แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


“ เยาวชนธรมมะบ้านบางน้อยใส่ใจสุขภาพสูงวัย ”

วัดธรากร (วัดบ้านบางน้อย) หมู่ 4 ต.เจ๊ะเห อ.ตากใบ

หัวหน้าโครงการ
นายธานี แก้วโยธา

ชื่อโครงการ เยาวชนธรมมะบ้านบางน้อยใส่ใจสุขภาพสูงวัย

ที่อยู่ วัดธรากร (วัดบ้านบางน้อย) หมู่ 4 ต.เจ๊ะเห อ.ตากใบ จังหวัด นราธิวาส

รหัสโครงการ 57-02606 เลขที่ข้อตกลง 58-00-0069

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 20 ตุลาคม 2014 ถึง 20 พฤศจิกายน 2015


กิตติกรรมประกาศ

"เยาวชนธรมมะบ้านบางน้อยใส่ใจสุขภาพสูงวัย จังหวัดนราธิวาส" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน วัดธรากร (วัดบ้านบางน้อย) หมู่ 4 ต.เจ๊ะเห อ.ตากใบ

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
เยาวชนธรมมะบ้านบางน้อยใส่ใจสุขภาพสูงวัย



บทคัดย่อ

โครงการ " เยาวชนธรมมะบ้านบางน้อยใส่ใจสุขภาพสูงวัย " ดำเนินการในพื้นที่ วัดธรากร (วัดบ้านบางน้อย) หมู่ 4 ต.เจ๊ะเห อ.ตากใบ รหัสโครงการ 57-02606 ระยะเวลาการดำเนินงาน 20 ตุลาคม 2014 - 20 พฤศจิกายน 2015 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 132,375.00 บาท จาก เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 90 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

 

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. 1.เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถดูแลสุขภาพตนเองได้
  2. 2.เพื่อให้เยาวชนมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ
  3. 3.ติดตามสนับสนุนจากสสส. สจรส.และพี่เลี้ยง
  4. 4.เพื่อให้แกนนำชุมชนคณะทำงานและทีมงานมีการวางแผนและเข้าร่วมกิจกรรมประชุมชี้แจงกิจกรรมทุกครั้ง

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

     


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. เข้าร่วมประชุมปฐมนิเทศโครงการใหม่

    วันที่ 29 พฤศจิกายน 2014 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ได้เรียนรู้ถึงกระบวนการและระบบการประเมินผลแนวทางในการจัดทำรายงานผล และรายงานการเงิน โดยการทำรายงานการเงินแยกรายกิจกรรม/ครั้ง กระบวนการและระบบการติดตามประเมินผล การทำรายงานโครงการ และ รายงานการเงิน  การป้อนข้อมูลรายละเอียดโครงการในเว็บไซต์ การป้อนแผนการดำเนินงานในปฏิทินโครงการ • การรายงานผลการจัดกิจกรรม และรายจ่ายในกิจกรรมและการจัดทำรายงาน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้ความรู้ทราบแนวทางในการจัดทำรายงานผล และรายงานการเงิน โดยการทำรายงานการเงินแยกรายกิจกรรม/ครั้ง ดังนี้ กระบวนการและระบบการติดตามประเมินผล การทำรายงานโครงการ และ รายงานการเงิน  การป้อนข้อมูลรายละเอียดโครงการในเว็บไซต์ การป้อนแผนการดำเนินงานในปฏิทินโครงการ  การรายงานผลการจัดกิจกรรม และรายจ่ายในกิจกรรมและการจัดทำรายงาน

     

    2 3

    2. เข้าร่วมประชุมปฐมนิเทศโครงการใหม่

    วันที่ 30 พฤศจิกายน 2014 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ได้เรียนรู้ถึงกระบวนการและระบบการประเมินผลแนวทางในการจัดทำรายงานผล และรายงานการเงิน โดยการทำรายงานการเงินแยกรายกิจกรรม/ครั้ง กระบวนการและระบบการติดตามประเมินผล การทำรายงานโครงการ และ รายงานการเงิน  การป้อนข้อมูลรายละเอียดโครงการในเว็บไซต์ การป้อนแผนการดำเนินงานในปฏิทินโครงการ • การรายงานผลการจัดกิจกรรม และรายจ่ายในกิจกรรมและการจัดทำรายงาน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้ความรู้ทราบแนวทางในการจัดทำรายงานผล และรายงานการเงิน โดยการทำรายงานการเงินแยกรายกิจกรรม/ครั้ง ดังนี้ กระบวนการและระบบการติดตามประเมินผล การทำรายงานโครงการ และ รายงานการเงิน  การป้อนข้อมูลรายละเอียดโครงการในเว็บไซต์ การป้อนแผนการดำเนินงานในปฏิทินโครงการ  การรายงานผลการจัดกิจกรรม และรายจ่ายในกิจกรรมและการจัดทำรายงาน

     

    3 3

    3. ประชุมชี้แจ้งโครงการ

    วันที่ 20 ธันวาคม 2014 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ลงทะเบียน ประธานโครงการกล่าวเปิดพิธี และหลังจากนั้นเป็นการอธิบายและชี้แจ้งรายละเอียดของโครงการร่วมถึงความเป็นมาของโครงการ และรายละเอียดต่างของ สจรส. และแจ้งงบประมาณที่ได้รับการสนับสนุนจาก สสส.จำนวนเท่าไหร่ เพื่อให้คณะทำงานได้รับทราบ และหลังจากนั้นก็เป็นการ ชี้แจงกิจกรรมเพื่อให้ทีมงาน คณะทำงานได้กำหนดวันที่จะจัดกิจกรรมและทราบถึงรายละเอียดทุกๆกิจกรรม การประชุมชี้แจงในครั้งนี้ เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมสามารถ สอบถามแสดงข้อคิดเห็นให้ข้อเสนอแนะ ได้ทุกอย่างเพื่อเป็นประโยชน์ต่อชุมชนและกลุ่มเป้าหมาย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • การจัดกิจกรรมประชุมชี้แจงโครงการในครั้งนี้ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมให้ความร่วมมือและตั้งใจ ร่วมถึงรับทราบรายละเอียดของโครงการและกิจกรรม และมีข้อเสนอแนะดีๆจากผู้เข้าร่วมการประชุม ทำให้การประชุมในครั้งนี้เป็นแรงกำลังใจให้กับชุมชน เพราะทางชุมชนพร้อมและตั้งใจจะทำงานเพื่อชุมชน

     

    20 25

    4. ประชุมชี้แจงกิจกรรมร่วมกับคณะทำงาน

    วันที่ 10 มกราคม 2015 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ลงทะเบียน มีการชี้แจงกิจกรรมรายละเอียดกิจกรรมให้คณะทำงานและทีมงานที่เข้าประชุมได้รับทราบและมอบหมายหน้าที่รับผิดชอบ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเข้าใจมีการให้ความร่วมมือเป็นอย่างมากเลยและพร้อมที่จะช่วยงานเพื่อชุมชน รวมถึงการแสดงข้อคิดเห็นต่างๆทำให้กิจกรรมต้องเป็นตามแผนและมีการวางแผนทีดี

     

    10 9

    5. ประชุมชี้แจงกิจกรรมที่จะจัดกิจกรรมการอบรมผู้ดูแลผู้สูงวัย

    วันที่ 17 มกราคม 2015 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประธานกล่าวเปิดประชุม 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ประธานโครงการและทีมงานก็ได้สรุปและวางแผนงานในครั้งต่อไปค่ะเพราะชี้แจงกิจกรรมให้คณะทำงานรับทราบ

     

    10 11

    6. กิจกรรมอบรมการดูแลสุขภาพผู้สูงวัย

    วันที่ 24 มกราคม 2015 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ลงทะเบียน
    • ประธานโครงการกล่าวรายงาน
    • ผอ.โรงพยาบาลตากใบกล่าวเปิดกิจกรรม
    • เริ่มกิจกรรมด้วยการทำกิจกรรมนันทนาการเรียกสมาธิ และเข้าสู่กิจกรรมการบรรยายเรื่องการดูแลสุขภาพผู้สูงวัยเบื่องต้น และการเข้าสู่ย่านสูเยาว์ เข้าสู่การบรรยายในเนื้อหาโรค NCD พร้อมมีการบรรยายแบบมีภาพประกอบและมีโมเดลตัวอย่าง
    • หลังจากพักเที่ยงก็เริ่มแยกเด็กธรรมะกับผู้สูงวัยอยู่คนละห้องเพื่อให้เด็กไปเรียนรูการนวด

    ลักษณะกิจกรรม

    • อบรมให้ความรู้
    • กิจกรรมนันทนาการ
    • แลกเปลี่ยนเรียนรู้
    • การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเยาวชนและผู้สูงวัย
    • สาธิตและฝึกปฏิบัติการนวดเพื่อผ่อนคลาย
    • ในส่วนของผู้สูงวัยก็เปนในเรื่องจิตบำบัดเพื่อให้สุขภาพกายและจิตดี
    • ช่วงท้ายกิจกรรมก็เป็นกิจกรรมเยาวชนนวดผ่อนคลายให้กับผู้สูงวัย เพื่อให้เกิดความสัมพันธ์และแสดงถึงความกตัญญูต่อผู้สูงวัย
    • ประธานกล่าวปิดกิจกรรมพร้อมชี้แจงกิจกรรมครั้งต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ก่อนดำเนินกิจกรรม ประชุมคณะทำงานผู้ที่เกี่ยวข้อง

    • กำหนดวันจัดกิจกรรม การอบรม/อบรม
    • กำหนดหลักสูตรการอบรมความรู้เรื่องโรคเรื้อรังNCDและการจัดเมนูอาหารเพื่อสุขภาพการอบรมเชิงปฏิบัติการการป้องกันโรคอัมพฤตอัมพาตในผู้สูงวัยโดยใช้หลักการกายภาพบำบัด
    • อบรมเชิงปฏิบัติการ การนวดเพื่อผ่อนคลาย
    • มอบหมายและประสานงานคณะทำงาน
    • กิจกรรมการอบรม
    • บรรยายให้ความรู้
    • สาธิตและให้ผู้เข้ารับการฝึกปฏิบัติ
    • กิจกรรมสันทนาการ ผ่อนคลาย

    ผลการจัดกิจกรรม จากการประเมินโดยใช้แบบสอบถามสรุปได้ดังนี้

    • ด้านเนื้อหาสาระที่ได้รับ ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้อยู่ในระดับ 4 คิดเป็นร้อยละ 85ระดับ 3 คิดเป็นร้อยละ 14
    • ด้าน เทคนิควิธีการถ่ายทอดความรู้ของคณะวิทยากร ผู้เข้ารับการอบรมมีความพึงพอใจ ระดับ 4 คิดเป็นร้อยละ 86 มีความพึงพอใจระดับ 3 คิดเป็นร้อยละ 14
    • ด้านการดำเนินงานจัดการอบรม
    • อาหาร/เครื่องดื่ม/สถานที่/การบริการ ผู้เข้ารับการอบรมมีระดับความพึงพอใจ ระดับ 4 คิดเป็นร้อยละ 86 มีความพึงพอใจระดับ 3 คิดเป็นร้อยละ 14

      สรุปการดำเนินกิจกรรมบรรลุผลตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ กล่าวคือ กำหนดเป้าหมายเชิงปริมาณจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม 120 คน
      ผู้เข้าร่วมกิจกรรมในวันจัดกิจกรรมจริง จำนวน 170 คน แสดงว่ามากกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ และผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความพึงพอใจในระดับ 4

    • โดยภาพรวมจากการจัดกิจกรรมในวันนี้อยู่ในระดับความพึ่งพอใจมากของทีมทำงานและได้เห็นรอยยิ้มของผู้เข้าร่วมกิจกรรม เพราะภาพที่ได้เห็นวันนี้คือเป็นภาพที่อยากมากกับสังคมปัจจุบันที่จะได้เห็นว่าเยาวชนจะมานวดตัวและทำกิจกรรมต่างๆร่วมกับผู้สูงวัยค่ะและส่วนของเนื่อหาการบรรบายผู้เข้าร่วมกิจกรรมเกิดความสนใจ
      รวมถึงกิจกรรมที่จัดขึ้นนั้นผู้เข้าร่วมให้ความร่วมมือเป็นอย่างมาก

     

    115 170

    7. ประชุมการดำเนินโครงการร่วมกับพี่เลี้ยงจังหวัด

    วันที่ 25 มกราคม 2015 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • เข้าร่วมการประชุมที่ รพ.สต.บาเระเหนือ
    • พี่เลี้ยงจังหวัดกล่าวสวัสดี และพูดคุยในรายละเอียดของแต่ละพื้นที่ และหลังจากนั้นก็อธิบายเกี่ยวกับเอกสารต่างๆค่ะ วันนี้ส่วนใหญ่จะเป็น รุ่นที่ 2 เข้าร่วมแต่วันนี้โครงการ สจรส.รุ่น 1 เข้าร่วมรับฟังเพื่อเป็นประสบการณ์ที่จะใช้ในกิจกรรมของตัวเองได้ค่ะ และช่วงท้ายกิจกรรมให้แต่ละพื้นที่อธิบายและสรุปกิจกรรมของแต่ละพื้นที่ว่ามีการดำเนินอย่างไรบ้าง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลสรุปจากการประชุมวันนี้ ได้เรียนรู้ถึงกิจกรรมของรุ่นที่ 2  ทำให้เข้าใจกิจกรรมและการทำงานด้านเอกสารการลงข้อมูลมากขึ้น

     

    2 1

    8. ประชุมชี้แจงกิจกรรมการออกกำลังกาย/สรุปกิจกรรมที่จัดที่ผ่านมา

    วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2015 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ประธานโครงการกล่าวสวัสดี และแจกเอกสารกิจกรรมที่จะจัดในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ เพื่อให้ทุกคนได้อ่านในส่วนรายละเอียด และหลังจากนั้นก็ช่วยกันออกแบบกิจกรรม กำหนดการ ร่วมถึงสมุดบันทึกการออกกำลังกายของผู้สูงวัยและหลังจากนั้นก็เป็นเรื่องการสรุปกิจกรรมครั้งที่แล้วและรวมกันแสดงข้อคิดเห็นในส่วนที่ควรปรับปรุงและแก้ไข รวมทั้งนำในส่วนดีๆมาใช้ในกิจกรรมครั้งต่อไป ช่วงท้ายก็เรื่องการสรุปกิจกรรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • โดยสรุปแล้ว เนื้อหาเอกสารในการประชุมคณะทำงานในวันนี้ทางผู้เข้าร่วมประชุมก็เกิดความเข้าใจและมีการวางแผนร่วมกันเพื่อให้กิจกรรมครั้งต่อไป จะเป็นไปตามแผนที่วางไว้ พร้อมทั้งให้รับทราบในส่วนหน้าที่ของแต่ละท่านด้วยเพื่อประโยชน์ต่อชุมชนเอง

     

    10 11

    9. กิจกรรมการออกำลังกายและการให้ความรู้ของประโยชน์ของการออกกำลังกาย

    วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2015 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ลักษณะการจัดกิจกรรมตอนที่ 1

    • พิธีเปิด
    • สาธิตการออกกำลังกาย
    • กิจกรรมนันทนาการ/ กิจกรรมจิตบำบัด
    • กิจกรรมการนวดเพื่อผ่อนคลาย ตอนที่ 2
    • การชี้แจงการบันทึกการออกกำลังกายและข้อตกลงต่างๆในการออกำลังกาย
    • ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้มีข้อตกลงการออกกำลังกาย สัปดาห์ละ 3 วัน โดยการรวมกลุ่มการออกกำลังกายในบางสัปดาห์และออกกำลังกายที่บ้านตามข้อตกลงและบันทึกลงในสมุดการออกกำลังกาย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ก่อนวันดำเนินกิจกรรม มีการประชุมคณะทำงานเพื่อเป็นการชี้แจงและประสานงานที่มอบหมายให้กับคณะทำงานรับทราบมีการออกแบบสมุดบันทึกการออกกำลังกายและจัดทำให้เท่าจำนวนผู้สูงวัยตามเป้าหมายที่กำหนด
    • วันดำเนินกิจกรรมมีการดำเนินพิธีเปิดและวิทยาการสาธิตการออกกำลังกายด้วยไม้พลองและผ้าขนหนูโดยให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมออกกำลังกายพร้อมกัน /กิจกรรมนันทนาการและกิจกรรมจิตบำบัด /ทบทวนการนวดเพื่อผ่อนคลาย /ชี้แจงวิธีการบันทึกการออกกำลังกาย โดยสรุปภาพรวมของกิจกรรมแล้ว โดยการสังเกตและสัมภาษณ์ผู้เข้าร่วมกิจกรรมสรุปได้ดังนี้
    • รูปแบบการออกกำลังกายและการให้ความร่วมมือของผู้เข้าร่วมกิจกรรม ผู้เข้าร่วมกิจกรรมให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี
    • เยาวชนและผู้สูงวัยทำกิจกรรมร่วมกันทำให้เกิดความสัมพันธ์และมีความคุ้นเคยกันมากยิ่งขึ้น
    • สำหรับรูปแบบการออกกำลังกายผู้เข้าร่วมกิจกรรมให้ความเห็นว่า มีความเหมาะสมกับผู้สูงวัยและสามารถปฏิบัติได้ ในด้านการดำเนินการ สรุปได้ดังนี้ วิทยาการให้ความรู้ตรงประเด็น อาหาร/เครื่องดื่มอยู่ในระดับความพึ่งพอใจ
    • สำหรับสถานที่ การจัดกิจกรรมมีความเหมาะสมบรรยากาศและสภาพแวดล้อมอยู่ในเกณฑ์ดี
    • ผลสรุปการดำเนินกิจกรรมโดยรวมแล้วอยู่ในระดับที่พึ่งพอใจทั้งผู้เข้าร่วมกิจกรรมและคณะทำงานและกลุ่มเป้าหมายที่กำหนดตามกิจกรรม 120 คน แต่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมวันจัดกิจกรรมจริง 134 คน
    • กิจกรรมของวันนี้เต็มไปด้วยพลังการรวมมือร่วมใจของชุมชนและการทำกิจกรรมอย่างมีความสุขค่ะ
      -กิจกรรมต่างๆที่จัดขึ้นผู้เข้าร่วมเกิดความสนใจและเกิดความตระหนักในเรื่องสุขภาพมากขึ้น และผู้เข้าร่วมยังสามารถสรุปกิจกรรมที่จัดขึ้นได้
    • โดยรวมแล้วเยาวชนธรรมะและผู้สูงวัยได้สร้างความสัมพันธ์กัน

     

    120 137

    10. ประชุมคณะทำงาน

    วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2015 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    มีการชี้แจงรายละเอียดกิจกรรมที่ผ่านมาและกิจกรรมพร้อมชี้แจงงบประมานที่ใช้ไปเท่าไหร่ให้คณะทำงานงานรับทราบ และมีการสรุกกิจกรรมวางแผนกิจกรรม และร่างกำหนดการครั้งต่อไปค่ะ 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จากจากประชุมในวันนี้ เป็นการประชุมเพื่อให้ทีมงานทุกคนได้รับทราบ พร้อมให้ทราบถึงรายละเอีบดกิจกรรมที่ผ่านมา และทางทีมงานก็ได้สรุปกิจกรรมพร้อมให้ข้อเสนอแนะ ต่างๆเพื่อเกิดประโยชน์กิจกรรมครั้งต่อไปค่ะ

     

    10 11

    11. กิจกรรมจัดตั้งกลุ่มเยาวชนธรรมะใสใจสุขภาพผู้สูงวัย(กิจกรรมย่อยพุทธมามกะ)

    วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2015 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ลักษณะการจัดกิจกรรม การแสดงตนพุทธมามกะ การรับศีล ทำบุญถวายสังฆทานให้

    • มีการให้ความรู้เกี่ยวกับยาเสพติดและการป้องกันโดยการทำใบงานระดมความคิดจากเยาวชนธรรมะ และมีการนำเสนอให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรม รับทราบ
    • ให้เยาวชนเข้ากลุ่มระดมความคิดเรื่องภารกิจและบทบาทหน้าที่ของเยาวชนในการเอาใจใส่ดูแลผู้สูงวัยให้เหมาะสมกับวัย
    • มีการลงทะเบียน
    • ประธานกล่าวเปิดกิจกรรม และมีการถวายอาหารให้กับพระสังฆ์และหลังจากนั้นเป็นการฟังบรรยายจากเจ้าโอวาทและพระสังฆ์ 5 องค์ มีกาให้ความรู้เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาด้วย เป็นการให้เยาวชนธรรมะและผ้เข้าร่วมกิจกรรมได้ทราบถึงความเป็นมาของสาสนาด้วย ช่วงท้ายกิจกรรมเป็นการแบ่งกลุ่มโดยให้เยาวชนธรมมะมาออกนอกอาคารโดยให้แบ่งกลุ่มเพื่อเป็นการเรียนรู้ถึงโทษและประเภทของยาเสพติดด้วย พร้อมมานำเสนอให้กับผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกท่านได้รับฟัง
    • ท้ายกิจกรรมเป็นการสรุปกิจกรรม พร้อมให้ผู้ใหญ่บ้านกล่าวปิดกิจกรรมด้วยค่ะ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ก่อนวันดำเนินกิจกรรม มีการประชุมคณะทำงานเพื่อเป็นการชี้แจงและประสานงานที่มอบหมายให้กับคณะทำงานเตรียมการประสานงานต่างๆ

    • วันดำเนินการจัดกิจกรรมเยาวชนธรรมะและผู้เข้าร่วมแสดงตนกล่าวคำปฏิญาณแสดงตนพุทธมามกะเพื่อให้สอดคล้องกับกิจกรรมการจัดตั้งกลุ่มเยาวชนธรรมะ
    • เยาวชนธรรมะและผู้เข้าร่วมกิจกรรมรับศีลทำบุญถวายสังฆทานรับฟังโอวาทจากท่านพระครูสุนทร ธรรมามุรักษ์ เกี่ยวกับการประพฤติการปฏิบัติตนของเยาวชนและการปฏิบัติตนต่อผู้สูงวัยและการแสดงคามกตัญญูเคารพผู้ใหญ่/ผู้สู วัยให้เหมาะสมกับวัย มีการทำกิจกรรมด้วยการนั่งสมาธิเบื้องต้น
    • มีการแบ่งผู้เข้าร่วมกิกรรมเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ประกอบด้วยผู้สูงวัย /ผู้ปกครอง และผู้เข้าร่วมกิจกรรมนอกเหนือจากเยาวชน
      กลุ่มที่ 2 เยาวชนกลุ่มธรรมะฝึกปฏิบัตินั่งสมาธิเบื้องตนสำหรับเยาวชน ปฏิบัติกิจกรรมทำใบงานที่ 1 เรื่องโทษภัยของยาเสพติดและการป้องกันให้ห่างไกลจากยาเสพติด ใบงานที่ 2 เรื่องภารกิจและหน้าที่ของเยาวชนต่อการปฏิบัติตนต่อผู้ใหญ่
    • ให้เยาวชนนำผลงานมาเสนอต่อที่ประชุมและวิทยากรสรุปเสริมความรู้เพิ่มเติมและให้เยาวชนกล่าวคำยืนยันต่อผู้สูงสูงวัย/ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ดังนี้ “ข้าพเจ้าเยาวชนกลุ่มธรรมะจะไม่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด ให้โทษและจะปฏิบัติตนเป็นคนดีของครอบครัวและสังคม” สรุปผลการประเมินการดำเนินกิจกรรมโดยการสังเกต จากการปฏิบัติกิจกรรมของผู้สูงวัยและเยาวชน สรุปผลการประเมินจากผลงานขอเยาวชน ในการทำใบงานอยู่ในเกณฑ์ระดับน่าพึ่งพอใจ สำหรับกลุ่มเป้าหมายที่กำหนดไว้ 120 คน วันทำกิจกรรมมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งหมด 134 คน
    • ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้มาเกินเป้าและให้ความสนใจกับกิจกรรมนี้มากเนื่องจากกิจกรรมนี้นานแล้วทางชุมชนไม่ได้จัดเมื่อได้จัดแล้วเป็นที่ยินดีสำหรับชุมชนและชุมชนข้างเคียงด้วยค่ะ ได้เห็นถึงความตั้งใจและความร่วมมือของผู้เข้าร่วมทุกคนด้วยค่ะ โดยเฉพาะกิจกรรมการแสดงตนเป็นรวมถึงการให้ศีล

     

    115 165

    12. ประชุมคณะทำงานเพื่อเตรียมงานในวันที่ 28 นี้ กิจกรรมจิตแจ่มใสด้วยการนั่งสมาธิ

    วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2015 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประธานโครงการได้กล่าวสวัสดีและพูดคุยกับทีมงานถามข่าวคราวและการทำงานกิจกรรมที่ผ่านมาพร้อมให้แต่ละคนเสนอแนะมาพร้อมมีการแสดงความคิดเห็นการจัดกิจกรรมที่ผ่านมาและกิจกรรมครั้งต่อไปด้วย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    การประชุมคณะทำงานในวันนี้เป็นการประชุมคณะทำงานและทีมงานรวมถึงผู้เกี่ยวข้องกับการดำเนินกิจกรรม พูดคุยเรื่องเนื้อหาการประชุมและภาพรวมกิจกรรมที่ผ่านมาด้วย
    และหลังจากนั้นเป็นการวางแผนกิจกรรมที่จะจัดในวันที่ 28 นี้ด้วยเพื่อเป็นการแบ่งบทบาทหน้าที่การทำงานอย่างเป็นระบบด้วยค่ะ

     

    10 11

    13. กิจกรรมจิตแจ่มใสด้วยการนั่งสมาธิ

    วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2015 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ลักษณะการจัดกิจกรรม

    • การอบรมเชิงปฏิบัติการ การทำสมาธิแบบพุทธานุสติ แบบอาณาปนสติ (แบบลมหายใจเข้าออกให้มีสติ)กาเดินจงกรม และมีการฝึกปฏิบัติวิปัสสนาเบื้องต้น
      รับการลงทะเบียนผู้เข้าร่วมกิจกรรม ประธานโครงการกล่าวสวัสดีและกล่าวเปิดกิจกรรม บัณฑิตอาสาชี้แจงกำหนดการกิจกรรมวันนี้ เริ่มเข้าสู่กิจกรรมการกล่าวบทสวดทางพระพุทธศาสนา และการสวดบทกล่าวต่างๆตามพระพุทธศาสนาโดยพระสงฆ์ 3 รูปเป็นผู้นำกล่าวบทสวดและหลังจากนั้นเข้าสู่การกราบไว้ตามพระพุทธศาสนา ต่อด้วยการนั่งสมาธิ แล้วพักรับประทานอาหารว่าง เข้าสู่การบรรยายโดยพระสงฆ์เรื่องการปฎิบัติธรรมและการนั่งสมาธิเบื้องต้นเพื่อจิตใจสงบสุขและเข้าสู่การปฎิบัติการนั่งสมาธิ และหลังจากนั้นพักรับประทานอาหารกลางวัน ช่วงบ่ายโมงกิจกรรมนั้นทนาการ แล้วหลังจากนั้นได้แยกเด็กออกไปนั่งสมาธิข้างนอกเพื่อเป็นการเปลี่ยนบรรยากาศส่วนในห้องของผู้สูงวัยเป็นการเดินจงกรม

    • และหลังจากนั้นได้ให้เด็กและผู้สูงวัยมาทำกิจกรรมร่วมกัน และสรุปกิจกรรม ประธานโครงการกล่าวปิดกิจกรรมพร้อมชี้แจงกิจกรรมครั้งต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ก่อนวันดำเนินกิจกรรม มีการประชุมคณะทำงานเพื่อเป็นการชี้แจงและประสานงานที่มอบหมายให้กับคณะทำงานเตรียมการประสานงานต่างๆ

    • วันดำเนินกิจกรรมจริง กล่าวพิธีเปิด กล่าวคำถวายตัวต่อพระพุทธและพระอาจารย์ผู้ให้คำสั่งสอนการฝึกปฏิบัติการทำสมาธิแบบต่างๆ วิทยากรให้คำแนะนำและความรู้ในการทำสมาธิแบบต่างๆ และฝึกปฏิบัติตามคำแนะนำและเวลาที่กำหนดไว้

    • วิทยากรให้ความรู้เกี่ยวกับศาสนพิธีทางพุทธศาสนาและการปฏิบัติตนที่ชาวพุทธควรรู้

    • โดยสรุปการดำเนินงานของกิจกรรมอยู่ในระพึ่งพอใจและกลุ่มเป้าหมายให้ความร่วมมือ จากกลุ่มเป้าหมายที่กำหนดไว้ 120 คน ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจริง 122 คน การแสดงผลตอนรับความผู้เข้าร่วมกิจกรรม

    • กิจกรรมในวันนี้ เด็กเยาวชนธรรมะและผู้สูงวัยได้ให้ความร่วมมือเป็นอย่างมากพร้อมให้ความสำคัญกับกิจกรรมในวันนี้มาก ทั้งผู้สูงวัยและผู้ปกครองต่างก็มาร่วมกิจกรรมและทำกิจกรรมทุกๆกิจกรรมพร้อมกับลูกหลานทำให้ได้เห็นภาพที่อบอุ่นรวมถึงเป็นการปฎิบัติธรรมตามศาสนาของพระพุทฑศาสนาด้วย โดยสรุปภาพรวมแล้วกิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่ชุมชนชื่นชอบมากค่ะ

     

    120 127

    14. กิจกรรมอนุรักษ์วัฒนธรรมครั้งที่1

    วันที่ 4 มีนาคม 2015 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ก่อนดำเนินการ

    • ศึกษาแนวทางเพื่อกำหนดกรอบการจัดกิจกรรม
    • ประชุมชี้แจงคณะทำงานและผู้เกี่ยวข้อง มอบหมายงาน
    • ประชาสัมพันธ์เชิญชวนผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรม
    • จัดสถานที่และจัดเตรียมอุปกรณ์

    การจัดกิจกรรม

    • เวลา 12.30น.ผู้เข้าร่วมกิจกรรมลงทะเบียน
    • ประธานจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย ฝึกปฏิบัติเจริญจิตภาวนา
    • พักรัปฃบประทานอาหารว่าง
    • ร่วมพัฒนากวาดลานวัด
    • เวลา17.00น.รับประทานอาหารเย็นและพักผ่อน
    • เวลา18.30น. เริ่มพิธีเวียนเทียน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลการจัดกิจกรรม

    1. ประเมินจากการสังเกตุของผู้เข้าร่วมกิจกรรมที่ลงทะเบียนจำนวน 140 คนและมีผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมที่ไม่ได้ลงทะเบียนอีกจำนวนหนึ่ง (มีประชาชนมาเพิ่มเมื่อเริ่มพิธีเวียนเทียน) ประมาณ 160 คน รวมผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งสิ้นประมาณ 300 คน
    2. ประเมินจากการสังเกตของคณะทำงานพบว่าผู้เข้าร่วมกิจกรรมทีความตั้งใจและให้ความร่วมมือในการประกอบศาสนพิธีทุกขั้นตอนเป็นอย่างดียิ่ง เช่น
    • ผลการพัฒนาลานวัด มีความสะอาดเรียบร้อยอยู่ในระดับที่น่าพอใจ
    • การปฏิบัติกิจกรรมเจริญสติภาวนาผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความพึงพอใจและกล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่าคุ้มค่ากับการมาร่วมกิจกรรมในครั้งนี้
    • ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความตั้งใจและมีความพึงพอใจในการสวดทำนองสรภัญญะได้อย่างพร้อมเพรียงและไพเราะ
    • ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเดินเวียนเทียนรอบอุโบสถอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย ไม่ส่งเสียงรบกวนและปักธูปเทียน วางดอกไม้อย่างเป็นระเบียบเรียบร้อยสะดวกต่อการทำความสะอาดของทางวัด

    สรุปจากการประเมินพบว่าผู้เข้าร่วมกิจกรรมเกินเป้าหมายที่กำหนดไว้และการปฏิบัติกิจกรรมตามตารางกิจกรรมอยู่ในระดับที่น่าพอใจ

     

    120 140

    15. เข้าร่วมประชุมปิดงวดที่1

    วันที่ 14 มีนาคม 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    มีรายละเอียดดังนี้ มีการตรวจสอบเอกสารกิจกรรมแต่ละกิจกรรมที่ดำเนินการไปตามงวดที่ 1 มีทั้งหมด 4 กิจกรรม และมีการตวจสอบการลงทะเบียน การตรวจสอบใบสำคัญรับผิดและเอกสารต่างๆ พร้อมการรายงานกิจกรรมต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลสรุปของกิจกรรม มีดังต่อไปนี้ ได้ตรวจสอบเรื่องเอกสารต่างๆการจัดกิจกรรม และการใช้งบประมาณรวมถึงการตรวจการลงทะเบียน

    • ชี้แจงรายละเอียดการสรุปงบประมาณลงเว็บไซต์ ทำให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับด้านเอกสาร และเอกสารการเงิน ทำให้เกิดความเข้าใจตรงกันมากขึ้น

     

    2 2

    16. ประชุมคณะทำงาน ชี้แจงโครงการ และกิจกรรม

    วันที่ 21 มีนาคม 2015 เวลา 09:00-12:00น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.ชี้แจงรายละเอียดกิจกรรม
    1.1.ชื่อกิจกรรมอนุรักษ์ และสืบสานวัฒนธรรมประเเพณีท้องถิ่น กิจกรรมย่อยที่ 2 กิจกรรมรดน้ำผู้สูงวัย
    1.2.จัดกิจกรรมวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2558 เวลา 13:00 น. ณ อาคารธารากร 1 วัดธารากร (บางน้อย) หมู่ที่ 4 บ้านบางน้อยตำบลเจ๊ะเห อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส
    2.การแบ่งหน้าที่รับผิดชอบชี้แจงรายละเอียดย่อยของแต่ละฝ่าย แบ่งเป็น
    2.1.ฝ่ายแจ้งข่าวสารให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้แก่ ผู้สูงอายุ ผู้ปกครองนักเรียนธรรมะ นักเรียนธรรมะ และผู้ที่สนใจ ได้ทราบข่าวการจัด-กิจกรรมดังกล่าว 2.2.ฝ่ายจัดเตรียมสถานที่ จัดกิจกรรมบริเวณในอาคารธารากร 1และลานหน้าอาคารธารากร 1
    2.3.ฝ่ายจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ประกอบในการจัดกิจกรรม ได้แก่ โต๊ะ-เก้าอี้ ผ้าปูโต๊ะ ดอกไม้ ภาชนะใส่น้ำ(โอ่ง) ขันใหญ่-ขันเล็ก มาลัยมือ
    2.4.ฝ่ายจัดเตรียมของขวัญสำหรับผู้สูงอายุ
    2.5.ฝ่ายจัดเตรียมน้ำดื่ม - อาหารว่าง 3.ให้สมาชิกในคณะทำงาน เสนอข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ 3.1.สมาชิกเสนอให้มีการยืมอุปกรณ์บางส่วน เช่น ขันน้ำ จากหน่วยงานเทศบาล ซึ่งจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจกรรม 4.สรุปผลการประชุม 4.1.สมาชิกเข้าใจขั้นตอนการเตรียมจัดกิจกรรม 4.2.แบ่งหน้าที่ชัดเจน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

                  คณะทำงานมีความเข้าใจในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย อาสาทำหน้าที่ด้วยความเต็มใจ แม้มีการถกเถียง ข้อขัดแย้งในบางประเด็น แต่สามารถพูดคุยจนมีเข้าใจไปในทิศทางเดียวกัน โดยอาศัยหลักเหตุ และผลในการเจรจา การเปิดใจยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ซึ่งทำให้ได้ข้อสรุปในการจัดกิจกรรม เพราะจุดประสงค์ของทุกฝ่ายคือการทำเพื่อชุมชน 

     

    10 14

    17. กิจกรรมอนุรักษ์วัฒนธรรมครั้งที่ 2

    วันที่ 4 เมษายน 2015 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ก่อนการดำเนินกิจกรรม คณะทำงานกำหนดกรอบการจัดกิจกรรม ประชุมชึัแจงคณะทำงานและผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อมอบหมายหน้าที่ให้แต่ละฝ่าย ทำการประชาสัมพันธ์เสียงตามสายของหมู่บ้าน และให้ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านประจำพื้นที่รับผิดชอบลงพื้นที่แจ้งข่าวการจัดกิจกรรมแก่ประชาชนในหมู่บ้านอีกทางหนึ่ง เพื่อเชิญชวนผู้ที่สนใจเข้าร่วมทำกิจกรรม
    • ในวันจัดกิจกรรม เริ่มเวลา 08.30น.เยาวชนธรรมะ ผู้ปกครองเยาวชนธรรมะ ผู้สูงอายุ และประชาชนทั่วไปร่วมสรงน้ำพระ และร่วมทำความสะอาด พรมน้ำอบ เจดีย์บรรจุอัฐิของบรรพบุรุษผู้ล่วงลับ
    • หลังจากนั้นเวลา10.00 น.ร่วมรับศีล ฟังธรรม ถวายสังฆทาน
    • เวลา 12.00 น.ร่วมรับประทานอาหารในช่วงบ่าย
    • เวลา 13.00 น.ผู้เข้าร่วมกิจกรรมรายงานตัว ลงทะเบียนพร้อมเพรียงกัน ประธานในพิธี นายชยุตย์ ชูดวง ปลัดอวุโสประจำอำเภอตากใบ จุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย นายกองค์การบริหารส่วนตำบลพร่อน (อบต.พร่อน) กล่าวนำคำขออโหสิกรรมต่อผู้สูงอายุ และมอบพระพุทธรูปแก่ครูจิตอาสาจำนวน 3 ท่าน เพื่อเป็นการให้กำลังใจในการปฏิบัติหน้าที่สั่งสอนนักเรียนเยาวชนธรรมะบ้านบางน้อย เวลาถัดมาตัวแทนจากหน่วยงานต่างๆเข้ามอบมาลัยมือ ของที่ระลึกแก่ผู้สูงอายุ หลังจากนั้นพระสงฆ์สวดเจริญพระพุทธมนต์ ประธานในพิธีรดน้ำผู้สูงอายุ ตามด้วยนายกองค์การบริหารส่วนตำบลพร่อน (อบต.พร่อน) เจ้าหน้าที่ตำรวจอำเภอตากใบ หน่วยทหารนาวิกโยธิน กองทัพเรือ ฉก.31 เยาวชนธรรมะ ผู้ปกครองเยาวชนธรรมะ ประชาชนในพื้นที่ และผู้ที่มีความสนใจร่วมรดน้ำผู้สูงอายุเป็นจำนวนมาก

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • จากการจัดกิจกรรมอนุรักษ์วัฒนธรรมครั้งที่ 2 กิจกรรมรดน้ำผู้สูงวัย ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความพึงพอใจ มีใบหน้าที่ยิ้มแย้มทุกท่าน แสดงให้เห็นถึงความสุขของผู้เข้าร่วมกิจกรรม อีกทั้งยังทำให้ผู้สูงวัยได้ตระหนักว่าตนยังมีความสำคัญต่อ สถาบันครอบครัว ชุมชน เป็นการส่งเสริมภูมิต้านทานด้านสุขภาพกายและใจให้แข็งแรงยิ่งขึ้น เพื่อป้องกัน และลดโรคในผู้สูงอายุ และกิจกิจกรรมนี้ได้รับการสนับสนุน รับเกียติจากหน่วยงานราชการต่างๆ ในพื้นที่มาเข้าร่วมกิจกรรมหลายหน่วยงาน ได้แก่ ท่านปลัดอวุโสตัวแทนจากอำเภอตากใบ องค์การบริหารส่วนตำบลพร่อน (อบต.พร่อน) สถานีตำรวจอำเภอตากใบ หน่วยทหารนาวิกโยธิน กองทัพเรือ ฉก.31 ประชาชนในพื้นที่และผู้ที่มีความสนใจเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าวเป้นจำนวนมาก

     

    120 128

    18. ผู้สูงวัยถ่ายทอดภูมิปัญญาแก่เยาวชนครั้งที่1

    วันที่ 28 มิถุนายน 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ก่อนดำเนินกิจกรรม

    • คณะทำงาน ศึกษาแนวทางและกำหนดกรอบการจัดกิจกรรม
    • ประสานงานติดต่อวิทยากรภูมิปัญญาท้องถิ่น
    • จัดหาวัสดุอุปกรณ์
    • ประชุมชี้แจง คณะทำงาน คณะวิทยากร และมอบหมายงาน

    การจัดกิจกรรม - เวลา 08:30 น. ประชุมชี้แจงผู้เข้าร่วมกิจกรรม และแบ่งกลุ่ม 3 กลุ่ม
    - ให้แต่ละกลุ่ม เข้าเรียนรู้และฝึกปฏิบัติ ตามฐานต่างๆทั้ง 3 ฐาน ประกอบด้วย
    1. สาธิตการจักสาน การทำน้ำยา และการทำน้ำมันมะพร้าว โดยคณะวิทยากรภูมิปัญญาท้องถิ่น ทีละขั้นตอน พร้อมตอบคำซักถามของเยาวชน 2. แบ่งกลุ่มเยาวชน และลงมือปฏิบัติตามขั้นตอนที่วิทยากร ให้คำแนะนำ
    3. ทุกกลุ่มเข้ารับฟังการสาธิตและลงมือปฏิบัติตามขั้นตอนทุกกิจกรรม พร้อมทั้งจดบันทึกตามแบบบันทึกที่คณะทำงานได้จัดทำขึ้น

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลการจัดกิจกรรม - ผู้เข้าร่วมทั้งสิ้น จำนวน 96 คน
    - ประเมินผลการเข้าร่วมกิจกรรม และการฝึกปฏิบัติ จากการสังเกต สรุปได้ดังนี้

    1.ฐาน การจักสาน พบว่า เยาวชนสามารถเรียนรู้และปฏิบัติได้ในขั้นตอนที่ 1 คือ การจักสานฐานของเสวียนหม้อ โดยใช้ก้านใบจาก แต่ยังไม่สามารถปฏิบัติในขั้นตอนที่ 2 คือการ จักสานขอบเสวียนหม้อ ซึ่งจะได้ฝึกปฏิบัติในครั้งที่ 2 และ 3 ต่อไปจนกระทั่งเกิดทักษะและจักสานด้วยตนเองได้
    2.ฐาน การทำน้ำยาซักผ้า เยาวชน สามารถทำได้ แต่มีความจำเป็นต้องมีผู้แนะนำและควบคุม ในขั้นตอนต่างๆ ซึ่ง จะได้ฝึกปฏิบัติให้เกิดทักษะและความชำนาญต่อไป

    3.ฐาน การทำน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น จากการสังเกต พบว่า เยาวชนสามารถทำได้ตามขั้นตอนที่คณะวิทยากรแนะนำ แต่ยังไม่อยู่ในระดับที่น่าพอใจ มีความจำเป็นจะต้องฝึกปฏิบัติซ้ำ ในครั้งต่อไป

     

    90 96

    19. ผู้สูงวัยถ่ายทอดภูมิปัญญาแก่เยาวชนครั้งที่2

    วันที่ 5 กรกฎาคม 2015 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ก่อนดำเนินกิจกรรม

    • คณะทำงาน ศึกษาแนวทางและกำหนดกรอบการจัดกิจกรรม
    • ประสานงานติดต่อวิทยากรภูมิปัญญาท้องถิ่น
    • จัดหาวัสดุอุปกรณ์
    • ประชุมชี้แจง คณะทำงาน คณะวิทยากร และมอบหมายงาน

    การจัดกิจกรรม

    • เวลา 08:30 น. ประชุมชี้แจงผู้เข้าร่วมกิจกรรม และแบ่งกลุ่ม 3 กลุ่ม
    • ให้แต่ละกลุ่ม เข้าเรียนรู้และฝึกปฏิบัติ ตามฐานต่างๆทั้ง 3 ฐาน ประกอบด้วย ฐานที่ 1 จักสาน ฐานที่ 2 การทำน้ำยาซักผ้า ฐานที่ 3 การทำน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น
    • ลักษณะกิจกรรม
    1. สาธิตการจักสาน การทำน้ำยา และการทำน้ำมันมะพร้าว โดยคณะวิทยากรภูมิปัญญาท้องถิ่น ทีละขั้นตอน พร้อมตอบคำซักถามของเยาวชน
    2. แบ่งกลุ่มเยาวชน และลงมือปฏิบัติตามขั้นตอนที่วิทยากร ให้คำแนะนำ
    3. ทุกกลุ่มเข้ารับฟังการสาธิตและลงมือปฏิบัติตามขั้นตอนทุกกิจกรรม พร้อมทั้งจดบันทึกตามแบบบันทึกที่คณะทำงานได้จัดทำขึ้น
    • เมื่อแต่ละกลุ่ม ได้เรียนรู้ จนครบกระบวนการทุกขั้นตอน ให้เปลี่ยนฐาน จนได้เรียนรู้ครบทั้ง 3 ฐาน
      ผลการจัดกิจกรรม
    • ผู้เข้าร่วมทั้งสิ้น จำนวน 105 คน
    • ประเมินผลการเข้าร่วมกิจกรรม และการฝึกปฏิบัติ จากการสังเกต สรุปได้ดังนี้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สรุปผลการจัดกิจกรรมครั้งที่ 2 โดยการสังเกตของคณะทำงาน พบว่าผู้เข้าร่วมกิจกรรมเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้และการปฏิบัติกิจกรรม เยาวชน ผู้ปกครอง และคณะครู ให้ความสนใจ และตั้งใจฝึกปฏิบัติอยู่ในระดับที่น่าพอใจ
    1. ทักษะในการจักสานของเยาวชน จากการตรวจผลงาน พบว่า เยาวชนสามารถเรียนรู้ และปฏิบัติได้ดีขึ้นกว่าเดิมร้อยละ 30 อยู่ในระดับที่น่าพอใจ ร้อยละ 55 อยูในระดับปานกลาง และ ร้อยละ 15 อยู่ในระดับที่ต้องปรับปรุง ทั้งนี้เพราะ การจักสานนั้นเป็นงานที่ต้องอาศัยทักษะและการสังเกต เพราะฉะนั้น มีความจำเป็นที่จะต้องฝึก อย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ และต้องมีผู้แนะนำ

    2.ฐาน การทำน้ำยาล้างจาน (ครั้งที่ 1 ทำน้ำยาซักผ้า)เยาวชน สามารถทำได้ แต่มีความจำเป็นต้องมีผู้แนะนำและควบคุม ในขั้นตอนต่างๆ ซึ่ง จะได้ฝึกปฏิบัติให้เกิดทักษะและความชำนาญต่อไป

    3.ฐาน การทำน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น จากการสังเกต พบว่า เยาวชนสามารถทำได้ตามขั้นตอนที่คณะวิทยากรแนะนำ เมื่อเปรียบเทียบกับการปฏิบัติครั้งที่1 สังเกต พบว่าคุณภาพของน้ำมันมะพร้าวดีขึ้นกว่าเดิม กลิ่นน้ำมันมีกลิ่นหอมขึ้น

    • สรุป ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเกินกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ และการปฏิบัติกิจกรรม อยู่ในระดับที่น่าพอใจ ประเมินผลคุณภาพกิจกรรม อยู่ในระดับ 4

     

    90 105

    20. ผู้สูงวัยถ่ายทอดภูมิปัญญาแก่เยาวชนครั้งที่3

    วันที่ 12 กรกฎาคม 2015 เวลา 08:30-14:00น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ก่อนดำเนินกิจกรรม
    - คณะทำงาน ศึกษาแนวทางและกำหนดกรอบการจัดกิจกรรม - ประสานงานติดต่อวิทยากรภูมิปัญญาท้องถิ่น - จัดหาวัสดุอุปกรณ์ - ประชุมชี้แจง คณะทำงาน คณะวิทยากร และมอบหมายงาน

    การจัดกิจกรรม - เวลา 08:30 น. ประชุมชี้แจงผู้เข้าร่วมกิจกรรม และแบ่งกลุ่ม 3 กลุ่มลักษณะกิจกรรม

    1.สาธิตการจักสาน การทำน้ำยา และการทำน้ำมันมะพร้าว โดยคณะวิทยากรภูมิปัญญาท้องถิ่น ทีละขั้นตอน พร้อมตอบคำซักถามของเยาวชน

    2.แบ่งกลุ่มเยาวชน และลงมือปฏิบัติตามขั้นตอนที่วิทยากร ให้คำแนะนำ

    3.ทุกกลุ่มเข้ารับฟังการสาธิตและลงมือปฏิบัติตามขั้นตอนทุกกิจกรรม พร้อมทั้งจดบันทึกตามแบบบันทึกที่คณะทำงานได้จัดทำขึ้น

    • ให้แต่ละกลุ่ม เข้าเรียนรู้และฝึกปฏิบัติ ตามฐานต่างๆทั้ง 3 ฐาน

    • เมื่อแต่ละกลุ่ม ได้เรียนรู้ จนครบกระบวนการทุกขั้นตอน ให้เปลี่ยนฐาน จนได้เรียนรู้ครบทั้ง 3 ฐาน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลการจัดกิจกรรม - ผู้เข้าร่วมทั้งสิ้น จำนวน 92 คน
    - ประเมินผลการเข้าร่วมกิจกรรม และการฝึกปฏิบัติ จากการสังเกต สรุปได้ดังนี้

    1. ฐาน การจักสาน พบว่า เยาวชนสามารถเรียนรู้ และจักสานสำเร็จเป็นชิ้นงานได้
    2. ฐาน การทำน้ำยาล้างห้องน้ำ (ครั้งที่ 1 ทำน้ำยาซักผ้า)เยาวชน สามารถทำได้ แต่มีความจำเป็นต้องมีผู้แนะนำและควบคุม ในขั้นตอนต่างๆ ซึ่ง จะได้ฝึกปฏิบัติให้เกิดทักษะและความชำนาญต่อไป
    3. ฐาน การทำน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น จากการสังเกต พบว่า เยาวชนสามารถทำได้ตามขั้นตอนที่คณะวิทยากรแนะนำ เมื่อเปรียบเทียบกับการปฏิบัติครั้งที่2 สังเกต พบว่าคุณภาพของน้ำมันมะพร้าว กลิ่นน้ำมันอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ

     

    90 92

    21. เปิดโลกโภชนาการ

    วันที่ 19 กรกฎาคม 2015 เวลา 08:30-16:00น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ก่อนดำเนินกิจกรรม

    1. คณะทำงานศึกษาศึกษาแนวทางและกำหนดกรอบกิจกรรม
    2. ศึกษาเอกสาร ความรู้ เกี่ยวกับโภชนาการของผู้สูงวัย สรุปรวบรวมความรู้จากวิทยากรที่ให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องโภชนาการจากกิจกรรมที่ผ่านมา
    3. คณะทำงานประชุม เพื่อสรรหาวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ การทำอาหารเพื่อสุขภาพในท้องถิ่น เช่น การทำน้ำสมุนไพร การปรุงอาหารจากสมุนไพรในท้องถิ่น การทำข้าวยำ เป็นต้น
    4. ดำเนินการจัดทำป้ายนิเทศ เพื่อจัดนิทรรศการ
    5. ดำเนินการจัดกิจกรรม เปิดโลกโภชนาการ ตามวันเวลาที่กำหนดไว้

    5.1สาธิตการทำข้าวยำท้องถิ่นตากใบ ใช้พืชสมุนไพรท้องถิ่น โดยมีผู้สูงอายุในท้องถิ่น สรุปวิธีทำได้ดังนี้ ส่วนผสมสำหรับทำน้ำหุงข้าวยำสมุนไพรเพื่อสุขภาพ ประกอบด้วย

    1.ใบไม้สมุนไพรที่หาได้ในท้องถิ่น เช่น ใบพันสะหมอ ใบยอป่า ใบไม้เท้าพันยา ใบมะกรูด ใบมะนาว ฯลฯ 2.หัวกะเปราะ หัวกระชาย หัวกะทือ หัวขมิ้น
    วิธีทำ 1.นำใบไม้สมุนไพรและหัวพืชสมุนไพรมาใส่ครกตำให้เข้ากัน 2.ใส่น้ำ แล้วคั้นและกรองเอาเฉพาะน้ำใส่ในข้าวสาร 3.ตั้งไฟ หุงเป็นข้าวสวย

    แกล้มข้าวยำ(ส่วนประกอบของการรับประทานข้าวยำ) ประกอบด้วย

    1.ปลาย่างเอาแต่เนื้อ 2.มะพร้าวคั่ว 3.พริกไทยป่น 4.ผักในท้องถิ่นชนิดต่างๆหั่นซอย เช่น ดอกดาหลา ใบกะเสม (จันทร์หอม) ใบมะกรูด ถั่วฝักยาว ถั่วงอก แตงกวา มะม่วงสับ ใบกะเปราะ ตะไคร้ เมล็ดกระถิน ยอดมะม่วงหินพานต์(แตรแหร) ยอดตาเป็ด ฯลฯ

    บูดู

    1.บูดูสดไม่มีส่วนผสม 2.บูดูเคี่ยวประกอบด้วยส่วนผสมและวิธีทำดังนี้ บูดู ใบมะกรูด ตะไคร้ น้ำตาลแว่น

    วิธีทำ นำส่วนผสมทั้งหมดตั้งไฟนำเคี่ยวให้เดือด ปรุงรสตามความต้องการ

    วิธีนำมารับประทาน นำข้าวสวยที่หุงด้วยใบไม้สมุนไพร ใส่ปลาย่าง มะพร้าวคั่ว กับแกล้มผัก ราดบูดู (ปรุงรสตามต้องการ) มาผสมคลุกเคล้าให้กัน เหมือนลักษณะการยำจึงเรียกว่า ข้าวยำสมุนไพร

    5.2สาธิตการทำน้ำดื่มสมุนไพรเพื่อสุขภาพ มีน้ำกระเจี๊ยบ น้ำตะไคร้ น้ำใบบัวบก ผสมใบเตยและใบย่านาง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลการจัดกิจกรรม

    1. ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ที่ปรากฏในบันชีลงทะเบียน จำนวน 150 คน

    2. ปรากฏว่ามีผู้เข้าร่วมกิจกรรมจริงประมาณ 300 คน (ไม่ได้ลงทะเบียน)

    3. ประเมินผล โดยการสังเกต และสอบถามผู้เข้าร่วมกิจกรรม พบว่า

    - ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ได้ทราบถึงประโยชน์ การรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ และได้เรียนรู้อาหารเพื่อสุขภาพจาก แผนภูมิ รูปภาพ ที่นำมาจัดนิทรรศการ

    • มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสรรพคุณของพืชสมุนไพรใกล้ตัวและมีอยู่ในท้องถิ่น

    • มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการทำข้าวยำและสรรพคุณจากพืชผักที่นำมาปรุงข้าวยำตามสูตรดั้งเดิมของท้องถิ่นตากใบ

    • จากการสัมภาษณ์ผู้เข้าร่วมกิจกรรมพบว่า มีความภาคภูมิใจในภูมิปัญญาที่เกี่ยวกับการปรุงอาหารของท้องถิ่นที่รู้จักนำพืชสมุนไพรเพื่อสุขภาพที่อยู่ใกล้ตัว มาปรุงอาหารให้เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพโดยใช่ส่วนผสมที่ได้สัดส่วนไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้มีโอกาสรับประทานอาหารและดื่มน้ำสมุนไพร และกล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่า ต่อไปนี้ "เราจะไปทำดื่มที่บ้านบ้างไม่เห็นยากเลยและไม่ต้องลงทุน"

    4.ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความพึงพอใจและเข้าร่วมกิจกรรมเกินกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ สรุปผลการประเมินคุณภาพกิจกรรมอยู่ในระดับ 4

     

    120 150

    22. กิจกรรมอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่นครั้งที่ 3

    วันที่ 29 กรกฎาคม 2015 เวลา 08:30-16:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ก่อนการดำเนินกิจกรรม

    • คณะทำงานกำหนดกรอบการจัดกิจกรรม ประชุมชึัแจงคณะทำงานและผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อมอบหมายหน้าที่ให้แต่ละฝ่าย ทำการประชาสัมพันธ์เสียงตามสายของหมู่บ้าน และให้ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านประจำพื้นที่รับผิดชอบลงพื้นที่แจ้งข่าวการจัดกิจกรรมแก่ประชาชนในหมู่บ้านอีกทางหนึ่ง เพื่อเชิญชวนผู้ที่สนใจเข้าร่วมทำกิจกรรม

    วันก่อนเริ่มกิจกรรม

    • เตรียมการจัดทำต้นกัลปพฤกษ์ เตรียมทราย และจัดสถานที่

    ในวันจัดกิจกรรม

    • เริ่มเวลา 08.30น.เยาวชนธรรมะ ผู้ปกครองเยาวชนธรรมะ ผู้สูงอายุ และประชาชน มาร่วมกันก่อเจดีย์ทราย ปักธงทิว และร่วมขบวนแห่เทียนพรรษารอบอุโบสถ
    • เวลา10.00น. เริ่มพิธี จุดธุปเทียนบูชาพระรัตนตรัย รับศีล กล่าวคำถวายสังฆทาน ถวายเทียนพรรษา ผ้าอาบน้ำฝน ต้นกัลปพฤกษ์และเจดีย์ทราย ถวายภัตตาหารเพล ผู้เข้าร่วมกิจกรรมรับประทานอาหารกลางวัน
    • ภาคบ่ายเวลา 14.00 น. ฟังธรรม ปฏิบัติกิจกรรมเจริญจิตภาวนา จนถึงเวลา 16.00 น.

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. เยาวชนและผู้ปกครอง มีความสนใจและให้ความร่วมมือในการเข้าร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมาก จากการสังเกตการจัดทำต้นกัลปพฤกษ์ มีการนำผลไม้ในท้องถิ่นมาร่วมเกินเป้าหมายที่กำหนด สำหรับการก่อเจดีย์ทรายมีผู้เข้าร่วม ก่อเจดีย์ทรายอย่างสวยงาม มีการประดับธงทิว และทำบุญด้วยการนำธนบัตรมาปักฉลองเจดีย์ทราย คณะทำงานช่วยกันสรุปยอดเงินและนำไปถวายพระสงฆ์จากจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมที่มีจำนวนมากกว่าเป้าหมายที่กำหนด แสดงให้เห็นว่าผู้เข้าร่วมกิจกรรมเห็นความสำคัญของกิจกรรม และกล่าวสรุปเป็นเสียงเดียวกันว่า นอกจากได้ทำบุญแล้วยังได้ทำทาน เช่น ได้นำเงินไปพัฒนาวัด สำหรับผลไม้ที่นำมาจัดทำต้นนกัลปพฤกษ์ ได้นำไปถวายพระ และแบ่งปันให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ร่วมกันรับประทาน
    2. การจัดกิจกรรมในครั้งนี้ทำให้เยาวชนและผู้ปกครอง เห็นถึงความสำคัญ และกล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่า ควรจัดทำทุกปี ในโอกาสก่อนวันเข้าพรรษา แสดงให้เห็นว่าประชาชนให้ความร่วมมือ ในการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีของท้องถิ่น

     

    120 300

    23. การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างเสริมสุขภาพกายและสุขภาพจิต

    วันที่ 11 สิงหาคม 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. เชิญวิทยากรให้ความรู้ เกี่ยวกับโทษภัยของบุหรี่และสุรา ในกิจกรรมตามโครงการ และสร้างความตระหนักถึงโทษภัยของสิ่งเสพติด ให้แก่เยาวชน และผู้ปกครอง
    2. เยาวชน ครูจิตอาสา ผู้แกครอง และผู้สูงวัยร่วมกันสร้างข้อตกลงสถานที่และเขตปลอดบุหร่ ปลอดสุรา
    3. ผู้สูงวัย ผู้ปกครอง นัดหมายพัฒนาบริเวณวัดเป็นระยะๆเช่นจัดเก็บขยะ กวาดวิหารลานวัด ตลอดจนโรงครัว ห้องน้ำ ห้องส้วม ให้เป็นไปตามวัตุประสงค์ คือสะอาด ร่มรื่น น่าอยู่ เหมาะสมเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม และเจริญจิต
    4. จัดทำป้ายรณรงค์เขตปลอดบุหรี่ เขตปลอดสุรา และแนวทางกการปฏิบัติตนในวัดเพื่อให้เป็นบรรยากาศ และสภาพแวดล้อมแห่งการพัฒนาสุขภาพกาย และสุขภาพจิต

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. กลุ่มเป้าหมาย และผู้ที่เข้าร่วมโครงการเกิดความตระหนัก เห็นความสำคัญในการดูแลสุขภาพกาย ควบคู่ไปกับสุขภาพจิต กล่าวคือ ปฏิบัติตนตามเขตปลอดบุหรี่ และสุรา ไม่ฝ่าฝืน และเมื่อผู้ใดหลงลืมก็ช่วยกันตักเตือน
    2. สภาพแวดล้อมในวัดสะอาด ร่มรื่น สวยงาม อยู่ในระดับที่น่าพอใจ เมื่อเปรียบเทียบกับก่อนดำเนินการ ตามโครงการ ระมัดระวังในหารสูบบุหรี่ การทิ้งขยะ เมื่อมีการนัดหมายในการพัฒนาสภาพแวดล้อมมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมตามเป้าหมาย
    3. มีป้ายรณรงค์เขตปลอดบุหรี่ ป้ายรณรงค์งดดื่มสุราในบริเวณวัด ป้ายแนวทางการปฏิบัติเมื่อเข้าในบริเวณวัด และขณะประกอบศาสนพิธี ตั้งไว้ในสถานที่ ที่มองเห็นได้ชัดเจน

     

    15 15

    24. มหกรรมสุขภาพครั้งที่1

    วันที่ 12 สิงหาคม 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    มหกรรมครั้งที่ 1 เป็นมหกรรมการตรวจสุขภาพเบื้องต้น มีกิจกรรม ดังนี้

    1. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมลงทะเบียน
    2. ประธานจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย
      • ฝึกปฎิบัติการเจริญจิตภาวนาเบื้องต้น
      • เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลตากใบ ร่วมกับ อสม. ตรวจสุขภาพเบื้องต้นโดย วัดความดันโลหิต ชั่งน้ำหนัก วัดรอบเอว และบันทึกลงในสมุดบันทึก
      • วิทยากรบรรยายให้ความรู้ เกี่ยวกับ รักษาสุขภาพ การดูแลตนเองเกี่ยวกับการรับประทานอาหารที่เหมาะสมกับผู้สูงวัย และการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน

    - ร่วมรับประทานอาหาร

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จากการจัดกิจกรรมมหกรรมครั้งที่ 1 เป็นมหกรรมการตรวจสุขภาพเบื้องต้น สรุปผลการจัดกิจกรรมได้ดังนี้

    1. ผู้สูงวัย เยาวชนธรรมะ ผู้ปกครอง และผู้ดูแลผู้สูงวัย ร่วมกิจกรรม จำนวน128คนเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
    2. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมฝึกปฏิบัติการเจริญจิตภาวนาเบื้องต้นโดย ท่านพระครูสุนทรธรรมานุรักษ์ เป็นวิทยากรให้คำแนะนำ และควบคุมการฝึกปฏิบัติ ทำให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมสามารถนั่งสมาธิได้ตามเวลาที่กำหนด
    3. ผู้สูงวัย ผู้ปกครอง และครูจิตอาสา รับการสุขภาพเบื้องต้น โดยการตรวจวัดความดัน ชั่งน้ำหนัก โดยเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลตากใบและอาสาสมัครสาธารณสุขในหมู่บ้านดำเนินการให้ความร่วมมือในการตรวจสุขภาพ ผู้เข้ารับการตรวจสุขภาพทราบผลสภาวะสุขภาพของตนเอง และได้รับคำแนะนำในการดูแลสุขภาพทั้งในด้านความดันโลหิต และการควบคุมน้ำหนักให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหหนดไว้
    4. วิทยากรจากโรงพยาบาลตากใบ ให้ความรู้วิทยากรบรรยายให้ความรู้ เกี่ยวกับ รักษาสุขภาพ การดูแลตนเองเกี่ยวกับการรับประทานอาหารที่เหมาะสมกับผู้สูงวัย และการออกกำลังกาย ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเกิดความตระหนัก และเห็นความสำคัญในการดูแลสุขภาพ

     

    120 120

    25. มหกรรมสุขภาพครั้งที่2

    วันที่ 23 สิงหาคม 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    มหกรรมครั้งที่ 2

    1. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมลงทะเบียน
    2. ประธานจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย
    3. กิจกรรมการตรวจสุขภาพเบื้องต้น การวัดความดันโลหิต ชั่งน้ำหนัก โดยความร่วมมือของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลตากใบ และ อสม.
    4. วิทยากรบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับ การป้องกันให้ห่างไกลจากโรคเรื้อรัง
    5. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมชมนิทรรศการ การป้องกันให้ห่างไกลจากโรคเรื้อรัง
    6. ผู้สูงอายุและเยาวชนร่วมออกกำลังกายด้วยผ้าขนหนู ไม้พลอง และตามรูปแบบการออกกำลังกายที่เยาวชนร่วมกันคิดและออกแบบการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับผู้สูงวัย
    7. ฝึกปฏิบัติการนวดเพื่อผ่อนคลาย ให้เยาวชนจับคู่กับผู้สูงวัย และนวดให้ผู้สูงวัย
    8. รับประทานอาหารร่วมกัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จากการจัดกิจกรรมมหกรรมครั้งที่ 2 เป็นการให้ความรู้ด้านการปฏิบัติตนให้ห่างไกลจากโรคเรื้อรัง และการตรวจสุขภาพเบื้องต้น สรุปผลได้ดังนี้

    1. ผู้สูงอายุ เยาวชนธรรมะ ผู้ปกครอง และผู้ดูแลผู้สูงอายุ เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 125 คน เป็นไปตามเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้
    2. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้รับการตรวจวัดความดันโลหิต ชั่งน้ำหนัก วัดรอบเอว โดยเจ้าหน้าที่อาสาสมัครสาธารณสุขในหมู่บ้าน บันทึกลงในสมุดบันทึก และทำให้ทราบสุขภาวะของตนเอง พร้อมทั้งได้รับคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลตากใบเกี่ยวกับการดูแลตนเองที่ถูกต้อง
    3. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้รับความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับการปฏิบัติตนให้ห่างไกลจากโรคเรื้องรัง จากคณะวิทยากร และจากการชมนิทรรศการ
    4. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ออกกำลังกาย โดยผ้าขนหนู ไม้พลอง และออกกำลังกายตามรูปแบบที่เยาวชนได้ร่วมกันคิด
    5. ผู้สูงวัย ได้รับการนวดจากเยาวชน นอกจากได้รับการนวดแล้ว เกิดความผูกพันธ์ระหว่างเยาวชนและผู้สูงวัย สังเกตได้จากพฤติกรรมของผู้สูงวัยมีความสุข มีใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส ร่าเริง

     

    120 125

    26. ร่วมเวทีเสริมพลังสร้างสุขภาวะ

    วันที่ 4 กันยายน 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เข้าร่วมกิจกรรม มหกรรมตนใต้สร้างสุข ทำให้เกิดมุมมอง ด้านสุขภาพ ที่ประกอบด้วย คน สิงแวดล้อมและกลไก ที่จะต้องร่วมกันให้เกิดชุมชนสุขภาวะ และภาคกลไกมีการผลักดันหลายภาคส่วน คือ สปสช  สช  สสส  เห็นมุมมอง ในกระบวนการการร่วมร่วมทำ  ผลักดันให้เกิดการทำงานในรูปแบบสภาชุมชน แก้ปัญหาชุมชน เพื่อให้เกิดชุมชนเข้มแข็ง  ได้พบปะแลกเปลี่ยนเรียนเรียนรู้ร่วมกันกับชุมชนที่หลากหลาย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เกิดการเรียนรู้รูปแบบชุมชนเข้มแข็งที่หลากหลาย ซึ่งมีโครงการมาจัดนิทรรศการใน 14 จังหวัดภาคใต้และนำผลผลิตจากการทำโครงการมาแสดง เกิดการเรียนรู้และแลกเปลี่ยนร่วมกัน

     

    1 1

    27. มหกรรมสุขภาพครั้งที่3

    วันที่ 6 กันยายน 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมลงทะเบียน
    2. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมฝึกปฏิบัติการรักษาสุขภาพจิตตามแนวพุทธศาสนาโดยการเจริญจิตภาวนา
    3. วิทยากรให้ความรู้และสาธิตการปรุงอาหารเพื่อสุขภาพ และอาหารที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงวัย
    4. วิทยากรให้ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตัวให้ห่างไกลจากโรคเรื้อรัง
    5. ชมนิทรรศการความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตัวให้ห่างไกลจากโรคเรื้อรัง(NCD)
    6. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมรับการตรวจสุขภาพเบื้องต้น การวัดความดันโลหิต ชั่งน้ำหนัก วัดรอบเอว และบันทึกลงในสมุดบันทึก
    7. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมร่วมกันออกกำลังกายด้วยไม้พลอง ผ้าขนหนู และการออกกำลังกายตามรูปแบบที่เยาวชนช่วยกันคิด
    8. เยาวชน จับคู่กับผู้สูงวัย และปฏิบัติการนวดให้ผู้สูงวัยเพื่อผ่อนคลาย
    9. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกคน ร่วมรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ เช่น ข้าวยำพื้นบ้าน(สมุนไพร) น้ำดื่มสมุนไพร เช่น น้ำใบย่านาง บัวบก ตะไคร้ อัญชัญ กระเจี๊ยบ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จากการจัดกิจกรรมมหกรรมครั้งที่ 3 สรุปผลได้ดังนี้

    1. ผู้สูงอายุ เยาวชนธรรมะ ผู้ปกครอง และผู้ดูแลผู้สูงอายุ ได้มาเข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 135 คนเกินกว่าเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้

    2. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมฝึกปฏิบัติการรักษาสุขภาพจิตตามแนวพุทธศาสนาโดยการเจริญจิตภาวนาจากการสังเกตพบว่า ผู้สูงวัยมีความสนใจ และฝึกปฏิบัติอย่างตั้งใจ บอกประโยชน์ที่ได้รับจากการปฏิบัติ สรุปได้ว่า ทำให้สบายใจขึ้น และมีความรู้มากขึ้น ส่วนเยาวชนธรรมะ จากการสังเกตพบว่าเยาวชนมีความตั้งใจปฏิบัติ และนั้งสมาธิได้ระยะเวลามากขึ้นกว่าครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2

    3. วิทยากรให้ความรู้และสาธิตการปรุงอาหารเพื่อสุขภาพ และอาหารที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงวัย จากการสัมภาษณ์ พบว่าผู้สูงวัยเห็นความสำคัญของการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และเหมาะสมกับวัย เห็นประโยชน์พืชสมุนไพรในท้องถิ่นที่ดีต่อสุขภาพ

    4. วิทยากรให้ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตัวให้ห่างไกลจากโรคเรื้อรัง โดยการชมนิทรรศการความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตัวให้ห่างไกลจากโรคเรื้อรัง (NCD) จากการสัมภาษณ์ผู้สูงวัย พบว่ามีความรู้ความเข้าใจมากขึ้น แต่ยังต้องการให้ทำอย่างต่อเนื่อง

    5. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมรับการตรวจสุขภาพเบื้องต้น การวัดความดันโลหิต ชั่งน้ำหนัก วัดรอบเอว และบันทึกลงในสมุดบันทึก จากการประเมินโดยภาพรวมในสมุดบันทึกการตรวจสุขภาพพบว่า ผู้สูงวัยมีความดันโลหิต และน้ำหนัก อยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ มีบางรายเท่านั้นที่จะต้องติดตามผล และให้คำแนะนำในการปฏิบัติตน และการรับประทานยาต่อไป

    6. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมร่วมกันออกกำลังกายด้วยไม้พลอง ผ้าขนหนู และการออกกำลังกายตามรูปแบบที่เยาวชนช่วยกันคิด จากการสัมภาษณ์และสังเกต พบว่าผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความพึงพอใจในกิจกรรมการออกกำลังกาย และเสนอแนะให้ทำอย่างน้อย เดือนละ 1 ครั้ง ผู้ปกครองมีความพึงพอใจในรูปแบบการออกกำลังกายที่เยาวชนสาธิต และให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมปฏิบัติ

    7. เยาวชน จับคู่กับผู้สูงวัย และปฏิบัติการนวดให้ผู้สูงวัยเพื่อผ่อนคลาย ผลจากการปฏิบัติ พบว่า ผู้สูงวัยมีความสุข สังเกตจากใบหน้าที่ยิ้มแย้มแจ่มใส และสนุกสนาน จากการที่ลูกหลานได้สัมผัสร่างกายโดยการนวด ตามที่ได้รับการฝึกปฏิบัติ อันเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเยาวชนและผู้สูงวัย

    8. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกคน ร่วมรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ เช่น ข้าวยำพื้นบ้าน(สมุนไพร) น้ำดื่มสมุนไพร เช่น น้ำใบย่านาง บัวบก ตะไคร้ อัญชัญ กระเจี๊ยบ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกคนสนใจและรับประทานข้าวยำ และดื่มน้ำสมุนไพรมากขึ้นโดยการเปรียบเทียบจากกิจกรรมอื่นๆที่ผ่านมา และพบว่าผู้สูงวัยผู้หญิงและเยาวชนผู้หญิง ชอบข้าวยำมากกว่าผู้ชาย

     

    120 135

    28. การประชุมปฏิบัติการคณะทำงานและผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อสรุปและรายงานโครงการ

    วันที่ 4 ตุลาคม 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ชี้แจงแนวทางการสรุปรายงานให้ที่ประชุมทราบ
    2. แบ่งกลุ่มสรุป จัดทำรายงาน ตรวจสอบความถูกต้องหลักฐานการเบิกจ่ายตามความเป็นจริง
    3. ประสานงานปรึกษาซักถามปัญหาพี่เลี้ยงโครงการในพื้นที่
    4. กลุ่มรายงานที่ประชุมและสรุป
    5. จัดทำรายงานตามรูปแบบ ของ สสส.
    6. ชี้แจง สรุป ตอบปัญหาข้อสงสัยให้ที่ประชุมทราบ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. คณะทำงานและผู้เกี่ยวข้องทราบผลการดำเนินงานตามโครงการ
    2. ได้ข้อสรุปและข้อมูลการจัดทำรายงานตามที่ สสส.กำหนดไว้
    3. ได้ข้อสรุปการรายงานการเงินและเอกสารการเบิกจ่ายงบประมาณ ดังนี้

      3.1 รายงานการเบิกเงินตามที่เบิกจริง

      3.2 รายงานการเงินให้ตรงตามเอกสารหลักฐาน ใบสำคัญ

      3.3 วันการดำเนินกิจกรรมให้สอดคล้องตรงตามฤดูกาลแห่งกิจกรรมเช่นวันรดน้ำขอพร การจัดกิจกรรมวันสำคัญ เป็นต้น

    4.ได้เอกสารการรายงานโครงการ

     

    15 15

    29. เบิกค่าเปิดบัญชี

    วันที่ 13 ตุลาคม 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประธานโครงการเบิกค่าเปิดบัญชี ที่ ธนาคาร ธกส. สาขาอำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ประธานโครงการเบิกค่าเปิดบัญชี

     

    2 2

    30. เข้าร่วมประชุมปิดโครงการ

    วันที่ 7 พฤศจิกายน 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ผลสรุปของกิจกรรม มีดังต่อไปนี้
    - ได้ตรวจสอบเรื่องเอกสารต่างๆการจัดกิจกรรม และการใช้งบประมาณรวมถึงการตรวจการลงทะเบียน
    - ชี้แจงรายละเอียดการสรุปงบประมาณลงเว็บไซต์ ทำให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับด้านเอกสาร และเอกสารการเงิน - ทำให้เกิดความเข้าใจตรงกัน และปิดโครงการได้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สามารถจัดการเอกสารการเงินให้เรียบร้อยสมบูรณ์ ปรับยอดค่าใช้จ่ายให้ถูกต้องตรงตามวัตถุประสงค์การเบิกจ่ายเงินของสสส. และสามารถจัดทำรายงานการเงินเพื่อปิดโครงการได้

     

    2 2

    31. ถ่ายภาพกิจกรรม

    วันที่ 7 พฤศจิกายน 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดทำภาพถ่ายและเก็บไว้ในแฟ้ม สำหรับไว้ทำรายงานฉบับสมบูรณ์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้ภาพถ่ายกิจกรรมที่สามารถจัดทำรายงานได้

     

    1 3

    32. ทำรายงานส่ง สสส

    วันที่ 7 พฤศจิกายน 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดทำรายงาน ส่ง สสส ให้เสร็จสมบูรณ์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ทำรายงานการเงิน และลงข้อมูลในรายงานบนเว็บไซต์เรียบร้อย สามารถส่งรายงานได้

     

    2 2

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

     

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 1.เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถดูแลสุขภาพตนเองได้
    ตัวชี้วัด : - มีเป้าหมายในการให้ความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพรวมทั้งปัญหาสุขภาพที่จะเกิดขึ้น - ร้อยละ 80 ผู้สูงอายุเข้ารวมกิจกรรมการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพที่ดีและสุขภาพจิตสงบของสูงวัย
    • ได้ให้ความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพรวมทั้งปัญหาสุขภาพที่จะเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ โดยเสริมความรู้และลงมือปฏิบัติในการออกกำลังกาย การเลือกรับประทานอาหาร
    • ร้อยละ 80 ผู้สูงอายุเข้าร่วมกิจกรรมการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพที่ดีและสุขภาพจิตสงบของสูงวัย โดยเห็นความสำคัญของตนเองมากขึ้น และรู้จักการปฏิบัติตนเพื่อให้มีสุขภาพที่ดี ทั้งนี้จะมีผู้สูงอายุบางส่วนที่มีร่างกายพร้อมสำหรับการออกกำลัง
    2 2.เพื่อให้เยาวชนมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ
    ตัวชี้วัด : ร้อยละ 80 ของกลุ่มเยาวชนมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลและใส่ใจสุขภาพสูงวัย

    ร้อยละ 80 ของกลุ่มเยาวชน(เยาวชนจำนวน 40 คน จากกลุ่มเป้าหมาย 50 คน) มีความรู้ความเข้าใจในการดูแลและใส่ใจสุขภาพสูงวัย มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกลุ่มเยาวชนด้วยกันเอง และระหว่างผู้สูงวัยกับกลุ่มเยาวชน

    3 3.ติดตามสนับสนุนจากสสส. สจรส.และพี่เลี้ยง
    ตัวชี้วัด : เข้าร่วมกิจกรรมกับ สจรส. ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 75 ของจำนวนครั้งที่จัด มีภาพถ่ายทุกกิจกรรม มีป้ายปลอดบุหรี่ที่สถานที่จัดประชุม ส่งรายงานภายในระยะเวลาที่กำหนด

    เข้าร่วมกิจกรรมกับ สจรส. ครบทุกครั้งที่มีการจัดประชุม มีภาพถ่ายทุกกิจกรรม มีป้ายปลอดบุหรี่ที่สถานที่จัดประชุม และสามารถส่งรายงานภายในระยะเวลาที่กำหนด

    4 4.เพื่อให้แกนนำชุมชนคณะทำงานและทีมงานมีการวางแผนและเข้าร่วมกิจกรรมประชุมชี้แจงกิจกรรมทุกครั้ง
    ตัวชี้วัด : มีการประชุมติดตามกิจกรรม ทุกเดือน จำนวน 10 เดือนมีการประชุมก่อนจัดกิจกรรมและสรุปหลังทำกิจกรรมทุกครั้ง

    มีการประชุมติดตามกิจกรรม เกือบทุกเดือน จำนวน 6 ครั้ง มีการประชุมก่อนจัดกิจกรรมและสรุปหลังทำกิจกรรมโดยไม่ใช้งบประมาณในการจัดกิจกรรม

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) 1.เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถดูแลสุขภาพตนเองได้ (2) 2.เพื่อให้เยาวชนมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ (3) 3.ติดตามสนับสนุนจากสสส. สจรส.และพี่เลี้ยง (4) 4.เพื่อให้แกนนำชุมชนคณะทำงานและทีมงานมีการวางแผนและเข้าร่วมกิจกรรมประชุมชี้แจงกิจกรรมทุกครั้ง

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    ส่วนที่ 3 ประเมินคุณค่าโครงการ

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ

    ชื่อโครงการ เยาวชนธรมมะบ้านบางน้อยใส่ใจสุขภาพสูงวัย

    รหัสโครงการ 57-02606 รหัสสัญญา 58-00-0069 ระยะเวลาโครงการ 20 ตุลาคม 2014 - 20 พฤศจิกายน 2015

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นการคุณค่าที่เกิดจากโครงการในมิติต่อไปนี้

    • ความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพและนวัตกรรมเชิงระบบสุขภาพชุมชน
    • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีผลต่อสุขภาวะ
    • การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ
    • ผลกระทบเชิงบวกและนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาวะชุมชน
    • กระบวนการชุมชน
    • มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่

    1. เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้ใหม่ / องค์ความรู้ใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สิ่งประดิษฐ์ / ผลผลิตใหม่

    ผลิตภันฑ์จักรสาร ตะกร้ารองพาชนะ นำ้ยาล้างจาน นำ้มันสกัดเย็น

    • กลุ่มเยาชนและสูงอายุผลิดผลิตภันฑ์วางขายที่วัด
    • ท่าออกกำลังกายไม้พลอง

    เกิดศูนญ์เรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในชุมชน และกลุ่มผลิตภันฑ์จักรสาร ตะกร้ารองพาชนะ นำ้ยาล้างจาน นำ้มันสกัดเย็น

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. กระบวนการใหม่

    การสร้างสุขภาพด้วยธรรมมะ และ การร่วมดูแลสุขภาพร่วมกันของกลุ่มเยาวชน และกลุ่มสูงอายุ เกิดกลุ่มสองว้ย

    • กลุ่มเยาวชนธรรมมะ และกลุ่มสูงอายุ
    • การมีกิจกรรมสุขภาพที่วัด เช่น นั่งสมาธิ ออกกำลังกายไม้พลอง

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. วิธีการทำงาน / การจัดการใหม่

    การสร้างเสริมสุขภาพด้วยวิธิพุทธ

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การเกิดกลุ่ม / โครงสร้างในชุมชนใหม่

    เกิดกลุ่มเยาวชนธรรมมะสร้างสุขภาพ และกลุ้มสูงอายุนำพาสู่ธรรมะ

    กลุ่มเยาวชนธรรมมะสร้างสุขภาพดูแลสูงอายุ

    • การพัฒนาต่อยอดกลุ่มเยาวชนดูแลสูงอายุที่บ้าน เก็บรวมรวมข้อมูลสุขภาพชุมชน เกิดเป็นนักวิจัยน้อยวิจัยภาวะสุขภาวะสุขภาพชุมชน
    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. แหล่งเรียนรู้ใหม่

    เกิดแหล่งเรียนรู้เรื่องสุขภาพ กาย จิต ตามวิถีพุทธที่วัด

    พื้นที่การเรียนรู้ด้านสุขภาพและการดูและสุขภาพผู้สูงอายุที่วัด

    ศูนย์เรียนรู้สุขภาพชุมชนตามวิถีพุทธ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    99. อื่นๆ

    การทำงานแบบร่วมคิดร่วมทำในชุมชน

    คณะทำงานประชุมร่วมคิดร่วมทำให้เกิดกิจกรรมตามแผน

    เกิดการทำงานในรูปแบบสภาชุมชน

    2. เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล
    • การออกกำลังกายที่บ้านของผู้สูงอายุ
    • มีกิจกรรมออกกำลังกายที่วัด
    • การจัดเมนูอาหารสุขภาพ เช่น ข้าวยำ ในกิจกรรมงานของชุมชน

    รูปแบบการออกกำลังกายด้วยไม้พลอง และผ้าขนหนูที่เยาวชนช่วยกันคิด

    ลานวัดสร้างสุขภาพด้วยการออกกำลังกาย

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การบริโภค
    • การจัดเมนูอาหารสุขภาพ เช่น ข้าวยำ ในกิจกรรมงานของชุมชน

    สูตรเมนูข้าวยำบเานบางน้อย

    เพิ่มเมนูสุขภาพที่หลากหลายในชุมชนและร้านค้า

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การออกกำลังกาย
    • การออกกำลังกายที่บ้านของผู้สูงอายุ
    • มีกิจกรรมออกกำลังกายที่วัด

    รูปแบบการออกกำลังกายด้วยไม้พลอง และผ้าขนหนูที่เยาวชนช่วยกันคิด

    ลานวัดสร้างสุขภาพด้วยการออกกำลังกาย

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. การลด ละ เลิก อบายมุข เช่น การพนัน เหล้า บุหรี่

    ลานวัดปลอดเหล้า บุหร่

    ป้ายห้ามสูบบุหรี ข้อตกลงงานบุญปลอดเหล้า

    ขยายพื้นที่ปลอดบุหรีสู่ชุมชนที่ยั่งยืนด้วยชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การลดพฤติกรรมเสี่ยง เช่น พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การขับรถโดยประมาท

    ด้วยการดำรงชีวิตด้วยหลักธรรมมะ

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. การจัดการอารมณ์ / ความเครียด

    กลุ่มเยวชนธรรมมะ สูงอายุ มีการนั่งสมาธิ และการจัดกิจกรรมทางศาสนาอย่างต่อเนื่องในชุมชน

    กิจกรรมรนั่งสมาธิ และการจัดกิจกรรมทางศาสนาในสองกลุ่มวัยอย่างต่อเนื่องในชุมชน

    การจัดกิจกรรมทางศาสนาอย่างต่อเนื่องในชุมชน ใน 2 กลุ่มวัยสู่กลุ่มบ้าน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. การดำรงชีวิต / วิถีชีวิต เช่น การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น / สมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเอง

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    8. พฤติกรรมการจัดการตนเอง ครอบครัว ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    9. อื่นๆ

     

     

     

    3. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. กายภาพ เช่น มีการจัดการขยะ ป่า น้ำ การใช้สารเคมีเกษตร และการสร้างสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนที่ถูกสุขลักษณะ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สังคม เช่น มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ลดการเกิดอุบัติเหตุ ครอบครัวอบอุ่น การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อเด็ก เยาวชน และกลุ่มวัยต่าง ๆ มีพื้นที่สาธารณะ/พื้นที่ทางสังคม เพื่อเอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชน มีการใช้ศาสนา/วัฒนธรรมเป็นฐานการพัฒนา

    เกิดกระบวนการส่งเสริมสุขภาพวิธีพุทธ สร้างสรรครอบครัวอบอุ่นโดยให้เยาวชนร่วมกับผู้สูงอายุ พ่อแม่ร่วมทำกิจกกรรมออกำลังกาย ทำสมาธิ ร่วมกันตามวิถีพุทธ

    • กลุ่มเยาวชนธรรมมะสร้างสุขภาพดูแลสูงอายุ
    • พื้นที่การเรียนรู้ด้านสุขภาพและการดูและสุขภาพผู้สูงอายุที่วัด

    การจัดกิจกรรมสุขภาพผสมผสานกิจกรรมทางศาสนาอย่างต่อเนื่องในชุมชน ใน 2 กลุ่มวัยสู่กลุ่มบ้าน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. เศรษฐกิจสร้างสรรค์สังคม /สร้างอาชีพ / เพิ่มรายได้

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการบริการสุขภาพทางเลือก และมีช่องทางการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. อื่นๆ

     

     

     

    4. การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. มีกฎ / กติกา ของกลุ่ม ชุมชน

    ลานวัดปลอดเหล้า บุหร่

    ป้ายห้ามสูบบุหรี ข้อตกลงงานบุญปลอดเหล้า

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. มีมาตรการทางสังคมของกลุ่ม ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. มีธรรมนูญของชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. อื่นๆ เช่น ออกเป็นข้อบัญญัติท้องถิ่น ฯลฯ

     

     

     

    5. เกิดกระบวนการชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. เกิดการเชื่อมโยงประสานงานระหว่างกลุ่ม / เครือข่าย (ใน และหรือนอกชุมชน)

    ชุมชนมีการทำงานเป็นลักษณะคณะกรรมการชุมชน ร่วมกับเครือข่าย อสม กลุ่มครูจิตอาสา โรงพยาบาล

    การทำงานประสานกัน ระหว่าง ลักษณะคณะกรรมการชุมชน ร่วมกับเครือข่าย อสม กลุ่มครูจิตอาสา โรงพยาบาล

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเรียนรู้การแก้ปัญหาชุมชน (การประเมินปัญหา การวางแผน การปฏิบัติการ และการประเมิน)

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ประโยชน์จากทุนในชุมชน เช่น การระดมทุน การใช้ทรัพยากรบุคคลในชุมชน

    การนำข้าราชการเกษียน ครูจิตอาสามาร่วมเป็นคณะทำงาน

    เป็นคณะทำงานกิจกรรมขุมขน

    เกิดการทำงานในรูปแบบสภาชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกลุ่มและชุมชนที่เกิดจากโครงการอย่างต่อเนื่อง

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. เกิดกระบวนการจัดการความรู้ในชุมชน

    การถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นในชุมชนจากวัยสูงอายุสู่เยวขน

    กิจกรรมการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นในชุมชนเช่น ผลิตภันฑ์จักรสาร ตะกร้ารองพาชนะ นำ้ยาล้างจาน นำ้มันสกัดเย็น

    เกิดศูนญ์เรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในชุมชน และกลุ่มผลิตภันฑ์จักรสาร ตะกร้ารองพาชนะ นำ้ยาล้างจาน นำ้มันสกัดเย็น

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. เกิดทักษะในการจัดการโครงการ เช่น การใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ การทำแผนปฏิบัติการ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. อื่นๆ

     

     

     

    6. มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเอง / กลุ่ม / ชุมชน
    • เกิดกลุ่มเยาวชนธรรมมะ

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเห็นประโยชน์ส่วนรวมและส่วนตนอย่างสมดุล

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย และพอเพียง

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. ชุมชนมีความเอื้ออาทร

    เกิดกลุ่มผู้สูงอายุและกลุ่มเยาชนช่วยเหลื่อผู้สูงอายุและมีบิดาาฃมารดามีส่วนร่วมเพิ่มขึ้น มีการช่วยเหลื่อซึ่งกันและกัน รวมถึงเกิดกลุมจิตอาสาในชุมชน

    เกิดพื้นที่สร้างสุขภาพ และพื้นที่สร้างกิจกรรมสัมพันธ์ของคนในชุมชน

    เกิดกลุ่มจิตอาสาที่หลากหลาย เช่น กลุ่มเยาวชนจิตอาสา กลุ่มบ้านอาสา

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. มีการตัดสินใจโดยใช้ฐานปัญญา

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. อื่นๆ

     

     

     

    เยาวชนธรมมะบ้านบางน้อยใส่ใจสุขภาพสูงวัย จังหวัด นราธิวาส

    รหัสโครงการ 57-02606

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นายธานี แก้วโยธา )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด