assignment
บันทึกกิจกรรม
ถอดบทเรียนโครงการร่วมสร้างแผนชุมชนบ้านยางงามสู่ความพอเพียง24 เมษายน 2558
24
เมษายน 2558รายงานจากพื้นที่ โดย yanatip
circle
วัตถุประสงค์

มีชุดความรู้การขับเคลื่อนชุมชนน่าอยู่บ้านยางงาม

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เวทีพูดคุยระหว่างสมาชิกสภาแกนนำและผู้นำชุมชนจากชุมชนอื่น ในการทำงานพัฒนาชุมชนบ้านยางงามด้วยแผนชุมชน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • โครงการ  ร่วมสร้างแผนชุมชนบ้านยางงามสู่ความพอเพียง มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้การจัดทำแผนชุมชนแบบมีส่วนร่วมที่มีคุณภาพ  2. เพื่อขับเคลือนแผนชุมชนให้เกิดรูปธรรมผลการดำเนินงาน 3. เพือพัฒนากลไกในการขับเคลื่อนแผนชุมชนอย่างยั่งยืนโดยกรรมการหมู่บ้านหรือสภาแกนนำ
  • ผลการดำเนินงาน ชุมชนได้เรียนรู้กระบวนการทำแผนชุมชน 8 ขั้นตอน ตั้งแต่ การประชุมเตรียม การเก็บข้อมูลชุมชน  การรวบรวมวิเคราะห์วางแผน การยกร่างแผน  การประชาพิจารณ์แผน  การประสานแผน  การผลักดันแผนสู่่การปฎิบัติ และการประเมินแผน จากแผนชุมชนบ้านยางงามเดิมที่อยู่ที่เทศบาลและอำเภอโดยนำมาเรียนรู้อย่างจริงจัง โดยผ่านการประชุมของหมู่บ้านแต่ละครั้ง 1 ใน 8 ขั้นตอนนี้มีขั้นตอน การประชาพิจารณ์ การประสานแผน และการผลักดันแผนเกิดขึ้นจริงกับเทศบาลตำบลนาท่อมในการทำแผนประจำปี 2559 และทำให้ประชาชนรู้เข้าใจกระบวนการและความสำคัญของการทำแผนชุมชนจากการขับเคลื่อนโครงการ
  • การขับเคลื่อนแผนชุุมชนให้เกิดรูปธรรม โดยครัวเรือนต้นแบบ 70 ครัวนั้น ครัวเรือนต้นแบบได้เรียนรู้ จนเข้าใจกระบวนการได้มาแผนชุมชนและเรียนรู้กิจกรรมจากแผน เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงในการแก้ปัญหารายรับน้อยกว่ารายจ่าย จากการศึกษาดูงานจากศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง หมู่ที่ 15 ต.ควนมะพร้าว อ.เมือง จ.พัทลุง ที่เป็นศูนย์เรียนรู้ต้นแบบดูกิจกรรม ที่เป็นรูปธรรม และจากการเรียนรู้วิธีการ  หลักคิด จากเกษตรอำเภอบ้างแก้ว ในการการกำหนดเลือกกิจกรรมให้เหมาะสมกับครัวเรือนในการแก้ปัญหาของครัวเรือนต้นแบบ เช่น การปลูกผัก 15  ชนิดเพื่อลดรายจ่าย การทำบัญชีครัวเรือนเพื่อรู้สถานะครอบครัว การทำสินค้าทดอแทนเพื่อลดรายจ่าย  การทำปุ๋ยใช้เองลดต้นทุนและมีอาหารปลอดภัย การออมทรัพย์เพื่อสร้างวินัยในการออกยกระดับคุณภาพชีวิติ การรวมกลุ่มทำกิจกิจกรรมที่เป็นรายได้ เช่นกลุ่มแปรรูปเครืองแกง และรวมกลุ่มสร้างตลาดสินค้าอาหารปลอดภัยในชุมชน ซึ่งกิจกรรมต่าง ๆ ดึงมาจากกิจกรรมในแผนชุมชนที่ทุกคนได้นำเสนอทำร่วมกัน
  • ส่วนการพัฒนากลไกเพื่อขับเคลือนชุมชนโดยใช้แผนชุมชนนั้น  ชุมชนบ้านยางงามได้พัฒนาแกนนำเป็นสภาแกนนำ ที่ผ่านการคัดเลือกจากการประชุมหมู่บ้าน จำนวน 15  คน เป็นกลไกขับเคลือนแผนชุมชนนั้น ผลการดำเนินงานทำได้แค่ ที่ประชุมได้คัดเลือก 15 คนเป็นแกนและได้เรียนรู้กระบวนการทำแผนชุมชน ได้ศึกษาดูงาน ได้เรียนรู้การจัดทำโครงสร้างการทำงานของสภาแกนนำจากปลัดอำเภอซึ่งรับผิดชอบโดยตรง ยังได้เรียนรู้การกำหนดบทบาทหน้าที่ในการทำงานในแต่ละด้าน เนื่องจากผู้ใหญ่หัวหน้าโครงการซึ่งเป็นแกนนำหลัก ขาดความสนใจในการทำงานขับเคลื่อนโครงการ ส่งผลให้สภาแกนนำไม่มีพลังในการทำงานให้ชุมชนอย่างมีเป้าหมาย ทำให้โครงการต้องขอยุติในการขับเคลือน จากการขาดประชุมทุกเดือนไม่มีการพูดคุยอย่างต่อเนื่อง เป็นผลให้การกำหนดบทบาทหน้าที่่ไม่เกิดขึ้น  การสร้างกติกาในชุมชนไม่มี แนวทางในการพัฒนาด้านต่าง ๆ ไม่เกิดขึ้น สิ่งที่เกิดขึ้นคือ แกนนำที่ผ่านการคัดเลือก จากที่ประชุมหมู่บ้าน 15 คน จากเดิมไม่เคยมี และบุคคลเหล่านี้สามารถเป็นแกนนำหรือสภาแกนนำของชุมชนได้ แต่ต้องต้องทำงานในประเด็นอื่น และพัฒนาจากการเป็นสภาแกนนำสู่เป็นสภาผู้นำต่อไป
  • จากสถานการณ์ที่เป็นทั้งโอกาสและอุปสรรค์การดำเนินโครงการร่วมสร้างแผนชุมชนบ้านยางงามสู่ความพอเพียงนั้นจากการทำงานยังเห็นช่องทางพัฒนาไปสู่การสร้างชุมชนน่าอยู่ได้โดยต้องใช้ประเด็นอื่นในการขับเคลือน เช่น ประเด็นคุณภาพผู้สูงอายุที่อยู่ในชุมชนและร่วมกิจกรรมได้อย่างต่อเนื่องเชื่อไปสู่ประเด็นอื่นๆ

1.สิ่งดีที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการภายใบประมาณงวดแรกที่ต้องการให้ชุมชนบ้านยางงามน่าอยู่

  • คนชุมชนบ้านยางงามเป็นคนดี มีน้ำใจ เอื้อเฟื้อแบ่งปันเป็นทุนเดิม สามารถร่วมกันขับเคลื่อนเรียนรู้งานพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรม คือ ได้เรียนรู้พื้นที่รูปธรรมจากการศึกษาดูงานในพื้นที่จริง
  • กลไกชุมชนเกิดกลุ่มสภาแกนนำหรือ กรรมการหมู่บ้านที่ทำงานขับเคลื่อนได้ระดับหนึ่ง เกิดจากที่ประชุมได้คัดเลือกกลุ่มคนจากกลุ่มบ้านต่าง ๆ และจากคนที่มีความรู้ความสามารถมาเป็นกลุ่มคนสภาแกนนำทำหน้าที่เรียนรู้บทบาทหน้าที่แต่ยังไม่มีการกำหนดโครงสร้างองค์กร แต่สามารถทำงานอื่น ๆได้ และได้เรียนรู้กระบวนการทำแผนจากแผนเดิมจนเข้าใจสมารถประปรุงจนสมบูรณ์นำไปสู่การประสานแผนโดยแกนนำ
  • สถาแกนนำมีแผนชุมชนที่คนอื่นหรือหน่วยงานอื่นทำให้แต่สามารถเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วมจนเข้าใจสามารถในไปใช้เป็น
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 10 คน จากที่ตั้งไว้ 21 คน
ประกอบด้วย
  • สภาแกนนำ หรือ กรรมการหมู่บ้าน 5  คน
  • ผู้นำชุมชนอื่น 5 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  1. โครงการไม่สามารถดำเนินการได้ตามกำหนดปฏิทินการทำงาน เนื่องจากผู้นำที่มีบทบาทสำคัญหลักต้องไปทำงานอยู่นอกพื้นที่ ทำให้ไม่ต่อเนื่อง แนวทางแก้ไข ต้องสร้างความเข้าใจกับชุมชนถึงเรื่องประชาชนกับความเป็นเจ้าของพื้นที่
  2. สภาแกนนำหรือกรรมการหมู่บ้านชุดที่เกิดจากโครงการซึ่งมีผู้ใหญ่บ้านเป็นประธาน จำเป็นอย่างยิ่งกับการเป็นหัวเรียวหัวแรงในการขับเคลื่อนเมื่อไม่ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาโดยใช้แผนชุมชนการขับเคลื่อนก็ไม่เกิดประสิทธิภาพ แนวทางแก้ไขสภาแกนนำยังทำงานได้อยู่แต่ให้เวลาชุมชนในการได้ปรับทัศนคติต่อผู้นำใหม่
  3. ปัญหาจากความเห็นยังแตกต่างระหว่างกลุ่มบ้านไม่สามารถทำงานให้บรรลุเป้าหมายได้ยังต้องใช้เวลาในการสร้างความเข้าใจ และจำเป็นอย่างยิ่งต้องใช้ประเด็นอื่นในการทำงาน เช่น ประเด็นผู้สูงอายุหรือเด็กเยาวชนก่อนที่จะมาทำงานเรื่องแผน

แนวทางแก้ไข -ต้องยุติโครงการก่อน ให้สภาแกนนำชุดดังกล่าวเรียนรู้การพัฒนาชุมชนน่าอยู่มากกว่านี้

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
ถาวร คงศรี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ช่วยในการสรุปเพื่อปิดโครงการก่อนกำหนด

1.8 รับรองแผนและนำแผนเสนอหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง1 เมษายน 2558
1
เมษายน 2558รายงานจากพื้นที่ โดย yanatip
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อผลักดันแผนกิจกรรมแก้ปัญหาชุมบ้านยางงามเข้าสู่แผน 3 ปีของเทศบาล

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • เป็นการเข้าร่วมประชาคมระดับตำบลในการประสานแผนของชุมชนบ้านยางงาม
  • สภาแกนนำหรือกรรมการหมู่บ้านได้เข้าร่วมเพื่อนำแผนชุมชนที่ได้จากการทำประชาคมจากการมีส่วนร่วม นำเข้าสู่การทำประชาคมระดับตำบลเพื่อยืนยันหรือแก้ไขของสภาแกนนำ เพื่อนำไปเข้าแผน 3 ปีของเทศบาลตำบลนาท่อม
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • สภาแกนนำหรือกรรมการหมู่บ้านยางงาม ได้แสดงบทบาทการขับเคลื่อนเสนอแผนต่อเทศบาลเพื่อให้แผ่นชุมชนนำเข้าสู่แผน 3 ปี แล้วนำมาใช้สู่การปฏิบัติ -สภาแกนนำหรือกรรมการหมู่บ้านได้เรียนรู้กระบวนผลักดันแผนสู่การปฎิบัติเหลือการติดตามและการประเมินแผนของชุมชน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 22 คน จากที่ตั้งไว้ 22 คน
ประกอบด้วย

กรรมการหมู่บ้าน 15 คน เทศบาล 4 คน เยาวชน 2 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • เป็นเรื่องใหม่ของชุมชนต้องใช้เวลา/สภาแกนนำไม่มีค่าตอบแทนเป็นจิตอาสาและต้องรับผิดชอบ แนวทางแก้ไข
  • พัฒนาศักยภาพคนทำงานสาธารณะอย่างเข้าใจ
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
ถาวร คงสรี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ต้องการพี่เลี้ยงช่วยในการแนะนำสภาแกนนำเวลาประชุมขับเคลื่อนโครงการ

1.9 ผลักดันแผนกิจกรรมจากแผนชุมชนสู่การปฏิบัติ7 มีนาคม 2558
7
มีนาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย yanatip
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อให้สภาแกนนำหรือกรรมการหมู่บ้านผลักดันกิจกรรมจากแผนชุมชนเข้าสู่แผน 3 ปีของเทศบาล

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

สภาแกนนำหรือกรรมการหมู่บ้านจัดการประชุมแบบมีส่วนร่วมเพื่อให้ประชาชนได้มีการเสนอปัญหาความต้องการของและคัดเลือกจัดลำดับกิจกรรมจากบัญชีกิจกรรมในแผนชุมชนที่สอดคล้องกับ 8 กิจกรรมสู่การแก้ปัญหาความต้องการ ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อนำส่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับแผนไปดำเนินการตามความต้องการของประชาชนบ้านยางงาม

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. สภาแกนนำหรือกรรมการหมู่บ้านที่มีผู้ใหญ่เป็นประธานได้จัดประชุมเพื่อเป็นเวทีประชาคมเสนอปัญหาความต้องการของประชาชนอย่างมีส่วนร่วมเพือนำไปเป็นบัญชีกิจกรรมโครงการใส่ไว้ในแผนชุมชนแล้วส่งให้หน่วยงานอื่นบรรจุไว้ในแผน 3 ปี

  2. เจ้าหน้าที่ของเทศบาลร่วมกันให้ความรู้สภาแกนนำหรือกรรมการหมู่บ้านและประชาชนจนมีความรู้และเข้าใจกระบวนการของแผนชุมชนมากขึ้น เดิมแผนชุมชนของชุมชนบ้านยางงามอยู่ที่อำเภอ โดยที่กรรมการหมู่บ้านไม่เคยเห็น และไม่เคยรู้ว่ามี  ในครั้งนี้ สภาแกนนำหรือกรรมการหมู่บ้านได้เรียนรู้แผน  ความสำคัญของแผน และการบวนการทำแผนผลักดันแผน จนทุกคนเห็นหน้าตาของแผนชมชน

  3. ไม่ใช้งบประมาณเนื่องจากทำ2 กิจกรรมในวันเดียวกัน

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 76 คน จากที่ตั้งไว้ 72 คน
ประกอบด้วย

สภาแกนนำหรือกรรมการหมู่บ้านและครัวเรือนต้นแบบ  70  คน เจ้าหน้าที่เทศบาล 5  คน วิทยากร 1 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ประชาชนยังเห็นความสำคัญน้อยและไม่ค่อยแสดงออกหรือเสนอปัญหาความต้องการ

แนวทางแก้ไข - ต้องมีการประชุมอย่างสำมำ่เสมอ เพื่อสร้างความคุ้นเคยและชี้ให้เห็นประโยชน์และความสำคัญของแผนโดย สภาแกนนำ

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
ถาวร คงศรี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

เข้าร่วมกิจกรรมทุกครั้ง

1.7 เพื่อประชาพิจารณ์แผนชุมชนบ้านยางงาม7 มีนาคม 2558
7
มีนาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย yanatip
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อร่วมนำข้อเสนอความต้องการของชุมชนอย่างมีส่วนร่วม

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • เรียนรู้เชิงปฎิบัติการอย่างมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างมีส่วนร่วมกับการเสนอกิจกรรมเข้าแผนชุมชนบ้านยางงามและแผนของเทศบาล ดังนี้
  1. สภาแกนนำของชุมชนร่วมกับ เจ้าหน้าที่ของเทศบาลตำบลนาท่อมประกอบด้วย ปลัด หัวหน้าสำนักปลัด เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง สร้างความเข้าใจกับประชาชนในการมารับฟังความคิดเห็น  ข้อเสนอแนะ ความต้องการให้แก้ปัญหาของชุมชนบ้านยางงาม โดยการรับฟังความคิด ข้อเสนอแนะต่าง ๆ จากประชาชนโดยวิธีการ
  2. ให้ความรู้กระบวนการทำแผนชุมชนกับประชาชนในขั้นตอนและการได้มาของแผนพัฒนาชุมชน โดยนางวิภา  พรหมแท่น หัวหน้าสำนักปลัดเทศบาลนาท่อม
  3. ให้ประชาชนที่เข้าร่วมประชุม นำเสนอปัญหาและความต้องการของประชาชนในแต่ละด้าน เช่นด้านโครงสร้างพื้นฐาน  ด้านคุณภาพคนและสังคมของประชาชน
  4. ให้ประชาชนเพิ่มเติมความต้องการของชุมชนในการแก้ปัญหาชุมชนในด้านต่าง ๆ แล้วนำไปใส่ไว้ในแผนกิจกรรมหรือบัญชีโครงการในแผนพัฒนาชุมชน
  5. ให้สภาแกนนำหรือกรรมการหมู่บ้านเห็นความสำคัญของแผนพัฒนาที่ใช้ในการแก้ปัญหา
  6. รับฟังขอเสนอความคิดแยกเป็น 2 เรื่อง คือ 1. การแก้ปัญหาทางด้านโครงสร้างพื้นฐานในชุมชน โดยระบุเป็นเรื่อง ๆ เพื่อนำไปบรรจุไว้ในแผนพัฒนาของหมู่บ้านและแผน 3 ปีของเทศบาลที่ผ่านการจัดลำดับความต้องการของประชาชนโดยประชาชน 2. ข้อเสนอให้แก้ปัญหาด้านคุณภาพคน  เช่น  ด้านอาชีพการอ่าน  ด้านประเพณีวัฒนธรรม  ด้านสิ่งแวดล้อมของชุมชน และเรื่องอื่น ๆ ที่เป็นปัญหาของประชาชนเพื่อนำเข้าสู่แผนของชุมชนและของเทศบาล
  7. ตัวแทนจากบริษัทเมทาโกร จำกัด สนับสนุนการเลี้ยงไก่และผู้ประกอบการเลี้ยงไก่ในชุมชน ชี้แจและสร้างความเข้าใจกับประชาชนถึงเรื่องผลกระทบการเลี้ยงไก่ต่อสิ่งแวดล้อมในชุมชน และความรับผิดชอบต่อชุมชน ต่อสิ่งแวดล้อมกรณีที่เกิดปัญหา ซึ่งเป็นกระบวนการที่สภาแกนนำร่วมกับเทศบาลจัดให้มีขึ้น เพื่อลดปัญหาผลกระทบที่จะเดิดขึ้นในภายหน้า
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

จากการประชุมทำประชาคมในครั้งนี้ สภาแกนนำหรือกรรมการหมู่บ้าน
1. ได้แผนกิจกรรมที่ประชาชนร่วมกันเสนอต่อที่ประชุมและต่อเทศบาลที่มาทำร่วมกัน ด้านโครงสร้างพื้นฐาน เช่นขยายเขตนำ้ประปา และการสร้างหอถัง , การขยายเขตไฟฟ้าสาธารณะในถนนสายต่าง ๆ เพื่อความปลอดภัยในการใช้ถนน  ด้านคุณภาพคนและสังคม โดยการเรียกร้องให้กำหนดอัตราความเร็วของรถบนถนนสายในชุมชน เพื่อความปลอดภัยกับสร้างลูกระนาดในชุมชน  และส่งเสริมอาชีแก่ประชาชนให้มีรายได้เสริม 2. สภาแกนนำและประชาชนเห็นความสำคัญและเข้าใจในกระบวนการทำแผนชุมชนที่ใช้ในการพัฒนาชุมชนจากหัวหน้าสำนักปลัด นางวิภา  พรหมแท่น 3. ได้แผนชุมชนที่ประชาชนมีส่วนร่วม เรียนรู้และเสนอเพื่อใช้ในการพัฒนาชุมชนจากการเรียนรู้แผนเดิมและปรับปรุงด้วยการร่วมคิด

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 82 คน จากที่ตั้งไว้ 93 คน
ประกอบด้วย
  • ประชาชนหมู่ที่ 3 สมาชิกสภาแกนนำ จำนวน 74 คน
  • ตัวแทนจากเทศบาล  5  คน
  • วิทยากร 1  คน
  • บริษัทสนับสนุนการเลี้ยงไก่ 1
  • ผู้ประกอบการเลี้ยงไก่ฟาร์ม 1
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มีปัญหา

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
ถาวร คงศรี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

กิจกรรมพัฒนาศักยภาพและติดตามรายงานโครงการร่วมกับพี่เลี้ยง10 กุมภาพันธ์ 2558
10
กุมภาพันธ์ 2558รายงานจากพื้นที่ โดย yanatip
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อจะได้ทราบผลที่เกิดขึ้นกับโครงการของตนเอง ว่ามีผลดีอย่างไรบ้างระหว่างโครงการกับชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

จัดทำประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับโครงการ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้รับประโยชน์ในการทำประเมินเพราะจะได้รู้ถึงผลที่เกิดขึ้นกับโครงการของเรา

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 1 คน จากที่ตั้งไว้ 1 คน
ประกอบด้วย

ผู้รับผิดชอบโครงการ

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-ถาวร คงศรี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

1.6 นำเอาแผนงานกิจกรรมเข้าสู่แผนชุมชน9 กุมภาพันธ์ 2558
9
กุมภาพันธ์ 2558รายงานจากพื้นที่ โดย yanatip
circle
วัตถุประสงค์

พัฒนาศักยภาพกรรมการหมู่บ้านให้มีความรู้ความเข้าใจกระบวนการทำแผนชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • นางจริยา จันทร์ดำ  ปลัดอำเภอเมือง จ.พัทลุง ได้ให้ความรู้การดำเนินงานของหมู่บ้าน ที่มีการจัดการตามรูปแบบ หมู่บ้าน อปพ. กับหมู่บ้าน กม(กรรมการหมู่บ้าน) ที่เรียกแตกต่างกัน  โดยรูปแบบการบริหารจัดการหมู่บ้านได้เทียบเคียงหมู่บ้าน กม. ซึ่งมีรูปแบบการบริหารที่กรรมการหมู่บ้าน ได้แบ่งเป็น 7 ด้านตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่างด้วยหลักเกณท์การเป็นกรรมการหมู่บ้าน การปฏิบัติหน้าที่และการประชุมกรรมการหมู่บ้าน พ.ศ 2551  กำหนดให้แต่งตั้งคณะทำงานต่าง ๆ เพื่อช่วยเหลือการทำงานของคณะกรรมการหมู่บ้านและผู้ใหญ่บ้าน 7 ด้าน คือ
      1. ด้านอำนวยการ โดยให้ผู้ใหญ่บ้านเป็นหัวหน้าคณะทำงานด้านต่าง ๆ  มีหน้าที เกี่ยวกับงานจัดประชุม  งานธุรการ งานรับจ่ายและเก็บรักษาเงินและทรัพย์สินของหมู่บ้าน  งานด้านประชาสัมพันธ์  งานการประสานงานและติดตามการทำงาน และงานจัดทำรายงาน   2. งานด้านการปกครองและรักษาความสงบเรียบร้อย  โดยมีผู้ใหญ่เป็นหัวหน้าคณะทำงาน มีหน้าที่ การส่งเสริมให้ราษฎรมีส่วนร่วมในการปกครองระบบประชาธิปไตย  การส่งเสริมอุดมการณ์และวิถีประชาธิปไตยให้กับราษฎร  การสร้างความเป็นธรรมและการประนีประนอม  การตรวจตรารักษาความสงบเรียบร้อย  การป้องกันสาธารณะภัย และอื่น ๆ ตามที่ประธานมอบหมาย   3. งานด้านแผนพัฒนาหมู่บ้าน จากการคัดเลือกขึ้นมาจากกรรมการหมู่บ้าน  มีบทบาทจัดทำแผนพัฒนาหมู่บ้าน  ประสานการจัดทำโครงการ  การรวบรวมและจัดทำข้อมูล  การติดตามการดำเนินงานตามแผน   4. งานด้านส่งเสริมเศรษฐกิจ  จากคณะกรรมการที่ได้รับการคัดเลือก มีหน้าที่ การส่งเสริมการดำเนินการตามแนวปรัชญา ศ. พอเพียง  การพัฒนาและส่งเสริมการประกอบอาชีพ เพื่อเสริมสร้างรายได้ให้กับประชาชน และด้านอื่น ๆ   5 งานด้านสังคมสิ่งแวดล้อมและสาธารณสุข คณะกรรมการหมู่บ้านคัดเลือก มีบทบาทหน้าท การพัฒนาสตรี  เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุและผู้พิการ และการจัดสวัสดิการในหมู่บ้าน  การสงเคราะห์ผู้ยากจน  การส่งเสริมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สาธารณสุข   6 ด้านการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม  คณะกรรมการหมู่บ้านคัดเลือก มีบทบาทหน้าที่ ส่งเสริมการศึกษา  ศาสนา  การบำรุงรัาษาศิลปะจารีตประเพณีและวัฒนธรรมของหมู่บ้าน   7.  คณะทำงานด้านอื่น ๆ ที่คณะกรรมการหมู่บ้านเสนอ สรุป ทางท่านปลัดได้อธิบาย และยกตัวอย่างประกอบ พร้อมได้นำเอารายชื่อคณะทำงานหมู่บ้าน อปพ เดิมมาให้ดูเพื่อปรับให้สอดคล้องกับคณะกรรมการหมู่บ้านใหม่ของโครงการ เป็นเป้าหมาย คือการสร้างและพัฒนาคณะทำงานของหมู่บ้านที่เป็นกลไกหลักในการร่วมสร้างชุมชนน่าอยู่

  - นางวิภา  พรหมแท่น หัวหน้าสำนักปลัดเทศบาลตำบลนาท่อม ได้ชวนคุยให้กรรมการหมู่บ้านหรือคณะทำงานที่ได้รับการคัดเลือกจากการประชุมของหมู่บ้าน ให้เป็นกลไกขับเคลื่อนของชุมชนบ้านยางงาม ได้รับทราบ กระบวนการได้มาของแผนชุมชน จากการการเก็บข้อมูล การประชุมของหมู่บ้านแต่ละครั้ง ซึ่งคณะกรรมการได้เก็บรวบรวมข้อมูลไว้แล้วนำมาจัดรวบรวมแยกเป็นหมวดหมู่ และคณะทำงานแต่ละด้านก็นำมาประชุมร่วมกันเพื่อ กลั่นกรองให้เห็นเป็นปัญหาความต้องการของชุมชน หรือ ความต้องการของคนส่วนใหญ่ จัดลำดับเป็นบัญชีกรรมรวบรวมไว้เป็นรูปเล่ม แล้วนำมาทำประชาคมของหมู่บ้านเพื่อจัดลำดับความสำคัญก่อนหลัง แล้วนำเสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ส่วนที่ชุมชนทำเองได้ก็ลำดับความสำคัญก่อนหลังแล้วทำแผนปฏิบัดิการ

  - ถาวร  คงศรี พี่เลี้ยงโครงการ สรุปก่อนเสร็จการประชุมให้เห็นความสำคัญของ
  1. กลไกการขับเคลื่อนชุมชน ต้องมีคณะทำงานที่ร่วมคิดร่วมทำ เพราะชุมชนไม่สามารถจัดการได้คนเพียงคนเดียว จำเป็นต้องสร้างคณะทำงานที่เป็นกรรมการหมู่บ้าน   2. แผนชุมชน เมื่อมีคณะกรรมการหมู่บ้านแล้ว จำเป็นต้องต้องมีเครื่องมีในการบริหารจัดการ โดยใช้แผนชุมชนในการพลักดันขับเคลื่อน ต่อหน่วยงานภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้ความรู้การจัดโครงสร้างการดำเนินงานและการบริหารจัดการชุมชนบ้านยางงาน 7 ด้าน และบทบาทหน้าที่ จาก ปลัดอำเภอเมือง จ.พัทลุง และได้รู้และเข้าใจ กระบวนการได้มาของแผนชุมชนบ้านยางงามและการเสนอแผนต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จาก หัวหน้าสำนักปลัดเทศบาลตำบลนาท่อม

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 20 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย
  • ครัวเรือนต้นแบบและกรรมการหมู่บ้าน
  • หัวหน้าสำนักปลัดเทศบาลตำบลนาท่อม
  • ปลัดอำเภอเมือง จ.พัทลุง
  • พี่เลี้ยงโครงการ
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

เดิมไม่เคยมีการพูดถึงเรื่องการบริหารหารจัดการหมู่บ้านอย่างมีส่วนร่วม  แนวทางแก้ไข จำเป็นต้องพูดคุยหรือประชุมคณะกรรมการหมู่บ้านอย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาศักยภาพ

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
ถาวร คงศรี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

1.การสร้างกลไกให้เกิดขึ้นในชุมชนเป็นเรื่องยาก แต่สร้างกิจกรรมเป็นเรื่องง่าย  ชุมชนเคยชินกับการเป็นผู้รับมาช้านาน

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ประชุมเพื่อเรียนรู้หลักคิดเศรษฐกิจพอเพียงแก้ปัญหาชุมชน3 กุมภาพันธ์ 2558
3
กุมภาพันธ์ 2558รายงานจากพื้นที่ โดย yanatip
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อผลักดันกิจกรรมาจากแผนสู่การปฎิบัติ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • เกษตรสมชาติ  นาควิโรจน์ เกษตรอำเภอบางแก้ว  จังหวัดพัทลุง มีความชำนาญในการขับเคลื่อนงาน ครอบครัวเกษตรสมบูรณ์บนความพอเพียง เป็นวิทยากรให้ความรู้เพื่อนำไปสู่การปฎิบัติอย่างง่าย ๆ นำประสบการณ์ที่ทำจริง แก้ปัญได้จริง นอกจากศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านควนมะพร้าว ของผู้ใหญ่สมศักดิ์  ทองใส
  • เกษตรสมชาติ ได้ให้ความรู้ทางหลักคิดก่อน และหลักการดำเนินชีวิต  ใช้ตัวอย่างครอบครัวบ้านเกษตรสมบูรณ์บนความพอเพียง ครอบครัวที่มีการดำเนินชีวิตร่วมกันเป็นครอบครัวอบอุ่น  ด้วยหลักคิด  เกษตรสมบูรณ์ คือ การปลูกและการเลี้ยงเพื่อบริโภคและจำหน่ายเป็นรายได้ ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม เป็นการดำเนินการตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง  "พอเพียง"  คือความพอประมาณ  ความมีเหตมีผล รวมถึงจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการมีผลกระทบได ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั่งภายในและภายนอกทั้งจะต้องอาศัยความรู้

    หลักการดำเนินงาน 1.สร้างครอบครัวอบอุ่น

2.ส่งเสริมสุขภาพอนามัย

3.ส่งเสริมพัฒนาอาชีพที่ยั่งยืน

4.จัดการสิ่งแวดล้อมที่ดี

  • กิจกรรมลดรายจ่าย  เช่น การปลูกเลี้ยงเพื่อบริโภค  ทำปุ๋ยอินทรีย์ใช้เอง  ใช้วัตถุดิบในท้องถิ่น  ลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น  นำวัสดุที่ใช้แล้วมาใช้ซ้ำ รักษาของใช้นาน ๆ
  • กิจกรรมเพิ่มรายได้  เช่น การปลูกพืชหมุนเวียนหลายชนิดอย่างน้อย 15 ชนิด  ,พัฒนาอาชีพให้มีประสิทธิภาพ,แปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่า,ใช้ที่ดินทำเกษตรอย่างคุ่มค่า
  • กิจกรรมการออม  เช่น มีการวางแผนการใช้เงิน โดยทำบัญชีครัวเรือน  ส่งเสริมให้เกิดการออมในครัวเรือน เช่น กองทุนสวัสดิการ  กลุ่มออมทรัพย์
  • กิจกรรมการดำรงชีวิต ไม่ก่อหนี้โดยไม่จำเป็น ใช้พลังงานทดแทนเพิ่มขึ้น
    ตัวอย่างที่ประกอบการนำเสนอ  คือ ตัวอย่างของครอบครัวเกษตรสมบูรณ์ ที่ปฏิบัติตามหลักการนี้ สุดท้ายก็เกิดการรวมกลุ่มเพื่อรวมผลผลิตจากการผลิตนำมาแปรรูปพืชผักในรูปแบบต่าง ๆ นำมาวางขายที่ตลาดบางแก้วเป็นการส่งเสริมและสร้างรายได้ให้บ้านเกษตรสมบูรณ์ และท่านเกษตรสมชาติได้ขยายผลไปสู่กลุ่มองค์กรต่าง ๆ ในอำเภอบางแก้วและพื้นที่อืน ๆ และสุดท้ายท่านได้นำเตาที่ผลิตเองจากวัสดุเหลือใช้ เป็นเตาที่ใช้แกลบเป็นพลังงานให้เกิดความร้อน เป็นพลังงานทางเลิอกลดรายจ่ายครัวเรือน และเป็นนวัตกรรมของกลุ่ม สามารถขายเป็นรายได้อีก

  ถาวร  คงศรี  บทบาทพี่เลี้ยง ได้สรุปชี้เปรียบเที่ยบให้เห็น ระหว่างผู้ใหญ่สมศักดิ์  และ บ้านเกษตรสมบูรณ์  เป็นพื้นที่ที่ดำเนินชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงทั้งสอง แต่กิจกรรมบางอย่างไม่เหมือนกันขึ้นอยู่กับพื้นที่ แต่หลักคิดเหมือนกัน โดยมีพื้นฐานจากการปลูก เลี้ยง และทำปุ๋ยใช้เอง เป็นที่มาของรายได้ ซี่งชุมชนบ้านยางงามก็สามารถที่จะปรับให้เหมาะสมกับพื้นที่ได้ ซึ่งหลังจากนี้กิจกรรมต่อไปเราต้องมาเรียนรู้การทำปุ๋ยใช้เองจากวัสดุในชุมชน จากมูลวันของกลุ่มเลี้ยงวัว พัฒนาแก็สมูลสัตว์ เป็นพลังงานทดแทน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ครัวเรือนต้นแบบ,นักเรียน, เข้าใจหลักเศรษฐกิจพอเพียง ,หลักแนวความคิด  หลักปฎิบัติ  พื้นที่รูปธรรม คือ ตำบลควนมะพร้าว หมู่ 15 บ้านนายสมศักดิ์  ทองใส,นายสมนึก  ทองใส  และพื้นที่ บางแก้ว คือ บ้านเกษตรสมบูรณ์  ทั้งสองพื้นที่มีความเหมือน แนวคิด แนวปฎิบัติ  สรุปรูปธรรมความสำเร็จ  เห็นคน  เห็นพื้นที่  เห็นกิจกรรมรูปธรรมความสำเร็จ ทั้งระดับบุคคล และชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 65 คน จากที่ตั้งไว้ 72 คน
ประกอบด้วย
  • ครัวเรือนต้นแบบ ุ63 คน
  • วิทยากร 2 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
ถาวร คงศรี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี-

1.4 กระบวนการแผนชุมชนอย่างมีคุณภาพ4 มกราคม 2558
4
มกราคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย yanatip
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อให้กรรมการหมู่บ้านรู้หน้าที่ของตนเอง และเป้าหมายการทำงาน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประชุมกับกรรมการหมู่บ้านเพื่อสร้างเข้าใจและแบ่งงานในหน้าที่รับผิดชอบ วิทยากร นายถาวร  คงศรี ได้ให้ความรู้กับแกนนำในประเด็นในการรวบรวมข้อมูลเพื่อมาทำการวิเคราะห์ เครืองมือที่สำคัญนำไปสู่การแก้ไขปัญหาคือ การเก็บข้อมูลบัญชีครัวเรือน  และนำผลการวิเคระห์มาสร้างกิจกิจกรรมตามความต้องการของประชุมชุมชนด้วยกระบวนการคืนข้อมูลสู่ชุมชนในรูปแบบต่างตามที่กรรมการเห็นสอดคล้องกับบริบทชุมชน หรือร่วมแลกเปลี่ยนไปสู่การได้แผนปฏิบัติการของชุมชนทั้งในระดับครัวเรือนและระดับครอบครัวที่เป็นรูปธรรม เ่ช่น
1.  กิจกรรมการลดรายจ่าย  ระดับครัวเรือน ปลูกผัก/เลี้ยงสัตว์ เพื่อบริโภค ผลิตปุ๋ยหมักใช้เอง ผลิตน้ำยาล้างจาน ถูบ้านเอง ประหยัดค่าน้า-ไฟ ใช้พลังงานทดแทน ลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น  ในระดับชุมชน  เช่น การรวมกลุ่มทำเกษตรอินทรีย์เป็นระบบ  ปลูกพืชเลี้ยงสัตว์เพื่อการบริโภค และ ใช้วัตถุดิบในชุมชนในการผลิตสินค้าเป็นต้น

2.  กิจกรรมด้านเพิ่มรายได้ ในระดับครัวเรือน ได้แก่ การปลูกพืชหมุนเวียน  พัฒนาการประกอบอาชีพให้คุ้มค่าเงินลงทุน ใช้ที่ดินทำการเกษตรให้คุ้มค่า โดยให้มีเวลาว่างประกอบอาชีพเสริม  ในระดับชุมชนให้มีการรวมกลุ่มเพื่อนำผลผลิตทางการเกษตรที่เหลือบริโภคมาร่วมกันขายในตลาดเขียว มีการทำเกษตรแบบผสมผสานอินทรีย์ในชุมชน

  1. กิจกรรมด้านการออม ให้มีการวางแผนในการใช้จ่ายเงินของครัวเรือน โดยมีกิจกรรมการออมทรัพย์ในรูปแบบต่าง ๆ  เช่น กองทุนออมทรัพย์ กองทุนสวัสดิการ

ซึ่งตัวอย่างกิจกรรมรูปธรรมเหล่าจากพื้นที่ หมู่ 15 ต.ควนมะพร้าว บ้านผู้ใหญ่สมศักดิ์ทองใสที่ทุกคนได้ร่วมดูงานมาแล้ว แต่เรานำมาประยุกต์ให้สอดคล้องกับพื้นที่บ้านยางงามเท่น ส่วนกิจกรรมขึ้นอยู่กับความชอบของแต่ละคน

  คุณวิภา  พรหมแท่น  หัวหน้าสำนักปลัดเทศบาลตำบลนาท่อม เป็นวิทยากรได้ให้มาเน้นย้ำ ถึงการให้ความสำคัญของแผนชุมชนที่เดิมที ชุมชนไปจ้างเขาทำบ้าง  ทำแล้วข้อมูลอยู่ที่อำเภอบ้าง ประชาชนในชุมชนไม่เคยรู้เลย และการพัฒนาชุมชนบ้านยางงามทางเทศบาลก็ได้เข้ามาถามประชาชนปีละ 1 ครั้งทำให้ประชาชนขาดความรู้ความเข้าใจในแนชุมชน ที่เป็นแผนแม่บทว่าเราจะพัฒนาหมู่บ้านของเราไปในทิศทางไหน แต่ก็แนะนำให้กรรมการหมู่บ้านได้แบ่งบทบาทหน้าที่ในการทำหน้าที่ในการหาข้อมูลบ้าง แลกเปลี่ยนกันบ้าง เช่น ด้านอำนวยการ ด้านการปกครองและรักษาความปลอดภัย  ด้านแผนพัฒนาหมู่บ้าน  ด้านเศรษฐกิจ  ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม และด้านอื่น ๆตามความต้องการ บทบาทหน้าที่ในการช่วยเหลือผู้ใหญ่ในการมาจัดทำแผนในชุมชน และนำแผนที่ได้สู่แผนเทศบาล และประสานแผนให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยชุมชนมีแผนชุมชนเป็นของตนเองจาการร่วมคิดร่วมทำ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

กรรมการได้ทราบและเห็นความสำคัญ มีความรู้เข้าใจเห็นกระบวนการได้มาของแผนชุมชนและได้เห็นแผนชุมชนเป็นเป็นแผนพัฒนาของชุมชน ได้ร่วมกันออกแบบวางแผนให้ ปลัดอำเภอ นางจริยา  จันทร์ดำมาเป็นวิทยากรให้ในครั้งต่อไป เพื่อต้องการ ความรู้ ออกแบบชุมชนตามหลัก หมู่บ้าน กม.(กรรมการหมู่บ้าน)

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 23 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย
  • กรรมการหมู่บ้าน 18 คน
  • วิทยากร              1 คน
  • ตัวแทนผู้นำ          4 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ชุมชนนี้เป้นชุมชนที่มีการบริหารในรูปแบบหมู่บ้าน อปพ ทำให้โครงสร้างของชุมชนไม่ชัดเจน เพราะคณะกรรมการหมู่บ้านกระจายอยู่หลายชุมชน  ทำให้ให้คนที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการหมู่บ้านไม่รู้บทบาทตนเอง  ดังนั้นแนวทางแก้ไข ต้อง ต้องพูดคุย เรียนรู้การเป็นหมู่บ้าน กม เพื่อเป็นโครงสร้างที่ทำงานช่วยเหลือชุมชนได้และมีสิทธิได้รับรองถูกต้องตามกฎหมาย ประโยชน์ในการ ทำงานและของบประมาณมาพัฒนาชุมชนได้ด้วยถ้าทำถูกต้อง

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-ถาวร คงศรี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ชุมชนยังขาดคนที่เป็นแกนขับเคลื่อนหลัก และการพัฒนาต้องค่อย ๆ เนื่องจากยังเห็นร่องรอยของความคิดต่างอยู่แต่ละกลุ่มบ้าน
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ต้องเป็นพี่เลี้ยงอย่างใกล้ชิด
สรุปงานปิดงวดที่ 1 ตรวจสอบการเงินและรายงาน5 พฤศจิกายน 2557
5
พฤศจิกายน 2557รายงานจากพื้นที่ โดย yanatip
circle
วัตถุประสงค์

สรุปงานปิดงวดที่ 1 ตรวจสอบการเงินและรายงาน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

สรุปงานปิดงวดที่ 1 และตรวจสอบบัญชีและรายงาน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ได้จัดทำรายงานให้เรียบร้อยและส่งรายงานปิดงวด 1
  • การเงินยังไม่เรียบร้อย
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 1 คน จากที่ตั้งไว้ 1 คน
ประกอบด้วย

การเงินและผู้ตรวจร่วมกันตรวจเอกสารทางการเงินของโครงการ

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • เนื่องจากไม่เข้าใจการทำบัญชีและการเงิน
  • ผู้รับผิดชอบ/การเงิน/บัญชี ต้องมีการพัฒนาศักยภาพคณะทำงาน
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
ถาวร คงศรี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

1.3 ประชุมกรรมการหมู่บ้านเพื่อเรียนรู้บทบาทหน้าที่ของกรรมการหมู่บ้านและออกแบบข้อมูลใช้ในการทำแผนชุมชน 8 ขั้นตอน3 พฤศจิกายน 2557
3
พฤศจิกายน 2557รายงานจากพื้นที่ โดย yanatip
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อเรียนรู้ และสร้างความเข้าใจในการทำโครงการ และการเก็บข้อมูลครัวเรือน รายรับ รายจ่าย และหนี้สิน  และข้อมูลชุมชนโดยรวบรวมจากข้อมูลครัวเรือนและเก็บข้อมูลอื่น ๆ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประชุมกับแกนนำ สร้างความเข้าใจและแบ่งคณะทำงานผิดชอบในแต่ละกลุ่มบ้าน  โดยแบ่งคณะทำงาน 15 คน  เพื่อจัดเก็บข้อมูลแต่ละครัวเรือนและข้อมูลชุมชน

  • คุณวิภา  พรหมแท่น  หัวหน้าสำนักปลัดเทศบาลตำบลนาท่อม วิทยากร ให้ความรู้กับแกนนำ ความสำคัญ และกระบวนการทำแผนชุมชน 8 ขั้นตอน และกระบวนการทำแผนชุมชน ที่เริ่มจาก การตั้งคณะทำงานในหมู่บ้าน ก็คือ คณะกรรมการหมู่บ้านที่มีอยู้เพื่อทำแผนชุมชน  ขั้นต่อมา กรรมการหมู่บ้าน ก็ร่วมกันออกแบบและจัดเก็บข้อมูล 2 ส่วน คือ ข้อมูลที่เป็นข้อมูลส่วนครัวเรือนและข้อมูลที่เป็นของชุมชน

  • คุณถาวร  คงศรี  พี่เลี้ยงได้ให้ความรู้ เรื่องความสำคัญของข้อมูล ที่เก็บมาจากครัวเรือน เช่น ข้อมูล รายรับ  รายจ่าย  และหนี้สินครัวเรือน นำมาวิเคราะห์ตนเองเพื่อให้รู้ถึงสาเหตุปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหา นำมาสู่การทำแผนงาน ทั้งระดับครัวเรือนและระดับชุมชน  และส่วนข้อมูลชุมชน เป็นข้อมูลทุนศักยภาพที่ชุมชนมี ประโยชน์ในการจัดทำแผนโครงการ ในการนำมาสู่การแก้ปัญหาของชุมชน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • คณะทำงานหมู่บ้าน ที่เป็นครัวเรือนต้นแบบ ได้รู้และเข้าใจในการกำหนดออกแบบกรอบข้อมูลเพื่อเก็บข้อมูลชุมชนบ้านยางงามเพื่อนำมาสู่การจัดทำแผนชุมชน 2  ส่วน คือ ข้อมูลครัวเรือน ที่เก็บจากการทำบัญชีครัวเรือน เพื่อนำผลมาวิเคราะห์จนได้เห็นปัญหาและโอกาส  ส่วนข้อมูลชุมชน ได้เห็นทุนของชุมชนที่มีนำมาสู่  แผนงานโครงการแก้ปัญหาในระดับชุมชน ที่จะในไปบรรจุไว้ในแผนกิจกรรมของแผนชุมชน และผลักดันเป็นแผนปฏิบัติกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 21 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย
  • แกนนำของหมู่บ้าน 15 คน
  • วิทยากร  2 คน
  • ตัวแทนผู้นำ 4 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • แกนนำหรือกรรมการหมู่บ้านยางงามที่สร้างขึ้นส่วนใหญ่เป็นแกนนำที่มีอายุมากซึ่งมีทั้งข้อดี เป็นผู้หลักผู้ใหญ่ของชุมชนมีคนเกรงใจและคนส่วนใหญ่ให้การเคารพ  ข้อเสีย ขาดความคล่องตัวในการขับเคลื่อนงาน

  • บ้านยางงามเป็นพื้นที่กว้าง ประชาชนอยู่กันเป็นกลุ่มบ้านขาดคนเชื่อมประสาน เสียงตามสายได้ยินไม่ทั่วถึง ต่างคนต่างอยู่ แก้ไขโดยการสร้างแกนนำกลุ่มบ้านเพื่อเป็นตัวเชื่อมประสาน

  • แต่ละกลุ่มบ้านยังมีความคิดต่างมากผลมาจากการเลือกตั้งผู้นำ ยังต้องใช้เวลาในการสื่อสารอธิบายสร้างความเข้าใจแนวทางแก้  สร้างตัวเชื่อมในการประสานอย่างรอบคอบ

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายถาวร คงศรี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ศึกษาดูงานกระบวนการทำแผนชุมชน 8 ขั้นตอน9 สิงหาคม 2557
9
สิงหาคม 2557รายงานจากพื้นที่ โดย yanatip
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อดูกิจกรรมและกระบวนการทำแผนชุมชนสอดคล้องกับโครงการ
  • เพื่อนำมาปรับใช้ในชุมชน
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ได้นำแกนนำและครัวเรือนต้นแบบ มารับฟังแนวคิดและวิธีปฏิบัติในการจัดทำแผนชุมชน ว่าก่อนที่จะเป็นแผนชุมชนขึ้นมาได้เราต้องปฏิบัติอย่างไร  เริ่มจากให้ทุกคนมาพูดคุยกัน จัดทำบัญชีครัวเรือน หารูรั่วของตนเอง และต้องหาวิธีการแก้ไข  และดูแนวคิดและวิธีปฏิบัติของหมู่บ้านที่พามาดูงาน ณ บ้านผู้ใหญ่สมศักดิ์  ทองใส
  • ดูกิจกรรมของผู้ใหญ่ สมศักดิ์ ทองใสและนายสมนึก  ทองใส  กับการทำเกษตรอินทรีย์และการทำปศุสัตว์อินทรีย์ เป็นกิจกรรมที่สอดคล้องกับ โครงการร่วมสร้างแผนบ้านยางงามสู่ความพอเพียง
  • เมื่อดูกิจกรรมทั้งสองพื้นที่ ก็นำมาสรุปแลกเปลี่ยนกับกลุ่มเป้าหมายที่ดูงาน สุดท้ายผู้ใหญ่สมศักดิ์ก็สรุปให้เห็นภาพของกิจกรรมเศรษฐกิจพอเพียง ที่เขาดำเนินมา เริ่มต้นจากปัญหาปากท้องเรื่องหนี้สิน  ร่วมกันค้นหาตัวเองโดยการทำข้อมูล วิเคราะห์ หาข้อสรุปจนรู้ปัญหาสู่การหาทางออกคือแผนงานแก้ปัญหา  ผู้ใหญ่บอกว่าเมื่อเราทำข้อมูลปัญหาและแนวทางก็จะออกมา
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • แกนนำและครัวเรือนต้นแบบ  สามารถเข้าใจถึงแนวทางปฏิบัติได้มากขึ้น  รู้ถึงการดำเนินงานได้
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 32 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย

สมาชิกสภาเทศบาลนาท่อม  ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 3 อสม. ประธานกลุ่มสตรี  แกนนำหมู่บ้านและครัวเรือนต้นแบบ  รวม 32 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายถาวร คงศรี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

กิจกรรมพัฒนาศักยภาพและติดตามรายงานผลโครงการร่วมกับพี่เลี้ยง7 สิงหาคม 2557
7
สิงหาคม 2557รายงานจากพื้นที่ โดย yanatip
circle
วัตถุประสงค์

เรียนรู้การรายงานผลการดำเนินกิจกรรมผ่านเว็ปไซด์

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เรียนรู้การทำงานผ่านเว็ปไซด์ ในการทำกิจกรรมแต่ละกิจกรรม การลงรูป การรับผิดชอบแต่ละโครงการ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สามารถสรุปและลงข้อมูลในการทำกิจกรรมได้ ของแต่ละกิจกรรม

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

เจ้าหน้าที่การเงินสามารถบันทีกรายงานกิจกรรมและการเงินของโครงการได้

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

การไม่ได้ทำรายงานตามปฏิทิน  แนวทางแก้ไขท่านวิทยากรได้แนะนำและให้ลงปฏิทินและรูปให้เป็นปัจจุบัน

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายถาวร คงศรี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

งานเปิดตัวโครงการ27 กรกฎาคม 2557
27
กรกฎาคม 2557รายงานจากพื้นที่ โดย yanatip
circle
วัตถุประสงค์

เผยแพร่สื่อรณรงค์

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ปิดป้ายรณรงค์ สถานที่ห้ามสูบบุหรี่ในบริเวณทำกิจกรรม

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ปิดป้ายรณรงค์ทุกครั้งในพื้นที่ทำกิจกรรม

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 100 คน จากที่ตั้งไว้ 100 คน
ประกอบด้วย

ผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกคน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่ม่

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายถาวร คงศรี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

เพื่อสร้างความเข้าใจวัตถุประสงค์ของโครงการ27 กรกฎาคม 2557
27
กรกฎาคม 2557รายงานจากพื้นที่ โดย yanatip
circle
วัตถุประสงค์
  1. สร้างความเข้าใจโครงการร่วมสร้างแผนชุมชนบ้านยางงามสู่ความพอเพียง
  2. อธิบายวัตถุประสงค์และเป้าหมายโครงการ และ รับสมัครตัวแทนครัวเรือน
  3. สร้างการเรียนรู้กระบวนการจัดทำแผนชุมชนบ้านยางงาม
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • นายกเทศมนตรีได้กล่าวถึงการทำงานและชื่นชมชาวบ้านบ้านยางงามที่ให้ความสนใจในการทำกิจกรรมเพื่อการพัฒนาหมู่บ้านและสามารถร่วมตัวทำงานให้เข้มแข็งทั้งในหมู่บ้านและตำบลได้ดีมากและเป็นกำลังใจ

  • กำนันตำบลนาท่อมได้กล่าวถึงการทำเศรษฐกิจพอเพียงที่มีการทำต่อเนื่องมาจากหลายหมู่บ้าน และพร้อมที่จะมาช่วยเหลือและให้การดูแลให้กับหมู่บ้านยางงาม เพื่อจะพัฒนาไปพร้อมกันทั้งตำบล

  • วิทยากรคุณเสณีย์ จ่าวิสูตร มาให้ความรู้ พร้อมทั้งสร้างความเข้าใจให้กับชาวบ้านเกี่ยวกับโครงการ การดำเนินงาน พร้อมกับการปฏบัติงานแบบเข้าใจไปพร้อมกัน และได้ให้ตัวแทนหมู่บ้านได้มาให้ความรู้ แนะนำ ประสบการณ์ เกี่ยวกับการทำโครงการว่ามีปัญหา และการหาวิธีการแก้ไขอย่างไร ให้กำลังใจกับชาวบ้าน บ้านยางงามให้ร่วมพลังเพื่อทำให้โครงการของเราบรรลุวัตถุประสงค์ไปพร้อม ๆ กัน

  • นางวิภา  พรมแทน หัวหน้าสำนักปลัดวิทยากรให้ความรู้กระบวนการทำแผนชุมชน

-นายถาวร  คงศรี พี่เลี้ยงเปิดคริป กระบวนการแผนชุมชน ของบ้านหนองกลางดง และอธิบายให้ชุมชนฟังว่า เป็นชุนชนต้นแบบในการใช้แผนชุมชนแก้ปัญหา

  • นางญาณาธิป เดชดี ผู้รับผิดชอบโครงการ ได้อธิบายโครงการ วัตถุประสงค์ เป้าหมายของโครงการ และเชิญชวนครัวเรือนเข้ามาเป็นสมาชิกครัวเรือนต้นแบบในการร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่ และนัดหมายไปดูงาน กับพื้นที่ ต้นแบบ โดยที่ประชุมเลือก ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง หมู่ 15  ต.ควนมะพร้าว บ้านควนกุฎิ เมื่อดูแล้วมาร่วมกันดำเนินการ
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ได้รับการคัดเลือกแกนนำ 15 คน และครัวเรือนต้นแบบในการเรียนรู้กระบวนการทำแผนชุมชนที่มีคุณภาพ
  • ครัวเรือนแต่ละครัวเรือนเข้าใจกับโครงการ หลังจากได้รับคำชี้แจงวัตถุประสงค์เป้าหมายของโครงการ
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 85 คน จากที่ตั้งไว้ 88 คน
ประกอบด้วย

นายพีระพงศ์  บาลทิพย์ นายกเทศมนตรีตำบลนาท่อม  นายเชาว์  รอดเพ็ง รองนายกเทศมนตรี , สมาชิกสภาเทศบาล, นายอนุชา  เฉลาชัย กำนันกำนัน ตำบลนาท่อม  คุณหมอหมอสมนึก  นุ่นด้วง นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ  รพสต.นาท่อม เจ้าหน้าที่และพนักงานเทศบาลตำบลนาท่อม ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน  ตัวแทนผู้นำหมู่บ้านและตัวแทนครัวเรือนบ้านยางงาม  รวม 85 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

จำนวนผู้ที่เข้าร่วมเป็นครัวเรือนต้นแบบยังไม่ครบ 70 คน
แนวทางแก้ไข

  • การประชุมต้องสรุปทบทวนโครงการอย่างต่อเนื่อง
  • หลังจากดูงานก็จะเห็นความชัดของของผู้เข้าร่วมโครงการ
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายถาวร คงศรี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ปฐมนิเทศก์โครงการ15 มิถุนายน 2557
15
มิถุนายน 2557รายงานจากพื้นที่ โดย yanatip
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อเรียนรู้ และสร้างความเข้าใจในการทำโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. เรียนรู้การจัดทำเว็บไซท์ของโครงการ
  2. สร้างความเข้าใจในโครงการ
  3. จัดทำแผนภาพและปฏิทินโครงการ
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สามารถรายงานกิจกรรมผ่านเว็บไซท์ของโครงการ  รู้ถึงสิ่งที่ต้องปฏิบัติในการทำโครงการ 

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย
  1. ผู้รับผิดชอบโครงการ  1  คน
  2. คณะทำงาน  1  คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี