แบบประเมินผลการดำเนินงาน (Performance/Product Evaluation)

 เป้าประสงค์หรือวัตถุประสงค์/ตัวชี้วัด(Indicator)สถานการณ์เป้าหมายผลผลิต
(Output)
ผลลัพธ์
(Outcome)
ผลกระทบ
(Impact)
อธิบายข้อสังเกตที่สำคัญ
1 เพื่อสร้างกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของเยาวชนและสมาชิกในชุมชนในการปรับพฤติกรรมการดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง
ตัวชี้วัด : 1. มีการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการทำบัญชีครัวเรือน และการดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมออย่างน้อย ร้อยละ 90 ของเป้าหมายทั้งหมดจำนวน 12 ครั้ง 2. ฐานข้อมูลเศรษฐกิจชุมชนบ้านออกศาลาจำนวน 1 ชุด 3. ร้อยละ 60 คน ในชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจ การจัดทำระบบบัญชีรายรับ-รายจ่าย ของครัวเรือน 4. เกิดครัวเรือนต้นแบบ จำนวน 40 คน ในการทำระบบบัญชีรายรับ-รายจ่าย ของครัวเรือนอย่างต่อเนื่อง 5. มีชุดความรู้ การจัดการด้านรายได้ สู่ระบบเศรษฐกิจพอเพียง จากฐานการเรียนรู้ชุมชน ด้านปรัชญาเศรษฐกิจพอเพีย จำนวน 1 เล่ม

 

 

  • ได้ประชุมสภาผู้นำและคณะทำงาน เพื่อติดตามประเมินผลการดำเนินงาน และได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินโครงการ จำนวน 13 ครั้ง มีผู้เข้าร่วมสมำเสมอ 100 เปอร์เซ็นต์ของเป้าหมายผู้เข้าร่วมทั้งหมด คือ 20 คน
  • คนในชุมชน 125 คน ร้อยละ 100 ทราบข้อมูลรายรับ รายจ่าย และหนี้สินของคนในชุมชนจากการจัดเวทีเสวนา นำไปสู่การเข้าร่วมอบรมการทำอาชีพเสริม และการนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงด้านการเกษตรมาใช้ในชุมชน
  • กลุ่มเยาวชนและแกนนำ สภาผู้นำชุมชน ได้ไปศึกษาดูงานศูนย์เรียนรู้การสร้างอาชีพตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงที่ชุมชนไม้เรียง จ.นครศรีธรรมราช และนำความรู้ที่ได้มาอบรมต่อให้คนในชุมชน จำนวน 4 เรื่อง คือ การทำเกษตรอินทรีย์ การปลูกพืชร่วมยาง การทำปุ๋ยชีวภาพ แลพการทำสารสกัดจากสมุนไพรไล่แมลง เกิดเป็นชุดความรู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชน และได้ร่วมกันลงแขกพัฒนาพื้นที่ของชุมชน 15 พื้นที่ พัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง 4 เรื่อง
2 เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้อาชีพวิถีเกษตรอินทรีย์ให้กับเยาวชนกลุ่มเสี่ยง
ตัวชี้วัด : 1. เยาวชนที่เข้าร่วมโครงการร้อยละ 70 มีความรู้ ทักษะในการประกอบอาชีพตามวิถีชุมชน สามารถสร้างมีรายได้ให้กับตนเองและครอบครัว 2. ร้อยละ 80 เด็ก เยาวชนและคนในชุมชน ยึดหลักปรัญชญาเศรษฐกิจพอเพียงและวิถีวัฒนธรรมชุมชนไว้เป็นที่ยึดเหนี่ยวในการดำรงชีวิต

 

 

  • เกิดกลุ่มเยาวชนที่ทำงานร่วมกับผู้นำท้องถิ่น ซึ่่งมาจากเยาวชนกลุ่มเสี่ยงที่ปรับพฤติกรรมการร่วมทำงานเพื่อชุมชน
  • มีการสร้างอาชีพให้เกิดขึ้นกับกลุ่มเยาวชนกลุ่มเสี่ยงและตัวแทนครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ ด้านการทำเกษตรในพื้นที่สาธารณะจำนวน 3 โซน คือ โซนออกศาลาเหนือ โซนออกศาลากลาง และโซนออกศาลาใต้ ทำให้ลดรายจ่ายในครอบครัว และเพิ่มรายได้ให้แก่กลุ่มเยาวชน
3 เพื่อสร้างกลไกให้คนในชุมชนสามารถพึ่งตนเองได้ และมีความมั่นคงยั่งยืน ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ตัวชี้วัด : 1. เกิดกองทุนส่งเสริมอาชีพตามวิถีชุมชนจำนวน 1 กองทุน 2. มีการปลูกผักปลอดสารพิษ หลากหลายชนิด ไว้บริโภคในครัวเรือนใน โซนพื้นที่ จำนวน 3 โซน คือ บ้าน, โรงเรียน, ที่ดินสาธารณะของชุมชน 3. มีกติกาชุมชนบ้านออกศาลาพอเพียง เอื้อต่อสุขภาพ ในประเด็น อาหารปลอดภัย ประเด็นเครือข่ายคนสามวัย และประเด็นเศรษฐกิจพอเพียง

 

 

  • มีกติกาชุมชนในการร่วมกันดูแลแปลงผักชุมชนที่กลุ่ทเยาวชนร่วมกันดำเนินการ เช่นกติกาการเก็บผลผลิตจะต้องมีการคืนเมล็ดพันธ์เท่าที่เก็บผลผลิตไปเป็นต้น
4 เพื่อการบริหารจัดการและการติดตามประเมินผลโครงการ
ตัวชี้วัด : จำนวนครั้งในการเข้าร่วมกิจกรรมกับ สสส และ สจรส

 

 

  • เข้าร่วมทำรายงานร่วมกับ สจรส.และพี่เลี้ยงจำนวน 5 ครั้ง
  1. กิจกรรมปฐมนิเทศโครงการร่วมกับ สจรส.
  2. จัดทำรายงานในเวบไซต์และรายงานการเงิน จำนวน 3 ครั้ง เพื่อทำรายงานความก้าวหน้าโครงการ
  3. จัดทำรายงานปิดโครงการ