แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


“ สภาซูรอเขาน้อยใต้ จัดสรรสิ่งที่ดีให้เยาวชน ”

บ้านเขาน้อยใต้ หมู่ที่ 12 ต.ฉลุง อ.เมือง จ.สตูล

หัวหน้าโครงการ
นายมูฮัมหมัดใบกาเด็ม

ชื่อโครงการ สภาซูรอเขาน้อยใต้ จัดสรรสิ่งที่ดีให้เยาวชน

ที่อยู่ บ้านเขาน้อยใต้ หมู่ที่ 12 ต.ฉลุง อ.เมือง จ.สตูล จังหวัด สตูล

รหัสโครงการ 57-01492 เลขที่ข้อตกลง 57-00-0733

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 20 พฤษภาคม 2557 ถึง 19 มิถุนายน 2558


กิตติกรรมประกาศ

"สภาซูรอเขาน้อยใต้ จัดสรรสิ่งที่ดีให้เยาวชน จังหวัดสตูล" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน บ้านเขาน้อยใต้ หมู่ที่ 12 ต.ฉลุง อ.เมือง จ.สตูล

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
สภาซูรอเขาน้อยใต้ จัดสรรสิ่งที่ดีให้เยาวชน



บทคัดย่อ

โครงการ " สภาซูรอเขาน้อยใต้ จัดสรรสิ่งที่ดีให้เยาวชน " ดำเนินการในพื้นที่ บ้านเขาน้อยใต้ หมู่ที่ 12 ต.ฉลุง อ.เมือง จ.สตูล รหัสโครงการ 57-01492 ระยะเวลาการดำเนินงาน 20 พฤษภาคม 2557 - 19 มิถุนายน 2558 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 167,200.00 บาท จาก เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 585 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

 

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. สร้างความเข้มแข็งชุมชน
  2. เพื่อการจัดการตนเองด้านสารเสพติด
  3. เพื่อการบริหารจัดการและการติดตามประเมินผลโครงการ

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

     


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. ปฐมนิเทศ

    วันที่ 15 มิถุนายน 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • เรียนรู้การดำเนินโครงการ การทำหลักฐานการเงิน การใช้เวปไซด์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • เรียนรู้การดำเนินโครงการ การทำหลักฐานการเงิน การใช้เวปไซด์

     

    1 1

    2. ประชุมชี้แจงโครงการ

    วันที่ 27 มิถุนายน 2557 เวลา 10:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • แกนนำโครงการจัดประชุมครัวเรือนร้อยละ 70 ของหมู่บ้าน เพื่อชี้แจงที่มาโครงการ วัตถุประสงค์ กิจกรรมโครงการ ชักชวนให้ซักถามแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่อกิจกรรมโครงการที่กำหนด
    • วิทยากรบรรยายเรื่อง ปัจจัยแห่งความสำเร็จของชุมชนจัดการตนเองด้านปัญหาสารเสพติด
    • ช่วยกันคัดเลือกแกนนำกลุ่มต่างๆ ในชุมชนเพื่อเป๋นสภาหมู่บ้าน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ชาวบ้านเขาน้อยใต้ มาประชุมร่วมกันที่มัสยิดเขาน้อยใต้
    • ผู้ใหญ่บ้านเขาน้อยใต้ชี้แจง ที่มาโครงการ วัตถุประสงค์ กิจกรรมโครงการ ชักชวนให้ซักถามแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่อกิจกรรมโครงการที่กำหนด
    • วิทยากรจากโรงพยาบาลสตูล มาให้ความรู้และกระตุ้นสร้างแรงจูงใจ ให้คนในหมู่บ้านร่วมกันแก้ปัญหายาเสพติดุ่มเยาวชน กลุ่มผู้นำศาสนา
    • ได้กลุ่มที่จะเลือกแกนนำมารวมเป็นสภาซูรอ ดังนี้ กลุ่มผู้นำท้องถิ่น ท้องที่ กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มสตรี กลุ่มอสม. กลุ่มครูตาดีกา ข้าราชการเกษียณอายุ ครู ตำรวจ ป่าไม้ รวม 10 กลุ่ม จากให้ให้แต่ละกลุ่มคัดเลือกตัวแทนกลุ่มละ 2-5 คนมาเป็นสภาซูรอ

     

    150 150

    3. ประชุมพี่เลี้ยงจังหวัด

    วันที่ 28 มิถุนายน 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • พี่เลี้ยงชี้แจงหลักการเบิกเงินจากธนาคาร
    • การทำแผน
    • การทำรายงาน การลงเวป
    • การทำเอกสารในลงทะเบียน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้ความรู้การทำงานโครงการ สสส

     

    2 3

    4. จัดตั้งชมรมเยาวชน ครั้งที่ 1

    วันที่ 23 สิงหาคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • รับสมัครเยาวชนอายุ 12-20 ปีในหมู่บ้านมาเป็นสมาชิกชมรม
    • จัดกิจกรรมละลายพฤติกรรม โดยครูตาดีกาเป็นวิทยากร
    • เปิดใจปัญหาเยาวชน เยาวชนช่วยกันเขียนปัญหาของกลุ่มเยาวชน
    • ช่วยกันเลือกคณะกรรมการชมรมเยาวชน
    • เปิดโอกาสให้ตั้งชื่อชมรม/สภาเยาวชนกันเองอย่างเหมาะสม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • เยาวชนได้ทำความรู้จักกัน  รับสมัครเยาวชนอายุ 12-20 ปี ได้สมาชิกทั้งสิ้น 60 คน
    • เยาวชนได้สะท้อนปัญหาของตนเอง เปิดใจคุยกันดังนี้ 1. พ่อแม่ไม่เข้าใจ 2. ไม่อยากเรียนต่อ อยากทำงาน 3. ตามเพื่อนไปทำสิ่งที่ไม่ดี 4. คึกคะนองชอบลองของ 5. มีเพื่อนต่างเพศ ชักชวนทำผิดศีลธรรม
    • ได้ชมรมเยาวชนที่มีกรรมการทำหน้าที่ในการประสานงาน และช่วยกันหาแนวทางแก้ไขปัญหาจากที่สะท้อนกัน โดยใช้กิจกรรมในการแก้ไขปัญหาโดยเสนอชมรมต้องทำ 5 กลุ่ม ได้แก่ การแข่งกีฬา การพัฒนากุโบร์ การช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส การพัฒนามัสยิด และการเป็นชรบ.น้อย เยาวชนเห็นด้วยกับกิจกรรมดังกล่าว

     

    80 80

    5. สภาเยาวชน:พัฒนาสองข้างทางถนนในหมู่บ้าน ครั้งที่ 2

    วันที่ 30 สิงหาคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • สภาซูรอเขาน้อยใต้ ร่วมกันวางแผนการพัฒนาสองข้างทาง โดยให้ผู้ใหญ่มามีส่วนร่วมกับเยาวชนถางหญ้าสองข้างทางในหมู่บ้าน
    • จัดกิจกรรมพัฒนาหลังการจัดกิจกรรมจัดตั้งชมรมเยาวชน 1 วัน
    • มีการพูดคุยสอบถามว่าใครเป็นลูกหลานใคร ชื่ออะไร

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • เยาวชนเกิดความภาคภูมิใจในตนเองที่ได้ทำกิจกรรมที่เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม เยาวชนมีความรู้สึกสนุกสนาน สมัครสมานกลมเกลียว ช่วยกันทำงานอย่างไม่รู้สึกเหน็ดเหนื่อย และผู้ใหญ่ชื่นชมการกระทำของตน
    • เกิดกระแสการทำงานร่วมกันระหว่างคนสองวัยในหมู่บ้าน
    • การพัฒนาได้ระยะทางรวมประมาณ 4 กิโลเมตร
    • เยาวชนได้ทำกิจกรรมร่วมกับผู้ใหญ่แกนนำหมู่บ้าน มีผู้ใหญ่จากกลุ่มชรบ. อสม. ผู้นำท้องถิ่น ท้องที่มาช่วยด้วย เกิดบรรยากาศการทำงานร่วมกันของเด็กและผู้ใหญ่ เกิดความสัมพันธ์อันดี

     

    80 80

    6. ประชุมสภาซูรอ

    วันที่ 12 กันยายน 2557 เวลา 12:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • เนื่องจากสภาซูรอยังไม่พร้อมเรื่องเวลาในการอบรม ครั้งแรกของการประชุมจึงเป็นการเตรียมงานวันฮารีรายา
    • ผู้ใหญ่บ้านมีการชี้แจงกิจกรรมโครงการสสส.เขาน้อยใต้
    • ที่ประชุมรับทราบและเห็นด้วย
    • ต่อมาที่ประชุมได้เตรียมการจัดงานกิจกรรมวันฮารีรายา โดยมีกิจกรรมของโครงการคือ การจัดแข่งกีฬาของชมรมเยาวชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • สภาซูรอได้รับทราบการจัดตั้ง ที่มาของสภา
    • ได้การนัดหมายอบรมบทบาทสภาซูรอ
    • ได้ทักษะการจัดการกิจกรรมของหมู่บ้านคือ งานวันฮารีรายา

     

    40 40

    7. สภาเยาวชน:แข่งกีฬา ครั้งที่ 3

    วันที่ 4 ตุลาคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • จัดแข่งกีฬาวันฮารีรายาเป็นกีฬาพื้นบ้าน เช่น ชักกะเย่อ เก้าอี้ดนตรี เหยียบลูกโป่ง
    • เยาวชน และผู้ปกครอง ชาวบ้านสนุกสนาน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • เกิดความสามัคคีในหมู่บ้าน
    • เยาวชนได้ทำกิจกรรมที่แสดงความสามารถ และฝึกการมีน้ำใจนักกีฬา

     

    80 91

    8. ประชุมสภาซูรอ

    วันที่ 10 ตุลาคม 2557 เวลา 19:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • พี่เลี้ยงพูดคุย ทำความเข้าใจให้สภาซูรอแบ่งบทบาทหน้าที่ให้ชัดเจน วางแผนทำกิจกรรมระยะสั้นๆที่ทำไม่ทันตามแผน
    • ชี้แจงกิจกรรมโครงการที่ต้องทำว่ามีกิจกรรมเยาวชน ได้แก่ การเล่นกีฬา การบำเพ็ญประโยชน์ การทำกติกาด้านเยาวชน การเยี่ยมบ้านเยาวชน และการทำค่ายครอบครัว
    • จากนั้นสภาได้พูดคุยแลกเปลี่ยนปัญหาหมู่บ้าน และลงความเห็นว่าใช้โครงการ สสส. แก้ปัญหายาเสพติดในเยาวชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • จากโครงการมีความล่าช้า การทำงานมีปัญหาเรื่องการส่งเอกสารหลักฐาน ผู้ใหญ่บ้านนายมูฮัมหมัด ใบกาเด็มจึงเชิญพี่เลี้ยงมาทำความเข้าใจกับสภาซูรอ ได้ร่วมคิด ร่วมวางแผนปัญหาโครงการที่ล่าช้า

     

    40 45

    9. ทำป้ายสถานที่นี้ปลอดบุหรี่

    วันที่ 12 ตุลาคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ทำป้ายสถานที่นี้ปลอดบุหรี่  4 แผ่น

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • เกิดการรณรงค์ให้ลด ละ เลิกการสูบบุหรี่

     

    1 1

    10. อบรมบทบาทสภาซูรอ

    วันที่ 17 ตุลาคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • วิทยากรจากพมจ.สตูลมาให้ความรู้เรื่องจากจัดตั้งสภาองค์กรชุมชน บทบาทหน้าที่ และสิทธิประโยชน์ที่สมาชิกจะได้รับ
    • วิทยากรจากสภาองค์กรชุมชนนายกิตติโชติ ชนะหลวง มาสอนการร่วมประชุมปรึกษาของสภาโดยให้จัดทำวาระการประชุม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • สมาชิกสภาซูรอได้รับแรงกระตุ้นการทำงาน ได้รับความรู้บทบาทสภา ได้เข้าใจกระบวนการประชุม ดังนี้ ทุกคนที่เป็นสมาชิกสภามีหน้าที่ต้องมาประชุมตามนัดทุกเดือน อาจขาดได้แต่ไม่เกิน 2-3 ครั้ง และต้องติดตามว่าที่ประชุมมีเรื่องอะไรบ้าง ต้องให้ความร่วมมือในการทำงาน มีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาหมู่บ้านโดยเฉพาะการป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติดที่เพิ่มขึ้นทุกวัน สภาต้องช่วยกันออกกติกาของสภา เช่น การออกเสียง การแสดงความคิดเห็น งานที่มอบหมายรับผิดชอบ สภาเป็นที่ร่วมกันคิดที่มาจากการนั่งพูดคุยกันอย่างเป็นกันเองตามปกติ ไม่มีใครมีสิทธิอำนาจเหนือใคร ให้คิดว่าทุกคนมีสิทธิเสนอความคิดเห็นเท่าเทียมกัน
    • สมาชิกได้ทำความรู้จัก แลกเปลี่ยนความคิดซึ่งกันและกันโดยเฉพาะเรื่องสวัสดิการชุมชนที่วิทยากรนำมาบอกกล่าว วาระที่ 1 เรื่องประธานแจ้งเพื่อทราบ ผู้ใหญ่บ้านจะแจ้งเรื่องที่รับมาจากที่ว่าการอำเภอ หรือคนที่ไปรับรู้ข่าวสารอะไรก็มาลงเรื่องที่จะแจ้งแก่เลขา คือบัณฑิตอาสา  วาระที่ 2 รับรองการประชุม ให้นำเรื่องมติของที่ประชุมครั้งที่แล้วมาอ่านให้สมาชิกรับทราบเผื่อมีใครจะแย้งหรือแก้ไข วาระที่ 3 เรื่องติดตาม ในหมู่บ้านจะมีเรื่องอะไรติดตามเป็นประจำ เช่น สถานะการเงินของกองทุนต่างๆ  ความก้าวหน้าโครงการสสส เป็นต้น  วาระที่4 เรื่องเพื่อพิจารณา ว่ามีเรื่องอะไรที่ต้องตัดสินใจร่วมกันบ้าง  วาระที่ 5 เรื่องอื่นๆ ให้สมาชิกเสนอเร่ืองที่ไม่ได้เตรียมไว้ในวาระการประชุมมาพูดคุย
    • ทำทำเนียบสมาชิกสภาซูรอ เลือกประธาน รองประธาน 2 คน เลขสนุการ เหรัญญิก กรรมการฝ่ายต่างๆ โดยมอบหมายให้บัณฑิตพิมพ์ให้เรียบร้อยต่อไป พร้อมระเบียบของสภา

     

    40 40

    11. สภาเยาวชน:พัฒนาบ้านผู้ด้อยโอกาศ ครั้งที่ 4

    วันที่ 26 ตุลาคม 2557 เวลา 10:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ที่ประชุมสภาซูรอร่วมค้นหาผู้ด้อยโอกาสที่จะให้เยาวชนไปออกแรงช่วยเหลือ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • มีมติสภาผู้นำชุมชนว่าไปช่วยซ่อมแซมบ้านนายอาด ใบกาเด็ม อายุ 83 ปี คนชราพิการอยู่บ้านคนเดียว บ้านเสื่อมโทรมมากและมีงบช่วยเหลือมาจากอบต.ให้ซื้อวัสดุจึงตกลงกันว่าจะนำเยาวชนไปช่วยกันซ่อมแซมบ้านนี้
    • ผู้ใหญ่ 30 คน ช่วยกันรื้อฝาบ้านเก่า ต่อเติมบ้านออกมาอีก 1.5 เมตร กั้นฝาใหม่ มุงหลังคาและเทพื้น ทำให้นายอาดได้มีส่วนที่เป็นที่นอนแยกเป็นสัดส่วน บ้านกว้างขึ้น เยาวชนช่วยหยิบอุปกรณ์ ช่วยยกไม้ที่รื้อใช้ไม่ได้แล้วไปเก็บ
    • เมื่อบ้านเสร็จนายอาด ใบกาเด็มรู้สึกมีความสุขมาก หน้าตายิ้มแย้ม พูดขอบใจกลุ่มชาวบบบ้านและเยาวชนที่ไปช่วยเหลือตลอดเวลา
    • ผู้ใหญ่และเยาวชนได้ทำกิจกรรมด้วยกันเกิดความสัมพันธ์ระหว่างวัยที่แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น
    • ผู้ใหญ่ได้ทำตัวอย่างการทำสิ่งที่ดีๆให้เด็กและชุมชนเห็น เอาไปเป็นเยี่ยงอย่าง
    • เด็กเยาวชนเกิดความรู้สึกภาคภูมิใจที่ได้ช่วยเหลือผู้อื่น และอยากทำความดีแบบนี้อีก

     

    80 70

    12. สจรส.ติดตามปิดงวด 1

    วันที่ 2 พฤศจิกายน 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ตรวจความสมบูรณ์การลงข้อมูลหน้าเวป  ตรวจเอกสารการเงิน พบว่ากิจกรรมล่าช้าใช้เงินยังไม่ถึงเกณฑ์ จึงให้พี่เลี้ยงร่วมปรับแผนเพื่อเร่งทำกิจกรรมฝห้ปิดงวดที่ 1

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้รับทราบวิธีการติดตามตรวจเอกสาร
    • ได้วางแผนการทำกิจกรรมให้ได้ปิดงวด

     

    1 1

    13. ประชุมสภาซูรอ

    วันที่ 14 พฤศจิกายน 2557 เวลา 12:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • นายมูฮัมหมัด  ใบกาเด็ม ผู้ใหญ่บ้านในฐานะประธานสภาซูรอ ขอให้ทุกคนอ่านบทสวดฝาติฮะ เพื่อเป็นบารอกัต(ศิริมงคล)ก่อนการประชุม จากนั้นได้แจ้งเรื่องที่รับมาจากอำเภอเมืองที่ประชุมเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา เช่น มีผู้ว่าย้ายมาใหม่จากจังหวัดยะลา แจ้งระวังน้ำท่วมในช่วงเดือนพ.ย.นี้
    • นายบาหรี พรหมพุด ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านแจ้งรายชื่อกรรมการสภาซูรอ และตำแหน่ง พร้อมพูดคุยเรื่องบทบาทหน้าที่ของแต่ละตำแหน่ง  จากนั้นอ่านกฏระเบียบของสภาให้ฟัง เพื่อสอบถามว่ามีใครเพิ่มเติมตัดทอนอะไรบ้าง  ทุกคนเห็นด้วยตามที่ผู้ช่วยบาหรีอ่าน
    • นายอนุศักดิ์  หาโส๊ะ  บัณฑิตอาสา กล่าวถึงการจัดการแข่งขันกีฬาของสภาเยาวชน เพื่อความสามัคคีในหมู่คณะ ไม่ได้จัดแบบมีถ้วยรางวัล คิดว่าจะจัดให้สนุกสนาน บังคับให้ทุกคนได้ลงเล่น จึงจัดเล่นฟุตบอล 7 คน แบ่งเป็น 4 ทีม แต่ละทีมมี 2 ชุด แต่ละชุดลงคนละครึ่ง หมดครึ่งเปลี่ยนทั้งทีม ทีมที่ชะจะให้เก็บสนาม เก้าาอี้ ทีมแพ้ให้เก็บขยะ สภาซูรอเห็นด้วยกับรูปแบบการจัดการแข่งขัน และเสนอให้ประชาสัมพันธ์พ่อแม่ผู้ปกครองมาร่วมเชียร์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • สภาซูรอได้รับรู้บทบาทหน้าที่และกฏระเบียบของสภา
    • สภาซูรอได้เตรียมการกิจกรรมของเยาวชน ทำให้กิจกรรมมีความพร้อมไม่ขลุกขลัก

     

    40 40

    14. สภาเยาวชน:แข่งกีฬา ครั้งที่ 5

    วันที่ 30 พฤศจิกายน 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • นายอนุศักดิ์  หาโส๊ะ  บัณฑิตอาสา นำทีมเยาวชนจัดการแข่งขันกีฬาฟุตบอล 7 คน โดยแบ่งเป็น 4 ทีม แต่ละทีมมี 2 ชุด แต่ละชุดลงคนละครึ่ง หมดครึ่งเปลี่ยนทั้งทีม ทีมที่ชะจะให้เก็บสนาม เก้าาอี้ ทีมแพ้ให้เก็บขยะ
    • มีพ่อแม่ผู้ปกครองและชาวบ้านทั่วไปมาร่วมรับชมน้อย
    • สนามฟุตบอลมีโคลนเนื่องจากหลังฝนตก แต่กลับว่าเพิ่มความ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • เกิดความรักสามัคคีในหมู่คณะของเยาวชน
    • เยาวชนได้สนุกสนานร่วมกัน ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

     

    80 80

    15. ประชุมสภาซูรอ

    วันที่ 7 ธันวาคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ผู้ใหญ่เรียกประชุมสภาฯและชาวบ้าน
    • แจ้งข่าวสารจากอำเภอเมืองสตูล

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • สภาซูรอและชาวบ้านได้ประชุมร่วมกัน
    • ชาวบ้านได้รับข่าวสาร

     

    40 40

    16. สภาเยาวชน:พัฒนาบ้านผู้ด้อยโอกาศ ครั้งที่ 7

    วันที่ 25 มกราคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.ประชุมวางแผนพิจารณาและคัดเลือกบ้านผู้ด้อยโอกาสและยากจนจริงๆ 2.เตรียมงบประมาณจัดหาของและอุปกรณ์ให้แก่ผู้ด้อยโอกาส 3.ประชาสัมพันธ์และกำหนดวัน เวลา ที่ปฏิบัติกิจกรรม 4.ลงพื่นที่เยี่ยมบ้านเยี่ยมใจผู้ด้อยโอกาส และสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเยาวชนกับผู้ด้อยโอกาส รวมทั้งมอบของกินของใช้ด้วย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.เยาวชนได้พบปะพูดคุยและแสดงความสัมมาคารวะตอ่ผู้สูงอายุและผู้ด้อยโอกาส 2.ผู้ด้อยโอกาสรู้สึกภูมิใจที่มีส่วมร่วมในกิจกรรมนี้ 3.เยาวชนได้รับรู้ถึงกระบวนการความรู้จริง

     

    80 0

    17. สจรส.ปิดงวด 2

    วันที่ 28 มิถุนายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • เดินทางมาสจรส.เพื่อตรวจเอกสารและเวปไซด์
    • พบว่ามีแต่รายงานหน้าเวป ไม่มีเอกสารการเงินนำมา
    • พี่เลี้ยงชี้แจงติดตามลงในพื้นที่ทำความเข้าใจ ร่วมทำแผนใหม่ให้จำนวน 2 ครั้งเมื่อก่อนปิดงวด 1 และ กลางงวดที่ 2 แต่พื้นที่ได้ได้ดำเนินการทั้งการแจ้งทำกิจกรรม ไม่พบเอกสารการเงิน และไม่มีรายงานหน้าเวป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • สจรส. พี่เลี้ยง ผู้รับผิดชอบโครงการตกลงร่วมกันในการยุติโครงการ เบิกเงินตามกิจกรรมที่ทำ และคืนเงินที่เหลือ

     

    2 2

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

     

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 สร้างความเข้มแข็งชุมชน
    ตัวชี้วัด : เชิงปริมาณ 1. อัตราความสำเร็จของกิจกรรมที่สภาหมู่บ้านรับผิดชอบ ร้อยละ 90 2. อัตราความสำเร็จของกิจกรรมที่สภาเยาวชนรับผิดชอบ ร้อยละ 90 เชิงคุณภาพ - เกิดกลไกการทำงานในชุมชนทั้งกลไกผู้ใหญ่และเยาวชน ทำงานร่วมกันจนเกิดความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัน

     

    2 เพื่อการจัดการตนเองด้านสารเสพติด
    ตัวชี้วัด : เชิงปริมาณ 1.เกิดทีมชุมชนจัดการปัญหาสารเสพติด 1 ทีม 2.เยาวชนกลุ่มเสี่ยงร่วมทำกิจกรรมกับสภาเยาวชน ร้อยละ 80 เชิงคุณภาพ - ชุมชนได้เรียนรู้วิธีการ ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการจัดการตนเองด้านสารเสพติด

     

    3 เพื่อการบริหารจัดการและการติดตามประเมินผลโครงการ
    ตัวชี้วัด : จำนวนครั้งในการเข้าร่วมกิจกรรมกับ สสส. และ สจรส.

     

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) สร้างความเข้มแข็งชุมชน (2) เพื่อการจัดการตนเองด้านสารเสพติด (3) เพื่อการบริหารจัดการและการติดตามประเมินผลโครงการ

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    สภาซูรอเขาน้อยใต้ จัดสรรสิ่งที่ดีให้เยาวชน จังหวัด สตูล

    รหัสโครงการ 57-01492

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นายมูฮัมหมัดใบกาเด็ม )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด