directions_run

โครงการบ้านห้วยทรายขาวน่าอยู่ ชุมชนร่วมใจ ห่างไกลโรค

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


“ โครงการบ้านห้วยทรายขาวน่าอยู่ ชุมชนร่วมใจ ห่างไกลโรค ”

บ้านห้วยทรายขาว หมู่ที่ 1 ตำบลสองพี่น้อง อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร

หัวหน้าโครงการ
นางอำพันธ์ ชะนะแดง 084-7130410

ชื่อโครงการ โครงการบ้านห้วยทรายขาวน่าอยู่ ชุมชนร่วมใจ ห่างไกลโรค

ที่อยู่ บ้านห้วยทรายขาว หมู่ที่ 1 ตำบลสองพี่น้อง อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร จังหวัด ชุมพร

รหัสโครงการ 56-00242 เลขที่ข้อตกลง 56-00-0378

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 เมษายน 2556 ถึง 31 พฤษภาคม 2557


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการบ้านห้วยทรายขาวน่าอยู่ ชุมชนร่วมใจ ห่างไกลโรค จังหวัดชุมพร" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน บ้านห้วยทรายขาว หมู่ที่ 1 ตำบลสองพี่น้อง อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการบ้านห้วยทรายขาวน่าอยู่ ชุมชนร่วมใจ ห่างไกลโรค



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการบ้านห้วยทรายขาวน่าอยู่ ชุมชนร่วมใจ ห่างไกลโรค " ดำเนินการในพื้นที่ บ้านห้วยทรายขาว หมู่ที่ 1 ตำบลสองพี่น้อง อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร รหัสโครงการ 56-00242 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 เมษายน 2556 - 31 พฤษภาคม 2557 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 213,000.00 บาท จาก เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 200 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

 

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. 1.เพื่อสร้างองค์ความรู้ให้กับชุมชนเพื่อลดปัญหายา เสพติดในกลุ่มเยาวชน
  2. 2. เพื่อให้กลุ่มเยาวชนเกิดการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์สร้างสรรค์ผลงานร่วมกับชุมชน
  3. 3.เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนในการหาแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนท้องถิ่น
  4. เพื่อติดตามโครงการและประเมินผล

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

     


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. ปฐมนิเทศกับพี่เลี้ยง

    วันที่ 20 สิงหาคม 2556 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ผู้รับผิดชอบโครงการเข้ารับการปฐมนิเทศโครงการร่วมกับพี่เลี้ยงที่โรงพยาบาลท่าแซะ เนื่องจากช่วงที่ปฐมนิเทศในภาพรวมไม่สามารถเข้าร่วมได้ และในชุมชนไม่มีระบบอินเตอร์เน็ต จึงใช้พื้นที่ของพี่เลี้ยงในการศึกษาข้อมูลของสสส.และสจรส.มอ. และติดตามเรื่องการไม่ได้รับเงินงบประมาณโครงการ มีผู้รับผิดชอบโครงการและคณะทำงาน 11คน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผู้รับผิดชอบโครงการและทีมงานมีความรู้ในการจัดทำรายงานและการส่งผลงานทางอินเตอร์เน็ต และการส่งเอกสารเพื่อขอเบิกเงินที่ยังไม่ได้ส่งเอกสารเพื่อขอรับเงิน

     

    6 11

    2. ประชุมประชาชนในเวทีประชุม

    วันที่ 9 ตุลาคม 2556 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมชี้แจงโครงการให้ประชาชน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทราบ เพื่อแนะนำโครงการและชี้แจงกำหนดการในการทำกิจกรรมตามแผนงานโครงการฯ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ประชาชนมีความเข้าใจ และรับทราบวัตถุประสงค์ของโครงการ  และพร้อมให้ความร่วมมือในกิจกรรมที่ขอความร่วมมือ

     

    200 150

    3. จัดวงเสวนาของผู้นำชุมชน แกนนำทุกกลุ่มและผู้รับผิดชอบโครงการ

    วันที่ 21 พฤศจิกายน 2556 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • จัดกิจกรรมของเด็กและเยาวชนในชุมชนทั้งหมด  โดยเด็กกลุ่มปกติและกลุ่มเสี่ยงทำกิจกรรมร่วมกัน  มีการให้ความรู้และมีสื่อวีดีทัศน์เกี่ยวกับพิษภัย/โทษของยาเสพติดให้ชม  และกลุ่มเสพยาเสพติดทำกิจกรรมร่วมกับครอบครัว  มีการเปิดประเด็นพูดคุยถึงสาเหตุของจุดเริ่มต้นการเสพยาเสพติด  รวมทั้งให้ครอบครัวมีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น / ให้กำลังใจและโอกาสในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแก่เยาวชนที่เสพยาเสพติด
    • จัดทำร่างมาตรการชุมชนในการเฝ้าระวังป้องกันและกำหนดโทษ  มีการติดตามประเมินผลหลังการจัดกิจกรรมโดยเจ้าหน้าที่ / อสม. / แกนนำชุมชนเป็นระยะ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เยาวชนมีความรู้ความเข้าใจตระหนักถึงพิษภัยของยาเสพติด  มีภูมิคุ้มกันมากขึ้น  มีความตั้งใจที่จะลด ละ เลิกการใช้ยาเสพติดและให้ความสำคัญในการดำเนินกิจกรรมรวมพลังในการต่อต้านปัญหายาเสพติดในชุมชน  รวมทั้งครอบครัวมีการให้กำลังใจและให้โอกาสแก่กลุ่มเยาวชนที่เสพยาเสพติดได้ปรับพฤติกรรม

     

    50 55

    4. แบ่งกลุ่มย่อยเล่าเรื่องของตนและวิธีการดำเนินชีวิต/อาชีพ และร่วมกันวิเคราะห์แนวทางในการแก้ไขปัญหายาเสพติดที่มีในชุมชน

    วันที่ 27 พฤศจิกายน 2556 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    -จัดกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์  บรรยายถึงปัญหาของยาเสพติด  ทักษะในการปฏิเสธเมื่อมีผู้ชวนให้ลอง  การสังเกตพฤติกรรมคนในครอบครัวหรือบุคคลรอบข้างที่อาจจะใช้สารเสพติด  และแบ่งกลุ่มย่อยเล่าเรื่องของตนเองเกี่ยวกับประสบการณ์ในการเรื่องยาเสพติดที่เคยรับรู้และสัมผัส

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    กลุ่มเยาวชน  ได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่องประสบการณ์ทางสังคมด้านยาเสพติด  ในการรู้จักวิธีการป้องกันในการปฏิเสธ  เมือมีผู้ชักชวนให้ลอง  และรู้จักสังเกตุบุคคลที่อาจมีพฤติกรรมที่เกี่ยงข้องกับสารเสพติดในชุมชน

     

    50 55

    5. บำรุงรักษาพื้นที่รอบๆป่าต้นน้ำ ครั้งที่ 1

    วันที่ 5 ธันวาคม 2556 เวลา 08:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    นัดกลุ่มเป้าหมายมารวมกลุ่มกันบริเวณลานหน้า รพ.สต.บ้านห้วยทรายขาว และนัดหมายการแบ่งกลุ่มทำกิจกรรม (08.15 - 09.00 น.) ช่วงเช้า เวลา 09.00 - 11.00 ทำความสะอาด  เก็บขยะ  พื้นที่รอบๆป่าต้นน้ำต้นน้ำลำคลองท่าใหญ่  และเวลา 11.00 - 12.00 น. ดำเนินการพัฒนาพื้นที่จัดสรรทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด  จัดหาอุปกรณ์ เช่น ที่นั่งพักผ่อนหย่อนใจ  มาไว้ในส่วนที่เป็นพื้นที่สาธารณะบริเวณสะพานหิน

    -12.00 - 13.00 น. เดินทางกลับมารับประทานอาหารร่วมกันบริเวณ รพ.สต.บ้านห้วยทรายขาว

    -13.00 น. เริ่มดำเนินการมอบหมายหน้าที่แบ่งกลุ่มในการปลูกพันธุ์สมุนไพร บริเวณพื้นที่ รพ.สต.บ้านห้วยทรายขาว และจัดเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านแพทย์พื้นบ้าน  ดำเนินการเสร็จสิ้นเวลา 16.00 น.

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผู้รับผิดชอบหลักในการดำเนินการทำความสะอาดและพัฒนาพื้นที่บริเวณต้นน้ำลำคลองท่าใหญ่  ได้แก่  น.ส.นวลอนงค์  วงศ์สุวรรณ
    • ผู้รับผิดชอบหลักในเรื่องการปลูกพืชสมุนไพร ได้แก่ น.ส.อุมาพร  จุ้ยตั้น จัดแหล่งเรียนรู้เรื่องแพทย์พื้นบ้านเกี่ยวกับพันธุ์พืชสมุนไพรในพื้นที่
    • ผู้รับผิดชอบหลักในการพัฒนาพื้นที่จัดสรรทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด  จัดหาอุปกรณ์ เช่น ที่นั่งพักผ่อนหย่อนใจ  มาไว้ในส่วนที่เป็นพื้นที่สาธารณะบริเวณสะพานหิน ได้แก่  นายปิยะพงษ์  ฮกทน โดยผู้รับผิดชอบหลักจะมีหน้าที่เป็นผู้รับผิดชอบงานในส่วนนั้นๆ ในการประสานงานและมอบหมายหน้าที่ให้สมาชิกที่เข้าร่วมกิจกรรมคนอื่นๆดำเนินการ ในพื้นที่รับผิดชอบของตนเอง  ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย

     

    50 53

    6. ประชุมแกนนำชุมชนและเยาวชนร่วมกัน ครั้งที่ 1

    วันที่ 9 ธันวาคม 2556 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

      ประชุมแกนนำชุมชน และเยาวชนเพื่อจัดกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกันในชุมชน โดยปราชญ์ชาวบ้านและผู้นำท้องถิ่น 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    บรรดาแกนนำ  ที่เข้าร่วมประชุมมีความเข้าใจในโครงการและร่วมแสดงความคิดเห็นในการดำเนินกิจกรรมเพื่อสร้างสรรค์ชุมชน และต่อต้านเอาชนะยาเสพติด

     

    50 53

    7. ร่วมกันสร้างสวนสุขภาพ ที่มีลานออกกำลังกาย

    วันที่ 28 ธันวาคม 2556 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    นัดรวมกลุ่มเป้าหมายบริเวณหน้า รพ.สต.บ้านห้วยทรายขาว เวลา 08.30 น. วันที่ 28-30 ธันวาคม 2556 เพื่อแบ่งกลุ่มย่อยและแจกแจงรายละเอียดการดำเนินกิจกรรมร่วมกันสร้างสวนสุขภาพที่มีลานออกกำลังกาย  รวมทั้งมอบหมายหน้าที่ให้กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรมรับทราบโดยทั่วกัน เวลา 09.00 น. ดำเนินการแบ่งกลุ่มย่อยออกเป็น 3 กลุ่ม และเริ่มทำกิจกรรม ดังนี้

    กลุ่มที่ 1 ดำเนินการปรับปรุงพื้นที่จัดทำลานแอโรบิก จำนวน 35 คน มี นางยอดสร้อย ดอนไพรยอด เป็นผู้ดูแลความเรียบร้อยภายในกลุ่มย่อย (ปรับปรุงพื้นที่ลานแอโรบิก)

    กลุ่มที่ 2 ดำเนินการจัดทำสนามกีฬาประเภทตระกร้อ จำนวน 25 คน มีนายปิยะพงษ์ ฮกทน เป็นผู้ดูแลความเรียบร้อยภายในกลุ่มย่อย (ปรับปรุงพื้นที่สนามและตีเส้นสนาม)

    กลุ่มที่ 3 ดำเนินการจัดทำสวนหย่อม และขุดสระน้ำรูปหัวใจ  เพื่อพักผ่อนหย่อนใจบริเวณหน้า รพ.สต.บ้านห้วยทรายขาว จำนวน 35 คน มีนางวรรณา คงหญีต เป็นผู้ดูแลความเรียบร้อยภายในกลุ่มย่อย และขออุปกรณ์สนับสนุนบางส่วนในการดำเนินการทำกิจกรรมจากชุมชน เช่น เครื่องตัดหญ้า จอบ เสียม กรรไกรตัดกิ่ง เป็นต้น (ปรับปรุงพื้นที่ในการจัดสวนหย่อม , ขุดสระน้ำรูปหัวใจ , ตัดแต่งต้นไม้และกิ่งไม้) ดำเนินกิจกรรมเสร็จสิ้นเวลา 15.30 น. วันที่ 30 ธันวาคม 2556 (กลุ่มที่สมาชิกทำกิจกรรมภายในกลุ่มของตนเองเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้มารวมกันเพื่อช่วยกลุ่มที่ยังทำกิจกรรมไม่เสร็จ)

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • กลุ่มเป้าหมายเห็นความสำคัญของการร่วมทำกิจกรรมเพื่อส่วนรวม โดยมาร่วมทำกิจกรรมมากกว่าจำนวนกลุ่มเป้าหมายที่ตั้งไว้ (ตั้งกลุ่มเป้าหมายไว้จำนวน 90 คน แต่มีผู้มาร่วมกิจกรรมจริงจำนวน 95 คน)
    • กลุ่มเป้าหมายได้ร่วมกันจัดทำลานกีฬา ลานส่งเสริมสุขภาพเพื่อการออกกำลังกายบริเวณหน้า รพ.สต.บ้านห้วยทรายขาว โดยมีการจัดทำลานแอโรบิก ,สนามกีฬาประเภทตะกร้อรวมทั้งร่วมกันจัดสวนหย่อมและขุดสระน้ำเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ แก่ผู้ที่มาออกกำลังกาย ซึ่งมีผลงานเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม

     

    90 95

    8. ดูแลสวนสุขภาพ ตัดหญ้า เก็บขยะ ปลูกต้นไม้ รดน้ำใส่ปุ๋ย ตกแต่งกิ่งไม้ เพื่อจัดเตรียมสถานที่การจัดประเพณีทำบุญกลางบ้าน

    วันที่ 1 มกราคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ผู้ที่มาร่วมกิจกรรมจริงจำนวน 50 คน เข้าร่วมการพัฒนา ทั้งการตัดหญ้า  เก็บขยะ  ปลูกต้นไม้  รดน้ำต้นไม้ และติ่งกิ่งไม้ทั้งนี้เพื่อร่วมกันจัดเตรียมสถานที่เพื่อการจัดกิจกรรมประเพณีทำบุญกลางบ้านในวันที่ 2 มค.57 โดยกิจกรรมแบ่งออกเป็น ช่วงเช้าและช่วงบ่าย มีรายละเอียดดังนี้

        ช่วงเช้า :

    • เวลา 09.00 - 12.00 น. เป็นกิจกรรมการพัฒนาพื้นทีดูแลสวนสุขภาพ  เช่น  ตัดหญ้า  ตกแต่งกิ่งไม้  เก็บขยะ  ปลูกต้นไม้  และรดน้ำต้นไม้  ฯลฯ โดยแบ่งเป็นกลุ่มย่อยๆ และช่วยกันดำเนินการ

    • เวลา 12.00 - 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวันร่วมกัน

        ช่วงบ่าย :

    • เวลา 13.00 - 15.00 น. ร่วมกันจัดเตรียมสถานที่เพื่อจัดกิจกรรมประเพณีทำบุญกลางบ้าน

    • เวลา 15.00 - 16.00 น. ประชุมนัดหมายร่วมกันเรื่องการดำเนินการจัดกิจกรรมประเพณีทำบุญกลางบ้านในวันที่ 2 ม.ค. 57  โดยมีการมอบหมายหน้าที่รับผิดชอบในแต่ละเรื่อง ได้แก่ ผู้ที่ทำหน้าที่รับพระ , พิธีกรดำเนินกิจกรรม , ผู้เตรียมเครื่องเสียง , ผู้ดูแลรับผิดชอบเรื่องความสะอาดหลังเสร็จสิ้นพิธีการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เยาวชนและผู้ปกครอง รวมทั้งชาวบ้านมาร่วมกิจกรรมการพัฒนาอย่างสนุกสนาน  เกิดความสามัคคีในหมู่คณะ  มีการแสดงความคิดเห็นร่วมกันและอาสาในการรับผิดชอบหน้าที่ที่ตนสามารถทำได้  เนื่องจากเป็นกิจกรรมของส่วนรวม

    • มีการพัฒนาพื้นที่ ปลูกต้นไม้ ตกแต่งกิ่งไม้ บริเวณพื้นที่ดำเนินกิจกรรมและพื้นที่ใกล้เคียงโดยรอบ

    • มีการจัดเตรียมสถานที่ในการจัดกิจกรรมประเพณีทำบุญกลางบ้านไว้พร้อมใช้งาน

    • มีการประชุมนัดหมายเรื่องเวลา  การเตรียมอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ต่างๆ  และแบ่งหน้าที่รับผิดชอบเพื่อดำเนินกิจกรรมทำบุญกลางบ้านในวันที่ 2 ม.ค. 57 ประชาชนสนใจเข้าร่วมกิจกรรมเกินเป้าหมายที่กำหนด  และใช้เวลาในการดำเนินกิจกรรมตามแผน

     

    50 50

    9. ประชุมแกนนำชุมชนร่วมกับแกนนำเยาวชน ครั้งที่ 1

    วันที่ 7 มกราคม 2557 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดประชุมแกนนำชุมชน  ร่วมกับแกนนำเยาชน และผู้รับผิดชอบโครงการเพื่อสรุปหามาตรการกฏ กติกาของท้องถิ่นในการควบคุมป้องกัน ในการที่เยาวชนหรือผู้หนึ่งผู้ใดไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด พร้อมทั้งจัดทำแผนชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เยาวชนเข้าร่วมกิจกรรมด้วยความสนใจ และเสนอข้ิอคิดเห็น แก่บรรดาแกนนำชุมชนเพื่อการเข้าถึงและเข้าใจ  รวมถึงการใช้วิธีการบังคับในการป้องกันปัญหายาเสพติดที่อาจจะเกิดขึ้นในชุมชน

     

    70 80

    10. ร่วมงานสร้างสุขภาคใต้ ณ.ศุนย์ประชุมมอ.หาดใหญ่

    วันที่ 9 มกราคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    นายปิยพงษ์ ฮกทน  ร่วมงานสร้างสุขภาคใต้ ณ.ศุนย์ประชุมมอ.หาดใหญ่

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ร่วมงานสร้างสุขภาคใต้ ณ.ศุนย์ประชุมมอ.หาดใหญ่  ชมนิทรรศการของชุมชนจากพื้นที่ต่างๆภายใต้โครงการชุมชนท้องน่าอยู่

     

    1 1

    11. ทำป้ายเขตปลอดบุหรี่

    วันที่ 11 มกราคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ทำป้ายเขตปลอดบุหรี่รณรงค์ลดการสืบบุหรี่ในพื้นที่ดำเนินกิจกรรม ขนาด 120 ซม  จำนวน 1 ป้าย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ทำป้ายเขตปลอดบุหรี่รณรงค์ลดการสืบบุหรี่ในพื้นที่ดำเนินกิจกรรม ขนาด 120 ซม  จำนวน 1 ป้าย

     

    2 2

    12. จัดเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูลสถานการณ์ระหว่างเด็ก ชุมชนและผู้มีประสบการณ์

    วันที่ 23 มกราคม 2557 เวลา 08.30 น.- 16.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เด็กเยาวชน  พร้อมผู้ปกครอง  และผู้นำท้องถิ่น ร่วมกันจัดกิจกรรมให้ความรู้ในการพัฒนาตนเองให้รู้เท่าทันสถานการณ์ในสังคม  รับรู้ถึงโทษพิษภัยของยาเสพติด  รวมทั้งวิธีการในการลด ละ เลิก หรือปฏิเสธที่จะข้องแวะกับสิ่งเสพติดเมือ่มีผู้ชักชวนหรือยื่นให้  ในการจัดอบรมครั้งนี้ได้จัดอบรมออกเป็น 3 วันดังตารางการอบรมดังต่อไปนี้ วันที่ 23 มกราคม 57 : เช้า พิธีการเปิดการอบรม / ความรู้เรื่องยาเสพติด / ประเภทของสารเสพติดและกลไกการออกฤทธิ์ - บ่ายให้เล่าถึงประสบการณ์เกี่ยวกับยาเสพติดของผู้เข้ารับการอบรม พร้อมทั้งผลของการตัดสินใจในประสบการณ์ของแต่ละคน วันที่ 24 มกราคม 57 : เช้า สรุปบทเรียนของวันแรก  และสรุปรวมรวมประสบการณ์ของการสัมผัสสารเสพติดที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในวันแรก - บ่ายให้ความรู้เกี่ยวพิษภัย และผลการทบที่เกิดจากการติดสารเสพติดและผลเสียในการดำรงชีวิตประจำวัน วันที่ 25 มกราคม 57 : เช้าเทคนิคและวิธีการหลีกเลี่ยงการใช้สารเสพติดแต่ละประเภท  วิธีการแก้ปัญหาเมื่อมีผู้มาชักชวนให้ลอง  บ่าย สรุปผลที่ได้จากการอบรมและ วิธีการเข้าบำบัดรักษาสำหรับผู้ที่ติดสารเสพติดและต้องการเลิก

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    กิจกรรมที่เกิดขึ้นตลอด 3 วันในการอบรมได้ทราบถึงแหล่ง  สาเหตุในภาพรวมของปัญหายาเสพติดที่เกิดขึ้นในหมู่บ้านว่ามาจากสาเหตุอะไรโดยสรุปได้ดังนี้ 1 .ยาบ้า  เกิดจากการทำงานหนักที่ต้องการกระตุ้นการทำงาน ซึ่งส่วนใหญเยาวชนมักไม่ค่อยเจอปัญหา  ปัญหาที่เกิดมักจะเกิดขึ้นกับกลุ่มคนวัยทำงาน หรือกลุ่มผู้ปกครอง 2. น้ำกระท่อม หรือ 4*100  เกิดจากความสนุกสนาน  เพื่อนชวน  อยากลอง ซึงส่วนใหญ่เกิดกับกลุ่มวัยรุ่น และผู้ที่เข้ารับการอบรมบางส่วนก็เคยได้ทดลองเสพมาแล้ว  ซักถามแบบสัมภาษณ์ส่วนตัวทำให้ทราบถึงที่มาของแหล่งจำหน่ายยาแก้ไอ  และส่วนผสมที่ใช้ในการเสพ 3. กัญชา มีบ้างประปราย  เนื่องจากบางบ้านแอบปลูกไว้เพื่อใช้ในการผสมอาหารจำหน่าย
    4. สุรา  ส่วนใหญ่ดื่มกันแต่ไม่ได้ปรากฎติดสุราแบบพิษสุราเรื้อรัง 5. บุหรี่  มีมากทำให้ทราบว่าปัญหาร้านชำในพื้นที่บางร้านไม่ได้เคร่งครัดในการปฏิบัติตามกฎของการจำหน่ายคือห้ามจำหน่ายแก่เด็กตำ่กว่า 18 ปี และจำหน่ายตลอดเวลาเมื่อมีผู้ต้องการเรียกซื้อ ทราบและขอชื่อร้านเพื่อให้เจ้าหน้าที่สุ่มสำรวจและตักเตือนถึงข้อตกลงของการจำหน่าย  เพื่อป้องกันการจไน่ายแก่เด็กอีกต่อไป 6. กาว  มีคนในครอบครัวดมกาว  และประสาทหลอนไปรับการรักษาที่ รพ.สวนสราญรมย์ จ.สุราษฎร์ธานี แต่ผู้ที่เข้ารับการอบรมไม่มีใครดม 7.กระท่อม  เป็นปัญหาที่พบกับกลุ่มผู้ปกครองหรือวัยทำงานเป็นส่วนใหญ่  แต่พบน้อยมากในกลุ่มเยาวชน  เพราะส่วนใหญ่ ทานใบกระท่อมเพื่อกระตุ้นการทำงานของกลุ่มวัยทำงานซึ่งมักเป็นคนในครอบครัว 

     

    50 50

    13. ประชุมแกนนำชุมชนและเยาวชนร่วมกัน ครั้งที่ 2

    วันที่ 27 มกราคม 2557 เวลา 09:00 - 16.00 น น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในชุมชน  โดยมีปราชญ์ชาวบ้านเป็นผู้มาให้ความรู้  ชี้แนะ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    กลุ่มเยาวชนมีการพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์  พร้อมทั้งเสนอความคิดในการหามาตรการในชุมชนเพื่อหาทางยุติปัญหายาเสพติด  กับการเป็นหูเป็นตาในการสอดส่องดูแล  สังเกตุผู้ที่มีอาการติดสารเสพติด  พร้อมทั้งวิธีการในการป้องกันตัวเองเมื่อถูกชักชวน

     

    50 53

    14. จัดเวทีประชาคมพร้อมทั้งประชาสัมพันธ์สรุปผลการดำเนินงาน

    วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา 09:00-14.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดการประชุมสรุปผลการดำเนินงานที่ผ่านมา  ปัญหาอุปสรรคจากการดำเนินโครงการ  การเข้าถึงกลุ่มเยาวชนที่มีภาวะเสี่ยงต่อการใช้สารเสพติดในชุมชนเนื่องจากการไม่ได้รับความร่วมมือจากร้านค้า พ่อ แม่ผู้ปกครองบางส่วนไม่ให้ความใส่ใจในการร่วมดูแล แก้ไขปัญหา

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    หลังเสร็จสิ้นการประชุมได้แจ้งให้ผู้เข้ารับการประชุมทราบถึงปัญหาและอุสรรคในการดำเนินโครงการที่ผ่านมา  เนื่องจากการจัดค่ายเยาวชนฯทราบปัญหา  แหล่งที่มาของสารเสพติด การไม่ให้ความร่วมมือของร้านค้า  ประชาชนที่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนจำหน่ายสารเสพติดให้กับกลุ่มเยาวชนในพื้นที่  ได้มีการระดมความคิด  และวิธีการในการจัดการโดยให้เสียงประชาชนในพื้นที่เป็นผู้ออกกติกาสังคมเพื่อบีบบังคับใช้ต่อไป

     

    200 210

    15. ประชาสัมพันธ์ผลงานให้คนในชุมชนสามารถรู้และได้เข้าร่วมกิจกรรม

    วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา 09:00-15.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    มีการประชุมชึ้แจงให้ทราบผลในการดำเนินโครงการ  ปัญหาอุปสรรคจากการดำเนินงานที่ผ่านมา ให้ประชาชนที่มาช่วยกระจายข่าวเพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ให้รับทราบถึงวัตถุประสงค์ของโครงการ โดยมีการจัดทำป้ายไวนิล  และคู่มือโครงการห้วยทรายขาวน่าอยู่  ชุมชนร่วมใจ ห่างไกลโรค  แจกผู้ที่สนใจและมาร่วมกิจกรรม จัดทำมาเพื่อแจกจ่ายจำนวน 200 เล่ม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ประชาชนในพื้นที่ทราบถึงวัตถุประสงค์ในการดำเนินงานโครงการฯ  เป็นตัวช่วยในการประชาสัมพันธ์แบบบอกต่อ  พร้อมทั้งมีการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อหอกระจายข่าว  ไวนิล  และสิ่งพิมพ์ คู่มือชี้แจงโครงการฯ

     

    200 210

    16. ประชุมแกนนำชุมชนและเยาวชนร่วมกัน ครั้งที่ 3

    วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา 09:00-15.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    มีการจัดกิจกรรมสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน  พูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในเรื่องของสารเสพติด  และมาตรการที่ทุกคนอยากให้มีและนำมาปรับใช้ในชุมชนบ้านห้วยทรายขาว

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    กิจกรรมต่างๆ น้องๆ เยาวชน และกลุ่มผู้เข้าร่วมประชุมได้เสนอแนวคิดในการใช้มาตรการทางสังคมเพื่อบำบัดชุมชนให้เข้าสู่สภาวะปกติ  เช่นร้านค้าร้านใดขายบุหรี่ สุรา  หรือยาแก้ไอให้กับวัยรุ่นที่เป็นเยาวชน ควรมีมาตรการลงโทษเช่นตัดสินการกู้เงินกองทุนหมู่บ้าน  การแนะนำบอกต่อไม่ให้ไปใช้บริการทุกประเภท เพื่อให้เป็นบทลงโทษในเบื้องต้น  และได้แนะนำเจ้าหน้าที่สาธารณสุขให้จัดเกรดติดป้ายร้านค้าผ่านเกณฑ์  หรือไมม่ผ่านเกณฑ์เพื่อเป็นการกระตุ้นจิตสำนึกผู้ขาย

     

    50 50

    17. ประชุมแกนนำชุมชนและเยาวชนร่วมกัน ครั้งที่ 4

    วันที่ 7 มีนาคม 2557 เวลา 08:30 น.- 16.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    มีการจัดประชุมชี้แจงผลการดำเนินกิจกรรมที่ผ่านมาตลอดเวลา 4 เดือน ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินกิจกรรม  ตลอดจนความร่วมมือที่ได้รับจากน้องๆ เยาวชนทั้งด้านบวกและด้านลบ
    จัดให้มีการแสดงตัว แสดงความคิดเห็นอย่างเสรี  เปิดโอกาสให้มีเวทีแสดงความคิด  "ใครผิดยกมือขึ้น" เพื่อให้เข้าสู่ค่ายบำบัดฯ คืนคนดีสู่สังคมต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ปัญหาที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่ของน้องๆ เยาวชนในพื้นที่มีแค่ส่วนน้อย  ปัญหาส่วนใหญ่ที่เกิดมักจะเกิดขึ้นกับกลุ่มนอกสถาบันการศึกษา  อันได้แก่กลุ่มวัยรุ่น วัยทำงาน และเยาชนที่จบการศึกษาไปแล้วซึ่งมักจะไม่ค่อยให้ความร่วมมือ  เมื่อมีการเชิญเข้าร่วมกิจกรรมการประชุมก็มักหลีกเลี่ยงไม่ค่อยมาแสดงตัว  ทำให้เข้าถึงได้ยากในการแก้ไขปัญหา

     

    50 50

    18. ประชุมแกนนำชุมชนร่วมกับแกนนำเยาวชน ครั้งที่ 2

    วันที่ 21 มีนาคม 2557 เวลา 08:30-16.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ช่วงเช้า มีการลงทะเบียนผู้เข้าร่วมประชุม และมีการประชุมแกนนำชุมชนร่วมกับแกนนำเยาวชนและผู้รับผิดชอบโครงการ เพื่อสรุปผลและหาแนวทางในการใช้มาตรการ กฏ กติกาของท้องถิ่นในการควบคุม  ป้องกันและป้องปราบ  พร้อมทั้งจัดทำแผนชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    -มีการกำหนดบทลงโทษ สำหรับผู้ที่ฝ่าฝืน เช่นการจำหน่ายบุหรี่ สุรา  แก่เด็กเยาวชน โดยการขึ้นทะเบียนบัญชีร้านค้าที่ตักเตือนครั้งที่ 1 ,2,3 ตามลำดับหากไม่ปฏิบัติตามก็จะแจ้งฝ่ายสาธารณสุข  และฝ่ายปกครองในระดับต่อไป พร้อมทั้งการปลดสิทธิ์ในการใช้สวัสดิการกองทุนหมู่บ้านทุกประเภท  หากไม่ปฏิบัติตามหรือมีการแก้ไขปรับปรุง - ให้มีการจัดตั้งกลุ่มตัวแทน  เยาวชนในการแอบสุ่ม แจ้งชื้อในการล่อซื้อยาแก้ไอตามร้านค้า  และเป็นหูเป็นตาในการสอดส่องดูแลกลุ่มน้ำกระท่อม หรือ 4*100 โดยการผสมยาแก้ไอ ในพื้นที่

     

    70 70

    19. บำรุงรักษาพื้นที่รอบๆป่าต้นน้ำ

    วันที่ 12 เมษายน 2557 เวลา 08:30 น.- 15.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ในภาคเช้าทุกคนมาร่วมกันจัดกิจกรรมการพัฒนาบริเวณป่าต้นน้ำเพื่อเตรียมสถานที่รองรับกิจกรรมการท่องเที่ยวในวันสงกรานต์  พร้อมทั้งเพื่อให้เป็นสถานที่พักผ่อนในช่วงวันหยุดแก่คนในพื้นที่และคนอื่นๆจากภายนอกหมู่บ้าน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ประชาชนที่มาร่วมช่วยกันดำเนินกิจกรรมการพัฒนา โดยมีการทำความสะอาด  ตัดหญ้า  ตัดแต่งต้นไม้  ซ่อมแซมจุดนั่งพักผ่อน และจัดทำสนามมวยน้ำ  เพื่อรองรับกิจกรรมในวันสงกรานต์ที่จะถึง

     

    50 78

    20. กลุ่มเยาวชนร่วมกันทำความสะอาดพื้นที่สวนสุขภาพ

    วันที่ 15 เมษายน 2557 เวลา 09:00-14.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    กลุ่มเยาวชน และผู้ปกครองร่วมมือกันพัฒนาพื้นที่ลานสุขภาพ  บริเวณหน้า รพ.สต.บ้านห้วยทรายขาว  เพื่อเตรียมการในการจัดกิจกรรมวันกตัญญู รดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ  และทำบุญตักบาตร  ฟังเทศน์ ฟังธรรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ร่วมมือกันจัดกิจกรรมการพัฒนา  จนสวยงามพร้อมที่จะจัดกิจกรรมเนื่องในวันกตัญญู  ทั้งนี้มีการจัดทำป้ายชื่อต้นไม้  การปรับภูมิทัศน์กำจัดวัชพืช  การปลูกต้นไม้เพื่อความสวยงาม ก่อให้เกิดความสามัคคี รักษ์สิ่งที่เป็นสาธารณะประโยชน์ของชุมชน

     

    25 25

    21. จัดกิจกรรมวันกตัญญู ทำบุญตักบาตร ฟังเทศน์ ฟังธรรม รดน้ำขอพรผู้สูงอายุ

    วันที่ 16 เมษายน 2557 เวลา 09:00 น.- 14.30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ช่วงเช้ามีการลงทะเบียนผู้เข้าร่วมกิจกรรม ของประชาชน  เยาวชน ผู้สูงอายุ และกลุ่มผู้นำชุมชน มีการทำบุญ  ฟังเทศน์ ฟังธรรมจากพระนักเทศน์วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย จ.ชุมพร  และมีการทำบุญตักบาตร ทานอาหารเที่ยงร่วมกัน ช่วงบ่ายมีกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัวโดยมีการรดน้ำขอพร  แจกของชำร่วยแก่ผู้สูงอายุ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    การได้ฟังการเทศนาจากพระ  และการได้รับพรจากผู้ใหญ่ในเทศกาลสำคัญ  เป็นการสร้างความสัมพันธ์ ความผูกพัน สร้างจิตสำนึกให้เกิดความห่วงใย  ห่วงหาอาทร ช่วยกันดูแลห่วงใยซึ่งกันและกันของคนในชุมชน

     

    100 85

    22. ประกวดบ้าน แข่งขันการจัดทำบัญชีครัวเรือน การปลูกผักปลอดสารพิษ การประพฤติตัวช่วยเหลือสังคม

    วันที่ 25 เมษายน 2557 เวลา 08:30-16.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ออกตรวจ เยี่ยมบ้านเพื่อติดตามกิจกรรมการจัดแข่งขันบ้านเรือนสะอาด สวยงาม ปลอดโรค ปลอดยาเสพติด และตั้งกรรมการเพื่อพิจารณาตัดสินครัวเรือนที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ประชาชนมีความตื่นตัวในการร่วมกิจกรรม  มีการสมัครเข้าแข่งขันประกวดบ้าน  เพื่อชิงเงินรางวัล และเกียรติบัตร โดยในการตัดสินมีการจัดตั้งกรรมการให้คะแนนประกอบด้วยผู้ใหญ่บ้าน  ผู้ช่วยฯ อสม. ครูอนามัย  เจ้าหน้าที่สาธารณสุข  สมาชิก อบต. โดยมีการแบ่งเกณฑ์การให้คะแนนออกเป็นหลายด้านอาทิ  ภายนอกเช่นผักสวนครัว รั้วกินได้  การไไม่มีแหล่งรังโรค ปลอดลูกน้ำยุงลาย การปลูกไม้สวยงาม การจัดทำป้ายชื่อบ้าน  / ภายในได้แก่ การสุขาภิบาลถูกหลักสุขอนามัย นอนกางมุ้ง  การกำจัดขยะ  การไม่มีสิ่งเสพติดในครัวเรือน มีการมอบเกียรติบัตร  โลห์  และเงินรางวัล  เพื่อเป็นขวัญกำลังใจในการร่วมกิจกรรม 

     

    250 265

    23. ประชุมร่วมกับ สจรส.มอ.

    วันที่ 18 พฤษภาคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบโครงการ  นำหลักฐานการดำเนินกิจกรรมมาตรวจสอบกับเจ้าหน้าที่พี่เลี้ยงผู้ติดตามโครงการ  เพื่อสรุปผลการดำเนินงาน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    กิจกรรมบางกิจกรรมยังไม่เสร็จสมบูรณ์  เกิดความล่าช้า  ขอขยายเวลาเพื่อดำเนินกิจกรรมต่อให้เสร็จสิ้นภายใน พค.57

     

    1 1

    24. ประชุมสรุปบทเรียน และผลการดำเนินงานโครงการให้ประชาชน และผู้เกี่ยวข้องในชุมชนทราบเพื่อหาแนวทางต่อยอด

    วันที่ 20 พฤษภาคม 2557 เวลา 09:00-15.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เยาวชนและประชาชน  ม.1 ตำบลสองพี่น้อง  จำนวน 85 คนมาร่วมกิจกรรมการสรุปผลโครงการ ปัญหาอุปสรรคและแนวทางแก้ไข  เพื่อต่อยอดโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลที่ได้จากการสรุปผลงานโครงการ  ในเรื่องของการมีส่วนร่วมในกิจกรรมส่วนใหญ่จะเป็นประชาชนทั่วไป  และนักเรียนเยาวชน  แต่ได้รับความร่วมมือจากกลุ่มเยาวชนที่อยู่นอกสถานศึกษาค่อนข้างน้อย  พยายามหลบเลี่ยง นัดหมายแล้วไม่มาตามนัดทำให้ผลที่ตั้งใจในการดำเนินกิจกรรมบางกิจกรรมไม่เป็นไปตามความคาดหวังเท่าที่ควร  แต่ก็ถือว่าทุกกิจกรรมประสบความสำเร็จ ประชาชนส่วนใหญ่ตื่นตัวให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมในกิจกรรมชุมชน

     

    250 85

    25. จัดทำรายงานสรุปปิดโครงการ

    วันที่ 23 พฤษภาคม 2557 เวลา 09:00-13.30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบโครงการและเจ้าหน้าที่การเงิน  มาร่วมกันจัดทำสรุปรายงาน  งวดที่ 2 และตรวจสอบหลักฐานเอกสาร พร้อมนำรูปกิจกรรมลงในเว็ปไซต์ 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    กิจกรรมการดำเนินโครงการเสร็จสิ้นครบทุกกิจกรรม  นำหลักฐานพร้อมภาพถ่ายกิจกรรมมาสรุปผล  และบันทึกรายงานลงเว็ปไซต์  เพื่อรายงานผลการดำเนินงานต่อ สสส.

     

    2 2

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

     

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 1.เพื่อสร้างองค์ความรู้ให้กับชุมชนเพื่อลดปัญหายา เสพติดในกลุ่มเยาวชน
    ตัวชี้วัด : 1.1 คนในชุมชนมีความรู้ ตระหนักถึงพิษภัยและผลกระทบของ ยาเสพติดเพิ่มขึ้น 1.2 เกิดการ ลด ละ เลิก ยาสูบไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 1.3วัยรุ่นเข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้เท่าทันกันสถานการณ์ของสังคม รู้เท่าทันยาเสพติด และอบายมุข
    • คนในชุมชนมีความรู้  ความเข้าใจ  ตระหนักถึงโทษและพิษภัยของยาเสพติดเพิ่มขึ้น
    • กลุ่มผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งในส่วนของประชาชน และเยาวชนที่สูบบุหรี่เห็นถึงโทษและพิษภัยของการสูบบุหรี่  มีความต้องการเลิกสูบบุหรี่เพิ่มมากขึ้น
    • วัยรุ่น เยาวชนรู้เท่าทันสถานการณ์ยาเสพติดในสังคม พร้อมเป็นหูเป็นตาในการสำรวจ ตรวจสอบผู้ที่สงสัยติดยาเสพติด  และช่วยดูแลร้านค้าในชุมชนที่อาจเป็นแหล่งค้ายาเสพติด
    2 2. เพื่อให้กลุ่มเยาวชนเกิดการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์สร้างสรรค์ผลงานร่วมกับชุมชน
    ตัวชี้วัด : 2.1 เกิดกลุ่มคนทำดีมีการช่วยเหลือกิจกรรมในชุมชน อย่างต่อเนื่อง 2.2กลุ่มเยาวชนมีกิจกรรมทางเลือกที่เสริมรายได้ให้กับตนเองและครอบครัวอย่างต่อเนื่องและเป็นจริง
    • ชุมชนมีการเชิดชู  และให้รางวัลแก่คนทำดี เสียสละตนเองเพื่อช่วยเหลือสังคม  เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีในชุมชนต่อไป
    • เยาวชนและประชาชนมีการดูแลบ้าน  จัดหากิจกรรมที่สามารถเสริมรายได้ เช่นการปลูกผักสวนครัว รั้วกินได้ , การปลูกพืชผักเพื่อจำหน่ายเป็นผักปลอดสารพิษในชุมชน
    3 3.เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนในการหาแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนท้องถิ่น
    ตัวชี้วัด : 3.1คนในชุมชนเกิดกระบวนการคิดร่วมกัน มีกฎ กติกาของท้องถิ่น และมีแผนการทำกิจกรรมร่วมกัน 3.2มีพื้นที่สาธารณะในการพูดคุยและแลกเปลี่ยนเพื่อแก้ไขปัญหาครอบครัว
    • มีการจัดประชุมระดมความคิดเพื่อหาทางแก้ไขปัญหาในชุมชน ในส่วนของมาตรการควบคุม ป้องกันการกระทำผิดเช่นกำหนดบทบาทลงโทษหากมีการฝ่าฝืนจำหน่ายบุหรี่ สุราให้แก่เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ,การจำหน่ายยาแก้ไปน้ำเชื่อมแก่กลุ่มวัยรุ่น
    • มีการจัดพื้นที่ลานสุขภาพ  ลานออกกำลังกายในชุมชน ,มีการร่วมมือ ร่วมใจในการจัดทำสวนสมุนไพรชุมชน ,การดูแลป่าต้นน้ำเพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยว พักผ่อนหย่อนใจในพื้นที่
    4 เพื่อติดตามโครงการและประเมินผล
    ตัวชี้วัด : ผู้รับผิดชอบและทีมงานมีความรู้เข้าใจและจัดทำรายงานโครงการได้ถุกต้อง
    • กรรมการผู้รับผิดชอบโครงการมีความรู้ ความเข้าใจในการจัดทำรายงานเพื่อเสนอต่อ สสส.และนำรายงานผลการดำเนินงานสรุปต่อที่ประชุมหมู่บ้านเพื่อเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาและต่อยอดโครงการฯ

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) 1.เพื่อสร้างองค์ความรู้ให้กับชุมชนเพื่อลดปัญหายา  เสพติดในกลุ่มเยาวชน (2) 2.  เพื่อให้กลุ่มเยาวชนเกิดการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์สร้างสรรค์ผลงานร่วมกับชุมชน (3) 3.เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนในการหาแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนท้องถิ่น (4) เพื่อติดตามโครงการและประเมินผล

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    ส่วนที่ 3 ประเมินคุณค่าโครงการ

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ

    ชื่อโครงการ โครงการบ้านห้วยทรายขาวน่าอยู่ ชุมชนร่วมใจ ห่างไกลโรค

    รหัสโครงการ 56-00242 รหัสสัญญา 56-00-0378 ระยะเวลาโครงการ 1 เมษายน 2556 - 31 พฤษภาคม 2557

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นการคุณค่าที่เกิดจากโครงการในมิติต่อไปนี้

    • ความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพและนวัตกรรมเชิงระบบสุขภาพชุมชน
    • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีผลต่อสุขภาวะ
    • การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ
    • ผลกระทบเชิงบวกและนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาวะชุมชน
    • กระบวนการชุมชน
    • มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่

    1. เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้ใหม่ / องค์ความรู้ใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สิ่งประดิษฐ์ / ผลผลิตใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. กระบวนการใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. วิธีการทำงาน / การจัดการใหม่

    มีการจัดเวทีให้อสม.ที่มีจิตอาสาร่วมปฏิบัติ งานร่วมกับเจ้าหน้าที่

    รายงานการประชุม

    มีการรับสมัครจิตอาสาต่อไป โดยประสานกับรพ.สต. อื่นๆ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การเกิดกลุ่ม / โครงสร้างในชุมชนใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. แหล่งเรียนรู้ใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    99. อื่นๆ

     

     

     

    2. เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล

    ชุมชที่เข้าร่วมโครงการสามารถนำความรู้ไปปรับใช้กับครอบครัวตนเอง ในเรื่องการอยู่อย่างเข้าใจกัน มีความรับผิดชอบต่อตนเองและครอบครัวในเรื่องความรักและความอบอุ่น

    รายงานสรุปโครงการ

    ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้การดูแลต่อเนื่อง เช่นรพ.สต.และอบต. เป็นต้น

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การบริโภค

    มีการส่งเสริมให้ปลูกพืชสมุนไพรและต้นไม้ที่เป็นอาหารเพิ่มเติมเมื่อทำความสะอาดพื้นที่สาธารณะ และป่าต้นนำ้ที่สามารถนำนำ้มาใช้กับต้นไม้ได้

    รานงานการประชุมและสรุปผลโครงการ

    การใช้เวทีประชุมอสม.ในการสร้างความตระหนักของแกนนำสุขภาพเพื่อนำไปบอกต่อ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การออกกำลังกาย

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. การลด ละ เลิก อบายมุข เช่น การพนัน เหล้า บุหรี่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การลดพฤติกรรมเสี่ยง เช่น พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การขับรถโดยประมาท

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. การจัดการอารมณ์ / ความเครียด

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. การดำรงชีวิต / วิถีชีวิต เช่น การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น / สมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเอง

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    8. พฤติกรรมการจัดการตนเอง ครอบครัว ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    9. อื่นๆ

     

     

     

    3. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. กายภาพ เช่น มีการจัดการขยะ ป่า น้ำ การใช้สารเคมีเกษตร และการสร้างสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนที่ถูกสุขลักษณะ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สังคม เช่น มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ลดการเกิดอุบัติเหตุ ครอบครัวอบอุ่น การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อเด็ก เยาวชน และกลุ่มวัยต่าง ๆ มีพื้นที่สาธารณะ/พื้นที่ทางสังคม เพื่อเอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชน มีการใช้ศาสนา/วัฒนธรรมเป็นฐานการพัฒนา

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. เศรษฐกิจสร้างสรรค์สังคม /สร้างอาชีพ / เพิ่มรายได้

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการบริการสุขภาพทางเลือก และมีช่องทางการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. อื่นๆ

     

     

     

    4. การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. มีกฎ / กติกา ของกลุ่ม ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. มีมาตรการทางสังคมของกลุ่ม ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. มีธรรมนูญของชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. อื่นๆ เช่น ออกเป็นข้อบัญญัติท้องถิ่น ฯลฯ

     

     

     

    5. เกิดกระบวนการชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. เกิดการเชื่อมโยงประสานงานระหว่างกลุ่ม / เครือข่าย (ใน และหรือนอกชุมชน)

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเรียนรู้การแก้ปัญหาชุมชน (การประเมินปัญหา การวางแผน การปฏิบัติการ และการประเมิน)

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ประโยชน์จากทุนในชุมชน เช่น การระดมทุน การใช้ทรัพยากรบุคคลในชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกลุ่มและชุมชนที่เกิดจากโครงการอย่างต่อเนื่อง

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. เกิดกระบวนการจัดการความรู้ในชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. เกิดทักษะในการจัดการโครงการ เช่น การใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ การทำแผนปฏิบัติการ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. อื่นๆ

     

     

     

    6. มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเอง / กลุ่ม / ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเห็นประโยชน์ส่วนรวมและส่วนตนอย่างสมดุล

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย และพอเพียง

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. ชุมชนมีความเอื้ออาทร

    มีการเยี่ยมเยียนเมื่อเกิดปัญหาของครอบครัวของประชาชนในชุมชนและการชายเหลือเมื่อร้องขอหรือมีงานบุญ โดยไม่ต้องใช้ค่าใช้จ่ายทกคนใหความร่วมมือดี

    ภาพการมีส่วนร่วม

    ประสานกับผู้ที่เกี่ยวข้องทั่้งเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลและเครือข่ายสุขภาพในการให้การดูแลที่ต่อเนื่อง โดยเฉพาะอสม.ที่อยู่ในชุมชนที่ให้การประสานที่ดี

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. มีการตัดสินใจโดยใช้ฐานปัญญา

    ชุมชนมีผู้นำดีทั้งผู้ใหญ่บ้านและนายกอบต.ที่เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมสาธารณะด้วยตนเองเป็นส่วนใหญ่ทำให้การตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆจะผ่านไปได้ด้วยดี เป็นกันเอง

    ภาพถ่ายและรายงานการประชุม

    แกนนำชุมชนที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมต่าง ๆสามารถอาศัยบารมีของผู้นำในการพัฒนาต่อยอดกิจกรรมได้เป็นอย่างดี

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. อื่นๆ

     

     

     

    โครงการบ้านห้วยทรายขาวน่าอยู่ ชุมชนร่วมใจ ห่างไกลโรค จังหวัด ชุมพร

    รหัสโครงการ 56-00242

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นางอำพันธ์ ชะนะแดง 084-7130410 )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด