directions_run

คนโคกสิเหรงกินดีอยู่ดี มีอาชีพเสริม เพิ่มรายได้ ภายใต้สิ่งแวดล้อมน่าอยู่

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


“ คนโคกสิเหรงกินดีอยู่ดี มีอาชีพเสริม เพิ่มรายได้ ภายใต้สิ่งแวดล้อมน่าอยู่ ”

บ้านโคกสิเหรง หมู่ที่ 1 ตำบลทุ่งพอ อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา

หัวหน้าโครงการ
นางกะรีนา สูกาเกาะ

ชื่อโครงการ คนโคกสิเหรงกินดีอยู่ดี มีอาชีพเสริม เพิ่มรายได้ ภายใต้สิ่งแวดล้อมน่าอยู่

ที่อยู่ บ้านโคกสิเหรง หมู่ที่ 1 ตำบลทุ่งพอ อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา จังหวัด สงขลา

รหัสโครงการ 57-01529 เลขที่ข้อตกลง 57-00-0926

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2557 ถึง 30 มิถุนายน 2558


กิตติกรรมประกาศ

"คนโคกสิเหรงกินดีอยู่ดี มีอาชีพเสริม เพิ่มรายได้ ภายใต้สิ่งแวดล้อมน่าอยู่ จังหวัดสงขลา" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน บ้านโคกสิเหรง หมู่ที่ 1 ตำบลทุ่งพอ อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
คนโคกสิเหรงกินดีอยู่ดี มีอาชีพเสริม เพิ่มรายได้ ภายใต้สิ่งแวดล้อมน่าอยู่



บทคัดย่อ

โครงการ " คนโคกสิเหรงกินดีอยู่ดี มีอาชีพเสริม เพิ่มรายได้ ภายใต้สิ่งแวดล้อมน่าอยู่ " ดำเนินการในพื้นที่ บ้านโคกสิเหรง หมู่ที่ 1 ตำบลทุ่งพอ อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา รหัสโครงการ 57-01529 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 มิถุนายน 2557 - 30 มิถุนายน 2558 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 212,870.00 บาท จาก เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 155 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

 

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. คนในชุมชนมีการจัดทำระบบบัญชีรายรับ-รายจ่าย ของครัวเรือน
  2. เพื่อส่งเสริม พัฒนาอาชีพให้คนในชุมชนสามารถพึ่งตนเองได้ และมีความมั่นคงยั่งยืน ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
  3. เด็ก เยาวชนและคนในชุมชน มีการสืบสานศิลปการละเล่นท้องถิ่น ลิเกฮูลู และสามารถเผยแพร่และถ่ายทอดวิถีวัฒนธรรมชุมชนให้คนอื่นได้รับรู้ และส่งต่อรุ่นต่อรุ่นได้
  4. การสนับสนุนติดตามโครงการโดยทีม สสส.,สจรส.มอ.

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

     


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. ประชุมปฐมนิเทศโครงการชุมชนท้องถิ่นนาอยู่ 2557

    วันที่ 14 มิถุนายน 2557 เวลา 09:00 -16.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ทางสสส.สจรส.มอ.ให้ผู้รับผิดชอบโครงการในแต่ละโครงการนั้นจำนวน 2 คนเข้าร่วมการปฐมนิเทศเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติงานและเงื่อนไขต่างๆที่ทางสสส.สจรส.มอ.กำหนดเพื่อให้ผู้รับผิดชอบโครงการปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้อง้พร้อมทั้งสอนวิธีการกรอกข้อมูลในการรายงานผลการดำเนินกิจกรรมในแต่ละกิจกรรมเพื่อให้พื้นที่เข้าใจและปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.ผู้รับผิดชอบโครงการที่เข้าร่วมการปฐมนิเทศเข้าใจระบบการทำงานที่ทางสสส.สจรส.มอ.กำหนดมากขึ้น 2.ผู้รับผิดชอบโครงการมีความรู้ความสามารถในการบันทึกข้อมูลกันมากขึ้น 3.ผู้รับผิดชอบโครงการมีความเข้าใจในเอกสารต่างๆ

     

    2 2

    2. จัดทำป้ายเขตปลอดบุหรี่ รณรงค์ในพื้นที่ดำเนินกิจกรรม

    วันที่ 7 กรกฎาคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดทำป้ายการประชาสัมพันธ์การรณรงค์ลดสูบบุหรี่

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.คนในชุมชนจำนวน 155คนทราบถึงการประชาสัมพันธ์การงดเหล้าและสูบบุหรี่

    2.การประสัมพันธ์ในเรื่องนี้สามารถบอกต่อต่อกันได้ตามอีกหลายหมู่บ้าน

    3.ผู้รับผิดชอบโครงการชี้แจงผู้จัดทำป้ายการประชาสัมพันธ์การรณรงค์ลดสูบบุหรี่ให้ผู้จัดทำทราบถึงขนาดและความต้องการพร้อมทั้งชี้แจงงบประมาณที่สสส.สนับสนุนให้จัดทำแผ่นป้ายเพื่อผู้จัดทำจะได้เข้าใจตรงกันและลดความผิดพลาดโดยผู้ทำป้ายได้นัดวันที่เอาป้ายคือหนึ่งสัปดาห์นับจากวันที่สั่งทำ

     

    2 2

    3. ประชุมทีมคณะกรรมการโครงการฯ ในการจัดตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนร่วมกับองค์กรท้องถิ่น

    วันที่ 19 กรกฎาคม 2557 เวลา 20:00-21.30น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เรียกกรรมการหมู่บ้านพร้อมสี่เสาหลักมาประชุมณ.ป้อมชรบ.บ้านโคกสิเหรงเพื่อชี้แจงความเป็นมาของโครงการและแบ่งหน้าที่การดำเนินงาน ขั้นตอนต่างๆและแผนในการดำเนินงานของโครงการและการประชาสัมพันธ์การลดสูบบุหรี่ให้ทราบ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    -คณะกรรมการหมู่บ้านมีความเข้าใจในการดำเนินงานตามแผนโครงการ

    -ประชาชนทั่วไปรับทราบถึงโครงการที่ลงสู่หมู่บ้าน

    -เกิดความร่วมมือร่วมใจในการดำเนินกิจกรรม

     

    15 25

    4. คืนเงินค่าเปิดบัญชีธนาคาร

    วันที่ 19 กรกฎาคม 2557 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คืนเงินเปิดบัญชีธนาคารกรุงเทพ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คืนเงินค่าเปิดบัญชีธนาคาร

     

    2 2

    5. ประชุมชี้แจงทำความเข้าใจการดำเนินโครงการชุมชนท้องถิ่นนาอยู่ บ้านโคกสิเหรงฯ

    วันที่ 1 สิงหาคม 2557 เวลา 13:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดประชุมชี้แจงโครงการในเวทีประชุมประจำเดือนของหมู่บ้านโดยการเชิญเจ้าหน้าที่ ผู้ที่เกี่ยวข้องและประชาชนในหมู่บ้านรับฟังการชี้แจงรายละเอียดโครงการให้คนในชุมชนได้รับรู้และเข้าใจความเป็นมาของโครงการฯและประชาสัมพันธ์รณรงค์การจัดพื้นที่ในการดำเนินกิจกรรมเป็นเขตลดเหล้าและบุหรี่โดยผู้รับผืดชอบโครงการได้ดำเนืนการชี้แจงถึงความเป็นมาและการดำเนินงานในช่วงถัดไปของโครงการโดยมีเกษตรหมู่บ้านและครูสอนตาดีกาช่วยกันจัดสถานที่ในที่ประชุมเนื่องจากทางหมู่บ้านไม่มีเก้าอี้พอสำหรับประชุมเลยจัดประชุมที่โรงเรียนตาดีกาซึ่งอยู่ในเขตบริเวณมัสยิดบ้านโคกสิเหรง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.คนในชุมชนมีความเข้าใจในโครงการที่จะดำเนินการในหมู่บ้าน

    2.เกิดความร่วมมือร่วมใจของคณะกรรมการและภาคี

    3.เกิดการรวมกลุ่มของคนที่สนใจที่จะร่วมกันทำในแผนการดำเนินโครงการ

     

    155 105

    6. ประชุมให้ความรู้การทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย ของครัวเรือน

    วันที่ 8 สิงหาคม 2557 เวลา 13:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    -ทางเจ้าหน้าที่สำนักงานตรวจสอบบัญชรสหกรณ์ได้เดินทางมาถึงและให้ความรู้ในการจัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายของครัวเรือน -ทางสำนักงานการเกษตรได้เข้ามามีส่วนร่วมในการประชุมโดยให้ความรู้ในการใช้สารจุลินทรีย์ในการทำปุ๋ยใช้เองและมีการอธิบายวิธีการทำแล้วก็มีการแจกจ่ายให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้นำกลับมาทดลองใช้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจในการทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายของครัวเรือนและมีความสามารถในการจัดทำบัญชีครัวเรือนอย่างถูกต้อง

     

    155 81

    7. คณะทำงานโครงการฯและเยาวชนร่วมพัฒนาเครื่องมือการจัดเก็บข้อมูลครัวเรือน

    วันที่ 30 สิงหาคม 2557 เวลา 20:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ผู้ใหญ่บ้านเรียกคณะกรรมการโครงการและเด็กและเยาวชนเข้ามาร่วมประชุมเพื่ิอที่จะร่วมกันคิดในการพัฒนาเครื่องมือในการจัดเก็บบัญชีรายรับ-รายจ่ายของครัวเรือนในหมู่บ้านโดยจะมีการทดลองใช้เครื่องมือในวันพรุ่งนี้โดยจะให้เด็กและเยาวชนได้ทดลองในการจัดเก็บข้อมูลในวันพรุ่งนี้








    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    -เด็กและเยาวชนมีความรู้ความเข้าใจในการทำบัญชีครัวเรือนมากขึ้น

    -เด็กและเยาวชนสามารถนำความรู้ที่ได้มาไปใช้ประกอบในชีวิตประจำวันและในด้านการศึกษา

    -คนในชุมชนมีความใกล้ขิดระหว่างคนสองวัยนำไปสู่สังคมเอื้ออาทร

     

    45 40

    8. กลุ่มเยาวชนทดลองใช้เครื่องมือแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่าง 1 กลุ่ม

    วันที่ 31 สิงหาคม 2557 เวลา 10:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เวลา 10.00 น. คณะกรรมการโครงการ ที่ประกอบด้วยผู้ใหญ่บ้าน ,อสม,แกนนำกลุ่มสตรี ,ชรบ.พร้อมด้วยเด็กและเยาวชน  ลงพื้นที่เก็บข้อมูลครัวเรือน โดยการทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็นกลุ่มบ้านในเขตที่ 2 บ้านบลูกา จำนวน  20  ครัวเรือน  ซึ่งประชาชนในหมู่บ้านให้ความร่วมมือในการให้ข้อมูลอย่างดี

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    -เกิดความสัมพันธ์กันระหว่างเด็กและเยาวชนกับผู้ปกครองและผู้สูงอายุในหมู่บ้าน

    -คนในชุมชนมีความรู้และมีทักษะในการทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายของครัวเรือนและสามารถจัดเก็บข้อมูลได้อย่างถูกต้อง

    -เด็ก ได้เรียนรู้การทำบัญชีครัวเรือน และรู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

     

    45 35

    9. สมาชิกร่วมกันทำปุ๋ยหมักแห้งสูตรมูลสัตว์

    วันที่ 5 กันยายน 2557 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    สมาชิกรวมตัวกันที่ศูนย์เรียนรู้การทำปุ๋ยอิทรีย์หมักและได้นำใบหญ้า เศษอาหารมารวมกันเพื่อทำปุ๋ยมีสมาชิกหลายคนที่เป็นอาสาสมัครในการทำส่วนใหญ่จะเป็นผู้ชายซึ่งมีกำลังในการทำปุ๋ยมากกว่าโดยสมาชิกที่มาร่วมกิจกรรมได้นำเศษใบไม้ใบหญ้าจำนวน 10 กระสอบ ขี้วัว 4 กระสอบอีก 2 กระสอบเป็นพวกแกลบและช่วยกันปฏิบัติตามขั้นตอนทีปราชญ์แนะนำโดยจะได้ปุ๋ยหมักมาประมาณ 13 กระสอบโดยสมาชิกได้ตกลงที่จะแบ่งกันใช้ตามสัดส่วนของปุ๋ยที่ได้มา

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    -คนในชุมชนสามารถนำความรู้มาใช้ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

    -คนในชุมชนมีความสามัคคีและมีกิจกรรมทำร่วมกัน

    -คนในชุมชนมีกิจกรรมทำร่วมกันอย่างต่อเนื่อง

     

    90 64

    10. ประชุมร่วมกับพี่เลี้ยงชี้แจงการดำเนินงานโครงการฯ

    วันที่ 3 ตุลาคม 2557 เวลา 12.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    -ร่วมประชุมกับพี่เลี้ยงในการชี้แจงการดำเนินกิจกรรม

    -ทำความเข้าใจการทำรายงานส่งงวดที่ 1

    -ทำความเข้าใจเอกสารข้อตกลง และเอกสารอื่นๆ

    -ทำความเข้าใจการรายงานข้อมูลในเว้ปไซต์ คนใต้สร้างสุข

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    มีความเข้าใจในการรายงานข้อมูลในเว้ปไซต์ คนใต้สร้างสุข และ การจัดทำเอกสารบิลค่าใช้จ่าย

     

    2 1

    11. เยาวชนลงพื้นที่จัดเก็บข้อมูลครัวเรือนบ้านโคกสิเหรง

    วันที่ 4 ตุลาคม 2557 เวลา 10:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เวลาสิบโมงเช้าผู้รับผิดชอบโครงการได้นำเด็กและเยาวชนลงพื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูลบัญชีครัวเรือนรายรับ-รายจ่ายตามครัวเรือนในแต่ละเขตโดยให้เยาวชนลงไปเก็บข้อมูลในแต่ละครัวเรือนที่ได้รับมอบหมายซึ่งได้ทำการแบ่งเขตให้ไว้แล้วเพื่อเก็บรวบรวมทำรายงานสรุปเอกสาร

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. เยาวชนมีความรู้เพิ่มขึ้นจากการทำบัญชีครัวเรือน
    2. คนในชุมชนมีความสัมพันธ์ไกล้ชิดกันมากขึ้นนำไปสู่สังคมที่เอื้ออาทรและช่วยเหลือกัน
    3. เกิดข้อมูลด้านอาชีพของชุมชน
    4. คนในชุมชนสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นออกได้

     

    45 45

    12. วิเคราะห์ข้อมูลสรุปเป็นเอกสาร

    วันที่ 9 ตุลาคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เวลา 09.00 น ผู้รับผิดชอบโครงการ เยาวชนและกลุ่มมีรายได้น้อยบางส่วนได้มาปรึกษากันว่าจะแบ่งหน้าที่ให้ใครเป็นคนสรุปและวิเคราะห์ข้อมูลบัญชีครัวเรือนโดยให้นางกะรีนา สูกาเกาะ ผูรับผิดชอบโครงการเป็นผู้พิมพ์รายละเอียดในการสรุปเอกสารในคร้งนี้เพราะประชาชนส่วนใหญ่ใช้คอมพิวเตอร์ไม่เป็นจึงมอบหมายให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้ทำข้อมูล

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. มีความรู้ในการวิเคราะห์ข้อมูลมากขึ้น
    2. สามารถทราบตัวเลขรายรับ-รายจ่ายในครัวเรือนอย่างชัดเจน
    3. เกิดความร่วมมือร่วมใจในการดำเนินงานของโครงการ

     

    15 15

    13. ประชุมคณะกรรมการ ปราชญ์ชุมชนกลุ่มดีเกฮูลู

    วันที่ 10 ตุลาคม 2557 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เวลา 13.00 น.นัดคณะดีเกฮูลูมาเพื่อชี้แจงรายละเอียดของโครงการโดยมีผู้ใหญ่บ้าน นาย อาบู ทุยเลาะ ได้อธิบายถึงการดำเนินโครงการการฝึกการละเล่นดีเกฮูลูให้ฟังพร้อมทั้งตัวแทนเกษตรอำเภอก็เข้าร่วมรับฟังด้วยโดยโครงการนี้เราต้องการฝึกการละเล่นดีเกฮูลูให้กับเยาวชนจำนวน 30 คนเพื่อให้ความรู้และทักษะและสามารถถ่ายทอดวัฒนธรรมนี้รุ่นสู่รุ่นได้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. คณะดีเกฮูลูมีความเข้าใจในการดำเนินกิจกรรมและวิธีการต่างๆในการรับสมัคร
    2. เด็กและเยาวชนมีความรู้ในด้านการถ่ายทอดศีลปะวัฒนธรรมดีเกฮูลู
    3. เด็กและเยาวชนมีการสืบสานศีลปะการละเล่นท้องถิ่นและสามารถเผยแพร่วิถีวัฒนธรรมชุมชนให้คนอื่นรับรู้

     

    20 10

    14. ประชุมคัดเลือกครูบัญชีอาสาเพื่อพัฒนาศักยภาพให้เป็นแกนนำในการสอนการทำบัญชีครัวเรือนอย่างถูกต้อง

    วันที่ 15 ตุลาคม 2557 เวลา 10:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ผู้ใหญ่บ้านเรียกประชุมเพื่อคัดเลือกครูบัญชีอาสาและเพื่อให้เกิดแกนนำในการทำบัญชีครัวเรือนให้ถูกต้องโดยให้นาง กะรีนา สูกาเกาะเป็นแกนนำในการพัฒนาครูบัญชีอาสาเพื่อเป็นกลไกในการสนับสนุนและดูแลการทำบัญชีครัวเรือนอย่างถูกต้องให้กับครัวเรือนเป้าหมาย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    -คนในชุมชนมีความรู้ในการทำบัญชีมากขึ้น

    -ทำให้เกิดสัมพันธ์ที่ดีระหว่างคนในชุมชน

    -เกิดครูบัญชีอาสาที่มีความรู้ความชำนาญในการทำบัญชีครัวเรือน

     

    40 42

    15. สานส์เสวนา "บัญชีครัวเรือน" ครั้งที่ 1

    วันที่ 17 ตุลาคม 2557 เวลา 10:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เวลา 10.00 น.ผู้ใหญ่บ้านประกาศเพื่อให้ชาวบ้านออกมาประชุมที่โรงเรียนตาดีกาเนื่องจากว่าวันนี้เป็นวันหยุดไม่ได้ตัดยางชาวบ้านเลยมากันเยอะพอสมควรทั้งทางเกษตรอำเภอก็ได้มาร่วมด้วยและมีการนำต้นยางมาเพื่อมาสอนวิธีการแปะตายางให้ชาวบ้านได้มีความรู้ด้วยโดยวิทยากรจะมาพูดและนำข้อมูลที่สรุปเป็นเอกสารแล้วมาสรุปคืนให้กับประชาชนเพื่อให้คนในชุมชนได้ทราบถึงรายได้ของตนเองว่ามีการเพิ่มและลดอย่างไรและวิธีการบริหารจำนวนหนี้ที่มีด้วย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.ประชาชนสามารถเห็นได้อย่างชัดเจนในส่วนของรายรับ-รายจ่ายในครัวเรือนทั้งของตนเองและผู้อื่น

    2.คนในชุมชนรู้จักการออมเงินกันมากขึ้น

    3.คนในชุมชนมีความรู้ในด้านการเกษตรไปด้วยเพื่อปรับใช้ในเกษตรของครัวเรือนตนเอง

     

    155 102

    16. ศึกษาดูงาน ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านขาว อำเภอระโรด จังหวัดสงขลา

    วันที่ 26 ตุลาคม 2557 เวลา 07:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ได้นัดผู้ที่จะเดินทางบ้านขาวเวลาเจ็ดโมงเช้าจึงได้รวมตัวเรื่มเกว่าจะรวมตัวกันก็เจ็ดโมงครึ่งและเรื่มออกเดินทางโดยในรถจะมีทั้งน้ำและอาหารว่างเตรียมไว้สองมื้อพร้อมทั้งข้าวกล่องมื้อเที่ยงคนละกล่องเดินทางถึงบ้านขาวก็เกือบสิบโมงครึ่งมีการต้อนรับเป็นอย่างดีโดยวิทยากรได้บรรยายโครงการตามแนวปรัชยาเศรษฐกิจพอเพียงและพาชมผลิตภัณฑ์ของกลุ่มอาชีพมากมายหลังจากวิทยากรบรรยายเสร็จผู้เข้าร่วมโครงการก็ได้เดินดูสถานที่เพาะปลูกผักต่างๆและพาไปดูการเลี้ยงสัตว์ด้วยในการไปครั้งนี้คนในชุมชนได้ความรู้และมีแรงผลักดันที่จะดำเนินชีวิตตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามตัวอย่างที่ได้พบมา

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.ชาวบ้านได้รับความรู้และมีความเข้าใจในการดำเนินชีวิตตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมากขึ้น

    2.คนในชุมชนเกิดแรงผลักดันในการดำเนินชีวิตตนเองตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง

    3.เกิดความภาคภูมิใจแทนชุมชนต้นแบบ

     

    30 30

    17. ประชุมวางแผนแต่งตั้งคณะทำงานในการติดตามประเมินการปลุกพืชและเยี่ยมชมแปลง

    วันที่ 30 ตุลาคม 2557 เวลา 19:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เวลา19.00น.ผู้เข้าร่วมประชุมได้ทยอยกันเเดินทางมาที่ป้อม ชรบ.บ้านโคกสิเหรงซึ่งตั้งอยู่ติดกับโรงเรียนบ้านโคกสิเหรง เมือผู้เข้าร่วมประชุมมาถึงก็รับประทานอาหารกันพลางๆเพื่อรอผู้เข้าร่วมประชุมที่ยังเดินทางมาไม่ถึง เวลา ประมาณ 19.30น.ผู้รับผิดชอบโครงการได้ชี้แจงการดำเนินงานของกิจกรรมนี้และให้ผู้ใหญ่บ้าน กรรมการช่วยกันพิจารณาแต่งตั้งคณะทำงานในการติดตามและประเมินผลการปลูกพืชและเบี่ยมชมแปลง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สรุปคือในการติดตามเเละประเมินผลการปลูกพีชและเยี่ยมชมแปลงนั้นกิจกรรมนี้จะมีจำนวน 6 ครัง เป็นหกเดือนหลังโดยได้แบ่งหน้าที่ดังต่อไปนี้

    ครั้งที่ 1 ผู้ติดตามสองคนคือ
    1. นายการุณ อะสัน
    2. นายบาเหม ขะเรมะนัน

    ครั้งที่่ 2 ผู้ติดตามคือ
    1. นายมะรอบี  มีศร
    2. นายอับดุลเลาะ  ทุยเลาะ

    ครังที่ 3 ผู้ติดตามคือ
    1. นางกะรีนา  สูกาเกาะ
    2. นางสาวนูรียะ รามันเจะ

    ครังที่ 4 ผู้ติดตามคือ
    1.นางรอฮีม๊ะ ขะเรมะนัน
    2.นางรอปีอ๊ะ  หัดเลาะ

    ครั้งที่ 5 ผู้ติดตามคือ
    1.นายตอเละ  เด็มานิ้
    2.นายอับดุลรอซะ และสมสา

    ครั้งที่ 6 ผู้ติดตามคือ
    1.นายกะริยา  มะแอ
    2.นายมูฮัมหมัด  สาหัด

     

    30 25

    18. จัดกระบวนการเรียนรู้ด้านการทำเกษตรอินทรีย์ การปลูกพืชร่วมยาง

    วันที่ 31 ตุลาคม 2557 เวลา 10:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เวลา 10.30 นใเจ้าหน้าที่เกษตรอำเภอประจำตำบลทุ่งพอพร้อมด้วยเกษตรหมู่บ้านและชาวบ้านพร้อมเพรียงกันและได้เปิดการประชุมการอบรมให้ความรู้ในการทำเกษตรอินทรีย์คือการปลูกพืชร่วมกับยางพาราให้ชาวบ้านได้มีความรู้ในการเพาะปลูกพืชที่เหมาะสมกับสวนยางของตนเองชาวบ้านมีความตั้งใจกันอย่างมากและเหมาะกับเป็นช่วงหน้าฝนทำให้ง่ายต่อการเพาะปลูกพืชแต่สำหรับพืชบางชนิดก็เป็นไปตามฤดูกาลของมันด้วยและให้ความรู้ในการเพาะปลูกผักสวนครัวไว้บริโภคในครัวเรือนด้วยทั้งการเตรียมพ้นที่ในการเพะาปลุกและวิธีการปลูกให้คนในชุมชนด้วย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    -คนในชุมชนมีความรู้ความเข้าใจในการปลูกพืชร่วมยางกันมากขึ้น

    -คนในชุมชนสามารถดำเนินชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

    -คนในชุมชนสามารถนำความรู้ที่ได้มาไปเผยแพร่ต่อชุมชนไกล้เคียงได้

    -คนในชุมชนสามารถลดรายจ่ายในครัวเรือนได้

     

    80 95

    19. จัดทำรายงานสรุปปิดโครงการงวดที่ 1

    วันที่ 5 ธันวาคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดทำรายงานสรุปปิดโครงการงวดที่ 1 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผู้รับผิดชอบโครงการสามารถจัดทำเอกสารรายงานโครงการงวดที่ 1 โดยมีเอกสารนำส่ง ตือ เอกสารการเงิน ง.1,ส.1,ส.2 และ ง.2 

     

    2 2

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

     

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 คนในชุมชนมีการจัดทำระบบบัญชีรายรับ-รายจ่าย ของครัวเรือน
    ตัวชี้วัด : 1. ร้อยละ 60 คน ในชุมชนเกิดความตระหนักและเห็นความสำคัญ ในการจัดทำระบบบัญชีรายรับ-รายจ่าย ของครัวเรือน 2. ร้อยละ 60 คน ในชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจ การจัดทำระบบบัญชีรายรับ-รายจ่าย ของครัวเรือน 3. เกิดครัวเรือนต้นแบบ จำนวน 40 คน ในการทำระบบบัญชีรายรับ-รายจ่าย ของครัวเรือนอย่างต่อเนื่อง 4. เกิดครูบัญชีอาสา อย่างน้อย 30 คน ในการติดตามให้ความช่วยเหลือการทำบัญชีครัวเรือนอย่างถุกต้อง 5. ร้อยละ 5 การเพิ่มขึ้นของคนในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมดำเนินงานจัดทำระบบบัญชีรายรับ-รายจ่าย ของครัวเรือน 6. ร้อยละ 10 รายจ่ายในครัวเรือนลดลงในทุกรายการ หนี้สินลดลง และมีเงินออม

     

    2 เพื่อส่งเสริม พัฒนาอาชีพให้คนในชุมชนสามารถพึ่งตนเองได้ และมีความมั่นคงยั่งยืน ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
    ตัวชี้วัด : 1. ร้อยละ 80 คนในชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจ ในการทำเกษตรตามหลักปรัญชญาเศรษฐกิจพอเพียงและสามารถปฎิบัติได้ 2. เกิดกลุ่มเผื่อการผลิตในชุมชน อย่างน้อย 3 กลุ่ม กลุ่มปุ๋ย,กลุ่มผัก,กลุ่มเมล็ดพันธุ์ ฯ ในระดับครัวเรือนและชุมชน 3. กลุ่มเป้าหมายอย่างน้อย 60 ครอบครัว มีรายได้เพิ่มขึ้น (ดูจากบัญชีครัวเรือน

     

    3 เด็ก เยาวชนและคนในชุมชน มีการสืบสานศิลปการละเล่นท้องถิ่น ลิเกฮูลู และสามารถเผยแพร่และถ่ายทอดวิถีวัฒนธรรมชุมชนให้คนอื่นได้รับรู้ และส่งต่อรุ่นต่อรุ่นได้
    ตัวชี้วัด : 1.ร้อยละ 30 เด็กและเยาวชน มีความรู้ ทักษะในการเล่นลิเกฮูลู สามารถจัดแสดง มีรายได้ให้กับตนเองและครอบครัว 2.ร้อยละ 80 เด็ก เยาวชนและคนในชุมชน ยึดหลักปรัญชญาเศรษฐกิจพอเพียงและวิถีวัฒนธรรมชุมชนไว้เป็นที่ยึดเหนี่ยวในการดำรงชีวิต

     

    4 การสนับสนุนติดตามโครงการโดยทีม สสส.,สจรส.มอ.
    ตัวชี้วัด : 1. การเข้าร่วมประชุมติดตามการดำเนินงานจากทีม สสส.,สจรส.มอ. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 2. การจัดทำรายงานโครงการ (ส.1 ,ส.2,ง.1,ง.2 ,ส.3)

     

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) คนในชุมชนมีการจัดทำระบบบัญชีรายรับ-รายจ่าย ของครัวเรือน (2) เพื่อส่งเสริม พัฒนาอาชีพให้คนในชุมชนสามารถพึ่งตนเองได้ และมีความมั่นคงยั่งยืน ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (3) เด็ก เยาวชนและคนในชุมชน มีการสืบสานศิลปการละเล่นท้องถิ่น ลิเกฮูลู และสามารถเผยแพร่และถ่ายทอดวิถีวัฒนธรรมชุมชนให้คนอื่นได้รับรู้ และส่งต่อรุ่นต่อรุ่นได้ (4) การสนับสนุนติดตามโครงการโดยทีม สสส.,สจรส.มอ.

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    คนโคกสิเหรงกินดีอยู่ดี มีอาชีพเสริม เพิ่มรายได้ ภายใต้สิ่งแวดล้อมน่าอยู่ จังหวัด สงขลา

    รหัสโครงการ 57-01529

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นางกะรีนา สูกาเกาะ )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด