แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


“ สานมือ รวมพลังสร้างสุขภาพบ้านหลาไม้ไผ่ ”

หมู่ที่ 8 บ้านศาลาไม้ไผ่ ต.ท่าแค อ.เมือง จ.พัทลุง

หัวหน้าโครงการ
นายกฤษกร มาตีด

ชื่อโครงการ สานมือ รวมพลังสร้างสุขภาพบ้านหลาไม้ไผ่

ที่อยู่ หมู่ที่ 8 บ้านศาลาไม้ไผ่ ต.ท่าแค อ.เมือง จ.พัทลุง จังหวัด พัทลุง

รหัสโครงการ 57-01448 เลขที่ข้อตกลง 57-00-0737

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 20 พฤษภาคม 2557 ถึง 19 มิถุนายน 2558


กิตติกรรมประกาศ

"สานมือ รวมพลังสร้างสุขภาพบ้านหลาไม้ไผ่ จังหวัดพัทลุง" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน หมู่ที่ 8 บ้านศาลาไม้ไผ่ ต.ท่าแค อ.เมือง จ.พัทลุง

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
สานมือ รวมพลังสร้างสุขภาพบ้านหลาไม้ไผ่



บทคัดย่อ

โครงการ " สานมือ รวมพลังสร้างสุขภาพบ้านหลาไม้ไผ่ " ดำเนินการในพื้นที่ หมู่ที่ 8 บ้านศาลาไม้ไผ่ ต.ท่าแค อ.เมือง จ.พัทลุง รหัสโครงการ 57-01448 ระยะเวลาการดำเนินงาน 20 พฤษภาคม 2557 - 19 มิถุนายน 2558 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 210,400.00 บาท จาก เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 100 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

 

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. 1. เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ของคนในชุมชนให้เห็นความสำคัญและเกิดความตระหนักในผลกระทบของปัญหาโรคอ้วน
  2. 2.เพื่อส่งเสริมให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาโรคอ้วน
  3. เพื่อส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพกลไกในการบริหารจัดการปัญหาโรคอ้วน
  4. เพื่อการบริหารจัดการและการติดตามประเมิณผล

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

     


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. ประชุมปฐมนิเทศโครงการ

    วันที่ 15 มิถุนายน 2557 เวลา 09:00-16.30 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    โครงการพัฒนาศักยภาพ ติดตาม ประเมินผล และสังเคราะห์ความรู้โครงการร่วมสร้างชุมชนและท้องถิ่นให้น่าอยู่ในภาคใต้ จัดปฐมนิเทศผู้รับผิดชอบโครงการร่วมสร้างชุมชนและท้องถิ่นให้น่าอยู่

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้ปฎิทินโครงการ

     

    2 2

    2. ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 1

    วันที่ 26 มิถุนายน 2557 เวลา 13.00-15.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดประชุมคณะทำงานเพื่อชี้แจงโครงการและวางแผนการดำเนินงาน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะทำงานโครงการมีความเข้าใจในโครงการและร่วมกันวางแผนการดำเนินงาน มอบหมายให้แต่ละคนรับผิดชอบฝ่ายต่างๆ

     

    19 19

    3. ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 2

    วันที่ 12 กรกฎาคม 2557 เวลา 13:00-15.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมเตรียมการวางแผนการดำเนินงาน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    วางแผนกิจกรรมการออกแบบสำรวจข้อมูลพฤติกรรมการกิน การออกกำลังกาย มอบหมายให้ อสม.ร่วมกับ จนท.รพ.สต.บ้านปลวกร้อน ออกแบบ

     

    19 19

    4. ประชุมออกแบบสำรวจข้อมูลพฤติกรรมการกิน การออกกำลังกาย

    วันที่ 25 กรกฎาคม 2557 เวลา 09:00-15.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดประชุม นำแบบสำรวจตัวอย่างมานำเสนอ และเพิ่มเติมข้อมูล

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะทำงานได้ออกแบบและได้ข้อสรปแบบสำรวจข้อมูลด้านพฤติกรรมการกิน ด้านการออกกำลังกาย และด้านสุขภาพของคนในชุมชนบ้านศาลาไม้ไผ่ และมอบหมายให้ อสม.ไปดำเนินการเรียบเรียงและจ้างพิมพ์ต่อไป

     

    25 25

    5. สำรวจข้อมูลครัวเรือน

    วันที่ 27 กรกฎาคม 2557 เวลา 09:00-16.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    อสม.และนักเรียน จับคู่กัน เดินสำรวจข้อมูลครัวเรือน ตามแบบสำรวจ จนครบตามที่กำหนด

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    นักเรียน และ อสม.ได้เดินสำรวจข้อมูลครัวเรือน ครบทุกหลังคาเรือนจำนวน 210 ชุด

     

    20 40

    6. ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 3

    วันที่ 3 สิงหาคม 2557 เวลา 13:00-15.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมคณะทำงาน เพื่อวางแผนการดำเนินงาน มอบหมายผู้รับผิดชอบ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้วางแผนการดำเนินงาน และมอบหมายให้คณะทำงานไปร่วมประชุมที่ทะเลน้อย 3 คน และติดตามแบบสำรวจครัวเรือน จาก อสม.เพื่อนำไปวิเคราะห์ต่อไป

     

    19 15

    7. จัดทำป้ายโครงการ

    วันที่ 4 สิงหาคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ไม่มี

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้ป้ายไวนิล 1 ป้าย

     

    0 0

    8. พัฒนาศักยภาพคณะทำงานโครงการ

    วันที่ 7 สิงหาคม 2557 เวลา 09:00-16.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดอบรมให้ความรู้การคีย์ข้อมูลในเวปไซต์และการทำรายงานการเงิน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะทำงานสามารถคีย์ข้อมูลบนเวปไซต์และการทำรายงานการเงินได้อย่างถูกต้อง

     

    3 3

    9. หักค่าเปิดบัญชี

    วันที่ 17 สิงหาคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ไม่มี

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ไม่มี

     

    0 0

    10. ประชุมวิเคราะห์ข้อมูลจากการสำรวจ

    วันที่ 4 กันยายน 2557 เวลา 09:00- 15.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    รวบรวมแบบสำรวจข้อมูลครัวเรือน นำมาวิคราะห์ และสรุปผล

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะทำงานและ จนท.ได้ร่วมกันวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสำรวจข้อมูลพฤติกรรมการกิน การออกกำลังกาย และสุขภาพของคนในชุมชนบ้านศาลาไม้ไผ่ ผลการวิเคราะห์ข้อมูลสรุปพอสังเขปดังนี้ 1.ข้อมูลทั่วไป ผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 205 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 71.7 อายุส่วนใหญ่อยู่ในช่วง 41-50 ปี คิดเป็นร้อยละ 23.4 สถานถาพสมรสส่วนใหญ่ คู่ คิดเป็นร้อยละ 78.5 ระดับการศีกษาส่วนใหญ่ประถมศึกษา คิดเป็นร้อยละ 68.8 รายได้ส่วนใหญ่ อยู่ในช่วง 10,001-20,000 บาทต่อเดือน คิดเป็นร้อยละ 40.5 2.ข้อมูลด้านพฤติกรรมการกิน การออกกำลังกาย และสุขภาพ ผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 205 คน -1.กินขนมกรุบกรอบ เช่น ขนมถุง เป็นต้น ส่วนใหญ่มีระดับพฤติกรรม ไม่เคย ร้อยละ 46.3 -2.กินขนมทอด เช่น กล้วยทอด มันทอด เป็นต้น ส่วนใหญ่มีระดับพฤติกรรม บางครั้ง ร้อยละ 75.6 -3.กินอาหารมื้อเช้า เป็นมื้อหลัก ส่วนใหญ่มีระดับพฤติกรรม เป็นประจำร้อยละ 78.0 -4.กินผักมากกว่าวันละ 3 ทัพพี ส่วนใหญ่มีระดับพฤติกรรม เป็นประจำร้อยละ 62.9 -5.กินผลไม้วัละ 2-3 ส่วน (หนึ่งส่วนเท่ากับ 6-8 คำ) ส่วนใหญ่มีระดับพฤติกรรม เป็นประจำ ร้อยละ 51.7 -6.กินเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน สัปดาห์ละ 2-3 มื้อ ส่วนใหญ่มีระดับพฤติกรรม บางครั้ง ร้อยละ 67.3 -7.ดื่มนมรสจืด หรือนมถั่วเหลืองผสมงาดำรสจืด วัละ 1-2 แก้ว ส่วนใหญ่มีระดับพฤติกรรม บางครั้ง ร้อยละ 48.8 -8.กินอาหารมื้อเย็นห่างจากเวลานอน ไม่น้อยกว่า 4 ชม. ส่วนใหญ่มีระดับพฤติกรรม บางครั้ง ร้อยละ 38.0 -9.กินอาหารประเภท ต้ม นึ่ง ลวก อบ ยำ หรือ หมก ส่วนใหญ่มีระดับพฤติกรรม บางครั้ง ร้อยละ 81.0 -10.หลีกเลี่ยงของหวาน และขนมที่มีแป้งและน้ำตาลมาก ส่วนใหญ่มีระดับพฤติกรรม บางครั้ง ร้อยละ 78.5 -11.กินอาหารรสจืด ส่วนใหญ่มีระดับพฤติกรรม บางครั้ง ร้อยละ 47.3 -12.ดื่มน้ำอัดลมหรือน้ำหวาน ส่วนใหญ่มีระดับพฤติกรรม บางครั้ง ร้อยละ 55.6 -13.อารมณ์ดี ไม่เครียด ส่วนใหญ่มีระดับพฤติกรรม บางครั้ง ร้อยละ 52.7 -14.นอนหลับไม่น้อยกว่าวันละ 7-8 ชม ส่วนใหญ่มีระดับพฤติกรรม เป็นประจำ ร้อยละ 53.7 -15.ออกกำลังกายสัปดาห์ละ 5 วัน หรือสัปดาห์ละ 5 ครั้ง ส่วนใหญ่มีระดับพฤติกรรม บางครั้ง ร้อยละ 52.7 -16.ออกกำลังกายวันละ 30 นาที ส่วนใหญ่มีระดับพฤติกรรม บางครั้ง ร้อยละ 51.2 -17.ขณะออกกำลังกาย หายใจเร็วขึ้นกว่าปกติ และเหงื่อซึม ส่วนใหญ่มีระดับพฤติกรรม บางครั้ง ร้อยละ 44.9 3.พฤติกรรมเพิ่มเติม -ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ ไม่สูบบุหรี่ คิดเป็นร้อยละ 71.7
    -ส่วนใหญ่ไม่ดื่มกาแฟ คิดเป็นร้อยละ 65.9
    -การออกกำลังกายส่วนใหญ่ เดิน คิดเป็นร้อยละ 87.8 4.สำรวจวิธีการได้มาของอาหารในครัวเรือน*** จากอาหารทั้งหมด 26 ชนิด*** -อาหารที่ทำได้เอง/ปลูกกินเอง ส่วนใหญ่ 11-15 ชนิด คิดเป็นร้อยละ 49.8 -อาหารที่ต้องซื้อ ส่วนใหญ่ 11- 15 ชนิด คิดเป็น้อยละ 72.2

     

    19 19

    11. ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 4

    วันที่ 6 กันยายน 2557 เวลา 13.00-15.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมคณะทำงาน และกำหนดจัดกิจกรรมมอบหมายหน้าที่การทำงาน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้กำหนดจัดกิจกรรมคืนข้อมูลให้กับชุมชน ในวันที่ 7 กันยายน  2557 ณ ห้องประชุมหมู่บ้าน และแบ่งงานรับผิดชอบฝ่ายต่างๆ

     

    19 19

    12. ชี้แจงโครงการและคืนข้อมูลให้กับชุมชน

    วันที่ 7 กันยายน 2557 เวลา 09:00-15.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เปิดเวที โดยนายเสณี  จ่าวิสูตร ชี้แจงโครงการ และคืนข้อมูลให้กับชุมชนโดยนายประเทือง  อมรวิริยะชัย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ชาวบ้านได้รับทราบที่มาของโครงการและกิจกรรมที่ต้องทำ งบประมาณที่ได้รับและระยะเวลาของโครงการ และได้รับทราบข้อมูลจากการสำรวจทุกครัวเรือน ดังนี้ 1.ข้อมูลทั่วไป ผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 205 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 71.7 อายุส่วนใหญ่อยู่ในช่วง 41-50 ปี คิดเป็นร้อยละ 23.4 สถานถาพสมรสส่วนใหญ่ คู่ คิดเป็นร้อยละ 78.5 ระดับการศีกษาส่วนใหญ่ประถมศึกษา คิดเป็นร้อยละ 68.8 รายได้ส่วนใหญ่ อยู่ในช่วง 10,001-20,000 บาทต่อเดือน คิดเป็นร้อยละ 40.5 2.ข้อมูลด้านพฤติกรรมการกิน การออกกำลังกาย และสุขภาพ ผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 205 คน -1.กินขนมกรุบกรอบ เช่น ขนมถุง เป็นต้น ส่วนใหญ่มีระดับพฤติกรรม ไม่เคย ร้อยละ 46.3 -2.กินขนมทอด เช่น กล้วยทอด มันทอด เป็นต้น ส่วนใหญ่มีระดับพฤติกรรม บางครั้ง ร้อยละ 75.6 -3.กินอาหารมื้อเช้า เป็นมื้อหลัก ส่วนใหญ่มีระดับพฤติกรรม เป็นประจำร้อยละ 78.0 -4.กินผักมากกว่าวันละ 3 ทัพพี ส่วนใหญ่มีระดับพฤติกรรม เป็นประจำร้อยละ 62.9 -5.กินผลไม้วัละ 2-3 ส่วน (หนึ่งส่วนเท่ากับ 6-8 คำ) ส่วนใหญ่มีระดับพฤติกรรม เป็นประจำ ร้อยละ 51.7 -6.กินเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน สัปดาห์ละ 2-3 มื้อ ส่วนใหญ่มีระดับพฤติกรรม บางครั้ง ร้อยละ 67.3 -7.ดื่มนมรสจืด หรือนมถั่วเหลืองผสมงาดำรสจืด วัละ 1-2 แก้ว ส่วนใหญ่มีระดับพฤติกรรม บางครั้ง ร้อยละ 48.8 -8.กินอาหารมื้อเย็นห่างจากเวลานอน ไม่น้อยกว่า 4 ชม. ส่วนใหญ่มีระดับพฤติกรรม บางครั้ง ร้อยละ 38.0 -9.กินอาหารประเภท ต้ม นึ่ง ลวก อบ ยำ หรือ หมก ส่วนใหญ่มีระดับพฤติกรรม บางครั้ง ร้อยละ 81.0 -10.หลีกเลี่ยงของหวาน และขนมที่มีแป้งและน้ำตาลมาก ส่วนใหญ่มีระดับพฤติกรรม บางครั้ง ร้อยละ 78.5 -11.กินอาหารรสจืด ส่วนใหญ่มีระดับพฤติกรรม บางครั้ง ร้อยละ 47.3 -12.ดื่มน้ำอัดลมหรือน้ำหวาน ส่วนใหญ่มีระดับพฤติกรรม บางครั้ง ร้อยละ 55.6 -13.อารมณ์ดี ไม่เครียด ส่วนใหญ่มีระดับพฤติกรรม บางครั้ง ร้อยละ 52.7 -14.นอนหลับไม่น้อยกว่าวันละ 7-8 ชม ส่วนใหญ่มีระดับพฤติกรรม เป็นประจำ ร้อยละ 53.7 -15.ออกกำลังกายสัปดาห์ละ 5 วัน หรือสัปดาห์ละ 5 ครั้ง ส่วนใหญ่มีระดับพฤติกรรม บางครั้ง ร้อยละ 52.7 -16.ออกกำลังกายวันละ 30 นาที ส่วนใหญ่มีระดับพฤติกรรม บางครั้ง ร้อยละ 51.2 -17.ขณะออกกำลังกาย หายใจเร็วขึ้นกว่าปกติ และเหงื่อซึม ส่วนใหญ่มีระดับพฤติกรรม บางครั้ง ร้อยละ 44.9 3.พฤติกรรมเพิ่มเติม -ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ ไม่สูบบุหรี่ คิดเป็นร้อยละ 71.7
    -ส่วนใหญ่ไม่ดื่มกาแฟ คิดเป็นร้อยละ 65.9
    -การออกกำลังกายส่วนใหญ่ เดิน คิดเป็นร้อยละ 87.8 4.สำรวจวิธีการได้มาของอาหารในครัวเรือน*** จากอาหารทั้งหมด 26 ชนิด*** -อาหารที่ทำได้เอง/ปลูกกินเอง ส่วนใหญ่ 11-15 ชนิด คิดเป็นร้อยละ 49.8 -อาหารที่ต้องซื้อ ส่วนใหญ่ 11- 15 ชนิด คิดเป็น้อยละ 72.2

     

    100 78

    13. รณรงค์การออกกำลังกาย

    วันที่ 10 กันยายน 2557 เวลา 15:00-17.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เตรียมความพร้อมที่ศาลาหมู่บ้าน ปล่อยขบวนเดิน วิ่ง และปั่ฯยายน รณรงค์สร้างกระแสการออกกำลังในชุมชน รอบหมู่บ้าน 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ประชาชนได้ร่วม เดิน วิ่ง และปั่นจักรยาน รณรงค์สร้างกระแสการออกกำลังกายในชุมชน

     

    79 71

    14. แลกเปลี่ยนเรียนรู้ต่างพื้นที่ เรื่องการจัดการปัญหาโรคอ้วน

    วันที่ 19 กันยายน 2557 เวลา 08.00-18.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    นัดขึ้นรถทัวร์ปรับอากศที่ ศาลาหมู่บ้านเวลา 08.00 น.และออกเดินทาง ไปร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ รพ.สต.สี่แยกสวนป่า ตำบลวังหิน อำเภอบางขัน จ.นครศรีธรรมราช ถึงสถานที่รพ.สต.สี่แยกสวนป่า เวลา 10.00 น.ต้อนรับโดยนางจิตตรา  แซ่ซี้ อสม.ดีเด่นระดับประเทศ รับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม หลังจากนั้นได้ฟังบรรยายสรุปจากวิทยากร พักรับประทานอาหารเที่ยง ช่วงบ่ายร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันและเยี่ยมชมศูนย์เรียนรู้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ฟังบรรยายสรุปจากทีมวิทยากรของ รพ.สต.บ้านสี่แยกสวนป่า ที่สำคัญๆ คือการรวมตัวสร้างศูนย์เรียนเรียนรู้(โรงเรียน อสม.) จากการบริจาคเงิน ของอสม.และช่วยกันสร้างจนเสร็จ หลักการทำงานต่างๆ ปัญหาโรคอ้วน วิธีการดำเนินงานแก้ปัญหา มีกิจกรรมหลักคือ มีคู่บัดดี มีแบบบันทึกชีวิต บันทึกน้ำหนัก,ส่วนสูง, มีกิจกรรมคว่ำครัว เยี่ยมบ้านในครัวเรือน ลดหวาน ลดเค็ม ลดมัน และกิจกรรมรู้แจ้งเห็นจริงจากเหตุการณ์ โดยไปดูคนไข้เบาหวานที่คลินิค มีนตวักรรม ผลงานเด่น และ อสม.ดีเด่นระดับปรเทศ มีศูนย์เรียนรู้ ที่ รพ.สต.บ้านสี่แยกสวนป่า เช่น การเลี้ยงกบ เลี้ียงปลา เลี้ยงไก่ ปลูกผักปลอดสารพิษ การคัดแยกขยะ ฯลฯ ผู้ไปร่วมกิจกรรมในวันนี้มีความพึงพอใจมาก เช่นจากการต้อนรับ สถานที่ดูงาน ความรู้ที่ได้รับ และสิ่งที่ได้ในวันนี้ จะต้องนำไปปรับใช้กับพื้นที่บ้านศาลาไม้ไผ่และขยายผลไปยังบ้านอื่นๆ ที่ไม่ได้มาร่วมดูงานในวันนี้

     

    50 40

    15. ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 5

    วันที่ 6 ตุลาคม 2557 เวลา 13:00-15.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมคณะทำงาน วางแผนการดำเนินงาน จัดกิจกรรมให้ความรู้คนอ้วนและกลุ่มเสี่ยงในวันที่ 12 ตุลาคม 2557 และมอบหมายหน้าที่ให้ผู้รับผิดชอบฝ่ายต่างๆ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    กำหนดวันที่อบรมให้ความรู้คนอ้วนและกลุ่มเสี่ยง ในวันที 12 ตุลาคม  2557 โดยเชิญวิทยากรนางเอมอร  ชะหนู นักวิชาการสาธารณสุข รพ.สต.บ้านไสนายขัน อำเภอเขาชัยสน

     

    19 19

    16. ประชุมให้ความรู้แก่กลุ่มคนอ้วนและกลุ่มเสี่ยง

    วันที่ 12 ตุลาคม 2557 เวลา 09:00-16.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เปิดประชุมโดยผู้ใหญ่บ้าน และมีนายกเทศมนตรีตำบลท่าแค ร่วมพบปะผู้เข้าประชุม หลังจากนั้นพิธีกร เชิญวิทยากร นางเอมอร ชะหนู นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ จาก รพ.สต.สี่แยกไสนายขัน อำเภอเขาชัยสน พูดบรรยายโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การล้างผักที่ปลอดภัย และมีเวทีทางด้านนอกลานมีกิจกรรมการขายอาหารการประมาณ 20 ร้าน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. นายกแจ้งเรื่องกิจกรรมเดือนม.ค.ปี 58 มหกรรมกวนข้าวยาโคของตำบลท่าแค วันที่ 16-18 ม.ค.58 มีกิจกรรม ดังนี้
    • วันที่ 16 กลุ่มของแม่บ้านท่าแค  งบประมาณ 50,000 บาท

    • วันที่ 17 กวนข้าวยาโค  งบประมาณ 250,000 บาท

    • วันที่ 18 กิจกรรมกองทุนหลักประกันสุขภาพ  งบประมาณ 50,000 บาท

    1. หัวข้อหลักที่บรรยายในวันนี้คือ 1.โรคเบาหวาน 2.โรคความดันโลหิตสูง 3.การล้างผัก

    2.1 โรคเบาหวาน เป็นการทำงานของตับอ่อน สาเหตุของโรคเบาหวานคุณหมอเอมอรบอกว่า บุคคลที่มีโอกาสเป็นโรคเบาหวานมากที่สุดคือ บุคคลที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสมคือ กินไม่เลือก อาการของโรคเบาหวาน ปัญสาวับ่อยขึ้น กระหายน้ำ และดื่มน้ำในปริมาณมากๆต่อครั้ง อ่อนเพลีย

    2.2 โรคความดันโลหิตสูง

    • ความหมาย > แรงดันของเลือดที่กระทำต่อผิวหนังหลอดเลือด
    • อาการ > มึน งง ตาพร่ามัว
    • สาเหตุ > ความอ้วน การสูบบุหรี่
    • โรคแทรกซ้อน โรคหัวใจ โรคไต

    • สุขภาพดีเริ่มที่ไหน คุณหมอเอมให้สังเกตุดูว่า คนในหมู่บ้านศาลาไม้ไผ่อยู่ในกลุ่มอะไร

    • เฝ้าระวังด้วย ปิงปองชีวิต 7 สี “สีขาวจะเป็นบุคคลสุขภาพดี”

    • สรุปเป้าหมายวันนี้ คือ จะทำอย่างไรให้คนศาลาไม้ไผ่กลับมามีสุขภาพที่ดีขึ้น หลักการที่สามารถนำไปใช้ได้ คือ หลัก 3 อ.  > 1.อาหาร 2.ออกกำลังกาย 3.อารมณ์

    • อันตรายของคนอ้วน คุณหมอแนะนำว่าการรับประทานอาหาร

      ผู้หญิงควรกินข้าว 6 ทัพพีต่อวัน      > ผู้ชายควรกินข้าว 10 ทัพพีต่อวัน

    • ทำอย่างไรที่จะให้เซลลูโลสหายไปจากเรา
    • เคล็ดลับการกินอาหาร > เราควรเลือกกินผัก 5 สีบ้าง

    • 3 อ ( ภารกิจพิชิตอ้วน พิชิตพุง )

    • 1.อาหาร  2.ออกกำลังกาย  3.อารมณ์

    • 3 ส  >  ส.สกัด คือ สกัดสั่งการกระตุ้นที่ทำให้หิว             ส.สะกด คือ สะกดใจไม่ให้กินเกิน ตั้งสติ สติมา ปัญญาเกิด             ส.สะกิด คือ สะกิดคนรอบข้างให้ช่วยกัน

    • 3 ไม่ >  ไม่กินข้าวแป้งมาก  >  ไม่กินหวาน  >  ไม่กินจุกจิก อาหารต่อจาน คือ 2:1:1 หมายความว่า  ผัก 2 ส่วน, ข้าว 1 ส่วน และกับข้าว 1 ส่วน

    1. การล้างผัก
    • 1.การแช่น้ำ – เริ่มด้วยการล้างผักรอบแรกให้สะอาดเสียก่อน หลังจากนั้นเด็กผักออกเป็นใบๆ แล้วนำมาแช่ในอ่างน้ำที่เตรียมไว้ประมาณ 15 นาที วิธีนี้จะช่วยลดสารพิษจากฆ่ายาแมลงได้ประมาณ 7-33%

    • 2.ล้างผักโดยให้น้ำไหลผ่าน – โดยเด็ดผักออกเป็นใบๆ นำมาใส่ในตะกร้าหรือตะแกรงโปร่ง แล้วเปิดน้ำให้แรงพอประมาณ ระหว่างล้างให้ใช้มือช่วยคลี่ใบผักและถูไปมาบนผิวใบของผักผลไม้ไปด้วยประมาณ 2 นาที วิธีนี้จะช่วยลดสารพิษจากยาฆ่าแมลงได้ประมาณ 25-63

    • 3.ปอกเปลือก – วิธีนี้ให้นำผักหรือผลไม้มาปอกเปลือกหรือการลอกใบผักชั้นนอกออก เช่น กะหล่ำปลี ฯลฯ โดยให้ลอกเปลือกหรือกาบด้านนอกออกทิ้งสัก 2-3 ใบ เพราะสารพิษส่วนใหญ่จะสะสมตกค้างบริเวณเปลือกด้านนอกหรือบริเวณกาบ แล้วจึงนำไปแช่ในน้ำสะอาดอีกประมาณ 5-10 นาที หลังจากนั้นก็ล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้งหนึ่ง วิธีนี้จะช่วยลดปริมาณของสารพิษตกค้างได้ประมาณ 27-72%

    • 4.ลวกผักหรือต้มผัก – ก่อนนำมาลวกให้นำผักมาล้างให้สะอาดเสียก่อน แล้วจึงนำมาลวกหรือต้ม โดยการลวกผักด้วยน้ำร้อนจะช่วยลดสารพิษได้ 50% ส่วนการต้มผักนั้นก็ช่วยลดสารพิษได้ประมาณ 50% เช่นกัน แต่การต้มผักจะมีสารพิษที่ตกค้างอยู่ในน้ำแกงได้ ดังนั้นจึงควรทิ้งน้ำที่ต้มครั้งแรกเสียก่อน แล้วจึงค่อยนำไปประกอบอาหารหรือรับประทาน (วิธีนี้เป็นอีกวิธีที่ดีและปลอดภัย แต่จะทำให้ผักและผลไม้เสียคุณค่าทางอาหารไปกับน้ำและความร้อน เช่น วิตามินบี1 วิตามินบี3 วิตามินซี เป็นต้น)

    • 5.น้ำเกลือ – ให้ใช้เกลือป่น 1 ช้อนโต๊ะ นำมาผสมกับน้ำ 4 ลิตร แล้วนำผักผลไม้มาแช่ทิ้งไว้ประมาณ 10 นาที หลังจากนั้นให้ล้างออกด้วยน้ำสะอาดอีกครั้งหนึ่ง จะช่วยลดปริมาณของสารพิษตกค้างได้ประมาณ 27-38% (วิธีนี้ไม่ค่อยเป็นที่นิยมมากนัก เพราะลดปริมาณของสารพิษได้ไม่มาก และอาจทำให้ผักและผลไม้มีรสเค็มได้

    • 6.น้ำซาวข้าว – ให้นำผักหรือผลไม้มาแช่ด้วยซาวข้าวประมาณ 10 นาที หลังจากนั้นให้ล้างออกด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง วิธีนี้จะช่วยลดปริมาณของสารพิษตกค้างได้ 29-38%

    • 7.น้ำปูนใส (ทำมาจากปูนแดงหรือปูนขาวที่กินกับหมาก) – ให้เตรียมน้ำปูนใสอิ่มตัวที่ผสมกับน้ำเท่าตัว แล้วนำมาผักมาแช่ในน้ำปูนใสประมาณ 10 นาที หลังจากนั้นให้ล้างออกด้วยสะอาดอีกครั้งหนึ่ง วิธีนี้จะช่วยลดปริมาณของสารพิษตกค้างได้ประมาณ 34-52%

    • 8.ผงปูนคลอรีน (Calcium Hypochlorite – แคลเซียมไฮโปคลอไรต์) – ให้ใช้ผงปูนคลอรีน 60% จำนวน 1/2 ช้อนชา (ความเข้มข้นของคลอรีน 50 พีพี เอ็ม) นำมาผสมกับน้ำ 20 ลิตร แล้วนำมาผักผลไม้มาแช่ทิ้งไว้ประมาณ 15-30 นาที วิธีนี้จะช่วยฆ่าเชื้อโรคได้ดีมาก

    • 9.ด่างทับทิม (Potassium permanganate – โพแทสเซียมเปอร์แมงกาเนต) – ให้ใช้ด่างทับทิมประมาณ 20-30 เกล็ด (ด่างทับทิมจะมีลักษณะเป็นผลึกหรือเกล็ดสีม่วง สามารถละลายน้ำได้) ที่ผสมกับน้ำ 4 ลิตร แล้วจึงนำผักมาแช่ไว้ในน้ำด่างทับทิมประมาณ 10 นาที หลังจากนั้นให้ล้างออกด้วยสะอาดอีกครั้งหนึ่ง วิธีนี้จะช่วยลดประมาณของสารพิษตกค้างได้ประมาณ 35-43

    • 10.น้ำส้มสายชู (Vinegar) – วิธีนี้ให้เตรียมน้ำสายชูที่มีกรดน้ำส้มความเข้มข้น 5% ของกรดน้ำส้ม นำมาผสมกับน้ำในอัตราส่วน 1 : 10 ส่วน แล้วจึงนำผักมาแช่ทิ้งไว้ประมาณ 10-15 นาที แล้วค่อยล้างออกด้วยน้ำสะอาดอีกรอบหนึ่ง จะช่วยลดสารพิษจากยาฆ่าแมลงได้ประมาณ 60-84

    • 11.เบกกิ้งโซดา หรือ โซเดียมไบคาร์บอเนต (Sodium bicarbonate) – บ้างเรียกว่า “โซดาทำขนมปัง” สามารถนำมาใช้ล้างสารพิษจากผักและผลไม้ได้ และเป็นวิธีที่นิยมกันมากด้วย ด้วยการใช้โซเดียมไบคาร์บอเนต 1/2 ช้อนโต๊ะ ผสมกับน้ำ 10 ลิตร แล้วนำผักหรือผลไม้มาแช่ไว้ประมาณ 15 นาที หลังจากนั้นค่อยล้างออกด้วยน้ำเปล่า 2 ครั้ง วิธีนี้จะช่วยลดสารพิษได้มากถึง 90-95% เลยทีเดียว

    • 12.ผงฟู (Baking Powder) (เบกกิ้งโซดา + แป้ง) – ให้ใช้ผงฟู 1/2 ช้อนโต๊ะ นำมาผสมกับน้ำอุ่นหรือน้ำธรรมดา 10 ลิตร แล้วนำผักหรือผลไม้มาแช่ทิ้งไว้ประมาณ 15 นาที แล้วค่อยล้างออกด้วยสะอาดอีกครั้งหนึ่ง วิธีนี้สามารถช่วยลดปริมาณของสารพิษจากยาฆ่าแมลงได้มากกว่า 90% และเป็นวิธีที่ปลอดภัยไม่เป็นอันตราย (เพราะผงฟูกินได้)

    • 13.น้ำยาล้างผัก – การแช่ผักในน้ำยาล้างผักที่มีวางจำหน่ายกันอยู่ทั่วไป ให้เลือกใช้ที่มีความเข้มข้นประมาณ 0.3% ในน้ำ 4 ลิตร และนำผักหรือผลไม้มาแช่ทิ้งไว้ประมาณ 15 นาที วิธีนี้จะช่วยลดปริมาณของสารพิษจากยาฆ่าแมลงได้ประมาณ 25-70

    • 14.น้ำยาล้างจานหรือน้ำยาล้างขวดนม – การล้างผลไม้โดยใช้น้ำยาล้างจานหรือน้ำยาล้างขวดนมกับฟองน้ำถูเบาๆ จะช่วยลดโอกาสการติดเชื้อที่อยู่บริเวณผิวของผลไม้ได้ และการล้างไข่ก่อนทำอาหารก็สามารถใช้วิธีนี้ได้เช่นกัน โดยวิธีนี้จะช่วยลดการปนเปื้อนของเชื้อได้มากกว่

     

    70 63

    17. ติดตามหนุนเสริมการดำเนินงาน

    วันที่ 5 พฤศจิกายน 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จนท.จาก สจรสมอ.สงขลา ร่วมกับทีมพี่เลี้ยงโครงการจังหวัดพัทลุง ตรวจสอบเอกสารหลักฐานการดำเนินงานตามโครงการ และข้อมูลบนเวปไซต์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เอกสารหลักฐานการเงิน และข้อมูลบนเวปไซต์ ถูกต้อง สามารถรายงาน งวด 1 ได้

     

    2 2

    18. ประชุมประจำเดือนครั้งที่ 6

    วันที่ 15 พฤศจิกายน 2557 เวลา 13.30-16.00 น น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ประชุมคณะทำงาน เพื่อวางแผนการดำเนินงานในการจัดกิจกรรมให้ความรู้คนอ้วนและกลุ่มเสี่ยง และมอบหมายหน้าที่ให้ผู้รับผิดชอบฝ่ายต่างๆ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้กำหนดวันที่จัดอบรมให้ความรู้คนอ้วนและกลุ่มเสี่ยง ในวันที 29 พฤศจิกายน2557 โดยเชิญวิทยากรนางเอมอร ชะหนู นักวิชาการสาธารณสุข รพ.สต.บ้านไสนายขัน อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง มาเป็นวิทยากรให้ความรู้ในวันนั้น

     

    19 19

    19. ประชุมส้รางเมนูอาหารและท่าทางออกกำลังกาย

    วันที่ 23 พฤศจิกายน 2557 เวลา 13:00- 16.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • เชิญวิทยากรจากมหาวิทยาลัยทักษิณวิทยาเขตพัทลุง มาสอนการออกแบบท่าทางการออกกำลังกาย และนักโภชนากรโรงพยาบาลพัทลุง แลกเปลี่ยนความรู้ คุณประโยชน์เมนูอาหารสำหรับคนอ้วนและกลุ่มเสี่ยง และสาธิตการทำอาหารสุขภาพ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้ท่าทางออกกำลังกายแบบแอโรบิค 15 นาที และเมนูอาหารเพื่อสุขภาพ ได้แก่
    1. น้ำพริกปลาทู ส่วนประกอบ พริกยวก กระเทียม ปลาทู
    2. กล้วยบวชน้ำเต้าหู้ ส่วนประกอบ กล้วย น้ำเต้าหู้ ใบเตย
    3. ต้มส้มปลาทู ส่วนประกอบ ส้มแขก ตะไคร้ หัวหอม พริกสด ขมิ้น
    4. แกงเลียงผักรวม ส่วนประกอบ ผักรวม (ตำลึง ผักโขม ผักหวาน เห็ด)

     

    22 21

    20. ประชุมกลุ่มเสี่ยงและคนอ้วน นำข้อมูลในสมุดประจำวันมาวิเคราะห์

    วันที่ 29 พฤศจิกายน 2557 เวลา 09:00-11.00 น น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • จัดประชุมกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันคือ เรื่อง การกิน เช่น การใช้นำมันในการผัด ทอด ปริมาณการกินแต่ละวัน การออกกำลังกายแบบต่าง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มคนอ้วนได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ 2 เรื่อง คือ
    1. ในการกินอาหาร ว่า อาหารที่ทานแล้วลดความอ้วนมีเมนู แกงเลียง กล้วยบวดชีน้ำเต้าหู้
    2. การออกกำลังกายลดความอ้วน ท่าทางที่ใช้ได้ผล คือโยคะ และแอโรบิค

     

    80 80

    21. ประชุมประจำเดือนครั้งที่ 7

    วันที่ 6 ธันวาคม 2557 เวลา 13.30-16.00 น น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • คณะทำงานโครงการได้สรุปผลการดำเนินงานกิจกรรมที่ผ่านมา คือ ท่าทางการออกกำลังกาย มีท่ายกขวดน้ำ ท่าใช้ยางยืด ท่าโยคะ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ท่าทางการออกกำลังกาย มีกี่ท่า 3 แบบ คือ ท่ายกขวดน้ำ ท่าใช้ยางยืด ท่าโยคะ ได้แนวทางและได้เชิญวิทยากรในพื้นที่มาช่วยเสริมแนะนำและเต้นนำ ต่อไป

     

    19 19

    22. ประชุมกลุ่มเสี่ยงและคนอ้วน

    วันที่ 20 ธันวาคม 2557 เวลา 13:30-16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. นัดประชุมศาลาหมู่บ้าน
    2. จัดประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันระหว่างสมาชิกด้วยกัน เรื่องข้อมูลประจำตัว เรื่องการกิน การออกกำลังกาย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • สมาชิกกลุ่มได้นำข้อมูลการกิน การออกกำลังกาย รอบเอว น้ำหนัก ของแต่ละคนมาพูดคุยกัน และได้แบบอย่างไปปฏิบัติ
    • แบบอย่างของนางพยอม อมรวิริยะชัย เรื่อง น้ำแร่เพื่อสุขภาพ ทำจากผลไม้ ผัก นำมาปั่น แยกกาก แล้วผสมกับนมถั่วเหลือง รับประทานก่อนอาหารมื้อเย็น ทำให้เรารับประทานอาหารมื้อเย็นได้น้อยลง

     

    80 83

    23. ประชุมประจำเดือนครั้งที่ 8

    วันที่ 17 มกราคม 2558 เวลา 13.30-15.00 น น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ประชุมคณะทำงาน เพื่อวางแผนการดำเนินงาน เรื่อง ให้กลุ่มเสีย่งและคนอ้วนได้พบปะประชุมกลุ่มกันอย่างต่อเนื่อง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • คณะทำงานได้วางแผนกิจกรรมต่อไป คือ การแบ่งกลุ่มเป็นโซนๆ ให้รวมกลุ่มๆละ 20 คน ได้ 4 กลุ่ม แต่ละกลุ่มให้นัดประชุมกลุ่มทุกเดือนเพื่อนำข้อมูลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมาเป็นเวทีการแลกเปลี่ยนกัน

     

    19 19

    24. ประชุมกลุ่มเสี่ยงและคนอ้วน

    วันที่ 24 มกราคม 2558 เวลา 13.30-15.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. นัดประชุมที่ศาลาหมู่บ้าน
    2. จัดประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันระหว่างสมาชิกด้วยกัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • สมาชิกกลุ่มได้นำข้อมูลการกิน การออกกำลังกาย รอบเอว น้ำหนัก ของแต่ละคนมาพูดคุยกัน และได้แบบอย่างไปปฏิบัติคือนางหนูกลีบเทพขาวซึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยงที่มีรอบเอวสูงกว่าค่าปกติ ปัจจุบันสามารถลดรอบเอวได้เป็นปกติ และมีน้ำหนักพอดีร่างกายสมส่วน เพราะออกกำลังกายแบบแอโรบิคและโยคะทุกวัน และการกินอาหารที่ชอบกินผักทุกวัน และมีแปลงผักปลอดสารพิษปลูกเองไว้ที่ข้างริมคลองชลประทาน และ ไม่ชอบกินเนื้อสัตว์

     

    80 80

    25. ประชุมประจำเดือนครั้งที่ 9

    วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 13.30-15.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • จัดประชุมกลุ่มแกนนำ เเละวางแผนการดำเนินงาน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ที่ประชุมสรุปผลการหารือจัดกิจกรรมรณรงค์ออกกำลังกายในชุมชนโดยมอบหมายให้สมาชิกกลุ่มแอโรบิคไปปดำเนินการ โดยจัดที่สนามโรงเรียนบ้านท่าแค และให้ประชาสัมพันธ์ให้ชาวบ้านเข้าร่วมด้วย

     

    19 80

    26. ประชาสัมพันธ์การออกกำลังกายในชุมชน

    วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 15.00-16.00 น น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ประชุมนัดหมายให้สมาชิกชมรมออกกำลังกายบ้านศาลาไม้ไผ่และเชิญชวนประชาชนทั่วไปมาออกกำลังกาย
    2. ดำเนินการออกกำลังโดยรณรงค์ที่โรงเรียนบ้านท่าแค

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • มีสมาชิกเข้าร่วมและได้เชิญชวนให้ประชาชนทั่วไปเข้าร่วมและมีประชาชนจากหมู่บ้านอื่นเข้าร่วมด้วยโดยได้รณรงค์การออกกำลังกายแบบแอโรบิคที่สนามโรงเรียนบ้านท่าแค

     

    79 80

    27. ติดตามหนุนเสริมการดำเนินงาน

    วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 09:00-16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ประชุมให้ความรู้การประเมินคุณค่าโครงการ และตรวจสอบการบันทึกข้อมูลบนเวปไซต์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผู้เข้าร่วมสามารถบอกเล่าความคืบหน้าของการดำเนินงานโครงการในพื้นที่ของตนเองได้
    • เกิดการซักถาม บทเรียน ประสบการณ์ที่ได้จากการดำเนินงานของโครงการในพื้นที่
    • ผู้เข้าร่วมเเต่ละโครงการ มีเเนวความคิดในการร่วมกับสร้างชุมชนของตนเองให้น่าอยู่เพื่อบ้านของตนเองที่ดีขึ้น

     

    3 2

    28. ประชุมกลุ่มเสี่ยงและคนอ้วน

    วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 13.30-15.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. นัดประชุมที่ศาลาหมู่บ้าน
    2. จัดประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันระหว่างสมาชิกด้วยกัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • สมาชิกกลุ่มได้นำข้อมูลการกิน การออกกำลังกาย รอบเอว น้ำหนัก ของแต่ละคนมาพูดคุยกัน และได้แบบอย่างไปปฏิบัติคือนางปรีดาสินสุพันธ์ ได้แนะนำการออกกำลังกายโดยการแอโรบิค ผสมกับโยคะ สามารถรอบเอวได้ผล นำหนักลดลง ที่สำคัญคือการทำโยคะ ทำให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงส่วนต่างได้ดี หน้าตา เปล่งปลั่ง และกล้ามเนื้อยืดหยุ่นได้ดี ทำให้เดินคล่องตัว

     

    80 80

    29. ออกกำลังกายในชุมชน

    วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 17:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เชิญวิทยากรมาออกกำลังกายแแบบแอโรบิค แบบโยคะ ทุกวัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ประชาชนกลุ่มเสี่ยง โรคอ้วนเบาหวานและความดันโลหิตสูง ได้มาออกกำลังเพื่อสุขภาพ อย่างน้อย ครั้งละ 30 นาที สัปดาห์ละ 3 ครั้ง ทำให้ระบบไหลเวียนเลือด และระบบหายใจ กล้ามเนื้อ ดีขึ้น

    ออกกำลังกาย 30 ครั้ง แอโรบิค โยคะ ยางยืด ออกกำลังกายกับขวดน้ำ

    • วันที่ 1 ผู้เข้าร่วมจำนวน 15-20 คน ออกกำลัง แอโรบิค
    • วันที่ 2 ผู้เข้าร่วมจำนวน 15-20 คน ออกกำลัง โยคะ
    • วันที่ 3 ผู้เข้าร่วมจำนวน 15-20 คน ออกกำลัง ยกขวดน้ำ
    • วันที่ 4 ผู้เข้าร่วมจำนวน 15-20 คน ออกกำลัง ยางยืด
    • วันที่ 5 ผู้เข้าร่วมจำนวน 15-20 คน ออกกำลัง แอโรบิค
    • วันที่ 6 ผู้เข้าร่วมจำนวน 15-20 คน ออกกำลัง โยคะ
    • วันที่ 7 ผู้เข้าร่วมจำนวน 15-20 คน ออกกำลัง ยกขวดน้ำ
    • วันที่ 8 ผู้เข้าร่วมจำนวน 15-20 คน ออกกำลัง ยางยืด
    • วันที่ 9 ผู้เข้าร่วมจำนวน 15-20 คน ออกกำลัง แอโรบิค
    • วันที่ 10 ผู้เข้าร่วมจำนวน 15-20 คน ออกกำลัง โยคะ
    • วันที่ 11 ผู้เข้าร่วมจำนวน 15-20 คน ออกกำลัง ยกขวดน้ำ
    • วันที่ 12 ผู้เข้าร่วมจำนวน 15-20 คน ออกกำลังยางยืด
    • วันที่ 13 ผู้เข้าร่วมจำนวน 15-20 คน ออกกำลัง แอโรบิค
    • วันที่ 14 ผู้เข้าร่วมจำนวน 15-20 คน ออกกำลัง โยคะ
    • วันที่ 15 ผู้เข้าร่วมจำนวน 15-20 คน ออกกำลัง ยกขวดน้ำ
    • วันที่ 16 ผู้เข้าร่วมจำนวน 15-20 คน ออกกำลัง ยางยืด
    • วันที่17 ผู้เข้าร่วมจำนวน 15-20 คน ออกกำลัง แอโรบิค
    • วันที่ 18 ผู้เข้าร่วมจำนวน 15-20 คน ออกกำลัง โยคะ
    • วันที่ 19 ผู้เข้าร่วมจำนวน 15-20 คน ออกกำลัง ยกขวดน้ำ
    • วันที่ 20 ผู้เข้าร่วมจำนวน 15-20 คน ออกกำลัง ยางยืด
    • วันที่ 21 ผู้เข้าร่วมจำนวน 15-20 คน ออกกำลัง แอโรบิค
    • วันที่ 22 ผู้เข้าร่วมจำนวน 15-20 คน ออกกำลัง โยคะ
    • วันที่ 23 ผู้เข้าร่วมจำนวน 15-20 คน ออกกำลัง แอโรบิค
    • วันที่ 24 ผู้เข้าร่วมจำนวน 15-20 คน ออกกำลัง โยคะ
    • วันที่ 25 ผู้เข้าร่วมจำนวน 15-20 คน ออกกำลัง ยกขวดน้ำ
    • วันที่ 26 ผู้เข้าร่วมจำนวน 15-20 คน ออกกำลัง ยางยืด
    • วันที่27 ผู้เข้าร่วมจำนวน 15-20 คน ออกกำลัง แอโรบิค
    • วันที่ 28 ผู้เข้าร่วมจำนวน 15-20 คน ออกกำลัง โยคะ
    • วันที่ 29 ผู้เข้าร่วมจำนวน 15-20 คน ออกกำลัง ยกขวดน้ำ
    • วันที่ 30 ผู้เข้าร่วมจำนวน 15-20 คน ออกกำลัง ยางยืด

     

    100 100

    30. ส่งเสริมปลูกผักรวมในหมู่บ้าน

    วันที่ 7 มีนาคม 2558 เวลา 13.30-16.00 น น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. จัดประชุมให้ความรู้การทำปุ๋ยหมักน้ำ หมักแห้ง
    2. สาธิตการทำปุ๋ยหมักน้ำและหมักแห้ง
    3. ดำเนินการไถพรวนดินในแปลงรวม
    4. ให้ประชาชนรวมกลุ่มปลูกผักกินเองในแปลงรวมและที่บ้าน
    5. รวมกลุ่มทำปุ๋ยหมักใช้เองที่บ้าน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • วิทยากรจากที่ดินจังหวัดพัทลุงได้ให้ความรู้เรื่องดิน การเตรียมดิน สูตรปุ๋ยเคมี และสาธิตการทำปุ๋ยหมักน้ำ และปุ๋ยหมักแห้ง หลังจากนั้นได้รวมกลุ่มทำปุ๋ย เบื้องต้นได้สมาชิกได้ 5 คน ไปทำปุ๋ยหมักแห้งโดยใช้วัสดุฟางข้าวผสมมูลสัตว์และพด1 หมักทิ้งไว้ใช้วัสดุคลุม และหมั่นพลิกทุก 7 วัน จนย่อยสลายใช้เวลาประมาณ 45 วัน และให้สมาชิกได้ปลูกผักในแปลงผักรวมใช้ที่ดินนางระเบียบ จำนวน 1 ไร่ สมาชิกได้รวมกลุ่มกันปลูกผักในแปลงผักรวม และที่บ้าน มีผักไว้กินเอง

     

    50 50

    31. ประชุมประจำเดือนครั้งที่ 10

    วันที่ 14 มีนาคม 2558 เวลา 13.30-15.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • จัดประชุม และตรวจเอกสารหลักฐานการเงิน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ที่ประชุมมอบหมายให้นางศุภกรได้จัดทำข้อมูลบนเวปไซต์และนำเอกสารทางการเงินมาให้คณะทำงานได้ตรวจสอบความถูกต้อง

     

    19 19

    32. ประชุมกลุ่มเสี่ยงและคนอ้วน

    วันที่ 21 มีนาคม 2558 เวลา 13.30-15.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. นัดประชุม ที่ศาลาหมู่บ้าน
    2. จัดประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันระหว่างสมาชิกด้วยกัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • สมาชิกกลุ่มได้นำข้อมูลการกิน การออกกำลังกาย รอบเอว น้ำหนัก ของแต่ละคนมาพูดคุยกัน และได้แบบอย่างไปปฏิบัติ คือนางสมจิตร พรหมอักษร ได้แนะนำการกินอาหาร จะไม่กินเนื้อสัตว์ การใช้น้ำมันมะกอกในการทอด ผัด การออกกำลังกายแบบโยคะทุกวัน

     

    80 80

    33. ประชุมประจำเดือนครั้งที่ 11

    วันที่ 4 เมษายน 2558 เวลา 13.30-15.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • จัดประชุม ตรวจสอบเอกสารหลักฐานและการบันทึกข้อมูลบนเปไซต์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • เอกสารหลักฐานทางการเงินยังไม่เรียบร้อย ขาดหลักฐานบางอย่าง ได้กำชับให้เจ้าหน้าที่การเงินจัดการเอกสารให้เรียบร้อย และการคีย์ข้อมูลบนเวปไซต์ พบว่าไม่ได้บันทึก เนื่องจากพบปัญหาไม่มีคนบันทึกเนื่องจากไปทำงานที่อื่นแล้ว เลยให้หาคนใหม่แทน

     

    19 19

    34. ประชุมกลุ่มเสี่ยงและคนอ้วน

    วันที่ 18 เมษายน 2558 เวลา 13.30-15.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. นัดประชุม ที่ศาลาหมู่บ้าน
    2. จัดประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันระหว่างสมาชิกด้วยกัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • สมาชิกกลุ่มได้นำข้อมูลการกิน การออกกำลังกาย รอบเอว น้ำหนัก ของแต่ละคนมาพูดคุยกัน และได้แบบอย่างไปปฏิบัติ คือ นางปิยวรรณน้อยมุสิก ได้แนะนำการกินอาหาร กินผักทุกวัน ไม่กินเนื้อสัตว์ ไม่กินของทอด ไม่กินแกงกะทิ จะกินแกงส้มแกงจืด และออกกำลังกายแบบแอโรบิค และปั่นจักรยาน ทุกวัน

     

    80 80

    35. ประชุมประจำเดือนครั้งที่ 12

    วันที่ 2 พฤษภาคม 2558 เวลา 13:00-15.30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • จัดประชุม วางแผนการดำเนิงาน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ที่ประชุมสรุปการจัดกิจกรรมคืนข้อมูลให้กับชุมชนจะจัดในวันที่ 24มิถนายน 2558 ณ สนามโรงเรียนบ้านไสถั่ว โดยมีการจัดซุ้มนิทรรศการของแต่ละกลุ่ม มีเมนูอาหารสุขภาพ มีการประกวดเมนูอาหาร ประกวดบุตชคคลต้นแบบ การแสดงบนเวที การแข่งขันกีฬาระหว่างกุลุ่ม มอบหมายใหญ่ผู้ใหญ่บ้านประสานเชิญประธานนายกอบจ.และประสานเต้นโต๊ะ เก้าอี้ ขอสนับสนุนเพิ่มเติมจาก อบจ.

     

    19 19

    36. ติดตามหนุนเสริมการดำเนินงาน

    วันที่ 9 พฤษภาคม 2558 เวลา 09:00-15.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • จัดประชุมคณะทำงานโครงการโดยพี่เลี้ยงเพื่อติดตามการดำเนินงานของโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ที่ประชุมโดยนางศุภกรหมวดมณี ได้รายงานผลการดำเนินงานตามโครงการและการเงินให้ที่ประชุมรับทราบจากนั้นพี่เลี้ยงได้ซักถามถึงปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานตลอดจนความก้าวห้นาในการบันทึกข้อมูลบนเวปไซต์ และได้ตรวจสอบหลักฐานทางการเงิน

     

    20 20

    37. ประเมิณคนเป็นโรคอ้วนเทียบกับครั้งแรก

    วันที่ 29 พฤษภาคม 2558 เวลา 07-14.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • นัดกลุ่มเสี่ยงและคนอ้วนมาเจาะเลือดหาไขมันในเลือด โดยเจ้าหน้าที่ห้องแลปของเอกชน หลังจากนั้นมีการทดสอบสมรรถภาพร่างกาย วัดรอบเอว ส่วนสูง และน้ำนัก

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • เมื่อเปรียบผล กลุ่มเสี่ยงและคนอ้วนส่วนใหญ่มีผลเลือดไขมันตัวรวมในระดีบดีมาก มีรอบเอวลดลงและมีน้ำหนักลดลง

     

    60 53

    38. ประชุมชาวบ้านในเวที่การประชุมประจำเดือน

    วันที่ 30 พฤษภาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • นัดประชุมชาวบ้านตามวาระการประชุมของหมู่บ้าน และได้กำหนดให้เวทีชาวบ้านได้แสดงความเห็นในการกำหนดมาตรการทางสังคมในเรื่องสุขภาพ ลงมติ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • เวทีชาวบ้านได้กำหนดมาตรการทางสังคม 2 เรื่องคือ การเลิกใช้ถุงพลาสติกใส่ข้าว และใช้น้ำสมุนไพรแทนน้ำอัดลมในงานต่างๆ

     

    100 98

    39. สรุปผลการดำเนินงานโครงการในชุมชน

    วันที่ 24 มิถุนายน 2558 เวลา 09:00-15.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    กำหนดการ

    • 08.00 - 09.00 น ลงทะเบียนร่วมงาน
    • 09.00 – เป็นต้นไป. ชมนิทรรศการร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่ ตามโครงการสานมือ รวมพลังสร้างสุขภาพบ้านหลาไม้ไผ่ การทำปุ๋ยหมักแห้ง หมักน้ำ, การออกกำลังกาย,ผักปลอดสารพิษ,แปลงผักรวม,เมนูอาหารสุขภาพ,ปริมาณการกินอาหาร,กฎกติกาของชุมชน,การทดสอบสมรรถภาพทางกาย
    • 09.30 – 10.30 น.ประธานมาถึงสถานที่จัดงานพิธีเปิดงานโดย นางสาวสุพัชรีธรรมเพชร อดีต สส.พัทลุงกล่าวรายงานโดย นายกฤษกรมาตีด ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ ๘ ตำบลท่าแค ชมการแสดงสาธิตการออกกำลังกาย แอโรบิก+โยคะ ของชมรมออกกำลังกายบ้านศาลาไม้ไผ่ประธานพบปะผู้มาร่วมงาน เยี่ยมชมซุ้มนิทรรศการ ซุ้มอาหาร
    • 10.30 - 11.45 น. การประกวดเมนูอาหารสุขภาพ สัมภาษณ์บุคคลต้นแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ชมการแสดงสาธิตการออกกำลังกายแบบ “รำวงบิก”
    • 11.45 – 12.00 น. -มอบรางวัลการประกวดเมนูอาหารสุขภาพมอบประกาศนียบัตรแก่บุคคลต้นแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม มอบรางวัลการประกวดบ้านปลูกผักผลไม้หลากหลายชนิด
    • 12.00 – 13.00 น. -รับประทานอาหารร่วมกันตอบปัญหาชิงรางวัล ชมการแสดงบนเวที
    • 13.00 – 14.00 น. การแข่งขันกีฬาเชื่อมความสัมพันธ์คนในชุมชนกระโดดเชือก ชาย ๒ คน ห,ญิง ๕ คน ปิดตาตีหม้อ ผู้สูงอายุ ๖๐ ปี ขึ้นไป ชาย ๑ คน,หญิง ๑ คน เตะปีบ ชาย ๑ คน,หญิง ๑ คน วิ่งผลัดซุปเปอร์แมน ชาย ๒ คน,หญิง ๒ คน ขนน้ำใส่ขวด ทีมหญิง ๔ คน วิ่งกระสอบ ชาย ๑ คน หญิง ๑ คน
    • 14.00-14.30 น. ปิดงาน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ในวันจัดกิจกรรมประชาชนสนใจมากในนิทรรศการและบูธต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นบูธ เศรฐกิจพอเพียง บูธอาหาร บูธผักปลอดสารพิษ บูธทดสอบสมรรถภาพร่างกาย

     

    400 350

    40. ล้างอัดขยายภาพ

    วันที่ 30 มิถุนายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • บันทึกภาพถ่าย ในช่วงทำกิจกรรม นำไปล้างเก็บไว้ และจัดทำรายงานโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้ภาพถ่ายกิจกรรมของโครงการ สำหรับเก็บเป็นแฟ้มชุมชน และจัดทำรายงานโครงการ

     

    10 10

    41. ทำรายงานปิดโครงการ

    วันที่ 5 กรกฎาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • จัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์ ง1 ง2 ส2 ส3 ให้เรียบร้อย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้ทำรายงาน ง1 ง2 ส2 ส3 มีการปรับแก้ใบเสร็จโครงการ การเขียนใบเสร็จ และเพิ่มข้อมูลในรายงานให้สมบูรณ์

     

    2 2

    42. จัดทำรายงานปิดโครงการ

    วันที่ 11 กรกฎาคม 2558 เวลา 09:00-15.00 น น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • จัดทำรายงานปิดโครงการ ที่ สจรส.มอ.

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้รับคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ สสส.ต่อการทำรายงานปิดโครงการ ง1 ส2 ส3

     

    3 2

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

     

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 1. เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ของคนในชุมชนให้เห็นความสำคัญและเกิดความตระหนักในผลกระทบของปัญหาโรคอ้วน
    ตัวชี้วัด : 1.มีแบบสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบของปัญหาโรคอ้วน 1 ชุด 2.มีชุดข้อมูลเรื่องผลกระทบต่อสุขภาพของโรคอ้วนของคนในชุมชนบ้านหลาไม้ไผ่ 1 ชุด 3.มีประชาชนในชุมชนเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ข้อมูลอย่างน้อย ร้อยละ 80 4.แกนนำและคณะทำงานได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ต่างพื้นที่ 1 แห่ง 5.มีเมนูอาหารสำหรับคนโรคอ้วนและกลุ่มเสี่ยง 1 ชุด 6.มีท่าทางการออกกำลังกายสำคนโรคอ้วนและกลุ่มเสี่ยงตามวัยต่างๆ 1 ชุด
    1. เกิดชุดข้อมูลเรื่องผลกระทบต่อสุขภาพของโรคอ้วน จำนวน 1 ชุด
    2. ประชาชนเข้าร่วมกิจกรรมเรียนรู้ข้อมูลร้อยละ 80
    3. แกนนำและคณะทำงานร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 1 ครั้ง
    4. มีเนูอาหารสำหรับคนอ้วนและกลุ่มเสี่ยง 1 ชุด 5.มีการกำหนดทาทางการออกกำลังกาย 2 แบบ คือ แอโบิค และโยคะ
    2 2.เพื่อส่งเสริมให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาโรคอ้วน
    ตัวชี้วัด : 1.กลุ่มคนโรคอ้วนและกลุ่มเสี่ยงได้เข้าร่วมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม อย่างน้อยร้อยละ 80 2.กลุ่มคนโรคอ้วนและกลุ่มเสี่ยง ได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกลุ่ม จำนวน 6 ครั้ง 3.มีแปลงผักรวมขนาด 1 ไร่ จำนวน 1 แห่ง 4.มีผักสวนครัวรั้วกินได้ อย่างน้อย 50 หลังคาเรือน 5.มีการรณรงค์การออกกำลังกาย จำนวน 2 ครั้ง 6.ประชาชนในชุมชนได้เข้าร่วมกิจกรรมการออกกำลังกายอย่างน้อยร้อยละ 80 7.ประชาชนได้เรียนรู้ข้อมูลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การกิน,การใช้ชีวิต,การออกกำลังกาย อย่างน้อยร้อยละ 80 8.กลุ่มคนโรคอ้วนมีรอบเอวลดลง ร้อยละ 80
    1. กลุ่มคนโรคอ้วนและกลุ่มเสี่ยงได้เข้าร่วมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ร้อยละ 80
    2. กลุ่มคนโรคอ้วนและกลุ่มเสี่ยง ได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกลุ่ม จำนวน 6 ครั้ง
    3. มีแปลงผักรวมขนาด 3 ไร่ จำนวน 1 แห่ง
    4. มีผักสวนครัวรั้วกินได้87 หลังคาเรือน
    5. มีการรณรงค์การออกกำลังกาย จำนวน 2 ครั้ง 6. ประชาชนในชุมชนได้เข้าร่วมกิจกรรมการออกกำลังกาย ร้อยละ 80 7.ประชาชนได้เรียนรู้ข้อมูลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การกิน,การใช้ชีวิต,การออกกำลังกาย ร้อยละ 90
      8.กลุ่มคนโรคอ้วนมีรอบเอวลดลง ร้อยละ 100
    3 เพื่อส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพกลไกในการบริหารจัดการปัญหาโรคอ้วน
    ตัวชี้วัด : 1.คณะทำงานมีการประชุมอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง 2.มีแผนการเฝ้าระวัง 3.มีมาตรการทางสังคม อย่างน้อย 3 เรื่อง -มาตรการเรื่องการดื่มน้ำอัดลม -มาตรการใช้ถุงพลาสติกใส่ข้าวในงาน -มาตรการการทำอาหารลดหวาน มัน เค็ม ในงานของหมู่บ้าน
    1. คณะทำงานมีการประชุมทุกเดือน
    2. มีแผนการเฝ้าระวัง 
    3. มีมาตรการทางสังคม 2 เรื่อง คือ มาตรการเรื่องการดื่มน้ำอัดลม และมาตรการใช้ถุงพลาสติกใส่ข้าวในงานในงานของหมู่บ้าน
    4 เพื่อการบริหารจัดการและการติดตามประเมิณผล
    ตัวชี้วัด : จำนวนครั้งในการเข้าร่วมกิจกรรมกับ สสส.และสจรส.

    เข้าร่วมกิจกรรมกับ สสส และ สจรส.จำนวน 6 ครั้ง

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) 1. เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ของคนในชุมชนให้เห็นความสำคัญและเกิดความตระหนักในผลกระทบของปัญหาโรคอ้วน (2) 2.เพื่อส่งเสริมให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาโรคอ้วน (3) เพื่อส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพกลไกในการบริหารจัดการปัญหาโรคอ้วน (4) เพื่อการบริหารจัดการและการติดตามประเมิณผล

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    ส่วนที่ 3 ประเมินคุณค่าโครงการ

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ

    ชื่อโครงการ สานมือ รวมพลังสร้างสุขภาพบ้านหลาไม้ไผ่

    รหัสโครงการ 57-01448 รหัสสัญญา 57-00-0737 ระยะเวลาโครงการ 20 พฤษภาคม 2557 - 19 มิถุนายน 2558

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นการคุณค่าที่เกิดจากโครงการในมิติต่อไปนี้

    • ความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพและนวัตกรรมเชิงระบบสุขภาพชุมชน
    • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีผลต่อสุขภาวะ
    • การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ
    • ผลกระทบเชิงบวกและนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาวะชุมชน
    • กระบวนการชุมชน
    • มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่

    1. เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้ใหม่ / องค์ความรู้ใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สิ่งประดิษฐ์ / ผลผลิตใหม่

    น้ำแร่สุขภาพ

    ภาพถ่าย รายงาน

    จะนำไปเป็นเมนูอาหารในการประชุมของหน่วยงานต่างๆ เป็นอาหารว่าง และเพิ่มน้ำดื่มสมุนไพรไปด้วย

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. กระบวนการใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. วิธีการทำงาน / การจัดการใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การเกิดกลุ่ม / โครงสร้างในชุมชนใหม่
    1. กลุ่มออกกำลังกายเกิดเป็นชมรมออกกำลังกาย
    2. เกิดกลุ่มทำปุ๋ย
    3. เกิดกลุ่มปลูกผักปลอดสารพิษ

    ภาพถ่าย รายงาน

    1. กลุ่มออกกำลังกายจะพัฒนาขยายผลไปยังผู้สูงอายุ และเด็กนักเรียนในโรงเรียน
    2. กลุ่มทำปุ๋ย จะขยาเพิ่มสมาชิกให้มากขึ้นและให้เกิดการทำนาอินทรีย์โดยนำปุ๋ยนี้ไปใช้
    3. กลุ่มปลูกผักปลอดสารพิษ จะขยายผลการผลิตไปจำหน่ายในโรงเรียน และสร้างตลาดสีเขียวในหมู่บ้าน
    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. แหล่งเรียนรู้ใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    99. อื่นๆ

     

     

     

    2. เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การบริโภค

    ประชาชนเริ่มเปลี่ยนแปลงการบริโภคอาหารในการลดหวาน มัน เค็ม

    ผลการตรวจเลือด ภาพถ่าย รายงาน

    เพิ่มเรื่องสมุนไพรในการป้องกันรักษาโรค

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การออกกำลังกาย

    ประชาชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมาออกกำลังกาย กันมากขึ้น เช่น แอโรบิค โยคะ

     

    ขยายผลไปยงกลุ่มผู้สูงอายุ และเด็กนักเรียนในโรงเรียน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. การลด ละ เลิก อบายมุข เช่น การพนัน เหล้า บุหรี่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การลดพฤติกรรมเสี่ยง เช่น พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การขับรถโดยประมาท

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. การจัดการอารมณ์ / ความเครียด

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. การดำรงชีวิต / วิถีชีวิต เช่น การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น / สมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเอง

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    8. พฤติกรรมการจัดการตนเอง ครอบครัว ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    9. อื่นๆ

     

     

     

    3. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. กายภาพ เช่น มีการจัดการขยะ ป่า น้ำ การใช้สารเคมีเกษตร และการสร้างสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนที่ถูกสุขลักษณะ

    มีแปลงผักปลอดสารพิษ เป็นแปลงผักรวมของหมู่บ้าน

    ภาพถ่าย รายงาน

    จัดการขยายผลไปยังโรงเรียน และจัดการเรื่องนำผักไปวางขายในชุมชนทำเป็นตลาดสีเขียว

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สังคม เช่น มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ลดการเกิดอุบัติเหตุ ครอบครัวอบอุ่น การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อเด็ก เยาวชน และกลุ่มวัยต่าง ๆ มีพื้นที่สาธารณะ/พื้นที่ทางสังคม เพื่อเอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชน มีการใช้ศาสนา/วัฒนธรรมเป็นฐานการพัฒนา

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. เศรษฐกิจสร้างสรรค์สังคม /สร้างอาชีพ / เพิ่มรายได้

    เพิ่มรายได้จากการขายผักปลอดสารพิษ

    บัญชีครัวเรือน

    พัฒนาส่งเสริมอาชีพเสริมให้กับชาวบ้านเช่น เลี้ยงปลาดุกในบ่อพลาสติก ไว้บริโภค และรวมกลุ่มแปรรูปเป็นปลาดุกร้า ปลาแดดเดียว

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการบริการสุขภาพทางเลือก และมีช่องทางการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. อื่นๆ

     

     

     

    4. การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. มีกฎ / กติกา ของกลุ่ม ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. มีมาตรการทางสังคมของกลุ่ม ชุมชน

    มีมาตรการเรื่องการใช้น้ำสมุนไพรแทนน้ำอัดลม การเลิกใช้ถุงพลาสติกใส่ข้าว ในงานเลี้ยงต่างๆ

    ภาพถ่าย รายงาน

    เพิ่มมาตรการทางสังคม

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. มีธรรมนูญของชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. อื่นๆ เช่น ออกเป็นข้อบัญญัติท้องถิ่น ฯลฯ

     

     

     

    5. เกิดกระบวนการชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. เกิดการเชื่อมโยงประสานงานระหว่างกลุ่ม / เครือข่าย (ใน และหรือนอกชุมชน)

    มีกลุ่มทำปุ๋ย กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่ม อสม. กลุ่มแม่บ้าน ทำงานเชื่อมโยงประสานงานกันกับผู้นำชุมชน ผู้นำตามธรรมชาติ และเชื่อมโยงกับเทศบาลตำบลท่าแค รพ.สต.บ้านปลวกร้อน และหน่วยงานภายนอกอื่นๆ

    ภาพถ่าย

    รวมตัวเป็นสภาผู้นำชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเรียนรู้การแก้ปัญหาชุมชน (การประเมินปัญหา การวางแผน การปฏิบัติการ และการประเมิน)

    มีการเรียนรู้การแก้ปัญหา วางแผน ลงมือปฏิบัติการ

    ภาพถ่าย

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ประโยชน์จากทุนในชุมชน เช่น การระดมทุน การใช้ทรัพยากรบุคคลในชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกลุ่มและชุมชนที่เกิดจากโครงการอย่างต่อเนื่อง

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. เกิดกระบวนการจัดการความรู้ในชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. เกิดทักษะในการจัดการโครงการ เช่น การใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ การทำแผนปฏิบัติการ

    จากคณะทำงานโครงการได้ประชุมกันทุกเดือน มีการตัดสินใจร่วมกัน วางแผนการดำเนินงาน

    ภาพถ่าย รายงาน

    จะพัฒนาคณะทำงาน เป็นสภาผู้นำชุมชน และให้เกิดแผนชุมชน มีการประชุมต่อเนื่องทุกเดือน และขับเคลื่อนแผนไปสู่การปฏิบัติ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. อื่นๆ

     

     

     

    6. มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเอง / กลุ่ม / ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเห็นประโยชน์ส่วนรวมและส่วนตนอย่างสมดุล

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย และพอเพียง

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. ชุมชนมีความเอื้ออาทร

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. มีการตัดสินใจโดยใช้ฐานปัญญา

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. อื่นๆ

     

     

     

    สานมือ รวมพลังสร้างสุขภาพบ้านหลาไม้ไผ่ จังหวัด พัทลุง

    รหัสโครงการ 57-01448

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นายกฤษกร มาตีด )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด