แบบบันทึกการติดตามสนับสนุนโครงการ ครั้งที่ 2

รหัสโครงการ 57-01513
สัญญาเลขที่ 57-00-1026

ชื่อโครงการ ทุ่งนางดำน่าอยู่ คู่ป่าชายเลน
รหัสโครงการ 57-01513 สัญญาเลขที่ 57-00-1026
ระยะเวลาตามสัญญา 10 มิถุนายน 2014 - 10 มิถุนายน 2015

ส่วนที่ 1 : ข้อมูลเบื้องต้นการติดตาม

1.1 ข้อมูลเบื้องต้นการติดตาม
ชื่อสกุลผู้ติดตาม 1 นายศักดิ์ชาย เรืองศรี
ชื่อสกุลผู้ติดตาม 2
วันที่ลงพื้นที่ติดตาม
วันที่ส่งรายงานถึง สสส.
1.2 ผู้ให้ข้อมูล
ลำดับชื่อ-สกุลผู้ให้ข้อมูลที่อยู่หมายเลขโทรศัพท์
1 นายศักดิ์ชาย เรืองศรี รพ.สต.เตรียม อ.คุระบุรี จ.พังงา 089-9093514

ส่วนที่ 2 : ข้อมูลโครงการและความก้าวหน้าการดำเนินงาน

2.1 วัตถุประสงค์และตัวชี้วัดความสำเร็จโครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ตัวชี้วัดความสำเร็จ

1.

เพื่อบริหารจัดการโครงการ / ติดตาม สนับสนุนโครงการ

  • จำนวนครั้งที่มาร่วมกิจกรรมกับ สสส.  และ สจรส.

2.

เพื่อให้เกิดกระบวนการจัดการกับปัญหาขยะอย่างเป็นระบบ

  1. จัดตั้งคณะทำงานเพื่อจัดการขยะ อย่างน้อย 1 ชุด
  2. ครัวเรือนมีการคัดแยกขยะและนำเข้าสู่กระบวนการจัดการอย่างถูกต้อง อย่างน้อยร้อยละ 50
  3. ปริมาณขยะในชุมชนลดลง ร้อยละ 20

3.

เพื่อส่งเสริมการสร้างงาน สร้างรายได้ในชุมชน

  1. ครัวเรือนสามารถเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ อย่างน้อยร้อยละ 10
  2. ครัวเรือนมีรายได้จากการเลี้ยงปลาและปูในกระชังเพิ่มขึ้น อย่างน้อยร้อยละ 10

4.

เพื่อสนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพเกี่ยวกับการบริโภคสุราและบุหรี่

  • สมาชิกในชุมชนดื่มสุราและสูบบุหรี่ลดลง ร้อยละ 20
2.2 ความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ
กลุ่มเป้าหมายงบประมาณผลการจัดกิจกรรมเชิงปริมาณผลการจัดกิจกรรมเชิงคุณภาพ/สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ
ที่ตั้งไว้(บาท)เกิดขึ้นจริง(บาท)จำนวนที่ตั้งไว้(คน)จำนวนเกิดขึ้นจริง(คน)

กิจกรรมหลัก : ค่าป้ายเขตปลอดบุหรี่i

1,000.00 70 ผลผลิต

มีป้ายเขตบุหรี่ในชุมชน


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

ลดการสูบบุหรี่ในสถานที่สาธารณะ

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 1 ครั้ง

  • ผู้นำศาสนาและประชาชนทั่วไปที่นับถือศาสนาอิสลาม 32 คน
1,000.00 1,000.00 70 32 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผู้นำศาสนาและประชาชนทั่วไปที่นับถือศาสนาอิสลามจำนวน 32 คน สามารถลดรายจ่ายจากการสูบบุหรี่ ลดปัญหาสุขภาพ

กิจกรรมหลัก : จัดเวทีเสวนากลุ่มท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ กลุ่มบ้านพักโฮมสเตย์ และกลุ่มวิสาหกิจชุมชน เพื่อชี้แจงทำความเข้าใจและร่วมกันกำหนดโปรแกรมการท่องเที่ยวในชุมชนi

9,400.00 50 ผลผลิต

มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 48 คน


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

เกิดการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในชุมชน ชาวบ้านมีความเข้าใจและร่วมกำหนดโปรแกรมการท่องเที่ยวในชุมชน เมื่อมีเจ้าหน้าที่มาให้ความรู้และแลกเปลี่ยนความคิดกับคนในชุมชนในเรื่องการท่องเที่ยวทำให้ชาวบ้านมีความรู้และเข้าใจในเรื่องนี้มากขึ้น

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 1 ครั้ง

  1. แกนนำสุขภาพประจำครอบครัว
  2. แกนนำ อสม.
  3. ผู้นำชุมชน ผู้นำท้องถิ่น.
  4. เด็กและเยาวชน
  5. ประชาชนทั่วไป
9,400.00 9,400.00 50 43 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • เปิดประชุม เวลา 10.00 น โดยเจ้าของโครงการได้กล่าวและชี้แจ้งกิจกรรมที่ทำในวันนี้ เป็นการเสวนากลุ่มท่องเที่ยวพูดคุยแลกเปลี่ยน ได้เชิญเจ้าหน้าที่มูลนิธิอันดามันมาร่วม
  • เวลา 11.00 พูดคุยโดยเจ้าหน้าที่มูลนิธิอันดามันในประเด็นมาตรฐานการท่องเที่ยวโดยชุมชนและบ้านพักโฮมสเตร์ ว่าต้องมีมาตรฐาน
  • นางอานิม่า ถามว่า: ทำไมการท่องเที่ยวโดยชุมชนต้องมีมาตราฐาน?
  • นัฐชา ตอบว่า: การมีมาตรฐานไม่ได้เป็นการไปออกกฏเกณฑ์ให้กับชุมชนในทางกลับกันช่วย และได้คุยถึงประสบการณ์ที่ได้ทำงานกับมูลนิธิและนักท่องเที่ยวที้ผ่านมา 3 ประการ ได้แก่
  1. ได้กรอบและแนวทางในการพัฒนาชุมชน
  2. เป็นการสร้างคุณภาพและยกระดับการท่องเที่ยว
  3. เปิดโอกาสในการเข้าถึงการตลาดที่ทีศักยภาพ
  • เกิดการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในชุมชน ชาวบ้านมีความเข้าใจและร่วมกำหนดโปรแกรมการท่องเที่ยวในชุมชน เมื่อมีเจ้าหน้าที่มาให้ความรู้และแลกเปลี่ยนความคิดกับคนในชุมชนในเรื่องการท่องเที่ยวทำให้ชาวบ้านมีความรู้และเข้าใจในเรื่องนี้มากขึ้น

กิจกรรมหลัก : จัดตั้งคณะกรรมการเพื่อจัดการขยะอย่างเป็นระบบ 2) จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทำความเข้าใจในโครงการกับแกนนำสุขภาพประจำครอบครัว อสม.ผู้นำชุมชน เยาวชนและประชาชนทั่วไปi

9,900.00 50 ผลผลิต

1) จัดตั้งคณะกรรมการเพื่อจัดการขยะอย่างเป็นระบบ

2) จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทำความเข้าใจในโครงการกับแกนนำสุขภาพประจำครอบครัว อสม.ผู้นำชุมชน เยาวชนและประชาชนทั่วไป


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

-ชุมชนอย่างมีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการ

-เกิดคณะทำงานที่มาจากตัวแทนคนในชุมชน

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 1 ครั้ง

  1. แกนนำสุขภาพประจำครอบครัว
  2. แกนนำอสม.
  3. ผู้นำชุมชน ผู้นำท้องถิ่น
  4. กลุ่มเด็กและเยาวชน
  5. ประชาชนทั่วไป
  6. คณะกรรมการจัดการขยะ รวม 52 คน
9,900.00 10,400.00 50 52 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

จัดตั้งคณะกรรมการการจัดการขยะ ซึ่งมีเวทีแลกเปลี่ยน และได้มีข้อสรุปของคนในชุมชนที่ร่วมเวที จำนวน 52 คน มีข้อเสนอแนะ และมติให้คนในชุมชนครัวเรือนละ 1 คน เข้ามาเป็นคณะทำงานเพื่่อจัดการกับขยะดังนี้

  1. ผู้นำชุมชน 2 คน
  2. ผู้นำท้องถิ่น 2 คน
  3. แกนนำ อสม. 9 คน
  4. แกนนำสุขภาพประจำครอบครัว จำนวน 12 คน ซึ่งมีรายชื่อดังนี้
  • นาง มณี นิยมเดชา
  • นาย สมบูรณ์ ยีแจ๊ะหวาง
  • นาย เลี้ยง แว่นทอง
  • นาง สุวัยมาโตน ครองวิธี
  • นาง อานิม่า หมัดสอหมัด
  • นาย อดานันท์ หมัดสอหมัด
  • นางสาว รัฐติยา เพ็ชมณี
  • นาง สุใบด้ะ ละหมัด
  • นาย บูกาก รักข้อง
  • นางสาว นุจริญ แว่นทอง
  • นาย ศุภนุ แว่นทอง
  • นาย เสนอ สุขสะอาด

มีคณะกรรมการจัดการขยะ จำนวน 25 คน ซึ่งมาจาก

  • ผู้นำชุมชน 2 คน
  1. นาย สมชาย เสือสมิง
  2. นาย ดรุณ ครองวิธี
  • ผู้นำท้องถิ่น 2 คน
  1. นาย เสงี่ยม หวังพึ่งฉาย
  2. นาย สมพร บุญมาเลิศ
  • กลุ่ม อสม. 9 คน
  1. นาง สมใจ บุญมาเลิศ
  2. นางสาว สมจิตร หมัดสอหมัด
  3. นาง หทัยกาญจน์ นวลประโค
  4. นาง วานิดา ครองวิธี
  5. นางสาว ยุวรรณดา ครองวิธี
  6. นางสาว หยาดพิรุณ นวลประโค
  7. นางสาว นารถลัดดา ครองวิธี
  8. นาง อังคนา บุญมาเลิศ
  • แกนนำสุขภาพประจำครอบครัว 12 คน
  1. นาย เลี้ยง แว่นทอง
  2. นาย สมบูรณ์ ยีเจ้ะหวาง
  3. นาย บูกกาก รักข้อง
  4. นาย ธนาภาค พุ่มหิรัญ
  5. นางสาว รัฐติยา เพ็ชรมณี
  6. นาง สุใบด้ะ ละหมัด
  7. นาง มณี นิยมเดชา
  8. นาย สุชาติ บุญมาเลิศ
  9. นาย วุฒธิชัย หมัดสอหมัด
  10. นาง อานิม่า หมัดสอหมัด
  11. นาง สุวัยมาโตน ครองวิธี
  12. นาง พิมพ์สนิท สุกสะอาด
  • ชุมชนอย่างมีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการ
  • เกิดคณะทำงานที่มาจากตัวแทนคนในชุมชน

กิจกรรมหลัก : สำรวจข้อมูลเส้นทางขยะในชุมชน (ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ) โดยแกนนำสุขภาพประจำครอบครัว ผู้นำชุมชนและแกนนำ อสม.i

10,000.00 50 ผลผลิต

กิจกรรมมีผู้เข้าร่วม 46 คน ได้แก่ แกนนำสุขภาพประจำครอบครัว ผู้นำชุมชน แกนนำ อสม. เด็กและเยาวชน


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)
  • ทำให้ทราบที่มาที่ไปของขยะ ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ นำไปสุ่การจัดการขยะต่อไป - มีข้อมูลในการจัดการขยะ พบว่าขยะมากับน้ำถึง 80 เปอร์เซ็น ซึ่งเป็นขยะจากหลายแหล่งมารวมกัน แต่เมื่อแยกสามารถแยกประเภทขยะ พบว่าสามารถนำกลับมารีไซเคิลได้ถึง 50 เปอร์เซ็น ซึ่งจะไปจัดการต่อไป

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 1 ครั้ง

  • แกนนำสุขภาพประจำครอบครัว
  • ผู้นำชุมชน
  • แกนนำ อสม.
  • เด็กและเยาวชน

รวม 46 คน

10,000.00 10,000.00 50 46 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • โครงการนี้ใช้เรือจำนวน 4 ลำ ในการออกสำรวจขยะ พร้อมทีมงานคณะกรรมการ และกลุ่มเยาวชนในหมู่บ้าน จากการสำรวจพบว่าขยะส่วนใหญ่ มากับน้ำ แหล่งที่มาของขยะมาจากหลากหลายที่ เช่น แพปลา โรงงาน เรือประมง กระชัง และหมู่บ้านใกล้เคียง ปรากฏว่า ขยะที่พบมาก คือ โฟม พลาสติก เชือก อวน และน้ำเสียจากโรงงานพร้อมกับกลิ่น
  • ชุมชนมีข้อมูลขยะ และมีแนวทางลดปริมาณขยะในชุมชนลดลง
  • ประชาชนเกิดความตระหนักและมีส่วนร่วม
  • รู้ที่มาของขยะ
  1. ขยะที่มากับน้ำ 80%
  2. ขยะภายในครัวเรือน 20%
  • สามารถแยกเป็นขยะรีไซเคิล 50% ย่อยเปียก 20% ขยะอันตราย 30%

กิจกรรมหลัก : จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อนำเสนอข้อมูลขยะในชุมชนเพื่อกำหนดแนวทางในการจัดการกับปัญหาขยะในชุมชนร่วมกับผู้นำชุมชน แกนนำสุขภาพประจำครอบครัว ผู้นำชุมชนผู้นำท้องถิ่นและ อสม. กำหนดมาตรการทางสังคม กฏกติกาของชุมชน / จัดทีมติดตามตรวจสอบและประเมินผลi

9,900.00 50 ผลผลิต

ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 48 คน ประกอบด้วย แกนนำสุขภาพประจำครอบครัว แกนนำ อสม. ผู้นำชุมชน ผู้นำท้องถิ่น เด็กและเยาชน ประชาชนทั่วไป


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)
  • ชุมชนร่วมกันกำหนดกติกาเป็นที่ยอมรับ และปฏิบัติร่วมกัน
  • มีกฎระเบียบ ดังนี้ ห้ามทิ้งขยะในและนอกชุมชน ห้ามล่าสัตว์ป่าทุกชนิด ห้ามเก็บกล้วยไม้/แกนไม้/พันธ์ุไม้หายาก ห้ามนำสุราและยาเสพติดเข้ามาในชุมชน ห้ามเผาหญ้ากลางทุ่ง ห้ามสูบบุหรี่ในที่สาธารณะ ห้ามตัดไม้ทำลายป่า จับได้จะดำเนินการตาม พรบ.สิ่งแวดล้อม

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 2 ครั้ง

  • แกนนำสุขภาพประจำครอบครัว
  • แกนนำ อสม.
  • ผู้นำชุมชน ผู้นำท้องถิ่น
  • เด็กและเยาชน
  • ประชาชนทั่วไป

รวม 48 คน

9,900.00 9,850.00 50 48 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • มีการคืนข้อมูลขยะให้ชุมชนรับทราบขอที่มาของขยะว่าส่วนใหญ่มาจากทะเลซึ่งเป็นขยะที่ลอยมากับน้ำโดยเฉพาะ แพปลา/เรือประมง/โรงงานอุตสาหกรรม/บ้านเรือนที่อยู่ริมน้ำ/กระชังเลี้ยงปลา ตามที่ได้สำรวจมาจากวันที่ 12 พบว่าขยะส่วนใหญ่ที่พบ ได้แก่ ขวด พลาสติก โฟม เชือก หลอดไฟ เนื้ออวน
  • มีแนวทางและกฏกติกาของชุมชนในการจัดการขยะ โดยการทำป้ายกฏกติกาติดตามที่ต่างๆในชุมชน เพื่อบังคับใช้มีกฎระเบียบดังนี้
  1. ห้ามทิ้งขยะในและนอกชุมชน
  2. ห้ามล่าสัตว์ป่าทุกชนิด
  3. ห้ามเก็บกล้วยไม้/แกนไม้/พันธ์ุไม้หายาก
  4. ห้ามนำสุราและยาเสพติดเข้ามาในชุมชน
  5. ห้ามเผาหญ้ากลางทุ่ง
  6. ห้ามสูบบุหรี่ในที่สาธารณะ
  7. ห้ามตัดไม้ทำลายป่า จับได้จะดำเนินการตาม พรบ.สิ่งแวดล้อม
  • มีทีมงานติดตามประเมินผล ที่มาจากคณะกรรมการจำนวน 22 คน
  • มีวิทยากรที่มาจากหมู่บ้านใกล้เคียง ซึ่งมาจากกลุ่ม อสม. จำนวน 2 คน คือ
  1. นางสาว สุกัญญา อ่าวน้ำ
  2. นางสาว วาสนา เจ้ะมูล
  1. แกนนำสุขภาพประจำครอบครัว
  2. แกนนำอสม.
  3. ผู้นำชุมชน ผู้นำท้องถิ่น
  4. กลุ่มเด็กและเยาวชน
  5. ประชาชนทั่วไป
0.00 0.00 50 48 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-มีการคืนข้อมูลขยะให้ชุมชนรับทราบขอที่มาของขยะว่าส่วนใหญ่มาจากทะเลซึ่งเป็นขยะที่ลอยมากับน้ำโดยเฉพาะ แพปลา/เรือประมง/โรงงานอุตสาหกรรม/บ้านเรือนที่อยู่ริมน้ำ/กระชังเลี้ยงปลา ตามที่ได้สำรวจมาจากวันที่ 12 พบว่าขยะส่วนใหญ่ที่พบ ได้แก่ ขวด พลาสติก โฟม เชือก หลอดไฟ เนื้ออวน - มีแนวทางและกฏกติกาของชุมชนในการจัดการขยะ โดยการทำป้ายกฏกติกาติดตามที่ต่างๆในชุมชน เพื่อบังคับใช้ - มีทีมงานติดตามประเมินผล ที่มาจากคณะกรรมการจำนวน 22 คน - มีวิทยากรที่มาจากหมู่บ้านใกล้เคียง ซึ่งมาจากกลุ่ม อสม. จำนวน 2 คน 

กิจกรรมหลัก : จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ และแนวทางในการจัดการกับปัญหาขยะและสิ่งแวดล้อมในหมู่บ้าน กฏกติกาของชุมชนในชุมชนและสถานที่สาธารณะของหมู่บ้านi

12,000.00 50 ผลผลิต

คณะกรรมการโครงการ 20 คน ได้ดำเนินการปิดป้ายกติกา


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

ป้ายกิจกรรมได้ติดที่สาธารณะ เป็นที่รับรู้ของคนในชุมชน ได้ปฏิบัติเตือนสติของผู้คนที่เห็นป้าย

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 1 ครั้ง

  • คณะกรรมการโครงการ 20 คน
12,000.00 12,000.00 20 20 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ชาวบ้านในชุมชนรับทราบและยอมรับกฏกติกา ร่วมคิดร่วมทำและยึดถือปฏิบัติกัน ดังนี้ คือ
  1. ห้ามทิ้งขยะในและนอกชุมชน
  2. ห้ามล่าสัตว์ป่าทุกชนิด
  3. ห้ามเก็บกล้วยไม้/แกนไม้/พันธ์ไม้หายาก
  4. ห้ามนำสุราและยาเสพติดเข้ามาในชุมชน
  5. ห้ามเผ้าหญ้ากลางทุ่ง
  6. ห้ามสูบบุหรี่ในที่สาธารณะ
  7. ห้ามตัดไม้ทำลายป่า

    *จับได้จะดำเนินการตาม พรบ.สิ่งแวดล้อม

กิจกรรมหลัก : จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการลด เลิก นำขยะกลับมาใช้ใหม่ ขยะ และการจัดการคัดแยกขยะที่ถูกต้องi

10,400.00 50 ผลผลิต

ผู้เข้าร่วมอบรมจำนวน 50 คน ได้แก่ แกนนำสุขภาพประจำครอบครัว แกนนำ อสม. ผู้นำชุมชนผู้นำท้องถิ่น เยาวชนและประชาชนทั่วไป


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)
  • ผู้เข้าร่วมมีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะ ในการคัดแยกขยะ
  • ชุมชนใช้ถุงผ้า ตระกร้า ปิ่นโต ในชีวิตประจำวัน สามารถลดขยะชนิดถุงพลาสติกได้

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 2 ครั้ง

  • แกนนำสุขภาพประจำครอบครัว
  • แกนนำ อสม.
  • ผู้นำชุมชนผู้นำท้องถิ่น
  • เยาวชนและประชาชนทั่วไป จำนวน 44 คน
10,400.00 9,400.00 50 44 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • มีวิทยากรที่มาให้คำแนะนำกิจกรรม ซึ่งเป็นผู้นำชุมชนจากหมู่บ้านใกล้เคียง คือ นาย วีระศักดิ์ สินธรรม อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการ ลด เลิก นำขยะกลับมาใช้ใหม่ เช่น การนำถุงผ้า/ตะกร้า/ปิ่นโต แทนการใช้ถุงพลาสติก และการจัดการคัดแยกขยะที่ถูกต้อง โดยการคัดแยกขยะแบ่งเป็น 3 ประเภท ขยะอันตราย ใช้ฝังกลบ/ขยะรีไซเคิล เช่น ถุงพลาสติก สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้หรือนำไปขาย/ขยะย่อยสลายเช่น เศษใบไม้ เศษอาหาร สามารถนำไปทำปุ๋ยไว้ในครัวเรือนได้
  • ชาวบ้านในชุมชนรู้วิธีการในการคัดแยกขยะและกำจัดขยะ
  • มีการใช้ถุงผ้า ตระกร้าและปิ่นโตในการบรรจุอาหารเพื่อลดปัญหาขยะ
  • แกนนำสุขภาพประจำครอบครัว
  • แกนนำอสม
  • ผู้นำชุมชนผู้นำท้องถิ่น
  • เยาวชนและประชาชนทั่วไป
0.00 0.00 50 44 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คนในชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการคัดแยกขยะที่ถูกต้อง เกิดมาตรการทางสังคม และมีการส่งเสริมการลดการสร้างขยะโดยการหันมาใช้ถุงผ้า ปิ่นโต และวัสดุที่ไม่ก่อให้เกิดปัญหาขยะ

กิจกรรมหลัก : จัดสร้างถังขยะประจำบ้านโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นใช้ลอบปลาหมึกที่ชำรุดมาซ่อมแซมเพื่อคัดแยกขยะนำเข้าสู่กระบวนการกำจัดที่ถูกวิธี และเพื่อวางไว้บริเวณถนนและเส้นทางเดินเท้าท่องเที่ยวชมธรรมชาติในหมู่บ้านi

10,000.00 50 ผลผลิต

คณะทำงาน 20 คน ร่วมกันคิดออกแบบถังขยะ โดยประยุกต์ใช้วัสดุในชุมชน


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)
  • ชุมชนได้ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นใช้ลอบปลาหมึกที่ชำรุดมาซ่อมแซมทำเป็นถังขยะ ประยุกต์ใช้ประโยชน์จากของที่ไม่ใช้แล้วนำมากลับใ้ช้ต่อเป็นถังขยะ

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 2 ครั้ง

  • คณะกรรมการในโครงการ 20 คน
10,000.00 10,000.00 20 20 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • นำวัสดุเหลือใช้มาทำเป็นถังขยะ คือ การทำถังขยะจากลอบปลาหมึกที่ไม่ใช้ประโยชน์แล้ว
  • มีถังขยะประจำบ้านและสามารถคัดแยกขยะได้
  • มีถังขยะตามเส้นทางสาธารณะและประจำบ้าน จำนวน 100 ลูก ตั้งใว้ 33 จุด ภายในชุมชน เช่น มัสยิด /ศาลาประชาคม/ ท่าเทียบเรือจำนวน 4 ท่า/ ชายหาด /เส้นทางท่องเที่ยว/บริเวณหน้าบ้านแต่ล่ะครัวเรือน เป็นต้น

หมายเหตุ ถังขยะสามารถที่จะแยกประเภทขยะได้

จัดสร้างถังขยะประจำบ้านโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้สอย เช่นลอบปลาหมึกที่ชำรุดมาซ่อมแซมเพื่อคัดแยกขยะนำมาสู่กระบวนการที่ถูกวิธี และวางใว้บริเวณถนนและเส้นทางเท้าท่องเที่ยวชมธรรมชาติในหมู่บ้าน

0.00 0.00 20 20 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ชุมชนสามารถนำวัสดุเหลือใช้ในชุมชนมาประยุกค์เป็นถังขยะ  สำหรับใช้ในครัวเรือน ชุมชน และเส้นทางสาธารณะได้

กิจกรรมหลัก : จัดทำจุดพักและคัดแยกขยะบริเวณท่าเทียบเรือเพื่อรอนำเข้าสู่กระบวนการจัดการขยะi

8,000.00 50 ผลผลิต

มีจุดพักและคัดแยกขยะบริเวณท่าเทียบเรือมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 48 คน


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

ขยะที่ลอยมากับน้ำถูกนำเข้าสู่กระบวนการคัดแยกและจัดการที่ถูกต้อง

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 1 ครั้ง

  1. แกนนำสุขภาพประจำครอบครัว
  2. แกนนำ อสม.
  3. ผู้นำชุมชน ผู้นำท้องถิ่น.
  4. เด็กและเยาวชน
  5. ประชาชนทั่วไป
8,000.00 8,000.00 50 48 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • เปิดประชุมโดยผู้ใหญ่บ้าน เรื่องของกรมปกครอง ยาเสพติดในชุมชน การเผาหญ้ากลางทุ่ง จัดงานกาชาดจังหวัดพังงา
  • หัวหน้าพัฒนาการอำเภอ เข้าร่วมประชุมในโครงการเศรษฐกิจพอเพียง โครงการพัฒนาขีดความสามารถในการขับเคลื่อนกิจกรรมชุมชน  สร้างภาพ (ถ่าย) ครอบครัวเข้มแข็ง เพื่อให้ชุมชนเกิดความรัก สามัตตี และความผูกพันในครอบครัว
  • อสม. สมใจ ได้บอกถึงวาระประชุมของสาธารณสุข ในโครงการใกล้บ้าน-ใกล้ใจ หน่วยแพทย์ พอสว มาให้บริการทันตกรรมที่ รพสต เตรียม ในวันที่  24 มี.ค. 58
  • จัดทำจุดพักขยะที่ท่าเทียบเรือ เพื่อที่จะพักขยะที่จะขนย้ายขึ้นมาบนฝั่ง เพราะต้องใช้เวลาในการขนย้ายโดยใช้เรือเป็นพาหนะในการขนย้าย และเป็นที่รวบรวมขยะของชุมชน
  • จากการจัดกิจกรรม ทำให้ชุมชนมีสถานที่พักขยะบริเวณท่าเทียบเรือเพื่อรอนำเข้าสู่กระบวนการกำจัดต่อไป

กิจกรรมหลัก : จัดทำธนาคารขยะเพื่อรับฝากขยะที่สามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์หรือขายได้ จัดทำสุสานขยะในที่สาธารณะประโยชน์ของหมู่บ้านเพื่อนำขยะที่ไม่มีประโยชน์มารวบรวมและฝังกลบต่อไปi

10,000.00 50 ผลผลิต

มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมจัดทำธนาคารและสุสานขยะ จำนวน 46 คน


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

มีธนาคารขยะเพื่อที่รับซื้อขยะจากชาวบ้านที่สามารถรีไซเคิลได้ เช่น พลาสติก เชือก ที่ได้มาจากกระบวนการจุดพักและคัดแยกขยะ มีสุสานขยะในการที่จะฝังกลบขยะที่ย่อยสลายยากและขยะที่อันตรายที่ได้มาจากกระบวนการจุดพักและคัดแยกขยะ

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 1 ครั้ง

  1. แกนนำสุขภาพประจำครอบครัว
  2. แกนนำ อสม.
  3. ผู้นำชุมชน ผู้นำท้องถิ่น
  4. กลุ่มเด็กและเยาวชน
  5. ประชาชนทั่วไป
10,000.00 10,000.00 50 46 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • มีการเตรียมพื้นที่ในการที่จะทำสถานที่รับฝากขยะหรือธนาคารขยะโดยได้ความร่วมมือจาก นางยุวรรณดา ครองวิธี บ้านเลขที่ 13/2 ที่แบ่งพื้นที่ส่วนหนึ่งในการจัดทำธนาคารขยะ เพราะขยะบางชนิดตากแดดหรือฝนไม่ได้ จึงมีความจำเป็นในการสร้างโรงเรือนโดยอาศัยความร่วมมือและความสามัคคีของคนในชุมชนในการหาวัสดุอุปกรณ์ในการปลูกสร้าง
  • มีการรวมตัวที่สถานที่ๆ จะทำสุสานขยะ เพื่อที่จะช่วยในการเคลียพื้นที่ๆ ใช้ในการทำสุสานขยะ
  • มีธนาคารขยะเพื่อที่รับซื้อขยะจากชาวบ้านที่สามารถรีไซเคิลได้ เช่น พลาสติก เชือก ที่ได้มาจากกระบวนการจุดพักและคัดแยกขยะ
  • มีสุสานขยะในการที่จะฝังกลบขยะที่ย่อยสลายยากและขยะที่อันตรายที่ได้มาจากกระบวนการจุดพักและคัดแยกขยะ

กิจกรรมหลัก : จัดอบรมการทำปุ๋ยน้ำชีวภาพจากขยะที่เป็นเศษอาหาร ผักและปลาเพื่อนำมาใช้เป็นปุ๋ยในชุมชนi

13,400.00 50 ผลผลิต

มีผู้เข้าร่วมอบรมทำปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพจากขยะ จำนวน 45 คน


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

ชุมชนสามารถนำเศษอาหารมาทำปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ และนำไปใช้กับพืชผลเพื่อลดการใช้ปุ๋ยเคมีได้

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 3 ครั้ง

  1. แกนนำสุขภาพประจำครอบครัว
  2. แกนนำอสม.
  3. ผู้นำชุมชน ผู้นำท้องถิ่น
  4. กลุ่มเด็กและเยาวชน
  5. ประชาชนทั่วไป

รวม 45 คน

13,400.00 13,400.00 50 45 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ชุมชนได้นำขยะเศษอาหาร  ผัก ปลา ผลไม้ นำมาทำเป็นปู่ย สามารถลดขยะอินทรีย์ได้ และสามารถนำขยะมาใช้เป็นประโยชน์ทำปุ๋ยสำหรับต้นไม้

ชุมชนสามารถแบ่งหน้าที่ในการดูแลกองปุ๋ย - ควรรดน้ำสม่ำเสมอไม่ให้กองปุ๋ยแห้งหรือแฉะเกินไป กลับกองปุ๋ยทุก 7-10 วันต่อครั้ง เพื่อเป็นการระบายอากาศ และลดความร้อน จะทำให้ปุ๋ยย่อยสลายได้ดีส่วนปุ๋ยหมักที่เสร็จแล้ว นำไปปรับปรุงดินได้ สีของวัสดุจะเป็นสีน้ำตาลเข็มจนถึงสีดำ ลักษณะของวัสดุ จะอ่อนนุ่มและเปื่อยยุ่ยไม่มีกลิ่นเหม็นหรือกลิ่นฉุน ความร้อนภายในกองปุ๋ยจะใกล้เคียงกับอุณหภูมิภายนอก - คนในชุมชนให้ความร่วมมือในการจัดอบรมครั้งนี้ และมีการนำขยะมาทำเป็นปุ๋ย

1.แกนนำสุขภาพประจำครอบครัว

2.แกนนำอสม.

3.ผู้นำชุมชน ผู้นำท้องถิ่น

4.กลุ่มเด็กและเยาวชน 5.ประชาชนทั่วไป

13,400.00 0.00 50 0 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • มีวิทยากรมาให้คำแนะนำ ซึ๋งเป็นปราชญ์ในชุมชน จำนวน 2 คน - มีหลักสูตรในการทำปุ๋ย และมีการสาธิต
  • คนในชุมชนให้ความร่วมมือในการจัดอบรมครั้งนี้ และมีการนำขยะมาทำเป็นปุ๋ย
  1. แกนนำสุขภาพประจำครอบครัว
  2. แกนนำอสม.
  3. ผู้นำชุมชน ผู้นำท้องถิ่น
  4. กลุ่มเด็กและเยาวชน
  5. ประชาชนทั่วไป
0.00 0.00 50 0 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

วิทยากรมาให้คำแนะนำ ซึ๋งเป็นปราชญ์ในชุมชน จำนวน 2 คน

  1. นาง พิมพ์สนิท สุกสะอาด
  2. นาง สุวัยมาโตน ครองวิธี
  • มีหลักสูตรในการทำปุ๋ย และมีการสาธิต ซึ่งมีสูตรการทำปุ๋ยดังนี้

ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ

ส่วนผสม

  1. ปลา 30 กิโลกรัม
  2. ผัก หรือ ผลไม้ 10 กิโลกรัม
  3. กากน้ำตาล 10 กิโลกรัม
  4. สารเร่ง พ.ด 2 1 ซอง
  5. น้ำ 10 ลิตร


    วิธีทำ
  • ผสมน้ำ 5 ลิตร กับ พ.ด 2  1 ซอง พักไว้ 5 นาที แล้วนำส่วนผสมทั้งหมด ใส่ไว้ในถังหมัก แล้วนำน้ำที่ผสม พ.ด 2 ไว้แล้วใส่ลงไป คนให้เข้ากันแล้วปิดฝาไม่ต้องให้สนิท คนทุกๆ3วันหรือ7วัน พอครบ21วันก็นำมาใช้ได้ ผสมน้ำเปล่า20ลิตรกับน้ำหมัก4ช้อนโต๊ะ ใช้ฉีดใบและลำต้นหรือรดที่โคนต้นไม้ก็ได้

ปุ๋ยหมัก

ส่วนผสม

  1. เศษพืช-เศษหญ้า-ทะลายปาล์ม-ขุยมะพร้าว-ทางปาล์ม 1,000 กิโลกรัม
  2. มูลสัตว์ 200 กิโลกรัม
  3. ปุ๋ยยูเรีย 2 กิโลกรัม
  4. สารเร่ง พ.ด1  1 ซอง
  5. ปุ๋ยน้ำหมัก 1 ลิตรผสมน้ำ10ลิตร


    วิธีทำ

  6. นำเศษวัสดุประมาณ 800 ลิตร กองไว้บนดินเป็นชั้น ช้นแรกกว้าง2*3เมตร สูงประมาณ30-40เซนติเมตร เยียบให้แน่นรดน้ำให้ชุ่ม

  7. นำมูลสัตว์ประมาณ 50 กิโลกรัม โรยไปบนชั้นวัสดุ รดน้ำให้ชุ่ม
  8. นำ พ.ด1 1ซองละลายกับน้ำปุ๋ยหมักแล้วราดลงบนกองวัสดุ
  9. นำวัสดุที่เหลือทับลงไปบนชั้น
  10. ใช้ปุ๋ยยูเรียโรยลงไปให้ทั่ว
  11. นำมูลสัตว์ที่เหลือโรยลงไป

การดูแลกองปุ๋ย

  • ควรรดน้ำสม่ำเสมอไม่ให้กองปุ๋ยแห้งหรือแฉะเกินไป กลับกองปุ๋ยทุก7-10วันต่อครั้งเพื่อเป็นการระบายอากาศ และลดความร้อน จะทำให้ปุ๋ยย่อยสลายได้ดีส่วนปุ๋ยหมักที่เสร็จแล้ว นำไปปรับปรุงดินได้ สีของวัสดุจะเป็นสีน้ำตาลเข็มจนถึงสีดำ ลักษณะของวัสดุ จะอ่อนนุ่มและเปื่อยยุ่ยไม่มีกลิ่นเหม็นหรือกลิ่นฉุน ความร้อนภายในกองปุ๋ยจะใกล้เคียงกับอุณหภูมิภายนอก
  • คนในชุมชนให้ความร่วมมือในการจัดอบรมครั้งนี้ และมีการนำขยะมาทำเป็นปุ๋ย

กิจกรรมหลัก : จัดหาถุงดำไว้สำหรับจุดคัดแยกขยะบริเวณ บ้านเรือนและประจำเรือในกิจกรรม “หนึ่งถุงดำ หนึ่งลำเรือ”i

4,400.00 50 ผลผลิต

มีถุงดำไว้ประจำเรือทุกลำเพื่อจัดเก็บขยะที่เกิดขึ้นในช่วงออกทะเล หรือพบขยะที่ลอยมากับน้ำ


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

ลดขยะในทะเลและลอยมากับน้ำมีการนำขยะกับมายังชุมชนเพื่อจัดการอย่างถูกต้อง

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 1 ครั้ง

คณะกรรมการโครงการ 2 คน

  1. นางสมใจ บุญมาเลิศ
  2. นางสมจิตร  หมัดสอหมัด
4,400.00 4,400.00 2 2 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ในการจัดกิจกรรมมีการแจกถุงดำให้กับคนที่ทำอาชีพประมงโดยแจกให้แบบ 1 ลำเรือ 1 ถุงดำ ก่อนออกจากท่า เมื่อเขากลับเข้ามาบนฝั่ง ก็จะเอาถุงดำทีใส่ขยะนำมาที่จุดพักขยะ เพื่อคัดแยกขยะและสู่กระบวนการต่อไป
  • หมายเหตุ กระบวนการต่อไป คือ เมื่อเก็บรวบรวมขยะจากสถานที่ต่างๆ แล้วจะนำมาที่จุดพักขยะเพื่อคัดแยกขยะอีกครั้ง แล้วนำขยะที่สามารถขายได้ จะนำไปยังธนาคารขยะ และขยะที่เหลือจากขายได้ เช่น ขยะที่ย่อยสลายยาก ขยะอันตราย จะนำไปสู่สุสานขยะ เพื่อกำจัดขยะ
  • ผลจากการจัดกิจกรรม ทำให้มีถุงดำไว้สำหรับคัดแยกขยะ (1 ถุงดำ 1 ลำเรือ) ทำให้สามารถจำกัดขยะได้มากขึ้น เช่น ในเรือก็จะไม่การทิ้งขยะลงสู่ทะเล และมีรายได้เสริมหลังจากการทำงานเสร็จ เมื่อนำขยะที่ขายได้มาขายที่ธนาคารขยะในหมู่บ้าน

กิจกรรมหลัก : แกนนำสุขภาพประจำครอบครัว อสม.ผู้นำชุมชน เด็กและเยาวชน และประชาชนทั่วไปร่วมกันจัดกิจกรรมรณรงค์ทำความสะอาดตามเส้นทางสาธารณะ ทางเดินชมธรรมชาติ ชายหาดและแนวป่าชายเลนในช่วงน้ำขึ้นสูงสุด จำนวน 4 ครั้งi

32,000.00 50 ผลผลิต

มีการจัดกิจกรรมรณรงค์ทำความสะอาดในชุมชนตามเส้นทางสาธารณะ ทางเดินชมธรรมชาติ และชายหาด4 ครั้ง


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

ขยะในชุมชนตามเส้นทางสาธารณะ ทางเดินชมธรรมชาติ และชายหาด ได้ถูกจัดเก็บทำให้ชุมชนสะอาดสวยงาม

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 4 ครั้ง

  1. แกนนำสุขภาพประจำครอบครัว
  2. แกนนำ อสม.
  3. ผู้นำชุมชน ผู้นำท้องถิ่น.
  4. เด็กและเยาวชน
  5. ประชาชาชนทั่วไป
8,000.00 8,000.00 50 45 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ได้แบ่งโซนกันรับผิดชอบทางน้ำ ใช้เรือ 2 ลำเป็นพาหนะในการดำเนินกิจกรรมเก็บขยะบริเวณที่เคยสำรวจครั้งก่อนซึ่งได้ข้อมูลมาแล้ว อีกส่วนหนึ่งเก็บบริเวณเส้นทางในหมู่บ้านและชายหาด  รวบรวมขยะที่้เก็บมาได้มาคัดแยกซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นขยะที่ย่อยสลายยาก เช่น โฟม พลาสติก เชือก อวน ซึ่งเป็นปัญหากับชุมชนมาโดยตลอด
  • ผู้ใหญ่:ได้ให้ข้อเสนอว่า รณรงค์ ครั้งต่อไปจะขอเชิญผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมด้วย เช่น ผู้นำหมู่บ้านใกล้เคียง ผู้ประกอบการโรงงาน แพปลา เรือประมง กระชัง เพื่อให้รับรู้ถึงปัญหาที่มาของขยะ และให้มีมาตการร่วมกันในการจัดการ เพราะเราเป็นหมู่บ้านหนึ่งที่ได้รับผลกระทบโดยตรง แต่ขยะที่เกิดไม่ได้มาจากหมู่บ้านเราเลย ถ้าทำอยู่อย่างนี้ ก็ไม่มีวันที่จะหมดหรือลดลงไป
  • ผู้ช่วยผู้ใหญ๋: เสนอว่าต้องมีรณรงค์ครั้งใหญ่ทำพร้อมกัน และจะเสนอในเวทีประชุมของชมรม กำนัน ผู้ใหญ่
  • เมื่อมีมติกันแล้วก็ได้กล่าวขอบคุณทุกคนที่ให้ความร่วมมือในกิจกรรมครั้งนี้ และได้กำหนดกิจกรรมต่อไปที่จะเกิดขึ้น คือการทำธนาคารขยะ เสร็จแล้วก็ได้แยกย้ายกันกลับ
  • กิจกรรมนี้ชาวบ้านส่วนใหญ่ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี โดยเฉพาะเด็กๆและเยาวชนรุ่นใหม่
  • ผลสรุปในการสำรวจขยะครั้งนี้ ขยะที่มากับน้ำ 80% ขยะภายในครัวเรือน 20% สามารถแยกเป็นขยะรีไซเคิล 50% ย่อยเปียก 20% ขยะอันตราย 30%
  1. แกนนำสุขภาพประจำครอบครัว
  2. แกนนำ อสม.
  3. ผู้นำชุมชน ผู้นำท้องถิ่น.
  4. เด็กและเยาวชน
  5. ประชาชนทั่วไป
8,000.00 8,000.00 50 47 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • กิจกรรมนี้เราได้แบ่งกลุ่มในการสำรวจและเก็บขยะ ทางน้ำและทางบก โดยใช้เรือ 2 ลำในการสำรวจ เริ่มจากต้นน้ำผ่านแพปลาเรือประมง กระชังเลี้ยงปลา โดยขยะส่วนใหญ่เป็นโฟม ถุงพลาสติก เชือก อีกส่วนหนึ่งก็เก็บในหมู่บ้านและบริเวณเส้นทางท่องเที่ยว ชายหาด ได้ร่วมกับเยาวชนต้นกล้าในการรณรงค์ ผลที่ได้ขยะที่มากับน้ำยังไม่ลดและเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ผู้ใหญ่บ้านได้เสนอว่า ครั้งต่อไปจะทำกันทั้งตำบล เพราะถ้าหากเราทำกันอยู่อย่างนี้อีกกี่ปีก็ไม่หมด เพราะคนที่ทิ้งไม่ได้มาเก็บด้วย ทำให้ชุมชนที่ได้รับผลกระทบก็ต้องช่วยเหลือตัวเองและต้องอยู่ให้ได้ เพราะเราเป็นที่อยู่ของขยะพวกนั้น และเก็บขยะทางน้ำ และใช้การเดินเท้าตามเส้นทางทางบก พร้อมทีมงานคณะกรรมการ เด็กๆ และประชาชนทั่วไป ส่วนใหญ่ขยะที่ได้นั้นมาจากทางทางน้ำซึ่งมาติดอยู่บริเวณชายหาดเป็นจำนวนมาก ขยะส่วนใหญ่เป็นโฟม ถุงพลาสติก เชือก เมื่อเราเก็บขยะเสร็จแล้วเราก็นำขยะที่ได้นั้นมาจุดพักขยะและคัดแยกขยะซึ่งเราได้ดำเนินกิจกรรมนั้นมาก่อนหน้านี้ เมื่อเราทำการคัดแยกขยะเสร็จเราจะเชื่อมโยงกับกิจกรรมต่อไป คือขยะที่เราสามารถขายได้เราก็จะนำไปที่ธนาคารขยะ ส่วนขยะที่ขายไม่ได้ เช่นขยะที่เป็นขยะย่อยสลายยาก เราก้อจะนำไปทิ้งที่สุสานขยะ
  • กิจกรรมนี้ชาวบ้านส่วนใหญ่ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี โดยเฉพาะเด็กๆ และเยาวชนรุ่นใหม่
  • ผู้ใหญ่บ้านได้เสนอว่า ครั้งต่อไปจะทำกันทั้งตำบล เพราะถ้าหากเราทำกันอยู่อย่างนี้อีกกี่ปีก็ไม่หมด เพราะคนที่ทิ้งไม่ได้มาเก็บด้วย ทำให้ชุมชนที่ได้รับผลกระทบก็ต้องช่วยเหลือตัวเองและต้องอยู่ให้ได้ เพราะเราเป็นที่อยู่ของขยะพวกนั้น
  1. แกนนำสุขภาพประจำครอบครัว
  2. แกนนำ อสม.
  3. ผู้นำชุมชน ผู้นำท้องถิ่น.
  4. เด็กและเยาวชน
  5. ประชาชนทั่วไป
8,000.00 8,000.00 50 47 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • กิจกรรมนี้เราได้แบ่งกลุ่มในการสำรวจและเก็บขยะ ทางน้ำและทางบก โดยใช้เรือ 2 ลำในการสำรวจและเก็บขยะทางน้ำ และใช้การเดินเท้าตามเส้นทางทางบก พร้อมทีมงานคณะกรรมการ เด็กๆ และประชาชนทั่วไป โดยขยะส่วนใหญ่เป็นโฟม ถุงพลาสติก เชือก อีกส่วนหนึ่งก็เก็บในหมู่บ้านและบริเวณเส้นทางท่องเที่ยว ชายหาด ส่วนใหญ่ขยะที่ได้นั้นมาจากทางทางน้ำซึ่งมาติดอยู่บริเวณชายหาดเป็นจำนวนมาก เมื่อเราเก็บขยะเสร็จแล้วเราก็นำขยะที่ได้นั้นมาจุดพักขยะและคัดแยกขยะซึ่งเราได้ดำเนินกิจกรรมนั้นมาก่อนหน้านี้ เมื่อเราทำการคัดแยกขยะเสร็จเราจะเชื่อมโยงกับกิจกรรมต่อไป คือขยะที่เราสามารถขายได้เราก็จะนำไปที่ธนาคารขยะ ส่วนขยะที่ขายไม่ได้ เช่นขยะที่เป็นขยะย่อยสลายยาก เราก้อจะนำไปทิ้งที่สุสานขยะ
  • กิจกรรมนี้ชาวบ้านส่วนใหญ่ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี โดยเฉพาะเด็กๆ และเยาวชนรุ่นใหม่
  1. แกนนำสุขภาพประจำครอบครัว
  2. แกนนำ อสม.
  3. ผู้นำชุมชน ผู้นำท้องถิ่น.
  4. เด็กและเยาวชน
  5. ประชาชนทั่วไป
8,000.00 8,000.00 50 46 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • กิจกรรมนี้เราได้แบ่งกลุ่มในการสำรวจและเก็บขยะ ทางน้ำและทางบก โดยใช้เรือ 2 ลำในการสำรวจและเก็บขยะทางน้ำ และใช้การเดินเท้าตามเส้นทางทางบก พร้อมทีมงานคณะกรรมการ เด็กๆ และประชาชนทั่วไป ส่วนใหญ่ขยะที่ได้นั้นมาจากทางทางน้ำซึ่งมาติดอยู่บริเวณชายหาดเป็นจำนวนมาก เมื่อเราเก็บขยะเสร็จแล้วเราก็นำขยะที่ได้นั้นมาจุดพักขยะและคัดแยกขยะซึ่งเราได้ดำเนินกิจกรรมนั้นมาก่อนหน้านี้ เมื่อเราทำการคัดแยกขยะเสร็จเราจะเชื่อมโยงกับกิจกรรมต่อไป คือขยะที่เราสามารถขายได้เราก็จะนำไปที่ธนาคารขยะ ส่วนขยะที่ขายไม่ได้ เช่นขยะที่เป็นขยะย่อยสลายยาก เราก้อจะนำไปทิ้งที่สุสานขยะ
  • กิจกรรมนี้ชาวบ้านส่วนใหญ่ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี โดยเฉพาะเด็กๆ และเยาวชนรุ่นใหม่

กิจกรรมหลัก : แกนนำครอบครัว อสม.และผู้นำชุมชนผู้นำท้องถิ่นจัดประชุมเพื่อสรุปและรายงานผลความก้าวหน้าของโครงการi

7,500.00 50 ผลผลิต

แกนนำครอบครัว อสม.และผู้นำชุมชน ผู้นำท้องถิ่นมีการจัดประชุมเพื่อสรุปและรายงานความก้าวหน้าของโครงการ


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

คณะทำงานได้ทราบความก้วหน้าของโครงการ แต่ละกิจกรรม มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และถอดบทเรียน เกิดกลุ่มมัคคุเทศก์น้อย กลุ่มท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ กลุ่มเลี้ยงปูและปลาในกระชัง ธนาคารขยะ ทำให้ชุมชนได้มีการจัดการขยะได้อย่างเป็นระบบ และลดผลกระทบจากปัญหาขยะมีการสร้างงานสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวและทุกคนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการกับปัญหาขยะอย่างเป็นระบบมีแผนที่จะพัฒนาต่อยอดโครงการ และกิจกรรม โดยชุมชนเอง และขอสนับสนุนงบประมาณจากภายนอกเพื่อให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงต่อไป

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 2 ครั้ง

  • แกนนำ อสม.
  • ผู้นำชุมชน
  • แกนนำครอบครัว
7,500.00 7,500.00 50 47 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สรุปผลการดำเนินงานและความก้าวหน้าโครงการ พร้อมประชุมคณะกรรมการ

  • ได้รู้รายละเอียดกิจกรรมที่ดำเนินการไปแล้ว โดยกิจกรรมที่ดำเนินการไปแล้ว ได้แก่
  1. จัดตั้งคณะกรรมการเพื่อจัดการขยะอย่างเป็นระบบ 2) จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทำความเข้าใจในโครงการกับแกนนำสุขภาพประจำครอบครัว อสม.ผู้นำชุมชน เยาวชนและประชาชนทั่วไป
  2. สำรวจเส้นทางขยะ
  3. จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อนำเสนอข้อมูลขยะในชุมชนเพื่อกำหนดแนวทางในการจัดการกับปัญหาขยะในชุมชนร่วมกับผู้นำชุมชน แกนนำสุขภาพประจำครอบครัว ผู้นำชุมชผู้นำท้องถิ่นและ อสม. กำหนดมาตรการทางสังคม กฏกติกาของชุมชน -จัดทีมติดตามตรวจสอบและประเมินผล
  4. จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะ
  5. จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์
  6. จัดสร้างถังขยะประจำบ้านและไว้ใช้ในชุมชน
  7. จัดอบรมการทำปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพ


  • มีการปรับแก้ไขและมีการวางแผนกิจกรรมที่จะดำเนินการต่อ เพื่อให้บรรลุตามจุดประสงค์ โดยมีแผนงาน ดังนี้
  1. มีศูนย์เรียนรู้ หรือกระบวนการเรียนรู้หรือการจัดการความรู้ในชุมชน เช่น ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง
  2. เกิดกลุ่มอาชีพในกลุ่มเยาวชนและเด็ก -เกิดกระบวนการจัดการกับปัญหาขยะอย่างเป็นระบบ -มีการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์เพื่อสร้างงานสร้างรายได้และเกิดวิสากิจ ชุมชน
  1. แกนนำสุขภาพประจำครอบครัว
  2. แกนนำ อสม.
  3. ผู้นำชุมชน ผู้นำท้องถิ่น.
  4. เด็กและเยาวชน
  5. ประชาชนทั่วไป
0.00 0.00 10 8 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สรุปผลการดำเนินงานและความก้าวหน้าโครงการ พร้อมประชุมคณะกรรมการ ชี้แจ้งความก้าวหน้าของโครงการทีมติดตามตรวจสอบและประเมินผล รายงานผลและเสนอแนะเพื่อปรับปรุงแก้ไข โดย นางสมใจ บุญมาเลิศ ได้ชี้แจ้งกิจกรรมโครงการที่ได้ทำไปแล้ว จำนวน 8 กิจกรรม และได้รายงานความก้าวหน้างวดโครงการงวดที่1 ให้กับ สสส แล้ว มีข้อเสนอแนะจากทีมทำงานว่า อยากจะให้ชุมชนใกล้เคียงมีส่วนร่วมในการจัดการกับขยะที่ลอยมากับน้ำและให้มีกฎกติกาหรือว่ามาตราการชุมชนระดับตำบลและบังคับใช้ร่วมกัน

1.ผู้ใหญ่ : ชี้แจงที่ประชุมในเรื่อง

  • ขึ้นทะเบียนแรงงานต่างชาติ
  • วันงานเรือเกาะพระทองส่งประกวดสัตว์
  • ห้ามตัดไม้ทำลายป่า
  • ขอบคุณผู้ที่ไปบริจาคเลือด

2.ผู้ช่วย ผญ.: แจกพันปลาดุกหมู่บ้านละ 2 หลังคาเรือน

  • จากการประชุม ทำให้คนในชุมชนได้รู้รายละเอียดกิจกรรมที่ดำเนินการไปแล้ว และมีการปรับแก้ไขและมีการวางแผนกิจกรรมที่จะดำเนินการต่อ เพื่อให้บรรลุตามจุดประสงค์

กิจกรรมหลัก : จัดอบรมมัคคุเทศi

10,700.00 10 ผลผลิต

เกิดมัคคุเทศน้อย จำนวน 14 คน


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

เด็กๆ ได้รู้จักเส้นทางแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในชุมชน ได้แก่ ป่าพรุ/ป่าชายเลน/ชายหาด/หน้าผาอินทรีย์/วิหารเซียร เด็กสามารถจดจำชื่อของสมุนไพรชนิดต่างๆ ได้และสรรพคุณ วิธีการใช้และสามารถอธิบายผู้อื่นเกี่ยวกับสมุนไพรได้

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 3 ครั้ง

เยาวชน  14 คน

3,900.00 3,900.00 10 14 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

วิทยากรได้่วยกันให้ความรู้เกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของการเป็นมัคคุเทศก์ที่ดีให้กับเยาวชน โดยมีสาระสำคัญ คือ

  • บทบาทหน้าที่ของมัคคุเทศก์ ได้แก่
  1. การเป็นครู
  2. การเป็นนักจิตวิทยา
  3. การเป็นนักแสดง
  4. การเป็นนักการฑูต
  5. นักการตลาด
  6. นักการขาย
  7. นักการประชาสัมพันธ์

คุณสมบัติของมัคคุเทศก์

  • ต้องอดทน
  • มีใจรัก
  • มีบุคลิกภาพที่ดี
  • ตรงต่อเวลา
  • เเก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้

  • บรรยากาศการอบรมครึกครื้นมาก ได้เห็นความสามารถของเด็ก ความสำคัญและคุณสมบัติ ต้องอดทน มีใจรัก มีบุคลิกภาพที่ดี มีทัศนคติที่ดี มนุษย์สัมพันธ์ที่ดี มีความซื่อสัตย์ ตรงต่อเวลา มีไหวพริบ แก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ก

  • เด็กและเยาวชน  14 คน
3,400.00 3,400.00 10 14 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มีอยู่และช่วยกันรักษา ได้แก่

ความสำคัญ

  1. เป็นแหล่งที่มาของวัตถุดินและผลิตผล
  2. เป็นที่รองรับกิจกรรมต่างๆของมนุษย์และช่วยเกื้อกูลให้ชีวิตดำรงอยู่ได้
  3. เป็นแหล่งรองรับของเสียและของเหลือเศษจากขบวนการผลิตและบริโภค
  4. ให้ความรื่นรมย์แก่จิตใจของมนุษย์ เช่น ทิวทัศน์ ภูมิประเทศ ความงามของธรรมชาติ

การรักษา

  1. กำจัดการใช้ที่ไม่จำเป็นหรือมีแน้วโน้มที่จะสูญเปล่า
  2. ดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติที่หายากหรือมีน้อยให็อยู่ในสภาวะที่มาพอเสียก่อน
  3. ผู้ใช้ทรัพยากรทั้งหลายควรตระหนักอยู่เสมอว่าทรัพยากรแต่ละอย่างจะมีความสัมพันธ์ต่อกันยากที่จแยกออกจากกันได้
  4. การเพิ่มผลผลิตของพื้นที่แต่ละแห่งควรจะต้องทำ
  5. รักษาทรัพยากรที่ทดแทนได้ให้มีสภาพเพิ่มพูนเท่ากับของที่ต้องการใช้
  • เด็กๆ ได้รู้ถึงคุณค่าของทรัพยากรในชุมชน ภูมิปัญญาท้องถิ่นต่าง สามารถถ่ายทอดให้ผู้อื่นรับรู้ได้
  • เด็กและเยาวชน จำนวน 14 คน
3,400.00 3,400.00 10 14 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • เด็กๆ ได้รู้จักเส้นทางแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในชุมชน ได้แก่ ป่าพรุ/ป่าชายเลน/ชายหาด/หน้าผาอินทรีย์/วิหารเซียร
  • เด็กสามารถจดจำชื่อของสมุนไพรชนิดต่างๆ ได้และสรรพคุณ วิธีการใช้และสามารถอธิบายผู้อื่นเกี่ยวกับสมุนไพรได้ เช่น
    • ต้นตายปลายเป็น(สังวาลพระอินทร์) เป็นไม้เลื้อย
        ลักษณะเด่นคือ ลำต้นกลมเล็กมีสีเขียวอ่อน ทำหน้าที่แทนใบมีดอกเล็กๆสีเหลืองขึ้นประปราย พบมากในป่าชายเลนหรือที่มีดินทราย   ประโยชน์ทางสมุนไพร  เอาทั้งต้น ต้มน้ำดื่มแก้ไข้(ไข้ใน) แก้โรคนิ่ว โรคไต แก้เข็ดเมื่อย
    • ต้นหัวร้อยรู กระเช้าผีมด ปุมเป้า ร้อยรู ตาลิมา (มลายู – ภาคใต้)ดาลูปู กระเช้าผีมด (สุราษฎร์ธานี)   ลักษณะหัวร้อยรูเป็นไม้อิงอาศัยเกาะต้นไม้อื่น ลำต้นอวบน้ำ ที่โคนต้นโป่งพอง ภายในเป็นช่องเชื่อมติดกันโดยมีผนังหยักผิวมัน สีน้ำตาลเข้ม กั้นเป็นห้องๆ ซึ่งทะลุถึงกัน เป็นที่อาศัยของมดดำ ใบ เป็นใบเดี่ยวออกตรงข้าม รูปรีคล้ายไข่ โคนใบมน ปลายใบมน แผ่นใบหนาเรียบเนียน ก้านใบสั้น ดอก ออกดอกเดี่ยวเป็นกระจุกตามง่ามใบและรอบข้อ ขนาดเล็กไม่มีก้านดอก กลีบดอกสีขาว มี 4 แฉกโคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด ไม่มีก้านชูอับเรณู ผล รูปรี สีเขียว ขนาดเล็กมาก เมื่อสุกเป็นสีแดงใสเต่ง
        สรรพคุณทางสมุนไพร หัว ตำกินถ่ายพยาธิ  บำรุงหัวใจ แก้พิษในกระดูก แก้พิษประดง แก้ปวดเข่า ข้อเท้าปวดบวม รักษาโรคปอด รักษาเบาหวานบำรุงน้ำนม
  • เป็นความสุขอีกอย่างหนึ่งที่ได้ทำงานกับเด็กๆ และมีผู้ปกครองมาร่วมกิจกรรมในวันนี้ด้วย เมื่อทำกิจกรรมเสร็จในเวลา 16.00 น. ได้ให้เด็กๆ ลงเล่นน้ำที่ชายหาดและแยกย้ายกันกลับบ้าน

กิจกรรมหลัก : จัดทำแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น การเลี้ยงปลาและปูนิ่มในกระชังi

5,000.00 10 ผลผลิต

มีแหล่งเรียนรู้ภูมิัปัญญาท้องถิ่นเกี่ยวกับการเลี้ยงปูนิ่มและปลาในกระชัง


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้นจากนักท่องเที่ยวมาชมแหล่งเรียนรู้

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 1 ครั้ง

  • เด็ก เยาวชนและแกนนำ
5,000.00 5,000.00 50 50 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • จัดทำป้ายแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น จำนวน 5 ป้าย เพื่อบอกให้รู้ถึงวิธีการ/ขั้นตอนในการเตรียมการ ได้แก่
  1. การเตรียมพื้นที่/สถานที่ตั้งกระชัง
  2. ขนาดของกระชังแต่ละห้องและความลึก
  3. การเตรียมพันธ์ ปู ปลา ที่จะเอามาลงกระชัง
  4. การดูแลรักษาและให้อาหาร
  5. ระยะเวลาเก็บผลผลิต

วิธีเลี้ยง ปูนิ่ม

  1. ปล่อยปูขนาด 6.5 – 7.5 ซม. จำนวน 1 ตัว/1ตะกร้า
  2. นำตะกร้าปูไปวางเลี้ยงบนแพที่เตรียมไว้ โดยด้านบนของตะกร้า จะเจาะเป็นรูเพื่อให้อาหาร
  3. การให้อาหารให้ปลาเป็ดสับขนาด 1 -2 นิ้ว ให้ตัวละ 1- 2 ชิ้น วันละ 1 ครั้ง ระยะเวลาเลี้ยง ใช้เวลาประมาณ 3 เดือน จึงสามารถเก็บผลผลิตได้ทั้งหมด หลังเลี้ยงได้ 1 เดือน ปูจะลอกคราบเป็นจำนวนมาก การตรวจและเก็บปูนิ่มจะดูทุก 4 ชม. เพราะปูที่ลอกคราบแล้ว 6 ชม. กระดองจะเริ่มแข็ง ไม่สามารถจำหน่ายได้ การสังเกตปูลอกคราบ ในตะกร้าที่มีปู 2 ตัว แสดงว่าปูลอกคราบแล้ว นำปูไปแช่ในน้ำจืดที่สะอาดและใส่ภาชนะบรรจุเก็บที่อุณหภูมิไม่เกินกว่า- 18 องศาเซลเซียส
    การเลี้ยงปลากะรังในกระชัง

  4. การเตรียมพันธุ์ปลา พันธุ์ปลากะรังที่นำมาเลี้ยงเป็นพันธุ์ปลาที่ได้จากการรวบรวมจากธรรมชาติ ถ้าปลาที่รวบรวมได้เป็นปลาขนาด 1 นิ้ว จะต้องนำไปอนุบาลให้ได้ขนาด 4 นิ้วเสียก่อนแต่ปกติแล้วเกษตรกรมักจะรวบรวมลูกปลาโดยใช้ไซหรือลอบ จึงมักจะได้ปลาขนาด 5-7 นิ้วขึ้นไป จึงจะนำไปเลี้ยงในกระชังได้

  5. การจัดปลาลงเลี้ยงในกระชังและอัตราปล่อย การเลี้ยงปลากะรังในกระชังนั้น การจับปลาลงเลี้ยงก็ต้องดำเนินการเช่นเดียวกับการเลี้ยงปลากะพงขาว กล่าวคือ ต้องคัดปลาที่มีขนาดใกล้เคียงกันลงเลี้ยงในกระชังเดียวกัน สำหรับอัตราการปล่อยปลา กรมประมงได้แนะนำให้ปล่อยในอัตรา 15 ตัว/ตารางเมตร ทั้งนี้อัตราการปล่อยปลาได้ถึง 60 ตัว/ตารางเมตร จากการทดลองของกรมประมงได้ผลดีแล้วพบว่า สามารถปล่อยปลาขนาด 4-5 นิ้ว ลงเลี้ยงได้ในอัตรา 75 ตัว/ตารางเมตร
  6. อาหารและการให้อาหาร อาหารที่ใช้เลี้ยงปลากะรังเป็นอาหารจำพวกปลาเป็ดสด ซึ่งส่วนใหญ่นิยมใช้ปลาหลังเขียว การให้อาหารก็ต้องสับปลาสดให้เป็นชิ้นพอดีกับปากปลา และให้อาหารวันละ 2 ครั้ง ในตอนเช้าและตอนเย็นให้จนกระทั่งปลากินอิ่มเช่นเดียวกัน
  7. การเจริญเติบโต ปลากะรังขนาด 4-5 นิ้ว ที่ปล่อยเลี้ยงในกระชังในอัตรา 75 ตัว/ตารางเมตร จะโตได้ขนาดตลาด (400-800 กรัม) ในระยะเวลาเลี้ยง 5-6 เดือน ส่วนการเลี้ยงปลากะรังให้ได้โตขนาด 1.2-1.5 กิโลกรัมนั้น หลังจากเลี้ยงไปได้ 5 เดือนแล้วควรคัดแยกปลาลงเลี้ยงในกระชังที่ตาอวนใหญ่ขึ้น เช่น ขนาดตา 1.5-2 นิ้ว และลดอัตราปล่อยลงเหลือ 40 ตัว/ตารางเมตร ซึ่งจะใช้เวลาเลี้ยง 4-8 เดือน
  • นักท่องเที่ยวมาเพิ่มมากขึ้น
  • ชุมชนมีรายได้เพิ่มจากการรับนักท่องเที่ยว

กิจกรรมหลัก : กำหนดมาตรการทางสังคมและกฏกติกาชุมชนi

0.00 50 ผลผลิต

ชุมชนมีมาตรการทางสังคมและกฎกติกาของชุมชนเกี่ยวกับการจัดการขยะ


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

มีการคืนข้อมูลขยะให้ชุมชนรับทราบขอที่มาของขยะว่าส่วนใหญ่มาจากทะเลซึ่งเป็นขยะที่ลอยมากับน้ำโดยเฉพาะ แพปลา/เรือประมง/โรงงานอุตสาหกรรม/บ้านเรือนที่อยู่ริมน้ำ/กระชังเลี้ยงปลา ตามที่ได้สำรวจมาจากวันที่ 12 พบว่าขยะส่วนใหญ่ที่พบ ได้แก่ ขวด พลาสติก โฟม เชือก หลอดไฟ เนื้ออวน มีแนวทางและกฏกติกาของชุมชนในการจัดการขยะ โดยการทำป้ายกฏกติกาติดตามที่ต่างๆในชุมชน เพื่อบังคับใช้มีกฎระเบียบ

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 0 ครั้ง

กิจกรรมหลัก : จัดกิจกรรมงดสูบบุหรี่ในเดือนรอมาฎอรi

0.00 50 ผลผลิต

ทุกคนงดสูบบุหรี่ในเดือนรอมาฏอร


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

ผู้นำศาสนาและประชาชนทั่วไปที่นับถือศาสนาอิสลามจำนวน 32 คน สามารถลดรายจ่ายจากการสูบบุหรี่ ลดปัญหาสุขภาพ

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 0 ครั้ง

กิจกรรมหลัก : จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อสรุปและรายงานผลโครงการi

8,000.00 50 ผลผลิต

มีการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อสรุปและรายงานผลโครงการ


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

จัดทำรายงานกิจกรรมทั้งหมดที่ได้ดำเนินงานมา เพื่อให้สามารถเห็นผลการดำเนินงานที่ชัดเจน จัดทำภาพถ่าย โดยพยายามใส่ภาพถ่ายกิจกรรมให้ครบถ้วน เพื่อให้เห็นภาพการทำงานที่ชัดเจนมากขึ้น สรุปรายงานการเงิน ค่าใช้จ่าย งบประมาณทั้หมดในรายงาน เพื่อเบิกจ่ายงบประมาณ

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 1 ครั้ง

  1. แกนนำสุขภาพ อสม.
  2. ผู้นำชุมชน ผู้นำท้องถิ่น
8,000.00 8,000.00 50 45 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • 09.00 น. นายสมชาย เสือสมิง ผู้ใหญ่บ้าน ประธานคณะทำงานได้กล่าวเปิดประชุม
  • 10.00 น. นางสมใจ บุญมาเลิศ  ผู้รับผิดชอบโครงการ ชี้แจงรายละเอียดการดำเนินงานความก้าวหน้าโครงการแต่ละกิจกรรม เพื่อให้ทีประุชุมรับทราบ พร้อมได้สรุปโครงการตามวัตถุประสงค์

1.เพื่อให้เกิดกระบวนการจัดการกับปัญหาขยะอย่างเป็นระบบ

มีกิจกรรมการสำรวจข้อมูลขยะในชุมชน ทำให้ชุมชนได้รับทราบสภาพปัญหาขยะ มีข้อมูลสำหรับนำไปประกอบการวางแผนการแก้ไขปัญหาแบบมีส่วนร่วม

1.1 มีการจัดตั้งคณะทำงานเพื่อจัดการขยะ จำนวน 1 ชุด  ซึ่งประกอบด้วย ตัวแทนผู้นำชุมชน ผู้นำท้องถิ่น  แกนนำสุขภาพ อสม. เด็กและเยาวชน
1.3 ครัวเรือนมีการคัดแยกขยะและนำเข้าสู่กระบวนการจัดการอย่างถูกต้อง  จำนวน 20 ครัวเรือน คิดเป็น ร้อยละ 66.67 โดยได้รับการอบรมให้ความรู้จากวิทยากรชุมชนต้นแบบ 1.4 ปริมาณขยะในชุมชนลดลง จากเดิมแรกเริ่มสำรวจข้อมูลขยะในชุมชนพบว่าขยะที่พบมากที่สุด คือ ขยะที่ลอยมากับน้ำ ขยะบริเวณเส้นทางสาธารณะ และขยะในครัวเรือน ตามลำดับ  หลังจากดำเนินโครงการ พบว่าขยะในครัวเรือน และขยะในบริเวณเส้นทางสาธารณะลดลงจากการคัดแยก การจัดเก็บและนำเข้าสู่กระบวนการจัดการของชุมชน แต่ยังคงพบขยะที่ลอยมากับน้ำเหมือนเดิม

2.ส่งเสริมการสร้างงานสร้างรายได้ในชุมชน

2.1 ครัวเรือนสามารถเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ จากกิจกรรมนำเที่ยวแหล่งเรียนรู้ในกระชัง เรือนำเที่ยว บ้านพักโฮมสเตย์และเดินป่าชมธรรมชาติ จำนวน 10 ครัวเรือน คิดเป็น ร้อยละ 16.67
2.2 ครัวเรือนมีรายได้จากการเลี้ยงปลาและปูในกระชังเพิ่มขึ้น จำนวน 5 ครัวเรือน คิดเป็น ร้อยละ 100 เนื่องจากสภาพแวดล้อมบริเวณกระชังดีขึ้น ปลาและปูเสียหายตายน้อยลง  และมีรายได้จากการต้อนรับนักท่องเที่ยวที่มาแวะเยี่ยมแหล่งเรียนรู่ในกระชัง

3.เพื่อสนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพเกี่ยวกับการบริโภคสุราและบุหรี่

3.1 สมาชิกในชุมชนดื่มสุราและสูบบุหรี่ลดลง ร้อยละ 20

จากการดำเนินงานโครงการพบว่า ปกติในช่วงเดือนรอมาฎรจะมีผู้ที่สูบบุหรี่อยู่บ้าง  แต่ในปีนี้เมื่อได้จัดกิจกรรมโครงการและได้สร้างกระแสได้มีการปฏิญาณตนงดการสูบบุหรีพร้อมกันทุกคน

  • คณะทำงานได้ทราบความก้วหน้าของโครงการ แต่ละกิจกรรม มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และถอดบทเรียน เกิดกลุ่มมัคคุเทศก์น้อย กลุ่มท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ กลุ่มเลี้ยงปูและปลาในกระชัง ธนาคารขยะ ทำให้ชุมชนได้มีการจัดการขยะได้อย่างเป็นระบบ และลดผลกระทบจากปัญหาขยะ  มีการสร้างงานสร้างรายได้จากการท่องเที่ยว  และทุกคนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการกับปัญหาขยะอย่างเป็นระบบ  มีแผนที่จะพัฒนาต่อยอดโครงการ และกิจกรรม โดยชุมชนเอง และขอสนับสนุนงบประมาณจากภายนอกเพื่อให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงต่อไป
2.3.1 นวัตกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ

(นวัตกรรมคือ การจัดการความคิด กระบวนการ ผลผลิต และ/หรือเทคโนโลยีที่เหมาะสม มาใช้งานให้เกิดประสิทธิผล และ/หรือประสิทธิภาพมากกว่าเดิมอย่างชัดเจน)

ชื่อนวัตกรรมคุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรมผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์
2.3.2 โครงการเด่น (Best Practice)

(โครงการเดิ่น คือ โครงการสร้างเสริมสุขภาพให้สัมฤทธิ์ผลที่เป็นรูปธรรมแล้วขยายผลอย่างยั่งยืน โดยแนวคิดกระบวนการ และผลงาน สามารถเป็นตัวอย่างที่จะนำไปขยายผลในชุมชน (Setting) อื่น ๆ ได้ การดำเนินงานมีส่วนร่วมของภาคีที่หลากหลาย มีการบริหารจัดการที่ดี โปร่งใสและตรวจสอบได้)

ชื่อ Best Practiceวิธีการทำให้เกิด Best Practiceผลของ Best Practice / การนำไปใช้ประโยชน์
2.3.3 เกิดแกนนำ/ผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านการสร้างเสริมสุขภาพในประเด็นต่าง ๆ
ชื่อ-สกุลที่อยู่ติดต่อได้สะดวกคุณสมบัติแกนนำ/ผู้นำการเปลี่ยนแปลง
2.3.4 มีสภาพแวดล้อมและปัจจัยทางสังคมที่เอื้อต่อสุขภาพ

เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อสุขภาพในชุมชนพื้นที่โครงการดังนี้

สถานที่/พื้นที่ ที่เปลี่ยนแปลงรายละเอียดการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

ส่วนที่ 3 : ปัญหาและอุปสรรคสำคัญที่มีผลกระทบต่อการดำเนินงาน

3.1 การดำเนินงานกจิกรรม/กลุ่มเป้าหมาย/ระยะเวลาดำเนินงาน/การดำเนินงาน/งบประมาณ
ประเด็นปัญหา/อุปสรรคการแก้ไขของผู้รับทุนข้อเสนอแนะ/การแก้ไขปัญหาและการเสริมพลังของผู้ติดตาม
3.2 การดำเนินงานกจิกรรม/กลุ่มเป้าหมาย/ระยะเวลาดำเนินงาน/การดำเนินงาน/งบประมาณ
ประเภทความเสี่ยง / ปัจจัยเสี่ยงระดับความเสี่ยง
(จากมากไปหาน้อย)
ข้อมูล ข้อสังเกตุ และข้อคิดเห็นของผู้ติดตาม
3210
1. ความเสี่ยงด้านการดำเนินงาน (Operational Risks)
1.1 โครงสร้างการดำเนินงาน

 

1.2 ศักยภาพและทักษะการดำเนินงาน

 

1.3 ผลลัพธ์และผลสำเร็จของการดำเนินงาน

 

2. ความเสี่ยงทางการเงิน (Financial Risks)
2.1 ระบบและกลไกการบริหารจัดการ

 

2.2 การใช้จ่ายเงิน

 

2.3 หลักฐานการเงิน

 

ผลรวม 0 0 0 0
ผลรวมทั้งหมด 0 ระดับความเสี่ยง : ???
เกณฑ์วัดระดับความเสี่ยง ???
สรุปการแก้ไขความเสี่ยง แก้ไขแล้ว ยังไม่ได้แก้ไข

ส่วนที่ 4 : สรุปความเห็นของผู้ติดตาม

ส่วนที่ 4สรุปความเห็นของผู้ติดตาม
4.1 กรณีเบิกเงินงวด/ติดตามเยี่ยมชม มีแนวโน้มสำเร็จตามเป้าหมายโครงการและติดตามปกติ
การวิเคราะห์ผลการดำเนินงานโครงการและสรุปข้อคิดเห็น

ผลการดำเนินการเป็นไปตามเป้าหมาย เห็นควรสนับสนุน

มีแนวโน้มเสี่ยง ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด เนื่องจาก
การวิเคราะห์ผลการดำเนินงานโครงการและสรุปข้อคิดเห็น

 

มีความเสี่ยง ต้องยุติโครงการ เนื่องจาก
4.2 กรณีสรุปปิดโครงการ ดำเนินงานได้ตามแผนปฏิบัติการและสามารถปิดโครงการได้
สรุปผลภาพรวมการดำเนินงาน-การเงินโครงการและข้อคิดเห็น

 

ไม่เป็นไปตามแผนปฏิบัติการ ให้ดำเนินการจัดระบบการเงิน ระบบรายงานให้ถูกต้องก่อนปิดโครงการ
สรุปผลภาพรวมการดำเนินงาน-การเงินโครงการและข้อคิดเห็น

 

ส่วนที่ 5 : สรุปภาพรวมของการติดตามประจำงวด (ข้อสังเกต/สิ่งดีๆ ที่ค้นพบ/ข้อพึงระวัง/บทเรียนที่ได้)

ชุมชนมรความสามัคคี ตั้ใจดำเนินกิจกรรม เพื่อลดขยะในชุมชนได้เป็นผลสำเร็จ สร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชนในการตระหนักคิดเรื่องการจัดการขยะ สร้างระบบกลไกการติดตามการทำงานเกิดขึ้นในชุมชน สิ่งดีๆ ที่สำเร็จคือความร่วมมือ ร่วมใจในการทำงานร่วมกัน

สร้างรายงานโดย Yuttipong Kaewtong