แบบรายงานผลการดำเนินโครงการประจำงวด 1

ชื่อโครงการ ชุมชนพิกุลทอง สุขภาพดี ด้วยสมุนไพรไทย

ชุมชน หมู่ที่ 1 ต.คีรีเขต อ.ธารโต จ.ยะลา

รหัสโครงการ 57-02557 เลขที่ข้อตกลง 58-00-0170

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 15 พฤศจิกายน 2557 ถึง 15 ธันวาคม 2558

รายงานงวดที่ : 1 จากเดือน พฤศจิกายน 2557 ถึงเดือน มีนาคม 2558

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินโครงการ (แสดงผลการดำเนินงานรายกิจกรรมที่แสดงผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ปฐมนิเทศผู้รับทุนโครงการ

วันที่ 29 พฤศจิกายน 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและศักยภาพในการดำเนินโครงการให้บรรลุตามเป้าหมาย

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ได้รู้จักครูพี่เลี้ยงจังหวัดต่างๆ
  • ได้ทำข้อตกลงร่วมกัน
  • ได้เรียนรู้กระบวนการทำงาน การติดตามและการประเมินผล และการป้อนข้อมูลผ่านเว็ปไซด์

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • การสนับสนุนของครูพี่เลี้ยง
  • กระบวนการและระบบการติดตามการประเมินผล
  • ความคาดหวังประสบการณ์และแนวทางในการจัดทำรายงานผลและรายงานการเงิน
  • การบริหารจัดการโครงการและวิธีการจัดการปัญหา
  • การป้อนแผนการดำเนินงานในปฏิทินโครงการ
  • การรายงานผลการจัดกิจกรรมและรายจ่ายในกิจกรรม
  • การจัดทำรายงาน

กิจกรรมที่ทำจริง

  • คณะ สจรส.ม.อ.แนะนำตัว
  • ครูพี่เลี้ยงแนะนำตัว
  • ทำข้อตกลงร่วมกัน
  • การสนับสนุนของครูพี่เลี้ยง -กระบวนการและระบบการติดตามการประเมินผล -ความคาดหวังประสบการณ์และแนวทางในการจัดทำรายงานผลและรายงานการเงิน -การบริหารจัดการโครงการและวิธีการจัดการปัญหา
  • การป้อนแผนการดำเนินงานในปฏิทินโครงการ
  • การรายงานผลการจัดกิจกรรมและรายจ่ายในกิจกรรม
  • การจัดทำรายงาน โดยการสอนการใช้เว็ปคนใต้สร้างสุข และการแบ่งจ่ายเงิน 3งวด

 

2 2

2. ประชุมคณะทำงานโครงการ

วันที่ 28 ธันวาคม 2557 เวลา 09:00 - 16.00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและศักยภาพในการดำเนินโครงการให้บรรลุตามเป้าหมาย

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • มีการแบ่งหน้าที่การทำงานของคณะทำงานที่ชัดเจนขึ้น และทุกคนจะช่วยกันประชาสัมพันธ์เพื่อแจ้งกลุ่มเป้าหมายให้มาร่วมกิจกรรม ในวันที่ 13 มกราคม 2558
  • จากการระดมความคิดทำให้ได้ข้อมูลรายชื่อสมุนไพรในชุมชน สรรพคุณ พร้อมวิธีใช้ ประมาณ 60 ชนิด
  • และร่วมกันจัดสถานที่ ณ ศาลาเอนกประสงค์วัดศรีนคร

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ร่วมกันปรึกษาหารือเพื่อเปิดตัวโครงการ และแจ้งกลุ่มเป้าหมาย

กิจกรรมที่ทำจริง

ประชุมคณะกรรมการโครงการ และตัวแทนชุมชน เพื่อชี้แจ้งโครงการ และแจ้งกลุ่มเป้าหมายให้มาร่วมกิจกรรมเปิดตัวโครงการและจัดตั้งคณะบุคคลเพื่อดำเนินโครงการ พร้อมทั้งหารือเรื่องคู่มือการใช้สมุนไพร และระดมความคิด เรื่องสมุนไพรที่พบได้ในชุมชน ซึ่งจะจัดทำเพื่อมอบให้กับผู้เข้าร่วมกิจกรรมเปิดตัวชี้แจงโครงการ

 

10 20

3. เปิดตัวโครงการ

วันที่ 13 มกราคม 2558 เวลา 13:00 - 16.00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อให้คนในชุมชนมีความรู้ ตระหนัก และเห็นคุณค่าของพืชสมุนไพรไทยต่อสุขภาพ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ประชาชน เยาวชน และนักเรียน ในชุมชนมีความเข้าใจในตัวโครงการ และมีความสนใจการดำเนินโครงการ โดยมีการซักถามรายละเอียดการดำเนินงาน พร้อมทั้งเสนอแนะวิธีการดำเนินการโครงการเพิ่มเติม และนำเอาเรื่อง พืช สมุนไพรที่มีในหมู่บ้านมาพูดคุยกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเยาวชนและนักเรียนที่ให้ความสนใจเรื่องสมุนไพรที่นำมาใช้ทำขนมและเครื่องดื่ม

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

-เปิดตัวโครงการ - จัดตั้งสภาผู้นำชุมชน -คัดเลือกกลุ่มเด็กและเยาวชนเพื่อเข้าอบรม -ร่วมกันออกแบบสำรวจสุขภาพและระบบสุขภาพภายในชุมชน -แบ่งบทบาทหน้าที่วางแผนการดำเนินงานโครงการร่วมกัน

กิจกรรมที่ทำจริง

  • จัดเตรียมสถานที่ เพื่อดำเนินกิจกรรม
  • ลงทะเบียน
  • กล่าวเปิดโครงการ โดยรองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลคีรีเขต
  • แจ้งรายละเอียดโครงการ โดย ประธานโครงการ มีเนื้อหาดังนี้ คือ ที่มาของโครงการ กิจกรรมของโครงการ ระยะเวลาดำเนินงาน และงบประมาณที่สนับสนุนจาก สสส.
  • ผู้ใหญ่บ้านแจ้งรายละเอียดข้อมูลโครงการแก่คนในชุมชน
  • อาจารย์พี่เลี้ยงชี้แจงโครงการที่จัดทำในชุมชน
  • จัดตั้งสภาผู้นำชุมชน โดยการมีส่วนร่วมของผู้นำกลุ่มต่างๆของคนในชุมชน และจัดตั้งสภาผู้นำเยาวชนเพื่อเรียนรู้และขับเคลื่อนกิจกรรม
  • กล่าวปิดงานโดยผู้ใหญ่บ้าน
  • แนะนำสถานที่ในหมู่บ้านโดย ผู้ใหญ่บ้าน ประธานโครงการ และผู้ร่วมโครงการ เช่น ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง สถานที่สำหรับจัดทำศูนย์การเรียนรู้สมุนไพรในชุมชน
  • อาหารว่างและเครื่องดื่มใช้สมุนไพรในชุมชนเป็นองค์ประกอบ

 

50 50

4. สำรวจสมุนไพรในชุมชน

วันที่ 15 มกราคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อให้คนในชุมชนมีความรู้ ตระหนัก และเห็นคุณค่าของพืชสมุนไพร ไทยต่อสุขภาพ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

จากการร่วมหาสมุนไพรในชุมชน ได้สมุนไพร ประมาณ 30 ชนิดได้แก่ ต้นแคร์ ต้นยอ ต้นปลาไหลเผือก ต้นฟ้าทะลายโจร ขิงแดง เหงือกปากหมอ  มะระขี้นก ว่านหางจอระเข้ ขิง ข่า ตะไคร้ ใบเตย ต้นมะกูด ต้นกระเจี๊ยบ ชุมเห็ดเทศ บัวบก มะรุม กระเพรา เป็นต้น 

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

-ร่วมสำรวจสมุนไพรในชุมชนว่ามีกี่ชนิด

กิจกรรมที่ทำจริง

ร่วมกันหาสมุนไพรในชุมชน โดยแบ่งกลุ่มประมาณ  12 กลุ่ม เดินสำรวจในชุมชน และกลับรวมตัวกันเพื่อรวบรวมข้อมูล


 

100 70

5. ติดป้ายปลอดบุหรี่

วันที่ 16 มกราคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อรณรงค์การลด เลิก บุหรี่ น้อยลง

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ประชาชนในหมู่บ้านสนใจกิจกรรม ลด ละ เลิก บุหรี่ และช่วยกันสอดส่องลูกหลานในหมู่บ้านเพื่อป้องกันลูกหลานยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ติดแผ่นป้ายปลอดบุหรี่ในหมู่บ้าน

กิจกรรมที่ทำจริง

ติดป้ายโครงการในหมู่บ้าน หมู่ที่ 1 ตำบลคีรีเขต อำเภอธารโต จังหวัดยะลา และประชาสัมพันธ์ให้คนในหมู่บ้าน ละ ละ เลิก บุหรี่

 

2 2

6. ศึกษาสรรพคุณของสมุนไพร

วันที่ 17 มกราคม 2558 เวลา 09:00-12.00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อขับเคลื่อนกิจกรรมการศึกษาสรรพคุณสมุนไพรโดยเยาวชนและคนในชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. ได้เรียนรู้สรรพคุณของสมุนไพร เช่น ว่านหาง ช่วยป้องกันโรคเบาหวาน ด้วยการรับประทานเนื้อวุ้น , ใบเตยหอม สรรพคุณช่วยบำรุงหัวใจให้ชุ่มชื่น และช่วยลดอัตราการเต้นของหัวใจ, ตะใคร้ ทำให้เจริญอาหาร แก้ปวดกระเพาะอาหาร แก้ท้องเสีย , หอมแดง สรรพคุณของหอมแดง ช่วยบำรุงโลหิต ช่วยบำรุงหัวใจ, ประโยชน์ของมะพร้าว ช่วยบำรุงร่างกาย (เนื้อมะพร้าว)
  2. ได้เรียนรู้การประกอบอาหารเมนูต่าง ๆ ที่ใช้สมุนไพร เช่น

- เมี่ยงคำ ส่วนผสม ใบชพลู ขิง มะนาว กุ้งแห้ง พริก มะมาว หอมแดง ถั่วคั่ว
- ข้าวยำ ปลาคั่ว มะพร้าวคั่ว บูดู ผักต่างๆ - แกงส้มดอกแค ดอกแค กุ้งก้ามกราม  น้ำมะขามเปียก พริกแห้งเม็ดใหญ่ หอมแดง กระเทียม ตะไคร้ซอย เกลือป่น/กะปิ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ศึกษาสรรพคุณของสมุนไพร
  • ศึกษาการประกอบอาหารโดยสมุนไพร
  • แลกเปลี่ยนความรู้

กิจกรรมที่ทำจริง

-จัดเตรียมสถานที่ -จัดตั้งสภาผู้นำ -ร่วมศึกษาสรรพคุณของสมุนไพร -ศึกษาการประกอบอาหารโดยสมุนไพร -แลกเปลี่ยนความรู้

 

100 100

7. การนำเสนอเกี่ยวกับการสำรวจสมุนไพรในหมู่บ้าน

วันที่ 20 มกราคม 2558 เวลา 09:00-16.00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อสร้างแหล่งเรียนรู้ภายในชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

จากการนำเสนองานของแต่ละกลุ่ม ทำให้ประชาชนในหมู่บ้านได้เรียนรู้ และแลกเปลี่ยนข้อมูล เรื่องชนิดและสรรพคุณของสมุนไพรในหมู่บ้านร่วมกัน โดยเฉลี่ยแต่กลุ่ม (12 กลุ่ม)มีการนำเสนอสมุนไพรประมาณกลุ่มละ 4-5 ชนิดที่ไม่ซ้ำกัน ทำให้ได้ความรู้เรื่องสมุนไพรในชุมชนเพิ่มขึ้นประมาณ 60 ชนิด โดยมีวิทยากรซึ่งเป็นพยาบาลวิชาชีพจากโรงพยาบาลประจำอำเภอคอยให้ข้อมูลเพิ่มเติม

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

จากการที่ลงสำรวจในพื้นที่ สภาผู้นำ เยาวชน และคนในชุมชน ได้ค้นพบสมุนไพร และได้นำเสนอสมุนไพรที่พบในชุมชน เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในการทำกิจกรรมต่อไป

กิจกรรมที่ทำจริง

-เตรียมสถานที่ -นัดประชากรในหมู่บ้าน แจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับการนำเสนอสมุนไพรที่ปลูกในบริเวณบ้าน หรือข้างเคียง -พูดคุย เกี่ยวกับการดำเนินการโครงการ ความเคลื่อนไหวของโครงการ -ให้ชาวบ้านแต่ละกลุ่มนำเสนอสมุนไพร ที่ได้จากการสำรวจในชุมชน และบริเวณบ้าน เช่น ตะใคร้ ฟ้าทะลายโจร  พญายอ ดอกแค ใบเตย ชะพลู ขี้เหล็ก บัวบก ว่านหางจระเข้ ปลาไหลเผือก  กระดุมทอง  ดาวเรือง หญ้าขี้ไก่ (สาบเสือ) ขิง ข่า มะนาว

 

100 100

8. อบรมให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพด้วยสมุนไพรไทย

วันที่ 22 มกราคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อให้คนในชุมชนมีความรู้ตระหนัก และเห็นคุณค่าของพืชสมุนไพรไทยต่อสุขภาพ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ประชาชนสามารถนำสมุนไพรใกล้ตัวไปใช้ในชีวิตประจำวันโดยไม่ต้องพึ่งยาแผนปัจจุบัน และยังเรียนรู้เกี่ยวกับเกร็ดความรู้เพิ่มเติมที่จะช่วยให้การใช้ยาสมุนไพรได้ประโยชน์สูงสุด เช่น ไข้หวัด ก็กินฟ้าทะลาายโจร แทนPara ,ว่านหางจระเข้ควรเลือกใช้ใบที่อยู่ล่างสุด ใช้ทาแผล น้ำร้อนลวก และต้นเทียนน้ำซึ่งเป็นไม้ประดับ ทุกคนในชุมชนไม่เคยรู้มาก่อนว่าสามารถใช้เป็นยาสมุนไพรแก้ฝีและแผลพุพองได้ เป็นต้น

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่พบได้ในชุมชน และการนำสมุนไพรมาใช้ประโชชน์เพื่อลดการใช้ยาแผนปัจจุบัน

กิจกรรมที่ทำจริง

-จัดเตรียมสถานที่ -แจ้งกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรม -อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้สมุนไพรที่พบได้ในชุมชนเช่น เทียนน้ำ  - แก้ฝีและแผลพุพอง ใช้ใบสด 5-10 ใบ ล้างให้สะอาด ตำให้ละเอียด นำมาพอกที่เป็นแผล วันละ 3 ครั้ง จนกว่าจะหาย ,ต้นพุดตาล ยาถอนพิษ รักษาแผลน้ำร้อนลวก ไฟไหม้ แผลมีหนอง  ใช้ใบสด 3-4 ใบ ล้างน้ำให้สะอาด ตำให้ละเอียดแล้วผสมกับน้ำมันพืช ใช้ทาแผลน้ำร้อนลวก ไฟไหม้ แผลมีหนอง,ว่านหางจระเข้ บรรเทาอาการปวดศีรษะ เลือกใบว่านหางจระเข้ที่อยู่ล่างสุด ใบสด 1 ใบ (เพราะมีตัวยามากกว่า) ฝานตามขวางใบ หนาประมาณ 1/4 ซม. ใช้ปูนแดงทาตรงเนื้อที่มีลักษณะคล้ายวุ้นสีขาวใสๆ แล้วเอาทางด้านปูนแดงปิดบนขมับ เป็นต้น -การใช้สมุนไพรในการนวด

 

150 150

9. นิเทศและติดตามประเมิน

วันที่ 24 มกราคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนโครงการและสร้างการส่วนร่วมของคนในชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • มีการมอบหมายหน้าที่การทำงานให้กับผู้ร่วมรับผิดชอบโครงการ เช่น การประสานวิทยากร  การจัดสถานที่จัดอบรม เป็นต้น
  • ในชุมชนสามารถรวบรวมรายชื่อสมุนไพรได้ประมาณ 60 ชนิด กิจกรรมที่ให้ความรู้ช่วยให้คนในชุมชนรู้จักการใช้สมุนไพรในชุมชนมากขึ้น
  • ในการดำเนินกิจกรรมการปลูกพืชสมุนไพร จำเป็นต้องเลื่อนกิจกรรมต่อไปออกไปก่อน เนี่องจากอากาศร้อนไม่เหมาะสมแก่การเพาะปลูกสมุนไพร

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

นิเทศ ติดตาม ประเมินผล

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ประชุมเพื่อเตรียมงานกิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องสมุนไพรกับเด็กนักเรียน เตรียมเนื้อหาการอบรม
  • สรุปผลงานและประเมินผลกิจกรรมที่ผ่านมา
  • หาแนวทางการดำเนินงานในกิจกรรมต่อไป

 

10 10

10. สร้างการเรียนรู้ร่วมกับเด็ก และเยาวชน

วันที่ 27 มกราคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อให้นักเรียนศึกษาสมุนไพรในชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

เยาวชนได้ความรู้ความเข้าเรื่องสมุนไพรใกล้ตัว โดยสามารถตอบคำถามวิทยากรได้ถูกต้อง สามารถนำเสนอองค์ความรู้การใช้สมุนไพรใกล้ตัวได้หลายชนิด และร่วมสร้างข้อตกในการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน และเผยแพร่สู่ชุมชนโดยให้เริ่มจากครอบครัวของตัวเองและเพื่อนบ้าน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุม การดำเนินกิจกรรม โดยการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ ข้อมูลโดยการคืนข้อมูลย้อนกลับสู่ชุมชน

กิจกรรมที่ทำจริง

  • คัดเลือกแกนนำในเยาวชน
  • ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสมุนไพร
  • แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน

 

70 70

11. อบรมเรื่องสมุนไพรที่เป็นประโยชน์

วันที่ 29 มกราคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อให้คนในชุมชนมีความรู้ตระหนัก และเห็นคุณค่าของพืชสมุนไพรไทยต่อสุขภาพ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ประชาชนมีความเข้าใจในการใช้ยาสมุนไพรที่ถูกต้อง และระมัดระวังมากขึ้นเพื่อไม่ให้เกิดอันตรายจากการใช้สมุนไพร สามารถใช้สมุนไพรอย่างถูกวิธี โดยเป็นความรู้ทั่วไปที่ผู้ใช้สมุนไพรควรจะรู้ และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ และสามารถนำความรู้ที่ได้ถ่ายทอดให้แก่ผู้อื่นได้

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

จัดการอบรมเรื่องประโยชน์ของสมุนไพรไทย และการนำสมุนไพรมาใช้เพื่อการจัดการสุขภาพอย่างเหมาะสม

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. เตรียมสถานที่
  2. ประชาสัมพันธ์แจ้งประชาชนในหมู่บ้าน
  3. ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนความรู้ เรื่องสมุนไพร โดยการอบรมเพื่อให้ความรู้ เรื่องสมุนไพรใช้อย่างไรโดยไม่ให้เกิดอันตราย ซึ่งเชิญวิทยากรที่เป็นพยาบาลจากโรงพยาบาลประจำอำเภอ

 

100 100

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น

ส่วนที่ 2 ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการและปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินโครงการ

ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ

การดำเนินงานเมื่อเทียบกับการดำเนินงานทั้งโครงการทั้งหมดทำแล้ว10%20%30%40%50%60%70%80%90%100%
การทำกิจกรรม 47 11                  
การใช้จ่ายงบประมาณ 203,700.00 63,850.00                  
คุณภาพกิจกรรม 44 35                  

ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ)

ประเด็นปัญหา/อุปสรรคสาเหตุเพราะแนวทางการแก้ไขของผู้รับทุน

1.ช่วงนี้เกิดภัยแล้ง ฝนไม่ตก ทำให้การปลูกพืชสมุนไพรเป็นไปได้ยากต้องเลื่อนการปลูกพืชสมุนไพรออกไปก่อน

 

 

แผนงาน/กิจกรรม ที่จะดำเนินการในงวดต่อไป

  1. สภาผู้นำชุมชนประชุมประจำเดือน ( 16 เม.ย. 2558 )
  2. จัดกิจกรรมและอบรมนักเรียน ( 17 เม.ย. 2558 )
  3. กิจกรรมรณรงค์ให้คนในชุมชนปลูกพืชสมุนไพร ( 18 เม.ย. 2558 )
  4. สำรวจปัญหาสุขภาพในครอบครัว ( 20 เม.ย. 2558 )
  5. ปลูกพืชสมุนไพร ( 22 เม.ย. 2558 )
  6. ติดตั้งป้ายศูนย์เรียนรู้สมุนไพรชุมชนบ้านพิกุลทอง ( 23 เม.ย. 2558 )
  7. คนในชุมชนร่วมกันปลูกพืชสมุนไพรที่หามาได้ในชุมชน ( 24 เม.ย. 2558 )
  8. เปิดศูนย์การเรียนรู้สมุนไพรไทย ( 25 เม.ย. 2558 )
  9. ประชุม จัดตั้งเวที สะท้อนความคิดเห็นในชุมชน ( 26 เม.ย. 2558 )
  10. จัดทำแผนผังการปลูกสมุนไพร ( 27 เม.ย. 2558 )
  11. สภาผู้นำชุมชนประชุมประจำเดือน ( 30 เม.ย. 2558 )
  12. ดูงาน ณ สวนกลางบ้าน อุทยานความรู้คู่ชุมชน ( 2 พ.ค. 2558 )
  13. ประชุมสรุปผลจากการศึกษาดูงาน ( 4 พ.ค. 2558 )
  14. อบรมเรื่องการแปรรูปสมุนไพร ( 8 พ.ค. 2558 )
  15. ร่วมหาส่วนผสมในการแปรรูป วันที่ 1 ( 13 พ.ค. 2558 )
  16. ร่วมหาส่วนผสมแปรรูปวันที่2 ( 20 พ.ค. 2558 )
  17. ร่วมหาส่วนผสมแปรรูป วันที่ 3 ( 25 พ.ค. 2558 )
  18. ร่วมหาส่วนผสมแปรรูปวันที่ 4 ( 28 พ.ค. 2558 )
  19. ร่วมหาส่วนผสมแปรรูปวันที่ 5 ( 4 มิ.ย. 2558 )
  20. สภาผู้นำชุมชนประชุมประจำเดือน ( 12 มิ.ย. 2558 )
  21. แปรรูปสมุนไพร วันที่ 1 ( 18 มิ.ย. 2558 )
  22. แปรรูปสมุนไพร วันที่ 2 ( 19 มิ.ย. 2558 )
  23. แปรรูปสมุนไพร วันที่ 3 ( 20 มิ.ย. 2558 )
  24. แปรรูปสมุนไพร วันที่ 4 ( 21 มิ.ย. 2558 )
  25. แปรรูปสมุนไพรวันที่ 5 ( 22 มิ.ย. 2558 )
  26. สภาผู้นำชุมชนประชุมประจำเดือน ( 25 มิ.ย. 2558 )
  27. สภาผู้นำชุมชนประชุมประจำเดือน ( 23 ก.ค. 2558 )
  28. สภาผู้นำชุมชนประชุมประจำเดือน ( 27 ก.ค. 2558 )
  29. จัดแสดงผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร ( 7 ส.ค. 2558 )
  30. คืนเงินค่าเปิดบัญชีธนาคาร ( 13 ส.ค. 2558 )
  31. ประชุม ปิดกิจกรรม ( 14 ส.ค. 2558 )
  32. ร่วมงานคนใต้สร้างสุข ( 4 ก.ย. 2558 )

(................................)
น.ส.นุวภา แก้วแก่นเพชร
ผู้รับผิดชอบโครงการ