แบบประเมินผลการดำเนินงาน (Performance/Product Evaluation)

 เป้าประสงค์หรือวัตถุประสงค์/ตัวชี้วัด(Indicator)สถานการณ์เป้าหมายผลผลิต
(Output)
ผลลัพธ์
(Outcome)
ผลกระทบ
(Impact)
อธิบายข้อสังเกตที่สำคัญ
1 เพื่อส่งเสริมให้คนในชุมชนดูแลสุขภาพตนเอง คนในครอบครัว และรักษาโรคเบื้องต้นด้วยการแพทย์แผนไทยและการสมุนไพรที่มีในชุมชน
ตัวชี้วัด : เชิงปริมาณ 1.1 ร้อยละ 70 ของจำนวนประชากร มีความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพตนเองและรักษาโรคเบื้องต้นด้วยการแพทย์แผนไทยและสมุนไพรในชุมชน 1.2 ร้อยละ 50 ของจำนวนประชากร สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ด้วยหลัก 3อ. 2ส. ด้วยการแพทย์แผนไทย 1.3 ร้อยละ 70 ของจำนวนครัวเรือน 152 ครัวเรือน มีการปลูกสมุนไพรไว้ใช้ในการดูแลสุขภาพอย่างน้อยครัวเรือนละ 5 ชนิด 1.4 สามารถสร้างนวัตกรรมในการดูแลสุขภาพด้วยสมุนไพรได้อย่างน้อย 2 ชิ้น เชิงคุณภาพ 1.1 คนในชุมชนมีความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพด้วยเบื้องต้น และสามารถนำความรู้ที่ได้มาใช้ในการดูแลสุขภาพตนเองและคนในครัวเรือน 1.2 คนในชุมชนที่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง โรคเกี่ยวกับระบบกล้ามเนื้อ ได้รับการการส่งเสริมการดูแลสุขภาพด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยและสมุนไพรที่มีในชุมชน 1.3 คนในชุมชนสามารถลดค่าใช้จ่ายในดูแลรักษาโรคเรื้อรัง โรคระบบกล้ามเนื้อ และโรคทั่วไปได้ด้วยการใช้แพทย์แผนไทยและสมุนไพรในการดูแลสุขภาพ

 

 

เชิงปริมาณ

  1. ร้อยละ 80 ของจำนวนประชากร กลุ่มเป้าหมาย 100 คน คือ 80 คน มีความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพตนเองและการรักษาโรคเบื้องต้นด้วยการแพทย์แผนไทยและสมุนไพร โดยผ่านการอบรมจากวิทยากรที่มีความรู้ และการเข้าร่วมกิจกรรมเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ โดยใช้แบบทดสอบก่อนและหลังการอบรมให้ความรู้
  2. ร้อยละ 60 ของจำนวนประชากร กลุ่มเป้าหมาย 120 คน คือ 60 คน สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ด้วยหลัก 3อ. 2ส. ด้านการแพทย์แผนไทย โดยสำรวจจากการบันทึกผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการออกกำลังกาย และการกิน
  3. ร้อยละ 80 ของจำนวนครัวเรือน กลุ่มเป้าหมาย 152 ครัวเรือน คือ 122 ครัวเรือน มีการปลูกสมุนไพรไว้ใช้ในการดูแลสุขภาพอย่างน้อยครัวเรือนละ 5 ชนิด เช่น ตะไคร้ ข่า พริก กระเพรา โหระพา ขมิ้น ใบมะกรูด โดยให้ อสม. ที่รับผิดครัวเรือนเป็นผู้สำรวจ
  4. ชุมชนสามารถสร้างนวัตกรรมในการดูแลสุขภาพด้วยการแพทย์แผนไทยจำนวน 3 ชิ้น โดยการประกวดนวัตกรรมส่งเสริมสุขภาพ ดังนี้
  • เก้าอี้มหัศจรรย์ : แก้อาการปวดหลัง
  • ปลอดภัยเมื่อใช้ถุง : ถุงทรายบริหารเข่า ลดอาการปวดเข่าในผู้สูงอายุ
  • เก้าอี้นวดหลัง : เก้าอี้กะลามะพร้าวลดอาการปวดหลัง

เชิงคุณภาพ

  1. คนในชุมชนมีความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพด้วยเบื้องต้น ด้วยการนำสมุนไพรมาใช้ในการดูแลสุขภาพตนเองและคนในครัวเรือน และยึดหลักกินปลาเป็นหลัก กินผักเป็นยา
  2. คนในชุมชนที่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง โรคเกี่ยวกับระบบกล้ามเนื้อ ได้รับการการส่งเสริมการดูแลสุขภาพด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย เช่น การนวดไทย การประคบสมุนไพร และการอบไอบ้ำสมุนไพร
  3. โรคทั่วไปได้ด้วยการใช้แพทย์แผนไทยและสมุนไพรในการดูแลสุขภาพ
2 เพื่อสร้างอาสาสมัครดูแลสุขภาพคนในชุมชนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน (จิตอาสา)
ตัวชี้วัด : เชิงปริมาณ 2.1 เกิดอาสาสมัครดูแลสุขภาพคนในชุมชน เพิ่มขึ้นอย่างน้อย 30 คน 2.2 อาสาสมัครดูแลสุขภาพที่มีอยู่เดิม (อสม. จำนวน 16 คน) มีทักษะในการดูแลสุขภาพผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และโรคระบบกล้ามเนื้อได้ (ทักษะการนวดและการประคบสมุนไพร ทักษะการดูแลบำบัดผู้ป่วยติดเตียง) เชิงคุณภาพ 2.1 อาสาสมัครดูแลสุขภาพสามารถนำความรู้ด้านการส่งเสริมการดูแลสุขภาพด้านการแพทย์แผนไทยและสมุนไพร ไปใช้ในการดูแลสุขภาพตนเอง ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และโรคระบบกล้ามเนื้อได้ชุมชน 2.2 อาสาสมัครดูแลสุขภาพสามารถลงติดตาม เยี่ยมบ้าน การฟื้นฟูกายภาพบำบัดผู้ป่วยติดเตียง อย่างทั่วถึงและครอบคลุมทั้งชุมชน 2.3 สามารถสร้างอาสาสมัครที่ทำหน้าสร้างเสริมสุขภาพแทนการซ่อมแซมสุขภาพของคนในชุมชนได้

 

 

เชิงปริมาณ

  1. เกิดอาสามัครดูแลสุขภาพคนในนชุมชน จำนวน 30 คน เยาวชน จำนวน 10 คน ประชาชนจิตอาสา 20 คน
  2. อสม. 16 คน มีทักษะในการนวด ประคบสมุนไพร ดูแลสุขภาพผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และทำหน้าที่สร้างเสริมสุขภาพแทนการซ่อมแซมสุขภาพของคนในชุมชน

เชิงคุณภาพ

  1. อาสาสมัครดูแลสุขภาพสามารถนำความรู้ด้านการส่งเสริมการดูแลสุขภาพด้านการแพทย์แผนไทยและสมุนไพร ไปใช้ในการดูแลสุขภาพตนเอง ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และโรคระบบกล้ามเนื้อได้ชุมชน โดยกิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อนติดตามเยี่ยมผู้ป่วยที่บ้าน
  2. อาสาสมัครดูแลสุขภาพสามารถลงติดตาม เยี่ยมบ้าน การฟื้นฟูกายภาพบำบัดผู้ป่วยติดเตียง อย่างทั่วถึงและครอบคลุมทั้งชุมชน
  3. สามารถสร้างอาสาสมัครที่ทำหน้าสร้างเสริมสุขภาพแทนการซ่อมแซมสุขภาพของคนในชุมชนได้
3 เพื่อสนับสนุนและติดตามโครงการ
ตัวชี้วัด : - รายงานผลการดำเนินงานโครงการ - รายงานการเงิน

 

 

ผลที่ได้รับจากการดำเนินงานโครงการฯ

  • คน : คนในชุมชนมีความรู้เรื่องการดูแลสุขาภาพเบื้องต้นด้วยตนเองและสามารถนำความรู้มาใช้ในการดูแลสุขภาพตนเองและคนในครอบครัวได้

  • กลไก : ในชุมชนมี ภาคีเครือข่ายที่เข้มแข็ง มีกระบวนการทำงานเป็นทีม เสียลสะ มีการวางแผน การแก้ไขปัญหาที่ดี และมีความคิดริเริ่มใหม่ๆ อยู่เสมอ

  • สิ่งแวดล้อม :มีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นในชุมชน ดังนี้

  1. มีศูนย์ ศสมช. ที่ให้ความรู้ ให้บริการนวด ประคบ และอบสมุนไพร และจำหน่ายผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อสุขภาพ
  2. มีสวนสมุนไพรเพื่อสร้างการเรียนรู้ประโยชน์ของสมุนไพรในชุมชน เพาะชำต้นกล้าสมุนไพรเพื่อแจกให้กับคนในชมุชน
  3. มีลานนวดฝ่าเท้าเพื่อสุขภาพลดอาการเท้าชาในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง บรรเทาอาการปวดหลัง และอาการปวดมึนศีรษะ

รายงานการเงิน

  • ได้รับทุนสนับสนุน จำนวน 205,150 บาท ใช้ไป 204,926 บาท