แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


“ นำคุณธรรม ลดอบายมุข คืนสันติสุขสู่บ้านตันหยง ”

บ้านตันหยง หมู่ที่2 ต.เฉลิม อ.ระแงะ จ.นราธิวาส

หัวหน้าโครงการ
นายมุมิน ดือราแม

ชื่อโครงการ นำคุณธรรม ลดอบายมุข คืนสันติสุขสู่บ้านตันหยง

ที่อยู่ บ้านตันหยง หมู่ที่2 ต.เฉลิม อ.ระแงะ จ.นราธิวาส จังหวัด นราธิวาส

รหัสโครงการ 57-02542 เลขที่ข้อตกลง 58-00-0150

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 พฤศจิกายน 2557 ถึง 30 พฤศจิกายน 2558


กิตติกรรมประกาศ

"นำคุณธรรม ลดอบายมุข คืนสันติสุขสู่บ้านตันหยง จังหวัดนราธิวาส" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน บ้านตันหยง หมู่ที่2 ต.เฉลิม อ.ระแงะ จ.นราธิวาส

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
นำคุณธรรม ลดอบายมุข คืนสันติสุขสู่บ้านตันหยง



บทคัดย่อ

โครงการ " นำคุณธรรม ลดอบายมุข คืนสันติสุขสู่บ้านตันหยง " ดำเนินการในพื้นที่ บ้านตันหยง หมู่ที่2 ต.เฉลิม อ.ระแงะ จ.นราธิวาส รหัสโครงการ 57-02542 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 พฤศจิกายน 2557 - 30 พฤศจิกายน 2558 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 136,925.00 บาท จาก เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 220 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

 

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อให้เด็กและเยาวชนในชุมชนมีความรู้เรื่องยาเสพติดและหลักคำสอนของศาสนาว่าด้วยยาเสพติดและนำไปประพฤติปฏิบัติได้ถูกต้อง รวมทั้งคนในชุมชนมีส่วนร่วมในการควบคุมและป้องกันยาเสพติด
  2. เพื่อให้เด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติดในชุมชนได้รับการบำบัดและดูแล
  3. เพื่อจัดตั้งสภาผู้นำชุมชนขับเคลื่อนการทำงานในชุมชนอย่างต่อเนื่อง
  4. ติดตามสนับสนุนจากสสส.สจรส. และพี่เลี้ยง

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

     


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. ปฐมนิเทศโครงการ

    วันที่ 29 พฤศจิกายน 2557 เวลา 08:00-18:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วันที่ 29 พฤศจิกายน 2557

    08.30 - 09.00 น. ลงทะเบียน

    09.00 - 10.00 น. กระบวนการและระบบการติดตามประเมินผล เพื่อการหนุนเสริมโครงการร่วมสร้างชุมชนและท้องถิ่นให้น่าอยู่พื้นที่ภาคใต้ โดย ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ สถาบันการจัดการระบบสุขภาพภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

    10.00 - 11.00 น  ความคาดหวัง ประสบการณ์ และแนวทางในการจัดทำรายงานผล และรายงานการเงิน โดย คุณปรีดารัตน์ ศรัทธานนท์กุล สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

    11.00 - 12.30 น.

    • การบริหารจัดการโครงการ (ทีมงาน/ชุมชน) และวิธีการจัดการปัญหา โดยคุณกำไล สมรักษ์

    • การบริหารการจัดการงบประมาณ  (การเก็บหลักฐาน และเอกสารการเงิน) โดยคุณสมบูรณ์ ขวัญสงค์ และคุณจุรีย์ หนูผุด

    • การทำรายงานโครงการ และ รายงานการเงิน โดยคุณกัญนภัส จันทร์ทอง

    12.00 - 13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน

    13.30 - 14.00 น. การจัดทำรายงานผ่านเวบไซต์คนใต้สร้างสุข www.happynetwork.org โดยคุณภานุมาศ นนทพันธ์

    14.00 – 18:00 น. ผู้รับผิดชอบโครงการฝึกปฏิบัติการ ในหัวข้อ

    • การป้อนข้อมูลรายละเอียดโครงการในเว็บไซต์

    • ทบทวนและออกแบบเชิงระบบของโครงการ

    วันที่ 30 พฤศจิกายน 2557

    08.30 - 09.00 น. ลงทะเบียน

    09.00 - 12.00 น. ผู้รับผิดชอบโครงการฝึกปฏิบัติการ ในหัวข้อ (ต่อ)
    - การวางแผนการดำเนินงาน และการป้อนแผนการดำเนินงานในปฏิทินโครงการ

    • การรายงานผลการจัดกิจกรรม และรายจ่ายในกิจกรรม

    • การจัดทำรายงาน

    13.00 - 15.00 น. ประชุมพี่เลี้ยงร่วมกับ สสส. เพื่อการพัฒนาระบบการติดตามประเมินผล

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. รับทราบถึงข้อตกลงในการจัดทำโครงการฯ
    2. รับทราบถึงเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของ สสส.โดยภาพรวม
    3. รับทราบถึงแนวทางการจัดทำรายงาน และบันทึกกิจกรรมรายงานผล ซึ่งจะประกอบด้วยแบบรายงานสรุป 4 ฉบับ (ส1-4) และแบบรายงานการเงิน 2 ฉบับ (ง1-2) 4.รับทราบถึงวิธีการจัดทำรายงานการเงิน การเก็บเอกสารหลักฐานทางการเงินเพื่อเบิกจ่าย
    4. สามารถจัดกระบวนการการดำเนินโครงการอย่างเป็นระบบและสมบูรณ์ ครอบคลุมขั้นตอนการเตรียมพร้อม ขั้นทำ และขั้นตอนการทบทวนเพื่อพัฒนาให้ยั่งยืน
    5. สามารถป้อนข้อมูลรายละเอียดโครงการผ่านทางเว็บไซต์คนใต้สร้างสุข
    6. สามารถป้อนข้อมูลแผนภาพโครงการได้
    7. สามารถป้อนแผนการดำเนินงานลงในปฏิทินโครงการได้
    8. สามารถรายงานผลการจัดกิจกรรม และรายจ่ายในกิจกรรมได้
    9. รับรู้ถึงปัญหาที่เคยเกิดขึ้นและแนวทางการแก้ไข ในการดำเนินกิจกรรมและการรายงานผลในเว็บไซต์

     

    2 2

    2. ติดตั้งป้ายปลอดบุหรี่

    วันที่ 3 มกราคม 2558 เวลา 08:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • จัดทำป้าย ห้ามสูบบุหรี่
    • ติดตั้งป้ายที่สถานที่ประชุมหมู่บ้าน
    • ผู้นำชุมชน และผู้นำศาสนา รณรงค์เพื่อลดการสูบบุหรี่ในหมู่บ้าน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • จัดทำป้ายเสร็จเรียบร้อยแล้ว พร้อมติดตั้งบริเวณมัสยิดอุมมุลกูรอ ซึ่งเป็นแหล่งรวมตัวของชาวบ้านส่วนใหญ่

     

    150 150

    3. ประชุมสภาผู้นำประจำเดือนครั้งที่ 1

    วันที่ 9 มกราคม 2558 เวลา 08:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ชี้แจงเกี่ยวกับโครงการที่จะจัดขึ้นแก่ผู้เข้าร่วมประชุม และขอความเห็นชอบจากผู้เข้าร่วมประชุมโดยการยกมือลงประชามติ

    2. จัดตั้งคณะกรรมสภาผู้นำเป็นลายลักษณ์ พร้อมคัดเลือกประธานคณะกรรมการ

    3. กำหนดบทบาทหน้าที่ของสภาผู้นำที่มีต่อชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. จัดตั้งคณะกรรมการสภาผู้นำ และตั้งชื่อว่า กลุ่มฟัจญ์รุน (รุ่งอรุณแห่งอิสลาม)  ประกอบด้วยบุคคลในชุมชนจากหลายภาคส่วน เพื่อให้เกิดเครือข่ายและความร่วมมือร่วมใจจากทุกหน่วยงาน โดยมี นายอับดุลการิม ดือราแม ซึ่งเป็นอิหม่ามประจำมัสยิดอุมมุลกุรอ บ้านตันหยง เป็นประธานสภาผู้นำ เนื่องจากเป็นผู้ที่สมาชิกในชุมชนให้ความเคารพนับถือ และมักเป็นที่พึ่งให้แก่คนในชุมชนได้

    2. จากการขอความเห็นชอบจากสภาผู้นำเกี่ยวกับโครงการ ผลปรากฏว่า เห็นชอบทั้ง 20 คน และมีการแสดงคิดเห็นเพื่อให้มีการจัดโครงการนี้ต่อเนื่องอีกในปีหน้า

    3. บทบาทหน้าที่ของสภาผู้นำที่กำหนดขึ้นโดยคณะกรรมการสภาผู้นำ ซึ่งแบ่งเป็นหน้าที่ใหญ่ๆ ดังนี้

    • เป็นแกนนำเพื่อกำหนดแนวทาง หรือประสานงานในแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชน
    • เป็นแกนนำในการประสานงาน หรือจัดกิจกรรมต่างๆ ตามที่ชุมชนเรียกร้อง
    • เป็นแกนนำในการประสานงานกับกลุ่มต่างๆทั้งในและนอกชุมชน เพื่อจัดกิจกรรมให้แก่ชุมชน
    • เป็นผู้ประเมินและติดตามกิจกรรมต่างๆที่จัดขึ้นในชุมชน

     

    20 20

    4. จัดประชุมเพื่อชี้แจงทำความเข้าใจโครงการ

    วันที่ 17 มกราคม 2558 เวลา 08:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • จัดประชุมชี้แจงรายละเอียดของโครงการในประเด็นต่างๆ ได้แก่ วัตถุประสงค์ของโครงสร้าง กลุ่มเป้าหมาย ผลที่คาดว่าจะได้รับ และงบประมาณที่ได้รับการสนับสนุนจาก สสส. เพื่อให้สมาชิกในชุมชนมีทัศนคติที่ดีต่อโครงการที่จะดำเนินการ
    • จัดกิจกรรมบรรยายธรรมว่าด้วยเรื่อง ยาเสพติดกับบทบัญญัติของอิสลาม โดยอิหม่ามประจำมัสยิดอุมมุลกุรอ บ้านตันหยง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • คนในชุมชนเข้าใจถึงวัตถุประสงค์ของโครงการ และเห็นด้วยกับโครงการที่จะเกิดขึ้น พร้อมทั้งเสนอให้มีโครงการเช่นนี้อย่างต่อเนื่อง(ร้อยละ 90 ต้องการให้มีโครงการนี้อีกในปีหน้า)
    • คนในชุมชนได้รับทราบเกี่ยวบทบัญญัติต่างๆที่อิสลามบัญญัติขึ้นเกี่ยวกับยาเสพติด เพื่อให้สามารถนำกลับไปสอนบุตรหลานเพื่อให้ห่างไกลจากยาเสพติดและอบายมุขอื่นๆ

     

    95 95

    5. สำรวจข้อมูลชุมชน

    วันที่ 18 มกราคม 2558 เวลา 08:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. สำรวจข้อมูลจำนวนประชากรของชุมชนจากผู้นำชุมชน
    2. สัมภาษณ์ชาวบ้าน หรือคนเฒ่าคนแก่เกี่ยวกับความเป็นมาในอดีตของชุมชน
    3. สำรวจเกี่ยวกับอาชีพหลักของคนในชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. จากการสำรวจข้อมูลประชากร ได้ข้อมูลดังนี้

    -ประชากรทั้งหมด 1,100 คน ชาย 491 คน หญิง 609 คน

    -ประชาชนนับถือศาสนาอิสลาม 1,100 คน (100 %)

    -สถานภาพสมรส 411 คน โสด 557 คน หย่า/หม้าย 38 คน

    -สภาพการเคลื่อนย้ายของคน ทำงานที่ประเทศมาเลเซีย 62 คนทำงานต่างจังหวัด 50 คน

    -ในรอบปีที่ผ่านมามีคนเกิด 20 คน เสียชีวิต 13 คน และอัตราเพิ่มของคนในหมู่บ้าน 0.74

    2.การสัมภาษณ์คนเฒ่าคนแก่ในหมู่บ้านทำให้ทราบถึงประวัติในอดีตของชุมชน ซึ่งทำให้สามารถนำเล่าให้คนรุ่นนี้ฟัง เพื่อให้เกิดแนวคิดที่ดีและขยันให้ได้เหมือนคนรุ่นก่อน

    3.ทำให้ทราบว่าคนในชุมชนยังมีอัตราการว่างงานอีกหลายครัวเรือน

     

    50 50

    6. สำรวจข้อมูลชุมชน

    วันที่ 24 มกราคม 2558 เวลา 08:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • เยาวชนและภาคีเครือข่ายในชุมชนกระจายกันลงพื้นที่เพื่อสำรวจและสอบถามทัศนคติของคนในชุมชนเกี่ยวกับปัญหายาเสพติดในชุมชน และปัญหาอื่นๆที่เกิดขึ้นในชุมชน พร้อมทั้งสอบถามสิ่งที่ชาวบ้านอยากให้มีอะไรเกิดขึ้นในชุมชนบ้าง(ชุมชนในฝันของข้าพเจ้า...เป็นอย่างไร???)
    • สำรวจเด็กและเยาวชนที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงเพื่อให้ได้รับการป้องกัน และผู้ที่ติดสารเสพติดไปแล้วเพื่อให้ได้รับการบำบัดดูแล
    • สำรวจปัจจัยต่างๆที่อาจเป็นสาเหตุของปัญหายาเสพติด เช่น ด้านครอบครัว สิ่งแวดล้อม สังคม และตัวเด็กและเยาวชนเอง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้ทราบถึงสถานการ์การณ์ยาเสพติดในชุมชนจากมุมมองของชาวบ้าน พร้อมทั้งทัศนคติของชาวบ้านต่อปัญหาดังกล่าว
    • ทราบถึง ชุมชนในฝันของชาวบ้าน ว่าอยากให้เป็นอย่างไร ซึ่งพบว่าประเด็นที่ชาวบ้านพูดถึงร้อยะ 90 คือ หมู่บ้านปลอดยาเสพติด
    • เด็กและเยาวชนโดยส่วนใหญ่จัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงมากกว่ากลุ่มปกติ
    • ผู้ที่ติดสารเสพติดบางรายยินดีเข้าร่วมโครงการ
    • ปัจจัยที่เป็นสาเหตุเกิดได้จากหลายสาเหตุ ได้แก่ ปัญหาด้านครอบครัว ปัญหาการว่างงาน เพื่อนชักจูง เป็นต้น

     

    50 50

    7. สำรวจข้อมูลชุมชน

    วันที่ 31 มกราคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. สอบถามเกี่ยวกับสุขภาพของคนในชุมชน พร้อมกับกีฬาที่ชาวบ้านชื่นชอบ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้ข้อมูลว่ากีฬาที่ชาวบ้านชื่นชอบที่สุดคือ ฟุตบอล สำหรับผู้หญิงมักจะใช้วิธีการออกกำลังกายโดยการเดินรอบหมู่บ้าน เป็นการแวะเยี่ยมเยียนเพื่อนบ้านภายในตัว อีกทั้ง เนื่องจากด้วยที่ชุมชนยังผูกพันกับหลักชารีอะห์ที่ว่าด้วยเรื่องการออกนอกบ้านของสตรี ทำให้การออกกำลังกายโดยส่วนใหญ่นั้นมักจะออกภายในบ้านเป็นการส่วนตัว ซึ่งจะแตกต่างจากสังคมเมืองที่จะมีการออกกำลังกายเป็นกลุ่มๆในที่สาธารณะ

     

    50 50

    8. วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจ

    วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 08:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.อิหม่ามกล่าวดูอาอ์เปิดประชุม
    2.ผ้ใหญ่บ้านกล่าวนำและเปิดการประชุม
    3.ผู้รับผิดชอบโครงการฯชี้แจงแนวทางและประเด็น,เนื้อหาการวิเคราะห์ข้อมูล
    4.ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูล
    5.สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูล
    6.อิหม่ามกล่าวดูอาอ์ปิดประชุม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. สามารถสรุปปัจจัย/สาเหตุของการติดสารเสพติดของเด็กในชุมชน ได้แก่

      - ครอบครัว เนื่องจากเด็กที่เสพสารเสพติดบางรายมีคนในครอบครัวเสพอยู่ก่อนแล้ว และบางรายเกิดจากการที่ผู้ปกครองไม่มีเวลาให้เด็ก ทำให้เด็กไม่มีผู้ควบคุม คอยตักเตือน

      - เพื่อน เป็นปัจจัยกระตุ้นที่มักเป็นสาเหตุในเด็กที่เสพสารเสพติดทุกราย

      - ตัวเด็ก เกิดจากความอยากรู้อยากลอง อยากเท่ห์ อยากให้เพื่อนยอมรับ

      - ชุมชน ยังขาดการสอดส่องดูแลโดยชุมชน ขาดการใส่ใจอย่างจริงจัง

    2.สามารถกำหนดวัตถุประสงค์หลักและย่อย เพื่อให้เกิดการบำบัดได้อย่างถูกต้อง

    3.สามารถกำหนดกลุ่มเป้าหมายได้ชัดเจนขึ้น

     

    50 50

    9. จัดประชุมเครือข่ายเพื่อกำหนดหลักสูตรและกิจกรรม

    วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. โต๊ะอิหม่ามเปิดการประชุมด้วยดุอาเปิดประชุม
    2. ผู้ดำเนินโครงการสรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากการสำรวจ และเปิดประเด็นเพื่อให้เกิดการกำหนดกฏกติกาของชุมชนเกี่ยวกับการควบคุมและป้องกันปัญหายาเสพติดในชุมชน
    3. กำหนดหลักสูตรในการบำบัดผู้ติดสารเสพติดในระดับเบื้องต้น
    4. ผู้ดำเนินโครงการสรุปและโต๊ะอิหม่ามปิดการประชุม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.ชุมชนได้กำหนดหลักสูตรในการแก้ไขและบำบัดผู้ที่ติดสารเสพติดระกับเบื้องต้น 1 หลักสูตร คือ หลักสูตร"คืนคนดีสู่บ้านตันหยง"โดยมีรายละเอียดดังนี้

    1.1 จุดมุ่งหมายของหลักสูตร: เพื่อดำเนินการตามแผนการจัดทำค่ายนำคุณธรรม ลดอบายมุข คืนสันติสุขสู่บ้านตันหยง

    1.2 โครงสร้างหลักสูตร

          1.2.1 วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

                  - เพื่อบำบัดและฟื้นฟูเยาวชนผู้เสพสารติดในชุมชน....โดยชุมชน

                  - เพื่อพัฒนาเยาวชนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม

                  - เพื่อให้เยาวชนและครอบครัวได้ทำหน้าที่ของครอบครัวได้เต็มศักยภาพ

                  - เพื่อสร้างเครือข่ายของเยาวชนและครอบครัวในการแก้ไขปัญหายาเสพติด

          1.2.2 องค์ประกอบของหลักสูตร ประกอบด้วย 5 กลุ่มวิชา ดังนี้

                  - กลุ่มวิชา โทษพิษภัยของยาเสพติดและการบำบัดรักษา

                  - กลุ่มวิชา พัฒนาความฉลาดทางอารมณ์

                  - กลุ่มวิชา การทำหน้าที่ของครอบครัว

                  - กลุ่มวิชา การสร้างเสริมความถนัดให้กับตนเอง

                  - กลุ่มวิชา หน้าที่พลเมืองไทย

    1.3 การประเมินผล โดยใช้ CIPP model (C= context, I=Input, P=Process, P=Product)

    2.ชุมชนได้กฏกติกาเพื่อบังคับใช้สมาชิกในชุมชนเกี่ยวกับการควบคุมและป้องกันปัญหายาเสพติด

     

    63 63

    10. จัดอบรมให้ความรู้เรื่องยาเสพติดแก่เด็กและเยาวชน

    วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 08:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ลงทะเบียน
    2. พิธีกรเชิญโต๊ะอีหม่ามกล่าวดูอาอ์เปิด
    3. โต๊ะครูบรรยายให้ความรู้ศาสนาว่าด้วยเรื่องยาเสพติด
    4. พักรับประทานอาหารกลางวันและละหมาดซุห์รีร่วมกัน
    5. ฝ่ายสาธารณสุขบรรยายเรื่องโทษและพิษภัยของยาเสพติด โดยใช้โปสเตอร์เกี่ยวกับโทษของบุหรี่ ส่วนประกอบของบุหรี่ เนื่องจากเด็กมีโอกาสเข้าถึงบุหรี่ได้ง่ายที่สุด และอาจจะเป็นจุดเริ่มต้นของอบายมุขอื่นๆ
    6. จัดกลุ่มออกกำลังกาย
    7. โต๊ะอีหม่ามกล่าวดูอาอ์ปิดการอบรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. เด็กและเยาวชนที่เข้าร่วมกิจกรรมส่วนใหญ่ตั้งใจฟัง
    2. เด็กและเยาวชนมีการซักถามปัญหา เช่น
    • บุหรี่ทำให้ตายได้ไหม?

    • ทำไมคนสูบบุหรี่ถึงมีกลิ่นเหม็น

    • เราไปซื้อบุหรี่ให้พ่อสูบได้ไหม

    4.เด็กและเยาวชนทราบถึงถานการณ์ยาเสพติดและได้รับความรู้เรื่องยาเสพติด,ศาสนาว่าด้วยเรื่องยาเสพติด ,กฎหมายว่าด้วยเรื่องยาเสพติดและโทษและพิษภัยของยาเสพติด
    เข้าใจดี=ร้อยละ 80 เข้าใจปานกลาง=ร้อยละ 15 ไม่เข้าใจ=ร้อยละ 5

    5.เด็กและเยาวชนมีปฎิสัมพันธ์ที่ดีขึ้นและกล้าแสดงออกมากขึ้น ทำให้เกิดการเรียนรู้แบบสองทาง ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการเรียนรู้ที่ยั่งยืนและสามารถนำไปถ่ายทอดไปยังเพื่อนคนอื่นๆที่ไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรม

    6.มีกลุ่มอาสาสมัครนำออกกำลังกายเพื่อสุขภาพประจำหมู่บ้าน (อพส.) พร้อมทั้งกำหนดบทบาทหน้าที่ของกลุ่มดังกล่าว ให้มีการนำและเชิญชวนชาวบ้านเพื่อออกกำลังกายเพื่อสุขภาพทุกเย็น โดยมีจุดรวมพลอยู่ที่มัสยิดอุมมุลกุรอ

     

    80 80

    11. ประชุมสภาผู้นำประจำเดือน ครั้งที่ 2

    วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ประธานสภาผู้นำเปิดการประชุมด้วยการกล่าวดุอาเปิดการประชุม
    2. ชี้แจงการดำเนินกิจกรรมในชุมชนที่ผ่านมาพร้อมบทสรุปของกิจกรรม
    3. มีการซักถามและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการอบรมให้ความรู้เรื่องยาเสพติด

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. ชาวบ้านมีทัศนคติที่ดีต่อการจัดอบรมครั้งนี้
    2. ได้เห็นถึงความร่วมแรงร่วมใจของชาวบ้านในการพาบุตรหลานเข้าร่วมอบรมเพื่อจะให้บุตรหลานรู้เท่าทันอบายมุขต่างๆ

     

    20 20

    12. ประชุมสภาผู้นำประจำเดือนครั้งที่ 3

    วันที่ 6 มีนาคม 2558 เวลา 08:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ประธานสภาผู้นำเปิดการประชุมด้วยการกล่าวดุอาเปิดการประชุม

    2. ชี้แจงการดำเนินกิจกรรมในชุมชนที่ผ่านมาพร้อมบทสรุปของกิจกรรม

    3. วิทยากรชี้แจงเกี่ยวกับหลักสูตรการทำกิจกรรมศาสนบำบัด และอภิปรายพร้อมกับโต๊ะอิหม่าม

    4. ประธานสภาผู้นำเริ่มการกำหนดกฏกติกาของหมู่บ้านร่วมกับสมาชิกสภาผู้นำและตัวแทนจากชาวบ้านร่วมกันอภิปราย

    5. ผู้ร่วมประชุมมีการซักถามและร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมดังกล่าว

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. สภาผู้นำมีความเข้าใจในหลักสูตรที่จะจัดมากยิ่งขึ้น

    2. มีการปรับเปลี่ยนบางกิจกรรมที่วิทยากรเสนอ เพื่อให้เข้ากับบริบทของเด็กและเยาวชนบ้านตันหยง

    3. สมาชิกสภาผู้นำมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นในเรื่องต่างๆมากขึ้น ทำให้สามารถเป็นตัวแทนของคนในชุมชนเพื่อแสดงความต้องการของชุมชนได้

    กฎกติกา (ฮุกุมปากัต) และค่านิยมร่วมของประชาชนในหมู่บ้านตันหยง

    • การละหมาดวันศุกร์ (เฉพาะผู้ชาย) บ้านใดขาดละหมาดบ่อยๆ หรือไม่เคยไปละหมาด ให้อีหม่าม และกรรมการมัสยิดเป็นผู้พิจารณาโทษ

    • เยาวชนคนใดที่ขาย หรือเสพยาเสพติดภายในหมู่บ้าน จะเชิญผู้ปกครองมาคุยและตักเตือน 3 ครั้ง หากไม่หยุดจะถูกส่งดำเนินคดีตามกฎหมาย

    • ผู้ใด ขโมยหรือลักทรัพย์ในหมู่บ้าน หากจับได้จะเรียกมาเตือน 1 ครั้ง ปรับ 2 เท่าของสิ่งของ (ค่าปรับมอบให้เจ้าของทรัพย์สิน 1 ส่วน เข้ากองทุนหมู่บ้าน 1 ส่วน)

    • ชายหรือหญิง ที่ความสัมพันธ์ถึงขั้นชู้สาว หากได้เสียกัน ทางคณะกรรมการจะจับแต่งงานกันโดยไม่มีเงื่อนไข (หญิงม่ายค่าสินสอดไม่เกิน 50,000 บาท)

    • ผู้ใดมีสัตว์เลี้ยงในครอบครอง ห้ามเลี้ยงแบบปล่อย หากสัตว์เลี้ยงผู้ใดทำลายพืชผัก หรือทรัพย์สินของผู้อื่นจะมีโทษปรับดังนี้

    ต้นข้าว 1 กอ ปรับ 5 บาท

    ต้นยาง 1 ต้น ปรับ 100 บาท

    อื่นๆ ปรับ (จะพิจารณาโดยคณะกรรมการหมู่บ้าน)

    • หากมีบุคคลภายนอก เข้ามาพักคืน หรือพักพิงในหมู่บ้าน ต้องแจ้งกำนัน หรือ สภาผู้นำทราบ

    • ให้สมาชิกของชุมชน ทำความสะอาดรอบรั้วบ้านอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง เพื่อสุขภาพครัวเรือนและชุมชน

    • หากคณะกรรมการทำผิดกฎกติกาหมู่บ้าน (ฮูกุมปากัต) จะถูกพิจารณาโดยภาพรวม

     

    20 20

    13. พบปะพี่เลี้ยง

    วันที่ 14 มีนาคม 2558 เวลา 08:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เข้าร่วมการประเมินผลการดำเนินงานจากพี่เลี้ยง สจรส.มอ. พร้อมรับคำแนะนำในการคีย์ข้อมูลและกิจกรรมการดำเนินงานต่างๆเพื่อให้ถูกต้องและสมบูรณ์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. สามารถคีย์ข้อมูลการจัดกิจกรรมได้ถูกต้อง

    2. สามารถเตรียมเอกสารต่างๆเพื่อประกอบการสรุปโครงการได้ถูกต้อง

    3. ได้รับคำแนะนำจากอาจารย์ สจรส.มอ. ในการดำเนินกิจกรรมและคีย์ข้อมูล

     

    2 2

    14. กิจกรรมศาสนบำบัด

    วันที่ 21 มีนาคม 2558 เวลา 08:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วันที่ 21 มีนาคม2558

    1. ลงทะเบียน

    2. เปิดพิธีและกล่าวโอวาทโดยโต๊ะอิหม่ามประจำมัสยิดอุมมุลกุรอ นายอับดุลการิม ดือราแม

    3. จัดกิจกรรม ละลายพฤติกรรม เพื่อทำความรู้จักกัน ระหว่างวิทยากร พี่เลี้ยง และผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกคน

    4. จัดกิจกรรม "รู้จักตน รู้จักเพื่อน รู้จักชุมชน" เพื่อให้เยาวชนสามารถค้นหาจุดมุ่งหมายของชีวิต โดยมีการบูรณาการกับหลักคำสอนของศาสนาอิสลาม

    5. จัดกิจกรรมกียามุลลัยล์ (นอนที่มัสยิด) โดยมีวิทยากร พี่เลี้ยง และโต๊ะอิหม่าม มาเป็นผู้ดำเนินกิจกรรมต่างๆ

    วันที่ 22 มีนาคม2558

    1. จัดกิจกรรม นันทนาการ โดยมีการออกกำลังกายตอนเช้า และออกไปบำเพ็ญประโยชน์รอบๆมัสยิด

    2. จัดกิจกรรม "หัวใจคือที่...หนึ่ง..." มีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นให้มีหัวใจที่เข้มแข็ง เพราะการมีหัวใจที่เข้มแข็งจะสามารถเอาชนะนัฟซูที่ขั่วร้ายและมารร้าย (ชัยฏอน) ได้

    3. จัดกิจกรรมกียามุลลัยล์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลสรุปโดยรวม

    1. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเกิดความสนุกสนานและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมแต่ละกิจกรรมเป็นอย่างดี

    2. เด็กและเยาวชนผู้เข้าร่วมมีการปฏิบัติศาสนกิจ เช่น การละหมาด ด้วยตนเองและตรงต่อเวลามากขึ้น และรู้ถึงความสำคัญของการละหมาด

    วันที่ 1 มีเด็กที่เข้าร่วมกิจกรรมหรือปฏิบัติศาสนกิจไม่ตรงเวลาเฉลี่ย 7 คนต่อกิจกรรม คิดเป็นร้อยละ 20

    วันที่ 2 มีเด็กที่เข้าร่วมกิจกรรมหรือปฏิบัติศาสนกิจไม่ตรงเวลาเฉลี่ย 5 คนต่อกิจกรรม คิดเป็นร้อยละ 14.29

    1. เด็กและเยาวชนมีระเบียบวินัยในการใช้ชีวิตมากขึ้น เช่น ตื่นนอนตี 5 เพื่อละหมาด กินข้าวเช้าทุกๆ 7 โมงของทุกวัน เป็นต้น

    2. เด็กและเยาวชนมีความตระหนักเรื่องความสามัคคีและการทำกิจกรรมเป็นกลุ่ม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปฏิบัติศาสนกิจร่วมกัน (ละหมาดร่วมกัน)

    กิจกรรม "รู้จักตน รู้จักเพื่อน รู้จักชุมชน"

    • เด็กและเยาวชนผู้เข้าร่วม เข้าใจถึงจุดมุ่งหมายของการมีชีวิตอยู่มากขึ้น โดยคิดจากคะแนนบททดสอบ ก่อน-หลัง ได้ผลดังนี้

    บททดสอบก่อนจัดกิจกรรม เด็กผ่านเกณฑ์ คิดเป็นร้อยละ 42.86

    บททดสอบหลังเข้าร่วมเด็กผ่านเกณฑ์ คิดเป็นร้อยละ 80

    กิจกรรม "หัวใจคือที่...หนึ่ง..."

    • เด็กและเยาวชนผู้เข้าร่วมกิจกรรมสามารถเข้าใจและรับรู้ได้ว่า หากหัวใจดี ร่างกายก็จะดีตาม หากหัวใจไม่ดี ร่างกายก็จะร้ายตาม โดยคิดจากคะแนนบททดสอบ ก่อน-หลัง ได้ผลดังนี้

    บททดสอบก่อนจัดกิจกรรม เด็กผ่านเกณฑ์ คิดเป็นร้อยละ 34.29

    บททดสอบหลังเข้าร่วมเด็กผ่านเกณฑ์ คิดเป็นร้อยละ 85.72

     

    45 45

    15. ประชุมสภาผู้นำประเดือนครั้งที่ 4

    วันที่ 10 เมษายน 2558 เวลา 08:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ประธานสภาผู้นำเปิดการประชุมด้วยการกล่าวดุอาเปิดการประชุม

    2. ชี้แจงการดำเนินกิจกรรมในชุมชนที่ผ่านมาพร้อมบทสรุปของกิจกรรม

    3. วิทยากรชี้แจงเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้น และปรึกษาหารือเพื่อการปรับปรุงแก้ไข

    4. ผู้ร่วมประชุมมีการซักถามและร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมดังกล่าว

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. สามารถปรับปรุงแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการจัดกิจกรรม

    2. ชาวบ้านในชุมชนมีความร่วมมือในการจัดกิจกรรมเป็นอย่างดี

    3. ชาวบ้านในชุมชนปฏิบัติตามกฏกติกาหมู่บ้าน

     

    20 20

    16. ศาสนบำบัด

    วันที่ 11 เมษายน 2558 เวลา 08:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • กิจกรรมต่อเนื่องจากวันที่ 21-22 มีนาคม 2558

    วันที่ 11 เมษายน 2558

    1. ออกกำลังกายตอนเช้า และบำเพ็ญประโยชน์ภายในหมู่บ้าน

    2. จัดกิจกรรม " ทำบาป....อัลลอฮฺโกรธน่ะ" มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทราบถึงสิ่งใดที่อัลลอฮฺทรงสั่งใช้หรือสั่งห้าม หากละเมิดแล้วจะมีผลอะไรตามมาทั้งโลกนี้และโลกหน้า

    3. จัดกิจกรรมกียามุลลัยล์

    วันที่ 12 เมษายน 2558

    1. ออกกำลังกายตอนเช้า พร้อมบำเพ็ญประโยชน์

    2. จัดกิจกรรม "ฉันเกลียดยาเสพติด (Kami benci dadah) " โดยเป็นกิจกรรมเชิงปฏิบัติการให้เห็นภัยร้ายของยาเสพติด แสดงสถานการณ์จำลอง พร้อมทั้งให้ดูวิดีโอเกี่ยวโทษของยาเสพติด

    3. จัดกิจกรรมกียามุลลัยล์

    วันที่ 13 เมษายน 2558

    1. ออกกำลังกายตอนเช้า พร้อมบำเพ็ญประโยชน์

    2. จัดกิจกรรม "ขอโทษน่ะ...คำนี้...อัลลอฮฺรัก" มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เห็นถึงความสำคัญของการเตาบัต (การขออภัยโทษจากอัลลอฮฺ) เมื่อทำความผิดใดๆ

    3. จัดกิจกรรมกียามุลลัยล์

    วันที่ 14 เมษายน 2558

    1. ออกกำลังกายตอนเช้า พร้อมบำเพ็ญประโยชน์

    2. จัดกิจกรรม "พ่อแม่รัก...อัลลอฮฺรัก" มีวัตถุประสงค์เพื่อให้รำลึกถึงบุญคุณพ่อแม่ พ่อแม่รักเรา อัลลอฮฺก็รักเรา พ่อแม่โกรธเรา อัลลอฮฺก็โกรธเรา

    3. จัดกิจกรรมกียามุลลัยล์

    วันที่ 15 เมษายน 2558

    1. ออกกำลังกายตอนเช้า พร้อมบำเพ็ญประโยชน์

    2. จัดกิจกรรม "อัลกุรอาน ทางนำชีวิต" มีวัตถุประสงค์เพื่อให้รู้จักอัลกุรอ่าน และรักในการอ่าน/เรียนอัลกุรอ่าน และตระหนักอยู่เสมอว่าการอ่านอัลกุรอ่านจะต้องทำทุกวันเป็นประจำ

    3. จัดกิจกรรมกียามุลัยล์

    วันที่ 16 เมษายน 2558

    1. ออกกำลังกายตอนเช้า พร้อมบำเพ็ญประโยชน์

    2. สรุปบทเรียนจากการจัดกิจกรรมทั้ง 8 วัน

    3. จัดกิจกรรมอำลา

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลสรุปโดยรวม

    1. เด็กและเยาวชนมีความสุขและรู้สึกสนุกกับการได้นอนที่มัยิดกับเพื่อนๆและพี่เลี้ยง สังเกตได้จากพฤติกรรมของเด็ก ไม่มีการงอแงหรือหนีกลับบ้านเทียบกับวันแรกๆที่เริ่มกิจกรรม

    2. เด็กและเยาวชนสามารถทำได้ตามกิจกรรมที่กำหนดได้ครบถ้วนทุกกิจกรรม คิดเป็นร้อยละ 100 (คิดจากการตราปั๊มเข้าร่วมกิจกรรม)

    3. เด็กกลุ่มที่เข้าร่วมโครงการสามารถเป็นตัวแทนของเยาวชนในชุมชน ชักชวนกันออกกำลังกายและทำกิจกรรมกีฬาอื่นๆเพื่อให้ห่างไกลจากยาเสพติด

    4. ทำให้เด็กและเยาวชนใช้เวลาในช่วงปิดเทอมให้เป็นประโยชน์

    5. ทำให้เด็กและเยาวชนรู้สึกว่าตัวเองมีค่าต่อชุมชน สามารถทำประโยชน์ให้แก่ชุมชนได้ผ่านกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์

    6. เด็กและเยาวชนผู้เข้าร่วมมีการปฏิบัติศาสนกิจ เช่น การละหมาด ด้วยตนเองและตรงต่อเวลามากขึ้น และรู้ถึงความสำคัญของการละหมาด

    • วันที่ 3 มีเด็กที่เข้าร่วมกิจกรรมหรือปฏิบัติศาสนกิจไม่ตรงเวลาเฉลี่ย 5 คนต่อกิจกรรม คิดเป็นร้อยละ 14.29

    • วันที่ 4 มีเด็กที่เข้าร่วมกิจกรรมหรือปฏิบัติศาสนกิจไม่ตรงเวลาเฉลี่ย 3 คนต่อกิจกรรม คิดเป็นร้อยละ 8.58

    • วันที่ 5 มีเด็กที่เข้าร่วมกิจกรรมหรือปฏิบัติศาสนกิจไม่ตรงเวลาเฉลี่ย 0 คนต่อกิจกรรม คิดเป็นร้อยละ 0

    • วันที่ 6 มีเด็กที่เข้าร่วมกิจกรรมหรือปฏิบัติศาสนกิจไม่ตรงเวลาเฉลี่ย 0 คนต่อกิจกรรม คิดเป็นร้อยละ 0

    • วันที่ 7 มีเด็กที่เข้าร่วมกิจกรรมหรือปฏิบัติศาสนกิจไม่ตรงเวลาเฉลี่ย 0 คนต่อกิจกรรม คิดเป็นร้อยละ 0

    กิจกรรม "ทำบาป...อัลลอฮฺโกรธน่ะ"

    • เด็กและเยาวชนสามารถแยกแยะได้ว่า สิ่งใดเป็นสิ่งที่อัลลอฮฺสั่งใช้และสิ่งใดเป็นสิ่งต้องห้าม และหากละเมิดจะเกิดสิ่งใดตามมา

    กิจกรรม "ฉันเกลียดยาเสพติด (Kami benci dadah) "

    • เด็กและเยาวชนทราบว่า ยาเสพติดเป็นสิ่งที่ต้องห้ามในอิสลามอย่างชัดเจน และมีบทลงโทษสำหรับคนที่ไปยุ่งเกี่ยวอย่างชัดเจน โดยคิดจากคะแนนบททดสอบ ก่อน-หลัง ได้ผลดังนี้

    บททดสอบก่อนจัดกิจกรรม เด็กผ่านเกณฑ์ คิดเป็นร้อยละ 51.43

    บททดสอบหลังเข้าร่วมเด็กผ่านเกณฑ์ คิดเป็นร้อยละ 91.43

    กิจกรรม "ขอโทษน่ะ...คำนี้...อัลลอฮฺรัก"

    • เด็กและเยาวชนตระหนักถึงความสำคัญของการขออภัยโทษ (เตาบัต) จากอัลลอฮฺ เมื่อเราทำผิดบาปต่อพระองค์ โดยคิดจากคะแนนบททดสอบ ก่อน-หลัง ได้ผลดังนี้

    บททดสอบก่อนจัดกิจกรรม เด็กผ่านเกณฑ์ คิดเป็นร้อยละ 34.13

    บททดสอบหลังเข้าร่วมเด็กผ่านเกณฑ์ คิดเป็นร้อยละ 85.72

    กิจกรรม "อัลกุรอาน ทางนำชีวิต"

    • เด็กและเยาวชนสามารถอ่านอัลกุรอ่านได้ดีขึ้น และให้ความสำคัญต่อการอ่านอัลกุรอ่านมากขึ้น โดยคิดจากคะแนนการอ่านอัลกุรอ่านในแต่ละวัน ก่อนจัดและสิ้นสุดกิจกรรมศาสนบำบัด ได้ผลดังนี้

    ก่อนจัดกิจกรรม เด็กผ่านเกณฑ์ 28.58

    สิ้นสุดกิจกรรมเด็กผ่านเกณฑ์ 71.43

    กิจกรรม "พ่อแม่รัก...อัลลอฮฺรัก"

    • เพิ่มความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างครอบครัว ทำให้เด็กกล้าที่จะแสดงความรักต่อพ่อแม่ กล้าที่จะพูดคุยกับพ่อแม่มากขึ้น รวมทั้งพ่อแม่เองก็เข้าใจลูกหลานมากขึ้น

     

    45 45

    17. ประชุมสภาผู้นำประจำเดือนครั้งที่ 5

    วันที่ 8 พฤษภาคม 2558 เวลา 08:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ประธานสภาผู้นำเปิดการประชุมด้วยการกล่าวดุอาเปิดการประชุม

    2. ชี้แจงการดำเนินกิจกรรมในชุมชนที่ผ่านมาพร้อมบทสรุปของกิจกรรม

    3. วิทยากรชี้แจงเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้น และปรึกษาหารือเพื่อการปรับปรุงแก้ไข

    4. ผู้ร่วมประชุมมีการซักถามและร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมดังกล่าว

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. สามารถปรับปรุงแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการจัดกิจกรรม

    2. ชาวบ้านในชุมชนมีความร่วมมือในการจัดกิจกรรมเป็นอย่างดี

     

    20 20

    18. เรียนทำขนมอัมโปน

    วันที่ 16 พฤษภาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. มีการแนะนำวิทยากรในการสอน คือ นางรอดียะห์ ดือราแม

    2. วิทยากรได้ถ่ายทอดความรู้เชิงทฤษฎีในการทำขนมอัมโปน

    3. วิทยากรสาธิตการทำขนมอัมโปน พร้อมทั้งให้ผู้เข้าร่วมได้ลงมือปฏิบัติด้วยตัวเอง โดยให้มีการจัดกลุ่มระหว่างเด็กและผู้ปกครองเพื่อทำกิจกรรมร่วมกัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • เด็กและผู้ปกครองมีความสนใจที่จะเรียนรู้การทำขนมอัมโปน สังเกตุได้จากกระตือรือร้นในการลงมือทำจริง

    • เด็กและผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เกี่ยวกับการทำขนมอัมโปน คิดเป็นร้อยละ 84

    • เด็กและผู้ปกครองได้มีโอกาสทำกิจกรรมร่วมกัน

     

    50 50

    19. เรียนรู้อาชีพหมอพื้นบ้าน

    วันที่ 17 พฤษภาคม 2558 เวลา 10:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. แนะนำตัววิทยากร พร้อมทั้งวิทยากรเล่าประวัติของตนเองแก่เด็กและผู้เข้าร่วมได้ฟัง

    2. วิทยากรแนะนำวิธีการดูแลร่างกายตามวิธีดั้งเดิม พร้อมส่งเสริมให้เด็กๆออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพราะคนสมัยก่อนไปไหนมาไหนด้วยการเดินเท้าอยู่แล้ว ถือเป็นการออกกำลังกายภายในตัว แต่สมัยนี้ไม่ค่อยมีใครเดิน จึงจำเป็นต้องหาเวลาเพื่อออกกำลังกายบ้าง

    3. กลุ่ม อพส.นำทีมออกกำลังกาย

    4. วิทยากรนำเสนอเรื่องการรักษาตามแบบฉบับหมอพื้นบ้าน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. เด็กและเยาวชน พร้อมผู้ปกครองมีความสนใจในความรู้เรื่องหมอพื้นบ้านเป็นอย่างมาก

    2. กลุ่ม อพส. ได้ทำหน้าที่โดยการนำออกกำลังกาย

    3. เด็กและผู้เข้าร่วมเข้าใจวิธีการดูแลร่างกายและการรักษาแบบหมอพื้นบ้านมากขึ้น คิดเป็นร้อยละ 60

     

    50 50

    20. อบรมฝึกอาชีพช่างไม้

    วันที่ 18 พฤษภาคม 2558 เวลา 13:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. แนะนำตัววิทยากร นายสุชาติ เกตสัตบรรณ พร้อมทั้งวิทยากรเล่าประวัติของตนเองแก่เด็กและผู้เข้าร่วมได้ฟัง

    2. วิทยากรแนะนำวิธีการแกะสลักบานหน้าต่าง การเหลาไม้ การทำเก้าอี้ เตียง เป็นต้น

    3. วิทยากรเปิดโอกาสให้เด็กได้เข้ามาทดลองปฏิบัติจริง เพื่อให้เด็กรู้สึกมีส่วนร่วมและสนุกกับการเรียน

    4. จัดกิจกรรมโหวต "อาชีพในใจฉัน" จาก 3 อาชีพในหมู่บ้าน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. เด็กๆหลายคนมีแนวคิดต่อการประกอบอาชีพของคนในชุมชนที่กว้างขึ้น มีแรงบันดาลใจที่จะประกอบอาชีพที่สุจริต

    2. เด็กๆได้เรียนรู้การประกอบอาชีพที่หลากหลาย ทำให้เด็กสามารถค้นหาตัวเองได้ว่าตนเองชอบหรือถนัดเรื่องใด

    3. เด็กๆรู้สึกสนุกกับการเรียนรู้กับบุคคลจริง ไม่ใช่เรียนรู้แต่ทฤษฎีในหนังสือ ซึ่งจะทำให้เด็กๆจดจำในสิ่งต่างๆได้ดีกว่าการเรียนในหนังสือ

    4. เด็กและผู้เข้าร่วมเรียนรู้การทำบานประตูและเฟอร์นิเจอร์จากไม้มากขึ้น คิดเป็นร้อยละ 90

    5. ผลสรุปโหวตอาชีพในใจฉันจาก 3 อาชีพ ดังนี้

    • อัมโปน 15 คน คิดเป็นร้อยละ 30

    • หมอพื้นบ้าน 10 คน คิดเป็นร้อยละ 20

    • ช่างไม้ 25 คน คิดเป็นร้อยละ50

     

    50 50

    21. อบรมอาชีพ

    วันที่ 23 พฤษภาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วันที่ 23 พฤษภาคม 2558

    1. วิทยากรแนะนำตัวเองแก่เด็กผู้เข้าร่วมโครงการ

    2. วิทยากรอธิบายวิธีการเพาะเห็ดด้วยวิธีต่างๆ

    3. วิทยากรสาธิตการเพาะเห็ด

    4. วิทยากรเปิดโอกาสให้เด็กได้มีส่วนร่วม โดยจัดกลุ่มระหว่างผู้ปกครองกับเด็กให้ช่วยกันเพาะเห็ด และให้กลับไปดูแลต่อที่บ้าน และให้นำผลผลิตมาวางโชว์หรือขายในวันมหกรรมรักษ์สุขภาพ ต้านภัยยาเสพติด ที่จะจัดขึ้น

    วันที่ 24 พฤษภาคม 2558

    1. วิทยากรอธิบายวิธีการทำปุ๋ยชีวภาพ วัตถุดิบและอุปกรณ์ที่ต้องเตรียมว่าประกอบด้วยอะไรบ้าง

    2. วิทยากรสาธิตการทำปุ๋ยชีวภาพ

    3. วิทยากรเปิดโอกาสให้เด็กได้มีส่วนร่วม โดยจัดกลุ่มระหว่างผู้ปกครองกับเด็กให้ช่วยกันทำปุ๋ยชีวภาพ

    วันที่ 25 พฤษภาคม 2558

    1. วิทยากรอธิบายวิธีการติดตายาง วัตถุดิบและอุปกรณ์ที่ต้องเตรียมว่าประกอบด้วยอะไรบ้าง

    2. วิทยากรสาธิตการติดตายาง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. เด็กและเยาวชน รวมทั้งผู้ปกครองผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เรื่องการเพาะเห็ด การทำปุ๋ยชีวภาพ และการติดตายาง
    • เพาะเห็ด คิดเป็นร้อยละ 88.89

    • ทำปุ๋ยชีวภาพ คิดเป็นร้อยละ 66.67

    • การติดตายาง คิดเป็นร้อยละ 71.12

    1. ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถทำอาเป็นอาชีพเสริมได้

    2. ผู้เข้าร่วมโครงการให้ความสนใจกับอาชีพเพาะเห็ดขายเป็นอย่างยิ่ง

    3. การจัดกิจกรรมเป็นกลุ่ม ทำให้เสริมสัมพันธภาพระหว่างผู้ปกครองกับเด็ก ซึ่งจะส่งผลดีต่อความสัมพันธ์ในครอบครัวและการบำบัดป้องกันจากภัยยาเสพติดได้

    4. ผู้ปกครองบางท่านมีความรู้เรื่องการทำปุ๋ยชีวภาพ และการติดตายางบ้างพอสมควร จึงทำให้มีบรรยากาศในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างวิทยากรและผู้ปกครอง ทำให้ผู้ปกครองสามารถนำไปต่อยอดได้ รวมทั้งวิทยากรเองก็ได้รู้ภูมิปัญญาชาวบ้านบางอย่างที่อาจไม่ได้ระบุในทฤษฎี

    5. คะแนนความพึงพอใจต่อกิจกรรมนี้

    • พึงพอใจระดับน้อย คิดเป็นร้อยละ 4.45

    • พึงพอใจระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 13.34

    • พึงพอใจระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 84.45

     

    45 45

    22. ประชุมสภาผู้นำประจำเดือนครั้งที่ 6

    วันที่ 5 มิถุนายน 2558 เวลา 08:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ประธานสภาผู้นำเปิดการประชุมด้วยการกล่าวดุอาเปิดการประชุม

    2. ชี้แจงการดำเนินกิจกรรมในชุมชนที่ผ่านมาพร้อมบทสรุปของกิจกรรม

    3. ผู้ร่วมประชุมมีการซักถามและร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมดังกล่าว

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. ชาวบ้านมีความสนใจในการอบรมดังกล่าวเป็นอย่างมาก และอยากให้มีการจัดอบรมอาชีพเพิ่มขึ้นอีก
    2. มีชาวบ้าน 1 ครอบครัวที่สามารถนำความรู้ที่ได้จากการทำอัมโปนมาประกอบเป็นอาชีพเลี้ยงตัวเองและครอบครัวได้

     

    20 20

    23. จัดกีฬาสี

    วันที่ 6 มิถุนายน 2558 เวลา 08:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วันที่ 6 มิถุนายน 2558

    ภาคเช้า

    1. จัดกิจกรรม " walk rally เดินทางไกล รู้ใจธรรมชาติ" ณ อุทยานแห่งชาติน้ำตกซีโป

    2. แบ่งกลุ่มเด็กและผู้ปกครองออกเป็น 3 กลุ่มละ 15 คน จำนวน 2 กลุ่ม และ 20 คน จำนวน 1 กลุ่ม ด้วยวิธีการหยิบฉลากสีเขียว แดง น้ำเงิน

    ภาคบ่าย

    1. จัดกิจกรรมภาคสนาม จัดแข่งขันกีฬาพื้นบ้าน
    • ปิดตา...จิ้มลูกโป่ง

    • เกมเคาน์เตอร์

    ภาคค่ำ

    1. เปิดพิธีด้วยการอัญเชิญพระคัมภีร์อัลกุรอ่าน โดยเด็กที่เข้าร่วมโครงการ

    2. จัดกิจกรรมภาคเวที โดยมีกิจกรรม ดังนี้

    • อ่านอัลกุรอาน

    • การขับร้องอนาชีด จากเด็กผู้เข้าร่วมโครงการ

    • การแข่งขัน ถาม-ตอบ ปัญหาศาสนา

    • การแสดงละคร บทบาทสมมติ

    วันที่ 7 มิถุนายน 2558

    1.แข่งขันกีฬาพื้นบ้าน

    • แข่งขันขูดมะพร้าว พ่อปอก..ลูกวิ่ง..แม่ขูด

    • เก้าอี้ดนตรี

    2.สรุปรางวัลและมอบของรางวัลแก่ผู้ชนะ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    กิจกรรม walk rally

    • ทำให้เด็กและเยาวชนมีความอดทนมากขึ้น เนื่องจากต้องเดินทางไกลกว่า 2 กิโลเมตร บนทางเดินในป่า

    • ทำให้เด็กได้รู้จักธรรมชาติที่ใกล้ตัว และปลูกจิตสำนึกให้รักธรรมชาติ เพราะป่าผืนนี้คือแผ่นดินของเราที่เราต้องช่วยกันดูแล

    • ทำให้เด็กตระหนักถึงการละหมาด ละหมาดได้ทุกที่แม้อยู่ในป่า

    • ทำให้รู้จักการช่วยเหลือซึ่งกันและกันในยามลำบาก รู้จักการแบ่งปันเสียสละแม้ในยามลำบาก

    กิจกรรมการแข่งขันกีฬาพื้นบ้าน

    • เพิ่มความสัมพันธ์ระหว่างครอบครัว เนื่องจากมีกิจกรรมการแข่งขันระหว่างทีมครอบครัว

    • ทำให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความสนุกสนานและผ่อนคลาย

    • ทำให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมรู้จักการแพ้ การชนะ การให้อภัย

    • ทำให้ผู้เข้าร่วมโครงการรู้จักการทำงานเป็นทีม เช่น การเล่นเคาน์เตอร์เป็นทีม การแข่งขันขูดมะพร้าว

    • เด็กและเยาวชนได้ฝึกทักษะต่างๆ เช่น ทักษะการปาเป้าหมายจากการเล่นเคาน์เตอร์ ทักษะการฟังและปฏิบัติตามคำสั่งจากการเล่นเก้าอี้ดนตรี ทักษะการฟังและการเคลื่อนไหวพร้อมกันจากการเล่นปิดตาจิ้มลูกโป่ง

    กิจกรรมภาคเวที

    • ทำให้เด็กมีความกล้าแสดงออกมากขึ้น ทำให้เด็กมีความมั่นใจในตัวเอง และเห็นความสามารถของตัวเองมากขึ้น

    • ฝึกทักษะการขับร้องอนาชีด

    • ฝึกทักษะการแสดงละคร นอกจากนี้ยังเป็นการนำเสนอบทเรียนแก่เด็กที่ทำให้เด็กจำง่ายมากกว่าการสอนด้วยวาจาเพียงอย่างเดียว

     

    50 50

    24. จัดมหกรรม รักษ์สุขภาพ ต้านภัยยาเสพติด

    วันที่ 13 มิถุนายน 2558 เวลา 08:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วันที่ 13 มิถุนายน 2558

    9.00-9.30 ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม

    9.30-12.00 ตรวจสุขภาพเบื้องต้นโดยทีมจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขประจำโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านซีโป

    ภายในเต้นมีการแสดงนิทรรศการต้านภัยยาเสพติด โดยเด็กผู้เข้าร่วมโครงการจัดบูธ

    สภาผู้นำได้มีมติให้ชาวบ้านออกบูธขายอาหารเพื่อหารายได้เข้ามัสยิดและตาดีกา โดยขอความร่วมมือจากร้านค้าในหมู่บ้านหยุดขาย 1 วัน

    วันที่ 14 มิถุนายน 2558

    8.30-9.00 ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม

    9.00-9.30 เปิดพิธีการด้วยการอัญเชิญพระคัมภีร์อัลกุรอ่านแบบ 3 ภาษา (อาหรับ มลายู ไทย) โดยเด็กผู้เข้าร่วมโครงการ

    9.30-10.00 กล่าวรายงานการจัดกิจกรรมโดย นายอับดุลการิม ดือราแม โต๊ะอิหม่ามประจำมัสยิดอุมมุลกุรอ บ้านตันหยง

    10.00-10.30 เปิดกิจกรรมและให้โอวาท โดย นายปรีชา นวลน้อย นายอำเภอระแงะ

    10.30-11.30 กิจกรรมการแสดงละครประสานเสียง (choral speaking) โดยเด็กผู้เข้าร่วมโครงการ

    11.30-12.30 มอบของรางวัล

    12.30-13.00 ปิดพิธี

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. เด็กผู้เข้าร่วมโครงการได้มีโอกาสแสดงนิทรรศการ และฝึกทักษะในการคิดออกแบบบูธและสรรสร้างสิ่งประดิษฐ์เพื่อให้เกิดความน่าสนใจ

    2. เด็กผู้เข้าร่วมโครงการฝึกทักษะการแสดง choral speaking และฝึกความกล้าแสดงออก

    3. ชาวบ้านให้ความร่วมมือในการเข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้

    4. ผู้นำจากทุกภาคส่วนให้ความสนใจและส่งเสริมการจัดกิจกรรมครั้งนี้

    5. ชาวบ้านได้รับการตรวจสุขภาพเบื้องต้นจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและให้คำปรึกษาเกี่ยวกับสุขภาพและการใช้ยาจากเภสัชกร

    6. ความพึงพอใจในการจัดกิจกรรม จากแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรม

    • ระดับน้อย ร้อยละ 0
    • ระดับปานกลาง ร้อยละ 10
    • ระดับมากร้อยละ 90

     

    75 99

    25. จัดทำรูปภาพกิจกรรมในโครงการ

    วันที่ 21 มิถุนายน 2558 เวลา 08:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    นำรูปภาพไปปริ้นที่ร้านถ่ายเอกสารเพื่อจัดทำรายงาน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้รูปภาพที่นำมาคัดเลือก ก่อนนำไปแนบกับรายงานฉบับสมบูรณ์ ก่อนส่งรายงานให้ สจรส.มอ.

     

    1 1

    26. ประชุมสภาผู้นำประจำเดือนครั้งที่ 7

    วันที่ 10 กรกฎาคม 2558 เวลา 08:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ประธานสภาผู้นำเปิดการประชุมด้วยการกล่าวดุอาเปิดการประชุม

    2. ชี้แจงการดำเนินกิจกรรมในชุมชนที่ผ่านมาพร้อมบทสรุปของกิจกรรม

    3. ผู้ร่วมประชุมมีการซักถามและร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมดังกล่าว

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. จากการที่ชาวบ้านได้ออกร้านเพื่อหารายได้เข้ามัสยิด ซึ่งเป็นศูนย์กลางของชุมชน ทำให้ชาวบ้านมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันมากขึ้น

    2. ชาวบ้านให้ความร่วมมือในการจัดกิจกรรมเป็นอย่างดี

    3. ชาวบ้านมีความสามัคคีกัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน โดยจะเห็นประโยชนฺของส่วนรวมเป็นหลัก

    4. ชาวบ้านปฏิบัติตามกฏกติกาของหมู่บ้านที่ตั้งไว้อย่างเคร่งครัด แต่หากมีปัญหาอะไรที่ขัดข้อง เช่น หากไม่สามารถละหมาดวันศุกร์ในหมู่บ้านได้ก็จะแจ้งโต๊ะอิหม่ามซึ่งถือว่าเป็นประธานสภาผู้นำให้รับทราบ

     

    20 20

    27. ประชุมสภาผู้นำประจำเดือนครั้งที่ 8

    วันที่ 7 สิงหาคม 2558 เวลา 08:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ประธานสภาผู้นำเปิดการประชุมด้วยการกล่าวดุอาเปิดการประชุม

    2. ชี้แจงการดำเนินกิจกรรมในชุมชนที่ผ่านมาพร้อมบทสรุปของกิจกรรม

    3. ผู้ร่วมประชุมมีการซักถามและร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมดังกล่าว

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ชาวบ้านมีความต่อเนื่องในการดำเนินกิจกรรม เช่น กลุ่มอพส.มีการนำชาวบ้านออกกำลังกายในตอนเย็น

    • จากการออกร้านขายของเพื่อหารายได้เข้ามัสยิดในงานมหกรรม ทำให้ชาวบ้านมีมติกันว่าทุกๆวันเสาร์แรกของเดือนจะมีการออกร้านเพื่อหารายได้เข้ามัสยิด และขอความร่วมมือจากร้านค้าในหมู่บ้านปิดร้านในวันนั้นและมาช่วยหากันขายของ ซึ่งชาวบ้านให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี

     

    20 20

    28. พบปะพี่เลี้ยง

    วันที่ 21 สิงหาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • พบปะพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องการคีย์ข้อมูลเข้าเว็ปไซด์

    • ปรึกษาปัญหาเกี่ยวกับการลงบันทึกการเงินประจำวัน และการเตรียมเอกสารทางการเงิน 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ทำให้การทำรายงานตรงตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ และไม่หลุดออกนอกประเด็น

    • ทำให้การคีย์ข้อมูลง่าย และใช้คำพูดที่เข้าใจง่าย ตรงประเด็น

    • ทำให้การเตรียมเอกสารทางการเงินถูกต้องตามหลักเกณฑ์ของ สจรส.กำหนด

     

    2 2

    29. จัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์

    วันที่ 22 สิงหาคม 2558 เวลา 08:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ทำรายงานร่วมกับพี่เลี้ยง โดยสรุปการทำกิจกรรมและรายงานผลในเวบไซต์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ทำรายงานกิจกรรมเสร็จ และส่งให้พี่เลี้ยงเพื่อขอคำแนะนำก่อนส่งรายงานให้ สจรส.มอ.

     

    4 2

    30. เข้าร่วมและแสดงนิทรรศการ เสริมพลังร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่ ความมั่นคงทางสุขภาวะ วาระสร้างสุขของคนใต้ ปี 2558

    วันที่ 4 กันยายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ขั้นเตรียมงาน

    • จัดทำไวนิลเพื่อจัดบูธ

    วันที่ 4 กันยายน 2558

    1. เตรียมงานและจัดนิทรรศการ

    2. เข้าร่วมชมการแสดงศิลปวัฒนธรรม : ลิเกฮูลู มโนราห์

    3. เข้าร่วมรับฟังการเสวนาเรื่อง พลังเครือข่ายสุขภาพภาคใต้เพื่อการขับเคลื่อนประเทศไทย หัวข้อ บทบาทเครือข่ายสุขภาพต่อการทำให้ชุมชนภาคใต้เข้มแข็ง อันเป็นฐานรากของการแก้วิกฤตและการพัฒนาภาคใต้ และหัวข้อการเสริมสร้างพลังอำนาจของเครือข่ายสุขภาพภาคใต้ โดยนายประยงค์ รณรงค์ อาจารย์สุกรี หลังปูเต๊ะ และนายบรรจง นะแส

    4. เข้าร่วมกิจกรรม วงปัญญาสัมนาเชิงวิชาการ โดยเข้าห้องย่อยที่ 1 ความมั่นคงด้านสุขภาพ

    5. เข้าร่วมกิจกรรมลานปัญญาสร้างสุข เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้

    วันที่ 5 กันยายน 2558

    1. เข้าร่วมกิจกรรมลานปัญญาสร้างสุข

    2. เข้าร่วมรับฟังการเสวนาหัวข้อ การออกแบบกลไกและทิศทางการทำงานร่วมกันของเครือข่ายสุขภาพภาคใต้

    3. เข้าร่วมรับฟังการเสวนาย่อย หัวข้อ พัฒนาการเครือข่ายที่จะก้าวเดินต่อไปและกลไกที่เป็นกลไกเสริมพลังอำนาจของชุมชน โดยเข้าห้องย่อยที่ 1 ชุมชนน่าอยู่

    วันที่ 6 กันยายน 2558

    1. เข้าร่วมกิจกรรมลานปัญญาสร้างสุข

    2. เข้าร่วมรับฟังข้อสรุปห้องย่อยต่างๆ

    3. เข้าร่วมรับฟังเสวนาเรื่อง สานงานเสริมพลังอย่างสร้างสรรค์

    4. พิธีปิด

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. ทำให้ได้เรียนรู้จากพื้นที่อื่นๆว่ามีการทำกิจกรรมหรือโครงการใดบ้างเพื่อให้เกิดชุมชนที่น่าอยู่

    2. ทำให้ได้เรียนรู้ว่าอีกหลายๆอย่างที่เรายังสามารถพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็ง และไม่เกินความสามารถของคนในชุมชน ดูได้จากกิจกรรมที่ชุมชนสามารถทำได้

    3. ทำให้ทราบถึงกลไกและการออกแบบวางแผนเพื่อให้ชุมชนมีการพัฒนาที่ยั่งยืนและสามารถพึ่งพาตัวเองได้

    4. ทำให้เข้าใจบทบาทของ สสส และวัตถุประสงค์ ยุทธศาสตร์ของ สสส เกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพ

     

    2 2

    31. ประชุมสภาผู้นำประจำเดือนครั้งที่ 9

    วันที่ 11 กันยายน 2558 เวลา 08:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ประธานสภาผู้นำเปิดการประชุมด้วยการกล่าวดุอาเปิดการประชุม

    2. ชี้แจงการดำเนินกิจกรรมในชุมชนที่ผ่านมาพร้อมบทสรุปของกิจกรรม

    3. ผู้ร่วมประชุมมีการซักถามและร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมดังกล่าว

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ที่ประชุมมีมติให้มีการออกร้านขายของเพื่อหารายได้เข้ามัสยิดสัปดาห์ละ 2 ครั้ง โดยจัดให้เป็นวันเสาร์ และมีการแบ่งเวรกันขายของเป็นแต่ละครอบครัว โดยเน้นความสมัครใจ ส่วนครอบครัวใดที่ไม่มีเวรก็ให้ไปช่วยกันตระเตรียม

     

    20 20

    32. ประชุมสภาผู้นำประจำเดือนครั้งที่ 10

    วันที่ 9 ตุลาคม 2558 เวลา 08:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ประธานสภาผู้นำเปิดการประชุมด้วยการกล่าวดุอาเปิดการประชุม

    2. ชี้แจงผลการดำเนินการออกร้านเพื่อหารายได้เข้ามัสยิด

    3. ผู้ร่วมประชุมมีการซักถามและร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมดังกล่าว

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • การออกร้านเพื่อหารายได้เข้ามัสยิด ได้ผลดีเกินความคาดหวังของชาวบ้าน ทำให้ชาวบ้านมีกำลังใจที่จะทำเพื่อส่วนรวมต่อไป

    • ชาวบ้านยังคงปฏิบัติตามกฏกติกาของหมู่บ้านอย่างเคร่งครัด

    • กลุ่มอพส.ยังมีการออกกำลังกายแก่ชาวบ้านทุกๆสัปดาห์ โดยใช้ลานของมัสยิดเป็นจุดศูนย์รวม

     

    20 20

    33. พบปะพี่เลี้ยงสจรส.

    วันที่ 7 พฤศจิกายน 2558 เวลา 08:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • พบปะพี่เลี้ยงจาก สจรส. เพื่อตรวจสอบหลักฐานทางการเงินและการคีย์ข้อมูลทางเว็บไซต์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ตรวจสอบหลักฐานทางการเงิน และรับรู้ส่วนที่ต้องแก้ไข

    • เพิ่มเติมข้อมูลอื่่นๆ เพื่อการทำรายงานที่สมบูรณ์

     

    2 2

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

     

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 เพื่อให้เด็กและเยาวชนในชุมชนมีความรู้เรื่องยาเสพติดและหลักคำสอนของศาสนาว่าด้วยยาเสพติดและนำไปประพฤติปฏิบัติได้ถูกต้อง รวมทั้งคนในชุมชนมีส่วนร่วมในการควบคุมและป้องกันยาเสพติด
    ตัวชี้วัด : เชิงปริมาณ 1.เด็กและเยาวชนที่เข้าร่วมกิจกรรมร้อยละ 80 มีความรู้เรื่องยาเสพติดและหลักคำสอนของศาสนาว่าด้วยยาเสพติด 2.จัดตั้งเครือข่ายในชุมชนอย่างน้อย 1 เครือข่ายในการควบคุมและป้องกันยาเสพติดแบบบูรณาการ 3.ชุมชนมีข้อมูลทั่วไปของชุมชน สถานการณ์ยาเสพติด ภูมิปัญญาชุมชน ข้อมูลความต้องการของชุมชน 4.มีกฏกติกาของหมู่บ้านในการควบคุมและป้องกันยาเสพติดที่ทุกคนยอมรับและนำไปปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง 5.มีหลักสูตรการแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชนโดยชุมชนจัดทำขึ้นเอง 1 หลักสูตร 6.เด็กและเยาวชนติดสารเสพติดรายใหม่ไม่เกินร้อยละ 10 เชิงคุณภาพ 1.เด็กและเยาวชนสามารถนำหลักคำสอนของศาสนาไปประพฤติปฏิบัติในการดำเนินชีวิตได้อย่างต่อเนื่อง 2.เยาวชนได้เรียนรู้การเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล สร้างความสัมพันธ์กับชุมชน ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ เกิดความภาคภูมิใจในตนเอง สร้างความตระหนักต่อข้อมูลนำไปสู่การแก้ไขปัญหาและพัฒนาชุมชน 3.ร้อยละ 80 ของครอบครัวหรือหลังคาเรือนมีการปฏิบัติตามกฏกติกาของหมู่บ้าน

    เชิงปริมาณ

    1.เด็กและเยาวชนที่เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้เรื่องยาเสพติด ร้อยละ 95 และสามารถเป็นตัวแทนของเยาวชนในชุมชนในการเป็นกระบอกเสียงการป้องกันยาเสพติด

    2.เกิดสภาผู้นำชุมชนที่ประกอบด้วยสมาชิกจากหลายส่วน เช่น ผู้นำศาสนา ผู้นำชุมชน อบต. ชรบ. อสม. กลุ่มสตรี นอกจากนี้ยังมีเครือข่าย อพส. ซึ่งจะประกอบด้วยเยาวชนที่เข้าร่วมโครงการเป็นกลุ่มที่เชิญชวนให้คนในชุมชนรักสุขภาพเพื่อให้ห่างไกลจากยาสเพติด

    3.มีกฏกติกาของหมู่บ้านในการควบคุมและป้องกันยาเสพติด 1 เรื่อง คือ หากเยาวชนหรือคนในชุมชนคนใดขายหรือเสพหรือเกี่ยวข้องกับยาเสพติด จะตักเตือนทั้งผู้ปกครองและเยาวชน 3 ครั้ง หากยังปฏิบัติเช่นเดิม จะส่งดำเนินคดีตามกฏหมาย

    4.จัดทำหลักสูตร "คืนคนดีสู่บ้านตันหยง" ซึ่งเป็นหลักสูตรในการแก้ไขปัญหายาเสพติดที่ชุมชนร่วมกันจัดทำขึ้น

    5.ไม่มีเด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติดรายใหม่ตลอดระยะเวลาการจัดโครงการ

    เชิงคุณภาพ

    1.เด็กและเยาวชนปฏิบัติตามหลักคำสอนศาสนาอย่างต่อเนื่อง

    2.ร้อยละ 90 ของครัวเรือนในชุมชนปฏิบัติตามกฏกติกาของหมู่บ้านอย่างสม่ำเสมอ

    3.เด็กและเยาวชนในชุมชนตระหนักในการแก้ไขปัญหายาเสพติดและใช้เวลาว่างในการทำประโยชน์แก่ชุมชน

    2 เพื่อให้เด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติดในชุมชนได้รับการบำบัดและดูแล
    ตัวชี้วัด : เชิงปริมาณ 1.เด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติดร้อยละ 80 ได้รับการบำบัดและดูแล 2.เยาวชนได้เรียนรู้การประกอบอาชีพและภูมิปัญญาชุมชน มีความเข้าใจและมีทักษะ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ประโยชน์กับตนเองและครอบครัวได้ เชิงคุณภาพ 1.สมาชิกในครัวเรือนปฏิบัติตามมาตรการทางสังคมและศาสนาหรือข้อตกลงร่วมกันของหมู่บ้านในการควบคุมและป้องกันยาเสพติดอย่างสม่ำเสมอ 2.ชุมชนเกิดความสัมพันธ์ที่ดี ความรัก สามัคคี รู้จักให้อภัยและมีน้ำใจ 3.เยาวชนและผุ้ปกครองได้เรียนรู้และเข้าใจภูมิปัญญาและการประกอบอาชีพ สามารถนำมาประยุกต์ใช้ทำกิจกรรมในครอบครัวและชุมชนเกิดความภาคภูมิใจและสืบทอดภูมิปัญญาชุมชน

    เชิงปริมาณ

    1. เยาวชนที่เสพสารเสพติดได้รับการบำบัดร้อยละ 80 คือ 24 คน

    2. เยาวชนได้เรียนรู้การประกอบอาชีพและภูมิปัญญาชุมชน โดยสามารถนำไปประกอบอาชีพได้จริง 2 ราย

    เชิงคุณภาพ

    1. สมาชิกในครัวเรือนปฏิบัติตามกฏกติกาของหมู่บ้านอย่างสม่ำเสมอ

    2.ชุมชนเกิดความรัก ความสามัคคี และมีน้ำใจช่วยเหลือซึ่งกันและกันมากขึ้น

    3 เพื่อจัดตั้งสภาผู้นำชุมชนขับเคลื่อนการทำงานในชุมชนอย่างต่อเนื่อง
    ตัวชี้วัด : 1.มีสภาผู้นำชุมชนจำนวน 1 กลุ่ม เป็นผู้ขับเคลื่อนการทำงานโครงการ แก้ปัญหาและพัฒนาชุมชนอย่างต่อเนื่อง
    1. มีสภาผู้นำที่เข้มแข็งและสามารถขับเคลื่อนกิจกรรมต่างๆของชุมชนได้ รวมทั้งการแก้ปัญหายาเสพติดได้อย่างต่อเนื่อง
    4 ติดตามสนับสนุนจากสสส.สจรส. และพี่เลี้ยง
    ตัวชี้วัด : เข้าร่วมกิจกรรมกับ สจรส.ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของจำนวนครั้งที่จัด มีภาพถ่ายทุกกิจกรรม มีป้ายปลอดบุหรี่ที่สถานที่จัดประชุม ส่งรายงานภายในระยะเวลาที่กำหนด

    เข้าร่วมทุกครั้งที่ สจรส.จัดกิจกรรม และส่งรายงานภายในระยะเวลาที่กำหนด แต่มีการปรับปรุงแก้ไข จึงอาจทำรายงานฉบับสมบูรณ์ล่าช้า

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้เด็กและเยาวชนในชุมชนมีความรู้เรื่องยาเสพติดและหลักคำสอนของศาสนาว่าด้วยยาเสพติดและนำไปประพฤติปฏิบัติได้ถูกต้อง รวมทั้งคนในชุมชนมีส่วนร่วมในการควบคุมและป้องกันยาเสพติด (2) เพื่อให้เด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติดในชุมชนได้รับการบำบัดและดูแล (3) เพื่อจัดตั้งสภาผู้นำชุมชนขับเคลื่อนการทำงานในชุมชนอย่างต่อเนื่อง (4) ติดตามสนับสนุนจากสสส.สจรส. และพี่เลี้ยง

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    ส่วนที่ 3 ประเมินคุณค่าโครงการ

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ

    ชื่อโครงการ นำคุณธรรม ลดอบายมุข คืนสันติสุขสู่บ้านตันหยง

    รหัสโครงการ 57-02542 รหัสสัญญา 58-00-0150 ระยะเวลาโครงการ 1 พฤศจิกายน 2557 - 30 พฤศจิกายน 2558

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นการคุณค่าที่เกิดจากโครงการในมิติต่อไปนี้

    • ความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพและนวัตกรรมเชิงระบบสุขภาพชุมชน
    • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีผลต่อสุขภาวะ
    • การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ
    • ผลกระทบเชิงบวกและนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาวะชุมชน
    • กระบวนการชุมชน
    • มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่

    1. เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้ใหม่ / องค์ความรู้ใหม่

    ชุมชนได้กำหนดหลักสูตรในการแก้ไขและบำบัดผู้ที่ติดสารเสพติดระกับเบื้องต้น 1 หลักสูตร คือ หลักสูตร"คืนคนดีสู่บ้านตันหยง"

    บันทึกการประชุม/หลักสูตร

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สิ่งประดิษฐ์ / ผลผลิตใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. กระบวนการใหม่

    ใช้กระบวนการเรียนรู้โดยให้เยาวชนร่วมกับผู้ปกครองเป็นแกนนำและขับเคลื่อนโดยผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนาร่วมกับครูตาดีกา

    จากผลการดำเนินงาน

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. วิธีการทำงาน / การจัดการใหม่

    เกิดโครงสร้างชุมชนที่มีความหลากหลายมากขึ้น เช่นผู้นำชุมชน กรรมการหมู่บ้าน อบต.ผู้นำศาสนา ชรบ. อสม. กลุ่มสตรี/แม่บ้าน ครูตาดีกา/ข้าราชการ และกลุ่มผู้ปกครองในพื้นที่ผู้นำท้องถิน อพส. มีกรพบปะทุก 3 เดือน

    บันทึกการประชุม

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การเกิดกลุ่ม / โครงสร้างในชุมชนใหม่

    จัดตั้งคณะกรรมการสภาผู้นำ และตั้งชื่อว่า กลุ่มฟัจญ์รุน (รุ่งอรุณแห่งอิสลาม)ประกอบด้วยบุคคลในชุมชนจากหลายภาคส่วน เพื่อให้เกิดเครือข่ายและความร่วมมือร่วมใจจากทุกหน่วยงาน โดยมี นายอับดุลการิม ดือราแม ซึ่งเป็นอิหม่ามประจำมัสยิดอุมมุลกุรอ บ้านตันหยง เป็นประธานสภาผู้นำ เนื่องจากเป็นผู้ที่สมาชิกในชุมชนให้ความเคารพนับถือ และมักเป็นที่พึ่งให้แก่คนในชุมชนได้

    บันทึกการประชุม

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. แหล่งเรียนรู้ใหม่

    แหล่งเรียนรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่น ในชุมชน ในเรื่องการติดตายางพารา

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    99. อื่นๆ

     

     

     

    2. เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การบริโภค

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การออกกำลังกาย

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. การลด ละ เลิก อบายมุข เช่น การพนัน เหล้า บุหรี่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การลดพฤติกรรมเสี่ยง เช่น พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การขับรถโดยประมาท

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. การจัดการอารมณ์ / ความเครียด

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. การดำรงชีวิต / วิถีชีวิต เช่น การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น / สมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเอง

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    8. พฤติกรรมการจัดการตนเอง ครอบครัว ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    9. อื่นๆ

     

     

     

    3. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. กายภาพ เช่น มีการจัดการขยะ ป่า น้ำ การใช้สารเคมีเกษตร และการสร้างสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนที่ถูกสุขลักษณะ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สังคม เช่น มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ลดการเกิดอุบัติเหตุ ครอบครัวอบอุ่น การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อเด็ก เยาวชน และกลุ่มวัยต่าง ๆ มีพื้นที่สาธารณะ/พื้นที่ทางสังคม เพื่อเอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชน มีการใช้ศาสนา/วัฒนธรรมเป็นฐานการพัฒนา

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. เศรษฐกิจสร้างสรรค์สังคม /สร้างอาชีพ / เพิ่มรายได้

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการบริการสุขภาพทางเลือก และมีช่องทางการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. อื่นๆ

     

     

     

    4. การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. มีกฎ / กติกา ของกลุ่ม ชุมชน

    มีการกฏกติการหมู่บ้าน (ฮุกมปากัติ) 1 ฉบับ

    เอกสารบันทึกกฏกติกา

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. มีมาตรการทางสังคมของกลุ่ม ชุมชน

    ฮุกมปากัต (กฎกติกา)และค่านิยมร่วมของประชาชนในหมู่บ้านตันหยง โดยเน้นเรื่องของการละหมาด การทำโทษกรณีีลักขโมย การเลี้ยงสัตร์เลี้ยง และการรักษาความสะอาดของบ้านเรือน ทั้งนี้ยังไม่พบว่ามีการละเมิด ฮุกมปากัตในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมา

    เอกสารบันทึกการประชุม

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. มีธรรมนูญของชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. อื่นๆ เช่น ออกเป็นข้อบัญญัติท้องถิ่น ฯลฯ

     

     

     

    5. เกิดกระบวนการชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. เกิดการเชื่อมโยงประสานงานระหว่างกลุ่ม / เครือข่าย (ใน และหรือนอกชุมชน)

    เครือข่าย 4 เสาหลัก

    จากผลการดำเนินงานโครงการ มีการร่วมือกันทั้งภาคส่วนชุมชน อบต. ผู้นำชุมชน และทหาร

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเรียนรู้การแก้ปัญหาชุมชน (การประเมินปัญหา การวางแผน การปฏิบัติการ และการประเมิน)

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ประโยชน์จากทุนในชุมชน เช่น การระดมทุน การใช้ทรัพยากรบุคคลในชุมชน

    การให้ความรู้เรื่องเสริมอาชีพ ช่างไ้ม้ การเพาะเห็ด การติดตามยาง โดยใช้วิทยากรในชุมชุน

    จากผลการดำเนินงาน

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกลุ่มและชุมชนที่เกิดจากโครงการอย่างต่อเนื่อง

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. เกิดกระบวนการจัดการความรู้ในชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. เกิดทักษะในการจัดการโครงการ เช่น การใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ การทำแผนปฏิบัติการ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. อื่นๆ

     

     

     

    6. มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเอง / กลุ่ม / ชุมชน

    การเพาะเห็ด การทำปุ๋ยชีวภาพ และการติดตายางโดยเฉพาะการติดตายางส่วนใหญ่เป็นประสพการตรงที่ ชุมชนนำมาถ่ายทอด

    จากผลการดำเนินงาน

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเห็นประโยชน์ส่วนรวมและส่วนตนอย่างสมดุล

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย และพอเพียง

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. ชุมชนมีความเอื้ออาทร

    ไม่เกิดปัญหาการลักขโมยในชุมชน มีการช่วยเหลือในการพัฒนาความสะอาดหมู่บ้าน มัสยิด อย่างสม่ำเสมอ

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. มีการตัดสินใจโดยใช้ฐานปัญญา

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. อื่นๆ

     

     

     

    นำคุณธรรม ลดอบายมุข คืนสันติสุขสู่บ้านตันหยง จังหวัด นราธิวาส

    รหัสโครงการ 57-02542

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นายมุมิน ดือราแม )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด