื้นที่คลองพลู เก็บข้อมูลการใช้ประโยชน์จากคลองพลู คลองพลูเป็นคลองที่หล่อเลี้ยงปากท้องของคนป่าชิง  เพราะการทำนาของบ้านป่าชิงต้องอาศัยน้ำจากคลองพลู มาคอยหล่อเลี้ยง คลองพลูจึงเป็นทั้งที่กักเก็บน้ำในยามที่ฝนแล้ง และเป็นที่ชะลอน้ำในหน้าฝน  และได้ศึกษาการดักไซกุ้ง  ของลุงภาพ เป็นอีกวิถีหนึ่งที่น่าจะอนุรักษ์ไว้  เพราะเป็นตัวบ่งบอกถึงคุณค่า ของทรัพยากรบ้านเรา โดยมีผู้เข้าร่วมโครงการ 9  คน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ก่อนหน้านี้มีทีมแกนนำเยาวชนได้ลงพื้นที่คลองพลู  เพื่อเก็บข้อมูลไปแล้ว แต่ครั้งนี้มีน้องๆ ชั้นประถมปลาย มาศึกษาข้อมูลในโจทย์เดียวกัน  ได้ข้อมูลส่วนวิถีชีวิต  เพิ่มขึ้น  ทำให้เด็กๆ มีความสนใจและเห็นถึงความสำคัญของคลองพลู

     

    60 9

    43. แข่งงมหอย

    วันที่ 16 กันยายน 2556 เวลา 09:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    กิจกรรม เล่นน้ำและแข่งขันงมหอย คลองเฉียงพร้ามีเด็กเข้าร่วม 15คน  วันนั้นเราได้จัดร่วมกลุ่มกันโดยมีทั้งเด็กผู้หญิงและเด็กผู้ชายโดยจัดเป็นทีมคละๆกันเพื่อความเหมาะสม ร่วมทำกิจกรรมสำรวจคลองในเชิงอนุรักษ์ เล่นน้ำและแข่งขันงมหอยโข่งกัน ซึ่งมีอยู่เยอะในลำคลองแห่งนี้  โดยมีเวลาที่จำกัดให้ เด็กๆก็ได้รับความสนุกสนาน รวมทั้งความสามัคคีในทีม และก็ไม่มีความเอาเปรียบกัน วันนั้นมีแต่เสียงหัวเราะ เด็กหลายคนยังไม่รู้จักว่าหอยชนิดนี้ชื่อว่าอะไรเพราะเขาไม่เคยได้สนใจจกับสิ่งรอบๆตัว มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลของหอยแต่ละชนิดเป็นระยะๆ  สรุปว่าในคลองเฉียงพร้ามีหอยทั้งหมด 5 ชนิด ซื่งมี หอยขม ขอยข้าว หอยโข่ง หอยกาบ หอยเชอร์รี่ และเราก็ได้เห็นรอยยิ้มบนใบหน้าของทุกคน  จนพวกเขาไม่อยากที่จะกลับบ้าน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เด็กๆได้สำรวจคลองและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ชนิดของหอย เป็นสิ่งที่อยู่รอบๆตัวเขาแต่ไม่เคยสนใจเรียนรู้จนได้มาเรียนรู้กับเพื่อนๆทำให้เกิดความสนุกสนาน แทนเวลาปกติหากไม่มีกิจกรรมดังกล่าวเด็กๆก็จะเล่นเกมส์ และตามพี่ๆออกไปขี่รถนอกหมู่บ้าน ถือเป็นการเฝ้าระวังพฤติกรรมของเด็กๆด้วยเช่นกัน

     

    60 15

    44. หว่านกล้า (ห้องเรียนนาข้าว)

    วันที่ 2 ตุลาคม 2556 เวลา 09:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ห้องเรียนน้าข้าวเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่ทีมทำงาน และเด็กเยาวชนช่วยกันออกแบบ เพื่อได้เป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้วีการทำนาที่จะเกิดประโยชน์สูงสุด โดยเป็นการสอนจากผู้ที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับการทำนา สอนลูก สอนหลาน ซึ่งเด็กๆก็ให้ความสนใจ การทำนาในวันนี้เป็นอีกกิจกรรมที่สามารถออกแบบการเรียนรู้ตามกระบวนการทำนาจริงๆ

    เป็นการเพาะเตรียมต้นกล้าให้ได้ต้นที่แข็งแรง เมื่อนำไปปักดำก็จะได้ข้าวที่เจริญเติบโตได้รวดเร็ว และมีโอกาสให้ผลผลิตสูง ต้นกล้าที่แข็งแรงดีต้องมีการเจริญเติบโตและความสูงสม่ำเสมอกันทั้งแปลง มีกาบใบสั้น มีรากมากและรากขนาดใหญ่ ไม่มีโรคและแมลงทำลาย
            - การเตรียมเมล็ดพันธุ์ ที่ใช้หว่านกล้าต้องเป็นเมล็ดพันธุ์ที่บริสุทธ์ ปราศจากสิ่งเจือปน มีเปอร์เซ็นต์ความงอกสูง (ไม่ต่ำกว่า 80 เปอร์เซ็นต์) ปราศจากการทำลายของโรคและแมลง         - การแช่และหุ้มเมล็ดพันธุ์ นำเมล็ดข้าวที่ได้เตรียมไว้บรรจุในภาชนะ นำไปแช่ในน้ำสะอาด นานประมาณ 12-24 ชั่วโมง จากนั้นนำเมล็ดพันธุ์ขึ้นมาวางบนพื้นที่น้ำไม่ขัง และมีการถ่ายเทของอากาศดี นำกระสอบป่านชุบน้ำจนชุ่มมาหุ้มเมล็ดพันธุ์โดยรอบ รดน้ำทุกเช้าและเย็น เพื่อรักษาความชุ่มชื้น หุ้มเมล็ดพันธุ์ไว้นานประมาณ 30-48 ชั่วโมง เมล็ดข้าวจะงอกขนาด “ตุ่มตา” (มียอดและรากเล็กน้อยโดยรากจะยาวกว่ายอด) พร้อมที่จะนำไปหว่านได้ เมล็ดข้าวหลังจากแช่และหุ้มแล้วพร้อมที่จะนำไปหว่าน - การหว่านกล้า
    เป็นวิธีที่ชาวนาคุ้นเคยกันดี จะต้องมีน้ำหล่อเลี้ยงอยู่เสมอ การดูแลรักษาไม่ยุ่งยากและความสูญเสียจากการทำลายของศัตรูข้าวมีน้อย มีขั้นตอนการปฏิบัติดังนี้         - การเตรียมดิน ปฏิบัติเช่นเดียวกับแปลงปักดำ แต่เพิ่มความพิถีพิถันมากขั้น ในการเก็บกำจัดวัชพืช และปรับระดับเทือกให้ราบเรียบสม่ำเสมอ
            - การเพาะเมล็ดพันธุ์ ปฏิบัติตามขั้นตอนของการเตรียมเมล็ดพันธุ์ การแช่และหุ้มเมล็ดพันธุ์ โดยใช้อัตราเมล็ดพันธุ์ 50-60 กรัมต่อตารางเมตร หรือประมาณ 80-90 กิโลกรัมต่อไร่ จะได้กล้าสำหรับปักดำได้ประมาณ 15-20 ไร่

            - การหว่านเมล็ดพันธุ์ ปล่อยน้ำแปลงกล้าให้แห้ง ทำเทือกให้ราบเรียบสม่ำเสมอ นำเมล็ดพันธุ์ที่เพาะงอกดีแล้วมาหว่านให้กระจายสม่ำเสมอตลอดแปลง ควรหว่านเมล็ดพันธุ์ตอนบ่ายหรือตอนเย็น เพื่อหลีกเลี่ยงแสงแดดตอนเที่ยงซึ่งมีความร้อนแรงมาก อาจทำให้เมล็ดข้าวตายได้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ทีใทำงานร่วมกัน หว่านกล้านาอินทรีย์ซึ่งเป็นพื้นที่เรียนรู้ร่วมกัน ของคนที่มีความสนใจทำนาอินทรีย์

     

    60 9

    45. น่ำข้าวเหนียวดำไร่

    วันที่ 4 ตุลาคม 2556 เวลา 11:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เด็กและผู้ที่สนใจรวมกิจกรรม  15 คน เราออกแบบการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อ การลงพื้นที่ในวันนี้วางกิจกรรมหลัก คือเราต้องการเรียนรู้วิถีของคนบ้านเรา ช่วงนี้เป็นช่วงทำนาและทำข้าวไร่ เราจึงออกเรียนรู้วิถีของปู่ย่าตายาย จากป้ากลิ่น  ป่ากลิ่นทำไร่เหนียวดำทั้งหมด  3ไร่ และมีเพื่อนบ้านออกมาช่วยมากมาย เด็กๆจึงเข้าไปร่วมเรียนรู้และเอาเมล็ดพันธุ์เหนียวดำไปสมทบกับป้ากลิ้น เจ้าของไร่ด้วย เริ่มจากการแทงสัก  คือไม้กลมๆ เป็นคู่แทงลงในดินให้เป็นแถวก่อน หยอดเมล็ดข้าวลงไปประมาณ 3-5เมล็ด  ส่วนข้าวเหนียวเราจะใส่ไว้ในกระบอกไม้ไผ่ สั้นๆ ยาว1ศอก ใช้เม็ดหยอดลงแล้วใช้กระบอกไม้ไผ่ทิ่มปิดหลุม นอกจากเรียนรู้จากคำบอกเล่าของผู้ใหญ่แล้วเด็กๆก็ยังลงมือทำเองด้วย คนไหนที่ไม่มีไม้ไผ่ใส่เสม็ดข้าว ก็กำเมล็ดพันธุ์ลงไปหยอดในหลุมที่ได้ขุดรอไว้แล้ว เด็กเกิดความสนใจและถ่ายทำวีดีโอเก็บเอาไว้ดูการพัฒนาและเจริญเติบโตของข้าวเหนียวดำด้วย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

      เด็กๆสะท้อนกิจกรรมในครั้งนี้ออกมาว่าเป็นวิถีที่อยู่ใกล้ตัวแต่พวกเขาไม่เคยได้ลองทำวันนี้ได้มาเรียนรู้และทำด้วยตัวเองรู้สึกว่าเกิดความรู้ มีความสนุกสนานและรู้สึกรักคนทำนาเพราะกว่าจะได้ข้าวมาให้เรากิน ยากลำบากนัก

     

    60 15

    46. ผลิตสื่อ ประเพณีวันสารทเดือนสิบ

    วันที่ 4 ตุลาคม 2556 เวลา 07:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ในวันที่ 4 ตุลาคม 2556 เป็นวันชิงเปรตหรือวัสารท เป็นประเพณีสำคัญที่จัดขึ้นเพื่อทำบุญอุทิศแก่บรรพบุรุษผู้ล่วงลับไปแล้ว  การชิงเปรตของไทยเป็นการอุทิศส่วนกุศลไปให้ทั้งผี(เปรต) ที่เป็นญาติพี่น้องของตนเอง และที่ไม่มีญาติด้วย  ผู้ เฒ่าผู้แก่หลายคนได้ยืนยันว่าการชิงเปรตไม่เป็นความอัปมงคลแก่ผู้ชิงเปรตแต่ อย่างใด ในทางตรงกันข้ามกลับถือว่าเป็นการทำบุญด้วยซ้ำไป เพราะชื่อว่าบุตรหลานของเปรตตนใดชิงได้ เปรตตนนั้นย่อมได้รับส่วนนั้น เพียงแต่ว่าผู้ชิงต้องระมัดระวังในการที่อาหารหรือขนมที่ตั้งเปรตอาจตกหลาน ลงพื้น ซึ่งจะทำให้เกิดความสกปรกและเป็นอันตรายต่อสุขภาพเท่านั้น ชาวบ้านป่าชิง ยึดถือปฏิบัติประเพณีที่ดีงามนี้มายาวนาน เป็นเหมือนมรดกของชุมชน  การถ่ายทำสื่อในครั้งนี้ก็เพื่อเผยแพร่วัฒนธรรมที่ดีงามนี้ให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    การถ่ายทำสื่อในครั้งนี้ก็เพื่อเผยแพร่วัฒนธรรมที่ดีงามนี้ให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้ เด็กๆ ได้ฝึกทักษะในการผลิตสื่อเพื่อเป็นพื้นฐานในการศึกษาในอนาคตอีกด้วย

     

    60 6

    47. อบรมผลิตสื่อ

    วันที่ 5 ตุลาคม 2556 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วันอบรมเปิดด้วยการทำความรู้จักกัน ทุกคนแนะนำตัว แล้วก็บอกความสารด้านสื่อสารว่าแต่ละคนมีประสบการณ์อะไรมาบ้าง มีน้องบางคนเคยทำงานเขียน เคยอบรมงานเขียน บางคนสื่อสารด้วยการวาดภาพ และเราก็วางความคาดหวังที่ต้องการจะได้หลังจากผ่านกระบวนการอบรม ทั้งหมด 16 คน รวมทั้งวิทยากร พี่เลี้ยง และทีมทำงาน
    - ได้เรียนรู้เรื่องบ้านตัวเอง
    - อยากให้เพื่อนๆ ทำได้สำเร็จในสิ่งที่ตัวเองอยากทำ
    - ได้ความรู้ในการทำสื่อ ได้เรียนรู้จากลูกหลานในชุมชน เอาไปใช้ให้เป็นประโยชน์ ในตัวเอง - มาแบ่งปันประสบการณ์ เรียนรู้ร่วมกับเพื่อนๆ ให้เกิดผลในการทำงานร่วมกันต่อไป
    - อยากสื่อสารผลงานออกไปให้คนได้รู้ว่าบ้านเรามีอะไรบ้าง
    - อยากทำสารคดีสื่อให้คนในชุมชนตระหนัก  อยากได้ความรู้ด้านการทำสื่อ
    - อยากให้รู้วิธีการ ขั้นตอนการทำสื่อก่อน ทำได้แล้วจะทำให้รู้สึกภูมิใจในผลงานของตัวเอง
    - ใช้เทคนิคการทำสื่อเข้ามาช่วยสะท้อนผลกระทบของความเจริญที่เกิดขึ้น และสื่อสารเรื่องดีๆ ของเรา
    มีปราชญ์ชาวบ้านในชุมชนมาเล่าความเป็นมาบ้านป่าชิงให้น้องๆและทีมสื่อฟัง หลังจากนั้นน้องๆหาประเด็นที่ตนเองชอบ แล้วมาขอข้อมูลเชิงลึกกับปราชญ์ชาวบ้าน น้องกลุ่มที่ 1 ทำเรื่องพระเจ้า 5 พระองค์  ส่วนกลุ่มที่ 2 ทำเรื่อง ทวดเพชรหุ่น  แล้วต่างแยกย้ายลงพื้นที่เก็บภาพ ปรับสคลิปต์และตัดต่องานในวันรุ่งขึ้น

    สรุปบทเรียนการพัฒนาศักยภาพการสื่อสาร
    จากการอบรมการทำสื่อ 2 วันที่ผ่านมาเราได้อะไร หรือให้อะไรเพื่อนไปบ้าง
    - มีน้องที่สนใจและเห็นความสำคัญการสื่อสาร  เมื่อพบเด็กๆครั้งแรก เรายังประเมินไม่ออกว่าเราต้องทำกระบวนการอย่างไร ให้เขาพร้อมจะเรียนรู้กับเราแต่เมื่อได้ออกพื้นที่ร่วมกัน น้องๆมีปฏิสัมพันธ์ที่ดี ส่วนผลงานก็น้องยังต้องใช้เวลาในการเรียนรู้เรื่องเทคนิค  ตรงนี้ทีมทำงานต้องช่วยกันดูปรับกันไปเรื่อยๆ  คิดว่าน้องๆ ที่นี่ต้องพัฒนาเรื่องการใช้กล้องด้วย
    - รู้จักกันวันแรก พี่ๆมาสอนวิชาให้คนในชุมชนผลิตสื่อได้ ที่เคยเรียนมาในห้องก็ใช้ได้เยอะ
    - คิดว่าครั้งนี้เรามาทำความรู้จักกัน รู้จักเครื่องมือ ครั้งต่อไปอาจทำให้เป็นเรื่องเป็นราวกว่านี้ เพราะในพื้นที่มีเรื่องราวเยอะ
    - ตอนแรกเจอปัญหาน้องไม่สนใจ แต่พอลงพื้นที่เขาก็พาไปถ่าย เขาก็อยากถ่าย เขาก็สนุกขึ้น
    - เราได้พัฒนาตัวเอง  ได้เครื่องมือเพิ่มเพื่อเอาไปใช้ในอนาคต
    - งานนี้พี่เลี้ยงทำงานหนัก จำเป็นต้องพัฒนาทักษะ และลีลาหลายแบบ เพราะผู้เข้าร่วมยังอยู่ในกลุ่มวัยรุ่นที่สนใจเรื่องชุมชนน้อย คนออกแบบต้องเตรียมตัวให้มากเพื่อการทำงานกับเยาวชนลักษณะนี้ในพื้นที่อื่นๆ ต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    มีน้องที่สนใจและเห็นความสำคัญการสื่อสาร  เมื่อพบเด็กๆครั้งแรก เรายังประเมินไม่ออกว่าเราต้องทำกระบวนการอย่างไร ให้เขาพร้อมจะเรียนรู้กับเราแต่เมื่อได้ออกพื้นที่ร่วมกัน น้องๆมีปฏิสัมพันธ์ที่ดี ส่วนผลงานก็น้องยังต้องใช้เวลาในการเรียนรู้เรื่องเทคนิค  ตรงนี้ทีมทำงานต้องช่วยกันดูปรับกันไปเรื่อยๆ  คิดว่าน้องๆ ที่นี่ต้องพัฒนาเรื่องการใช้กล้องด้วย การตัดต่อและงานเขียนด้วย

     

    60 16

    48. อบรมผลิตสื่อ

    วันที่ 6 ตุลาคม 2556 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วันที่ 2  เป็นขั้นของการลงเสียงและตัดต่อวีดีโอต่อจากกิจกรรมเมื่อวาน  ทีมวิทยากร ทีมพี่เลี้ยงเข้ามาช่วยสนับสนุนสอนเทคนิคการตัดต่อและสอนการใช้โปรแกรมต่างๆ ทั้งอัปวีดีโอขึ้นยูทูป และการแชร์ลิงค์ไปยังเวปไซต์ต่างๆ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    มีน้องที่สนใจและเห็นความสำคัญการสื่อสาร  เมื่อพบเด็กๆครั้งแรก เรายังประเมินไม่ออกว่าเราต้องทำกระบวนการอย่างไร ให้เขาพร้อมจะเรียนรู้กับเราแต่เมื่อได้ออกพื้นที่ร่วมกัน น้องๆมีปฏิสัมพันธ์ที่ดี ส่วนผลงานก็น้องยังต้องใช้เวลาในการเรียนรู้เรื่องเทคนิค  ตรงนี้ทีมทำงานต้องช่วยกันดูปรับกันไปเรื่อยๆ  คิดว่าน้องๆ ที่นี่ต้องพัฒนาเรื่องการใช้กล้องด้วย การตัดต่อและงานเขียนด้วย ปัญหา/แนวทางแก้ไข

     

    60 16

    49. ประชุมทีมสื่อเยาวชน

    วันที่ 13 ตุลาคม 2556 เวลา 10:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    พูดคุยเรื่องการนำการสื่อสารไปใช้ในพื้นที่  เอา งานวีดีโอ ที่พวกเราร่วมกันทำ เอาไปเปิดให้คนที่บ้านและละแวกบ้านได้ดู  มีการตอบรับและชื่นชมจากญาติ เป็นพลังหนึ่งที่ผู้ใหญ่สนับสนุนให้น้องๆมาผลิตสื่อให้ชุมชน เด็กๆจึงวางแผนการถ่ายทำวีดีโอชุมชน ไว้หลายเรื่อง ทั้งการทำนาข้าว งานตักบาตรเทโว งานชิงเปตร  และกิจกรรมของคนในชุมชนที่เป็นแบบอย่างที่ดี และวางแผนการลงพื้นที่แบ่งกลุ่มการทำงาน แบ่งหน้าที่ตามที่ตนถนัด ผลของงาน -  เด็กๆมีความกระตือรือร้นในการทำงานสื่อสารเพิ่มขึ้น - การเริ่มทำสื่อเป็นอีกหนึ่งแรงบันกาลใจในการเข้าเรียนต่อในสายการสื่อสาร - เกิดกำลังใจในการทำความดี - มีการแลกเปลี่ยนพูดคุยกระสบการณ์การสื่อสารแต่ละคนที่แตกต่างกัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • การเริ่มทำสื่อเป็นอีกหนึ่งแรงบันกาลใจในการเข้าเรียนต่อในสายการสื่อสาร
    • เกิดกำลังใจในการทำความดี
    • มีการแลกเปลี่ยนพูดคุยกระสบการณ์การสื่อสารแต่ละคนที่แตกต่างกัน

     

    60 7

    50. ถ่ายทำสารคดีตักบาตรเทโว

    วันที่ 19 ตุลาคม 2556 เวลา 07:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    กิจกรรมตักบาตรเทโว เป็นอีกกิจกรรมในช่วงออกพรรษาที่เราพุทธศาสนิกชนต้องมาทำบุญใหญ่ที่วัดและเชื่อว่าเป็นวันพระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อโปรดพระญาติ และเป็นวันเดียวกับวันชักพระทางภาคใต้ คนจึงแห่กันมาทำบุญ ที่วัดควนมีดก็เช่นกัน แต่แปลกกว่าที่อื่นตรงที่มีการจำลองว่าพระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ จึงใชพระเดินลงบันไดมาจากเจดีย์วัดควนมีดและมีพี่น้องมาใส่บาตาเป็นอาหารแห้ง น้องๆที่ผลิตสื่อเห็นถึงความทสำคัญของประเพณีนี้จึงนัดหมายกันมาถ่านรูปทำสารคดีเรื่อง ตักบาตรเทโว 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    น้องๆและผู้ที่เข้าร่วม ได้ร่วมทำบุญและถ่ายทำสื่อ "ตักบาตรเทโว"

     

    60 7

    51. เก็บข้อมูลเกี่ยวกับชุมชนป่าชิง ทำป้ายรณรงค์

    วันที่ 23 ตุลาคม 2556 เวลา 10:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    กลุ่มหลบมาแลป่าชิงบ้านเรา ได้ประสานงานกับทีมเดินด้วยรักษ์ พิทักษ์ 2 ฝั่งแล ว่าจะเข้าร่วมเดินด้วย เด็กๆจึงอาสาทำป้ายรณรงค์ ให้ทุกคนรักษาทรัพยากร ของบ้านเราไว้ให้ถึงรุ่นลูกรุ่นหลาน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เด็กเยาชน และคนคนบ้านป่าชิงออกมาร่วมกิจกรรมจำนวนมาก

     

    60 7

    52. ถอนกล้า(นาอินทรีย์ พื้นที่เรียนรู้)

    วันที่ 7 พฤศจิกายน 2556 เวลา 08:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ต้นกล้าที่อยู่ในระยะที่เหมาะสำหรับการถอนกล้า ไปดำนั้นจะเป็นกล้าที่มีอายุประมาณ 20-25 วัน  เพราะหากเกินระยะเวลานี้ไปจะทำให้กล้าบั้ง แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับระยะห่างของการหว่านกล้าด้วยแต่ในการทำนาร่วมกันในกิจกรรมเรียนห้องเรียนนาข้าว เราหว่านกล้าช้ากว่า คนอื่น เพราะสมาชิกที่มาร่วมทำนาข้าวต่างก็ต้องทำนาของตัวเองด้วย จึงกำหนดเวลาที่หลังจากต่างคนเสร็จภารกิจที่นาของตนก่อน
    ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการถอนต้นกล้าคือ ช่วงตอนเย็นแดดอ่อนๆ ซึ่งการถอนกล้าก็ต้องมีความระมัดระวังในการถอนเป็นอย่างมากเนื่องจากหากเราถอนกล้าไม่เป็นก็จะทำให้กล้าขาดได้ ใช้มือข้างที่เราถนัดกำรวบบริเวณระหว่างกลางลำต้นถึงปลายต้นกล้าโดยให้หันฝ่ามือออกจากลำตัว แล้วใช้มือข้างที่เราไม่ถนัดกำรวบบริเวณโคนต้นกล้า แล้วใช้กำลังทั้งสองมือดึงเข้าหาตัวเองให้ออกกำลังทั้งสองพร้อมกัน ระวังอย่ากำรวบทีละมากเพราะจะทำให้รากขาด ความพอดีจะอยู่ที่การกำรวบแล้วถอนดึงซัก 3 ครั้งจะได้ต้นกล้า 1 กำมือที่จะวางไว้สำหรับการตัดปลาย การตัดปลายกล้าให้กำรวบด้วยสองมือพอดี ๆ แล้วจัดกล้าให้ได้ขนาดความสูงเท่า ๆ กัน จากนั้นใช้ตอกมัดกล้า จัดวางให้เรียบร้อย รอการดำต่อไป  ทางสมาชิกกลุ่ม ห้องเรียนนาข้าวสลับสับเปลี่ยนกันเข้ามาถอนกล้าและจูงลูกหลานมาเรียนรู้ร่วมกัน มีน้องๆ เข้ามาร่วมเรียนรู้การทำนาข้าวอินทรีย์เป็นระยะๆ ด้วย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ทางสมาชิกกลุ่ม ห้องเรียนนาข้าวสลับสับเปลี่ยนกันเข้ามาถอนกล้าและจูงลูกหลานมาเรียนรู้ร่วมกัน มีน้องๆ เข้ามาร่วมเรียนรู้การทำนาข้าวอินทรีย์เป็นระยะๆ ด้วย

     

    60 9

    53. ถอนกล้า (ห้องเรียน นาข้าว)

    วันที่ 8 พฤศจิกายน 2556 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ต้นกล้าที่อยู่ในระยะที่เหมาะสำหรับการถอนกล้า ไปดำนั้นจะเป็นกล้าที่มีอายุประมาณ 20-25 วัน  เพราะหากเกินระยะเวลานี้ไปจะทำให้กล้าบั้ง แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับระยะห่างของการหว่านกล้าด้วยแต่ในการทำนาร่วมกันในกิจกรรมเรียนห้องเรียนนาข้าว เราหว่านกล้าช้ากว่า คนอื่น เพราะสมาชิกที่มาร่วมทำนาข้าวต่างก็ต้องทำนาของตัวเองด้วย จึงกำหนดเวลาที่หลังจากต่างคนเสร็จภารกิจที่นาของตนก่อน
    ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการถอนต้นกล้าคือ ช่วงตอนเย็นแดดอ่อนๆ ซึ่งการถอนกล้าก็ต้องมีความระมัดระวังในการถอนเป็นอย่างมากเนื่องจากหากเราถอนกล้าไม่เป็นก็จะทำให้กล้าขาดได้ ใช้มือข้างที่เราถนัดกำรวบบริเวณระหว่างกลางลำต้นถึงปลายต้นกล้าโดยให้หันฝ่ามือออกจากลำตัว แล้วใช้มือข้างที่เราไม่ถนัดกำรวบบริเวณโคนต้นกล้า แล้วใช้กำลังทั้งสองมือดึงเข้าหาตัวเองให้ออกกำลังทั้งสองพร้อมกัน ระวังอย่ากำรวบทีละมากเพราะจะทำให้รากขาด ความพอดีจะอยู่ที่การกำรวบแล้วถอนดึงซัก 3 ครั้งจะได้ต้นกล้า 1 กำมือที่จะวางไว้สำหรับการตัดปลาย การตัดปลายกล้าให้กำรวบด้วยสองมือพอดี ๆ แล้วจัดกล้าให้ได้ขนาดความสูงเท่า ๆ กัน จากนั้นใช้ตอกมัดกล้า จัดวางให้เรียบร้อย รอการดำต่อไป  ทางสมาชิกกลุ่ม ห้องเรียนนาข้าวสลับสับเปลี่ยนกันเข้ามาถอนกล้าและจูงลูกหลานมาเรียนรู้ร่วมกัน มีน้องๆ เข้ามาร่วมเรียนรู้การทำนาข้าวอินทรีย์เป็นระยะๆ ด้วย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ทางสมาชิกกลุ่ม ห้องเรียนนาข้าวสลับสับเปลี่ยนกันเข้ามาถอนกล้าและจูงลูกหลานมาเรียนรู้ร่วมกัน มีน้องๆ เข้ามาร่วมเรียนรู้การทำนาข้าวอินทรีย์เป็นระยะๆ ด้วย

     

    60 9

    54. นาอินทรีย์ พื้นที่เรียนรู้

    วันที่ 9 พฤศจิกายน 2556 เวลา 10:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วันนี้เราได้พาน้องๆ ออกเรียนรู้นอกห้องเรียน ซึ่งเป็นวันพิเศษที่น้องๆหลายคนรอคอยเพราะได้เรียนรู้และสนุกสนานไปในตัว โดยที่เราไม่ต้องมานั่งท่องจำ พี่ๆและน้องๆ ได้ออกเรียนรู้การทำนาของคนบ้านป่าชิง นำทีมโดยพี่จอย พี่วัจน์ พี่เจมส์ พี่ทราย น้องตะใคร่ น้องต้า น้องเชียร์ น้าเก่ง ป้าพิศ น้ารัตน์  น้องฝน น้องโต น้องมีน  ก่อนเราจะลงดำนา เด็กๆ ลงเล่นน้ำที่ร่องนาซึ่งเป็นของลุงภาพ ลุงภาพได้ขุดร่องนาไว้เพื่อเก็บน้ำไว้ใช้เพื่อการเกษตร ยามที่ฝนเล้ง รวมถึงได้เลี้ยงปลา ปลูกบัว ไว้เป็นพื้นที่พักผ่อน มีกระท่อมเล็กๆ ณ ปลายนา ให้เราได้หลบความร้อนจากแดดที่แผดเผา บ่ายแก่ๆ แดดเริ่มสงบร่มรื่นขึ้น กรูกันลงจากกระท่อม ลงนา  พี่จอยก็ใช้มือแกะเชือกมันกำกล้าซึ่งเป็นยอดเหรง (ใช้มัดกล้า เพื่อไม่ให้หลุดร่วง ออกจากกำ และง่ายต่อการปักดำ) พี่จอยแบ่งกล้าให้ทุกๆคน คนละกำเล็กๆ พี่วัจน์บรรยาย สอนน้องๆ”เราหยิบต้นกล้าออกมา 4-5 ต้น แล้วแต่ว่าต้นเล็กหรือใหญ่ ใช้นิ้วชี้และหัวแม่มือบีบเอาไว้เบาๆ แล้วปักลงไปในนาให้เป็นแถว โดยเราใช้นิ้วหัวแม่มือเป็นตัวนำ เมื่อถึงโคลนแล้วเราก็ปักต้นกล้าลง แล้วดึงมือกลับมาหยิบกอใหม่ ”ระหว่างบรรยายสอนน้องๆ พี่วัจน์ก็ทำให้ดูเป็นตัวอย่าง ทุกคนตื่นเต้นกับกอข้าวที่ตัวเองดำ แล้วถามเป็นระยะว่าของตนดำสวยรึยัง เราต่างช่วยกันดำนาจนเพลิน ใครเบื่อก็ผลัดกันไปเล่นน้ำ แล้วกลับมาดำนาต่อ
    ส่วนน้องเจมส์น้องทรายก็รับหน้าที่ถ่ายทำสารคดี เรื่อง"นาข้าวบ้านป่าชิง" เป็นการพัฒนาการสื่อสารต่อจากที่ได้อบรมได้เนื่อครั้งก่อน
    นาที่เราดำเสร็จไป รอฝนที่จะทำให้ข้าวแตกกอ งดงาม เขียวชอุ่ม บอกถึงความอุดมสมบูรณ์ของทุ่งนาบ้านเรา กับวิถีของคนรุ่นแล้วรุ่นเล่า ถ่ายทอดไปยังเด็กๆรุ่นหลัง ได้สืบทอดต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เด็กได้เรียนรู้และสนุกสนานไปในตัว การเรียนรู้ที่ไม่ได้มีเฉพาะในห้องเรียน แต่มาจากสิ่งรอบข้าง เกิดความเพลิดเพลิน กว่านั่งที่หน้าจอเล่นเกมส์ เพราะเขายังได้เล่นน้ำ ได้ดำนา เป็นการปฏิบัติที่สอดความสนุขสนานไปในตัว

     

    60 13

    55. ดำนา (ห้องเรียน นาข้าว)

    วันที่ 12 พฤศจิกายน 2556 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ทางห้องเรียนนาข้าวจัดการเรียนรู้นี้ขึ้นมาเพื่อสืบทอดภูมิปัญญาของคนรุ่นปู่ ย่า ตา ยาย ซึ่งทำนากันตั้งแต่สมัยทวด ดังนั้นวิถีและภูมิปัญญาเดิมจะถูกนำกลับมาใช้ร่วมกันในห้องเรียนนาข้าว คือ การซอแรง ก็คือการบอกกล่าวขอแรงบรรดาญาติสนิทมิตรสหาย ให้มาช่วยทำงานนั่นเอง งานที่จะลงแขกกันนั้นอาจจะเป็นงานส่วนรวมหรืองานส่วนตัวก็ได้ สำหรับงานส่วนตัวนั้นส่วนมากมักจะเป็นงานใหญ่สุดกำลังคนในครอบครัวจะทำได้ หรืออาจจะเป็นงานหนักแต่จำเป็นต้องทำให้เสร็จภายในวันเดียว จึงต้องบอกกล่าวให้ญาติพี่น้องเพื่อนบ้านมาช่วยเหลือเพื่อให้งานเสร็จสิ้นไปงานที่มักลงแขก เช่น การลงแขกทำนา ซึ่งมีการลงแขกดำนา ลงแขกเกี่ยวข้าว ลงแขกตีข้าว (นวดข้าว)  ถือเป็นการพึ่งพาอาศัยกันของเพื่อนบ้าน ญาติพี่น้อง แต่ปัจจุบัน การซอแรงได้หายไป เป็นเพราะมีการใช้เครื่องทุ่นแรงเป็นหลักเช่น การไถนาด้วยรถไถขนาดใหญ่ เก็บข้าวด้วยรถเกี่ยวข้าว ใช้สารเคมีเพื่อปราบศัตรูข้าว การซอแรงจึงหายไป แต่จะใช้เงินจ้างคนดำนา จ้างคนเก็บข้าวแทน ความสัมพันธ์ที่ขึ้นชื่อว่าพี่น้องต้องช่วยเหลือเกื้อกูลกันก็ลดน้องลง เราจึงใช้แปลงทดลอง ห้องเรียนนาข้าวเป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่คนที่เป็นญาติพี่น้อง และเพื่อนบ้านที่ต้องการอนุรักษ์วิถีความเป็นอยู่ที่เรียบง่ายนี้เอาไว้คู่กับชุมชนของเรา ร่วมกันซอแรงดำนาและเก็บข้าวร่วมกัน เด็กๆ เยาวชนก็เข้ามาเรียนรู้เป็นระยะ เนื่องจากไม่สามารถเข้ามาทำร่วมกันกับผู้ใหญ่ได้ทั้งกระบวนการ กิจกรรมดำนาจึงได้ทำกระบวนการกัน 4 วัน มีผู้เข้าร่วม 10 คน และมีเด็กเยาวชนเข้ามาเรียนรู้ เป็นระยะ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เราได้มาฟื้นวิถีการซอแรงที่มีมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ทำให้เราลองคำนวนค่าใช้จ่ายและเวลาที่เสียไป การซอแรงมีความคุ้มค่ากว่า เพียงแค่เราร่วมกันลงแรง จะเหนื่อยมากกว่าการจ้างแรงงาน สมาชิกเห็นความสำคัญและวางแผนถึงการทำนาฤดูใหม่ที่จะต้องมีการชักชวนสมาชิกเข้ามาเพิ่ม ค่าตอบแทนที่เขาได้กลับไปคือมิตรภาพ และน้ำใจที่เราต่างต้องมีให้แก่กัน

     

    60 10

    56. ดำนา (ห้องเรียน นาข้าว)

    วันที่ 13 พฤศจิกายน 2556 เวลา 08:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ทางห้องเรียนนาข้าวจัดการเรียนรู้นี้ขึ้นมาเพื่อสืบทอดภูมิปัญญาของคนรุ่นปู่ ย่า ตา ยาย ซึ่งทำนากันตั้งแต่สมัยทวด ดังนั้นวิถีและภูมิปัญญาเดิมจะถูกนำกลับมาใช้ร่วมกันในห้องเรียนนาข้าว คือ การซอแรง ก็คือการบอกกล่าวขอแรงบรรดาญาติสนิทมิตรสหาย ให้มาช่วยทำงานนั่นเอง งานที่จะลงแขกกันนั้นอาจจะเป็นงานส่วนรวมหรืองานส่วนตัวก็ได้ สำหรับงานส่วนตัวนั้นส่วนมากมักจะเป็นงานใหญ่สุดกำลังคนในครอบครัวจะทำได้ หรืออาจจะเป็นงานหนักแต่จำเป็นต้องทำให้เสร็จภายในวันเดียว จึงต้องบอกกล่าวให้ญาติพี่น้องเพื่อนบ้านมาช่วยเหลือเพื่อให้งานเสร็จสิ้นไปงานที่มักลงแขก เช่น การลงแขกทำนา ซึ่งมีการลงแขกดำนา ลงแขกเกี่ยวข้าว ลงแขกตีข้าว (นวดข้าว)  ถือเป็นการพึ่งพาอาศัยกันของเพื่อนบ้าน ญาติพี่น้อง แต่ปัจจุบัน การซอแรงได้หายไป เป็นเพราะมีการใช้เครื่องทุ่นแรงเป็นหลักเช่น การไถนาด้วยรถไถขนาดใหญ่ เก็บข้าวด้วยรถเกี่ยวข้าว ใช้สารเคมีเพื่อปราบศัตรูข้าว การซอแรงจึงหายไป แต่จะใช้เงินจ้างคนดำนา จ้างคนเก็บข้าวแทน ความสัมพันธ์ที่ขึ้นชื่อว่าพี่น้องต้องช่วยเหลือเกื้อกูลกันก็ลดน้องลง เราจึงใช้แปลงทดลอง ห้องเรียนนาข้าวเป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่คนที่เป็นญาติพี่น้อง และเพื่อนบ้านที่ต้องการอนุรักษ์วิถีความเป็นอยู่ที่เรียบง่ายนี้เอาไว้คู่กับชุมชนของเรา ร่วมกันซอแรงดำนาและเก็บข้าวร่วมกัน เด็กๆ เยาวชนก็เข้ามาเรียนรู้เป็นระยะ เนื่องจากไม่สามารถเข้ามาทำร่วมกันกับผู้ใหญ่ได้ทั้งกระบวนการ กิจกรรมดำนาจึงได้ทำกระบวนการกัน 4 วัน มีผู้เข้าร่วม 10 คน และมีเด็กเยาวชนเข้ามาเรียนรู้ เป็นระยะ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เราได้มาฟื้นวิถีการซอแรงที่มีมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ทำให้เราลองคำนวนค่าใช้จ่ายและเวลาที่เสียไป การซอแรงมีความคุ้มค่ากว่า เพียงแค่เราร่วมกันลงแรง จะเหนื่อยมากกว่าการจ้างแรงงาน สมาชิกเห็นความสำคัญและวางแผนถึงการทำนาฤดูใหม่ที่จะต้องมีการชักชวนสมาชิกเข้ามาเพิ่ม ค่าตอบแทนที่เขาได้กลับไปคือมิตรภาพ และน้ำใจที่เราต่างต้องมีให้แก่กัน

     

    60 10

    57. ดำนา (ห้องเรียน นาข้าว)

    วันที่ 14 พฤศจิกายน 2556 เวลา 07:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ทางห้องเรียนนาข้าวจัดการเรียนรู้นี้ขึ้นมาเพื่อสืบทอดภูมิปัญญาของคนรุ่นปู่ ย่า ตา ยาย ซึ่งทำนากันตั้งแต่สมัยทวด ดังนั้นวิถีและภูมิปัญญาเดิมจะถูกนำกลับมาใช้ร่วมกันในห้องเรียนนาข้าว คือ การซอแรง ก็คือการบอกกล่าวขอแรงบรรดาญาติสนิทมิตรสหาย ให้มาช่วยทำงานนั่นเอง งานที่จะลงแขกกันนั้นอาจจะเป็นงานส่วนรวมหรืองานส่วนตัวก็ได้ สำหรับงานส่วนตัวนั้นส่วนมากมักจะเป็นงานใหญ่สุดกำลังคนในครอบครัวจะทำได้ หรืออาจจะเป็นงานหนักแต่จำเป็นต้องทำให้เสร็จภายในวันเดียว จึงต้องบอกกล่าวให้ญาติพี่น้องเพื่อนบ้านมาช่วยเหลือเพื่อให้งานเสร็จสิ้นไปงานที่มักลงแขก เช่น การลงแขกทำนา ซึ่งมีการลงแขกดำนา ลงแขกเกี่ยวข้าว ลงแขกตีข้าว (นวดข้าว)  ถือเป็นการพึ่งพาอาศัยกันของเพื่อนบ้าน ญาติพี่น้อง แต่ปัจจุบัน การซอแรงได้หายไป เป็นเพราะมีการใช้เครื่องทุ่นแรงเป็นหลักเช่น การไถนาด้วยรถไถขนาดใหญ่ เก็บข้าวด้วยรถเกี่ยวข้าว ใช้สารเคมีเพื่อปราบศัตรูข้าว การซอแรงจึงหายไป แต่จะใช้เงินจ้างคนดำนา จ้างคนเก็บข้าวแทน ความสัมพันธ์ที่ขึ้นชื่อว่าพี่น้องต้องช่วยเหลือเกื้อกูลกันก็ลดน้องลง เราจึงใช้แปลงทดลอง ห้องเรียนนาข้าวเป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่คนที่เป็นญาติพี่น้อง และเพื่อนบ้านที่ต้องการอนุรักษ์วิถีความเป็นอยู่ที่เรียบง่ายนี้เอาไว้คู่กับชุมชนของเรา ร่วมกันซอแรงดำนาและเก็บข้าวร่วมกัน เด็กๆ เยาวชนก็เข้ามาเรียนรู้เป็นระยะ เนื่องจากไม่สามารถเข้ามาทำร่วมกันกับผู้ใหญ่ได้ทั้งกระบวนการ กิจกรรมดำนาจึงได้ทำกระบวนการกัน 4 วัน มีผู้เข้าร่วม 10 คน และมีเด็กเยาวชนเข้ามาเรียนรู้ เป็นระยะ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เราได้มาฟื้นวิถีการซอแรงที่มีมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ทำให้เราลองคำนวนค่าใช้จ่ายและเวลาที่เสียไป การซอแรงมีความคุ้มค่ากว่า เพียงแค่เราร่วมกันลงแรง จะเหนื่อยมากกว่าการจ้างแรงงาน สมาชิกเห็นความสำคัญและวางแผนถึงการทำนาฤดูใหม่ที่จะต้องมีการชักชวนสมาชิกเข้ามาเพิ่ม ค่าตอบแทนที่เขาได้กลับไปคือมิตรภาพ และน้ำใจที่เราต่างต้องมีให้แก่กัน

     

    60 13

    58. ดำนา (นาข้าว ป่าชิง)

    วันที่ 15 พฤศจิกายน 2556 เวลา 07:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ทางห้องเรียนนาข้าวจัดการเรียนรู้นี้ขึ้นมาเพื่อสืบทอดภูมิปัญญาของคนรุ่นปู่ ย่า ตา ยาย ซึ่งทำนากันตั้งแต่สมัยทวด ดังนั้นวิถีและภูมิปัญญาเดิมจะถูกนำกลับมาใช้ร่วมกันในห้องเรียนนาข้าว คือ การซอแรง ก็คือการบอกกล่าวขอแรงบรรดาญาติสนิทมิตรสหาย ให้มาช่วยทำงานนั่นเอง งานที่จะลงแขกกันนั้นอาจจะเป็นงานส่วนรวมหรืองานส่วนตัวก็ได้ สำหรับงานส่วนตัวนั้นส่วนมากมักจะเป็นงานใหญ่สุดกำลังคนในครอบครัวจะทำได้ หรืออาจจะเป็นงานหนักแต่จำเป็นต้องทำให้เสร็จภายในวันเดียว จึงต้องบอกกล่าวให้ญาติพี่น้องเพื่อนบ้านมาช่วยเหลือเพื่อให้งานเสร็จสิ้นไปงานที่มักลงแขก เช่น การลงแขกทำนา ซึ่งมีการลงแขกดำนา ลงแขกเกี่ยวข้าว ลงแขกตีข้าว (นวดข้าว)  ถือเป็นการพึ่งพาอาศัยกันของเพื่อนบ้าน ญาติพี่น้อง แต่ปัจจุบัน การซอแรงได้หายไป เป็นเพราะมีการใช้เครื่องทุ่นแรงเป็นหลักเช่น การไถนาด้วยรถไถขนาดใหญ่ เก็บข้าวด้วยรถเกี่ยวข้าว ใช้สารเคมีเพื่อปราบศัตรูข้าว การซอแรงจึงหายไป แต่จะใช้เงินจ้างคนดำนา จ้างคนเก็บข้าวแทน ความสัมพันธ์ที่ขึ้นชื่อว่าพี่น้องต้องช่วยเหลือเกื้อกูลกันก็ลดน้องลง เราจึงใช้แปลงทดลอง ห้องเรียนนาข้าวเป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่คนที่เป็นญาติพี่น้อง และเพื่อนบ้านที่ต้องการอนุรักษ์วิถีความเป็นอยู่ที่เรียบง่ายนี้เอาไว้คู่กับชุมชนของเรา ร่วมกันซอแรงดำนาและเก็บข้าวร่วมกัน เด็กๆ เยาวชนก็เข้ามาเรียนรู้เป็นระยะ เนื่องจากไม่สามารถเข้ามาทำร่วมกันกับผู้ใหญ่ได้ทั้งกระบวนการ กิจกรรมดำนาจึงได้ทำกระบวนการกัน 4 วัน มีผู้เข้าร่วม 10 คน และมีเด็กเยาวชนเข้ามาเรียนรู้ เป็นระยะ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เราได้มาฟื้นวิถีการซอแรงที่มีมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ทำให้เราลองคำนวนค่าใช้จ่ายและเวลาที่เสียไป การซอแรงมีความคุ้มค่ากว่า เพียงแค่เราร่วมกันลงแรง จะเหนื่อยมากกว่าการจ้างแรงงาน สมาชิกเห็นความสำคัญและวางแผนถึงการทำนาฤดูใหม่ที่จะต้องมีการชักชวนสมาชิกเข้ามาเพิ่ม ค่าตอบแทนที่เขาได้กลับไปคือมิตรภาพ และน้ำใจที่เราต่างต้องมีให้แก่กัน

     

    60 10

    59. ทำกระทง ลองกระทง

    วันที่ 17 พฤศจิกายน 2556 เวลา 14.00-20.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วันลอยกระทง เป็นวันสำคัญวันหนึ่งของชาวไทย ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12  ประเพณีนี้กำหนดขึ้นเพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์และขอขมาต่อพระแม่คงคา  ผู้คนจะพากันทำ "กระทง" จากวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ตกแต่งเป็นรูปคล้ายดอกบัวบาน ปักธูปเทียน และนิยมตัดเล็บ เส้นผม หรือใส่เหรียญ ลงไปในกระทง แล้วนำไปลอยในสายน้ำ  เชื่อว่าเป็นการลอยเคราะห์ไป นอกจากนี้ยังเชื่อว่าการลอยกระทง เป็นการบูชาและขอขมาพระแม่คงคาด  แต่ในปัจจุบัน มีการล่วงละเมิดทางเพศเกิดขึ้นมากอย่างยิ่งในวันลอยกระทง เพราะเกิดความเชื่อใหม่ว่าหากไปลอยกระทงกับคนที่รักแล้วขอพร จะได้ดั่งใจหวัง จึงก่อให้เกิดการล่วงละเมิดทางเพศได้ง่าย และเป็นวันที่เด็กส่วนใหญ่เสียตัวให้กับคนที่รัก ในกิจกรรมวันนี้ออกแบบให้เด็กมาทำกระทงร่วมกัน ออกแบบกระทงตามที่ตัวเองชอบและพูดคุยแลกเปลี่ยนเรื่องความสำคัญของการไปลอยกระทงกับคนที่รัก เด็กๆหายคนมีความเห็นว่า เราน่าจะมีกิจกรรมทำกระทงร่วมกันแบบนี้ทุกๆปี

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • เด็กๆได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ความเป็นมาเป็นไปของประเพณีลอยกระทง
    • ได้ถกเถียงเรื่องวัฒนธรรมการลอยกระทงของวันรุ่น
    • ดึงเด็กที่กลัวจะมีปัญหากับแฟนในวันลอยกระทง มาทำกระทงร่วมกันและลอยร่วมกับเพื่อนๆ

     

    60 7

    60. ตกปลา ในนาข้าว

    วันที่ 29 ธันวาคม 2556 เวลา 11:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

          ตามวิถีชีวิตการหากิน ของคนแต่ก่อนมาจนถึงปัจจุบัน ตามพื้นที่ลุ่มน้ำ นาข้าวแล้วนั้นยังคงมีวิธีการจับปลาในนาข้าวที่ยังคงยืนต้นเขียวขจีแล้ว คำว่า ในน้ำมีปลาในนามีข้าว เห็นแท้ว่าคงจะจริงตามสำนวนนี้ เพราะที่ทุ่งนาป่าชิงในช่วงหลังจากฤดูฝนแล้วนั้น ปลาหมอขนาดตัวพอแกง มีมากเหลือเกินพวกเราและกลุ่มเด็กเลยคิดกิจกรรม ตกปลาขึ้นมา เพราะข้างๆทางของบ้านป่าชิงเป็นสายน้ำและนาข้าวที่อุดมสมบูรณ์มาก ได้มีชาวบ้านออกมาตกปลากัน เด็กๆเลยคิดสนุกสนาน และใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์หลังจากที่เป็นวันว่างในช่วงสุดสัปดาห์ พวกเขาคิดว่าดีกว่าไปเล่นเกมส์และไปยุ่งอยู่กับสิ่ง สำหรับกิจกรรมนี้พวกเด็กๆได้คิดขึ้นมาเองและนำมาเสนอ เราจึงเห็นควรที่จัดกิจกรรมนี้ให้  เลยชวนกันไปตัดไม้ไผ่นำมาเหลา ทำคันเบ็ดให้ครบทุกคน ส่วนตาเบ็ดและสายเอ็นก็ไปซื้อมา หลังจากทำเสร็จเรียบร้อย แล้วเหยื่อของปลาก็ใช้ไข่มดแดงซึ่งแยงเอาตามต้นไม้ข้างๆบ้านได้พอควร ก็เอาน้ำยางพารามาคลุกเคล้าให้เข้ากันแต่อย่าให้แข็งเกินปลาจะไม่กิน หลังจากเราได้เหยื่อมาแล้ว ก็พาเด็กๆไปตกปลากัน วันนั้นเราได้ปลามาพอแกงซึ่งเป็นปลาหมอซะส่วนใหญ่ ปลากินดีมากวันนั้น ชนิดที่ว่า หย่อนกินๆเด็กๆก็เพลิดเพลินมากจนไม่อยากที่จะกลับบ้านเลย แต่เวลานั้นเย็นมากแล้ว เลยกลับบ้านพาปลาที่ได้หลบไปกิน การหากินกับการดำเนินชีวิตตามวิถีพอเพียงนี้ได้สอนอะไรๆให้กับเด็กให้สามารถรู้จักเอาตัวรอดได้ภายใต้ความปลี่ยนแปลงของสังคม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    กิจกรรมนี้ทำให้เด็กเรียนรู้ทักษะการใช้ชีวิต การเอาตัวรอดในชีวิต เพราะคนแต่ก่อนก็สอนให้

     

    60 12

    61. ตกปลา ในนาข้าว

    วันที่ 4 มกราคม 2557 เวลา 10:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วันนี้เด็กๆกลุ่มหลบมาแลป่าชิงบ้านเรา ให้ความสนใจกับเรื่องความมั่นคงทางอาหารของบ้านเรา เพราะมันคือสิ่งที่เราต้องกินอยู่ทุกวันนี้ พวกเราได้ออกเรียนรู้การทำนาอินทรีย์ เรียนรู้การใช้ประโยชน์จากนา และก็เกิดความคิดอยากเรียนรู้ การตกเบ็ด ที่เป็นเสมือนวัฒนธรรมการทำนาของคนบ้านเรา เมื่อดำนาแล้วรอจนข้าวแตกกอ หรือหลังดำนาประมาณ 1 เดือน ปลาที่ฝังโคลนก็ได้ขยายพันธุ์และอาศัยต้นข้าวเป็นที่หลบร้อน เป็นแหลงอาหาร ทำให้ช่วงหน้านา มีปลาจำนวนมากส่วนใหญ่จะเป็นปลาหมอและปลาช่อน
    เมื่อเสร็จจากนา ว่านปุ๋ยข้าว หลังจากนั้นเมื่อปฏิบัติภารกิจหลักของคนบ้านเรานั้นก็คือตัดยางเรียบร้อยแล้ว เราจะใช้เวลาช่วงเที่ยงถึงบ่าย 2 เป็นการพักผ่อนหลังจากที่ต้องตื่นมาตัดยางบางคนก็ตี 1 บางคนก็ตี 4 ตี 5 แล้วแต่ความมากน้อยของสวนยางที่ตนตัด ตื่นมาก็ชวนเพื่อนบ้านข้างเคียง 2 คน 3 คน ถือคันเบ็ดเดินตามหลังกันเป็นแถว เหยื่อที่ใช้ตกปลาก็เป็นไข่มดแดง “เอาเหยื่อเกี่ยวเบ็ด แล้วหย่อน แล้วกะยักเลย” เสียงเล่าจากป้านวย ป้านวยเป็นชาวบ้านควนแก้ว มาตกปลาที่ทุ่งนาป่าชิงเกือบทุกวัน ป้านวยยังเล่าต่ออีกว่า “ปีนี้ปลามาก หย่อนแล้วยักๆ เพลินมากเลย” เป็นเสียงเล่าสะท้อนความสมบูรณ์ของพื้นที่บ้านเรา
    เด็กๆ กลุ่มหลบมาแลป่าชิงบ้านเราก็ออกมาเรียนรู้การตกปลาในนาข้าว น้องติณ เยาวชนบ้านป่าชิงซึ่งได้มาร่วมกิจกรรมของกลุ่มเป็นครั้งแรก เป็นคนที่มีทักษะในการตกปลา “เราต้องหาที่ ไปเรื่อยๆ จนพบเองว่าที่ตรงไหนที่มีปลามาก แล้วก็ย้ายไปเรื่อยๆ” น้องติณไม่เพียงแค่พูดบอกคนอื่นๆเท่านั้น แต่น้องติณได้ทำให้พวกเราเห็นว่าที่เขาพูดออกมามันเป็นจริง เพราะเขาเป็นคนที่ตกปลาได้เยอะที่สุด เวลาเพียงแค่ 4 ชั่วโมงที่พวกเราช่วยกันตกปลา ทำให้วันนี้เราได้กับข้าว 1 มื้อ นี้คือตัวบ่งบอกความอุดมสมบูรณ์ของผืนนาบ้านเรา ถึงแม้ว่าวันนี้พื้นที่นาบ้านเราหายไปมากแล้วเพราะที่นาเดิมถูกเปลี่ยนไปใช้ประโยชน์อย่างอื่น อย่างเช่น สร้างบ้าน ปลูกยาง ปลูกปาล์ม ตามความต้องการของเจ้าของที่ แต่เราก็ยังหลงเหลือความสมบูรณ์ที่เราทุกคนช่วยกันรักษาไว้จนถึงทุกวันนี้ และเราคนรุ่นหลังก็ไม่ยากให้เรื่องเล่านี้เป็นเพียงแค่ตำนานของคนปาชิง แต่จะดูแลรักษาไว้ในคนรุ่นต่อไปได้เรียนรู้เหมือนกับที่เราได้เรียนรู้ในวันนี้ แล้วเราก็ขอยืนยันว่านี้แหละคือความสุขที่แท้จริง ที่เราต้องการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เด็กได้เรียนรู้วิถีชีวิต คนกับความสัมพันธ์ของนาข้าวจึงเป็นบทเรียนที่เรียนรู้จากข้างนอกไม่ได้เลย

     

    60 9

    62. เด็กทำดอกไม้ไปเวียนเทียน และทำว่าว

    วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา 10:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วันมาฆบูชา กลุ่ม เด็กๆจากป่าชิง มาหาพี่ๆที่บ้านพี่จอยเพื่อที่จะทำดอกไปเวียนเทียนกันที่วัดเชิงคีรี(วัดป่าชิง)ในช่วงหัวค่ำ พวกเราเดินกันไปตามซอยต่างๆในหมู่บ้านเพื่อที่จะไปขอดอกไม้จากละแวกบ้าน แต่ช่วงนั้นฝนไม่ได้ตกลงมาเลยหลายเดือนแล้วทำให้ดอกไม้หายากมาก จึงนึกขึ้นมาได้ว่าใบเตยหอมข้างบ้านสามารถนำมาพับเป็นดอกกุหลาบได้ พวกเราจึงไปขอใบเตยหอมของคนข้างๆบ้านมาทำ  เราช่วยกันพับร่วมเวลาหลายชั่วโมงจนเกือบค่ำ เราได้ดอกไม้ช่องามๆหลายช่อ ถึงแม้ว่าไม่ใช่ดอกไม้จริงก็ตามแต่เราช่วยกันทำด้วยใจที่บริสุทธิ์ นั้นถือได้ว่าได้บุญแล้ว หลังจากนั้นเด็กๆก็พาดอกไม้ของแต่ละคนกลับบ้านเพื่อไปวัดเวียนเทียน กับพ่อแม่ พี่ๆฝึกให้น้องทำดอกไม้แต่ไม่ได้พาเด็กน้องๆไปเวียนเทียน  เราให้เขาไปกับครอบครัวจะได้มีความอบอุ่นขึ้น ความรักจากคนในครอบครัวทำให้เข้ารู้สึกได้ว่าเขาเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวโดยมีพ่อแม่คอยให้ความรักอยู่ข้างๆ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เด็กๆมีความตั้งใจที่จะทำดอกไม้ ให้ตัวเองและคนในครอบครัว และได้มองเห็นถึงการช่วยเหลือกัน น้องๆคนที่พับดอกไม้จากใบเตยเป็นก็มาสอนเพื่อที่ทำไม่เป็น

     

    60 9

    63. ทำว่าว

    วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    “วันนี้เรามาทำว่าวกัน...แต่ก่อนไปทำว่าว พี่จอยพาโหมเราไปเล่นน้ำก่อนนะ “ ความต้องการของบ่าวดิว ที่เข้ามาเสนอกิจกรรมและออกแบบสิ่งที่เขาอยากทำให้ฉันฟัง วางกำหนดการณ์ของกิจกรรมวันนี้ และกำหนดเวลาอย่างชัดเจน 10.00          เราเจอกันและวางแผนการทำงานในวันนี้ ออกแบบการลงพื้นที่ พี่จะต้องดูแลน้อง ส่วนน้องก็ต้องเชื่อฟังพี่ 12.00-12-30 เราจะไปกินข้าวเที่ยงกัน(ที่ร้านป้าน้อง) 12.30-14.00 ไปเล่นน้ำคลองเฉียงพร้า 14.30-16.30 ทำว่าว ที่บ้านพี่จอย 16.30 เรากลับบ้านไปทำงานบ้านกัน เด็กๆ เริ่มที่จะออกแบบกิจกรรม ตามความเหมาะสมและความเป็นจริงได้เอง  โดยมีพี่ๆ คอนดูอยู่ห่างๆ เท่านั้น กิจกรรมที่น้องๆ ออกแบบอย่างเป็นระบบ โดยไม่ต้องทีคนมาคอยดูแลเขาหลายคน มีแค่ พี่จอยกะพี่วัจน์สองคน ก็เอาอยู่

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เด็กๆ สามารถออกแบบกิจกรรมของตัวเอง เพื่อให้ตัวเองสนุกสนานและเรียนรู้ไปพร้อมๆกันได้ ขณะเดียวกันก็ไม่เป็นภาระให้พี่ๆ ผู้ปกครองไม่ต้องเป็นห่วงเรื่องความปลอดภัย

     

    60 7

    64. เก็บข้าว

    วันที่ 12 มีนาคม 2557 เวลา 08:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    การเก็บข้าวก็เป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่ต่อเนื่องมาจาก กิจกรรมดำนา ซึ่งคนที่เข้ามาร่วมกระบวนการก็เป็นคนที่อาสาตัวเองมาร่วมอนุรักษ์วิถีการซอแรง ในกิจกรรมก็จะมีการพูดคุยเรื่องภูมิปัญญา และพิธีกรรมที่เกี่ยวกับการทำนา ตั้งแต่การแรกดำนา แรกเก็บข้าว ทำขวัญข้าว การไหว้เจ้าที่ การทำบุญเดือนห้า และมีการเล่าสู่กันฟังถึงกิจกรรมที่คนสมัยรุ่นพ่อ แม่ ทำกันมา เพราะกิจกรรมนี้มีคน 3 รุ่นเข้ามาเรียนรู้กระบวนการ ทั้งรุ่นแม่ รุ่นลูก และรุ่นหลาน  มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดและวางแผนการทำนาในปีหน้า น้ารัตน์ เฑียรรัตน์ แก้วนะ อาสาจะสนับสนุนพื้นที่ทำนา”ห้องเรียน นาข้าว ”เพิ่มอีก 2 ไร่ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับคนในชุมชน และคนต่างพื้นที่เข้ามาเรียนรู้ 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดและวางแผนการทำนาในปีหน้า น้ารัตน์ เฑียรรัตน์ แก้วนะ อาสาจะสนับสนุนพื้นที่ทำนา”ห้องเรียน นาข้าว ”เพิ่มอีก 2 ไร่ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับคนในชุมชน และคนต่างพื้นที่เข้ามาเรียนรู้ 

     

    60 9

    65. เก็บข้าว (ห้องเรียน นาข้าว)

    วันที่ 13 มีนาคม 2557 เวลา 08:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    การเก็บข้าวก็เป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่ต่อเนื่องมาจาก กิจกรรมดำนา ซึ่งคนที่เข้ามาร่วมกระบวนการก็เป็นคนที่อาสาตัวเองมาร่วมอนุรักษ์วิถีการซอแรง ในกิจกรรมก็จะมีการพูดคุยเรื่องภูมิปัญญา และพิธีกรรมที่เกี่ยวกับการทำนา ตั้งแต่การแรกดำนา แรกเก็บข้าว ทำขวัญข้าว การไหว้เจ้าที่ การทำบุญเดือนห้า และมีการเล่าสู่กันฟังถึงกิจกรรมที่คนสมัยรุ่นพ่อ แม่ ทำกันมา เพราะกิจกรรมนี้มีคน 3 รุ่นเข้ามาเรียนรู้กระบวนการ ทั้งรุ่นแม่ รุ่นลูก และรุ่นหลาน  มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดและวางแผนการทำนาในปีหน้า น้ารัตน์ เฑียรรัตน์ แก้วนะ อาสาจะสนับสนุนพื้นที่ทำนา”ห้องเรียน นาข้าว ”เพิ่มอีก 2 ไร่ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับคนในชุมชน และคนต่างพื้นที่เข้ามาเรียนรู้ 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดและวางแผนการทำนาในปีหน้า น้ารัตน์ เฑียรรัตน์ แก้วนะ อาสาจะสนับสนุนพื้นที่ทำนา”ห้องเรียน นาข้าว ”เพิ่มอีก 2 ไร่ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับคนในชุมชน และคนต่างพื้นที่เข้ามาเรียนรู้ 

     

    60 9

    66. เก็บข้าว (ห้องเรียน นาข้าว)

    วันที่ 14 มีนาคม 2557 เวลา 08:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    การเก็บข้าวก็เป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่ต่อเนื่องมาจาก กิจกรรมดำนา ซึ่งคนที่เข้ามาร่วมกระบวนการก็เป็นคนที่อาสาตัวเองมาร่วมอนุรักษ์วิถีการซอแรง ในกิจกรรมก็จะมีการพูดคุยเรื่องภูมิปัญญา และพิธีกรรมที่เกี่ยวกับการทำนา ตั้งแต่การแรกดำนา แรกเก็บข้าว ทำขวัญข้าว การไหว้เจ้าที่ การทำบุญเดือนห้า และมีการเล่าสู่กันฟังถึงกิจกรรมที่คนสมัยรุ่นพ่อ แม่ ทำกันมา เพราะกิจกรรมนี้มีคน 3 รุ่นเข้ามาเรียนรู้กระบวนการ ทั้งรุ่นแม่ รุ่นลูก และรุ่นหลาน  มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดและวางแผนการทำนาในปีหน้า น้ารัตน์ เฑียรรัตน์ แก้วนะ อาสาจะสนับสนุนพื้นที่ทำนา”ห้องเรียน นาข้าว ”เพิ่มอีก 2 ไร่ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับคนในชุมชน และคนต่างพื้นที่เข้ามาเรียนรู้ 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดและวางแผนการทำนาในปีหน้า น้ารัตน์ เฑียรรัตน์ แก้วนะ อาสาจะสนับสนุนพื้นที่ทำนา”ห้องเรียน นาข้าว ”เพิ่มอีก 2 ไร่ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับคนในชุมชน และคนต่างพื้นที่เข้ามาเรียนรู้ 

     

    60 9

    67. ทำรายงานปิดงบประมาณงวดที่ 2

    วันที่ 28 มีนาคม 2557 เวลา 08:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ทำรายงานงบประมาณงวดที่ 2 ร่วมกับพี่เลี้ยง สจรส. และติดตามผลโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ทำรายงานการปฏิบัติกิจกรรมทั้ง2 งวดเสร็จเรียบร้อย

     

    2 2

    68. เรียนรู้ทุ่งนา

    วันที่ 30 มีนาคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เด็กออกเรียนรู้วถีชีวิต คนบ้านเรากับนาข้าวมีความสำคัญอย่างไร เป็นคำถามที่เด็กๆวางไว้ก่อนออกลงพื้นที่ -ทำปี่ซังเข้า เด็กๆได้หัดทำและหัดเป่าปี่ซังข้าวโดยมีลุงรูญเป็นคนช่วยสอยการทำปี่ ปรับเสียงปี่ให้มีความสูงต่ำตามขนาดความใหญ่ ความสั้นยาวของต้นซัง เพื่อให้ได้เสียงที่หลากหลาย ทั้งเสียงต่ำเสียงสูง -มีการ สอนวาดรูปภาพเหมือนจากลุงรูญ เด็กๆรู้สึกตื่นเต้นเมื่อได้เป็นแบบให้ลุงรูญได้วาดรูปและเรียนรู้ทักษะการวาดรูปต่างๆจากลุงรูญ -ลงหาดินเหนียวในคลองเสือตาย แล้วปั้นดินเหนียวตามจินตนาการของแต่ละคน เด็กๆช่วยกันหาดินเหนียวมาตากแดด สักพักก็เอามานวดและแบ่งกันปั้น ทั้งสามกิจกรรมในวันนี้เด็กๆ สะท้อนให้เห็นว่า เราอยู่คู่กับธรรมชาติและทรัพยากรรอบตัวได้หากเราเปิดโอกาศให้ตัวเองเรียนรู้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เด็กๆมีกิจกรรมที่เสริมทักษะ ด้านศิลปะ ความคิดสร้างสรรค์เพิ่มขึ้น และเห็นคุณค่าของทรัพยากรในท้องถิ่นเพิ่มมากขึ้น พร้อมที่จะเรียนรู้ในกิจกรรมถัดไป เกิดความสนุกสนาน มีการแบ่งปัน ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน

     

    60 7

    69. พี่เลี้ยงติดตามโครงการ

    วันที่ 20 พฤษภาคม 2557 เวลา 08:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประเมินผลโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ติดตามผลโครงการ รายงานโครงการเพื่อปิดโครงการ

     

    2 2

    70. จัดทำรายงานสรุปปิดโครงการ

    วันที่ 3 มิถุนายน 2557 เวลา 09:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ทำรายงานปิดโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ทำรายงานปิดโครงการ

     

    2 2

    71. ส่งเอกสารรายงานสรุปปิดโครงการ

    วันที่ 13 มิถุนายน 2557 เวลา 11:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารสรุปปิดโครงการ พร้อมส่ง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เอกสารปิดโครงการมีความครบถ้วนสมบูรณ์

     

    2 5

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

     

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 1 เพื่อสร้างความเข้าใจก่อให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วม ร่วมคิด ร่วมทำ ของผู้ใหญ่และเยาวชนในชุมชน
    ตัวชี้วัด : 1.เด็กและเยาวชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีและลดละเลิก สารเสพติด ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมาย 2.มีเครือข่ายเฝ้าระวังเสพสารเสพติด
    1. เด็กๆ มีพื้นที่ ที่ไว้ใจและกล้าปรึกษาปัญหาของวัยรุ่น และมีพี่ๆคอยหาทางออกในปัญหาที่เขาพบเจอ เป็นที่ไว้ใจและที่ปรึกษาที่ดีของเด็กๆ  มีคุณภาพที่ดี ลด ละ เลิก สารเสพติดได้ ร้อยละ 50 ของ กลุ่มเป้าหมายที่ตั้งไว้ เพราะกลุ่มเป้าหมายบางกลุ่มทีมทำงานยังเข้าไปไม่ถึง และกังวลว่าจะเป็นจุดเสี่ยงกับเด็กที่ปกติ หรือค่อนข้างมีความเสี่ยงหากเด็กกลุ่มเสพยาเข้ามาร่วมกระบวนการด้วย เกิดความไม่ไว้วางใจของผู้ปกคลองเด้กปกติเมื่อเข้าร่วมกิจกรรมกระบวนการร่วมกับเด้กปกติ
    2. มีเครือข่ายเฝ้าระวังสารเสพติด มีการแจ้งพื้นที่เสี่ยง และเข้าไปตักเตือน มีเจ้าหน้าที่เข้าลาดตระเวรตามจุดเสี่ยงต่าง
    2 สร้างกระบวนการคิดในการพึ่งพาตนเอง
    ตัวชี้วัด : 1.มีพื้นที่ให้เด็กและเยาวชนได้แสดงออกในตัวตนของเขา 2.มีการสร้างงานเพื่อเป็นรายได้
    1. เด็กๆ มีพื้นที่ในการทำกิจกรรมที่ตัวเองสนใจ มีที่ปรึกษาที่คอยให้คำแนะนำและทำกระบวนการตามที่ตนเองถนัด มีสถานที่นัดทำกิจกรรมของกลุ่มเด็กและเยาวชน คือศาลาเอนกประสงค์บ้านป่าชิง
    2. การสร้างงานสร้างรายได้ ยังไม่พบเห็นในกลุ่มเด็ก แต่ทีมทำงานและบุคคลที่สนใจร่วมกลุ่มกันผลิตสินค้าขายที่ตลาดสีเขียว เป็นตลาดในชุมชน
    3 เพื่อเสริมสร้างกำลังใจให้เด็กและเยาวชน
    ตัวชี้วัด : 1.มีพื้นที่ในการแสดงผลงานของเด็กและเยาวชน 2.เกิดการยอมรับในผลงานของเด็กและเยาวชน 3.ให้โอกาสเด็กและเยาวชนร่วมกับผู้ใหญ่เพื่อวางแผนพัฒนาชุมชน
    1. เด็กๆ สามารถใช้พื้นที่ ศาลาเอนกประสงค์ซึ่งเป็นพื้นที่สาธารณะของชุมชนทำกิจกรรมและแสดงผลงานของเขา และอีกพื้นที่ที่เป็นพื้นที่เปิดอย่างยูทูป เฟสบุ๊คที่เขาสารมารถสื่อสารเล่าเรื่องราวดีๆ ของเขาและของชุมชนให้คนอื่นได้รับรู้
    2. ผู้ใหญ่เกิดการยอมรับ
    4 ติดตามและสนับสนุนการดำเนินงานโครงการโดยทีม สสส.และ สจรส.มอ.หาดใหญ่
    ตัวชี้วัด : 1.การจัดทำรายงานส่ง เช่น ส1,ส.2,ส.3 และเอกสารการเงิน ง.1,ง.2 ในแต่ละงวด 2.การเข้าร่วมประชุม ร่วมกับ สสส.และสจรส.มอ.หาดใหญ่ ร้อยละ 75 ในการประชุม
    • การจัดทำเอกสาร ล่าช้ากว่าเวลาที่กำหนด เพราะด้วยกระบวนการทำรายงานหลายขั้นตอน
    • ได้เข้าร่วมประชุมกับ สจรส. ทุกครั้ง
    5
    ตัวชี้วัด :

     

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) 1 เพื่อสร้างความเข้าใจก่อให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วม ร่วมคิด ร่วมทำ ของผู้ใหญ่และเยาวชนในชุมชน (2) สร้างกระบวนการคิดในการพึ่งพาตนเอง (3) เพื่อเสริมสร้างกำลังใจให้เด็กและเยาวชน (4) ติดตามและสนับสนุนการดำเนินงานโครงการโดยทีม สสส.และ สจรส.มอ.หาดใหญ่ (5)

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    ส่วนที่ 3 ประเมินคุณค่าโครงการ

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ

    ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาศักยภาพ เยาวชนนักพัฒนา (ผลัดกันแลลูกเธอลูกฉัน)

    รหัสโครงการ 56-00245 รหัสสัญญา 56-00-0377 ระยะเวลาโครงการ 1 เมษายน 2556 - 30 เมษายน 2557

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นการคุณค่าที่เกิดจากโครงการในมิติต่อไปนี้

    • ความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพและนวัตกรรมเชิงระบบสุขภาพชุมชน
    • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีผลต่อสุขภาวะ
    • การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ
    • ผลกระทบเชิงบวกและนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาวะชุมชน
    • กระบวนการชุมชน
    • มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่

    1. เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้ใหม่ / องค์ความรู้ใหม่

    ชุมชนเกิดองค์ความรู้ ที่สามารถพัฒนาต่อเป็น หลักสูตรท้องถิ่น

    มีพื้นที่เรียนรู้ชุมชนและหลักฐานประวัติศาตร์ชุมชนเป็นพื้นที่เรียนรู้

    พัฒนาเป็นหลักสูตรท้องถิ่น ในโรงเรียน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สิ่งประดิษฐ์ / ผลผลิตใหม่

    เกิดกลุ่มสื่อที่สามารถสื่อสารเรื่องราวของชุมชน สู่สาธารณะได้

    มีชิ้นงานสื่อการเรียนรู้วิถีคนป่าชิง ผลิตออกมาหลายชิ้นและผลิตอย่างต่อเนื่อง

    พัฒนาศักยภาพการสื่อสารให้มีหลายช่องทางขึ้น

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. กระบวนการใหม่

    เกิดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันในทุกๆวัย ได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็นร่วมกันได้

    มีกิจกรรมที่คนทุกวัยได้ร่วมกันออกแบบ

    ให้คนมีส่วนร่วมมากขึ้นกว่าเดิม

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. วิธีการทำงาน / การจัดการใหม่

    ทีมทำงานมาจากคนหลายๆกลุ่ม เข้ามาร่วมออกแบบกระบวนการร่วมกัน

    เกิดกลุ่มเฝ้าระวังชุมชนกลุ่มอื่นๆ และมีคนจากต่างกลุ่มเข้ามาร่วมกิจกรรม

    ทีมทำงาน เกิดเป็นทีมเฝ้าระวังชุมชน เฝ้าระวังสิ่งแวดล้อมขึ้น

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การเกิดกลุ่ม / โครงสร้างในชุมชนใหม่

    ยังไม่เห็นโครงสร้าง นโยบายที่เปลี่ยนไป เพราะผู้นำชุมชนยังไม่เห็นความสำคัญมากพอ

    -

    ผู้นำไม่เปิดใจ เปิดรับการทำงานที่นอกเหนือหน้าที่ แม้กระทั้งงานในหน้าที่ยังไม่ปฏิบัติเลย

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. แหล่งเรียนรู้ใหม่

    เกิดแหล่งเรียนรู้ใหม่ๆ ที่เด็กๆ และทีมทำงานสามารถแนะนำให้เพื่อนคนอื่นรับรู้ด้วย

    -ทวด ทั้ง 3 ที่คนป่าชิงนับถือ  เด็กๆสามารถเล่าตำนาน และความสำคัญได้ - กลุ่มเรียนรู้นาข้าว ห้องเรียนนาข้าว ที่ทีมทำงานและเด็กๆ สามารถเล่าความเป็นมาได้

    พัฒนาต่อเป็นหลักสูตรท้องถิ่นทั้งที่เรียนในห้องเรียนและคนที่มีความสนใจอยากศึกษา

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    99. อื่นๆ

     

     

     

    2. เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การบริโภค

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การออกกำลังกาย

    เด็กๆจะจัดกิจกรรมที่ออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องและสับเปลี่ยนกันไปเรื่อยๆ

    -เล่นฟุตบอลตอนเย็น -ผู้สูงอายุรำกระบองทุกๆวันอังคาร พฤหัส

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. การลด ละ เลิก อบายมุข เช่น การพนัน เหล้า บุหรี่

    เด็กๆเห็นโทษของเหล้า  บุหรี่  ยาเสพติด

    -เด็กๆ เข้ามาปรึกษาเมื่อถูกรุ่นพี่ชักชวนให้ลองเสพยา

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การลดพฤติกรรมเสี่ยง เช่น พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การขับรถโดยประมาท

    เด็กๆ พูดคุยเรื่องเพศศึกษากันบ่อยครั้ง จนนำมาสู่เรื่องเพศคุยได้ ศึกษาได้

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. การจัดการอารมณ์ / ความเครียด

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. การดำรงชีวิต / วิถีชีวิต เช่น การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น / สมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเอง

     

    -  การเรียนรู้เรื่องนาข้่าว กว่าจะเป็นนาปู่ ตา เราต้องลงทุนลงแรงหักถางที่นา -  การทำนาอินทรีย์ที่ดูแลตัวเอง ดูแลสิ่งแวดล้อมและดูแลคนรอบข้าง

    มีการพัฒนาพื้นที่เรียนรู้วิถีชุมชนท้องถิ่น และเรียนรู้ ถ่ายทอดผ่านสื่อช่องทางต่างๆ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    8. พฤติกรรมการจัดการตนเอง ครอบครัว ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    9. อื่นๆ

     

     

     

    3. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. กายภาพ เช่น มีการจัดการขยะ ป่า น้ำ การใช้สารเคมีเกษตร และการสร้างสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนที่ถูกสุขลักษณะ

    มีทีมนักสืบสายน้ำ ที่ค่อยดูแลสายน้ำหลายๆสายที่มีส่วนสำคัญกับชุมชน

    มีทีมนักสืบสายน้ำออกดูแลตรวจสอบสายน้ำอยู่บ่อยครั้ง

    ทีมนักสืบจะคอยทำงานตรวจดูสายน้ำอยู่ตลอด

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สังคม เช่น มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ลดการเกิดอุบัติเหตุ ครอบครัวอบอุ่น การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อเด็ก เยาวชน และกลุ่มวัยต่าง ๆ มีพื้นที่สาธารณะ/พื้นที่ทางสังคม เพื่อเอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชน มีการใช้ศาสนา/วัฒนธรรมเป็นฐานการพัฒนา

    เด็กผู้ใหญ่และผู้ปกครอง ได้คุยกันมากขึ้น

    เด็กมีพื้นที่ได้แสดงออกถึงความคิดความต้องการของเขาได้

    ให้เด็กๆมีกระบวนการพบเจอและทำกิจกรรมที่เขาออกแบบร่วมกันได้บ่อยครั้ง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. เศรษฐกิจสร้างสรรค์สังคม /สร้างอาชีพ / เพิ่มรายได้

    การทำนาอินทรีย์ เป็นอีกหนึ่งอาชีพที่ต่อยอดให้ข้าวมีราคาที่ดีและสูงขึ้น

    มีการขายข้าวแล้วเอาเงินเป็นกองทุนทำนาในปีถัดไป

    เปิดเป็นกลุ่มที่มีการแปรรูปผลิตภัณฑ์ จากข้าว

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการบริการสุขภาพทางเลือก และมีช่องทางการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. อื่นๆ

     

     

     

    4. การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. มีกฎ / กติกา ของกลุ่ม ชุมชน

    มีการวางกฏในกลุ่มคนที่เข้าร่วมกิจกรรมและเห็นความสำคัญของกระบวนการ

    -  กลุ่มเด็ก -  ทีมทำงาน

    พัฒนาเป็นกฏของชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. มีมาตรการทางสังคมของกลุ่ม ชุมชน

    มีมาตรการของกลุ่มเกิดขึ้นและมีการปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง

    มาตรการกลุ่มเด็ก

    พัฒนาเป็นกฏของชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. มีธรรมนูญของชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. อื่นๆ เช่น ออกเป็นข้อบัญญัติท้องถิ่น ฯลฯ

     

     

     

    5. เกิดกระบวนการชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. เกิดการเชื่อมโยงประสานงานระหว่างกลุ่ม / เครือข่าย (ใน และหรือนอกชุมชน)

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเรียนรู้การแก้ปัญหาชุมชน (การประเมินปัญหา การวางแผน การปฏิบัติการ และการประเมิน)

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ประโยชน์จากทุนในชุมชน เช่น การระดมทุน การใช้ทรัพยากรบุคคลในชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกลุ่มและชุมชนที่เกิดจากโครงการอย่างต่อเนื่อง

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. เกิดกระบวนการจัดการความรู้ในชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. เกิดทักษะในการจัดการโครงการ เช่น การใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ การทำแผนปฏิบัติการ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. อื่นๆ

     

     

     

    6. มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเอง / กลุ่ม / ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเห็นประโยชน์ส่วนรวมและส่วนตนอย่างสมดุล

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย และพอเพียง

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. ชุมชนมีความเอื้ออาทร

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. มีการตัดสินใจโดยใช้ฐานปัญญา

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. อื่นๆ

     

     

     

    โครงการพัฒนาศักยภาพ เยาวชนนักพัฒนา (ผลัดกันแลลูกเธอลูกฉัน) จังหวัด สงขลา

    รหัสโครงการ 56-00245

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นางสาวจินตหรา บัวหนู )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด