directions_run

เด็กน้อยเกาะโตดนุ้ย เล่านิทานปูม้า ปูทะเล(ต่อเนื่อง)

แบบประเมินผลการดำเนินงาน (Performance/Product Evaluation)

 เป้าประสงค์หรือวัตถุประสงค์/ตัวชี้วัด(Indicator)สถานการณ์เป้าหมายผลผลิต
(Output)
ผลลัพธ์
(Outcome)
ผลกระทบ
(Impact)
อธิบายข้อสังเกตที่สำคัญ
1 เพิ่มศักยภาพการจัดการตนเอง
ตัวชี้วัด : 1. มีการดำเนินกิจกรรมหมู่บ้านแบบมีส่วนร่วม ร้อยละ 50 ของกิจกรรม 2. เกิดกองทุนธนาคารปูไข่ 1 กองทุน 3. มีกองทุนเพื่อการออมเกิดขึ้นใหม่ 1 กองทุนหรือ เพิ่มจำนวนสมาชิกการออม/จำนวนวงเงินหมุนเวียนได้ร้อยละ 20 เชิงคุณภาพ - เกิดความเข้มแข็งของหมู่บ้านผ่านกระบวนการสภาชุมชนฯ - คนในชุมชนมีนิสัยการออม มีเงินไว้ใช้ในยามฉุกเฉิน

 

 

  1. กิจกรรมที่จัดขึ้นแต่ละครั้งมีผู้เข้ามาร่วมกิจกรรมตามกลุ่มเป้าหมายที่กำหนด แต่มีบางครั้งมีผู้มาร่วมกิจกรรมไม่ครบตามกลุ่มเป้าหมายเนื่องจากตรงกับช่วงน้ำใหญ่ ผู้ชายจะออกไปทำประมงไม่ได้มาร่วมกิจกรรม มีกลุ่มเยาวชน ผู้หญิง และผู้สูงอายุมาร่วมมากกว่า ปรับโดยการแจ้งข่าวในมัสยิดวันศุกร์ในเรื่องที่พ่อบ้านไม่ได้มาร่วมกิจกรรม สรุปภาพรวมการมีส่วนร่วมกิจกรรมทั้งหมดร้อยละ 80 ของกิจกรรมที่จัดทั้งหมด
  2. เกิดกองทุนธนาคารปูไข่ 1 กองทุน มีรายได้เข้ากองทุนจากการนำแม่ปูที่สลัดไข่แล้วไปขาย ปีแรกเก็บเงินได้ 2,375 บาท ปีที่สองเก็บเงินได้ 1,855 บาท รวม 4,230 บาท กรรมการตกลงกันว่าจะยังไม่นำเงินออกมาให้สมาชิกยืม จนกว่าเงินครบ 10,000 บาท
  3. ไม่ได้มีการออมกับกองทุนธนาคารปูไข่ เนื่องจากมีโครงการกองทุนแม่ของแผ่นดินลงมาที่หมู่บ้าน สภามีมติว่าให้ชาวบ้านมีการออมกับกองทุนแม่ เพราะคนในเกาะมีจำนวนน้อยให้ระดมเงินออมที่กองทุนแม่ เพราะทางการมีการติดตามชัดเจนแน่นอน คนจะได้ออมและคืนเงินตามระเบียบ
  • เกิดความเข้มแข็งของกระบวนการสภาฯที่ประชุมต่อเนื่องทุกวันศุกร์ที่ 4 หลังละหมาด เป็นที่ติดตามผลการทำโครงการ สสส. เป็นที่พูดคุยปัญหาของหมู่บ้าน และแจ้งข่าวจากหน่วยงานต่างๆ
  • ครัวเรือนส่วนใหญ่เริ่มมีนิสัยการออม โดยออมกับกองทุนแม่ของแผ่นดิน
2 อนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลนและปูทะเล
ตัวชี้วัด : 1. มีศูนย์การเรียนรู้การอนุรักษ์ป่าชายเลนและปูทะเลอย่างละ 1 แห่ง 2. เกิดนวตกรรมการปลุกจิตสำนึกอนุรักษ์ด้วยนิทานพื้นบ้าน 1 นวตกรรม เชิงคุณภาพ - ชุมชนเกิดการเรียนรู้เรื่องปูทะเลด้วยหลักวิชาการนำมาบูรณาการกับประสบการณ์ของชาวประมงพื้นบ้าน - เยาวชนนำนิทานพื้นบ้านที่แต่งขึ้นใช้กระตุ้นจิตสำนึกอนุรักษ์ป่าชายเลนและปูทะเล

 

 

  1. เกิดศูนย์เรียนรู้การอนุรักษ์ป่าชายเลนและปูไข่ อย่างละ 1 แห่ง โดยป่าชายเลนที่เริ่มปลูกปีที่แล้วโตขึ้นมาก ทำให้เยวชนและชาวบ้านมีกำลังใจในการปลูก จากเดิมที่มีทัศนคติว่า ดินแข็งปลูกยาก รวม 2 ปี มีป่าที่ปลูกติด 4 ไร่
  2. เกิดนวตกรรม มีทานปูม้า โดยเด็กแต่งนิทานพร้อมวาดภาพในวันเด็ก ครูนำไปจัดแสดงที่โรงเรียน
  • เกิดการเรียนรู้เรื่องปูกับหน่วยงานประมง โดยเฉพาะเมื่อหน่วยงานประมงนำกล้องมาขยายภาพไข่ปูในน้ำที่อ่างแม่ปูรอสลัดไข่ ทำให้ชาวบ้านเข้าใจในสิ่งที่กำลังทำมากยิ่งขึ้น และมีกำลังใจในการทำธนาคารปูไข่แบบนี้มากขึ้น
  • เยาวชนมีการนำนิทานไปเล่าให้พ่อแม่และน้องฟังที่บ้าน
3 เพื่อบริหารจัดการและติดตามดำเนินงาน
ตัวชี้วัด : จำนวนครั้งในการเข้าร่วมกิจกรรมกับ สสส.

 

 

10 ครั้ง