แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


“ ป่าฟื้น คนฟื้น ที่บ้านทุ่งยูง ”

บ้านทุ่งยูง หมู่ที่ 4 ตำบลเขาปู่ อำเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง

หัวหน้าโครงการ
นายสมศักดิ์ สุขยูง

ชื่อโครงการ ป่าฟื้น คนฟื้น ที่บ้านทุ่งยูง

ที่อยู่ บ้านทุ่งยูง หมู่ที่ 4 ตำบลเขาปู่ อำเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง จังหวัด พัทลุง

รหัสโครงการ 57-01438 เลขที่ข้อตกลง 57-00-0951

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2557 ถึง 30 มิถุนายน 2558


กิตติกรรมประกาศ

"ป่าฟื้น คนฟื้น ที่บ้านทุ่งยูง จังหวัดพัทลุง" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน บ้านทุ่งยูง หมู่ที่ 4 ตำบลเขาปู่ อำเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
ป่าฟื้น คนฟื้น ที่บ้านทุ่งยูง



บทคัดย่อ

โครงการ " ป่าฟื้น คนฟื้น ที่บ้านทุ่งยูง " ดำเนินการในพื้นที่ บ้านทุ่งยูง หมู่ที่ 4 ตำบลเขาปู่ อำเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง รหัสโครงการ 57-01438 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 มิถุนายน 2557 - 30 มิถุนายน 2558 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 198,375.00 บาท จาก เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 220 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

 

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. 1. เพื่อสร้างฐานข้อมูลสิ่งมีคุณค่าในป่าต้นน้ำ คลองเพลี๊ยะและคืนข้อมูลให้คนในชุมชนได้เรียนรู้และร่วมกันจัดทำแผนการจัดการป่า
  2. เพื่อร่วมกันจัดการให้มีการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าไม้
  3. เพื่อพัฒนากลุ่มและองค์กรในชุมชนให้สามารถร่วมกันบริหารและจัดการทรัพยากรป่าไม้
  4. เพื่อการบริหารจัดการและกาารติดตามประเมินผลโครงการ

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

     


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. ประชุมปฐมนิเทศผู้รับผิดชอบโครงการร่วมสร้างชุมชนและท้องถิ่นให้น่าอยู่ ปี 2557

    วันที่ 15 มิถุนายน 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมปฐมนิเทศผู้รับผิดชอบโครงการร่วมสร้างชุมชนและท้องถิ่นให้น่าอยู่ ปี 2557  เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจ ความเป็นมาของโครงการ การบริหารจัดการโครงการ การบริหารการเงิน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผู้รับผิดชอบโครงการและคณะทำงานได้รับความรู้ ความเข้าใจในการจัดทำปฏิทินการดำเนินงานโครงการ และการจัดทำรายงานความก้าวหน้าของโครงการ  การบริหารการเงิน

     

    2 2

    2. ประชุมคณะทำงานเพื่อทำความเข้าใจโครงการฯและแบ่งบทบาทหน้าที่

    วันที่ 26 มิถุนายน 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมคณะทำงานเพื่อทำความเข้าใจโครงการฯและแบ่งบทบาทหน้าที่ การใช้จ่ายงบประมาณ การรายงาน การติดตามประเมินผล การแบ่งงวดงาน/เงิน การจัดทำรายงานกิจกรรม รายงานการเงินเอกสารการเงิน การลงปฏิทิน ข้อควรระวัง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะทำงานเข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเองเป็นอย่างดี

     

    15 15

    3. สร้างความเข้าใจการดำเนินงานโครงการแก่คนในชุมชนและร่วมมือในการดำเนินงานตามโครงการ

    วันที่ 28 มิถุนายน 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมสร้างความเข้าใจการดำเนินงานโครงการแก่คนในชุมชนและขอร่วมมือในการดำเนินงานตามโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ประชาชนทั่วไปได้รับรู้ความเป็นมาของโครงการและเกิดการรวมกลุ่มเพื่อดำเนินงานโครงการ

     

    135 135

    4. ประชุมหมู่บ้านประจำเดือนเพื่อสร้างความเข้าใจและระดมความร่วมมือการจัดกิจกรรม ร่วมวางแผนตัดสินใจ รับฟังการรายงานผลการดำเนินงานโครงการฯ

    วันที่ 7 กรกฎาคม 2557 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมหมู่บ้านประจำเดือนเพื่อสร้างความเข้าใจและระดมความร่วมมือการจัดกิจกรรม ร่วมวางแผนตัดสินใจ รับฟังการรายงานผลการดำเนินงานโครงการฯ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ชี้แจงการวางกรอบ ระยะเวลาการดำเนินกิจกรรมของโครงการฯ

     

    135 135

    5. รับสมัครตัวแทนเด็กและเยาวชนเข้าร่วมกิจกรรม"รักษ์ป่ารักษ์บ้านเกิด"และสร้างความเข้าใจ วางแผนการดำเนินงานฯ

    วันที่ 19 กรกฎาคม 2557 เวลา 12:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ให้เด็กและเยาวชนกรอกใบสมัครพร้อมความยินยอมของผู้ปกครอง ลงทะเบียน ชี้แจงกิจกรรมต่างๆของโครงการให้กลุ่มเป้าหมายทราบ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เกิดกระแสตอบรับจากผู้ปกครอง เด็กและเยาวชน ที่จะร่วมกันเพื่อร่วมเรียนรู้ชุมชน มีวามเข้าใจการร่วมทำงานเป็นทีม

     

    35 45

    6. จัดทำป้ายสถานที่ปลอดบุหรี่ จำนวน 2 ป้าย

    วันที่ 19 กรกฎาคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดทำป้ายสถานที่ปลอดบุหรี่  จำนวน  2  ป้าย  พร้อมกับติดตั้งป้าย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จัดทำป้ายสถานที่ปลอดบุหรี่  จำนวน  2  ป้าย 

     

    3 3

    7. ประชุมออกแบบแบบสำรวจข้อมูล/สร้างแบบสำรวจ

    วันที่ 29 กรกฎาคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ออกแบบแบบสำรวจข้อมูล/สร้างแบบสำรวจ กำหนดรูปแบบเครื่องมือ เพื่อเก็บข้อมูล ของพืช เช่นพืชอาหาร พืชสมุนไพร พืชใช้สอย สัตว์ประเภทต่างๆ เช่นสัตว์ปีก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม สัตว์น้ำ 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้รูปแบบของแบบสำรวจข้อมูลของบพืชและสัตว์  จำนวน  120  ชุด

     

    17 17

    8. พัฒนาศักยภาพและติดตามรายงานผลโครงการร่วมกับพี่เลี้ยง

    วันที่ 7 สิงหาคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมกิจกรรมพัฒนาศักยภาพและติดตามรายงานผลโครงการร่วมกับพี่เลี้ยง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ประชุมกิจกรรมพัฒนาศักยภาพและติดตามรายงานผลโครงการร่วมกับพี่เลี้ยง

     

    2 2

    9. รณรงค์ประชาสัมพันธ์

    วันที่ 8 สิงหาคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    รณรงค์ประชาสัมพันธ์ -ป้ายแสดงเขตป่าอนุรักษ์โดยชุมชน จำนวน 1 ป้าย -ป้ายรณรงค์ในหมู่บ้าน จำนวน 1 ป้าย -ป้ายแผนที่ป่า จำนวน 2 ป้า -ใช้หอกระจายข่าว ประชาสัมพันธ์ขอความร่วมมือเข้าร่วมโครงการ เข้าร่วมกิจกรรมตามโครงการ รายงานความก้าวหน้า รายงานสรุปผลตามโครงการ -ใช้เวทีการประชุมประจำเดือนของหมู่บ้านในการติดตาม ตรวจสอบ สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    รณรงค์ประชาสัมพันธ์ -ป้ายแสดงเขตป่าอนุรักษ์โดยชุมชน จำนวน 1 ป้าย -ป้ายรณรงค์ในหมู่บ้าน จำนวน 1 ป้าย -ป้ายแผนที่ป่า จำนวน 2 ป้าย -ใช้หอกระจายข่าว ประชาสัมพันธ์ขอความร่วมมือเข้าร่วมโครงการ เข้าร่วมกิจกรรมตามโครงการ รายงานความก้าวหน้า รายงานสรุปผลตามโครงการ -ใช้เวทีการประชุมประจำเดือนของหมู่บ้านในการติดตาม ตรวจสอบ สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ

     

    15 15

    10. ปลูกป่า ครังที่ ๑

    วันที่ 9 สิงหาคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ปลูกป่า ครั้งที่ 1  ประมาณ  300  ต้น  บริเวณป่าต้นน้ำปลายเพลี๊ยะ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ปลูกป่า  ประมาณ  300  ต้น  บริเวณป่าต้นน้ำปลายเพลี๊ยะ

     

    135 69

    11. ปลูกป่า ครั้งที่ 2 จำนวน 250 ต้น

    วันที่ 23 สิงหาคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ปลูกป่า บริเวณป่าต้นน้ำปลายเพลี๊ยะ จำนวน 214 ต้น  เป็นไม่้ใช้สอยทั้งหมด

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เด็กและเยาวชนเกิดความสามัคคีในการปลูกไม้ได้ทุกขั้นตอน ปลูกไม้ยืนต้น  214  ต้น

     

    135 135

    12. เดินป่าสำรวจข้อมูล -พืชอาหาร -พืชสมุนไพร -พืชใช้สอย -สัตว์ -แหล่งน้ำ

    วันที่ 24 สิงหาคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เดินป่าสำรวจข้อมูล -พืชอาหาร -พืชสมุนไพร -พืชใช้สอย -สัตว์ -แหล่งน้ำ  โดยมีเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติเขาปู่ เขาย่า เป็นพี่เลี้ยง คอยแนะนำชื่อ ประเภท ประโยชน์ ของพืช

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้ข้อมูลจำนวนพืชที่มีอยู่ในบริเวณป่าต้นน้ำปลายเพลี๊ยะ แยกตามประเภทการใช้งาน โดยประมาณ

     

    17 17

    13. ประชุมคณะทำงาน

    วันที่ 30 สิงหาคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมคณะทำงาน  จำนวน  15  คน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ประชุมคณะทำงาน  จำนวน  15  คน  สรุปผลการทำกิจกรรมครั้งที่ผ่านมาและวางแผนการดำเนินกิจกรรมครั้งต่อไป

     

    15 15

    14. รวบรวม/เรียบเรียงข้อมูล -ชุดข้อมูล -แผนที่ป่า

    วันที่ 31 สิงหาคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    รวบรวม/เรียบเรียงข้อมูล -ชุดข้อมูล

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    แยกประเภทของพืช ตามการใช้ประโยชน์  และบันทึกพิกัดทางภูมิศาสตร์ของกล้าไม้ที่ปลูกใหม่

     

    25 25

    15. ประชุมหมู่บ้านประจำเดือนเพื่อสร้างความเข้าใจและระดมความร่วมมือการจัดกิจกรรม ร่วมวางแผนตัดสินใจ รับฟังการรายงานผลการดำเนินงานโครงการฯ

    วันที่ 7 กันยายน 2557 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมประจำเดือนของหมู่บ้านเพื่อรับทราบความก้าวหน้าของโครงการ และการดำเนินงานกิจกรรมครั้งต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ที่ประชุมรับทราบความก้าวหน้าของโครงการ และคณะทำงานรับทราบการดำเนินงานกิจกรรมครั้งต่อไป

     

    120 120

    16. เฝ้าระวัง/ดูแลพันธ์ไม้โดยชุดลาดตระเวน

    วันที่ 10 กันยายน 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เฝ้าระวัง/ดูแลพันธ์ไม้โดยชุดลาดตระเวน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ดูแลต้นไม้ที่ได้ปลูกไว้ บริเวณป่าต้นน้ำปลายเพรี๊ยะพบว่า บางส่วนตายไปแล้ว

     

    10 10

    17. ประชุมทำความเข้าใจในการจัดทำสื่อ

    วันที่ 16 กันยายน 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมทำความเข้าใจในการจัดทำสื่อ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ทำความเข้าใจการจัดทำสื่อเผยแพร่โครงการ

     

    2 2

    18. ประชุมคณะทำงานเพื่อวางแผน เตรียมการจัดกิจกรรม ติดตามประเมินผล สรุปผลรายงานผลการดำเนินงานตามโครงการฯ

    วันที่ 21 กันยายน 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมคณะทำงานเพื่อวางแผน ติดตามประเมินผล สรุปผลรายงานผลการดำเนินงานตามโครงการฯ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ประชุมคณะทำงาน ดำเนินการติดตามประเมินผล สรุปผลรายงานผลการดำเนินงานกิจกรรมที่ผ่านมา  ปรากฏว่า บางกิจกรรมดำเนินงานช้ากว่ากำหนด

     

    15 15

    19. เฝ้าระวัง/ดูแลพันธ์ไม้โดยชุดลาดตระเวน

    วันที่ 8 ตุลาคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เฝ้าระวัง/ดูแลพันธ์ุไม้โดยชุดลาดตระเวน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เด็กและเยาวชน ชุดละ 10 คน เฝ้าระวัง/ดูแลพันธ์ไม้ที่ปลูก พบว่า ต้นไม้ที่ไม่ตาย เจริญงอกงามดี

     

    10 10

    20. เดินป่าสำรวจข้อมูล -พืชอาหาร -พืชสมุนไพร -พืชใช้สอย -สัตว์ -แหล่งน้ำ

    วันที่ 11 ตุลาคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เดินป่าสำรวจข้อมูลเดินป่าต้นน้ำปลายเพรี๊ยะ สำรวจข้อมูลตามข้อกำหนดดังนี้ -พืชอาหาร -พืชสมุนไพร -พืชใช้สอย -แหล่งน้ำ -พืชอาหาร -พืชสมุนไพร -พืชใช้สอย -แหล่งน้ำ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    กลุ่มเป้าหมายเดินป่าสำรวจข้อมูล -พืชอาหาร -พืชสมุนไพร -พืชใช้สอย -แหล่งน้ำ (ตามเอกสารที่แนบ)

     

    17 17

    21. ระชุมคณะทำงานเพื่อวางแผน เตรียมการจัดกิจกรรม ติดตามประเมินผล สรุปผลรายงานผลการดำเนินงานตามโครงการฯ

    วันที่ 19 ตุลาคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมคณะทำงานเพื่อวางแผน เตรียมการจัดกิจกรรม ติดตามประเมินผล สรุปผลรายงานผลการดำเนินงานตามโครงการฯ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    วางแผน เตรียมการจัดกิจกรรม ติดตามประเมินผล สรุปผลรายงานผลการดำเนินงานตามโครงการ

     

    15 13

    22. เฝ้าระวัง/ดูแลพันธ์ไม้โดยชุดลาดตระเวน

    วันที่ 25 ตุลาคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ชุดลาดตระเวน ตรวจตรา ดูแลพันธุ์ไม้ที่ปลูกและที่ขึ้นตามธรรมชาติ  รวมถึงสัตว์ป่าขนาดเล็กต่างๆ พบว่า ต้นไม้เจริญเป็นปกติ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เด็กและเยาวชน ชุดละ 10 คน  ตรวจตรา ดูแลพันธุ์ไม้ที่ปลูกและที่ขึ้นตามธรรมชาติ  รวมถึงสัตว์ป่าขนาดเล็กต่างๆ

     

    10 10

    23. เวทีเรียนรู้สภาพป่าในอดีตจากผู้เฒ่าเล่าให้ฟัง -กิจกรรมค่ายศิลปะสร้างป่า โดยมีทีมวิทยากรจากอุทยานแห่งชาติเขาปู่เขาย่า เป็นผู้จัดกระบวนการให้กับกลุ่มเป้าหมาย -ร่วมวิเคราะห์สิ่งดีมีคุณ

    วันที่ 2 พฤศจิกายน 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เวทีเรียนรู้สภาพป่าในอดีตจากผู้เฒ่าเล่าให้ฟัง -ร่วมวิเคราะห์สิ่งดีมีคุณค่า สิ่งที่สูญหายไปจากป่าและใกล้สูญพันธ์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จัดเวทีเสวนาเรียนรู้สภาพป่าในอดีตจากผู้เฒ่าเล่าให้ฟัง  ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้าน  ประเพณี วัฒนธรรมท้องถิ่นในอดีต  วิถีชีวิตของคนในชุมชนที่เกี่ยวของกับป่าไม้ ร่วมวิเคราะห์สิ่งดีมีคุณค่า สิ่งที่สูญหายไปจากป่าและใกล้สูญพันธ์

     

    37 43

    24. ติดตามหนุนเสริม

    วันที่ 5 พฤศจิกายน 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมสรุป/รายงานผลการดำเนินกิจกรรมโครงการ  ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารการเงินและเอกสารที่เกี่ยวข้อง  การรายงานผลตามแบบรายงานต่างๆ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ประชุมสรุปและรายงานผลการดำเนินกิจกรรมโครงการ  ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารการเงินและเอกสารที่เกี่ยวข้อง  การรายงานผลตามแบบรายงานต่างๆ  ระยะเวลาดำเนินการ  2  วัน และสามารถรายงาน ปิดงวดแรกของโครงการได้

     

    3 3

    25. ถอนเงินคืน

    วันที่ 6 พฤศจิกายน 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ถอนเงินเปิดบัญชีใหม่ จากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร  สาชาย่อยศรีบรรพต  จำนวน 300 บาท

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ถอนเงินเปิดบัญชีใหม่ จำนวน 300 บาท

     

    2 2

    26. ประชุมหมู่บ้านประจำเดือนเพื่อสร้างความเข้าใจและระดมความร่วมมือการจัดกิจกรรม ร่วมวางแผนตัดสินใจ รับฟังการรายงานผลการดำเนินงานโครงการฯ

    วันที่ 7 พฤศจิกายน 2557 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมหมู่บ้านประจำเดือน ระดมความคิดเห็น ความร่วมมือการจัดกิจกรรม  และ รับฟังการรายงานผลการดำเนินงานโครงการฯ ที่ประชุมซักถามถึงปัญหาต่างๆที่พบในขณะทำกิจกรรม  คณะทำงานได้ชี้แจงถึงปัญหาที่พบเห็นพอเป็นสังเขปได้ดังนี้ - พันธุ์ไม้ที่นำมาปลูกมีขนาดเล็ก - ชนิดของพันธุ์ไม้ไไม่หลากหลาย - การลาดตระเวณดูแลพันธุ์ไม้ไม่คลอบคุลมพื้นที่ คณะทำงานขอความคิดเห็น ข้อเสนอแนะจากที่ประชุม พอสรุปได้ดังนี้ แบ่งชุดลาดตระเวณและแบ่งพื้นที่รับผิดชอบ  พันธุ์ไม้ที่จะปลูกใหม่ควรเป็นพันธุ์ไม้ท้องถิ่นที่ใกล้สูญพัธุ์ เช่น หลุมพอ มะไฟกา(ภาษาถิ่น)  จำไร(ภาษาถิ่น)  ละมัย 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ประชุมประจำเดิอนตามปกติ และเชื่อมโยงไปถึงการดำเนินกิจกรรมของโครงการฯ  ที่ประชุมส่วนใหญ่มีความเห็นว่า ควรดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง  มีแนวโน้มว่า ประชาชนให้ความสำคัญของป่าไม้ และทรัพยากรธรรมชาติมากขึ้น  สังเกตได้จากการสอบถามถึง วัน เวลา ในการดำเนินกิจกรรมครั้งต่อไปของโครงการฯ

     

    120 64

    27. เฝ้าระวัง/ดูแลพันธ์ไม้โดยชุดลาดตระเวน

    วันที่ 8 พฤศจิกายน 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เฝ้าระวัง/ดูแลพันธ์ไม้โดยชุดลาดตระเวน  ตรวจอบต้นไม้ที่ได้ปลูกไว้  ปรากฏว่า  มีบางส่วนตายไป เนื่องจากวัชชพืชปกคลุม  คณะทำงานได้แก้ไขโดยการทำลายวัชชพืชในส่วนที่เป็นสมควร

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เด็กและเยาวชนสังเกตการเจริญเติบโตของพันธุ์ไม้  และตั้งสมมุติฐานว่า ส่วนที่ตายไปนั้น เกิดจากสาเหตุ 2 ประการ คือ เถาวัลย์ปกคลุม และพันธุ์ไม้ที่ปลูกมีขนาดเล็กเกินไป

     

    10 10

    28. ประชุมคณะทำงานเพื่อวางแผน เตรียมการจัดกิจกรรม ติดตามประเมินผล สรุปผลรายงานผลการดำเนินงานตามโครงการฯ

    วันที่ 22 พฤศจิกายน 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมคณะทำงานเพื่อสรุปผลการดำเนินกิจกรรมเฝ้าระวัง  และเตรียมการปลูกป่าครั้งที่ 3  ในวันที่ 5 ธันวาคม  ที่ประชุมมีมติให้เลื่อนจากวัน เวลา เดิม เป็นวันที่  6 ธันวาคม เนื่องจากวัน เวลาเดิม หลายๆคนมีภาระกิจ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ดำเนินกิจกรรมปลูกป่าครั้งที่ 3 โดยเปลี่ยนจากบริเวณป่าต้นน้ำปลายเพรี๊ยะ มาปลูกบริเวณริมอ่างเก็บน้ำป่าพะยอม  เนื่องจากเกรงอันตรายจากฝนตก  ปลูกต้นไม้ ได้ประมาณ  680 ต้น  เป็นไม้พะยูงและไม้ตะเคียนทองทั้งหมด  นอกจากนั้นคณะทำงานตกลงแบ่งชุดลาดตระเวณและแบ่งพื้นที่รับผิดชอบ ตามข้อเสนอแนะจากที่ประชุมประจำเดือน

     

    15 15

    29. ปลูกป่า ครั้งที่ 3

    วันที่ 6 ธันวาคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เปลี่ยนพื้นที่ปลูกป่าจากป่าต้นน้ำคลองเพรี๊ยะมาปลูกต้นไม้บริเวณริมอ่างเก็บน้ำป่าพะยอม  จำนวนประมาณ  680  ต้น เนื่องจากช่วงนี้เป็นช่วงฤดูฝนของภาคใต้ เกรงจะเป็นอันตรายกับผู้เข้าร่วมปลูกป่า

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ปรับเปลี่ยนการปลูกป่าบริเวณป่าต้นน้ำปลายเพรี๊ยะ  มาปลูกบริเวณริมอ่างเก็บน้ำป่าพะยอม  เนื่องจากเกรงอันตรายจากฝนตกหนัก  โดยปลูกต้นพะยูงและต้นตะเคียนทอง จำนวนประมาณ  680  ต้น  ได้รับความร่วมมือจากคณะทำงาน สมาชิก และบุคคลทั่วไปเป็นอย่างดี  และใช้โอกาสนี้ปลูกป่าเนื่องในโอกาสวันพ่อแห่งชาติด้วย  นอกจากปลูกต้นไม้แล้ว ผู้เข้าร่วมกิจกรรมยังได้ร่วมกันตกแต่งต้นไม้ที่มีอยู่เดิม  โดยการตัดแต่งวัชพืช ตัดแต่งกิ่งที่ไม่เหมาะสมออกไป  ต้นไม้ท้องถิ่นที่มีอยู่เดิมเช่น ชับพรา  เขม้า  กระโดน  แต้ว ฯลฯ ได้รับการดูแลอย่างที่กล่าวข้างต้น  จากการสังเกต  ผู้เข้าร่วมโครงการ ทำกิจกรรมด้วยความสนุกสนาน  โดยแบ่งหน้าที่กันทำ ผู้ใหญ่ขุดหลุ่ม เด็กๆ ช่วยการปลูก  ผู้หญิงลำเลียงพันธุ์ไม้ให้เด็กๆ และให้คำแนะนำในการปลูก  คนที่มีรถยนต์ ทำหน้าที่บรรทุกพันธุ์ไม้จากในหมู่บ้าน  ดูแล้วพวกเขาทำกันด้วยความสุข สนุกสนาน น่าจะเป็นนิมิตหมายว่า ต้นไม่เหล่านี้ จะป็นประโยชน์ต่อเขาในภายภาคหน้า

     

    135 135

    30. เดินป่าสำรวจข้อมูล -พืชอาหาร -พืชสมุนไพร -พืชใช้สอย -สัตว์ -แหล่งน้ำ

    วันที่ 7 ธันวาคม 2557 เวลา 09:00-16.30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    กิจกรรมเดินป่าสำรวจข้อมูล -พืชอาหาร -พืชสมุนไพร -พืชใช้สอย -สัตว์ -แหล่งน้ำ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    รวบรวมข้อมูลป่า โดยแยกประเภท พืช สัตว์ แหล่งน้ำ

     

    17 19

    31. ประชุมคณะทำงานเพื่อวางแผน เตรียมการจัดกิจกรรม ติดตามประเมินผล สรุปผลรายงานผลการดำเนินงานตามโครงการฯ

    วันที่ 14 ธันวาคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    มอบหมายงานชุดลาดตระเวณ ติดตาม ดูแลต้นไม้ บริเวณป่าต้นน้ำปลายเพรี๊ยะ 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    มอบหมายงานชุดลาดตระเวณ ติดตาม ดูแลต้นไม้ บริเวณป่าต้นน้ำปลายเพรี๊ยะ  โดยใช้คณะทำงาน  5 คน  สมาชิก จำนวน  10  คน  โดยแบ่งพื้นที่ลาดตระเวณออกเป็นโซน ๒ โซนด้วยกัน โดยใช้คลองเพรี๊ยะ เป็นเขตในการแบ่ง และผลัดพื้นที่ในการลาดตระเวณ

     

    15 15

    32. เฝ้าระวัง/ดูแลพันธ์ไม้โดยชุดลาดตระเวน

    วันที่ 20 ธันวาคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เฝ้าระวัง ดูแลต้นไม้ที่ปลูกไว้แล้ว  ประมาณ 120  ต้น

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ลาดตระเวณพื้นที่ตามที่ได้แบ่งเขตไว้แล้วจากที่ประชุม  ครั้งนี้ชุดลาดตระเวณได้ลาดตะเวณพื้นที่ด้านเหนือของคลองเพรี๊ยะ  จากการลาดตระเวณพบว่า ต้นไม้ส่วนใหญ่เจริญเติบโตได้ดี แต่มีบางส่วนที่ตายไป อันเนื่องมาจากพันธุ์ไม้ที่ปลูก มีขนาดเล็กเกินไป  ส่วนต้นไม้เดิมที่มีขาดเล็ก มีบางส่วนโค่นล้ม เนื่องจากการกพังทะลายของดินที่เกิดจากการกัดเซาะของน้ำฝน

     

    10 10

    33. เฝ้าระวัง/ดูแลพันธ์ไม้โดยชุดลาดตระเวน

    วันที่ 27 ธันวาคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เฝ้าระวัง ดูแลต้นไม้บริเวณป่าต้นน้ำปลายเพรี๊ยะ ต่อเนื่องจากกิจกรรมเฝ้าระวัง ครั้งที่ผ่านมา

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ชุดลาดตระเวณซึ่งบประกอบด้วยเด็กและเยาวชน จำนวน  10  คน และผู้สังเกตการณ์  1  คน  ลาดตระเวณเพื่อเฝ้าระวังการตัดไม้ทำลายป่า  และการบุกรุกป่า  โดยลาดตระเวณเขตพื้นที่ป่าด้านใต้ของคลองเพรี๊ยะ  ไม่พบการบุกรุกและการตัดไม้ทำลายป่าแต่อย่างใด  ส่วนของต้นไม้ที่ปลูกใหม่พบว่า ส่วนใหญ่เจริญเติบโตได้ดีตามธรรมชาติ  บางส่วนถูกปกคลุมด้วยเถาวัลย์ ชุดลาดตระเวณได้ดูและโดยการตัดแต่งเถาวัลย์

     

    10 11

    34. ประชุมหมู่บ้านประจำเดือนเพื่อสร้างความเข้าใจและระดมความร่วมมือการจัดกิจกรรม ร่วมวางแผนตัดสินใจ รับฟังการรายงานผลการดำเนินงานโครงการฯ

    วันที่ 7 มกราคม 2558 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมหมู่บ้านประจำเดือนและ รับฟังการรายงานผลการดำเนินงานโครงการฯ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ประชุมประจำเดือนของหมู่บ้าน แจ้งความเคลื่อนไหวของทางราชการ และสอดแทรกรายงานผลการดำเนินกิจกรรมของโครงการฯ ให้ที่ประชุมรับทราบเกี่ยวกับการดูแลป่าต้นน้ำคลองเพรี๊ยะ  โดยใช้ตัวแทนของชุดลาดตระเวณเป็นผู้รายงานความต่อเนื่อง และสภาพป่าตามที่ได้พบเห็น ที่ประชุมรับทราบและให้ข้อเสนอแนะว่า ควรดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง

     

    120 118

    35. เฝ้าระวัง/ดูแลพันธ์ไม้โดยชุดลาดตระเวน

    วันที่ 10 มกราคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เฝ้าระวัง/ดูแลพันธ์ไม้โดยชุดลาดตระเวน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เดินเท้า เฝ้าระวัง ดูแลต้นไม้ที่ปลูกและที่มีอยูตามธรรมชาติทางด้านทิศใต้ของคลองเพรี๊ยะพบว่าบางส่วนเสียไป เนื่องจากการพังทะลายของดิน และเกิดการปกคลุมของเถาวัลย์ชุดลาดตระเวณได้ทำการตกแต่งเถาวัลย์ที่ปกคลุมต้นไม้ที่ปลูกใหม่เป็นที่เรียบร้อย

     

    10 10

    36. ประชุมคณะทำงานเพื่อวางแผน เตรียมการจัดกิจกรรม ติดตามประเมินผล สรุปผลรายงานผลการดำเนินงานตามโครงการฯ

    วันที่ 17 มกราคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมคณะทำงานเพื่อวางแผน เตรียมการจัดกิจกรรม เฝ้าระวัง/ดูแลต้นไม้ และวางแผนการทำกิจกรรมเดินสำรวจป่า แก้ไขปรับปรุงแผนงานที่วางไว้ให้รัดกุมยิ่งขึ้น  โดยแบ่งการสำรวจออกเป็น สำรวจป่า และสำรวจสัตว์น้ำที่มีอยู่ในบริเวณป่าต้นน้ำคลองเพรี๊ยะ  แบ่งคณะทำงานและมอบหมายงาน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    มอบหมายงานเฝ้าระวัง/ดูแลพันธุ์ไม้ ให้กับชุดลาดตระเวณ  และวางแผนกิจกรรมสำรวจป่าต้นน้ำปลายเพรี๊ยะ

     

    15 15

    37. เฝ้าระวัง/ดูแลพันธ์ไม้โดยชุดลาดตระเวน

    วันที่ 31 มกราคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เฝ้าระวัง/ดูแลพันธ์ไม้โดยชุดลาดตระเวน  ประกอบด้วย คณะทำงาน  เด็กและเยาวชน ชุดละ 10 คน  เดินเท้าลาดตระเวณบริเวณป่้าด้านทิศเหนือของคลองเพรี๊ยะ  พบว่าต้นไม้ที่ปลูกใหม่เจริญงอกงามดีตามธรรมชาติ  ไม่พบการบุกรุกป่าแต่อย่างใด  ส่วนต้นไม้ที่มีอยู่เดิมนั้น คณะทำงานได้ให้ความรู้เกี่ยวกับประธยชน์ใช้สอยแก่เด็กๆที่ร่วมเดินทางไปด้วย  ส่งผลให้เด็กๆรู้สึกรัก หวงแหนต้นไม้เหล่านี้เพิ่มขึ้น

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เฝ้าระวัง/ดูแลพันธ์ไม้บริเวณป่าต้นน้ำปลายเพรี๊ยะ โดยชุดลาดตระเวนริเวณ  ประกอบด้วย คณะทำงาน  เด็กและเยาวชน ชุดละ 10 คน พบว่าต้นไม้เจริญเติบโตตามธรรมชาติ เป็นที่น่าพอใจ

     

    10 10

    38. ติดตามหนุนเสริม

    วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมรายงานผลการดำเนินโครงการ โดยตัวแทนคณะทำงาน  2  คน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    นำเสนอการประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ

     

    2 2

    39. เดินป่าสำรวจข้อมูล -พืชอาหาร -พืชสมุนไพร -พืชใช้สอย -สัตว์ -แหล่งน้ำ

    วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 09:00-16.30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เดินป่าสำรวจข้อมูลพืชอาหารประจำถิ่น โดยเฉพาะพืชประจำถิ่นที่หายาก เช่น มะไฟกา  จำไร  ละมัย  หวายฮวย  รวบรวมข้อมูลจำนวนพืชเหล่านี้  นำเสนอที่ประชุม และกำหนดบริเวณที่น่าจะปลูกเพิ่มเติม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เด็กและเยาวชนรู้ขั้นตอนการจัดเก็บข้อมูล  และรู้จักสัตว์น้ำขนาดเล็ที่มีในบริณคลองเพลี๊ยะ

     

    18 18

    40. ประชุมคณะทำงานเพื่อวางแผน เตรียมการจัดกิจกรรม ติดตามประเมินผล สรุปผลรายงานผลการดำเนินงานตามโครงการฯ

    วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 09:00 -16.30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมคณะทำงาน วิเคราะห์ข้อมูลพืชประจำถิ่นหายาก (มะไฟกา  จำไร  หวายฮวย ละมัย ) พบว่า ไม้เหล่านี้ลดจำนวนลงมาก  ที่ประชุมมีมติให้ดำเนินการเพาะพันธุ์ หรือหาพันธุ์ไม้เหล่านี้จากป่าบริเวณใกล้เคียง มาปลูกเพิ่มเติมในบริเวณป่าต้นน้ำคลองเพรี๊ยะ ในโอกาสต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะทำงานรับมอบงานเพื่อดำเนินกิจกรรมครั้งต่อไป

     

    15 15

    41. เฝ้าระวัง/ดูแลพันธ์ไม้โดยชุดลาดตระเวน

    วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 09:00-16.30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เฝ้าระวัง/ดูแลพันธ์ไม้ทั่วไป โดยชุดลาดตระเวน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ชุดลาดตระเวณเดินเท้าลากตระเวณบริเวณป่าต้นน้ำด้านทิศใต้ของคลองเพรี๊ยะ ไม่พบความผิดปกติใดๆ  พบผู้คนหาของป่าและสัตว์น้ำเพื่อดำรงชีพบ้างเล็กน้อย ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติของชุมชนที่นี่  ของป่าที่กล่าวถึงนี้บางชนิดจำเป็นต่อการดำรงชีพของผู้คนในท้องถิ่น  เช่น ดอกยง นำไปทำไม้กวาดดอกหญ้า ใช้ในครัวเรือน  หวายกำพวน ทำด้ามไม้กวาด  หวาย ใช้ทำเป็นเชือกผูกไม้กวาด  ส่วนสัตว์น้ำ นำไปประกอบอาหาร เช่น ปลาซิว  หอยโหล๊ะ (ภาษาถิ่น) กุ้งฝอย ปลาโสด (ปลากระสูบ) สัตว์น้ำเหล่านี้ ล้วนแต่มีอยู่ตามธรรมชาติ  ผู้คนก็หาปลาด้วยเครื่องมือที่ไม่ผิดกฎหมาย เป็นเครื่องมือหากินแบบดั้งเดิม เช่น ไซ  นาง  แห  อีมุ้ม  ชุดลาดตระเวณ ได้ให้คำแนะนำการหาสัตว์ดังกล่าวให้หากินแบบอนุรักษ์  ซึ่งก็ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี

     

    10 12

    42. ประชุมหมู่บ้านประจำเดือนเพื่อสร้างความเข้าใจและระดมความร่วมมือการจัดกิจกรรม ร่วมวางแผนตัดสินใจ รับฟังการรายงานผลการดำเนินงานโครงการฯ

    วันที่ 7 มีนาคม 2558 เวลา 13:00 -16.30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมหมู่บ้านประจำเดือน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ประชุมหมู่บ้านประจำเดือน  รายงานความก้าหน้าโครงการ  รับฟังข้อเสนอแนะจากที่ประชุม  พอสรุปได้ว่า ที่ประชุมส่วนใหญ่่เป็นควรให้ดำเนินโครงการต่อไป

     

    120 80

    43. เดินป่าสำรวจข้อมูล -พืชอาหาร -พืชสมุนไพร -พืชใช้สอย -สัตว์ -แหล่งน้ำ

    วันที่ 14 มีนาคม 2558 เวลา 09:00-16.30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เดินเท้าสำรวจพืชสมุนไพร ประเภทยืนต้น และประเภทเถาวัลย์ ที่ค่อนข้างหายาก  เพื่อเก็บเป็นข้อมูลไปวิเคราะห์ปริมาณ 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เดินเท้าสำรวจพืชสมุนไพร ประเภทยืนต้น และประเภทเถาวัลย์ ที่ค่อนข้างหายาก  เพื่อเก็บเป็นข้อมูลไปวิเคราะห์ปริมาณ  พบว่าพืชสมุนไพยังมีจำนวนที่พอประมาณ อาจจะเป็นเพราะคนไม่รู้จักใช้พืชสมุนไพรเหล่านี้  ภูมิปัญญาหรือปราชญ์ชาวบ้านด้านสมุนไพรลดน้อยลงขาดการถ่ายทอดความรู้ด้านสมุนไพรให้กับชนรุ่นหลัง  จึงทำให้คนรุ่นหลังหันไปใช้ยาแผนปัจจุบันแทนพืชสมุนไพร  คณะทำงานก็ไม่มีความรู้เรื่องสมุนไพร จึงไม่สามารถให้คำแนะนำแก้เด็กและเยาวชนได้เท่าที่ควร  อย่างไรก็ตาม ป่าทางเหนือของคลองเพรี๊ยะ ยังพบไม้อาหารประเภทยืนต้นได้บ้าง เหมือนกับป่าทางด้านใต้ของคลองเพรี๊ยะ ซึ่งจะได้เป็นข้อมูลในการดำเนินการกับพื้ชทั้ง 2 ชนิดต่อไปในโอกาสหน้า

     

    17 19

    44. เฝ้าระวัง/ดูแลพันธ์ไม้โดยชุดลาดตระเวน

    วันที่ 22 มีนาคม 2558 เวลา 09:00-16.30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ติดตาม เฝ้าระวังดูแลพันธุ์ไม้ที่ปลูกใหม่และไม้ทั่วไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เดินเท้าลาดตระเวณป่าบริเวณด้านเหนือของคลองเพรี๊ยะ พันธุ์ไม้ที่ปลูกใหม่ส่วนใหญ่เจริญเติบโตดี ไม่พบการแผ้วถางหรือบุกรุกป่า ซึ่งพอจะบอกความหมายได้ว่า ประชุาชนเริ่มเห็นความสำคัญของป่าต้นน้ำคลองเพรี๊ยะ อย่างไรก็ตาม ในส่วนที่เป็นที่ทำกันอยู่ก่อนนั้น ก็เป็นปัญหาก้ำกึ่งกับเขาอุทยานแห่งชาติอยู่ ปัญหานี้หมักหมมอยู่นานหลายปี เกิดปัญหาว่้า ไม่ทราบเขตที่แน่นอน ราษฎรทำกินในที่ดินเดิมของบรรพบุรุษ แต่กลายเป็นการบุกรุกป่า เป็นปัญหาเรื่อยมา

     

    10 15

    45. จัดทำฝายชะลอน้ำ

    วันที่ 27 มีนาคม 2558 เวลา 09:00-16.30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดทำฝายชะลอน้ำ จำนวน 3 จุด

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะทำงาน ได้แบ่งผู้เข้าร่วมกิจกรรมออกเป็น 3 ชุด ชุดละประมาณ 30 คน มอบหมายให้คณะทำงานเป็นผู้ดูแลแต่ละชุด  แบ่งงานกันทำ  โดยใช้ทรายในพื้นที่บรรจุในกระสอบปุ๋ยที่ใช้แล้ว  นำไปวางขวางทางน้ำคลองเพรี๊ยะ  ในการทำงานนั้น แตละชุดมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีทั้งเด็ก เยาวชน และผู้ใหญ่  จึงต้องแบ่งหน้าที่กันให้เหมาะกับบริบทของผู้เข้าร่วมกิจกรรม  ทำให้การสร้างฝายชะลอน้ำ เป็นไปด้วยความราบรื่น เกิดความสนุกสนานจากการทำงานปนเล่นน้ำประสาเด็ก  เด็กๆ ได้เกิดเการเรียนรู้กระบวนการทำงานได้เป็นอย่างดี  ผลที่ได้เป็นที่น่าพอใจ  ได้ฝายชะลอน้ำ  3  จุด

     

    90 92

    46. ประชุมคณะทำงานเพื่อวางแผน เตรียมการจัดกิจกรรม ติดตามประเมินผล สรุปผลรายงานผลการดำเนินงานตามโครงการฯ

    วันที่ 2 เมษายน 2558 เวลา 09:00-16.30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมคณะทำงานเพื่อวางแผน เตรียมการจัดกิจกรรม บวชป่า

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ประชุมคณะทำงานเพื่อวางแผน เตรียมการจัดกิจกรรมบชป่า  โดยแบ่งคณะทำงานให้รับผิดชอบเป็นฝ่ายๆ ไป เช่น - จัดสถานที่สำหรับผู้เข้าร่วมกิจกรรม  สถานที่สำหรับประกอบพิธีสงฆ์  เครื่องขยายเสียง - ฝ่ายพิธีสงฆ์  นิมนต์พระคุณเจ้า จำนวน 5 รูป พร้อมรับ ส่ง พระคุณเจ้า  จัดหาพิธีกรทางศาสนา และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับศาสนพิธี
    - ฝ่ายพิธีทางพราหมณ์ - ฝ่ายอาหาร จัดหาอาหารสำหรับพระภิกษุสงฆ์ และผู้เข้าร่วยมกิจกรรมทั่วไป  มีมติให้ประชาสัมพันธ์ ให้ชาวบ้านทั่วไป นำอาหารมาถวายพระภิกษุสงฆ์ และบุคคลทั่วไป ฯลฯ คณะทำงาน ประชุมตกลงกันในกิจกรรมค่ายศิลปะ  โดยกำหนดจัดกิจกรรม ค่ายศิลปะ ในวันที่ 8 เมษายน 2558  ณ  บริเวณอุทยานแห่งชาติเขาปู่เขาย่า  โดยแบ่งงานกันทำ ได้ดังนี้ - ประสานงานกับเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติเขาปู่เขาย่า  นายสมศักดิ์  สุขยูง - รับ ส่งเด็กและเยาวชน  นายเอกธวัช  ดำจวนลม - ดูแลเด็กและเยาวชน ขณะทำกิจกรรม  คณะทำงานทุกคน - การเงิน เตรียมอุปกรณ์  นางรมณ  เพชรนาค ผลการประชุม คณะทำงานมีมติเห็นชอบกระบวนการดังกล่าว

     

    15 15

    47. บวชป่าบูชารุกขเทวดา

    วันที่ 7 เมษายน 2558 เวลา 09:00 -17.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ประชาสัมพันธ์
    • เตรียมสถานที่
    • พิธีทางศาสนา

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จากมติที่ประชุมคณะทำงาน  ทุกฝ่ายทำหน้าที่ได้ดีมากๆ  ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมากพอสมควร  รวมทั้ง  นายอำเภอศรีบรรพต  นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเขาปู่  ตัวแทนจากอุทยานแห่งชาติเขาปู่เขาย่า ในช่วงเช้าทำพิธีทางศาสนา โดยใช้สถานที่ศาลาประจำหมู่บ้าน  ทำพิธีทางศาสนาตามขั้นตอน เสร็จแล้วถวายภัตตาหารเพลแด่พระสงฆ์จำนวน 5 รูป  หลังจากนั้น รับประทานอาหารร่วมกัน  ช่วงบ่ายทำพิธีบวชป่า โดยนิมนต์พระคุณเจ้าไปทำพิธีบวชป่าบริเวณป่าต้นน้ำคลองเพรี๊ยะ ร่วมกับประชุมชนทั่วไป  นำผ้าแพรสีเหลือง ไปพันไว้กับต้นไม้ที่มีขนาดใหญ่พอสมควร  เพื่อเป็นเครื่องหมายเตือนใจว่า ป่าบริเวณนี้ เป็นป่าหวงห้าม  ตัดไม้ทำลายป่าไม่ได้  กิจกรรมนี้ ได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายเป็นอย่างดี

     

    124 124

    48. ค่ายศิลปะ สร้างป่า

    วันที่ 8 เมษายน 2558 เวลา 09:00 -16.30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ตอนเช้าเวลาประมาณ  08.00 น. คณะทำงาน เด็ก และเยาวชนพร้อมกันที่ศาลาประจำหมู่บ้าน  ออกเดินทางปสู่อุทยานแห่งชาติเขาปู่เขาย่า  เพื่อทำกิจกรรม ค่ายศิลปะกับสิ่งแวดล้อม  ได้รับการต้อนรับจากเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติเขาปู่เขาย่า เป็นอย่างดี  และอุทยานได้อำนวยความสะดวก ทำหน้าที่วิทยากรท ให้ความรู้และแนะนำแก่เด็กและเยาวชน  โดยการให้ทำกิจกรรมวาดภาพที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม  เด็กๆใช้อุปกรณ์ สี กระดาษ ที่คณะทำงานจัดเตรียมไว้ให้ วาดภาพกันอย่างสนุกสนาน  เที่ยงก็รับประทานอาหารร่วมกันท ณ สถานที่ปฏิบัติกิจกรรม  ช่วงบ่ายก็ดำเนินกิจกรรมต่อ  ได้ผลงานของเด็กๆและเยาวชนหลายชิ้น  คณะทำงานได้นำผลงานเหล่านี้ ปิดประกาศไว้ที่ศาลาหมู่บ้าน เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ถึงผลงานของเด็กและเยาวชน  เวลายังเหลือในช่วงบ่าย เจ้าหน้าที่อุทยาน ได้นำเด็กและเยาวชนเดินเท้าชมสถานที่น่าสนใจในบริเวณอุทยานแห่งชาติเขาปู่เขาย่า อาที ผาผึ้ง สวนหิน พันธุ์พืชต่างๆ  เด็กและเยาชนสนใจกิจกรรมนี้ทุกคน 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เด็กและเยาวชนสนใจ และชื่นชอบ สนุกกับการทำกิจกรรมศิลปะ เป็นอย่างมาก

     

    30 32

    49. เฝ้าระวัง/ดูแลพันธ์ไม้โดยชุดลาดตระเวน

    วันที่ 18 เมษายน 2558 เวลา 09:00-16.30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เดินเท้า เฝ้าระวัง/ดูแลพันธ์ไม้โดยชุดลาดตระเวน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ชุดลาดตระเวณเดินเท้า เพื่อเฝ้าระวังป่าต้นน้ำคลองเพรี๊ยะ พบว่า ช่วงนี้เป็นหน้าแล้ง  สภาพป่าขาดความชุ่มชื้น  แต่ก็ไม่ส่งผลกระทบกับกับไม้ที่ปลูกกใหม่มากนัก  น้ำในคลองเพรี๊ยะลดระดับลงมาก ซึ่งเป็นเรื่องปกติทุกปี  แต่บริเวณหน้าฝายชะลอน้ำ ยังมีน้ำในปริมาณพอสมควร สัตว์น้ำต่างๆ มาอาศัยอยู่บริเวณหน้าฝายชะลอน้ำมากกว่าช่วงที่ผ่านมา

     

    10 15

    50. เดินป่าสำรวจข้อมูล -พืชอาหาร -พืชสมุนไพร -พืชใช้สอย -สัตว์ -แหล่งน้ำ

    วันที่ 25 เมษายน 2558 เวลา 09:00-16.30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    สำรวจ  รวบรวม  จ้ดระบบข้อมูล(ไม่เป็นทางการ) ของสัตว์น้ำปบริเวณคลองเพรี๊ยะ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผู้เข้าร่วมกิจกรรม เดินทางด้วยจักรยานยนต์ ถึงบริเวณคลองเพรี๊ยะ แล้วเดินเท้าต่อไปยังต้นๆของคลอง สำรวจสัตว์น้ำในบริเวณดังกล่าว พบว่า โดยทั่วไปยังมีสัตว์น้ำในปริมาณคงเดิม  แต่จะพบมากบริเวณหน้าฝายชะลอน้ำทั้ง 3 จุด  สัตว์น้ำที่เห็นได้ด้วยตา มีหลายชนิด ล้วนแต่เป็นสัตว์น้ำประจำถิ่นทั้งหมด เช่น ปลาซิว  ปลาโสด (ปลากระสูบลายขวาง) ปลาหยา  ปลาขอ  หอยโหล๊ะ(ภาษาถิ่น)  หอยขม  หอยโข่ง  กุ้งฝอย  ปู  ลูกรวก(ลูกอ๊อด) 

     

    17 19

    51. ประชุมหมู่บ้านประจำเดือนเพื่อสร้างความเข้าใจและระดมความร่วมมือการจัดกิจกรรม ร่วมวางแผนตัดสินใจ รับฟังการรายงานผลการดำเนินงานโครงการฯ

    วันที่ 7 พฤษภาคม 2558 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมหมู่บ้านประจำเดือนเพื่อสร้างความเข้าใจและระดมความร่วมมือการจัดกิจกรรม  รับฟังการสรุปผลการดำเนินงานกิจกรรมทำฝายชะลอน้ำ 3 จุด  ผลการสำรวจข้อมูลสัตว์น้ำบริเวณคลองเพรี๊ยะ  กิจกรรมค่ายศิลปะ  กิจกรรมบวชป่า  ที่ประชุมรับทราบ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ประชุมประจำเดือนของหมู่บ้าน  เพื่อแจ้งข้อราชการ มีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน  82 คน รับฟังการสรุปผลการดำเนินงานกิจกรรมต่างๆของโครงการ อาทิ ทำฝายชะลอน้ำ 3 จุด  ผลการสำรวจข้อมูลสัตว์น้ำบริเวณคลองเพรี๊ยะ  กิจกรรมค่ายศิลปะ  กิจกรรมบวชป่า  ที่ประชุมรับทราบ

     

    120 82

    52. เฝ้าระวัง/ดูแลพันธ์ไม้โดยชุดลาดตระเวน

    วันที่ 16 พฤษภาคม 2558 เวลา 09:00-16.30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เฝ้าระวัง/ดูแลพันธ์ไม้โดยชุดลาดตระเวน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ชุดลาดตระเวณเดินเท่าลาดตระเวณบริเวณป่าด้านทิศใต้ของคลองเพรี๊ยะ และบริเวณฝายชะลอน้ำทั้ง 3 จุด  สภาพป่าชุมชื่นขึ้น เนื่องจากมีฝนตกทำให้เกิดความชุมชื่้น  สภาพป่าโดยทั่วไปปกติ  ส่วนบริเวณฝายชะลอน้ำ มีเศษไม้ ใบไม้ ทับถมหน้าฝายชะลอน้ำ ชุดลาดตระเวณได้ดำเนินการเก็บเศษไม้ ใบไม้เหล่านั้นออกไป  และกระอบทรายบางส่วนขาดผุพังไป เนื่องจากใช้กระกอบเก่า  สังเกตสัตว์น้ำบริเวณหน้าฝายชะลอน้ำ  คะเนด้วยสายตา พบว่ามีปริมาณเพิ่มขึ้นเล็กน้อย

     

    10 13

    53. ประชุมคณะทำงานเพื่อวางแผน เตรียมการจัดกิจกรรม ติดตามประเมินผล สรุปผลรายงานผลการดำเนินงานตามโครงการฯ

    วันที่ 17 พฤษภาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมคณะทำงาน รับทราบสภาพป่าโดยทั่วไป  จำนวนประชากรสัตว์น้ำจากการคะเนด้วยสายตา จากชุดลาดตระเวณ  ที่ประชุมรับทราบ  ต่อจากนั้น ที่ประชุมได้มอบหมายเจ้าหน้าที่การเงินของโครงการ ตรวจสอบเอกสารทางการเงิน เพื่อเตรียมการปิดโครงการในโอกาสต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จากการติดตามผลการดำเนินกิจกรรมของโครงการนั้น  คณะทำงานพอสรุปได้ว่า  ผลงานที่ปรากฏเป็นที่น่าพอใจ  และเป็นที่ชื่นชมของบุคคลทั่วไป

     

    15 15

    54. กิจกรรมประชาสัมพันธ์

    วันที่ 21 พฤษภาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ประชาสัมพันธ์ โดยใช้หอกระจายข่าว รายงานความเคลื่อนไหวของโครงการฯ  ตามโอกาสในช่วงเช้า (เวลาประมาณ 06.00 น.)
    2. จัดทำป้ายรณรงค์เขตอนุรักษ์ป่าและแผนที่ป่า  จำนวน  2  ป้าย  พร้อมติดตั้ง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • แจ้งความเคลื่อนไหวและการดำเนินกิจกรรมของโครงการ ให้บุคคลท ั่วไปรับทราบ
    • ติดตั้งป้ายเขตอนุรักษ์ป่าชุมชน จำนวน 1ป้าย ทิศเหนือ จด ต. เกาะเต่า  ทิศใต้ จด หมู่ที่ 3  ต.เขาปู่  ทิศตะวันออก จด พื้นที่ทำกินของราษฎร หมู่ที่ 4  ทิศตะวันตก จด แนวเขต  อ. เมือง จ.ตรัง
    • ติดตั้งป้ายแผนที่ป่าเพื่อประชาสัมพันธ์ให้บุคคลทั่วไป ทราบถึงพื้นที่สำรวจและฟื้นฟูสภาพป่า

     

    5 2

    55. ติดตามผลการดำเนินงานร่วมกับพี่เลี้ยง ครั้งที่ 4

    วันที่ 22 พฤษภาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ติดตามผลการดำเนินงานร่วมกับพี่เลี้ยง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ติดตามผลการดำเนินงานร่วมกับพี่เลี้ยง  ที่ วิทยาลัยภูมิปัญญาชุมชน

     

    3 3

    56. จัดทำรายงานสรุปปิดโครงการ

    วันที่ 11 กรกฎาคม 2558 เวลา 09:00-16.30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดทำรายงานสรุปปิดโครงการ ป่าฟื้น คนฟื้นที่บ้านทุ่งยูง  ระหว่างวันที่  11 -12 กรกฏาคม  2558  ณ  สจรส.มอ.หาดใหญ่  จ.สงขลา  เป็นเวลา  2  วัน  1  คืน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จัดทำรายงานสรุปปิดโครงการ ป้าฟื้น คนฟื้นที่บ้านทุ่งยูง    รวมทั้งจัดทำ ตรวจสอบ เอกสารหลักฐานด้านการเงิน

     

    3 3

    57. จัดทำภาพถ่ายกิจกรรม

    วันที่ 11 กรกฎาคม 2558 เวลา 09:00-16.30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดทำภาพถ่ายกิจกรรมโดยรวมของโครงกรารป่าฟื้น คนฟื้นที่บ้านทุ่งยูง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จัดทำภาพถ่ายกิจกรรมโดยรวมของโครงกรารป่าฟื้น คนฟื้นที่บ้านทุ่งยูง

     

    2 2

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

     

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 1. เพื่อสร้างฐานข้อมูลสิ่งมีคุณค่าในป่าต้นน้ำ คลองเพลี๊ยะและคืนข้อมูลให้คนในชุมชนได้เรียนรู้และร่วมกันจัดทำแผนการจัดการป่า
    ตัวชี้วัด : 1.1มีชุดข้อมูลเรื่องทรัพยากรป่าต้นน้ำคลองเพลี๊ยะ 1ชุด 1.2คนในชุมชนมีความรู้เรื่องฐานทรัพยากรป่าต้นน้ำคลองเพลี๊ยะ จำนวน 250 คน 1.3มีแผนปฏิบัติการในการจัดการป่าฯจำนวน 1แผน 1.1 มีข้อมูลเรื่องชนิดปริมาณและคุณค่าของพืช สัตว์ แหล่งน้ำที่มีคุณค่าต่อชุมชน 1.2 คนในชุมชนเห็นความสำคัญและมีความตระหนักในการร่วมกันจัดการป่าฯ ผลจากการเรียนรู้ข้อมูลฯ 1.3 มีแผนการจัดการป่าฯที่มีแนวทางการแก้ไขปัญหาที่ร่วมกันกำหนดและเกิดจากข้อมูลข้อเท็จจริงที่เกิดจากการเรียนรู้ร่วมกัน และละเอียดสามารถทำตามได้อย่างชัดเจน
    1. มีชุดข้อมูลเรื่องทรัพยากรป่าต้นน้ำคลองเพลี๊ยะ 1ชุด
    2. คนในชุมชนมีความรู้เรื่องฐานทรัพยากรป่าต้นน้ำคลองเพลี๊ยะ จำนวน 250 คน
    3. มีแผนปฏิบัติการในการจัดการป่าฯจำนวน 1แผน
    4. มีข้อมูลเรื่องชนิดปริมาณและคุณค่าของพืช สัตว์ แหล่งน้ำที่มีคุณค่าต่อชุมชน
    5. คนในชุมชนเห็นความสำคัญและมีความตระหนักในการร่วมกันจัดการป่าฯ ผลจากการเรียนรู้ข้อมูลฯ
    6. มีแผนการจัดการป่าฯที่มีแนวทางการแก้ไขปัญหาที่ร่วมกันกำหนดและเกิดจากข้อมูลข้อเท็จจริงที่เกิดจากการเรียนรู้ร่วมกัน และละเอียดสามารถทำตามได้อย่างชัดเจน
    2 เพื่อร่วมกันจัดการให้มีการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าไม้
    ตัวชี้วัด : มีฝายชะลอน้ำ จำนวน 3 จุด -มีพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมได้รับการฟื้นฟู จำนวน15ไร่มีพันธ์ไม้ใช้สอยเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 1,500 ต้น -มีชุดลาดตระเวณเพื่อดูแลพันธ์ไม้และเฝ้าระวังการทำลายป่า จำนวน 7 คนเดินลาดตระเวณเดือนละครั้ง -มีสื่อประชาสัมพันธ์/สื่อรณรงค์/ป้ายแสดงกฏกติกา ไม่ต่ำกว่า 10 ชิ้น -มีกฏกติกาของชุมชนในการดูแลรักษาป่า
    1. มีฝายชะลอน้ำ จำนวน 3 จุด
    2. มีพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมได้รับการฟื้นฟู จำนวน15ไร่มีพันธ์ไม้ใช้สอยเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 1,500 ต้น
    3. มีชุดลาดตระเวณเพื่อดูแลพันธ์ไม้และเฝ้าระวังการทำลายป่า จำนวน 7 คนเดินลาดตระเวณเดือนละครั้ง -มีสื่อประชาสัมพันธ์/สื่อรณรงค์/ป้ายแสดงกฏกติกา ไม่ต่ำกว่า 10 ชิ้น
    3 เพื่อพัฒนากลุ่มและองค์กรในชุมชนให้สามารถร่วมกันบริหารและจัดการทรัพยากรป่าไม้
    ตัวชี้วัด : มีคณะทำงานที่ร่วมกันรับผิดชอบการดำเนินงานตามโครงการ จำนวน 15 คน -มีกลไกในการบริหารจัดการชุมชนโดยรูปแบบสภาชุมชนผ่านการประชุมหมู่บ้าน
    1. มีกฏกติกาของชุมชนในการดูแลรักษาป่า
    2. มีคณะทำงานที่ร่วมกันรับผิดชอบการดำเนินงานตามโครงการ จำนวน 15 คน
    3. มีกลไกในการบริหารจัดการชุมชนโดยรูปแบบสภาชุมชนผ่านการประชุมหมู่บ้าน
    4 เพื่อการบริหารจัดการและกาารติดตามประเมินผลโครงการ
    ตัวชี้วัด : ำนวนครั้งในการเข้าร่วมกิจกรรมกับ สสส. และ สจรส.

    เข้าร่วมประชุมจัดทำรายงานกับ สจรส.จำนวน 4 ครั้ง 1. จัดทำรายงานความก้าวหน้า 2. สังเคราะห์ข้อมูล 3. เตรียมเอกสารรายงานการเงิน 4. จัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) 1.

    เพื่อสร้างฐานข้อมูลสิ่งมีคุณค่าในป่าต้นน้ำ คลองเพลี๊ยะและคืนข้อมูลให้คนในชุมชนได้เรียนรู้และร่วมกันจัดทำแผนการจัดการป่า (2) เพื่อร่วมกันจัดการให้มีการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าไม้ (3) เพื่อพัฒนากลุ่มและองค์กรในชุมชนให้สามารถร่วมกันบริหารและจัดการทรัพยากรป่าไม้ (4) เพื่อการบริหารจัดการและกาารติดตามประเมินผลโครงการ

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    ส่วนที่ 3 ประเมินคุณค่าโครงการ

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ

    ชื่อโครงการ ป่าฟื้น คนฟื้น ที่บ้านทุ่งยูง

    รหัสโครงการ 57-01438 รหัสสัญญา 57-00-0951 ระยะเวลาโครงการ 1 มิถุนายน 2557 - 30 มิถุนายน 2558

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นการคุณค่าที่เกิดจากโครงการในมิติต่อไปนี้

    • ความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพและนวัตกรรมเชิงระบบสุขภาพชุมชน
    • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีผลต่อสุขภาวะ
    • การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ
    • ผลกระทบเชิงบวกและนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาวะชุมชน
    • กระบวนการชุมชน
    • มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่

    1. เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้ใหม่ / องค์ความรู้ใหม่

    -รู้จักพันธุ์ไม้ท้องถิ่น สัตว์ธรรมชาติเพิ่มมากขึ้น -รู้จักประโยชน์ของพืชชนิดต่างๆ

    แบบสำรวจพันธุ์ไม้ สัตว์ ของสมาชิกโครงการ

    สร้างความตระหนักเรื่องการดูแลรักษาทรัพยากรป่าต้นนัำและสัตว์ป่า

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สิ่งประดิษฐ์ / ผลผลิตใหม่

    ป่าต้นน้ำเพิ่มขึ้น

    พื้นที่ป่าต้นน้ำคลองเพลี๊ยะ

    ดำเนินการดูแลรักษาพื้นที่ป่าต้นน้ำให้คงสภาพหรือให้เพิ่มขึ้น

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. กระบวนการใหม่

    กระบวนการวางแผนการทำงาน

    บันทึกการประชุมประจำเดือนของหมู่บ้าน

    ปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานให้เป็นระบบมากขึ้นในทุกกิจกรรมของชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. วิธีการทำงาน / การจัดการใหม่

    เกิดการเรียนรู้ขั้นตอนการทำงาน การปลูกป่าต้นน้ำ

    รูปถ่าย

    ต้องปลูกป่าเพิ่มเติมเมื่อมีโอกาส

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การเกิดกลุ่ม / โครงสร้างในชุมชนใหม่

    เกิดกลุ่มจับสัตว์น้ำแบบอนุรักษ์

    -รูปถ่าย -สอบถาม

    สนับสนุนให้จับสัตว์น้ำแบบอนุรักษ์

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. แหล่งเรียนรู้ใหม่

    -ป่าต้นน้ำคลองเพลี๊ยะ -แหล่งน้ำบริเวณคลองเพลี๊ยะ

    -รูปถ่าย -ตรวจสอบสภาพจริง

    สนับสนุนให้ใช้แหล่งเรียนรู้บ่อยครั้งขึ้น

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    99. อื่นๆ

     

     

     

    2. เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล

    ดูแลความปลอดภัยของตนเองในการใช้แหล่งเรียนรู้ต้นน้ำคลองเพลี๊ยะ

    สอบถาม

    สนับสนุนให้ใช้แหล่งเรียนรู้บ่อยครั้งขึ้

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การบริโภค

    สมาชิกโครงการใช้พืชผักพื้นบ้านประกอบอาหารมากขึ้น

    -สอบถาม -ตรวจสอบจากสภาพจริง

    ให้ความรู้สรรพคุณทางยาจากสมุนไพรพื้นบ้าน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การออกกำลังกาย

    สมาชิกโครงการเข้าร่วมกิจกรรมออกกำลังกายกับชมรมออกกำลังกายบ้านทุ่งยูงเพิ่มขึ้น

    ตรวจสอบจากการปฏิบัติกิจกรรม

    สนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการออกกำลังกาย

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. การลด ละ เลิก อบายมุข เช่น การพนัน เหล้า บุหรี่

    สมาชิกโครงการใช้เวลากับอบายมุขน้อยลง

    สังเกตจากการใช้ชีวิตประจำวัน

    ส่งเสริมให้ใช้เวลาว่างในการดูแลพืชผักสมุนไพรในบริเวณบ้าน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การลดพฤติกรรมเสี่ยง เช่น พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การขับรถโดยประมาท

    เยาชนใช้เวลาในการมั่วสุมน้อยลง

    สังเกตจากการใช้ชีวิตประจำวัน

    ส่งเสริมให้ใช้เวลาว่างในการเล่นกีฬาบริเวณสนามโรงเรียนชุณหะวัณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. การจัดการอารมณ์ / ความเครียด

    การถกเถียง ทะเลาะเบาะแว้งในชุมชน ลดลง

    -สังเกตจากการใช้ชีวิตประจำวัน -สอบถาม

    ให้ความรู้ด้านการสร้างสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน โดยใช้สื่อต่างๆ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. การดำรงชีวิต / วิถีชีวิต เช่น การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น / สมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเอง

    สมาชิกในชุมชนใช้พืชผักสมุนไพรพื้นบ้านประกอบอาหารมากขึ้น

    -สังเกตจากการใช้ชีวิตประจำวัน -สอบถาม

    ส่งเสริมให้ใช้เวลาว่างในการดูแลพืชผักสมุนไพรในบริเวณบ้าน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    8. พฤติกรรมการจัดการตนเอง ครอบครัว ชุมชน

    สมาชิกในครอบครัวมีเวลาให้กันและกันมากขึ้น

    -สังเกตจากการใช้ชีวิตประจำวัน -สอบถาม

    ชื่นชม ให้กำลังใจกับครอบครัวที่อบอุ่น

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    9. อื่นๆ

     

     

     

    3. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. กายภาพ เช่น มีการจัดการขยะ ป่า น้ำ การใช้สารเคมีเกษตร และการสร้างสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนที่ถูกสุขลักษณะ

    -ชุมชนใช้สารเคมีเกษตรลดลง -ขยะในชุมชนลดลง -จัดการครัวเรือนที่ถูกสุขลักษณะมากขึ้น

    -สังเกต -เกียรติบัตรหมู่บ้านปลอดลูกน้ำยุงลาย

    ประกวดครัวเรือนถูกสุขลักษณะ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สังคม เช่น มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ลดการเกิดอุบัติเหตุ ครอบครัวอบอุ่น การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อเด็ก เยาวชน และกลุ่มวัยต่าง ๆ มีพื้นที่สาธารณะ/พื้นที่ทางสังคม เพื่อเอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชน มีการใช้ศาสนา/วัฒนธรรมเป็นฐานการพัฒนา

    -มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน -สมาชิกในชุมชนร่วมกิจกรรมทางศาสนามากขึ้น

    -รูปถ่าย -สังเกตจากเด็กและเยาวชนทำกิจกรรมกีฬา

    -สนับสนุนการทำกิจกรรมทางศาสนา -สนับสนุนอุปกรณ์กีฬา

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. เศรษฐกิจสร้างสรรค์สังคม /สร้างอาชีพ / เพิ่มรายได้

    ชุมชนใช้พืชผักพื้นบ้านประกอบอาหารมากขึ้น ส่งผลให้ผักมีราคาดีขึ้น

    -สังเกต -สัมภาษณ์สมาชิกในชุมชน

    ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้ความรู้ด้านโภชนาการจากพืชสมุนไพรใกล้ตัว

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการบริการสุขภาพทางเลือก และมีช่องทางการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ

    ภาวะทุพโภชนาการของเด็กลดลง

    -ข้อมูลจาก อสม. -ข้อมูลจาก รพ.สต.บ้านเขาปู่

    ให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในเรื่องโภชนาการในเด็ก

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. อื่นๆ

     

     

     

    4. การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. มีกฎ / กติกา ของกลุ่ม ชุมชน

    -กติกาการใช้น้ำ -ข้อตกลงการใช้ไม้ธรรมชาติ -ข้อตกลงการจับสัตว์น้ำ

    บันทึกการประชุมหมู่บ้าน

    มีมาตรการทางสังคม

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. มีมาตรการทางสังคมของกลุ่ม ชุมชน

    มาตรการลงโทษผู้ละเมิดกฎ กติกา

    บันทึกการประชุมหมู่บ้าน

    มีมาตรการทางสังคม

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. มีธรรมนูญของชุมชน

    -กติกาการใช้น้ำ -ข้อตกลงการใช้ไม้ธรรมชาติ -ข้อตกลงการจับสัตว์น้ำ -มาตรการลงโทษผู้ละเมิดกฎ กติกา

    บันทึกการประชุมหมู่บ้าน

    ใช้มาตรการทางสังคมเป็นเครื่องมือกำกับ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. อื่นๆ เช่น ออกเป็นข้อบัญญัติท้องถิ่น ฯลฯ

     

     

     

    5. เกิดกระบวนการชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. เกิดการเชื่อมโยงประสานงานระหว่างกลุ่ม / เครือข่าย (ใน และหรือนอกชุมชน)

    ประสานกับกับอุทยานแห่งชาติเขาปู่ เขาย่า

    หนังสือประสานงาน รูปถ่าย

    ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเรียนรู้การแก้ปัญหาชุมชน (การประเมินปัญหา การวางแผน การปฏิบัติการ และการประเมิน)

    เรียนรู้การวางแผนการปฏิบัติงานการประเมินผลร่วมกัน

    บันทึกการประชุมคณะทำงาน

    ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ประโยชน์จากทุนในชุมชน เช่น การระดมทุน การใช้ทรัพยากรบุคคลในชุมชน

    ระดมทรัพยากรบุคคลในชุมชน

    ตรวจสอบจากคณะทำงาน

    สร้างขวัญและกำลังใจให้แก่กันและกัน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกลุ่มและชุมชนที่เกิดจากโครงการอย่างต่อเนื่อง

    ต่อยอดโครงการด้วยการเฝ้าระวัง ดูแลทรัพยากรธรรมชาติ

    รูปถ่าย

    สร้างขวัญและกำลังใจให้แก่กันและกัน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. เกิดกระบวนการจัดการความรู้ในชุมชน

    กระบวบการจัดการน้ำกระบวนการใช้ไม้จากธรรมชาติ

    บันทึกการประชุมหมู่บ้าน

    ใช้มาตรการทางสังคม กำกับดูแล

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. เกิดทักษะในการจัดการโครงการ เช่น การใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ การทำแผนปฏิบัติการ

    การใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ การทำแผนปฏิบัติการ

    บันทึกการประชุมหมู่บ้าน

    แลกเแลี่ยนเรียนรู้จากองค์กรที่เกี่ยวข้อง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. อื่นๆ

     

     

     

    6. มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเอง / กลุ่ม / ชุมชน

    ชื่นชมผลการปฏิบัติกิจกรรม

    ชิ้นงานของเด็กและเยาวชน

    สร้างขวัญและกำลังใจ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเห็นประโยชน์ส่วนรวมและส่วนตนอย่างสมดุล

    เด็กและเยาวชนมีจิตอาสา

    สังเกต

    สร้างขวัญและกำลังใจ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย และพอเพียง

    สมาชิกในชุมชนใช้พืช สัตว์จากธรรมชาติประกอบอาหาร

    สังเกตการใช้ชีวิตประจำวัน

    ชื่นชมการหาสัตว์น้ำแบบอนุรักษ์

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. ชุมชนมีความเอื้ออาทร

    เด็กแลชะเยาวชน ช่วยเหลือกันในการปลูกป่าต้นน้ำคลองเพลี๊ยะ

    รูปถ่าย

    ชื่นชมการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. มีการตัดสินใจโดยใช้ฐานปัญญา

    วางแผนการทำงานโดยใช้ข้อมูลที่มีอยู่

    บันทึกการประชุม

    การรายงานความก้าวหน้าของกิจกรรม

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. อื่นๆ

     

     

     

    ป่าฟื้น คนฟื้น ที่บ้านทุ่งยูง จังหวัด พัทลุง

    รหัสโครงการ 57-01438

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นายสมศักดิ์ สุขยูง )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด