แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


“ ชุมชนคลายทุกข์ร่วมสร้างสุขคนปากเหมือง ”

หมู่ 3 ตำบลควนชะลิก อำเภอหัวไทร จ.นครศรีธรรมราช

หัวหน้าโครงการ
นายวินัย อนุวัฒน์วงค์ 088-3820818

ชื่อโครงการ ชุมชนคลายทุกข์ร่วมสร้างสุขคนปากเหมือง

ที่อยู่ หมู่ 3 ตำบลควนชะลิก อำเภอหัวไทร จ.นครศรีธรรมราช จังหวัด นครศรีธรรมราช

รหัสโครงการ 56-00244 เลขที่ข้อตกลง 56-00-0283

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 เมษายน 2556 ถึง 30 เมษายน 2557


กิตติกรรมประกาศ

"ชุมชนคลายทุกข์ร่วมสร้างสุขคนปากเหมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน หมู่ 3 ตำบลควนชะลิก อำเภอหัวไทร จ.นครศรีธรรมราช

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
ชุมชนคลายทุกข์ร่วมสร้างสุขคนปากเหมือง



บทคัดย่อ

โครงการ " ชุมชนคลายทุกข์ร่วมสร้างสุขคนปากเหมือง " ดำเนินการในพื้นที่ หมู่ 3 ตำบลควนชะลิก อำเภอหัวไทร จ.นครศรีธรรมราช รหัสโครงการ 56-00244 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 เมษายน 2556 - 30 เมษายน 2557 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 212,650.00 บาท จาก เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 100 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

 

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อลดการใช้สารเคมีทางการเกษตร
  2. เพื่อฟื้นฟู ส่งเสริม การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นบ้นปากเหมืองช่วยลดการใช้สารเคมี

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

     


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. ประชุมแกนนำเตรียมงานและจัดทำปฏิทินเพื่อชี้แจงโครงการ

    วันที่ 26 พฤษภาคม 2556 เวลา 09.00-16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    แกนนำและเจ้าอาวาสร่วมกันชี้แจงโครงการ พร้อมกับชาวบ้านและพี่เลี้ยง 14 คน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    แกนนำประกอบด้วย พระประเสริฐ บาศาธิโก ท่านเจ้าอาวาสวัดปากเหมือง รศ.เปรมจิต ธนวงศ์ จากมหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช นางญาติกา งามขำ นายธาวง อุดมศิลป์ นายวินัย (ผู้รับผิดชอบโครงการ) นายทวี ทิพย์จันทร์ นางวราภรณ์ แก้วจันทร์ นางปรีดา อุดมศิลป์ นางอัมพร ชูแก้ว นายปรีดา หนูนวล นายธนพล จันทร์ปลอด นายบุญชม สวัสดิ์เกลี้ยง นายสมบัติ นายชเวง ร่วมกันเล่าเรื่องกิจกรรมที่ตนเองจะมาร่วมช่วยในโครงการ ได้เลือกผู้ทำหน้าที่เลขานุการและเหรัญญิก เพื่อให้พี่เลี้ยงสอนการจัดทำรายงาน โดยเลขานุการจะเป็นผู้บันทึกข้อมูล เหรัญญิกจะดูแลเรื่องการใช้จ่ายเงินและหลักฐานการเงินในดครงการ มีคณะกรรมการร่วมพิจารณาการทำงานทุกครั้ง กำหนดให้มีการประชุมกันทุกเดือน เพื่อทบทวนงาน เตรียมงาน และสรุปงาน ในวันนี้ได้จัดทำปฏิทินกันเป็นแบบฉบับร่างก่อน เพื่อนำเสนอให้ผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมดมารับฟังและเสนอความคิดเห็นเพิ่มเติมในวันอาทิตย์หน้า ให้ทุกคนช่วยกันทำ กำหนดวันที่ทุกคนช่วยทำได้ มีหลักการพื้นฐานคือ จะทำกิจกรรมกลุ่มกันวันอาทิตย์ เนื่องจากคนในหมู่บ้านจะว่างส่วนใหญ่ มีเด็กและเยาวชนมาร่วมด้วยเพราะเป็นวันหยุด นอกจากนี้กำหนดให้ทำนาสาธิตและแปลงผักสาธิตในโครงการ เก็บข้อมูลเปรียบเทียบให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างเกษตรอินทรีย์กับเคมี อะไรจะดีกว่ากัน โดยมีอาจารย์เปรมจิตช่วยดูแลเรื่องวิชาการ มีนายสมบัติ เป็นเหรัญญิก และนายชเวง เป็นเลขานุการ

     

    20 14

    2. ประชุมชี้แจงโครงการ

    วันที่ 9 มิถุนายน 2556 เวลา 09:00-16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ผู้เข้าร่วมคือกลุ่มชาวบ้านในโครงการมาจากหมู่ที่ ๓ ตำบลควนชลิต ร่วมชี้แจงโครงการและที่มาของกิจกรรม ให้กลุ่มผู้ร่วมโครงการได้แสดงความคิดเห็น

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผุ้เข้าร่วมได้เข้าใจกิจกรรมตลอดโครงการ บอกว่าได้ไปชวนคนที่ไม่มาให้มาร่วมเพิ่ม มีอาจารย์หิ้น เกตุแก้ว ปราชญ์ชุมชนบ้านเกาะสุด ตำบลเขาพังไกร มาพูดคุยให้ข้อมูลการทำปุ๋ยอินทรีย์ น้ำส้มควันไม้ มีนายนรินทร์ อดีตทำงานไปรษณีย์ มาช่วยพูดคุยชักชวนให้คนมาร่วมมากขึ้น มีความประทับใจในชาวบ้านมาก ที่ยกมือกันทุคน ชอบที่จะมาร่วม ยิ้มและมีความสุข นัดแนะกันว่าจะมาร่วมกิจกรรมในวันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๕๖ ทุกคนตื่นเต้นที่ได้มาร่วม มีความพร้อมเพรียง คนที่จะแสดงหนังตะลุงมาบอกต่อ มีคนชอบมากเรื่องการแสดงหนังตะลุงเพื่อลดสารเคมี เตรียมการฝึกซ้อมเพื่อไปโชว์ได้ เสนอรำวงเวียนครก ทุกคนรู้สึกยินดีที่ได้ทำอินทรีย์ชีวภาพ คิดว่าจะลด ละ เลิก การใช้สารเคมี จากคำคมของอาจารย์หิ้น ทุกคนเห็นด้วย ได้พูดว่า "คนควนชลิตทำได้หลายเรื่อง มีวัดมีตำนาน ได้มาร่วมทำกันต่อไปจะขยายผลได้มากขึ้น" ทุกคนมีชีวิตชีวา ยิ้มทุกคน 

     

    50 50

    3. ปฐมนิเทศน์โครงการ

    วันที่ 19 มิถุนายน 2556 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เข้าร่วมกิจกรรมปฐมนิเทศที่สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ และฝึกปฏิบัติการลงบันทึกข้อมูลการดำเนินกิจกรรมบนเว็บไซต์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • คณะทำงานโครงการ จำนวน 3 คน เข้าร่วมการปฐมนิเทศโครงการ
    • คณะทำงานมีความเข้าใจในการบริหารดำเนินงานโครงการเพิ่มขึ้น มีความเข้าใจในการบันทึกกิจกรรม และการจัดทำเอกสารหลักฐานทางการเงิน

     

    2 2

    4. ทำปุ๋ยอินทรีย์(ครั้งที่ 1)

    วันที่ 22 มิถุนายน 2556 เวลา 08:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    มีผู้เข้าร่วมปฎิบัติในการทำปุ๋ยอินทรีย์ จากชาวบ้านหมู่ที่ 3 โดยจัดแบ่งเป็นกลุ่มๆ มีวิทยากรเป็นผู้สอนในการทำปุ๋ยอินทรีย์ ให้ชาวบ้านลงมือปฎิบัติทำพร้อมคอยดูแล ในกระบวนการทำปุ๋ยอินทรีย์ทุกขั้นตอน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    มีผู้เข้าร่วมในการปฎิบัตทำปุ๋ยอินทรีย์ จำนวน 56 คน มาจากชาวบ้าน หมู่ที่ 3 และ นักวิทยากร จากบุคคลภายนอก มีปราชญ์ชาวบ้านเป็นผู้สอนในการทำปุ๋ยอินทรีย์ ทำให้ชาวบ้านมีความรู้ สามารถทำปุ๋ยอินทรีย์เป็น สำหรับเก็บเอาไว้ใช้ใส่พืชผักต่างๆ ไว้มาบริโภคในครัวเรือน แทนปุ๋ยเคมีและลดต้นทุนการผลิต ชาวบ้านมีหน้าตายิ้มแย้มดีใจที่มีคนมาสอนเกี่ยวกับการทำปุ๋ยอินทรีย์ และตื่นเต้นที่มีบุคคลภายนอกที่เป็นทั้งนักวิชาการ และนักวิจัย ที่คอยส่งเสริมชาวบ้าน มาจากอำเภอ ทุ่งใหญ่ อำเภอเมือง นครศรีธรรมราช และ จากจังหวัดกระบี่ ใหักำลังใจและบอกกับชาวบ้าน ว่าจะเอาเป็นตัวอย่างจะไปทำกับชุมชนเขาบ้าง

     

    50 50

    5. ปุ๋ยอินทรีย์ ( ครั้งที่ 2 )

    วันที่ 25 มิถุนายน 2556 เวลา 08:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    มีผู้เข้าร่วม จากชาวบ้าน จำนวน 52 คน วิทยากร 2 คน จากบ้านเกาะสุด 1 คน บ้านหัวไทรควน 1 คน และ นักวิชาการ 3 คน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    มีผู้เข้าร่วม จากชาวบ้าน จำนวน 52 คน วิทยากร 2 คน จากบ้านเกาะสุด 1 คน บ้านหัวไทรควน 1 คน และ นักวิชาการ 3 คน มีผู้เข้าร่วมปฎิบัติในการทำปุ๋ยอินทรีย์ จากชาวบ้านหมู่ที่ 3 โดยจัดแบ่งเป็นกลุ่มๆ มีวิทยากรเป็นผู้สอนในการทำปุ๋ยอินทรีย์ ให้ชาวบ้านลงมือปฎิบัติทำพร้อมคอยดูแล ในกระบวนการทำปุ๋ยอินทรีย์ทุกขั้นตอน

     

    50 50

    6. ปุ๋ยอินทรีย์(ครั้งที่3)

    วันที่ 29 มิถุนายน 2556 เวลา 08:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ผู้เข้าร่วม จากชาวบ้าน จำนวน 56 คน วิทยากร 2 คน จากบ้านเกาะสุด 1 คน บ้านหัวไทรควน 1 คน และ นักวิชาการ 3 คน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    มีผู้เข้าร่วมปฎิบัติในการทำปุ๋ยอินทรีย์ จากชาวบ้านหมู่ที่ 3 โดยจัดแบ่งเป็นกลุ่มๆ มีวิทยากรเป็นผู้สอนในการทำปุ๋ยอินทรีย์ ให้ชาวบ้านลงมือปฎิบัติทำพร้อมคอยดูแล ในกระบวนการทำปุ๋ยอินทรีย์ทุกขั้นมีนตอน

     

    50 50

    7. ปลูกผักอินทรีย์ ( ครั้งที่ 1 )

    วันที่ 23 กรกฎาคม 2556 เวลา 08:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ผู้เข้าร่วมเป็นกลุ่มชาวบ้าน หมู่ที่ 1,3,6 ได้รับฟังการเรียนรู้ในเรื่องของการปลูกผักอินทรีย์ที่ปลอดสารพิษ รวม 54 คน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผู้เข้าร่วมได้เข้าใจถึงกิจกรรมการปลูกผักอินทรีย์ โดยมี รศ.เปรมจิตร ชนะวงษ์ และ วิทยากรได้บรรยายให้ความรู้ถึงเรื่องการปลูกผักอินทรีย์ และให้ทุกคนเขียนชนิดของผักที่ปลูกรอบบ้านของแต่ละคน ว่ามีพืชชนิดอะไรบ้างและอยากจะปลูกพืชผักชนิดอะไรบ้าง ทุกคนตั้งหน้าตั้งตาเขียนอย่างขะมักเขม้น และหัวเราะดีใจที่เขาเขียน พืชผักได้หลายชนิด แต่บ้างคนเสียดายเขียนชื่อพืชผักไม่ถูก นั้นหมายถึงชุมชนของเรา ที่ต้องควรตระหนักถึงเรื่องภาษาอีกอย่างหนึ่ง และได้ถามชาวบ้านว่าใครบ้างอยากจะเขียนหนังสือให้เป็น ทุกคนชอบใจ และบ้างคนบอกว่า ขอแค่เขียนชื่อพืชผักเป็นก็พอแล้วแต่เป็นเด็กนักเรียน ตอนแก่ก็ดีเหมือนกัน ทุกคนหัวเราะยิ้มแย้มอย่างมีความสุข

     

    50 50

    8. ปลูกผักอินทรีย์ (ครั้งที่ 2 )

    วันที่ 27 กรกฎาคม 2556 เวลา 08:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ผู้เข้าร่วมเป็นกลุ่มชาวบ้าน หมู่ที่ 1,3,6 ได้รับฟังการเรียนรู้ในเรื่องของการคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ พืชผัก

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    มีผู้เข้าร่วม กิจกรรมในการคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ ผัก โดยมีวิทยากรเป็นให้ความรู้แก่ชาวบ้านในการคัดเมล็ดพันธุ์ไว้ปลูก ชาวบ้านได้เข้าใจและได้ความรู้ จากวิทยากร 

     

    50 50

    9. ปลูกผักอินทรีย์ ( ครั้งที่ 3 )

    วันที่ 31 กรกฎาคม 2556 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ผู้เข้าร่วมเป็นกลุ่มชาวบ้านจำนวน 50 คน หมู่ที่ 3 ได้คัดเลือก หาแปลงปลูกผัก

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมและเสนอแปลงปลูกพักอินทรีย์ ของ นายนรินทร์ รามแก้ว เป็นต้นแบบ มีผักผสมผสานตั้งแต่ต้นไม้ ถึงเล็ก มีหลายชั้น ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ มีพืชผักสมุนไพร มีประโยชน์กับครอบครัว กินผักที่ปลูก มีสมุนไพรมาตาก เช่น กระเจี๊ยบ ลูกยอ เฟืองมาทำน้ำหมัก กล้วยมาทำน้ำส้มกล้วยไว้ใช้แทนน้ำส้มสายชู ดี สุขภาพดี ให้เป็นคนต้นแบบบอกเพื่อน

     

    50 50

    10. ติดตามโครงการและร่วมกิจกรรมเรียนรู้การทำนาอินทรีย์

    วันที่ 25 สิงหาคม 2556 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เรียนรู้ตลอดวัน เรื่องปัญหาและแนวทางการทำนาอินทรีย์ จำนวน 60 คน มีการแสดงกลอนหนังให้ชาวบ้านและทีมจากบางใหญ่ได้ร่วมเรียนรู้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ปัญหาเรื่องน้ำ ปัญหาเรื่องปลูกข้าว  ปัญหาเรื่องดินเสื่อมสภาพ  ปัญหาเรื่อง  ปัญหาเรื่องปุ๋ยราคราแพง ปัญหาเรืองเมล็ดพันธุ์ข้าวราคาสูงเกินไปไม่มีคุณภาพ  ปัญหาเรื่องการกำจัดศัตรูพืช มีผู้เข้าร่วมประชุม  4 กลุ่ม
    1. กลุ่มบ้านเกาะสุด
    ได้ทำกสิกรรมไร้สารพิษ  ทำนาเกษตรอินทรีย์ ได้ทำมาตั้งแต่ปี 2546  และได้มีกลุ่มที่ทำอยู่ คือ กลุ่มกสิกรรมไร้สารพิษ ทำน้ำมักชีวิภาพ  และได้ถ่ายทอดให้นักเรียนโรงเรียนบ้านเกาะสุด ได้ทำนาอินทรีย์ อยู่ในปัจจุบัน
    2. กลุ่มบ้านขี้นาก ลุงจรัส  ปลูกผัก ปลูกพริก ปลอดสารพิษ โดยที่ไม่ต้องซื้อกิน ได้ทำกันทั้งหมด 4 หลังคาเรือน และได้มาร่วมกิจกรรมทำปุ๋ยมัก 3. กลุ่มบ้านผาสุก นางปรีดา หนูหมาน  ได้ปลูกผัก เช่นผักคะน้า ผักกาด ผักชี  และปลูกพริก  โดยมากปลูกพริกเป็นหลักประมาณ 20 ครัวเรือน และได้เข้ามาร่วมกิจกรรม อยู่เป็นประจำ
    4. กลุ่มปากเหมือง
    นางชอุ่ม  หนูโยม  ได้ปลูกปลอดสารพิษ
    มะละกอ กล้วย  โหรภา ข่า  ได้ปลูกพริกเป็นอาชีพหลัก ประมาณ 20 ครัวเรือน

     

    50 50

    11. จัดทำเอกสารส่ง สสส และเบิกค่าใช้จ่ายอื่นๆ

    วันที่ 26 สิงหาคม 2556 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    แกนนำโครงการและพี่เลี้ยงร่วมจัดทำรายงานเพื่อส่ง สสส

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้รู้ปัญหาอุปสรรค ว่ายังมีการเก็บข้อมูลไม่ครบตามที่ให้พี่เลี้ยงตรวจ กลับค้นข้อมูลที่บ้านใหม่ 2 รอบ กว่าจะทำเสร็จ ต่อไปในการทำกิจกรรมครั้งต่อไปได้รู้แล้ว ทำถูกแล้ว ได้เข้าใจ พี่เลี้ยงก็ได้ให้คำแนะนำได้ตรงกับสิ่งที่ต้องทำ และพัฒนาต่อยอด สรุปว่า ชัดเจนกันมากขึ้น

     

    20 20

    12. จัดนิทรรศการร่วมสร้างสุขภาคใต้สู่วิถีการจัดการตนเอง

    วันที่ 28 กันยายน 2556 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ได้รับฟังการบรรยายและการเสวนาจากกลุ่มต่างๆ ซึ่งมาการคัดเลือกเพื่อเสนอความสำเร็จแยกกลุ่มเพื่อประชุมตามโซนของโครงการ เช่นเรื่องการเกษตร เรื่องขยะ เรื่องสุขภาพ เรื่องศิลปวัฒนธรรม ชมผลงานของกลุ่มต่างๆ ทีเอามาจัดนิทัศการ และชมการละเล่นแสดงต่างๆ 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้เรียนรู้โครงการทั้งภาคใต้ มีความประทับใจการทำลูกชบ ข้าวสังหยด นำลูกชบมากิน แต่เปลือกกินแล้วกินคันเหมือนเตาร้าง ชอบมโนราห์ของเด็ก มีโขน ต่อไปเราจะนำโขนคนปากเหมืองไปแสดง มีหนังโขนเด็ก สร้างความประทับใจ และเรียนรู้เพิ่ม กระตุ้นให้มีการทำได้ต่อเนื่อง และมีความสุข

     

    2 2

    13. กิจกรรมประชุมวางแผนกิจกรรมติดตามโครงการประจำเดือน

    วันที่ 13 พฤศจิกายน 2556 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ติดตามโครงการประจำเดือน นำเสนอผลงานและสรุป วางแผนงานต่อ มอบหมายงานต่อเนื่อง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผู้เข้าร่วมประชุมได้ช่วยกันคิดแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นและแนวทางใน กิจกรรมทำนาอินทรีย์ มีการแก้ปัญหาอย่างไร ทุกคนเสนอว่าควรทำนาแบบดั้งเดิมบ้าง คือทำก่อนฤดูการคือก่อนน้ำฝนจะมาถึง เหมาะจะได้แก้ปัญหาเรื่องของการขาดน้ำและช่วยกันคิดถึงการที่จะให้โครงการสำเร็จบรรลุตามวัตถุประสงค์และ นอกจากนั้น ให้ชุมชน มีส่วนรวมในการ จัดงานเทศกาลต่างๆ ที่จะถึงในข้างหน้านี้ มีเทศกาลลอยกระทง เทศกาลวันขึ้นปีใหม่ ทุกคนเห็นพร้อมด้วยกันที่จะจัดงานเทศกาล เพื่อสืบทอดประเภณีวัฒนธรรม

     

    20 20

    14. กิจกรรมการทำนาอินทรีย์ ( การเตรียมดินครั้งที่ 2 )

    วันที่ 30 พฤศจิกายน 2556 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    มีผู้เข้าร่วมประชุม 53 คน จากกลุ่มชาวนา หมู่ที่ 3 และ หมู่ที่ 6 มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม ได้เล่าและพูดคุยในเรื่องของการทำนาปัจจุบัน ลักษณะของการเตรียมดิน ชาวบ้านส่งตัวแทนมาพูดคุย 3 ท่าน มี 1.นายเอื้อม 2.นางจำปา 3.นางชะอุ่ม ว่าเดี่ยวนี้ดินฟ้าอากาศเปลียนแปลงการทำนาไม่ ค่อยตรงตามฤดูการเมื่อก่อนไถหว่านดินแห้งแต่เดี่ยวนี้หว่านน้ำตม ทำนาปีละ 2 ครั้ง ซึ่งมีขั้นตอนมากกว่าเมื่อครังอดีตในการทำนา เครื่องมือทำนาก็มีมากกว่า ทำให้การทำนาตนทุนสูงขึ้น

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    มีข้อสรุปการลดต้นทุนการผลิต ได้แก่
    1. การรวมตัวทำปุ๋ยหมัก ปุ๋ยน้ำ ลดได้ส่วนหนึ่ง มาำน้ำยาปราบแมลง ทำสารสลายตอซังเพื่อไม่ให้เกิดวัชพืช ลดต้นทุนได้ไร่ละ พันกว่าบาท ทุกคนร่วมทำ ลงทุนกันสร้างอุปกรณ์มาทำเอง 2. ใช้เหล้าขาว และสารอินทรีย์ฉีกริมหัวนา ฆ่าหญ้าได้
    3. เวลาเตรียมดิน ให้เตรียมการจัดการหญ้าไว้พร้อมกัน 

     

    50 53

    15. กิจกรรมการทำนาอินทรีย์ (การเพาะเมล็ดข้าวครั้งที่ 3)

    วันที่ 28 ธันวาคม 2556 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    มีผู้เข้าร่วมประชุม 49 คน จากชาวนา หมู่ที่ 3 แลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำข้าว ได้มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม จับกลุ่มพูดคุยกัน กลุ่มละ 8 - 10 คน 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. ให้เล่าเรื่องวิธีการเพาะเมล็ดข้าว ในอดีตและการเพาะเมล็ดข้าวในปัจจุบัน และช่วยให้คิดค้นการเพาะเมล็ดข้าวแบบใหม่บ้าง เมื่อเสร็จแล้วแต่ละกลุ่ม ส่งตัวแทนกันพูดเล่าเรื่องของตน ในที่ประชุมได้ฟังถึงวิธีการเพาะใส่กระสอบ ชนิดบาง ถ้าหนาเกินไปข้าวจะไม่งอกแตกตา โดยแช่น้ำไว้ประมาณ 1 คืน แล้วยกขึ้นจากน้ำ ทำกระสอบปุ๋ยที่ใส่เมล็ดพันธุ์ข้าวกระจายให้บางๆ เพื่อข้าวจะได้งอกหน่อเร็วขึ้น ถ้าเห็นว่ากระสอบแห้ง ก็รดน้ำใหม่ ให้ชุ่มน้ำอยู่ตลอดเวลา รวมเวลาประมาณ 3 วัน จึงเอาเมล็ดข้าวไปหว่านในนา แบบนาตมได้
    2. ปัญหาหนูกินข้าวเสียหายลดลง แต่ยังมีปัญหาแมลง ตอนนี้ใช้สารอินทรีย์ฉีดไล่แมลง กำลัังทดลองทำกันอยู่ เก็บข้อมูลการทำ และผลการทำไว้

     

    50 49

    16. จัดแสดงหนังตะลุงโขน

    วันที่ 31 ธันวาคม 2556 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    มีผู้สนใจเป็นจำนวนมากและชื่นชมการแสดง แบบคนที่มีชีวิต มากกว่าที่คนพาก ด้วยรูป เหมือนหนังตะลุงในปัจจุบัน และชาวบ้าน อยากให้ลูกหลานเข้ามาร่วมการแสดงด้วยฝึกหัด ซ้อมเครื่องดนตรีหนังตะลุง ผู้ชมว่าดีกว่าเด็กไปมัวเมาเรื่องยาเสพติดและอยากจะให้แสดงให้ชมอีก ในวันสงกรานต์ และจะจัดฝึกซ้อมการแสดง อาทิตย์ละ 1 ครั้ง ทุกเดือน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    มีผู้เข้าร่วมมากกว่า 200 คน มีข้อเสนอแนะ 1. อยากให้จัดแสดงเวลากลางวันด้วย วันนี้แสดงตอนหัวค่ำ จนถึงเกือบเที่ยงคืน ตอนดึกให้เป็นการแสดงของดนตรี คนที่มาช้าไม่ได้ดู และอีกอย่างกลางวันผู้สูงอายุได้ดูด้วย 2. เสนอว่าให้มีการแสดงที่อนามัยตำบลทุกเดือน ให้ผู้สูงอายุดู และถ่ายทอดเพิ่มเติม 3. มีการขอช่วยบรรเลงในงานเทศกาล ในโรงเรียน และงานบุญต่างๆ ได้แก่ งานศพ ว่ากลอนหนังสอนการใช้ชีวภาพลดสารเคมีได้ เป็นต้น 4. คนติดใจ อยากให้มีการทำต่อเนื่อง

     

    50 200

    17. การดูแลรักษาต้นข้าว ครั้งที่ 1

    วันที่ 10 มกราคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 58 คน จากประชาชน หมู่ที่ 1,3,6
    มีผู้เข้าร่วมประชุมพูดคุยเล่าวิธีการ ในการดูแลรักษาพันธุ์ข้าว มีวิทยากรได้บรรยาย บอกวิธีการดูแลรักษาข้าวโดยอาศัยหลักธรรมชาติ ที่มีแมลงต่างๆที่คอยจับกินกันเอง โดยที่เราไม่ต้อเสียเงินในการซื้อยาฉีดแมลงที่มาทำลายศัตรูพืช และผู้เข้าร่วมประชุม ถามถึงวิธีการ ควบคุมหญ้าในนาข้าวเพื่อต้องการกำจัดเมล็ดพันธุ์หญ้าที่มาปะปนในกลุ่มเมล็ดพันธุ์ข้าว และวิทยากรให้ความรู้เกี่ยวกับการหมักสารอินทรีย์ ที่ย่อยสลายซังข้าวในนา และเมล็ดหญ้าไม่สามารถ ที่จะงอกได้ถ้าอยู่ใกล้ชลประทาน ก็จะสามารถสูบน้ำเข้าในนา เพื่อควบคุมการงอกของหญ้าในนาได้ และไม่ต้องเสียเวลาในการฉีดยาหญ้าด้วย ซึ่งรวมทั้งความปลอดภัยต่อผู้ฉีดยาด้วย ก่อนเลิกการประชุม มีการจัดแสดงหนังตะลุงโขน ให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้ชมกันเพื่อคลายเครียดในการประชุม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. วิทยากรจากเกษตร หมอดิน ได้แก่ สมบัติ หนูหมาน อาจารย์หิ้น เกตุแก้ว เจ้าของฉายา "เกษตรธรรมชาติ" มาร่วมเพิ่มเติมการดูแลข้าวเพื่อให้เป็นข้าวปลอดสารเคมี ใช้หลักธรรมชาติ บอกวิธีการดูแลรักษาข้าวโดยอาศัยหลักธรรมชาติ ที่มีแมลงต่างๆที่คอยจับกินกันเอง โดยที่เราไม่ต้อเสียเงินในการซื้อยาฉีดแมลงที่มาทำลายศัตรูพืช และผู้เข้าร่วมประชุม ถามถึงวิธีการ ควบคุมหญ้าในนาข้าวเพื่อต้องการกำจัดเมล็ดพันธุ์หญ้าที่มาปะปนในกลุ่มเมล็ดพันธุ์ข้าว และวิทยากรให้ความรู้เกี่ยวกับการหมักสารอินทรีย์ ที่ย่อยสลายซังข้าวในนา และเมล็ดหญ้าไม่สามารถ ที่จะงอกได้ถ้าอยู่ใกล้ชลประทาน ก็จะสามารถสูบน้ำเข้าในนา เพื่อควบคุมการงอกของหญ้าในนาได้ และไม่ต้องเสียเวลาในการฉีดยาหญ้าด้วย ซึ่งรวมทั้งความปลอดภัยต่อผู้ฉีดยาด้วย
    2. กรรมวิธีปราบหญ้า ปัจจุบันเราจะใช้การสลายต่อซัง แทนการใช้สารเคมี ลดการใช้สารเคมีได้อีกอย่างหนึ่ง (ได้ใช้ความรู้ภูมิปัญญาการทำต่อซังลดสารเคมี)

     

    50 58

    18. กิจกรรมการดูแลรักษาพันธุ์ข้าวนาอินทรีย์ (ครั้งที่ 2)

    วันที่ 15 มกราคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ผู้เข้าร่วมประชุมได้มีความรู้ใหม่ๆ จากการแลกเปลี่ยนความรู้ของแต่ละคน โดยให้เล่าถึงการใส่ปุ๋ย ในลักษณะของดินที่แตกต่างกัน เช่นตำบลบ้านเราส่วนใหญ่เป็นดินเหนียว ก็ควรใส่อาหารที่มีธาตุ ไนโตรเจน ที่บ้านเราเรียกว่าธาตุ N ใส่ประมาณ 3 ครั้ง ในช่วงระยะ ก่อนเก็บเกี่ยว ส่วนธาตุอื่นๆ ก็ให้ใส่ตามปกติ ปัญหาสัตรูข้าวที่เป็นปัญหาหนัก ก็คือปัญหาเรื่องหนูกินข้าว ผู้เข้าร่วมประชุมบอกว่าเสนอ ควรแก้ไขโดยการไม่จับงูขาย เพราะงูเป็นตัวกำจัดหนู และพูดต่อไปว่าควรทำนาให้พร้อมๆ กัน เพราะแมลงศัตรูพืช จะได้กระจายกันกิน ทำให้เสียหายน้อยลง นั้นคือส่วนหนึ่ง ของการแก้ปัญหาในการดูแลรักษาข้าว

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ข้อสรุปจากการแลกเปลี่ยน 1. ดินมี k มาก เมื่อร่วมทำปุ๋ย ให้ทำปุ๋ยหมักที่ N กับ P มาก ได้มาจากมูลสัตว์ เพิ่ม ใส่กากาน้ำตาลช่วยย่อย และพด ช่วยเร่ง
    2. เก็บเกี่ยวในนาตอนแล้ง ภ้าไม่แล้งก็ให้ปล่อยน้ำออกก่อน 15 วัน 3. มีหนูกินข้าวอ่อน จัดการได้โดย ให้ปลูกข้าวพร้อมกันมาก หนูกินน้อย ตอนนี้มีชาวบ้านรับซื้อหนูไปขายแถวอีสาน ชาวบ้านใช้ไฟฟ้าดักหนู หนูลดลง ขายได้กิโลกรัมละ 30 บาท 4. แมลงลดลงเพราะเราได้ใช้น้ำหมัก น้ำส้มควันไม้ น้ำยาสมุนไพรไล่แมลง

     

    50 52

    19. ประชุมสัมมนาผู้รับผิดชอบโครงการ ของ สจรส.

    วันที่ 17 มกราคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    สอบถามโครงการที่ได้ดำเนินมาแล้วและแนวทางการแก้ไขปัญหาปรับปรุง ให้ทำเป็นแบบเชิงการวิจัยและเผยแพร่โดยสื่อหนังตะลุง พร้อมที่จะพัฒนาโครงการต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้แนวคิดการทำโครงการต่อยอดจากอาจารย์พงศ์เทพ และปรึกษากับอาจารย์กำไล เพิ่มเติม ได้กิจกรรมโครงการเด่น เรื่องข้าวอินทรีย์ และตะลุงโขน

     

    2 2

    20. กิจกรรมการดูแลรักษาต้นข้าว นาอินทรีย์ (ครั้งที่ 3 )

    วันที่ 20 มกราคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    มีกลุ่มผู้เข้าร่วม ได้พูดคุยกันในเรื่องของการใส่ปุ๋ยและการควบคุมน้ำโดย วิทยากรได้มีความรู้จากประสบการณ์จากผู้ที่ทำนา อินทรีย์ แต่ละคนมาเล่ากันฟัง และก็สรุปลงที่การให้ปุ๋ยซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมากที่สุดในเรื่องของการให้ผลผลิต นอกจากนั้นก็ได้คุยเรื่องอื่นๆ เช่นเรื่องของการแสดงหนังตะลุงโขนเพื่อจัดกิจกรรมจะต้องเอามาแสดง ให้ทุกครั้งถ้าเป็นไปได้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. การใช้ปุ๋ยชีวภาพเพื่อปรับสภาพดิน มีความสำคัญมากในการทำนาอินทรีย์ เราต้องใช้ปุ๋ยชีวภาพกันท้ั้งหมด และร่วมกันบันทึกผลการใช้เพื่อไว้เรียนรู้ต่อ ช่วยกันนำข้อมูลมาพูดคุยทุกครั้งเพื่อพัฒนางานกัน
    2. พัฒนาเรื่องตะลุงโขนต่อเนื่อง ให้ช่วยสรรหาเด็กและผู้สนใจทำการเล่นตะลุงโขน และเสนอแนะสถานที่เล่นตะลุงโขน ตอนนี้ผู้รับผิดชอบโครงการได้ฝึกซ้อมทุกสัปดาห์ ชวนเด็กมาฝึกซ้อมเพิ่ม ที่ อนามัยไปเล่นให้ผู้สูงอายุฟังเดือนละครั้ง ที่โรงเรียนก็ติดต่อมาแล้ว ชาวบ้านตั้งกฎกติกาให้

     

    50 52

    21. การเก็บรักษาข้าว/พันธุ์ข้าว(ครั้ง 1)

    วันที่ 23 มกราคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    มีผู้เข้าร่วมประชุม พูดคุยแรกเปลี่ยนเรียนรู้ว่าเมื่อก่อนเคยเก็บข้าวไว้กิน ไว้ขยายพันธุ์แต่เดี่ยวนี้ทำไมต้องซื้อทั้งหมดนี้เป็นคำถามของวิทยากร ผู้เข้าร่วมประชุมมีนางเอี้ยน ตอบว่าเหตุที่ซื้อข้าวสาร เพราะว่าเราขายข้าวตัวเองแล้วเราสามารถจะซื้อข้าวชนิดอะไรก็ได้ไว้กิน แต่ถ้าเราเอาข้าวตัวเองนั้นไว้กินเลือกไม่ได้ วิทยากรบอกว่านั้นคือเราได้สารเคมีที่มีพิษไว้สำหรับกิน เพราะไม่รู้ว่าข้าวที่ซื้อกินนั้นเขาใส่อะไรลงไปบ้าง แต่ถ้าทำข้าวไว้กินเองเราก็จะรู้ว่าเราไม่ใส่อะไร น้าเอี้ยนพูดว่า เราจะต้องทำข้าวไว้กินเองเสียแล้ว และทุกคนก็เห็นด้วยกันพร้อมที่จะปลูกข้าวไว้กินกันด้วยทุกคน การเก็บรักษาพันธุ์ข้าวก็เหมือนกันก็จะเก็บไว้ปลูกข้าวเหมือนกัน 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ปรับวิธีคิดเรื่องการทำข้าวอินทรีย์แบบใหม่ โดยปรับเรื่องการทำแปลงในและแปลงนอก ให้เหมาะสมกับระยะเวลาการเก็บเกี่ยว เมื่อข้าวออกรวง กำหนดเวลาและพันธ์ข้าวให้พร้อมกัน โดยที่แปลงนาด้านนอกกับแปลงนาด้านใน ให้มีระยะเวลาในการเก็บเกี่ยวลดหลั่นตามเวลา เพราะการเก็บเกี่ยวในนาจะได้ทำต่อเนื่อง ไม่มาก และไม่น้อย ผลผลิตไม่เสียหาย คนทำงานก็ทำได้ทันเวลา ทุกคนเสนอว่าต่อไปเมื่อเราวางแผนได้แบบนี้แล้วเราใช้วิธีลงแขกช่วยกันก็สนุกกว่า และมาร่วมเรียนรู้กันตาอเนื่องจะดีกว่านี้

     

    50 50

    22. การเก็บรักษาข้าว/พันธุ์ข้าว(ครั้ง 2)

    วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    มีผู้เข้าร่วมประชุมโครงการ จากกลุ่มปลูกข้าวได้แรกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่องของการเก็บรักษาพันธุ์ข้าวและแยกไว้ขาย นางน้อย รักจุล ได้พูดว่าเดี่ยวนี้การทำนามันแตกต่างจากเมื่อก่อนเพราะเมื่อก่อนเขาทำนาข้าวที่มีอายุ 5 เดือน แต่เดี่ยวนี้ชาวนาเขาปลูกข้าวอายุ 3 เดือน ต้นข้าวไม่สูงถ้าปลูกก่อนหน้าฝน น้ำจะท่วมจมต้นข้าว ซึ่งไม่สามารถปลูกข้าวได้ ปัจจุบันนิยมปลูกข้าวหลังน้ำลดแต่ ก็เสียงในเรื่องของการขาดน้ำ เพราะไม่มีระบบชลประทาน วิทยากรได้ให้ความรู้ในเรื่องของการทำนาครั้งในอดีต ซึ่งหว่านแห้งรอน้ำฝน ตอนนั้นฝนก็จะตกลงมาบ้างแล้ว แต่ต้องหว่านข้าวอายุ 5 เดือน คือ ตั้งแต่เดือน ตุลาคม และข้าวก็จะได้ไม่จมน้ำ ซึ้งเป็นข้าวที่มีคุณภาพ และสามารถทำไว้สำหรับไว้กินได้ ซึ่งทุกคนในที่ประชุมก็ยอมรับ และลงความเห็นด้วยกันว่าจะทำนาก่อนหน้าฤดูฝน เพื่อแก้ปัญหาในเรื่องความเสี่ยง 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้ปรับเปลี่ยนการทำนาแบบใหม่ที่ไม่ต้องรอนาน เมื่อก่อน 5 เดือน ตอนนี้ 3 เดือน ได้ระดมสมองเพื่อแก้ไขน้ำท่วม คือ กอ่นหน้าฝนเราปลูกข้าวมีอายุยาว ส่วนข้าวอายุสั้นจะปลูกตอนน้ำลด จัดสรรผลผลิตให้มีและเพียงพอในท้องถิ่น กรรมวิธีสอดคล้องกับสภาพอากาศ ได้กำหนดพันธ์ข้าวเอง และร่วมกันเสนอความคิดเห็นว่ามีขั้นตอนการทำต่ออย่างไร 

     

    50 50

    23. การเก็บรักษาข้าว/พันธุ์ข้าว(ครั้ง 3)

    วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา 08:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วิทยากรพูดเรื่องการปลูกข้าว ไว้ทำเมล็ดพันธุ์ ว่าปัจจุบันไม่มีชาวนาที่ทำนา ปลูกข้าวไว้ทำเมล็ดพันธุ์ ไว้เองสักกี่คนบ้าง ไม่มีเสียงตอบจากผู้เข้าร่วมประชุม ก็แสดงว่าไม่มีใครไว้เมล็ดพันธุ์ข้าวเลยสักคน ถามว่าสาเหตุใดจึงไม่ไว้ทำพันธุ์ข้าว นายชม พูดว่าสาเหตุที่ไม่ไว้เมล็ดข้าวทำพันธุ์ เพราะหาซื้อได้สะดวกกว่า สามารถเลือกหาเมล็ดพันธุ์ข้าวได้ง่าย และอีกอย่างคือเขาได้ผสมสารกันเเมลงไว้แล้วเราไม่ต้องทำอะไรมันอีก ผู้รับผิดชอบโครงการถามว่า มีใครเสนออะไรบ้าง นายเอียด เสนอว่าเราเก็บเมล็ดพันธุ์ข้าวตากแดดประมาณ 2-3 ครั้ง หลังจากนั้นควรเก็บ  ผสมหัวตะไคร้และต้นข่า ป้อนกันแมลงที่จะมาลบกวนได้ และสามารถเก็บไว้นานจนถึงฤดูปลูกข้าวได้ ทุกคนก็เห็นด้วย จากนั้นก็พูดคุยกันหลายๆเรื่องเกี่ยวกับการทำนาอินทรีย์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. เกิดการพูดคุยและได้เรื่องน่าสนใจ คือ ทำไมไม่เก็บพันธ์ข้าวซึ่งเป็นผลผลิตของตนเองไว้ปลูกต่อเนื่อง เหตุผลคือ มีกระแสความต้องการในรอบถัดไปในการทำนาว่านิยมข้าวประเภทไหน อาจจะไม่เหมือนกับที่เตรียมไว้ จึงต้องแก้ปัญหาเรื่องการพัฒนาพันธ์ข้าวที่ไ้เมล็ดมากขึ้น คิดการเก็บพันธ์ข้าวที่มีในปีหน้า
    2. ผลการพูดคุยในการทำให้ดีกว่าเดิมในครั้งต่อไป คือ เราเป็นคนกำหนดกระแสพันธ์ข้าวเอง ได้แก่ ข้าว 25 ข้าวหอมประชุม ข้าวไลน์เบอร์รี่ ข้าวสังหยด ข้าวหอมนิล เป็นต้น และคิดต่อเรื่องการลดต้นทุนการผลิต

     

    50 48

    24. หนังตะลุงสร้างคน (ครั้งที่ 1)

    วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    มีผู้เข้าร่วมเด็กและเยาวชนผู้ที่สนใจเข้ามาฝึกหัดและชมการบรรเลงดนตรีและหนังตะลุงโขนฝึกซ้อม คน จำนวน 5 คน มีวิทยากรคอยบรรยาย ขั้นตอนตามดนตรี แต่ละชิ้นตั้งขึ้นเครื่องดนตรี และลงเครื่องดนตรีผู้สนใจบอกว่าเสียดายที่เขาแก่แล้ว ทำไมมาเล่นอยู่ตอนนี้ ทำไม ไม่รื้อฝืนมาเมื่อก่อน ผู้เข้าร่วมฟังแล้วหัวเราะชอบใจ วิทยากรบอกว่าแก่ก็เล่นได้คือแสดงเป็นบทคนแก่

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    มีคนทุกกลุ่มวัยเข้าร่วมชมการแสดง ได้บอกวัตถุประสงค์ว่าอยากจะฝึกเด็กให้เล่น ผู้สูงอายุก็อยากเล่นด้วย มีการหยอกล้อกัน ผู้สูงอายุอยากเล่นด้วย ได้ชักชวนให้มาเล่นได้ทุกวัย เพื่อสืบสานภูมิปัญญา ผู้สูงวัยแสดงเป็นคุณยาีความสุยได้ ทำให้คนที่ตัดพ้อ หยอกล้ออย่างมีความสุข คนทำนาก็เล่นเรื่องการทำนาให้ดี เพื่อนำมาสอนเด็กให้เล่นเพื่อสืบทอดได้ มีคนสนใจมาชม และสนใจเข้าร่วมอย่างสม่ำเสมอ นัดแนะการฝึกซ้อมและคัดสรรเด็กมาฝึกเล่นเพิ่มเติม

     

    50 52

    25. หนังตะลุงสร้างคน (ครั้งที่ 2)

    วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    มีนักเรียนครู เข้าร่วมชมนักตะลุงโขนโดยมีครูหนัง บรรเลงให้นักเรียนและผู้ปกครองนักเรียนฟัง มีวิทยากรหนังตะลุงพูดคุยในเรื่องของการฝึกหัด เครื่องดนตรีหนังตะลุงผู้เข้าร่วมชมสนใจมากพูดให้กำลังใจ พร้อมสนับสนุนที่จะส่งเสริมให้ลูกหลานได้ฝึกหัดเครื่องดนตรี หนังตะลุงแต่ชิ้นโดยมีวิทยากรคอยช่วยเหลือในการฝึกซ้อม ตอนจบหนังตะลุงท่าน ผอ.โรงเรียนวัดผาสุกได้กล่าวขอบคุณทางคณะหนังตะลุงที่ได้มาเผยแพร่ศิลปการแสดงของชุมชนในครั้งนี้ และชาวบ้าน ม.1 คุณประเสริฐ บุญรอดก่อนจะเลิกกลับบ้าน ขอให้ทางคณะแสดงได้บรรเลงเพลงดนตรีหนังอีก 1 รอบ 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. เล่นตะลุงโขนที่โรงเรียน ครูต้อนรับเป็นอย่างดี ครู เด็ก ติดใจ ให้เล่นสองรอบ ชอบมาก ผู้อำนวยการโรงเรียนกล่าวขอบคุณ มีชาวบ้านมาร่วมได้เสนอความคิดเห็น นายประเสริฐ ได้เสนอแนะให้ทำเพิ่มเติม ผู้อำนวยการโรงเรียนมีความประทับใจมาก ในการเล่นตะลุงโขน ใช้เวลาเล่น ตั้งแต่โหมโรง ขึ้นเครื่อง ลงเครื่อง ใช้เวลาอย่างน้อย 3 ชั่วโมง รอบแรกเสร็จ เล่นรอบสองอีก เริ่มโหมโรงใหม่ มีขึ้นเครื่อง ลงเครื่อง เข้ามือกันหมด ทั้งคนเล่น และคนเล่นเครื่องดนตรี
    2. สร้างการทำงานเป็นทีมได้ คือ มีการพูดคุย วางรูปแบบ รู้จังหวะของทีม มีความสัมพันธ์อันดี มีการเล่นตลก เฮฮา ช่วยให้ชุมชนมีความสุข
    3. ในครั้งต่อไป ให้ประยุกต์วัฒนธรรมพื้นบ้านมาร่วม คัดเลือกเด็กนักเรียนเสียงดี มาแสดงเพิ่มเติม เป็นการวางแผนทำงานต่อเนื่่องในครั้งต่อไป

     

    50 59

    26. หนังตะลุงสร้างคน (ครั้งที่ 3)

    วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    มีครูนักเรียนและผู้ปกครองเข้าร่วมชมการบรรเลงเพลงหนังตะลุงโขน นักเรียนสนใจและสมัครซ้อมดนตรี จำนวน 4 คน เพื่อฝึกหัดแสดงเผยแพร่ในวันศิษย์เก่าโรงเรียนวัดปากเหมือง ทางโรงเรียนพูดว่าขอให้มาแสดงที่โรงเรียน เดือนละ 1 ครั้ง เพื่อให้เกิดสุนทรียภาพ เชื่อมโยง ครู และผู้ปกครอง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ใช้กลยุทธ เลือกเด็กตามธรรมชาติ ตามความสนในของเด็ก เพื่อได้ปราชญ์เรื่องตะลุงโขนที่ทำได้จริง การให้เด้กได้เล่นเครื่องเล่นเพื่อสร้างความคุ้นเคยกับเครื่องดนตรีก่อน (ให้เล่นเครื่องเล่นไม่เป็นทางการ ให้นักเรียนเลือกตามความสนใจ) ปล่อยให้เล่นทั้งหมด เด็ก 2 ห้อง ทั้งหมด 59 คน ชาวบ้าน ครู มาดู มาลุ้น พบว่าคนที่สนใจและสามารถฝึกได้ เป็นปราชญื 4 คน นอกจากนั้นเล่นแล้วไม่สนใจทำต่อ ได้ทำต่อคือได้ทำหนังสือถึงโรงเรียนเพื่อให้เด็กมาฝึก ผู้ปกครองเห็นด้วย ตัวอย่างเด็กเก่งที่ค้นพบในโครงการ ได้แก่ เด็กชายธีระพงค์ แก้วจันทร์ ตีโหม่ง ลงกลอนแล้ว เป็นความสามารถพิเศษของนักเรียน ดช.ธนาวิทย์ โฉมชู ตีลอง ดช.ปฏิธาน แคล้วทนงค์ เล่นทับได้ ดช.ธนาธร จิระภิญโญ เล่นตีฉิ่ง ทั้งหมดมีความสามารถ มีความเห็นชอบ ผู้ปกครองรับ ส่ง มาเรียน แม้หมดโครงการแล้วก็ต้องทำต่อเนื่อง หยุดไม่ได้ เพราะเกิดความเข้มแข็งขึ้นแล้ว ทำต่อเนื่อง

     

    50 59

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

     

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 เพื่อลดการใช้สารเคมีทางการเกษตร
    ตัวชี้วัด : 1. มีเกษตรมีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถนำการเรียนรู้ทำนาอินทรีย์มาประยุกต์ใช้ในครัวเรือนและชุมชน ได้ ร้อยละ 70 2. มีเกษตรกรหันมาทำนาอินทรีย์ร้อยละ 70 3. มีกลุ่มชุมชนสามารถผลิตสารอินทรีย์ใช้แทนสารเคมีได้ร้อยละ 70
    1. เกษตรมีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถนำการเรียนรู้ทำนาอินทรีย์มาประยุกต์ใช้ในครัวเรือนและชุมชน ได้ ร้อยละ 80 (ได้มากกว่าที่ตั้งไว้)
    2. มีเกษตรกรหันมาทำนาอินทรีย์ร้อยละ 80 (ได้มากกว่าที่ตั้งไว้)
    3. มีกลุ่มชุมชนสามารถผลิตสารอินทรีย์ใช้แทนสารเคมีได้ร้อยละ 80 (ได้มากกว่าที่ตั้งไว้)
    2 เพื่อฟื้นฟู ส่งเสริม การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นบ้นปากเหมืองช่วยลดการใช้สารเคมี
    ตัวชี้วัด : 1. มีกลุ่มหนังตะลุง ใช้กลอนหนังตะลุงเป็นเนื้อหาการลดการใช้สารเคมี 2. มีกลุ่มเยาวชนถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นหนังตะลุง ลดการใช้สารเคมี
    1. มีกลุ่มหนังตะลุง ใช้กลอนหนังตะลุงเป็นเนื้อหาการลดการใช้สารเคมี แสดงแล้วหลายรอบ เริ่มมีชื่อเสียง (จากเดิมไม่มีตอนนี้มีแล้ว)
    2. มีกลุ่มเยาวชนถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นหนังตะลุง ลดการใช้สารเคมี (เด็กได้ฝึกเล่นแล้ว นำเสนอแล้ว กำลังฝึกแสดง จะนำไปแสดงในคนใต้สร้างสุข)

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อลดการใช้สารเคมีทางการเกษตร (2) เพื่อฟื้นฟู ส่งเสริม การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นบ้นปากเหมืองช่วยลดการใช้สารเคมี

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    ส่วนที่ 3 ประเมินคุณค่าโครงการ

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ

    ชื่อโครงการ ชุมชนคลายทุกข์ร่วมสร้างสุขคนปากเหมือง

    รหัสโครงการ 56-00244 รหัสสัญญา 56-00-0283 ระยะเวลาโครงการ 1 เมษายน 2556 - 30 เมษายน 2557

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นการคุณค่าที่เกิดจากโครงการในมิติต่อไปนี้

    • ความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพและนวัตกรรมเชิงระบบสุขภาพชุมชน
    • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีผลต่อสุขภาวะ
    • การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ
    • ผลกระทบเชิงบวกและนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาวะชุมชน
    • กระบวนการชุมชน
    • มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่

    1. เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้ใหม่ / องค์ความรู้ใหม่

    การทำนาอินทรีย์

    ขั้นตอนการทำนาอินทรีย์แบบคนปากเหมือง

    ขยายผลความรู้ให้เพื่อบ้านที่ยังไม่ได้ทำได้ทำ มีจำนวนกลุ่มทำนาอินทรีย์เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สิ่งประดิษฐ์ / ผลผลิตใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. กระบวนการใหม่

    วิธีการคัดสรรเด็กและเยาวขนมาเล่นหนังตะลุงโขน ใช้หลักการสร้างความคุ้นเคย ตรวจสอบให้แน่ใจ และการเสริมพลังบวกให้กับเด็กและเยาวชน เพื่อให้มาเรียนรู้การเล่นหนังตะลุงโขน โดยให้เด็กมาเล่นเครื่องดนตรีทุกชนิดจนคุ้นเคย และเลือกเล่นชนิดที่ชอบ มีการให้ลองฝึกจนมีความอยากทำเองได้ ส่งผลให้มีเด็กและเยาวชนมาเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง พัฒนาศักยภาพเด็กจนเป็นผู้นำในการถ่ายทอดภูมิปัญญาจากปราชญ์ชุมชนได้

    ขั้นตอนการสอนเด็กและเยาวชนเพื่อสืบสานตะลุงดขน

    เสริมพลัง สร้างแรงจูงใจ ให้ขวัญและกำลังใจเด็กและเยาวชนอย่างต่อเนื่อง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. วิธีการทำงาน / การจัดการใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การเกิดกลุ่ม / โครงสร้างในชุมชนใหม่

    หนังตะลุงโขนเล่นสด และกลุ่มนาอินทรีย์

    การแสดงหนังตะลุงโขนในงานประเพณีและในโรงเรียน นำมาแสดงในการจัดประชุมโครงการร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่จังหวัดนครศรีธรรมราช ที่โรงแรมทวินโลตัส เดือนธันวาคม 2556

    พัฒนาทักษะของเยาวชน และพัฒนาเป็นกลุ่มกองทุนเพื่อการศึกษา

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. แหล่งเรียนรู้ใหม่

    นาอินทรีย์

    กลุ่มนาอินทรีย์ลดสารเคมี

    การทำนาอินทรีย์ที่เอื้อต่อสุขภาพ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    99. อื่นๆ

     

     

     

    2. เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การบริโภค

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การออกกำลังกาย

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. การลด ละ เลิก อบายมุข เช่น การพนัน เหล้า บุหรี่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การลดพฤติกรรมเสี่ยง เช่น พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การขับรถโดยประมาท

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. การจัดการอารมณ์ / ความเครียด

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. การดำรงชีวิต / วิถีชีวิต เช่น การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น / สมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเอง

    หนังตะลุงโขนเล่นสดลดสารเคมี

    กลุ่มหนังตะลุงโขน

    พัฒนากลุ่มเพื่อการเรียนรู้และเกิดกองทุนเพื่อการศึกษา

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    8. พฤติกรรมการจัดการตนเอง ครอบครัว ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    9. อื่นๆ

     

     

     

    3. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. กายภาพ เช่น มีการจัดการขยะ ป่า น้ำ การใช้สารเคมีเกษตร และการสร้างสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนที่ถูกสุขลักษณะ

    นาอินทรีย์ ไม่ใช้สารเคมี

    กลุ่มนาอินทรีย์

    ขยายเครือข่ายให้มากขึ้นทั่วหมู่บา้น

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สังคม เช่น มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ลดการเกิดอุบัติเหตุ ครอบครัวอบอุ่น การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อเด็ก เยาวชน และกลุ่มวัยต่าง ๆ มีพื้นที่สาธารณะ/พื้นที่ทางสังคม เพื่อเอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชน มีการใช้ศาสนา/วัฒนธรรมเป็นฐานการพัฒนา

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. เศรษฐกิจสร้างสรรค์สังคม /สร้างอาชีพ / เพิ่มรายได้

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการบริการสุขภาพทางเลือก และมีช่องทางการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. อื่นๆ

     

     

     

    4. การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. มีกฎ / กติกา ของกลุ่ม ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. มีมาตรการทางสังคมของกลุ่ม ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. มีธรรมนูญของชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. อื่นๆ เช่น ออกเป็นข้อบัญญัติท้องถิ่น ฯลฯ

     

     

     

    5. เกิดกระบวนการชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. เกิดการเชื่อมโยงประสานงานระหว่างกลุ่ม / เครือข่าย (ใน และหรือนอกชุมชน)

    เชื่อเครือข่ายเยาวชนในโรงเรียน และปราชญ์ชาวบ้าน สอนการเล่นหนังตะลุงโขน

    กลุ่มหนังตะลุงโขน

    ขยายผลให้เด็กที่สนใจได้มาฝึกปฏิบัติเพิ่มมากขึ้น

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเรียนรู้การแก้ปัญหาชุมชน (การประเมินปัญหา การวางแผน การปฏิบัติการ และการประเมิน)

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ประโยชน์จากทุนในชุมชน เช่น การระดมทุน การใช้ทรัพยากรบุคคลในชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกลุ่มและชุมชนที่เกิดจากโครงการอย่างต่อเนื่อง

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. เกิดกระบวนการจัดการความรู้ในชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. เกิดทักษะในการจัดการโครงการ เช่น การใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ การทำแผนปฏิบัติการ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. อื่นๆ

     

     

     

    6. มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเอง / กลุ่ม / ชุมชน

    มีการฟื้นฟูภูมิปัญญาที่สูญหายไปกลับมาได้

    ภูมิปัญญาหนังตะลุงโขนเล่นสดลดสารเคมี

    เพิ่มการพัฒนาเยาวชนให้มาเรียนรู้มากขึ้น

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเห็นประโยชน์ส่วนรวมและส่วนตนอย่างสมดุล

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย และพอเพียง

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. ชุมชนมีความเอื้ออาทร

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. มีการตัดสินใจโดยใช้ฐานปัญญา

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. อื่นๆ

     

     

     

    ชุมชนคลายทุกข์ร่วมสร้างสุขคนปากเหมือง จังหวัด นครศรีธรรมราช

    รหัสโครงการ 56-00244

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นายวินัย อนุวัฒน์วงค์ 088-3820818 )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด