แบบบันทึกการติดตามสนับสนุนโครงการ ครั้งที่ 1

รหัสโครงการ 57-01513
สัญญาเลขที่ 57-00-1026

ชื่อโครงการ ทุ่งนางดำน่าอยู่ คู่ป่าชายเลน
รหัสโครงการ 57-01513 สัญญาเลขที่ 57-00-1026
ระยะเวลาตามสัญญา 10 มิถุนายน 2014 - 10 มิถุนายน 2015

ส่วนที่ 1 : ข้อมูลเบื้องต้นการติดตาม

1.1 ข้อมูลเบื้องต้นการติดตาม
ชื่อสกุลผู้ติดตาม 1 นายศักดิ์ชาย เรืองศรี
ชื่อสกุลผู้ติดตาม 2
วันที่ลงพื้นที่ติดตาม 4 พฤศจิกายน 2014
วันที่ส่งรายงานถึง สสส.
1.2 ผู้ให้ข้อมูล
ลำดับชื่อ-สกุลผู้ให้ข้อมูลที่อยู่หมายเลขโทรศัพท์
1 นายศักดิ์ชาย เรืองศรี รพ.สต.เตรียม อ.คุระบุรี จ.พังงา 089-9093514

ส่วนที่ 2 : ข้อมูลโครงการและความก้าวหน้าการดำเนินงาน

2.1 วัตถุประสงค์และตัวชี้วัดความสำเร็จโครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ตัวชี้วัดความสำเร็จ

1.

เพื่อบริหารจัดการโครงการ / ติดตาม สนับสนุนโครงการ

  • จำนวนครั้งที่มาร่วมกิจกรรมกับ สสส.  และ สจรส.

2.

เพื่อให้เกิดกระบวนการจัดการกับปัญหาขยะอย่างเป็นระบบ

  1. จัดตั้งคณะทำงานเพื่อจัดการขยะ อย่างน้อย 1 ชุด
  2. ครัวเรือนมีการคัดแยกขยะและนำเข้าสู่กระบวนการจัดการอย่างถูกต้อง อย่างน้อยร้อยละ 50
  3. ปริมาณขยะในชุมชนลดลง ร้อยละ 20

3.

เพื่อส่งเสริมการสร้างงาน สร้างรายได้ในชุมชน

  1. ครัวเรือนสามารถเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ อย่างน้อยร้อยละ 10
  2. ครัวเรือนมีรายได้จากการเลี้ยงปลาและปูในกระชังเพิ่มขึ้น อย่างน้อยร้อยละ 10

4.

เพื่อสนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพเกี่ยวกับการบริโภคสุราและบุหรี่

  • สมาชิกในชุมชนดื่มสุราและสูบบุหรี่ลดลง ร้อยละ 20
2.2 ความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ
กลุ่มเป้าหมายงบประมาณผลการจัดกิจกรรมเชิงปริมาณผลการจัดกิจกรรมเชิงคุณภาพ/สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ
ที่ตั้งไว้(บาท)เกิดขึ้นจริง(บาท)จำนวนที่ตั้งไว้(คน)จำนวนเกิดขึ้นจริง(คน)

กิจกรรมหลัก : ปฐมนิเทศโครงการ สนับสนุนและติดตามโครงการร่วมกับ สสส. สจรส. มอ. และพี่เลี้ยงโครงการi

10,000.00 2 ผลผลิต

1.เข้าร่วมรับฟังการปฐมนิเทศโครงการร่วมกับ สสส.และ สจรส.มอ ที่ มอ.หาดใหญ่ จำนวน 1 ครั้ง 2.เข้าร่วมประชุมเพื่อทำติดตามความก้าวหน้าและทำรายงานงวด ที่ 1 สสจ.พังาา จำนวน 1 คร้ัง 3.เข้าร่วมประชุมเพื่อติดตามความก้าวหน้าที่ทำรายงานกับ สสส.และสจรส.มอ. และพี่เลี้ยงโครงการที่ มอ.หาดใหญ่  จำนวน 1 ครั้ง


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

ผู้รับผิดชอบโครงการ และพี่เลี้ยงมีความเข้าใจสามารถทำกิจกรรม รายงานการเงิน การบัญชี และรายงานงวดที่ 1 ได้ถูกต้อง

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 7 ครั้ง

  • นาง สมใจ บุญมาเลิศ
  • นางสาว สมจิตร หมัดสอหมัด
10,000.00 5,200.00 2 2 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • เข้าใจระบบการทำงานโครงการและการเงินที่ถูกต้องและเป็นระบบมากขึ้น

นายศักดิ์ชาย  เรืองศรี พี่เลี้ยงโครงการ ผู้รับผิดชอบโครงการ
1.นางสมใจ บุญมาเลิศ 2.นางสาวสมจิตร หมัดสอหมัด

0.00 0.00 3 0 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผู้รับผิดชอบโครงการมีความเข้าใจเกี่ยวกับการทำรายงานการเงิน และกิจกรรมโครงการมากขึ้น

พี่เลี้ยง สจรส. 2คน พี่เลี้ยงจังหวัด 2 คน ผู้รับผิดชอบโครงการ 2 คน

0.00 0.00 6 6 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผู้รับผิดชอบโครงการ พี่เลี้ยงพื้นที่ และพี่เลี้ยงจาก สจรส.ได้พบปะเพื่อพูดคุยทำความเข้าใจเกี่ยวกับการทำรายงานการเงิน และรายงานความก้าวหน้างวดที่ 1 ให้ถูกต้องและทันเวลา

  • นาง สมใจ บุญมาเลิศ
  • นางสาว สมจิตร หมัดสอหมัด
  • นางสาว สุปราณี  หมัดสอหมัด
0.00 2,620.00 3 3 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • รู้เรื่องระบบการทำบัญชีที่สามารถให้ สสส. ตรวจสอบได้  และสามารถปรับแก้เอกสารการเงินโครงการได้อย่างถูกต้อง
  • เข้าใจรายละเอียดของการรายงานกิจกรรมโครงการ พบว่ามีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนในบางกิจกรรมซึ่งพี่เลี้ยงได้ให้คำแนะนำให้ถูกต้อง
  • คณะทำงานสามารถจัดทำรายงานผลการดำเนินงานโครงการ และรายงานการเงิน งวดที่ 1 ส่งให้ สจรส. ได้

ผู้รับผิดชอบโครงการเข้าร่วมประชุม จำนวน 3 คน คือ นางสมใจ บุญมาเลิศ นางสมจิตร หมัดสอหมัด  และนางสาวสุปราณี  หมัดสอหมัด 

0.00 0.00 3 3 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

พี่เลี้ยงจังหวัดและผู้รับผิดชอบโครงการมีความเข้าใจในเรื่องการบันทึกความก้าวหน้าโครงการ  รายงานการเงินและหลักฐานโครงการที่ถูกต้อง

  1. นางสมใจ บญมาเลิศ
  2. นางสมจิตร หมัดสอหมัด
0.00 5,200.00 2 2 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • เจ้าหน้าที่ สจรส. มอ. ตรวจสอบความเรียบร้อยของรายงานโครงการ พบว่า รายงานโครงการ ส.1 เรียบร้อย มีการปรับแก้เอกสารการเงินให้มีความถูกต้องเรียบร้อย สามารถปิดโครงการงวดที่ 1 ได้
  • นายศักดิ์ชายเรืองศรี พี่เลี้ยงระดับ

ผู้รับผิดชอบโครงการ 2 คน

  1. นางสมใจบุญมาเลิศ
  2. นางสาวสมจิตร หมัดสอหมัด
0.00 0.00 3 3 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.พี่เลี้ยงระดับจังหวัด มีความเข้าใจเกี่ยวกับการทำรายงานการติดตามและประเมินโครงการ 2.ผู้รับผิดชอบโครงการ สามารถทำรายงานการเงิน การบัญชี และรายงานความก้าวหน้างวดที่ 1 ได้อย่างถูกต้อง

กิจกรรมหลัก : ค่าป้ายเขตปลอดบุหรี่i

1,000.00 70 ผลผลิต

มีป้ายห้ามสูบบุหรี่ในศาลาที่ประชุมหมู่บ้าน


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

ประชาชนในหมู่บ้านมีความตระหนักและร่วมกันงดสูบบุหรี่ในที่ประชุม และในช่วงถือศีลอด

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 1 ครั้ง

  • ผู้นำศาสนาและประชาชนทั่วไปที่นับถือศาสนาอิสลาม 32 คน
1,000.00 1,000.00 70 32 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผู้นำศาสนาและประชาชนทั่วไปที่นับถือศาสนาอิสลามจำนวน 32 คน สามารถลดรายจ่ายจากการสูบบุหรี่ ลดปัญหาสุขภาพ

กิจกรรมหลัก : จัดตั้งคณะกรรมการเพื่อจัดการขยะอย่างเป็นระบบ 2) จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทำความเข้าใจในโครงการกับแกนนำสุขภาพประจำครอบครัว อสม.ผู้นำชุมชน เยาวชนและประชาชนทั่วไปi

9,900.00 50 ผลผลิต

1.มีคณะกรรมการจัดการขยะ
2.คณะทำงานในการแก้ไข้ปัญหาขยะแบบมีส่วนร่วมของชุมชน


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

เกิดคณะทำงานที่มาจากตัวแทนของคนในชุมชน

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 1 ครั้ง

  1. แกนนำสุขภาพประจำครอบครัว
  2. แกนนำอสม.
  3. ผู้นำชุมชน ผู้นำท้องถิ่น
  4. กลุ่มเด็กและเยาวชน
  5. ประชาชนทั่วไป
  6. คณะกรรมการจัดการขยะ รวม 52 คน
9,900.00 10,400.00 50 52 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

จัดตั้งคณะกรรมการการจัดการขยะ ซึ่งมีเวทีแลกเปลี่ยน และได้มีข้อสรุปของคนในชุมชนที่ร่วมเวที จำนวน 52 คน มีข้อเสนอแนะ และมติให้คนในชุมชนครัวเรือนละ 1 คน เข้ามาเป็นคณะทำงานเพื่่อจัดการกับขยะดังนี้

  1. ผู้นำชุมชน 2 คน
  2. ผู้นำท้องถิ่น 2 คน
  3. แกนนำ อสม. 9 คน
  4. แกนนำสุขภาพประจำครอบครัว จำนวน 12 คน ซึ่งมีรายชื่อดังนี้
  • นาง มณี นิยมเดชา
  • นาย สมบูรณ์ ยีแจ๊ะหวาง
  • นาย เลี้ยง แว่นทอง
  • นาง สุวัยมาโตน ครองวิธี
  • นาง อานิม่า หมัดสอหมัด
  • นาย อดานันท์ หมัดสอหมัด
  • นางสาว รัฐติยา เพ็ชมณี
  • นาง สุใบด้ะ ละหมัด
  • นาย บูกาก รักข้อง
  • นางสาว นุจริญ แว่นทอง
  • นาย ศุภนุ แว่นทอง
  • นาย เสนอ สุขสะอาด

มีคณะกรรมการจัดการขยะ จำนวน 25 คน ซึ่งมาจาก

  • ผู้นำชุมชน 2 คน
  1. นาย สมชาย เสือสมิง
  2. นาย ดรุณ ครองวิธี
  • ผู้นำท้องถิ่น 2 คน
  1. นาย เสงี่ยม หวังพึ่งฉาย
  2. นาย สมพร บุญมาเลิศ
  • กลุ่ม อสม. 9 คน
  1. นาง สมใจ บุญมาเลิศ
  2. นางสาว สมจิตร หมัดสอหมัด
  3. นาง หทัยกาญจน์ นวลประโค
  4. นาง วานิดา ครองวิธี
  5. นางสาว ยุวรรณดา ครองวิธี
  6. นางสาว หยาดพิรุณ นวลประโค
  7. นางสาว นารถลัดดา ครองวิธี
  8. นาง อังคนา บุญมาเลิศ
  • แกนนำสุขภาพประจำครอบครัว 12 คน
  1. นาย เลี้ยง แว่นทอง
  2. นาย สมบูรณ์ ยีเจ้ะหวาง
  3. นาย บูกกาก รักข้อง
  4. นาย ธนาภาค พุ่มหิรัญ
  5. นางสาว รัฐติยา เพ็ชรมณี
  6. นาง สุใบด้ะ ละหมัด
  7. นาง มณี นิยมเดชา
  8. นาย สุชาติ บุญมาเลิศ
  9. นาย วุฒธิชัย หมัดสอหมัด
  10. นาง อานิม่า หมัดสอหมัด
  11. นาง สุวัยมาโตน ครองวิธี
  12. นาง พิมพ์สนิท สุกสะอาด
  • ชุมชนอย่างมีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการ
  • เกิดคณะทำงานที่มาจากตัวแทนคนในชุมชน

กิจกรรมหลัก : สำรวจข้อมูลเส้นทางขยะในชุมชน (ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ) โดยแกนนำสุขภาพประจำครอบครัว ผู้นำชุมชนและแกนนำ อสม.i

10,000.00 50 ผลผลิต

1.มีการสำรวจเส้นทางขยะในชุมชน


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

มีข้อมูลขยะของชุมชน

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 1 ครั้ง

  • แกนนำสุขภาพประจำครอบครัว
  • ผู้นำชุมชน
  • แกนนำ อสม.
  • เด็กและเยาวชน

รวม 46 คน

10,000.00 10,000.00 50 46 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • โครงการนี้ใช้เรือจำนวน 4 ลำ ในการออกสำรวจขยะ พร้อมทีมงานคณะกรรมการ และกลุ่มเยาวชนในหมู่บ้าน จากการสำรวจพบว่าขยะส่วนใหญ่ มากับน้ำ แหล่งที่มาของขยะมาจากหลากหลายที่ เช่น แพปลา โรงงาน เรือประมง กระชัง และหมู่บ้านใกล้เคียง ปรากฏว่า ขยะที่พบมาก คือ โฟม พลาสติก เชือก อวน และน้ำเสียจากโรงงานพร้อมกับกลิ่น
  • ชุมชนมีข้อมูลขยะ และมีแนวทางลดปริมาณขยะในชุมชนลดลง
  • ประชาชนเกิดความตระหนักและมีส่วนร่วม
  • รู้ที่มาของขยะ
  1. ขยะที่มากับน้ำ 80%
  2. ขยะภายในครัวเรือน 20%
  • สามารถแยกเป็นขยะรีไซเคิล 50% ย่อยเปียก 20% ขยะอันตราย 30%

กิจกรรมหลัก : จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อนำเสนอข้อมูลขยะในชุมชนเพื่อกำหนดแนวทางในการจัดการกับปัญหาขยะในชุมชนร่วมกับผู้นำชุมชน แกนนำสุขภาพประจำครอบครัว ผู้นำชุมชนผู้นำท้องถิ่นและ อสม. กำหนดมาตรการทางสังคม กฏกติกาของชุมชน / จัดทีมติดตามตรวจสอบและประเมินผลi

9,900.00 50 ผลผลิต

1.มีการคืนข้อมูลขยะให้ชุมชน 2.มีการกำหนดแนวทางในการแก้ปัญหาขยะแบบมีส่วนร่วม 3.มีมาตรการทางสังคมของชุมชนในการแก้ปํญหาขยะ


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

เกิดแนวทางในการจัดการขยะอย่างเป็นระบบโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 2 ครั้ง

  • แกนนำสุขภาพประจำครอบครัว
  • แกนนำ อสม.
  • ผู้นำชุมชน ผู้นำท้องถิ่น
  • เด็กและเยาชน
  • ประชาชนทั่วไป

รวม 48 คน

9,900.00 9,850.00 50 48 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • มีการคืนข้อมูลขยะให้ชุมชนรับทราบขอที่มาของขยะว่าส่วนใหญ่มาจากทะเลซึ่งเป็นขยะที่ลอยมากับน้ำโดยเฉพาะ แพปลา/เรือประมง/โรงงานอุตสาหกรรม/บ้านเรือนที่อยู่ริมน้ำ/กระชังเลี้ยงปลา ตามที่ได้สำรวจมาจากวันที่ 12 พบว่าขยะส่วนใหญ่ที่พบ ได้แก่ ขวด พลาสติก โฟม เชือก หลอดไฟ เนื้ออวน
  • มีแนวทางและกฏกติกาของชุมชนในการจัดการขยะ โดยการทำป้ายกฏกติกาติดตามที่ต่างๆในชุมชน เพื่อบังคับใช้มีกฎระเบียบดังนี้
  1. ห้ามทิ้งขยะในและนอกชุมชน
  2. ห้ามล่าสัตว์ป่าทุกชนิด
  3. ห้ามเก็บกล้วยไม้/แกนไม้/พันธ์ุไม้หายาก
  4. ห้ามนำสุราและยาเสพติดเข้ามาในชุมชน
  5. ห้ามเผาหญ้ากลางทุ่ง
  6. ห้ามสูบบุหรี่ในที่สาธารณะ
  7. ห้ามตัดไม้ทำลายป่า จับได้จะดำเนินการตาม พรบ.สิ่งแวดล้อม
  • มีทีมงานติดตามประเมินผล ที่มาจากคณะกรรมการจำนวน 22 คน
  • มีวิทยากรที่มาจากหมู่บ้านใกล้เคียง ซึ่งมาจากกลุ่ม อสม. จำนวน 2 คน คือ
  1. นางสาว สุกัญญา อ่าวน้ำ
  2. นางสาว วาสนา เจ้ะมูล
  1. แกนนำสุขภาพประจำครอบครัว
  2. แกนนำอสม.
  3. ผู้นำชุมชน ผู้นำท้องถิ่น
  4. กลุ่มเด็กและเยาวชน
  5. ประชาชนทั่วไป
0.00 0.00 50 48 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-มีการคืนข้อมูลขยะให้ชุมชนรับทราบขอที่มาของขยะว่าส่วนใหญ่มาจากทะเลซึ่งเป็นขยะที่ลอยมากับน้ำโดยเฉพาะ แพปลา/เรือประมง/โรงงานอุตสาหกรรม/บ้านเรือนที่อยู่ริมน้ำ/กระชังเลี้ยงปลา ตามที่ได้สำรวจมาจากวันที่ 12 พบว่าขยะส่วนใหญ่ที่พบ ได้แก่ ขวด พลาสติก โฟม เชือก หลอดไฟ เนื้ออวน - มีแนวทางและกฏกติกาของชุมชนในการจัดการขยะ โดยการทำป้ายกฏกติกาติดตามที่ต่างๆในชุมชน เพื่อบังคับใช้ - มีทีมงานติดตามประเมินผล ที่มาจากคณะกรรมการจำนวน 22 คน - มีวิทยากรที่มาจากหมู่บ้านใกล้เคียง ซึ่งมาจากกลุ่ม อสม. จำนวน 2 คน 

กิจกรรมหลัก : จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ และแนวทางในการจัดการกับปัญหาขยะและสิ่งแวดล้อมในหมู่บ้าน กฏกติกาของชุมชนในชุมชนและสถานที่สาธารณะของหมู่บ้านi

12,000.00 50 ผลผลิต

1.มีป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ 2.มีป้ายกฏกติกาของชุมชน


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

ชาวบ้านใชุมชนรับทราบและยอมรับกฎกติกาของชุมชน

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 1 ครั้ง

  • คณะกรรมการโครงการ 20 คน
12,000.00 12,000.00 20 20 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ชาวบ้านในชุมชนรับทราบและยอมรับกฏกติกา ร่วมคิดร่วมทำและยึดถือปฏิบัติกัน ดังนี้ คือ
  1. ห้ามทิ้งขยะในและนอกชุมชน
  2. ห้ามล่าสัตว์ป่าทุกชนิด
  3. ห้ามเก็บกล้วยไม้/แกนไม้/พันธ์ไม้หายาก
  4. ห้ามนำสุราและยาเสพติดเข้ามาในชุมชน
  5. ห้ามเผ้าหญ้ากลางทุ่ง
  6. ห้ามสูบบุหรี่ในที่สาธารณะ
  7. ห้ามตัดไม้ทำลายป่า

    *จับได้จะดำเนินการตาม พรบ.สิ่งแวดล้อม

กิจกรรมหลัก : จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการลด เลิก นำขยะกลับมาใช้ใหม่ ขยะ และการจัดการคัดแยกขยะที่ถูกต้องi

10,400.00 50 ผลผลิต

1.ชาวบ้านได้เข้าร่วมอบรมเกี่ยวกับการจัดการขยะ 2.ชาวบ้านรู้จักวิธีจัดการขยะอย่างเป็นระบบ


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

ขยะในชุมชนได้รับการคัดแยกและัดการอย่างเป็นระบบ

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 2 ครั้ง

  • แกนนำสุขภาพประจำครอบครัว
  • แกนนำ อสม.
  • ผู้นำชุมชนผู้นำท้องถิ่น
  • เยาวชนและประชาชนทั่วไป จำนวน 44 คน
10,400.00 9,400.00 50 44 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • มีวิทยากรที่มาให้คำแนะนำกิจกรรม ซึ่งเป็นผู้นำชุมชนจากหมู่บ้านใกล้เคียง คือ นาย วีระศักดิ์ สินธรรม อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการ ลด เลิก นำขยะกลับมาใช้ใหม่ เช่น การนำถุงผ้า/ตะกร้า/ปิ่นโต แทนการใช้ถุงพลาสติก และการจัดการคัดแยกขยะที่ถูกต้อง โดยการคัดแยกขยะแบ่งเป็น 3 ประเภท ขยะอันตราย ใช้ฝังกลบ/ขยะรีไซเคิล เช่น ถุงพลาสติก สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้หรือนำไปขาย/ขยะย่อยสลายเช่น เศษใบไม้ เศษอาหาร สามารถนำไปทำปุ๋ยไว้ในครัวเรือนได้
  • ชาวบ้านในชุมชนรู้วิธีการในการคัดแยกขยะและกำจัดขยะ
  • มีการใช้ถุงผ้า ตระกร้าและปิ่นโตในการบรรจุอาหารเพื่อลดปัญหาขยะ
  • แกนนำสุขภาพประจำครอบครัว
  • แกนนำอสม
  • ผู้นำชุมชนผู้นำท้องถิ่น
  • เยาวชนและประชาชนทั่วไป
0.00 0.00 50 44 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คนในชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการคัดแยกขยะที่ถูกต้อง เกิดมาตรการทางสังคม และมีการส่งเสริมการลดการสร้างขยะโดยการหันมาใช้ถุงผ้า ปิ่นโต และวัสดุที่ไม่ก่อให้เกิดปัญหาขยะ

กิจกรรมหลัก : จัดสร้างถังขยะประจำบ้านโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นใช้ลอบปลาหมึกที่ชำรุดมาซ่อมแซมเพื่อคัดแยกขยะนำเข้าสู่กระบวนการกำจัดที่ถูกวิธี และเพื่อวางไว้บริเวณถนนและเส้นทางเดินเท้าท่องเที่ยวชมธรรมชาติในหมู่บ้านi

10,000.00 50 ผลผลิต

1.มีการนำวัสดุเหลือใช้มาประยุกต์เป็นถังขยะ 2.มีถังขยะประจำบ้านและที่สาธารณะ


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

ชุมชนสามารถนำภูมิปัญญาท้องถิ่นนำวัสดุเหลือใช้มาดัดแปลงเป็นถังขยะ ทำให้ช่วยลดรายจ่ายในการัดการขยะ

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 2 ครั้ง

  • คณะกรรมการในโครงการ 20 คน
10,000.00 10,000.00 20 20 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • นำวัสดุเหลือใช้มาทำเป็นถังขยะ คือ การทำถังขยะจากลอบปลาหมึกที่ไม่ใช้ประโยชน์แล้ว
  • มีถังขยะประจำบ้านและสามารถคัดแยกขยะได้
  • มีถังขยะตามเส้นทางสาธารณะและประจำบ้าน จำนวน 100 ลูก ตั้งใว้ 33 จุด ภายในชุมชน เช่น มัสยิด /ศาลาประชาคม/ ท่าเทียบเรือจำนวน 4 ท่า/ ชายหาด /เส้นทางท่องเที่ยว/บริเวณหน้าบ้านแต่ล่ะครัวเรือน เป็นต้น

หมายเหตุ ถังขยะสามารถที่จะแยกประเภทขยะได้

จัดสร้างถังขยะประจำบ้านโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้สอย เช่นลอบปลาหมึกที่ชำรุดมาซ่อมแซมเพื่อคัดแยกขยะนำมาสู่กระบวนการที่ถูกวิธี และวางใว้บริเวณถนนและเส้นทางเท้าท่องเที่ยวชมธรรมชาติในหมู่บ้าน

0.00 0.00 20 20 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ชุมชนสามารถนำวัสดุเหลือใช้ในชุมชนมาประยุกค์เป็นถังขยะ  สำหรับใช้ในครัวเรือน ชุมชน และเส้นทางสาธารณะได้

กิจกรรมหลัก : จัดอบรมการทำปุ๋ยน้ำชีวภาพจากขยะที่เป็นเศษอาหาร ผักและปลาเพื่อนำมาใช้เป็นปุ๋ยในชุมชนi

13,400.00 50 ผลผลิต

1.ชาวบ้านได้เข้าร่วมอบรมทำปุ๋ยน้ำชีวภาพ 2.มีการถ่ายทอดความรุู้และภูมิปัญญาชาวบ้านเกี่ยวกับการทำน้ำปุ๋ยในชุมชน


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

1.สามารถนำขยะมาทำปุ๋ยน้ำชีวภาพ 2.ลดต้นทุนทางด้านการเกษตรจากการใช้น้ำปุ๋ย
3.ลดการใช้ปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลง

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 3 ครั้ง

  1. แกนนำสุขภาพประจำครอบครัว
  2. แกนนำอสม.
  3. ผู้นำชุมชน ผู้นำท้องถิ่น
  4. กลุ่มเด็กและเยาวชน
  5. ประชาชนทั่วไป

รวม 45 คน

13,400.00 13,400.00 50 45 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ชุมชนได้นำขยะเศษอาหาร  ผัก ปลา ผลไม้ นำมาทำเป็นปู่ย สามารถลดขยะอินทรีย์ได้ และสามารถนำขยะมาใช้เป็นประโยชน์ทำปุ๋ยสำหรับต้นไม้

ชุมชนสามารถแบ่งหน้าที่ในการดูแลกองปุ๋ย - ควรรดน้ำสม่ำเสมอไม่ให้กองปุ๋ยแห้งหรือแฉะเกินไป กลับกองปุ๋ยทุก 7-10 วันต่อครั้ง เพื่อเป็นการระบายอากาศ และลดความร้อน จะทำให้ปุ๋ยย่อยสลายได้ดีส่วนปุ๋ยหมักที่เสร็จแล้ว นำไปปรับปรุงดินได้ สีของวัสดุจะเป็นสีน้ำตาลเข็มจนถึงสีดำ ลักษณะของวัสดุ จะอ่อนนุ่มและเปื่อยยุ่ยไม่มีกลิ่นเหม็นหรือกลิ่นฉุน ความร้อนภายในกองปุ๋ยจะใกล้เคียงกับอุณหภูมิภายนอก - คนในชุมชนให้ความร่วมมือในการจัดอบรมครั้งนี้ และมีการนำขยะมาทำเป็นปุ๋ย

1.แกนนำสุขภาพประจำครอบครัว

2.แกนนำอสม.

3.ผู้นำชุมชน ผู้นำท้องถิ่น

4.กลุ่มเด็กและเยาวชน 5.ประชาชนทั่วไป

13,400.00 0.00 50 0 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • มีวิทยากรมาให้คำแนะนำ ซึ๋งเป็นปราชญ์ในชุมชน จำนวน 2 คน - มีหลักสูตรในการทำปุ๋ย และมีการสาธิต
  • คนในชุมชนให้ความร่วมมือในการจัดอบรมครั้งนี้ และมีการนำขยะมาทำเป็นปุ๋ย
  1. แกนนำสุขภาพประจำครอบครัว
  2. แกนนำอสม.
  3. ผู้นำชุมชน ผู้นำท้องถิ่น
  4. กลุ่มเด็กและเยาวชน
  5. ประชาชนทั่วไป
0.00 0.00 50 0 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

วิทยากรมาให้คำแนะนำ ซึ๋งเป็นปราชญ์ในชุมชน จำนวน 2 คน

  1. นาง พิมพ์สนิท สุกสะอาด
  2. นาง สุวัยมาโตน ครองวิธี
  • มีหลักสูตรในการทำปุ๋ย และมีการสาธิต ซึ่งมีสูตรการทำปุ๋ยดังนี้

ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ

ส่วนผสม

  1. ปลา 30 กิโลกรัม
  2. ผัก หรือ ผลไม้ 10 กิโลกรัม
  3. กากน้ำตาล 10 กิโลกรัม
  4. สารเร่ง พ.ด 2 1 ซอง
  5. น้ำ 10 ลิตร


    วิธีทำ
  • ผสมน้ำ 5 ลิตร กับ พ.ด 2  1 ซอง พักไว้ 5 นาที แล้วนำส่วนผสมทั้งหมด ใส่ไว้ในถังหมัก แล้วนำน้ำที่ผสม พ.ด 2 ไว้แล้วใส่ลงไป คนให้เข้ากันแล้วปิดฝาไม่ต้องให้สนิท คนทุกๆ3วันหรือ7วัน พอครบ21วันก็นำมาใช้ได้ ผสมน้ำเปล่า20ลิตรกับน้ำหมัก4ช้อนโต๊ะ ใช้ฉีดใบและลำต้นหรือรดที่โคนต้นไม้ก็ได้

ปุ๋ยหมัก

ส่วนผสม

  1. เศษพืช-เศษหญ้า-ทะลายปาล์ม-ขุยมะพร้าว-ทางปาล์ม 1,000 กิโลกรัม
  2. มูลสัตว์ 200 กิโลกรัม
  3. ปุ๋ยยูเรีย 2 กิโลกรัม
  4. สารเร่ง พ.ด1  1 ซอง
  5. ปุ๋ยน้ำหมัก 1 ลิตรผสมน้ำ10ลิตร


    วิธีทำ

  6. นำเศษวัสดุประมาณ 800 ลิตร กองไว้บนดินเป็นชั้น ช้นแรกกว้าง2*3เมตร สูงประมาณ30-40เซนติเมตร เยียบให้แน่นรดน้ำให้ชุ่ม

  7. นำมูลสัตว์ประมาณ 50 กิโลกรัม โรยไปบนชั้นวัสดุ รดน้ำให้ชุ่ม
  8. นำ พ.ด1 1ซองละลายกับน้ำปุ๋ยหมักแล้วราดลงบนกองวัสดุ
  9. นำวัสดุที่เหลือทับลงไปบนชั้น
  10. ใช้ปุ๋ยยูเรียโรยลงไปให้ทั่ว
  11. นำมูลสัตว์ที่เหลือโรยลงไป

การดูแลกองปุ๋ย

  • ควรรดน้ำสม่ำเสมอไม่ให้กองปุ๋ยแห้งหรือแฉะเกินไป กลับกองปุ๋ยทุก7-10วันต่อครั้งเพื่อเป็นการระบายอากาศ และลดความร้อน จะทำให้ปุ๋ยย่อยสลายได้ดีส่วนปุ๋ยหมักที่เสร็จแล้ว นำไปปรับปรุงดินได้ สีของวัสดุจะเป็นสีน้ำตาลเข็มจนถึงสีดำ ลักษณะของวัสดุ จะอ่อนนุ่มและเปื่อยยุ่ยไม่มีกลิ่นเหม็นหรือกลิ่นฉุน ความร้อนภายในกองปุ๋ยจะใกล้เคียงกับอุณหภูมิภายนอก
  • คนในชุมชนให้ความร่วมมือในการจัดอบรมครั้งนี้ และมีการนำขยะมาทำเป็นปุ๋ย
2.3.1 นวัตกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ

(นวัตกรรมคือ การจัดการความคิด กระบวนการ ผลผลิต และ/หรือเทคโนโลยีที่เหมาะสม มาใช้งานให้เกิดประสิทธิผล และ/หรือประสิทธิภาพมากกว่าเดิมอย่างชัดเจน)

ชื่อนวัตกรรมคุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรมผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์
2.3.2 โครงการเด่น (Best Practice)

(โครงการเดิ่น คือ โครงการสร้างเสริมสุขภาพให้สัมฤทธิ์ผลที่เป็นรูปธรรมแล้วขยายผลอย่างยั่งยืน โดยแนวคิดกระบวนการ และผลงาน สามารถเป็นตัวอย่างที่จะนำไปขยายผลในชุมชน (Setting) อื่น ๆ ได้ การดำเนินงานมีส่วนร่วมของภาคีที่หลากหลาย มีการบริหารจัดการที่ดี โปร่งใสและตรวจสอบได้)

ชื่อ Best Practiceวิธีการทำให้เกิด Best Practiceผลของ Best Practice / การนำไปใช้ประโยชน์
2.3.3 เกิดแกนนำ/ผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านการสร้างเสริมสุขภาพในประเด็นต่าง ๆ
ชื่อ-สกุลที่อยู่ติดต่อได้สะดวกคุณสมบัติแกนนำ/ผู้นำการเปลี่ยนแปลง
2.3.4 มีสภาพแวดล้อมและปัจจัยทางสังคมที่เอื้อต่อสุขภาพ

เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อสุขภาพในชุมชนพื้นที่โครงการดังนี้

สถานที่/พื้นที่ ที่เปลี่ยนแปลงรายละเอียดการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

ส่วนที่ 3 : ปัญหาและอุปสรรคสำคัญที่มีผลกระทบต่อการดำเนินงาน

3.1 การดำเนินงานกจิกรรม/กลุ่มเป้าหมาย/ระยะเวลาดำเนินงาน/การดำเนินงาน/งบประมาณ
ประเด็นปัญหา/อุปสรรคการแก้ไขของผู้รับทุนข้อเสนอแนะ/การแก้ไขปัญหาและการเสริมพลังของผู้ติดตาม
3.2 การดำเนินงานกจิกรรม/กลุ่มเป้าหมาย/ระยะเวลาดำเนินงาน/การดำเนินงาน/งบประมาณ
ประเภทความเสี่ยง / ปัจจัยเสี่ยงระดับความเสี่ยง
(จากมากไปหาน้อย)
ข้อมูล ข้อสังเกตุ และข้อคิดเห็นของผู้ติดตาม
3210
1. ความเสี่ยงด้านการดำเนินงาน (Operational Risks)
1.1 โครงสร้างการดำเนินงาน

 

1.2 ศักยภาพและทักษะการดำเนินงาน

 

1.3 ผลลัพธ์และผลสำเร็จของการดำเนินงาน

 

2. ความเสี่ยงทางการเงิน (Financial Risks)
2.1 ระบบและกลไกการบริหารจัดการ

 

2.2 การใช้จ่ายเงิน

 

2.3 หลักฐานการเงิน

เนื่องจากผู้รับผิดชอบโครงการ และคณะทำงานยังขาดประสบการณ์ในการทำโครงการ ไม่เข้าใจเกี่ยวกับการเก็บหลักฐานทางการเงิน ซึ่งเมื่อได้รับฟังการชี้แนะจากพี่เลี้ยง และ สจรส.ก็เข้าใจ

ผลรวม 0 2 4 0
ผลรวมทั้งหมด 6 ระดับความเสี่ยง : ???
เกณฑ์วัดระดับความเสี่ยง ???
สรุปการแก้ไขความเสี่ยง แก้ไขแล้ว ยังไม่ได้แก้ไข

ส่วนที่ 4 : สรุปความเห็นของผู้ติดตาม

ส่วนที่ 4สรุปความเห็นของผู้ติดตาม
4.1 กรณีเบิกเงินงวด/ติดตามเยี่ยมชม มีแนวโน้มสำเร็จตามเป้าหมายโครงการและติดตามปกติ
การวิเคราะห์ผลการดำเนินงานโครงการและสรุปข้อคิดเห็น

สามารถเบิกเงินได้ตามงวดเงิน

มีแนวโน้มเสี่ยง ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด เนื่องจาก
การวิเคราะห์ผลการดำเนินงานโครงการและสรุปข้อคิดเห็น

 

มีความเสี่ยง ต้องยุติโครงการ เนื่องจาก
4.2 กรณีสรุปปิดโครงการ ดำเนินงานได้ตามแผนปฏิบัติการและสามารถปิดโครงการได้
สรุปผลภาพรวมการดำเนินงาน-การเงินโครงการและข้อคิดเห็น

สามารถดำเนินงานได้ตามแผนปฏิบัติการและสามารถปิดโครงการได้ทันตามเวลาที่กำหนด

ไม่เป็นไปตามแผนปฏิบัติการ ให้ดำเนินการจัดระบบการเงิน ระบบรายงานให้ถูกต้องก่อนปิดโครงการ
สรุปผลภาพรวมการดำเนินงาน-การเงินโครงการและข้อคิดเห็น

 

ส่วนที่ 5 : สรุปภาพรวมของการติดตามประจำงวด (ข้อสังเกต/สิ่งดีๆ ที่ค้นพบ/ข้อพึงระวัง/บทเรียนที่ได้)

สรุปภาพรวมการติดตามสนับสนุนโครงการ ครั้งที่ 1 เห็นว่าพื้นที่มีความพร้อมและสามารถดำเนินงานได้ตามแผนปฏิบัติการที่ได้วางไว้ มีเพียงบางสิ่งที่อาจจะต้องปรับปรุงแก้ไขบางแต่ก็สามารถแก้ไขให้บรรลุได้ และพร้อมที่จะดำเนินงานในระยะต่อไป

สร้างรายงานโดย ศักดิ์ชาย เรืองศรี