directions_run

ความมั่นคงทางอาหาร หมู่ที่ 13 บ้านทุ่งพัฒนา (ต่อยอดโครงการ 3 ออมฯ)

assignment
บันทึกกิจกรรม
จัดทำรายงานสรุปปิดโครงการ10 กรกฎาคม 2558
10
กรกฎาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย จันทนา อานัน
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อจัดทำรายงานสรุปปิดโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • เป็นการรวบรวมข้อมูล เอกสารการเงินต่าง ๆ เพื่อสรุปงบสำหรับปิดโครงการ
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • มีการบันทึกข้อมูล และ มีการตรวจเอกสารการเงิน เพื่อให้มีความเรียบร้อย
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 3 คน จากที่ตั้งไว้ 5 คน
ประกอบด้วย
  • ผู้ประสานงานโครงการ จำนวน 1 คน
  • ผู้ใหญ่บ้าน จำนวน 1 คน
  • ผู้ช่วยบันทึกข้อมูลจำนวน 1 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • มีปัญหาในเรื่องการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
- อนัญญาแสะหลี , นางกัลยทรรศน์ ติ้งหวัง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

พบพี่เลี้ยงตรวจสอบรายละเอียดโครงการ ครั้งที่ 29 กรกฎาคม 2558
9
กรกฎาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย จันทนา อานัน
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อตรวจสอบรายละเอียดโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ตรวจดูความเรียบร้อยของเอกสาร
  • แนะนำวิธีการบันทึกข้อมูลเพิ่มเติม
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • เอกสารมีความเรียบร้อยมากยิ่งขึ้น
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย
  • ผู้ประสานงานโครงการ จำนวน 1 คน
  • เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูลจำนวน 1 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
- น.ส.อนัญญา แสะหลี , นางกัลยาทรรศน์ ติ้งหวัง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ถอนเงินคืนเปิดบัญชีธนาคาร8 กรกฎาคม 2558
8
กรกฎาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย อนัญญา แสะหลี
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อถอนเงินคืนเปิดบัญชี

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เดินทางไปถอนเงินเปิดบัญชี

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ไม่มี
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

เกือบได้ตามเป้าหมาย (2)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 3 คน
ประกอบด้วย

ผู้มีชื่อในการเปิดบัญชีธนาคาร

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ไม่มี
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
- นางสาวอนัญญา แสะหลี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ไม่มี
ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 12 เพื่อวางแผนการทำงานของโครงการ บ้านทุ่งพัฒนา หมู่ที่ 1316 พฤษภาคม 2558
16
พฤษภาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย จันทนา อานัน
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อวางแผนการทำงานของโครงการ บ้านทุ่งพัฒนา หมู่ที่ 13

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • นางสาวจันทนา อานัน กล่าวเปิดการประชุม คณะทำงานครั้งที่ 12 เพื่อวางแผนการทำงานของโครงการ บ้านทุ่งพัฒนา หมู่ที่ 13จากการดำเนินโครงการในปีที่ผ่านมา หมู่บ้านของเรามีการพัฒนาดีขึ้นมาก ไม่ว่าจะเป็น ในเรื่องของการพัฒนาความสามารถของคณะทำงานที่มีความกล้าแสดงออก กล้าแสดงความคิดเห็น ที่เกิดจากการได้มีการพูดคุย พบปะกันอยู่เสมอ รวมถึงการพัฒนาชุมชนที่เป็นที่ตอบรับของภายนอกอย่างล้นหลาม ล้วนแล้วแต่เกิดมาจากพวกเราทั้งสิ้นที่ได้มีการพูดคุยกัน หาทางออกของปัญหาอยู่เสมอ นี่แหละคือสิ่งที่สำคัญที่สุดในการที่ขับเคลื่อนงานให้ประสบความสำเร็จ
  • นางอริสา ฮายีจูด กล่าวว่า ชุมชนเรามีของดีมากมาย แต่เราไม่เคยหยิบยกเข้ามาพูดคุยกันเลยในปีก่อน ๆที่ผ่านมา ซึ่งเราไม่ใช่ยุคของ พ.ศ. 2504 ผู้ใหญ่ลีตีกลองประชุม ที่จะทำเฉพาะแค่ระบบสั่งการเท่านั้น หมู่บ้านของเราสามารถจัดการเองได้ พึ่งตนเองได้ ร่วมกันสร้างสรรค์ชุมชนให้น่าอยู่ได้ ด้วยการร่วมมือของพวกเรานั่นแหละ
  • นายยาโหด พ่อเหตุ กล่าวว่า เชื่อว่าทุกคนที่อยู่ในที่ประชุมนี้ คงมีความรู้เดียวกัน คือ รู้สึกดี สนุก โชคดีที่ได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาชุมชน และทุกคนก็ได้รับความรู้ต่าง ๆ มากมายในการพัฒนาตนเอง ซึ่งถ้าไม่เริ่มแต่พวกเรากันก่อน แล้วใครจะเริ่ม พลังที่รวมมาได้ ส่วนใหญ่จะเป็นแกนนำสตรี ที่เข้ามามีส่วนร่วม ถือว่าเป็นผลดีมาก ๆ ในการทำให้ชุมชนน่าอยู่
  • นางสาวจันทนา อานัน กล่าวว่า พวกเราจะทำงานเพื่อพัฒนาชุมชนนี้ไปเรื่อย ๆ ขอฝากพวกเราด้วย ถ้าใครมีอะไรที่จะเติมเต็มในวันนี้ก็เสนอได้
  • นางยูรีด๊ะ ยาบาจิ กล่าวว่า ไหน ๆ ก็เริ่มที่จะพัฒนาชุมชนแล้ว เราคงมีเรื่องที่จะได้คุยกัน ประชุมกันเรื่อย ๆ แน่ เพราะงานพัฒนาในชุมชน มีให้ให้พวกเราได้พัฒนากันอีกเยอะ เห็นไหมว่า 2 ปีที่ผ่านเราได้ทำอะไรมาบ้าง เยอะมาก ๆ อย่างน้อย ก็ได้ใจพวกเราที่จะอาสาเพิ่มขึ้น แล้วแผนที่จะเดินต่อ ก็มีอีกเยอะ
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ในที่ประชุมได้เห็นถึงการพัฒนา ยกระดับของคำว่า ชาวบ้านที่มีจิตอาสา พร้อมที่จะพัฒนาชุมชน เห็นถึงความสามารถ เห็นถึงระบบการจัดการชุมชนของเรา เห็นถึงความร่วมไม้ ร่วมมือ ในการสร้างชุมชนให้น่าอยู่
  • มีการวางแผนการทำงานของโครงการ บ้านทุ่งพัฒนา หมู่ที่ 13 ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 28 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย
  • อสม. จำนวน 7 คน
  • ผู้ใหญ่บ้าน/ผู้ใหญ่จำนวน 2 คน
  • คณะทำงานจำนวน 19 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
น.ส.อนัญญา แสะหลี , นางกัลยาทรรศน์ ติ้งหวัง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

สรุปบทเรียนคณะทำงาน ที่ผ่านมาทั้งโครงการ9 พฤษภาคม 2558
9
พฤษภาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย จันทนา อานัน
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อสรุปบทเรียนคณะทำงาน ที่ผ่านมาทั้งโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • เริ่มต้นจากการนำภาพรวมของโครงการทั้งหมด นำเสนอในที่ประชุม จากกิจกรรมแรก จนถึงวันนี้ เป็นระยะเวลา 1 ปี ก็ได้เห็นถึง
  • ความสุข ความสนุก
  • ปัญหา พร้อมแนวทางแก้ไขปัญหา
  • การได้ไปศึกษาดูงานร่วมกัน
  • การร่วมกันจัดประชุมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ (เพื่อนช่วยเพื่อน)
  • การจัดศูนย์เรียนรู้ด้านพืชผักและธนาคารเมล็ดพันธุ์
  • การจัดตั้ง สภาซูรอฮ์
  • กิจกรรมเด็กพันธุ์ใหม่หันมาใส่ใจพันธุ์ผัก
  • ฯลฯ
  • ทุกคนได้สะท้อนความคิดเห็นต่าง  ๆ มากมาย ไม่นึกเลยว่า ชุมชนของเราสามารถขยับขับเคลื่อนมาได้ถึงขนาดนี้ ถึงแม้จะเจออุปสรรคบ้างเล็กน้อยในการเรื่องของการปลูกผัก ที่พอเข้าสู่ฤดูร้อน พื้นที่จะไม่มีน้ำเพียงพอต่อการรดน้ำผักในศูนย์เรียนรู้ก็ตาม แต่มีคิดเห็นร่วมกันว่าถ้าเข้าฤดูฝน ก็จะร่วมกันทำแปลงผักเหมือนเดิม
  • มีความต้องการที่ต่อยอดจากกิจกรรม คือ การจัดตั้งห้องอบสมุนไพร โดยใช้วัตถุดิบที่มีอยู่ในชุมชนทั้งสิ้น เพราะพื้นที่ส่วนใหญ่ในชุมชนมีสมุนไพร หลากหลายชนิดที่มีอยู่รอบ ๆ บ้านอยู่แล้ว , ปลูกข้าวไร่ (ข้าวเหนียวดำ) พร้อมกับจัดกิจกรรมการตำข้าวเม่า ซึ่งพื้นที่บ้านทุ่งพัฒนา ยังมีภูมิปัญญาเดิมในเรื่องของการปลูกข้าวไร่ เพื่อใช้ในการบริโภค และการแปรรูป เป็นขนม เช่น ขนมช้าง , ขนมยี่ผ่าง , ข้าวหมาก , ข้าวเม่า , อวน , ซาฆอน ฯลฯ โดยใช้พื้นที่ของศูนย์เรียนรู้ชุมชนด้านพืชผักและธนาคารเมล็ดพันธุ์
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ในที่ประชุม ได้สรุปภาพรวมของโครงการทั้งหมด ของการจัดกิจกรรมที่ผ่านมา
  • มีการสะท้อนความคิดเห็นของการเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ มากมายของโครงการ
  • มีแผนร่วมกันในการจัดทำแผนต่อในพื้นที่ศูนย์เรียนรู้ด้านพืชผักและธนาคารเมล็ดพันธุ์ ให้เป็นศูนย์เรียนรู้ของตำบลในอนาคต
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 32 คน จากที่ตั้งไว้ 32 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน 30 คน และ วิทยากร 2 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
- น.ส.อนัญญา แสะหลี , นางกัลยาทรรศน์ ติ้งหวัง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 11 เพื่อสรุปเวทีสภาซูรอฮ์ และวางแผนเวทีสรุปถอดบทเรียนการทำงานโครงการ30 เมษายน 2558
30
เมษายน 2558รายงานจากพื้นที่ โดย จันทนา อานัน
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อสรุปเวทีสภาซูรอฮ์ และวางแผนเวทีสรุปถอดบทเรียนการทำงานโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ในที่ประชุม ได้มีการพูดคุยว่า จากการจัดการประชุมครั้งที่ผ่าน ได้มีการพูดคุยกันในเรื่องแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของชุมชน ซึ่งก็ได้มีการรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ มากมาย คือ
  1. วัตถุประสงค์
  2. ข้อมูลพื้นฐาน
  3. แผนที่เสี่ยงภัยของชุมชน
  4. การจัดตั้งคณะกรรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยชุมชนและ
  5. ขั้นตอนการปฏิบัติตามแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของชุมชน
  6. ภาคผนวกของแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของชุมชน

- ณ วันนี้ ก็ได้มีการนำข้อมูลมาตรวจสอบรายละเอียดกันอีกครั้ง เพื่อให้เอกสารมีความสมบูรณ์ พร้อมกับการรับมือภัยพิบัติอย่างทันท่วงที ถึงแม้ว่าจะได้เป็นเอกสารก็ตาม แต่เนื้อหาสาระภายในเล่ม จะเป็นการรวบรวมข้อมูลทั้งหมดของชุมชน เมื่อมีเหตุฉุกเฉินในเรื่องของน้ำท่วม คณะทำงานแต่ละฝ่ายก็จะได้ปฏิบัติหน้าที่ที่ได้จัดเตรียมอย่างทันท่วงที - มีการวางแผนถึงประเด็นต่อไปในเรื่องของการสรุปบทเรียนคณะทำงานที่ผ่านมาทั้งโครงการ ว่า โครงการที่ได้รับมา 2 ปี มีการพัฒนาการของชุมชนในเรื่องอะไรบ้าง

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • มีการตรวจสอบ ทบทวน เอกสาร เพื่อให้มีความถูกต้องของเอกสาร เรื่องแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของชุมชน เพื่อเป็นการย้ำถึงบทบาทหน้าที่ของแต่ละคน ว่ามีความผิดชอบเรื่องอะไรกันบ้าง
  • มีการวางแผนเพื่อจัดเวทีสรุปบทเรียนคณะทำงาน ที่ผ่านมาทั้งโครงการ
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 31 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย
  • อสมจำนวน 6 คน
  • ผู้ใหญ่บ้าน / ผู้ช่วย จำนวนว 3 คน
  • แกนนำชุมชน จำนวน 22 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
- น.ส.อนัญญา แสะหลี , นางกัลยาทรรศน์ ติ้งหวัง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

สภาซูรอฮ์ ครั้งที่ 4 เพื่อเป็นการสร้างกลไกการจัดการระดับหมู่บ้านต่อการมีส่วนร่วมสร้างชุมชนน่าอยู่ และเกิดการแลกเปลี่ยนในชุมชน25 เมษายน 2558
25
เมษายน 2558รายงานจากพื้นที่ โดย จันทนา อานัน
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อเป็นการสร้างกลไกการจัดการระดับหมู่บ้านต่อการมีส่วนร่วมสร้างชุมชนน่าอยู่ และเกิดการแลกเปลี่ยนในชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ในเวทีมีการพูดคุยในประเด็นการรับมือภัยพิบัติ เพราะพื้นที่หมู่ที่ 13 ถ้าเกิดน้ำท่วมจะไม่มีไหนเหลือเลย ท่วมหมดทุกตารางนิ้ว
    • แผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของชุมชน
    1. วัตถุประสงค์

    2. ข้อมูลพื้นฐานของชุมชนได้แก่ -ข้อมูลสภาพพื้นที่ -ประชากร -การประกอบอาชีพ -รายได้ -สถานที่สำคัญต่างๆของชุมชน -สภาพความเสี่ยงต่อภัยพิบัติ -ปฏิทินฤดูกาลและปฏิทินการเกิดภัย

    3. แผนที่เสี่ยงภัยของชุมชน -พื้นที่เสี่ยงภัย -พื้นที่ปลอดภัย -เส้นทางอพยพ

    4. การจัดตั้งคณะกรรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยชุมชนและแผนผังคณะกรรมการฯ พร้อมบทบาทหน้าที่ต่างๆ ** ซึ่งก็ได้ข้อสรุปต่าง ๆ มากมาย พร้อมได้มีการจัดตั้งกรรมการฝ่ายต่าง ๆ เช่น ฝ่ายอำนวยการ , ฝ่ายป้องกันภัย , ฝ่ายเฝ้าระวังภัย , ฝ่ายอพยพ , ฝ่ายปฐมพยาบาล , ฝ่ายสงเคราะห์ , ฝ่ายกู้ภัย ฯลฯ ซึ่งได้มีการจัดตั้งเป็นที่เรียบร้อย พร้อมที่จะปฏิบัติการ โดยมีหัวหน้าชุดรับผิดชอบชัดเจน ถ้าเกิดภัยมาก็จะได้ประสานงานตามหน้าที่ได้ชัดเจน

    5. ขั้นตอนการปฏิบัติตามแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของชุมชนได้แก่ -- ก่อนภัยมา จะต้องมีการเตรียมความพร้อมอย่างไรบ้าง -- ช่วงภัยมา จะมีการจัดการอย่างไร -- หลังภัยมา มีการฟื้นฟูและประเมินสถานการณ์อย่างไร -- ซึ่งจะต้องกำหนดบทบาทหน้าที่และรับผิดชอบให้ชัดเจน

    6. ภาคผนวกของแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของชุมชน -แผนผังระบบแจ้งเตือนภัยของชุมชน -บัญชีรายชื่อประชาชนในชุมชนโดยเฉพาะจะต้องจัดทำแยกเป็นประเภทบัญชีรายชื่อ เด็กคนชราคนพิการสตรีมีครรภ์ที่จะต้องดำเนินการช่วยเหลือก่อนเป็นลำดับแรกเมื่อเกิดภัยพิบัติ -บัญชีอุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้และทรัพยากรในชุมชนที่จะนำมาใช้ประโยชน์ในการจัดการภัยพิบัติ -ยานพาหนะ ที่จะนำมาใช้ในการจัดการภัยพิบัติ -บัญชีรายชื่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พร้อมหมายเลขโทรศัพท์ติดต่อ

    ** ทั้งนี้ในการจัดทำแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของชุมชนจะใส่รายละเอียดเกี่ยวกับชุมชนให้ชัดเจนและให้ได้รายละเอียดมากที่สุดเพื่อประโยชน์ของชุมชนเองในการเตรียมพร้อมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของชุมชนและนำแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของชุมชนที่ได้มาจากกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนนั้นไปฝึกซ้อมแผนเพื่อจะได้นำแผนฯ มาปรับปรุงแก้ไขให้ดีและเหมาะสมกับชุมชนมากยิ่งขึ้น

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • มีการเตรียมแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของชุมชน (วางแผนรับมือน้ำท่วม)
  • มีการจัดตั้งคณะทำงานของแต่ละฝ่าย
  • ได้รับความร่วมมืออย่างดีมากของทุกคนที่พร้อมจะปฏิบัติหน้าที่อย่างเคร่งครัดเมื่อภัยมา
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 47 คน จากที่ตั้งไว้ 60 คน
ประกอบด้วย
  • แกนนำชุมชนจำนวน 17 คน
  • คณะทำงานกลุ่มคนรักสุขภาพ จำนวน 22 คน
  • ผู้ใหญ่บ้าน/ ผู้ช่วย จำนวน 3 คน
  • อสม. จำนวน 5 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
- น.ส.อนัญญา แสะหลี , นางกัลยาทรรศน์ ติ้งหวัง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ติดตามและหนุนเสริมการทำงานของพื้นที่9 เมษายน 2558
9
เมษายน 2558รายงานจากพี่เลี้ยง โดย อนัญญา แสะหลี
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อติดตามและหนุนเสริมการทำงานของพื้นที่

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • จากการจัดประชุมคณะทำงาน เป็นการสรุปเวทีสภาซูรอฮ์ ครั้งที่ 3 และ เตรียมงานสภาซูรอฮ์ ครั้งที่ 4 ในที่ประชุมได้มีการพูดคุยในประเด็นต่าง ๆ เช่น เรื่องของกลุ่มน้ำยางสดบ้านทุ่งร่วมพัฒนา ที่ได้รับงบประมาณต่าง ๆ มากมาย เรื่องพื้นที่ส่วนกลางสำหรับออกกำลังร่วมกัน และมีการวางแผนการจัดกิจกรรมกีฬาสีหมู่บ้าน โดยความร่วมมือของชุมชนทั้งหมด จำนวน 5 โซน 5 สี 5 วัน 5 คืน 5 กิจกรรม
  • มีการวางแผนการจัดสภาซูรอฮ์ครั้งต่อไป ที่ขอให้ทุกคนเข้าร่วมโดยพร้อมเพรียงกัน พร้อมกับถ้าใครมีปัญหาอะไร ก็เข้ามาพูดคุย ปรึกษาหารือกันได้ เพื่อหาทางออกร่วมกัน
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • มีการสรุปการทำงานโครงการที่ผ่านมา
  • วางแผนกิจกรรมที่จะทำต่อไป
  • พูดคุยในวาระของหมู่บ้านในการขับเคลื่อนในประเด็นอื่นๆ
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

พี่เลี้ยงโครงการ

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ไม่มี
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • เรื่องการจัดกิจกรรมต่อไปของโครงการ
  • การจัดการเอกสารการเงิน
  • รายงานการประชุม
ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 10 เพื่อสรุปเวทีสภาซูรอฮ์ครั้งที่ 3 และ เตรียมงานสภาซูรอฮ์ครั้งที่ 49 เมษายน 2558
9
เมษายน 2558รายงานจากพื้นที่ โดย จันทนา อานัน
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อสรุปเวทีสภาซูรอฮ์ครั้งที่ 3 และ เตรียมงานสภาซูรอฮ์ครั้งที่ 4

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • จากการจัดประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 10 เพื่อสรุปเวทีสภาซูรอฮ์ ครั้งที่ 3 และ เตรียมงานสภาซูรอฮ์ ครั้งที่ 4 ในที่ประชุมได้มีการพูดคุยในประเด็นต่าง ๆ เช่น เรื่องของกลุ่มน้ำยางสดบ้านทุ่งร่วมพัฒนา ที่ได้รับงบประมาณต่าง ๆ มากมาย เรื่องพื้นที่ส่วนกลางสำหรับออกกำลังร่วมกัน และมีการวางแผนการจัดกิจกรรมกีฬาสีหมู่บ้าน โดยความร่วมมือของชุมชนทั้งหมด จำนวน 5 โซน 5 สี 5 วัน 5 คืน 5 กิจกรรม
  • มีการวางแผนการจัดสภาซูรอฮ์ครั้งต่อไป ที่ขอให้ทุกคนเข้าร่วมโดยพร้อมเพรียงกัน พร้อมกับถ้าใครมีปัญหาอะไร ก็เข้ามาพูดคุย ปรึกษาหารือกันได้ เพื่อหาทางออกร่วมกัน
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • มีการสรุปผลจากเวทีสภาซูรอฮ์ครั้งที่ 3 ในประเด็นต่าง ๆ
  • มีการวางแผนการจัดเวทีสภาซูรอฮ์ ครั้งที่ 4 ที่จัดขึ้นเพื่อแลกเปลี่ยนในชุมชน และทำให้ชุมชนน่าอยู่
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 33 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย
  • แกนนำชุมชน จำนวน 15 คน
  • อสม. จำนวน 6 คน
  • ผู้นำชุมชน จำนวน 2 คน
  • กลุ่มคนรักสุขภาพ จำนวน 10 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
- น.ส.อนัญญา แสะหลี , นางกัลยาทรรศน์ ติ้งหวัง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

สภาซูรอฮ์ ครั้งที่ 3 เพื่อเป็นการสร้างกลไกการจัดการระดับหมู่บ้านต่อการมีส่วนร่วมสร้างชุมชนน่าอยู่ และเกิดการแลกเปลี่ยนในชุมชน25 มีนาคม 2558
25
มีนาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย จันทนา อานัน
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อเป็นการสร้างกลไกการจัดการระดับหมู่บ้านต่อการมีส่วนร่วมสร้างชุมชนน่าอยู่ และเกิดการแลกเปลี่ยนในชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ในที่ประชุมมีการพูดคุยในส่วนของประเด็นหลัก ๆ ที่ขับเคลื่อนในชุมชนมีดังนี้
  1. กลุ่มน้ำยางสดบ้านทุ่งร่วมพัฒนา ได้ขึ้นทะเบียนกับกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (กฟก.) ได้มีงบประมาณสนับสนุนจากกองทุน จำนวน 30,000 บาท สนับสนุนให้ชาวสวนยางมีรายได้เพิ่มขึ้น จึงมีโครงการปลูกผักเหนียงในสวนยาง เพราะปัจจุบันนี้ทางจังหวัดสตูลจะเน้นหนักเรื่องของผักพื้นบ้าน เช่น สีตีบินตัย , ตุเด๊ะ ,หมก ๆ ฯลฯ ในส่วนของผักเหนียงที่ได้รับมาจากงบประมาณข้างต้น จำนวน 1,200 กว่าต้น ตอนนี้ก็ได้มีการแจกจ่าย และ กระจายไปให้กับสมาชิกแล้ว
  2. อสม. พร้อมกับ กลุ่มคนรักสุขภาพบ้านทุ่ง แจ้งสถานที่ออกกำลังกายชุมชนที่เป็นศูนย์กลางของชุมชน ตอนนี้ได้รับงบประมาณจาก องค์การบริหารส่วนตำบลละงูมาบางส่วน ก็ได้มีการตกแต่งห้องออกกำลังกายที่สามารถเล่นได้ ไม่ว่าจะฝนตก หรือแดดออกก็สามารถมาออกกำลังกายได้ทุกวัน ก็ได้มีการปรับปรุงพื้นที่ห้องว่าง ณ สำนักงานสภาองค์กรชุมชนตำบลละงู ที่เป็นที่เดียวกับศูนย์เรียนรู้ด้านพืชผักและธนาคารเมล็ดพันธุ์ของชุมชน

- ในที่ประชุมก็ได้มีมติให้จัดกิจกรรม กีฬาสีหมู่บ้าน เพราะจากเดิมที่พื้นที่หมู่ที่ 13 เคยมีการแข่งขันกีฬามาแล้ว คือ “ทุ่งนาคัพ”ที่จะจัดขึ้นในช่วง ฮารีรายออีดิลอัฏฮาอ์ (รายาหยี) ของทุกปี ซึ่งแต่ละปีจะไม่ตรงกันในเดือนนั้น เพราะมีการขยับไปตามปฏิทินอิสลาม อาจจะเข้าฤดูฝนบ้าง แล้งบ้างทำให้ไม่สะดวกในการเล่นจึงได้มีการกำหนดใหม่ และพร้อมแบ่งสีกัน เพื่อให้ทุกคนในบ้านทุ่งพัฒนามีส่วนร่วมทุกคน ทุกครอบครัวประกอบด้วย 5 สี ตามโซนรับผิดชอบของ อสม. แบ่งเป็น 5 โซน โดยแต่ละโซนจะต้องเตรียมตัวในการเดินพาเหรดด้วย คือ
- - โซนที่ 1 สีฟ้า คือ หนองนพใหญ่พัฒนา - - โซนที่ 2 สีเหลือง คือ หนองกกพัฒนา - - โซนที่ 3 สีส้ม คือ ในบ้านพัฒนา - - โซนที่ 4 สีแดง คือ หนองนายทรัพย์พัฒนา - - โซนที่ 5 สีเขียว คือ ซอมแรดพัฒนา - - ซึ่งปีนี้ เป็นปีแรกที่จัดแบบนี้มีกีฬาการแข่งขัน มี 5 กิจกรรม คือ วอลเลย์บอล , แชร์บอล , ฟุตบอล , กีฬาพื้นบ้าน และ ประกวดร้องเพลง จำนวน 5 วัน 5 คืน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • เห็นถึงการยกระดับของชุมชน จากเดิมที ไม่เคยมีโครงการ หรือกิจกรรมใด ๆ เข้ามาในชุมชนเลย ชุมชน ไม่มีการรวมตัว ไม่มีการนำปัญหามาพูดคุยเพื่อหาทางออก แต่ ณ วันนี้ หาข้อสรุปได้แล้วว่า ชุมชน เริ่มหันมาใส่ใจชุมชนมากขึ้น
  • เห็นถึงผู้นำ ที่พูดคุยกันในเรื่องของชุมชน ว่าจะหาทางออกอย่างไร ให้ชุมชน น่าอยู่ โดยมาจากหลาย ๆ ฝ่าย เข้ามาปรึกษาและพูดคุย
  • การวางแผน การแข่งขันกีฬาสีของหมู่บ้าน และแบ่งโซนการรับผิดชอบในการส่งนักกีฬา , การดูแลนักกีฬา เป็นต้น
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 43 คน จากที่ตั้งไว้ 60 คน
ประกอบด้วย
  • กลุ่มคนรักสุขภาพ จำนวน 35 คน
  • แกนนำชุมชน จำนวน 5 คน
  • อสม. จำนวน 3 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ปัญหาในการถกเถียงเพื่อหาข้อสรุป แต่ก็หาข้อสรุปได้ด้วยดี
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
- น.ส.อนัญญา แสะหลี , นางกัลยาทรรศน์ ติ้งหวัง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

จัดเวทีสื่อสารสาธารณะ 1. เพื่อขับเคลื่อนนโยบาย ไปสู่นโยบายสาธารณะและข้อบัญญัติของตำบล 2. เพื่อผลักดันเข้าสู่แผนของตำบล19 มีนาคม 2558
19
มีนาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย จันทนา อานัน
circle
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อขับเคลื่อนนโยบาย ไปสู่นโยบายสาธารณะและข้อบัญญัติของตำบล 2. เพื่อผลักดันเข้าสู่แผนของตำบล
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • เริ่มต้นจากการรายงานผลการดำเนินกิจกรรมที่ผ่านมา
  • มีข้อสรุปใน 2 ประเด็น
  1. ในเรื่องที่ชุมชนสามารถจัดการได้ คือ ข้อตกลงในการหันมาปลูกผักในชุมชนของตัวเอง ทั้งผักพื้นบ้าน สมุนไพร, บริโภคอาหารที่ดีต่อสุขภาพ, การไม่ใช้ปุ๋ยเคมี, การออกกำลังกายร่วมกันทุกวันที่ศูนย์ ฯ การออมทรัพย์รวมกัน เป็นต้น
  2. ข้อเสนอต่อ อปท. เพื่อของบสนับสนุนให้กับชุมชน คือ รณรงค์เรื่องการออกกำลังกาย เรื่องชุมชนไม่กินหวาน งบสนับสนุน แรลลี่ คนสามวัยใส่ใจสังคม ประกวดบ้านสวยด้วยพืชผักพื้นบ้าน เพื่อตอบโจทย์สุขภาพชุมชน

- ข้อเสนอต่าง ๆ จะเข้าร่วมเสนอกับหน่วยงานเพื่อขับเคลื่อนนโยบาย ไปสู่นโยบายสาธารณะและข้อบัญญัติของตำบล และ ผลักดันเข้าสู่แผนของตำบล ในงานสมัชชาคนละงู ครั้งที่ 3 ซึ่งจะจัดขึ้น ในเดือนสิงหาคม 2558 นี้

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • มีข้อสรุปในการขับเคลื่อนกิจกรรม 2 ประเด็น คือ ข้อเสนอของชุนชน และ ข้อเสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  • มีการสรุปผลจากการกิจกรรมในวันนี้
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 110 คน จากที่ตั้งไว้ 81 คน
ประกอบด้วย
  • พิธีกร จำนวน 1 คน
  • แกนนำกลุ่มคนรักสุขภาพ จำนวน 45 คน
  • อสม. จำนวน 11 คน
  • ประชาชนทั่วไป จำนวน 35 คน
  • แกนนำชุมชน จำนวน 18 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ผู้เข้าร่วมมาเกินเป้าหมายที่วางไว้ แต่สามารถแก้ไขปัญหาเรื่องของอาหาร ได้ทันท่วงที เพราะจะมีทีมที่รับผิดชอบอยู่แล้ว
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
- น.ส.อนัญญา แสะหลี , นางกัลยาทรรศน์ ติ้งหวัง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 9 เพื่อสรุปเวทีสภาซูรอฮ์ครั้งที่ 2 และวางแผนเวทีสื่อสารสาธารณะ16 มีนาคม 2558
16
มีนาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย จันทนา อานัน
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อสรุปเวทีสภาซูรอฮ์ครั้งที่ 2 และวางแผนเวทีสื่อสารสาธารณะ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ในที่ประชุมสรุปได้ว่า จากเวทีที่ผ่านมา คือ เวทีสภาซูรอฮ์ ครั้งที่ 2 เพื่อเป็นการสร้างกลไกการจัดการระดับหมู่บ้านต่อการมีส่วนร่วมสร้างชุมชนน่าอยู่ และเกิดการแลกเปลี่ยนในชุมชน นั้น ตัวแกนนำหลักที่ทำประสบความสำเร็จ คือ ผู้ใหญ่บ้าน เพราะการทำงานไม่ว่าจะงานอะไรก็ตาม ถ้าขาดพ่อบ้าน ก็ทำงานยาก ลำบาก งานไม่สามารถบรรลุผลได้ 100 % ในการทำงานของภาคประชาชน ล้วนแล้วแต่จะต้องเจอกับปัญหาต่าง ๆ มากมาย ได้รับการตั้งคำถามเสมอ ทำให้ความเป็นจิตอาสาของคนทำงานมีน้อยลง แต่ภาพรวมของหมู่ที่ 13 บ้านทุ่งพัฒนาทุกฝ่ายร่วมมือกัน คอยช่วยเหลือ ปรึกษาหารือกันอย่างนี้ เป็นผลดีต่อตัวชุมชน อีกทั้งงานกิจกรรมของกลุ่ม ถ้าแกนนำชัด งานก็ชัด
  • มีการวางแผนเพื่อจัดเวทีสื่อสารสาธารณะ 1. เพื่อขับเคลื่อนนโยบาย ไปสู่นโยบายสาธารณะและข้อบัญญัติของตำบล 2. เพื่อผลักดันเข้าสู่แผนของตำบล ก็ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีของคณะทำงานทุกคน โดยเน้นเรื่องชุมชนน่าอยู่ จะทำให้น่าอยู่อย่างไร ชุมชนต้องการอะไร เดินหน้าต่อในเรื่องอะไรอีกบ้าง เป็นต้น
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ได้ข้อสรุปจากเวทีที่ผ่านมา คือ เวทีสภาซูรอฮ์
  • มีความยินดี และ ดีใจที่ได้พ่อบ้านมาร่วมกันขับเคลื่อนงานให้สำเร็จผล
  • มีการวางแผนเวทีสื่อสารสาธารณะ ในการจัดกิจกรรมในครั้งต่อไป
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 25 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย
  • แกนนำชุมชน 5 คน
  • แกนนำกลุ่มคนรักสุขภาพ 20 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
- น.ส.อนัญญา แสะหลี , นางกัลยาทรรศน์ ติ้งหวัง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

สภาซูรอฮ์ ครั้งที่ 2 เพื่อเป็นการสร้างกลไกการจัดการระดับหมู่บ้านต่อการมีส่วนร่วมสร้างชุมชนน่าอยู่ และเกิดการแลกเปลี่ยนในชุมชน26 กุมภาพันธ์ 2558
26
กุมภาพันธ์ 2558รายงานจากพื้นที่ โดย จันทนา อานัน
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อเป็นการสร้างกลไกการจัดการระดับหมู่บ้านต่อการมีส่วนร่วมสร้างชุมชนน่าอยู่ และเกิดการแลกเปลี่ยนในชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • เริ่มต้นด้วยผู้ใหญ่บ้าน เป็นผู้เปิดการประชุม โดยมีการจัดประชุมโดยให้แต่ละกลุ่มแจ้งมาว่า ใครทำอะไร ผลเป็นอย่างไร มาเล่าให้ทีประชุมฟังบ้าง ดังนี้
  1. กลุ่มอสม. มีการปฏิบัติงาน ด้านการดูแลชาวบ้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการดูแลผู้สูงอายุ วัดน้ำหนัก ตรวจความดัน เบาหวาน ฉีดวัคซีน ฯลฯ
  2. กลุ่มน้ำยางสด บ้านทุ่งร่วมพัฒนา จัดซื้อน้ำยางสด โดยสมาชิกมีการรวมกลุ่มกันเอง โดยลงหุ้นคนละ 3,000 บาทเพื่อร่วมกันจัดตั้งเป็นกลุ่มน้ำยางที่มีการปันผลปีละ 1 ครั้ง มีการศึกษาดูงาน มีงบอุดหนุนต่าง ๆ มากมาย
  3. กลุ่มคนรักสุขภาพบ้านทุ่ง มีกิจกรรมหลัก ๆ คือการปลูกผักที่ปลูกเอง ปลอดสารพิษ การออกกำลังร่วมกันที่โรงเรียนบ้านทุ่งสภากาชาดอุปถัมภ์ ฯลฯ
  4. ผู้ใหญ่บ้านพร้อมด้วยผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน มีการแจ้งให้ที่ประชุมทราบเรื่องที่รับมาจากอำเภอ เกษตร ประมง มาชี้แจงให้ที่ประชุมทราบ
  5. สมาชิก อบต. มีการแจ้งกิจกรรมต่าง ๆ ที่ได้รับมาจาก อบต. ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของกีฬา , งานสตรีตำบล , วันเมาลิด หรือกิจกรรมต่าง ๆ ที่มาจากองค์การบริหารส่วนตำบล เป็นต้น

-- ในที่ประชุมทุกคนมีความรู้สึกดีใจมาก และร่วมมือกันดี เพราะเหตุการณ์แบบนี้ไม่เคยมีมาก่อนเลย และหวังว่า ทุกคนจะมีความร่วมมืออย่างนี้ต่อ ๆ ไป

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • มีการชี้แจงกิจกรรมที่ขับเคลื่อนในชุมชน คือ งานของอสม. , กิจกรรมของกลุ่มน้ำยางสด , กลุ่มคนรักสุขภาพ , แกนนำชุมชน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วย ฯ ส.อบต.
  • ในที่ประชุมได้รับทราบเหตุ ความเคลื่อนไหวของกลุ่มกิจกรรม ซึ่งได้รับรู้ รับทราบไปพร้อม ๆ กัน ทำให้ชุมชนจัดการตนเองได้
  • ได้รับความร่วมมือจากหลาย ๆ ฝ่าย พร้อมที่จะถ่ายทอด และ ประชาสัมพันธ์ให้ทุกคนได้รับรู้เหมือน ๆ กัน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 55 คน จากที่ตั้งไว้ 60 คน
ประกอบด้วย
  • แกนนำกลุ่มคนรักสุขภาพบ้านทุ่ง จำนวน 55 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
- น.ส.อนัญญา แสะหลี , นางกัลยาทรรศน์ ติ้งหวัง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 8 เพื่อสรุปเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การปลูกผัก และ วางแผนการจัดเวทีสภาซูรอฮ์15 กุมภาพันธ์ 2558
15
กุมภาพันธ์ 2558รายงานจากพื้นที่ โดย จันทนา อานัน
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อสรุปเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การปลูกผัก และ วางแผนการจัดเวทีสภาซูรอฮ์

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • นางสาวจันทนา  อานัน กล่าวเปิดการประชุมคณะทำงานครั้งที่ 8 เพื่อสรุปเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การปลูกผัก และ วางแผนการจัดเวทีสภาซูรอฮ์
  • ในที่ประชุมได้มีการสรุปเวทีเพื่อนช่วยเพื่อน พร้อมวางแผนตัวแทน เพื่อนำเรื่องเข้าที่ประชุมว่าใครมีอะไรจะมาเสนอ เพื่อแก้ไขปัญหาในวงประชุม ก็ได้มีข้อตกลงร่วมกันในการที่จะดูแลตัวเอง เพื่อให้มีสุขภาพดี คือ การบริโภคอาหารที่ปลอดสารพิษ , การออกกำลัง , การหันมาปลูกผักกินเองในครัวเรือน
  • มีการวางแผนการจัดเวทีสภาซูรอฮ์ ในครั้งที่ 2  ซึ่งมีตัวแทนกลุ่ม กิจกรรมที่มีอยู่ในหมู่บ้านว่ามีกลุ่มอะไรบ้าง ใครบ้างเป็นตัวแทนหลักในการดำเนินกิจกรรม
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ในที่ประชุมมีการสรุปผลจากเวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์ เพื่อนช่วยเพื่อน ซึ่งมีผลตอบรับที่ดีมากจาก ผู้เข้าร่วมประชุม
  • มีความหวังให้ชุมชนมีสุขภาพดีตลอดไป
  • มีการวางแผนการจัดเวทีสภาซูรอฮ์ ครั้งที่ 2
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 28 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย
  • แกนนำชุมชน 6 คน
  • อสม. 5 คน
  • แกนนำกลุ่มคนรักสุขภาพ 17 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
- น.ส.อนัญญา แสะหลี , นางกัลยาทรรศน์ ติ้งหวัง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ประชุมแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ การปลูกผัก มีการจับคู่ บัดดี้ระหว่างครอบครัวเดิม กับ ครอบครัวใหม่ (เพื่อนช่วยเพื่อน)7 กุมภาพันธ์ 2558
7
กุมภาพันธ์ 2558รายงานจากพื้นที่ โดย จันทนา อานัน
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ การปลูกผัก มีการจับคู่ บัดดี้ระหว่างครอบครัวเดิม กับ ครอบครัวใหม่ (เพื่อนช่วยเพื่อน)

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • นางสาวจันทนา  อานัน ผู้ประสานงานโครงการ กล่าวเปิดการประชุม แลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ การปลูกผัก มีการจับคู่ บัดดี้ระหว่างครอบครัวเดิม กับ ครอบครัวใหม่ (เพื่อนช่วยเพื่อน) ซึ่งในกิจกรรมนี้ก็จะเป็นการจับคู่กัน เพื่อให้ทุกคน สามารถแลกเปลี่ยนความคิดกัน
  • นางอริสา ฮายีจูด กล่าวว่า เพื่อนช่วยเพื่อน ประสบการณ์ของรุ่นพี่ มีอะไรบ้างอยากให้มีการสะท้อนกัน ในปัญหา ทางออก สิ่งที่ปลูก
  • ในที่ประชุม มีการจับคู่กัน โดยให้แต่ละคู่ได้เล่าประสบการณ์ที่ผ่านมา มีการสรุปผลดังนี้ -  ปัญหาที่เหมือนกัน คือ ในเรื่องสุขภาวะ ที่มาจากการกิน เช่น โรคอ้วน ความดัน เบาหวาน เป็นต้น และโดยภาพรวม คือ ไม่ค่อยมีการออกกำลังกายทำให้มีปัญหาโดยตัวเอง จึงได้มีแผนที่จะทำกันต่อดังนี้
  1. เรื่องการบริโภคอาหารที่มีสารพิษและไม่ปลอดภัย ได้เน้นเรื่องที่ไม่ปลอดภัย เช่น

- การใช้น้ำมันทอดซ้ำ - การใช้สารเคมีฉีดป้องกันแมลงในร้านอาหารที่มีอาหารอยู่รอบ ๆ ด้าน - การใช้สารเคมีในปลาเค็ม ปลาแดดเดียว เพื่อป้องกันแมลง - การใช้น้ำยา ฟลอมาลีน แช่ปลาสด เพื่อทำให้ปลาสดเสมอ - การใช้สีผสมอาหารเพื่อทำให้อาหารน่ารับประทาน ไม่เป็นธรรมชาติ เช่น กุ้งแห้ง กะปิ ฯลฯ - สรุปกันว่า จะดูแล สอดส่อง และ พยายามหันมาบริโภคอาหารที่ทำเอง ปลูกเองจะดีกว่า เพราะสังคมข้างนอกเราไม่สามารถรับรู้ได้เลยว่า ความเห็นแก่ตัวของแต่ละคน จะมาในรูปแบบใด 2. เรื่องการดูแลสุขภาพ - ทุกคนจะร่วมกันออกกำลังกายให้ได้อย่างน้อย อาทิตย์ละ 3 ครั้ง เพื่อทำให้มีภูมิคุ้มกัน และภูมิต้านทานที่ดีให้กับตัวเอง
3. มีการออกแบบ เสนอให้มีสถานที่ออกกำลังกายที่สามารถเล่นได้ทุกเวลา ทั้งฤดูร้อน ฤดูฝน หรือฤดูหนาว

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ได้เห็นปัญหาของชุมชน เช่น ปัญหาด้านสุขภาพ
  • ได้เห็นแนวทาง หรือทางออกของปัญหา พร้อมแผนการเดินต่อ ในเรื่องของการบริโภค และ การออกกำลังกาย
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 53 คน จากที่ตั้งไว้ 62 คน
ประกอบด้วย
  • วิทยากร 2 คน
  • แกนนำกลุ่มคนรักสุขภาพบ้านทุ่ง 51 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-น.ส.อนัญญา แสะหลี , นางกัลยาทรรศน์ ติ้งหวัง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 7 เพื่อสรุปเวทีสภาซูรอฮ์ครั้งที่ 1 และวางแผนเวทีประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การปลูกผักของสมาชิกกลุ่ม31 มกราคม 2558
31
มกราคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย จันทนา อานัน
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อสรุปเวทีสภาซูรอฮ์ครั้งที่ 1 และวางแผนเวทีประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การปลูกผักของสมาชิกกลุ่ม

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • นางสาวจันทนาอานัน ผู้ประสานงานโครงการ กล่าวเปิดการประชุม แจ้งในที่ประชุม เรื่อง การจัดเวทีสภาซูรอฮ์ ครั้งที่ผ่านมา ได้มีการแสดงความคิดเห็น กันอย่างดีมาก
    ทุกคนพร้อมกำหนดทิศทางไปในทางเดียวกัน มีเป้าหมายร่วมกัน ว่า จะทำให้ชุมชน
    เป็น “ชุมชนน่าอยู่” ที่สามารถพึ่งพาตนเอง และจัดการตนเองได้

  • นางอริสาฮายีจูด กล่าวว่า เราได้เป้าหมายทิศทางร่วม ในการนำไปสู่ทิศทางการ จัดตั้งสภาซูรอฮ์ เพื่อให้ชุมชนน่าอยู่ จะเกิดขึ้นไม่ได้ ถ้าทุกคนไม่ร่วมมือกัน ถึงแม้ว่า
    งานนี้จะเป็นงานใหญ่ ที่ชุมชนยังไม่เคยได้ลอง ได้สัมผัส แต่ก็เชื่อว่า ชุมชนสามารถจัดการได้

  • นางยูรีด๊ะยาบาจิ ได้กล่าวว่า พวกเราเริ่มเห็นการพัฒนาการของคนบ้านเราที่มีความกล้าคิด กล้าแสดงออก เพื่อนำพาชุมชนพึ่งตนเองได้ และเห็นด้วยกับอริสา ฮายีจูด ที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นนี้

  • นางสาวจันทนา อานัน กล่าวว่า ขอบคุณทุกคนที่ร่วมกันสร้างฝันให้ชุมชนเราสำเร็จ และ ขอขอบคุณผู้ใหญ่บ้านของเราที่ร่วมกันคิด ร่วมด้วยช่วยกัน ร่วมมือกันอย่างนี้ อย่างน้อยก็ทำให้ชุมชนมีแรงขับเคลื่อนไปได้ด้วยดี ไม่ใช่ว่า จะเดินไปโดยลำพัง แค่มีผู้นำเข้ามาร่วมด้วยอย่างนี้ก็ดีใจแล้ว
  • นางฮาสาน๊ะอานัน กล่าวว่า กิจกรรมต่อไปจะเป็นอะไรต่อ อย่างน้อยการที่เราได้พบปะกัน พูดคุยกัน ก็ถือว่าประสบความสำเร็จแล้ว
  • นางสาวจันทนาอานัน กล่าวว่า กิจกรรมต่อไปคือ เวทีประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การปลูกผักของสมาชิกกลุ่ม กิจกรรมดังกล่าว จะอยู่ในรูปแบบของการจัดกิจกรรมด้าน เพื่อนช่วยเพื่อน ที่เป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในครั้งที่ผ่านมา ว่าเป็นอย่างไร ทั้งในเรื่องของการหันมาปลูกผักกินเองที่ปลอดสารพิษ การดูแลสุขภาพ การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ต่อร่างกาย
  • ในที่ประชุม ร่วมเสนอว่า จะจัดกิจกรรมในรูปแบบที่จับคู่กันเอง ระหว่างเพื่อนช่วยเพื่อนแบบนี้ จะทำให้งานราบรื่นไปได้ด้วยดีอย่างแน่นอน
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ได้มีการสะท้อนความคิดเห็นที่ได้จากเวทีสภาซูรอฮ์ครั้งที่ 1 ที่ทุกคนจะร่วมกันทำให้เกิด “ชุมชนน่าอยู่”
  • กล่าวขอบคุณผู้ใหญ่บ้าน ที่เป็นส่วนหนึ่งในการร่วมคิด ร่วมทำให้เกิดสภาซูรอฮ์
  • มีการวางแผนในกิจกรรมต่อไป คือ เวทีประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การปลูกผักของสมาชิกกลุ่ม (เพื่อนช่วยเพื่อน)
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย
  • ผู้นำชุมชน 6 คน
  • ผู้นำธรรมชาติ 24 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
- น.ส.อนัญญา แสะหลี , นางกัลยาทรรศน์ ติ้งหวัง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

สภาซูรอฮ์ ครั้งที่ 1 เพื่อเป็นการสร้างกลไกการจัดการระดับหมู่บ้านต่อการมีส่วนร่วมสร้างชุมชนน่าอยู่ และเกิดการแลกเปลี่ยนในชุมชน24 มกราคม 2558
24
มกราคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย จันทนา อานัน
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อเป็นการสร้างกลไกการจัดการระดับหมู่บ้านต่อการมีส่วนร่วมสร้างชุมชนน่าอยู่ และเกิดการแลกเปลี่ยนในชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • นายยาโหด พ่อเหตุ ผู้ใหญ่บ้าน กล่าวเปิดการประชุม ณ วันนี้
    สถานการณ์ของประเทศในเรื่องของการปฏิรูป ซึ่งต่อไปในอนาคต
    ชุมชนจะต้องพึ่งตนเอง หรือ จัดการตนเองให้ได้ เพื่อเตรียมความพร้อม ในการรับการสถานการณ์การเปลี่ยนแปลง (ปฏิรูป) แนวคิดในเรื่องการทำสภาซูรอฮ์
    ซึ่งเป็นพื้นที่ ๆ ทุกคน ทุกกลุ่ม เป็นเจ้าของร่วมกัน เป็นวงพูดคุย (จังกาบ)
    เพื่อจะได้รับรู้ เท่าทัน เรื่องต่าง ๆ ทั้งภายในหมู่บ้านและนอกหมู่บ้าน
    เราจึงต้องมีการเตรียมการณ์

  • นางก่อเดียะ นิ้วหลี กล่าวว่า ถ้าเป็นรูปแบบของการบริหารจัดการ แบบสภาองค์กรชุมชน จะเป็นการร่วมไม้ร่วมมือจากทุกฝ่าย เพื่อให้มีความเข้าใจ
    ร่วมแก้ไขปัญหาอย่างครอบคลุมทุกเรื่อง นำไปสู่ผลลัพธ์ของการแก้ไข ปัญหาอย่างมีส่วนร่วม (มีอะไรเราก็จะมาพูดคุย เพื่อหาทางออกร่วมกัน)
    เป็นการสร้างความสมานฉันท์ไปในตัว

  • นางอริสาฮายีจูด กล่าวว่า แล้วบ้านเราจะทำอย่างไร ให้เป็นเหมือนที่ นางก่อเดียะ นิ้วหลีว่า

  • ผู้ใหญ่บ้าน (นายยาโหดพ่อเหตุ) กล่าวว่า บ้านเรามีกลุ่มต่าง ๆ มากมาย
    ที่มีการดำเนินการอยู่มีกี่กลุ่ม แล้วใครบ้าง ที่เป็นผู้นำอยู่ เราจะใช้ทีมนี้
    เป็นทีมขับเคลื่อนสภาซูรอฮ์ เพื่อแก้ไขปัญหาให้กับหมู่บ้าน
    และกำหนดทิศทางการก้าวเดินของหมู่บ้าน พร้อมกับประสานหน่วยงานภายนอก
    ด้านงบประมาณมาสนับสนุนกิจกรรม กลุ่ม ต่าง ๆ ในหมู่บ้าน เพื่อนำไปสู่“ชุมชนน่าอยู่”

  • นางยูรีด๊ะยาบาจิ กล่าวว่า มีความคิดเห็นว่า ดีเหมือนกัน เพราะบ้านเรา
    ไม่มีเคยเรื่องแบบนี้มาเลย จึงถือว่า เป็นเรื่องที่แปลกใหม่ และท้าทายกับพวกเราทุกคน

  • นายเฉบโกบหลำ กล่าวว่า บ้านเราจะทำได้หรือ เพราะบ้านเรา ไม่เคยคิดที่จะนำปัญหามาแก้ไข พูดคุย และหาทางออกร่วมกัน
    ก็จะมีงานที่รวมตัวกันได้ ก็เป็นงานแต่งงาน ,นูหรี , พัฒนากุโบร์ ฯลฯ ขนาดวันนี้ เชิญแกนนำหลาย ๆ คน ยังมาไม่ครบเลย

  • นางอริสาฮายีจูด กล่าวว่า แล้วเราเคยลองทำแล้วหรือยัง
    ถ้าไม่ลองก็ไม่รู้ ปัญหาเกิดขึ้นจากบ้านเรา ทำไมเราไม่แก้ไขร่วมกันด้วยคนบ้านเรา

  • นายยาโหด พ่อเหตุ กล่าวว่า ในที่ประชุมว่าอย่างไรบ้าง เพื่อหามติร่วมกัน

  • นายเฉบ โกบหลำ กล่าวว่า เรื่องแบบนี้ผมเห็นด้วยอยู่แล้ว ที่พูดไปเมื่อกี้
    เพราะกลัวว่าพวกเราจะทำไม่จริง ไปไม่ถึงไหนมาไหน ถ้าเห็นถึงพลังของ พวกเราทุกคน ที่ร่วมมือกันแบบนี้ เชื่อว่าจะไปได้ นำไปสู่ “ชุมชนน่าอยู่”ต่อไป

  • มติที่ประชุม เห็นด้วยในการขับเคลื่อนงานในชุมชน หมู่ที่ 13 บ้านทุ่งพัฒนา สู่ สภาซูรอฮ์

  • พร้อมกันนี้ ก็ได้มีการร่วมกันหยิบของขวัญ เพื่อสร้างความสมานฉันท์ อันดี ในชุมชน ด้วย
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ได้ทิศทางและเป้าหมายร่วมกันในการขับเคลื่อนชุมชน นำไปสู่ “ชุมชนน่าอยู่”
  • เห็นคนบ้านเรา พัฒนาขึ้น เช่น นางอริสา ฮายีจูด จากเมื่อก่อนที่ไม่ค่อยกล้าแสดงออก ก็เริ่มมีการแสดงความคิดเห็นมากขึ้น
  • อยู่ในช่วงของปีใหม่ ก็ได้มีการร่วมหยิบของขวัญกันด้วย ทุกคนสนุกสนานกันมาก
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 68 คน จากที่ตั้งไว้ 60 คน
ประกอบด้วย
  • แกนนำกลุ่มคนรักสุขภาพบ้านทุ่ง 55 คน
  • อสม. 13 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • จุดอ่อนเรื่องการประสานงานที่มาไม่ครบองค์ประชุม ที่ยังได้รับความร่วมมือน้อย กับคนบางส่วน แต่ก็มีการประสานไปเรื่อย ๆ
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-น.ส.อนัญญา แสะหลี , นางกัลยาทรรศน์ ติ้งหวัง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 6 เพื่อสรุปผลของการประชุมของเยาวชน และวางแผนการจัดตั้งสภาซูรอฮ์ ครั้งที่ 119 มกราคม 2558
19
มกราคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย จันทนา อานัน
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อสรุปผลของการประชุมของเยาวชน และวางแผนการจัดตั้งสภาซูรอฮ์ ครั้งที่ 1

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • นางอริสาฮายีจูด กล่าวเปิดการประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 6 เพื่อสรุปผล ของการประชุมของเยาวชน และวางแผนการจัดตั้งสภาซูรอฮ์ ครั้งที่ 1

  • จากการจัดเวทีอบรมให้ความรู้และจัดทำแปลงผักของกลุ่มเด็กพันธุ์ใหม่ หันมาใส่ใจพันธุ์ผัก เพื่อทำแปลงปลูกผักในโรงเรียนบ้านทุ่งสภากาชาดอุปถัมภ์
    ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีมาก จากโรงเรียนและชุมชน เยาวชนมีความรู้สึกดีใจมาก
    ตื่นเต้น อยากทำต่อให้เกิดความยั่งยืน ให้คู่กับชุมชน พร้อมสุขภาพของคนในชุมชนดีขึ้น

  • เยาวชนบอกว่า จะนำความรู้ที่ได้ไปบอกที่บ้าน พร้อมปฏิบัติจริง เพราะการที่เรา ปลูกจิตสำนึกให้เด็กตั้งแต่เนิ่น ๆ จะช่วยให้เด็กมีความคิดไปในทางที่ดี เด็กมีความรับผิดชอบ ใช้เวลาว่างในการสนใจผักแทนการอยู่ร้านเกมส์
    อีกทั้งเด็กได้เห็นความเจริญเติบโตของผักที่ปลูก พร้อมมีรายได้จากการปลูกผักนี้ด้วย
    ความสวยงามของผักแบบธรรมชาติ สุขภาพจิตก็ดีขึ้น ครอบครัว ชุมชน สังคม
    ก็มีความสุข อีกทั้งทำให้ชุมชนน่าอยู่ หันไปทางไหน ก็เห็นผักที่เราปลูก
    มีรอบบ้าน มีได้ทำอาหารได้ตลอดไป อีกทั้งยังปลอดสารพิษอีกด้วย
    พร้อมกับการใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยธรรมชาติ ที่มีเองในชุมชน

  • น.ส. จันทนา อานัน กล่าวขอบคุณทุกคนที่ร่วมกันทำให้เยาวชนหันมา สนใจชุมชนมากขึ้น เพื่อให้เป็นชุมชนสีเขียว พร้อมลดช่องว่างระหว่างเยาวชน กับผู้ใหญ่ เพื่อให้เป็นชุมชนต้นแบบต่อไปในอนาคต

  • หลังจากนี้จะมีการจัดตั้งสภาซูรอฮ์ ครั้งนี้ 1 เพื่อเป็นการสร้างกลไกการจัด การระดับหมู่บ้านต่อการมีส่วนร่วมสร้างชุมชนน่าอยู่ และเกิดการแลกเปลี่ยนในชุมชน
    ขอให้ทุกคนเข้าร่วม พร้อมกับนำอาหาร พืชผัก ของที่มีในชุมชนมาร่วมในงานด้วย
    ใครมีอะไรก็พามา

  • ในส่วนของกลุ่มในบ้านมีกลุ่มอสม. ,ชรบ., สตรี , แกนนำสภาฯ , กลุ่มน้ำยาง ,
    กรรมการหมู่บ้าน , เยาวชน , ผู้นำหมู่บ้าน และประชาชนในชุมชน
    ให้เข้าร่วมกันอย่างพร้อมเพรียงกัน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ได้ความร่วมมือจากคนในชุมชน จากเยาวชน ร่วมด้วยครูในโรงเรียน
  • สรุปผลจากกิจกรรมที่จัดกับเยาวชนในโรงเรียนบ้านทุ่งสภากาชาดอุปถัมภ์
  • วางแผนการจัดสภาซูรอฮ์ ครั้งที่ 1 เพื่อเป็นการสร้างกลไกการจัดการระดับ

หมู่บ้านต่อการมีส่วนร่วมสร้างชุมชนน่าอยู่ และเกิดการแลกเปลี่ยนในชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 31 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย
  • ผู้นำชุมชน 6 คน
  • ผู้นำธรรมชาติ 25 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
- น.ส.อนัญญา แสะหลี , นางกัลยาทรรศน์ ติ้งหวัง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

อบรมให้ความรู้และจัดทำแปลงผักของกลุ่มเด็กพันธุ์ใหม่หันมาใส่ใจพันธุ์ผัก เพื่อทำแปลงปลูกผักในโรงเรียนบ้านทุ่งสภากาชาดอุปถัมภ์27 ธันวาคม 2557
27
ธันวาคม 2557รายงานจากพื้นที่ โดย จันทนา อานัน
circle
วัตถุประสงค์

ิเพื่อสร้างจิตสำนึกด้านการรักสุขภาพ และด้านการปลูกผักปลอดสารพิษ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
    • วันที่ 1 เวทีอบรมให้ความรู้ และสร้างจิตสำนึกให้เด็กมีความรักสุขภาพ การปลูกผักที่ปลอดสารพิษ
  • มีการทำความเข้าใจเรื่องการปลูกผัก พันธุ์ผัก ให้ลึกซึ้ง ว่าจะเอากันอย่างไร
    ซึ่งในวันพรุ่งนี้จะทำการปลูกผัก โดยร่วมกันปลูก พันธุ์ผักเราก็มีพร้อมแล้ว
  • มีการแบ่งกลุ่มเพื่อรับผิดชอบดูแลแปลงผักของแต่ละคน
  • มีการเล่นเกมส์ถาม-ตอบพืชผักแต่ละชนิดว่ามีชื่ออะไรบ้าง
    • วันที่ 2 จัดทำแปลงดิน แปลงผัก ซึ่งเป็นการปรับปรุงพื้นที่เดิม โดยการปลูกผักที่ปลอดสารพิษ
  • เริ่มต้นจากการเตรียมแปลงดิน พรวนดิน ยกร่อง เพื่อลงพันธุ์ผัก มีการแนะนำแบบภูมิปัญญาให้เยาวชนได้รู้
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • เยาวชนได้ความรู้ ได้มีโอกาสได้อยู่กับคนต่างวัยมากขึ้น ได้สร้างความสามัคคี
    ได้อยู่ร่วมกันได้รับรู้ในเรื่องพืชผักต่าง ๆ โดยที่เยาวชนไม่อึดอัด
    เห็นความคิดของเยาวชน มีการเปิดโอกาสให้เยาวชนได้แสดงความคิดเห็นมากขึ้น
    สร้างจิตสำนึกให้เด็กรักชุมชน รักสุขภาพ รักภูมิปัญญา ซึ่งหาดูไม่ค่อยได้
    บางคนรู้สึกว่าดีใจ ที่คนรุ่นเก่าได้เปิดโอกาสให้เด็กได้มาเรียนรู้ร่วมกัน
  • ได้ปลูกผักร่วมกันในโรงเรียนบ้านทุ่งสภากาชาดอุปถัมภ์
  • มีแปลงผักปลอดสารพิษในโรงเรียน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 43 คน จากที่ตั้งไว้ 27 คน
ประกอบด้วย
  • เด็ก ชั้น ป.5,ป. 6 จำนวน 25 คน
  • อาจารย์ของโรงเรียน 5 คน
  • พร้อมด้วยวิทยากร 2 คน
  • แกนนำกลุ่มคนรักสุขภาพ จำนวน 11 คน รวม 43 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ได้ผู้เข้าร่วมที่เพิ่มขึ้น ทำให้เพิ่มอาหารให้ทันในช่วงที่รับประทาน แต่ก็แก้ปัญหาได้ทัน
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-น.ส.อนัญญา แสะหลี , นางกัลยาทรรศน์ ติ้งหวัง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 5 เพื่อสรุปผลเวทีสร้างศูนย์เรียนรู้แหล่งเพาะพันธุ์พืช และ วางแผนกิจกรรมเด็กพันธุ์ใหม่หันมาใส่ใจพันธุ์ผัก25 ธันวาคม 2557
25
ธันวาคม 2557รายงานจากพื้นที่ โดย จันทนา อานัน
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อสรุปผลเวทีสร้างศูนย์เรียนรู้แหล่งเพาะพันธุ์พืช และ วางแผนกิจกรรมเด็กพันธุ์ใหม่หันมาใส่ใจพันธุ์ผัก

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • นางสาวจันทนาอานัน กล่าวเปิดการประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 5 รู้สึกภูมิใจที่ได้มีเวทีวันนี้
    และทุกคนได้มาพร้อมหน้าพร้อมตากัน จากการเปิดศูนย์เรียนรู้ของเรา ได้รับการตอบรับ เป็นอย่างดีจากชุมชน ทุกคนให้ความร่วมมือดีมาก ชุมชนเรา มีพันธุ์ผัก มีเมล็ดพันธุ์
    มีผักปลอดสารพิษ ที่ปลอดภัย 100 เปอร์เซ็น ซึ่งในอดีตที่ผ่านมาเรามีการปลูกผัก
    ต่างคน ต่างปลูก ซึ่งมีแค่ 5 % ของหมู่บ้านเท่านั้น แต่เมื่อเราได้เข้าร่วมโครงการของสสส.
    เห็นถึงความกระตือรือร้น ความแตกต่างของคนในชุมชน เห็นถึงความสำคัญของอาหาร การกินที่มากขึ้น ดูแลสุขภาพตัวเองมากขึ้น เพราะปัจจุบัน สังคมเริ่มมีการเปลี่ยนแปลง
    มีความเห็นแก่ตัว ความมักง่าย ในการบริโภค ด้วยการซื้อผัก อาหารจากตลาดที่ไม่ สามารถรับรู้ได้ว่าอาหารปลอดสารพิษหรือไม่ แม้กระทั้ง ขิง ข่า ตะไคร้ ยังต้องไปหา ซื้อกันในตลาด ทั้ง ๆ ที่สามารถปลูกได้ทุกครัวเรือน

  • นางยูรีดะ ยาบาจิ กล่าวว่า ต่อไปเราจะต้องทำให้ชุมชน ให้เป็นชุมชนสีเขียว ทุกคนมีสุขภาพดี ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ

  • นางอริสา ฮายีจูด กล่าวว่า ต่อไปใครทำงานแต่งงาน งานนูหรี มาเอาไปได้จากศูนย์ของเรา

  • นางก่อเดียะ นิ้วหลี กล่าวว่า มีความภาคภูมิใจมากที่มีผลงานชิ้นนี้เกิดขึ้นมาในชุมชนของเรา ถือว่าเป็นสิ่งวิเศษ ที่เราทุกคนจะต้องดูแล และรักษาตลอดไป

  • นางสาวจันทนาอานัน กล่าวว่า เวทีต่อไปคือ กิจกรรมเด็กพันธุ์ใหม่หันมาใส่ใจพันธุ์ผัก เราจะต้องปลูกฝังให้เด็กหันมาปลูกผักให้มากขึ้นทั้งที่ปลูกที่โรงเรียน และ ปลูกที่บ้าน เพื่อให้ผักมีกิน ตลอดไป

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • คณะทำงานได้รู้ถึงความสำคัญของการกินผัก การปลูกผักไว้กินเอง มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน มีความห่วงแหนในทรัพยากรที่มีในชุมชนของเรา
  • มีการวางแผนงานเพื่อนำไปสู่กิจกรรมเด็กพันธุ์ใหม่หันมาใส่ใจพันธุ์ผัก
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 29 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย

ผู้นำชุมชน 6 คน ผู้นำธรรมชาติ 23 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
- น.ส.อนัญญา แสะหลี , นางกัลยาทรรศน์ ติ้งหวัง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

เปิดศูนย์เรียนรู้ชุมชนพืชผักและธนาคารเมล็ดพันธุ์22 ธันวาคม 2557
22
ธันวาคม 2557รายงานจากพื้นที่ โดย จันทนา อานัน
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อให้เกิดศูนย์เรียนรู้ชุมชนพืชผัก

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • เริ่มต้นจากการเข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย สมาชิกกลุ่ม ,คนในชุมชน , อสม. ,รพ.สต. ,รพ.สอ. ,สสอ. ,ผู้ใหญ่บ้าน เข้าร่วมการเปิดศูนย์ เรียนรู้ชุมชนพืชผักและธนาคารเมล็ดพันธุ์

  • นายยาโหด พ่อเหตุ กล่าวเปิดงาน

  • รู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่มีโอกาสได้ต้อนรับแขกที่เข้ามาร่วมงานทุกคน
    ในชุมชนของเรา ซึ่งบ้านเราไม่เคยมีมาก่อน มีความยินดีมาก และดีใจมาก ที่ได้มีโอกาสในการเปิดศูนย์เรียนรู้อย่างเป็นทางการของชุมชน
    มีความภูมิใจมากที่ทุกคนให้ความร่วมมือได้ให้ความร่วมมือ ในการเปิดศูนย์ในครั้งนี้
    จากความร่วมมือนี้ ของทุกคนในครั้งนี้ได้เห็นผลงานมากมาย ในด้านแปลงผัก มีการปลูกผักอย่างเป็นระเบียบ ปลอดสารพิษ สะอาด ปราศจาก
    สารเคมีที่ทำลายพืชผัก พร้อมทำให้ชุมชนมีรายได้เสริมเพิ่มขึ้นจากการจำหน่าย พืชผัก สิ่งสำคัญที่ได้มาคือสุขภาพดี ที่กินผักที่ปลูกเอง

  • แปลงผักของพวกเราทุกคนก็จะอยู่ในหน้าศูนย์นี้ ซึ่งเกิดความร่วมไม้ร่วมมือ ของทุกคนที่ทำให้เกิดผลในวันนี้ เราทุกคนจะต้องหมุนเวียนปลูกผักตลอดไป
    เพื่อให้มีกินตลอดปี พร้อมให้ทุกคนได้ชวนพรรคพวก สมาชิกใหม่เข้ามาร่วมกัน
    เพื่อเราจะได้ขยายพื้นที่ต่อ ๆ ไป อีก

  • ด้านเมล็ดพันธุ์ ทุกกลุ่มจะต้องจัดเก็บเอาไว้ที่ศูนย์เพื่อขยายต่อพื้นที่ใหม่
    หรือไว้ขยายต่อที่บ้าน ถ้า บ้านไหน ชุมชนไหน ต้องการเมล็ดพันธุ์ก็สามารถ นำมาแลกเปลี่ยนกันได้ เพื่อให้มีเมล็ดพันธุ์ไว้สำหรับขยายต่ออย่างไม่มีที่สิ้นสุด
    โดยเฉพาะพืชผัก เมล็ดผัก ภูมิปัญญา ที่ไม่มีขายในตลาด มีเฉพาะในชุมชน
    จะเก็บไว้เป็นพิเศษ เพื่อขยายพันธุ์ต่อไม่ให้สูญหายไปกับกาลเวลา

  • นางอริสา ฮายีจูด ได้กล่าวว่า มีพันธุ์ผัก ต้นตุเด๊ะต้นหมก ๆ ที่บ้าน
    จะนำมาปลูก ขยายไว้ที่นี้ด้วย เพื่อให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาเรียนรู้ต่อไป และมีให้เห็นในชุมชนของเรา

  • นายยาโหด ร่วมเชิญทุกคน ร่วมเปิดป้ายศูนย์เรียนรู้ชุมชนพืชผัก และธนาคารเมล็ดพันธุ์ เพื่อให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาต่อ
    พร้อมถ่ายรูปเป็นที่ระลึกในครั้งนี้
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • มีศูนย์เรียนรู้ชุมชนพืชผักและธนาคารเมล็ดพันธุ์ เพื่อให้ชุมชนได้ศึกษา มีที่เก็บพันธุ์ผัก เป็นที่เป็นทาง

  • ทั้งในระดับครัวเรือนที่ปลูกไว้รับประทานภายในครัวเรือน พึ่งพาตนเองได้ และ ในระดับชุมชน
    ซึ่งเป็นศูนย์กลางของชุมชนที่ให้พื้นที่อื่นสามารถเข้ามาเรียนรู้และเป็นศูนย์กลางในการปลูกผักไว้สำหรับกิจกรรมในหมู่บ้าน (นูหรี)

  • ธนาคารเมล็ดพันธุ์ เป็นธนาคารที่เก็บเมล็ดพันธุ์โดยเฉพาะกลุ่มคนรักสุขภาพที่ได้ปลูก ได้มีเมล็ดพันธุ์ไว้ให้คนในชุมชนได้มาแลกเปลี่ยน ซึ่งจะทำให้มีเมล็ดพันธุ์ไว้ปลูก ไว้กินตลอดไป เช่น เมล็ดข้าวโพด ผักเสี้ยน กระเจี๊ยบเขียว มะเขือ พริก ฯลฯ

  • มีคนรุ่นหลังได้เรียนรู้พืชผักพื้นบ้าน โดยเฉพาะพืชผักพื้นบ้านที่มันกำลังจะหายไป เป็นความโชคดีของชุมชนที่ได้คิดเรื่องนี้ขึ้นมา โดยเฉพาะคนรุ่นหลัง ไม่ค่อยจะรู้จักแล้ว กับพืชผักเก่า ๆ โบราณ เช่น ตุเด๊ะ, หมก ๆ, ส้มพูโร ,ส้มลำเอาะฯลฯ ที่กำลังจะหายไป

  • มีผักหลากหลายชนิดไว้ให้ได้รู้จัก ได้รับประทาน ได้เก็บรักษาให้อยู่คู่กับชุมชนต่อไป

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 105 คน จากที่ตั้งไว้ 100 คน
ประกอบด้วย

แกนนำกลุ่มคนรักสุขภาพจำนวน 55 คน แกนนำหมู่บ้าน จำนวน 22 คน ท้องถิ่น 2 คน ้ท้องที่ 2 คน อสม. 15 คน ครูโรงเรียนบ้านทุ่ง 9 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
- น.ส.อนัญญา แสะหลี , นางกัลยาทรรศน์ ติ้งหวัง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

จัดศูนย์เรียนรู้ชุมชนพืชผัก 2 ระดับ ทั้งในระดับครัวเรือน และ ระดับชุมชน16 พฤศจิกายน 2557
16
พฤศจิกายน 2557รายงานจากพื้นที่ โดย จันทนา อานัน
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อให้เกิดศูนย์เรียนรู้ชุมชนด้านพืชผักและธนาคารเมล็ดพันธุ์

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • เริ่มจากการจัดเตรียมสถานที่ในการจัดทำศูนย์ เริ่มขึ้นในวันที่ 16 พฤศจิกายน 2557 เป็นต้นไป

    เพื่อเป็นการจัดเตรียม แปลงดิน แปลงผัก ต่อจากนั้นก็จะปลูกผักไว้สำหรับวันเปิดศูนย์ในวันที่ 7 ธันวาคม 2557

  • เริ่มต้นจากการเตรียมดิน โดยได้ใช้รถไถของชุมชน มาไถดินบริเวณหน้าสำนักงาน

สภาองค์กรชุมชนตำบลละงู เพื่อให้ดินมีความร่วนดี เพราะเดิมที เป็นดินถม
ซึ่งไม่เคยมีการเพาะปลูกแต่อย่างใด ทำให้ดินมีความแข็ง ไม่สามารถขุดด้วยจอบได้
จำเป็นต้องมีการไถดินก่อน

  • มีการจัดทำรั้วกั้น ไม่ให้สัตว์เข้ามาทำลายพืชผัก โดยได้รับการสนับสนุนในส่วนของเสา
    ลวดหนาม ตาข่าย จากสภาองค์กรชุมชน ฯ ชาวบ้านร่วมกันจัดรั้วให้เป็นระเบียบ
    แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบร่วมกันในการปักเสา การขึงลวดหนาม และตาข่าย
    พร้อมจัดทำประตูทางเข้า ทางออกให้เรียบร้อย

  • มีการวัดแบ่งพื้นที่ปลูก เป็นกลุ่ม ๆ ละ 5-10 คน โดย จับกลุ่มกันเอง เพราะในการดูแล
    จะต้องมีความเข้าใจกัน แบ่งหน้าที่กันในการรับผิดชอบ ไม่ว่าจะในส่วนของ การรดน้ำ
    การใส่ปุ๋ย การดูแล การเก็บเกี่ยว และการแจกจ่าย หรือจำหน่าย ล้วนแต่จะต้องเป็นคนที่สนิทกัน จะทำให้งานราบรื่นไปได้ด้วยดี

  • ในพื้นที่สำนักงานสภาองค์กรชุมชน มีบ่อน้ำสำหรับใช้ในสำนักงาน
    เพื่อให้มีน้ำได้ใช้ในการรดน้ำผัก จึงมีการต่อท่อน้ำ จำนวน 11 ก๊อก
    เพราะเป็นพื้นที่แนวนอนแบบยาว ติดตามแนวยาวเพื่อให้ทั่วถึงในการรดน้ำของแต่ละกลุ่ม

  • ในแต่ละกลุ่ม มีการปลูกผัก หลากหลายชนิดด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น ผักบุ้ง
    ผักกาด คะน้า มะเขือ พริกขี้หนู ผักเบี้ย ถั่วฝักยาว ตะไคร้ มะกรูด มะละกอ
    กระเจี๊ยบเขียว หัวมันหยัน มะอึก ฝักเขียว ฟักทอง ถั่วพู บอนจีน บวบหอม
    สีตีบินไต ข่า ขมิ้น ผักโขม กระเพรา แมงลัก ตำลึง ชะอม มะระ ฯลฯ

  • เมื่อปลูกมาได้ระยะหนึ่ง ก็มีการแบ่งขายกันในชุมชน ขายเพื่อนบ้านหมู่บ้านใกล้เคียง

    มีงานแต่งงานก็มารับซื้อไปงานแต่งงาน งานนูหรีในชุมชน ทุกคนที่ต้องการผัก
    จะมาหากันที่ศูนย์ ฯ จะเป็นที่รู้ ๆ กัน ทุก ๆ เย็น ถ้าใครต้องการผักที่ปลอดสารพิษ
    ก็สามารถเข้ามาซื้อหากันได้ บางคนก็พาพันธุ์ผักมาแลกพันธุ์ผัก ซึ่งเป็นผักภูมิปัญญาของชุมชน

  • ปลูกไปพลาง ขายไปพลาง หมุนเวียนกันไปเรื่อย ๆ ตลอดมา

  • ในช่วงเย็น ๆ คนในชุมชนจะมาดูแลผัก พร้อมร่วมกันออกกำลังกาย (แอโรบิค) เป็นประจำทุกวัน

    เป็นภาพที่น่าประทับใจมาก ซึ่งเมื่อก่อนไม่เคยมีเหตุการณ์แบบนี้มาก่อน ถ้ามีก็ต่างคนต่างทำ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ได้กลุ่มคนที่มีจิตอาสาเพิ่มขึ้น มีแกนนำร่วม เช่น ผู้ใหญ่ , แกนนำกลุ่มต่าง ๆ ,
    อสม. ทำให้ได้สุขภาพจิตที่ดีขึ้น มีความสามัคคีเพิ่มขึ้น ได้เห็นความตั้งใจของกลุ่มคนที่มา

    มีปัญหาก็จะได้ร่วมกันแก้ไขได้ออกกำลังกายร่วมกัน ทุกคนกล้าคิด กล้าเสนอ

กล้าแสดงความคิดเห็น ต่างคนต่างยอมรับความคิดเห็นร่วมกัน เพื่อหาข้อสรุป

พร้อมได้เห็นถึงความสามารถของแต่ละคน อยู่ในระดับที่ดีขึ้น

ซึ่งแต่ก่อนไม่เคยมี เพราะต่างคนต่างทำ

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 48 คน จากที่ตั้งไว้ 62 คน
ประกอบด้วย
  • วิทยากร 2 คน
  • แกนนำในชุมชน ทั้งชุดเดิมและชุดใหม่ 46 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • เป็นดินแข็ง จำเป็นต้องใช้รถไถ มาไถดิน
  • ในเรื่องของน้ำที่ใช้ในการรดน้ำไม่เพียงพอ ในส่วนของพื้นที่ที่ปลูกผักมีบ่อน้ำใว้ใช้ในสำนักงาน

สภาองค์กรชุมชนตำบลละงู จึงมีการต่อก๊อกน้ำ จำนวน 11 ก๊อก เพื่อให้ทุกคนได้ใช้น้ำกันอย่างทั่วถึง

  • มีสัตว์เยอะ เช่น แพะ , วัว จึงมีการร่วมกันจัดทำรั้ว ลวดหนาม เพื่อกั้นไม่ให้สัตว์เข้ามากินผักในศูนย์
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
- น.ส.อนัญญา แสะหลี , นางกัลยาทรรศน์ ติ้งหวัง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • กิจกรรมที่เกิดขึ้นในชุมชน เป็นสิ่งที่ได้รับมาจากการดูแล ติดตาม และ

    หนุนเสริมให้เกิดการรวมตัวของชุมชน ชุมชนขอบคุณมาก ๆ ที่ได้ร่วมงานกับ สสส.

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ดูแลดีอยู่แล้ว ต้องขอขอบคุณที่ทำให้พวกเรามีกิจกรรมร่วมกันตลอดไป
พบพี่เลี้ยงตรวจสอบรายละเอียดโครงการ ครั้งที่ 111 พฤศจิกายน 2557
11
พฤศจิกายน 2557รายงานจากพื้นที่ โดย จันทนา อานัน
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อดูรายละเอียดรายงานในเวปไซค์และเอกสารการเงิน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ได้มีการตรวจสอบเอกสารการเงินหลังจากที่พื้นที่ได้ทำกิจกรรมและการคีย์ข้อมูลลงในเวบไซค์โครงการ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

พื้นที่ได้เห็นข้อผิดพลาดในการทำงานและได้รับคำแนะนำจากพี่เลี้ยงเพื่อนำไปปรับเพื่อความถูกต้องต่อไป

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย
  • ผู้ประสานงานโครงการ 1 คน
  • เจ้าหน้าที่การเงินโครงการ 1 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางกัลยทรรศน์ ติ้งหวัง นางสาวอนัญญา แสะหลี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 4 เพื่อสรุปผลการจัดเวทีพัฒนาศักยภาพกลไกกลุ่มคนรักสุขภาพและวางแผนในการจัดศูนย์เรียนรู้แหล่งเพาะพันธุ์พืช 2 ระดับ5 พฤศจิกายน 2557
5
พฤศจิกายน 2557รายงานจากพื้นที่ โดย จันทนา อานัน
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อสรุปผลการจัดเวทีพัฒนาศักยภาพกลไกกลุ่มคนรักสุขภาพและวางแผนในการจัดศูนย์เรียนรู้แหล่งเพาะพันธุ์พืช 2 ระดับ
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • เริ่มประชุมเวลา 13.30 น. ในวันที่ 5 พฤศจิกายน 2557 ณ.สำนักงานสภาองค์กรชุมชนตำบลละงู ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 4 เริ่มโดยนางสาวจันทนา อานัน เปิดการประชุม แจ้งในที่ประชุมทราบ ในเรื่องการจัดกิจกรรมการสร้างศูนย์เรียนรู้พืชผักและธนาคารเมล็ดพันธุ์ โดยการสร้างศูนย์เรียนรู้พืชผักมีด้วยกัน 2 ระดับ คือ ในระดับครัวเรือนและในระดับชุมชน ซึ่งในการจัดทำศูนย์เรียนรู้ในครัวเรือนนี้ เป็นการสร้างความกระตือรือร้นให้เกิดความตระหนักของการรักษาสุขภาพ การหันมาปลูกผักกินเองในครัวเรือน ส่วนในการจัดทำศูนย์เรียนรู้ในชุมชน เพื่อจะเป็นศูนย์กลางของชุมชนในการเรียนรู้การปลูกผักต่าง ๆ
  • นางสาวอารีดา ชายเหตุ พูดว่า การปลูกผักในครัวเรือน ทุกคนสามารถทำได้เลย เริ่มตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป แต่การจัดทำศูนย์เรียนรู้ในชุมชนซึ่งจะเป็นศูนย์กลางของชุมชน น่าจะเลือกสถานที่ที่เป็นศูนย์กลางที่ทุกคนมีความรู้สึกเป็นเจ้าของร่วมกัน
  • นางสุนีย์  โกบหลำ พูดว่า ขอเสนอข้าง ชรบ.
  • นางสาวศรีสุดา โกบหลำ พูดว่า พื้นที่บริเวณนั้น เกิดน้ำท่วม จะทำให้พืชผักเกิดเสียหายได้ ควรจะมีสถานที่ที่ปลอดภัยจากน้ำท่วม
  • นางฮาสาน๊ะ  อานัน พูดว่า ขอเสนอเป็นที่โรงเรียนบ้านทุ่ง (โรงเรียนหลังเก่า)ซึ่งเป็นสำนักงานของสภาองค์กรชุมชนตำบลละงู บริเวณนั้นเป็นพื้นที่ราชพัสดุ พร้อมกับมีห้องว่างสำหรับจัดทำเป็นธนาคารเมล็ดพันธุ์ด้วย
  • นางสาวจันทนา  อานัน กล่าวว่า ก็น่าสนใจนะ เพราะเป็นพื้นที่ที่ชุมชน สามารถจัดการได้เพราะเป็นส่วนกลาง
  • มติที่ประชุม เห็นด้วยกับการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้พืชผักและธนาคารเมล็ดพันธุ์ของชุมชน ณ สำนักงานสภาองค์กรชุมชนตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • วางแผนเรื่องการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้พืชผัก 2 ระดับ คือ ในระดับครัวเรือนและในระดับชุมชน
  • วางแผนเรื่องการจัดตั้งธนาคารเมล็ดพันธุ์
  • มีการสรุปผลว่า มีการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ชุมชนพืชผักและธนาคารเมล็ดพันธุ์ ณ สำนักงานสภาองค์กรชุมชนตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 28 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย
  • ประกอบด้วย อสม. และ แกนนำชุมชน (ผู้ใหญ่บ้าน , กลุ่มสตรี , กลุ่มแม่บ้าน) รวม 28 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • มีการถกเถียงเรื่องศูนย์กลางในหมู่บ้าน ณ ศาลาเอนกประสงค์ประจำหมู่บ้าน ในการจัดตั้งศูนย์ เพราะมีปัญหาเรื่องน้ำท่วม แก้ไขปัญหาโดยการเลือกสถานที่ที่เหมาะสม ไม่เกิดน้ำท่วม จึ่งสรุปได้ว่า เป็น สำนักงานสภาองค์กรชุมชนตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
น.ส.อนัญญา แสะหลี , นางกัลยาทรรศน์ ติ้งหวัง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ขอขอบคุณ สสส. ที่ทำให้คนในชุมชน ได้มีโอกาสในการบริหารจัดการชุมชนตนเอง รู้จักจัดการกับปัญหา และวิเคราะห์ปัญหา
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • อยากให้พี่เลี้ยง ลงมาสนุกกับชุมชน โดยเฉพาะกิจกรรมต่อไปคือ เปิดศูนย์เรียนรู้ชุมชนพืชผักและธนาคารเมล็ดพันธุ์ ซึ่งจะมีขึ้นในวันที่ 6-7 ธันวาคม  2557
เวทีพัฒนาศักยภาพกลไกกลุ่มคนรักสุขภาพ25 ตุลาคม 2557
25
ตุลาคม 2557รายงานจากพื้นที่ โดย จันทนา อานัน
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อพัฒนาศักยภาพ กลไกกลุ่มคนรักสุขภาพ และ สร้างจิตสำนึก ให้หันมาใส่ในเรื่องพืชผัก การเลี้ยงสัตว์ และเรื่องการจัดเก็บเมล็ดพันธุ์

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • เริ่มกิจกรรม เวลา 9.00 น.ในวันที่ 25  ตุลาคม 2557>>>>>>>>>>>
  • เริมกิจกรรมพัฒนาศักยภาพกลไกกลุ่มคนรักสุขภาพ ดำเนินการโดยนางสาวจันทนา อานัน ผู้รับผิดชอบโครงการ ได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรมในวันนี้ พร้อมกล่าวขอบคุณทั้งแกนนำชุดเดิม 30 คนและ แกนนำรุ่นใหม่ของชมรม กลุ่มคนรักสุขภาพบ้านทุ่ง
  • วัตถุประสงค์ คือ พัฒนาศักยภาพกลไกกลุ่มคนรักสุขภาพ และ สร้างจิตสำนึก ให้หันมาใส่ในเรื่องพืชผัก การเลี้ยงสัตว์ และเรื่องการจัดเก็บเมล็ดพันธุ์ ซึ่งมีประโยชน์กับชุมชนเป็นอย่างมาก จากนั้นก็ได้มีการแชร์ประสบการณ์ที่ผ่านมาว่าแต่ละคนพบปัญหาอะไรบ้างในชุมชน หรือที่ตัวเองพบเจอมาไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการบริโภค การปฏิบัติตัวของแม่ค้า ร้านค้า การประกอบอาหารของแม่ครัว ก็ได้มีการเสนอกันอย่างมากมาย เช่น การแช่ปลาโดยการใส่ / ฟลอมาลีนของเม่ค้าขายปลาสด / เรื่องของการใช้สารเคมีของปลาเค็ม/ การฉีดยาฆ่าแมลง ในตู้กระจก ร้านก๋วยเตี๋ยว /การใช้น้ำมันทอดซ้ำ ฯลฯ ปัญหาเหล่านี้เป็นผลทีีจะทำให้เกิดปัญหาในเรื่องของสุขภาพทั้งสิ้น
  • นางเจ๊ะสาเหร๊าะ สำโส๊ะ เสนอว่า ชุมชนเราควรหันมาใส่ใจในเรื่องนี้กันมากขึ้นแล้ว สิ่งใกล้ตัวที่เราทำได้ที่ดีที่สุด คือ การบริโภคอาหารที่ทำเอง ปรุงเอง ผลิตเอง ปลูกเอง คือ การปลูกผักปลอดสารพิษ การเลี้ยงสัตว์ไว้ในครัวเรือน แต่ทุกคน ใช่ว่าจะทำได้ทุกคน ควรดูบริบทพื้นที่ของตัวเองด้วยว่ามีความเหมาะสมหรือไม่ อย่างไร
  • ในวันที่ 26  ตุลาคม 2557>>>>>>>>>>>>>>>>>
  • ก่อนเริ่มจัดกิจกรรม มีการนัดหมายผู้ไปร่วมกิจกรรม เวลา 8.00 น. ณ ศาลาเอนกประสงค์ประจำหมู่บ้าน (ชรบ.)เมื่อถึงเวลา ทุกคนก็มาอย่างพร้อมเพรียงกัน โดยร่วมกันใส่เสื้อสีชมพู จากนั้นก็ไปถึงสถานที่ บ้านบ่อเจ็ดลูก เริ่มกิจกรรม เวลา 9.00 น โดยการ แนะนำเจ้าของพื้นที่ ประกอบด้วย บังยู่หนา บังนัน เต้ฉิ่ง ทุกคนมาร่วมกันต้อนรับอย่างเป็นกันเองมาก ทั้งสามก็เริ่มการพูดคุย และ แชร์ประสบการณ์ที่ผ่านมา ที่ตนเองลุกขึ้นมาจัดการชุมชนตนเองซักที หลัก ๆ เริ่มจาก ของแพง ชุมชนมีหนี้ อาชีพส่วนใหญ่เกิดการ รายได้จากการประมง ซึ่งบางครังได้ราคา ไม่ดีบ้าง หรือบางทีเกิดพายุในทะเลไม่สามารถไปหาปลาได้
  • แกนนำเริ่มจากกลุ่มคน 7 คน ก็ได้หันมาจัดการเรื่องนี้กันซักที ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการปลูกผัก เรื่องการจัดการเรือที่หาปลาในบริเวณพื้นที่ พอจัดการได้หลาย ๆ เรื่องจึงนำไปสู่ การท่องเที่ยวโดยชุมชน จัดการในทุก ๆ เรื่อง การสร้างกฎกติกาในการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวช่วงเทศกาล การจัดการกลุ่มเยาวชนให้ห่างไกลยาเสพติด เป็นต้น
  • หลังจากนั้น ก็ได้มีการแยกฐานไปศึกษาในเรื่องของการปลูกผัก ฐานที่ 1 คือ ฐานเตรียมแปลงดิน ขึงตาข่าย ฐานที่ 2 คือ ฐานผักเริ่มงอก ยังไม่ได้เก็บเกี่ยว ส่วนฐานที่ 3 คือ ฐานพืชผักที่เก็บเกี่ยวแล้ว แยกไปฐานละ 20 คน
  • จากการลงฐานแต่ละฐานเห็นการปลูกผักตั้งแต่เริ่มจนถึงการเก็บเกี่ยว น่าสนใจมาก ๆ แถมแต่ละคนยังตั้งคำถามอีกว่า นี่ขนาดเป็นบริเวณชายทะเล ยังปลูกผัก เราคนดอนยังต้องซื้อผักเค้า อายเขาไหมหล่ะ
  • หลังจากนั้นก็กลับเข้ามาที่ประชุม
  • ในการเดินทางมาครั้งนี้ื เห็นถึงความร่วมไม้ ร่วมมือกัน
  • มีแผนที่จะไปปรับปรุงพื้นที่ในชุมชนของเรา พัฒนา ปรับพื้นที่ โดยอาจจะใช้รถไถสำหรับไถดิน
  • มีของฝากจากชุมชน เช่น กุ้งแห้ง ผักสด ปลาสด ๆ
  • เจ้าของพื้นที่กล่าวแม้จะมากันหลายคน แต่ถ้าได้ใจมาซัก 10 คน ก็ถือว่าคุ้มแล้วกับการมาในครั้งนี้
  • ได้นำวิถีชีวิตที่นี่ไปปรับใช้
  • ประทับใจทีมงานที่ต้อนรับ มีพื้นที่ที่สามารถขอคำปรึกษาได้ เพื่อต่อยอดงานอื่น ๆ ได้
  • ได้ความรู้ในการทำปุ๋ยชีวภาพ
  • ในฐานะที่เป็นน้องใหม่ไม่มีตลาดที่จะรับซื้อพืชผัก ก็สามารถขอคำปรึกษาได้
  • อาหารให้พื้นที่เป็นคนจัดเตรียม โดยใช้วัตถุดิบหลักของพื้นที่ อาหารอร่อย ถูกปาก
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • มีการจัดกิจกรรม พัฒนาศักยภาพ สร้างจิตสำนึกให้กลุ่มคนรักสุขภาพ หันมาใส่ใจตนเอง และชุมชนมากขึ้น หันมาปลูกผักสวนครัว เลี้ยงสัตว์ ไว้รอบๆ บ้าน
  • ลงพื้นที่บ้านบ่อเจ็ดลูก ร่วมแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ เทคนิกต่าง ๆ ในการปลูกผัก วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชน พร้อมลงไปดูพื้นที่จริงในสวนผัก ซึ่งแบ่งเป็นฐาน ต่างๆ คือ ฐานที่ิเริ่มเตรียมพื้นที่ลงปลูก ฐานที่มีผักเริ่มปลูกแล้ว ฐานที่มีผักสามารถเก็บผลผลิตได้
  • เล่นเกมส์เพื่อให้เกิดความเป็นกันเอง สร้างความรัก ความสามัคคีกัน
  • สถานที่โล่ง สบาย
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 65 คน จากที่ตั้งไว้ 62 คน
ประกอบด้วย
  • ผู้ใหญ่บ้าน 1 คน
  • ปราชญ์ชาวบ้าน 1 คน
  • แกนนำกลุ่มสตรี , กลุ่มแม่บ้าน 16 คน
  • อสม. 7 คน
  • กลุ่มคนรักสุขภาพบ้านทุ่ง  40 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • เรื่องการลงพื้นที่ดูแปลงผัก ซึ่งทุกคนอยากเรียนรู้ให้เต็มที่ แต่เป็นช่วงก่อนเที่ยงอากาศร้อนมาก ทำให้เกิดความเมื่อยล้า ควรเป็นช่วงบ่าย ๆ จะดีกว่า
  • คราวหน้าอยากให้มีการลงไปดูพื้นที่อีก เพราะทุกคนรู้สึกประทับใจ
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
- น.ส.อนัญญา แสะหลี , นางกัลยาทรรศน์ ติ้งหวัง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ไม่มี
ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 3 เพื่อดูผลข้อมูลที่ได้จากการสังเคราะห์และวางแผนการจัดเวทีพัฒนาศักยภาพ22 ตุลาคม 2557
22
ตุลาคม 2557รายงานจากพื้นที่ โดย จันทนา อานัน
circle
วัตถุประสงค์

  - เพื่อดูผลข้อมูลที่ได้จากการสังเคราะห์และวางแผนการจัดเวทีพัฒนาศักยภาพ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ในวันที่ 22 ตุลาคม 2557 เริ่มประชุมเวลา 9.00 น. โดยนางสาวจันทนา อานัน ผู้รับผิดชอบโครงการ ได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบเรื่องผลจากการสังเคราะห์ข้อมูล ซึ่งขอขอบคุณทุกคนที่ให้ความร่วมมือกันเป็นอย่างดี ซึ่งสำหรับแบบฟอร์มในการสำรวจในครั้งนี้ เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ในการทราบข้อมูลชุมชนว่าเป็นอย่างไร เช่น หัวข้อในเรื่องของการปลูกผักในครัวเรือน มีการปลูกผักที่ยังน้อยอยู่ /การเก็บเมล็ดพันธุ์ผัก / การเลี้ยงสัตว์ ยังเป็นจุดอ่อนที่หลาย ๆ คน ไม่ค่อยเห็นความสำคัญ ถ้าหลังจากทุกคนได้เข้าร่วมโครงการแล้ว เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงก็จะเป็นผลดีให้กับชุมชน
  • หลังจากเข้าร่วมโครงการนี้แล้ว จะมีการนำแบบฟอร์มนี้มาเก็บข้อมูลอีกครั้ง เพื่อนำมาเป็นตัวเปรียบเทียบว่าทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอีกหรือไม่ แล้วร่วมกันแก้ไขปัญหา เพื่อให้เกิดประโยชน์กับชุมชนมากที่สุด มติที่ประชุม เห็นด้วย
  • ในที่ประชุมมีการปรึกษาหารือกัน ในกิจกรรมต่อไปคือกิจกรรมพัฒนาศักยภาพแกนนำ พร้อมลงศึกษาดูงาน ณ บ้านบ่อเจ็ดลูก ต.ปากน้ำ อ.ละงู จ.สตูล สรุปคือวันที่ 25-26  ตุลาคม  2557
  • มีการวางแผนเรื่องกิจกรรม เวทีพัฒนาศักยภาพกลไกกลุ่มคนรักสุขภาพ โดยเป้าหมายหลัก คือ จากผู้ที่ได้ส่งแบบฟอร์ม (แกนนำ 30 ครัวเดิมจากโครงการที่แล้ว และ 30 ครัวใหม่ที่สนใจจะเข้าร่วมเป็นสมาชิกชมรมคนรักสุขภาพบ้านทุ่ง)นำไปสู่การขยายผลจากโครงการเดิม (โครงการ 3 ออมด้วยพืชผักพื้นบ้าน) ไปสู่การเลี้ยงสัตว์ปีก(เป็ด , ไก่) และ สัตว์ 4 เท้า(วัว ,แพะ , แกะ)
  • วางแผนเรื่องการเดินทางไปศึกษาดูงานที่บ้านบ่อเจ็ดลูก โดย จะให้ทีมแกนนำ ประกอบด้วย นางสาวจันทนา อานัน , นายยาโหด พ่อเหตู , นางยูรีด๊ะ ยาบาจิ , นางอริสา ฮายีจูด , นายเฉบ โกบหลำ , นางสาวจันทิมา อานัน และ นางสาวยารีหนา นิ้วหลี เป็นผู้ประสานกับพื้นที่ในการจัดเตรียมสถานที่ , การจัดกิจกรรมในพื้นที่
  • นางสาวสุนีย์  โกบหลำ เสนอว่า ในส่วนของอาหารเที่ยง และ อาหารว่าง ให้พื้นที่เป็นคนจัดเตรียม ซึ่งชุมชนจะมีผลผลิตในชุมชนอยู่แล้ว เช่น ผักปลอดสารพิษ , อาหารทะเลสด ๆ เป็นต้น
  • นางอรสา มานะกล้า เราควรนัดกันใส่เสื้อสีชมพูทุกคน เพื่อให้ไปในทิศทางเดียวกัน และดูเป็นทีม มีความสวยงามด้วย
  • นางวิไลวรรณ หวันสู เสนอเรื่องของการเดินทาง ถ้าต่างคน ต่างไป อาจจะทำให้ เวลาที่ตั้งไว้อาจจะมีการผิดพลาดได้ เสนอว่า พวกเราหลายคนก็มีรถกระบะกัน ควรลงหุ้นใส่น้ำมัน 6 คันไปกันดีกว่า นัดกันที่ชรบ. ม.13 เวลา 8.00 น.
  • มติที่ประชุม เห็นชอบตามที่เสนอ
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ประชุมคณะทำงานเพื่อดูผลจากการสังเคราะห์ข้อมูล พร้อมทั้งวางแผนงานในการจัดกิจกรรมพัฒนาศักยภาพ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของ อาหารเที่ยง , อาหารว่าง , การเดินทาง , การเตรียมความพร้อมต่าง ๆ สำหรับกิจกรรมถัดไป
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย
  • ประกอบด้วย อสม. และ แกนนำชุมชน (ผู้ใหญ่บ้าน , กลุ่มสตรี , กลุ่มแม่บ้าน) รวม 30 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-น.ส.อนัญญา แสะหลี , นางกัลยาทรรศน์ ติ้งหวัง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • อยากให้มีกิจกรรมเรื่อย ๆ ทำให้ทุกคนกล้าคิด กล้าพูด และมีความรัก ความร่วมมือกันมากขึ้น
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ถ้ากิจกรรมที่ลงพื้นที่ข้างในพื้นที่หรือนอกพื้นที่ก็แล้วแต่ อยากให้พี่เลี้ยงลงไปด้วยทุกครั้ง (ถ้ามีเวลา)
วิเคราะห์ข้อมูล โดยเชิญวิทยากรเข้าร่วมในการประชุม20 ตุลาคม 2557
20
ตุลาคม 2557รายงานจากพื้นที่ โดย จันทนา อานัน
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อสังเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการลงเก็บข้อมูล
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ในวันที่ 20 ตุลาคม 2557 เริ่มเวลา 9.00 น. นางสาวจันทนา  อานัน ผู้รับผิดชอบโครงการ กล่าวเปิดการประชุม แจ้งเพื่อทราบ
  • เรื่องการไปศึกษาดูงาน ณ.บ้านหนองกลางดง ต.ศิลาลอย อ.สามร้อยยอด จ.ประจวบคีรีขันท์ ร่วมกับทีม สกว.และ สยามกัมมาจล กล่าวถึง กระบวนการทำงานของผู้ใหญ่โชคชัย ทีมีความอดทน ความมานะ ความร่วมไม้ ร่วมมือกันชุมชน จากการเป็นผู้ใหญ่บ้านมา 18 ปี ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะเกิดการยอมรับจากชุมชน ซึ่งจะมีตัวชี้วัด อยู่ 2 ตัว ในการทำงาน คือ 1. ตัวเอง 2. เพื่อน/คนรอบข้าง
  • ซึ่งจะเป็นตัววัดการทำงานของตนเอง ว่าจะไปในทิศทางไหน ดีขึ้น หรือ แย่กว่าเดิม  โดยหลักสำคัญที่สุดในการจัดกระบวนการของหมู่บ้าน คือ แผนชุมชน พึ่งตนเอง ซึ่งจะเป็นข้อมูลสำคัญที่จะเป็นกระจก กลับมาพัฒนาตนเอง ซึ่งตรงกับ กิจกรรมของเราที่ก่อนจะทำงานอะไรก็แล้วแต่ จะต้องมีข้อมูล ถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด
  • อีกอย่างนึง ในการจัดการที่สำคัญอีกตัวหนึ่งของหมู่บ้านคือ สภา 59 โดยมาจากแกนนำหรือตัวแทนของกลุ่มองค์กรต่าง ๆ ในหมู่บ้าน ท่านก็ได้แนะนำในเรื่องของการเลือกตัวแทนว่า คุณสมบัติที่พึงประสงค์ คือ 1. เป็นคนฉลาด 2. มีจิตใจสาธารณะ/จิตใจดี 3. เป็นคนที่พูดจารู้เรื่อง / ประชาสัมพันธ์ได้
  • เรื่องการลงสำรวจจำนวน 60 ชุด มีการสำรวจในเรื่องของ
  • ข้อมูลพื้นฐาน
  • ข้อมูลด้านสุขภาพ และ การออกกำลังกาย
  • ข้อมูลด้านพืชผักที่ปลูกในครัวเรือน
  • ข้อมูลเรื่องสัตว์เลี้ยงในครัวเรือน
  • ความรู้เรื่องภูมิปัญญา ประเพณี และวัตนธรรม
  • ในหมู่บ้านแกนนำที่ลงไปสำรวจ นางสาวศรีสุดา โกบหลำ พูดว่า จากการลงสำรวจ ทุกคนให้ความร่วมมืออย่างดีมาก เพราะจะเป็นการดีที่ได้แบบฟอร์มที่ออกแบบจากชุมชนโดยตรง เนื้อหาสาระก็ไม่วกวนจะเกินไป อ่านง่าย เข้าใจง่าย
  • นางยูรีด๊ะ ยาบาจิ พูดว่า เมื่อลงไปสำรวจแล้ว หลายคนอยากรู้ อยากเข้าร่วมเพิ่มอีกหลายคน จึงแนะนำไปว่า จะมีการสำรวจเพิ่มอีก ถ้าใครที่สนใจ
  • นางสาวอารีดา ชายเหตุ พูดว่า ในแบบสำรวจเรื่องการเก็บเมล็ดพันธุ์ จะเห็นว่า หลายคนปลูกผัก แต่ไม่มีการเก็บเมล็ดพันธุ์ ซึ่งหลังจากทำโครงการนี้ เชื่อว่า จะเป็นการดีที่จะทำให้ชุมชนให้มาใส่ใจเรื่องการจัดเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้ต่อ ๆ ไป
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • จัดสถานที่ วัสดุ อุปกรณ์ในการประชุม
  • เชิญวิทยากรเข้าร่วมในการวิเคราะห์ข้อมูล
  • ประสานคณะทำงานที่ลงเก็บข้อมูล
  • วิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 16 คน จากที่ตั้งไว้ 16 คน
ประกอบด้วย
  • วิทยากร 1 คน
  • คณะทำงาน 15 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-น.ส.อนัญญา แสะหลี , นางกัลยาทรรศน์ ติ้งหวัง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • อยากให้มีแบบตัวอย่างของการวิเคราะห์บ้าง เพื่อเป็นแนวทางให้กับชุมชนต่อไป
ศึกษาดูงาน เพื่อเรียนรู้ สภา 59 ของบ้านหนองกลางดง16 ตุลาคม 2557
16
ตุลาคม 2557รายงานจากพื้นที่ โดย จันทนา อานัน
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อศึกษากระบวนการบริหารจัดการหมู่บ้านบ้านหนองกลางดง
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ในวันที่ 16 ตุลาคม 2557 ได้ร่วมกิจกรรมศึกษาดูงาน ร่วมกับ ทีม สกว.และสยามกัมมาจล ไปศึกษาดูงาน ณ. บ้านหนองกลางดง ต.ศิลาลอย อ.สามร้อยยอด จ.ประจวบคีรีขันท์ ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่น่่าสนใจมาก ๆ มี สพม.จังหวัด กล่าวสวัสดีทีมที่มาในช่วงเช้า และ ในช่วงบ่าย ก็มี ผู้ใหญ่โชคชัย เข้ามาพูดคุย แลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่ผ่านมา 18 ปี ซึ่งทำให้ทีมที่ไปรู้สึกประทับใจและคุ้มค่าที่ได้มาพบกันในวันนี้
  • สิ่งที่ได้รับจากการเรียนรู้กระบวนการต่าง ๆ ของบ้านหนองกลางดง ดังนี้
  • สภา 59>>>>>>>>>
  • ได้เอาแกนนำทุกฝ่ายมาร่วมคิด
  • ผู้ใหญ่ให้ชุมชนมีส่วนร่วมช่วยคิด ช่วยทำ ทุกเรื่อง
  • มีความเป็นผู้นำที่กล้าตัดสินใจ มีความรับผิดชอบ มีจิตสาธารณะ
  • แผนชุมชน>>>>>>>>>>>>
  • สำรวจข้อมูล 100% นำมาวิเคราะห์และแก้ปัญหาจริง ถูกจุด ทุกปัญหา
  • การบริหารชุมชน>>>>>>>>>>>
  • ชุมชนพึ่งตนเองเป็นหลัก ทั้งในเรื่องโรงน้ำมัน โรงสีข้าว ร้านค้าชุมชน โรงกวนสับปะรด ฯลฯ
  • ชุมชนมีส่วนร่วมในการสร้างกติกาของชุมชน>>>>>>>>>>>>
  • มีกฎกติกาที่ชุมชนปฏิบัติ ไม่โทษใคร
  • การทำงานเป็นทีม / องค์กร
  • ชุมชนมีส่วนร่วม ในเรื่องยาเสพติด การพนัน ความแตกแยก ฯลฯ สามารถจัดการได้ และเกิดจิตอาสามากขึ้น
  • ประชุมประจำเดือน>>>>>>>>>>>>>
  • ช่วงเช้านัดทีมแกนนำคุย
  • ช่วงบ่ายประชุมทั้งหมู่บ้าน / พร้อมทั้งผ่านเสียงตามสาย
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ชมผลงาน รางวัลของบ้านหนองกลางดง
  • ผู้ใหญ่โชคชัย พูดคุย แชร์ประสบการณ์
  • เสนอแนะ กระบวนการทำงานของชุมชนที่ผ่านมา
  • ถ่ายรูปร่วมกัน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย
  • ผู้ใหญ่บ้าน 1 คน
  • ผู้รับผิดชอบโครงการ 1 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-น.ส.อนัญญา แสะหลี , นางกัลยาทรรศน์ ติ้งหวัง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • อยากให้มีกิจกรรมที่ไปศึกษาดูงานพื้่นที่ต้นแบบ เพื่อนำมาปรับใช้กับชุมชน
ลงเก็บข้อมูล สำรวจแหล่งอาหารในชุมชน เพื่อให้ได้ข้อมูลในเรื่องของแหล่งอาหารและความมั่นคงทางอาหาร13 ตุลาคม 2557
13
ตุลาคม 2557รายงานจากพื้นที่ โดย จันทนา อานัน
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อสำรวจแหล่งอาหารในชุมชน เพื่อให้ได้ข้อมูลในเรื่องของแหล่งอาหารและความมั่นคงทางอาหาร
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ลงสำรวจในวันที่ 13-14 ตุลาคม 2557 ณ.ชุมชนบ้านทุ่งพัฒนา
  • คณะทำงานลงสำรวจข้อมูลชุมชน โดยการแยกกันไปสำรวจข้อมูล สอบถามถึงข้อมูลต่าง ๆ ที่มีในแบบสำรวจ ซึ่งมีการจำแนกแยกประเภท ดังนี้
  1. ข้อมูลส่วนตัว
  2. ข้อมูลสุขภาพ
  3. ความรู้เรื่องภูมิปัญญา ประเพณี ศิลปะ วัฒนธรรม
  4. พฤติกรรมสุขภาพด้านการออกกำลังกาย
  5. เรื่องอาหาร และ ความมั่นคงทางอาหาร
  6. เรื่องอื่น ๆ ในชุมชน
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ลงเก็บข้อมูลจำนวน 2 วัน ในพื้นที่บ้านทุ่งพัฒนา หมู่ที่ 13 ตำบลละงู ทุกคนให้ความร่วมมือในการให้ข้อมูลกันตามความเป็นจริง
  • ประสานคณะทำงาน เพื่อลงเก็บข้อมูล
  • อาสาสมัครลงเก็บข้อมูล จากกลุ่มเป้าหมาย คือ แกนนำเดิม 30 ครัว และ ครอบครัวเข้าร่วมโครงการเพิ่ม 30 ครัว
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 20 คน จากที่ตั้งไว้ 15 คน
ประกอบด้วย
  • อาสาสมัครในการลงเก็บสำรวจข้อมูล จำนวน 20 คน ซึ่งลงเป็นเก็บข้อมูล กับ กลุ่มเป้าหมาย คือ แกนนำเดิม 30 ครัว และ ครอบครัวเข้าร่วมโครงการเพิ่ม 30 ครัว
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • มีปัญหาเรื่องฝนตกบ้างเล็กน้อย
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-น.ส.อนัญญา แสะหลี , นางกัลยาทรรศน์ ติ้งหวัง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • อยากให้พี่เลี้ยงมาช่วยสร้างขวัญและกำลังใจในการประชุมทุกครั้ง
ประชุมกำหนดรูปแบบ แบบสำรวจและทำความเข้าใจคณะทำงานในการลงเก็บข้อมูล เพื่อให้ได้แบบสำรวจ และทำแผนลงพื้นที่สำรวจแหล่งอาหารในชุมชน11 ตุลาคม 2557
11
ตุลาคม 2557รายงานจากพื้นที่ โดย จันทนา อานัน
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อกำหนดรูปแบบ แบบสำรวจและทำความเข้าใจคณะทำงานในการลงเก็บข้อมูล เพื่อให้ได้แบบสำรวจ และทำแผนลงพื้นที่สำรวจแหล่งอาหารในชุมชน
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • เริ่มประชุมเวลา 9.00 น. ในวันที่ 11 ตุลาคม 2557 มีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 19 คน พร้อมด้วยวิทยากร 1 คน คือ นายอารีย์ ติงหวัง เข้าร่วมออกแบบแบบสำรวจข้อมูล
  • นางสาวจันทนา อานัน ผู้รับผิดชอบโครงการเปิดประชุม แจ้งให้ที่ประชุมทราบ เรื่องการออกแบบแบบสำรวจข้อมูล ว่ามีการสำรวจข้อมูลชุมชน ของหมู่ที่ 13 บ้านทุ่งพัฒนา ตำบลละงู เพื่อนำแบบสำรวจกลับมาวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลต่อไป เพื่อเป็นประโยชน์ในเรื่องอื่น ๆ ต่อไปด้วย
  • อีกอย่างนึง เป้าหมายในการสำรวจคือ สมาชิกชุดเดิม จำนวน 30 ครัวเรือน และ สมาชิกกลุ่มใหม่อีก 30 ครัวเรือน กลุ่มสมาชิกชุดนี้ จะเป็นแกนนำกลุ่มคนรักสุขภาพบ้านทุ่งด้วย
  • จำนวนการสำรวจ 60 ครัวเรือน
  • นางสาวศรีสุดา โกบหลำ และ นางสาวอารีดา ชายเหตุ พูดคุยในเรื่อง การสำรวจข้อมูล ว่า คนที่จะเข้าร่วมกลุ่ม "ชมรมกลุ่มคนรักสุขภาพบ้านทุ่ง" บ้างครั้งการมาเข้าประชุม จะมาบ้างไม่มาบ้าง ควรจะมีการกรอกใบสมัครเข้ามาด้วย เพื่อเป็นการยืนยันสิทธิ์ของตัวเอง ทั้งคนเก่าและคนใหม่ด้วย (มติที่ประชุม เห็นด้วย)
  • มีการออกแบบใบสมัครที่ใช้ในการเข้าร่วม "ชมรมกลุ่มคนรักสุขภาพบ้านทุ่ง" โดยมีการถกเถียงกันพอสมควร เพราะจะเห็นได้ว่าคนบ้านเราส่วนใหญ่ การออกแรง ร่วมแรงกัน ยังเห็นมีบางส่วนที่เห็นแก่ตัว แต่พอจะไปเทียวมากันเต็ม จึงมีหัวข้อให้เลือกว่า คุณจะเข้าร่วมชมรม ด้วยเหตุผลใด
  • มีการออกแบบโลโก้ของชมรมด้วย เป็นรูปใบไม้ พร้อมมีภาษาอังกฤษเป็นตัวย่อ ว่า B.T. คือ บ้านทุ่ง นั่นเอง


  • เริ่มประชุมเวลา 9.00 น. ในวันที่ 12 ตุลาคม 2557
  • นางสาวจันทนา อานัน ผู้รับผิดชอบโครงการ เปิดประชุม พร้อมแจ้งรายละเอียดเพิ่มเติมจากการประชุมเมื่อวาน อีกทั้งสรุปผลจากการประชุม กล่าวในที่ประชุมว่าควรมีการปรับตกแต่งอะไรอีกบ้าง
  • นางยุรีด๊ะ ยาบาจิ กล่าวว่า การลงสำรวจ พยายามถามทีละข้อ เพื่อให้การกรอกแบบสำรวจมีความชัดเจนมากที่สุด
  • นางอริสา ฮายีจูด กล่าวว่า ให้ตอบตามความเป็นจริง ข้อไหนไม่ได้ทำ ไม่ได้ปฏิบัติ ก็ให้กรอกตามจริง เพราะ หลังจากเสร็จโครงการแล้ว จะให้ทุกคน ทำแบบสำรวจอีกครั้ง
  • สรุปผลคือ ได้แบบสำรวจในการลงเก็บข้อมูล พร้อมกำหนดทีม กำหนดวันในการลงเก็บข้อมูล และกำหนดส่งแบบสำรวจข้อมูลเพื่อนำวิเคราะห์ โดยให้แต่ละคนรับผิดชอบแบบสำรวจ คนละ 3-4 ชุด ต่อ 1 คน พร้อมนำใบสมัครไปด้วย
  • ใบสมัครชมรมฯ นี้ จะใช้ หมู่ 5 บ้านทุ่ง และ ม. 13 บ้านทุ่งพัฒนา ใช้ชุดเดียวกัน เพราะเดิมที่ทั้งสองหมู่บ้านนี้ เป็นหมู่บ้านเดียวกัน แต่เกิดจากความเจริญที่มีมากขึ้น การเกิด การเติบโตของประชากรมากขึ้นทำให้ต้องมีการแยกเป็น 2 หมู่บ้าน แต่ความเป็นพี่ เป็นน้องยังคงมีความเป็นอยู่เหมือนเดิม
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ออกแบบแบบสำรวจ  โดยวิธีการหาทางอินเตอร์เน็ตบ้าง แบบฟอร์มหมู่บ้านบ้าง เป็นต้น เพื่อประกอบให้เป็นแบบฟอร์มที่จะสมบูรณ์ที่สุด ระดมความคิดว่าจะเป็นอย่างไร พร้อมทั้งมีวิทยากรร่วมด้วย
  • ออกแบบโลโก้ "ชมรมกลุ่มคนรักสุขภาพบ้านทุ่ง"
  • ออกแบบใบสมัครเข้าร่วมชมรม
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 20 คน จากที่ตั้งไว้ 16 คน
ประกอบด้วย

-แกนนำกลุ่มคนรักสุขภาพบ้านทุ่ง ประกอบด้วย ผู้ใหญ่บ้าน , อสม.,กลุ่มสตรี , กลุ่มจักรสาน , กลุ่มแม่บ้าน รวม 20 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ปัญหาเรื่องสมาชิก ไม่ชัดเจนว่าใครเป็นใคร ตัวจริง ตัวปลอม
  • แก้ไขโดยการ กรอกใบสมัคร พร้อมให้แต่ละคน มาสมัครด้วยตัวเอง สมัครใจเอง
  • ก่อนที่ลงสำรวจได้มีการประชาสัมพันธ์ ประกาศเสียงตามสายด้วย
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-น.ส.อนัญญา แสะหลี , นางกัลยาทรรศน์ ติ้งหวัง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ถ้ามีแบบฟอร์มตัวอย่างให้ดูคร่าว ๆ เพื่อประกอบกับ แบบฟอร์มชุมชน
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ต้องการตัวอย่างแบบฟอร์มของแต่ละพื้นที่
ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 2 เพื่อวางแผนงานการจัดเตรียม ออกแบบสำรวจลงพื้นที่6 ตุลาคม 2557
6
ตุลาคม 2557รายงานจากพื้นที่ โดย จันทนา อานัน
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อเตรียมความพร้อมการจัดทำระบบฐานข้อมูล ตรวจสอบแบบสำรวจ และเตรียมลงพื้นที่สำรวจข้อมูล
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ประสานทีมคณะทำงานชุดเก่าและชุดใหม่จำนวน 26 คน เพื่อมาร่วมกันวางแผนในการทำกิจกรรม
  • เริ่มประชุมเวลา 14.00 น. วันที่ 6 ตุลาคม 2557 ณ.สำนักงานสภาองค์กรชุมชนตำบลละงู โดย นางสาวจันทนา อานัน ผู้รับผิดชอบโครงการ เปิดการประชุม
  • มีการปรึกษาหารือ และหาวิธีการในการที่จะทำกิจกรรมที่ 2 ให้เกิดความเข้าใจว่าเราต้องทำอะไรบ้าง ทำอย่างไร เพื่อให้เรามีความกระตือรือร้นที่จะทำกิจกรรมที่เราสามารถทำได้ และเข้าใจ ก่อนทำกิจกรรมจริง
  • จากการประชุมคณะทำงานในครั้งนี้ ทำให้คณะทำงานมีความเข้าใจในกิจกรรมและโครงการมากกว่าปีที่แล้ว และรู้สึกได้ว่าคณะทำงานทุกคนมีความตั้งใจในการทำกิจกรรมต่อยอดในครั้งนี้มากกว่าเดิมเพราะรู้สึกว่าทำแล้ว มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น ให้ความร่วมมือมากขึ้น , คณะทำงานบางคนเมื่อทราบว่ามีการต่อยอดในการทำโครงการ ของปีนี้ ก็รู้สึกดีใจ และอยากทำต่อ เพราะเป็นโครงการที่ทำให้เราได้รู้ ในสิ่งที่เราไม่รู้
  • ทีมชุดใหม่ที่เข้ามาร่วมกิจกรรมที่อยากทำโครงการ เพื่อต้องการให้ชุมชนหมู่ที่ 13 เป็นชุมชนที่น่าอยู่
  • พร้อมคุยรายละเอียดเกี่ยวกับกิจกรรมต่อไปในเรื่องขอการกำหนดวันประชุมออกแบบ แบบสำรวจความมั่นคงทางอาหาร คือวันที่ 11-12 ตุลาคม 2557 ณ.สำนักงานสภาองค์กรชุมชนตำบลละงู โดยให้แต่ละคน ลองดูข้อมูลคร่าว ๆ จากแหล่งต่าง ๆ เพื่อนำมาประกอบกันในวันดังกล่าว
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ประชุม และ รายผลจากการประชุมที่ผ่านมา พร้อมขอมติรับรองรายงายการประชุมครั่้งที่ผ่านมา
  • กำหนดวันในการประชุม เพื่อกำหนดรูปแบบ แบบสำรวจความมั่นคงทางอาหาร
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 26 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย

ประกอบด้วย

  • อสม. 7 คน
  • แกนนำชุมชน (ผู้ใหญ่บ้าน ,ปราชญ์ชาวบ้าน ,กลุ่มแม่บ้าน)  19 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • เกิดฝนตกก่อนการประชุม มีผลเรื่องของการเดินทางมาประชุม แต่ทุกคนก็มาด้วยความพร้อมเพรียงกัน
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-น.ส.อนัญญา แสะหลี , นางกัลยาทรรศน์ ติ้งหวัง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ไม่มี
ลงติดตามหนุนเสริมการทำงานของพื้นที่ในการชี้แจงการทำงานโครงการ2 ตุลาคม 2557
2
ตุลาคม 2557รายงานจากพี่เลี้ยง โดย อนัญญา แสะหลี
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อทำความเข้าใจการทำงานโครงการและร่วมกันวางรูปแบบในการทำงานของพื้นที่ในการทำโครงการชี้แจงวัตถุประสงค์การทำงานโครงการให้กับคณะทำงานในพื้นที่ได้เข้าใจ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ผู้ประสานงานโครงการนางสาว จันทนา อานัน กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมประะชุมและพี่เลี้ยงโครงการคือนางสาวอนัญญา  แสะหลี และนางกัลยทรรศน์ ติ้งหวัง ต่อด้วยการชี้แจงวัตถุประสงค์การทำงานโครงการซึ่งเป็นโครงการต่อยอด ซึ่งเป็นการทำงานในปีที่ 2 คิดว่าการทำงานต้องดีขึ้นกว่าเดิมและมีทีมงานที่มีความเข้มแข็งมากขึ้น
  • มีการแบ่งบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของแต่ละคนเพื่อให้คนทำงานเห็นคุณค่าของตัวเองในการร่วมกันขยับงานโครงการให้เป็นทีม
  • พี่เลี้ยงช่วยวางกรอบและขั้นตอนการขยับงานแต่ละกิจกรรมเพื่อให้สามารถตอบโจทย์วัตถุประสงค์ของโครงการและร่วมกันวางแผนการทำงานในแต่ละช่วงเวลาตามปฏิทินโครงการ
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • คณะทำงานมีความเข้าใจการทำงานโครงการแต่ละกิจกรรม
  • ได้มีการแบ่งบทบาทการทำงานโครงการ
  • ให้ผู้ประสานงานโครงการปรับปฏิทินโครงการ
  • ให้มีการบันทึกการประชุมที่ชัดเจน
  • มีการวางวาระการประชุมแต่ละครั้ง
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

เกือบได้ตามเป้าหมาย (2)

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • เริ่มประชุมช้าเนื่องจากฝนตกต้องคอยคณะทำงาน
  • ฝนตกทำให้คณะทำงานมาเข้าร่วมประชุมได้ไม่ครบตามที่วางไว้ แนวทางแก้ไข
  • เลิกประชุมช้า
  • จะทำความเข้าใจเพิ่มเติมในส่วนคนที่ไม่ได้เข้าร่วมประชุม
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ให้มีวาระการประชุมในการประชุมทุกครั้ง
  • แบ่งบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของแต่ละฝ่าย
  • ให้ปรับปฏิทินโครงการ
ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 1 เพื่อทำความเข้าใจและชี้แจงวัตถุประสงค์โครงการ2 ตุลาคม 2557
2
ตุลาคม 2557รายงานจากพื้นที่ โดย จันทนา อานัน
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อประชุมทำความเข้าใจ และ แจ้งวัตถุประสงค์ของโครงการ พร้อมทั้งคัดเลือกคณะทำงาน
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • วันที่ 2 ตุลาคม 2557 ณ สำนักงานสภาองค์กรชุมชนตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล ประชุมคณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 1 โครงการความมั่นคงทางอาหาร หมู่ 13 บ้านทุ่งพัฒนา (ต่อยอด) เริ่มประชุม โดย นางสาวจันทนา  อานัน ผู้ประสานงานโครงการ มีทีปรึกษา 2 คน คือ น.ส.อนัญญา แสะหลี , นางกัลยาทรรศน์ ติ้งหวัง
  • คัดเลือกคณะทำงานและแบ่งบทบาทหน้าที่
  1. นางสาวจันทนา  อานัน ประธานโครงการ
  2. นางอริสา  ฮายีจูด เลขานุการ
  3. นางสาวยารีหนา  นิ้วหลี การเงิน
  4. นางอัสนะ  อานัน ลงทะเบียน
  5. นางสาวจันทิมา  อานัน ถ่ายรูป
  6. นางเสาวนีย์  ดันงุ่น สวัสดิการ
  7. นางฮาสาน๊ะ  อานัน เตรียมเอกสาร
  8. นางสาวศรีสุดา  โกบหลำ ประสานงาน
  • กำหนดการจัดทำแบบฟอร์มสำรวจ ซึ่งจะมีการเวทีประชุมร่วมกับทีมวิทยากร จำนวน 2 วัน พร้อมกำหนดวันในการลงเก็บและสำรวจข้อมูล ตามแบบฟอร์มสำรวจ

  • การจับคู่การประสานงานและการทำงานเพื่อให้งานมีประสิทธิภาพ และรวดเร็วมากขึ้น

  1. นางสาวศรีสุดา  โกบหลำ คู่กับ นางสาวอารีดา  ชายเหตุ
  2. นางสาวรอน๊ะ  สงบ  คู่กับ จ๊ะฉ๊ะ  สุติก
  3. นางอาลีนา  หวันสู  คู่กับ  นางสาวอรสา  มานะกล้า
  4. นางอัสนะ  อานัน  คู่กับ นางมารีย๊ะ  ชายเหตุ
  5. นางยูรีด๊ะ  ยาบาจิ  คู่กับ  นางอริสา  ฮายีจูด
  6. นางสาวมาลี  ชายเหตุ  คู่กับ  นางเสาวนีย์  ดันงุ่น
  7. นางสาวสุนิตา  เบ็ญกาเส็ม  คู่กับ  นางสาวอุไรม๊ะ  บินหมูด
  8. นางสาววิไลวรรณ  หวันสู  คู่กับ นางฮาสาน๊ะ  อานัน
  9. นางสาวจันทิมา  อานัน  คู่กับ  นางเจ๊ะสาเหราะ  สำโส๊ะ

- ปรึกษาหารือ เพื่อให้เกิดเป็น สภาหมู่บ้าน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • คัดเลือกคณะทำงานและแบ่งบทบาทหน้าที่
  • กำหนดการจัดทำแบบฟอร์มสำรวจ ซึ่งจะมีการเวทีประชุมร่วมกับทีมวิทยากร จำนวน 2 วัน พร้อมกำหนดวันในการลงเก็บและสำรวจข้อมูล ตามแบบฟอร์มสำรวจ
  • การจับคู่การประสานงานและการทำงานเพื่อให้งานมีประสิทธิภาพ และรวดเร็วมากขึ้น
  • ปรึกษาหารือ เพื่อให้เกิดเป็น สภาหมู่บ้าน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 25 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย
  • ประธานสตรี 1 คน
  • อสม.7 คน
  • แกนนำชุมชน 17 คน (กลุ่มสตรี , กลุ่มน้ำยางสด , กลุ่มจักรสาน)
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ฝนตกทำให้ผู้เข้าร่วมประชุมมาช้า
  • คณะทำงานไม่สามารถนำกระบวนการประชุมได้ในช่วงแรก
  • แก้ไขโดยการ ฝึกการนำกระบวนการประชุม
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
น.ส.อนัญญา แสะหลี , นางกัลยาทรรศน์ ติ้งหวัง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • อยากให้มีการสนับสนุนจาก สสส.อย่างนี้ต่อไปเพื่อจะได้มีการพัฒนาชุมชนหรือหมู่บ้านต่อไป
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • อยากให้้มีพี่เลี้ยงไว้คอยให้ความช่วยเหลือและแนะแนวทางการทำงานให้กับกลุ่มการทำงาน
จัดทำป้ายเขตปลอดบุหรี่และการล้างอัดขยายภาพ31 สิงหาคม 2557
31
สิงหาคม 2557รายงานจากพื้นที่ โดย จันทนา อานัน
circle
วัตถุประสงค์
  • จัดทำป้ายโครงการ ป้ายเขตปลอดบุหรี่
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • จัดทำป้ายเขตปลอดบุหรี่
  • นำป้ายรณรงค์เขตปลอดบุหรี่มาติดไว้ในที่ประชุมหมู่บ้าน
  • ผู้ใหญ่บ้านเชิญชวนให้ชาวบ้านมีการงดสูบบุหรี่ในที่ประชุมหมู่บ้าน
  • ผู้ประสานงานโครงการสั่งให้ร้านดำเนินการจัดทำป้านรณรงค์ประชาสัมพันธ์
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • จัดทำป้ายเสร็จเรียบร้อยแล้ว ได้นำป้ายมาติดไว้ในสถานที่สาธารณะชุมชนของหมู่บ้าน เพื่อให้ชาวบ้านได้มีการลด ละเลิกสูบบุหรี่ในที่สาธารณะ
  • ชาวบ้านได้ให้ความร่วมมือ ไม่มีการสูบบุหรี่ในที่สาธารณะเช่น ในพื้นที่ที่มีการประชุม และการอบรมต่างๆ
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 1 คน จากที่ตั้งไว้ 1 คน
ประกอบด้วย
  • ผู้ประสานงานได้ดำเนินการไปจัดทำป้ายประชาสัมพันธ์
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ไม่มี
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
- นางสาวอนัญญา แสะหลี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ไม่มี
ปฐมนิเทศโครงการร่วมสร้างชุมชนน่าอยู่ปี 255715 มิถุนายน 2557
15
มิถุนายน 2557รายงานจากพี่เลี้ยง โดย อนัญญา แสะหลี
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อปฐมนิเทศน์โครงการชุมชนท้องถิ่นให้น่าอยู่

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ร่วมลงข้อมูลโครงการลงในเวบไซค์

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ทำความเข้าใจรายละเอียดการทำงานโครงการของพื้นที่
  • ลงข้อมูลโครงการในเวบไซค์
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 1 คน จากที่ตั้งไว้ 1 คน
ประกอบด้วย
  • พี่เลี้ยงโครงการ 1 คน
  • คณะทำงานพื้นที่ 2 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ปัญหา - คณะทำงานพื้นที่ไม่สามารถลงข้อมูลในเวบไซค์ได้ทัน - พื้นที่บางพื้นที่ยังไม่ได้รับสัญญาโครงการทำให้ไม่สามารถลงข้อมูลได้ครบ แนวทางแก้ไข - พี่เลี้ยงนัดให้พื้นที่ไปลงข้อมูลให้ครบถ้วนในวันถันไปซึ่งจะจัดจึ้นในพื้นที่จังหวัดของตนเอง - ให้พื้นที่มาลงข้อมูลให้ครบเมื่อได้สัญญาโครงการจาก สสส.

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ให้พื้นที่ทำความเข้าใจโครงการให้เข้าใจและลงข้อมูลรายละเอียดโครงการให้ครบถ้วน
เพื่อปฐมนิเทศโครงการร่วมสร้างชุมชนและท้องถิ่นให้น่าอยู่ ปี 255715 มิถุนายน 2557
15
มิถุนายน 2557รายงานจากพื้นที่ โดย จันทนา อานัน
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อทำความเข้าใจ และ การคีย์ข้อมูล อย่างถูกวิธี
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • เริ่มประชุมเวลา 09.00 น
  • เรื่องเงินสนับสนุนโครงการจาก ส.ส.ส.
  • วิธีการดำเนินการและการจัดกิจกรรมจากเจ้าหน้าที่ของ ส.ส.ส. สำนัก6 โดยการทำความเข้าใจการทำงานโครงการร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นให้น่าอยู่เพื่อให้พื้นที่สามารถกลับไปขับเคลื่อนงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ในเรื่องการสร้างความเข้าใจโครงการหลักการทำรายงานการเงินการจัดทำบัญชีและการรายงานข้อมูลผ่านเวบไซค์ โดยให้พี่เลี้ยงแต่ละโครงการได้ช่วยในเรื่องการลงปฏิทินโครงการเพื่อให้ง่ายต่อการทำงานต่อไป
  • ปฐมนิเทศน์โครงการ
  • การคีย์ข้อมูลผ่าน Internet
  • การทำความเข้าใจเรื่องการดำเนินกิจกรรม
  • การจัดเก็บใบเสร็จ
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • มีความรู้ความเข้าใจ เรื่องต่าง ๆ อย่างเข้มข้น
  • ได้ความรู้ใหม่ๆได้เข้าใจวิธีการดำเนินงานในชุดโครงการ สสส. โครงการร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นให้น่าอยู่
  • ทำให้เป็นการเปิดมุมมองการทำงานเ
  • มีความเข้าใจในหลักการทำงานมากขึ้นโดยเฉพาะการจัดการเอกสารการเงิน เอกสารรายงานการประชุมและการจัดทำรายงานผ่านเวบไซค์
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย
  • ผู้รับผิดชอบโครงการ และ คณะทำงาน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ปัญหา
    -- คณะทำงานพื้นที่ไม่สามารถลงข้อมูลในเวบไซค์ได้ทัน
    -- พื้นที่บางพื้นที่ยังไม่ได้รับสัญญาโครงการทำให้ไม่สามารถลงข้อมูลได้ครบ
  • แนวทางแก้ไข
    -- พี่เลี้ยงนัดให้พื้นที่ไปลงข้อมูลให้ครบถ้วนในวันถันไปซึ่งจะจัดขึ้นในพื้นที่จังหวัดของตนเอง
    -- ให้พื้นที่มาลงข้อมูลให้ครบเมื่อได้สัญญาโครงการจาก สสส.
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวอนัญญา แสะหลี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • เจ้าหน้าที่ให้คำแนะนำในการบันทึกข้อมูล และการลงรูปภาพต่าง ๆ และการทำบัญชีในการเอกสารต่าง
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ต้องการให้พี่เลี้ยงแนะนำในการบันทึกข้อมูล และการจัดทำเพื่อลงเวที ในการจัดโครงการ
  • อยากให้พี่เลี้ยงช่วยอธิบายการทำงานเพิ่มเติม
  • ให้พี่เลี้ยงลงไปสนับสนุนและหนุนเสริมการทำงานของพื้นที่