directions_run

ความมั่นคงทางอาหาร หมู่ที่ 13 บ้านทุ่งพัฒนา (ต่อยอดโครงการ 3 ออมฯ)

แบบประเมินผลการดำเนินงาน (Performance/Product Evaluation)

 เป้าประสงค์หรือวัตถุประสงค์/ตัวชี้วัด(Indicator)สถานการณ์เป้าหมายผลผลิต
(Output)
ผลลัพธ์
(Outcome)
ผลกระทบ
(Impact)
อธิบายข้อสังเกตที่สำคัญ
1 เพื่อเพิ่มศักยภาพกลไกกลุ่มคนรักสุขภาพ ด้วยขบวนการสภาชุมชนบ้านทุ่งพัฒนา
ตัวชี้วัด : เชิงปริมาณ 1. ร้อยละ 80 ของกลุ่มคนรักสุขภาพ มีศักยภาพเพิ่มขึ้นในการดำเนินงานในระดับหมู่บ้าน เชิงคุณภาพ 1. ทำให้เกิดการมีส่วนร่วมของชุมชน 2. เกิดการประชุมอย่างต่อเนื่อง 3. เกิดฐานข้อมูลในเรื่องของแหล่งอาหารที่นำไปสู่ความมั่นคงทางอาหารของกลุ่มคนรักสุขภาพ

 

 

เชิงปริมาณ

  1. กลุ่มคนรักสุขภาพ จำนวน 60 คน และผู้ที่สนใจในชุมชน มีส่วนร่วมในการดำเนินงานต่าง ๆ
    เช่น การร่วมกันจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ด้านพืชผักและธนาคารเมล็ดพันธุ์ ,
    เวทีสภาซูรอฮ์ที่ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ , การจัดกิจกรรมแข่งขันกีฬาสี ,
    การวางแผนเตรียมความพร้อมรับมือภัยพิบัติ ฯลฯ มีศักยภาพเพิ่มขึ้นในการดำเนินงาน มีความพร้อมที่จะรับมือกับปัญหาต่างๆ
    ที่อาจจะเกิดขึ้นในหมู่บ้าน มีการแบ่งบทบาทหน้าที่ในการรับผิดชอบงานต่าง ๆ
    มีกลุ่มองค์กรที่เข้ามามีส่วนร่วมในโครงการ มีโครงสร้างคณะทำงานที่ชัดเจน
    และ ทุกคนมีจิตอาสามากขึ้น

เชิงคุณภาพ

  1. ทำให้เกิดการมีส่วนร่วมของชุมชน ในด้านต่าง ๆ เช่น

    • การมีส่วนร่วมการตัดสินใจว่าควรทำอะไรและทำอย่างไร เช่น
      การร่วมกันจัดแข่งขันกีฬาสีครั้งที่ 1 มีการแบ่งสีกัน 5 สี ในกิจกรรมมีการเดินพาเหรด จัดนักกีฬาเพื่อแข่งขันกีฬาต่าง ๆ จำนวน 5 วัน 5 คืน มีการประกวดร้องเพลง
      มีการแลกของขวัญกัน มีการแแข่งขันกีฬาพื้นบ้าน โดยงบประมาณให้แต่ละสีเป็นผู้จัดหามาเอง ออกทุนเอง และ จะจัดกีฬาอย่างนี้ต่อไปเป็นประจำทุกปี เพื่อให้เกิดความสามัคคี
      พบปะกัน อยู่ร่วมกัน ตลอดไป
    • การมีส่วนร่วมเสียสละในการพัฒนา รวมทั้งลงมือปฏิบัติตามที่ได้ตัดสินใจ
      เช่น การร่วมกันพัฒนากุโบร์เป็นประจำทุกปี เพื่อพบปะพี่น้อง เพื่อรับประทานอาหารร่วมกัน
      เพื่อรำลึกผู้ที่เสียชีวิตไปแล้ว , การร่วมกันปลูกข้าวไร๋ (ข้าวเหนียวดำ) ,
      การร่วมกันหีบน้ำอ้อย ทำเป็นน้ำตาลอ้อย เป็นต้น
    • การมีส่วนร่วมในการแบ่งปันผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงาน
      เช่น การร่วมกันจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์ในหมู่บ้าน มีการฝาก การถอน การกู้ยืมเงิน
      กองทุนปุ๋ย ทุกวันอาทิตย์แรกของเดือน , การร่วมกลุ่มจัดตั้งกลุ่มน้ำยางสดบ้านทุ่งร่วมพัฒนา
      ที่เกิดจากการลงหุ้น คนละ 3,000 บาท เพื่อร่วมกันจัดซื้อน้ำยางสด มีการปันหุ้นปีละ 1 ครั้ง
      และมีการประชุมทุก ๆ 3 เดือน/คร้้ง
  2. ในชุมชนมีการจัดประชุมเป็นประจำทุกเดือน คือ วันที่ 15 ของเดือน ผู้เข้าร่วมประกอบด้วย
    ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ส.อบต. บัณฑิตอาสา อสม. แกนนำชุมชน และชาวบ้าน มีผู้เข้าร้วมประชุม ไม่ต่ำกว่า 60 คน ในที่ประชุมจะมีการลุ้นของขวัญ เพื่อเป็นกำลังใจให้กับผู้เข้าร่วมที่อยู่จนการประชุมเลิก โดยของรางวัลจะมาจากร้านค้า ที่มีอยู่ในชุมชนเพื่อเป็นการสร้างรายได้ให้กับชุมชน ในการประชุมแต่ละครั้ง
    ทุกคนสามารถแจ้งให้ที่ประชุมได้รับทราบข้อมูลข่าวสาร ได้ทุก ๆ เรื่อง ไม่ว่าจะมาจากหน่วยงานไหนก็ตาม

  3. มีฐานข้อมูลในเรื่องของแหล่งอาหารที่มีอยู่ในชุมชน ไม่ว่าจะเป็น พืช ผัก สมุนไพร ฯลฯ
    นำไปสู่ความมั่นคงทางอาหารของกลุ่มคนรักสุขภาพ ที่มีความเพียงพอต่อชุมชน
    ทำให้ชุมชนมีพืชผักไว้รับประทานได้ตลอดปี และปลอดสารพิษ

2 เพื่อการพึ่งพาตนเองของคนในชุมชนทางด้านอาหาร
ตัวชี้วัด : เชิงปริมาณ 1. มีศูนย์เรียนรู้แหล่งเพาะพันธุ์พืช 2 ระดับ ทั้งในระดับครัวเรือน 60 ครัวเรือนและในระดับชุมชน 1 ศูนย์ และมีธนาคารเมล็ดพันธุ์ 1 แห่ง 2. มีเยาวชน ชั้น ป.5 และ ป.6 จำนวน 20 คน เข้าร่วมปลูกผักในโรงเรียนบ้านทุ่งสภากาชาดอุปถัมภ์ เชิงคุณภาพ 1. ทำให้เกิดการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน 2. ทำให้ชุมชนได้เรียนรู้เรื่องของพืชพันธุ์

 

 

เชิงปริมาณ

  1. มีศูนย์เรียนรู้แหล่งเพาะพันธุ์พืช 2 ระดับ

    • ในระดับครัวเรือน 60 ครัวเรือนที่มีการเพาะปลูกกัน ผสมผสานกันระหว่างพืชผัก
      และ ดอกไม้ประดับในครัวเรือน ที่สามารถนำมาประกอบอาหารภายในครอบครัวได้
      โดยไม่จำเป็นต้องออกไปซื้อข้างนอก เช่น พริก ขิง ข่า ตะไคร้ มะกรูด มะนาว
      โหระพา ตำลึก กะเพรา แมงลัก บอนดิบ ชะอม ฯลฯ
    • ในระดับชุมชน 1 ศูนย์คือ มีศูนย์เรียนด้านพืชผักและมีธนาคารเมล็ดพันธุ์ 1 แห่ง ณ สำนักงานสภาองค์กรชุมชนตำบลละงู เพราะเป็นพื้นที่ที่น้ำไม่ท่วม และเหมาะ แก่การเพาะปลูก เช่น สวนผักสมุนไพร ผักพื้นบ้าน ผักเศรษฐกิจ เป็นต้น
  2. เยาวชน ลูกหลาน ของชาวบ้านในพื้นที่ ระดับชั้น ป.5 และ ป.6 จำนวน 20 คน เข้าร่วมกิจกรรมคนพันธุ์ใหม่ใส่ใจพันธุ์ผัก และ ได้รับความรู้ในเรื่องของสุขภาพ
    ณ โรงเรียนบ้านทุ่งสภากาชาดอุปถัมภ์ ซึ่งผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความดีใจในการ เข้าร่วมกิจกรรมดีมาก ซึ่งเดิมที ทางโรงเรียนก็มีการปลูกผักอยู่แล้ว เมื่อมีกิจกรรมเข้าไป
    ก็จะทำให้เด็ก ๆ มีความรักสุขภาพ รักธรรมชาติ มากขึ้น

เชิงคุณภาพ

  1. ชุมชนมีส่วนร่วมในการปลูกผัก ร่วมแลกเปลี่ยนพันธุ์ผัก และร่วมคิด
    ร่วมวางแผนในการจัดทำศูนย์เรียนรู้ในชุมชน ให้เป็นสถานที่ต้นแบบ และ นำร่อง ต่อไป
  2. ชุมชนได้ร่วมเรียนรู้เรื่องของพืชพันธุ์ พืชผักสมุนไพร ที่มีอยู่ในชุมชน
    เช่น ผักด้านภูมิปัญญา ผักสวนครัว ผักสมุนไพร เป็นต้น เพื่อให้เป็นฐานข้อมูลของชุมชน ในการศึกษาหาความรู้ของผู้ที่สนใจต่อไปในอนาคต
3 เพื่อให้คนในชุมชนช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
ตัวชี้วัด : เชิงปริมาณ 1. เกิดสภาซูรอฮ์ของหมู่ที่ 13 เชิงคุณภาพ 1. เป็นการรวมตัวของคนในชุมชนที่มาร่วมกันจัดทำกิจกรรมที่สอดคล้องกับบริบทของชุมชน 2. กลุ่มคนรักสุขภาพมีความตระหนักและเกิดความหวงแหนชุมชน

 

 

เชิงปริมาณ

  1. เกิดสภาซูรอฮ์ของหมู่ที่ 13 ซึ่งจะมีการจัดประชุม ทุก ๆ 3 เดือน/ครั้ง
    เพื่อเป็นการสร้างกลไกการจัดการระดับหมู่บ้านต่อการมีส่วนร่วมสร้างชุมชนน่าอยู่
    และเกิดการแลกเปลี่ยนในชุมชน

เชิงคุณภาพ

  1. เป็นการรวมตัวของคนในชุมชนที่มาร่วมกันจัดทำกิจกรรมที่สอดคล้อง กับบริบทของชุมชน เช่น การแข่งขันกีฬาสีเพื่อสร้างความสามัคคีในชุมชน
    การร่วมกันปลูกผักไร่ การร่วมกันลงแขกดำนา การร่วมกันหีบน้ำอ้อย
    การทำขนมช่วงฮารีรายอ งานเมาลิต งานเข้าสุนัต งานทำบุญขึ้นบ้านใหม่
    การเลี้ยงสัตว์ เป็นต้น การร่วมกันของงานแบบนี้ ซึ่งจะมีการวนเวียนไปตาม ฤดูกาลของมัน ทำให้เกิดความมั่นคงทางอาหาร ที่ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยน ซึ่งกันและกัน และทำให้ชุมชนมีอาหารไว้บริโภคตลอดปี และตลอดไป

  2. กลุ่มคนรักสุขภาพบ้านทุ่ง มีความตระหนักและเกิดความหวงแหนชุมชน
    รักชุมชนมากขึ้น เพื่อสร้างชุมชนให้น่าอยู่ โดยมาจากหลากหลายของกลุ่มคน ในหมู่บ้าน เช่น กลุ่มเยาวชน กลุ่มผู้สูงอายุ และ ทั่ว ๆ ไป ที่หันมาใส่ใจชุมชน
    กลุ่มคนต่าง ๆ จะร่วมกันปลูกผักในพื้นที่ที่มีการปลูกปาล์ม ปลูกยาง
    ซึ่งต้นกล้าจะยังเล็กอยู่ กลุ่มต่าง ๆ เหล่านั้น ก็จะไปปลูกข้าวไร่ ปลูกข้าวโพด
    ปลูกผักต่าง ๆ มากมาย ซึ่งเป็นภาพความประทับใจที่ยังมีให้เห็นอยู่ในชุมชน

4 เพื่อบริหารจัดการและการติดตามประเมินผลโครงการ
ตัวชี้วัด : จำนวนครั้งในการเข้าร่วมกิจกรรมกับ สสส. และ สจรส.

 

 

ผู้รับผิดชอบโครงการและคณะทำงานได้เข้าร่วมกิจกรรมที่ทาง สจรส.ม.อ.จัดครบทุกครั้ง และสามารถจัดส่งรายงานให้แก่ สสส. ได้ภายในระยะเวลาตามข้อตกลง กับ สสส. และ สจรส.