directions_run

สร้างคนรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อสุขภาพที่บ้านทุ่งยาว

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


“ สร้างคนรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อสุขภาพที่บ้านทุ่งยาว ”

หมู่ที่11 ตำบลโคกม่วง บ้านทุ่งยาวทั้งหมู่บ้าน

หัวหน้าโครงการ
นายสมมิตร ปานเพชร

ชื่อโครงการ สร้างคนรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อสุขภาพที่บ้านทุ่งยาว

ที่อยู่ หมู่ที่11 ตำบลโคกม่วง บ้านทุ่งยาวทั้งหมู่บ้าน จังหวัด พัทลุง

รหัสโครงการ 57-01414 เลขที่ข้อตกลง 57-00-0957

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2557 ถึง 30 มิถุนายน 2558


กิตติกรรมประกาศ

"สร้างคนรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อสุขภาพที่บ้านทุ่งยาว จังหวัดพัทลุง" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน หมู่ที่11 ตำบลโคกม่วง บ้านทุ่งยาวทั้งหมู่บ้าน

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
สร้างคนรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อสุขภาพที่บ้านทุ่งยาว



บทคัดย่อ

โครงการ " สร้างคนรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อสุขภาพที่บ้านทุ่งยาว " ดำเนินการในพื้นที่ หมู่ที่11 ตำบลโคกม่วง บ้านทุ่งยาวทั้งหมู่บ้าน รหัสโครงการ 57-01414 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 มิถุนายน 2557 - 30 มิถุนายน 2558 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 208,250.00 บาท จาก เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 217 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

 

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. คนในชุมชนต้องรับรู้ เห็นความสำคัญ ตระหนัก และมีส่วนรวมต่อการเฝ้าระวัง ป้องกัน พัฒนา ฟื้นฟูสภาพแวดล้อมเพื่อการอนุรักษ์แหล่งน้ำประปาหมู่บ้าน และการดูแลเด็กและเยาวชนของชุมชน
  2. มีกระบวนหนุนเสริมกิจกรรมเพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ในลักษณะ Learning by Doing (ที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมประเพณี และความเชื่อของชุมชน)
  3. 3. สภาผู้นำและกลุ่มรักษ์สิ่งแวดล้อมเป้็นกลไกหลักในการแหล่งน้ำประปาหมู่บ้าน และ เฝ้าระวัง ป้องกัน พัฒนาเด็กและเยาวชนให้ห่างไกลยาเสพติด
  4. เพื่อการประเมินผลโครงการและการบริหารจัดการโครงการ

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

     


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. เรียนรู้ในเรื่องการดำเนินโครงการ

    วันที่ 15 มิถุนายน 2557 เวลา 08:30-15.30 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ให้ความรู้กับผู้รับผิดชอบโครงการในเรื่องการรายงานของผู้รับผิดชอบโครงการ/ทำความเข้าใจกับการบันทึกหลักฐานการรับ-จ่ายเงินของเหรัญญิกโครงการ/ตลอดถึงขั้นตอนวิธีการการขอรับเบิกเงินโครงการในแต่ละงวด

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เพื่อให้ผู้รับผิดโครงการมีความรู้ความเข้าใจในการดำเนินโครงการอย่างมีประสิทธิภาพ

     

    2 4

    2. ประชุมสภาผู้นำ จำนวน 30 คน คนเพื่อทำความเข้าใจโครงการและแบ่งบทบาทหน้าที่

    วันที่ 22 มิถุนายน 2557 เวลา 09:00 -15.00น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดหาแกนนำในชุมชน กลุ่มต่างๆ ปราชญ์หรือผู้มีองค์ความรู้ องค์กรภาคีในชุมชน กำหนดวัน เวลา สถานที่ จัดทำเอกสารแจกผู้เข้าร่วมประชุม ทำความเข้าใจในตัวกิจกรรมต่างๆ ตลอดถึงมอบหมายหน้าที่แต่ละลุ่มเป้าหมายเตรียมตัวทำกิจกรรมต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับ เป้าหมาย วัตถุประสงค์ ตัวชี้วัด และกิจกรรมของโครงการ ที่ต้องดำเนินการ และสื่อสารให้แกนนำที่จะดำเนินโครงการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์  นั้นสามารถมองเห็นภาพกระบวนการตั้งแต่เริ่มต้น จนถึงภาพความสำเร็จของโครงการ และได้คัดเลือกคณะกรรมการของโครงการดังนี้ 1นายมนูญ  สุขรัตน์ หัวหน้าโครงการ 2นายสมมิตร  ปานเพชร ผู้รับผิดชอบโครงการ 3นายสุธรรม  ประเสริฐ  เหรัญญิกโครงการ 4นายวิทยา  ชาตรี  กรรมการ 5นายจำลอง  เหตุทอง กรรมการ 6นายณรงค์  ปิ่่นมณี  กรรมการ 7นายพันธ์  นุ่นด้วง  กรรมการ 8นางวรรดี  นิ้มนุ้ย    กรรมการ 9นายเสริม  ทองขาว  กรรมการ 10นายสมชาย  เรืองพุทธ กรรมการ 11นายเอียด  ขาวสุด  กรรมการ 12นายจริเดช ศิริมณีกุล  กรรมการ 13นางสุณีย์  สุขรัตน์  เลขานุการ

     

    30 39

    3. ทำป้ายรณรงค์

    วันที่ 22 มิถุนายน 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ทำป้ายขนาด 49x130 เซ็นติเมตรจำนวน 2 ป้าย เพื่อเป็นการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนตระหนักพิษภัยของบุหรี่

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ประชาชนได้ตระหนักในพิษภัยของบุหรี่และการลดละเลิกบุหรี่

     

    0 0

    4. ประชุมทำความเข้าใจโครงการ วัตถุประสงค์ กิจกรรมการดำเนินงานโครงการกับคนในชุมชน จำนวน 217 คน

    วันที่ 14 กรกฎาคม 2557 เวลา 09:00-15.30น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมชี้แจงทำความเข้าใจถึงรายละเอียดของโครงการ และชี้แจงกระบวนการ วิธีการ การดำเนินโครงการและที่มาของงบประมาณที่ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส) ตลอดถึงการกระตุ้นให้ประชาชนให้มีความตระหนักในการมีส่วนร่วม ระวังป้องกัน พัฒนาฟื้นฟูสภาพสิ่งแวดล้อม และการมีหน้าที่ที่จะรักษา ป้องกัน เฝ้าระวัง พัฒนาเหมือนกันทุกคน โดยมี ผู้ใหญ่บ้าน นักวิชาการชำนาญการสาธารณะสุขเทศบาลตำบลโคกม่วง และพี่เลี้ยงในพื้นที่(สมนึก  นุ่นด้วง) เป็นวิทยากรในการให้ความรู้ในครั้งนี้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ประชาชนและผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจในรายละเอียดของโครงการและสร้างจิตสำนึกในการที่จะรักษาสิ่งแวดล้อมของชุมชน และเกิดความรักสามัคคีขึ้นในชุมชน โดยจะเห็นได้จากการที่ทุกกลุ่มเป้าหมายในโครงการเข้าร่วมทำกิจกรรมในครั้งนี้เป็นจำนวนมากพอสมควร จึงมองได้ว่าในการทำกิจกรรมครั้งต่อไปจะมีผู้เข้าร่วมทำกิจกรรมทุกกลุ่มเป้าหมายอย่างแน่นอนไ

     

    217 224

    5. เรียนรู้ดูงานการจัดการสิ่งแวดล้อมเกษตรวิถีพุทธ(การจัดการป่ายางโดยระบบธรรมชาติ) การทำฝายชลอน้ำ และการจัดการธนาคารนำ้บ้านในโปะ ตำบลตะโหมด อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง

    วันที่ 20 กรกฎาคม 2557 เวลา 08:30 - 16.30 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เวลา 09.00 น.สภาแกนนำและผู้สนใจในการเข้าร่วมกิจกรรมออกเดินทางถึงศูนย์เรียนรู้ฯ เวลา10.00 น.โดยมีอาจารย์ คนึง  สหัสสธารา เป็นวิทยากรในเรื่องการดำชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เช่น การปลูกผักกินเอง การนำสิ่งเหลือใช้นำมาประยุกต์ใช้ใหม่ และมี นาย สมเกียรติ  บัญชาพัฒนศักดา (เม่น) เป็นวิทยากรในเรื่องการบริหารจัดการน้ำอย่างมีระบบ การสร้างฝ่ายชลอน้ำโดยใช้วัสดุในชุมชนจนถึงเวลา 12.00น. พักรับประทานอาหารเที่ยง เวลา13.00 น.ไปเรียนรู้การดูแลป่ายางโดยใช้ระบบธรรมชาติ โดยมีนายวิทูรย์ มีเสน  เป็นวิทยากรตลอดจนเยี่ยมชมสวนยางที่เป็นการดูแลด้วยระบบธรรมชาติที่มีความสมดุลย์  เวลา14.30น. ไปดูงานการสร้างฝ่ายชลอน้ำที่บ้านในโป๊ โดยมีนายเสริญ  เป็นวิทยากรในการเยี่ยมชมฝ่ายชลอน้ำในพื้นที่จริงจนถึงเวลา 16.30 น.เดินทางกลับ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    แกนนำและสมาชิกที่เข้าร่วมกิจกรรมได้รับความรู้ในการนำปรัชญาเศรษฐกิจไปปรับใช้ในดำรงค์ชีวิตประจำวันเกิดการใฝ่รู้ใฝ่เรียนกับสิ่งที่พบเห็นตลอดถึงเกิดการตระหนักในการที่จะอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและการบริหารจัดการ คน ป่า น้ำ ให้อยู่ในความพอดีกับการดำรงค์ชีพ และเกิดการเรียนรู้ในการประกอบอาชีพที่เป็นมิตรกับสิ่แวดล้อมในการปลูกป่าร่วมยางหรือปลูกยางร่วมกับป่า

     

    30 47

    6. . สภาผุ้นำ30 คน ร่วมวิเคราะห์ข้อมูลสิ่งแวดล้อมในชุมชนวางแผนจัดการสิ่งแวดล้อม ดำเนินการฟื้นฟูตามแผน ติดตามผล และประเมินผลในทุกกิจกรรมของโครงการ และปรับปรุงแผนตามความจำเป้็น

    วันที่ 22 กรกฎาคม 2557 เวลา 09:00-15.30น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เวลา 9.30 น.ประชุมแกนนำ ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้ทรงคุณวุฒิในชุมชน เพื่อวิเคราะสภาพภูมิศาสตร์ แหล่งน้ำ พื้นที่ป่าไม้ พื้นที่ทั่วไปในชุมชน เวลา 13.20 น. วางแผนการดำเนินกิจกรรมให้สอดคล้องกับโครงการที่กำหนดไว้ เลิกประชุมเวลา15.30น

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    แกนนำ ปราชญ์ ผู้ทรงคุณวุฒิ สามารถได้ข้อสรุปในการกำหนดพื้นที่ ที่จะดำเนินโครงการได้ตรงเป้าหมาย และได้รู้ภูมิศาสตร์ของชุมชนอย่างถูกต้อง สภาผู้นำได้สรุปผลการวิเคราะห์การสำรวจได้ว่าพื้นที่ของหมู่บ้านยังคงมีพื้นซึ่งยังคงมีความอุดมสมบูรณ์อยู่มากเช่น ป่าไม้ ลำห้วย ร่องน้ำต่างๆและตลอดถึงถนนหนทางในหมู่บ้าน

     

    30 32

    7. เวทีสร้างความเข้าใจ แผนงาน กระบวนการ ชี้แจงวัตถุประสงค์ และเป้าหมาย แผนงาน และการดำเนินการสู่เป้าหมาย ของโครงการต่อแตัวแทนครัวเรือน 70 คน

    วันที่ 25 กรกฎาคม 2557 เวลา 09:00-15.30น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    แกนนำประชาสัมพันธ์เชิญชวนตัวแทนครัวเรือนเข้าร่วมประชุมโดยแบ่งโซนการรับผิดชอบ ผู้รับผิดชอบโครงการชี้แจงการดำเนินโครงการต่อตัวแทนครัวเรือน และเน้นย้ำในการทำกิจกรรมให้ทุกคนได้มีส่วนร่วม ทุกครั้ง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ตัวแทนครัวเรือนได้รับรู้รายละเอียดโครงการ และได้ซักถามถึงขั้นตอนวิธีการของโครงการอย่างทั่วถึง

     

    70 113

    8. เวทีเรียนรู้ภูมิศาสตร์ ภูมินิเวศ ในหมู่บ้านและสำรวจ ร่องน้ำ ลำธาร ในพื้นที่ต้นน้ำห้วยสังแก และเพื่อสำรวจพื้นที่เสี่ยง ต่อการมั่วสุมยาเสพติด

    วันที่ 27 กรกฎาคม 2557 เวลา 09:00-15.30น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

        เวลา9.30 น แกนนำและเยาวชนประชุมเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลของเยาวชนในชุมชนเพื่อที่จะกำหนดพื้นที่เสี่ยงต่อการมั่วสุมยาเสพติด  ในช่วงบ่ายแกนนำและเยาวชนกำหนดการเดินสำรวจพื้นที่ต้นน้ำห้วยสังแกและร่องน้ำ ลำธารที่มีความสำคัญต่อห้วยสังแก 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    แกนนำและเยาวชนได้กำหนดพื้นที่เสี่ยงต่อการมั่วสุมกับยาเสพติดในชุมชน  และสามารถได้ผลสรุปในการสร้างฝ่ายชลอน้ำในแหล่งต้นน้ำและร่องน้ำลำธาร  และยังมองเห็นสถาพสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในปัจจุบันจึงทำให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ตระหนักถึงการที่จะอนุรักษ์ และห่วงแหนในสิ่งเหล่านั้น

     

    50 47

    9. สำรวจเพื่อวางแผนการเฝ้าระวัง ระบุตำแหน่ง ชนิด ประเภท พื้นที่เสี่ยง ยาเสพติด และพื้นที่เป้าหมายการพัฒนาต้นน้ำ ในลักษณะแผนที่เดินดิน โดยการแบ่งเป้นกลุ่มย่อย 4-5 กลุ่ม ต่อการเดินสำรวจ 1 วัน

    วันที่ 30 กรกฎาคม 2557 เวลา 09:00-15.30น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    หลังจากการทำกิจกรรมเรียนรู้ภูมิศาสตร์ ภูมิเวศน์ของชุมชนแล้วแกนนำได้กำหนดวันที่ 30 ก ค.57 จะสำรวจเพื่อที่จะเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงยาเสพติด และพื้นที่เป้าหมายการพัฒนาต้นน้ำ ออกเดินทางตอนเช้าเวลา 09.00 น.ไปยังต้นน้ำห้วยสังแกโดยแบ่งกลุ่มออกเป็น 2 กลุ่มและพักรับประทานอารหารเที่ยงที่ห้วยสังแก ตอนบ่ายลงกลับมายังหน้าทำนบเพื่ิอวิเคราะห์ระบุตำแหน่ง ชนิด ประเภท ในพื้นที่ยาเสพติด

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ในการออกสำรวจในวันนั้นผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้พบว่าห้วยสังแกมีความยาวจากหน้าทำนบไปจนถึงต้นน้ำเป็นระยะทาง 6 กิโลเมตรและยังพบว่ามีลำธาร ร่องน้ำ น้อยใหญ่อยู่ประมาณ 7 สายด้วยกันในการเดินสำรวจในครั้งนี้ได้พบว่าห้วยสังแกยังความเป็นธรรมชาติอยู่พอสมควร เช่นพืชน้ำ ป่าไม้ริมห้วย สัตว์น้ำต่างๆยังคงหลงเหลืออยู่ซึ่งถ้าได้มีการอนุรักษ์สืบต่อไปคงจะมีสิ่งเหล่าไว้นี้ไว้ให้กับลูกหลานได้อย่างแน่นอน  และยังพบว่ากลุ่มเสี่ยงของเยาวชนต่อการมั่วสุมยาเสพติดอยู่ 2กลุ่มประเภทใบกระท่อม ซึ่งส่วนใหญ่จะมีการมั่วสุมในละแวกหมู่บ้านใกล้เคียง

     

    55 50

    10. ทำฝายชลอน้ำในพื้นที่ต้นนำ ห้วยสังแก โดยใช้วัสดุถุงปุ๋ยบรรจุดิน+ทราย วางเรียงตามแบบที่ไปดูงาน และปักหลักยึดด้วยไม้ไผ่ หรือไม้อื่นๆ ที่หาได้จากชุมชน ซึ่งการจัดทำจะนำโดยสภาผู้นำ และเสริมด้วยพลังประชาชน นักเรียนในระบบ เด็กและเยาวชนในหมู่บ้าน โดยใช้วัฒนธรรมการ

    วันที่ 5 สิงหาคม 2557 เวลา 09:00 -15.00น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ครั้งที่ 1 วันที่ 5 ส ค. 57 แกนนำได้เชิญวิทยากรจากตำบลตะโหมดจำนวน 3 คนเพื่อมาเติมเต็มในรายละเอียด ขั้นตอนการทำฝายชะลอน้ำด้วยกระสอบบรรจุทราย-หิน.ตั้งแต่เวลา10.00น-16.00นในครั้งนี้ทำฝายได้ 11 ตัว
    ครั้งที่ 2  วันที่ 16 ส ค.57 ทางสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนบ้านทุ่งยาวได้ร่วมกับคณะกรรมการ/พนักงาน/สมาชิกและแกนนำจำนวน 70คนเข้าร่วมทำกิจกรรมการสร้างฝายชะลอน้ำและได้สนับสนุนงบประมาณเป็นค่าอาหารกลางวันกับผู้เข้าร่วมกิจกรรมมา 10,000บาทและในครั้งนี้สร้างฝายได้ถึง 13 ตัว
      ครั้งที่ 3 ในวันที่19 ส ค. 57 ได้มีคณะครูอาจารย์ นักเรียน จากโรงเรียนบ้านควนยวนและแกนนำจำนวน134คน ร่วมสร้างฝายทั้งแต่เวลา13.30นจนถึงเวลา 15.30นครั้งนี้สร้างได้ 4 ตัว
    ครั้งที่ 4 เมื่อวันที่ 23 ส ค.57 ทางสหกรณ์กองทุนสวนบ้านโคกม่วงร่วมกับคณะกรรมการ/พนักงาน/สมาชิกและแกนนำจำนวน112คนได้ร่วมกันสร้างฝายชะลอน้ำให้กับชุมชนและได้สนับสนุนงบประมาณในการทำกิจกรรมในครั้งนี้มา 10,000 บาทครั้งสามารถสร้างได้ถึง 13 ตัว
    ครั้งที่ 5 เมื่อวันที่ 30 ส ค.57 ทางท่าน สส.สุพัชรี  ธรรมเพชรพร้อมกับท่าน สจ.สุพัฒ  ชาตรี ได้เข้าร่วมทำกิจกรรมสร้างฝายชะลอน้ำกับชุมชนมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน75คนพร้อมกับสนับสนุนงบประมาณใช้จ่ายเกี่ยวกับอาหารกลางวันให้กับทีมงานในการสร้างฝายในวันนั้นจำนวน7,000บาทด้วย อนึ่งในวันนั้นสามารถสร้างฝายชะลอน้ำได้ 13จุด
    ครั้งที่ 6 เมื่อวันที่ 18 ก ย.57ทางสำนักงานเทศบาลตำบลโคกม่วง ประกอบด้วยคณะผู้บริหาร/สมาชิกเทศบาล/พนักงาน/เจ้าหน้าที่/ลูกจ้างของเทศบาลและแกนนำโครงการเข้าร่วมทำกิจกรรมนี้ในครั้งนี้จำนวน 80คนและได้สนับสนุนงบประมาณเป็นอาหารกลางวันให้กับผู้เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้เป็นเงิน16,000บาทสร้างฝายได้ 15จุด

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สรุปในภาพรวมของการทำกิจกรรมในครั้งนี้สิ่งที่บอกได้ถึงความสำเร็จของกิจกรรมนี้ก็คือการร่วมแรงร่วมใจของคนในชุมชนและการมือจากองค์กรภาคส่วนต่างๆ เช่น โรงเรียน/เทศบาล/กลุ่มองค์กรในชุมชนที่ไม่เคยปรากฎในกิจกรรมใดๆมาก่อน ซึ่งทุกภาคส่วนคนทุกกลุ่มทุกฝ่ายได้เห็นตรงกันว่าการที่จะอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมนั้นควรจะดำเนินการเป็นอย่างยิ่งและเห็นว่าน่าจะทำทั้งนานแล้ว ซึ่งจะเห็นได้ว่าผู้เข้าร่วมกิจกรรมต่างก็มีความกระทือรือร้้นที่จะเห็นภาพวันที่มีธรรมชาติที่สมบูรณ์มีน้ำมีป่าไม้และมีสัตว์น้ำสัตว์ป่าที่จะเกิดขึ้นในไม่ช้านี้ คณะผู้ดำเนินโครงการทุกคนต่างก็มีความสุขและพอใจเป็นอย่างยิ่งที่เห็นคนทุกภาคส่วนให้ความร่วมมืออย่างเกินความคาดหมาย

     

    100 215

    11. ร่วมพัฒนาศักยภาพและติดตามผลการรายงานโครงการ

    วันที่ 7 สิงหาคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    พี่เลี้ยงในพื้นที่ทุกพื้นที่ชี้แจงการรายงานโครงการตลอดถึงการใช้จ่ายงบประมาณของ สสส.ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในกิจกรรมในโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผู้รับผิดชอบโครงการ/หัวหน้าโครงการได้รับความรู้ในการรายงานโครงการอย่างถูกต้องในแต่ละขั้นตอนของการรายงานโครงการ

     

    2 2

    12. ประชาสัมพันธ์โครงการ ผ่านหอกระจายข่าว 5ครั้ง ผ่านป้ายประชาสัมธ์ 2ป้ายที่ติดไว้ในที่ชุมนุมชน (สถาบันการเงินและสหกรณ์ชาวสวนยาง) และนำเรื่องโครงการเข้าชี้แจงต่อประชาชนในที่ประชุมประจำเดือน 1ครั้ง

    วันที่ 12 สิงหาคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    หัวหน้าโครงการ(ผู้ใหญ่บ้าน)ประชาสัมพันธ์ตามหอกระจายข่าวของหมู่บ้านทุกครั้งที่มีกิจกรรมของโครงการและเน้นย้ำถึงความสำคัญที่จะต้องรณรงค์ในการที่จะเฝ้าระวัง พัฒนา ป้องกัน ฟื้นฟู สิ่งแวดล้อม เยาวชนในชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ประชาชนได้รับทราบ รับรู้ความจำเป็น ตระหนัก มีจิตสำนึกในการร่วมทำกิจกรรม รายละเอียดการดำเนินโครงการ

     

    5 0

    13. จัดกิจกรรมให้สมาชิกโครงการ ประชาชน ร่วมกันปลูกต้นไม้ละจัดเก้บขยะรอบแหล่งน้ำห้วยสังแก โดย อาศัยพิธีทางศาสนานิมนต์พระสงฆ์มาฉันภัตตาหารเพล ร่วมทำบุญป ประกาศจัดตั้งกองทุนเพื่อจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชน

    วันที่ 13 กันยายน 2557 เวลา 09:00-15.30น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ครั้งที่ 1 ในวันที่ 13 ก ย. 57 เวลา 09.00น.ประชุมให้ความรู้ในการคัดแยกขยะและปลูกจิตสำนึกให้คนในชุมชนรู้จักการคัดแยกขยะที่ถูกต้อง และไม่ทิ้งขยะลงในแหล่งน้ำหรือที่สาธารณะ ที่ประชุมได้เลือกตั้งคณะกรรมการบริหาร กองทุนเพื่อจัดการสิ่งแวดล้อมในชุมชน ขึ้นจำนวน 30คนเพื่อดูแลและบริหารจัดสิ่งแวดล้อมของชุมชนในโอกาสต่อไป ในตอนบ่ายเวลา 13.00 น.แกนนำพร้อมด้วยเด็กและเยาวชน สมาชิกในโครงการร่วมกันเดินรณรงค์เก็บขยะบริเวณแหล่งน้ำห้วยสังแกและตามถนนในหมู่บ้านพร้อมกับปรับปรุงภูมิทัศน์ปลูกต้นไม้ประดับไม้สวยงามและต้ดแต่งกิ่งไม้ตลอดสองข้างทางอีกด้วย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เป็นการกระตุ้นให้คนในชุมชนรู้จักการจัดเก็บขยะได้อย่างเป็นระบบและถูกวิธี มีกองทุนที่จะดูแลสิ่งแวดล้อมให้กับชุมชนในโอกาสต่อไป แหล่งน้ำ สถานที่สาธารณะ ถนนหนทางสะดวกสวยงาม มีไม้ประดับไม้สวยงามตลอดแนวถนนในชุมชน

     

    80 76

    14. ติดตามโครงการร่วมกับพี่เลี้ยง

    วันที่ 30 ตุลาคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    แนะนำทำความเข้าใจการลงเวบไซร์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    พื้นที่ได้รับความรู้ในการลงรายงานของโครงการ

     

    2 0

    15. ติดตามรายงานร่วมกับพี่เลี้ยง

    วันที่ 5 พฤศจิกายน 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เวลา 09.00 น.ลงทะเบียนเข้าร่วมประชุม 09.30 น.เป็นต้นไปประชุมรับฟังชี้แจงรายละเอียดการลงรายงานปิดโครงการงวดที่ 1 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    พื้นที่ได้รับรู้ความเข้าใจในการลงรายงาน ส1 ส2 และ ง1ได้อย่างถูกต้องและเข้าใจที่ตรงกัน

     

    3 3

    16. ประชุมประจำเดือนของสภาผู้นำ

    วันที่ 8 พฤศจิกายน 2557 เวลา 13:00-15.30น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เป็นการกำหนดการประชุมประจำเดือนทุกๆวันที่ 8 ของทุกเดือน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ครั้งที่1 เป็นการติดตามและประเมินผลของกิจกรรมในโครงการที่ผ่านมาและกำหนดกิจกรรมในครั้งต่อไป

     

    30 30

    17. สนับสนุนให้สภาผู้นำ เด็กและเยาวชนและตัวแทนครัวเรือน ร่วมพัฒนา ความสะอาดถนนในหมู่บ้าน 3 ครั้ง(ครั้งที่ 1)

    วันที่ 9 พฤศจิกายน 2557 เวลา 09:00 น-16.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ครั้งที่ 1ผู้ใหญ่บ้านประชาสัมพันธ์ทางหอกระจายข่าวและแกนนำแบ่งงานออกชักชวนชาวบ้านให้เข้าร่วมกิจกรรม เริ่มดำเนินกิจกรรมเวลา 09.00 น.ตั้งแต่บริเวณบ้านทุ่งยาวออกเป็นต้นมาจนถึงบ้านโคว่าว พักรับประทานอาหารกลางวันเวลา11.30 น. และเริ่มดำเนินกิจกรรมต่อเวลา13.30 น.ตั้งแต่บริเวณหน้าสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนออมทรัพย์บ้านทุ่งยาวจำกัดไปจนถึงบ้านทุ่งยาวตกในเวลา 15.30 น.แยกย้ายกลับบ้าน ในกิจกรรมนี้ได้ทำในเรื่องเก็บขยะบริเวณถนนในหมู่บ้านและตัดแต่งกิ่งไม้ ตัดหญ้าตลอดแนวสองข้างถนน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ทำให้เกิดความรักสามัคคีขึ้นในหมู่ขณะ และเกิดความตระหนักในการที่จะรักษาความสะอาดความเป็นระเบียบเรียบร้อยในหมู่บ้าน สร้างจิตสำนึกให้กับเยาวชนเกิดความรักหวงแหนบ้านเกิด สภาผู้นำ/เยาวชน/คนในชุมชนมีความสนุกสนานในการเข้าร่วมกิจกรรม และในครั้งนี้ได้ปปลูกต้นไม้สวยงาม ไม้ประดับตลอดสองข้างถนนในชุมชน

     

    80 0

    18. สนับสนุนให้สถาผู้นำเด็กและเยาวชนและตัวแทนครัวเรือนพัฒนาความสะอาดถนนในหมู่บ้าน (ครั้งที่ 2)

    วันที่ 23 พฤศจิกายน 2557 เวลา 09:00-15.30น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ครั้งที่ 2  ผู้ใหญ่บ้านประชาสัมพันธ์ทางหอกระจายข่าวและแกนนำแบ่งงานออกชักชวนชาวบ้านให้เข้าร่วมกิจกรรม เริ่มดำเนินกิจกรรมเวลา 09.00 น.ตั้งแต่บริเวณบ้านทุ่งยาวออกเป็นต้นมาจนถึงบ้านโคว่าว พักรับประทานอาหารกลางวันเวลา11.30 น. และเริ่มดำเนินกิจกรรมต่อเวลา13.30 น.ตั้งแต่บริเวณหน้าสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนออมทรัพย์บ้านทุ่งยาวจำกัดไปจนถึงบ้านทุ่งยาวตกในเวลา 15.30 น.แยกย้ายกลับบ้าน ในกิจกรรมนี้ได้ทำในเรื่องเก็บขยะบริเวณถนนในหมู่บ้านและตัดแต่งกิ่งไม้ ตัดหญ้าตลอดแนวสองข้างถนน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ทำให้เกิดความรักสามัคคีขึ้นในหมู่ขณะ และเกิดความตระหนักในการที่จะรักษาความสะอาดความเป็นระเบียบเรียบร้อยในหมู่บ้าน สร้างจิตสำนึกให้กับเยาวชนเกิดความรักหวงแหนบ้านเกิด สภาผู้นำ/เยาวชน/คนในชุมชนมีความสนุกสนานในการเข้าร่วมกิจกรรม และในครั้งนี้ได้ปปลูกต้นไม้สวยงาม ไม้ประดับตลอดสองข้างถนนในชุมชน

     

    80 83

    19. สนับสนุนให้สถาผู้นำเด็กและเยาวชนและตัวแทนครัวเรือนพัฒนาความสะอาดถนนในหมู่บ้าน (ครั้งที่ 3)

    วันที่ 29 พฤศจิกายน 2557 เวลา 09:00-15.30น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ครั้งที่ 3 ผู้ใหญ่บ้าน(หัวหน้าโครงการ)ประชาสัมพันธ์ทางหอกระจายข่าวและแกนนำแบ่งงานออกชักชวนชาวบ้านให้เข้าร่วมกิจกรรม เริ่มดำเนินกิจกรรมเวลา 09.00 น.เป็นต้นไปตั้งแต่บริเวณบ้านทุ่งยาวออกเป็นต้นมาจนถึงบ้านห้วยสังแก กิจกรรมที่ทำซ่อมแซมต้นไม้ที่ได้ปลูกไว้ครั้งก่อนใส่ปุ๋ยหมักที่ชุมชนได้ทำขึ้นใช้เองและตัดหญ้าบริเวณสองข้างถนนในหมู่บ้าน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ทำให้เกิดความรักสามัคคีขึ้นในหมู่ขณะ และเกิดความตระหนักในการที่จะรักษาความสะอาดความเป็นระเบียบเรียบร้อยในหมู่บ้าน สร้างจิตสำนึกให้กับเยาวชนมีจิตสาธารณะในการที่จะช่วยเหลือส่วนรวม สภาผู้นำ/เยาวชน/คนในชุมชนมีความสนุกสนานในการเข้าร่วมกิจกรรม และในครั้งนี้ได้ปปลูกต้นไม้ซ่อมแซม ไม้ประดับตลอดสองข้างถนนในชุมชน

     

    80 60

    20. สนับสนุน จัดตั้งกลุ่มคนรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อสุขภาพบ้านทุ่งยาว เพื่อฟื้นฟู แหล่งน้ำประปาหมู่บ้าน

    วันที่ 30 พฤศจิกายน 2557 เวลา 09:00 -15.00น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    หัวหน้าโครงการ/แกนนำประชาสัมพันธ์/ออกหนังสือเชิญชวนสมาชิกในโครงการเข้าร่วมประชุมเพื่อเลือกตั้งคณะกรรมการคนรักษ์สิ่แวดล้อมเพื่อสุขภาพที่บ้านทุ่งยาวเพื่อที่จะได้ป้องกัน เฝ้าระวังและพัฒนาห้วยสังแกซึ่งเป็นต้นน้ำที่ใช้ผลิตประปาใช้ในชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ที่ประชุมได้เลือกตั้งคณะกรรมการคนรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อสุขภาพที่บ้านทุ่งยาวจำนวน15คนดั่งนี้ 1 นายบรรจบ  ชูสังข์  ตำแหน่ง  ประธานกรรมการ 2 นายเฟือน  จันทร์อิน ตำแหน่ง  รองประธาน 3 นายพา    ชาตรี      ตำแหน่ง รองประธาน และอีก 12 คนเป็นคณะกรรมการ

     

    80 41

    21. ประชุมประจำเดือนสภาแกนนำ

    วันที่ 8 ธันวาคม 2557 เวลา 13:00-15.30น น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ครั้งที่ 2 เป็นประชุมในการที่จะให้กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมฯได้กำหนดปฏิทินในการดูแลป้องกันและเฝ้าระวังแหล่งน้ำประปา

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สภาแกนนำสามารถขับเคลื่อนกลไกที่เกิดขึ้นจากการดำเนินกิจกรรมในการดูแลและเฝ้าระวังแหล่งน้ำของชุมชน

     

    30 29

    22. จัดเวทีประชาคม ซึ่งมีสภาผู้นำ คณะกรรมการหมู่บ้าน และตัวแทนครัวเรือน ร่วมประชุมกำหนดแนวทางการมีส่วนร่วมเพื่อการเฝ้าระวัง ป้องกัน พัฒนาเด็กและเยาวชน และการฟื้นฟูแหล่งน้ำประปาหมู่บ้าน โดยมีนักวิชาการ หรือวิทยากรดำเนินการสร้างกระบวนการ สร้างมาตรการทางสังคม แล

    วันที่ 19 ธันวาคม 2557 เวลา 09:00-15.30น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    หัวหน้าโครงการประชาสัมพันธ์เชิญชวนให้คนในชุมชนและผู้มีที่ดินในเขตการดำเนินโครงการมาร่วมออกความคิดเห็นในการกำหนดมาตรการร่วมกันเพื่อหาแนวทางที่ชุมชนสามารถรับได้โดยการหลีกเหลี่ยงผลกระทบในประกอบอาชีพของคนในพื้นที่ ตลอดถึงทางโครงการได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่นกองทุนสวนยาง/สำนักงานปฎิรูปที่ดิน/สำนักงานเทศบาล/เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ด้วยโดยให้ทางนิติกรของเทศบาลเป็นวิทยากรดำเนินการสร้างกระบวนการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ที่ประชุมได้กำหนดระเบียบและมาตรการทางสังคมในการที่จะเฝ้าระวัง ป้องกัน พัฒนา แหล่งน้ำ ป่าไม้ สัตว์น้ำ และเยาวชนดังนี้ 1. การอนุรักษ์ป่าไม้ที่ประชุมได้กำหนดแนวเขตจากห้วยไม่น้อยกว่า 2 เมตรในการปลูกป่าแทนยางพารา และกำหนดปลูกป่าเพิมโดยจัดหาพันธ์ไม้ใช้สอยและไม้ยืนต้นให้กับสมาชิกโครงการ ในการนี้ทางปฎิรูปที่ดินจังหวัดพัทลุงได้ให้ข้อคิดในการดูแลการใช้ประโยชน์ในที่ดิน สปก.ให้เป็นไปตามระเบียบของสปก.และแนะ่นำให้ผู้ดำเนินโครงการให้ทำอย่างจริงจังและต่อเนื่อง และทาง สนง.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดพัทลุงได้อนุมัติงบประมาณในการก่อสร้างฝายชะลอน้ำเพิ่มเติมอีก 75000 บาทเพื่อที่จะเพิ่มฝายชะลอน้ำให้ได้มากขึ้น 2. การอนุรักษ์สัตว์น้ำที่ประชุมได้มีการกำหนดเขคพื้นที่ห้ามจับสัตว์น้ำในระยะทาง 450 เมตร และมีมาตรการในการป้องกันเฝ้าระวังโดยการกำหนดลงโทษผู้ฝาฝืนจับปลาในเขตห่วงห้าม เป็นการปรับ 500-1000 บาท และมีการฟื้นฟูพันธ์สัตว์น้ำโดยมีการปล่อยพันธ์ปลาพื้นเมือง อนุรักษ์พันธ์กบห้วยอีกด้วย 3. การฟื้นฟูและพัฒนาแหล่งน้ำประปาหมู่บ้านที่ประชุมกำหนดให้มีการสร้างฝายชะลอน้ำเพิ่มเติมเพื่อเก็บกักน้ำให้ได้นานที่สุด และทางสำนักงานเทศบาลตำบลโคกม่วงเป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารจัดการน้ำในเรื่องการจ่ายน้ำประปาให้กับหมู่บ้านอย่างเป็นระบบ ในส่วนกองทุนสวนยางอำเภอบางแก้วจะเป็นผู้ประสานให้ความรู้ในเรื่องการจัดการสวนยางอย่างยั่งยืนโดยเน้นให้ลดการใช้สารเคมีในสวนยาง และปลูกไม้ใช้สอยในสวนยางได้หรือปลูกพืชร่วมยางนั้นเอง 4. การดูแลและป้องกัน/เฝ้าระวัง/พัฒนาเด็กและเยาวชน ที่ประชุมได้กำหนดแนวทางการพัฒนาเด็กและเยาวชน ในเรื่องการส่งเสริมให้เยาวชนเล่นกิฬา  จัดกิจกรรมเข้าค่ายเยาวชนจิตอาสา  ถ่ายทอดภูมิปัญญาของท้องถิ่นให้กับเยาวชน ตลอดถึงการถ่ายทอดและสืบทอดการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีให้กับเด็กและเยาวชนต่อไป

     

    100 89

    23. ประชุุมประเดือนสาผู้นำ

    วันที่ 29 ธันวาคม 2557 เวลา 13:00-15.30น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เมื่อที่ประชุมครบองค์ประชุมนายมนูญ  สุขรัตน์ ในฐานะผู้ใหญ่บ้านทำการเปิดประชุมตามระเบียบวาระการประชุมในวาระที่ 3การติดตามผลการประชุมครั้งที่แล้วเรื่องของการจัดกิจกรรมบวชป่าและฉลองฝายชะลอน้ำในวันที่ 20ม ค 58 ว่าจะเตรียมการอย่างไรและที่ประชุมได้มอบหมายงานรับผิดชอบกันไปทำ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ครั้งที่ 3 เป็นการประชุมเพื่อวางแผนงานกิจกรรมการจัดงานบวชป่าและฉลองฝายชะลอน้ำแบ่งงานการรับผิดชอบมีดั่งนี้ การจัดสถานที่  การเชิญผู้เข้าร่วมงาน การนิมนต์พระคุณเจ้า เป็นต้น

     

    30 32

    24. การประชุมประจำเดือนของสภาผู้นำ เพื่อการบริหารจัดการโครงการตามแผนติดตามความก้าวหน้า สรุปและประเมินผล และปรับปรุงแผน โดยมีนักวิชาการเป็นวิทยากรกระบวนการ

    วันที่ 30 ธันวาคม 2557 เวลา 13:00-15.30น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ครั้งที่ 1ประชุมเพื่อเตรียมการในการดำเนินกิจกรรมการบวชป่าและกิจกรรมการจัดเวทีประชาคมเพื่อกำหนดมาตรการต่างๆแบ่งงานความรับผิดชอบ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    หัวหน้าโครงการ/ผู้รับผิดชอบโครงการได้ชี้แจงให้ที่ประชุมรับทราบถึงขั้นตอน วิธีการการดำเนินโครงการตามที่ผู้รับผิดชอบได้รับการอบรมมา

     

    30 32

    25. สร้างกิจกรรมบวดป่า(ก่อนเข้าพรรษา)ตามความเชื่อของชุมชน ให้เกิดการปลุกจิตสำนึกร่วมต่อการหวงแหนต้นไม้ ป่าไม้ ด้วยการทำพิธีทางไสยศาสตร์ แต่งบายศรี แต่งที่สิบสอง อัญเชิญสิ่งศักดิ์สิทธิ์มาปกปักรักษาผืนป่า ต้นไม้ พระสงฆ์ทำพิธีปลุกเสกผ้าเหลืองให้ป้นผ้ามงคล มอบให้

    วันที่ 20 มกราคม 2558 เวลา 09:00-15.30น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมแกนนำเพื่อกำหนดรูปแบบของกิจกรรมและมอบหมายงานที่รับผิดชอบ เช่นการจัดทำป้ายประชาสัมพันธ์ ป้ายนิทรรศน์ ป้ายกิจกรรม การนิมนต์พระสงฆ์และอื่นๆ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เกิดการร่วมมือจากคนในชุมชน กลุ่มองค์กร และหน่วยงานในท้องถิ่นและส่วนภาครัฐมากมาย เกิดความรู้สึกในการมีจิตสำนึกในการห่วงแหนทรัพยากรสิ่งแวดล้อมของชุมชนได้มาขึ้น ได้มีโอกาสเผยแพร่ประชาสัมพันธ์โครงการฯและหน่วยงานที่ให้การสนับสนุนในการดำเนินกิจกรรมในรอบที่ผ่านมา เกิดการแบ่งปันเสียสละประโยชน์ส่วนตนเพื่อประโยชน์ส่วนรวม เกิดความรักความสามัคคีขึ้นในชุมชน มีเคืรอข่ายจากหลายพื้นที่ มีการเชื่อมโยงและประสานงานระหว่างหน่วยงานภาครัฐกับประชาชนกันอย่างกล้ชิดมากขึ้น

     

    100 218

    26. ประชุุมประเดือนสาผู้นำ

    วันที่ 28 มกราคม 2558 เวลา 09:00-15.30น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คั้รงที่ 4 สภาผู้นำได้กำหนดเอาวันที่ 8 ของทุกๆเดือนเป็นการประชุมติดตามผลการดำเนินกิจกรรมที่ผ่านมาและสภาผู้นำได้ประชุมร่วมกับกลุ่มองค์กรในชุมชนด้วยทุกครั้งเพื่อที่จะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของกลุ่มต่างๆกับแกนนำในการพัฒนาชุมชนในโอกาสต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ที่ประชุมได้ติดตามการดำเนินกิจกรรมบวชป่าและฉลองฝายชะลอน้ำและค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจกรรมเกินจากงบประมาณที่ได้รับมาเนื่องจากมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมมากเกินเป้าที่ตั้งไว้ ที่ประชุมได้กำหนดวันที่จะอบรมการคัดแยกขยะอย่างเป็นระบบในโอกาสต่อไปโดยมีทางเทศบาลตำบลโคกม่วงจะนำร่องหมู่ที่11เป็นหมู่บ้านแรก และที่ประชุมได้มีมติมอบอำนาจเปิดบัญชีให้กองทุนอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่บ้านทุ่งยาวโดยให้ผู้มีอำนาจในการเปิด/ถอนเงิน 1ใน 3 คน

     

    30 30

    27. 16. เวทีคืนข้อมูลแถลงการณ์มาตรการทางสังคม โดยมีการนำเสนอข้อมูลชุมชน กิจกรรมโครงการ ผลงานเด่น สื่อ ป้ายนิทัศน์ แบบจำลอง การแสดง พร้อมแถลงการณ์ร่วมระหว่างโครงการ ท้องที่ และท้องถิ่น เพื่อการบังคับใช้มาตรการทางสังคม มีนาคม 58

    วันที่ 30 มกราคม 2558 เวลา 09:00-15.30น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เมื่อพื้นที่ได้มีการออกระเบียบและมาตรการทางสังคมร่วมและประกาศใช้ร่วมกันแล้วได้มีการกำหนดวันอ่านคำแถลงการต่อประชาชนร่วมกับท้องที่/ท้องถิ่น ถึงผลงานที่เด่นๆของโครงการฯ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้ประชาสัมพันธ์โครงการและผลงานที่เด่นๆต่อสาธารณะได้รับรู้ตลอดถึงออกระเบียบมาตรการทางสังคมเพื่อเป็นการบูรณาการระหว่างท้องถิ่น/ท้องที่ได้รับรู้และตระหนักต่อการที่จะปฏิบัติเหมือนกันและไม่ให้เกิดความขัดแย้งขึ้นในชุมชนในการใช้ประโยนช์ทรัพยากรร่วมกัน

     

    150 137

    28. ติดตามการประเมินผลโครงการ

    วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 09:00-15.30น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมชี้แจงการดำเนินโครงการและการกรอกแบบประเมินผลความสุขจากการดำเนินโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    กลุ่มเป้าหมายรับความรู้ในการดำเนินกิจกรรมและประเมินผลโครงการที่ได้ดำเนินกิจกรรมที่ผ่านมา

     

    2 2

    29. ประชุมสภาผู้นำ

    วันที่ 8 มีนาคม 2558 เวลา 12:00-15.30 น น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ติดตามและการประเมินผลกิจกรรมที่ผ่านมา

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ที่ประชุมได้รับรู้ผลการดำเนินโครงการไม่ว่าจะเป็นการใช้จ่ายในแต่ละกิจกรรม

     

    30 30

    30. ประชุมประจำเดือนของสภาผู้นำ

    วันที่ 8 พฤษภาคม 2558 เวลา 13:00-15.30น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    กำหนดการประชุมทุกวันที่ 8 ของเดือนและประชุมตามตามระเบียบวาระที่กำหนดในการประชุม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ครั้งที่ 5 ที่ประชุมได้ติดตามผลการประชุมครั้งที่แล้ว โดยนายมนูญสุขรัตน์ในฐานะหัวหน้าโครงการได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบถึงเรื่องที่ได้ไปเข้าร่วมประชุมพื้นที่เด่นในการดำเนินโครงการ ณ โรงแรมโกเด้นกราวด์หาดใหญ่ถึงการที่จะของบประมาณในโครงการต่อไปทางอาจารย์ได้แนะนำให้เขียนโครงการในลักษณะที่ยากกว่าเดิม และควรทำที่เกี่ยวกับเยาวชนให้มีการสืบทอดการบริหารจัดการหมู่บ้านในทุกด้าน และมีมติต่างๆในการดำเนินกิจกรรมต่อไป

     

    30 30

    31. ประชุมติดตามผลกับพี่เลี้ยง

    วันที่ 21 พฤษภาคม 2558 เวลา 09:00-15.30น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เวลา 09.00น.-12.00 น. ฟังคำชี้แจง อธิบายการลงรายงานลงเวปไซด์จากพี่เลี้ยงในพื้นที่ เวลา 13.00 พี่เลี้ยงตรวจสอบเอกสารและหลักฐานการเงิน/ใบลงทะเบียนผู้เข้าร่วมกิจกรรม 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    พื้นที่มีความเข้าใจในการลงรายงานในเวบไซด์ได้ถูกต้องและได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้จากพื้นที่อื่นๆอีกด้วย

     

    3 3

    32. ประชุมประจำเดือนสภาแกนนำ

    วันที่ 8 มิถุนายน 2558 เวลา 13:00-15.30น น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ติดตามและการประเมินผลของการการดำเนินกิจกรรมที่ผ่านมาและกำหนดกิจกรรมในครั้งต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    แกนนำและกรรมการหมู่บ้านได้มีความเข้าใจถึงการที่จะทำกิจกรรมในครั้งต่อไปและการเขียนโครงการในปีที่สองอีกด้วย ที่ประชุมได้มอบหมายให้แกนนำโครงการกลับไปคิดหากิจกรรมที่สอดคล้องกับตัวโครงการในปีสอง

     

    30 30

    33. ประชุมประจำเดือนของสภาแกนนำ

    วันที่ 8 มิถุนายน 2558 เวลา 13:00-15.30น น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ติดตามและประเมินผลกิจกรรมที่ผ่านมา

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ที่ประชุมได้รับรู้ผลการดำเนินโครงการไม่ว่าจะเป็นการใช้จ่ายในแต่ละกิจกรรม

     

    30 30

    34. . อบรมเยาวชนจากสภาผู้นำและเยาวชนในหมู่บ้าน ให้สามารถ เขียนบทความ เรื่องเล่า ภาพข่าว การแสดงเพลงบอก ถ่ายทำ ตัดต่อ บันทึกเสียง และนำเสนอสื่อสาธารณะได้ ใช้เวลา 2 วัน 1 คืน

    วันที่ 18 มิถุนายน 2558 เวลา 09:00-15.30น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เชิญกลุ่มเป้าหมาย กำหนดวัน/เวลา/สถานที่ในการฝึกอบรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ครั้งที 1 วันที่18 มิย 58 แกนนำและเยาวชนได้เรียนรู้ในการใช้เครื่องมือเช่นโทรศัพท์/กล้องถ่ายรูป/คอมพิวเตอร์และการจดบันทึกภาพหรือข้อมูลอื่นๆที่จะสามารถนำเอามาเรียบเรียงเป็นสื่อหรือสิ่งพิมม์ในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์งานต่างๆได้อย่างเหมาะสมและถูกต้องง่ายต่อการถ่ายทอดให้ผู้สนใจได้นำเอาไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ครั้งที่ 2 วันที่19มิย 58 แกนนำและเยาวชนได้เรียนรู้ถึงการใช้เทคโนโลยีและสารสนเทศในการจัดเก็บข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพและยังได้เรียนรู้ถึงวิถีชีวิตของคนในชุมชนตลอดถึงการที่จะดูแลธรรมชาติสิ่งแวดล้อมของชุมชนได้อย่างไรและการใช้สือสารสนเทศในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้กับชุมชนได้อย่างกว้างขวาง

     

    20 22

    35. จัดทำภาพถ่ายกิจกรรมในโครงการ

    วันที่ 22 มิถุนายน 2558 เวลา 09:00-12.00 น น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดทำภาพถ่ายจำนวน 10 ภาพลงในกระดาษa4

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สามารถมองเห็นการดำเนินกิจกรรมได้อย่างชัดเชน

     

    2 2

    36. ประชุมประจำเดือนสภาแกนนำ

    วันที่ 28 มิถุนายน 2558 เวลา 13:00-15.30น น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมหารือกำหนดกิจกรรมโครงการในปีที่ 2 ถึงการหาแนวทางที่จะทำในปีต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ที่ประชุมได้กำหนดการขอสนับสนุนโครงการในปีที่ 2 ว่าควรจะดำเนินกิจกรรมในเรื่องของการอนุรักษ์และฟื้นฟูธรรมชาติสิ่งแวดล้อมในชุมชนต่อไป

     

    30 30

    37. ปิดโครงการ

    วันที่ 30 มิถุนายน 2558 เวลา 09:00-12.00 น น.

    กิจกรรมที่ทำ

    พี่เลี้ยงชี้แจงทำความเข้าใจในการปิดโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    พื้นที่สามารถเข้าใจในเรื่องของการงินและเอกสารก่อนปิดโครงการ

     

    3 3

    38. 11-12 กค. ติดตามโครงการกับพี่เลี้ยง

    วันที่ 11 กรกฎาคม 2558 เวลา 09:00-15.30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ตรวจเอกสารและตรวจรายงานการดำเนินกิจกรรมที่ผ่านมาในวันที่ 11 กค.58 ในวันที่ 12ก ค.58 เจ้าหน้าที่รับรองเอกสารการเงิน/บัญชี ถูกต้องแล้วผู้รับผิดชอบลงลายมือชื่อเป็นการเสร็จ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    พื้นที่ได้มีการเรียนรู้ในการลงบัญชีและการรายงานลงเวปไซด์อย่างถูกต้อง และสามารถตรวจดูได้ง่ายและสะดวกรวดเร็ว

     

    3 4

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

     

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 คนในชุมชนต้องรับรู้ เห็นความสำคัญ ตระหนัก และมีส่วนรวมต่อการเฝ้าระวัง ป้องกัน พัฒนา ฟื้นฟูสภาพแวดล้อมเพื่อการอนุรักษ์แหล่งน้ำประปาหมู่บ้าน และการดูแลเด็กและเยาวชนของชุมชน
    ตัวชี้วัด : ชุมชนต้องมีส่วนร่วมในกระบวนการต่อไปนี้ 1. ชุมชนต้องร่วมสร้างและพัฒนาสภาผู้นำจากตัวแทนกลุ่ม องค์กรต่างในชุมชนจากคนทุกกลุ่มอายุคือ ปราชญ์ชุมชน/ผู้สูงอายุ 5 คน ผู้แทนกลุ่มองค์กรในชุมชน 5 คน ผู้แทนจากคณะกรรมการหมู่บ้าน 5 คน เด็กและเยาวชน 10 คน รวม 25 คนและคณะทำงาน 5 คน รวม 30 คนเป็นสภาผู้นำขับเคลื่อนโครงการ และสร้างความเข้าใจกระบวนการ วัตถุประสงค์ และเป้าหมายของโครงการ 2. พัฒนาศักยภาพกสภาผู้นำ ด้วยการเรียนรู้ดูงาน จากพื้นที่สำเร็จ 1 ครั้ง และการศึกษาเรียนรู้ในชุมชน 3. สภาผู้นำร่วมวิเคราะห์ วางแผน ดำเนินการ ติดตาม และประเมินผลในทุกกิจกรรมของโครงการ 4. ประชาสัมพันธ์โครงการ ผ่านสื่อทุกช่องทางอย่างต่อเนื่อง ผ่านหอกระจายข่าว 5ครั้ง ผ่านป้ายประชาสัมธ์ 2ป้าย ที่ประชุมหมู่บ้าน 1ครั้ง สร้างแนวร่วมดำเนินงานตามโครงการทุกครัวเรือน 5. สภาผู้นำจัดเวทีสร้างความเข้าใจกระบวนการ วัตถุประสงค์ และเป้าหมายของโครงการต่อประชาชนทุกครัวเรือน

    สภาผู้นำขับเคลื่อนงานแนวร่วม กลุ่มเด็กและเยาวชนผู้แทนกรรมการหมู่บ้าน ประชาชนที่ให้ความสนใจร่งวมกิจกรรมโครงการอย่างดียิ่ง พร้อมกับภาคีเครือข่ายทั้งในและนอกชุมชน จนบรรลุผลตามตัวชี้วัด

    2 มีกระบวนหนุนเสริมกิจกรรมเพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ในลักษณะ Learning by Doing (ที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมประเพณี และความเชื่อของชุมชน)
    ตัวชี้วัด : 1. จัดเวทีการเรียนรู้ภูมินิเวศน์ชุมชน ให้สภาผู้นำ และเยาวชนในชุมชน 20 คน รวม 50 คน ใช้เวลา ครึ่งวัน 2. สนับสนุนสภาผู้นำหลักและเยาวชน ให้สำรวจพื้นที่เสี่ยง สำรวจภูมินิเวศน์ และเฝ้าระวัง ลำธาร สายน้ำ ต้นไม้ ที่ต้องจัดการด้วยกระบวนการมีส่วนร่วม 2 ครั้ง ๆ ละ 1 วัน 3. สนับสนุนสภาผู้นำ นักเรียน และเยาวชนในชุมชนและผู้แทนครัวเรือน 100 คน ร่วม พิธีบวชป่า ป้องกันการตัดต้นไม้ริมห้วย ริมธาร 1 ครั้ง/1วัน 4. สนับสนุนสภาผู้นำ นักเรียน เยาวชน และสมาชิกกลุ่ม 100คน จัดทำฝายชลอน้ำ 8จุด 5. สนับสนุนการเรียนรู้กระบวนการจัดการขยะครัวเรือน และขยะชุมชน 1 ครั้ง 6. สนับสนุนการทำประชาคมสร้างมาตรการทางสังคม 1 ครั้ง 100 คน 7. สนับสนุนให้เด็กแและเยาวชนเรียนรู้และทำสื่อท้องถิ่น สื่อสาธารณะ วีดีอาร์ 10 คน 8. สนับสนุนให้สภาผู้นำ เด็กและเยาวชนร่วมพัฒนาความสะอาดถนนในหมู่บ้าน 2ครั้ง 9. จัดตั้งกลุ่มคนรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อสุขภาพบ้านทุ่งยาว เพื่อฟื้นฟู แหล่งน้ำประปาหมู่บ้าน

    คณะทำงานได้สนับสนุนให้ชุมชนได้เรียนรุ็กระบวนการ และทำกิจกรรมตามกระบวนการนั้นจนครบถ้วน ภายใต้ความร่วมมือจากชุมชนเป็นอย่างดียิ่ง และได้ประสานงานกับภาคีเครือข่ายทั้งภายในและภายนอกมาเป็นแนวร่วมสนับสนุนกระบวนงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งยังได้จัดตั้งกองทุน ระดมทุนจากชุมชนไว้สำหรับการดำเนินงานของกลุ่มคนรักษ์สิ่งแวดล้อม และยึดแนวทางตามมติประชาคมที่ได้วางกฏระเบียบการดูแลสิ่งแวดล้อมห้วยสังแก และได้ประชาสัมพันธ์ให้ทราบโดยทั่วกันแล้ว

    3 3. สภาผู้นำและกลุ่มรักษ์สิ่งแวดล้อมเป้็นกลไกหลักในการแหล่งน้ำประปาหมู่บ้าน และ เฝ้าระวัง ป้องกัน พัฒนาเด็กและเยาวชนให้ห่างไกลยาเสพติด
    ตัวชี้วัด : สภาผู้นำ 30 คน กลไก 30 คนสมาชิกโครงการ 50 คน เยาวชน 20คน ผู้นำชุมชน 4 คน สมาชิกเทศบาลในพื้นที่ 3 คน ผู้บริหารท้องถิ่น ครู นักเรีบน43คน รวม 150 คน

    กลไกที่เกิดจากกระบวนงานตามโครงการ ได้ประสานงานกับภาคีมาร่วมกิจกรรมจนบรรลุวัตถุประสงคืและตัวชี้วัด

    4 เพื่อการประเมินผลโครงการและการบริหารจัดการโครงการ
    ตัวชี้วัด : เข้าร่วมประชุมรับฟังคำชี้แจงในการเข้าร่วมโครงการกับ สสส. และ สจรส.จำนวน4ครั้ง

    หัวหน้าโครงการ/และผู้รับผิดชอบโครงการ/การเงิน/บัญชี สามารถนำความรู้จากการที่ได้เข้าร่วมประชุมรับฟังคำชี้แจงจากเจ้าหน้าที่ สจรส/พี่เลี้ยงในพื้นที่เอาไปปรับใช้ในการลงเวปไซด์/บันทึกบัญชีค่าใช้จ่ายในแต่ละกิจกรรมตลอดจนถึงการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบในการดำเนินกิจกรรมของโครงการฯ ได้อย่างถูกต้องและครบถ้วนสามารถตรวจได้อย่างง่ายและรวดเร็ว รวมถึงเป็นการเรียนรู้ในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศให้เกิดประสิทธิภาพแก่ผู้เข้าร่วมประชุมอีกด้วย

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) คนในชุมชนต้องรับรู้ เห็นความสำคัญ ตระหนัก และมีส่วนรวมต่อการเฝ้าระวัง ป้องกัน พัฒนา ฟื้นฟูสภาพแวดล้อมเพื่อการอนุรักษ์แหล่งน้ำประปาหมู่บ้าน และการดูแลเด็กและเยาวชนของชุมชน (2) มีกระบวนหนุนเสริมกิจกรรมเพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ในลักษณะ Learning by Doing (ที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมประเพณี และความเชื่อของชุมชน) (3) 3. สภาผู้นำและกลุ่มรักษ์สิ่งแวดล้อมเป้็นกลไกหลักในการแหล่งน้ำประปาหมู่บ้าน และ เฝ้าระวัง ป้องกัน พัฒนาเด็กและเยาวชนให้ห่างไกลยาเสพติด (4) เพื่อการประเมินผลโครงการและการบริหารจัดการโครงการ

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    ส่วนที่ 3 ประเมินคุณค่าโครงการ

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ

    ชื่อโครงการ สร้างคนรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อสุขภาพที่บ้านทุ่งยาว

    รหัสโครงการ 57-01414 รหัสสัญญา 57-00-0957 ระยะเวลาโครงการ 1 มิถุนายน 2557 - 30 มิถุนายน 2558

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นการคุณค่าที่เกิดจากโครงการในมิติต่อไปนี้

    • ความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพและนวัตกรรมเชิงระบบสุขภาพชุมชน
    • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีผลต่อสุขภาวะ
    • การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ
    • ผลกระทบเชิงบวกและนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาวะชุมชน
    • กระบวนการชุมชน
    • มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่

    1. เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้ใหม่ / องค์ความรู้ใหม่

    พื้นที่ได้เกิดความรู้ใหม่ๆเช่น การเข้าเวบไซด์/การใช้ข้อมูลของชุมชนให้เกิดประโยชน์/การบริหารคน/การใช้ทุนทางสังคม

    ดูจากรายงานทางเวปไซด์

    สงเสริมให้เด็กและเยาวชนเรียนรู้ในใช้คอมพิวเตอร์ให้เกิดประโยชน์

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สิ่งประดิษฐ์ / ผลผลิตใหม่

    เกิดฝายชลอน้ำ เปฌ็นผลผลิตใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อนในชุมชน

    รายงาน

    ศึกษารูปแบบที่เหมาะสม ฟื้นฟูแหล่งอาหารชุมชน พัฒนาเป็นสถานที่ท่องเที่ยว เรียนรู้ของชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. กระบวนการใหม่

    มีกระบวนการคิดและการวิเคราะห์ในการดำเนินกิจกรรม

    รายงาน

    หาแหล่งความรู้ใหม่ๆจากต่างพื้นที่

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. วิธีการทำงาน / การจัดการใหม่

    มีการทำงานเป็นทีม การแบ่งงาน มอบหมาย ให้เครดิต

    รายงาน/ผลงาน

    พัฒนาต่อยอดเป็นผู้นำแถวสอง หรือผู้นำรุ่นใหม่

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การเกิดกลุ่ม / โครงสร้างในชุมชนใหม่

    มีการจัดตั้งกลุ่มต่างๆขึ้นในระหว่างการดำเนินกิจกรรมเช่น กลุ่มอนุรักษ์ห้วยสังแก/กองทุนพัฒนาและฟื้นฟูห้วยสัง/มีการประสานงานระหว่างกลุ่มกับชุมชน

    ดูในรายงานกิจกรรมในเวปไซค์วันที่19ธค.57

    จัดตั้งกลุ่มอนุรักษ์ห้วยสังแกเพื่อการพัฒนาและฟื้นฟูห้วยสังแกต่อไป

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. แหล่งเรียนรู้ใหม่

    การจัดการน้ำ/ป่าไม้/การอนุรักษ์สัตว์น้ำ

    กลุ่มอนุรักษ์ห้วยสังแก

    จัดทำข้อมูลของวิถีชีวิตสัตว์น้ำในท้องถิ่น

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    99. อื่นๆ

    การประสานงานกับภาคีที่เกี่ยวข้อง ทั้งในและนอกพื้นที่โครงการ

    รายงาน

    เป้นภาคีเครือข่ายความร่วมมือ

    2. เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การบริโภค

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การออกกำลังกาย

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. การลด ละ เลิก อบายมุข เช่น การพนัน เหล้า บุหรี่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การลดพฤติกรรมเสี่ยง เช่น พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การขับรถโดยประมาท

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. การจัดการอารมณ์ / ความเครียด

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. การดำรงชีวิต / วิถีชีวิต เช่น การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น / สมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเอง

    ชุมชนมึความตระหนักในการที่จะดำรงชีวิตตามแนววิถีแบบสมัยก่อนโดยการใช้ภูมิปญญาท้องถิ่นที่ไม่ต้องพึ่งพาปัจจัยภายนอกมากนักโดยการจะเห็นได้จากการเข้าร่วมกิจกรรรมบวชป่า/ปลูกป่า/ปล่อยปลาเป็นต้น

    ดูจากรายงานกิจกรรมในเว็บไซค์ในวันที่28มค.58

    รณรงค์และปลูกจิตสำนึกให้คนในชุมชนมีความตระหนักในการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    8. พฤติกรรมการจัดการตนเอง ครอบครัว ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    9. อื่นๆ

     

     

     

    3. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. กายภาพ เช่น มีการจัดการขยะ ป่า น้ำ การใช้สารเคมีเกษตร และการสร้างสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนที่ถูกสุขลักษณะ

    พื้นที่ได้มาตรการและข้อตกลงในระหว่างชุมชน/ท้องถิ่น/หน่วยงานภาครัฐในการที่จะดูแล/เฝ้าระวัง/พัฒนาแหล่งน้ำ/ป่าไม้/เด็กและเยาวชน

    ดูในรายงานกิจกรรมในเว็บไซร์วันที่19ธค.57

    จัดชุดเฝ้าระวัง/ป้องกันและพัฒนาสิ่งเหล่านี้ต่อไป

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สังคม เช่น มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ลดการเกิดอุบัติเหตุ ครอบครัวอบอุ่น การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อเด็ก เยาวชน และกลุ่มวัยต่าง ๆ มีพื้นที่สาธารณะ/พื้นที่ทางสังคม เพื่อเอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชน มีการใช้ศาสนา/วัฒนธรรมเป็นฐานการพัฒนา

    จัดตั้งคณะกรรมการด้านต่างๆเช่นด้านนโยบาย/ด้านพัฒนา/และด้านเฝ้าระวังในการที่จะดูแลเด็กเยาวชน/แหล่งน้ำ/ป่าไม้

    รายงาน

    จัดทำแผนพัฒนากิจกรรมต่อยอดโครงการ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. เศรษฐกิจสร้างสรรค์สังคม /สร้างอาชีพ / เพิ่มรายได้

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการบริการสุขภาพทางเลือก และมีช่องทางการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. อื่นๆ

     

     

     

    4. การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. มีกฎ / กติกา ของกลุ่ม ชุมชน

    มีกฏกติกาการรักษาสิ่งแวดล้อม เช่นห้ามจับสัตว์น้ำและการกำหนดข้อเปรียบเทียบปรับ

    ป้าย/ภาพถ่าย/รายงาน

    มีทักษะ ที่สามารถสร้างกติกาอื่นๆ หรือผลักดันเชิงนโยบายสาธารณได้

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. มีมาตรการทางสังคมของกลุ่ม ชุมชน

    จัดเวทีประชาคมเพื่อสร้างมาตรการทางสังคมแล้วประกาศใช้ร่วมกันโดยที่ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการร่างมาตรการในครั้งนี้

    รายงานกิจกรรมในเเว็บไซด์วันที่19ธค.57

    ประชุมทำความเข้าใจกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ดำเนินโครงการ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. มีธรรมนูญของชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. อื่นๆ เช่น ออกเป็นข้อบัญญัติท้องถิ่น ฯลฯ

     

     

     

    5. เกิดกระบวนการชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. เกิดการเชื่อมโยงประสานงานระหว่างกลุ่ม / เครือข่าย (ใน และหรือนอกชุมชน)

    การประสานงานกับภาคีที่เกี่ยวข้อง ทั้งในและนอกพื้นที่โครงการ

    รายงาน

    พัฒนาสู่เป็นภาคีความร่วมมือ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเรียนรู้การแก้ปัญหาชุมชน (การประเมินปัญหา การวางแผน การปฏิบัติการ และการประเมิน)

    มีกระบวนการหามติร่วม การวางแผน การติดตาม ในทุกกิจกรรม งานจึงได้ผลทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ

    รายงาน

    การเรียนรู้จนเกิดทักษะ จะนำไปใช้กับงานอื่นๆ ในชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ประโยชน์จากทุนในชุมชน เช่น การระดมทุน การใช้ทรัพยากรบุคคลในชุมชน

    มีการระดมทุนจากกลุ่มองค์กร เช่น สถาบันการเงิน สหกรณ์การทำสวนยาง เทศบาล โรงเรียนสท. สจ. สส. สปก. ตลอดจนสื่อมวลชน มาสนับสนุนการทำงาน

    รายงาน/ภาพถ่าย

    เป้นภาคีความร่วมมือในโอกาสต่อไป

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกลุ่มและชุมชนที่เกิดจากโครงการอย่างต่อเนื่อง

    เกิดกองทุนอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เพื่อสนับสนุนกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ได้ทำงานอย่างต่อเนื่อง

    รายงาน

    กลุ่มมีโครงสร้าง และภารกิจที่อิสระจากโครงการ ทำงานได้อย่างต่อเนื่อง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. เกิดกระบวนการจัดการความรู้ในชุมชน

    พื้นที่ได้รับการร่วมมือในการดำเนินกิจกรรมของโครงการอย่างดียิ่งจากคนในชุมชนและนอกชุมชนอีกทั้งหน่วยงานภาครัฐ/เครือข่ายลุ่มน้ำตะโหมดเป็นพี่เลี้ยงในการดำเนินกิจกรรม

    ดูในรายงานกิจกรรมจากเว็บไซด์วันที่5สค.57

    ติดต่อประสานงานกับองค์กรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. เกิดทักษะในการจัดการโครงการ เช่น การใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ การทำแผนปฏิบัติการ

    ทุกกระบวนการทำงานอาศัยการตัดสินใจอย่างมีส่วนรวมบนพื้นฐานข้อมูลชุมชนที่ถูกต้อง จึงมีความสำเร็จเป้นอย่างดี

    รายงาน

    เป็นทักษะที่ใช้กับการตัดสินใจเพื่อส่วนรวมต่อไป

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. อื่นๆ

     

     

     

    6. มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเอง / กลุ่ม / ชุมชน

    คณะทำงานกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้ม และแกนนำชุมชน มีความภาคภูมิใจต่อความร่วมมือ และผลงาน ซึ่งเป็นผลให้เกิดการพัฒนาชุมชนอ่างต่อเนื่อง จนได้รับการยกย่อง จากสังคม

    ภาพถ่าย/รายงาน/ สื่อมวลชน

    พัฒสู่ชุมชนเข้มแข็ง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเห็นประโยชน์ส่วนรวมและส่วนตนอย่างสมดุล

    คณะทำงาน และแกนนำ ได้มองเห้นประโยชน์ของชุมชนเป้นใหญ่ จึงได้รับความไว้วางใจ และได้รับการสนับสนุนจากทุนในชุมนเป้นอย่างดียิ่ง

    ภาพถ่าย/รายงาน/สื่อมวลชน

    แกนนำเข้มแข็ง ชุมชนเข้มแข็ง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย และพอเพียง

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. ชุมชนมีความเอื้ออาทร

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. มีการตัดสินใจโดยใช้ฐานปัญญา

    ในทุกกระบวนงานคณะทำงานได้ศึกษาเรียนรู้ ดูงาน ปรึกษากันบนฐานของปัญญาผลงานที่ออกมาจึงมีพร้อมทัั้งปริมาณคุณภาพ

    ภาพถ่าย /รายงาน

    เป็นทักษะที่ใช้กับกระบวนการงานอื่นๆได้ต่อไป

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. อื่นๆ

     

     

     

    สร้างคนรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อสุขภาพที่บ้านทุ่งยาว จังหวัด พัทลุง

    รหัสโครงการ 57-01414

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นายสมมิตร ปานเพชร )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด