directions_run

บ้านพังเหาสดใส ห่างไกลยาเสพติด มุ่งเน้นเศรษฐกิจพอเพียง

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


“ บ้านพังเหาสดใส ห่างไกลยาเสพติด มุ่งเน้นเศรษฐกิจพอเพียง ”

ชุมชนบ้านพังเหา หมู่ที่ 2 ตำบลปังหวาน อำเภอพะโต๊ะ 86180

หัวหน้าโครงการ
นายคมตะวัน สร้างแก้ว

ชื่อโครงการ บ้านพังเหาสดใส ห่างไกลยาเสพติด มุ่งเน้นเศรษฐกิจพอเพียง

ที่อยู่ ชุมชนบ้านพังเหา หมู่ที่ 2 ตำบลปังหวาน อำเภอพะโต๊ะ 86180 จังหวัด ชุมพร

รหัสโครงการ 57-01506 เลขที่ข้อตกลง 57-00-0937

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2557 ถึง 30 มิถุนายน 2558


กิตติกรรมประกาศ

"บ้านพังเหาสดใส ห่างไกลยาเสพติด มุ่งเน้นเศรษฐกิจพอเพียง จังหวัดชุมพร" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ชุมชนบ้านพังเหา หมู่ที่ 2 ตำบลปังหวาน อำเภอพะโต๊ะ 86180

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
บ้านพังเหาสดใส ห่างไกลยาเสพติด มุ่งเน้นเศรษฐกิจพอเพียง



บทคัดย่อ

โครงการ " บ้านพังเหาสดใส ห่างไกลยาเสพติด มุ่งเน้นเศรษฐกิจพอเพียง " ดำเนินการในพื้นที่ ชุมชนบ้านพังเหา หมู่ที่ 2 ตำบลปังหวาน อำเภอพะโต๊ะ 86180 รหัสโครงการ 57-01506 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 มิถุนายน 2557 - 30 มิถุนายน 2558 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 213,000.00 บาท จาก เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 140 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

 

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อให้เยาวชนลด ละ เลิกยาเสพติด
  2. 2.เพื่อสร้างงานสร้างอาชีพให้กลุ่มเยาวชน(กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มติดยาเสพติด)
  3. 3.เพื่อจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายสาธารณะด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
  4. 4.เพื่อบริหารจัดการและติดตามประเมิณผลของโครงการ

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

     


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. เข้าร่วมปฐมนิเทศโครงการของ สสส.

    วันที่ 13 มิถุนายน 2557 เวลา 10:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เข้าร่วมรับฟังคำบรรยายการอบรม โดยวิทยากรจาก สสส.

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการ สสส.
    2. ได้ฝึกปฏิบัติในการลงข้อมูลโครงการ

     

    3 2

    2. กลุ่มเยาวชนบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม

    วันที่ 1 กรกฎาคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดทีมแบ่งพื้นที่สาธารณธให้เยาวชนรับผิดชอบดูแลเพื่อบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์เป็น 5 ทีมให้จัดการพื้นที่แบบครบวงจร  ตั้งแต่ทำความสะอาดเป็นระเบียบ เช่นพื้นที่โรงเรียน  วัด  ศูนย์หมู่บ้าน  ถนนทางเข้าโรงเรียน  สนามโรงเรียนเป็นต้น

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เยาวชนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ซึ่งเยาวชนทั้ง 5 กลุ่ม (กลุ่มละ 10 คน) ได้ลงพื้นที่บำเพ็ญประโยชน์ที่แต่ละกลุ่มได้รับมอบหมาย เกิดภาพความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างคนในชุมชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาที่กำลังทำกิจกรรม

     

    50 50

    3. จัดประชุมชี้แจงโครงการแก่สมาชิกชุมชน

    วันที่ 6 กรกฎาคม 2557 เวลา 10:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. จัดประชุมชี้แจงโครงการแก่ตัวแทนครัวเรือนและภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
    2. รับสมัครผู้ปกครองและผู้ติด/ผู้เสพ  ยาเสพติดที่สมัครใจเข้าร่วมเป็น

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ตัวแทนครัวเรือนรับทราบและให้ความร่วมมือตอบรับให้ความสำคัญของโครงการเป็นอย่างดี  มีครัวเรือนสมัครเข้าร่วมกิจกรรมเข้าค่ายยาเสพติด

     

    140 140

    4. กลุ่มเยาวชนกลับใจบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม

    วันที่ 1 สิงหาคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดทีมแบ่งพื้นที่สาธารณะให้เยาวชนรับผิดชอบดูแลเพื่อบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์เป็น 5 ทีมให้จัดการพื้นที่แบบครบวงจร  ตั้งแต่ทำความสะอาดเป็นระเบียบ เช่นพื้นที่โรงเรียน  วัด  ศูนย์หมู่บ้าน  ถนนทางเข้าโรงเรียน  สนามโรงเรียนเป็นต้น

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    นอกจากกลุ่มเยาวชนซึ่งเป็นเป้าหมายหลักแล้ว ผู้ปกครอง/คนในชุมชนได้เข้ามาร่วมกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ด้วยเช่นกัน ทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างคนในชุมชน

     

    50 50

    5. ประชุมคณะกรรมการโครงการ

    วันที่ 10 สิงหาคม 2557 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมคณะกรรมการโครงการเพื่อติดตามผลการดำเนินงาน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    มีการสรุปผลการดำเนินงานที่ผ่านมา ทำทีมคณะกรรมการโครงการเห็นถึงความก้าวหน้าของการทำงาน และเริ่มเห็นแนวโน้มความสำเร็จตามเป้าหมายของโครงการจากการมีส่วนร่วมของเยาวชนและคนในชุมชน

     

    20 20

    6. กลุ่มเยาวชนกลับใจได้บำเพ็ญประโยชน์

    วันที่ 1 กันยายน 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดทีมแบ่งพื้นที่สาธารณะให้เยาวชนได้รับผิดชอบดูแลเพื่อบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ เป็น 5 ทีม ให้จัดการพื้นที่แบบครบวงจร ตั้งแต่การทำความสะอาดเป็นระเบียบ เช่นพื้นที่โรงเรียน วัด ศูนย์หมู่บ้าน ถนนทางเข้าโรงเรียน สนามโรงเรียนเป็นต้น

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    มีการปรับเปลี่ยนพื้นที่ในการลงบำเพ็ญประโยชน์ โดยดูจากสถานการณ์และความสำคัญหรือความจำเป็นในชุมชนเป็นหลัก ซึ่งได้เลือกการปรับเส้นทางในหมู่บ้านเพื่อความปลอดภัยในการสัญจร และการปรับภูมิทัศน์คูคลองโดยการขุดลอก และสางวัชพืชเพื่อให้น้ำมีการระบายที่คล่องขึ้นเป็นการรองรับน้ำในช่วงหน้าฝน แม้จะเป็นกิจกรรมที่หนักกว่าทุกครั้งที่ผ่านมาแต่ได้สร้างความภาคภูมิใจให้กับทุกคนที่เข้าร่วมกิจกรรมเพราะเกิดผลงานที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชนอย่างแท้จริงและเห็นภาพได้ชัดเจน

     

    50 50

    7. ทำป้ายรณรงค์เขตปลอดบุหรี่และป้ายโครงการของ สสส.

    วันที่ 11 กันยายน 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์รณรงค์เขตปลอดบุหรี่และป้ายโครงการของ สสส. จำนวน 2 ป้าย  ติดในชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ติดป้ายประชาสัมพันธ์ในชุมชนและเยาวชนมีความสนใจในโครงการและให้ความร่วมมือกับโครงการ

     

    5 20

    8. ประชุมคณะกรรมการโครงการ

    วันที่ 12 กันยายน 2557 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมคณะกรรมการโครงการเพื่อติดตามผลการดำเนินงาน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลสรุปการดำเนินงานที่ผ่านมา ซึ่งคณะกรรรมการทุกท่านมีความพึงใจกับผลงานที่เกิดขึ้น ทั้งในด้านการพัฒนาพื้นที่ในชุมชน ด้านการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน และการดึงให้กลุ่มเยาวชนหันใช้เวลาว่างในการทำประโยชน์แก่ชุมชนของตนเอง

     

    20 20

    9. กลุ่มเยาวชนกลับใจบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม

    วันที่ 1 ตุลาคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดทีมแบ่งพื้นที่สาธารณธให้เยาวชนรับผิดชอบดูแลเพื่อบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์เป็น 5 ทีมให้จัดการพื้นที่แบบครบวงจร  ตั้งแต่ทำความสะอาดเป็นระเบียบ เช่นพื้นที่โรงเรียน  วัด  ศูนย์หมู่บ้าน  ถนนทางเข้าโรงเรียน  สนามโรงเรียน เป็นต้น

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    กลุ่มเยาวชนและคนในชุมชนได้รวมตัวกันพัฒนาโรงเรียน ทั้งการปรับภูมิทัศน์และการซ่อมบำรุงตัวอาคาร

     

    50 50

    10. ประชุมคณะกรรมการโครงการ

    วันที่ 10 ตุลาคม 2557 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมคณะกรรมการโครงการเพื่อติดตามผลการดำเนินงาน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะกรรมการโครงการร่วมกันสรุปผลการดำเนินงานที่ผ่านมา และพูดคุยในเรื่องการวางแผนการจัดค่ายป้องกันยาเสพติดสำหรับเยาวชนและผู้ปกครอง

     

    20 20

    11. จัดค่ายของชุมชน(ค่ายผู้ปกครอง/ค่ายกับเยาวชน)

    วันที่ 25 ตุลาคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ค่ายเยาวชน

    1.ให้ความรู้เรื่องพิษภัยที่เกิดจาการเสพยาเสพติดให้รับรู้ถึง และกระบวนการบำบัดรักษา และป้องกันสำหรับกลุ่มเสี่ยงกับเยาวชน

    2.ให้เยาวชนได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็นในสิ่งที่เขาเป็นอยู่และที่อยากจะเป็นได้เรีนยนรู้การอยู่ร่วมกันในสังคมที่ปราศจากสิ่งเสพติดเพื่อให้กลุ่มเยาวชนได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม.

    3.ให้เยาวชนได้ร่วมฟังเทศนาจากพระคุณเจ้าในหัวข้อเรื่อง  ครอบครัวอบอุ่นด้วยพระธรรม

    ค่ายผู้ปกครอง

    1.ให้ผู้ปกครองได้ร่วมกันสะท้อนถึงปัญหาของครอบครัวและสาเหตุแห่งปัญหาที่แท้จริง

    2.ร่วมกันขบคิดแนวทางแก้ไขทั้งในส่วนของครอบครัวและตัวเยาวชน

    วันสุดท้ายของกิจกรรมค่ายเยาวชนและผู้ปกครอง

    1.เปิดโอกาสให้เยาวชนและผู้ปกครองร่วมกันเปิดใจสร้างสัมพันธ์ที่ดีของครอบครัว

    2.ให้ผู้ปกครองและเยาวชนได้ร่วมฟังเทศนาจากพระคุณเจ้าในหัวข้อเรื่อง  ครอบครัวอบอุ่นด้วยพระธรรม

    3.สร้างสัมพันธ์ที่ดีของครอบครัว  โดยการทำพิธีรับขวัญผูกข้อมือให้แก่เยาวชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.ได้รับความร่วมมือจากเยาวชนและผู้ปกครองเป็นอย่างดี

    2.เยาวชนและผู้ปกครองมีความรู้เรื่องพิษภัยและโทษของยาเสพติด  มีความเข้มแข็ง  เลิกยาเสพติดได้

    3.ผู้ปกครองเข้าใจบทบาทและภารกิจในการสนับสนุนเยาวชนให้กลับใจ

    4.เยาวชนและผู้ปกครองมีความเข้าใจกัน ผูกพันกันมากขึ้น

     

    100 95

    12. นำรายงานการทำกิจกรรมมาตรวจสอบ

    วันที่ 11 พฤศจิกายน 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.นำเอกสารกิจกรรมที่ได้ปฏิบัติแล้วให้พี่เลี้ยงโครงการตรวจสอบความเรียบร้อย 2.ได้ร่วพูดคุยและปรึกษากับพี่เลี้ยงโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. มีเอกสารบางกิจกรรมต้องแก้ไข
    2. ต้องนำใบสำคัญจ่ายแนบหน้าเอกสารที่ไม่มีใบเสร็จรับเงินทุกกิจกรรม

     

    2 2

    13. ฝึกซ้อมกีฬา

    วันที่ 1 ธันวาคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เยาวชนผู้ปกครองและแกนนำชุมชนร่วมกันฝึกซ้อมกีฬาตามที่ตนเองถนัด มีทั้งฟุตบอล วอลเล่ย์บอล เปตองฯล

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    กลุ่มเยาวชนเข้าร่วมฝึกซ้อมกีฬาฟุตบอล วอลเลย์บอล ตะกร้อและเปตองทุกวันเป็นเวลา 31 วัน มีเยาวชนเข้าร่วมฝึกซ้อม วันละ 55 คน ซึ่งในกลุ่มนี้มีเยาวชนกลุ่มเสี่ยงร่วมอยู่ด้วย ทำให้เยาวชนกลุ่มเสี่ยงได้ห่างไกลยาเสพติดหันมาเล่นกีฬาแทน ผู้ปกครองให้ความร่วมมือเป็นอย่างดียิ่ง เข้าร่วมฝึกซ้อมร่วมกับเด็กด้วย ทำให้เกิดครอบครัวอบอุ่น โดยเฉพาะเด็กหญิงปาจารี  ขวัญราช ฝึกซ้อมร่วมกับแม่ ส่วนนายสรศักดิ์ ขำอนันต์ ฝึกฟุตบอลร่วมพ่อ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีกีฬาเปตอง กีฬาวอลเล่ย์บอล ที่เยาวชนและครอบครัวมีความสุขที่ได้มีกิจกรรมร่วมกัน

     

    50 50

    14. กลุ่มเยาวชนกลับใจบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม

    วันที่ 1 ธันวาคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    กลุ่มเยาวชนพร้อมด้วยผู้ปกครองและแกนนำชุมชนแยกย้ายกันดูแลพื้นที่ที่ตนเองรับผิดชอบ 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    กลุ่มเยาวชนพร้อมด้วยผู้ปกครองและแกนนำชุมชนแยกย้ายกันดูแลพื้นที่ที่ตนเองรับผิดชอบ ช่วยตัดหญ้าในบริเวณโรงเรียนโดยรอบโรงเรียน ดูแลกำจัดวัชพืชในแปลงปลูกพืชและช่วยเก็บขยะบริเวณรอบๆศาลาเอนกประสงค์ อาคารเรียน อาคารห้องสมุดใช้เวลา 3 ชั่วโมงแยกย้ายกันไปทำภารกิจของตนเองและของกลุ่มทำงานไม้ต่อ 

     

    50 50

    15. ประชุมคณะกรรมการโครงการ

    วันที่ 10 ธันวาคม 2557 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะกรรมการร่วมประชุมสรุปผลกิจกรรมที่ผ่านมาและหารือกิจกรรมที่จะดำเนินการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะกรรมการโครงการร่วมกับแกนนำชุมชน อสม.หารือเรื่องการบำเพ็ญประโยชน์และการเข้าร่วมฝึกซ้อมของเยาวชนในการที่จะให้เยาวชนได้ฝึกซ้อมต่อไปโดยจะช่วยกันลงขันให้เยาวชนได้ฝึกซ้อมต่อ ด้วยการขอบริจาคแล้วแต่จะสมทบ ซึ่งสมาชิกส่วยใหญ่เห็นด้วยแต่ให้หารือในวันประชุมหมู่บ้านอีกครั้ง ส่วนกิจกรรมที่จะให้ความรู้เรื่องการเพาะเห็ดได้จัดเตรียมสถานที่และวิทยากรไว้เรียบร้อยแล้ว 

     

    20 20

    16. จัดอบรมอาชัพการเพาะเห็ดฟางโดยใช้ทลายปาล์มที่ปลอดสารพิษ

    วันที่ 11 ธันวาคม 2557 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เยาวชนและครอบครัวเข้าร่วมเรียนรู้วิธีการเพาะเห็ดฟาง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะกรรมการโครงการเปิดสอนเรื่องอาชีพเสริมการเพาะเห็ดฟางแก่กลุ่มเยาวชนและครอบครัว มีเยาวชนและครอบครัวเข้าร่วมจำนวน 45 คน โดยเชิญปราชญ์ชาวบ้านที่มีความรู้ความสามารถในการเพาะเห็ดมาให้ความรู้และสาธิตการทำซึ่งกลุ่มเยาวชนและครอบครัวให้คามสนใจและลงมือปฏิบัติจากขั้นตอนการสอน มีการสาธิต 2 วิธี คือใช้อุปกรณ์ล้อรถยนต์เป็นภาชนะ และอีกวิธีโดยการใช้ทลายปาล์มกองกับพื้น เพื่อให้เห็นข้อแตกต่างของ 2 วิที

     

    50 50

    17. อบรมฝึกทักษะการผลิตภัณฑ์จากเศษไม้ที่เหลือใช้และไม้ไผ่ในชุมชน

    วันที่ 16 ธันวาคม 2557 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะกรรมการโครงการจัดอบรมให้ความรู้เรื่องการทำผลิตภัณฑ์จากเศษไม้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะกรรมการเชิญปราชญ์ชาวบ้านมาให้ความรู้เรื่องงานไม้แก่เยาวชนที่สมัครใจเข้าร่วมเรียนรู้จำนวน 20 คน เป็นเวลา 3 วัน โดยที่มีชิ้นงาน จำนวน 3 ชิ้น ชิ้นที่ 1 เป็นกล่องใส่ไก่ชน ขนาด สูง 60 ซม. ยาว 80 ซม กว้าง 20 ซม. ชิ้นที่ 2 ที่ตั้งแจกันดอกไม้ ความสูง 1 เมตร และกรอบรูปในหลวง ชิ้นที่ 3 เก้าอี้ชุด ขนาดความสูง 45 ซม. กว้าง 12 ซม. จำนวน 4 ตัว มีการสอนการใสกบ ขัดไม้โดยกระดาษทราย และไม้พายเรือจำนวน 4 เล่ม

     

    20 20

    18. จัดให้ความรู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงแก่กลุ่มเยาวชน ครอบครัว และสมาชิกชุมชนที่สนใจ

    วันที่ 22 ธันวาคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะกรรมการโครงการจัดให้ความรู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงแก่กลุ่มเยาวชน ผู้ปกครอง แกนนำชุมชนและสมาชิกโครงการที่สนใจ 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะกรมการโครงการจัดอบรมให้ความรู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงแก่กลุ่มเยาวชน ผู้ปกครอง แกนนำชุมชนและสมาชิกโครงการที่สนใจ จำนวน 102 คน โดยได้เชิญวิทยากรจากกรมส่งเสริมการเกษตรเขต 11 จังหวัดสุราษฎร์ธานีและนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรจากสำนักงานเกษตรอำเภอพะโต๊ะ มาร่วมบรรยายให้ความรู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง การทำอาชีพเสริม เช่น การเพาะถั่วงอก การปลูกมะนาว มีการสาธิตวิธีการเพาะถั่วงอก โดยให้ทดลองเพาะกันคนละถัง และมอบให้ทุกคนที่ทดลองฝึก นอกจากนี้มีการเชิญปราญช์ชาวบ้านที่มีความรู้ความสามารถในการทำปุ๋ยและน้ำหมักชีวภาพ โดยมีการสาธิตการทำน้ำหมัก ทุกคนที่เข้าร่วมให้ความสนใจโดยเฉพาะการทำน้ำหมัก เพราะคนสอนบอกสรรพคุณได้อย่าน่าสนใจและทำให้สมาชิกอยากกลับไปทำ เนื่องจากอุปกรณ์หาได้ในบ้านตนเอง  มีสมาชิกที่ทดลองเพาะถั่วงอกและได้รับกลับบ้านจำนวน 40 คน ส่วนที่เหลือรับอุปกรณ์ไปทำเองที่บ้าน 

     

    100 100

    19. จัดกลุ่มเศรษฐกิจพอเพียงสาธิตการทำน้ำหมัก/การปลูกผักปลอดสารพิษ

    วันที่ 23 ธันวาคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    กลุ่มทำน้ำหมักกิจกรรมรวมตัวกันจัดทำน้ำหมักชีวภาพจากวัสดุที่มีอยู่ในชุมชน 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    กลุ่มทำน้ำหมักกิจกรรมทบทวนและจัดทำน้ำหมักชีวภาพจากวัสดุที่มีอยู่ในชุมชน โดยใช้ต้นกล้วย ผักบุ้ง มะละกอ และเศษผักที่เหลือใช้ของครัวเรือน กากน้ำตาล EM โดยมีการสาธิตและให้สมาชิกได้ฝึกปฏิบัติ จำนวน 6 ถัง โดยให้สมาชิกที่ปลูกผักอยู่แล้ว ส่วนที่เหลือกลับไม่ทำเองที่บ้าน โดยมีการมอบถังขนาด 150 ลิตร และกากน้ำตาลให้กลุ่มปลูกผัก

     

    100 100

    20. กลุ่มที่เรียนรู้เรื่องอาชีพและเศรษฐกิจพอเพียงดำเนินการของตนเองที่บ้าน

    วันที่ 25 ธันวาคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    สมาชิกกลุ่มเศรษฐกิจพอเพียงกลับไปดำเนินการของตนเองที่บ้าน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สมาชิกกลุ่มแยกย้ายกันไปปฏิบัติการเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงที่บ้านของตนเองในจากจำนวนเป้าหมาย 100 ครัวเรือน มีการดำเนินการ 98 ครัวเรือน

     

    100 100

    21. กลุ่มเยาวชนกลับใจบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม

    วันที่ 1 มกราคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    กลุ่มเยาวชนที่รับผิดชอบพื้นที่เข้าปฏิบัติการพัฒนาปรับปรุงพื้นที่สาธารณะ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    กลุ่มเยาวชนจำนวน 30 คน ร่วมกันพัฒนาวัดและโรงเรียนโดยการตัดหญ้ารวมทั้งสองข้างทางเข้าหมู่บ้าน

     

    50 50

    22. จัดประชุมคณะทำงานเพื่อจัดทำร่างข้อเสนอเชิงนโยบายเรื่องการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด

    วันที่ 4 มกราคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะทำงานจัดประชุมร่วมกับแกนนำชุมชน ตัวแทนเยาวชน ผู้ปกครอง และสมาชิกชุมชนบางส่วน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะทำงานร่วมกับแกนนำชุมชน ตัวแทนเยาวชนและผู้ปกครอง และสมาชิกชุมชน จำนวน 30 คน ร่วมร่างข้อเสนอเชิงนโยบายหรือข้อตกลงร่วมของชุมชนในเรื่องของยาเสพติด แต่สมาชิกส่วนใหญ่เห็นร่วมกันว่าน่าจะเป็นข้อเสนอเรื่องสิ่งเสพติดและอบายมุข จะทำให้ได้เรื่องของเหล้า บุหรี่ และการพนันด้วย โดยได้ร่างข้อเสนอ จำนวน 10 ข้อ 

     

    30 30

    23. ประชุมคณะกรรมการโครงการ

    วันที่ 10 มกราคม 2558 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะกรรมการโครงการประชุมหารือและทบทวนกติกาชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะกรรมการโครงการประชุมหารือและทบทวนกติกาชุมชนเพื่อเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็น โดยยังคงหัวข้อไว้ 10 ข้อ 

     

    20 20

    24. จัดการแข่งขันภายในกลุ่ม

    วันที่ 16 มกราคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.จัดแข่งขันกีฬาภายในกลุ่มเยาวชน  โดยมีการแข่งขันฟุตบอล  วอลเล่ย์บอลและตะกร้อ  

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ทำให้ชุมชนน่าอยู่ปลอดยาเสพติด  เยาวชนมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันและคนในชุมชนมากขึ้น

     

    50 50

    25. จัดการแข่งขันกีฬาต้านยาเสพติดของหมู่บ้าน

    วันที่ 17 มกราคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.มีการแข่งขันฟุตบอล 4 ทีม 2.มีการแข่งขันตะกร้อ 2 ทีม 3.มการแข่งขันวอลเล่ย์บอล 4 ทีม 4.มีการแข่งขันกีฬาพื้นบ้านแบบครอบครัว เช่น ตีกอล์ฟคนจน  วิ่งเปี้ยวพิศดาร  ปิดตาแต่งหน้า  ยิงหนังสติก เป็นต้น 5.เมื่อเสร็จการแข่งขันทุกประเภทได้มอบรางวัลแก่ผู้ชนะทุกประเภทกีฬา

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้ความร่วมมือจากเยาวชน ผู้ปกครองและประชาชนเป็นอย่างดีและกิจกรรมก็สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี

     

    200 220

    26. จัดการแข่งขันกีฬาต้านยาเสพติดกับหมู่บ้านใกล้เคียง

    วันที่ 18 มกราคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะกรรมการโครงการนำทีมเยาวชนในพื้นที่ไปร่วมแข่งขันกับนอกพื้นที่

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะกรรมการโครงการนำทีมเยาวชนในพื้นที่ไปร่วมแข่งขันกับพื้นที่ตำบลพระรักษ์และตำบลพะโต๊ะ ส่วนใหญ่เป็นกีฬาสากล เป็น กีฬาฟุตบอลและตระกร้อ จำนวน 2 ครั้ง และนำทีมเยาวชนเข้าร่วมแข่งขันกีฬาตำบลประจำปี ซึ่งมีทั้งกีฬาสากลและกีฬาพื้นบ้าน อาทิ แข่งขันยิ่งหนังสติ๊ก แข่งชักคะเย้อ วิ่งกระสอบ ฮุลาฮุก ตีก๊อฟ เป็นต้น โดยมีสมาชิกเข้าร่วม 300 คน 

     

    50 50

    27. กลุ่มที่เรียนรู้เรื่องอาชีพและเศรษฐกิจพอเพียงปฏิบัติการที่บ้าน

    วันที่ 19 มกราคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เยาวชนและผู้ปกครองร่วมกันจัดกิจกรรมเศรษฐกิจพอเพียง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สมาชิกกลุ่มต่างๆของชุมชนที่ประกอบด้วยเยาวชนและผู้ปกครองปรับปรุงกระบวนการด้านเศรษฐกิจพอเพียง

     

    100 100

    28. กลุ่มที่เรียนรู้เรื่องอาชีพและเศรษฐกิจพอเพียงปฏิบัติการที่บ้าน

    วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    สมาชิกกลุ่มดำเนินวิถีชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สมาชิกกลุ่มดำเนินวิถีชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงที่บ้านตนเอง

     

    100 100

    29. กลุ่มเยาวชนกลับใจบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม

    วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เยาวชนร่วมกับคณะกรรมการโครงการลงพื้นที่บำเพ็ญประโยชน์แก่ชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    กลุ่มเยาวชนจำนวน 30 คน ร่วมกับคณะกรรมการชุมชนร่วมกันทำฝายของหมู่บ้านบริเวณคลองโพง เพื่อเก็บกักน้ำไว้ใช้ในช่วงหน้าแล้ง เมื่อทำแล้วคาดว่ามีการใช้ได้ 35 ครัวเรือน

     

    50 30

    30. จัดประชุมคณะทำงานเพื่อจัดทำร่างข้อเสนอเชิงนโยบายเรื่องการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด

    วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คะกรรมการโครงการนำเอกสารร่างที่ได้รับการปรับปรุงส่วนหนึ่งจากเวทีประชุมคณะกรรมการโครงการให้พิจารณา

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คะกรรมการโครงการนำเอกสารร่างที่ได้รับการปรับปรุงส่วนหนึ่งจากเวทีประชุมคณะกรรมการโครงการให้ทีมงานได้พิจารณาซึ่งส่วนใหญ่ให้ความเห็นชอบไม่ขอแก้ไขปรับปรุง

     

    30 30

    31. กลุ่มที่เรียนรู้เรื่องอาชีพปฏิบัติการในพื้นที่

    วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    กลุ่มเยาวชนและผู้ปกครองร่วมกับคณะกรรมการโครงการและสมาชิกชุมชนเรียนรู้เรื่องอาชีพ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    กลุ่มเยาวชนและผู้ปกครองร่วมกับคณะกรรมการโครงการและสมาชิกชุมชนเรียนรู้เรื่องอาชีพ

     

    100 100

    32. จัดเวทีรับฟังความคิดเห็นของประชาชนต่อร่างข้อเสนอ(ร่าง 1)

    วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 13:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะกรรมการโครงการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นต่อร่างข้อเสนอ(ร่าง 1) เพื่อแก้ไขปรับปรุง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะกรรมการโครงการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นต่อร่างข้อเสนอ(ร่าง 1) เพื่อแก้ไขปรับปรุง โดยใช้วิธีการ ที่ 1 นำข้อเสนอส่งให้แก่สมาชิกชุมชนที่บ้านเพื่อให้สมาชิกชุมชนได้ปรับปรุงและเพิ่มเติมข้อเสนอแนะและส่งกลับ เวทีที่ 2 ขณะจัดเวทีให้มีการกระจายเสียงถ่ายทอดเวทีทางหอกระจายข่าวเพื่อให้สมาชิกในชุมชนได้รับทราบและแสดงความคิดเห็น

     

    140 140

    33. ประชุมคณะกรรมการโครงการ

    วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะกรรมการโครงการเข้าร่วมประชุมสรุปผลการดำเนินงาน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะกรรมการจัดประชุมประจำเดือนของสมาชิกเพื่อนำเสนอผลสรุปการดำเนินงานโครงการแก่สมาชิกให้ได้รับทราบพร้อมทั้งให้สมาชิกได้เสนอแนะหรือปรับปรุงแก้ไขในกิจกรรมที่ยังไม่ดำเนินการ

     

    20 20

    34. กลุ่มเยาวชนกลับใจบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม

    วันที่ 1 มีนาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เยาวชนร่วมกับคณะกรรมการโครงการลงพื้นที่บำเพ็ญประโยชน์แก่ชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    กลุ่มเยาวชนจำนวน 30 คน ร่วมกับคณะกรรมการชุมชนไปร่วมทำฝายของหมู่บ้านทับวัง ตำบลบ้านควน อำเภอหลังสวน บริเวณคลองธรรมมัง เป็นพื้นที่นอกเขตซึ่งมีพื้นที่ใกล้เคียงกับชุมชนพังเหา เพื่อเก็บกักน้ำไว้ใช้ในช่วงหน้าแล้ง

     

    50 50

    35. กลุ่มที่เรียนรู้เรื่องอาชีพและเศรษฐกิจพอเพียงปฏิบัติการที่บ้าน

    วันที่ 1 มีนาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    กลุ่มเยาวชนและครอบครัวนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงไปดำเนินการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    กลุ่มเยาวชนและครอบครัวนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงไปดำเนินการเพื่อให้เกิดเป็นวิถีชีวิตชุมชน

     

    100 100

    36. จัดเวทีรับฟังความคิดเห็นเพื่อให้สมาชิกได้มีส่วนร่วมในการลงมติของชุมชน

    วันที่ 7 มีนาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะกรรมการนำเอกสารร่างที่รับฟังความคิดเห็นไปแล้วนำมารับฟังความคิดเห็น

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะกรรมการโครงการเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นของสมาชิกชุมชนต่อร่างข้อเสนอเชิงนโยบายฉบับสมบูรณ์

     

    140 70

    37. ประชุมคณะกรรมการโครงการ

    วันที่ 10 มีนาคม 2558 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะกรรมการโครงการจัดประชุมทบทวนผลการดำเนินงาน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะกรรมการโครงการร่วมประชุมหารือผลการดำเนินการกิจกรรมที่ผ่านมา

     

    20 0

    38. กลุ่มที่เรียนรู้เรื่องอาชีพและเศรษฐกิจพอเพียงปฏิบัติการที่บ้าน

    วันที่ 1 เมษายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    กลุ่มเยาวชนและครอบครัวนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงไปดำเนินการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    กลุ่มเยาวชนและครอบครัวนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงไปดำเนินการเพื่อให้เกิดเป็นวิถีชีวิตชุมชน

     

    100 100

    39. กลุ่มเยาวชนกลับใจบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม

    วันที่ 1 เมษายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดทีมแบ่งพื้นที่สาธารณะให้เยาวชนได้รับผิดชอบดูแลเพื่อบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ เป็น 5 ทีม ให้จัดการพื้นที่แบบครบวงจร ตั้งแต่การทำความสะอาดเป็นระเบียบ เช่นพื้นที่โรงเรียน วัด ศูนย์หมู่บ้าน ถนนทางเข้าโรงเรียน สนามโรงเรียนเป็นต้น

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เยาวชนได้ใช้เวลาว่างในการบำเพ็ญประโยชน์

     

    50 0

    40. ประชุมคณะกรรมการโครงการ

    วันที่ 10 เมษายน 2558 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะกรรมการโครงการร่วมประชุมหารือและทบทวนกิจกรรมที่ดำเนินการไปแล้ว

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะกรรมการโครงการร่วมประชุมหารือและทบทวนกิจกรรมที่ดำเนินการไปแล้วและเตรียมกจกรรมต่อไป

     

    20 20

    41. จัดทำเอกสารและป้ายประชาสัมพันธ์ข้อเสนอ

    วันที่ 15 เมษายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะกรรมการจ้างทำป้ายประชาสัมพันธ์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะกรรมการโครงการจัดทำป้ายประชาสัมพันธ์เพื่อนำไปติดตั้งในเขตชุมชน จำนวน 4 ป้ายและจัดทำเป็นเอกสารแผ่นปลิว จำนวน 200 แผ่น เพื่อใช้แจกจ่ายให้ทุกครัวเรือน

     

    5 5

    42. กลุ่มที่เรียนรู้เรื่องอาชีพและเศรษฐกิจพอเพียงปฏิบัติการในพื้นที่

    วันที่ 1 พฤษภาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    กลุ่มสมาชิกที่เข้าร่วมเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงนำความรู้ที่ได้รับกลับไปปฏิบัติการที่บ้าน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    กลุ่มเยาวชนและครอบครัวนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงไปดำเนินการเพื่อให้เกิดเป็นวิถีชีวิตชุมชน

     

    100 100

    43. กลุ่มเยาวชนกลับใจบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม

    วันที่ 1 พฤษภาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดทีมแบ่งพื้นที่สาธารณะให้เยาวชนได้รับผิดชอบดูแลเพื่อบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ เป็น 5 ทีม ให้จัดการพื้นที่แบบครบวงจร ตั้งแต่การทำความสะอาดเป็นระเบียบ เช่นพื้นที่โรงเรียน วัด ศูนย์หมู่บ้าน ถนนทางเข้าโรงเรียน สนามโรงเรียนเป็นต้น

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    กลุ่มเยาวชนร่วมบำเพ็ญประโยชน์ในพื้นที่สาธารณะของชุมชน เช่น ถนน โรงเรียน วัด

     

    50 50

    44. ประชุมคณะกรรมการโครงการ

    วันที่ 10 พฤษภาคม 2558 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะกรรมการโครงการจัดประชุมเพื่อหารือกิจกรรมที่มีการกระทำอย่างต่อเนื่อง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะกรรมการโครงการจัดประชุมหารือทีมงานในการดำเนินการโครงการมาใกล้จะเสร็จสิ้น แต่มีบางกิจกรรมที่มีการดำเนินการต่อเนื่องโดยเฉพาะกิจกรรมของกลุ่มเยาวชนที่จำเป็นต้องหากิจกรรมรองรับ เพื่อไม่ให้เขามีเวลาว่างที่จะกลับไปเสพสิ่งเสพติดอีก

     

    20 20

    45. จัดตั้งกลุ่มพัฒนาอาชีพของชุมชน

    วันที่ 23 พฤษภาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ตัวแทนกลุ่มอาชีพร่วมประชุมเพื่อหารือในการจัดตั้งกลุ่มพัฒนาอาชีพของชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ตัวแทนกลุ่มอาชีพร่วมกับคณะกรรมการโครงการจัดประชุมหารือการจัดตั้งกลุ่มพัฒนาอาชีพของชุมชนขึ้น เพื่อรองรับการเติบโตทางเศรษฐกิจและขยายเครือข่ายอาชีพ

     

    20 20

    46. กลุ่มที่เรียนรู้เรื่องอาชีพและเศรษฐกิจพอเพียงปฏิบัติการในพื้นที่

    วันที่ 1 มิถุนายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    กลุ่มสมาชิกที่เข้าร่วมเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงนำความรู้ที่ได้รับกลับไปปฏิบัติการที่บ้าน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    กลุ่มเยาวชนและครอบครัวนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงไปดำเนินการเพื่อให้เกิดเป็นวิถีชีวิตชุมชน

     

    100 20

    47. กลุ่มเยาวชนกลับใจบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม

    วันที่ 1 มิถุนายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    กลุ่มเยาวชนที่เป็นสมาชิกเข้าร่วมบำเพ็ญประโยชน์แก่ชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    กลุ่มเยาวชนร่วมบำเพ็ญประโยชน์ในพื้นที่สาธารณะของชุมชน เช่น ถนน โรงเรียน วัด

     

    50 50

    48. จัดเวทีสรุปผลการดำเนินงาน เพื่อนำเสนอผลจากการดำเนินโครงการ พร้อมให้สมาชิกหาแนวทางการต่อยอดโครงการ

    วันที่ 25 มิถุนายน 2558 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะกรรมการโครงการจัดกิจกรรมนำเสนอผลการดำเนินงานในรอบการดำเนินงานที่ผ่านมาแก่สมาชิก

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะกรรมการโครงการจัดกิจกรรมนำเสนอผลการดำเนินงานในรอบการดำเนินงานที่ผ่านมาแก่สมาชิกพร้อมทั้งเปิดโอกาสให้สมาชิกทักท้วงหรือช่วยกันปรับแก้ได้ มีสมาชิกมากว่า 200 คน เข้าร่วมกิจกรรม

     

    200 200

    49. พบพี่เลี้ยงจัดทำรายงาน

    วันที่ 30 มิถุนายน 2558 เวลา 09.00 - 14.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    นำเอกสาร หลักฐานทางการเงินให้พี่เลี้ยงตรวจสอบ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    นำเอกสาร หลักฐานทางการเงินให้พี่เลี้ยงตรวจสอบ ซึ่งพบว่าเอกสารบางส่วนไม่เรียบร้อย รูปถ่ายลงไม่ครบทุกกิจกรรม

     

    2 2

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

     

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 เพื่อให้เยาวชนลด ละ เลิกยาเสพติด
    ตัวชี้วัด : ร้อยละ 50 ของเยาวชนผู้ติด ผู้เสพ ลด ละ เลิกยาเสพติดได้

    ร้อยละ 80 ของผู้เข้าอบรม ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถ ลด ละ เลิก ยาเสพติดได้ เพราะไม่มีการจับกุมเยาวชนในคดียาเสพติดเลยและเยาวชนหันมาร่วมกิจกรรมในหมู่บ้านมากขึ้น และหันมาประกอบอาชีพเสริมมากขึ้น

    2 2.เพื่อสร้างงานสร้างอาชีพให้กลุ่มเยาวชน(กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มติดยาเสพติด)
    ตัวชี้วัด : ร้อยละ 50 ของเยาวชน(กลุ่มผู้ติดเสพติด/กลุ่มเสี่ยง)มีอาชีพและมีงานทำ

    ร้อยละ 80 ของเยาวชนกลุ่มเป้าหมาย (กลุ่มผู้ติดยาเสพติด/กลุ่มเสี่ยง) มีอาชีพและมีงานทำ โดยได้แบ่งกลุ่มอาชีพตามที่ตนเองถนัด ได้แก่

    1. กลุ่มปลูกพืชเศฐษกิจพอเพียง เช่นปลูกมะละกอ ฝักทองฝักเขียว มะนาว พริก และพืชสวนครัวต่าง ๆ จำนวน 20 คน 15 ครัวเรือน
    2. กลุ่มเลี้ยงสัตว์ประมง20 คน 17ครัวเรือน
    3. ปศุสัตว์ เลี้ยงวัวเลี้ยงหมู เลี้ยงไก่พื้นบ้าน 20 คน 5 ครัวเรือน
    4. กลุ่มผลิตภัณฑ์เศษไม้เหลือใช้ 10 คน 3 ครัวเรือน
    5. กลุ่มงานจักรสานพื้นเมืองด้วยไม้ไผ่ 30คน (ผลผลิตเกี่ยวกับที่เยาวชนทำไว้ได้ไปจำหน่ายตามหมู่บ้านและตลาดนัดประจำตำบลโดยมีร้านประจำกลุ่มของหมู่บ้าน
    3 3.เพื่อจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายสาธารณะด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
    ตัวชี้วัด : ชุมชนมีนโยบายสาธารณะด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด

    ชุมชนมีนโยบายสาธารณะด้านการป้องกัน และแก้ไขปัญหายาเสพติด ดังนี้

    1. กำหนดบริเวรห้ามสูบบุหรี่ 3 สถานที่ 1)โรงเรียนบ้านพัง 2) สำนักสงฆ์บ้านในเหวด 3) ที่ประชุมหมู่บ้าน
    2. กำหนดกฏระเบียบเกี่ยวกับยาเสพติดในชุมชน 1) ผู้นำหมู่บ้านทุกคน บุคคลที่อยู่ในบ้าน เสพ จำหน่าย ผู้ทำต้องลาออกโดยปริยาย 2)ถ้ามีการจับกุมเยาวชนที่ติดยาเสพติดห้ามบำบัดให้รับโทษโดยตรงและยึดเงินค่าประกันเข้าหมู่บ้าน 3)ให้ผู้ปกครองมีส่วนรับผิดชอบด้วย 4) ถ้าผู้ปกครองเสพ จำหน่ายให้ดำเนินคดีตามกฏหมาย ยึดเงินประกันเข้าและห้ามยุ่งเกี่ยวกับสถาบัญการเงินในหมู่บ้าน 5) ถ้ามีผู้ปกครองและเยาวชนทำผิดจริงต้องบำเพ็ญประโยชน์ในหมู่บ้าน 4 สถานที่ สำนักสงฆ์ โรงเรียน สถานีอนามัย และสถานีตำรวจ 6) ถ้าปฏิบัติตาม 5 ข้อข้างต้นไม่ได้ให้คณะกรรมการหมู่ ผู้ใหญ่บ้านตำรวจผู้ที่เกี่ยวข้องพิจารณาขั้นรุนแรงต่อไป
    4 4.เพื่อบริหารจัดการและติดตามประเมิณผลของโครงการ
    ตัวชี้วัด : ผู้รับผิดชอบโครงการและคณะทำงานเข้าร่วมกิจกรรมกับสสส./สจรส.มอ.ทุกครั้ง

    ผู้รับผิดชอบและคณะทำงานมีส่วนร่วมในการดำเนินโครงทุกครั้งเป็นอย่างดี

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้เยาวชนลด ละ เลิกยาเสพติด (2) 2.เพื่อสร้างงานสร้างอาชีพให้กลุ่มเยาวชน(กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มติดยาเสพติด) (3) 3.เพื่อจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายสาธารณะด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด (4) 4.เพื่อบริหารจัดการและติดตามประเมิณผลของโครงการ

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    ส่วนที่ 3 ประเมินคุณค่าโครงการ

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ

    ชื่อโครงการ บ้านพังเหาสดใส ห่างไกลยาเสพติด มุ่งเน้นเศรษฐกิจพอเพียง

    รหัสโครงการ 57-01506 รหัสสัญญา 57-00-0937 ระยะเวลาโครงการ 1 มิถุนายน 2557 - 30 มิถุนายน 2558

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นการคุณค่าที่เกิดจากโครงการในมิติต่อไปนี้

    • ความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพและนวัตกรรมเชิงระบบสุขภาพชุมชน
    • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีผลต่อสุขภาวะ
    • การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ
    • ผลกระทบเชิงบวกและนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาวะชุมชน
    • กระบวนการชุมชน
    • มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่

    1. เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้ใหม่ / องค์ความรู้ใหม่

    การเรียนรู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง การทำน้ำหมักเอนกประสงค์ การผลิตถั่วงอกแบบไม่ต้องใช้ขี้เถ้าหรือแกลบ การปลูปมะนาวนอกฤดูทำให้ได้ผลผลิตที่มีราคาสูง เป็นต้น

    ภาพถ่าย/ผลผลิตในครัวเรือน

    ตลาดนัดชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สิ่งประดิษฐ์ / ผลผลิตใหม่

    1.กระป๋องสร้างรายได้ อุปกรณ์ประกอบด้วย กระป๋องพลาสติกเก๋าๆหรือราคา 20 บาท กระสอบป่าน แผ่นพลาสติกรองและถั่วเขียว ขนาดครึ่งกิโล วิธีการทำ นำกระป๋องมาเจาะก้นด้วยตาปูขนาด 5 นิ้ว เป็นวงรอบโดยรอบก้นกระป๋อง ประมาณ 28 รู นำกระสอบป่านและพาสติก ตัดเป็นวงกลมขนาดเท่ารอบวงกระป๋องใช้ นำกระสอบป่านแช่น้ำรองก้นกระป๋อง วางแผ่นพลาสติกบนกระสอบป่านและนำถั่วเขียวซึ่งแช่น้ำก่อนแล้ว 1 คืน มาวางบนพลาสติกเกลี่ยให้ทั่ว เป็น 1 ชั้น และทำเช่นนี้จนได้ขนาดกระป๋อง ประมาณ 7 ชั้น หลังจากนั้นรดน้ำให้ทั่วและสม่ำเสมอทุกวัน ครบสามวัน นำถั๋วงอกออกมาบริโภคได้ เป็นผักปลอดสารพิษ ซึ่ง 1 กระป๋อง นำไปขายได้ประมาณ 30 บาท ถ้๋วเขียวครึ่งกิโลสามารถผลิตถั๋วงอกได้ประมาณ 7 กระป๋อง มูลค่า 210 บาท ซึ่งกลุ่มเยาวชนและสมาชิกชุมชนสามารถนำกลับไปทำเองที่บ้านได้ ในส่วนของกลุ่มเยาวชนมีการผลิตเป็นอาชีพเพื่อสร้างรายได้ 2.โต๊ะรับแขกจากเศษไม้และไม้ที่จมในคลอง นำขึ้นมาขัดถูและประดิษฐเป็นชุดรับแขก จำหน่ายให้แก่สมาชิกที่สนใจ เป็นรายได้ทางหนึ่งของกลุ่มเยาวชน

    ภาพถ่าย/ชุดรับแขกที่มีคนใจบุญอุดหนุน

    นำเสนอในงานสำคัญๆของอำเภอ เพื่อหาลูกค้าและพัฒนาส่งประกวดงานฝีมือ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. กระบวนการใหม่

    การบริหารจัดการชุมชนแบบมีส่วนร่วม โดยที่ให้สมาชิกชุมชนที่เข้าร่วมโครงการมีปากเสียงในการพิจารณาหรือการเปิดโอกาสให้ร่วมกำหนดร่างกติกาชุมชนและการร่วมแสดงความคิดเห็นในการพัฒนาหรือเสาะแสวงหาแหล่งทุนในการพัฒนา ซึ่งแต่เดิมจะเป็นหน้าที่ของผู้ใหญ่และกรรมการเพียงไม่กี่คน นอกจากนี้ยังเปิดโอกาสให้ตัวแทนกลุ่มเยาวชนมีสิทธิ์เยี่ยงสมาชิกผู้หนึ่งด้วย

    ภาพถ่ายการประชุมของโครงการและการประชุมของชุมชน/บันทึกการประชุมของกรรมการหมู่บ้าน

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. วิธีการทำงาน / การจัดการใหม่

    ผู้ใหญ่ไม่ได้ทำคนเดียวได้ เป็นคำพูดของผู้ใหญ่ "เพราะฉะนั้นเด็กและเยาวชนที่ผมรับหน้าที่ในการปรับพฤติกรรมพวกเขาต้องมาร่วมทำงานกับผมด้วย" เป็นวิธีการหนึ่งที่ผู้นำใช้เด็กและเยาวชนกลุ่มเสี่ยงให้เป็นประโยชน์เพื่อไม่ให้หันไปเสพอีก ด้วยการจัดตั้งเป็นกลุ่ม มีหน้าที่บำเพํญตนให้เป็นประโยชน์แก่ชุมชน สังคมและตนเอง เด็กกลุ่มนี้ทำทุกอย่างที่ผู้ใหญ่และพี่เลี้ยงแนะนำ เห็นได้ว่าเข้าไปทีไรกลุ่มนี้จะมีปฏิบัติการทุกครั้ง ไม่ตัดหญ้าในโรงเรียน ก็อยู่ที่แปลงผัก ทำเฟอร์นิเจอร์

    ภาพถ่ายในการบำเพ็ญประโยชน์/กิจกรรมในพื้นที่ที่ทำตลอด

    หมู่บ้านเกษตรอินทรีย์

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การเกิดกลุ่ม / โครงสร้างในชุมชนใหม่

    กลุ่มเด็กและเยาวชนรุ่นใหม่ไม่ใส่ใจสิ่งเสพติด

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. แหล่งเรียนรู้ใหม่

    เรียนการทำเฟอร์นิเจอร์ตกแต่งบ้าน

    ภาพถ่าย/ของจริงที่ตั้งอยู่ในที่ต่างๆ

    ร้านเฟอร์นิเจอร์ชุมชนพอเพียง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    99. อื่นๆ

     

     

     

    2. เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การบริโภค

    สมาชิกส่วนใหญ่บริโภคผักที่ปลูกเองภายในชุมชน ซึ่งสะอาดและปลอดภัย

    ภาพถ่าย

    ชุมชนเกษตรอินทรีย์ด้วยวิถีพอเพียง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การออกกำลังกาย

    นานๆสมาชิกจึงจะพร้อมกันออกกำลังกาย

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. การลด ละ เลิก อบายมุข เช่น การพนัน เหล้า บุหรี่

    มีผู้ใหญ่และแกนนำเยาวชนที่นำเลิกบุหรี่

    นายคมตะวันสร้างแก้ว/นายนิกรสุวรรณแย้ม

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การลดพฤติกรรมเสี่ยง เช่น พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การขับรถโดยประมาท

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. การจัดการอารมณ์ / ความเครียด

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. การดำรงชีวิต / วิถีชีวิต เช่น การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น / สมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเอง

    สมาชิกชุมชนส่วนใหญ่มีการดำรงชีวิตและวิถีชีวิตแบบแบบคนชนบท ตามรอยบรรพบุรุษ บริโภคทุกอย่างที่ปลูกไว้ในครัเรือน โดยเฉพาะพืชสมุนไพรที่ใช้ในการทำอาหาร ประเภทข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด กระเพรา เป็นต้น ซึ่งพืชเหล่านี้สามารถใช้สมุนไพรในการดูแลรักษาสุขภาพ เช่น เป็นไข้ใช้ดอกหรือยอดแค หรือเด็กท้องอืดใช้กระเพราตำทาท้องเหล่านี้เป็นต้น

    สมาชิกในชุมชน

    สวนสมุนไพรในโรงเรียน เพื่อใช้เป็นแหล่งเรียนรู้เรื่องสมุนไพรให้แก่เด็กนักเรียน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    8. พฤติกรรมการจัดการตนเอง ครอบครัว ชุมชน

    ครอบครัวของเยาวชนกลุ่มตืดและกลุ่มเสี่ยงที่ผ่านการเข้าค่ายมีการจัดการตนเอง ครอบครัว ให้ครอบครัวเป็นครอบครัวอบอุ่น ให้เวลากับสมาชิกในครอบครัวมากขึ้น มีการพูดคุยปรึกษาหารือกันก่อนตกลงใจในเรื่องใด มีการทำกิจกรรมร่วมกันโดยเฉพาะการใช้ชีวิตแบบพอเพียง ส่งผลให้ชุมชนเป็นชุมชนที่มีความเอื้ออาทร เอาใจใส่ซึ่งกันและกัน รับฟังความคิดเห็นของเพื่อนบ้าน ผู้นำและคนในครอบครัว ทำให้ครอบครัวอบอุ่นชุมชนน่าอยู่

    ผู้นำชุมชน/แกนนำเยาวชน/เยาวชนกลับใจ ในชุมชนทุกคน

    ชุมชนจัดการตนเองอย่างยั่งยืน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    9. อื่นๆ

     

     

     

    3. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. กายภาพ เช่น มีการจัดการขยะ ป่า น้ำ การใช้สารเคมีเกษตร และการสร้างสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนที่ถูกสุขลักษณะ

    สมาชิกชุมชนมีการจัดการขยะ โดยการคัดแยกก่อนนำไปทิ้ง ขยะเปียกนำไปทำปุ๋ย หรือทิ้งตามโคนต้นไม้เป็นปุ๋ยได้โดยไม่ต้องเสียเวลาหมัก เศษวัสดุเหลือใช้นำไปทำความสะอาดแล้วไปประดิษฐ์เป็นอุปกรณ์หรือของตกแต่งบ้าน เช่น ซองน้ำยาปรับผ้านุ่ม น้ำยาล้างจาน ซองผงซักฟอก เด็กนำไปเป็นอุปกรณ์การเรียนทำดอกไม้ประดับบ้าน เป็นต้น

    สมาชิกในชุมชน/ครู นักเรียน โรงเรียนบ้านพังเหา

    ขายหรือนำโชว์ในงานของหมู่บ้าน ตำบลหรืออำเภอ เพื่อให้เป็นที่ประจักรของบุคคลทั่วไป หรือเป็นอาชีพเสริม

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สังคม เช่น มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ลดการเกิดอุบัติเหตุ ครอบครัวอบอุ่น การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อเด็ก เยาวชน และกลุ่มวัยต่าง ๆ มีพื้นที่สาธารณะ/พื้นที่ทางสังคม เพื่อเอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชน มีการใช้ศาสนา/วัฒนธรรมเป็นฐานการพัฒนา

    สมาชิกชุมชนลงมติให้เยาวชนและครอบครัวบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ ส่งผลให้ชุมชนมีการจัดระเบียบชุมชนทุกสัปดาห์ และเวลาว่างกลุ่มเยาวชนจะเล่นกีฬา ซึ่งเป็นการฝึกซ้อมให้ชำนาญและเมื่อถึงฤดูกาลแข่งขันทีมจะเข้มแข็งพร้อมลงสนามแข่งขันไม่ว่าจะเป็นฟุตบอล ตะกร้อ วอลเล่ย์บอล ฯล ส่วนผู้ปกครองบางคนทำกิจกรรมร่วมกับลูกหลาน เช่นการจัดระเบียบ การพัฒนาชุมชน และในส่วนของผู้สูงอายุ มีการออกกำลังกายด้วยตนเองที่บ้านเข้าวัดฟังธรรม หรือบำเพ็ญประโยชน์ในวัด เป็นต้น

    ภาพถ่าย/สมาชิกชุมชน/ผู้นำชุมชน

    ชุมชนจัดการตนเองด้านสุขภาพ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. เศรษฐกิจสร้างสรรค์สังคม /สร้างอาชีพ / เพิ่มรายได้

    สมาชิกชุมชนใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงในการดำรงชีวิต มีการปลูกผักปลอดสารพิษ ทำปุ๋ยใช้เองลดการใช้สารเคมี มีการทำอาชีพเสริมรายได้ โดยเฉพาะในกลุ่มเยาวชน มีการปลูกผักสวนครัวประเภทพริก มะเขือ ฟักเขียว ฟักทอง ได้รายได้เป็นกอบเป็นกำ นอกจากได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์แล้ว ยังมีรายได้มีความสุขได้พบปะเพื่อนๆ

    สมาชิกชุมชน/ครอบครัวของกลุ่มเยาวชนๅผู้นำชุมชน

    หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการบริการสุขภาพทางเลือก และมีช่องทางการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ

    ชุมชนบ้านพังเหามีช่องทางการใช้บริการระบบบริการสุขภาพ มี รพ.สต.ที่อยู่ในพื้นที่ห่างจากหมู่บ้านประมาณ 5 กิโลเมตร และสามารถเดินทางไปใช้บริการในตัวอำเภอหลังสวน ซึ่งสะดวกกว่าการไปรับบริการในตัวอำเภอพะโต๊ะ นอกจากนี้เจ็บป่ายเล็กๆน้อยดูแลตนเองด้วยสมุนไพร หนักหน่อยให้ อสม.ช่วยดูแลเบื้องต้นก่อนไปสถานบริการ ทุกคนมีหลักประกันสุขภาพครอบคลุม

    สมาชิกชุมชน/รพ.สต./ผู้นำท้องถิ่น/ผู้นำท้องที่

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. อื่นๆ

     

     

     

    4. การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. มีกฎ / กติกา ของกลุ่ม ชุมชน

    มีการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายหรือข้อตกลงร่วมของชุมชนในเรื่องของยาเสพติด แต่สมาชิกส่วนใหญ่เห็นร่วมกันว่าน่าจะเป็นข้อเสนอเรื่องสิ่งเสพติดและอบายมุข จะทำให้ได้เรื่องของเหล้า บุหรี่ และการพนันด้วย โดยได้ร่างข้อเสนอ จำนวน 9 ข้อ และเมื่อเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นมีข้อเสนอเพิ่มเติมจากสมาชิก อีก 2 ข้อ ที่เป็นคนจากภายนอก ดังนั้นจึงมีข้อเสนอรวม 11 ข้อ ซึ่งทุกคนลงมติและให้นำมาประกาศใช้

    ภาพถ่ายป้ายข้อเสนอและเอกสารข้อเสนอ 11 ข้อ ที่ใช้แจกจ่ายให้ทุกครัวเรือน

    พัฒนาสู่ธรรมนูญหมู่บ้าน ตำบล

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. มีมาตรการทางสังคมของกลุ่ม ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. มีธรรมนูญของชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. อื่นๆ เช่น ออกเป็นข้อบัญญัติท้องถิ่น ฯลฯ

     

     

     

    5. เกิดกระบวนการชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. เกิดการเชื่อมโยงประสานงานระหว่างกลุ่ม / เครือข่าย (ใน และหรือนอกชุมชน)

    ชุมชนมีการประสานและเชื่อมร้อยความคิด การทำงานด้านต่างๆกันทั้งในชุมชน นอกชุมชนและนอกพื้นที่ เช่น การใช้กีฬา ใช้กิจกรรมด้านการพัฒนาเป็นตัวเชื่อมประสาน เป็นต้น

    ตำบลพระรักษ์/ตำบลพะโต๊ะ

    ฐานข้อมูลเครือข่าย

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเรียนรู้การแก้ปัญหาชุมชน (การประเมินปัญหา การวางแผน การปฏิบัติการ และการประเมิน)

    จากการทำโครงการทำให้ชุมชนเกิดการเรียนรู้ในการนำข้อมูล ข้อเท็จจริงของชุมชน มาใช้ในการวางแผนการพัฒนาชุมชน มีการติดตามประเมินผล และนำไปปรับปรุงการปฏิบัติงาน เป็นต้น

    แผนชุมชน/รายงานการประชุม/ภาพถ่าย

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ประโยชน์จากทุนในชุมชน เช่น การระดมทุน การใช้ทรัพยากรบุคคลในชุมชน

    ชุมชนนำทุนที่มีอยู่ในชุมชนมาใช้ในการพัฒนา เช่น ใช้ปราชญ์ชาวบ้านที่มีความเชี่ยวชาญด้านต่างๆมาใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่า เช่น เป็นโค้ชฟุตบอล วอลเล่ย์บอล ตะกร้อ โดยไม่ต้องใช้จากบุคคลภายนอก หรือการนำทุนด้านทรัพยากรดิน น้ำในชุมชนใช้ในการสร้างอาชีพ เป็นต้น

    ภาพถ่าย/สมาชิกชุมชน/ผู้นำชุมชน

    กลุ่มสวัสดิการชุมชนที่เข้มแข็ง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกลุ่มและชุมชนที่เกิดจากโครงการอย่างต่อเนื่อง

    คณะทำงานและสมาชิกมีการดำเนินกิจกรรมต่างๆในโครงการอย่างต่อเนื่อง

    ภาพถ่ายกิจกรรม/ลงดูพื้นที่ในชุมชน

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. เกิดกระบวนการจัดการความรู้ในชุมชน

    ชุมชนเกิดการเรียนรู้ การปฏิบัติ การทบทวนและปรับปรุง และนำสู่การพัฒนาใหม่

    ภาพถ่าย/บันทึกการทำงาน

    ชุมชนการจัดการความรู้

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. เกิดทักษะในการจัดการโครงการ เช่น การใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ การทำแผนปฏิบัติการ

    ชุมชนเกิดทักษะในการนำข้อมูลที่มีอยู่มาใช้ในการวางแผนพัฒนาชุมชน

    ภาพถ่าย/รายงานการประชุม

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. อื่นๆ

     

     

     

    6. มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเอง / กลุ่ม / ชุมชน

    แกนนำเยาวชนและผู้นำชุมชนทุกคนพูดเป็นเสียงเดียวกันคือมีความภาคภูมิใจมากๆๆที่ทำให้ชุมชนน่าอยู่ขึ้นอย่างมาก โดยเฉพาะกลุ่มเยาวชนและครอบครัวที่มีความสุข ที่ลูกหลานสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนเองได้ ผู้ใหญ่ภูมิใจเป็นอย่างมากที่เยาวชนสร้างชื่อเสียงให้หมู่บ้านและตำบลด้านกีฬา ด้านอาชีพ

    ผู้ใหญ่บ้าน/ครอบครัวเยาวชนกลับใจ

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเห็นประโยชน์ส่วนรวมและส่วนตนอย่างสมดุล

    ผู้ที่เข้าร่วมโครงการปัจจุบันปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจากการมองประโยชน์ส่วนตนแต่ฝ่ายเดียว หันกลับมามองประโยชน์จากส่วนรวมเป็นลำดับต้น และส่วนตนเป็นรอง หรือเท่าๆกัน

    แกนนำชุมชน/ผู้นำชุมชน/กลุ่มเยาวชนและครอบครัว

    หมู่บ้านเดินตามรอยเท้าพ่อ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย และพอเพียง

    สมาชิกชุมชนมีการใช้ความพอเพียงเป็นฐานในการดำรงชีวิต ส่งผลให้ชุมชนอบอุ่น ไม่เกิดการแก่งแย่งชิงดีชิงเด่น ไม่แตกแยก แต่เป็นหนึ่งเดียว

    ชุมชนบ้านพังเหา

    ชุมชนพอเพียง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. ชุมชนมีความเอื้ออาทร

    หลังจากจัดค่าย ทำให้เกิดสัมพันธภาพของสมาชิกในชุมชนที่มีความเอื้ออาทร เอื้อเฝื้อเผื่อแผ่กันมากขึ้น มีการเอาใจใส่ดูแลซึ่งกันและกัน ช่วยกันตักเตือนลูกหลานในชุมชน

    ภาพถ่ายและกิจกรรมที่มีคนบันทึก

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. มีการตัดสินใจโดยใช้ฐานปัญญา

    มีการพูดคุย หาข้อมูลหลักฐานอ้างอิงเชิงประจักร ทบทวนสถานการณ์ต่างๆ ก่อนการตัดสินใจร่วมกันของสมาชิก

    การวางแผนการส่งเสริมสนับสนุนกลุ่มเยาวชนด้านต่างๆ

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. อื่นๆ

     

     

     

    บ้านพังเหาสดใส ห่างไกลยาเสพติด มุ่งเน้นเศรษฐกิจพอเพียง จังหวัด ชุมพร

    รหัสโครงการ 57-01506

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นายคมตะวัน สร้างแก้ว )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด