แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


“ โครงการลด คัด แยก ขยะ ต้นทาง ”

ตำบลร่มเมือง อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง

หัวหน้าโครงการ
นางอารีย์ สังข์ทอง

ชื่อโครงการ โครงการลด คัด แยก ขยะ ต้นทาง

ที่อยู่ ตำบลร่มเมือง อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง จังหวัด พัทลุง

รหัสโครงการ 56-00269 เลขที่ข้อตกลง 56-00-0475

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 พฤษภาคม 2556 ถึง 31 พฤษภาคม 2557


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการลด คัด แยก ขยะ ต้นทาง จังหวัดพัทลุง" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลร่มเมือง อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการลด คัด แยก ขยะ ต้นทาง



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการลด คัด แยก ขยะ ต้นทาง " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลร่มเมือง อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง รหัสโครงการ 56-00269 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 พฤษภาคม 2556 - 31 พฤษภาคม 2557 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 209,970.00 บาท จาก เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 270 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

 

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อสร้างหมู่บ้านต้นแบบการจัดการขยะ
  2. เพื่อยกระดับครัวเรือนนำร่องจากโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการลด คัด แยก ขยะ
  3. เพื่อขยายผลการเรียนรู้สู่ตำบลปลอดขยะ
  4. เพื่อติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

     


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. ประชุม สจรส.มอ.

    วันที่ 19 มิถุนายน 2556 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    นางสาววิยะดา  วิเชียรบุตร เข้าร่วมประชุมรับฟังการชี้แจงแนวทางการติดตามผลงานของแต่ละโครงการโดยมีทีมพี่เลี้ยงประจำจังหวัดเป็นผู้คอยดูแล และวิธีการรายงานผลกิจกรรมผ่านระบบโปรแกรมออนไลน์ที่ทาง สจรส.มอ.กำหนดให้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ตัวแทนคณะทำงานโครงการลด คัด แยก ขยะ จำนวน 1 คน คือ นางสาววิยะดา  วิเชียรบุตร เข้าร่วมการประชุมรับทราบการออกติดตามการดำเนินกิจกรรมของทาง สจรส.มอ. กำหนด และทีมพี่เลี้ยงประจำจังหวัดพัทลุง คือ นายเสนี  จ่าวิสูตร จะคอยดูแลการขับเคลื่อนกิจกรรมในโครงการ

     

    2 2

    2. 1.จัดการประชุมชี้แจงการดำเนินงานของโครงการให้กับคณะทำงานของหมู่บ้านต้นแบบทั้ง 2 หมู่บ้าน ในการขับเคลื่อนหมู่บ้านเป็นหมู่บ้านต้นแบบการจัดการขยะ

    วันที่ 5 กรกฎาคม 2556 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    -การประชุมชี้แจงโครงการ เปิดประชุมโดยรองนายกเทศมาตรีตำบลร่มเมือง คือ คุณประพิศ  ศรีนอง กล่าวที่มาของโครงการจนได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก สสส.
    -นางสาววิยะดา วิเชียรบุตร ผู้เขียนโครงการชี้แจงรายละเอียดของแผนการดำเนินงานของโครงการในแต่ละกิจกรรม -กลุ่มแกนนำที่เข้าร่วมประชุม ได้แก่ ผู้ใหญ่บ้าน , อสม , ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ม.3 และ ม.7 และ พนักงานเจ้าหน้าที่เทศบาลตำบลร่มเมือง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    -กลุ่มแกนนำที่เข้าร่วมประชุม จำนวน 48 คนได้แก่ ผู้ใหญ่บ้าน , อสม , ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน , ผู้ทรงคุณวุฒิ , ปราชญ์ชาวบ้าน ของม.3 และ ม.7 และ พนักงานเจ้าหน้าที่เทศบาลตำบลร่มเมืองเข้าใจกระบวนการดำเนินกิจกรรมทั้งหมดในโครงการและกำหนดรูปแบบกิจกรรมที่จะขับเคลื่อนในลักษณะที่เหมาะกับหมู่บ้านตนเอง

     

    60 48

    3. ประชุมประชาชนของหมู่บ้านต้นแบบให้ประชาชนมีความเข้าใจและร่วมกันแสดงความคิดเห็นพร้อมเสนอแนะการขับเคลื่อนหมู่บ้านต้นแบบ และ ประชุมครัวเรือนนำร่องโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการลด คัด แยก ขยะ ในการเข้าสู่การรวมกลุ่มการนำขยะไปใช้ประโยชน์ ม.3

    วันที่ 20 กรกฎาคม 2556 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ผู้ใหญ่ประชาสัมพันธ์เสียงตามสายนัดประชุมชาวบ้าน ณ ศาลาเอนกประสงค์หมู่ 3

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • มีชาวบ้านเข้าร่วมรับฟังการชี้แจงโครงการ จำนวน 29 คน คณะทำงาน 10 คน -นายประพิศ  ศรีนอง รองนายกเทศมนตรีตำบลร่มเมือง ซึ่งเป็นคณะทำงานในโครงการได้กล่าวที่มาของการขอรับทุนสนับสนุนจาก สสส. จนได้รับทุนมาสนับนุนเพิ่มเติมจากเทศบาลตำบลร่มเมืองที่ได้จัดสรรเอาไว้แล้วนั้น -นายอำนวย  บุญชูศรี  ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 3 ในการร่วมมือกันขับเคลื่อนบ้านหูแร่เป็นต้นแบบของหมู่บ้านการจัดการขยะ -นางสาววิยะดา  วิเชียรบุตร ในฐานะทีมทำงานของโครงการลด คัด แยก ขยะต้นทางและเป็นผู้เขียนโครงการ ได้ชี้แจงความสำคัญของโครงการ ขั้นตอนการดำเนินงาน และความร่วมมือของชาวบ้านในทุกกิจกรรม -ชาวบ้านมีข้อซักถามในรายละเอียดเพิ่มเติมที่ไม่เข้าใจในการขับเคลื่อนกิจกรรม

     

    60 39

    4.

    วันที่ 23 กรกฎาคม 2556 เวลา 07:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    หมู่บ้านต้นแบบหมู่ที่ 3 มีการเปิดหอกระจายข่าวในตอนเช้าทุกวัน และ มีการขึ้นป้ายประชาสัมพันธ์การรณรงค์การคัดแยกขยะโดยชุมชนเพื่อชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • มีการประชาสัมพันธ์ผ่านหอกระจายเสียงของหมู่ที่ 3 ซึ่งเป็นหมู่บ้านต้นแบบทุกวัน ในช่วงเวลา 6.00 - 7.00 น. และ เวลา 18.00 - 19.00 น.
    • มีการขึ้นป้ายรณรงค์การคัดแยกขยะในชุมชนโดยชุมชน ครัวเรือน ของแต่ละหมู่บ้านต้นแบบ ทั้ง 2 หมู่บ้าน ตามจุดพื้นที่สำคัญ
    • มีการวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับการขับเคลื่อนการคัดแยกขยะในวงเสวนาของชาวบ้านในชุมชน เช่น ร้านขายของ ร้านขายน้ำชา กาแฟ หรือบ้านเรือนของชาวบ้านที่เป็นที่ยอมรับในหมู่บ้าน

     

    0 0

    5. ประชาสัมพันธ์กิจกรรมการเป็นหมู่บ้านต้นแบบอย่างต่อเนื่อง และ รูปธรรม ม.3

    วันที่ 23 กรกฎาคม 2556 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 3 นายอำนวย บุญชูศรี ได้มีการเปิดหอกระจายข่าวแจ้งให้ประชาชนในพื้นที่บ้านหูแร่รับทราบถึงการเป็นหมู่บ้านต้นแบบการจัดการขยะ โดยจะมีการเปิดเสียงรณรงค์การจัดการขยะในครัวเรือน โดยคัดแยกออกเป็นประเภทต่างๆ และ มีการรับซื้อขยะในวันที่จัดทำสวัสดิการหมู่บ้าน ณ ศาลาอเนกประสงคืบ้านหูแร่  และ มีการแสดงป้ายรณรงค์การคัดแยกบริเวณจุดต่างๆใหมู่บ้าน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • นายอำนวย  บุญชูศรี  ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 3 บ้านหูแร่ จะทำการเปิดเสียงประชาสัมพันธ์การลด คัด แยก ขยะ โดยครัวเรือน ทุกวันในตอนเช้า เวลา 6.00 - 7.30 น  และ ในตอนเย็นเวลา 17.00 - 18.00 น
    • มีการแสดงป้ายรณรงค์การคัดแยกขยะด้วยตนเอง บริเวณจุดสำคัญของหมู่บ้าน 3 จุด คือ ถนนทางเข้าหมู่บ้าน สายนาท่อม  , ศาลาอเนกประสงค์ประจำหมู่บ้าน , ถนนทางเข้าหมู่บ้าน สายโคกแย้ม-บ้านลำ

     

    0 0

    6. ประชุมประชาชนของหมู่บ้านต้นแบบให้ประชาชนมีความเข้าใจและร่วมกันแสดงความคิดเห็นพร้อมเสนอแนะการขับเคลื่อนหมู่บ้านต้นแบบ และ ประชุมครัวเรือนนำร่องโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการลด คัด แยก ขยะ ในการเข้าสู่การรวมกลุ่มการนำขยะไปใช้ประโยชน์ ม.7

    วันที่ 27 กรกฎาคม 2556 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ผู้ใหญ่ประชาสัมพันธ์เสียงตามสายนัดประชุมชาวบ้าน ณ ศาลาเอนกประสงค์หมู่ 7

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • มีชาวบ้านเข้าร่วมรับฟังการชี้แจงโครงการ จำนวน 81 คน คณะทำงาน 10 คน -นายเสนีย์ จ่าวิสูตร และทีมพี่เลี้ยงเข้าร่วมการชี้แจงประชาสัมพันธ์กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) -นางชะอ้อน นิลพันธ์  ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 7 อธิบายเพิ่มเติมในการเข้าร่วมโครงการของ สสส.จากโครงการแรกคือชุมชนสีเขียวบรรยากาศสีขาวโดยการสนับสนุนการทำงานจากเทศบาลตำบลร่มเมือง  และโครงกรในวันนี้ที่ทางเทศบาลตำบลร่มเมืองได้คัดเลือกหมู่ที่ 7 เป็นหมู่บ้านต้นแบบของตำบลร่มเมืองในโครงการลด คัด แยก ขยะต้นทาง -นางสาววิยะดา  วิเชียรบุตร ในฐานะทีมทำงานของโครงการลด คัด แยก ขยะต้นทางและเป็นผู้เขียนโครงการ ได้ชี้แจงความสำคัญของโครงการ ขั้นตอนการดำเนินงาน และความร่วมมือของชาวบ้านในทุกกิจกรรม -ชาวบ้านมีข้อซักถามในรายละเอียดเพิ่มเติมที่ไม่เข้าใจในการขับเคลื่อนกิจกรรม

     

    80 91

    7. ประชาสัมพันธ์กิจกรรมการเป็นหมู่บ้านต้นแบบอย่างต่อเนื่อง และเป็นรูปธรรมชัดเจน ม.7

    วันที่ 30 กรกฎาคม 2556 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    หมู่บ้านต้นแบบหมู่ที่ 3 มีการเปิดหอกระจายข่าวในตอนเช้าทุกวัน และ มีการขึ้นป้ายประชาสัมพันธ์การรณรงค์การคัดแยกขยะโดยชุมชนเพื่อชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • มีการประชาสัมพันธ์ผ่านหอกระจายเสียงของหมู่ที่ 3 ซึ่งเป็นหมู่บ้านต้นแบบทุกวัน ในช่วงเวลา 6.00 - 7.00 น. และ เวลา 17.00 - 18.00 น.
    • มีการขึ้นป้ายรณรงค์การคัดแยกขยะในชุมชนโดยชุมชน ครัวเรือน ของแต่ละหมู่บ้านต้นแบบ ทั้ง 2 หมู่บ้าน ตามจุดพื้นที่สำคัญ
    • มีการวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับการขับเคลื่อนการคัดแยกขยะในวงเสวนาของชาวบ้านในชุมชน เช่น ร้านขายของ ร้านขายน้ำชา กาแฟ หรือบ้านเรือนของชาวบ้านที่เป็นที่ยอมรับในหมู่บ้า

     

    0 0

    8. ศึกษา เรียนรู้ การจัดการหมู่บ้านต้นแบบให้กับคณะทำงานในหมู่บ้านทั้ง 2 หมู่บ้าน

    วันที่ 28 สิงหาคม 2556 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ตัวแทนครัวเรือนในหมู่บ้านต้นแบบ ม.7และ ม.3ได้เดินทางไปแลกเปลี่ยนการจัดการขยะในครัวเรือน ณ อบต.ท่าข้าม อ.หาดใหญ่  และ ทต.กำแพงเพชร อ.รัตภูมิ จ.สงขลา

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    -ตัวแทนครัวเรือนต้นแบบของหมู่ที่ 3 และ หมู่ที่ 7 จำนวน 78 คนและคณะทำงาน 6 คน ร่วมเดินทางไปยังศูนย์เรียนรู้การจัดการขยะ อบต.ท่าข้าม และ ทต.กำแพงเพชร - ช่วงเช้า อบต.ท่าข้ามกล่าวต้อนรับและนำเสนอรูปแบบการจัดการขยะภายในตำบลท่าข้าม และแบ่งทีมศึกษาศูนย์เรียนรู้ 2 แห่ง คือ 1.ศูนย์เรียนรู้พลังงานทดแทน ได้แก่ การทำแก๊สชีวภาพเพื่อใช้ในครัวเรือน การใช้เตาถ่านพลังงานสูง เช่นการนำเศษไม้ กะลา เปลือกผลไม้(ทุเรียน มังคุด) ดอกไม้(ชบา) เมล็ดของลูกตาล  2.ศูนยืเรียนรู้การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ โดยจัดทำสูตรปุ๋ยต่างๆตามความต้องการของพืืช เช่นสูตรเร่งใบ เร่งดอก/ผล
    -ชาวบ้านตัวแทนหมู่บ้านต้นแบบทั้ง 2 หมู่บ้าน ซักถามวิธีทำแก๊สเพื่อนำมาใช้ในครัวเรือน โดยเฉพาะปัญหาที่จะเกิดขึ้นระหว่างการทำ การวักถามสูตรปุ๋ยที่ผ่านมาถึงความผิดพลาด หรือ การนำมาประยุกต์ใช้กับพื้นที่ตนเอง
    -ภาคบ่าย ณ ทต.กำแพงเพชร ผู้บริหารกล่าวต้อนรับและนำเสนอการดำเนินงานด้านการจัดการขยะในอดีตให้ทราบถึงความอดทน เพียรพยายามในการขับเคลื่อน โดยใช้เวลาเกือบ 10 ปี
    - เรียนรู้ศูนย์คัดแยกขยะ ทต.กำแพงเพชร ซึ่งเทศบาลจะรับผิดชอบในส่วนของการจัดการขยะอันตราย และการนำขยะมารีไซคืเคิลในรูปแบบต่างๆ เช่น แจกันดอกไม้ กล่องใส่ทิชชู หมวก

     

    60 78

    9. ติดตามการดำเนินโครงการโดยพี่เลี้ยงประจำจังหวัด

    วันที่ 30 สิงหาคม 2556 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ทีมพี่เลี้ยงจัดการประชุมเพื่อติดตามการทำงานในโครงการและการรายงานผลกิจกรรมที่ได้ดำเนินการเรียบร้อยแล้วผ่านระบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ในวันที่ 30 สิงหาคม 2556 ณ สจรส.มอ. ตั้งแต่เวลา 9.00 น.เป็นต้นไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • พี่เลี้ยงประจำจังหวัดพัทลุง คือ นายเสณี  จ่าวิสูตร ได้มีการตรวจสอบการรายงานผลกิจกรรมที่โครงการได้ดำเนินการไปแล้วที่ละกิจกรรมพร้อมสอบถามข้อมูลผลของกิจกรรมนั้นๆ พร้อมทั้งการให้ข้อแนะนำ และวิธีการแก้ไขปัญหา อุปสรรคที่อาจจะเกิดขึ้นในการดำเนินกิจกรรมในครั้งต่อไป  แนะนำการใช้ระบบโปรแกรมการรายงานผลที่ถูกต้อง
      -เจ้าของโครงการและคณะทำงานในโครงการช่วยกันป้อนข้อมูล รายงานผล และแสดงรูปภาพของกิจกรรมผ่านระบบโปรแกรมที่ สจรส.มอ.กำหนด

     

    2 2

    10. ติดตาม ประเมิน ปรับปรุงครัวเรือนในหมู่บ้านต้นแบบให้ดำเนินกิจกรรมอย่างเข้มแข็ง ทั้ง 2 หมู่บ้าน ครั้งที่ 1

    วันที่ 30 กันยายน 2556 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ทีมทำงานของม.3 , ม.7 ,เจ้าหน้าที่สาธารณสุขประจำโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านหูแร่, บ้านลำ และ คณะทำงานของโครงการ โดยในช่วงเช้าได้ลงติดตามในพื้นที่ ม.3 และช่วงบ่ายในพื้นที่ ม.7

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    -คณะทำงานในโครงการพร้อมด้วยทีมทำงานของหมู่ที่ 3 จำนวน 8 คน ลงพื้นที่ใภาคเช้าตั้งอต่เวลา 9.30 - 12.00 น.ติดตามครัวเรือน จำนวน 30 ครัวเรือน และในช่วงบ่าย เวลา 13.30 - 15.30 น. ทีมทำงานหมู่ที่ 7 จำนวน 10 คน ติดตามครัวเรือนในดครงการ จำนวน 35 ครัวเรือน
    -ครัวเรือนมีการคัดแยกขยะออกเป็น ขยะอินทรีย์  กระดาษ พลาสติก และขวด ไว้เพื่อจำหน่าย -การรับซื้อมีทั้งอกชนในพื้นที่เข้ารับซื้อ และ การกำหนดจุดรับซื้อโดยทีมทำงานในโครงการของหมู่บ้าน
     

     

    60 20

    11. ประชุมชาวบ้าน ม.3 และ ม.7 ครั้งที่ 2

    วันที่ 10 ตุลาคม 2556 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ผู้ใหญ่บ้านของหมู่บ้านเรียกประชุมชาวบ้านเพื่อให้คณะทำงานของหมู่บ้านได้ชี้แจงเพื่อนำเสนอผลการดำเนินกิจกรรมและชี้แจงปัญหาที่เกิดขึ้นพร้อมระดมสมองของชาวบ้านในหมู่บ้านในการแก้ไขปัญหาร่วมกันเพื่อขับเคลื่อนการเป็นหมู่บ้านต้นแบบ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เป็นการติดตามงานให้เกิดความต่อเนื่องและให้ความสม่ำเสมอในการเชิญชวนประชาชนในการทำกิจกรรม

     

    180 99

    12. ประชุมประชาชนของหมู่บ้านต้นแบบ ครั้งที่ 3

    วันที่ 15 ตุลาคม 2556 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ผู้ใหญ่บ้านของหมู่บ้านเรียกประชุมชาวบ้านเพื่อให้คณะทำงานของหมู่บ้านได้ชี้แจงเพื่อนำเสนอผลการดำเนินกิจกรรมและชี้แจงปัญหาที่เกิดขึ้นพร้อมระดมสมองของชาวบ้านในหมู่บ้านในการแก้ไขปัญหาร่วมกันเพื่อขับเคลื่อนการเป็นหมู่บ้านต้นแบบ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เป็นการติดตามงานให้เกิดความต่อเนื่องและให้ความสม่ำเสมอในการเชิญชวนประชาชนในการทำกิจกรรม

     

    180 91

    13. ประชุมประชาชนของหมู่บ้านต้นแบบ ครั้งที่ 4

    วันที่ 15 พฤศจิกายน 2556 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ผู้ใหญ่บ้านของหมู่บ้านเรียกประชุมชาวบ้านเพื่อให้คณะทำงานของหมู่บ้านได้ชี้แจงเพื่อนำเสนอผลการดำเนินกิจกรรมและชี้แจงปัญหาที่เกิดขึ้นพร้อมระดมสมองของชาวบ้านในหมู่บ้านในการแก้ไขปัญหาร่วมกันเพื่อขับเคลื่อนการเป็นหมู่บ้านต้นแบบ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เป็นการติดตามงานให้เกิดความต่อเนื่องและให้ความสม่ำเสมอในการเชิญชวนประชาชนในการทำกิจกรรม

     

    180 66

    14. ประชุมประชาชนของหมู่บ้านต้นแบบ ครั้งที่ 5

    วันที่ 15 ธันวาคม 2556 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ผู้ใหญ่บ้านของหมู่บ้านเรียกประชุมชาวบ้านเพื่อให้คณะทำงานของหมู่บ้านได้ชี้แจงเพื่อนำเสนอผลการดำเนินกิจกรรมและชี้แจงปัญหาที่เกิดขึ้นพร้อมระดมสมองของชาวบ้านในหมู่บ้านในการแก้ไขปัญหาร่วมกันเพื่อขับเคลื่อนการเป็นหมู่บ้านต้นแบบ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เป็นการติดตามงานให้เกิดความต่อเนื่องและให้ความสม่ำเสมอในการเชิญชวนประชาชนในการทำกิจกรรม

     

    180 80

    15. อบรมให้ความรู้ เพิ่มศักยภาพคณะทำงาน

    วันที่ 30 ธันวาคม 2556 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดการอบรมให้ความเรียนรู้เพิ่มเติมหลังจากได้รับการเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ โดยมีวิทยากรมาเสริมความรู้ ทักษะการคัดแยก การนำไปใช้ประโยชน์ และความตระหนักต่อความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    -มีผู้นำท้องถิ่นและชุมชนที่มิได้เป็นพื้นที่เป้าหมายในการดำเนินกิจกรรมเข้ารับการอบรมด้วย
    -มีการซักถามถึงวิธีการใช้ประโยชน์ของน้ำหมักและปุ๋ยหมักที่เหมาะสมกับพืชผัก -มีการจัดกลุ่มในการขยายผลของการทำกิจกรรม เช่นกลุ่มปุ๋ยหมัก หลุ่มน้ำหมัก

     

    60 81

    16. .ประชุมประชาชนของหมู่บ้านต้นแบบ ครั้งที่ 6

    วันที่ 13 มกราคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ผู้ใหญ่บ้านของหมู่บ้านเรียกประชุมชาวบ้านเพื่อให้คณะทำงานของหมู่บ้านได้ชี้แจงเพื่อนำเสนอผลการดำเนินกิจกรรมและชี้แจงปัญหาที่เกิดขึ้นพร้อมระดมสมองของชาวบ้านในหมู่บ้านในการแก้ไขปัญหาร่วมกันเพื่อขับเคลื่อนการเป็นหมู่บ้านต้นแบบ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เป็นการติดตามงานให้เกิดความต่อเนื่องและให้ความสม่ำเสมอในการเชิญชวนประชาชนในการทำกิจกรรม

     

    180 73

    17. ประชุมครัวเรือนในโครงการเพื่อขยายสู่ความเป็นกลุ่ม

    วันที่ 15 มกราคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดประชุมเพื่อชี้แจงการจัดกลุ่มเพื่อการขยายผลของกิจกรรมการส่งเสริมการคัดแยกขยะในครัวเรือน โดยมีวิทยกรช่วยแนะนำการขยายผลในแต่ละด้านให้กับผู้เข้าประชุม และ ผู้เข้าร่วมประชุมสามารถแลกเปลี่ยความคิดเห็นซึ่งกันและกันกับวิทยากร ผู้รับผิดชอบโครงการ และตัวแทนของครัวเรือนที่เข้าร่วมประชุม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • มีการรวมกลุ่มในการขยายผล คือ กลุ่มปุ๋ยหมัก  กลุ่มน้ำหมักชีวภาพ และกลุ่มแปรรูปขยะรีไซเคิล

     

    189 135

    18. .ประชุมประชาชนของหมู่บ้านต้นแบบ ครั้งที่ 7

    วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ผู้ใหญ่บ้านของหมู่บ้านเรียกประชุมชาวบ้านเพื่อให้คณะทำงานของหมู่บ้านได้ชี้แจงเพื่อนำเสนอผลการดำเนินกิจกรรมและชี้แจงปัญหาที่เกิดขึ้นพร้อมระดมสมองของชาวบ้านในหมู่บ้านในการแก้ไขปัญหาร่วมกันเพื่อขับเคลื่อนการเป็นหมู่บ้านต้นแบบ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เป็นการติดตามงานให้เกิดความต่อเนื่องและให้ความสม่ำเสมอในการเชิญชวนประชาชนในการทำกิจกรรม

     

    180 61

    19. ส่งเสริมการรวมกลุ่มในการจัดการขยะ

    วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    สนับสนุนองค์ความรู้ในรูปแบบบุคคล และเอกสาร
    สนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ในกลุ่มที่มีการรวมตัวเพื่อขยายผล

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เกิดเป็นการเรียนรู้ของครัวเรือนอื่นที่อยู่ใกล้เคียง และ หมู่บ้านข้างเคียงที่เห็นการเปลี่ยนแปลงของสมาชิกในครัวเรือนที่ร่วมโครงการในการจัดการขยะ เกิดทัศนะคติที่ดีในการดูแลสิ่งแวดล้อมด้วยตนเอง เกิดการรวมกลุ่มแล้วใช้งานได้จริงในครัวเรือน

     

    189 115

    20. ติดตามกลุ่มย่อย ครั้งที่ 1

    วันที่ 1 มีนาคม 2557 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ผู้รับผิดชอบโครงการและคณะทำงานร่วมกันลงเยี่ยมครัวเรือนที่ทำการคัดแยกขยะโดยแบ่งเป็นทีมออกไป จำนวน 3 ทีม สำหรับหมู่ที่ 7 และ หมู่ที่ 3 จำนวน 1 ทีม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ครัวเรือนในโครงการรู้สึกดีใจที่มีการมาเยี่ยมติดตามการทำกิจกรรมของตนเอง และ มีการนำเสนอผลงานของตนเองด้วยความกระตือรือร้นให้ผู้ติดตามได้เห็นในสิ่งที่พวกเขาปฏิบัติ เช่น มีการปลูกผักโดยใช้ปุ๋ยหรือน้ำหมักของตนเอง  หรือ การมีที่คัดแยกขยะภายในบ้านที่ชัดเจน

     

    189 189

    21. ประชุมประชาชนของหมู่บ้านต้นแบบ ครั้งที่ 8

    วันที่ 15 มีนาคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ผู้ใหญ่บ้านของหมู่บ้านเรียกประชุมชาวบ้านเพื่อให้คณะทำงานของหมู่บ้านได้ชี้แจงเพื่อนำเสนอผลการดำเนินกิจกรรมและชี้แจงปัญหาที่เกิดขึ้นพร้อมระดมสมองของชาวบ้านในหมู่บ้านในการแก้ไขปัญหาร่วมกันเพื่อขับเคลื่อนการเป็นหมู่บ้านต้นแบบ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เป็นการติดตามงานให้เกิดความต่อเนื่องและให้ความสม่ำเสมอในการเชิญชวนประชาชนในการทำกิจกรรม

     

    180 85

    22. ติดตามกลุ่มย่อย ครั้งที่ 2

    วันที่ 23 มีนาคม 2557 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะทำงานของแต่ละหมู่บ้าน คือ ม.3 และ ม.7  ร่วมกันลงพื้นที่เยี่ยมครัวเรือนที่ทำการคัดแยกขยะ และมีการนำเอาขยะที่คัดแยกไปขยายผลในรูปแบบปุ๋ยหมัก น้ำหมัก งานประดิษฐ์ และขยะที่ขายเป็นเงิน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    มีการเพิ่มขึ้นของชุมชนข้างเคียงในการคัดแยกขยะ และมีการนำเอาขยะที่คัดแยกได้มาใช้ประโยชน์อย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดเป็นกระแสนิยม ประชาชนเริ่มมีความเข้าใจ และตระหนักมากยิ่งขึ้น

     

    189 189

    23. ติดตามกลุ่ย่อย ครั้งที่ 3

    วันที่ 13 เมษายน 2557 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะทำงานของม.3 และ ม.7  ลงพื้นที่เยี่ยม ติดตาม การคัดแยกขยะของครัวเรือน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ชุมชนใกล้เคียงต่างให้ความสนใจในการทำกิจกรรมของครัวเรือนและการลงเยี่ยมติดตามต่อเนื่อง และ ชุมชนใกล้เคียงมีการนำเอาสิ่งที่ครัวเรือนตนเองได้ลงมือกระทำตามครัวเรือนในโครงการมาบอกเล่าให้คณะทำงานได้รับทราบ เช่น บอกให้คระผู้ลงติดตามไปดูพืชผักของตนเองที่ใช้ปุ๋ยหมักจากเศษอาหารในครัวเรือนของตนเอง

     

    189 189

    24. ประชุมประชาชนของหมู่บ้านต้นแบบ ครั้งที่ 9

    วันที่ 15 เมษายน 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ผู้ใหญ่บ้านของหมู่บ้านเรียกประชุมชาวบ้านเพื่อให้คณะทำงานของหมู่บ้านได้ชี้แจงชาวบ้านเพื่อนำเสนอผลการดำเนินกิจกรรมและชี้แจงปัญหาที่เกิดขึ้นพร้อมระดมสมองของชาวบ้านในหมู่บ้านในการแก้ไขปัญหาร่วมกันเพื่อขับเคลื่อนการเป็นหมู่บ้านต้นแบบ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ประ

     

    180 118

    25. ติดตามกลุ่มย่อย ครั้งที่ 4

    วันที่ 1 พฤษภาคม 2557 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะทำงานและผู้รับผิดชอบโครงการลงพื้นที่ครัวเรือนของ ม.3 และ ม.7 ในการติดตามผลงานของครัวเรือนในการคัดแยกขยะ และการจัดการขยะหลังจากคัดแยก

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ครัวเรือนในโครงการมีการคัดแยกขยะอย่างต่อเนื่อง เพราะครัวเรือนเห็นถึงการทำงานที่ต่อเนื่องของหน่วยงานและผู้รับผิดชอบโครงการ
    • ครัวเรือนมีรูปแบบของการคัดแยกตามแต่เฉพาะของตนเอง เช่น บางครัวเรือนแยกใส่กระสอบแขวนไว้ตามจุดต่างๆ (ต้นไม้ ชายคาบ้าน) บางครัวเรือนใส่กะละมัง ตะกร้า ถัง
    • ครัวเรือนมีรายได้จากการขายขยะที่คัดแยก
    • ครัวเรือนเรียนรู้การใช้ประโยชน์ซ้ำจากสิ่งของที่เคยทิ้งเปล่า
    • ครัวเรือนมีการปลูกผักพืชกินเองมากยิ่งขึ้นเพราะเมื่อมีการทำปุ๋ยจากเศษอาหารที่คัดแยกไว้
    • มีการส่งเสริมดูแลสุขภาพของสมาชิกในครัวเรือนไปพร้อมกัน
    • มีการเรียนรู้จากพฤติกรรมของครัวเรือนในโครงการสู่ครัวเรือนใกล้เคียงในการคัดแยกขยะและการขยายผลของขยะที่คัดแยก
    • เกิดกระแสความตระหนักและรับผิดชอบของคนในชุมชนในการจัดการขยะด้วยตนเอง

     

    189 189

    26. ประชุมประชาชนของหมู่บ้านต้นแบบ ครี้งที่ 10

    วันที่ 6 พฤษภาคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ผู้ใหญ่บ้านของหมู่บ้านเรียกประชุมชาวบ้านเพื่อให้คณะทำงานของหมู่บ้านได้ชี้แจงเพื่อนำเสนอผลการดำเนินกิจกรรมและชี้แจงปัญหาที่เกิดขึ้นพร้อมระดมสมองของชาวบ้านในหมู่บ้านในการแก้ไขปัญหาร่วมกันเพื่อขับเคลื่อนการเป็นหมู่บ้านต้นแบบ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    -

     

    180 124

    27. ประชุมสรุปบทเรียนการเป็นหมู่บ้านต้นแบบทั้ง 2 หมู่บ้าน

    วันที่ 10 พฤษภาคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดประชุมถอดบทเรียนสรุปผลการดำเนินงานของหมู่บ้านต้นแบบเพื่อวิเคราะห์ผลที่เกิดขึ้นก่อนนำเสนอต่อผู้บริหารท้องถิ่ยและผู้นำชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ทางผู้รับผิดชอบโครงการได้นำผลสรุปการดำเนินกิจกรรมโครงการเสนอกับผู้บริหารท้องถิ่นในเรื่องการจัดการขยะ ลด คัดแยก ขยะ อีกทั้งประกาศเป็นนโยบายของท้องถิ่นในเรื่องตำบลปลอดรถ ปลอดถังขยะ สนับสนุนและหนุนเสริมให้ครัวเรือนลด คัดแยก ขยะ กันเอง โดยมีผู้นำ..กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อสม. เป็นแกนหลักในการเห็นด้วยกับข้อเสนอ

     

    60 53

    28. ประชุมสรุปผลและนำเสนอผลการดำเนินโครงการแก่คณะผู้บริหารและผู้นำชุมชน

    วันที่ 13 พฤษภาคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมสรุปผลและนำเสนอผลการดำเนินโครงการแก่คณะผู้บริหารและผู้นำชุมชน  โดยจัดประชุมนำเสนอผลงานการจัดการขยะในชุมชนของหมู่บ้านต้นแบบ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการจัดการขยะในตำบล

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • กลุ่มแกนนำฝ่ายปกครอง ได้แก่ กำนัน ผู้ใหญ่ ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน  จะเป็นกลุ่มในการชี้นำประชาชนในหมู่บ้านของตนเอง ในทุกกลุ่มวัยให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองในการคัดแยกขยะ
    • กลุ่มแกนนำฝ่ายท้องถิ่น ได้แก่ นายกเทศมนตรี รองนายกเทศมนตรี ประธานสภาเทศบาลตำบลร่มเมือง สมาชิกสภาเทศบาล  เป็นผู้ขับเคลื่อนนโยบายหลักของตำบลพร้อมทั้งสนับสนุนงบประมาณหลักในการจัดการขยะโดยไม่มีการจัดซื้อรถเก็บขน ถังขยะ แต่จะต้องทำให้ประชาชนมีความตระหนัก และถือปฏิบัติการคัดแยกขยะจากครัวเรือน สร้างนิสัย พฤติกรรม ของประชาชนทุกเพศ ทุกวัย ในการคัดแยกขยะ
    • กลุมแกนนำสุขภาพ ได้แก่ อาสาสมัครสาธารณสุขชุมชน  เป็นกลุ่มที่จะช่วยขับเคลื่อนกิจกรรมการรณรงค์ ติดตาม แนะนำ อย่างใกล้ชิดกับประชาชน

     

    100 53

    29. จัดทำป้ายสถานที่นี้ปลอดบุหรี่โดยมีสัญลักษณ์ สสส.

    วันที่ 22 พฤษภาคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ผู้รับผิดชอบโครงการฯจัดทำป้ายสถานที่ที่นี้ปลอดบุหรี่ โดยมีสัญลักษณ์ของ สสส. สำหรับติดไว้ในสถานที่ที่จัดกิจกรรมทั้ง 2 หมู่บ้าน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผู้เข้าร่วมกิจกรรมของโครงการ์ตระหนักและให้การยอมรับในสถานที่จัดกิจกรรม ปฏิบัติตามกฎ กติกาของแต่ละหมู่บ้านที่กำหนดไว้

     

    0 0

    30. จัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์ส่ง สสส.

    วันที่ 13 ตุลาคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะทำงานที่ได้รับมอบหมายหน้าที่ในการจัดทำรายงานผลการดำเนินกิจกรรมตามโครงการฯ ได้จัดรวบรวมเอกสารการเงินและรายงานผลการดำเนินงานมากเรียบเรียงพร้อมเข้าเล่มส่ง สสส.

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผู้รับผิดชอบโครงการและคณะทำงานได้จัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์พร้อมส่ง สสส.

     

    3 2

    31. จัดทำภาพถ่ายการดำเนินกิจกรรมโครงการฯ

    วันที่ 13 ตุลาคม 2557 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    รวบรวมภาพถ่ายการจัดกิจกรรมตามโครงการฯ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผู้รับผิดชอบโครงการได้รวบรวมภาพถ่ายการจัดกิจกรรมตามโครงการพร้อมเข้าเล่มรายงานฉบับสมบูรณ์ ส่ง สสส.

     

    0 0

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

     

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 เพื่อสร้างหมู่บ้านต้นแบบการจัดการขยะ
    ตัวชี้วัด : 1.1มีรูปแบบการพัฒนาการบริหารจัดการขยะมูลฝอย ลดการนำเข้า การคัดแยก การใช้ประโยชน์ และการจัดการร่วมกันของหมู่บ้าน จำนวน 2 หมู่บ้าน 270 ครัวเรือน

     

    2 เพื่อยกระดับครัวเรือนนำร่องจากโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการลด คัด แยก ขยะ
    ตัวชี้วัด : 2.1 มีกลุ่มการจัดการนำขยะไปใช้ประโยชน์ ร้อยละ 80 2.2 มีจำนวนครัวเรือนคัดแยกขยะต้นทางเพิ่มขึ้น ร้อยละ 80

     

    3 เพื่อขยายผลการเรียนรู้สู่ตำบลปลอดขยะ
    ตัวชี้วัด : 3.1 ผู้บริหารท้องถิ่นและผู้นำท้องที่ประกาศเป็นมาตรการร่วมของตำบล เทศบัญญัติตำบลปลอดขยะในปี 2558

     

    4 เพื่อติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน
    ตัวชี้วัด : จำนวนครั้งที่ตัวแทนพื้นที่เข้าร่วมกิจกรรม

     

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อสร้างหมู่บ้านต้นแบบการจัดการขยะ (2) เพื่อยกระดับครัวเรือนนำร่องจากโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการลด คัด แยก ขยะ (3) เพื่อขยายผลการเรียนรู้สู่ตำบลปลอดขยะ (4) เพื่อติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    ส่วนที่ 3 ประเมินคุณค่าโครงการ

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ

    ชื่อโครงการ โครงการลด คัด แยก ขยะ ต้นทาง

    รหัสโครงการ 56-00269 รหัสสัญญา 56-00-0475 ระยะเวลาโครงการ 1 พฤษภาคม 2556 - 31 พฤษภาคม 2557

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นการคุณค่าที่เกิดจากโครงการในมิติต่อไปนี้

    • ความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพและนวัตกรรมเชิงระบบสุขภาพชุมชน
    • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีผลต่อสุขภาวะ
    • การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ
    • ผลกระทบเชิงบวกและนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาวะชุมชน
    • กระบวนการชุมชน
    • มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่

    1. เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้ใหม่ / องค์ความรู้ใหม่

    จากการส่งเสริมการคัดแยกขยะอย่างต่อเนื่องของชุมชนทำให้เกิดความรู้ในเรื่องเดิมแต่ีมีการเจาะลึกในรายละเอียดมากชึ้นเช่นจากเดิมที่มีการส่งเสริมให้มีการคัดแยกขยะออกเป็นประเภทต่างๆง่ายคือ กระดาษ แก้ว พลาสติก แต่เมื่อมีการส่งเสริมกิจกรรมอย่างต่อเนื่องก็ทำให้ประชาชนเริ่มค้นหาความรู้เพิ่มขึ้นในเรื่องการคัดแยกของประเภทขยะ เช่น กระดาษก็จะแยกออกเป็นประสี มัน ขาวดำ  ขวดแก้วจะแยกเป็นขวดแก้วสีชา สีขาว  พลาสติกจะแยกเป็นพลาสติกสีขุ่น สีใส เป็นต้น

    จากการจัดตลาดนัดคัดแยกเดือนละ ๑ ครั้งคื้อทุกวันที่ ๒๕ ของเดือน ณ ศาลาประจำหมู่บ้าน

    จะจัดให้มีการกระจายการรับซื้อจากครัวเรือนให้สามารถเข้าถึงได้ง่าย เช่น มีการใช้รถซาเล้งรับซื้อตามโซนของหมู่บ้าน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สิ่งประดิษฐ์ / ผลผลิตใหม่

    เมื่อมีการส่งเสริม กระตุ้น ประชาสัมพันธ์ และติดตามอย่างต่อเนื่อง ทำให้ประชาชนทั้งครัวเรือน ร้านค้า และผู้ประกอบกิจการต่างๆในชุมชนมีความตระหนักและร่วมคัดแยกขยะจากกิจการของตนเองมากขึ้นจนทำให้เิกดการนำสิ่งของที่ไม่ใช้แล้วของการประกอบกิจการมาประดิษฐ์เป็นของใช้ในกิจการตนเอง เช่น ร้านซ่อมจักรยานยนต์ได้นำเอาชิ้นส่วนที่ต้องทิ้งจากจักรยานยนต์มาทำเป็นโต๊ะและเก้าอ้ีสำหรับให้ลูกค้านั่งรอ

    ร้านซ่อมรถจักยานยนต์ นายวิเชียร อัญชลี

    ส่งเสริมให้ครัวเรือนมีความคิดสร้างสรรในการประดิษฐ์ของใช้จากขยะและนำเสนอสิ่งประดิษฐ์จากภายนอกมาบอกเล่าให้ได้รับทราบอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดแรงกระตุ้น

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. กระบวนการใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. วิธีการทำงาน / การจัดการใหม่

    เกิดเป็นการทำงานเชิงรุกของชุมชน โดยแบ่งเป็นโซนต่างๆเรียกว่า"การดาวกระจาย" โดยมีทีมทำงานหลักคือผู้ใหญ่บ้านและดาวกระจายโดยทีมผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านโดยแบ่งความรับผิดชอบเป็นหน่วยย่อยๆเพื่อให้เกิดการเข้าถึงที่แท้จริงและเกิดความศรัทธาในการทำงานของประชาชน

    มีการจัดตั้งหัวหน้าหน่วยดาวกระจายและทีมงาน

    เพิ่มศักยภาพของหน่วยดาวกระจายให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การเกิดกลุ่ม / โครงสร้างในชุมชนใหม่

    จากการใช้กลยุทธ์ ดาวกระจาย จึงเกิดเป็นกลุ่มของการจัดการขยะที่มีความสนใจและชื่นชอบในการทำงาน เช่น กลุ่มทำน้ำหมักชีวภาพ กลุ่มผู้มีความสามารถในการประดิษฐ์แปรรูปของเหลือใช้เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ กลุ่มทำปุ๋ยหมักเพื่อการเกษตร

    กลุ่มน้ำหมักชีวภาพบ้านลำ  กลุ่มปุ๋ยหมักบ้านลำและบ้านหูแร่ กลุ่มแม่บ้านงานประดิษฐ์

    ส่งเสริมให้มีการผลิตและนำไปใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อลดต้นทุนทางเศรษฐกิจในครัวเรือน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. แหล่งเรียนรู้ใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    99. อื่นๆ

     

     

     

    2. เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล

    จากการคัดแยกขยะและมีการติดตามลงเยี่ยมของหน่วยดาวกระจายทำให้มีการส่งเสริมให้บ้านเรือนมีความสะอาด เป็นระเบียบ และมีการทำปุ๋ยหมักจากเศษอาหารหรือใบไม้ในบ้าน จนทำให้ทุกครัวเรือนมีการปลูกผักเพื่อนำเอาปุ๋ยหมักที่หมักไว้มาใช้ประโยชน์จนทำให้การตรวจหาสารเคมีตกค้างในเลือดมีผลตรวจในทางที่ดีขึ้น คือ ปกติ และปลอดภัย เพิ่มขึ้นจากเดิม

    ผลการตรวจสารเคมีตกค้างในเลือดประจำปี ๒๕๕๗ สถานีอนามัยบ้านลำร่วมกับเทศบาลตำบลร่มเมือง

    ส่งเสริมให้มีการปลูกผักปลอดสารพิษในทุกครัวเรือน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การบริโภค

    การการทำปุ๋ยทำให้เกิดกระแสการปลูกผักปลอดสารพิษเพื่อบริโภคในครัวเรือน และการผลิตน้ำหมักชีวภาพเพื่อใช้ในการล้างทำความสะอาด เช่น ห้องน้ำ โรงเรือนกิจการเลี้ยงสัตว์(สุกร)

    การเข้าร่วมในกิจกรรมในโครงการหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการลดโรคฯ

    ส่งเสริมให้มีการปลูกผักปลอดสารพิษในทุกครัวเรือน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การออกกำลังกาย

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. การลด ละ เลิก อบายมุข เช่น การพนัน เหล้า บุหรี่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การลดพฤติกรรมเสี่ยง เช่น พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การขับรถโดยประมาท

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. การจัดการอารมณ์ / ความเครียด

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. การดำรงชีวิต / วิถีชีวิต เช่น การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น / สมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเอง

    เมื่อมีการผลิตปุ๋ยหมักในครัวเรือนทำให้มีการปลูกพื้ชผัก สมุนไพร ในบ้านมากยิ่งขึ้นและเมื่อมีการตรวจผลเลือในเรื่องของสารเคมี ก็ยิ่งทำให้ประชาชนสนใจการดูแลสุขภาพโดยวิธีธรรมชาติที่ใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านของสมุนไพร

    มีการนำเอาสมุนไพรลางจืดมาปลูกกันมากขึ้นในชุมชนและเกือบร้อยละ ๙๐ ของครัวเรือนมีการปลูกสมุนไพรพื้นบ้าน

    ส่งเสริมการนำสมุนไพรมาใช้ประโยชน์ในการดูแลสุขภาพเบื้องต้น

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    8. พฤติกรรมการจัดการตนเอง ครอบครัว ชุมชน

    การส่งเสริมให้ประชาชนได้มีการจัดการขยะในครัวเรือนของตนเองเพื่อสร้างเสริมลักษณะนิสัย พฤติกรรมในการดูแลสิ่งแวดล้อมและสังคมให้มีความสะอาดเป็นระเบียบ และลดแหล่งเพาะพันธุ์โรค ที่สำคัญลดปัญหาทัศนอุจาดในพื้นที่ของชุมชน โดยเมื่อทุกครัวเรือนมีการคัดแยกขยะ จากเรือนหนึ่งไปอีกครัวเรือนหนึ่งในลักษณะพฤติกรรมการเลียนแบบ จนทำให้ชุมชนมีความสวยงามน่าอยู่

    หมู่บ้านต้นแบบ ม.๗ บ้านลำ และ ม.๓ บ้านหูแร่

    ขยายพื้นที่ชุมชนที่เหลือในตำบลร่มเมืองอีก ๗ หมู่บ้านโดยมี ม.๓ และ ม.๗ เป็นต้นแบบ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    9. อื่นๆ

     

     

     

    3. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. กายภาพ เช่น มีการจัดการขยะ ป่า น้ำ การใช้สารเคมีเกษตร และการสร้างสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนที่ถูกสุขลักษณะ

    การลด คัด แยก ขยะ ต้นทาง นั่นคือการส่งเสริมจากครัวเรือนให้มีการดูสิ่งแวดล้อม นั่นคือ สมาชิกทุกคนในครัวเรือนต้องมีความเข้าใจที่ถูกต้องและเหมือนกันจนทำให้การดูแลขยะที่เกิดจากสมาชิกในบ้านเองให้มีการจัดการที่ถูกต้อง มีจุดคัดแยก มีการนำผลผลิตจากการคัดแยกไปใช้ จนเกิดเป็นภูมิทัศของบ้านเรือนที่สะอาด น่าอยู่

    ครัวเรือนของหมู่บ้านต้นแบบ ม.๗ บ้านลำ และ ม.๓ บ้านหูแร่

    ขยายพื้นที่ชุมชนที่เหลือในตำบลร่มเมืองอีก ๗ หมู่บ้านโดยมี ม.๓ และ ม.๗ เป็นต้นแบบ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สังคม เช่น มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ลดการเกิดอุบัติเหตุ ครอบครัวอบอุ่น การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อเด็ก เยาวชน และกลุ่มวัยต่าง ๆ มีพื้นที่สาธารณะ/พื้นที่ทางสังคม เพื่อเอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชน มีการใช้ศาสนา/วัฒนธรรมเป็นฐานการพัฒนา

    เมื่อมีการจัดการขยะที่ครัวเรือนได้อย่างถูกต้อง ย่อมส่งผลให้สมาชิกในครัวเรือนได้รับสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่น่าอยู่ และเมื่อทุกครัวเรือนมีสภาพภูมิทัศน์ที่สวยงาม สะอาด เรียบร้อย ย่อมส่งผลให้สภาพสังคมเป็นสังคนที่น่าอยู่ เหมาะสมกับการเติบโตของเด็กและเยาวชนเพราะประชาชนมีระเบียบวินัยที่ได้รับต่อเนื่องจากพฤติกรรมของการคัดแยกขยะจนกลายเป็นนิสัยที่ดีในการดูแลสิ่งแวดล้อม และรักษาระเบียบวินัยของตนเอง

    การลงประเมินติดตามของกลุ่มดาวกระจาย

    ขยายพื้นที่ชุมชนที่เหลือในตำบลร่มเมืองอีก ๗ หมู่บ้านโดยมี ม.๓ และ ม.๗ เป็นต้นแบบ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. เศรษฐกิจสร้างสรรค์สังคม /สร้างอาชีพ / เพิ่มรายได้

    เมื่อครัวเรือนมีการคัดแยกขยะอย่างต่อเนื่องและพร่หลายทำให้กลุ่มผู้ประกอบการในการรับซื้อเข้าถึงช้าลงทำให้เกิดการจัดทำตลาดรับซื้อขยะที่คัดแยก คือ ตลาดนัดคัดแยก

    ตลาดนัดคัดแยก ทุกวันที่ ๒๕ ของเดือน ณ ศาลาประจำหมู่บ้าน

    ขยายพื้นที่ชุมชนที่เหลือในตำบลร่มเมืองอีก ๗ หมู่บ้านโดยมี ม.๓ และ ม.๗ เป็นต้นแบบ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการบริการสุขภาพทางเลือก และมีช่องทางการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ

    มีการนำปุ๋ยหมักที่ได้จากกิจกรรมมาใช้ประโยชน์ในการปลูกผักกินเอง(ปลอดสารพิษ)เพื่อลดสารพิษที่ตกค้างในกระแสเลือด และมีการนำสมุนไพรมาปลูกโดยใช้ปุ๋ยหมักเพื่อใช้ในการดูแลสุขภาพเบื้องต้น (แพทย์แผนไทย)

    มีการนำเอาสมุนไพรลางจืดมาปลูกกันมากขึ้นในชุมชนและเกือบร้อยละ ๙๐ ของครัวเรือนมีการปลูกสมุนไพรพื้นบ้าน

    ส่งเสริมการนำสมุนไพรมาใช้ประโยชน์ในการดูแลสุขภาพเบื้องต้น

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. อื่นๆ

     

     

     

    4. การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. มีกฎ / กติกา ของกลุ่ม ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. มีมาตรการทางสังคมของกลุ่ม ชุมชน

    จากการส่งเสริม ติดตาม การจัดการขยะแบบดาวกระจาย ทำให้ประชาชนในแต่ละครัวเรือนมีการคัดแยกขยะอย่างเป็นรูปธรรมโดยเกิดจากพฤติกรรมการลอกเลียนแบบจากครัวหนึ่งไปสู่อีกครัวหนึ่ง จนกลายเป็นค่านิยมที่ชุมชนต้องมีและในที่สุดก็จะเกิดเป็นมาตรการทางสังคมที่ต่อต้านครัวเรือนหรือประชาชนที่ทิ้งขยะที่สร้างให้เกิดทัศนอุจาดในชุมชน

    หมู่บ้านต้นแบบ ม.๗ บ้านลำ และ ม.๓ บ้านหูแร่

    สนับสนุนให้เกิดแรงผลักทางสังคมในการลดการทิ้งขยะในที่สาธารณะและต้องไม่มีทัศนอุจาดในชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. มีธรรมนูญของชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. อื่นๆ เช่น ออกเป็นข้อบัญญัติท้องถิ่น ฯลฯ

    มีการจัดตั้งงบประมาณเทศบัญญัติ ประจำปี ๒๕๕๗ รองรับในการขับเคลื่อนงานการจัดการขยะ และมีการบรรจุการดูแลการจัดการขยะในแผน ๓ ปี ๒๕๕๘ -๒๕๖๐

    แผน ๓ ปี ๒๕๕๘-๒๕๖๐ และเทศบัญญัตงบประมาณรายจ่าย ประจำปี ๒๕๕๗

    ออกเทศบัญญัติการจีดการขยะตำบลร่มเมือง

    5. เกิดกระบวนการชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. เกิดการเชื่อมโยงประสานงานระหว่างกลุ่ม / เครือข่าย (ใน และหรือนอกชุมชน)

    เกิดกลยุทธ์ดาวกระจายในพื้นที่โดยแบ่งเป็น ๔ ดาวกระจาย โดยแต่ละดาวกระจายสามารถจะขับเคลื่อนได้อย่างอิสระในการส่งเสริม ติตตาม ในการคัดแยกขยะและการนำผลผลิตไปใช้ให้เกิดประโยชน์ โดยในแต่ละดาวกระจายจะสรุปผลมานำเสนอให้ทีมทำงานของหมู่บ้านที่เป็นทีมทำงานหลักของโครงการ

    มีกลุ่มดาวกระจายและทีมงาน

    การนำกลยุทธ์ดาวกระจายไปสู่ชุมชนหมู่บ้านอื่น

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเรียนรู้การแก้ปัญหาชุมชน (การประเมินปัญหา การวางแผน การปฏิบัติการ และการประเมิน)

    กลุ่มดาวกระจายถือเป็นผู้ปฏิบัติงานภาคสนามของโครงการ ดังนั้นจะเป็นผู้รับเอาข้อมูลทั้งที่ดีและไม่ดีที่เกิดขึ้นจากครัวเรือนและประชาชน และจำนำเอาข้อมูลดังกล่าวมาเสนอต่อทีมทำงานหลักของหมู่บ้านเพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหา ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ที่เหมาะสมในแต่ละดาวกระจาย ตลอดจนการกำหนดการติดตามที่ต่อเนื่องเพื่อให้เกิดผลงานโครงการที่ดี

    การประชุม ติดตามการทำงานของโครงการ

    การสร้างการเรียนรู้ขนาดเล็กๆจากกลุ่มเล็ก เช่น กลุ่มดาวกระจาย ขยายออกไปสู่เวทีประชุมใหญ่

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ประโยชน์จากทุนในชุมชน เช่น การระดมทุน การใช้ทรัพยากรบุคคลในชุมชน

    มีการสนับสนุนงบประมาณจากเทศบาลตำบลร่มเมือง จำนวน ๒๐,๐๐๐ บาท และ งบประมาณจากชุมชน ๓๙,๐๐๐ บาท และสนับสนุนคนทำงานในส่วนของ อสม. ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน และผู้มีจิตอาสาในหมู่บ้าน

    เทศบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๕๗ เทศบาลตำบลร่มเมือง

    มีการจัดตั้งหัวหน้าหน่วยดาวกระจายและทีมงาน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกลุ่มและชุมชนที่เกิดจากโครงการอย่างต่อเนื่อง

    มีกิจกรรมในการติดตามประเมินกลุ่มอย่างต่อเนื่อง เช่น ทีมดาวกระจายจะสามารถรับทราบผลการทำงานของครัวเรือนในกลุ่มของตนเองอย่างรวดเร็ว และแก้ไขปัญหาเบื้องต้นให้ครัวเรือน พร้อมทั้งส่งต่อข้อมูลให้ทีมทำงานหลักของโครงการอย่างต่อเนื่องทันกาล

    การประชุม ติดตามการทำงานของโครงการ

    การสร้างความต่อเนื่องของการขับเคลื่อนงานให้เกิดเป็นรูปธรรมเพื่อสร้างความศรัทธาให้กับประชาชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. เกิดกระบวนการจัดการความรู้ในชุมชน

    มีเวทีการประชุมของชุมชนในทุกเดือนเพื่อกันรับฟังปัญหา และเสนอแนวทางแก้ไขที่เป็นการยอมรับของหมู่บ้าน และเป็นการสร้างกระแสกระตุ้นการทำงานอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ประชาชนมีความมั่นใจในการร่วมกันจัดการขยะ โดยการคัดแยกจากครัวเรือน

    รายงานการประชุมประจำหมู่บ้าน

    การให้ประชาชนได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็นอย่างต่อเนื่องในเวทีการประชุม

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. เกิดทักษะในการจัดการโครงการ เช่น การใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ การทำแผนปฏิบัติการ

    จากกการประชุม ติดตาม ประเมิน ครัวเรือน ทำให้เกิดทักษะของการทำงานเป็นทีม การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า การมีข้อมูลในมือตัวเอง ความสำคัญของข้อมูลที่จะใช้ในการอธิบายให้ประชาชนได้เข้าใจและยอมรับ จนสามารถ

    การแสดงความคิดเห็นของทีมต่างๆในการประชุมขับเคลื่อนกิจกรรมของโครงการ

    การสร้างทักษะการกล้าแสดงความคิดเห็นของกลุ่มต่างๆที่ต้องทำงานร่วมกันในกิจกรรม

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. อื่นๆ

     

     

     

    6. มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเอง / กลุ่ม / ชุมชน

    เมื่อทีมทำงานหลักได้มอบสิทธิ์อำนาจการขับเคลื่อนที่อิสระในรูปแบบดาวกระจายโดยคนในชุมชน ทำให้การขับเคลื่อนงานจึงเกิดจากกลุ่มเล็กของแต่ละดาวกระจายเมื่อผลงานออกมาจึงเต็มไปด้วยรอยยิ้มของคนในชุมชน

    มีกลุ่มดาวกระจายและทีมงาน

    ขยายพื้นที่ชุมชนที่เหลือในตำบลร่มเมืองอีก ๗ หมู่บ้านโดยมี ม.๓ และ ม.๗ เป็นต้นแบบ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเห็นประโยชน์ส่วนรวมและส่วนตนอย่างสมดุล

    พฤติกรรมการลอกเลียนแบบในการคัดแยกขยะของครัวเรือนจากครัวเรือนหนึ่งสู่อีกครัวเรือนหนึ่งจนเกิดเป็นมาตรการส่วนรวมทางสังคม คือการไม่เกิดพื้นที่ทัศนอุจาดในที่สาธารณะ

    หมู่บ้านต้นแบบ ม.๗ บ้านลำ และ ม.๓ บ้านหูแร่

    ขยายพื้นที่ชุมชนที่เหลือในตำบลร่มเมืองอีก ๗ หมู่บ้านโดยมี ม.๓ และ ม.๗ เป็นต้นแบบ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย และพอเพียง

    การที่ครัวเรือนได้มีการคัดแยกขยะในบ้านเรือนของตนเองทำให้เกิดเป็นความเรียบง่ายของสมาชิกในบ้านในการมีส่วนร่วมในการดูแลสิ่งแวดล้อมภายในบ้านให้มีความสะอาด น่าอยู่ จนเข้าสู่การเป็นเศรษฐกิจพอเพียง และเพียงพอในครอบครัว

    หมู่บ้านต้นแบบ ม.๗ บ้านลำ และ ม.๓ บ้านหูแร่

    ขยายพื้นที่ชุมชนที่เหลือในตำบลร่มเมืองอีก ๗ หมู่บ้านโดยมี ม.๓ และ ม.๗ เป็นต้นแบบ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. ชุมชนมีความเอื้ออาทร

    การมีพฤติกรรมลอกเลียบแบบในสิ่งที่ดี คือ การคัดแยกจากครัวเรือนหนึ่งสู่อีกครัวเรือนหนึ่ง จนเกิดเป็นการพบปะพูดคุย ซึ่งแสดงถึงความเอื้ออาทร นำ้ใจไมตรีที่ดีต่อกันของครอบครัวหนึ่งที่มีให้อีกครอบครัวหนึ่งที่มีจุดเริ่มจากการคัดแยกขยะ

    หมู่บ้านต้นแบบ ม.๗ บ้านลำ และ ม.๓ บ้านหูแร่

    ขยายพื้นที่ชุมชนที่เหลือในตำบลร่มเมืองอีก ๗ หมู่บ้านโดยมี ม.๓ และ ม.๗ เป็นต้นแบบ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. มีการตัดสินใจโดยใช้ฐานปัญญา

    การปฏิบัติงานที่ต้องใช้คนเป็นคนขับเคลื่อนในทุกกิจกรรมและการทำงานที่ต้องเข้าไปปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เคยเป็นอยู่ไปเป็นพฤติกรรมอีกอย่างหนึ่งผู้ทำงานจึงจำเป็นต้องมีจิตใจที่เข้มแข็งเพื่อให้เกิดการตัดสินใจที่ดีที่ผ่านกระบวนการทางความคิดที่มีปัญญา

    หมู่บ้านต้นแบบ ม.๗ บ้านลำ และ ม.๓ บ้านหูแร่

    ขยายพื้นที่ชุมชนที่เหลือในตำบลร่มเมืองอีก ๗ หมู่บ้านโดยมี ม.๓ และ ม.๗ เป็นต้นแบบ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. อื่นๆ

     

     

     

    โครงการลด คัด แยก ขยะ ต้นทาง จังหวัด พัทลุง

    รหัสโครงการ 56-00269

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นางอารีย์ สังข์ทอง )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด