directions_run

มัสยิดกุนุงจนองสร้างสุข สู่สองวัยใส่ใจสุขภาพ

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


“ มัสยิดกุนุงจนองสร้างสุข สู่สองวัยใส่ใจสุขภาพ ”

ชุมชนกุนุงจนอง ต.เบตง อ.เบตง

หัวหน้าโครงการ
นายอัสมี ดาหะมิ

ชื่อโครงการ มัสยิดกุนุงจนองสร้างสุข สู่สองวัยใส่ใจสุขภาพ

ที่อยู่ ชุมชนกุนุงจนอง ต.เบตง อ.เบตง จังหวัด ยะลา

รหัสโครงการ 57-02624 เลขที่ข้อตกลง 58-00-0123

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 20 ตุลาคม 2557 ถึง 20 พฤศจิกายน 2558


กิตติกรรมประกาศ

"มัสยิดกุนุงจนองสร้างสุข สู่สองวัยใส่ใจสุขภาพ จังหวัดยะลา" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ชุมชนกุนุงจนอง ต.เบตง อ.เบตง

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
มัสยิดกุนุงจนองสร้างสุข สู่สองวัยใส่ใจสุขภาพ



บทคัดย่อ

โครงการ " มัสยิดกุนุงจนองสร้างสุข สู่สองวัยใส่ใจสุขภาพ " ดำเนินการในพื้นที่ ชุมชนกุนุงจนอง ต.เบตง อ.เบตง รหัสโครงการ 57-02624 ระยะเวลาการดำเนินงาน 20 ตุลาคม 2557 - 20 พฤศจิกายน 2558 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 191,800.00 บาท จาก เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 110 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

 

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. 1. เพื่อให้ผู้สูงอายุมีสุขภาวะที่ดี และสามารถดูแลสุขภาพตัวเองได้
  2. 2. เพื่อให้สมาชิกในครอบครัวและชุมชนมีส่วนร่วมและส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ
  3. 3. เพื่อให้ผู้สูงอายุมีโอกาสแสดงศักยภาพของตนเองในการร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่
  4. 4. เพื่อสร้างกลไกชุมชนที่แข็งแรงสู่ชุมชนน่าอยู่
  5. 5. เพื่อการบริหารจัดการและการติดตามประเมินผลโครงการ

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

     


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. ปฐมนิเทศผู้รับผิดชอบโครงการร่วมสร้างชุมชนและท้องถิ่นน่าอยู่

    วันที่ 28 พฤศจิกายน 2557 เวลา 09:00-16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    อ.พงค์เทพ และทีมพี่เลี้ยง สจรส. ได้อธิบายขั้นตอนการทำโครงการ ดังนี้

    • แนวทางในการจัดทำรายงานผล และรายงานการเงิน โดยการทำรายงานการเงินแยกรายกิจกรรม/ครั้ง
    • กระบวนการและระบบการติดตามประเมินผล
    • การทำรายงานโครงการ และ รายงานการเงิน  การป้อนข้อมูลรายละเอียดโครงการในเว็บไซต์
    • การป้อนแผนการดำเนินงานในปฏิทินโครงการ
    • การรายงานผลการจัดกิจกรรม และรายจ่ายในกิจกรรมและการจัดทำรายงาน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ทราบแนวทางในการจัดทำรายงานผล และรายงานการเงิน โดยการทำรายงานการเงินแยกรายกิจกรรม/ครั้ง ดังนี้ กระบวนการและระบบการติดตามประเมินผล การทำรายงานโครงการ และ รายงานการเงิน  การป้อนข้อมูลรายละเอียดโครงการในเว็บไซต์ การป้อนแผนการดำเนินงานในปฏิทินโครงการ
    • การรายงานผลการจัดกิจกรรม และรายจ่ายในกิจกรรมและการจัดทำรายงาน

     

    3 3

    2. ประชุมติดตามกิจกรรม ร่วมกับคณะทำงาน ครั้งที่1

    วันที่ 16 ธันวาคม 2557 เวลา 20:00 - 22:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ชี้เเจงวาระการประชุม
    • ชี้แจงรายละเอียดโครงการให้คณะทำงานทราบ
    • เเจ้งบทบาทหน้าที่ของแต่ละบุคคล
    • วางแผนและเตรียมการจัดเวทีประชุมชี้แจงโครงการแก่ชุมชนในวันที่ 21 ธันวาคม 2557

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • คณะทำงานทราบรายละเอียดของกิจกรรมที่จะดำเนินการในโครงการ
    • แต่บุคคลทราบบทบาทหน้าความรับผิดชอบของตนเองในโครงการ
    • สามารถวางแผนและเตรียมการจัดเวทีประชุมชี้แจงโครงการแก่ชุมชน วันที่ 21 ธันวาคม 2557

     

    15 15

    3. ถอนเงินค่าเปิดบัญชี

    วันที่ 18 ธันวาคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ผู้รับผิดชอบโครงการ และเลขานุการ ถอนเงินจากสมุดบัญชีคืน จำนวน 500 บาท 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้รับทราบวิธีการถอนเงินคืน ว่าต้องลงบัญชีรับจ่ายในรายงานของ สสส.ด้วย

     

    2 2

    4. จัดทำป้ายสถานที่นี้ปลอดบุหรี่และป้ายไวนิลโครงการ

    วันที่ 20 ธันวาคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ทำป้ายรณรงค์จำนวน 1 ป้าย และทำป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • มีป้ายประชาสัมพันธ์การทำโครงการ และป้ายรณรงค์ไม่สูบบุหรี่ในชุมชน

     

    150 150

    5. จัดเวทีประชุมชี้แจงการดำเนินงานโครงการ

    วันที่ 21 ธันวาคม 2557 เวลา 08:30 - 12:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมกิจกรรมจริง
    • โต๊ะอีหม่ามประจำมัสยิดกล่าวเปิดกิจกรรมประชุมชี้แจง
    • ประธานชุมชนชี้แจงที่มาของโครงการ
    • แนะนำทีมงานและชีแจงกิจกรรมที่จะดำเนินการในโครงการทั้งหมด
    • พี่เลี้ยงโครงการร่วมพูดคุยทำความเข้าใจเกี่ยวกับชาวบ้าน
    • ชาวบ้านร่วมแลกเปลี่ยนและเสนอแนะเกี่ยวกับโครงการ
    • ประธานชุมชนกล่าวสรุปและขอบคุณผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ชุมชนรับทราบแนวทางการสนับสนุนโครงการจาก สสส. และกิจกรรมทีี่จะดำเนินการในโครงการทั้งหมด รวมถึงร่วมเสนอเเนะเกี่ยวกับกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มย่อย (ฮาลาเกาะฮ) ว่าควรมีการจัดแบบรวมกลุ่มย่อยที่เคยมีชุมชนอยู่แล้ว มาร่วมจัดกิจกรรมร่วมกันใน 1 เดือน
    • ชาวบ้านในชุมชนมีความร่วมมือในการเข้าร่วมกิจกรรมไม่ว่าจะเป็นกรรมมัสยิด แกนนำชุมชน ผู้สูงอายุ เยาวชน และชาวบ้านทั่วไป

     

    150 150

    6. ประชุมติดตามกิจกรรม ร่วมกับคณะทำงาน ครั้งที่2

    วันที่ 10 มกราคม 2558 เวลา 20:00 - 22:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ชี้เเจงวาระการประชุม
    • ชี้แจงรายละเอียดโครงการให้คณะทำงานทราบ
    • เเจ้งบทบาทหน้าที่ของแต่ละบุคคล
    • วางแผนและเตรียมการกิจกรรมการจัดการข้อมูลผู้สูงอายุ ในวันที่ 16,17,23 มกราคม 2558

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • คณะทำงานทราบรายละเอียดของกิจกรรมที่จะดำเนินการในโครงการ
    • แต่บุคคลทราบบทบาทหน้าความรับผิดชอบของตนเองในโครงการ
    • สามารถวางแผนและเตรียมการกิจกรรมการจัดการข้อมูลผู้สูงอายุ  ในวันที่ 16,17,23 มกราคม 2558 ได้แก่ รูปแบบการจัดกิจกรรม สถานที่ในการจัดกิจกรรม และเรื่องอาหาร

     

    15 15

    7. การจัดการข้อมูลสุขภาวะ ผู้สูงอายุ ครั้งที่ 1 เรื่อง การจัดเก็บข้อมูล

    วันที่ 16 มกราคม 2558 เวลา 08:30-16:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ลงทะเบียน
    • ประธานในพิธีกล่าวเปิดพร้อมทั้งให้กำลังใจแก่เยาวชนที่เข้าร่วมกิจกรรม
    • ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเขียนความคาดหวัง/ความกังวลในการอบรมครั้งนี้
    • แลกเปลี่ยนการเรียนรู้ระหว่างวิทยากรกับผู้เข้าร่วมอบรมเรื่องการจัดเก็บข้อมูลผู้สูงอายุ
    • แลกเปลี่ยนการเรียนรู้และร่วมสรุปการเรียนรู้กับเยาวชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • เยาวชนมีความรู้ในการจัดเก็บข้อมูลผู้สูงอายุ เรื่องการดูแลตนเองของผู้สูงอายุ ด้วยหลัก 3อ.2ส. (อาหาร,อารมณ์,ออกกำลังกายและสูบบุหรี่,สุรา) ภูมิปัญญาท้องถิ่น และความต้องการของผู้สูงอายุ
    • เยาวชนสามารถแลกเปลี่ยนการเรียนรู้และร่วมสรุปการเรียนรู้ได้

     

    30 30

    8. การจัดการข้อมูลสุขภาวะ ผู้สูงอายุ

    วันที่ 17 มกราคม 2558 เวลา 08:30-16:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ลงทะเบียน
    • ลงสำรวจชุมชน และจัดเก็บข้อมูลผู้สูงอายุ
    • แลกเปลี่ยนการเรียนรู้ระหว่างวิทยากรกับผู้เข้าร่วมอบรมเรื่องการวิเคราะห์ข้อมูลผู้สูงอายุ
    • แลกเปลี่ยนการเรียนรู้และร่วมสรุปการเรียนรู้กับเยาวชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • เยาวชนมีทักษะในการลงสำรวจชุมชน และจัดเก็บข้อมูลผู้สูงอายุ ทั้งหมด 27 คน
    • เยาวชนมีความรู้ในเรื่องการวิเคราะห์ข้อมูลผู้สูงอายุ การดูแลตนเองของผู้สูงอายุ ด้วยหลัก 3อ.2ส. (อาหาร,อารมณ์,ออกกำลังกายและสูบบุหรี่,สุรา) ภูมิปัญญาท้องถิ่น และความต้องการของผู้สูงอายุ
    • เยาวชนสามารถแลกเปลี่ยนการเรียนรู้กับวิยากรและร่วมสรุปการเรียนรู้ได้

     

    30 32

    9. การจัดการข้อมูลสุขภาวะ ผู้สูงอายุ

    วันที่ 23 มกราคม 2558 เวลา 08:30-16:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ลงทะเบียน
    • เยาวชนจิตอาสารวบรวมข้อมูลที่ได้จากการจัดเก็บข้อมูลผู้สูงอายุ
    • เยาวชนจิตอาสารร่วมวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ทำการจัดเก็บข้อมูลผู้สูงอายุ
    • เยาวชนจิตอาสาร่วมแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ และคืนข้อมูลแก่ แกนนำชุมชน กรรมการมัสยิด และเจ้าหน้าที่จากเทศบาลเมืองเบตง
    • เยาวชนจิตอาสาสรุปผลการเรียนรู้ของกิจกรรมทั้งหมด
    • มอบเกียรติบัตร และทำพิธีปิดกิจกรรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • แกนนำชุมชน กรรมการมัสยิด และเจ้าหน้าที่จากเทศบาลเมืองเบตง ทราบผลการคืนข้อมูลผู้สูงอายุ จากเยาวชนจิตอาสา
    • เยาวชนมีทักษะ และความรู้ในการคืนข้อมูลผู้สูงอายุเรื่องการดูแลตนเองของผู้สูงอายุ ด้วยหลัก 3อ.2ส. (อาหาร,อารมณ์,ออกกำลังกายและสูบบุหรี่,สุรา) ภูมิปัญญาท้องถิ่น และความต้องการของผู้สูงอายุ
    • เยาวชนสามารถแลกเปลี่ยนการเรียนรู้และร่วมสรุปการเรียนรู้ได้

     

    30 32

    10. ประชุมติดตามกิจกรรม ร่วมกับคณะทำงาน คร้งที่ 3

    วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 20.00-22.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ชี้เเจงวาระการประชุม
    • ชี้แจงรายละเอียดโครงการให้คณะทำงานทราบ
    • เเจ้งบทบาทหน้าที่ของแต่ละบุคคล
    • วางแผนและเตรียมการกิจกรรมอบรมให้ความรู้และเตรียมความพร้อมในการดูแลผู้สูงอายุในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2558และจัดการเรียนแบบฮาลาเกาะฮฺ ในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2558

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • คณะทำงานทราบรายละเอียดของกิจกรรมที่จะดำเนินการในโครงการ
    • แต่ละบุคคลทราบบทบาทหน้าความรับผิดชอบของตนเองในโครงการ
    • สามารถวางแผนและเตรียมการกิจกรรมอบรมให้ความรู้และเตรียมความพร้อมในการดูแลผู้สูงอายุในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2558และจัดการเรียนแบบฮาลาเกาะฮฺ ในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2558

     

    15 15

    11. อบรมให้ความรู้และเตรียมความพร้อมในการดูแลผู้สูงอายุ

    วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 08:30-16:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมกิจกรรม
    • พิธีเปิด
    • กิจกรรมนันทนาการ
    • อบรมเรื่องการดูแลผู้สูงอายุตามหลักศาสนา โดย นายยูโซ๊ะ กาเดร์
    • กิจกรรมนันทนาการ
    • อบรมเรื่องการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ ตามหลัก 3อ. 2ส. โดย ผอ.ศูนย์บริการสาธารณสุข กม.3
    • พิธีมอบเกียรติบัติ กล่าวปิดกิจกรรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ในกิจกรรมครั้งนี้มีการเเลกเปลี่ยนการเรียนรู้ในการดูแลผู้อายุในมิติด้านศาสนา โดยนายยูโซ๊ะ กาเด กรรมการมัสยิดกุนุงจนองเป็นวิทยากรนำการผู้แลกเปลี่ยน และด้านสุขภาพมี ผอ.ศูนย์บริการสาธารณสุข กม.3 และเป็นพี่เลี้ยงนักสร้างสุขภาวะชุมชน (นสส.)พื้นที่เบตง มาให้ความรู้และเเลกเปลี่ยนการเรียนรู้ในดูแลผู้สูงอายุ นอกจากนี้ยังมีการตรวจวัดความดันและให้คำปรึกษาในการดูแลสุขภาพเป็นรายบุคคลด้วย

     

    40 40

    12. กิจกรรมจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มย่อย (ฮาลาเกาะฮฺ) ครั้งที่ 1

    วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 08:30-12.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • กิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มย่อย(ฮาลาเกาะฮ) ครั้งที่1ในผู้สูงอายุ ภายใต้โครงการมัสยิดกุนุงจนองสร้างสุขสู่สองวัยใส่ใจสุขภาพ โดยมีนางวรรณา โต๊ะมัน ผอ.ศูนย์บริการสาธารณสุข กม.3 ซึ่งเป็นพี่เลี้ยง ประจำพื้นที่ของ นสส. (นักสร้างเสริมสุขภาพ) ได้เข้าร่วมสังเกต โดยกิจกรรมในครั้งนี้มีกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมประมาณ 90 คน โดยมีโตะครู(ผู้มีความรู้) ในชุมชนกุนุงจนองเป็นผู้ทำหน้าที่กระตุ้นการเรียนรู้และการแลกเปลี่ยนในประเด็นการอาบน้ำละหมาด

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ในกิจกรรมครั้งมีการเเลกเปลี่ยนการเรียนรู้ในประเด็นการอาบน้ำละหมาด ซึ่งจะเเบ่งกลุ่มการเรียนรู้เป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้สูงอายุชาย และ กลุ่มผู้สูงอายุหญิง โดยผู้สูงอายุชายจะใช้พื้นที่มัสยิดนูรูลอิห์ซานในการร่วมเเลกเปลี่ยนการเรียนรู้ และฝ่ายผู้สุงอายุหญิงจะใช้พื้นที่โรงเรียนตาดีกานูรูลอิห์ซานในการร่วมเเลกเปลี่ยนการเรียนรู้เมื่อสิ้นสุดกระบวนการพูดคุยแต่ละกลุ่มย่อยเลือกหัวข้อประเด็นในการเตรียมความพร้อม เพื่อการจัดฮาลาเกาะฮ ในครั้งต่อไป

     

    81 90

    13. พบพี่เลี้ยงจังหวัด

    วันที่ 13 มีนาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • พี่เลี้ยงจังหวัดตรวจสอบเอกสารรายงานผลความก้าวหน้าผลการดำเนินกิจกรรมโครงการ งวดที่ 1 โดยตรวจสอบเอกสาร ส.1 ส.2 และ ง.1

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ทีมงานโครงการรับทราบกระบวนการจัดทำรายงานความก้าวหน้าผลการดำเนินการ และขั้นตอนในการลงข้อมูลลงในเว็บไซด์ สจรส.

     

    2 2

    14. ปิดงวด 1

    วันที่ 14 มีนาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • นำเอกสารการเงินให้พี่ สจรส.ตรวจสอบความถูกต้อง
    • พี่ สจรส. ตรวจรายงานในเวบไซต์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • สามารถแก้ไขเอกสารรายงานงวดที่ 1 ได้เรียบร้อย โดยปรับแก้เอกสารการเงินแยกประเภอค่าใช้จ่าย ปรับแก้การเขียนรายงาน ทำให้เข้าใจหลักการทำงานเอกสารมากขึ้น

     

    2 2

    15. ประชุมติดตามคณะทำงาน ครั้งที่ 4

    วันที่ 26 มีนาคม 2558 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ชี้เเจงวาระการประชุม
    • ชี้แจงรายละเอียดโครงการให้คณะทำงานทราบ
    • เเจ้งบทบาทหน้าที่ของแต่ละบุคคล
    • วางแผนและเตรียมการกิจกรรมการทำแผนที่เดินดินและผังเครือญาติ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • คณะทำงานทราบรายละเอียดของกิจกรรมที่จะดำเนินการในโครงการ แต่ละบุคคลทราบบทบาทหน้าความรับผิดชอบของตนเองในโครงการ สามารถวางแผนและเตรียมการจัดการข้อมูลผู้สูงอายุในวันที่ 16,17 และ 23 มกราคม 2558 ได้แก่ รูปแบบการจัดกิจกรรม สถานที่ในการจัดกิจกรรม และเรื่องอาหาร

     

    15 15

    16. แผนที่เดินดิน

    วันที่ 30 มีนาคม 2558 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ลงทะเบียน
    • ประธานในพิธีกล่าวเปิดพร้อมทั้งให้กำลังใจแก่เยาวชนและผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรม
    • กิจกรรมสันทนาการ
    • อบรมความรู้ในการจัดทำแผนที่เดินดิน
    • จัดทำแผนที่เดินดินร่วมกันระหว่างเยาวชนและผุ้สูงอายุ
    • วิทยากรคือปราชญ์ผู้รู้ด้านผังเครือญาติของชุมชนในการให้ความรู้แก่ผู้สุงอายุและเยาวชน
    • จัดทำผังเครือญาติระหว่างผุู้สูงอายุและผังเครือญาติ
    • ร่วมกันแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ประเด็นแผนที่เดินดินและผังเครือญาติระหว่างเยาวชนกับผู้สูงอายุ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • เยาวชนและผู้สูงอายุมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกัน ร่วมกันคิดร่วมกันทำ ทำให้ลดช่องว่างระหว่างวัยอย่างมาก
    • ได้แผนที่เดินดินและผังเครือญาติที่เป็นรูปธรรม โดยแผนที่เดินดินยังทำให้เห็นถึงมิติของความสัมพันธ์ มิติทางกายภาพ ซึ่งผังเครือญาติ (สายตระกูลสุขภาพ) ซึ่งจะทำให้เกิดความรู้สึกรักและเป็นห่วงเป็นใยภายในชุมชน เพราะเห็นความเชื่อมโยงของเครือญาติกัน นอกจากยังสามารถทำให้เห็นความสัมพันธ์ที่มีหลายมิติ ไม่ว่ามิติทางด้านสุขภาพของคนในวงค์ตระกูลนั้นๆ

     

    110 110

    17. ประชุมติดตาม คณะทำงาน ครั้งที่ 5

    วันที่ 16 เมษายน 2558 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ชี้แจงวาระการประชุม
    • สรุปและติดตามการดำเนินงานที่ผ่านมา

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • คณะทำงานได้ทราบถึงข้อผิดผลาดในการดำเนินกิจกรรมที่ผ่านมา คือ เรื่องเวลาในการนัดเริ่มทำกิจกรรม ได้เลื่อนเวลาการทำกิจกรรมออกไป จึงเริ่มทำกิจกรรมล่าช้า เพราะผู้เข้าร่วมมาสาย ทำให้เสียเวลาในการลงทะเบียน และสารานำข้อผิดผลาดไปแก้ไขในกิจกรรมครั้งต่อไป

     

    15 15

    18. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 6

    วันที่ 3 พฤษภาคม 2558 เวลา 20:00 - 22:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ชี้แจงวาระการประชุม
    • สรุปค่าใช้จ่ายในงบประมาณงวดที่หนึ่ง
    • วางแผนกิจกรรมในงวดที่สอง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะทำงานได้ร่วมรับทราบถึงค่าใช้จ่ายของแต่ละกิจกรรมในงวดที่หนึ่ง คณะทำงานได้ร่วมการวางแผนและเสนอความเห็นต่อการจัดกิจกรรมในงวดที่สอง

     

    14 14

    19. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 7

    วันที่ 7 มิถุนายน 2558 เวลา 20:00 - 22:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ชี้เเจงวาระการประชุม

    • ชี้แจงรายละเอียดกิจกรรมให้คณะทำงานทราบ

    • เเจ้งบทบาทหน้าที่ของแต่ละบุคคล

    •วางแผนและเตรียมการกิจกรรมจัดการเรียนแบบฮาลาเกาะฮฺ ในวันที่ 12 มิถุนายน 2558

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • คณะทำงานทราบรายละเอียดของกิจกรรมที่จะดำเนินการในโครงการ
    • แต่ละบุคคลทราบบทบาทหน้าความรับผิดชอบของตนเองในโครงการ
    • สามารถวางแผนและเตรียมการกิจกรรมอบรมให้ความรู้และเตรียมความพร้อมในการจัดการเรียนแบบฮาลาเกาะฮฺ ในวันที่ 12 มิถุนายน 2558

     

    14 14

    20. จัดการเรียนรู้แบบกลุ่มย่อย (ฮาลาเกาะฮ) ครั้งที่ 2

    วันที่ 12 มิถุนายน 2558 เวลา 08:30 - 12:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • กิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มย่อย(ฮาลาเกาะฮ) ครั้งที่ 2 ในผู้สูงอายุ ภายใต้โครงการมัสยิดกุนุงจนองสร้างสุขสู่สองวัยใส่ใจสุขภาพ โดยมีนางวรรณา โต๊ะมัน ผอ.ศูนย์บริการสาธารณสุข กม.3 ซึ่งเป็นพี่เลี้ยง ประจำพื้นที่ของ นสส. (นักสร้างเสริมสุขภาพ) ได้เข้าร่วมสังเกต โดยมีโตะครู(ผู้มีความรู้) ในชุมชนกุนุงจนองเป็นผู้ทำหน้าที่กระตุ้นการเรียนรู้และการแลกเปลี่ยนในประเด็นการอาบน้ำละหมาด

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ในกิจกรรมครั้งมีการเเลกเปลี่ยนการเรียนรู้ในประเด็นการอาบน้ำละหมาด ซึ่งจะเเบ่งกลุ่มการเรียนรู้เป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้สูงอายุชาย และ กลุ่มผู้สูงอายุหญิง โดยผู้สูงอายุชายจะใช้พื้นที่มัสยิดนูรูลอิห์ซานในการร่วมเเลกเปลี่ยนการเรียนรู้ และฝ่ายผู้สุงอายุหญิงจะใช้พื้นที่โรงเรียนตาดีกานูรูลอิห์ซานในการร่วมเเลกเปลี่ยนการเรียนรู้เมื่อสิ้นสุดกระบวนการพูดคุยแต่ละกลุ่มย่อยเลือกหัวข้อประเด็นในการเตรียมความพร้อม เพื่อการจัดฮาลาเกาะฮ ในครั้งต่อไป

     

    81 90

    21. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 8

    วันที่ 5 กรกฎาคม 2558 เวลา 20.00น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมเตรียมความพร้อมในการจัดกิจกรรมมหกรรมชุมชนกุนุงจนองครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 รวมถึงการแบ่งหน้าที่ให้คณะกรรมการได้รับผิดชอบและดำเนินการตามแผนที่วางไว้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • คณะทำงานทราบรายละเอียดของกิจกรรมที่จะดำเนินการในโครงการ
    • แต่ละบุคคลทราบบทบาทหน้าความรับผิดชอบของตนเองในโครงการ
    • สามารถวางแผนและเตรียมการกิจกรรมมหกรรมชุมชนกุนุงจนอง ครั้งที่ 1 ในวันที่ 16 กรกฎาคม 2558 และมหกรรมชุมชนกุนุงจนอง ครั้งที่ 2 ในวันที่ 18 กรกฎาคม 2558

     

    15 15

    22. มหกรรมชุมชนกุนุงจนอง ครั้งที่1

    วันที่ 16 กรกฎาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • เยาวชนจิตอาสาได้เข้าร่วมเรียนรู้กระบวนการทำข้าวหลามจากผู้สูงอายุ โดยเริ่มตั้งแต่การเตรียมอุปกรณ์ วัตถุดิบ และสถานที่ในการจัดทำข้าวหลาม เรียนรู้วิธีการทำ ทดลองปฏิบัติเองโดยมีผู้สูงอายุคอยสอนและแนะนำตั้งแต่เริ่มต้นการทำข้าวหลาม จนกระทั่งวิธีการแบ่งขายซึ่งเปนภูมิปัญญาด้านอาชีพของขาวบ้านชุมชนกุนุงจนองอีกด้วย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • เยาวชนได้รับความรู้และประสบการณ์ด้านภูมิปัญญา ที่มีผู้สูงอายุเป็นผู้ถ่ายทอดองค์ความรู้ โดยมีเยาวชน และชาวบ้านที่สนใจร่วมเรียนรู้
    • การทำข้าวหลาม เด็ก ๆ ให้ความสำคัญกับการทำข้าวหลาม ได้เรียนรู้การหุงข้าวหลามที่ต้องมีวิธีการเตรียมอุปกรณ์ เช่น ไม้ไผ่ ต้องไปหาจากในป่า ใช้เวลาในการเตรียมข้าวสาร การหุง ที่ลำบาก ทำให้เกิดการช่วยเหลือกันในช่วงทำกิจกรรม และข้าวหลามยังเป็นอาหารประจำถิ่น และนิยมทำทานกันในช่วงวันฮารีรายอ

     

    111 111

    23. มหกรรมชุมชนกุนุงจนอง ครั้งที่2

    วันที่ 18 กรกฎาคม 2558 เวลา 09:00 - 15.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ถ่ายทอด ความรู้และประสบการณ์ด้านภูมิปัญญา จากรุ่นสู่รุ่น เป็นการถ่ายทอดภูมิปัญญาทางด้าน โดยมีผู้สูงอายุเป็นถ่ายทอดองค์ความรู้ มีเยาวชน และชาวบ้านที่สนใจร่วมเรียนรู้ ซึ่งมีคณะกรรมการมัสยิดร่วมดำเนินกิจกรรม

    • การทำอาหารประจำถิ่น และสมุนไพรท้องถิ่น สาธิตการทำข้าวหลาม
    • ภูมิปัญญาด้านอาชีพ สาธิตการทำ 2 อย่าง คือ 1) การนำกะลามะพร้าวมาทำเป็นของใช้ และของที่ระลึก ได้แก่ พวงกุญแจ กระบวยตักน้ำ และโคมไฟ 2) การทำขันหมาก จากต้นกล้วย ใช้ใบพลูรองขันแล้วตกแต่งด้วยดอกไม้ให้สวยงาม
    • หลักการศาสนา โดยใช้กลุ่มผู้สูงอายุ คณะกรรมการมัสยิด เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ เรื่อง ความสำคัญของวันฮารีรายอ ให้กับเยาวชนและผู้สูงอายุ รวมทั้งคนที่สนใจทั่วไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้เห็นศักยภาพของผู้สูงอายุในการสาธิตทำข้าวหลาม ขันหมาก และสิงประดิษฐ์จากกะลามะพร้าว ทำให้เห็นคุณค่าของการนำของที่มีอยู่ในชุมชนมาใช้ให้เกิดประโยชน์
    • เกิดความสัมพันธ์ในการอยู่ร่วมกันของผู้สูงอายุและเยาวชนได้สนิทสนมกัน ได้รู้จักกันจากการทำกิจกรรม

     

    111 111

    24. ประชุมความมั่นคงทางสุขภาวะ วาระสร้างสุขของคนใต้

    วันที่ 4 กันยายน 2558 เวลา 09:00 - 17.00 น น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • เริ่มการประชุมความมั่นคงทางสุขภาวะ วาระสร้างสุขของคนใต้มีการจัดนิทรรศการจากชุมชนในภาคใต้ที่ได้รับทุนจากสสส. ได้แบ่งประชุมห้องย่อย ซึ่งตัวแทนโครงการมัสยิดกุนุงจนองฯได้เข้าร่วมประชุมในห้องชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • เริ่มการประชุมความมั่นคงทางสุขภาวะ วาระสร้างสุขของคนใต้ โดยมี สปสช. สสส. และอีกหลายหน่วยงานร่วมประชุมในครั้งนี้ด้วย หลังจากนี้มีการจัดนิทรรศการจากชุมชนในภาคใต้ที่ได้รับทุนจาก สสส. เพื่อให้ผู้ร่วมประชุมได้ชมเป็นตัวอย่างและหลักคิดไปประยุกต์ใช้กับชุมชนตนเอง และได้แบ่งประชุมห้องย่อย ซึ่งตัวแทนโครงการมัสยิดกุนุงจนองฯได้เข้าร่วมประชุมในห้องชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ภายในห้องประชุมมีการบรรยายเกี่ยวกับการสร้างแกนนำเยาวชนเพื่อให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนต่อไป

     

    2 2

    25. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 9

    วันที่ 14 กันยายน 2558 เวลา 20.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมเตรียมความพร้อมในการจัดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มย่อย ครั้งที่ 3 รวมถึงการแบ่งหน้าที่ให้คณะกรรมการได้รับผิดชอบและดำเนินการตามแผนที่วางไว้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • คณะทำงานทราบรายละเอียดของกิจกรรมที่จะดำเนินการในโครงการ
    • แต่ละบุคคลทราบบทบาทหน้าความรับผิดชอบของตนเองในโครงการ
    • สามารถวางแผนและเตรียมการกิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มย่อย (ฮาลาเกาะฮ) ครั้ง ที่ 3 ในวันที่ 18 กันยายน 2558

     

    15 15

    26. จัดการเรียนรู้แบบกลุ่มย่อย (ฮาลาเกาะฮ) ครั้งที่ 3

    วันที่ 18 กันยายน 2558 เวลา 08:30-16.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • เป็นกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ระหว่างผู้สูงอายุรวมตัวกันโดยใช้มัสยิดเป็นสถานที่หลักในการจัดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มย่อย (ฮาลาเกาะฮ) เรื่อง การถือศีลอดในเดือนรอมฎอน โดยที่ผู้สูงอายุแบ่งกลุ่มเพื่อเรียนรู้โดยการบูรณาการของศาสนาในการดูแลผู้สูงอายุ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ในกิจกรรมครั้งมีการเเลกเปลี่ยนการเรียนรู้ในประเด็นเกี่ยวกับเดือนรอมฎอน การถือศีลอดมีผลดีต่อสุขภาพอย่างไร ซึ่งจะเเบ่งกลุ่มการเรียนรู้เป็น 2 กลุ่ม คือ
    • กลุ่มผู้สูงอายุชาย และ กลุ่มผู้สูงอายุหญิง โดยผู้สูงอายุชายจะใช้พื้นที่มัสยิดนูรูลอิห์ซานในการร่วมเเลกเปลี่ยนการเรียนรู้ และฝ่ายผู้สุงอายุหญิงจะใช้พื้นที่โรงเรียนตาดีกานูรูลอิห์ซานในการร่วมเเลกเปลี่ยนการเรียนรู้
    • เมื่อสิ้นสุดกระบวนการพูดคุยแต่ละกลุ่มย่อยเลือกหัวข้อประเด็นในการเตรียมความพร้อม เพื่อการจัดฮาลาเกาะฮ ในครั้งต่อไป

     

    90 90

    27. กิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มย่อย (ฮาลาเกาะฮ) ครั้งที่ 4

    วันที่ 2 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 - 12.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เป็นกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ระหว่างผู้สูงอายุรวมตัวกันโดยใช้มัสยิดเป็นสถานที่หลักในการจัดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มย่อย (ฮาลาเกาะฮ) โดยที่ผู้สูงอายุแบ่งกลุ่มเพื่อเรียนรู้โดยการบูรณาการของศาสนาในการดูแลผู้สูงอายุ โดยครั้งนี้ อุสตาสได้บรรยายในหัวข้อเรื่อง การจัดการศพตามหลักการอิสลามที่ถูกต้อง ได้มีการยกตัวอย่างการอาบน้ำศพ การห่อศพ และการฝังศพที่ถูกต้องตามหลักการของอิสลาม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ในกิจกรรมครั้งนี้มีการเเลกเปลี่ยนการเรียนรู้ในประเด็นเกี่ยวกับการจัดการศพ มีการรวมตัวผู้สูงอายุทั้งชายและหญิงทำให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันเข้าใจตรงกัน และสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง

     

    90 90

    28. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 10

    วันที่ 5 ตุลาคม 2558 เวลา 20:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมเตรียมความพร้อมในการจัดกิจกรรมอาวุโสโอเค และกิจกรรมถอดบทเรียน  รวมถึงการแบ่งหน้าที่ให้คณะกรรมการได้รับผิดชอบและดำเนินการตามแผนที่วางไว้ 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • คณะทำงานทราบรายละเอียดของกิจกรรมที่จะดำเนินการในโครงการ
    • แต่ละบุคคลทราบบทบาทหน้าความรับผิดชอบของตนเองในโครงการ
    • ผู้ร่วมประชุมได้ทราบถึงกำหนดการในการจัดกิจกรรมอาวุโสโอเค และกิจกรรมถอดบทเรียน
    • สามารถวางแผนและเตรียมการกิจกรรมอาวุโสโอเค ในวันที่ 9 ตุลาคม 2558 และกิจกรรมถอดบทเรียนในวันที่ 23 ตุลาคม 2558

     

    15 15

    29. กิจกรรมสร้างการเรียนรู้อาวุโสโอเค

    วันที่ 9 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 - 16.00 น น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ให้ความรู้โดยวิทยากรอิสลาม หรืออุสตาสเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตามหลักการของอิสลาม ซึ่งควรคำนึงถึงความสะอาดเป็นอันดับแรกเพราะความสะอาดเป็นส่วนหนึ่งของการศรัทธา
    • ให้ความรู้โดยพยาบาลวิชาชีพ เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตามหลัก 3 อ. 2 ส. มีการจำลองโภชณาการทางอาหารในแต่ละมื้อ สอนวิธีการออกกำลังกายให้เหมาะสมกับวัยของผู้สูงอายุ สอนวิธีการล้างมือที่ถูกต้อง วิธีการใส่หน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันหมอกควันจากอินโดนีเซีย และยังมีการตรวจเบาหวาน ความดัน ชั่งน้ำหนัก และวัดรอบเอวให้กับผู้สูงอายุ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผู้สูงอายุได้รับทักษะที่ถูกต้องในการดูแลสุขภาพโดยใช้หลัก 3 อ. ได้แก่ อาหาร อารมณ์ ออกกำลังกาย 2 ส. ได้แก่ ไม่สูบบุหรี่ และ ไม่ดื่มสุรา เพื่อลดโรค ซึ่งมีเยาวชนมาร่วมเรียนรู้ร่วมกัน และเยาวชนก็ได้รับทักษะการดูแลผู้สูงอายุไปด้วย คือ การปรุงอาหารให้ผู้สูงอายุทานอย่างมีโภชนาการ และการออกกำลังกายที่เหมาะกับวัยของผู้สูงอายุ

     

    110 110

    30. การจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มย่อย (ฮาลาเกาะฮ) ครั้งที่ 5

    วันที่ 16 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 - 12.00 น น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดกลุ่มเรียนรู้แบบกลุ่มย่อยสำหรับผู้สูงอายุ โดยครั้งนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับหลักการละหมาด ทบทวนเนื้อหาที่เคยเรียนมาทั้งหมดเพื่อทดสอบความจำ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผู้สูงอายุได้ทดสอบความจำของตนเองในการท่องจำอัลกุรอ่าน ซึ่งผู้สูงอายุจะจำอัลกุรอ่านได้เฉพาะส่วนที่ใช้ในชีวิตประจำวัน คือ การละมาด และที่อ่านในคืนวันศุกร์ และดุอาร์ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
    • ผู้สูงอายุได้ทบทวนบทเรียนที่เคยเรียนมา รวมทั้งได้พบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการของกันและกัน

     

    90 90

    31. กิจกรรม การจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มย่อย (ฮาลาเกาะห์) ครั้งที่ 6

    วันที่ 22 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 - 16.00 น น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดกลุ่มเรียนรู้แบบกลุ่มย่อยสำหรับผู้สูงอายุ โดยครั้งนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับเดือนมูฮารอม (วันปีใหม่อิสลาม) การบวชสุนัต เกี่ยวกับควันไฟอินโดนีเซียที่กำลังเกิดขึ้นและส่งผลกระทบมาถึงในประเทศไทย รวมทั้งพูดถึงสัญญาณวันสิ้นโลกตามหลักการของอิสลาม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผู้สูงอายุได้รับความรู้เกี่ยวกับเดือนมูฮารอม (วันปีใหม่อิสลาม) การบวชสุนัต 10 มูฮารอมอย่างถูกต้อง รวมถึงได้รับดุอา(คำขอพร)แก้โรคภัยที่มักเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุอีกด้วย นอกจากผู้สูงอายุได้เรียนรู้เรื่องศาสนาแล้ว ยังได้รู้เท่าทันเหตุการณ์บ้านเมืองเรื่องควันไฟจากอินโดนีเซียอีกด้วย

     

    90 90

    32. กิจกรรมถอดบทเรียนการดำเนินโครงการทั้งระบบ

    วันที่ 23 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 - 16.00 น น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เริ่มถอดบทเรียนเป็น 3 ช่วง

    • ช่วงที่ 1 เป็นการเริ่มต้น การรวมตัวของทีมงาน และแนวคิดในการจัดโครงการ
    • ช่วงที่ 2 ผลลัพธ์และความพึงพอใจจากการจัดกิจกรรมทั้งหมด
    • ช่วงที่ 3 การเปลี่ยนแปลงที่ได้จากโครงการนี้แบ่งออกเป็น 3 ด้าน คือ 1) การเปลี่ยนแปลงด้านบุคคล เยาวชน ผู้สูงอายุ และทีมงาน 2) การเปลี่ยนแปลงด้านสภาพแวดล้อม และ 3) ปัจจัยเกื้อหนุนทำให้โครงการประสบความสำเร็จ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลจากการถอดบทเรียน

    • ช่วงที่ 1 เป็นการเริ่มต้น การรวมตัวของทีมงาน และแนวคิดในการจัดโครงการมัสยิดกุนุงจนองสร้างสุขสู่สองวัยใส่ใจสุขภาพ โดยใช้มัสยิดเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาชุมชน
    • ช่วงที่ 2 ผลลัพธ์และความพึงพอใจจากการจัดกิจกรรมทั้งหมด โดยส่วนใหญ่เยาวชนชอบกิจกรรมผังเครือญาติ และแผนที่เดินดิน ผู้สูงอายุชอบกิจกรรมฮาลาเกาะ และทีมงานชอบกิจกรรมมหกรรมกุนุงจนอง ซึ่งมีเหตุผลคล้ายกันโดยให้เหตุผลว่า กิจกรรมเหล่านี้ช่วยสร้างความสามัคคีให้เกิดขึ้นในชุมชน และยังเกิดแหล่งเรียนรู้ให้กับผู้สูงอายุได้มาพบปะกัน ทั้งยังสามารถเชื่อมสัมพันธ์ระหว่างเยาวชนกับผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น
    • ช่วงที่ 3 การเปลี่ยนแปลงที่ได้จากโครงการนี้
    1. การเปลี่ยนแปลงด้านบุคคล เยาวชนส่วนใหญ่มีความกล้าแสดงออกมากขึ้นจากเดิมไม่กล้าพูด หลบหน้า มีความรับผิดชอบมากขึ้น และมีความเป็นจิตอาสาเพิ่มมากขึ้น ทีมงานกล้าพูดในที่สาธารณะ มีการวางแผนที่เป็นระบบ มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ที่ตัวเองได้รับมอบหมาย และความเปลี่ยนแปลงของผู้สูงอายุคือ ใส่ใจเรื่องสุขภาพของตัวเองมากขึ้น จำนวนผู้ที่สนใจเรียนรู้ฮาลาเกาะฮมีมากขึ้น และสภาพจิตใจของผู้สูงอายุดีขึ้นอย่างเหนได้ชัด เนื่องจากมีกิจกรรมที่ทำให้ผู้สูงอายุได้มาพบปะกันอย่างต่อเนื่อง
    2. การเปลี่ยนแปลงด้านสภาพแวดล้อม ความสัมพันธ์ระหว่างเยาวชนและผู้สูงอายุแน่นแฟ่นยิ่งขึ้นเนื่องจากมีกิจกรรมผังเครือญาติ และทำให้เกิดความสามัคคีเมื่อมีกิจกรรมเกิดขึ้นในชุมชน
    3. ปัจจัยเกื้อหนุนทำให้โครงการนี้เกิดความสำเร็จได้เพราะ ทุกคนมีความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะจัดโครงการเพื่อผู้สูงอายุ และคณะกรรมการมัสยิดมีการช่วยเหลือ สนับสนุนในทุกๆกิจกรรมที่จัดขึ้น เช่น ช่วยประชาสัมพันธ์ผ่านเสียงตามสายประจำมัสยิดให้ทุกคนได้รับรู้ข่าวสาร

     

    45 45

    33. จัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์

    วันที่ 26 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดทำรายงานปิดโครงการ ก่อนส่งให้พี่เลี้ยงตรวจสอบ และส่งรายงานไปยัง สสส.

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้รับคำแนะนำจากพี่เลี้ยงในด้านการเขียนผลให้ชัดเจน และนำมาปรับแก้ ก่อนส่งรายงานไปยัง สสส.

     

    2 2

    34. จัดทำภาพถ่ายกิจกรรมตลอดโครงการ

    วันที่ 28 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดทำภาพถ่ายกิจกรรมตลอดโครงการ โดยนำภาพไปล้างเก็บไว้ที่ชุมชน และนำไปใส่ในรายงาน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้ภาพถ่ายกิจกรรมทำรายงานและสามารถส่งรายงานให้ สสส.ได้

     

    2 2

    35. ประชุมปิดงวด2และปิดโครงการ

    วันที่ 7 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • นำเอกสารการเงินให้พี่ สจรส.ตรวจสอบความถูกต้อง
    • ลงข้อมูลในระบบเวบไซต์ให้เรียบร้อย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้รับคำแนะนำจาก สจรส.ให้ปรับแก้ใบเสร็จรับเงินให้ถูกต้อง และได้รับคำแนะนำในการเพิ่มเติมข้อมูลในรายงานกิจกรรม

     

    2 2

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

     

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 1. เพื่อให้ผู้สูงอายุมีสุขภาวะที่ดี และสามารถดูแลสุขภาพตัวเองได้
    ตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ 1. มีกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาวะ โดยใช้หลัก 3 อ. 2ส. ให้กับผู้สูงอายุ จำนวน 81 คน ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ 1. มีคณะทำงานจัดการข้อมูล 2. มีกระบวนการพัฒนาคณะทำงานข้อมูล 3. มีการรวบรวมข้อมูลเพื่อเป็นข้อมูลนำเข้าในการสร้างความตระหนักต่อชุมชนในประเด็น ผู้สูงอายุ 4. มีการวิเคราะห์ข้อมูลของชุมชน 5. มีกระบวนการคืนข้อมูลให้ชุมชน

    ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ

    1. จัดกิจกรรมอาวุโสโอเคให้กับผู้สูงอายุ 81 คน และเยาวชน 30 คน

    ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ

    1. มีกิจกรรมการจัดการข้อมูลผู้สูงอายุโดยเยาวชน มีการจัดเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล และคืนข้อมูล
    2. มีการประชุมทีมงานทุกเดือน
    3. มีกิจกรรมจัดทำคู่มือการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มย่อย (ฮาลาเกาะฮฺ)
    4. มีกิจกรรมจัดการข้อมูลผู้สูงอ่ยุโดยเยาวชน มีการจัดเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล คืนข้อมูล และกิจกรรมถอดบทเรียน
    2 2. เพื่อให้สมาชิกในครอบครัวและชุมชนมีส่วนร่วมและส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ
    ตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ 1. ชุมชนมีกิจกรรมสำหรับอบรมให้ความรู้ และเตรียมความพร้อมสำหรับครอบครัวและชุมชนในการดูแลผู้สูงอายุ จำนวน 40 ครัวเรือน 2. ได้ชุดความรู้/คู่มือดูแลผู้ป่วยที่เป็นของชุมชน โดยมีการบูรณาการกับหลักการของศาสนาอิสลาม จำนวน 1 ชุด ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ 1. เกิดกลุ่มตัวแทนสมาชิกในครอบครัว และเยาวชนที่มีบทบาทในการดูแลผู้สูงอายุ โดยแน้นการให้ความสำคัญในกิจวัตรประจำวันและการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ 2. ผู้สูงอายุสามารถนำความรู้ด้านศาสนามาปรับใช้ในการดูแลสุขภาพของตนเองได้

    ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ

    1. จัดอบรมให้ความรู้และเตรียมความพร้อมสำหรับครอบครัวในการดูแลผู้สูงอายุโดยตัวแทนครัวเรือน 40 คน
    2. ผู้สูงอายุได้คู่มือการดูแลสุขภาพผ่านกิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มย่อย 1 ชุดฃ

    ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ

    1. ครอบครัวและชุมชนมีความรู้และทักษะในการเตรียมความพร้อมในการดูแลผู้สูงอายุ เกิดกระบวนเรียนโดยใช้การบูรณาการของศาสนาในการดูแลผู้สูงอายุ
    2. ผู้สูงอายุมีการนำความรู้จากการเรียนแบบกลุ่มย่อย (ฮาลาเกาะฮฺ) ทั้ง 6 ครั้ง มาใช้ในการดูแลสุขภาพตนเอง
    3 3. เพื่อให้ผู้สูงอายุมีโอกาสแสดงศักยภาพของตนเองในการร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่
    ตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ 1. ผู้สูงอายุในชุมชนรวมตัวกันเป็นอาสาสมัครถ่ายทอดความรู้ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น เช่น ด้านอาหาร ด้านอาชีพ ด้านสมุนไพร และด้านศาสนาให้ผู้สนใจและเยาวชนจำนวน 1 กลุ่ม 2. มีผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากการรวมกลุ่มของผู้สูงอายุ เช่น ขนม เครื่องใช้ที่เกิดจากการประดิษฐ์ วางจำหน่าย เพื่อสมทบในกองทุนผู้สูงอายุ กุนุงจนอง ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ 1. มีองค์ความรู้ในด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นสำหรับเยาวชนและผู้สนใจ จำนวน 1 ชุด 2. เกิดศูนย์ถ่ายทอดความรู้เชิงประสบการณ์ ประจำชุมชน 1 ศูนย์

    ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ

    1. มีกิจกรรมมหกรรมชุมชนกุนุงจนองถ่ายทอดภูมิปัญญา 2 ครั้ง โดยผู้สูงอายุ 1 กลุ่ม ร่วมถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น
    2. มีผลิตภัณฑ์ที่ประดิษฐ์จากกะลาและการทำขนม (ปูโละลือแม) วางจำหน่ายในกิจกรรมมหกรรมชุมชนกุนุงจนอง

    ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ

    1. มีบอร์ดองค์ความรู้ในด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นเรื่องการทำขนมปูโละลือแม 1 ชุด จัดตั้งที่ห้องสมุดชุมชน
    2. มีศูนย์ถ่ายทอดความรู้เชิงประสบการณ์ ประจำชุมชน 1 ศูนย์ที่โรงเรียนตาดีกานูรูลอิห์ซานกุนงจนอง
    4 4. เพื่อสร้างกลไกชุมชนที่แข็งแรงสู่ชุมชนน่าอยู่
    ตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ 1.มีการประชุมติดตามกิจกรรม ทุกเดือน จำนวน 10 เดือน 2.มีการถอดบทเรียน 1 ครั้ง ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ มีการปรับแผน และ กิจกรรมเพื่อความสอดคล้องกับบริบทของสถานการณ์ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

    ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ

    1. กิจกรรมประชุมทีมงาน 10 ครั้ง ณ โรงเรียนตาดีกานูรูลอิห์ซานกุนุงจนอง
    2. จัดกิจกรรมถอดบทเรียน 1 ครั้ง โดยมีทีมงาน 15 คน ตัวแทนผู้สูงอายุ 15 คน และตัวแทนเยาวชน 15 คน

    ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ

    1. เกิดการปรับแผนและกิจกรรมเพื่อความสอดคล้องกับบริบทของสถานการณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
    5 5. เพื่อการบริหารจัดการและการติดตามประเมินผลโครงการ
    ตัวชี้วัด : จำนวนครั้งในการเข้าร่วมกิจกรรมกับสสส.และสจรส.

    เข้าร่วมประชุมกับ สจรส.จำนวน 4 ครั้ง คือ ปิดงวด 1 สังเคราะห์โครงการ ร่วมงานสร้างสุขภาคใต้ และปิดงวด 2

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) 1. เพื่อให้ผู้สูงอายุมีสุขภาวะที่ดี และสามารถดูแลสุขภาพตัวเองได้ (2) 2. เพื่อให้สมาชิกในครอบครัวและชุมชนมีส่วนร่วมและส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ (3) 3. เพื่อให้ผู้สูงอายุมีโอกาสแสดงศักยภาพของตนเองในการร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่ (4) 4. เพื่อสร้างกลไกชุมชนที่แข็งแรงสู่ชุมชนน่าอยู่ (5) 5. เพื่อการบริหารจัดการและการติดตามประเมินผลโครงการ

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    ส่วนที่ 3 ประเมินคุณค่าโครงการ

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ

    ชื่อโครงการ มัสยิดกุนุงจนองสร้างสุข สู่สองวัยใส่ใจสุขภาพ

    รหัสโครงการ 57-02624 รหัสสัญญา 58-00-0123 ระยะเวลาโครงการ 20 ตุลาคม 2557 - 20 พฤศจิกายน 2558

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นการคุณค่าที่เกิดจากโครงการในมิติต่อไปนี้

    • ความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพและนวัตกรรมเชิงระบบสุขภาพชุมชน
    • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีผลต่อสุขภาวะ
    • การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ
    • ผลกระทบเชิงบวกและนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาวะชุมชน
    • กระบวนการชุมชน
    • มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่

    1. เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้ใหม่ / องค์ความรู้ใหม่

    การจัดกลุ่มย่อยสำหรับการจัดการเรียนรู้สำหรับผู้สูงอายุและเยาวชน

    รูปแบบที่ชุมชนทำกิจกรรม

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สิ่งประดิษฐ์ / ผลผลิตใหม่

    แนวคิดการจัดระบบฮาลาเกาะห์ (กลุ่มเรียนรู้)

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. กระบวนการใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. วิธีการทำงาน / การจัดการใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การเกิดกลุ่ม / โครงสร้างในชุมชนใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. แหล่งเรียนรู้ใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    99. อื่นๆ

     

     

     

    2. เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล

    ผู้สูงอายุได้รับทักษะที่ถูกต้องในการดูแลสุขภาพโดยใช้หลัก 3อ. ได้แก่ อาหาร อารมณ์ ออกกำลังกาย 2ส. ได้แก่ ไม่สูบบุหรี่ และ ไม่ดื่มสุรา เพื่อลดโรค ซึ่งมีเยาวชนมาร่วมเรียนรู้ร่วมกัน และเยาวชนก็ได้รับทักษะการดูแลผู้สูงอายุไปด้วย คือ การปรุงอาหารให้ผู้สูงอายุทานอย่างมีโภชนาการ และการออกกำลังกายที่เหมาะกับวัยของผู้สูงอายุ

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การบริโภค

    ผู้สูงอายุได้รับทักษะที่ถูกต้องในการดูแลสุขภาพโดยใช้หลัก 3อ. ได้แก่ อาหาร อารมณ์ ออกกำลังกาย 2ส. ได้แก่ ไม่สูบบุหรี่ และ ไม่ดื่มสุรา เพื่อลดโรค ซึ่งมีเยาวชนมาร่วมเรียนรู้ร่วมกัน และเยาวชนก็ได้รับทักษะการดูแลผู้สูงอายุไปด้วย คือ การปรุงอาหารให้ผู้สูงอายุทานอย่างมีโภชนาการ และการออกกำลังกายที่เหมาะกับวัยของผู้สูงอายุ

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การออกกำลังกาย

    ผู้สูงอายุได้รับทักษะที่ถูกต้องในการดูแลสุขภาพโดยใช้หลัก 3อ. ได้แก่ อาหาร อารมณ์ ออกกำลังกาย 2ส. ได้แก่ ไม่สูบบุหรี่ และ ไม่ดื่มสุรา เพื่อลดโรค ซึ่งมีเยาวชนมาร่วมเรียนรู้ร่วมกัน และเยาวชนก็ได้รับทักษะการดูแลผู้สูงอายุไปด้วย คือ การปรุงอาหารให้ผู้สูงอายุทานอย่างมีโภชนาการ และการออกกำลังกายที่เหมาะกับวัยของผู้สูงอายุ

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. การลด ละ เลิก อบายมุข เช่น การพนัน เหล้า บุหรี่

    ผู้สูงอายุได้รับทักษะที่ถูกต้องในการดูแลสุขภาพโดยใช้หลัก 3อ. ได้แก่ อาหาร อารมณ์ ออกกำลังกาย 2ส. ได้แก่ ไม่สูบบุหรี่ และ ไม่ดื่มสุรา เพื่อลดโรค ซึ่งมีเยาวชนมาร่วมเรียนรู้ร่วมกัน และเยาวชนก็ได้รับทักษะการดูแลผู้สูงอายุไปด้วย คือ การปรุงอาหารให้ผู้สูงอายุทานอย่างมีโภชนาการ และการออกกำลังกายที่เหมาะกับวัยของผู้สูงอายุ

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การลดพฤติกรรมเสี่ยง เช่น พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การขับรถโดยประมาท

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. การจัดการอารมณ์ / ความเครียด

    กิจกรรมฮาลาเกาะห์ ที่เป็นวงแลกเปลี่ยนของผู้สูงอายุ

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. การดำรงชีวิต / วิถีชีวิต เช่น การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น / สมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเอง

    การใช้ความรู้ด้านสมุนไพรมาทำเป็นอาหารและยารักษาโรค

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    8. พฤติกรรมการจัดการตนเอง ครอบครัว ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    9. อื่นๆ

     

     

     

    3. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. กายภาพ เช่น มีการจัดการขยะ ป่า น้ำ การใช้สารเคมีเกษตร และการสร้างสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนที่ถูกสุขลักษณะ

    มีการจัดการต้นน้ำที่ไหลผ่านหมู่บ้าน โดยมีการรณรงค์ให้ผู้คนในชุมชนให้ความสำคัญกับความสะอาด

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สังคม เช่น มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ลดการเกิดอุบัติเหตุ ครอบครัวอบอุ่น การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อเด็ก เยาวชน และกลุ่มวัยต่าง ๆ มีพื้นที่สาธารณะ/พื้นที่ทางสังคม เพื่อเอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชน มีการใช้ศาสนา/วัฒนธรรมเป็นฐานการพัฒนา

    มีกลุ่มเยาวชนจิตอาสาที่เข้ามามีบทบาทในกิจกรรมของชุมชนและทำให้ชุมชนหันมาดูแลการพัฒนาศักยภาพเยาวชนให้ดีขึ้นได้

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. เศรษฐกิจสร้างสรรค์สังคม /สร้างอาชีพ / เพิ่มรายได้

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการบริการสุขภาพทางเลือก และมีช่องทางการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ

    มีการตรวจสุขภาพและการให้บริการสุขภาพแก่กลุ่มเป้าหมายด้วย

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. อื่นๆ

     

     

     

    4. การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. มีกฎ / กติกา ของกลุ่ม ชุมชน

    มีกติกาชุมชนในการชวนแต่ละครัวเรือนมาร่วมกิจกรรมโดยเฉพาะเยาวชน

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. มีมาตรการทางสังคมของกลุ่ม ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. มีธรรมนูญของชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. อื่นๆ เช่น ออกเป็นข้อบัญญัติท้องถิ่น ฯลฯ

     

     

     

    5. เกิดกระบวนการชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. เกิดการเชื่อมโยงประสานงานระหว่างกลุ่ม / เครือข่าย (ใน และหรือนอกชุมชน)

    มีการเชิญกลุ่มเครือข่ายอื่นๆมาร่วมแลกเปลี่ยนในกิจกรรม

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเรียนรู้การแก้ปัญหาชุมชน (การประเมินปัญหา การวางแผน การปฏิบัติการ และการประเมิน)

    ในระหว่างปฏิบัติการตามแผนจะมีการประชุมทบทวนแผนงานและปรับปรุงอยู่ตลอดเวลาทุกๆเดือน

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ประโยชน์จากทุนในชุมชน เช่น การระดมทุน การใช้ทรัพยากรบุคคลในชุมชน

    การถ่ายทอดองค์ความรู้ต่างๆที่มาจากผู้สูงอายุถือเป็นการใช้ทุนชุมชน

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกลุ่มและชุมชนที่เกิดจากโครงการอย่างต่อเนื่อง

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. เกิดกระบวนการจัดการความรู้ในชุมชน

    มีการจัดเก็บข้อมูล การรวบรวมและการวิเคราะห์ข้อมูล

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. เกิดทักษะในการจัดการโครงการ เช่น การใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ การทำแผนปฏิบัติการ

    มีการวิเคราะห์ข้อมูล โดยนำผลมาใช้ในการออกแบบกิจกรรม

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. อื่นๆ

     

     

     

    6. มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเอง / กลุ่ม / ชุมชน

    กลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้สูงอายุและเยาวชน รู้สึกมีความภาคภูมิใจที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมเนื่องจากทำให้เห็นคุณค่าในตัวเองและการได้สร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชน

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเห็นประโยชน์ส่วนรวมและส่วนตนอย่างสมดุล

    มีการเข้าร่วมกิจกรรมส่วนรวมมากขึ้น

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย และพอเพียง

    ลักษณะการใช้ชีวิตเรียบง่ายตามแบบชุมชนมุสลิมทั่วไป

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. ชุมชนมีความเอื้ออาทร

    ลักษณะชุมชนมุสลิมมีการแบ่งปันและเอื้อาทรต่อกัน

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. มีการตัดสินใจโดยใช้ฐานปัญญา

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. อื่นๆ

     

     

     

    มัสยิดกุนุงจนองสร้างสุข สู่สองวัยใส่ใจสุขภาพ จังหวัด ยะลา

    รหัสโครงการ 57-02624

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นายอัสมี ดาหะมิ )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด