แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


“ ขยะเป็นปุ๋ยเพิ่มผลผลิตลดสารเคมี ”

หมู่ที่ 1 ตำบลโพธิ์เสด็จ อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช

หัวหน้าโครงการ
นางลมัย ไชยมาศ

ชื่อโครงการ ขยะเป็นปุ๋ยเพิ่มผลผลิตลดสารเคมี

ที่อยู่ หมู่ที่ 1 ตำบลโพธิ์เสด็จ อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัด นครศรีธรรมราช

รหัสโครงการ 56-01530 เลขที่ข้อตกลง 56-00-1050

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 กันยายน 2556 ถึง 30 กันยายน 2557


กิตติกรรมประกาศ

"ขยะเป็นปุ๋ยเพิ่มผลผลิตลดสารเคมี จังหวัดนครศรีธรรมราช" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน หมู่ที่ 1 ตำบลโพธิ์เสด็จ อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
ขยะเป็นปุ๋ยเพิ่มผลผลิตลดสารเคมี



บทคัดย่อ

โครงการ " ขยะเป็นปุ๋ยเพิ่มผลผลิตลดสารเคมี " ดำเนินการในพื้นที่ หมู่ที่ 1 ตำบลโพธิ์เสด็จ อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช รหัสโครงการ 56-01530 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 กันยายน 2556 - 30 กันยายน 2557 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 148,400.00 บาท จาก เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 100 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

 

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อให้ชาวบ้านร่วมกันกำจัดขยะจากถุงเห็ด ให้เป็นปุ๋ยหมักมาใส่พืชผักผลไม้เพิ่มผลผลิต ลดต้นทุนการผลิต ลดสารเคมี
  2. เพื่อให้เกิดฐานเรียนรู้การกำจัดขยะ เพิ่มรายได้ รักษาสิ่งแวดล้อมของหมู่บ้าน จากการมีสัญญาประชาคมการจัดการขยะหมู่บ้าน

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

     


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. ประชุมกรรมการและพบพี่เลี้ยง

    วันที่ 19 ตุลาคม 2556 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    พบพี่เลี้ยงกลุ่มเพื่อรับคำแนะนำเพื่อให้ได้จัดกิจกรรมที่สมบูรณ์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สมาชิกมีความสนใจและตื่นเต้นที่ได้รับทราบถึงกิจกรรมที่ทางกลุ่มกำลังจะดำเนินการได้มีการเสนอแนะแนวทางและปัฐหากันอย่างแพร่หลาย

     

    20 20

    2. ประชุมคณะทำงาน เพื่อจัดทำแผนกิจกรรมประจำปี

    วันที่ 26 ตุลาคม 2556 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    แกนนำกลุ่มสมาชิกทั้ง 20 คนให้ความร่วมมือในการช่ายเสนอความคิดเห็นในกาดำเนินกิจกรรมของกลุ่ม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้รับคำแนะนำจากแกนนำสมาชิกของกลุ่มเรื่องการจัทำปฏิทินแผนการปฏิบัติงานกิจกรรมของกลุ่มโดยทางกลุ่มมีความเป็นพ้องกันว่าต้องใช้เงินทุกบาทที่ทาง สสส.ใก้มาเป็นทุนอย่างคุ้มค่า 

     

    20 20

    3. ชี้แจงรายละเอียดโครงการให้ชุมชนรับทราบ

    วันที่ 9 พฤศจิกายน 2556 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จากการประชุมสมาชิกในกลุ่มเข้าใจถึงการจัดทำกิจกรรมประโยชน์ และความจำเป็นในการจัดตั้งกลุ่มเพื่อจัดทำกิจกรรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สมาชิกในกลุ่มได้รับข้อมูลการดำเนินกิจกรรม แนวทางในการปฏิบัติของกลุ่มพื่อให้ได้มาซึ่งประสิทธิภาพของการทำกิจกรรม

     

    50 50

    4. อบรมให้ความรู้การทำเกษตรอินทรีย์ การทำปุ๋ยชีวภาพ

    วันที่ 10 พฤศจิกายน 2556 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วิทยากรมาประชุมให้ความรู้แก่สมาชิกเรื่องประโยชน์จากการใช้ปุ๋ยชีวภาพ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สมาชิกได้รับความรู้จากวิทยากรผู้ชำนาญการในเรื่องประโยชน์จากการใช้ปุ๋ยชีวภาพและวิธีการนำปุ๋ยหมักชีวภาพไปใช้ในปลูกฟืชผักแบบเกษตรอิทรีย์ มาทำข้อตกลงการใช้ปุ๋ย โดยให้ใช้ปุ๋ยหมักในการปลูกผักในครัวเรือน ติดตามผลจากแกนนำคณะกรรมการ โดยให้สมาชิก 50 คน 30 ครัวเรือน ที่มาช่วยกันทำ ให้ไปทำ และเรียนรู้เรื่องประโยชน์ของปุ๋ย มีวิทยากรมาเลบอกให้ฟังเรื่องผลดีของปุ๋ย และบอกวิธีการทำ วิทยากรเป็นหมอดินตำบล หมอดินอาสา หมู่ 3 ของตำบล มาให้ความรู้เรื่องการประบดินให้เหมาะสมสำหรับเกษตร หมอดินทำเห็ดฟางจากทลายปาล์ม ใช้วัสดุท้องถิ่น เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ได้แนวทางการใช้วัสดุท้องถิ่น เพื่อนำมาเป็นวัสดุทำปุ๋ยดีมาก นอกจากนี้ยังมีสมาชิกคนอื่นๆ นอกกลุ่มที่มาใหม่ มีความสนใจเรื่องนี้ ถามเรื่องโครงการ และเห็นด้วยกับโครงการ ในกลุ่มสมาชิกเองก็มาร่วมดี ผลัดเปลี่ยนกันมาทุกครั้ง อยากมีส่วนร่วม มีความอยากเข้าร่วมเพิ่มมากขึ้น คณะกรรมการได้อธิบายที่มาของโครงการให้ทราบ กลุ่มสมาชิกมีความตั้งใจมาก อยากให้ดำเนินงานได้สำเร็จ ในบ้านใสหนุนเป็นโซนของหมู่ 1 ยังไม่การรวมกลุ่มทำงาน จึงได้สร้างแรงบรรดาลใจให้มาร่วมและเรียนรู้ต่อ เมื่อก่อนมาทำแต่แกนนำได้เสียชีวิต ขาดแกนนำทำต่อ การทำวันนี้ได้ร้างแรงบรรดาลใจให้กลุ่มอื่นๆ ในหมู่บ้านมาร่วมเพิ่มเติม เป็นแบบอย่างให้กลุ่มอื่นๆ ได้ ในโครงการนี้ใช้บ้านนายจำเรียงก่อน เพราะยังไม่มีที่สาธารณะ ต่อไปขยายผลได้

     

    50 50

    5. ทำปุ๋ยหมัก

    วันที่ 22 พฤศจิกายน 2556 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ดำเนินการทำปุ๋ยหมักชีวภาพโดยมีวิทการกรเป็นผู้ดูแล

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สมาชิกได้ร่วมกันทำกิจกิจกรรมปุ๋ยหมักชีวภาพโดยมีวิทยากรผู้เชี่ยวชาญงานในแต่ละด้านเป็นผู้คอยดูแลการทำกิจกรรมตลอด 3 วัน ซึ่งสมาชิกได้เรียนรู้การวิธีการทำปุ่ยหมักและได้รับทราบประโยชน์ของปุ๋ยหมักชีวภาพ ลดต้นทุน ลดสารเคมี ในวันแรกได้ประชุมก่อนทำ ดดยแบ่งจุดทำงาน เป็นชุดละ 10 คน ตามที่มอบหมายไว้แล้ว ดังนั้นให้คนที่ได้รับมอบหมาย ไปขนก้อนเห็ดจากกองขยะ และตามบ้าน มารวมกันที่บ้านนายจำเรียง แบ่งกันแกะถุงเห็ด ทำกันหนึ่งวันจนค่ำ ต่อมาในวันที่ 2 ได้ช่วยกันขนไว้ในโรงทำปุ๋ย แบ่งกันโรงละ 10 คน ทั้งหมด 5 โรง ช่วยกันสับก้อนเห็ดให้ละเอียด เพื่อให้ย่อยสลายได้ง่าย เตรียมวัสดุอื่นๆ ทำจนค่ำ ต่อมา วันที่ 3 นำวัสดุอื่นๆ ได้แก่ ขี้ไก่ กากน้ำตาล อีเอ็ม ปูนขาว นำมาคลุกเล้าในโรง แบ่งกันคลุกเคล้ากันทั้ง 5 โรง หลังจากนั้นรดด้วยน้ำอีเอ็มซ้ำ ให้ชุ่ม คลุกเคล้าจนเข้ากันดี จึงได้ คลุมปิดไว้ ทิ้งไว้ 1 สัปดาห์ จึงมาเปิดกลับปุ๋ย ทำทุกอาทิตย์ จนครบ 1 เดือน มีการตรวจสอบโดยการใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านว่าปุ๋ยใช้ได้หรือไม่ ถ้ามีอายความร้อนยังใช้ไม่ได้ เมื่อทำสัปดาห์แรกยังไม่ละเอียด มีการคลุกเคล้าทุกสัปดาห์จนละเอียด และไม่มีความร้อน ปุ๋ยเป็นเนื้อเดียวกัน แยกออกไม่ได้ว่าเป็นวัสดุอะไร

     

    50 50

    6. ประชุมคณะทำงานประจำเดือน

    วันที่ 28 ธันวาคม 2556 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะกรรมการประชุมร่วมกันเพื่อดำเนินโครงการอย่างต่อเนื่อง จำนวน 50 คน ร่วมกัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ประชุมคณะทำงาน ปรึกษาหารือเพื่อนำถุงเห็ดมาทำปุ๋ย มีคนสนใจทำกัน ประมาณ 30 กว่าคน ชาวบ้านที่สนใจมาร่วมเพิ่มมากขึ้น ได้ตกลงวิธีการทำ โดยแบ่งงานกันทำ มีทีมขนถุงเห็ด แกะถุง และนำมาที่ทำ แบ่งเป็น 5 ฝ่าย ฝ่ายละ 6 -10 คน นำอุปกรณ์มารวมที่บ้านนายจำเรียง มีเทคนิค คือต้องใช้จอบสับให้ละเอียดก่อนจึงดึงถูงออก สรุปขั้นตอนชัดเจนแล้ว ได้ไปทำตามหน้าที่ ไปตามบ้าน ตอนแรกเจ้าของบ้านให้หารถไปรับมาเอง ต่อไปคิดวิธีใหม่เพื่อมารวม แทนที่จะมาทิ้งข้างถนนเหมือนเดิม เปลี่ยนใหม่ ให้นำมากองไว้ที่บ้านสมาชิกที่ทำ เพื่อเป็ยปุ่ยแบ่งไปใช้ ทั้งลดขยะได้ และลดการใช้สารเคมี

     

    20 50

    7. อบรมการปลูกผักแบบเกษตรอินทรีย์

    วันที่ 11 มกราคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    สมาชิกเข้าร่วมประชุมการปลูกผักโดยใช้สารอินทรีย์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สมาชิกได้รับความรู้จากวิทยากร ในการปลูกผักโดยใช้สารอินทรีย์ หลังจากได้ปุ๋ยแล้วนำไปปลูกผัก คะน้า ผักบุ้ง แตงกวา ตะไคร้ พริกขี้หนู้ พริกไทย รวม ๓๐ บ้าน ผลตอบรับดีมาก สามามารถใช้แทยปุ๋ยเคมีได้ดี ได้ไปทุกคน เมื่อทุกคนเห็นว่าดี ครั้งต่อไปให้บริหารจัดการแบบกองทุน คือ มาร่วมลงทุนทำ และแบ่งกันไปใช้ใช้ และมาแลกเปลี่ยนกันอย่างสม่ำเสมอ

     

    30 30

    8. ประชุมคณะทำงานประจำเดือน

    วันที่ 18 มกราคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    แกนนำสมาชิกร่วมเสนอปัญหาและแนวทางแก้ปัญหา

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้ทราบถึงปัญหาที่ผ่านมาในการดำเนินกิจกรรมและได้หาแนวทางแก้ไขปัญหา พบว่ามีการทำงานร่วมกันทุกคน ตกลงกันว่าพบกันที่บ้านนายจำเรียง วึ่งมีความรู้เรื่องปุ๋ยหมัก ค้นหาพบหมอดินในตำบลอีก ๑ คน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการไปตามหมอดินมาร่วม ชื่อนายสาคร รัตพฤกษา เป็นชาวบ้านช่วยงาน ได้วิทยากรจากหมู่ ๓ นายสัมพันธ์ มาช่วยเพิ่ม ทุกคนเห็นมังคุดบ้านนายจำเรียงสวยมาก เนื่องจากใช้ปุ๋ยชีวภาพจากขี้ไก่ ขี้หมู รอบบ้านมีดอกสวยมาก ที่ประชุมเห็นด้วยว่าดีมาก เห็นควรใช้ปุ๋ยหมัก ใช้ถุงเห็ดมาทำได้ไม่ติดเชื้อราเพราะผ่านการฆ่าเชื้อราแล้ว นำมาทำปุ๋ยได้ดี ช่วยลดขยะได้อีก ในกลุ่มจึงลงมติไปขนถุงเห็ดมาทำ ทำที่คอดหมูเก่าที่ไม่ใช้แล้ว ใช้ส่วนผสมหลักคือ ถุงเห็ด

     

    20 20

    9. ประชุมคณะทำงานประจำเดือน

    วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดการดำเนินการแจกกิ่งมะนาวให้แก่สมาชิกที่ได้รับคัดเลือก และมีการประชุมร่วมกันแสดงความคิดเห็นถึงวิธิการที่ดำเนินการปลูกมะนาวให้ได้ผลดีที่สุด

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จัดประชุมประจำเดือนแก่แกนนำสมาชิกพร้อมแจกกิ่งมะนาวและได้กำหนดให้สมาชิกว่าใครจะเป็นผู้ที่จะไปแจกกิ่งพันธุ์มะนาวที่เหลือให้กับสมาชิก และคัดสรรครายชื่อสมาชิกที่จะได้รับกิ่งมะนาว ซึ่งสมาชิกที่จะได้รับกิ่งมะนาวต้องเป็นสมาชิกที่มีปล่องซีเมนต์อยู่แล้วพร้อมที่จะสามารถปลูกมะนาวลงปล่องซีเมนต์ได้เลย และต้องมีความรับผิดชอบต่อการดูแลต้นมะนาวได้พอสมควร ส่วนกิ่งมะนาวก็ได้จากการให้แกนนำสามาชิกที่มีต้นมะนาวที่มีขนาดพอเหมาะได้ช่วยกันชำไว้แล้วนำมาแจกให้กับสมาชิกท่านอื่นด้วย แจกกิ่งมะนาวให้แก่แกนนำสมาชิกแล้วเสร็จ

     

    20 20

    10. ประชุมสรุปผลติดตามการปลูกมนาว

    วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดประชุมติดตามการปลูกมะนาวที่สมาชิกได้รับเพื่อป้องกันการทิ้งกิ่งพันธ์มะนาวที่สมาชิกได้รับไป เพื่อให้ได้รับประโยชน์สูงสุด

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สอบถามติดตามเรื่องการปลูกมะนาวในปล่องซีเมนต์ จากสมาชิกที่ได้รับกิ่งพันธุ์มะนาว ว่าได้มีปัญหาหรืออุปสรรคอย่างไรบ้างมีการตายเกิดขึ้งบ้างหรือไม่ และหากตายตายด้วยสาเหตุอะไร และได้ทำการปลูกหมดเรียบร้อยหรือไม่ ปรากฎว่ามีสมาชิกบางคนยังไม่ได้ปลูกจึงกำหนดให้สมาชิกกลับไปปลูกภายในวันนั้น โดยการกำหนดให้แกนนำสมาชิกท่านอื่นได้ตามไปกำกับดูแลการปลูกหลังจากเลิกประชุม และแจ้งว่าถ้าหากยังไม่ทำการปลูกก็จะทำการยึงกิ่งพันธุ์มะนาวมาให้สมาชิกท่านอื่นปลูกต่อไป หลังจากปลูกแล้วไม่มีกิ่งที่ตายเลย ส่วนที่ยังไม่ได้ปลูกได้ให้ คุณ จำเรียง รอดรัตน์ เป็นผู้ติดตามไปดูแลหลังเลิกประชุม

     

    30 30

    11. ประเมินผลจาการนำปุ๋ยหมักไปใช้

    วันที่ 8 มีนาคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดประชุมสมาชิกได้เสนอแนะถึงปัญหาและอุปสรรคที่พบจากการทำปุ๋ยหมักที่ผ่านมาก่อนที่จะนำปุ๋ยหมักไปใช้จริง โดยมีท่านนายกเทศมนตรี เทศบาทตำบลโพธิ์เสด็จมาร่วมใสครั้งนี้ด้วย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สมาชิกมีความพอใจในผลที่ได้จากการใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพและมีความประสงค์ที่จะนำไปทดลองใช้เองโดยปกติสมาชิกในกลุ่มปลูกพืชผัก ผลไม้ ใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ (เคมี) เพราะมีขายตามท้องตลาดและให้ผลผลิตดี แต่ไม่ได้รู้ถึงโทษของปุ๋ยวิทยาสาตร์ (เคมี) จากการทำ กลุ่มได้ จัดตั้งขึ้นมาทำปุ๋ยหักจากขยะถุงเห็ดที่ไม่ได้ใช้ปหระโยชน์แล้ว ซึ่งเป็นขยะที่นำมาทิ้งตามริมถนน ริมคลอง ชลประทาน ซึ่งทำให้ในหมู่บ้านลดปัญหาขยะในที่สาธารณะ และนำมาทำปุ๋ยหมักชีวภาพ โดยใช้ขยะจากถุงเป็ด กากน้ำตาล EM แกลบ ปุ๋ยคอก มาเป็นส่วนผสมในการทำปุ๋ยหมัก จำนวน 2 เดือน ก็สามารถนำมาใช้ได้ โดยแจกจ่ายให้แก่สมาชิกในกลุ่มนำไปใช้ ปรากฎว่า สมาชิกในกลุ่มพอในในปุ๋ยหมักชีวภาพ ซึ่งเมื่อนำไปใช้ใส่ผักเช่น ผักบุ้ง ผักคะน้า ผักกาด พริก แตงกวา ให้ผลผลิตดี ผักมีขนาดกอใหญ่ ใบใหญ่ รสชาดดี และจำดำเนินการทำปุ๋ยหมักใช้กันในครั้งต่อไป

     

    30 30

    12. ประชุมคณะทำงานประจำเดือน

    วันที่ 15 มีนาคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ได้ประชุมวางแผนในการทำน้ำหมักไล่แมลง ซึ่งจะดำเนินการจัดทำในวันที่ 22 มีนาคม 2557 สมาชิกได้วางแผนแบ่งงานกันทำในด้านการจัดเตรียมวัสดุ ซึ่งจะเป็นการใช้วัสดุที่มีอยู่ในชุมชน เช่น หัวกรอย สะเดา ว่านหางไหล ดีปลี ฯลฯ ซึ่งบรรยากาสเป็นไปอย่างสนุสนานสมาชิกได้ร่วมกันชี้แนะถึงวัสดุว่ามีที่ไหนบ้าง และใครจะเป็นผู้ที่ไปเอา หรืออยู่ใกล้บ้านของใคร

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สมาชิกได้แบ่งงานกันทำในการหาวัสดุในพื้นที่ โดยมาสมาชิกได้เสนอถึงให้เน้นวันสดุในพื้นที่เป็นหลักเพื่อให้ได้ถึงปริมาณของน้ำหมักที่จะได้รับให้ได้มากๆ โดยใช้ต้นทุนที่ได้รับการสนับสนุนจาก สสส. ใก้คุ้มค่าที่สุด

     

    20 20

    13. ทำน้ำหมักไล่แมลง

    วันที่ 22 มีนาคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดทำน้ำหมักไล่แมลงโดยให้สมาชิกร่วมด้วยช่วยกันทำน้ำหมักไล่แมลงด้วยกัน ได้ลงชื่อผู้ที่มาร่วมกิจกรรมเพื่อที่จะได้แจกเฉพาะผู้ที่มีส่วนร่วมเท่านั้น หากเหลือจะน้ำน้ำหมักเหล่านั้นเก็บไว้เป็นหัวเชื้อต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้จัดทำน้ำหมักไล่แมลงตามสูตรดั้งเดิม (สูตรพ่อ สูตรแม่) โดยสมาชิกในกลุ่มร่วมกันทำน้ำหมักไล่แมลง สมาชิกแต่ละคนได้นำวัสดุที่ใช้ประกอบในการผลิตน้ำหมักไล่แมลง โดยได้ใช้วัดสดุในท้องถิ่น เช่น หัวกรอย ว่านหางเหลน ดีปลี สะเดา เมื่อสมาชิกนำวัสดุมาพร้อมแล้วสมาชิกก็ได้ร่วมกันช่วยทำน้ำหมักไล่แมลงโดยมีผู้มีความรู้ในพื้นที่ที่มีความรู้มาช่วยในการแนะนำ โดยสมาชิกมีความพร้อมเพรียงในการฝานวัดสดุ และผสมกากน้ำตาล และ EM

     

    30 30

    14. คิดตามประเมินผลสมาชิกที่ได้รับพันธ์มะนาว

    วันที่ 29 มีนาคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ติดตามสำรวจสมาชิกที่ได้รับแจกกิ่งพันธ์มะนาวเพื่อสำรวจดูถึงการดูและกิ่งพันธ์มะนาวที่ได้รับ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สมาชิกได้คิดต่อยอดในการปลูกพืชผักสวนครัวในปล่องซีเมนต์เพิ่มด้วย สมาชิกที่ได้รับกิ่งพันธุ์มะนาวไปปลูกในปล่องซีเมนต์ ได้ให้ความเห็นว่าการปลูกมะนาวในปล่องซีเมนต์มีผลดีคือทำให้สามารถดูแลได้ง่ายขึ้น เช่น การรดน้ำ ใส่ปุ๋ย และการดูแลต่าง ๆ เนื่องจากว่าเมื่อมะนาวได้ปลูกในพื้นที่จำกัดในปล่องซีเมนต์ เมื่อรดน้ำก็ใช้น้ำในปริมาณไม่เยอะมาก การใส่ปุ๋ยก็ใช้ประมาณน้อยลงและต้นมะนาวได้ใช้ประโยชน์จากปุ๋ยอย่างเต็มที่ การพรวนดินหรือขจัดวัชพืชก็สมามารถทำได้ง่ายและรวดเร็วขึ้นด้วย จึงทำให้มีสมาชิกบางส่วนมีความคิดที่จำนำพืชผักครัวเรือนอื่นๆ มาปลูกในปล่องซีเมนต์ด้วยเพื่อให้สามารภเพิ่มผลผลิตได้ด้วย เช่น พริก มะกรูด ขมิ้น ฯลฯ

     

    30 30

    15. ติดตามเก็บรวบรวมข้อมูลการใช้ปุ๋ยหมัก

    วันที่ 12 เมษายน 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    สมาชิกที่ได้รับมอบหมายจำนวน 5 คนได้ลงพื้นที่ตรวจสอบและบันทึกผลจากการใช้ปุ๋ยชีวภาพ จากสมาชิกที่ได้รับแจกปุ๋ยหมักชีวภาพไปใช้มีความพอใจผลที่ได้จากการใช้ปุ๋ยหมักชีภาพมากเช่น ใบเป็นเงา ลำต้นมีความสมบูรณ์ 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สมาชิกพอใจในการใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพ และมีสมาชิกบางคนสนใจในการนำไปผลิตและใช้เองในสวนผลไม้

     

    30 30

    16. ติดตามเก็บรวบรวมข้อมูลผู้ที่ได้รับพันธ์มะนาว

    วันที่ 26 เมษายน 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จากการออกติดตามผลครอบครัวที่ได้รับการแจกกิ่งพันธุ์มะนาวได้สำรวจแล้วเมื่อระยะเวลาผ่านไป 2 เดือนผลปรากฎว่าไม่มีกิ่งพันธุ์ของสมาชิกคนใดตายเลย  แสดงให้เห็นว่า กิ่งพันธุ์ที่ได้แจกให้กับสมาชิกมีความสมบูรณ์ดีทุกต้น ประกอบกับการคัดเลือกครอบครัวที่ได้รับแจกมะนาวเพื่อให้ดูแลกิ่งพันธุ์มะนาว จากแกนนำสมาชิกนั้นประสบความสำเร็จมาก แกนนำสมาชิกมีประสิทธิภาพในการคัดกรองสมาชิกในชุมชนสามารถแยกแยะได้ว่าครอบครัวใดสามารถให้ความร่วมมือในกิจกรรมดี แลมีความรับผดชอบต่อสังคมสูง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    2 เดือนที่ผ่านมา ไม่มีกิ่งพันธุ์มะนาวที่แจกให้กับสมาชิกที่ไปปลูกในปล่องซีเมนต์ ตายเลยแม้แต่ต้นเดียว

     

    30 30

    17. ประชุมประจำเดือน

    วันที่ 30 เมษายน 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เพื่อประชุมแกนนำ ประจำเดือนในการวางแผนการดำเนินกิจกรรมเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่จะมีขึ้นในเดือนพฤษภาคม โดยการแจ้งให้แกนนำไปเชิญชวนสมาชิกท่านอื่นมาร่วมประชุมเพื่อจะได้มีการร่วมกันเสนอความคิดที่หลากหลาย พร้อมได้มีการแจกน้ำหมักไล่แมลงให้แก่สมาชิกในชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สรุปวันที่จะจัดเวทีแลกเปลี่ยนให้จัดขึ้นในวันที่ 15 พฤษภาคม 2557

     

    20 20

    18. ประชุมคณะทำงานประจำเดือน

    วันที่ 3 พฤษภาคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดประชุมวางแผนงานเพื่อจัดเตรียมการประชุมร่วมกับพี่เลี้ยง สสส. เพื่อให้สมาชิดทราบถึงหน้าที่ที่ตนเองจะต้องรับผิดชอบเพื่อให้ได้เป็นไปในแนวทางที่ถูกต้อง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้แบ่งหน้าที่การทำงานเรียบร้อย ได้วางแผนการจัดเตรียมการประชุมร่วมกับพี่เลี้ย สสส. โดยให้นายรัน จัดเตรียมสภานที่กับ นายจำเรียง ที่บ้านนายจำเรียงเนื่องจากเป็นศูนย์กลางของสมาชิก ให้น.ส.ชุติมา จัดเตรียมเรื่องอาหาร ในการจัดประชุมในครั้งนี้ และได้ให้สมาชิกช่วยกันชวนสมาชิกท่านอื่นมาร่วมด้วยเนื่องจากจะได้วางแนวทางในการทำงานต่อไป หรือหากใครมีข้อสงสัยใดก็สามารถที่จะมาถามพี่เลี้ยงในวันนั้นได้เพื่อที่จะให้ชุมชนของเราแข็มแข็งต่อไป

     

    30 30

    19. เรียนรู้ผลการรจัดกิจกรรมในโครงการและถอดบทเรียนร่วมกับพี่เลี้้ยง

    วันที่ 15 พฤษภาคม 2557 เวลา 09:00-16:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยมีพี่เลี้ยงโครงการมาช่วยในการจัดประชุมเพื่อให้แกนนำสมาชิกได้มีความรู้และแนวทางในการปฏิบัติที่ถูกต้อง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สมาชิกได้รับความรู้เรื่องการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ เสวนาถอดบทเรียนแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำปุ๋ยหมักชีวภาพบรรยากาศการเรียนรู้มีความเป็นกันเอง สนุกสนาน ทุคนตั้งใจฟังเรื่องเล่าจากเพื่อน โดยเฉพาะเมื่อผู้รับผิดชอบโครงการ และหมอดินอาสาเล่าเรื่อง และสรุปผลการแลกเปลี่ยน ได้ดังนี้ 1) สูตรการทำหมักชีวภาพ ได้ทำน้ำหมักสูตรพ่อ สูตรแม่ และสตรลูก เพื่อช่วยให้ผลผลิตมังคุดดี บอกเทคนิคและขั้นตอนการใช้คือ สูตรพ่อ 1 ต่อ 10 สูตรแม่ 10 ต่อ 1 สูตรลูก ต้องนำสูตรพ่อและสูตรแม่มาผสมกัน จึงจะเป็นประโยชน์มาก 2) ขณะนี้ได้มีการพัฒนาอาชีพการเลี้ยงผึ่งในสวนมังคุด เป็นสิ่งที่บอกได้ว่าในสวนมังคุดไหนที่มีผึ้งอยู่ แสดงว่าเป็นสวนที่ไม่ใช้สารเคมี ถ้าใช้สารเคมีจะไม่มีผึ้ง เป็นการประเมินผลการใช้ปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ น้ำยาไล่แมลงจากสมุนไพร ว่าชุมชนได้ทำและใช้จริง ถ้าไม่ทำก็ไม่สามารถเลี้ยงผึ้งได้ ตอนนี้มีการเลี้ยงได้ไม่มาก ทุกคนในที่ประชุมเสนอแนะให้มีการพัฒนาต่อจากการจัดการขยะเป็นปุ๋ยชีวภาพ และพัฒนาการเลี้ยงผึ้งเพิ่มเพพื่อให้พื้นที่ได้ปลอดสารเคมีในวงกว้างมากขึ้น 3) ได้ร่วมกันวางแผนกิจกรรมที่เหลือว่าได้ทำไปแล้วเกิดผลดีแล้ว กำหนดทำต่ออีก และทำต่อเนื่องเป็นกิจกรรมประจำของชุมชนเอง ได้แก่ การทำกลุ่มปุ๋ย ตามละแวกบ้าน พื่อขยายผลการลดการใช้สารเคมีให้มากยิ่งขึ้น มีหมอดินอาสาช่วยเป็นพี่เลี้ยงในการทำกิจกรรม

     

    50 50

    20. ประชุมกับ สสส

    วันที่ 20 พฤษภาคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมกับ สสส เพื่อจัดทำเอกสาร และค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจกรรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ประชุมกับ สสส

     

    3 3

    21. ติดตามเก็บรวบรวมข้อมูลผู้ที่ได้รับพันธ์มะนาว

    วันที่ 24 พฤษภาคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จากการประเมินผลผู้ที่ได้รับการแจกกิ่งพันธุ์มะนาวผลปรากฎว่ามีสมาชิกหลยครัวเรือนได้เพิ่มปริมาณปล่องซีเมนค์ เพื่อใช้ในการปลู่พืชผักสวนครัวเพิ่มมากขึ้น เช่น พริก ขมิ้น ใบมะกรูด รวมทั้งมะขาม ซึ่งจากการสอบถามทำให้ได้ทราบว่าการปลูพริกทำให้ได้ผลผลิต เพิ่มมากขึ้น อีกทั้งยังสามารถป้องกันในช่วงหน้าฝนที่กำลังจะมาถึงด้วย ไม่ต้องกลัวว่าต้นพริกจะจมน้ำตอนน้ำถ่วมอีก ส่วนมะขามสมาชิกได้ให้เหตุผลว่าสมาชิกได้ปลูกไว้เพื่อกินยอดดังนั้นเมื่อปลูกในปล่องซีเมนต์ ต้นมะขามจะมีขนาดโตช้ากว่าปกติแต่จะมีใบมากขึ้นจึงง่ายต่อการเก็บและทำให้ได้ปริมาณยอดมะขามมากขึ้นด้วย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    มีการปลูกพืชผักเกษตรอินทรีย์ในปล่องซีเมนต์เพิ่มมาขึ้นในหลายครัวเรือน

     

    30 30

    22. ประชุมคณะทำงานประจำเดือน

    วันที่ 25 พฤษภาคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ได้จัดประชุมเพื่อชี้แจงสรุปผลจากการไปประชุมร่วมกัน สสส. เพื่อให้สมาชิกได้ทาบถึงความเป็นไปจากการทำกิจกรรมของสมาชิกในกลุ่ม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ชี้แจงผลจากการไปประชุมกับ สสส ว่าทางกลุ่มยังมีความบกพร่องเรื่องการจัดทำเอกสาร ซึ่งยังไม่มีความสมบูรณ์เท่าที่ควร ให้ทางกลุ่มช่วยกันเขียนข้อมูลให้ชัดเจน และให้มีรูปถ่ายที่หลากหลาย และทางพี่เลี้ยงได้จัดให้ แกนนำ หมู่3 และหมู่5 มาช่วยเป็นพี่เลี้ยงในด้านเอกสารอีกด้านด้วย และเมื่อแจงถึงยอดเงินที่ใช้ไปปรากฎว่ามียอดเงินการทำปุ๋ยหมักคงเหลืออยู่เนื่องจากการทำปุ๋ยหมักครั้งที่แล้วได้ลดต้นทุนด้านวิทยากรและกากน้ำตาล เนื่องจากงบที่ได้รับจาก สสส. ในงวดที่ 1 นำมาใช้ไม่พอกับการทำปุ๋ยจึงต้องลดปริมาณการทำปุ๋ยในครังก่อนไป ดังนั้นสมาชิกจึงขอให้มีการทำปุ๋ยอีกครังเพราะจากการทำปุ๋ยครั้งก่อน สมาชิกได้มีความพอใจมากประกอบกับมีชาวบ้านที่ไม่ได้เป็นสมาชิกหลายครัวเรือนประสงค์ที่จะได้เข้ามามีส่วนร่วมในการเรียนรู้วิธีการทำปุ๋ยหมักชีวภาพเพื่อลดต้นทุนการผลิต และลดต้นทุนการใช้สารเคมีเพื่อสุขภาพของตนเองด้วย แกนนำสามชิกได้เข้าใจถึงการเขียนข้อมูล และวิธีการถ่ายรูปมากขึ้น และได้สรุปถึงการทำปุ๋ยรอบ 2 จากงบประมาณการทำปุ๋ยที่ยังคงเหลืออยู่ ในวันที่ 6 มิถุนายน 2557

     

    20 20

    23. ติดตามเก็บรวบรวมข้อมูลการใช้ปุ๋ยหมัก

    วันที่ 27 พฤษภาคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดประชุมเพื่อให้ได้ข้อมูลจาการใช้ปุ๋ยหมัก จากสมาชิกได้ได้รับแจกปุ๋ยหมักไปใช้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จากที่สังเกตุได้ดินมาความสมบูรณ์มากขึ้น ซึ่งสามารถสังเกตุได้จากมีใส้เดือนในดินจากการประเมินผลการใช้ปุ๋ยผลปรากฎว่าดินมีความร่วนซุยและมีความชุ่มชื้นมากขึ้น สังเกตุได้จากมีใส้เดือนในดินมีปริมานมากซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสมบูรณ์ของดิน ที่สามารถทำการปลูกพืชผักให้ได้ผลดียิ่งขึ้น และพืชผักมีความสมบูรณ์มากขึ้นเช่นจากที่สังเกตุได้ ลำต้นมีความอ้วนขึ้น ใบมีสีเขียวสดแลขนาดใหญ่ ผลเป็นมันเงา โดยที่ไม่จำเป็นต้องใช้ปุ๋เคมีจะเห็นได้ว่าตอนแรกจะไม่ค่อยเป็นผลมากนักแต่เมื่อระยะเวลาผ่านไปทำให้เห็นได้ว่าผลผลิตเมื่อเปรียบเทียบแล้วไม่มีความแตกต่างจากการใช้ปุ๋ยเคมมากนัก แต่ค่าใช้จ่ายมีจำนวนน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด

     

    30 30

    24. ติดตามผลการใช้น้ำหมักไล่แมลง

    วันที่ 28 พฤษภาคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    สมาชิกที่ได้รับแจกน้ำหมักใล่แมลงได้เริ่มทดลองใช้ และได้รับคำติชมจากสมาชิกว่า น้ำหมักไล่แมลงได้มีกลิ่นรุนแรงมาก แต่มดและแมลงหายไปอย่างเห็นได้ชัด

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สมาชิกมีความพอใจในการใช้น้ำหมักไล่แมลงมากแต่มีข้อเสียตรงกลิ่นรุนแรงมาก ซึ่งเป็นสูตรพ่อ สูตรแม่ไม่เหมือนกับสูตรทั่วไป

     

    30 30

    25. ประชุมคณะทำงานประจำเดือน

    วันที่ 2 มิถุนายน 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ได้จัดเตรียมการวางแผนงานแก่สมาชิกในการทำปุ๋ยหมัก

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้ประชุมวางแผนการทำงานในการทำปุ๋ยหมักชีวภาพในรอบใหม่เนื่องจากงบประมาณที่ยังคงมีอยู่นั้นหากจะแยกมาเป็นค่าอาหารก็จะทำให้ได้จำนวนปริมาณปุ๋ยลดลง นายจำเรียง จึงเสนอว่าให้สมาชิกแต่ละคนช่วยกันนำอาหามาคนละเล็ก ละน้อย เพื่อที่จะได้มาแบ่งกันรับประทาน และจะได้ทำปุ๋ยในปริมาณที่มากขึ้นด้วย สมาชิกก็ได้ลงความเห็นว่าสมควรทำเช่นนั้น  สมาชิกได้ตกลงร่วมกันว่าจะช่วยกันนำอาหารมาร่มรับประทานในการทำปุ๋ยครั้งนี้

     

    20 20

    26. ทำปุ๋ยหมัก

    วันที่ 6 มิถุนายน 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดการทำปุ๋ยโดยให้สมาชิกร่วมกันช่วยเหลือในด้านต่างๆ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้ให้ความรู้แก่สมาชิกใหม่ และได้ทำปุ๋ยเสร็จสิ้น พร้อมทั้งได้มอบหมายสมาชิกที่มีหน้าที่ในการกลับปุ๋ย สมาชิกเก่าพร้อมด้วยชาวบ้านที่มีความสนใจที่จะเข้าร่วมมาเป็นสมาชิกและยังไม่ได้ร่วมทำปุ๋ยในรอบแรก โดยมีสมาชิกเก่าที่เคยเข้าร่วมการทำปุ๋ย และมีความเข้าใจในการทำปุ๋ยดีมาช่วยในเป็นวิทยากรในการให้ความรู้ในครั้งนี้ โดยการทำปุ๋ยในครั้งนี้"ด้เพิ่มเติมสูตรจากการศึกษาเพิ่มเติมขิงสมาชิกว่าควรใส่ปูนขาวลงไปด้วยเนื่องจากปูนขาวจะมีส่วนช่วยในการป้องกันเชื้อราให้กับพืชด้วย และการทำปุ๋ยในครั้งนี้ได้แจ้งให้สมาชิกทราบแล้วว่าไม่มีอาหารเลี้ยงเนื่องจากไม่ม่งบประมาณในส่วนนี้ สมาชิกทั้งเก่าและใหม่จึงได้ร่วมมือกันนำกับข้าว และอาหาร มาเองเพื่อมาร่วมกันรับประทานด้วยกัน

     

    20 30

    27. จัดกิจกรรมประชุมสภาผู้นำชุมชนให้สมาชิก และชาวบ้านผู้สนใจ

    วันที่ 8 มิถุนายน 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดประชุมชี้แจงภึงผลดีของเกษตรอินทรีย์ ให้สมาชิกได้กล่างถึงผลที่ได้รับจากการทำเกษตรอินทรีย์ และหาแนวทางการต่อยอดโครงการเพื่อจัดเตรียมข้อมูลจากสมาชิก

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    แกนนำเชิญคุณหมอ เฉลิมชัย กล่าวข้อดีของปุ๋ยหมัก และน้ำหมักชีวภาพ และได้กล่าวถึงขอเสียจากการใช้สารเคมี ว่าการใช้ปุ๋ยหมัก และน้ำหมักชีวภาพ นั้นไม่ได้ทำให้ได้ผลผลิตที่ดีขึ้นมากไปกว่าการใช้สารเคมีต่างๆ และผลที่ได้นั้นคือผลผลิตที่จะได้เทียบเท่ากับการใช้สารเคมี และจะช่วยในเรื่องสุขภาพของผู้ใช้ และผู้บริโภค รวมถึง สภาวะ ดิน และ น้ำ จะมีสภาพที่ดีขึ้นเรื่อยๆ หากเราปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง รวมถึงข้อดีของผักปลอดสารพิษ ว่ามีประโยชน์ต่อร่างกาย ชาวบ้านเข้าใน และสนใจเรื่องปุ๋ยหมัก และน้ำหมักมากขึ้น และสนในจะนำไปทำเพื่อใช้ขึ้นเองมากขึ้น การมาประชุมครั้งนี้มี ผ.อ. รพ.สต. ท่านนายกเทศมนตรีตำบลโพธิเสด็จ พัฒนาชุมชนสมาชิก อสม. และสมาชิกในกลุ่มที่ร่วมทำโครงการ มาร่วมประชุมด้วย ท่านนายกเทศมนตรีตำบลโพธิเสด็จได้กล่าวว่า เป็นโครงการที่ดีมาก มีการนำวัดสถุเหลือใช้ที่เป็นขยะในชุมชนมาแประรูปให้มีประโยชน์แก่ชุมชนได้ และท่านนายกฯ ได้สนับสนุนให้มีโครงการต่อยอดโดยได้มอบหมายให้ฝ่ายพัฒนาชุมชนของเทศบาลตำบลโพธิ์เสด็จเป็นผู้รับผิดชอบในการช่วยเหลือและสนับสนุนการต่อยอดโครงการต่อไป และยังได้สนับสนุนให้มีการทำโครงการในทุกหมู่บ้านด้วย บรรยากาศการประชุม นายสมโภช ได้เสนอว่าหลังจากได้ใช้ปุ๋ยและน้ำหมักชีวภาพนั้นได้สังเกตุเห็นว่าในสวนผลไม้ในหมู่บ้านเริ่มมีแมลงเช่น ผึ้ง ตัวต่อ มีมาจำนวนมาก จึงได้เสนอว่าในชุมชนของเราน่าจะมีการศึกษาเรื่องการเลี้ยงผึ้ง สมาชิกมีความเห็นด้วยและจะได้มีการศึกษาหาข้อมูลต่อไป ส่วนนายแวว ได้่แสดงความคิดเห็นเรื่องความแตกต่างการปลูกมะนาวในปล่องซีเมนต์ กับปลูกในพื้นดิน ว่ามะนาวในปล่องซีเมนต์ จะมีอายุสั้น ลำต้นเล็ก และโซมเร็ว เพราะขาดแร่ธาตุ ทางด้านนาง ศรีสุดา ได้เสริมว่าข้อดีของการปลูกมะนาวในปล่องซีเมนต์คือ ต้นเล็กสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ง่าย ส่วนการดูแลรักษาต้องหมั่นใส่ปุ๋ยหมักชีวภาพ และน้ำหมักชีภาพ จะทำให้ลำต้นแข็งแรง เพราะปุ๋ยและน้ำหมักชีวภาพนั้นสามารถใช้ได้บ่อย ไม่เป็นอันตรายต่อพืช และผู้ใช้ทำให้ดินมีสภาพดี และง่ายต่อการกำจัดวัชพืช เพราะพื้นที่ที่วัชพืชขึ้นมีน้อย สามารถถอนได้ง่าย ส่วนการปลูกมะนาวในดินนั้น ลำต้นใหญ่แข็งแรง และจึงทำให้มีผลมากกว่าการปลูกในปล่องซีเมนต์ แต่ลำบากสำหรับการกำจัดวัชพืชมาก ส่วนนางสายันต์ น้ำหมักชีวภาพเมื่อนำไปรดลงดิน ทำให้ผักมีสีเขียวสดหวานกรอบ ทำให้ดินร่วนดินซุย และสามารถรับประทานได้สนิดใจ ไม่ต้องกังวลเรื่องสารเคมี และช่วงหลังทำให้รู้สึกว่าหายใจได้โล่งขึ้นเมื่อไม่ได้ใช้สารเคมีในการปลูกพืชผัก และได้มอบหมายให้กลุ่มสมาชิกไปคิดเสริมเรื่องที่จะทำการต่อยอดโครงการโดยจะมีการเข้าไปปรึกษากับเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนต่อไป

     

    100 100

    28. ประชุมคณะทำงานประจำเดือน

    วันที่ 14 มิถุนายน 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ได้วางแนวทางการรวมรวมข้อมูลให้แก่สมาชิกรับทาบเพื่อเป็นไปในแนวทางเดียวกัน เพื่อให้ได้รับผลการติกตามผลที่ได้ข้อมูลที่ชัดเจน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สมาชิกได้กล่าวถึงปัญหาจากการออกเก็บรวบรวมข้อมูลการติดตามผล การใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพ การปลูกมะนาวในปล่องซีเมนต์ และการใช้น้ำหมักไล่แมลง ให้ได้ข้มูลที่ถูกต้องชัดเจน  และมาสมาชิกท่านหนึ่งคือ นายสาคร ได้กล่าวถึงน้ำหมักไล่แมลงสูตรพ่อ สูตรแม่ ว่า มีกลิ่นรุนแรงกว่าสูตรทั่วไปมาก แต่ได้ผลตั้งแต่ครั้งแรกที่ใช้ซึ่งอาจจะเป็นเพราะกลิ่น ทำให้สมาชิกรู้สึกสนุกสนานับการประชุม และนายสาคร ยังได้เสริมอีกว่าน้ำยาไล่แมลงนั้นยังสามารถช่วยบรรเทาอาการคันเนื่องจากโรคผิวหนังบางโรคได้ เช่นโรคหิด

     

    20 20

    29. ติดตามเก็บรวบรวมข้อมูลผู้ที่ได้รับพันธ์มะนาว

    วันที่ 28 มิถุนายน 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    สมาชิกที่ได้รับแจกกิ่งพันธุ์มะนาวได้ให้ข้อมูลว่า ช่วงนี้อากาศบ้านเราร้อนมากจึงทำให้ต้องรดน้ำบ่อย แต่มีข้อสังเกตุอย่างหนึ่งว่า ใช้น้ำในการรดน้อย เพราะมีปริมาณพื้นที่น้อยไม่เปลืองน้ำ วัชพืชก็ดูแลง่าย 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สมาชิกพอใจในการปลูกมะนาวในปล่องซีเมนต์มากและทำให้ได้มีแนวความคิดริเริ่มในการปลูกพืชต่างๆ เพื่อเป็นประโยชน์ในการใช้บริโภคในครัวเรือนด้วย 

     

    30 30

    30. ติดตามเก็บรวบรวมข้อมูลการใช้ปุ๋ยหมัก

    วันที่ 29 มิถุนายน 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    สมาชิกได้ให้ข้อมูลว่าเมื่อใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพแล้วไม่ใช่ว่าผลจะใหญ่ขึ้น หรือใบไม่มีแมลงกัดกินเลย แต่สิ่งที่เห็นได้ชัดคือดินมีสภาพดี ร่วนซุย ลำต้นมีสีเขียวสดใส ใบเป็นมันวาว แมลงเพิ่มมากขึ้น แต่การกัดกินใบมีแต่น้อยมาก 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สิ่งที่ได้จากการใช้ปุ๋ยที่สมาชิกพอใจมากคือ ดินไม่แข็ง มีความชุ่มชื้นในดิน 

     

    30 30

    31. ติดตามผลการใช้น้ำหมักไล่แมลง

    วันที่ 30 มิถุนายน 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ติดตามผลรวบรวมข้อมูลจากผู้ที่ได้รับแจกน้ำหมักไล่แมลง เพื่อให้ทราบถึงประสิทธิผลที่ได้รับ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จากการใช้น้ำหมักไล่แมลงจะเห็นได้ว่า มดและแมลงบางชนิดหายไป แต่ถ้าหากดูแล้วมีแมลงในปริมาณที่มากขึ้น และมีการกัดกินใบจากแมลงบ้างแต่ไม่มาก ส่วนผลจะต้องใช้วิธีการห่อเพิ่มด้วย แต่สิ่งที่ได้คือความมั่นใจในการรัปประทาน ทำให้สมาชิกรู้สึกสบายใจพร้อมทั้งสุขภาพร่างกายของสมาชิกก็มีสุขภาพดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เพราะพืชผักต่างๆ นั้น ส่วนใหญ่สมาชิกจะปลูกกินกันในครัวเรือนเท่านั้น สมาชิกได้ให้ความเห็นว่าการใช้น้ำยาไล่แมลง ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีแมลง แต่ทำให้ลดการกัดกินของแมลงเท่านั้น

     

    30 30

    32. ประชุมคณะทำงานประจำเดือน

    วันที่ 12 กรกฎาคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดประชุมเพื่อแจ้งให้สมาชิกทราบถึงวันที่พี่เลี้ยงโครงการจะมาช่วยในการถอดบทเรียนโครงการ และวางแปนการเตรียมการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    นายจำเรียง แจ้งว่าคนน่าจะได้ไม่มากนักเพราะช่วงนี้เป็นน่าเก็บมังคุด อีกทั้งราคามังคุดต่ำมากจึงไม่สามารถจ้างคนเก็บมังคุดได้จึงต้องเก็บกันเอง แต่จะช่วยกันพยายาม นายสาครเสริมว่าน่าจะจัดช่วงเย็นหน่อยประมาณ 6โมงเย็น อาจจะได้คนมากหน่อย นางสุนีย์ จึงได้แจ้งว่าพี่เลี้ยงโครงการมาช่วยถอดบทเรียน รวม 3 หมู่บ้าน จึงไม่มีเวลามากนักจึงต้องนัดเวลาที่แน่นอน และได้ผลสรุปว่าจัดเวทีถอดบทเรียน ในวันที่ 13 กรกฏาคม 2557 เวลา 4 โมงเย็น

     

    20 20

    33. จัดเวทีถอดบทเรียน เพื่อชี้แจงผลการดำเนินการ

    วันที่ 13 กรกฎาคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เพื่อสรุปกิจกรรมที่ได้ทำในปีที่ผ่านมาและหาข้อมูลเรื่องการขอต่อยอดโครงการ โดยการจัดให้สมาชิกได้ร่วมกันออกความคิดเห็น และเสนอถึงปัญหา อุปสรรค และแนวทางแก้ไขเพื่อเป็นแนวทางในการต่อยอดโครงการต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    นายสาคร เล่าว่าน้ำหมักน้ำพ่อน้ำแม่ บางคนนำไปใช้ไม่ถูกต้อง จึงทำให้ได้ผลไม่เต็มที่ เช่น น้ำแม่ใช้เร่งการเจริญเติบโต น้ำพ่อเร่งผล แต่นำไปใช้สลับกันจึงมาหาว่าไม่ได้ผล ทั้งที่ได้มีเอกสารให้ไปแล้วแต่ไม่ได้ดู นางสายัญ เสริมว่าคนที่มาทำน้ำหมักแล้วกัยแจกไปนั้น บางครั้งไม่ได้เป็นคนนำไปใช้เอง พอคนที่บ้านนำไปใช้จึงไม่ได้ผลเท่าที่ควร นายจำเรียง เสริมต่อไปว่ากิ่งพันธ์มะนาวที่สมาชิกได้รับแจกไปนั้นเราน่าจะต่อยอดโดยการขยายกิ่งพันธ์มะนาวต่อไปเพื่อให้คนในชุมชนไม่มีกิ่งพันธ์มะนาวกันทุกครัวเรือน เพื่อให้ลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน เพื่อให้ได้มีพืชผักสวนครัวใว้เก็บกินในครัวเรือน เพราะมะนาวมีอายุยืนหากดูแลดีสามารถเก็บได้ตลอดและบางช่วงมะนาวแพงมากเมื่อถึงน่าร้อน แต่การปลูกในปล่องซีเมนต์ ช่วยลดปัญหาตรงนี้ได้ และเนื่องจากวันนี้มีเวลาไม่มากนักจึงคิดว่าจะมีการนัดประชุมกันใหม่อีกครั้งเพื่อให้ได้แนวทางการต่อยอดกิจกรรมโครงการที่ชัดเจน สมาชิกมีความเห็นให้ต่อยอดกิจกรรมโครงการโดยจะมีการนัดประชุมอีกครั้ง

     

    50 50

    34. จัดทำเอกสารข้อมูลองค์ความรู้เกี่ยวกับเกษตรอินทร์ทรีย์

    วันที่ 14 กรกฎาคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    สมาชิกประชุมเพื่อร่วมกันสรุปเนื้อหาเพื่อเตรียมจัดทำเอกสารรายละเอียดโครงการทั้งหมดแจกจากให้สมาชิกและคนในชุมชนเพื่อเป็นประโยชน์ต่อชุมชนต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้จัดเตรียมข้อมูลเรียบร้อยเพื่อเตรียมจัดจ้างต่อไป

     

    20 20

    35. ติดตามผลการใช้น้ำหมักไล่แมลง

    วันที่ 19 กรกฎาคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ติดตามสอบถามถึงการใช้น้ำหมักไล่แมลง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จากการสอบถามสมาชิกมีความพอใจในน้ำยาใล่แมลงมากและได้ข้อเสนอแนะในการใช้น้ำหมักใล่แมลงด้วย ลุงลายได้เสนอแนะว่าในน้ำหมักไล่แมลงใส่เมล็ดน้อยหน่าสดโขลกละเอียดแช่น้ำนาน 2 วัน ใช้น้ำมาผสม สามารถฉีดพ่นใล่เพลี้ยและหนอนได้ ส่วน ข่าแก่โขลกละเอียดแช่น้ำนาน 1 วัน ผสมน้ำหมักใล่แมลงฉีดพ่นถัว ช่วยลดเรื่องโรงฝักและเมล็ดเน่า , นางสายันต์ ได้พอใจในน้ำหมักไล่แมลงมากและได้ชี้แจงว่าในความคิดส่วนตัวแล้วน้ำหมักไล่แมลงที่ได้รับแจกมานี้ไม่ได้มีกลิ่นเหม็นมากเพียงแต่กลิ่นแรงหน่อยเท่านั้นเอง แต่พอใช้แล้วได้ผลดีแต่ใช้ไม่ได้กับจำพวกแมลงปีกแข็ง

     

    30 30

    36. ประชุมคณะทำงาน

    วันที่ 25 กรกฎาคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ได้ขอข้อมูลการทำงานของสมาชิกและขอให้สมาชิกช่วยกันตรวจสอบเอกสารถึงความถูกต้อง ในส่วนของผู้ที่รับผิดชอบเรื่องบันทึกข้อมูลในคอมพิวเตอร์ก็ให้ตรวจสอบให้ถูกต้องที่สุดเพื่อเตรียมตัวสำหรับการไปประชุมร่วมกับพี่เลี้ยงโครงการในวันที่ 27/7/2557 และได้ทำความเข้าใจในเอกสารเพื่อไดให้ข้อมูลที่ถูกต้องครบถ้วนเพื่อประชุมปิดงวดรอบ 2 กับ สสส.

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้จัดเตียมข้อมูลและเอกสารเสร็จเรียบร้อย

     

    20 20

    37. ติดตามเก็บรวบรวมข้อมูลการใช้ปุ๋ยหมัก

    วันที่ 26 กรกฎาคม 2557 เวลา 17:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ติดตามผลจากสมาชิกที่ได้รับการแจกปุ๋ยหมักชีวภาพ เพื่อให้ได้ทราบถึงประโยชน์จากการใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สมาชิกได้เริ่มมีการรวมกลุ่มช่วยกันทำปุ๋ยหมักชีวภาพใช้เองในสวนระหว่างกลุ่มพี่น้องด้วยกันเอง และสมาชิกยังได้แจงให้ทราบว่าลดค่าใช้จ่ายจากการใช้ปุ๋ยเคมีลงไปมาก ใช้ได้ดีกับผักสวนครัว หากเป็นต้นไม้ใหญ่คงต้องใช้ปริมาณเยอะ แต่หากคิดให้ดีก็คิดว่าคุ้มทั้งด้านต้นทุนและสุขภาพร่างกายของเกษตรกรเอง

     

    30 30

    38. รวบรวมข้อมูลการจัดทำเอกสาร

    วันที่ 26 กรกฎาคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมเพื่อจัดทำเอกสารปิดโครงการ ได้ชี้แจงให้สมาชิกทราบถึงการปิดโครงการและได้คุยถึงกิจกรรมทั้งหมดที่ได้ทำมา 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้จัดทำเอกสารปิดโครงการ และนายจำเรียงได้พูดถึงว่าตอนนี้จากการทำกิจกรรมและได้ทดลองทำมาตลอดทั้งปีนั้นจะเห็นได้ว่าสภาพอากาศตอนนี้มีความสดชื่นมาก ใบไม้เขียวชะอุ่ม ดินมีความชื้นดี ถึงแม้ว่าบางช่วงจะมีภาวะแห้แล้งก็ตาม  และจะสังเกตุเห็นว่าตอนนี้มีแมลงในพื้นที่ รวมทังผึ้งเยอะมาก ซึ่งแสดงให้เห็นว่าสภาพแวดล้อมดีมาก 

     

    20 20

    39. ติดตามผลการใช้น้ำหมักไล่แมลง

    วันที่ 27 กรกฎาคม 2557 เวลา 10:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ได้สอบถามถึงผลจากการใช้น้ำหมักไล่แมลง ว่าได้ผลดีผลเสียอย่างไร มีข้อเสนออย่างไร

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สมาชิกพอใจและมีหลายครัวเรือนที่ได้ดัดแปลงส่วนผสมเพื่อให้สามารถใช้ได้หลากหลายยิ่งขึ้น ลุงเวทได้เล่าให้ฟังว่าน้ำหมักไล่แมลงที่ได้รับมาทดลองใช้นี้ดีมากเพราะว่าเมื่อฉีดพ่นแล้วนอกจากจะสามารถไล่แมลงได้แล้วนั้น ยังเปรียบเสมือนปุ๋ยที่สามารถทำให้ใบของพืชมีสีเขียวสด และดินก็มีความชุ่มชื้นดีด้วย ซึ่ง ลุงเวทให้ข้อสังเกตุว่าที่จริงอาจจะมีผลมาจาก กากน้ำตาน หรือ Em ก็เป็นได้

     

    30 30

    40. ประชุมแกนนำ ตรวจเอกสาร และทำรายงานปิดโครงการ

    วันที่ 27 กรกฎาคม 2557 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ตรวจสอบเอกสาร พร้อมชี้แจงวิธีการทำรายงานตามขั้นตอน เพื่อให้โครงการสามารถทำรายงานและวิเคราะหคุณค่าของโครงการ เพื่อจัดทำรายงานนำเสนอต่อ สสส. ได้อย่างสมบูรณ์ และเบิกค่าเปิบัญชีธนาคาร 500 บาท

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    แกนนำสามรถจัดทำรายงาน เพื่อนำเสนอปิดโครงการประจำปีได้ 

     

    3 5

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

     

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 เพื่อให้ชาวบ้านร่วมกันกำจัดขยะจากถุงเห็ด ให้เป็นปุ๋ยหมักมาใส่พืชผักผลไม้เพิ่มผลผลิต ลดต้นทุนการผลิต ลดสารเคมี
    ตัวชี้วัด : 1. ขยะจากการทำเห็ด กองขยะจากถุงเห็ดลดลงร้อยละ 80 2. แมลงที่ทำลายสวน ซึ่งเกิดจากกองขยะเห็ดลงลง ไม่กัดกินรากผักผลไม้ 3. สมาชิกที่เข้าร่วมโครงการลดการใขช้ปุ๋ยเคมีได้ จำนวน 30 ครบครัว

    ขยะจากการทำเห็ด กองขยะจากถุงเห็ดลดลงร้อยละ 80 แมลงที่ทำลายสวน ซึ่งเกิดจากกองขยะเห็ดลงลง ไม่กัดกินรากผักผลไม้ สมาชิกที่เข้าร่วมโครงการลดการใขช้ปุ๋ยเคมีได้ จำนวน 50 ครบอครัว

    2 เพื่อให้เกิดฐานเรียนรู้การกำจัดขยะ เพิ่มรายได้ รักษาสิ่งแวดล้อมของหมู่บ้าน จากการมีสัญญาประชาคมการจัดการขยะหมู่บ้าน
    ตัวชี้วัด : 1. มีฐานเรียนรู้การกำจัดขยะ เพิ่มรายได้รักษาสิ่งแวดล้อมของหมู่บ้าน จำนวน 5 ฐาน 2. มีสัญญาประชาคมการกำจัดขยะหมู่บ้าน 3. มีชุดความรู้การแปรรูปขยะเป็นปุ๋ยของหมู่บ้าน

    มีฐานเรียนรู้การกำจัดขยะ เพิ่มรายได้รักษาสิ่งแวดล้อมของหมู่บ้าน จำนวน 7 ฐาน ได้แก่ บ้านนายจำเรียง บ้านอาจารย์เชษ บ้านนายสาคร บ้านลุงต้ม บ้านนางเล็ก บ้านนายชู บ้านลุงรวย มีสัญญาประชาคมการกำจัดขยะหมู่บ้าน มีชุดความรู้การแปรรูปขยะเป็นปุ๋ยของหมู่บ้าน

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้ชาวบ้านร่วมกันกำจัดขยะจากถุงเห็ด ให้เป็นปุ๋ยหมักมาใส่พืชผักผลไม้เพิ่มผลผลิต ลดต้นทุนการผลิต ลดสารเคมี (2) เพื่อให้เกิดฐานเรียนรู้การกำจัดขยะ เพิ่มรายได้ รักษาสิ่งแวดล้อมของหมู่บ้าน จากการมีสัญญาประชาคมการจัดการขยะหมู่บ้าน

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    ส่วนที่ 3 ประเมินคุณค่าโครงการ

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ

    ชื่อโครงการ ขยะเป็นปุ๋ยเพิ่มผลผลิตลดสารเคมี

    รหัสโครงการ 56-01530 รหัสสัญญา 56-00-1050 ระยะเวลาโครงการ 1 กันยายน 2556 - 30 กันยายน 2557

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นการคุณค่าที่เกิดจากโครงการในมิติต่อไปนี้

    • ความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพและนวัตกรรมเชิงระบบสุขภาพชุมชน
    • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีผลต่อสุขภาวะ
    • การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ
    • ผลกระทบเชิงบวกและนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาวะชุมชน
    • กระบวนการชุมชน
    • มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่

    1. เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้ใหม่ / องค์ความรู้ใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สิ่งประดิษฐ์ / ผลผลิตใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. กระบวนการใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. วิธีการทำงาน / การจัดการใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การเกิดกลุ่ม / โครงสร้างในชุมชนใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. แหล่งเรียนรู้ใหม่

    มีครัวเรือนต้นแบบของการเกษตรอินทรีย์ ที่ทำมาก่อนแล้ว แต่ไม่ได้มีการรวมกลุ่มเนื่องจากชาวบ้านยังคิดถึงเรื่อง ต่างคนต่างอยู่ ต่างคนต่างทำ จากการได้ทำกิจกรรมร่วมกันตลอดทั้งปี ทำให้เกิดความสัมพันธ์ในทางที่ดีต่อกัน มีการพูดคุยปรึกษากัน และช่วยกันหาแนวทางการพัฒนา เพื่อให้ชุมชนสามารถอยู่ได้อย่างยั่งยืน

    ครอบครัวนายจำเรียง

    นายจำเรียง ชักชวนเพื่อนบ้านมาเรียนรู้และพัฒนาแหล่งเรียนรู้ให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชนได้มากยิ่งขึ้น

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    99. อื่นๆ

     

     

     

    2. เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การบริโภค

    จากวิถีการดำเนินชีวิตแบบพอเพียง โดยการนำกิจกรรมที่พึ่งพาธรรมชาติ ทั้งการเกษตรอินทรีย์ การใช้ปุ๋ยหมัก และน้ำหมัก ทำให้เกษตรกร เห็นคุณค่าของการพึ่งพาธรรมชาติมากขึ้น โดยเริ่มหันมาปลูกผักปลอดสารพิษกันมากขึ้น

    บ้านนายจำเรียง

    ขยายผลการลดการใช้สารเคมี จากการนำขยะมาเป็นปุ๋ยอย่างต่อเนื่อง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การออกกำลังกาย

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. การลด ละ เลิก อบายมุข เช่น การพนัน เหล้า บุหรี่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การลดพฤติกรรมเสี่ยง เช่น พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การขับรถโดยประมาท

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. การจัดการอารมณ์ / ความเครียด

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. การดำรงชีวิต / วิถีชีวิต เช่น การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น / สมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเอง

    จากการที่เมื่อก่อน มีลักษณะต่างคนต่างอยู่ แต่เมื่อได้มาทำกิจกรรมร่วมกันเป็นเวลาหลาย ๆ เดือน ทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันมากขึ้น มีการพูดหยอกล้อ เล่นหัวกันมากขึ้น ความสนิทสนมเริ่มกลับมาเหมือนในอดีต มีการช่วยเหลือกันมากขึ้น มีการรวมกลุ่มเล็ก ๆ เพื่อทำการเกษตรปลอดสารพิษ และอาจจะขยายใหญ่ขึ้นไปอีกในอนาคต

    บันทึกผลการจัดโครงการ

    พัมนากลไกการติดตามผลการพัฒนาอาชีพเกษตรอย่างต่อเนื่อง โดยใช้ชุมชนติดตามกันเองในชุมชน และมีหน่วยงานที่เป็นที่ปรึกษา

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    8. พฤติกรรมการจัดการตนเอง ครอบครัว ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    9. อื่นๆ

     

     

     

    3. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. กายภาพ เช่น มีการจัดการขยะ ป่า น้ำ การใช้สารเคมีเกษตร และการสร้างสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนที่ถูกสุขลักษณะ

    ปรับเปลี่ยนกองขยะมาเป็นวัสดุในการทำปุ๋ยหมัก ช่วยลดสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ สร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ และเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว

    กองขยะริมทาง รอบๆ ชลประธานในหมู่บ้าน

    ขยายผลการใช้วัตถุดิบในพื้นที่ให้มากยิ่งขึ้นเพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมที่เื้อต่อสุขภาพให้ยั่งยืน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สังคม เช่น มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ลดการเกิดอุบัติเหตุ ครอบครัวอบอุ่น การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อเด็ก เยาวชน และกลุ่มวัยต่าง ๆ มีพื้นที่สาธารณะ/พื้นที่ทางสังคม เพื่อเอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชน มีการใช้ศาสนา/วัฒนธรรมเป็นฐานการพัฒนา

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. เศรษฐกิจสร้างสรรค์สังคม /สร้างอาชีพ / เพิ่มรายได้

    เกิดการเพาะปลูกพืชผัก ในพื้นที่ ๆ จำกัดแต่สร้างผลตอบแทนที่ดี เช่นการปลูกในปล่องซีเมนต์ เพื่อจำกัดวัชพืชและให้พืชได้สารอาหารเต็มที่ ส่งผลถึงผลผลิตที่มากขึ้น

    บ้านของสมาชิกกลุ่ม

    จัดเวทีเรียนรู้การเพิ่มรายได้ ลดการใช้เคมี ในระดับหมู่บ้านทุกเดือน เพื่อขยายผลการทำดี

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการบริการสุขภาพทางเลือก และมีช่องทางการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. อื่นๆ

     

     

     

    4. การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. มีกฎ / กติกา ของกลุ่ม ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. มีมาตรการทางสังคมของกลุ่ม ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. มีธรรมนูญของชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. อื่นๆ เช่น ออกเป็นข้อบัญญัติท้องถิ่น ฯลฯ

     

     

     

    5. เกิดกระบวนการชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. เกิดการเชื่อมโยงประสานงานระหว่างกลุ่ม / เครือข่าย (ใน และหรือนอกชุมชน)

    มีความเชื่อมโยงและช่วยเหลือเกื้อกูลกันระหว่าหมู่บ้าน ที่ทำโครงการเหมือนกัน คือ หมู่ 1 3 และ 5 ของ ต. โพธิ์เสด็จ มีความร่สวมมือมาจากเทศบาลตำบล ที่ต้องการให้ตำบล เป็นคนบ้านเดียวกัน ซึ่งเป็นนโยบายของชุมชนอยู่แล้ว และทางหน่วยงานก็สนับสนุนโครงการของทั้ง 3 หมู่บ้านเป็นอย่างดี

    จากบันทึกโครงการ

    จัดเวทีเรียนรู้ในระดับตำบลเพื่อขยายผลต่อไป

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเรียนรู้การแก้ปัญหาชุมชน (การประเมินปัญหา การวางแผน การปฏิบัติการ และการประเมิน)

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ประโยชน์จากทุนในชุมชน เช่น การระดมทุน การใช้ทรัพยากรบุคคลในชุมชน

    นำขยะมาเป็นปุ๋ยลดการใช้สารเคมี

    รายงานโครงการ

    ขยายผลให้ทั่วทั้งหมู่บ้าน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกลุ่มและชุมชนที่เกิดจากโครงการอย่างต่อเนื่อง

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. เกิดกระบวนการจัดการความรู้ในชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. เกิดทักษะในการจัดการโครงการ เช่น การใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ การทำแผนปฏิบัติการ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. อื่นๆ

     

     

     

    6. มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเอง / กลุ่ม / ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเห็นประโยชน์ส่วนรวมและส่วนตนอย่างสมดุล

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย และพอเพียง

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. ชุมชนมีความเอื้ออาทร

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. มีการตัดสินใจโดยใช้ฐานปัญญา

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. อื่นๆ

     

     

     

    ขยะเป็นปุ๋ยเพิ่มผลผลิตลดสารเคมี จังหวัด นครศรีธรรมราช

    รหัสโครงการ 56-01530

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นางลมัย ไชยมาศ )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด