แบบบันทึกการติดตามสนับสนุนโครงการ ครั้งที่ 2

รหัสโครงการ 57-01518
สัญญาเลขที่ 57-00-0930

ชื่อโครงการ ศรีท่าน้ำสุขภาวะดี วิถีพอเพียง
รหัสโครงการ 57-01518 สัญญาเลขที่ 57-00-0930
ระยะเวลาตามสัญญา 1 มิถุนายน 2014 - 30 มิถุนายน 2015

ส่วนที่ 1 : ข้อมูลเบื้องต้นการติดตาม

1.1 ข้อมูลเบื้องต้นการติดตาม
ชื่อสกุลผู้ติดตาม 1 นายสุวิทย์ หมาดอะดำ
ชื่อสกุลผู้ติดตาม 2
วันที่ลงพื้นที่ติดตาม 15 เมษายน 2015
วันที่ส่งรายงานถึง สสส. 30 เมษายน 2015
1.2 ผู้ให้ข้อมูล
ลำดับชื่อ-สกุลผู้ให้ข้อมูลที่อยู่หมายเลขโทรศัพท์
1 นายริซกี สาร๊ะ รพ.สต.บ้านศรีท่าน้ำ ต.ธารโต อ.ธารโต จ.ยะลา 0813882683
2 นายฮาซัน อาแด 39 หมู่ 4 ต.ธารโต อ.ธารโต จ.ยะลา 0898795290
3 นางมยุรดี ลิแจ 25 หมู่ 4 ต.ธารโต อ.ธารโต จ.ยะลา 0848599193

ส่วนที่ 2 : ข้อมูลโครงการและความก้าวหน้าการดำเนินงาน

2.1 วัตถุประสงค์และตัวชี้วัดความสำเร็จโครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ตัวชี้วัดความสำเร็จ

1.

เพื่อสร้างกลไกให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็งมีความสามัคคีร่วมแรงร่วมใจจากทุกภาคส่วนในการแก้ปัญหาชุมชน

เชิงปริมาณ

1.1 มีสภาซูรอขับเคลื่อนสุขภาวะชุมชน ร่วมคิด วิเคราะห์ และแก้ปัญหาชุมชน จำนวน 35 คน 1.2สร้างเยาวชนสุขภาพดี วิถีพอเพียง 40 คน 1.3เกิดแผนสุขภาวะชุมชน

เชิงคุณภาพ 1.1 มีสภาซูรอคอยขับเคลื่อนแผนสุขภาวะชุมชน 1.2 เยาวชนมีจิตสำนึกรักการออม 1.3 เป็นหมู่บ้านเอื้ออาทรช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

2.

ชุมชนใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงในการลดรายจ่ายครัวเรือน

เชิงปริมาณ

2.1 สรรหานวตกรรมด้านสุขภาพมาใช้กับผู้พิการผู้สูงอายุ 2.2 ชุมชนมีการใช้พื้นที่สาธารณะ ทำโครงการอาหารกลางวันเด็กตาดีกา 2.3 ครัวเรือนลด ละ เลิกการสูบบุหรี่ ลดรายจ่ายมากกว่า20 ครัวเรือน

เชิงคุณภาพ 2.1 ครัวเรือนมีการค้นพบตัวเองด้านเศรษฐกิจโดยบัญชีครัวเรือน 2.2 ปัญหาสุขภาพที่เกิดจากบุหรี่ลดลง

3.

ชุมชนใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงในการเพิ่มรายได้ครัวเรือน

เชิงปริมาณ

3.1ชุมชนมีแปลงสาธิตเกษตรอินทรีย์ จำนวน 3 แปลง 3.2 ชุมชนมีกิจกรรมแปรรูปผลิตผลทางการเกษตร 3.3 ชุมชนมีกิจกรรมส่งเสริมการออม

เชิงคุณภาพ 3.1 ครัวเรือนมีพืชผักสวนครัวปลอดสารพิษไว้กินเอง/ขาย/แปรรูป
3.2 ครัวเรือนใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงในการดำรงชีวิต 3.3 ชุมชนมีกิจกรรมการสะสมทุน เพื่อการประกอบอาชีพ

4.

เพื่อการบริหารจัดการติดตามประเมินผล

เชิงปริมาณ

1.เพื่อใช้ในการปฐมนิเทศโครงการ  ติดตามงานตามโครงการ 2.มีกิจกรรมจัดทำป้ายเขตปลอดบุหรี่ 3.มีการสรุปปิดโครงการ

2.2 ความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ
กลุ่มเป้าหมายงบประมาณผลการจัดกิจกรรมเชิงปริมาณผลการจัดกิจกรรมเชิงคุณภาพ/สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ
ที่ตั้งไว้(บาท)เกิดขึ้นจริง(บาท)จำนวนที่ตั้งไว้(คน)จำนวนเกิดขึ้นจริง(คน)

กิจกรรมหลัก : ปฐมนิเทศโครงการi

1,000.00 2 ผลผลิต

ผู้รับผิดชอบโครงการจำนวน 2 คน


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

ทำให้ผู้รับผิดชอบโครงการมีความเข้าใจการบริหารจัดการโครงการให้ประสบความสำเร็จมากขึ้น

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 1 ครั้ง

นายริซกี  สาร๊ะ  ผู้ประสานงานโครงการ  นางมยุรดี  ลิแจ  การเงินโครงการ  นางซาบีเราะ จูนิ  ทีมงานโครงการ และนางซูไวบะ  ดาโอะ  ทีมงานโครงการ

1,000.00 3,248.00 2 4 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้รับรู้ขั้นตอนการบริหารจัดการโครงการ 2.ได้ลงข้อมูลกิจกรรมโครงการในเวปไซต์ 3.ได้รู้แนวทางการส่งรายงานการดำเนินโครงการ 4.ได้คู่มือและเอกสารการดำเนินงานโครงการ 5.เข้าใจระบบการทำงานโครงการและการเงินที่ถุกต้องและเป็นระบบมากขึ้น

กิจกรรมหลัก : กิจกรรมจัดทำป้ายเขตปลอดบุหรี่i

1,000.00 2 ผลผลิต

มีป้ายปลอดบุหรี่ติดในสถานที่จัดโครงการและสถานที่สาธารณะ


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

เป็นการณรงค์ทำให้ผู้คนในชุมชนเห็นความสำคัญและลดละเลิกบุหรี่

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 1 ครั้ง

คณะทำงาน

1,000.00 1,000.00 5 5 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.คนในชุมชนทราบถึงการประชาสัมพันธ์การงดสูบบุหรี่ 2.การประสัมพันธ์ในเรื่องนี้ใช้ในทุกกิจกรรมของชุมชน เพื่อให้เกิดการบอกต่อให้มากที่สุด 3.ผู้รับผิดชอบโครงการชี้แจงผู้จัดทำป้ายการประชาสัมพันธ์การรณรงค์ลดสูบบุหรี่ให้ผู้จัดทำทราบถึงขนาดและความต้องการพร้อมทั้งชี้แจงงบประมาณที่สสส.สนับสนุนให้จัดทำแผ่นป้ายเพื่อผู้จัดทำจะได้เข้าใจตรงกันและลดความผิดพลาดโดยผู้ทำป้ายได้นัดวันที่เอาป้ายคือหนึ่งสัปดาห์นับจากวันที่สั่งทำ

กิจกรรมหลัก : กิจกรรมหนุนเสริมติดตามการดำเนินงานโครงการในพื้นที่ ของสจรสi

10,000.00 5 ผลผลิต

ผู้รับผิดชอบและแกนนำชุมชน เข้าร่วมกิจกรรมหนุนเสริม


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

ได้มีการติดตามความก้าวหน้าของกิจกรรมภายใต้โครงการ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้สนับสนุนวิชาการของจังหวัด

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 6 ครั้ง

ผู้รับผิดชอบโครงการ และฝ่ายการเงินโครงการ

0.00 500.00 2 2 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คืนเงินค่าเปิดบัญชีธนาคาร

ตัวแทนของโครงการ มีผู้รับผิดชอบหลักโครงการ1 คน และผู้รับผิดชอบการเงินโครงการ1 คน

1,152.00 0.00 2 2 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.ผู้รับผิดชอบโครงการได้ดำเนินกิจกรรมตามแผนที่วางไว้
2. ผู้รับผิดชอบโครงการยังมีปัญหาเรื่องสถานที่สำหรับการจัดศึกษาดูงาน 3. ผู้รับผิดชอบโครงการได้ปรับแก้ข้อมูลเบื้องต้นของโครงการ เช่น การแบ่งงวดงานและการปรับโครงการให้ตรงตามสัญญา 3. ผู้รับผิดชอบได้รับรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับการทำเอกสารการเงินของโครงการ

มีผู้รับผิดชอบหลักโครงการ1 คน และผู้รับผิดชอบการเงินโครงการ1 คน

700.00 680.00 2 2 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.ได้ปรับแก้ข้อมูลเบื้องต้นของโครงการ เช่น การแบ่งงวดงานและการปรับโครงการให้ตรงตามสัญญา
2.ได้รับรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับการทำเอกสารการเงินของโครงการ

จำนวนกลุ่มเป้าหมายที่ตั้งไว้ 2 คน

4,249.00 5,124.00 2 2 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

จัดทำรายงานปิดงวด 1 โดยมีเอกสารนำส่ง คือ ส.1,ส.2,ง.1และสำเนาสมุดเงินฝากบัญชีธนาคาร พร้อมทั้งตรวจสอบเอกสารบิลค่าใช้จ่ายในกิจกรรมโดยเจ้าหน้าที่ สจรส.มอ.และพี่เลี้ยง

นายริซกี  สาร๊ะ  ผู้ประสานงานโครงการ  นางมยุรดี  ลิแจ  การเงินโครงการ

1,700.00 420.00 2 2 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.ทำกิจกรรมตามโครงการได้ครบถ้วน 2.หลักฐานรายงานทางการเงินตรงตามกิจกรรม 3.เพิ่มเติมการคีย์ข้อมูลในเว็บไซต์คนใต้สร้างสุขให้สมบูรณ์

หัวหน้าผู้รับผิดชอบโครงการและเจ้าหน้าที่การเงินโครงการ

2,199.00 0.00 2 2 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

พบว่าโครงการยังรายงานกิจกรรมในเวปไซต์ยังไม่เรียบร้อย และเอกสารการเงินก็ไม่เรียบร้อย จึงให้คำแนะนำเพื่อการแก้ไข

กิจกรรมหลัก : เปิดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เสวนาแก้ไขปัญหาชุมชนi

8,300.00 70 ผลผลิต

เกิดเวทีและมีการชี้แจงกิจกรรมกับชุมชน จำนวน 2 ครั้ง


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนของคนในชุมชนต่อการแก้ปัญหาของชุมชน โดยใช้กิจกรรมที่ได้รับจาก สสส.เป็นแนวทางหลัก

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 2 ครั้ง

  1. แกนนำกลุ่มแม่บ้าน จำนวน 15 คน
  2. แกนนำนักเรียนในโรงเรียน จำนวน 15 คน
  3. แกนนำชุมชน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ครู เจ้าหน้าที่ความมั่นคง จำนวน  10 คน
  4. คณะทำงาน จำนวน 10 คน
0.00 0.00 0 50 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้รับฟังการชี้แจงการดำเนินการโครงการ และระบบการติดตามของพี่เลี้ยง
  2. ผู้เข้าร่วมได้แบ่งกลุ่มและจัดตั้งผู้ประสานกลุ่มเพื่อเตรียมตัวการเข้าร่วมกิจกรรมของโครงการ

คณะทำงาน5คน,แกนนำชุมชน 5คน,กลุ่มสตรี 20 คน ,ผู้สุงอายุ 15 คน,เยาวชน 15 คน ตัวแทนครอบครัวที่เข้าร่วมกิจกรรม 10คน และมีผู้สนใจ 50 คน และทหารชุดพัฒนาสันติ 20 นาย

8,300.00 8,300.00 80 120 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

•ผู้เข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้ 120 คน .คนในชุมชนมีความเข้าใจในการดำเนินโครงการฯ
.เกิดการมีส่วนร่วมของภาคีต่างๆ ทั้งภาคประชาชน,หน่วยงานรัฐและแกนนำชุมชน

กิจกรรมหลัก : การจัดทำข้อมูลชุมชนi

8,000.00 35 ผลผลิต

แกนนำชุมชนและกลุ่มเป้าหมายจำนวน 35 คน


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

ชุมชนได้รู้สถานการณ์ปัญหาของชุมชนเอง โดยมาจากการจัดเก็บข้อมูลที่เป็นระบบถูกต้อง และทำให้เกิดการรับรู้ในวงกว้าง และเป็นการสร้างแนวร่วมความคิดต่อการแก้ไขปัญหาชุมชน

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 1 ครั้ง

คณะทำงาน 5  คน ผู้สนใจ 30 คน

8,000.00 8,500.00 35 35 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เกิดข้อมูลด้านอาชีพ รายรับ-รายจ่ายของครัวเรือน และชุมชน นำไปสูการวิเคราะห์ ชี้ให้เห็นสถานการณ์ด้านการเงินและการดำรงชีวิตของคนในชุมชนจนนำไปสู่ การแก้ไขปัญหาและการปรับตัวในการดำรงชีวิตอย่างพอเพียง มีกิน มีใช้ และใช้ชีวิตอย่างมีสติ

พบว่ามีครัวเรือนเพิ่มขึ้นจาก 113 ครัวเรือนเป็น135 ครัวเรือนอาชีพหลักของประชาชน คือกรีดยางกับสวนผลไม้โดยพบว่าร้อยละ 38.51(52 ครัวเรือน)เป็นลูกจ้าง (รับจ้างกรีดยาง,รับจ้างตัดหญ้าในสวน,รับจ้างขนขี้ยางไปขายในตัวเมือง)ประชาชนส่วนใหญ่มีรายได้3000-5000 ต่อเดือนและจะมีรายได้เพิ่มขึ้นอีกครั้งในช่วงฤดุผลไม้(จากการขายผลไม้หรือรับจ้างตัดผลไม้)ส่วนใหญ่เป้นหนี้ผ่อนรถไฟแนนซ์หนี้สหกรณ์การเกษตรธารโตและหนี้ธนาคารไม่มีหนี้บัตรเครดิต

ช่วงที่ภาวะการเงินไม่คล่องตัว คือช่วงเปิดเทอมของนักเรียนโดยเด้กนักเรียนส่วนใหน่เรียนประถมในหมุ่บ้านจากนั้นส่วนใหญจะไปเรียนต่อในโรงเรียนปอเนาะบางส่วนไม่เรียนต่อ

ในชุมชนยังไม่มีแหล่งออมบางส่วนไปออมที่สหกรณ์การเกษตรธารโต สหกรณ์อิสลาม หรือธนาคารของรัฐ

การเก็บข้อมูลให้ชุมชน มีการนัดประชาชน และตัวแทนกลุ่มต่างออกมาให้ความเห็นและข้อเสนอแนะที่ศาลาประชาคมหมู่บ้านได้รับข้อมูลเพื่อไปนำเสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น อบต. ส่วนราชการต่างๆ เช่นสาธารณสุข เกษตร ประมง พัฒนาชุมชน และที่ว่าการอำเภอ

การคืนข้อมูล ชุมชนจะมีการชี้แจงกับชุมชนและกลุ่มต่างๆในกิจกรรมต่างๆของชุมชน และหลังสิ้นสุดโครงการ จะมีการนัดอีกครั้งที่ รพ.สต.บ้านศรีท่าน้ำเพื่อถอดบทเรียนโครงการ

กิจกรรมหลัก : กิจกรรมนำกลุ่มเป้าหมาย ไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้ พร้อมพูดคุยวางแผน การจัดการให้เหมาะสมกับชุมชนi

39,200.00 35 ผลผลิต

เกิดการศึกษาดูงาน 1 ครั้ง โดยมีกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วม 35 คน


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

เกิดการแลกเปลี่ยน ความรู้และประสบการณ์ของคณะทำงานชุมชน และได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้ามพื้นที่ ทำให้เกิดแรงผลักดันให้มีการต้องการพัฒนาชุมชนของตนเอง

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 1 ครั้ง

เยาวชน 8 ท่าน กลุ่มสตรี 13 ท่าน ผู้สูงอายุ 8 ท่าน ผู้นำชุมชน 3 ท่าน ผู้นำศาสนา 1 ท่าน เจ้าหน้าท่ีสาธารณสุข 2 ท่าน

39,200.00 39,200.00 35 35 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างชุมชน 2.เกิดมุมมองใหม่ๆในการจัดการชุมชน  การนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิต  การออม การทำกองทุนในชุมชน 3.เกิดความรักความสามัคคีในคณะศึกษาดูงาน

กิจกรรมหลัก : การประชุมคณะทำงานและสภาซูรอi

8,400.00 35 ผลผลิต

มีการประชุมประจำเดือนของสภาผู้นำชุมชน


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

เป็นการติดตามการทำงานของโครงการและเป็นวงแลกเปลี่ยนการแก้ไขปัญหาของชุมชน

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 12 ครั้ง

1.คณะทำงาน5คน 2.แกนนำชุมชน 6คน 3.กลุ่มสตรี 8 คน
4.ผู้สุงอายุ 8 คน 5.เยาวชน 8 คน

700.00 700.00 35 35 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

จากการดำเนินกิจกรรมนี้ได้ผลสรุปเกี่ยวกับกระบวนการและขั้นตอนในการดำเนินโครงการฯดังนี้: -
1. ควรประชุมชี้แจงโครงการและกิจกรรมในกลุ่มสตรี ผู้สูงอายุ เยาวชน กรรมการมัสยิด  เพื่อหาข้อคิดเห็นที่หลากหลายในการนำไปสุ่ชุมชนสุขภาวะดี 2. ร่วมทำแผนการปฏิบัติงานกิจกรรมต่างๆตามโครงการ 3. จัดเวทีประชาคมในชุมชน นำเสนอแผนงานให้กับคนทั้งชุมชนได้รับรู้อีกทั้งให้ชุมชนร่วมกันคิด ร่วมกันเสนอความคิดเห็น  และกำหนดข้อตกลงร่วมกันเพื่อจะได้ร่วมมือกันทำงานตามแผน
4. ดำเนินกิจกรรมตามแผน  โดยเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน  ร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน
5. คณะทำงานร่วมกันติดตามและประเมินผลเป็นระยะๆ ในแต่ละกิจกรรม เป็นไปตามแผนหรือไม่ มีปัญหา อุปสรรค และต้องปรับปรุงการดำเนินงานอะไรบ้าง สุดท้ายทำเสร็จแล้วจะได้คุณค่าอะไรบ้าง
6.จัดเวทีชุมชนเพื่อสรุปงานและแผนงานต่อไป โดยเริ่มจากการนำเสนอผลการประเมินที่แสดงให้เห็นว่า หลังจากดำเนินงานแล้วเกิดผลอย่างไรบ้าง จะต่อยอดอย่างไร ขณะเดียวกันชุมชนได้ประโยชน์อย่างไรบ้าง เกิดการพัฒนาไปในทิศทางใด ต้องทำกิจกรรมใดอีกที่จะทำให้ชุมชนมีความเข้มแข็งอย่างต่อเนื่องมากขึ้น

คณะทำงาน5คน กลุ่มสตรี 30 คน
ผู้สนใจ 20 คน

700.00 700.00 35 35 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

จากการดำเนินกิจกรรมนี้ได้ผลสรุปเกี่ยวกับกระบวนการและขั้นตอนในการดำเนินโครงการฯดังนี้: -
1. สรรหาวิทยากรในชุมชน ก่อนหาวิทยากรภายนอก  เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันภายในชุมชนก่อน
2.  จัดกิจกรรม เช่นลานนวดเท้าเพื่อสุขภาพ  แปลงสมุนไพรเพื่อสุขภาพ  น้ำสมุนไพรหรือผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อสุขภาพ  การทำน้ำ EM  ฯลฯ 3. ร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้  และพัฒนากิจกรรมให้เกิดอย่างต่อเนื่อง 4. ขยายผลกิจกรรมหรือผลิตภัณฑ์ให้กระจายไปสูกิจกรรมอื่นๆด้วย เพื่อให้กิจกรรมหรือผลิตภัณฑ์เป็นที่รู้จักมากขึ้น

คณะทำงาน5คน,กรรมการมัสยิด 10 คน,ผู้สนใจ 20 คน

700.00 700.00 35 35 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.กรรมการมัสยิดเข้าใจในโครงการมากขึ้น 2.ข้อคิดเห็นต่างๆเช่น   การมีลานกีฬา หรือลานสุขภาพในมัสยิดและรร.ตาดีกา   การดูแลความสะอาดในมัสยิดและรร.ตาดีกา   การสนับสนุนกิจกรรมของมัสยิดและรร.ตาดีกา เช่น อาซูรอ เมาลิด  การละศิลอดร่วมกัน   การปลูกพืชผัก สมุนไพร เพื่ออาหารกลางวน เด็กตาดีกา       ฯลฯ 3.ผุ้เข้าร่วมประชุมได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทมัสยิดเป็นศูนย์กลางสภาซูรอของชุมชน 4.ชุมชนมีความสัมพันธ์ พูดคุยซึ่งกันและกัน

คณะทำงาน5คน,ผู้สูงอายุ  20 คน,ผู้สนใจ 10 คน

700.00 700.00 35 35 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

จากการดำเนินกิจกรรมนี้ได้ผลสรุปเกี่ยวกับกระบวนการและขั้นตอนในการดำเนินโครงการฯดังนี้: -
1. ค้นหาผู้สูงอายุ  ผ้พิการ  ผู้ด้อยโอกาสในชุมชน
2. จัดกิจกรรม เช่น เยี่ยมเยียนผู้สูงอายุ ผู้พิการ  ผู้ด้อยโอกาสในชุมชน
กิจกรรมพบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้สูงอายุกับเยาวชนเพื่อลดช่องว่างระหว่างวัย
สนับสนุนพันธ์ผัก พันธ์สมุนไพรแก่ผู้สูงอายุ ผู้พิการ  ผู้ด้อยโอกาสในชุมชน
  แจกจ่ายผลิตภัณฑ์สมุนไพร(ของกลุ่มสตรี)ให้ผู้สูงอายุ
ให้ผู้สูงอายุเป็นวิทยากร เป็นแกนนำในกิจกรรมทางศาสนาวัฒนธรรม 3. ร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้  และพัฒนากิจกรรมให้เกิดอย่างต่อเนื่อง

คณะทำงาน5คน,เยาวชน 40 คน ผู้สนใจ 5 คน

700.00 700.00 30 35 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.เยาวชนเข้าใจในโครงการมากขึ้น 2.ข้อคิดเห็นต่างๆเช่น   การมีกิจกรรมกีฬาในชุมชน การแลกเปลี่ยนเรียนรู้นอกสถานที่ของเยาวชน การอบรมยาเสพติด ฯลฯ 3.ผุ้เข้าร่วมประชุมได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทมัสยิดเป็นศูนย์กลางสภาซูรอของชุมชน 4.เยาวชนมีกิจกรรมร่วมกับชุมชน  มีการพูดคุยซึ่งกันและกัน

เยาวชน 8 ท่าน กลุ่มสตรี 12 ท่าน ผู้สูงอายุ 8 ท่าน ผู้นำชุมชน 3 ท่าน ผู้นำศาสนา 1 ท่าน ครู 1 ท่าน เจ้าหน้าท่ีสาธารณสุข 2 ท่าน

700.00 700.00 35 35 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.ได้สรรหาสถานที่ศึกษาดูงาน 2.ได้กำหนดกิจกรรมในศึกษาดูงาน 3.ได้ชี้แจงการประสานงานที่พัก  อาหาร วิทยากร ในการศึกษาดูงาน

คณะทำงาน

700.00 700.00 35 35 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผู้ใหญ่เยาวชนและทหาร ได้ทำกิจกรรมด้วยกันเกิดความสัมพันธ์ระหว่างวัยที่แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น

•ผู้ใหญ่ได้ทำตัวอย่างการทำสิ่งที่ดีๆให้เด็กและชุมชนเห็น เอาไปเป็นเยี่ยงอย่าง

•เด็กเยาวชนเกิดความรู้สึกภาคภูมิใจที่ได้ช่วยเหลือผู้อื่น และอยากทำความดีแบบนี้อีก

คณะทำงาน5คน,เยาวชน 10 คน ผู้สูงอายุ10 คน กลุ่มสตรี 10 คน

700.00 700.00 35 35 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

•สมาชิกสภาซูรอได้รับแรงกระตุ้นการทำงาน ได้รับความรู้บทบาทสภา ได้เข้าใจกระบวนการประชุม ดังนี้
•ทุกคนที่เป็นสมาชิกสภามีหน้าที่ต้องมาประชุมตามนัดทุกเดือน ไม่ควรขาดถ้าไม่จำเป็น •ต้องติดตามว่าที่ประชุมมีเรื่องอะไรบ้าง
•ต้องให้ความร่วมมือในการทำงาน มีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาหมู่บ้าน •สมาชิกได้ทำความรู้จัก แลกเปลี่ยนความคิดซึ่งกันและกัน


พื้นที่แปลงสาธารณะที่ปลูกพืชผัก สมุนไพร รอบมัสยิด และรร.ตาดีกาควรมีการดูแล เนื่องจากเริ่มมีหญ้าขึ้นรก

คณะทำงาน5คน,เยาวชน 10 คน ผู้สูงอายุ10 คน กลุ่มสตรี 10 คน

700.00 700.00 35 0 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

•จากนั้นสภาซูรอได้พูดคุยแลกเปลี่ยนปัญหาหมู่บ้าน และลงความเห็นว่าใช้โครงการ สสส. สร้างสุขภาวะในชุมชนได้

คณะทำงาน สภาซูรอ แกนนำชุมชน

700.00 700.00 35 35 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มีการแนะนำกิจกรรมอื่นๆของทหารที่จะลงมาร่วมสร้างความเข้มแข็งในชุมชนเช่นกองทุนแม่ของแผ่นดิน จากนั้นคณะทำงานร่วมซ้อมแผนเผชิญเหตุกรณีเกิดอัคคีภัยในโรงเรียนร่วมกับภาคีเครือข่ายด้วย

คณะทำงาน สภาซูรอ แกนนำชุมชน เยาวชนผู้สูงอายุ กลุ่มสตรี และผู้สนใจ

700.00 700.00 35 35 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

•หัวหน้าส่วนราชการมีความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการในชุมชนมากขึ้น และยินดีสนับสนุนทุกกิจกรรม

คณะทำงาน
ทีมที่ปรึกษา นายอำเภอธารโต ปลัดผู้รับผิดชอบต.ธารโต พัฒนาชุมชนอำเภอธารโต นายกอบต.ธารโต สาธารณสุขอำเภอธารโต คณะกรรมการ มี 1.ผู้ใหญ่บ้านฮาซันอาแด ในฐานะ ประธานสภาซุรอ
2.ผอ.รพ.สต.ศรีท่าน้ำกรรมการ 3.ผอ.รร.บ้านศรีท่าน้ำกรรมการ 4.นางตาฮานู ลายีประธานอสม.
5.มีนายอุเซ็ง บือราเฮง อดีตผู้ใหญ่บ้านปราชญ์ชาวบ้าน และประธานผู้สูงอายุ 6.ผบ.ทพงร้อยร. 3315 7-15อสม. 16-25 คณะกรรมการหมู่บ้าน 26-30 ตัวแทนกลุ่มสตรี 31-35ตัวแทนเยาวชน 36-40ตัวแทนผู้สูงอายุ

700.00 700.00 35 35 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

•ผู้ใหญ่บ้านฮาซันอาแด ในฐานะ ประธานสภาซุรอ ผอ.รพ.สต.ศรีท่าน้ำในฐานะกรรมการสภาซูรอ นางตาฮานู ลายีประธานอสม. มีนายอุเซ็ง บือราเฮง อดีตผู้ใหญ่บ้านและประธานผู้สูงอายุเข้าร่วมประชุมทำแผนสามปี ของอบต.ธารโตทำให้อบต.ธารโตมีความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการในชุมชนมากขึ้น และยินดีสนับสนุนทุกกิจกรรม

ข้อเสนอของทีมสภาซูรอ บ้านศรีท่าน้ำ 1.ขอสนับสนุนงบประมาณสำหรับกลุ่มสตรี 2.ขอสนับสนุนทางคอนกรีตเสริมเหล็กเส้นทางไปยังบ้านผู้พิการ 3.ขอสนับสนุนเครื่องพ่นหมอกควัน สำหรับชุมชนหนึ่งเครื่อง 4.ขอสนับสนุนโครงการสำหรับ อสม.คระกรรมการหมุ่บ้าน และ รพ.สต.ศรีท่าน้ำ

กิจกรรมหลัก : กิจกรรมเยาวชนคนดีวิถีพอเพียงi

30,000.00 40 ผลผลิต

เยาวชนต้นแบบในโครงการเข้าร่วมกิจกรรมด้านศาสนาและวัฒนธรรม จำนวน 3 ครั้ง


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

เยาวชนได้เห็นถึงคุณค่าทางวัฒนธรรมในการพัฒนาตนองและชุมชน และทำให้เยาวชนเกิดจิตอาสาและห่างใกลจากสิ่งต้องห้ามมากขึ้น

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 3 ครั้ง

คณะทำงาน 5  คน
เยาวชน จำนวน 30 คน
ผู้สนใจ 25 คน

4,000.00 4,000.00 40 60 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.เยาวชนมีการเข้าร่วมกิจกรรมในมัสยิดและกิจกรรมส่วนรวมของชุมชนมากขึ้น 2.เยาวชนกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ความเข้าใจในศาสนาและหลักเศรษฐกิจพอเพียงมากขึ้นเห็นได้จาก การลดการสูบบุหรี่ และลดการซื้อของไม่จำเป็น 3.เยาวชนและผู้ใหญ่ในชุมชนมีความใกล้ชิดสนิทสนมกันมากขึ้น

  • คณะทำงาน 5  คน เยาวชน จำนวน 25 คน ผู้สนใจ 10 คน
8,000.00 8,000.00 40 40 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ประเพณีกวนอาซูรอ เป็นประเพณีท้องถิ่นของชาวไทยมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ คำว่า อาซูรอ เป็นภาษาอาหรับ แปลว่า การผสม การรวมกัน คือการนำสิ่งของที่รับประทานได้หลายสิ่งหลายอย่างมากวนรวมกัน มีทั้งชนิดคาวและหวาน การกวนข้าวอาซูรอจะใช้คนในหมู่บ้านมาช่วยกันคนละไม้คนละมือ เพื่อความสามัคคีและสร้างความพร้อมเพรียงเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน อันมีผลต่อการอยู่ร่วมกันของสังคมอย่างมีความสุข ก่อนจะแจกจ่ายให้รับประทานกัน เจ้าภาพจะเชิญบุคคลที่นับถือของชุมชนขึ้นมากล่าวขอพร (ดูอา) ก่อน จึงจะแจกให้คนทั่วไปรับประทานกัน

เยาวชนตาดีกา ตำบลธารโตผู้ปกครองและผู้สนใจ

18,000.00 18,000.00 40 80 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.เพื่อสร้างความรักความสามัคคีในกลุ่มเยาวชน 2.ผุ้ปกครองมาร่วมเชียร์ ทำให้เกิดการมีส่วนร่วมและปฏิสัมพันธ์ระหว่างวัย 3.เยาวชนมีสุขภาพดี ลดค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ 4.เป็นการปลูกฝังทางวัฒนธรรม(อานาซีด) และความรู้ทางศาสนา

กิจกรรมหลัก : แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่องนวตกรรมการดูแลสุขภาพi

18,000.00 40 ผลผลิต

กลุ่มเป้าหมายของโครงการจำนวน 40 คน


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

ทำให้เกิดนวัตกรรมการดูแลสุขภาพ การออกกำลังกายที่เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ โดยเฉพาะผู้หญิง โดยได้มีการส่งเสริมการใช้ยางยืดในการออกกำลังกายของสตรีมุสลิมในพื้นที่

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 1 ครั้ง

คณะทำงาน กลุ่มสตรีผุ้สนใจ

18,000.00 18,000.00 40 40 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

นำยางยืดเหยียด ที่ผลิตจากยางเส้นไม้ใผ่ หรือไม้ หรือ ท่อ PVC มาให้กลุ่มตัวอย่างทดลองประสิทธิภาพ ผลของการใช้นวัตกรรมผลของการใช้นวัตกรรมยางยืดเหยียดร่วมกับการรักษาแผนปัจจุบันในผู้พิการ ผู้สูงอายุสามารถนำผลการศึกษาไปใช้ เป็นแนวทางและการประเมินผลกิจกรรมที่ดูแลผู้พิการ ผู้สูงอายุ เพื่อให้ได้ผลที่ยืนยันว่า กิจกรรมที่ดูแลผู้พิการ ผู้สูงอายุเกิดผลลัพธ์ที่ดีตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ รวมทั้งเป็นการนำเอาภูมิปัญญาพื้นบ้านมาใช้ในการรักษาสุขภาพ มีการขยายผลโดยให้ผู้ป่วยมีส่วนร่วม และเป็นการพัฒนารูปแบบการเยี่ยมบ้านที่มีความชัดเจน ลดค่าใช้จ่าย และเวลาที่ต้องเดินทางมาโรงพยาบาลอีกด้วย
บทเรียนที่ได้รับ 1) การใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นเพื่อยืดเหยียดกล้ามเนื้อ 2) เกิดการเรียนรู้และการส่งเสริมการพึ่งพาตนเองที่บ้าน 3) สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการออกกำลังกายในชุมชนได้ด้วย

กิจกรรมหลัก : ชุมชนใช้พื้นที่สาธารณะ ทำโครงการอาหารกลางวันเด็กตาดีกาi

15,000.00 40 ผลผลิต

มีพื้นที่สาธารณะที่เป็นแปลงผักให้กับโรงเรียน


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

ทำให้ชุมชนเห็นความสำคัญของการใช้แนวทางเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในพื้นที่ของตนเอง

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 1 ครั้ง

อสม ผู้นำชุมชน ทหารชุดพัฒนาสันติ

15,000.00 15,000.00 40 40 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เกิดโครงการอาหารกลางวันเด็กตาดีกา  ลดค่าใช้จ่ายในแต่ละวันของเด็กนักเรียน ไม่ต้องเดินทางกลับไปรับประทานอาหารกลางวันที่บ้านและเดินทางมาเรียนต่อในภาคบ่าย
เพื่อสนับสนุนโภชนาการที่ดีและมีสุขภาพสมวัยของเยาวชน
ลดโรคภัย  และมีผลต่อคุณภาพการศึกษาต่อไป

กิจกรรมหลัก : กิจกรรมลด ละ เลิกการสูบบุหรี่ ลดรายจ่าย ลดโรคภัยi

6,000.00 20 ผลผลิต

เยาวชนและผู้ปกครองเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 50 คน


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

กลุ่มเป้าหมายได้เกิดการเรียนรู้และตระหนักถึงพิษภัยของบุหร่ี

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 1 ครั้ง

คณะทำงาน5คน,เยาวชน 35 คน ผุ้สนใจ 10 คน

6,000.00 6,000.00 20 50 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.เยาวชoให้ความสนใจและรับรู้พิษภัยบุหรี่มากขึ้น  นอกจากนี้ทำให้เยาวชน 2.ภาคส่วนต่างๆในชุมชน ร่วมแรงแข็งขันในการรณรงค์และร่วมกันป้องกันพิษภัยบุหรี่และยาเสพติด 3.เยาวชนจะนำไปสื่อสารกับผุ้ปกครองและผู้ใหญ่ในชุมชนเกี่ยวกับพิษภัยบุหรี่และยาเสพติดต่อไป

กิจกรรมหลัก : ร่วมกันลงแขกเพื่อปฏิบัติการปรับพื้นที่ ปรับสภาพดิน แปรดิน เพื่อปลูกผักปลอดสารพิษi

21,000.00 40 ผลผลิต

เครือข่ายจิตอาสาชุมชนร่วมกันปรับพื้นที่สาธาณะสำหรับเป็นแปลงผัก


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

ทำให้เกิดเครือข่ายจิตอาสาของชุมชนและร่วมกันปฏิบัติการ มีส่วนร่วมกับการแก้ปัญหาชุมชน

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 3 ครั้ง

คณะทำงาน 5  คน ผู้สนใจ 35 คน

13,000.00 13,000.00 40 40 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.ได้แปลงสาธิตปลูกผักปลอดสารพิษ 3 แปลง 2.เกิดความร่วมแรงร่วมใจของคนในชุมชน

คณะทำงาน 5  คน ผู้สนใจ 35 คน

4,000.00 4,000.00 40 40 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.เกิดความร่วมแรงร่วมใจของคนในชุมชนคนในชุมชนมีความผูกพันกันมากขึ้น ผ่านกิจกรรมสร้างสรรค์ การทำงานร่วมกัน 2.คนในชุมชนมีความรักความสามัคคี มีการแบ่งปัน นำไปสู่ชุมชนที่เอื้ออาหาร 3.คนในชุมชนรู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ทั้งต่อตนเองและชุมชน

คณะทำงาน 5คน ผู้สนใจ 35 คน

4,000.00 4,000.00 40 40 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.ได้แปลงสาธิตปลูกผักปลอดสารพิษ อีก 1แปลง
2.เกิดความร่วมแรงร่วมใจของคนในชุมชน

กิจกรรมหลัก : มีกิจกรรมเพื่อสุขภาพ หรือกิจกรรมลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ให้ครัวเรือนi

25,000.00 40 ผลผลิต

ครัวเรือนเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรมลดรายจ่าย


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

ทำให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้และทักษะในการทำผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพื่อใช้ในครัวเรือนของตนเองเป็นการเรียนรู้การลดรายจ่ายของครัวเรือนลง

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 10 ครั้ง

คณะทำงาน5คน,กลุ่มสตรี 20 คน ผุ้สนใจ 10 คน

2,500.00 2,500.00 35 35 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.ผลผลิตในชุมชนสามารถเพิ่มมูลค่าได้ 2.เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในกลุ่ม 3.มีแนวคิดที่จะนำกิจกรรมหรือผลิตภัณฑไปต่อยอดอย่างไร

คณะทำงาน5คน,กลุ่มสตรี 20 คน ผุ้สนใจ 10 คน

2,500.00 2,500.00 35 35 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.ผลผลิตในชุมชนสามารถเพิ่มมูลค่าได้ 2.เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในกลุ่ม 3.มีแนวคิดที่จะนำกิจกรรมหรือผลิตภัณฑไปต่อยอดอย่างไร

กลุ่มสตรี

2,500.00 2,500.00 35 35 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.เกิดลานนวดเท้าสาธิต  เพื่อเป็นต้นแบบให้ชุมชนนำไปทำในครัวเรือนต่อไป 2.กลุ่มเป้าหมายได้รู้จักโรคเรื้อรัง  การป้องกัน การดูแลตนเอง และรู้จักการประยุกต์ใช้จากวัสดุในชุมชนว่ามีอะไรบ้าง

คณะทำงาน  5 คนกลุ่มสตรี จำนวน 10 คน แกนนำชุมชน 5 คน  ทหารชุดพัฒนาสันติ 15 คน

2,500.00 2,500.00 35 35 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.เกิดแปลงสาธิตผักเกษตรอินทรีย์ สวนสมุนไพรปลอดสารพิษ  เพื่อเป็นต้นแบบให้ชุมชนนำไปปลูกในครัวเรือนต่อไป
2.มีการแลกเปลี่ยนความรู้เรื่องสมุนไพรร เช่นการนำกระสัง รากใบเตย  ดอกดาวเรือง  ไปต้ม  และนำน้ำมากินเป็นยาลดความดัน เบาหวาน เกาท์ ซึ่งมีผู้นำไปปฏิบัติจริงและได้ผลมาถ่ายทอดด้วย 3.กลุ่มเป้าหมายได้คุณประโยชน์ของสมุนไพร  และรู้จักว่าสมุนไพรในชุมชนมีอะไรบ้าง

คณะทำงาน5คน,กลุ่มสตรี 20 คน ผุ้สนใจ 10 คน

2,500.00 2,500.00 35 35 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

กลุ่มเป้าหมายได้รู้จักโรคติดต่อนำโดยแมลงการป้องกัน การดูแลตนเอง

คณะทำงาน5คน,กลุ่มสตรี 20 คน ผุ้สนใจ 10 คน

2,500.00 3,500.00 35 35 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.วิทยากรได้บรรยายกรรมวิธีในการนำโดนัทและทำให้ดูเป็นตัวอย่าง 2.ผลผลิตในชุมชนสามารถเพิ่มมูลค่าได้

คณะทำงาน  กลุ่มสตรี  ผู้สนใจ

2,500.00 2,000.00 35 35 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.วิทยากรได้สาธิตกรรมวิธีในการนำโดนัทและกลุ่มเป้าหมายร่วมกันทำจนออกมาเป็นขนมโดนัทเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น 2.เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในกลุ่ม

คณะทำงาน  กลุ่มสตรี และผู้สนใจ

2,500.00 2,000.00 35 0 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.กลุ่มเป้าหมายร่วมกันทำจนออกมาเป็นขนมโดนัท โดยในครั้งนี้กลุ่มเป้าหมายมีความชำนาญมากขึ้น 2.มีแนวคิดที่จะนำกิจกรรมหรือผลิตภัณฑไปต่อยอดอย่างไร

คณะทำงาน  กลุ่มสตรี และผู้สนใจ

2,500.00 2,000.00 35 35 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คุณสายสุนีย์  สาธิตกรรมวิธีในการทำน้ำยาล้างจาน  และกลุ่มเป้าหมายร่วมกันทำจนออกมาเป็นผลิตภัณฑ์  ซึ่งสามารถนำไปใช้ในครัวเรือนหรือจำหน่ายอันจะนำไปสู่การลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ต่อไป

คณะทำงาน  กลุ่มเยาวชน  ผู้สนใจ

2,500.00 0.00 35 35 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เพื่อให้เยาวชนรับรู้เรื่องพิษภัยบุหรี่ที่มัสยิดและเกิดกระแสบอกต่อในชุมชนจึงเริ่มด้วย ครูและนักเรียนอสม.กลุ่มสตรีชรบ. และทหารพรานร่วมเดินรณรงค์ในชุมชนตั้งแต่ โรงเรียนผ่านรพ.สต. ผ่านชุมชน กลุ่มบ้านเข้าไปที่มัสยิด และมีการแจกสติกเกอร์ปลอดบุหรี่ในมัสยิด และบ้านเรือนจากนั้นเดินย้อนไปที่โรงเรียนอีกครั้งหนึ่ง

กิจกรรมหลัก : จัดกระบวนการเรียนรู้ เรื่องการออม การสะสมทุนi

6,000.00 40 ผลผลิต

ครัวเรือนเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรม 40 ครัวเรือน


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

มีการเรียนรู้เรื่องการจัดการบัญชีครัวเรือนทำให้รับรู้สถานการณ์ด้านการเงินในครัวเรือน ทำให้กลุ่มเป้าหมายมีการวางแผนการใช้เงิน และลดการสร้างหนี้สินลงได้

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 1 ครั้ง

คณะทำงาน กลุ่มสตรี  ผู้สนใจ

6,000.00 4,000.00 40 40 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มีการเรียนรู้เรื่องการวิเคราะห์รายรับรายจ่ายและการออมของแต่และครัวเรือน

กิจกรรมหลัก : ถอดบทเรียนโครงการi

4,500.00 40 ผลผลิต

คณะทำงานและกลุ่มเป้าหมายร่วมถอดบทเรียน


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

ทำให้แกนนำผู้รับผิดชอบโครงการเห็นข้อมูลสำคัญในการพัฒนาชุมชน และสร้างการเรียนรู้ร่วมกับหลายๆฝ่าย และนำไปสู่การจัดทำแผนงานที่ดีในอนาคต

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 1 ครั้ง

คณะทำงาน  เยาวชน ผู้สูงอายุ กลุ่มสตรี  ตัวแทนครัวเรือนตัวอย่าง  ผู้สนใจ 

4,500.00 9,500.00 40 80 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

จากการถอดบทเรียนแล้วนำมาแลกเปลี่ยน แล้วอธิบาย นำเสนอแลกเปลี่ยนและนำมาสรุปเป็นแนวทางในการดำเนินงาน พบว่าผลจากการถอดบทเรียนครั้งแรก ชุมชนเกิดแนวทางและกิจกรรมพอที่จะนำมาเป็นแนวทางในการดำเนินงานคือ เรื่องของปลูกพืชปลอดสารพิษ การรวมกลุ่มทำกิจกรรมเพื่อชุมชนต่างๆของกลุ่มเยาวชน กลุ่มสตรี และกลุ่มผู้สูงอายุการทำขนมและทำน้ำยาอเนกประสงค์เพื่อใช้ในครัวเรือนลดการจับจ่ายใช้สอยในเรื่องที่ไม่จำเป็น การรู้จักบัญชีครัวเรือน เพื่อต้องการวิเคราะห์รายจ่ายที่ไม่จำเป็นของครอบครัวและหันมาประหยัดรายจ่ายมากขึ้นและการเกิดกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ในชุมชน

สรุปผลการดำเนินกิจกรรมโครงการ ตลอดจนปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอ

  1. เกิดสภาซุรอ 1 สภา มีสมาชิก39 คน ประกอบด้วยผู้นำชุมชน/กรรมการหมู่บ้าน/อบต., ผู้นำศาสนา/กรรมการมัสยิด , ชรบ. , อสม. , กลุ่มสตรี/แม่บ้าน , เยาวชน ครูตาดีกา/ข้าราชการในพื้นที่ และทหารพราน มีผู้ใหญ่ฮาซัน อาแด เป็นประธาน มีนายก อบต.ธารโต ฮูเซ็น กอตา เป็นที่ปรึกษา

  2. มีมาตรการทางสังคมและมาตรการทางศาสนาหรือข้อตกลงร่วมกันของหมู่บ้าน(ฮูกมปากัต)ในการควบคุมและป้องกันยาเสพติด เช่นการไม่อยู่รวมกลุ่มนอกบ้านหลังเที่ยงคืนการไม่ซิ่งรถจักรยานยนต์ในหมู่บ้านการมีมาตรการกรณีเกิดการละเมิดกฏครั้งที่ 1ตักเตือนครั้งที่ 2 ตักเตือนและเรียกผู้ปกครองมารับฟังปัญหาครั้งที่ 3 หากเป็นโทษร้ายแรง ส่งดำเนินการทางกฏหมายหากโทษไม่ร้ายแรงจะไม่ร่วมกิจกรรมงานบุญ หรือช่วยเหลือใดๆ

  3. เกิดเครือข่ายในการควบคุมและป้องกันยาเสพติดในชุมชนทุกคนช่วยกันสอดส่องบุตรหลานดูแลไม่ให้ข้องเกี่ยวกับยาเสพติด

  4. เกิดกลุ่มการเล่นกีฬา 1 กลุ่ม สมาชิก 56 คน

  5. เกิดแกนนำเกษตรปลอดสารพิษ 2 ครัวเรือน(ที่บ้านผู้ใหญ่ฮาซัน อาแดและบ้านนายฮัมดันดอเลาะ) 1 โรงเรียน(ที่รร.บ้านศรีท่าน้ำ)และแปลงสมุนไพรตัวอย่าง 1 แปลง(ที่รพ.สต.บ้านศรีท่าน้ำ)เกษตรบนพื้นที่สาธารณะ 1 แปลง(รอบมัสยิด และรร.ตาดีกา)และแจกต้นไม้และเมล็ดพันธ์ พืช ผักสมุนไพรให้ชาวบ้านคนละต้นสองต้นเพื่อนำไปปลุกเพิ่มเติมที่บ้าน

  6. มีการอบรมจริยธรรม/สอนศาสนาแก่เด็กและเยาวชน มีการอบรมจริยธรรม/สอนศาสนาแก่ประชาชนทั่วไปทุกวันศุกร์ช่วงเช้าโดยการเปิดเทปบรรยายธรรมส่วนหลังละหมาดวันศุกร์ มีการแจ้งข่าวสารทั้งข่าวในชุมชนข่าวจากภายนอกประชาสัมพันธ์การร่วมกิจกรรมต่างๆ และข่าวสารสุขภาพส่วนในเดือนรอมฎอนมีกิจกรรมเปิดบวชร่วมกันทุกเย็นที่มัสยิดมีบรรยายธรรมหลังละหมาดมีละหมาดตารอแวะห์และมีเอียะตีกาฟ(ปฏิบัติศาสนกิจและนอนที่มัสยิด ตลอดช่วง 10 วันสุดท้าย)

7.เกิดกลุ่มจิตอาสาดูแลผู้พิการ มีการลงไปเยี่ยมบ้าน ปรับปรุงซ่อมแซมบ้าน เสนออบต.ขอทางคอนกรีตเสริมเหล็กผ่านทางบ้านผู้พิการ(ปัจจุบัน อบต.อนุมัติแล้ว)เพื่อสะดวกกรณีไปรักษษหรือกายภาพบำบัด

8.เกิดกลุ่มสัจจะออมทรัพย์โดยเริ่มต้นมีเงินสมทบทุน 4,000 กว่าบาท นำไปฝากที่สหกรณ์การเกษตรธารโต

9.กลุ่มสตรีมีการทำขนม ทำน้ำสมุนไพร ทำน้ำยาล้างจาน สามารถลดรายจ่ายในครัวเรือนได้

2.3.1 นวัตกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ

(นวัตกรรมคือ การจัดการความคิด กระบวนการ ผลผลิต และ/หรือเทคโนโลยีที่เหมาะสม มาใช้งานให้เกิดประสิทธิผล และ/หรือประสิทธิภาพมากกว่าเดิมอย่างชัดเจน)

ชื่อนวัตกรรมคุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรมผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์
การใช้ยางยืดในการออกกำลังกายของสตรีมุสลิม

การรณรงค์ให้สตรีมุสลิมซึ่งมีปัญหาด้านสุขภาพโดยสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการไม่ได้มีการออกกำลังกายที่เหมาะสม เนื่องจากประเพณีและวัฒนธรรมท้องถิ่น

ทำให้สตรีมุสลิมสามารถใช้ยางยืด ออกกำลังกายลดการเจ็บป่วย และสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และใช้พื้นที่น้อย

2.3.2 โครงการเด่น (Best Practice)

(โครงการเดิ่น คือ โครงการสร้างเสริมสุขภาพให้สัมฤทธิ์ผลที่เป็นรูปธรรมแล้วขยายผลอย่างยั่งยืน โดยแนวคิดกระบวนการ และผลงาน สามารถเป็นตัวอย่างที่จะนำไปขยายผลในชุมชน (Setting) อื่น ๆ ได้ การดำเนินงานมีส่วนร่วมของภาคีที่หลากหลาย มีการบริหารจัดการที่ดี โปร่งใสและตรวจสอบได้)

ชื่อ Best Practiceวิธีการทำให้เกิด Best Practiceผลของ Best Practice / การนำไปใช้ประโยชน์
การใช้ที่ดินว่างเปล่าสู่การเป็นแปลงผัก

การสร้างการเรียนรู้และความตระหนักของชุมชนต่อการให้การใส่ใจเยาวชนในโรงเรียนตาดีกา และการได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากโครงการในการขับเคลื่อน

มีการใช้ประโยชน์จากที่ดินรกร้างว่างเปล่าของชุมชนมาเป็นการสร้างผลผลิตและเป็นอาหารกลางวันแก่เด็กนักเรียน

2.3.3 เกิดแกนนำ/ผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านการสร้างเสริมสุขภาพในประเด็นต่าง ๆ
ชื่อ-สกุลที่อยู่ติดต่อได้สะดวกคุณสมบัติแกนนำ/ผู้นำการเปลี่ยนแปลง
2.3.4 มีสภาพแวดล้อมและปัจจัยทางสังคมที่เอื้อต่อสุขภาพ

เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อสุขภาพในชุมชนพื้นที่โครงการดังนี้

สถานที่/พื้นที่ ที่เปลี่ยนแปลงรายละเอียดการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

มัสยิดประจำหมู่บ้าน , รพ.สต.

มีการจัดเป็นพื้นที่ปลอดบุหรี่ และมีการรณรงค์อย่างต่อเนื่อง

ที่ดินว่างเปล่า,ดินสาธารณะ

มีการแปลงสภาพเป็นแปลงผักปลอดสารพิษ เพื่อเป็นอาหารกลางวันให้เด็กในโรงเรียน

ส่วนที่ 3 : ปัญหาและอุปสรรคสำคัญที่มีผลกระทบต่อการดำเนินงาน

3.1 การดำเนินงานกจิกรรม/กลุ่มเป้าหมาย/ระยะเวลาดำเนินงาน/การดำเนินงาน/งบประมาณ
ประเด็นปัญหา/อุปสรรคการแก้ไขของผู้รับทุนข้อเสนอแนะ/การแก้ไขปัญหาและการเสริมพลังของผู้ติดตาม

การลงข้อมูลในเวปไซต์ ไม่อัปเดต และ ไม่ถูกต้อง

แก้ไขเพิ่มเติม

มีการติดตามและให้คำแนะนำเป็นระยะ

3.2 การดำเนินงานกจิกรรม/กลุ่มเป้าหมาย/ระยะเวลาดำเนินงาน/การดำเนินงาน/งบประมาณ
ประเภทความเสี่ยง / ปัจจัยเสี่ยงระดับความเสี่ยง
(จากมากไปหาน้อย)
ข้อมูล ข้อสังเกตุ และข้อคิดเห็นของผู้ติดตาม
3210
1. ความเสี่ยงด้านการดำเนินงาน (Operational Risks)
1.1 โครงสร้างการดำเนินงาน

มีโครงสร้างชัดเจน

1.2 ศักยภาพและทักษะการดำเนินงาน

คณะทำงานหลักเป็นทีม รพ.สต.มีทักษะการบริหารโครงการ

1.3 ผลลัพธ์และผลสำเร็จของการดำเนินงาน

ผลลัพท์ยังอยู่ในระดับแค่ได้ปฏิบัติยังไม่ถึงขั้นการขยายผล

2. ความเสี่ยงทางการเงิน (Financial Risks)
2.1 ระบบและกลไกการบริหารจัดการ

ไม่มีความเสี่ยง

2.2 การใช้จ่ายเงิน

ใช้จ่ายตามวัตถุประสงค์และกิจกรรมที่ได้รับการอนุมัติ

2.3 หลักฐานการเงิน

หลักฐานการเงินไม่เรียบร้อย

ผลรวม 0 0 2 0
ผลรวมทั้งหมด 2 ระดับความเสี่ยง : ???
เกณฑ์วัดระดับความเสี่ยง ???
สรุปการแก้ไขความเสี่ยง แก้ไขแล้ว ยังไม่ได้แก้ไข

ส่วนที่ 4 : สรุปความเห็นของผู้ติดตาม

ส่วนที่ 4สรุปความเห็นของผู้ติดตาม
4.1 กรณีเบิกเงินงวด/ติดตามเยี่ยมชม มีแนวโน้มสำเร็จตามเป้าหมายโครงการและติดตามปกติ
การวิเคราะห์ผลการดำเนินงานโครงการและสรุปข้อคิดเห็น

มีแนวโน้มสำเร็จเพราะสามารถจัดกิจกรรมได้ตามแผนงาน

มีแนวโน้มเสี่ยง ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด เนื่องจาก
การวิเคราะห์ผลการดำเนินงานโครงการและสรุปข้อคิดเห็น

 

มีความเสี่ยง ต้องยุติโครงการ เนื่องจาก
4.2 กรณีสรุปปิดโครงการ ดำเนินงานได้ตามแผนปฏิบัติการและสามารถปิดโครงการได้
สรุปผลภาพรวมการดำเนินงาน-การเงินโครงการและข้อคิดเห็น

 

ไม่เป็นไปตามแผนปฏิบัติการ ให้ดำเนินการจัดระบบการเงิน ระบบรายงานให้ถูกต้องก่อนปิดโครงการ
สรุปผลภาพรวมการดำเนินงาน-การเงินโครงการและข้อคิดเห็น

 

ส่วนที่ 5 : สรุปภาพรวมของการติดตามประจำงวด (ข้อสังเกต/สิ่งดีๆ ที่ค้นพบ/ข้อพึงระวัง/บทเรียนที่ได้)

การใช้ Social media เป็นกลุ่มใน ไลน์ เป็นการรายงานกิจกรรมเบื้องต้น เป็นการทำให้คณะทำงานของพื้นที่ต่างๆได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน

สร้างรายงานโดย ฮามีด๊ะ หวันนุรัตน์