ร่วมอนุรักษ์คลองบางไทร ล้อมรั้วด้วยใจ ถักทอสวนสายใยด้วยภูมิปัญญา นำพาสุขภาวะชุมชน

แบบบันทึกการติดตามสนับสนุนโครงการ ครั้งที่ 2

รหัสโครงการ 56-01510
สัญญาเลขที่ 56-00-0977

ชื่อโครงการ ร่วมอนุรักษ์คลองบางไทร ล้อมรั้วด้วยใจ ถักทอสวนสายใยด้วยภูมิปัญญา นำพาสุขภาวะชุมชน
รหัสโครงการ 56-01510 สัญญาเลขที่ 56-00-0977
ระยะเวลาตามสัญญา 1 กันยายน 2556 - 30 กันยายน 2557

ส่วนที่ 1 : ข้อมูลเบื้องต้นการติดตาม

1.1 ข้อมูลเบื้องต้นการติดตาม
ชื่อสกุลผู้ติดตาม 1 นายสุธรรม แก้วประดิษฐ์
ชื่อสกุลผู้ติดตาม 2 นางปาลีรัตน์ แก้วประดิษฐ์
วันที่ลงพื้นที่ติดตาม 20 มิถุนายน 2557
วันที่ส่งรายงานถึง สสส. 27 มิถุนายน 2557
1.2 ผู้ให้ข้อมูล
ลำดับชื่อ-สกุลผู้ให้ข้อมูลที่อยู่หมายเลขโทรศัพท์
1 นายมีชัย ดีถนอม 12 ม.2 บ้านบางไทร ต.คลองน้อย อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช
2 นายอุดร ช้างเผือก 15ม.2 บ้านบางไทร ต.คลองน้อย อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช

ส่วนที่ 2 : ข้อมูลโครงการและความก้าวหน้าการดำเนินงาน

2.1 วัตถุประสงค์และตัวชี้วัดความสำเร็จโครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ตัวชี้วัดความสำเร็จ

1.

  1. เพื่อให้ชุมชนบ้านบางไทรหมู่ที่ 2  มีรั้วมะขามสร้างสุขภาพ และสวนสุขภาพภูมิปัญญาพื้นบ้านที่ชุมชนร่วมสร้างเอง และคนในชุมชน รู้จักใช้ภูมิปัญญาและการแพทย์พื้นบ้านในการจัดการดูแลสุขภาพ และสร้างความสามัคคี ให้กับคนในชุมช

1.1 ครัวเรือนร่วมสร้างรั่วสุขภาพโดยใช้กล้ามะขาม  ชะอม  หรือไม้ประดับอื่นๆ  70 ครัวเรือน 1.2 ชุมชนมีสวนสุขภาพภูมิปัญญาพื้นบ้าน 1 แห่ง

2.

2.เพื่อให้ชาวบางไทรร่วมอนุรักษ์สายน้ำ การละเล่นพื้นบ้านทางน้ำ และสืบสานภูมิปัญญาของท้องถิ่น

2.1 คลองบ้านบางไทรได้รับการดูแลรักาาอย่างต่อเนื่อง 2.2 อนุรักษ์การละเล่นพื้นบ้านทางน้ำอย่างน้อย 3 อย่าง 2.3 ชุมชนและแกนนำได้ประชุมแลกเปลี่ยนกันทุกเดือ

3.

3.เพื่อให้ คลองบ้านบางไทรมีความสมบูรณ์และความมั่นคงทางด้านอาหาร

3.1 จำนวนปลาในแหล่งน้ำเพิ่มขึ้น พันธ์ไม้น้ำ ไม้พื้นบ้านเพิ่มขึ้น

4.

เพื่อบริหารการดำเนินโครงการและติดตามโครงการ

เพื่อให้โครงการมีการดำเนินการตามแผนอย่างมีประสิทธิภาพ

2.2 ความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ
กลุ่มเป้าหมายงบประมาณผลการจัดกิจกรรมเชิงปริมาณผลการจัดกิจกรรมเชิงคุณภาพ/สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ
ที่ตั้งไว้(บาท)เกิดขึ้นจริง(บาท)จำนวนที่ตั้งไว้(คน)จำนวนเกิดขึ้นจริง(คน)

กิจกรรมหลัก : ประชุมแกนนำหมู้่บ้านi

875.00 15 ผลผลิต

มีการคัดเลือกคณะกรรมการโครงการจำนวน 15 คนและมาจากหน่วยงานอบต. อสม. กลุ่มแม่บ้าน การปกครองส่วนท้องถิ่น


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

มีรูปแบบการประชุมที่ไม่เป็นทางการ กำหนดแผนประชุมทุกวันที่ 5 พร้อมบันทึกการประชุมและลงชื่อทุกครั้ง

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 1 ครั้ง

กรรมการ ผู้เข้าร่วมโครงการ และ กรรมการหมู่บ้าน ตัวแทนอบต.

875.00 875.00 15 15 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มีคณะกรรมการร่วมทำโครงการ 15 คน และแบ่งบทบาทหน้าที่กัน

กิจกรรมหลัก : ร่วมลงแขกปลูกรั้วพืชสุขภาพi

8,400.00 70 ผลผลิต

ชาวบ้านช่วยกันปลูกรั้วมะขาม ชะอม บริเวณหน้าบ้านตัวเอง โดยการลงแขก มีผู้มาร่วมกิจกรรม 70 คน โดยการสลับกันพักและขุดแนวรั้วปลูก และหุงหาอาหาร มากินหลังเสร็จงาน


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

เป็นการรื้อฟื้นวิธีลงแขก ซึ่งไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการจ้างให้ทำเหมือนปัจจุบัน แสดงถึงการมีน้ำใจ ช่ เหลือเกื้อกูลกันของเพื่อนบ้าน

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 1 ครั้ง

กรรมการ ผู้เข้าร่วมโครงการ และ กรรมการหมู่บ้าน ตัวแทนอบต.

8,400.00 8,400.00 70 70 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ชาวบ้านที่เป็นผู้ชายร่วมกันใช้วิธีลงแขกในการร่วมกันจัดกิจกรรมปลูกรั้วไม้สุขภาพซึ่งนำมาปลูกได้เฉพาะไม้ที่จัดซื้อ มา ส่วนไม้มะขามที่เพาะกล้าไว้ยังโตไม่พอ จึงนัดกันมาปลูกระรั้วต่อเนื่องในครั้งต่อไปบรรยากาศในการทำกิจกรรมสนุกสนาน ไม่ร้อน ฝนฟ้าเป็นใจ แต่เนื่องจากผู้มาร่วมกิจกรรมน้อย และเวลามืดค่ำเสียก่อน จึงนัดกันมาปลูกเพิ่มเดือนละครั้งเพื่อให้กล้าที่เพาะชำไว้โตพอ โดยใช้งบประมาณ ในกิจกรรมนี้ดำเนินการ

กิจกรรมหลัก : จัดทำสวนสุขภาพภูมิปัญญาi

7,600.00 70 ผลผลิต

เกิดสวนภูมิปัญญาบ้านบางไทร 1 แห่ง ตั้งอยู่ที่เชิงสะพานปากทางเข้าหมู่บ้าน โดยการอุทิศที่ดินของนส.เสาวณีย์  ศรีต้า  สมาชิกอบต.ให้ความสำคัญและเสียสละให้ชุมชนใช้ประโยชน์ มีการสร้างเครื่องมือ บำบัดดูแลสร้างเสริมสุขภาพ เช่น ลาดนวดเท้าหินน้ำตก บาเดี่ยว บาคู่ บอกเวียน ศาลาภูมิปัญญาที่จัดแสดงเครื่องมือหาปลา หากินของปู่ย่าตายายไว้


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

เกิดการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างเสริมสุขภาพ ที่ชาวบ้านร่วมคิดทำ กันเอง ซึ่งจะส่งผลให้เกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของร่วมกัน ช่วยกันดูแลรักษาต่อไป

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 1 ครั้ง

ผู้เข้าร่วมโครงการ ปราชญ์ชาวบ้านจำนวน 30 คน

7,600.00 7,600.00 30 30 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

จากการร่วมกันจัดทำสวนสุขภาพตามแผนที่วางจะมีการนำภูมืปัญญามาประยุกต์ใช้ในสวนภูมิปัญญาเที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพเช่น คอกเวียนกระต้นกล้ามเนื้อ ลานนวดเท้าจากกะลามะะพร้าวหรือลูกจากแก่ จักรยานปั่นน้ำรดผัก ราวเดี่ยว ราวคู่ รอกดึง  ตุ้มยกน้ำหนัก  ในวันที่ทำกิจกรรมได้มีชาวบ้านลงแขกช่วยเหลือกันทำกิจกรรม ชาวบ้านบางคนได้เอาไม้มาช่วย เป็นที่สนใจของเด็กในชุมชนและหมู่บ้านใกล้เคียงแต่การทำสวนสุขภาพไม่สามารถเสร็จได้ในเวลาวันเดียว ที่เสร็จสมบูรณื คือราวเดี่ยว ราวคู่ ตุ้มยกน้ำหนักแต่ชาวบ้านก็นัดวันมาทำในครั้งต่อไปไห้สมเร็จดังจุดประสงค์ที่ตั้งไว้

กิจกรรมหลัก : จัดประชุมเวทีชาวบ้านทุก 4 เดือนi

6,750.00 70 ผลผลิต

เกิดข้อตกลงในการประชุมร่วมกันเป็นสภาพัฒนาบ้านบางไทร ทุก 3 เดือนมีวัตถุประสงค์ เพื่อการพัฒนาหมู่บ้านชุมชน เกิดแผนพัฒนาชุมชนด้วยการรื้อฟื้นประเพรีลงแขกในวันหยุดสำคัญ เกิดข้อตกลงการใช้สวนภูมิปัญญา ซึ่งเป็นความเห็นร่วมของสภาพัฒนาบ้านบางไทร


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

เกิดการระดมสมองและสร้างพลังในชุมชนโดยกลุ่มผู้นำในชุมชนเป็นผู้ผลักดัน เกิดการมีส่วนร่วมทุกด้าน เช่น ร่วมแรง ในการลงแขกปลูกรั้ว ลอกคูคลอง และสร้างสวนภูมิปัญญา โดยการสลับสับเปลี่ยนคนที่ว่างหรือมีฝึมือในแต่ละด้านมาช่วยกัน การอุทิศหรือยริจาคที่ดินเพื่อการใช้ประโยชน์ในสวนภูมิปัญญา การรวมพลังทางความคิด มีการคิดดี ได้แก่ คิดพัฒนา คิดร่วมได้แก่การ คิดวิธีการพัฒนา และนำมาเป็นข้อตกลง คิดสร้าง คือการร่วมสร้างสวนภูมิปัญญาที่เกิดประโยชน์ต่อชุมชน และคิดต่อ คือการคิดแผนพัฒนาต่อเนื่อง

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 3 ครั้ง

ชาวบ้านบางไทร ปราชญชาวบ้าน จนท.อบต. กรรมการโครงการ

2,250.00 2,250.00 70 60 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สรุปข้อตกลงในการจัดทำสวนภูมิปัญญาเพื่อสุขภาพของบ้านบางไทร โดยการระดมสมอง อภิปราย แล้วลงมติ  และจัดทำป้ายมาประกาศไว้ที่สวนภูมิปัญญา มีข้อตกลงดังนี้ 1. ที่ดินที่ใช้เป็นสถานที่จัดทำสวนภูมิปัญญานี้ได้รับบริจาคให้ใช้ประโยชน์โดย นส.เสาวนีย์  ศรีต้า สมาชิก อบต.บ้านบางไทร 2. สวนภูมิปัญญาและอุปกรณ์ สิ่งของต่างๆ เป็นสมบัติของบ้านบางไทร ห้ามมิให้ผู้ใดนำออกจากบริเวณสวนภูมิปัญญา 3. บริเวณสวนภูมิปัญญามีวัตถุประสงค์จัดทำขึ้นเพื่อสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นบ้านบางไทร 4. สถานที่นี้เป็นเขตปลอดบุหรี่-สุราตามนโยบายการคุ้มครองสุขภาพ และห้ามนำสารเสพติดให้โทษเข้ามาในบริเวณสวนภูมิปัญญา 5. สวนภูมิปัญญา เป็นสวนสุขภาพ จัดทำขึ้นโดยชาวบางไทรเพื่อประโยชน์ทางสุขภาพและกิจกรรมที่เกี่ยวข้องของบ้านบางไทร 6. หลังทำกิจกรรมชุมชน ให้ผู้จัดหรือผู้ขออนุญาตจัดกิจกรรมแต่ละครั้ง รับผิดชอบในการเก้บกวาดให้เรียบร้อย 7.สถานที่นี้เป็นสวนสุขภาพ โปรดจงช่วยรักษาความสะอาด ไม่ทิ้งขยะ หรือนำสัตว์มาเลี้ยง ปล่อย 8.กรณีที่มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงมติข้อตกลงให้ใช้ที่ประชุมกรรมการหมู่บ้านในการลงมติ 9. สวนภูมิปัญญาบ้านบางไทร รับบริจาคอุปกรณ์เครื่องมือ ในอดีตที่สะท้อนภูมิปัญญาพื้นบ้านโดยแจ้งความจำนงค์ที่ผู้ใหญ่บ้านได้ตลอดเวลา

กรรมการ ผู้เข้าร่วมโครงการ และ กรรมการหมู่บ้าน ตัวแทนอบต.

2,250.00 2,250.00 70 70 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

นายประสิทธิ นาคแก้ว และนายอุดร  สมาชิกอบต. เป็นผู้ให้ข้อมูล และร่วมกันอภิปรายปัญหาการดูแลคูคลองในบ้านบางไทร และแนวทางการดูแลดังนี้ สภาพปัญหาคลองแห้ง เกิดจาก 1. การทำนาปรัง(ข้าวสั้น) ปีละ 2-3 ครั้ง ของครัวเรืทอน ต่างๆ จำนวน 15 ครัวเรือน มีจำนวนที่นา ประมาณ 200 ไร่  ต้องสูบน้ำจากคลอง บางไทร เข้าคูนา 2. การจัดตั้งฝายเหมืองกั้นน้ำเค็มของกรมชลประทาน เพื่อแก้ปัญหาน้ำเค็มหนุน ทำให้ ผักบุ้ง ผักกะเฉด หญ้าริมคลอง ขึ้นชุกชุม ไม่ตายเน่าโดยธรรมชาติเดิมแต่ก่อนจะตายเมื่อน้ำเค็มขึ้น 3. สภาพภูมือากาศทั้วประเทศแห้งแล้งต่อเนื่องยาวนานเกิน 8 เดือน ซึ่งทำให้ขาดน้ำในลำคลอง จากผลดังกล่าว ทำให้เกิดปัญหาตามมาคือ 1. อาชีพที่เคยรับจ้างเช่น เรือจ้าง หาปลาเร่ขาย พายเรือเร่ขายผักบุ่ง สมัยก่อน หายไป 2. จากที่เคยอุดมด้วยปลาสองน้ำเช่น ปลาสวาย ปลากด ปลากะพง ปูดำ กุ้มก้ามกรามแม่น้ำ หายไป ปลาน้ำจืดพันธุ์ต่างๆหายไป ความอุดมสมบูรณ์แหล่งอาหารลดลง 3.คนมีวิถีอาชีพออกทำงานนอกบ้าน การใช้แรงงานในหมู่บ้านลดลง เพราะไม่สร้างรายได้ ทำให้ขาดแรงงานในการร่วมกันดูแลบ้าน ดูแลคลอง ประเพณีการลงแขกหายไป ต่างคนต่างทำ บ้านใครบ้านมัน 4. วิถีชีวิต ประเพณีการละเล่นในคลอง สายน้ำ สมัยก่อน เช่น การตีโป่ง แข่งกัน การแข้งกระโดดน้ำ การดััดกุ้ง การซ่อนปลา สู่มปลา ไม่มีให้เห็น การขอขมาลาโทษพระแม่คงคา หายไป คงเหลือปรเพณีลอยกระทง ซึ่งยังจัดอยู่ในปัจจุบัน แต่คนมักนิยมไปเท่ียวที่อื่น ทำให้บรรยากาศเงียบเหงา การจัดการรื้อฟื้น มีแนวทางดังนี้ 1. จัดให้กิจกรรมลงแขกลอกคูคลองเป็นกิจกรรมประจำปี เดือน แปด หรือเดือยสิบเอ็ด และจัดการแข่งขันกีฬาสามัคคีประจำปีเป็นการอนุรักษ์ประเพณี และประสานสามัคคีชุมชน

กรรมการโครงการ ผู้เข้าร่วมโครงการ 50 คน

2,250.00 2,250.00 70 70 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

จากการพูดคุยในเวทีชาวบ้าครั้ง นี้ จัดที่ สวนภูมิปัญญา และบริเวณบ้าน นายประสิทธิ์  นาคแก้ว มีผุ้มาร่วมกิจกรรมจากในหมู่บ้าน และ พี่เลี้ยงโครงกา นายสุธรรม  แก้วประดิษฐ์ ร่วมเวทีพูดคุยด้วย โดยได้ นำเสนอผลการพัฒนาหมู่บ้านภายใต้โครงการสสส. ดังนี้ 1. คนในหมู่บ้านเกิดการเปลี่ยนแปลง ด้านความสัมพันธ์ ที่ดี สามัคคีกลมเกลี่ยวมากขึ้น ลดความขัดแย้ง ทางการเมืองท้องถิ่นในอดีต  ผู้นำในชุมชน มีการพบปะกัน ตามแผนการประชุม อย่างต่อเนื่อง ทำให้มีการปรึกาากาันเรื่องกาวางแผนพัฒนาให้เป็นชุมชนน่าอยู่ แบบไม่เป็นทางการมากขึ้น
2. สิ่งแวดล้อม เปลี่ยนแปลงในทางที่ดี ได้แก่ ครัวเรือน มีรั่ว สวยงามเป็นระเบียบเรียบร้อย มีรั้วมะขาม ชะอม โมกข์ และ เข็ม ปลูกเป้นรั้วหน้าบ้าน เพิ่มขึ้นจากก่อนทำโครงการ ร้อยละ 50
3. เกิดสวนสุขภาพที่ชุมชนร่วมคิดร่วมทำ 1 แห่ง คือ สวนภูมิปัญญาบ้านบางไทร ที่เป็นทั้งศูนย์เรียนรู้ ภูมิปัญญา พื้นบ้านและจุดประสานงานโครงการ เพื่อชุมชน ซึ่งเกิดจากความร่วมมือร่วมใจ การเสียสละ เช่น ที่ดินในการใช้สถานที่ แรงกาย แรงคิด จากช่างไม้ ลูกมือจากหนุ่มๆในหมู่บ้าน ฝีมือในการเสกสรรค์ทำป้ายของผู้ใหญ่มีชัย ดีถนอม การทำบอกเวียน และรวบรวมเครื่องมือจักรสาน ที่เคยใช้ทำมาหากิน ในอดีต ไม้จัดเก็บตกแต่ง ศาลาภูมิปัญญา โดยมี อ.สุวิทย์  สุขศรีนวล เป็นผู้รวบรวมด้านข้อมูลประกอบ 4. เกิดกลไกที่ดี ด้านวิธีการชุมนุมและประชุม โดยใช้เวทีประชุมชาวบ้านทุกเดือน ในการสื่อสาร บอกเร่องราว นัดแนะการมาพบปะประชุม และมีเวทีสภาผู้นำ ทุกเดือน ทำให้ มีการพัฒนาด้านความคิด การประสานงาน และการจัดการที่ดีขึ้น 5. เกิดความรู้ ในการพัฒนา ได้แก้ ชาวบ้าน ทั่วไป รู้ว่า ความสำเร็จในการพัฒนาชุมชนให้น่าอยู่เกิดจากความร่วมแรงร่วมใจและความมุ่งมั่นของชาวบ้าน ไม่ใช่ คำสั่งที่มาจากหน่วยงานของรัฐ เสมอ กลุ่มผู้เข้าร่วมโครงการ มีความรู้ว่าการพัฒนาที่ดี ต้องมีความต่อเนื่อง ความเข้มข้น และ ความถี่ สม่ำเสมอต่อเนื่อง และกัดไม่ปล่อย มีผู้นำที่เอาจริงเอาจัง และโปร่งใส และรู้เข้าใจ แนวคิดการสร้างสุขภาพด้วยตนเอง ในวิถีชีวิตชนบท ส่วนผู้นำ เกิดองค์ความรู้ ด้านแนวคิดการพัฒนาภายใต้เศรษฐกิจพอเพียง คุณค่าภูมิปัญญาพื้นบ้าน และตระหนักในการปลูกฝังจิตสำนึกด้านการรักษาสิ่งแวดล้อม สายน้ำ ให้คงอยู่ เป็นแหล่งน้ำอุปโภค และแหล่งพันธุ์สัตว์น้ำอย่างมั่นคง

กิจกรรมหลัก : จัดกิจกรรมถอดบทเรียนi

8,900.00 70 ผลผลิต

เกิดกระบวนการสังเคราะห์ผลที่ได้จากการทำกิจกรรมร่วมกัน ทุก 3 เดือน และเกิดองค์ความรู้ของชุมชน และมีการถ่ายทอดต่อ ค้นพบคุณค่าของการดำเนินโครงการในรูปแบบ ผลผลิตตามตัวชี้วัด และผลลัพธ์ เชิงคุณภาพ เช่นการเรียนรู้แลกเปลี่ยนระหว่างโครงการต่างๆในชุมชนอื่นๆ


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

เกิดกระบวนการสังเคราะห์ผลที่ได้จากการทำกิจกรรมร่วมกัน และเกิดองค์ความรู้ของชุมชน คุณค่าของการดำเนินโครงการ การเรียนรู้แลกเปลี่ยนระหว่างโครงการต่างๆในชุมชนอื่นๆ กระตุ้นให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 1 ครั้ง

ผู้เข้าร่วมโครงการ 25 คน และกรรมการโครงการ 15 คน

8,900.00 8,900.00 70 40 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลสรุปการดำเนินโครงการ จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มีดังนี้ 1. คนในหมู่บ้านเกิดการเปลี่ยนแปลง ด้านความสัมพันธ์ ที่ดี สามัคคีกลมเกลี่ยวมากขึ้น ลดความขัดแย้ง ทางการเมืองท้องถิ่นในอดีต  ผู้นำในชุมชน มีการพบปะกัน ตามแผนการประชุม อย่างต่อเนื่อง ทำให้มีการปรึกาากาันเรื่องกาวางแผนพัฒนาให้เป็นชุมชนน่าอยู่ แบบไม่เป็นทางการมากขึ้น
2. สิ่งแวดล้อม เปลี่ยนแปลงในทางที่ดี ได้แก่ ครัวเรือน มีรั่ว สวยงามเป็นระเบียบเรียบร้อย มีรั้วมะขาม ชะอม โมกข์ และ เข็ม ปลูกเป้นรั้วหน้าบ้าน เพิ่มขึ้นจากก่อนทำโครงการ ร้อยละ 50
3. เกิดสวนสุขภาพที่ชุมชนร่วมคิดร่วมทำ 1 แห่ง คือ สวนภูมิปัญญาบ้านบางไทร ที่เป็นทั้งศูนย์เรียนรู้ ภูมิปัญญา พื้นบ้านและจุดประสานงานโครงการ เพื่อชุมชน ซึ่งเกิดจากความร่วมมือร่วมใจ การเสียสละ เช่น ที่ดินในการใช้สถานที่ แรงกาย แรงคิด จากช่างไม้ ลูกมือจากหนุ่มๆในหมู่บ้าน ฝีมือในการเสกสรรค์ทำป้ายของผู้ใหญ่มีชัย ดีถนอม การทำบอกเวียน และรวบรวมเครื่องมือจักรสาน ที่เคยใช้ทำมาหากิน ในอดีต ไม้จัดเก็บตกแต่ง ศาลาภูมิปัญญา โดยมี อ.สุวิทย์  สุขศรีนวล เป็นผู้รวบรวมด้านข้อมูลประกอบ 4. เกิดกลไกที่ดี ด้านวิธีการชุมนุมและประชุม โดยใช้เวทีประชุมชาวบ้านทุกเดือน ในการสื่อสาร บอกเร่องราว นัดแนะการมาพบปะประชุม และมีเวทีสภาผู้นำ ทุกเดือน ทำให้ มีการพัฒนาด้านความคิด การประสานงาน และการจัดการที่ดีขึ้น 5. เกิดความรู้ ในการพัฒนา ได้แก้ ชาวบ้าน ทั่วไป รู้ว่า ความสำเร็จในการพัฒนาชุมชนให้น่าอยู่เกิดจากความร่วมแรงร่วมใจและความมุ่งมั่นของชาวบ้าน ไม่ใช่ คำสั่งที่มาจากหน่วยงานของรัฐ เสมอ กลุ่มผู้เข้าร่วมโครงการ มีความรู้ว่าการพัฒนาที่ดี ต้องมีความต่อเนื่อง ความเข้มข้น และ ความถี่ สม่ำเสมอต่อเนื่อง และกัดไม่ปล่อย มีผู้นำที่เอาจริงเอาจัง และโปร่งใส และรู้เข้าใจ แนวคิดการสร้างสุขภาพด้วยตนเอง ในวิถีชีวิตชนบท ส่วนผู้นำ เกิดองค์ความรู้ ด้านแนวคิดการพัฒนาภายใต้เศรษฐกิจพอเพียง คุณค่าภูมิปัญญาพื้นบ้าน และตระหนักในการปลูกฝังจิตสำนึกด้านการรักษาสิ่งแวดล้อม สายน้ำ ให้คงอยู่ เป็นแหล่งน้ำอุปโภค และแหล่งพันธุ์สัตว์น้ำอย่างมั่นคง

กิจกรรมหลัก : จัดกิจกรรมร่วมกันดูแลรักษาคูคลองทุก 1-2 เดือนi

8,200.00 30 ผลผลิต

คลองบางไทรได้รับการสำรวจและได้รับการดุแล เกิดกลุ่มคนรักษ์คลองบางไทร 1 กลุ่ม เพื่อร่วมอนุรักษ์คลองบางไทรต่อเนื่อง


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

เกิดเครือข่ายคนรักคลองบางไทรขึ้นเองโดยการรวมตัวของเด้ก เยาวชน และชาวบางไทรที่เห็นความสำคัญและมีเวลาพร้อมเสียสละเวลาร่วมดุแลคลองบางไทร

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 2 ครั้ง

เด็กนักเรียนจำนวน 30 คน ปราชญชาวบ้าน 1 คน

3,600.00 3,600.00 30 30 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

จากการสำรวจคลองบางไทรโดยการตรวจตราบันทึกภาพในคลอง และนำมาอภิปรายที่ศาลาบางไทร เปรียบเทียบคลองในปัจจุบัน กับในอดีต เพื่อสร้างจิตสำนึกในการร่วมอนุรักษ์คลองแก่เยาวชนกลุ่มต้นน้ำ พบว่า 1. คลองตลอดแนว 4 กม.ที่เดินเข้าไปถึง เต็มไปด้วยผักบุ้ง ผักกะเฉด และวัชชพืชขึ้นคลุมรกมาก 2. น้ำแห้งขอดคลองเป็นช่วงๆ บางช่วงมีน้ำใส เห็นปลาเล็กเช่น ปลาโทง กระกะดี่ ลูกครอกปลา สัตว์เล็กๆในคลองเช่น แมงเข้
3. มีซากต้นไม้ ขวดแก้ว วัสดุอื่นๆ บริเวณข้างคลอง ริมคลอง ที่อาจเกิดอันตรายได้ 4. ปลาชะโดมีในคลอง มาก ซึ่งไปไล่กินปลาเล็กๆหมด 5. การลอกคูคลองต้องทำต่อเนื่องและไม่ใช้เครื่องจักร เพราะทำลายริมคลอง 6. ใช้กิจกรรมลอกคูคลองให้เป็นกิจวัตรในการบำเพ็ญประโยชน์ของกลุ่มจิตอาสาในหมู่บ้าน และควรเข้าแผนพัฒนาหมู่บ้านไว้ต่อเนื่อง

เยาวชนและนักเรียน ปราชญชาวบ้าน กรรมการโครงการ

4,600.00 4,600.00 30 30 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เยาวชนและนักเรียน ปราชญชาวบ้าน กรรมการโครงการ ร่วมอนุรักษ์คลองโดยการตราวจสภาพคลองบางไทร โดยการวางแผนการจัดการอนุรักษ์คลองบางไทรหลังการทำกิจกรรมลอกคูคลอง อย่างต่อเนื่อง เช่นแผนการประชุมและตรวจตราสายน้ำ การเฝ้าระวังการทำลายพันธ์สัตว์น้ำ  การให้ความรู้และการขยายเครือข่ายเยาวชนรักษ์คลองบางไทรในหมู่บ้านให้มากขึ้น เป้นต้น โดยมี อ.สุวิทย์  สุขศรีนวล ได้ เป็นผู้ประสานงาน ให้ความรู้และดูแลกลุ่มเยาวชนอย่างต่อเนื่อง ทั้งในระดับครัวเรือน และในโรงเรียนใกล้เคียง ผลสุดท้าย เกิดคลองบางไทรได้รับการสำรวจและได้รับการดุแล เกิดกลุ่มคนรักษ์คลองบางไทร 1 กลุ่ม เพื่อร่วมอนุรักษ์คลองบางไทรต่อเนื่อง

2.3.1 นวัตกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ

(นวัตกรรมคือ การจัดการความคิด กระบวนการ ผลผลิต และ/หรือเทคโนโลยีที่เหมาะสม มาใช้งานให้เกิดประสิทธิผล และ/หรือประสิทธิภาพมากกว่าเดิมอย่างชัดเจน)

ชื่อนวัตกรรมคุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรมผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์
สวนภูมิปัญญาบางไทร

การรื้อฟื้นประเพณีลงแขกรวมพลังกันในชุมชน

สวนภูมิปัญญาบ้านบางไทร ที่เป็นทั้งศูนย์เรียนรู้ ภูมิปัญญา พื้นบ้านและจุดประสานงานโครงการ เพื่อชุมชน ซึ่งเกิดจากความร่วมมือร่วมใจ การเสียสละ เช่น ที่ดินในการใช้สถานที่ แรงกาย แรงคิด จากช่างไม้ ลูกมือจากหนุ่มๆในหมู่บ้าน ฝีมือในการเสกสรรค์ทำป้ายของผู้ใหญ่มีชัย ดีถนอม การทำบอกเวียน และรวบรวมเครื่องมือจักรสาน ที่เคยใช้ทำมาหากิน ในอดีต ไม้จัดเก็บตกแต่ง ศาลาภูมิปัญญา โดยมี อ.สุวิทย์  สุขศรีนวล เป็นผู้รวบรวมด้านข้อมูลประกอบ

2.3.2 โครงการเด่น (Best Practice)

(โครงการเดิ่น คือ โครงการสร้างเสริมสุขภาพให้สัมฤทธิ์ผลที่เป็นรูปธรรมแล้วขยายผลอย่างยั่งยืน โดยแนวคิดกระบวนการ และผลงาน สามารถเป็นตัวอย่างที่จะนำไปขยายผลในชุมชน (Setting) อื่น ๆ ได้ การดำเนินงานมีส่วนร่วมของภาคีที่หลากหลาย มีการบริหารจัดการที่ดี โปร่งใสและตรวจสอบได้)

ชื่อ Best Practiceวิธีการทำให้เกิด Best Practiceผลของ Best Practice / การนำไปใช้ประโยชน์
ข้อตกลงการใช้สวนภูมิปัญญาบางไทร

จัดทำข้อตกลงร่วมกัน

สรุปข้อตกลงในการจัดทำสวนภูมิปัญญาเพื่อสุขภาพของบ้านบางไทร โดยการระดมสมอง อภิปราย แล้วลงมติ  และจัดทำป้ายมาประกาศไว้ที่สวนภูมิปัญญา มีข้อตกลงดังนี้ 1. ที่ดินที่ใช้เป็นสถานที่จัดทำสวนภูมิปัญญานี้ได้รับบริจาคให้ใช้ประโยชน์โดย นส.เสาวนีย์  ศรีต้า สมาชิก อบต.บ้านบางไทร 2. สวนภูมิปัญญาและอุปกรณ์ สิ่งของต่างๆ เป็นสมบัติของบ้านบางไทร ห้ามมิให้ผู้ใดนำออกจากบริเวณสวนภูมิปัญญา 3. บริเวณสวนภูมิปัญญามีวัตถุประสงค์จัดทำขึ้นเพื่อสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นบ้านบางไทร 4. สถานที่นี้เป็นเขตปลอดบุหรี่-สุราตามนโยบายการคุ้มครองสุขภาพ และห้ามนำสารเสพติดให้โทษเข้ามาในบริเวณสวนภูมิปัญญา 5. สวนภูมิปัญญา เป็นสวนสุขภาพ จัดทำขึ้นโดยชาวบางไทรเพื่อประโยชน์ทางสุขภาพและกิจกรรมที่เกี่ยวข้องของบ้านบางไทร 6. หลังทำกิจกรรมชุมชน ให้ผู้จัดหรือผู้ขออนุญาตจัดกิจกรรมแต่ละครั้ง รับผิดชอบในการเก้บกวาดให้เรียบร้อย 7.สถานที่นี้เป็นสวนสุขภาพ โปรดจงช่วยรักษาความสะอาด ไม่ทิ้งขยะ หรือนำสัตว์มาเลี้ยง ปล่อย 8.กรณีที่มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงมติข้อตกลงให้ใช้ที่ประชุมกรรมการหมู่บ้านในการลงมติ 9. สวนภูมิปัญญาบ้านบางไทร รับบริจาคอุปกรณ์เครื่องมือ

2.3.3 เกิดแกนนำ/ผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านการสร้างเสริมสุขภาพในประเด็นต่าง ๆ
ชื่อ-สกุลที่อยู่ติดต่อได้สะดวกคุณสมบัติแกนนำ/ผู้นำการเปลี่ยนแปลง
2.3.4 มีสภาพแวดล้อมและปัจจัยทางสังคมที่เอื้อต่อสุขภาพ

เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อสุขภาพในชุมชนพื้นที่โครงการดังนี้

สถานที่/พื้นที่ ที่เปลี่ยนแปลงรายละเอียดการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

คลองบางไทร

ได้รับการดูแล และร่วมกันรักษาสภาพลำคลอง ริมฝั่งคลอง แหล่ง น้ำ แหล่ง อาหาร จากสภาพรกด้วยผักบุ้ง ผักตบผักกะเฉด น้ำตื่นเขิน เห็นท้องคลอง ได้รับการลอกเอาหญ้า ผัก ต่างๆออก โดยมีการนัดลอกคูคลองกันในวันหยุดวันสำคัญ ต่างๆ ครั้งแรก ร่วมพัฒนารักษาริมฝั่งคลอง ในวัน พ่อ 5 ธค.56 และครั้้งที่ 2 นัดพัฒนาในวันสิ่งแวดล้อมโลก เดือน เมษายน แต่เนื่องจาก น้ำไม่มีแห้งแล้งมาก ทำให้ทำยาก จึงนัดกันต่อเนื่องในวันแม่ และวันหยุดสำคัญ จนกว่าจะแล้วเสร็จตลอดสายน้ำ

รั้วสุขภาพหน้าบ้าน

ครัวเรือน มีรั้ว จากพื้ชไม้กินได้ และมีประโยชน์หลายด้าน เช่นรั้วมะขาม ชะอม โมกข์ และ เข็ม ปลูกเป้นรั้วหน้าบ้าน เพิ่มขึ้นจากก่อนทำโครงการ ร้อยละ 50 สวยงามเป็นระเบียบเรียบร้อย

 

 

ส่วนที่ 3 : ปัญหาและอุปสรรคสำคัญที่มีผลกระทบต่อการดำเนินงาน

3.1 การดำเนินงานกจิกรรม/กลุ่มเป้าหมาย/ระยะเวลาดำเนินงาน/การดำเนินงาน/งบประมาณ
ประเด็นปัญหา/อุปสรรคการแก้ไขของผู้รับทุนข้อเสนอแนะ/การแก้ไขปัญหาและการเสริมพลังของผู้ติดตาม
3.2 การดำเนินงานกจิกรรม/กลุ่มเป้าหมาย/ระยะเวลาดำเนินงาน/การดำเนินงาน/งบประมาณ
ประเภทความเสี่ยง / ปัจจัยเสี่ยงระดับความเสี่ยง
(จากมากไปหาน้อย)
ข้อมูล ข้อสังเกตุ และข้อคิดเห็นของผู้ติดตาม
3210
1. ความเสี่ยงด้านการดำเนินงาน (Operational Risks)
1.1 โครงสร้างการดำเนินงาน

 

1.2 ศักยภาพและทักษะการดำเนินงาน

 

1.3 ผลลัพธ์และผลสำเร็จของการดำเนินงาน

 

2. ความเสี่ยงทางการเงิน (Financial Risks)
2.1 ระบบและกลไกการบริหารจัดการ

 

2.2 การใช้จ่ายเงิน

 

2.3 หลักฐานการเงิน

 

ผลรวม 0 0 0 0
ผลรวมทั้งหมด 0 ระดับความเสี่ยง : ???
เกณฑ์วัดระดับความเสี่ยง ???
สรุปการแก้ไขความเสี่ยง แก้ไขแล้ว ยังไม่ได้แก้ไข

ส่วนที่ 4 : สรุปความเห็นของผู้ติดตาม

ส่วนที่ 4สรุปความเห็นของผู้ติดตาม
4.1 กรณีเบิกเงินงวด/ติดตามเยี่ยมชม มีแนวโน้มสำเร็จตามเป้าหมายโครงการและติดตามปกติ
การวิเคราะห์ผลการดำเนินงานโครงการและสรุปข้อคิดเห็น

สามารถดำเนินโครงการและใช้งบประมาณตามแผน

มีแนวโน้มเสี่ยง ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด เนื่องจาก
การวิเคราะห์ผลการดำเนินงานโครงการและสรุปข้อคิดเห็น

 

มีความเสี่ยง ต้องยุติโครงการ เนื่องจาก
4.2 กรณีสรุปปิดโครงการ ดำเนินงานได้ตามแผนปฏิบัติการและสามารถปิดโครงการได้
สรุปผลภาพรวมการดำเนินงาน-การเงินโครงการและข้อคิดเห็น

 

ไม่เป็นไปตามแผนปฏิบัติการ ให้ดำเนินการจัดระบบการเงิน ระบบรายงานให้ถูกต้องก่อนปิดโครงการ
สรุปผลภาพรวมการดำเนินงาน-การเงินโครงการและข้อคิดเห็น

 

ส่วนที่ 5 : สรุปภาพรวมของการติดตามประจำงวด (ข้อสังเกต/สิ่งดีๆ ที่ค้นพบ/ข้อพึงระวัง/บทเรียนที่ได้)

  1. คนในหมู่บ้านเกิดการเปลี่ยนแปลง ด้านความสัมพันธ์ ที่ดี สามัคคีกลมเกลี่ยวมากขึ้น ลดความขัดแย้ง ทางการเมืองท้องถิ่นในอดีต  ผู้นำในชุมชน มีการพบปะกัน ตามแผนการประชุม อย่างต่อเนื่อง ทำให้มีการปรึกาากาันเรื่องกาวางแผนพัฒนาให้เป็นชุมชนน่าอยู่ แบบไม่เป็นทางการมากขึ้น
  2. สิ่งแวดล้อม เปลี่ยนแปลงในทางที่ดี ได้แก่ ครัวเรือน มีรั่ว สวยงามเป็นระเบียบเรียบร้อย มีรั้วมะขาม ชะอม โมกข์ และ เข็ม ปลูกเป้นรั้วหน้าบ้าน เพิ่มขึ้นจากก่อนทำโครงการ ร้อยละ 50
  3. เกิดสวนสุขภาพที่ชุมชนร่วมคิดร่วมทำ 1 แห่ง คือ สวนภูมิปัญญาบ้านบางไทร ที่เป็นทั้งศูนย์เรียนรู้ ภูมิปัญญา พื้นบ้านและจุดประสานงานโครงการ เพื่อชุมชน ซึ่งเกิดจากความร่วมมือร่วมใจ การเสียสละ เช่น ที่ดินในการใช้สถานที่ แรงกาย แรงคิด จากช่างไม้ ลูกมือจากหนุ่มๆในหมู่บ้าน ฝีมือในการเสกสรรค์ทำป้ายของผู้ใหญ่มีชัย ดีถนอม การทำบอกเวียน และรวบรวมเครื่องมือจักรสาน ที่เคยใช้ทำมาหากิน ในอดีต ไม้จัดเก็บตกแต่ง ศาลาภูมิปัญญา โดยมี อ.สุวิทย์  สุขศรีนวล เป็นผู้รวบรวมด้านข้อมูลประกอบ 4. เกิดกลไกที่ดี ด้านวิธีการชุมนุมและประชุม โดยใช้เวทีประชุมชาวบ้านทุกเดือน ในการสื่อสาร บอกเร่องราว นัดแนะการมาพบปะประชุม และมีเวทีสภาผู้นำ ทุกเดือน ทำให้ มีการพัฒนาด้านความคิด การประสานงาน และการจัดการที่ดีขึ้น 5. เกิดความรู้ ในการพัฒนา ได้แก้ ชาวบ้าน ทั่วไป รู้ว่า ความสำเร็จในการพัฒนาชุมชนให้น่าอยู่เกิดจากความร่วมแรงร่วมใจและความมุ่งมั่นของชาวบ้าน ไม่ใช่ คำสั่งที่มาจากหน่วยงานของรัฐ เสมอ กลุ่มผู้เข้าร่วมโครงการ มีความรู้ว่าการพัฒนาที่ดี ต้องมีความต่อเนื่อง ความเข้มข้น และ ความถี่ สม่ำเสมอต่อเนื่อง และกัดไม่ปล่อย มีผู้นำที่เอาจริงเอาจัง และโปร่งใส และรู้เข้าใจ แนวคิดการสร้างสุขภาพด้วยตนเอง ในวิถีชีวิตชนบท ส่วนผู้นำ เกิดองค์ความรู้ ด้านแนวคิดการพัฒนาภายใต้เศรษฐกิจพอเพียง คุณค่าภูมิปัญญาพื้นบ้าน และตระหนักในการปลูกฝังจิตสำนึกด้านการรักษาสิ่งแวดล้อม สายน้ำ ให้คงอยู่ เป็นแหล่งน้ำอุปโภค และแหล่งพันธุ์สัตว์น้ำอย่างมั่นคง

สร้างรายงานโดย sutham