แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


“ เยาวชนต้นกล้ารักษ์สะอาด ”

ชุมชนต้นหาด

หัวหน้าโครงการ
นายนิยุทธิ์ จันทราทิพย์

ชื่อโครงการ เยาวชนต้นกล้ารักษ์สะอาด

ที่อยู่ ชุมชนต้นหาด จังหวัด นครศรีธรรมราช

รหัสโครงการ 56-01505 เลขที่ข้อตกลง 56-00-0947

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 กันยายน 2556 ถึง 30 กันยายน 2557


กิตติกรรมประกาศ

"เยาวชนต้นกล้ารักษ์สะอาด จังหวัดนครศรีธรรมราช" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ชุมชนต้นหาด

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
เยาวชนต้นกล้ารักษ์สะอาด



บทคัดย่อ

โครงการ " เยาวชนต้นกล้ารักษ์สะอาด " ดำเนินการในพื้นที่ ชุมชนต้นหาด รหัสโครงการ 56-01505 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 กันยายน 2556 - 30 กันยายน 2557 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 211,500.00 บาท จาก เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 100 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

 

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. 1.เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนเพื่อการจัดการขยะ
  2. 2.เพื่อสร้างกลุ่มเยาวชนรักษ์สะอาดจัดการขยะอย่างเป็นระบบ

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

     


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. ประชุมกรรมการ

    วันที่ 24 กันยายน 2556 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ประธานแจ้งคณะกรรมการให้ทราบถึงการได้รับงบประมาณจาก ส.ส.ส
    2. จัดทำปฏิทินโครงการ
    3. คัดสรรและรับสมัครยุวชนเป็นสมาชิกโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้คณะกรรมการที่มีคุณภาพเน้นการทำงานร่วมกันเป็นทีมจำนวน 15 คน และได้ร่วมกันคัดสรรยุวชนเพื่อเข้าร่วมโครงการ

     

    15 15

    2. ประชุมกรรมการ ครั้งที่2

    วันที่ 11 ตุลาคม 2556 เวลา 10:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประธานแจ้งรายชื่อเยาวชนแก่ คณะกรรมการ และให้รับทราบถึงวันประชุม-อบรม กลุม่เยาวชนในวันที่ 12 ตุลาคม 2556 เพื่อให้เยาวชนเข้าใจในบทบาท หน้าที่ของตนเอง  คณะกรรมการสอบถามประธานว่าแบบสอบถาม-สำรวจ นำมาจากไหน และจำนวนวันลงพื้นที่ และค่าใช้จ่ายเท่าไร  ประธานชี้แจง ดังนี้ิ แบบสอบถามข้อมูลนำมาจากการค้นคว้า จากอินเตอร์เน็ต และได้เอามาให้คณะกรรมการดู ต่อไปประธานชี้แจงว่าจะเริ่มทำกิจกรรมตั้งแต่วันที่12-19ตุลาคม 2556 โดยเริมประชุมอบรมแก่เยาวชนในวันที่ 12 ตุลาคม เพื่อให้เยาวชนเข้าใจในแบบสอบถาม ส่วนการลงพื้นที่กำหนดไว้7วันตั้งแต่13-19ตุลาคม2556  ประธานแจ้งเรื่องบในกิจกรรมนี้ว่ามีค่าอาหาร เครื่องดื่ม แก่เยาวชนที่ลงสำรวจ ที่ประชุมเข้าใจในคำอธิบายของประธาน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เยาวชนเข้าใจในบทบาท หน้าที่ของตนเอง  คณะกรรมการสอบถาม และจำนวนวันลงพื้นที่ และค่าใช้จ่ายเท่าไร ใช้แบบสอบถามข้อมูลนำมาให้ เริ่มทำกิจกรรมตั้งแต่วันที่ 12-19 ตุลาคม 2556 โดยเริมประชุมอบรมแก่เยาวชนในวันที่ 12 ตุลาคม เพื่อให้เยาวชนเข้าใจในแบบสอบถาม ส่วนการลงพื้นที่กำหนดไว้ 7วันตั้งแต่ 13-19 ตุลาคม2556  ประธานแจ้งเรื่องบในกิจกรรมนี้ว่ามีค่าอาหาร เครื่องดื่ม แก่เยาวชนที่ลงสำรวจ ที่ประชุมเข้าใจในคำอธิบายของประธาน

     

    15 15

    3. จัดทำข้อมูลขยะ

    วันที่ 12 ตุลาคม 2556 เวลา 10.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    มีกรรมการเยาวชนและกลุ่มแม่บ้านรวม 77 คน ร่วมกันกำหนดบทบาทหน้าที่ของเยาวชนในการลงสำข้อมูลข้อมูลครัวเรือน แนะนำเอกสาร ทำตัวอย่างให้ฝึกทำแบบสำรวจเพื่อให้เกิดความเข้าใจ และมีเอกสารผู้เข้าร่วมโครงการติดไว้ตามบ้าน และรณรงค์สถานที่ปลอดเหล้าและบุหรี่ปิดไว้ที่ครัวเรือนบ้านร่วมโครงการในการสำรวจ กำหนดลงสำรวจ ๗ วัน ตังแต่วันที่ 13 ตุลาคม ถึง 19 ตุลาคม 2556  พร้อมทั้งแนะนำกลุ่มเยาวชนแก่กลุ่มแม่บ้าน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เด็กและเยาวชน กรรมการ มีความเข้าใจในการจัดทำฐานข้อมูลสำรวจ ถ้าพบปัญหาขณะสำรวจมีปราชญ์ชุมชน ผู้รู้คอยให้คำแนะนำในการจัดทำฐานข้อมูลที่ถูกต้อง ประทับใจในความร่วมไม้ร่วมมือของกลุ่ม ร่วมกันสำรวจ ได้เห็นความสำคัญของปัญหาขยะในชุมชน ยินดีเป็นตัวแทนรณรงค์ลดขยะในชุมชน

     

    65 77

    4. ลงพื้นทีสำรวจข้อมูล

    วันที่ 13 ตุลาคม 2556 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เยาวชนแบ่งกลุ่มเป็น10กลุ่ม 10โซน โดยแบ่งการรับผิดชอบกลุ่มล่ะ20ครัวเรือนโดยมีเยาวชนเข้าร่วม 53 คน จากนั้นเยาวชนได้ลงสำรวจพื้นที่เป็นกลุ่มได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากกลุ่มแม่บ้านและเยาวชนยังได้ชักชวนเข้าร่วมโครงการ พร้อมทั้งได้ร่วมกันติดป้าย ลด ละ เลิก บุหรี่-เหล้าไว้ตามบ้านเรือนที่ลงสำรวจ และยังได้ยุวชนเข้าร่วมโครงการอีก 30 คน เห็นได้ชัดว่าเยาวชนที่ลงสำรวจได้รับการต้อนรับและร่วมมือเป็นอย่างดีจากกลุ่มเป้าหมาย โดยมี 194 ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    การลงพื้นที่สำรวจข้อมูลขยะได้รับผลสำเร็จ ได้รับความร่วมมือจากกลุ่มเป้าหมายเป็นอย่างดี เยาวชนได้สร้างสัมพันธภาพ แนะนำตัว และชักชวนช่วยกันจัดการขยะ นัดแนะให้มาเรียนรู้การจัดการขยะที่จุดรวมทำกิจกรรมของชุมชน มี 194 ครัวเรือน เข้าร่วม กระจายทั่วชุมชน ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ได้ร่วมมือกันทำงานอย่างมีความสุข

     

    65 53

    5. ประชุมกรรมการ ครั้งที่3

    วันที่ 1 พฤศจิกายน 2556 เวลา 10:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.ประธานแจ้งให้ทราบ 1.1 การลงพื้นที่สำรวจข้อมูลขยะของกลุ่มเยาวชนจำนวน50คน  1.2 การลงพื้นที่ของลุ่มเยาวชนได้เชิญชวนกลุ่มแม่บ้านเข้าร่วมโครงการ หน้าบ้าน-น่ามอง  2. ประธานเสนอเรื่องให้ที่ประชุมรับทราบ  2.1 แจ้งผลค่าใช้จ่าย  3.ที่ประชุมรับทราบ 3.1 จัดตั้งเวทีประชาคมการประชุมร่วมกันของคณะกรรมการโครงการกลุ่มเยาวชนของโครงการและคณะกรรมการชุมชน 3.2 ประธานและเหรัญญิกรายงานค่าใช้จ่าย ในการประชุมครั้งต่อไป  -ที่ประชุมลงมติ- อนุมัติ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    มีการลงพื้นที่สำรวจและร่วมกันดำเนินงานตามโครงการ โดยมีแกนนำเยาวชน คือ นายธีรโชติ แก้วหนู เป็นตัวแทนติดตามผลการทำข้อมูลตามบ้าน แกนนำได้เสนอข้อคิดเห็นเพิ่มเติมการลงพื้นที่ และเตรียมกิจกรรมในครั้งต่อไป โดยมอบหมายการทำงานให้คณะกรรมการทุกคนได้ช่วยดำเนินงานตามบทบาทหน้าที่ ช่วยประสานงาน บอกชาวบ้า และกระตุ้นให้มีการทำงานครบทั้งชุมชน

     

    15 15

    6. วิเคราะห์ข้อมูลขยะและเลือกคณะกรรมการเยาวชนต้นกล้า

    วันที่ 10 พฤศจิกายน 2556 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    กลุ่มเยาวชนได้คัดเลือกตัวแทนของแต่ละกลุ่มจำนวน 10 คนออกมากล่าวรายงานการลงพื้นที่สำรวจข้อมูลขยะของแต่ล่ะกลุ่มคณะกรรมการโครงการได้ทำการคัดเลือกประธานและคณะกรรมการกลุ่มเยาวชนเพื่อดำเนินงานประสานงานกับคณะกรรมการโครงการดังมีรายงานดังนี้  1.นายธีรโชติ แก้วหนู(ประธานเยาวชน)  2.นายศรเพชร วงศ์ขาว(รองประธาน)  3.น.ส.ศจี มัดโต๊ะสน(เลขานุการ)  4.น.ส.ดารณี มัดโต๊ะสน(เหรัญญิก)  5.นายธนพล หนูปาน(กรรมการ)  6.นายทินกร ดอนสกุล(กรรมการ)  7.นายศาลประสิทธ์ น้ำทอง(กรรมการ)  8.นายฉัตรชัย บัวงาม(กรรมการ)  9.นายนิพนธ์ จันทราทิพย์(กรรมการ) 10.นายนิรยุทธ์ จันทราทิพย์(กรรมการ)

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะทำงาน เด็กและเยาวชน จำนวน 56 คน ร่วมกันเสนอความคิดเห็นข้อมูลขยะที่มีมากตามซอย และตามริมน้ำ ให้มีการจัดกิจกรรมนำขยะออกมาให้หมด ได้มากเท่าไหร่ยิ่งดีมาก มีรางวัลคนทำดีให้เด็ก ได้รับการสนับสนุนเรือจากเทศบาลเมืองปากพนังเพื่อพาเด็ก เยาวชนและกรรมการไปเรียนรู้เรื่องการจัดการขยะที่ตำบลปากนคร เดินทางโดยทางเรือ และได้เลือกคณะกรรมการเยาวชนต้นกล้า มีประธานกลุ่ม และแกนนำตามซอยครอบคลุมทั้งชุมชน มีคณะกรรมการชุมชนเป็นพี่เลี้ยง ให้มีการดำเนินงานจัดการขยะได้ตามเป้าหมาย ได้ฐานข้อมูลแต่ละครัวเรือนเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการจัดการขยะ กลุ่มเยาวชนได้ชักชวนกลุ่มแม่บ้านเข้าร่วมกิจกรรมของโครงการ

     

    65 56

    7. ประชุมกรรมการ ครั้งที่4

    วันที่ 4 มกราคม 2557 เวลา 10:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะกรรมเข้าร่วมการประชุมและได้รับทราบถึงปัญหาที่เกิดขึ้นและได้ร่วมปรึกษาเพื่อแนวทางการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นโดยคณะกรรมการช่วยกันจัดทำเอกสารเพื่อรายงานผลการคืบหน้าของโครงการต่อ สสส. และร่วมกันกำหนดกิจกรรมการทำงานในโครงการเพิ่มเติม แบ่งงานกันไปติดตามตามซอยและริมน้ำเพื่อติดตามโครงการให้ครอบคลุมทั้งชุมชน และประสานงานกับเทศบาลเมืองปากพนังให้เข้ามาร่วมติดตามผลร่วมกับชุมชนในครั้งต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะกรรมการรับทราบถึงปัญหาและได้ร่วมกันหาวิธีแก้ไขโดยช่วยกันสรุปผล ทบทวน ติดตามการทำงาน และแบ่งหน้าที่กันไปตามกลุ่ม ตามซอยลงติดตาม แล้วมาสรุปผลร่วมกันอีกครั้ง เน้นให้มีคณะกรรมการเด็กและเยาวชนเข้ามาเป็นแกนนำหลักที่สำคัญ เพื่อให้เกิดผลการดำเนินงานตามสัญญาโครงการ ได้ร่วมปรึกษาเพื่อแนวทางการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นโดยคณะกรรมการช่วยกันจัดทำเอกสารเพื่อรายงานผลการคืบหน้าของโครงการต่อ สสส. และร่วมกันกำหนดกิจกรรมการทำงานในโครงการเพิ่มเติม แบ่งงานกันไปติดตามตามซอยและริมน้ำเพื่อติดตามโครงการให้ครอบคลุมทั้งชุมชน และประสานงานกับเทศบาลเมืองปากพนังให้เข้ามาร่วมติดตามผลร่วมกับชุมชนในครั้งต่อไป

     

    15 15

    8. ร่วมแลกเปลี่ยนความรู้ในเรื่องการกำจัดขยะมูลฝอย เชิญวิทยากรมาสาธิตการคัดแยกขยะ และการจัดการขยะในครัวเรือน ให้นำมาทำปุ๋ย

    วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา 09:00-16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประธานโครงการกล่าวนำเสนอผลการทำงานที่ผ่านมา และบอกวันนี้ เพื่อเรียนรู้การจัดการขยะ เชิญวิทยากรมช่วยกันเตรียมอุปกรณ์ร่วมปกิบัติาช่วยเพิ่มเติมในวันนี้ จากนั้นให้เด็กแบ่งกลุ่มทำ และทบทวนการทำ ติดตามผล คนสนใจมาก เด็กมีความสุข แกนนำเด็กช่วยกันทุกคนเลย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. เรียนรู้การคัดแยกขยะ 2.ได้เรียนรู้การนำขยะมาทำปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพจากเศษอาหารในครัวเรือน เศษผักผลไม้ แกนนำและคนในชุมชนสามารถจัดการขยะในครัวเรือนมาใช้ประโยชน์เป็นปุ๋ยได้ นำไปรดผัก ล้างห้องน้ำ ใส่ร่องน้ำไม่ให้เหม็นได้
    2. การทำปุ๋ยหมักจากวัสดุในท้องถิ่น โดยมีวิทยากรจากเกษ๖ร และ กศน.
      คือ คุณลำดวน คล้ายโสม เรื่องการคัดแยกและกำจัดขยะ คุณสุรศักดิ์ คงช่วย สอนเรื่องการทำน้ำหมักชีวภาพ คุณถาวร เรืองดิษฐ์ สอนการทำปุ๋ยหมัก
      วิทยากรคนที่ 1 คุณลำดวนอบรมก่อน พูดขั้นตอนให้เข้าใจเรื่องการทำอย่างถูกวิธี นำขยะสาธิต ร่วมปฏิบัติการคัดแยกก่อนมาทำปุ๋ย แยกขยะเปียก ขยะแห้ง ขยะเคมี และขยะมีค่า เมื่อคัดแยกเสร็จ ก็นำขยะที่ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้ทิ้งถังขยะ ส่วนขยะที่มีประโยชน์ก็นำมาด้วยกัน โดยได้นำเศษอาหาร เศษผัก เศษผลไม้ มาททำน้ำหมักชีวภาพ วิทยากรช่วยสามคน เด็กช่วยกับผู้ใหญ่รวมแล้ว 81 คน นำขยะที่มีค่าแยกรอการขายเป็นทุนให้เด็ก สอนให้เห็นถึงคุณประโยชน์ของขยะ ที่ดูไม่มีค่าแต่มาทำให้เห็นถึงคุณค่าของขยะชัดเจน ทำการแยกขยะในครัวเรือนเป็นตัวอย่างในการอบรมครั้งนี้ หลังจากนั้นให้เยาวชนเอาขยะมาจากบ้าน สาธิตการคัดแยกด้วยตนเอง แบ่งเป็นกลุ่ม เพื่อได้เรียนรู้และเข้าใจอย่างถูกต้อง ช่วยกันดูแล หลังจากนั้น วิทยากร 2 คุณสุรศักดิ์ คงช่วย อบรมเรื่องการทำน้ำหมักชีวภาพ ลงมือทำ ให้เข้าใจประโยชน์และวิธีการทำ เริ่มจากนำเศษอาหาร ผัก ผลไม้มาใส่รวมในถังหมัก จากนั้นเอากากน้ำตาลผสมน้ำคนให้เข้ากัน แล้วเติมสารเร่ง พด ลงไป กวนให้เข้ากันดี ปิดฝาไว้ เขียนชื่อเด็กบนฝาไว้ เพื่อให้เด้็กรับผิดชอบ ทิ้งไว้ 20 วันจึงได้น้ำหมักที่ดี จากนั้นช่วยกันทำตามแบบแผนที่อบรม โดยให้เด็กทำสาธิตให้วิทยากรดู เพื่อการเข้าใจได้ทำต่อที่บา้นได้ถูกต้อง ถูกวิธี และได้น้ำหมักไปใช้ประโยชนืได้อย่างแท้จริง
      วิทยากรคนที่ 3 คุณถาวร เรืองดิษฐ์ ได้อบรมขั้นตอน วิธีการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ ใหเห็นถึงคุณประดยชน์และวิธีการทำ อย่างเป็นขั้นตอน เริ่มจากการเอากากน้ำตาลผสมน้ำเตรียมเอาไว้ แล้วเทขุยมะพร้าวรองพื้นเป็นรูปสี่เหลี่ยม ตามด้วยดินและมูลสัตว์ ทำเป็นชั้นและพรหมด้วยกากน้ำตาลจนชุ่ม แล้วเริ่มชั้นใหม่ด้วยขุยมะพร้าง ชั้นดิน ชั้นมูลสัตว์และพรหมด้วยกากน้ำตาลให้ชุ่มปิดด้วยแกรบอีกชั้นหนึ่ง แล้วคลุมผ้าไว้ จากนั้นอีกสองวันมาเปิดผ้ายาง คลุกเล้าให้เข้ากัน คลุมไว้ 1 เดือน จึงได้ปุ๋ยชีวภาพสมบูรณ์ โดยน้ำและกากน้ำตาลต้องผสมสารเร่ง พด ไปด้วย เพื่อเพิ่มการย่อยสลายของมูลสัตว์และขุยมะพร้วและดินด้วยกัน หลังจากนั้นกลุ่มเยาวชนปฏิบัติร่วมกันตามขั้นตอนอีกครั้ง วิทยากรให้คำแนนะนำทุกขั้นตอน หลังจากการอบรมและลงมือปฏิบัติแล้ว ได้ให้ถังหมัก ปุ๋ย อุปกรณ์ ให้กลุ่มเยาวชน และแม่บ้านทุกคน เพื่อนนำไปทำที่บ้าน โดยมีกรรมการและเยาวชนลงพื้นที่ตามบ้านติดตามต่อไป

     

    100 81

    9. ประชุมกรรมการ

    วันที่ 24 พฤษภาคม 2557 เวลา 13.00-17.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะกรรมการพูดคุยเพื่อกำหนดวันจัดกิจกรรมต่อเนื่อง แกนนนำชุมชนเข้ามาร่วมเป็นผู้ติดตามโครงการ ให้ผู้รับผิดชอบโครงการรับผิดชอบดำเนินงาน นัดแนะการจัดกิจกรรมสร้างเยาวชนต้นกล้าทุกสัปดาห์ต่อเนื่อง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะกรรมการชี้แจงกำหนดการ วันไหน ทำกิจกรรมอะไรกันบ้าง แจกปฏิทินให้อีกครั้ง มีแกนนำชุมชนมาร่วมช่วยกันทำงาน ให้ชวนเด็กมาร่วมเพิ่มเติม ทำกิจกรรมตามสัญญา ให้ผู้รับผิดชอบโครงการและแกนนำชุมชนช่วยกันทำจนจบงวดที่ 2 กำหนดจัดกิจกรรมในสัปดาห์หน้า ให้เด็กไปบอเด็กมาร่วมกิจกรรมกันทุกอาทิตย์ แบ่งงานกันรับผิดชอบ พี่เลี้ยงให้ข้อมูลการทำงาน และให้ข้อมูลผลกระทบจากการไม่ทำงาน ทุกคนเข้าใจทำตาม

     

    15 15

    10. สร้างเยาวชนต้นกล้าคุณสะอาด

    วันที่ 7 มิถุนายน 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประธานกลุ่มต้นกล้าได้บกเล่าเรื่องงการจัดกิจกรรม และแบ่งงานกันเป็น 5 กลุ่ม สมาชิกกลุ่ม กลุ่มละ 15-20 คน ร่วมกันเล่าเรื่องการจัดการขยะในซอยและในบ้านของตนเอง จากนั้นเดินตามซอยและตามถนน แล้วกลับมารวมกันสรุปผลการจัดการขยะ และนัดแนะการทำงานต่อ นัดในวันที่ 14 มิถุนายน 2557

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    มีกลุ่มผู้นำเยาวชน 5 กลุ่ม มีสมาชิกกลุ่ม กลุ่มละ 15-20 คน รวม 74 คน มีเยาวชนที่ไม่ได้มาร่วมวันนี้มาร่วมเพิ่มเติมอีก เด็กและเยาวชนได้สรุปผลการจัดการขยะ พบว่าตามบ้านมีการเก็บขยะกันบ้างแล้ว ส่วนใหญ่เก็บที่ข้างบ้าน แยกขยะขายได้ไว้ขาย ในบริเวณที่สาธารณะ เด้กและเยาวชนแบ่งกลุ่มกันเดินบอก เก็บ และแยกขยะออกมาใส่ถุงดำ นัดแนะกันทำต่อไปทุกตอนเย็น และมารวมกันอีกครั้งในสัปดาห์หน้า

     

    70 80

    11. สร้างเยาวชนต้นกล้าคุณสะอาด จัดอบรมผู้เข้าร่วมเยาวชนคุณสะอาด แบ่งกลุ่มเด็กเดินตามซอยจัดการขยะ พัฒนาการทำงานเป็นทีม การพัฒนาชุมชน การมีจิตอาสาเพื่อส่วนร่วม

    วันที่ 14 มิถุนายน 2557 เวลา 09:00-16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ให้เด็กมารวมตัวกันที่ศาลาก่อน แล้วชี้แจงการจัดการขยะ แบ่งกลุ่มเด็กเป็น ๕ กลุ่ม ให้เดินเก็บขยะ พร้อมกับบอกประชาชนทุกบ้านให้จัดเก็บขยะไว้คัดแยก และให้นำมารวมกันคัดแยกที่ศาลาชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    มีเด็กที่เป็นผู็นำกลุ่มได้ดี กลุ่มละ ๔ คน ช่วยกันกับผู้ปกครอง และแกนนำชุมชน อสม. เดินจัดเก็บขยะตามซอย แบ่งความรับผิดชอบกันตามซอย มี ๕ ซอย แล้วบอกให้ทุกบ้านช่วยกันนำมาที่ศาลาเพื่อให้เด็กได้เรียนรู้การคัดแยก พบว่าบางบ้านให้ความร่วมมือดี บางบ้านไม่ให้ความร่วมมือ แต่ทุกซอยก้มีขยะมาให้เด็กเรียนรู้ เด็กได้เรียนรู้การคัดแยกจาก อสม. และกรรมการชุมชน แล้วช่วยกันเตรียมเพื่อนำไปใช้ใหม่ นำวัสดุเหลือใช้มาทำให้เกิดประโยชน์ ทุกคนพอใจ บอกว่ามีการรวมตัวกันฝึกเด็กเรื่องนี้ก็ดี เด็กได้กล้าแสดงออก และได้ช่วยชุมชนด้วย

     

    50 74

    12. ประชุมคณะกรรมการ

    วันที่ 15 มิถุนายน 2557 เวลา 09:00-15.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    สรุปกิจกรรมเมื่อวาน ประเมินผลการทำงาน และช่วยกันคิดการจัดกิจกรรมต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สรุปการจัดกิจกรรมเมื่อวาน พบว่าเด็กทำได้ดี มีแกนนำเด็กชัดเจน เด็กได้ทำตามที่บอกไว้ มีข้อเสนอแนะให้เด็กมารวมตัวกันทุกวันหยุด และทำให้ดีกว่านี้ ต่อไปให้เด็กฝึกทำเองโดยไม่ต้องมีวิทยากร และต่อไปให้มีการทำกันเรื่อยๆ บ่อยๆ จะดี ผู้ใหญ่ต้องช่วยเด้กให้ทำกิจกรรมได้ และต่อไปจะต้องเชิหมอนก จากเทศบาลเมืองปากพนังมาให้ได้ เพื่อมาร่วมในการติดตาม เดินตามบ้าน เป็นการประกวดบ้านไปด้วย แบ่งหน้าที่กันช่วยดูแลเด็ก ให้ทำได้ดี แบ่งกันรับผิดชอบเป็นทั้งเด็กและผุ้ใหญ่ ช่วยกันเป็นทีม ช่วยกันจนสำเร็จ นัดประชุมครั้งต่อไป จะได้เตรียมการทำกิจกรรม มอบหมายให้ อสม. ไปประสานงานกับหมอนก เพื่อเข้ามาร่วมเป็นกรรมการด้วย

     

    15 11

    13. ลงพื้นที่ติดตามชุมชน

    วันที่ 21 มิถุนายน 2557 เวลา 09:00-16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ในตอนเช้าเริ่มจากการระดมเด็กและเยาวชนทั้งหมดมาพูดคุยตามกลุ่ม มี 5 กลุ่ม สมาชิกกลุ่มทำงานเป็น 5 โซน แบ่งกันลงพื้นที่ติดตามเพื่อเลือกบ้านตัวอย่าง นำขยะมาเรียนรู้การคัดแยก มีครูแดงจาก กศน.ปากพนัง เป็นวิทยากรสอนการคัดแยก ตอนบ่าย ทุกคนมารวมกันเล่าเรื่อง เสนอบ้านตัวอย่าง เจ้าของบ้านทุกบ้านพร้อมสมาชิกมาร่วม โดยมีหมอนก จากเทศบาลเมืองปากพนัง เป็นผู้มาร่วมในการให้ข้อคิดเห็น หลังจากนั้นหมอนก ได้ร่วมเดินติดตามท่ีบ้านอีกรอบ เดินครบทุกบ้าน แล้วมาสรุปกันที่ศาลารวมกันอีกครั้ง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ช่วงเช้าเด็กและเยาวชนได้เดินติดตามและนำข้ฒุลการติดตามมาเขียนสรุปได้ตามกลุ่ม วาดภาพกลุ่มของตนเองได้ มีกิจกรรมการสอนและสันทนาการโดยแกนนำเด็กกับครูแดง เกิดความกล้า และมีความรู้มากขึ้น พอช่วงบ่ายพบว่าทุกคนได้เล่าเรื่องที่ตัวเองทำ มีหมอนกช่วยพูดเสริมให้ข้อคิด และสรุปผลให้ ต่อมาได้เดินไปตามโซนบ้านพร้อมกัน ช่วยกันบอกแล้วเดินไปบ้านตัวอย่าง ไปที่บ้าน สท. บ้านน้าอุ้ย บ้านป้าคิ่น และบ้านอื่น ๆ ทุกบ้าน มีหมอนกช่วยเป็นกรรมการร่มกับชุมชน

     

    100 82

    14. ประชุมทีมกรรมการ

    วันที่ 22 มิถุนายน 2557 เวลา 09:00-15.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมคณะะทำงานร่วมกับพี่เลี้ยงโครงการ เพื่อหาข้อสรุปการดำเนินงาน และวางแผนการทำงานต่อเนื่อง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้พูดคุยแล้ว พบว่า มีการดำเนินงานทุกอาทิตย์ คนในชุมชนมาถามกันบ่อยว่าเมื่อไหร่มีกิจกรรมอีก กรรมการได้ลงมติว่า ต้องจัดกิจกรรมให้ครบตามที่เขียนไว้ ให้กรรมการในชุมชนมาร่วมเพิ่มเติม ผู้รับผิดชอบโครงการได้ชี้แจงการใช้จ่ายงบประมาณ และนำเอกสารหลักฐานมาให้พี่เลี้ยงตรวจ พบว่ายังต้องทำกิจกรรมอีกให้ต่อเนื่อง โดยให้ชวนคนในชุมชนมาเพิ่ม ให้จนสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทิ้งขยะมาเป็นเก็บไว้คัดแยกและจัดการเป็นระบบ มีสภาเด็กช่วย นัดแนะการพูดคุยกันต่อไปทุกอาทิตย์

     

    15 10

    15. ประชุมกรรมการเยาวชนร่วมกับผู้ใหญ่และวางแผนการทำงานต่อเนื่อง

    วันที่ 28 มิถุนายน 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประธานโครงการได้กล่าวถึงงานของโครงการในกิจกรรมต่างๆให้กรรมการ เยาวชน ร่วมกับกลุ่มแม่บ้าน ได้ทราบถึงกิจกรรมต่างๆของโครงการ ที่ได้ทำร่วมกันผ่านมา ดังนี้ 1.การอบรมเยาวชนให้เป็นผู้นำ 2.การลงพื้นที่สำรวจข้อมูลของเยาวชน 3.สาธิตการทำปุ๋ยหมักและปุ๋ยชีวภาพ 4.การคัดแยกขยะอย่างเป็นระบบ 5.รณรงค์ปลูกจิตสำนึกในการจัดการปัญหาขยะของชุมชน ผ่านกลุ่มแม่บ้านโดยการลงพื้นที่เห็นปัญหาอย่างรู้แจ้งและเห็นจริงและช่วยกันแกไขปัญหาเบาบาง หรือหมดไป 6.ประกวดหน้าบ้าน-น่ามอง ให้เห็นถึงปัญหาขยะที่อยู่บริเวณบ้าน ทำให้เห็นว่าปัญหาขยะทำให้สิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม 7.จัดตั้งเครือข่ายเยาวชนตาสัประรดช่วยดูแลปัญหาขยะในชุมชนและร่วมกันรณรงค์สร้างจิตสำนึกรักษ์สะอาด 8.จัดตั้งเครือข่ายแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างชุมชนที่มีปัญหาขยะเหมือนกันเพื่อเป็นแนวทาง ในการทำงานร่วมกัน 9.ลงพื้นที่ติดตามการจัดการขยะในชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เมื่อประธานแจ้งให้ทราบถึงกิจกรรมที่ได้ทำร่วมก้นมาแล้ว จึงขอความคิดเห็นจากผู้เข้าร่วมประชุม ว่ากิจกรรมต่างๆของโครงการนั้นมีผลออกมาอย่างไร โดยให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้แสดงความคิดเห็นดังนี้ 1.เป็นโครงการที่ดีเพราะส่งเสริมให้เยาวชนได้แสดงออกถึงสภาวะการเป็นผู้นำ รู้ปัญหาขยะของชุมชนด้วยความเป็นจริง 2.ฝึกให้คนในชุมชนมีความรับผิดชอบร่วมกันรับรู้ถึงปัญหาว่า จะได้รับความร่วมมือทำงานร่วมกันทั้งชุมชน เพราะมีปัญหาที่ต้องแก้ไขร่วมกันทุกภาคส่วน 3.เป็นโครงการที่สานสัมพันธ์คนต่างวัย ให้ได้พบปะแลกเปลี่ยนและร่วมกันแก้ไขปัญหาอย่างรู้จริงและลงมือช่วยกันแก้ไข ปัญหาอย่างแท้จริง เมื่อผู้เข้าร่วมประชุมแสดงความคิดเห็นจนเป็นที่พอใจแล้ว ประธานจึงขอมติในที่ประชุม ว่าสมควรจะดำเนินการโครงการวางแผนทำงานต่อไปหรือไม่ ที่ประชุมลงมติเป็นเอกฉันท์ เห็นสมควรให้ดำเนินงานโครงการต่อไป โดยจะได้ทำการประชุมกรรมการและเสนอแผนการดำเนินงาน ส.ส.ส. ในโอกาสต่อไป

     

    15 12

    16. เยาวชนติดตามการจัดการขยะในครัวเรือน

    วันที่ 29 มิถุนายน 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เยาวชนลงพื้นที่ติดตามการจัดการขยะในครัวเรือนโดยแบ่งเป็นกลุ่มรับผิดชอบเป็นโซนโดยลงพื้นที่ โดยลงพื้นที่พบครัวเรือนโดยตรงเพราะทางโครงการได้จัดหาถังขยะมาแจกจ่ายให้ทุกครัวเรือนในโครงการที่เยาวชนรับผิดชอบโดยถังไม่ได้เอาเงินในโครงการไปจัดซื้อแต่ทางประธานโครงการได้จัดหามาให้จากผู้ที่มีจิตอาสาที่เห็นความสำคัญของปัญหาขยะในชุมชนจัดหามาให้มอบให้ทุกบ้านในโครงการจำนวนครัวเรือนล่ะ2ใบ ใช้สำหร้ับทำปุ๋ยน้ำหมักคุณภาพ1ใบสำหรับขยะเปียกและเศษอาหารอีก1ใบใช้ใส่ขยะที่ไม่มีค่าในครัวเรือนอีก1ใบเพื่อนำขยะไปใส้่ในถังขยะของเทศบาลเพื่อไปทำลายต่อไปทุกฝ่ายให่ความร่วมมืออย่างดี

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เยาวชนลงติดตามครัวเรือนสังเกตุการเปลี่ยนแปลงของครัวเรือนพร้อมทั้ง ถามถึงความคิดเห็นของการดำเนินงานต่อไปโดยเยาวชน ขอให้แสดงความคิดเห็นเพื่อนำไปเสนอเป็นข้อมูลในการดำเนินงาน ของโครงการเป็นแผนงาน เพื่อทำงานต่อไป

     

    30 37

    17. เยาวชนมาร่วมติดตาม ทำข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อทำต่อเนื่อง

    วันที่ 5 กรกฎาคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    กรรมการ เยาวชน ทีมงานในชุมชน ช่วยกันเล่าเรื่องจากการทำข้อมูลซอยของตนเอง แบ่งเป็น 5 กลุ่ม แต่ละกลุ่มช่วยกันทำ และนำเสนอกัน มีผู้ใหญ่ และกรรมการชุมชนเป็นคนให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    พบข้อมูลว่า ขยะลอยน้ำยังมีอีกมาก ต้องร่วมจัดการกับชุมชนใกล้เคียง มีชุมชนใกล้เคียงสนใจอีก ได้แก่ ชุมชนบ้านบางฉนาก และชุมชนรัตนาราม พยาบามต่อเนื่องเพื่อให้มีการร่วมกันแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ

     

    80 39

    18. เรียนรู้การจัดการขยะและติดตามบ้านตัวอย่าง

    วันที่ 12 กรกฎาคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ให้เยาวชนแบ่งกลุ่มเพื่อลงสำรวจเพื่อติดตามบ้านตัวอย่าง นำข้อมูลมาแลกเปลี่ยนร่วมกันที่ศาลาชุมชน ให้เด้กฝึกนำเสนอและทำงานร่วมกันเป็นทีม มีแกนนำเด็กเป็นผู้ดำเนินรายการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ให้เด็กเสนอรายชื่อ เด็กได้เสนอรายชื่อมา 15 คน และใช้วิธีลงคะแนนเพื่อให้เยาวชนได้มีความเข้าใจในระบบการคัดเลือก ตัวแทนกลุ่มเยาวชนเพื่อการเป็นผู้นำเพิ่มเติม ผู้นำเข้าใจในระบบการทำงานเป็นกลุ่ม และมีการกระจายหน้าที่ต่างๆ ในรูปแบบของคณะกรรมการเยาวชน โดยได้คัดเลือกตำแหน่ง ดังนี้ ประธานเยาวชน รองประธาน 2 คน เลขานุการ เหรัญญิก ประชาสัมพันธ์ คณะกรรม 9 คน โดยผู้ได้รับการคัดเลือกในตำแหน่งในกลุ่ม คณะกรรมการโครงการได้สอบถามถึงความสมัครใจ และความเต็มใจในการปฏิบัติหน้าที่ เพื่อให้การดำเนินการกิจกรรมต่างๆ ของโครงการดำเนินไปด้วยคงามเรียบร้อย โดยมีคณะกรรมการโครงการเป็นที่ปรึกษา ให้คำแนะนำและคอยเสนอแนะ เพื่อให้การดำเนินการของกิจกรรม ในโครงการดำเนินงานไปได้ด้วยดี และกลุ่มเยาวชนมีความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของแต่ละคน ที่ได้รับมอบหมาย ในครั้งนี้มีกลุ่มแม่บ้าน คณะกรรมการเข้าร่วมประชุมเป็นจำนวนมาก พร้อมทั้งคณะกรรมการชุมชน อสม.ของชุมชนด้วย

     

    100 148

    19. ขยายเครือข่ายรณรงค์ความสะอาดจัดการขยะในชุมชน

    วันที่ 13 กรกฎาคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เยาวชนเสนอข้อมูลแก่ที่ประชุมเพื่อลงมติเสนอเป็นข้อกฏ-กติกาของชุมชนและบอกถึงข้อดีของโครงการ ดังนี้ 1. ขะลดน้อยลงอย่างชัดเจน 2. กลุ่มเป้าหมายเข้าใจในระบบการคัดแยกขยะอย่างเป็นระบบ 3. การทิ้งขยะลงถังอย่างถูกต้อง 4. รู้คุณประโยชน์ของขยะที่มีค่า 5. นำขยะที่ไม่มีประโยชน์ใส่ถังขยะ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ประชุมประชาคมเสนอกฎกติกาของชุมชน การเริ่มต้นการประชุม ประธานได้เสนอให้ที่ประชุม ประกอบด้วยกลุ่มเยาวชน แม่บ้าน กรรมการชุมชน อสม. ร่วมกันแสดงความคิดเห็น และเสนอแนะร่วมกัน เสนอข้มูลต่างๆ แก่ที่ประชุมเพื่อให้ที่ประชุมลงมติ เสนอเป็นกฎกติกาของชุมชน โดยผู้นำชุมชนได้ลุกขึ้นกล่าวถึงข้อดีของโครงการที่เริ่มเห็นผลอย่างชัดเจนนั่นคือ 1. ขยะลดลน้อยลงอย่างชัดเจน 2 กลุ่มเป้าหมายเข้าใจในการคัดแยกขยะอย่างเป้นระบบ 3 การทิ้งขยะลงในถังอย่างถูกต้อง จากที่เมื่อก่อนทิ้งไม่เป็นที่เป็นทาง ใช้ระบบสร้างความเข้าใจ 4 รู้คุณค่าประดยชน์ของที่มีค่า 5 นำขยะที่ไม่มีประโยชน์ นำมาใส่ถังขยะเทศบาลเพื่อไปทำลานถูกต้อง 6 ทุกคนมีจิตสามัญสำนึกในการร่วมมือกันจัดการขยกะอย่างเป็นระบบและถูกต้อง จากนั้นจึงเริ่มมีการเสนอและลงมติเป็นกฎกติกา ของชุมชนโดยได้เริ่มจากกลุ่มแม่บ้าน กลุ่มเยาวชน ผู้นำชุมชน อสม. และกรรมการ จนได้ข้อกติกา เป็นมติของชุมชน ดังนี้ 1 ทุกครัวเรือนต้องรักษาความสะอาดบริเวณบ้านของตนเอง 2 จัดตั้งผู้รับผิดชอบประจำซอยทุกซอนในเขตชุมชนต้นหาด 3 มีถังขยะทุกบ้านและทุกซอย 4 ต้องนำขยะที่ไม่มีค่ามาทิ้งในถังขยะห้มทิ้งในคูคลอง 5 จัดตั้งหน่วยติดตามและเฝ้าระวังปัญหาขยะในชุมชน
    6 ถ้าครัวเรือนใดมีปัญหา จะให้กลุ่มเยาวชนเข้าไปขอร้องและขอความร่วมมือ ช่วยเหลือให้ทำให้ถูกต้อง

    ที่ประชุมได้ลงมติ และรับรองกฎกติกาของชุมชนเพื่อนำไปปฏิบัติต่อไป

     

    80 72

    20. ขยายเครือข่ายเพื่อเกิดการจัดการขยะต่อเนื่อง

    วันที่ 19 กรกฎาคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เยาวชนต้นกล้ารักษ์สะอาด  ลงพื้นที่พบปะสมาชิกพร้อมหาสมาชิกเพิ่มเข้าร่วมโครงการขยายเครือข่ายรณรงค์ความสะอาดจัดการขยะในชุมชน  เพื่อลด ละ เลิก อบายมุขทุก และให้ความรู้สามารถถ่ายทอดการกำจัดขยะในชุมชนที่ตนเองได้ผ่านการอบรมแก่เยาวชนในรุ่นต่อไปได้  โดยมีการจัดตั้งกองทุนเยาวชนต้นกล้ารักษ์สะอาดเพื่อรุ่นน้องต่อไป สนับสนุนการพัฒนาและทุนการศึกษาได้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ประธานเปิดประชุมและแจ้งให้ที่ประชุมรับทราบถึงการดำเนินงานขยายเครือข่ายเพื่อให้การดำเนินงานขยายครอบคลุมทุกพื้นที่ โดยเชิญจำนวนเยาวชนจำนวน  29 คน ของชุมชนบ้านบางฉนาก ซึ่งอยู่ติดกับชุมชนต้นหาด ให้ประธานชุมชนบางฉนากนำพาเยาวชนมาเข้าร่วมประชุม มาศึกษาดูงานและเข้าร่วมกิจกรรม กับเยาวชนของโครงการ เนื่องจากชุมชนบางฉนากเป็นชุมชนที่ได้แยกออกไปจากบางฉนาก ยังไม่เข้าใจการำทำโครงการจาก สสส เพราะยังไม่เข้าใจในระบบ จึงส่งคณะกรรมการชุมชนและกลุ่มเยาวชนเข้าร่วมประชุมกับโครงการ เพื่อให้ได้ทราบและเข้าใจในการทำโครงการ เพื่อร่วมทำโครงการกับ สสส ในโอกาสต่อไป เพราะเป็นพื้นที่ติดกัน พบปัญหาเหทือนกัน และได้ร่วมลงนามเป็นเครือข่ายของโครงการ โดยทางโครงการได้ตกลงทำกับดักขยะในน้ำให้กับคลองบางฉนากเป็นตัวอย่าง เพื่อป้องกันไม่ให้ขยะไหลออกสู่แม่น้ำใหญ่ โดยมีเทศบาลส่งเรือมาจัดเก็บทุกวันศุกร์ เว้นเสา อาทิตย์ นับว่าเป็นการทำงานร่วมกันของแต่ละชุมชน โดยการประสานงานของเทศบาลเมืองปากพนัง ที่ประชุมได้ให้ความรู้และความมเข้าใจในระบบของการบริหารงานของโครงการ เพื่อให้กลุ่มผู้นำชุมชน เยาวชน ของชุมชนบางฉนาก ได้รับรู้ข้อมูล และการบริหารงานของโครงการ โดยมีคณะกรรมการโครงการชุมชนต้นหาดคอยเป็นพี่เล้ยง และให้คำแนะนำ เพื่อให้ชุมชนบางฉนากได้ทำงาน เสนอต่องบ สสส เพื่อนำมาพัฒนา และปรับปรุงแก้ไขใชุมชนต่อไป อีกทั้งกลุ่มเยาวชนทั้งสองชุมชน ได้พบปะ แลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกัน นำมาซึ่งความรัก ความสามัคคี ในการทำงานร่วมกันในโอกาสต่อไป หลังจากนั้นกลุ่มเยาวชนต้นหาด ได้นำคณะกรรมการและกลุ่มเยาวชน เดินสำรวจตามบ้านเรือนของชุมชนต้นหาด เพื่อให้กรรมการและเยาวชน ได้เข้าใจและรับรู้ปัญหาที่แท้จริงของชุมชน เพื่อจะได้นำความรู้ ความเข้าใจไปดำเนินงานในชุมชนของตนต่อไป

     

    80 96

    21. ถอดบทเรียน

    วันที่ 26 กรกฎาคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.เพื่อให้ทุกคนได้เข้าใจในปัญหาของขยะโดยเริ่มต้นที่บ้านของตนเอง 2.หน้าบ้านของทุกครัวเรือนเปรียบเสมือนหน้าตาของเจ้าของบ้านและอุนิสัยของเจ้าของบ้าน 3.เมื่อหน้าบ้านสะอาดปราศจากขยะมีความเป็นระเบียบเรียบร้อยก็จะเป็นที่น่ามองน่าชื่นชมแก่ผู้พบเห็นเรียกว่ามองแล้วสบายตาและสบายใจ ทางโครงการจึงได้จัดกิจกรรมหน้าบ้าน-หน้ามอง ขึ้นโดยมีคณะกรรมการพิจารณาโดยให้กลุ่มเยาวชนเป็นผู้ลงคะแนน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เยาวชนได้ลงพื้นที่สำรวจสำรวจข้อมูล-ติดตามครัวเรือนของกลุ่มเยาวชนแล้วให้คะแนนในแต่ละครั้งแล้วนำมารวบรวมส่งต่อคณะกรรมการของโครงการเพื่อทำการตัดสินในขั้นตอนสุดท้ายจนได้ครัวเรือนที่เข้าหลักเกณฑ์จากจำนวน 208ครัวเรือน เหลือครัวเรือนในขั้นตอนสุดท้ายที่สมควรจะมอบวุฒิบัตร เพื่อแสดงความชื่นชมโดยในครั้งนี้ทางโครงการได้รับเกียรติจาก คุณ ณัฐนันท์ จันทราทิพย์ รองนายกเทศมนตรีเมืองปากพนัง ผู้ดูแลกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เดินทางมาเป็นประธานในพิธี พร้อมทั้งได้มอบวุฒิบัตรให้แก่ ครัวเรือนที่ผ่านการคัดเลือก จำนวน 20ครัวเรือน โดยเทศบาลเมืองปากพนัง ยังเป็นเครือข่ายผู้สนับสนุนโครงการและให้ความร่วมมือกับโครงการ ในการรณรงค์ปัญหาขยะในชุมชนด้วยดีเสมอมา เพราะถือว่าเป็นปัญหาที่ต้อง ร่วมกันรณรงค์ สร้างจิตสำนึก ให้คนในชุมชนรู้ถึงปัญหาของขยะและวิธีการแก้ไข เพื่อนำพาชุมชนสู่ระบบชุมชน ปลอดขยะอย่างยั่งยืน

     

    40 117

    22. สรุปผลงาน

    วันที่ 27 กรกฎาคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    กรรมการได้เข้าร่วมสรุปโครงการพร้อมกับพี่เลี้ยงจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้เรียนรู้การทำ ง 1 ง 2 ส 3 ส 4 และ ส 2

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    พี่เลี้ยงได้ให้สรุปโครงการ และตอบคำถาม 4 ข้อ
    1. ตัวชี้วัดเป็นอย่างไร ตอบ สมาชิกในชุมชนร้อยละ 50 มีส่วนร่วมในการกำจัดขยะ และกำหนดมาตรการการจัดการขยะในชุมชน มีการจัดการขยะ ดูแลความสะอาดภายในบ้านเพื่อลดปริมาณขยะ เข้าร่วมกิจกรรมรักความสะอาดใสชุมชน กลุ่มเยาวชนต้นกล้ารักสะอาดเป็นผู้นำทำกิจกรรมจัดการขยะได้อย่างน้อย 30 คน
    2 คนมีอะไรเปลี่ยนแปลงบ้าง อย่างไร ตอบ เยาวชนกล้าแสดงออก และได้ร่วมกันทำกิจกรรมภายในชุมชน เยาวชนมีความรัก ความสามัคคีกันมากขึ้น เยาวชนได้ความรู้ในการจัดการขยะ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป สมาชิกและเยาวชนได้มีจิตสำนึกที่ดี และพร้อมที่จะช่วยเหลือกัน 3 สิ่งแวดลล้อมมีอะไรเปลี่ยนแปลงบ้างอย่างไร ตอบ ลดมลภาวะเป็นพิษ มีการคัดแยกขยะเป็นสัดส่วน เกิดเป็นพื้นที่สีเขียว ซึ่งได้มาจากเศษขยะที่เอาไปทำน้ำหมัก แหล่งเพาะพันธุ์ยุงลดลง เพราะขยะได้รับการจัดการที่ดี
    4 เกิดสิ่งประทับใจอะไรบ้าง อย่างไร ตอบ 1 เยาวชนห่างไกลยาเสพติดเพราะได้เข้ามาร่วมกิจกรรม 2 ขยะในชุมชนลดลง สภาพในชุมชนสะอาดขึ้น 3 ได้เห็นเยาวชน แม่บ้าน ร่วมกันทำกิจกรรมโดยพร้อมเพรียง 4 ได้เห็นรอยยิ้มและเสียงหัวเราะของคนในชุมชนที่ได้เข้ามาร่วมกันทำกิจกรรม

     

    15 2

    23. ประชุมกรรมการ

    วันที่ 28 กรกฎาคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประธานได้สรุปเอกสารและนำเสนอแก่กรรมการ กรรมการรับทราบ แล้วช่วยกันสรุปจนเสร็จ บันทึกเพิ่มเติมที่ยังไม่ครบ ให้ครบ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    กรรมการช่วยกันพูดคุย และสรุปการทำงาน ช่วยทำรายงาน ได้อธิบายประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการ และถ้าสนใจมาทำ มาดูรายละเอียด และถามผลงานว่าเป็นอย่างไรบ้าง พบว่า ชุมชนสะอาดมากขึ้น เด้กเก่งมากขึ้น ชุมชนบางฉนากมาเป็นเครือข่าย มีตัวแทนเยาวชนทำอยู่แล้ว ได้ทำต่อ

     

    25 24

    24. สรุปโครงการร่วมกับพี่เลี้ยง

    วันที่ 3 สิงหาคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    สรุปข้อมูล จัดแฟ้มงาน ตรวจสอบเอกสาร และบันทึกรายฃานในเวป จัดพิมพ์งานส่ง สสส

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    บันทึกเอกสารครบถ้วน ทำรายงานตามที่ สสส กำหนด ประเมินการทำงานร่วมกับพี่เลี้ยง ได้รายงานเป็นเล่ม ส่ง สสส

     

    5 5

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

     

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 1.เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนเพื่อการจัดการขยะ
    ตัวชี้วัด : 1.1 สมาชิกชุมชนร้อยละ50มีส่วนร่วมในการกำจัดขยะ และกำหนดมาตรการกำจัดขยะในชุมชน 1.2 ครัวเรือนร้อยละ50มีการจัดการขยะ ดูแลความสะอาดภายในบ้านเพื่อลดปริมารขยะ 1.3 กลุ่มเยาวชนร้อยละ50เข้าร่วมกิจกรรมรักษ์ความสะอาดในชุมชน

    1.1 สมาชิกชุมชนร้อยละ 50 มีส่วนร่วมในการกำจัดขยะ และกำหนดมาตรการกำจัดขยะในชุมชน โดยมีกติกาที่เป็นมติของชุมชน ดังนี้ 1) ทุกครัวเรือนต้องรักษาความสะอาดบริเวณบ้านของตนเอง 2) จัดตั้งผู้รับผิดชอบประจำซอยทุกซอยในเขตชุมชนต้นหาด 3) มีถังขยะทุกบ้านและทุกซอย 4) ต้องนำขยะที่ไม่มีค่ามาทิ้งในถังขยะห้ามทิ้งในคูคลอง 5) จัดตั้งหน่วยติดตามและเฝ้าระวังปัญหาขยะในชุมชน 6) ถ้าครัวเรือนใดมีปัญหา จะให้กลุ่มเยาวชนเข้าไปขอร้องและขอความร่วมมือ ช่วยเหลือให้ทำให้ถูกต้อง

    1.2 ครัวเรือนร้อยละ 80 (194 ครัวเรือน จากทั้งหมด 241 ครัวเรือน) มีการจัดการขยะ ดูแลความสะอาดภายในบ้านเพื่อลดปริมาณขยะ มีส่วนร่วมในการกำจัดขยะ และร้อยละ 55 ร่วมกันกำหนดมาตรการการจัดการขยะในชุมชน

    1.3 กลุ่มเยาวชนร้อยละ 50 เข้าร่วมกิจกรรมรักษ์ความสะอาดในชุมชน โดยร่วมเรียนรู้การจัดการขยะ ติดตามบ้านตัวอย่างที่เข้าร่วมกิจกรรม ร่วมรณรงค์ความสะอาดในชุมชน ร่วมสร้างกติกา โดยมีการจัดตั้งคณะกรรมเยาวชนขึ้นมา 1 ชุด จำนวน 15 คน เป็นกลุ่มบริหารดำเนินงานในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของกลุ่มเยาวชนในชุมชน

    2 2.เพื่อสร้างกลุ่มเยาวชนรักษ์สะอาดจัดการขยะอย่างเป็นระบบ
    ตัวชี้วัด : กลุ่มเยาวชนต้นกล้ารักษ์สะอาดในชุมชนเป็นผู้นำทำกิจกรรมจัดการขยะได้อย่างน้อย30คน

    กลุ่มเยาวชนต้นกล้ารักษ์สะอาดในชุมชนเป็นผู้นำทำกิจกรรมจัดการขยะจำนวน 38 คน

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) 1.เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนเพื่อการจัดการขยะ (2) 2.เพื่อสร้างกลุ่มเยาวชนรักษ์สะอาดจัดการขยะอย่างเป็นระบบ

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    ส่วนที่ 3 ประเมินคุณค่าโครงการ

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ

    ชื่อโครงการ เยาวชนต้นกล้ารักษ์สะอาด

    รหัสโครงการ 56-01505 รหัสสัญญา 56-00-0947 ระยะเวลาโครงการ 1 กันยายน 2556 - 30 กันยายน 2557

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นการคุณค่าที่เกิดจากโครงการในมิติต่อไปนี้

    • ความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพและนวัตกรรมเชิงระบบสุขภาพชุมชน
    • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีผลต่อสุขภาวะ
    • การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ
    • ผลกระทบเชิงบวกและนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาวะชุมชน
    • กระบวนการชุมชน
    • มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่

    1. เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้ใหม่ / องค์ความรู้ใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สิ่งประดิษฐ์ / ผลผลิตใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. กระบวนการใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. วิธีการทำงาน / การจัดการใหม่

    สร้างกลุ่มแกนนำเยาวชนเพื่อร่วมกันสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาพ

    กลุ่มเยาวชนต้นกล้ารักษ์สะอาด

    พัฒนาศักยภาพกลุ่มให้มีการทำกิจกรรมสร้างสรรค์อย่างต่อเนื่อง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การเกิดกลุ่ม / โครงสร้างในชุมชนใหม่

    กลุ่มเยาวชนจัดการขยะเพื่อชุมชน

    กลุ่มเยาวชนต้นหาด

    พัฒนาศักยภาพกลุ่มให้มีการทำกิจกรรมสร้างสรรค์อย่างต่อเนื่อง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. แหล่งเรียนรู้ใหม่

    บ้านตัวอย่างการจัดการขยะ

    บ้านตัวอย่าง 20 ครัวเรือน

    ขยายผลในชุมชนเพิ่มเติมดดยให้เป็นแกนนำในการชักชวนเพื่อนมาร่วมให้มากขึ้น

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    99. อื่นๆ

     

     

     

    2. เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การบริโภค

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การออกกำลังกาย

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. การลด ละ เลิก อบายมุข เช่น การพนัน เหล้า บุหรี่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การลดพฤติกรรมเสี่ยง เช่น พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การขับรถโดยประมาท

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. การจัดการอารมณ์ / ความเครียด

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. การดำรงชีวิต / วิถีชีวิต เช่น การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น / สมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเอง

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    8. พฤติกรรมการจัดการตนเอง ครอบครัว ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    9. อื่นๆ

     

     

     

    3. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. กายภาพ เช่น มีการจัดการขยะ ป่า น้ำ การใช้สารเคมีเกษตร และการสร้างสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนที่ถูกสุขลักษณะ

    การจัดการขยะโดยเยาวชนเป็นแกนนำขับเคลื่อน

    แกนนำกลุ่มเยาวชนชุมชนต้นหาด ชื่อ เยาวชนต้นกล้ารักษ์สะอาด

    พัมนากลุ่มเพื่อจัดการสิ่งแวดล้อมให้ดียิ่งขึ้น พัฒนาเพิ่มเรื่องความสัมพันธ์อันดี พัฒนาสิ่งแวดล้อมด้านสังคมให้ดียิ่งขึ้นต่อไป

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สังคม เช่น มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ลดการเกิดอุบัติเหตุ ครอบครัวอบอุ่น การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อเด็ก เยาวชน และกลุ่มวัยต่าง ๆ มีพื้นที่สาธารณะ/พื้นที่ทางสังคม เพื่อเอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชน มีการใช้ศาสนา/วัฒนธรรมเป็นฐานการพัฒนา

    เยาวชนร่วมกับคนทุกกลุ่มวัย เรียนรู้จากข้อมูลขยะ นำมาวางแผน และดำเนินงานจัดการ เพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาพ

    พื้นที่สาธารณะ บ้านเรือนในซอย ของชุมชนต้นหาด

    กระตุ้นให้กลุ่มเยาวชนมีการทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. เศรษฐกิจสร้างสรรค์สังคม /สร้างอาชีพ / เพิ่มรายได้

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการบริการสุขภาพทางเลือก และมีช่องทางการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. อื่นๆ

     

     

     

    4. การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. มีกฎ / กติกา ของกลุ่ม ชุมชน

    ได้ข้อกติกา เป็นมติของชุมชน ดังนี้ 1 ทุกครัวเรือนต้องรักษาความสะอาดบริเวณบ้านของตนเอง 2 จัดตั้งผู้รับผิดชอบประจำซอยทุกซอนในเขตชุมชนต้นหาด 3 มีถังขยะทุกบ้านและทุกซอย 4 ต้องนำขยะที่ไม่มีค่ามาทิ้งในถังขยะห้มทิ้งในคูคลอง 5 จัดตั้งหน่วยติดตามและเฝ้าระวังปัญหาขยะในชุมชน 6 ถ้าครัวเรือนใดมีปัญหา จะให้กลุ่มเยาวชนเข้าไปขอร้องและขอความร่วมมือ ช่วยเหลือให้ทำให้ถูกต้อง

    กติกากลุ่มชุมชน ที่ศาลาอเนกประสงค์ชุมชน

    ติดตามการปฏิบัติตามกติกาอย่างต่อเนื่อง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. มีมาตรการทางสังคมของกลุ่ม ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. มีธรรมนูญของชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. อื่นๆ เช่น ออกเป็นข้อบัญญัติท้องถิ่น ฯลฯ

     

     

     

    5. เกิดกระบวนการชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. เกิดการเชื่อมโยงประสานงานระหว่างกลุ่ม / เครือข่าย (ใน และหรือนอกชุมชน)

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเรียนรู้การแก้ปัญหาชุมชน (การประเมินปัญหา การวางแผน การปฏิบัติการ และการประเมิน)

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ประโยชน์จากทุนในชุมชน เช่น การระดมทุน การใช้ทรัพยากรบุคคลในชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกลุ่มและชุมชนที่เกิดจากโครงการอย่างต่อเนื่อง

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. เกิดกระบวนการจัดการความรู้ในชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. เกิดทักษะในการจัดการโครงการ เช่น การใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ การทำแผนปฏิบัติการ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. อื่นๆ

     

     

     

    6. มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเอง / กลุ่ม / ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเห็นประโยชน์ส่วนรวมและส่วนตนอย่างสมดุล

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย และพอเพียง

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. ชุมชนมีความเอื้ออาทร

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. มีการตัดสินใจโดยใช้ฐานปัญญา

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. อื่นๆ

     

     

     

    เยาวชนต้นกล้ารักษ์สะอาด จังหวัด นครศรีธรรมราช

    รหัสโครงการ 56-01505

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นายนิยุทธิ์ จันทราทิพย์ )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด