แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


“ บ้านโคกไม้ไผ่ รู้จด รู้ใช้ สุขได้ด้วยพอเพียง ”

บ้านโคกไม้ไผ่ หมู่ที่ 4 ต.นาบินหลา อ.เมือง จ.ตรัง 92000

หัวหน้าโครงการ
นายเกียรติศักดิ์ บุญมี

ชื่อโครงการ บ้านโคกไม้ไผ่ รู้จด รู้ใช้ สุขได้ด้วยพอเพียง

ที่อยู่ บ้านโคกไม้ไผ่ หมู่ที่ 4 ต.นาบินหลา อ.เมือง จ.ตรัง 92000 จังหวัด ตรัง

รหัสโครงการ 57-02543 เลขที่ข้อตกลง 58-00-0105

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 15 ตุลาคม 2557 ถึง 15 พฤศจิกายน 2558


กิตติกรรมประกาศ

"บ้านโคกไม้ไผ่ รู้จด รู้ใช้ สุขได้ด้วยพอเพียง จังหวัดตรัง" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน บ้านโคกไม้ไผ่ หมู่ที่ 4 ต.นาบินหลา อ.เมือง จ.ตรัง 92000

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
บ้านโคกไม้ไผ่ รู้จด รู้ใช้ สุขได้ด้วยพอเพียง



บทคัดย่อ

โครงการ " บ้านโคกไม้ไผ่ รู้จด รู้ใช้ สุขได้ด้วยพอเพียง " ดำเนินการในพื้นที่ บ้านโคกไม้ไผ่ หมู่ที่ 4 ต.นาบินหลา อ.เมือง จ.ตรัง 92000 รหัสโครงการ 57-02543 ระยะเวลาการดำเนินงาน 15 ตุลาคม 2557 - 15 พฤศจิกายน 2558 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 204,550.00 บาท จาก เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 80 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

 

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้คนในชุมชนมีความตระหนักในการรู้จักตนเอง ครัวเรือนและชุมชนและนำไปสู่การวา่งแผนการในการปรับพฤติกรรมในการใช้จ่ายและการพึ่งตนเองโดยใช้การทำบัญชีครัวเรือน เกิดการรวบรวมข้อมูล เข้าใจการวิเคราะห๋ข้อมูล กำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้สินครัวเรือนและชุมชน
  2. เพื่อหนุนเสริมให้คนในชุมชนมีปฏิบัติการในการลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ทำสิ่งที่กินและใช้เอง ทั้งระดับชุมชน ครัวเรือนและการรวมกลุ่มกันทำภายใต้การหนุนเสริมขององค์กรภาคีที่เกี่ยวข้อง
  3. เพื่อเสริมสร้างการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการชุมชน
  4. ติดตามการดำเนินงานตามโครงการ

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

     


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. ปฐมนิเทศน์เริ่มโครงการ

    วันที่ 29 พฤศจิกายน 2557 เวลา 29-30 พ.ย. 08:30- 21.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • พี่เลี้ยงและชุมชนที่เข้าร่วมได้เข้าใจถึงกระบวนการติตดามหนุนเสริมของพี่เลี้ยงจังหวัดและสจรส.
    • พี่เลี้ยงและชุมชนได้เข้าใจการเขียนรายงานการเงิน และรายงานผ่านเวบไซด์โครงการคนใต้สรา้งสุข
    • การเก็บเอกสาร หลักฐานทางการเงิน
    • ได้ลงมือกรอกรายละเอียดโครงการทางเวบไซด์  ทำปฏทินกิจกรรมโครงการ ทำรายงานโครงการได้ และเสร็จทันตามเวลาที่กำหนด
    • พี่เลี้ยงจังหวัดได้เข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเองในการติดตามและหนุนเสริมโครงการของชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • เริ่มต้นด้วย ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ สถาบันการจัดการระบบสุขภาพภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้กล่าวต้อนรับและกล่าวทักทายผู้เข้าร่วม โดยได้อธิบายถึงแนวทางโครงการคนใต้สรา้งสุข ที่เป็นกระบวนการที่สรา้งให้ชุมชนสามารจัดการตนเองได้ ในกระบวนการเลห่านี้ ครธทำงานเสมือนมาเรียนรู้ให้ขเาใจกระบวนการจัดการแก้ขไปัญหาของชุมชนด้วยชุมชนเองเน้นการพูดคุย สรา้งสภาผู้นำชุมชนเงนที่ใช้ในโครงการได้มาจาก สสส . ซึ่งเป็นเงินภาษีจากเหล้าและบุหรี่ กระบวนการหนุนเสริมและติดตามของโครงการว่า จะมีพี่เลี้ยงจังหวัด ค่อยหนุนเสริมในพื้นที่ มีพี่เลี้ยงของ สจรส.ค่อยหนุนเสริม อีกทางหนึ่ง กระบวนการติดตามจะเน้นการเขียนรายงาน เวบไซด์คนใต้สรา้งสุข
    • ต่อมา คุณปรีดารัตน์ ศรัทธานนท์กุล สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้มาพูดถึง วิสัยทัศน์ เป้าหมายของสสส.ที่เน้นต้องการ สรา้งสรรค์โอกาศให้ชุมชน และการสร้างนวัตกรรมสุขภาพ และอธิบายถึงความคาดหวังต่อรายงานโครงการว่า เน้นการกระชับเข้าใจได้ง่ายเช่นตัวชี้วัด คุณค่าของโครงการ และอธิบายเกี่ยวกับ การเงินเช่น การขอบิลเงินสด(หามใช้ใบส่งของ แทนบิลเงินสด)  การเขียนใบสำคัญรับเงิน การเขียนค่าเดินทาง การจ่ายเงินแก่วิทยากร การขอสำเนาบัตรประชาชนในกรณีที่จ่ายเกิน 1000 บาท ต้องแนบสำเนาบัตรประชาชน  การทำป้ายโลโก้ของสสส.ที่ถูกต้อง
    • การจัดทำรายงานผ่านเวบไซต์คนใต้สร้างสุข www.happynetwork.org โดยคุณภานุมาศ นนทพันธ์ คณะทำงานลงข้อมูลตามโครงการของสัญญาในเวปไซด์  โดยอธิบาย ขั้นตอนการป้อนข้อมูลรายละเอียดโครงการ การกรอกปฏิทินกิจกรรม การเขียนรายงานชุมชนผ่านเวบได์คนใต้สร้างสุข  โดยระบวนการทั้งหมดจะมีพี่เลี้ยงอาวุโส อธิบายประสายการณ์ที่ผ่านมาทั้งเรื่องการเขียนรายงานและการเงิน รวมทั้งการหนุนเสริมในพืน้ที่

     

    2 2

    2. 1.1.1 คณะทำงานเข้าใจในบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ สามารถนำความรู้ไปปฏิบัติกับกลุ่มเป้าหมายได้ มีการประชุมคณะทำงานเพื่อได้แนวทางในการดำเนินงานร่วมกัน 15 คน

    วันที่ 6 ธันวาคม 2557 เวลา 13:30-16.30 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • เริ่มต้นด้วยผู้ใหญ่บ้าน กล่าวสวัสดีผู้เข้าร่วมประชุมและแนะนำคณะทำงาน พี้เลี้ยงโครงการแนะนำตัว กล่าวถึงที่ไปที่มาของโครงการ โดยได้รับงบสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนการสร้างเสริมสุขภาพ หรือ สสส.โดยได้รับงบจาสำนัก 6 และมีหน่วยงานที่ที่ติดตามสนับสนุนและประเมิณผลการดำเนินโครงการ คือสถาบันการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สจรส.)โดยมี ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ เป็นผู้กำกับดูแล ซึ่งโครงการบ้านโคกไม้ไผ่ รู้จด รู้ใช้ สุขได้ด้วยพอเพียง ซึ่งได้รับงบประมาณรวมทั้งหมด 204,550 บาท โดยแบ่งโอนเข้าเป็นงวด จำนวน 3 งวด ตามกิจกรรมตามโครงการ เพื่อร่วมสร้างชุมชนให้อยู่เย็นเป็นสุข โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ชุมชนผ่านการจัดเก็บบัญชีครัวเรือน บัญชีรายรับรายจ่ายครัวเรือน เพื่อได้รู้และตระหนักถึงสาเหตุปัจจัยหลักของปัญหา เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการกำหนดวางแผนการจัดการครัวเรือนต่อไป และใช้การมีส่วนร่วมของชุมชนในการร่วมสร้างชุมชนน่าอยู่ต่อไป ในส่วนท้ายของกิจกรรมได้มีมติร่วมกันของคณะทำงานผู้เข้าร่วมประชุมในการร่วมกันผลักดันให้ชุมชนมีการรู้จักการจัดเก็บ จดบันทึกข้อมูลครัวเรือน บัญชีรายรับรายจ่ายครัวเรือน และข้อมูลด้านอื่นๆเช่น พืชผักสวนครัวต่างๆ ตลอดจนร่วมกันสร้างพื้นที่สาธารณะในการเพิ่มต้นไม้หรือผักต่างๆที่เป็รความมั่นคงทางอาหารร่วมกัน และมีการกำหนดปฏิทินในการดำเนินงานร่วมกันเพื่อให้ทันกับการรายงานปิดงวดโครงการงวดที่1 ซึ่งจะครบกำหนดในเดือนมีนาคม 2558 โดยกิจกรรมต่อไปคือกิจกรรมประชุมหมู่บ้านเพื่อทำความเข้าใจโครงการกับคนในหมู่บ้านและขอความร่วมมือในการดำเนินงานตามโครงการ ซึ่งกำหนดจัดขึ้นในวันที่ 14 ธันวามคม 2557

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • คณะทำงานมีความเข้าใจในเรื่องกิจกรรมตามโครงการการและการสนับสนุนงบประมาณจาก สสส. มีมติร่วมกันในการขับเคลื่อนตามโครงการเพื่อให้บรรลุเป้าประสงค์ตามโครงการ มีการกำหนดแผนการดำเนินงานกิจกรรมต่อไป เพื่อให้ได้ข้อมูลเพื่อสรุปเป็นรูปแผนชุมชนเพื่อให้ทันกันการทำประชาคมหมู่บ้านขององค์ปกครองท้องถิ่น เพื่อยื่นแผนพัฒนาแก่หน่วยงานท้องถิ่นต่อไป

     

    15 25

    3. 1.2.1. ประชุมชาวบ้านเพื่อรับทราบ เข้าใจโครงการ และคัดเลือกครัวเรือนเข้าร่วมโครงการ 80 คน

    วันที่ 14 ธันวาคม 2557 เวลา 10:30 - 16.30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. เมื่อคณะทำงานและตัวแทนครัวเรือนมาเข้าร่วมประชุมกันพร้อมเพรียงกันแล้ว เข้าสู่พิธีเปิดโครงการโดยได้รับเกียรติจากนายชลธี ตะหมัง กำนันตำบลนาบินหลามาเป็นประธานในการเปิดโครงการ และกล่าวรายงานโดยนายณัฐพงศ์ นาทุ่งนุ้ย ผู้ใหญ่บ้านและประธานโครงการ
    2. คุณเสณี จ่าวิสูตร (พี่เลี้ยง) ทำความเข้าใจกับผู้เข้าร่วมประชุมในเรื่องของหน่วยงานที่สนับสนุนโครงการ สสส./สจรส.มอ. ที่ไปที่มาของการได้มาของงบประมาณในการมาดำเนินโครงการ และเป้าหมายของหน่วยงานที่สนับสนุนงบประมาณ
    3. คุณเสณี จ่าวิสูตร (พี่เลี้ยง) ชวนชาวบ้านร่วมคิด ร่วมแสดงความคิดเห็นเกียวกับปัญหาของครัวเรือนที่เกิดขึ้น รายจ่ายครัวเรือน รายรับครัวเรือน เงินขาดมือไม่พอจ่าย การเป็นหนี้เป็นสิน และเชื้อเชิญครัวเรือนให้มาศึกษาครัวเรือนตนเองโดยผ่านการทำบัญชีครัวเรือน
    4. เจ้าหน้าที่จากสำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ ตรัง ทำความรู้จักหน่วยงานตรวจบัญชีสหกณ์ มาให้ความรู้และสร้างความเข้าใจในเรือ่งการจัดทำบัญชีครัวเรือน ร่วมกันบันทึกบัญชีครัวเรือนตัวอย่างในแบบฝึกสอนที่เตรียมมา ให้ครัวเรือได้มีความรู้ความเข้าใจในการลงตัวเลขต่างๆก่อนจะเริ่มลงบันทึกข้อมูลครัวเรือนในสมุดจริง
    5. รับสมัครครัวเรือนที่สนใจเข้าร่วมกับโครงการเพื่อเป็นครัวเรือนหลักในการขับเคลื่องงานตามแผนโครงการต่อไป
    6. กำหนดแผนงานในการดำเนินโครงการครั้งต่อไปเพื่อให้ทันกันช่วงเวลาที่กำหนดตามแผนฌครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ชาวบ้านให้การร่วมมือในการเข้าร่วมกิจกรรม และมีความสนใจในการจัดทำบัญชีครัวเรือน โดยมีครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการเบื้องต้น 60 ครัวเรือน
    • ชาวบ้านให้ความร่วมมือในการร่วมคิดร่วมแสดงความคิดเห็นในเรื่องต่างๆที่วิทยากรถาม มีการถาม ตอบในที่ประชุม ปัญหาหลักเน้นเรื่องการรู้จักครัวเรือนตนเองผ่านการบันทึกข้อมูลครัวเรือน
    • กลุ่มผู้นำต่างๆในชุมชน เช่น อสม. สมาชิกอบต.ผู้ใหญ่บ้านผู้ช่วย ให้ความสำคัญในการดำเนินโครงการ ซึ่งถือเป็นการร่วมกันสร้างชุมชนน่าอยู่ต่อไป

     

    80 113

    4. จัดทำป้ายสถานที่นี้ปลอดบุหรี่ โดยมีตราสัญลักษณ์ สสส.

    วันที่ 14 ธันวาคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ทำป้ายประชาสัมพันธ์ เพื่อรณรงค์ให้คนในชุมชนงดสูบบุหรี่ในพื้นที่ที่แสดงป้าย 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เป็นพื้นที่งดสูบบุหรี่ เป็นเขตห้ามสูบบุหรี่ของชุมชน และประชาชนในหมู่บ้านปฏิบัติร่วมกันไม่สูบบุหรี่ในพื้นที่ที่แสดงป้าย

     

    80 113

    5. 1.3.2. กิจกรรมการออกแบบแบบสำรวจบัญชีครัวเรือน/จัดทำแบบสำรวจข้อมูล

    วันที่ 20 ธันวาคม 2557 เวลา 10:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • สร้างความเข้าใจให้แก่เด็กและเยาวชน ให้มีความเข้าในการดำเนินงานตามโครงการ ที่มาของงบประมาณ ความต้องการที่จะเห็นผลที่เกิดของแหล่งทุน สสส. และแผนงานตามโครงการที่ได้รับสนับสนุนงบประมาณ
    • ชี้แจงทำความเข้าใจแก่เด็กและเยาวชนในการรับทราบภาระกิจงานตามโครงการ แบ่งพื้นที่ครัวเรือนในการออกเก็บข้อมูลจากบัญชีครัวเรือนที่ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการจดบันทึกอยู่ และเก็บข้อมูลทั่วไปตามแบบสอบถาม เพื่อให้ได้ข้อมูลสู่การสังเคราะห์ต่อไป
    • คณะทำงานและเยาวชนร่วมกันออกแบบชุดสำรวจครัวเรือน นอกเหนือจากสมุดบัญชีครัวเรือนที่ทางสำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์มอบให้ ซึ่งครัวเรือนมีทุกครัวแล้ว โดยในชุดสำรวจครัวเรือนที่ออกแบบ ต้องมีความครอบคลุมทั้ง สภาพทั่วไปของครัวเรือน พืชผักที่ครัวเรือนปลูก ไม้ยีนต้น เครื่องมือประกอบอาชีพ ฯลฯ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่สมบูรณ์และครบถ้วนของแต่ละครัวเรือน
    • แต่งตั้งชุดคณะทำงานเด็กและเยาวชนเพื่อให้มีหัวหน้าทีมในการทำงาน แบ่งพื้นที่ครัวเรือนในการลงเก็บข้อมูล
    • กำหนดวันเวลาในการปฏิบัติงานตามแผนงานโครงการต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • เด็กและเยาวชนมีความเข้าใจในการลงข้อมูล การเก็บข้อมูล และการดำเนินงานตามแผนโครงการ
    • คณะทำงานเด็กและเยาวชนได้ร่วมกันออกแบบชุดสอบถามครัวเรือนเพื่อให้มีความครอบคลุมในการเก็บข้อมูล เช่น บัญชีครัวเรือน ความมั่นคงทางอาหาร
    • เกิดกลุ่มเด็กและเยาวชน เป็นทีมเก็บข้อมูลครัวเรือน
    • เด็กและเยาวชนสามารถแสดงความคิดเห็น มีความกล้าแสดงออก
    • มีชุดต้นแบบสำรวจครัวเรือนเพื่อเก็บข้อมูลครัวเรือน

     

    40 40

    6. 1.3.3. ประชุมเพื่อทำความเข้าใจในการลงบัญชีครัวเรือน/และกระบวนการจัดเก็บข้อมูล/รวบรวมข้อมูล คณะทำงาน10คน ตัวแทนครัวเรือน 40 คน เด็กและเยาวชน30คน ครึ่งวัน

    วันที่ 21 ธันวาคม 2557 เวลา 13:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ผู้ใหญ่บ้านซึ่งเป็นประธานโครงการกล่าวสวัสดีผู้เข้าร่วมประชุม
    • วิทยากรจากสำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ ตรัง สร้างความรู้ความเข้าใจการบันทึกข้อมูล หมวดหมู่ การเติมข้อมูลต่างๆให้ตรงตามช่อง เพื่อง่ายต่อการตรวจ
    • แบ่งกลุ่มครัวเรือนเป้าหมายออกเป็น 7 กลุ่ม และให้เด็กและเยาวชนเสริมในกลุ่ม เพื่อง่ายต่อการติดตามและลงเก้บข้อมูลเพิ่มเติม
    • กลุ่มร่วมกรอกข้อมูลตามแบบฟอร์มตัวอย่างและนำเสนอผลงานผ่านกลุ่ม
    • กำหนดการลงบันทึกข้อมูลครัวเรือนในวันที่ 1 มกราคม 2558 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ครัวเรือนเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจในการลงข้อมูลครัวเรือน หมวดหมู่ต่างๆ
    • เด็กและเยาวชนมีความสัมพันธ์กับครัวเรือนที่ต้องลงเก็บข้อมูลเพื่อง่ายต่อการลงทำงานพื้นที่
    • เด็กและเยางชนมีความกล้าที่จะให้ข้อมูลแก่ครัวเรือนเป้าหมายในการสร้างความเข้าในการลงข้อมูลครัวเรือน
    • มีการกำหนดวันเริ่มลงข้อมูล

     

    80 76

    7. 1.3.1. ประชุมกลุ่มเด็กและเยาวชนในหมู่บ้านเพื่อสร้างความเข้าใจในการดำเนินงานตามโครงการ/ชักชวนใหเข้าร่วมกิจกรรมตามโครงการ 40 คน

    วันที่ 21 ธันวาคม 2557 เวลา 10:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ทำความเข้าใจการเข้าร่วมโครงการ หน่วยงานที่สนับสนุนงบประมาณ รวมถึงรายละเอียดกิจกรรมตามโครงการแก่เด็กและเยาวชนเข้าใจถึงการเข้าร่วมโครงการ
    • ร่วมแลกเปลี่ยนในที่ประชุมเรื่องปัญหาที่เกิดขึ้นในหมู่บ้าน เช่น ปัญหาหนี้สินครัวเรือน ยาเสพติดในเยาวชน และปัญหาที่เกิดขึ้นในหมู่บ้านคือเยาวชนติดน้ำกระท่อม
    • ร่วมแสดงความคิดเห็นในการหาแนวทางการแก้ปัญหา ให้เด็กและเยาวชนได้แสดงความกล้าพูด กล้าแสดงออกในที่ประชุม
    • คัดเลือกเยาวชนในการเข้าร่วมโครงการ เพื่อเป็นทีมทำงานหลักในการลงพื้นที่เก็บข้อมูลครัวเรือนเป้าหมาย โดยเยาวชนเข้าร่วมโครงการจำนวน 15 คน ส่วนเยาวชนที่เหลือก็ให้ความร่วมมือในกิจกรรมอื่นๆ
    • แบ่งกลุ่มครัวเรือเป้าหมายเป้น 7 กลุ่มหลักๆ โดยแบ่งเยาวชนในการลงเก็บข้อมูลครัวเรือน
    • ให้เด็กและเยาวชนร่วมออกแบบเครื่องมือในการเก็บข้อมูลครัวเรือนให้ครอบคลุม ทั้งข้อมูลครัวเรือน และข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงทางอาหารปริมาณต้นไม้ที่ครัวเรือนปลูก
    • กำหนดลงพื้นที่ในการเก็บข้อมูล โดยใช้เวลาในการเก้บข้อมูล 3 เดือน เริ่มปลายเดือนมกราคมเป็นเดือนแรก

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • เยาวชนให้การตอบรับการเข้าร่วมกิจกรรม และให้ความสนใจในข้อมูลที่ได้รับจากวงประชุม
    • เด็กและเยาวชนสามารถแสดงความสามารในการพูดคุยในที่ประชุมได้ และสามารแสดงความคิดเห็นได้สามารถจับประเด็นได้
    • เยาวชนที่เข้าร่วมดครงการ 15 คน ถือว่ามีความรู้ความสามารถ คืออยู่ในช่วงกำลังศึกษาในขั้นมัธยมปลาย และมีความกระตือรือร้นในการแสดงความสามารถ
    • ได้ทีคณะทำงานที่เป็นเยาวชนเพื่อขับเคลื่อนงานตามแผนงานโครงการ
    • มีการกำหนดแผนงานการดำเนินงานตามโครงการต่อไป

     

    40 38

    8. 3.1.1. ประชุมคณะทำงานเพื่อติดตาม ประเมินผล ครั้งที่ 1

    วันที่ 11 มกราคม 2558 เวลา 10:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • เมื่อที่ประชุมพร้อม ผู้ใหญ่บ้านกล่าวทักทายชาวบ้านที่ร่วมเป็นคณะทำงานโครงการ ขอบคุณคณะทำงานที่ให้ความร่วมมือในการร่วมกันพัฒนาหมู่บ้าน ซึ่งโดยภาพรวมตำบล บ้านโคกไม้ไผ่ มีผลการดำเนินงานด้านงานพัฒนาถือว่านำหมู่บ้านอื่นๆ การได้รับสนับสนุนงบประมาณจาก สสส. ถือว่าเป็นโอกาสของหมู่บ้านที่จะได้พัฒนาหมู่บ้านให้น่าอยู่ยิ่งขึ้น
    • ร่วมรับทราบผลการดำเนินงานตามแผนงานกิจกรรมที่ผ่านมา ซึ่งโครงการได้มีการจัดกิจกรรมแล้ว 5กิจกรรมหลักๆ ซึ่งทุกครั้งที่ผ่านมามีชาวบบ้านให้ความร่วมมือในการเข้าร่วมกิจกรรมเป็นอย่างดี โดยในส่วนของการลงข้อมูลครัวเรือนจากที่ได้สอบถามพูดคุย มีการลงข้อมูลบ้างแล้ว และก้ยังมีหลายครัวเรือนอาจสับสนเรื่องของการจัดหมสดหมู่การลงข้อมูล แต่ก็สามารถบันทึกรายรับ รายจ่ายได้ในระดับหนึ่ง
    • แผนงานกิจกรรมที่ต้องดำเนินการต่อไป คือการศึกษาดูงาน พื้นที่ต้นแบบ โดยกำหนดไว้ 2 สถานที่ในวันเดียว คือ เกษตรพอเพียงตามวิถีพุทธ และศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งอยู่ในจังหวัดพัทลุง ซึ่งทีมงานลงไปสำรวบพื้นที่และติดต่อพื้นที่เพื่อเข้าชมสถานที่แล้ว โดยกำหนดออกเดินทาง วันที่ 17 มกราคม 2558
    • เปิดโอกาสให้เด็กและเยาวชนได้แสดงความสารถในการร่วมกันพัฒนาชุมชน ผ่านการคิดค้นการทำสินค้าใช้ทดแทน โดยในแผนกิจกรรมโครงการตั้งใว้ 2 ชนิด ซึ่งจากเวทีพูคุยให้เด็กและเยาวชนหาข้อมูลเรื่องการผลิดสบู่ก้อน และสบู่เหลว เพื่อให้ครัวเรือนเป้าหมายได้ใช้ และเพื่อส่งเสริมรายได้ให้กับกลุ่มที่ผลิตสินค้า โดยเน้นผลิตจากถ่านไม้ไผ่ ถือเป็นชื่อของหมู่บ้านในการกำหนดการทำงาน กิจกรรมนี่เปิดโอกาสให้เด็กและเยาวชนแสดงความรู้ความสามรถเต็มที่
    • แผนงานการเก็บข้อมูลครัวเรือน ซึ่งได้ออกแบบสอบถามในการเก็บข้อมูล โดยเด็กและเยาวชนเป็นผู้ลงเก็บสำรวจ กำหนดการลงเก็บข้อมูลครัวเรือนครั้งแรกช่วงปลายเดือนมกราคม และรวบรวมข้อมูลครั้งแรกต้นเดือนกุมภาพันธ์
    • ช่วงท้ายของการประชุมเป็นการร่วมกันลงชื่อครัวเรือนที่เข้าร่วมเดินทางดูงาน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • คณะทำงานมีความเข้าใจในการจัดกิจกรรมที่ผ่านมา มีการแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการออกแบบแผนงานกิจกรรมครั้งต่อไปเพื่อให้สอดรับกับความเป็นอยู่ของชุมชน
    • คณะทำงานที่เป็นเด็กและเยาวชนให้ความสำคัญเข้าร่วมกิจกรรม และมีการค้นคว้าข้อมูลล่วงหน้าเพื่อมานำเสนอต่อที่ประชุม
    • มีการกำหนดวัน เวลาในการเดินทางดูงาน ร่วมกำหนดผู้เข้าร่วม 

     

    30 31

    9. 1.4 กิจกรรมการศึกษาเรียนรู้หมู่บ้านสร้างสุข 1 วัน

    วันที่ 17 มกราคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • เมื่อผู้เข้าร่วมเดินทางมาถึงพร้อมกัน ออกเดินทางจากที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 4 มุ่งหน้าสู่จังหวัดพัทลุง เพื่อเข้าศึกษาแหล่งเรียนรู้ โดยแวะสักการะทวดเขาพับผ้า เพื่อเป็นศิริมงคลในการเดินทาง และออกเดินทางต่อเข้าตำบลตะโหมด เพื่อเข้าชมสวนยางพาราสมลม ของคุณลุงวิฑูร หนูเสน ซึ่งเป็นเกษตรทำสวนยางพารา โดยพื้นที่ปลูกยางพาราเป็นป่าสวนผสม มีพืชนาๆชนิดขึ้นในสวน ทั้งพืชที่เป็นสมุนไพร และที่เป็นอาหาร มีการสะสมอาหารพืชจากการทับถมของใบไม้นาๆชนิด ซึ่งสามารถเพิ่มปริมาณน้ำยางพาราและเพิ่มเปอร์เซ็นของน้ำยางทำให้ขายได้ในราคาดี ในพื้นที่ยังมีการเลี้ยงผิ้งเพื่อเอาน้ำผิ้งจำหน่ายโดยใช้ความอุดมสมบูรณ์ของป่าสวนยางเป็นแหล่งหาอาหารของผิ้ง
    • หลังจากเยี่ยมชมสวนลุงฑูร และรับประทานอาหาร ก็ออกเดินทางเพื่อเข้าชมศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง บ้านผู้ใหญ่สมศักดิ์ ทองใส ซึ่งตั้งอยู่ในหมู่ที่ 15 ตำบลควนมะพร้าว อ.เมือง จังหวัดพัทลุง ซึ่งประชากรส่วนใหญ่ทำนา เนื่องจากมีแหล่งน้ำที่สมบูรณ์ โดยผู้ใหญ่สมศักดิ์ เล่าว่า พื้นที่หมู่ 15 แยกตัวออกมา มีแต่ปัญหามากมาย ทั้งเรื่องยาเสพติด ความขัดแย้งของคนในชุมชน และที่สำคัญคือปัญหาหนี้สิน ที่มีทั้งในและนอกระบบ หมู่บ้านมีแนวทางในการจัดการชุมชน คือ ค้นหาอดีต ศึกษาปัจจุบัน ออกแบบอนาคต ผ่านการทำบัญชีครัวเรือน เพื่อค้นหาสาเหตุของปัญหา เมื่อเห็นปัญหาก็รู้ทางออก ปัจจุบันชุมชน มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น มีสถบันการเงินที่เข้มแข็งเช่น กองทุนหมู่บ้าน กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต ธนาคารหมู่บ้าน ตัวชี้วัดที่สำคัญคือจำนวนหนี้ที่ลดลงของคนในชุมชน โดยสถานที่ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ตำบลควานมะพร้าวมีการทำเกษตรแบบผสมผสานในพื้นที่จำกัด โดยใช้พื้นที่ประมาณ 3-4 ไร่ในการทำการเกษตร มีทั้งแปรงนาข้าว บ่าเลี้ยงปลา และปลูกพืชสวนบนแปรงนา คันบ่อ และเลี้ยงสัตว์ผสมกัน ซึ่งใช้พื้นที่น้อยและสามารถพึ่งพากันและกัน 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผู้เข้าร่วมมีความสนใจในสถานที่ทั้งสองพื้นที่ ซึ่งโดยสภาพพื้นที่คล้ายๆกันกับพื้นที่ตัวเอง โดยบางคนก็ได้มีการทำไปบ้างแล้วพอได้มาเห็นก็อยากกลับไปทำบ้าง ซึ่งสามารถทำได้ในพื้นที่ตัวเอง
    • ผู้เข้าร่วมมีความรู้จากวิทยากรอธิบาย มีการตั้งคำถามเพื่อคลายความสงสัย มีความสนใจในการอธิบายซึ่งเป็นเรื่องที่ไกล้วตัว เช่นอการศึกษาปัจจุบันผ่านการทำบัญชีควรัวเรือน ซึ่งในโครงการมีการให้ครัวเรือนทำด้วย
    • เด็กและเยาวชนที่เข้าร่วมมีความกล้าแสดงออก โดยให้ความร่วมมือกับวิทยากรในการออกมาแสดงความสามารถหน้าเวที

     

    50 50

    10. 2.1.3. อบรมการทำและใช้ ปุ๋ยอินทรีย์ - ปลูกผัก สำหรับบริโภคในครัวเรือน

    วันที่ 18 มกราคม 2558 เวลา 10:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • บ้านโคกไม้ไผ่ หมู่ที่ 4 มีกลุ่มเพาะเลี้ยงเห็ดนางฟ้า นางรม ในหมู่บ้านโดยมีสมาชิกเริ่มต้น จำนวน 5 ครัวเรือน ซึ่งเห็นว่าสามรถนำมาเป็นอาหารเพื่อลดรายจ่าย และสามารถขายเพื่อเพิ่มรายได้อีกทางนึง จึงสนับสนุให้ครัวเรือนเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการร่วมมาเรียนรู้การทำก้อนเห้ดเพื่อสามารถนำกลับไปเปิดดอกเองได้ในครัวเรือน
    • โดยวัตถุดิบที่มาใช้หลักๆ คือ - ขี้เลื้่อยไม้ยางพารา 100 กิโลกรัม - รำละเอียด 10 กิโลกรัม - ปูนขาว 1 กิโลกรัม - ยิปซั่ม 1 กิโลกรัม - ภูไมท์ซัลเฟส 1 กิโลกรัม -ดีเกลือ 2 ขีด กากน้ำตาล1 กิโลกรัม - น้ำสะอาด 80 ลิตร โดยนำส่วนผสมเข้าด้วยกัน และบรรจุใส่ถุง อัดก้อนให้แน่นใส่คอและจุกเพื่อนึ่งฆ่าเชื้อ จากนั้นนำมาเขี่ยเชื้อเห็ด และบ่มก้อนเพื่อให้เชื้อเดิน 30 วัน เมื่อเชื้อเดินเต็มก้อนก็สามารถเปิดดอกนำดอกเห็ดมารับประทานได้
    • เมื่อก้อนเชื้อที่เปิดดอกจนหมดเชื้อเห็ดแล้ว สามารถแปรสภาพเป็นปุ๋ยเพื่อใส่ต้นไม้ได้ และยังสมารถทำเห็ดฟางได้ คือ นำก้อนเห็ดเก่ามาฉีกถุงออกตีให้แตกออก ผสมหยวกกล้วยหั่นเป็นแว่นๆ ใส่มูลสัตว์ ผสมให้เข้ากันรดน้ำให้เปียกชุ่ม จากนั้นโรยเชื้อเห้ดฟางบนกอง ใช้พลาสติดำปิดคุมใว้ 10 วัน จากนั้นเปิดพลาสติกแล้วพรมน้ำ แล้วปิดคุมไว้ 7 วันสามารถเก็บเห็ดฟางราับประทานได้ เมือ่หมดเห็ดฟาง กลับกองรดน้ำคุมพลาสติกหมักต่อกลายเป็นปุ๋ยหมักเอามาใช้บำรุงพืชได้ต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผู้เข้าร่วมมีความรู้ความเข้าใจการผลิตก้อนเชื้อเห็ดนางฟ้า นางรม กรรมาวิธีการผสม การบรรจุถุง การอัดก้อน และการเขี่ยเชื้อเห็ดนางฟ้า นางรม
    • ผู้เข้าร่วมประชุมมีความรู้ความเข้าใจในการเปิดดอกเห็ดเมื่อก้อนเชื้อเดินเต็มก้อนแล้ว มีเห็ดไว้รับประทานทุกครัวเรือน
    • ผู้เข้าร่วมประชุมมีความรู้ความเข้าใจการผลิตปุ๋ยหมักไว้ใช้เอง จากก้อนเชื้อเห็ดมี่หมดสภาพแล้ว และสามารถผลิตเห็ดฟาง จากก้อนเชื้อเห็ดเก่าได้
    • สามารถนำส่วนที่เหลือใช้จากการเพาะเลี้ยงเห็ดกลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์ 

     

    50 50

    11. 3.2.1. ประชุมคณะทำงานประจำเดือน ครั้งที่ 1

    วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 13.00 - 18.30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • เตรียมทีมเยาวชนเพื่อเก็บข้อมูลครัวเรือนเป้าหมาย
    • ชี้แจงทำความเข้าใจเอกสาร เครื่องมือในการลงเก็บข้อมูล วิธีการเก็บการบันทึกข้อมูล
    • กำหนดทีมงานแบ่งพื้นที่รับผิดชอบ แบ่งที่มเยาวชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • เวทีเตรียมความพร้อมแก่เยาวชนในการลงเก็บข้อมูลครัวเรือนเป้าหมาย หลังจากครัวเรือนเป้าหมายจดบันทึกข้อมูลรายจ่าย-รายรับ ครัวเรือน ผ่านไป 1 เดือน เพื่อนำข้อมูลมารวบรวมวิเคราห์ต่อไป
    • เยาวชนมีความรู้ความเข้าใจในเอกสารซึ่งเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล การกรอกข้อมูล การสอบถามครัวเรือนเป้าหมายเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ครบถ้วน
    • เยาวชนมีการแบ่งงานกันทำ โดยแบ่งทีมทำงานออกเป็น 4 ทีม ลงเก็บข้อมูลครัวเรือน 65 ครัวเรือน  เพื่อสามารถทำงานได้รวดเร็วขึ้น
    • ในเวทีประชุมเยาวชนมีความสนใจในข้อมูล มีการสอบถามในเวที เสนอความคิดเห็นต่างๆได้ดี

     

    20 20

    12. 1.3.4 กิจกรรมสำรวจข้อมูลครัวเรือน โดยเยาวชนและตัวแทนครัวเรือน ในช่วงเวลา 3 เดือน ให้ครอบคลุมรายรับ รายจ่าย

    วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 13:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ทีมเยาวชนลงสำรวจ เก็บข้อมูลครัวเรือน โดยใช้ชุดเครื่องมือแบบสำรวจครัวเรือน เพื่อนำข้อมูลแต่ละครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการนำมารวบรวมและวิเคราะห์ต่อไป
    • ทีมเยาวชนลงเก็บข้อมูลครัวเรือเป้าหมาย โดยแบ่งทีมกันลงเก็บ แบ่งครัวเรือนในการเข้าเก็บข้อมูล
    • ใช้รูปแบบการได้มาของข้อมูล แบบถึงตัวถึงครัวเรือน เน้นการพูดคุยกับตัวแทนครัวเรือนเป้าหมายเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ครบถ้วน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ทีมเยาวชนที่ลงปฎิบัติงาน มีความรู้ความเข้าใจในการเก็บข้อมูลเอกสารเครื่องมือ และสามารถสอบถามพูดคุยกับตัวแทนครัวเรือนเพื่อให้ได้ข้อมูล
    • ครัวเรือนให้ความร่วมมือแก่ทีมเยาวชนในการให้ข้อมูลครัวเรือน ข้อมูลต่างๆตามเครื่องมือสำรวจ
    • ทุกครัวเรือนที่เป็นเป้าหมายโครงการมีการเก็บข้อมูลบัญชีรายรับ รายจ่ายครัวเรือนทุกครัวเรือน ซึ่งสะดวกต่อการให้ข้อมูลครัวเรือนต่อทีมเยาวชนที่ลงเก็บข้อมูล

     

    40 30

    13. ประชุมคณะทำงานประจำเดือน ครั้งที่ 2

    วันที่ 18 มีนาคม 2558 เวลา 17:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • เวทีพูดคุยแลกเปลี่ยนถึงสถานการณ์การดำเนินงานของกิจกรรมตามแผนงานโครงการ สรุปการดำเนินงานที่ผ่านมา ปัญหาอุปสรรคจาการดำเนินงาน และการรวบรวมเอกสารเพื่อสรุปรายงานส่ง งวดที่ 1 คัดเลือกผู้เข้าร่วมประชุมกับ สจรส.ในวันที่ 21 - 22 มีนาคม 2558 ณ.มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จ.สงขลา
    • ร่วมกันพูดคุยแลกเปลี่ยนถึงกิจกรรมของหมู่บ้านในอนาคต ทั้งในส่วนของการดำเนินกิจกรรมตามแผนงานโครงการ และกิจกรรมอื่นๆที่หมู่บ้านและการเข้าร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • คณะทำงานได้รับทราบผลการดำเนินงานตามแผนโครงการ ที่ผ่านมา และร่วมออกแบบแผนการดำเนินกิจกรรมในอนาคต
    • ร่วมพูดคุยถึงการดำเนินงาน ผลที่ได้ จุดแข็ง จุดอ่อนของการดำเนินงาน ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น และร่วมกันวางแนวทางในการแก้ใขปัญหาร่วมกัน
    • กำหนดผู้เข้าร่วมประชุมกับ สจรส. คือ นายเกียรติศักดิ์ บุญมี และ นายยุทธนนนท์ กวางทะวาย 

     

    20 20

    14. เข้าร่วมประชุมเพื่อตรวจเอกสารส่งปิดงวดที่ 1

    วันที่ 21 มีนาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • นำเอกสารรายงานการเงิน เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง ก่อนนำส่งเพื่อขอรับงบสนับสนุนดำเนินกิจกรรมตามแผนงานโครงการต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ตรวจความถูกต้องของเอกสารการเงิน ใบสำคัญรับเงิน ใบเสร็จ ใบลงทะเบียนผู้เข้าร่วมประชุมตามกิจกรรมที่ผ่านมา
    • นำส่งเอกสารเพื่อพิจารณาขอรับงบสนับสนุนในการดำเนินกิจกรรมตามโครงการต่อไป ต่อ สจรส. และ สสส. 

     

    2 3

    15. คืนเงินค่าเปิดบัญชี

    วันที่ 21 มีนาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คืนเงินค่าเปิดบัญชี 500 บาท

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เพื่อนำรายงานส่งพิจารณาสนับสนุนงบงวดต่อไป 

     

    1 1

    16. กิจกรรมการรวบรวม เรียบเรียง จัดหมวดหมู่ข้อมูลบัญชีครัวเรือน เป็นข้อมูลรวมหมู่บ้าน ครั้งที่ 1

    วันที่ 12 เมษายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • เยาวชนและคณะทำงานนำเอกสารชุดเครื่องมือสำรวจครัวเรือนเป้าหมายจำนวน 60 ครัวเรือน มารวบรวมข้อมูล ตัวเลขสรุปค่าใช้จ่ายครัวเรือน รายจ่ายต่างๆ รายได้ รวมทั้งการรวบรวมข้อมูลด้านความมั่นคงทางอาหาร พืชผักสวนครัว สัตว์เลี้ยงเพื่อบริโภคต่างๆ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • เด็กและเยาวชนที่ลงพิื้นที่เก็บข้อมูลได้มีความสัมพันธ์ครัวเรือนเป้าหมายที่เยาวชนลงพื้นที่เก็บข้อมูล สร้างความสนิทสนมในชุมชน
    • เด็กและเยาวชนได้ร่วมกันในการรวบรวมข้อมูล ตัวเลขต่างๆเพื่อง่ายต่อการนำข้อมูลที่ได้ไปใช้

     

    40 40

    17. กิจกรรมรวบรวม เรียบเรียง จัดหมวดหมู่ข้อมูลบัญชีครัวเรือน ครั้งที่ 2

    วันที่ 12 เมษายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • เยาวชนและคณะทำงานนำเอกสารชุดเครื่องมือสำรวจครัวเรือนเป้าหมายจำนวน 60 ครัวเรือน มารวบรวมข้อมูล ตัวเลขสรุปค่าใช้จ่ายครัวเรือน รายจ่ายต่างๆ รายได้ รวมทั้งการรวบรวมข้อมูลด้านความมั่นคงทางอาหาร พืชผักสวนครัว สัตว์เลี้ยงเพื่อบริโภคต่างๆ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • เด็กและเยาวชนที่ลงพิื้นที่เก็บข้อมูลได้มีความสัมพันธ์ครัวเรือนเป้าหมายที่เยาวชนลงพื้นที่เก็บข้อมูล สร้างความสนิทสนมในชุมชน
    • เด็กและเยาวชนได้ร่วมกันในการรวบรวมข้อมูล ตัวเลขต่างๆเพื่อง่ายต่อการนำข้อมูลที่ได้ไปใช้

     

    40 40

    18. กิจกรรมรวบรวม เรียบเรียง จัดหมวดหมู่ข้อมูลบัญชีครัวเรือน ครั้งที่ 3

    วันที่ 12 เมษายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • เยาวชนและคณะทำงานนำเอกสารชุดเครื่องมือสำรวจครัวเรือนเป้าหมายจำนวน 60 ครัวเรือน มารวบรวมข้อมูล ตัวเลขสรุปค่าใช้จ่ายครัวเรือน รายจ่ายต่างๆ รายได้ รวมทั้งการรวบรวมข้อมูลด้านความมั่นคงทางอาหาร พืชผักสวนครัว สัตว์เลี้ยงเพื่อบริโภคต่างๆ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • เด็กและเยาวชนที่ลงพิื้นที่เก็บข้อมูลได้มีความสัมพันธ์ครัวเรือนเป้าหมายที่เยาวชนลงพื้นที่เก็บข้อมูล สร้างความสนิทสนมในชุมชน
    • เด็กและเยาวชนได้ร่วมกันในการรวบรวมข้อมูล ตัวเลขต่างๆเพื่อง่ายต่อการนำข้อมูลที่ได้ไปใช้

     

    40 40

    19. ประชุมคณะทำงานเพื่อติดตาม ประเมินผล ครั้งที่ 2

    วันที่ 17 พฤษภาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • สรุปกิจกรรมการดำเนินงานที่ผ่านมา ประเมินผลการดำเนินงานที่ผ่านมา เป้าหมาย ความก้าวหน้า
    • วางแนวทางการดำเนินงานเพื่อให้เป็นไปตามแผนงานโครงการและระยะเวลาที่ตั้งใว้
    • พูดคุยแลกเปลี่ยนภารกิจของหมู่บ้านในการเข้าร่วมประกวดหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ระดับจังหวัด 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • คณะทำงานร่วมกันรับทราบผลการดำเนินงานของโครงการที่ผ่านมา ได้ร่วมกันประเมิณการดำเนินงานและผลตอบรับของผู้เข้าร่วมในแต่ละกิจกรรม
    • คณะทำงานร่วมกันออกแบบแผนงานการดำเนินกิจกรรมต่อไปเพื่อให้สอดคล้องกัยเวลาที่เหลือ และช่วงเวลาที่เหมาะสม
    • รวบรวมข้อมูลชุมชนจากการลงพื้นที่เก็บข้อมูลของเยาวชน สรุป เพื่อคืนข้อมูลกลับสู่ชุมชน และเพื่อให้ทันกันการประกวดหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ระดับจังหวัด ซึ่งคณะกรรมการจังหวัดเข้ามาประเมิณตัดสินในช่วงเดือนมิถุนายน 

     

    30 30

    20. อบรมเด็กและเยาวชนในการใช้หอกระจายข่าวครั้งที่ 1

    วันที่ 23 พฤษภาคม 2558 เวลา 10:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • สร้างความรู้ความเข้าใจในเรื่องสื่อต่างๆ วิวัฒนาการสื่อจากอดีตถึงปัจจุบัน
    • วิทยากรเล่าประสบการณ์การจัดรายการวิทยุ
    • วิทยากรให้ความรู้ความเข้าใจเรื่องการจัดรายการวิทยุ การสรุปข่าว การจับประเด็นข่าวเพื่อนำข้อมูลมาจัดรายการ
    • เรียนรู้การจัดรายการวิทยุ การปฎิบัติการจัดรายการวิทยุจำลอง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • เด็กและเยาวชนได้รับความรู้เรื่องสื่อชนิดต่างๆ เช่น สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโทรทัศน์ วิทยุ
    • เด็กและเยาวชนได้รับความรู้เรื่องการจัดรายการวิทยุ ผ่านหอกระจายข่าว
    • เด็กและเยาวชนได้เรียนรู้การจัดรายการในสถานการจำลอง การจับคู่เพื่อจัดรายการผ่านสคิปที่มีให้

     

    30 30

    21. เทคนิคการเขียนและการพูดเพื่อการสื่อสารและการจัดรายการ ครั้งที่ 2

    วันที่ 24 พฤษภาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • เรียนรู้การสร้างความเข้าใจการสื่อสาร ต่างๆ เน้นเรื่องการเรียนรู้การสื่อสารผ่านวิทยุ คลื่นกระจายเสียง
    • เรียนรู้เทคนิคการจัดรายการวิทยุ ไหวพริบ การส่ง การรับข้อมูลผ่านการจำลองจัดรายการวิทยุ โดยจับคู่เพื่อจัดรายการวิทยุ
    • ฝึกการสรุปเนื้อข่าวเพื่อเป็นสคิปในการนำเสนอข่าวผ่านการจัดรายการวิทยุ หรือการสื่อสารข้อมูลข่าวสารช่องทางอื่นๆ อย่างเข้าใจและครบถ้วน
    • เรียนรู้การจัดรายการ ห้องจัดรายการ เครื่องมือในการการส่งสัญญาณวิทยุ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • เด็กและเยาวชนได้เรียนรู้การสื่อสารผ่านคลื่นกระจายเสียงวิทยุ หอกระจายข่าว และการสื่อสารผ่านเสียงตามสาย
    • เด็กและยาวชนได้ฝึกเทคนิคการรายงานข่าว การจัดรายการ และการสร้างสคิปข่าว เพื่อใช้ในการสื่อสาร
    • เด็กและเยาวชนได้ร่วมกันรายงานข่าวผ่านสถานการณ์จำลองเหตุการ สู่การเขียนสคิปข่าว และการรายงานข่าวผ่านหอกระจายข่าวประจำหมู่บ้าน

     

    30 30

    22. เวทีคืนข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลครัวเรือน 1วัน

    วันที่ 2 มิถุนายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    นางสาวเจนจิรา นาทุ่งนุ้ย ตัวแทนเยาวชน ได้กล่าวรายงานการดำเนินงานของโครงการ การเก็บข้อมูลครัวเรือนต้นแบบ การรวบรวมข้อมูลจากที่ได้เก็บมา เพื่อคืนข้อมูลครัวเรือน กลับสู่ชุมชน เช่น ข้อมูลบัญชีรายรับ รายจ่าย ตลอดสามเดือนของการลงข้อมูล ข้อมูลความมั่นคงทางอาหารในชุมชน จำนวนต้นไม้ พืชผักสวนครัวในครัวเรือนที่มีการปลูก ตลอดจนสัตว์เลี้ยงเพื่อบริโภคเองและเพื่อจำหน่าย เพื่อให้ชาวบ้านครัวเรือนต้นแบบได้รับทราบข้อมูลชุมชน สู่การร่วมออกแบบกิจกรรมชุมชน เพื่อลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ให้ครัวเรือนต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • เยาวชนมีความกล้าแสดงออก ในการออกมาบรรยายข้อมูลครัวเรือน ข้อมูลชุมชน
    • ชุมชนได้รับการยอมรับจากจังหวัดเรื่องการหนุนเสริมให้ชาวบ้านจัดเก็บข้อมูลบัญชีรายรับ รายจ่ายครัวเรือน
    • ชาวบ้านได้รับทราบข้อมูลโดยรวมของชุมชน เพื่อปรับเปลื่ยน หรือเปลี่ยนแปลงการดำเนินชีวิต ลด ละ เลิก ในสิ่งที่ไม่จำเป็น

     

    80 80

    23. อบรมการทำและใช้สินค้าทดแทน ครั้งที่ 1

    วันที่ 11 มิถุนายน 2558 เวลา 10:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • วิทยากรให้ความรู้เรื่องการผลิตสินค้าใช้ทดแทน
    • มีการปฏิบัติการ การผลิตสินค้าใช้ทดแทน
    • ครัวเรือนได้รวมกลุ่มกันผลิตสินค้าใช้ทดแทนเอง และแบ่งเพื่อนำกลับไปใช้ในครัวเรือน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัทยาศัย อำเภอเมืองตรัง (กศน.) ได้ส่งครูมาให้ความรู้ในการผลิตน้ำยาล้างจาน แก่ชาวบ้านเพื่อให้ชาวบ้านได้รับความรู้ในการผลิตสินค้าใช้ทดแทนใช้เองในครัวเรือน
    • ตัวแทนครัวเรือนได้เรียนรู้การผลิตน้ำยาล้างจานเพื่อนำผลผลิตกลับไปใช้เองในครัวเรือน
    • ตัวแทนครัวเรือนที่เข้าร่วมกิจกรรมได้สร้างความสนิทสนมผ่านการทำกิจกรรมร่วมกัน สร้างความสามัคคีในชุมชน

     

    50 50

    24. ประชุมคณะทำงานประจำเดือน ครั้งที่ 3

    วันที่ 12 มิถุนายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ชี้แจงทำความเข้าใจกิจกรรมที่ได้ดำเนินงานตามแผนกิจกรรมที่ผ่านมา เพื่อให้คณะกรรมการได้รับทราบการปฏิบัติงาน
    • สรุปผลการดำเนินจากกิจกรรมที่ผ่านมา เพื่อแก้ไขปรับปรุงต่อไป
    • ร่วมออกแบบการดำเนินงานตามแผนกิจกรรมโครงการต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • คณะทำงานได้รับทราบถึงการดำเนินงานตามกิจกรรมที่ผ่านมา และได้ร่วมกันพูดคุยแลกเปลี่ยนถึงผลที่ได้จากการจัดกิจกรรม การเข้าร่วมของชาวบ้านในการจัดกิจกรรม ผลที่ได้จากกิจกรรม และปัญหาที่เกิด เพื่อสรุปผลการพูดคุยเพื่อนำมาแก้ไขในการจัดกิจกรรมครั้งต่อไป
    • หมู่บ้านเข้าร่วมการประกวดหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ระดับจังหวัด และมีการเข้ามาประเมินเพื่อตัดสินในวันที่ ๑ กรกฏาคม ที่จะถึง คณะทำงานในฐานะคณะกรรมการหมู่บ้านได้ร่วมกันออกแบบกิจกรรมเพื่อให้สอดรับกับการเข้าประกวดหมู่บ้านที่จะถึงนี้

     

    20 20

    25. กิจกรรมการปลูกพืชอาหารเพิ่มในพื้นที่สาธารณะได้แก่ พืชผักพื้นเมือง จำนวน3ชนิด3,000ต้น

    วันที่ 13 มิถุนายน 2558 เวลา 10:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ชาวบ้านร่วมมือกันปลูกต้นมะขามสองข้างทางถนน สายชลประทาน - โคกเดือย มีระยะทางประมาณ ๑ กิโลเมตร

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • คณะผู้นำหมู่บ้าน คณะกรรมการหมู่บ้าน เด็กและเยาวชน ชาวบบ้าน บ้านโคกไม้ไผ่ ร่วมมือกันปลูกต้นมะขาม สองข้างทางถนนสาย ชลประทาน - โคกเดือย ซึ่งมีระยะทางประมาณ หนึ่งกิโลเมตร ใช้ต้นมะขามจำนวน ๓,๐๐๐ ต้น เพื่อให้ความสวยงามสองข้างทาง และสามารถใช้มาเป็นอาหารเพื่อรับประทานในครัวเรือน และให้ถนนสายนี้เป็นถนนสาธารณะที่ชาวบ้านใช้เป็นแหล่งอาหารของชุมชน

     

    50 50

    26. กิจกรรมเรียนรู้เพิ่มการออมฯ

    วันที่ 21 มิถุนายน 2558 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ จังหวัดตรัง ร่วมให้ความรู้เกี่ยวกับการขยายผลการลงข้อมูลบัญชีรายรับ รายจ่าย ครัวเรือน จากการขับเคลือนงานตามแผนโครงการที่ผ่านมาได้มีการลงข้อมูล รายรับ รายจ่าย พัฒนาสู่การเรียนรู้การลงข้อมูลรายรับ รายจ่าย ที่เกี่ยวกับการลงทุน รายได้หลัก รายจ่ายหลักที่เกิดจากการประกอบอาชีพ สรุปรวมรายจ่ายที่เกิดขึ้นเป็นรอบปี เพื่อพิจารณากำไร ขาดทุน ที่เกิดขึ้น จากการประกอบอาชีพหลัก ซึ่งส่วนใหญ่ชาวบ้านประกอบอาชีพ สวนยางพารา

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ครัวเรือนที่เข้าร่วมการอบรม ได้รับความรู่เพิ่มเติมในการลงข้อมูลการประกอบอาชีพ สามารถสรุปรายจ่าย รายได้ที่เกิดขึ้นเพื่อพิจารณาเกี่ยวกับการขยายกิจการ หรือการเปลี่ยนอาชีพ เพื่อให้การประกอบอาชีพคุ้มทุน
    • เจ้าหน้าที่ตรวจบัญชีสหกรณ์ จังหวัดตรัง ได้ให้ความรู้แก่ครัวเรือนที่เข้าร่วมอบรม
    • ครัวเรือนที่เข้าร่วมอบรมได้รับความรู้ในเรื่องการลงข้อมูล ที่เกี่ยวกับการประกอบอาชีพหลักของครัวเรือน 

     

    50 50

    27. กิจกรรมยกร่างแผนครัวเรือนและแผนชุมชน 1 วัน

    วันที่ 24 มิถุนายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ประชุมรวบรวมข้อมูลหมู่บ้านที่ต้องการพัฒนา เพื่อพิจารณาแผน
    • ร่วมออกแบบพัฒนาหมู่บ้าน กำหนดทิศทางการพัฒนา
    • สรุปผลการออกแบบแผน พิจรณาเพื่อนำเข้าเวทีพิจารณาแผนต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • คณะทำงานและเยาวชนได้ร่วมกันสรุปความต้องการของหมู่บ้านที่จะนำข้อมูลมาเข้าสู่แผนพัฒนาหมู่บ้าน เช่น แผนพัฒนาหมู่บ้านในส่วนของโครงสร้างพื้นฐาน แผนการพัฒนาที่เกี่ยวกับสุขภาพคนในชุมชน แผนพัฒนาความรู้ความสามารถของคนในชุมชน
    • การร่วมกันเสนอการขับเคลื่อนงานพัฒนาหมู่บ้าน การนำแผนที่ได้เพื่อเสนอต่อหน่วยงานที่สามารถสนับสนุนแผนงานพัฒนาตามแผนงานพัฒนาหมู่บ้าน
    • กำหนดวันการประชุมชาวบ้านเพื่อเสนอแผนพัฒนาเพื่อพิจารณาต่อไป

     

    40 40

    28. กิจกรรมหนุนเสริมครัวเรือนในการปลูกพืชผักพื้นเมือง บริโภคในครัวเรือน ไม่ต่ำกว่าครัวเรือนละ10ชนิด

    วันที่ 25 มิถุนายน 2558 เวลา 10:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ส่งเสริมให้ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ มีการปลูกพืชในครัวเรือนเพื่อใว้บริโภคเองในครัวเรือน อย่างน้อย 10 ชนิด ต่อครัวเรือน เช่น พริกขี้หนู มะเขือ มะละกอ ผักหวาน กล้วย เป็นต้น

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ มีการปลูกพืชในพื้นที่ครัวเรือนตนเอง ไม่น้อยกว่า 10 ชนิดต่อครัวเรือน
    • ครัวเรือนมีการแบ่งปันพืชผักให้ครัวเรือนที่ยังขาด สร้างความรักสามัคคีในชุมชน

     

    50 50

    29. เวทีพิจารณาแผนฯและลงประชามติรับแผนชุมชน

    วันที่ 27 มิถุนายน 2558 เวลา 13:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ประชุมคณะทำงาน เยาวชน และครัวเรือนในหมู่บ้าน เพื่อนำเสนอแผนพัฒนาหมู่บ้านที่ได้ร่วมกันออกแบบ เพื่อพิจารณาเป็นแผนพัฒนาหมู่บ้านต่อไป
    • ชี้แจงการนำแผนพัฒนาของหมู่บ้านเพื่อเสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อขอรับการสนับสนุนการพัฒนาตามแผนงานต่อไป
    • ขอมติที่ประชุมเพื่อพิจารณาแผนพัฒนาหมู่บ้าน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ชาวบ้านในหมู่บ้านได้รับทราบถึงการวางแผนงานพัฒนาหมู่บ้านในปีต่อไป
    • ชาวบ้านมีการเสนอแผนพัฒนาเพื่อปรับแต่งแก้ใขแผนให้เป็นไปตามความต้องการส่วนร่วมของหมู่บ้าน
    • ใช้แผนพัฒนาที่ได้เพื่อนำเสนอต่อหน่วยงานที่จะเข้ามาสนับสนุน เช่น องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น สถานีอนามัย (รพสต) กศน. ฯลฯ

     

    80 90

    30. กิจกรรมจัดทำกติกาครัวเรือนสร้างสุข

    วันที่ 28 มิถุนายน 2558 เวลา 10:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ร่วมพุดคุยเพื่อระดมความคิดเห็นในการกำหนดระเบียบของหมู่บ้าน เพื่อนำมาใช้นครัวเรือน และให้สมาชิกในหมู่บ้านกฏิบัติตาม
    • สรุปผลย่อยเป็นข้อๆ เพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจ เพื่อบรรจุให้พอหน้ากระดาษ เพื่อให้ทุกควันเรือนได้รับทราบ
    • เด็กและเยาวชนลงพื้นที่เพื่อทำความเข้าใจกับครัวเรือน และปิดข้อกติกาหมู่บ้านทุกครัวเรือน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • คณะกรรมการ ผู้นำชุมชน เด็กและเยาวชน ได้มีส่วนร่วมในการ แสดงความคิดเห็นเพื่อสรุปออกมาเป็นกฏระเบียบ ข้อปฏิบัติและข้อห้ามชุมชน เพื่อให้ทุกครัวเรือนได้ปฏิบัติตาม
    • เด็กและเยาวชนได้ลงพื้นที่ทุกครัวเรือนเพื่อติดแผ่นป้าย กฏระเบียบหมู่บ้าน และได้ทำความเข้าใจแก่สมาชิกครัวเรือนให้รับทราบและเข้าใจกฏกติการ่วมของหมู่บ้าน
    • หมู่บ้านได้มีกฏ ระเบียบ ข้อปฏิบัติร่วมกัน

     

    50 50

    31. จัดทำสื่อสารสนเทศในการรณรงค์

    วันที่ 1 กรกฎาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เด็กและเยาวชนร่วมกันสรุปการดำเนินงานตามโครงการที่ผ่านมา ผลการดำเนินกิจกรรมตามแผนงานโครงการ สรุปเพื่อร่วมออกแบบสื่อเพื่อประชาสัมพันธ์โครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • เด็กและเยาวชนได้ร่วมกันออกแบบการทำงานสื่อ
    • เป็นสื่อประชาสัมพันธ์โครงการแก่ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมหมู่บ้าน 

     

    10 10

    32. จัดทำป้ายนิทรรศการประชาสัมพันธ์โครงการ

    วันที่ 1 กรกฎาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดนิทรรศการเพื่อเผยแพร่การดำเนินกิจกรรมโครงการ บ้านโคกไม้ไผ่ รู้จด รู้ใช้ สุขได้ด้วยพอเพียง การดำเนินกิจกรรมที่ผ่าน แสดงผลที่ได้รับจากการจัดกิจกรรม โดยมีเด็กและเยาวชนเป็นผู้ผลิตนิทรรศการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    วันที่ 1 กรกฏาคม 2558 ซึ่งเป็นวันที่ คณะกรรมการประกวดหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ต้นแบบ ระดับจังหวัด เข้ามาเพื่อประเมิน ตัดสินเพื่อหาหมู่บ้านต้นแบบด้านการจัดการหมู่บ้านตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง บ้านโคกไม้ไผ่ได้รับการคัดเลือกจากจังหวัดให้เข้าร่วมประกวด เด็กและเยาวชนได้แสดงความสามารถในการจัดนิทรรศการ การดำเนินงานตามโครงการ บ้านโคกไม้ไผ่ รู้จด รู้ใช้ สุขได้ด้วยพอเพียง ที่ผ่านมา ซึ่งคณะกรรมการระดับจังหวัดผู้นำชุมชนต่างที่เข้าร่วม ตลอดจนชาวบบ้านในหมู่บ้านได้รับทราบการดำเนินโครงการ 

     

    15 15

    33. ประชุมคณะทำงานประจำเดือน ครั้งที่ 4

    วันที่ 5 กรกฎาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • วงคุยคณะกรรมการหมู่บ้านและคณะกรรมการโครงการเพื่อสรุปการดำเนินงานที่ผ่านมา
    • ร่วมวางแผนการดำเนินงานตามแผนงานโครงการและกิจกรรมของหมู่บ้าน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลจากการส่งหมู่บ้านเข้าประกวดหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ในระดับจังหวัด ประกาศผลการประกวด บ้านโคกไม้ไผ่ หมู่ที่ 4 ได้อันดับที่ 3 ซึ่งถือว่าประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง เนื่องจากปีที่ผ่านมา ได้รางวัลชมเชย ทั่งนี้ก็เป็นผลมาจากการนำโครงการบ้านโคกไม้ไผ่ รู้จด รู้ใช้ สุขได้ด้วยพอเพียง กิจกรรมที่ดำเนินการตามแผนโครงการส่งผลให้หมู่บ้านมีกิจกรรม มีการพัฒนาตามรูปแบบพอเพียง พอใช้ ซึ่งถือเป็นผลดีต่อหมู่บ้านในการที่จะขยายสู่ตำบลต่อไป

     

    20 20

    34. อบรมการทำและใช้สินค้าทดแทน ครั้งที่ 2

    วันที่ 11 กรกฎาคม 2558 เวลา 10:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • อบรมเรียนรู้การผลิตสินค้าทดแทนใช้เอง
    • การลงมือปฏิบัติการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้รับการสนับสนุนจากธนาคารสหกรณ์เพื่อการเกษตร จังหวัดตรังส่งเจ้าหน้าที่เพื่อให้ความรู้ใรการผลิตสินค้าทดแทนใช้เอง สบู่ก้อน
    • ตัวแทนครัวเรือนเป้าหมายได้รับความรู้ความเข้าใจในการผลิตสบู่เพื่อใช้เองในครัวเรือน

     

    50 50

    35. ประชุมคณะทำงานประจำเดือน ครั้งที่ 5

    วันที่ 2 สิงหาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • เวทีร่วมพุดคุยแลกเปลี่ยนการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ ที่ผ่านมา รายงานผลการประกวดหมู่บ้านเศรษฐกิจ ระดับจังหวัดที่ผ่านมา
    • วางแผนการจัดงาน จุดเทียนชัยถวายแด่สมเด็จพระชาราชินี  ในวันที่ 12 สิงหาคม ที่จะถึง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผู้นำชุมชน คณะกรรมการ เด็กและเยาวชนได้ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยน และนำเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินงานกิจกรรมของหมู่บ้าน ร่วมกันออกแบบการจัดกิจกรรมทั้งในส่วนของแผนงานตามโครงการ และกิจกรรมงานของหมู่บ้านที่จัด ๆ มา ร่วมกัน

     

    20 20

    36. ประชุมคณะทำงานเพื่อติดตาม ประเมินผล ครั้งที่ 4

    วันที่ 15 สิงหาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • เวทีร่วมรับทราบผลการดำเนินงานของโครงการและการดำเนินงานหมู่บ้านที่ผ่านมาให้รับทราบ
    • ร่วมแลกเปลี่ยนผลการดำเนินงานที่ผ่านมา ข้อดี ข้อเสีย ที่เกิดเพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไข
    • ร่วมออกแบบการดำเนินงานของหมู่บ้านตามแผนงานโครงการและกิจกรรมทั่วไปของหมู่บ้าน
    • วางแผนการรับผิดชอบในการจัดกิจกรรมของหมู่บ้านครั้งต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • เกิดเวทีแลกเปลี่ยนของคณะกรรมการหมู่บ้าน ผู้นำหมู่บ้าน เด็กและเยาวชน ในการร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมพัฒนาหมู่บ้านร่วมกัน
    • คณะกรรมการ เด็กและเยาวชน ตลอดจนตัวแทนครัวเรือนได้รับทราบผลการดำเนินงานต่างๆของหมู่บ้านทั้งกิจกรรมตามแผนงานโครงการและการจัดกิจกรรมต่างๆของหมู่บ้าน
    • ร่วมกันวางแผนการจัดกิจกรรมของหมู่บ้านในครั้งต่อไป ซึ่งผ่านการมีส่วนร่วมของคนในหมู่บ้านร่วมกันออกแบบ
    • การกำหนดการแบ่งภาระหน้าที่กันไปดำเนินงานตามความเหมาะสม

     

    40 40

    37. เข้าร่วมงานความมั่นคงทางสุขภาวะ วาระสร้างสุขของคนใต้ ปี 2558

    วันที่ 4 กันยายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เดินทางเข้าร่วมการจัดประชุม การจัดนิทรรศการเกี่ยวกับงานด้านสุขภาพ สุขภาวะ รอบด้านของภาคใต้ โดยเป็นการรวมตัวของหน่วยงานที่รับผิดชอบงานด้านสุขภาวะ เช่น สสส. สปสช. สช.

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้เข่าร่วมการจัดงานสุขภาวะรอบด้าน ระดับภาค
    • มีการแบ่งกลุ่มย่อยเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้พื้นที่อื่นๆในการจัดการสุขภาวะของแต่ละพื้นที่
    • ได้เข้าชมการจัดนิทรรศการเกี่ยวกับผลงานของแตละพื้นที่ที่ประสบความสำเร็จในการจัดการชุมชน 

     

    2 3

    38. เข้าร่วมงานความมั่นคงทางสุขภาวะ วาระสร้างสุขของคนใต้ ปี 2558

    วันที่ 5 กันยายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เดินทางเข้าร่วมการจัดประชุม การจัดนิทรรศการเกี่ยวกับงานด้านสุขภาพ สุขภาวะ รอบด้านของภาคใต้ โดยเป็นการรวมตัวของหน่วยงานที่รับผิดชอบงานด้านสุขภาวะ เช่น สสส. สปสช. สช.

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้เข่าร่วมการจัดงานสุขภาวะรอบด้าน ระดับภาค
    • มีการแบ่งกลุ่มย่อยเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้พื้นที่อื่นๆในการจัดการสุขภาวะของแต่ละพื้นที่
    • ได้เข้าชมการจัดนิทรรศการเกี่ยวกับผลงานของแตละพื้นที่ที่ประสบความสำเร็จในการจัดการชุมชน 

     

    2 3

    39. เข้าร่วมงานความมั่นคงทางสุขภาวะ วาระสร้างสุขของคนใต้ ปี 2558

    วันที่ 6 กันยายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เดินทางเข้าร่วมการจัดประชุม การจัดนิทรรศการเกี่ยวกับงานด้านสุขภาพ สุขภาวะ รอบด้านของภาคใต้ โดยเป็นการรวมตัวของหน่วยงานที่รับผิดชอบงานด้านสุขภาวะ เช่น สสส. สปสช. สช.

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้เข่าร่วมการจัดงานสุขภาวะรอบด้าน ระดับภาค
    • มีการแบ่งกลุ่มย่อยเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้พื้นที่อื่นๆในการจัดการสุขภาวะของแต่ละพื้นที่
    • ได้เข้าชมการจัดนิทรรศการเกี่ยวกับผลงานของแตละพื้นที่ที่ประสบความสำเร็จในการจัดการชุมชน 

     

    2 3

    40. เวทีประชาคมหมู่บ้านฯ

    วันที่ 1 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • เวทีประชาคมหมู่บ้านเพื่อรับทราบผลการดำเนินงานตามแผนโครงการ บ้านโคกไม้ไผ่ รู้จด รู้ใช้ สุขได้ด้วยพอเพียง ผลการจัดกิจกรรมต่างๆตามแผนงานโครงการ
    • พี่เลี้ยงโครงการ คุณเสณี จ่าวิสูตร สรุปภาพรวมของการดำเนินงานโครงการ การต่อยอดกิจกรรมต่างๆสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ตัวเอง ครัวเรือน ชุมชน การตระหนักถึงผลจากการจัดเก็บข้อมูลครัวเรือน
    • ผู้ใหญ่บ้านรายงานการดำเนินงานของหมู่บ้าน เช่นการจัดการกองทุนปุ๋ย กองทุนหมู่บ้าน (เงินล้าน) เพื่อการรับทราบโดยทั่วกัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • เวทีประชาคมหมู่บ้าน ตัวแทนครัวเรือนได้รับทราบถึงผลการดำเนินงานของโครงการ บ้านโคกไม้ไผ่ รู้จด รู้ใช้ สุขได้ด้วยพอเพียง
    • พี่เลี้ยงโครงการ ได้ทำความเข้าใจเรื่องการนำผลจากการดำเนินงงานตามแผนโครงการ สู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมครัวเรือน เพื่อแก้ปัญหาครัวเรือน และการต่อยอดผลการดำเนินงาน
    • ชาวบ้านที่เข้าร่วมประชุมได้รับทราบการดำเนินงาน ความเคลื่อนใหวของหมู่บ้านที่ผ่านมา

     

    80 80

    41. เข้าร่วมประชุมเพื่อตรวจเอกสารส่งปิดโครงการ

    วันที่ 7 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • เดินทางเข้าร่วมประชุม เพื่อสรุปรายงาน ทั้งการเงิน งานเอกสารต่างๆ เพื่อส่งงวดปิดโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้เข้าร่วมการประชุมเพื่อส่งรายงานปิดงวดโครงการ
    • ได้ส่งรายงานทั้งรายงานการเงินและรายงานสรุปโครงการ

     

    3 2

    42. จัดทำภาพถ่ายกิจกรรมโครงการแนบรายงานปิดโครงการ

    วันที่ 8 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    รวบรวบสรุปรูปภาพถ่ายจากการดำเนินกิจกรรมตามแผนโครงการทั้งหมด เพื่อส่วรายงานปิดงวดโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้เก็บรวบรวมรูปภาพถ่ายจากการจัดกิจกรรมที่ผ่านมา เพื่อใช้ส่งรายงานปิดงวดโครงการ

     

    2 2

    43. จัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์ส่ง สสส.ประกอบการปิดโครงการ

    วันที่ 8 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • เข้าร่วมประชุมเพื่อส่งรายงานปิดงวดโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้รายงานฉบับสมบูรณ์จำนวน 1 เล่ม สามารถส่งรายงานปิดงวดโครงการได้เสร็จ

     

    2 2

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

     

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้คนในชุมชนมีความตระหนักในการรู้จักตนเอง ครัวเรือนและชุมชนและนำไปสู่การวา่งแผนการในการปรับพฤติกรรมในการใช้จ่ายและการพึ่งตนเองโดยใช้การทำบัญชีครัวเรือน เกิดการรวบรวมข้อมูล เข้าใจการวิเคราะห๋ข้อมูล กำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้สินครัวเรือนและชุมชน
    ตัวชี้วัด : 1. มีข้อมูลรายรับ รายจ่ายครัวเรือน 40 ครัวเรือน ที่สามารถแสดงให้เห็นถึงสภาพระดับรายรับ รายจ่าย หนี้สินของครัวเรือน 2. มีการวิเคราะห์ค้นหาสาเหตุ ที่ไปที่มาของรายรับ รายจ่าย และหนี้สิน 3. มีแผนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของคน ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ มีการออม ทั้งระดับปัจเจก ระดับครัวเรือน ระดับชุมชน 4. มีเด็กและเยาวชนได้มีโอกาสเรียนรู้ถึงภาระค่าใช้จ่ายของครัวเรือน

    สามารถจัดเก็บข้อมูลได้ตามที่กำหนดไว้ในตัวชี้วัด โดยมีแนวทางการจัดเก็บตามที่หมู่บ้านได้ร้่วมออกแบบกับทางส่วนราชการที่เข้ามาเป็นพี่เลี้ยงมีการวิเคราะห์ข้อมูลแลจัดทำเป็นแผนลดรายจ่ายครัวเรือน มีครัวเรือนนำร่องที่ทำกิจกรรมลดรายจ่าย ได้แก่การปลูกพืชผักไว้บริโภคในครัวเรือน การเลี้ยงกบ การเพาะเห็ด การปลูกมะนาว การรวมกลุ่มกันทำขนม ทีสำคัญคือในกระบวนการมีเด็กแลเยาวชนเข้าร่วมกิจกรรมตั้งแต่การจัดเก็บข้อมูล การร่วมวงวิเคราะห์ การตรวจครัวเรือน

    2 เพื่อหนุนเสริมให้คนในชุมชนมีปฏิบัติการในการลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ทำสิ่งที่กินและใช้เอง ทั้งระดับชุมชน ครัวเรือนและการรวมกลุ่มกันทำภายใต้การหนุนเสริมขององค์กรภาคีที่เกี่ยวข้อง
    ตัวชี้วัด : 1. มีกิจกรรมลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ระดับครัวเรือน 40 ครัวเรือน- ทำและใช้สินค้าทดแทน - ทำและใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ - ปลูกพืชผัก สำหรับบริโภคในครัวเรือน 2. มีกิจกรรมเพิ่มการออมในกลุ่มที่มีการออม/และมีการออมในกลุ่มที่ยังไม่มีการออม ในครัวเรือน 40 ครัวเรือน 3. มีแหล่งอาหารเพิ่มในพื้นที่สาธารณะได้แก่ พืชผักพื้นเมือง จำนวน3ชนิด3000ต้น

    มีครัวเรือนนำร่องที่ทำกิจกรรมลดรายจ่าย ได้แก่การปลูกพืชผักไว้บริโภคในครัวเรือน การเลี้ยงกบ การเพาะเห็ด การปลูกมะนาว การรวมกลุ่มกันทำขนม ครัวเรือนนำร่องทุกครัวเรือนเข้าเป็นสมาชิกกลุ่มออมทรัพย์ มีการปลูกพืชผักในที่สาธารณะ จำนวน 3000 ต้น

    3 เพื่อเสริมสร้างการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการชุมชน
    ตัวชี้วัด : 1. มีคณะทำงาน จำนวน 10 คน 2. มีการประชุมประจำเดือนจำนวน 5 ครั้ง 3. มีทีมในการติดตามประเมินผลการดำเนินงานตามโครงการ จำนวน 5 คน

    มีคณะทำงานที่แบ่งงานกันทำตามที่กำหนดไว้ในโครงการ มีการประชุมประจำเดือนทุกดือน มีคณะทำงานติดตามประเมินผลการดำเนินงานตามโครงการ5 คน

    4 ติดตามการดำเนินงานตามโครงการ
    ตัวชี้วัด : - ติดตามการดำเนินงานตามดครงการจากพี่เลี้ยงโครงการ - สนับสนุน หนุนเสริมพัฒนาการดำเนินงานให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์โครงการ

    ประชุมร่วมกับ สจรส.ม.อ.จำนวน 3 ครั้ง คือ ประชุมปิดงวด 1 เข้าร่วมงานสร้างสุขภาคใต้ และประชุมปิดงวด 2

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้คนในชุมชนมีความตระหนักในการรู้จักตนเอง ครัวเรือนและชุมชนและนำไปสู่การวา่งแผนการในการปรับพฤติกรรมในการใช้จ่ายและการพึ่งตนเองโดยใช้การทำบัญชีครัวเรือน เกิดการรวบรวมข้อมูล เข้าใจการวิเคราะห๋ข้อมูล กำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้สินครัวเรือนและชุมชน (2) เพื่อหนุนเสริมให้คนในชุมชนมีปฏิบัติการในการลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ทำสิ่งที่กินและใช้เอง ทั้งระดับชุมชน ครัวเรือนและการรวมกลุ่มกันทำภายใต้การหนุนเสริมขององค์กรภาคีที่เกี่ยวข้อง (3) เพื่อเสริมสร้างการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการชุมชน (4) ติดตามการดำเนินงานตามโครงการ

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    ส่วนที่ 3 ประเมินคุณค่าโครงการ

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ

    ชื่อโครงการ บ้านโคกไม้ไผ่ รู้จด รู้ใช้ สุขได้ด้วยพอเพียง

    รหัสโครงการ 57-02543 รหัสสัญญา 58-00-0105 ระยะเวลาโครงการ 15 ตุลาคม 2557 - 15 พฤศจิกายน 2558

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นการคุณค่าที่เกิดจากโครงการในมิติต่อไปนี้

    • ความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพและนวัตกรรมเชิงระบบสุขภาพชุมชน
    • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีผลต่อสุขภาวะ
    • การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ
    • ผลกระทบเชิงบวกและนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาวะชุมชน
    • กระบวนการชุมชน
    • มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่

    1. เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้ใหม่ / องค์ความรู้ใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สิ่งประดิษฐ์ / ผลผลิตใหม่

    สามารถผลิตสินค้าทดแทนใช้เอง น้ำยาล้างจาน สบู่เหลว

    ภาพถ่ายกิจกรรม

    สนับสนุนให้สามารถทำเป็นอาชีพเสริมได้

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. กระบวนการใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. วิธีการทำงาน / การจัดการใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การเกิดกลุ่ม / โครงสร้างในชุมชนใหม่
    1. กรรมการหมู่บ้าน ตัวแทนกลุ่มบ้านเพื่อนำข้อมูลครัวเรือนสู่เวทีพูดคุย ประจำเดือน
    2. กลุ่มเด็กและเยาวชน

    ภาพถ่าย


    ภาพถ่าย

    เป็นกลุ่มผู้วางแผนพัฒนาชุมชน

    เปิดพื้นที่ชุมชนเพื่อการแสดงความสามารถ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. แหล่งเรียนรู้ใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    99. อื่นๆ

    แหล่งเรียนรู้การเพราะเลี้ยงกบ

    นางใจย จันทร์ชู

    ส่งเสริมพัฒนา ขยายกิจการ

    2. เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การบริโภค
    1. การบริโภคผักปลอดสาร


    2. พื้นที่สาธารณะกินได้

    ทุกครัวเรือน


    สองข้างทางถนน

    ส่งเสริมให้ทุกครัวเรือนปลูกผักกินเอง

    เพิ่มถนนกินได้

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การออกกำลังกาย

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. การลด ละ เลิก อบายมุข เช่น การพนัน เหล้า บุหรี่

    เกิดพื้นที่ปลอดบุหรี่

    ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน

    ขยายพื้นที่ในชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การลดพฤติกรรมเสี่ยง เช่น พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การขับรถโดยประมาท

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. การจัดการอารมณ์ / ความเครียด

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. การดำรงชีวิต / วิถีชีวิต เช่น การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น / สมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเอง

    แหล่งเรียนรู้เรื่องสมุนไพร

    นายจวน คงชีภา

    ส่งเสริมการสะสมพันธุ์สมุนไพร

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    8. พฤติกรรมการจัดการตนเอง ครอบครัว ชุมชน

    การลงบันทึกข้อมูลครัวเรือน บัญชีรายรับ จ่ายครัวเรือน

    ภาพถ่าย

    เพิ่มครัวเรือน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    9. อื่นๆ

     

     

     

    3. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. กายภาพ เช่น มีการจัดการขยะ ป่า น้ำ การใช้สารเคมีเกษตร และการสร้างสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนที่ถูกสุขลักษณะ

    การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ผลิตเอง ใช้เอง

    นายจวน คงชีภา

    สนับสนุนให้ครัวเรือนผลิตปุ๋ยอินทรีย์ใช้เองในครัวเรือน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สังคม เช่น มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ลดการเกิดอุบัติเหตุ ครอบครัวอบอุ่น การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อเด็ก เยาวชน และกลุ่มวัยต่าง ๆ มีพื้นที่สาธารณะ/พื้นที่ทางสังคม เพื่อเอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชน มีการใช้ศาสนา/วัฒนธรรมเป็นฐานการพัฒนา

    เกิดหอกระจายข่าว ข้อมูลต่างๆผ่านเสียงตามสายในหมู่บ้าน

    ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน

    ขยายเสียงตามสาย เพิ่มช่องทางการกระจายข้อมูล

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. เศรษฐกิจสร้างสรรค์สังคม /สร้างอาชีพ / เพิ่มรายได้

    พัฒนากลุ่มแม่บ้านสู่การรวมกลุ่มทำขนมขายเพิ่มรายได้ครัวเรือน

    กลุ่มแม่บ้าน

    สร้างการตลาดเพิ่มเติม

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการบริการสุขภาพทางเลือก และมีช่องทางการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. อื่นๆ

     

     

     

    4. การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. มีกฎ / กติกา ของกลุ่ม ชุมชน

    กฎระเบียบปฏิบัติ กติกาหมู่บ้านร่วมกัน

    ทุกครัวเรือน

    พัฒนาระเบียบหมู่บ้านให้สรอดคล้องกับยุคสมัย

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. มีมาตรการทางสังคมของกลุ่ม ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. มีธรรมนูญของชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. อื่นๆ เช่น ออกเป็นข้อบัญญัติท้องถิ่น ฯลฯ

     

     

     

    5. เกิดกระบวนการชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. เกิดการเชื่อมโยงประสานงานระหว่างกลุ่ม / เครือข่าย (ใน และหรือนอกชุมชน)

    การติดต่อหน่วยงานรัฐ เพื่อเข้ามาร่วมพัฒนาหมู่บ้าน

    อปท./กศน.

    เพิ่มหน่วยงานติดต่อเพื่อสนับสนุนการพัฒนาหมู่บ้าน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเรียนรู้การแก้ปัญหาชุมชน (การประเมินปัญหา การวางแผน การปฏิบัติการ และการประเมิน)

    การรวบรวมข้อมูลครัวเรือน สรุป สังเคราะห์ คืนข้อมูล ออกแบบแผนปฏิบัติ

    ภาพถ่าย

    ส่งเสริมการวางแผนงานก่อน สู่การปฏิบัติงานจริง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ประโยชน์จากทุนในชุมชน เช่น การระดมทุน การใช้ทรัพยากรบุคคลในชุมชน

    กลุ่มแม่บ้านผลิตขนมจำหน่าย

    กลุ่มแม่บ้าน

    ส่งเสริมการทำขนมหลายชนิด การขยายพื้นที่จำหน่ายสินค้า

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกลุ่มและชุมชนที่เกิดจากโครงการอย่างต่อเนื่อง

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. เกิดกระบวนการจัดการความรู้ในชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. เกิดทักษะในการจัดการโครงการ เช่น การใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ การทำแผนปฏิบัติการ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. อื่นๆ

     

     

     

    6. มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเอง / กลุ่ม / ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเห็นประโยชน์ส่วนรวมและส่วนตนอย่างสมดุล

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย และพอเพียง

    การน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำรงชีวิต

    ชุมชน

    หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ต้นแบบ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. ชุมชนมีความเอื้ออาทร

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. มีการตัดสินใจโดยใช้ฐานปัญญา

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. อื่นๆ

     

     

     

    บ้านโคกไม้ไผ่ รู้จด รู้ใช้ สุขได้ด้วยพอเพียง จังหวัด ตรัง

    รหัสโครงการ 57-02543

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นายเกียรติศักดิ์ บุญมี )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด