assignment
บันทึกกิจกรรม
ตรวจสอบเอกสารการเงินและการจัดทำรายงาน11 พฤศจิกายน 2558
11
พฤศจิกายน 2558รายงานจากพื้นที่ โดย nannza123
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อการจัดทำเอกสารการเงิน การจัดทำรายงาน และการเขียนรายงานโครงการฯ ได้อย่างถูกต้อง
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ตรวจสอบเอกสารการเงินโครงการฯ
  2. ตรวจสอบการงานการเงิน
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้นำเอกสารการเงินโครงการฯ ให้พี่เลี้ยง ที่ มอ.สุราษฎณ์ธานี ตรวจสอบความถูกต้อง ก่อนจัดส่งให้ สจรส. มอ. จากการตรวจสอบเอกสารทางการเงิน และตรวจสอบการรายงานการเงินพบว่า ยังมีความผิดพลาด จึงได้รับคำแนะนำจากพี่เลี้ยง เพื่อนำไปปรับปรุงและแก้ไขให้ถูกต้อง ดังนี้

1.เอกสารการเงินโครงการฯ

  • ใบเสร็จรับเงิน (ที่ทางร้านออกให้) : การออกใบเสร็จรับเงินจากร้านค้า ให้ใช้ใบเสร็จรับเงินที่มีเลขใบกำกับภาษี / หากร้านค้าออกบิลเงินสดให้ ให้ทางร้านประทับตราประจำร้านให้ชัดเจน หรือ หากเขียนด้วยมือ ควรระบุข้อมูลร้านให้ครบถ้วน เช่น ชื่อร้าน ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ เป็นต้น
  • ใบเสร็จรับเงิน (ที่ทางโครงการฯ ออกให้ผู้รับเงิน ในกรณีที่ผู้รับเงินไม่สามารถออกใบสำคัญรับเงินได้ เช่น ค่าอาหาร) : ควรระบุ ชื่อ-สกุล ผู้รับเงิน, เลขบัตรประชาชน, ที่อยู่,เบอร์โทรศัพท์ ให้ถูกต้องครบถ้วน ห้ามมีรอยขีดฆ่า หรือน้ำยาลบคำผิด / หากผู้รับเงินไม่สามารถเขียน รายการค่าใช้จ่ายได้ หรือเขียนผิด หรือไม่ถูกต้อง แนะนำให้ เจ้าหน้าที่การเงินโครงการฯ เป็นผู้เขียนให้ แล้วให้ผู้รับเงินเขียนชื่อกำกับว่าได้รับเงินแล้ว / ในกรณีที่ จำนวนเงิน เกิน 5,000 บาท ควรแนบสำเนาบัตรประชาชนผู้รับเงินด้วยพร้อมลงชื่อสำเนาถูกต้อง

2.รายงานการเงิน : การแยกประเภทค่าใช้จ่ายไม่ถูกต้อง เช่น ค่าใช้สอย ค่าวัสดุ/อุปกรณ์


- มีการแนะนำการปรับแก้รายงาน และเอกสารการเงินเรียบร้อย สามารถส่งรายงานให้ สสส. ได้

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 1 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย
  • นางสาวจิตรลัดดาวงศ์ศิลป์ ผูู้รับผิดชอบโครงการฯ
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัสจันทร์ทอง/นางสาวรัตนา ชูแสง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • แนะนำการแยกประเภทค่าใช้จ่ายให้ถูกต้องตามหมวดหมู่
  • แนะนำให้ใช้บิลเงินสด หรือใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษี ที่ร้านเป็นผู้ออกให้
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

เวทีถอดบทเรียน "คนพรุกระแชงสุขภาพดีด้วยภูมิปัญญาแพทย์แผนไทย"3 พฤศจิกายน 2558
3
พฤศจิกายน 2558รายงานจากพื้นที่ โดย nannza123
circle
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อติดตามประเมินผลโครงการ 
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ประชุมสรุปผลการดำเนินงานโครงการ "คนพรุกระแชงสุขภาพดีด้วยภูมิปัญญาแพทย์แผนไทย"
  2. แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ค้นหา และถอดบทเรียนโครงการฯ เพื่อนำไปเป็นโครงการต้นแบบให้กับชุมชน
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คณะกรรมการโครงการฯ จำนวน 10 คน ได้ร่วมประชุมสรุป แลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลการดำเนินงานและรายงานผลโครงการฯ สรุปได้ดังนี้

1.ร้อยละ 80 ของจำนวนประชากร กลุ่มเป้าหมาย 100 คน มีความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพตนเองและการรักษาโรคเบื้องต้นด้วยการแพทย์แผนไทยและสมุนไพร โดยใช้แบบทดสอบก่อนและหลังการอบรมให้ความรู้

2.ร้อยละ 60 ของจำนวนประชากร กลุ่มเป้าหมาย 120 คน สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ด้วยหลัก 3อ. 2ส. ด้านการแพทย์แผนไทย โดยสำรวจจาก การบันทึกผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการออกำลังกาย และการกิน
3.ร้อยละ 80 ของจำนวนครัวเรือน กลุ่มเป้าหมาย 152 ครัวเรือน มีการปลูกสมุนไพรไว้ใช้ในการดูแลสุขภาพอย่างน้อยครัวเรือนละ 5 ชนิด โดยให้อสม. ที่รับผิดครัวเรือนเป็นผู้สำรวจ

4.ชุมชนสามารถสร้างนวัตกรรมในการดูแลสุขภาพด้วยการแพทย์แผนไทยจำนวน 3 ชิ้น โดยการประกวดนวัตกรรมส่งเสริมสุขภาพ

  • เก้าอี้มหัศจรรย์ : แก้อาการปวดกลัง
  • ปลอดภัยเมื่อใช้ถุง : ถุงทรายบริหารเข่า ลดอาการปวดเข่าในผู้สูงอายุ
  • เก้าอี้นวดหลัง : เก้าอี้กะลามะพร้าวลดอาการปวดหลัง

5.เกิดอาสามัครดูแลสุขภาพคนในนชุมชน จำนวน 20 คน

6.อสม. 16 คน มีทักษะในการนวด ประคบสมุนไพร ดูแลสุขภาพผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และทำหน้าที่สร้างเสริมสุขภาพแทนการซ่อมแซมสุขภาพของคนในชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 10 คน จากที่ตั้งไว้ 40 คน
ประกอบด้วย
  • คณะกรรมการโครงการฯ จำนวน 8 คน
  • เจ้าหน้าที่สาธารณสุข จำนวน 2 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัสจันทร์ทอง/นางสาวรัตนา ชูแสง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 1026 ตุลาคม 2558
26
ตุลาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย nannza123
circle
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการฯ
  2. เพื่อวางแผนการดำเนินงานโครงการฯในช่วงต่อไป
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันที่ 26 ตุลาคม2558 เวลา 14.00

  • ประชุมรายงานผลการดำเนินงานโครงการคนพรุกระแชงสุขภาพดีด้วยภูมิปัญญาแพทย์แผนไทย
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ประชุมรายงานสรุปผลการดำเนินงานโครงการคนพรุกระแชงสุขภาพดีด้วยภูมิปัญญาแพทย์แผนไทย มีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 60 คน ประกอบด้วย คณะทำงานโครงการ จำนวน 20 คน อสม.ในเขตรับผิดชอบ รพ.สต. บ้านพรุกระแชง 40 คน และ เจ้าหน้าที่ รพ.สต. บ้านพรุกระแชง จำนวน 2 คน โดยมีนายสมปองวงศ์ศิลป์ เป็นประธานในการเปิดประชุม นำสวดมนต์ไว้พระ และแสดงความขอบคุณคณะทำงานโครงการฯ ที่ได้ร่วมมือ ร่วมใจ สละเวลา เพื่อส่งเสริมการดูแลสุขภาพของคนในชุมชน ด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น สมุนไพรไทย การนวดไทย การประคบสมุนไพร การอบสมุนไพร และผลิตภัณฑ์แปรรูปสมุนไพร และกล่าวขอบคุณภาคีเครือข่ายที่ให้ความร่วมมือและในการดำเนินงาน และขอบคุณอสม.ในเขตรับผิดชอบของ รพ.สต. หมู่ 8,11,12,16 และ18 ที่ร่วมเข้าประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หลักการทำงานโครงการฯ

1.รายงานผลการดำเนินงาน โดย นางสาวจิตรลัดดาวงศ์ศิลป์ ผู้รับผิดชอบโครงการฯ

  • แรงบัลดาลในการทำงาน : เนื่องด้วยคนพรุกระแชง ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกี่ยวกับเกษตรกรรมทำสวนยางพารา สวนปาร์มน้ำมัน สวนผลไม้ เป็นต้น จงมักเจ็บป่วยด้วยโรคเกี่ยวกับระบบกล้ามเนื้อ เช่น ปวดเมื่อย กล้ามเนื้ออักเสบ เป็นต้น ทั้งนี้การแก้ปัญหา ส่วนใหญ่ซื้อยาชุดมากินเอง โดยไม่ทราบถึงอันตราย ภับเงียบ ที่มากับยาชุด อันได้แก่โรคที่เกี่ยวกับตับ ภาวะสมองเสื่อม ทั้งที่ในชุมชนมีภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สามารถแก้อาการ เจ็บป่วยเบื้องต้นได้ เช่น สมุนไพร การนวดไทย การประบด้วยสมุนไพร การอบไอน้ำจากสมุนไพร ดังนั้น หมู่ 1 บ้านพรุกระแชงจึงได้จัดทำโครงการคนพรุกระแชงสุขภาพดีด้วยภูมิปัญญาแพทย์แผนไทย ที่รับงบประมาณสนับสนุนจาก สสส.(กองทุนสนับสนุนการส่งเสริมสุขภาพ) จำนวน 205,150 บาท เพื่อส่งเสริมให้คนในชุมชนมีสุขภาวะที่ดี ทั้ง 4 ด้าน กาย จิต สังคม และปัญญา สามารถดูแลสุขภาพเบื้องต้นด้วยภูมิปัญญาแพทย์แผนไทย และเพื่อสร้างอาสาสมัครเยาวชนจิตอาสาดูแลสุขภาพ

  • ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

    • คน : คนในชุมชนมีความรู้เรื่องการดูแลสุขาภาพเบื้องต้นด้วยตนเองและสามารถนำความรู้มาใช้ในการดูแลสุขภาพตนเองและคนในครอบครัวได้
    • กลไก : ในชุมชนมี ภาคีเครือข่ายที่เข้มแข็ง มีกระบวนการทำงานเป็นทีม เสียลสะ มีการวางแผน การแก้ไขปัญหาที่ดี และมีความคิดริเริ่มใหม่ๆ อยู่เสมอ
    • สิ่งแวดล้อม : 1.มีศูนย์ ศสมช. ที่ให้ความรู้ ให้บริการนวด ประคบ และอบสมุนไพร และจำหน่ายผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อสุขภาพ 2.มีสวนสมุนไพรเพื่อสร้างการเรียนรู้ประโยชน์ของสมุนไพรในชุมชน เพาะชำต้นกล้าสมุนไพรเพื่อแจกให้กับคนในชมุชน 3.มีลานนวดฝ่าเท้าเพื่อสุขภาพลดอาการเท้าชาในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง บรรเทาอาการปวดหลัง และอาการปวดมึนศีรษะ
  • ปัญหา

    • ความเชื่อ : ประชาชนส่วนหนึ่งยังขาดความเชื่อ เรื่องการใช้สมุนไพรในการรักษาโรค ส่วนใหญ่จะเป็นประเภทไม่ให้ความร่วมในกิจกรรมต่างๆของหมู่บ้าน จึงไม่ได้รับข้อมูล ข่าวสาร ที่เป็นประโยชน์
    • พฤติกรรมที่เคยชิน : เนื่องจากสมุนไพรกับโรคบางชนิดได้ผลช้า จึงหันไปใช้ยาชุดแบบเดิม
  • แนวทางแก้ไขปัญหา

    • จัดทำสื่อประชาสัมพันธุ์ให้ครอบคลุม แผ่นพับ นิทรรศกาลความรู้ เสียงตามสาย
    • มอบประกาศเกียรติบัตร ให้กับบุคคลต้นแบบที่ดูแลสุขภาพด้วยภูมิปัญญาแพทย์แผนไทย

2.รายงานการเงิน

  • งบประมาณที่ได้รับจาก สสส.(กองทุนสนับสนุนการส่งเสริมสุขภาพ) จำนวน 205,150 บาท ได้ใช้ดำเนินงานตามแผนงานโครงการฯ ทั้งหมด และยังไม่รับเงินในงวดที่ 3
  • เงินที่ได้จากการขายผลิตภัณฑ์สมุนไพร ตั้งแต่วันที่ 10 เมษายน 2558 ถึงปัจจุบัน จำนวนทั้งสิ้น 11,420 บาท

3.กล่าวปิดการประชุมโดยเจ้าหน้าที่ รพ.สต. บ้านพรุกระแชง นางพรนภา รู้จำ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านพรุกระแชง

  • ได้กล่าวชื่นชมคณะทำงานโครงการฯ ถึงความสำเร็จในการทำงาน และทำให้ รพ.สต. บ้านพรุกระแชงมีผลงานและมีชื่อเสียงตามไปด้วย โดยการนำกระบวนการทำงานของโครงการฯเสนอเข้าร่วมประกวดผลงานและนวัตกรรมเด่นด้านการแพทย์แผนไทย ปี 2558 และได้ส่งหมู่ 1 เข้าร่วมประกวดหมู่บ้านจัดการขยะ จากการนำขวดน้ำพลาสติกมาเพาะผักและสมุนไพร การใช้ไม้ไผ่ล้อมเป็นคอกรอบๆตตต้นสมุนไพรเพื่อทิ้งเศษ อาหาร เปลือกผลไม้ เป็นปุ๋ยให้กับต้นไม้ จนได้รับรางวัลชนะเลิศระดับอำเภอเวียงสระ และสิ่งที่ขาดไม่ได้การนำเอารูปแบบ วิธีการดำเนินงานโครงการฯ ใช้กับ อสม.ที่ร่วมเข้าประชุมในวันนี้ โรงเรียน อสม. ห้องเรียนภูมิปัญญาแพทย์แผนไทย และหมู่ 1 เป็นต้นแบบหมู่บ้านจัดการสุขภาพ
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 62 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย
  • คณะทำงานโครงการ จำนวน 20 คน
  • อสม.ในเขตรับผิดชอบ รพ.สต. บ้านพรุกระแชง 40 คน
  • เจ้าหน้าที่ รพ.สต. บ้านพรุกระแชง จำนวน 2 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง/นางสาวรัตน ชูแสง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

กิจกรรมสร้างพื้นที่ทางการเรียนรู้ด้านพืชสมุนไพรและแพทย์แผนไทยในชุมชน24 ตุลาคม 2558
24
ตุลาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย nannza123
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อสร้างพื้นที่ในการเรียนรู้การใช้สมุนไพรและแพทย์แผนไทยในการดูแลสุขภาพตนเองและคนในชุมชน
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • เวลา 10.00 น.ร่วมประชุมวางแผนการจัดหาพื้นที่สร้างสวนสมุนไพรใน รพสต. และโรงเรียน
  • เวลา 11.00 น.ลงพื้นที่สร้างพื้นที่ในการเรียนรู้ด้านการใช้สมุนไพร สวนสมุนไพร
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มีการประชุมวางแผนการจัดหาพื้นที่สร้างพื้นที่การเรียนรู้การใช้สมุนไพร สวนสมุนไพรใน รพ.สต. และโรงเรียนซึ่งมีผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 30 คน ประกอบด้วย อสม., เยาวชนจิตอาสา ผู้ใหญ่บ้าน , ผอ.รพ.สต.บ้านพรุกระแชง .ผอ.โรงเรียนบ้านพรุกระแชง นั้น ได้ขอความอนุเคราห์ใช้พื้นที่ในโรงเรียน และใน รพ.สต. สำหรับปลูกพืชสมุนไพร และจัดการเรียนรู้เรื่องพืชสมุนไพรในโรงเรียน และได้รับความเห็นชอบเป็นอย่างดี หลังจากนั้นจึงได้ลงพื้นที่ดำเนินงานตามแผนที่วางไว้

  • โรงเรียนสมุนไพร ซึ่งมีพื้นที่ค่อนข้างจำกัด จึงใช้พื้นที่สวนหย่อมใกล้บริเวรห้องน้ำ ที่มีขอบเขตอยู่แล้ว สมุนไพรที่ใช้เป็นสมุนไพรขนาดเล็กไม่ใหญ่มาก เพราะอาจจะทำให้เกะกะ ใช้สมุนไพรที่มีประโยชน์กับนักเรียน และนักเรียนมีความรู้สามารถใช้รักษาอาการเบื้องต้นได้
  1. ว่านหางจรเข้ - ใช้รักษาแผล พุพอง น้ำร้อนลวก
  2. ตะไคร้หอม - ใช้ไล่ยุงในห้องเรียน
  3. ชุมเห็ดเทศ - ใช้ต้มดื่มแทนน้ำ แก้อาการท้องผูก
  4. ดอกอันชัญ - แก้ร้อนใน ดับกระหาย
  • สวนสมุนไพรในโรงเรียนตามแผนที่วางไว้ใช้เพื้นที่หลังอาคารตรวจรักษาโรค แต่เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าว มีเสาวิทยุล้มอยู่ไม่สามารถทำได้ จึงเปลี่ยนมาเป็นบริเวณประตูทางเข้า ซึ่งประชาชนที่มารับบริการจะเห็นได้ชัดกว่า และเน้นสมุนไพรที่ หายาก และสมุนไพรที่มีประโยชน์สามารถนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อสุขภาพได้ เช่น
  1. ยาหม่องสมุนไพรประกอบด้วยสมุนไพร ไพล ขมิ้นชัน ใบบัวบก ผิวมะกรูด
  2. ยาดมสมุนไพรประกอบด้วย พริกไทยดำ กานพลู ดีปลี
  3. พิมเสนน้ำต้นพิมเสน
  4. ลูกประคบไพล ขมิ้น ใบมะขาม มะกรูด ตะไคร้ เป็นต้น

ทั้งนี้ ให้เยาวชนจิตอาสาและ อสม. เป็นผุ้ดูแลสวนสมุนไพรใน รพ.ส.ต และโรงเรียน และคนในชุมชนสามารถขอพันธ์ุกล้าสมุนไพร จากสวนได้

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 50 คน
ประกอบด้วย
  • เยาวชนจิตอาสาและอสม. จำนวน 30 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง/นางสาวรัตน ชูแสง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน ครั้งที่ 617 ตุลาคม 2558
17
ตุลาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย nannza123
circle
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อสร้างเสริมการดูแลสุขภาพของคนในชุมชน 2. เพื่อส่งเสริมอาสาสมัครดูและสุขภาพให้วามารถดูแลสุขภาพคนในชุมชนได้อย่างทั่วถึง
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันที่ 17 ตุลาคม 2558 ณ.ศูนย์ศาธารณสุขมูลฐาน หมู่ 1 บ้านพรุกระแชง เวลา 09.00 น.-16.00 น.

  • กิจกรรมที่ 1: ทำชุดเยี่ยมบ้านด้วยผลิตภัณฑ์แปรรูปสมุนไพร เช่น น้ำยาล้างจาน ยาหม่อง ยาดมสมุนไพร
  • กิจกรรมที่ 2: เยี่ยมบ้านผู้ป่วยเรื้องรังเบาหวาน-ความดันโลหิตสูง
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

อาสาสมัครดูแลสุขภาพและเยาวชนจิตอาสา จำนวน 20 คน ได้ร่วมกันทำชุดเยี่ยมบ้าน จำนวน 10 ชุด ซึ่ง 1 ชุดจะประกอบด้วยน้ำยาล้างจานสมุนไพรจำนวน 2 ขวด ยาหม่องสมุนไพรจำนวน 1 ขวดและยาดมสมุนไพรจำนวน 1 ขวด เพื่อมอบเป็นของขวัญให้กับผู้ป่วยโรคเรื้อรังเบาหวาน-ความดันโลหิตสูง เป็นการส่งเสริมให้ใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสมุนไพรในการดูแลสุขภาพ
- หลังจากรับประทานอาหารเที่ยงเสร็จ ได้ร่วมกันเยี่ยมบ้านผู้ป่วยโรคเรื้อรังฯ จำนวน 25 คน ดังนี้

  1. ตรวจสุขภาพทั่วไป วัดความดัน : เปรียบเทียบค่าความดันโลหิตในครั้งนี้และครั้งที่แล้ว
  2. ซักถามสภาพอาการปัจจุบัน : ประวัติความเจ็บป่วยปัจจุบัน เช่า ปวดเข่า ปวดหลัง ปวดไหล่หรือบ่า ปวดกล้ามเนื้อ
  3. วินิจฉัยโรค : โดยแพทย์แผนไทยโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านพรุกระแชง นางสาววิภารัตน์ ชูแสง โดยทั่วไปผู้้ป่วยเรื้อรังมักจะมีปัญหามือเท้าชา ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อเป็นภาวะแทรกซ้อน
  4. การรักษา : จ่ายยาสมุนไพรตามอาการปัจจุบัน หรือนวดเพื่อการรักษาโรค
  5. การส่งเสริมสุขภาพ : ให้คำแนะนำ กับผู้ป่วยที่ไม่สามารถควบคุมระดันความดันฯหรือน้ำตาลในเลือดได้ เช่นเรื่องอาหารและการออกกำลังกาย
  • สรุปผลการลงพื้นที่เยี่ยมบ้านผู้ป่วยเรื้องรังฯ ผู้ป่วยส่วนใหญ่สามารถคววบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และระดับความดันโลหิตสูงได้ดี มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารอย่างเหมาะสมมากยิ่งขึ้น มีความรู้สมุนไพรเพิ่มขึ้นและมีการเพิ่มจำนวนสมุนไพร เช่น หัวไพล เมื่อก่อนชาวบ้านไม่สนใจฉีดยาบ้าง ขุดทิ้งบ้าง ซึ่งเดียวชาวบ้านหันมาสนใจมากขึ้น
  • นายบรรยง เชื้อพุทธ ที่ประสบอุบัติรถมอไซด์ล้ม เมื่อ 2 ปีก่อน มีอาการชา อัมพฤกษ์ครึ่งซีกซ้าย ได้รับการรักษาที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านพรุกระแชง หลังจากได้นวด และอบสมุนไพร มีอาการดีขึ้นช่วยเหลือตนเองได้ดี ทางหมู่บ้านจึงได้รับหน้าที่ดูแลต่อ โดยใช้การนวด และการประคบสมุนไพร สัปดาห์ละ 1 ครั้ง โดยเริ่ม วันที่ 24 ตุลาคม 2558
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 20 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย
  1. อาสาสมัครดูแลสุขภาพ 15 คน
  2. เยาวชนอาสาดูแลสุขภาพ 5 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

สัญญาณอินเตอร์เน็ตล่ม ทำให้รายงานผลล่าช้า

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

เผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ประโยชน์ของสมุนไพรในการดูแลสุขภาพ ครั้งที่ 35 ตุลาคม 2558
5
ตุลาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย nannza123
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์โครงการ และข้อมูลเกี่ยวกับการนำสมุนไพรมาใช้ประโยชน์
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันที่ 5 ตุลาคม 2558
1. กิจกรรมรณรงค์การใช้นวัตกรรม กระโจมอบไอน้ำสมุนไพรในการดูแลสุขาภาพ 2. กิจกรรมรณรงค์การใช้สมุนไพรในการรักษาโรค

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้ประชาสัมพันธ์ประโยชน์ของสมุนไพรในการดูแลสุขภาพ รวมถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ การบริโภคอาหารที่เหมาะสม "กินปลาเป็นหลัก กินผักเป็นยา " และการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการดูแลสุขภาพ ซึ่งในวันที่ 5 ตุลาคม 2558 ได้จัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้รับความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย ด้วยการจัดกิจกรรม ดังนี้

1.กิจกรรมรณรงค์การใช้นวัตกรรม กระโจมอบไอน้ำสมุนไพรในการดูแลสุขาภาพ

  • การอบสมุนไพร เป็นการช่วยล้างพิษออกทางเหงื่อ ผิวหนังของคนเราจะเป็นส่วนที่กว้างที่สุด ดังนั้นการขับสารพิษส่วนเกินออกทางเหงื่อจึงได้ผลดีมาก เวลาที่ร่างกายทุกส่วนเกิดความร้อนขึ้นพร้อมกัน มันจะทำให้เส้นเลือดที่ผิวหนังขยายตัว เลือดก็จะพรั่งพรูกันขึ้นมาที่ผิวหนังเป็นจำนวนมาก พาเอาสารเคมีส่วนเกิน เช่น โซเดียม โปตัสเซียม หรือสารอื่น ๆ ที่เรารับเข้าไปเกินความต้องการนั้น ถูกหลั่งออกมากับเหงื่อและในเวลาเดียวกันนั้น "การอบสมุนไพร" นอกจากจะล้างพิษออกไปแล้ว เลือดที่มาเลี้ยงที่ผิวหนังมากขึ้น ยังช่วยนำพาสารอาหารที่ดี ๆ มาให้ผิวหนัง ผิวหนังจึงสวยขึ้นด้วย นอกจากนี้หาก "อบสมุนไพร" อย่างถูกวิธี จะทำให้อวัยวะทุกส่วนในร่างกายแข็งแรงสดชื่นและกระปรี่กระเปร่ายิ่งขึ้น ทั้งยังบรรเทาความเมื่อยล้า บำบัดความซึมเศร้าได้ดีอีกด้วย

  • ประโยชน์ของการอบสมุนไพร

    • ทำให้ร่างกายสดชื่น ผิวพรรณสดใส
    • คลายความเมื่อยล้า และบรรเทาอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย
    • ช่วยให้ขับเหงื่อ และสามารถลดน้ำหนักได้ดีหากอบสมุนไพร ติดต่อกันภายในระยะเวลา 1 เดือน
    • กระตุ้นการไหลเวียนของโลหิตดีขึ้น
    • ช่วยบรรเทาอาการเวียนศีรษะ
    • ระบบทางเดินหายใจสดชื่น ลดการระคายเคืองในลำคอ
    • ช่วยละลายเสมหะ
  • ข้อห้ามและข้อควรระวังของการอบสมุนไพร

    • ผู้ที่มีไข้สูง โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคไต โรคปอดโรคลมบ้าหมู อยู่ในภาวะตกเลือด และผู้ที่มีอาการท้องร่วงขั้นรุนแรง
    • หากมีอาการอึดอัด หายใจไม่สะดวกในขณะอบสมุนไพรควรออกจากห้องอบทันที
    • (ไม่ควรใช้เวลาอบนานเกิน 10 – 15 นาที) ควรเข้าอบ 5 นาที และออกมาพัก 5 นาทีจึงกลับเข้าไปอบใหม่อีกครั้งประมาณ 10 นาที
    • เมื่อออกจากห้องอบ ไม่ควรตากลมหรืออาบน้ำทันที ควรนั่งพักประมาณ 30 นาที

2.กิจกรรมรณรงค์การใช้สมุนไพรในการรักษาโรค-ส่งเสริมให้ชุมชน แปรรูปสมุนไพรไว้ใช้เอง เช่นการนำสมุนไพรมีอยู่ในชุมชนมาหั่นเป็นชิ้นบางๆ นำไปตากแดดให้แห้งกรอบ แล้วนำกลับมาตำให้ละเอียด เพื่อใช้เป็นลูกประคบรักษาอาการปวดเมือย

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 60 คน จากที่ตั้งไว้ 150 คน
ประกอบด้วย
  • ประชาชนในชุมชน จำนวน 60 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง/นางสาวรัตนา ชูแสง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน ครั้งที่ 511 กันยายน 2558
11
กันยายน 2558รายงานจากพื้นที่ โดย nannza123
circle
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อสร้างเสริมการดูแลสุขภาพของคนในชุมชน 2. เพื่อส่งเสริมอาสาสมัครดูและสุขภาพให้วามารถดูแลสุขภาพคนในชุมชนได้อย่างทั่วถึง
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันที่ 11 กันยายน2558 ณ.ศูนย์ศาธารณสุขมูลฐาน หมู่ 1 บ้านพรุกระแชง เวลา 09.00 น.-16.00 น.

  • กิจกรรมที่ 1: ทำชุดเยี่ยมบ้านด้วยผลิตภัณฑ์แปรรูปสมุนไพร เช่น น้ำยาล้างจาน ยาหม่อง ยาดมสมุนไพร
  • กิจกรรมที่ 2: เยี่ยมบ้านผู้ป่วยเรื้องรังเบาหวาน-ความดันโลหิตสูง
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • อาสาสมัครดูแลสุขภาพและเยาวชนจิตอาสา จำนวน 20 คน ได้ร่วมกันทำชุดเยี่ยมบ้าน จำนวน 10 ชุด ซึ่ง 1 ชุดจะประกอบด้วยน้ำยาล้างจานสมุนไพรจำนวน 2 ขวด ยาหม่องสมุนไพรจำนวน 1 ขวดและยาดมสมุนไพรจำนวน 1 ขวด เพื่อมอบเป็นของขวัญให้กับผู้ป่วยโรคเรื้อรังเบาหวาน-ความดันโลหิตสูง เป็นการส่งเสริมให้ใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสมุนไพรในการดูแลสุขภาพ
  • หลังจากรับประทานอาหารเที่ยงเสร็จ ได้ร่วมกันเยี่ยมบ้านผู้ป่วยโรคเรื้อรังฯ จำนวน 10 คน ดังนี้
  1. ตรวจสุขภาพทั่วไป วัดความดัน : เปรียบเทียบค่าความดันโลหิตในครั้งนี้และครั้งที่แล้ว
  2. ซักถามสภาพอาการปัจจุบัน : ประวัติความเจ็บป่วยปัจจุบัน เช่า ปวดเข่า ปวดหลัง ปวดไหล่หรือบ่า ปวดกล้ามเนื้อ
  3. วินิจฉัยโรค : โดยแพทย์แผนไทยโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านพรุกระแชง นางสาววิภารัตน์ ชูแสง โดยทั่วไปผู้้ป่วยเรื้อรังมักจะมีปัญหามือเท้าชา ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อเป็นภาวะแทรกซ้อน
  4. การรักษา : จ่ายยาสมุนไพรตามอาการปัจจุบัน หรือนวดเพื่อการรักษาโรค
  5. การส่งเสริมสุขภาพ : ให้คำแนะนำ กับผู้ป่วยที่ไม่สามารถควบคุมระดันความดันฯหรือน้ำตาลในเลือดได้ เช่นเรื่องอาหารและการออกกำลังกาย
  • สรุปผลการลงพื้นที่เยี่ยมบ้านผู้ป่วยเรื้องรังฯ ผู้ป่วยกลุ่มวัยทำงานสามารถรักษาระดับความดันฯและระดับน้ำตาลได้ดีกว่าผู้ป่วยที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป เนื่องจากพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกาย ผู้ป่วยที่อยู่ในกลุ่มผู้สูงอายุชอบอาหารรสจัด หวาน มัน เค็ม เป็นต้น ทั้งนี้นอกจากได้แนะนำผู้ป่วยเองแล้วได้กำชับให้ผู้ดูแลผู้ป่วยเช่น ลูก ญาติพี่น้อง ช่วยดูแลเรื่องอาหาร ให้ลด หวาน มัน เค็ม เน้นการเดินออกกำลังกาย และรับประทานยาทุกมื้อ ไปพบหมอตามนัดทุกครั้ง
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 20 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย
  1. อาสาสมัครดูแลสุขภาพ 15 คน
  2. เยาวชนอาสาดูแลสุขภาพ 5 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง/นางสาวรัตน ชูแสง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

กิจกรรมเพิ่มพื้นที่สมุนไพรในชุมชน ครั้งที่ 510 กันยายน 2558
10
กันยายน 2558รายงานจากพื้นที่ โดย nannza123
circle
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อส่งเสริมการใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพ
  2. เพื่อเพิ่มจำนวนสมุนไพรในชุมชน
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • วันที่ 10 กันยายน 2558 ณ สวนสุขภาพแปงเพาะสมุนไพร หมู่ 1 บ้านพรุกระแชง อสม. และเยาวชนที่เข้าร่วมโครงการได้เพาะชำกล้าสมุนไพรที่มีประโยชน์และสามารถใช้ในการดูแลสุขภาพเพื่อขยายพันธุ์แจกจ่ายให้กับคนในชุมชน
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

อสม.เยาวชน และผู้ป่วยโรคเรื้อรังได้ร่วมกันเพาะชำกล้าสมุนไพรที่มีประโยชน์และสามารถใช้ในการดูแลสุขภาพเพื่อขยายพันธุ์แจกจ่ายให้กับคนในชุมชน ได้แก่

  1. เสลดพังพอนตัวผู้ : ช่วยรักษาอาการอักเสบ โรคงูเริมสวัด แผลร้อนใน ในปากได้
  2. ว่านหางจระเข้ : รักษาแผลน้ำร้อนลวก ไฟลวก ผุพอง ทำให้แผลจางลง
  3. ไพล : ใช้ทำลุกประคบสมุนไพร รักษาอาการเคล้ดขัดยอก ฟกช้ำ ลดบวม
  4. ขมิ้นชัน :แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ

และได้แนะนำการใช้ยาสมุนไพร

  1. ควรเริ่มใช้สมุนไพรที่เป็นอาหารก่อน และควรรู้พิษยาก่อนใช้ รู้ข้อห้ามใช้ เพราะยาบางชนิดมีข้อห้ามใช้กับคนบางคน บางโรค เมื่อรู้สิ่งเหล่านี้ จะทำให้การใช้ยาปลอดภัยขึ้น
  2. ถ้ายาใดไม่เคยกินมาก่อน ควรเริ่มกินในขนาดน้อยๆ ก่อน เช่น กินเพียงครึ่งหนึ่งของขนาดที่กำหนดไว้ ถ้าร่างกายไม่มีอะไรผิดปกติจึงค่อยกินต่อไป
  3. อย่าใช้ยาเข้มข้นเกินไป เช่น ยาใช้ต้มกินต่างน้ำ ไม่ควรใช้ต้มเคี่ยวกินยาเข้มข้นเกินไป จนทำให้เกิดพิษได้
  4. คนที่อ่อนเพลียมาก เด็กอ่อน คนชรา ห้ามใช้ยามาก เพราะคนเหล่านี้ มีกำลังต้านทานยาน้อย จะทำให้เกิดพิษได้ง่าย
  5. โดยทั่วๆ ไป เมื่อกินยาสมุนไพรแล้ว 1 วัน อาการไม่ดีขึ้นต้องเปลี่ยนยา แต่ถ้าเป็นโรคเรื้อรัง เช่น โรคกระเพาะ หืด ฯลฯ เมื่อใช้ยาสมุนไพร 1 อาทิตย์แล้ว อาการไม่ดีขึ้นต้องเปลี่ยนยา
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย
  • กลุ่มวัยทำงาน จำนวน 10 คน
  • อสม. จำนวน 10 คน
  • กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน 5 คน
  • เยาวชน 5 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง/นางสาวรัตน ชูแสง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

"ความมั่นคงทางสุขภาวะ วาระสร้างสุขของฅนใต้ ปี 2558"4 กันยายน 2558
4
กันยายน 2558รายงานจากพื้นที่ โดย nannza123
circle
วัตถุประสงค์
  • ร่วมเข้าประชุมเสวนาและจัดนิทรรศการ ลานปัญญาสร้างสุข แลกเปลี่ยนเรียนรู้ นวัตกรรม
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันที่ 4 กันยายน 2558

  • เครือข่ายเตรียมงาน จัดนิทรรศการ
  • พิธีเปิด

วันที่ 5 กันยายน 2558

  • เสวนาเชิงวิชาการ ดังนี้
  1. ออกแบบกลไกและทิศทางการทำงานร่วมกันของเครือข่ายสุขภาพภาคใต้
  2. การขับเคลื่อนเพื่อความมั่นคงทางสุขภาวะ
  3. เราจะสร้างและขยายเครือข่ายผู้ใช้โซล่าร์เซลล์ระดับครัวเรือนและชุมชนได้อย่างไร

วันที่ 6 กันยายน 2558

  • ข้อสรุปเพื่อการขับเคลื่อนสุขภาวะของคนใต้
  • มองการขับเคลื่อนสุขภาวะคนใต้
  • ปาฐกถาปิด โดย นายสมพร ใช้บางยาง
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คณะทำงานโครงการฯ ได้เข้าร่วม เวที สานงาน เสริมพลัง ร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่ "ความมั่นคงทางสุขภาพวะ วาระสร้างสุขของฅนใต้ ปี 2558" วันที่ 4-6 กันยายน 2558 ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองศิริราชสมบัติ ครบ 60 ปี ม.สงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา
วันที่ 25 สิงหาคม 2558 ได้ประชุมคณะทำงานโครงการฯ เนื่องจากได้รับหนังสือเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว ให้ร่วมเข้าประชุมและจัดนิทรรศการ จึงได้ปรึกษาคณะทำงานและร่วมกันเสนอความเห็นแนวการทางการจัดนิทรรศการในรูปแบบของนิทรรศการส่งเสริมสุขภาพด้วยภูมิปัญญาแพทย์แผนไทย

  • วันที่ 26-30 สิงหาคม 2558 รวมกลุ่มทำผลิตภัณฑ์แปรรูปสมุนไพร ร่วมกันคิดและทำบรรจุภัณฑ์ด้วยตนเอง เพื่อลดต้นทุนค่าใช้จ่าย ในนิยามที่ว่า "ประหยัด คุ้มค่า ถูกใจ ใช้สมุนไพรดีจัง"
  • วันที่ 3 กันยายน 2558 คณะทำงานโครงการฯ จำนวน 6 คน ออกเดินทางจาก หมู่ 1 บ้านพรุกระแชง เวลา 11.00 น. ถึงที่พักเวลา 18.00 น.
  • ในวันที่ 4-6 กันยายน 2558 ได้จัดนิทรรศการส่งเสริมสุขภาพด้วยภูมิปัญญาแพทย์แผนไทย นวด ประคบ นวัตกรรมสุขภาพ เก้าอี้สุขภาพ,ปลอดภัยเมื่อใช้ถุง และจำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพแปรรูปจากสมุนไพร เช่น น้ำยาล้างจานสมุนไพร ยาหม่องไพร ยาดมสมุนไพร พิมเสนน้ำ ลูกประคบ สเปรย์ป้องกันยุง เป็นต้น หลังจากรับประทานอาหารเที่ยงได้ร่วมพิธีเปิด และมีผู้สนใจเข้ามาดูบูท ซื้อผลิตภัณฑ์ และรับบริการนวดและประคบสมุนไพรเพื่อสุขภาพ สรุป 3 วัน ได้ยอดขายผลิตภัณฑ์ จำนวน 5,800 บาท ซึ่งได้รับความสนใจจากผู้เข้าร่วมงานเป็นจำนวนมาก ส่วนของคณะทำงานบางส่วนได้ร่วมเข้ารับฟังการเสวนาในห้องต่างๆ ตามกำหนดการได้รับความรู้เพื่อนำไปปรับใช้ในชุมชน
  1. ความมั่นคงทางด้านสุขภาพ เป็นการบูรณาการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับระบบสุขภาพชุมชน ระบบหลักประกันสุขภาพ กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น การจัดบริการสุขภาพของชุมชนท้องถิ่น เป็นต้น
  2. ความมั่นคงของมนุษย์ เป็นการบูรณาการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มประชากรเป้าหมาย ได้แก่ กลุ่มผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ แรงงาน เด็กและเยาวชน สตรี และผู้สูงอายุ ตลอดจนภาวะคุกคามต่อสุขภาพคือ เหล้า บุหรี่ การพนัน อุบัติเหตุ เป็นต้น
  3. ความมั่นคงทางด้านอาหาร เป็นการบูรณาการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงทางด้านอาหาร ความปลอดภัยทางด้านอาหาร และโภชนาการที่สมวัย ซึ่งรวมถึงภาคการเกษตร การตลาด เป็นต้น
  4. ความมั่นคงทางพลังงานและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นการบูรณาการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคใต้ นโยบายและการจัดการด้านพลังงานที่กระทบต่อคนใต้ เป็นต้น
  • การทำให้ผู้คน สังคม ชุมชนท้องถิ่นและประเทศชาติตื่นรู้เรื่องสุข-ทุกข์นี้ว่าสำคัญจึงเป็นสิ่งสำคัญพอ ๆ กับการได้รู้สุข-ทุกข์ตามสภาพความจริง รู้หาเหตุรู้ว่าสุขมีได้ เสริมสร้างได้ด้วยหนทางวิธีการแก้ไขรักษาคุ้มครองป้องกันฟื้นฟูพัฒนาเสริมสร้างต่าง ๆ ร่วมกันเป็นสำคัญ
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 6 คน จากที่ตั้งไว้ 6 คน
ประกอบด้วย
  • คณะทำงานโครงการคนพรุกระแชงสุขภาพดีด้วยภูมิปัญญาแพทย์แผนไทย จำนวน 6 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง/นางสาวรัตน ชูแสง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 925 สิงหาคม 2558
25
สิงหาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย nannza123
circle
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการฯ2. เพื่อวางแผนการดำเนินงานโครงการฯในช่วงต่อไป
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ประชุมคณะทำงานโครงการฯ เพื่อรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงาน
  2. วางแผนการดำเนินงานโครงการฯในกิจกรรมต่อไป
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ในการประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 9 ณ ศูนย์สาธารณสุขมูลฐานมีผู้ร่วมเข้าประชุม จำนวน 20 คน เริ่มประชุมตั้งแต่เวลา 13.00 น. มีนางสาวจิตรลัดดาวงศ์ศิลป์ ผู้รับผิดชอบโครงการฯ เป็นประธานการประชุม ซึ่งมีเรื่องชี้แจงดังนี้

วาระการประชุมที่ 1 : รายงานผลการดำเนินงาน กิจกรรมตามแผนงานที่ได้ดำเนินงานไปแล้ว เดือนสิงหาคม 2558

  • กิจกรรมที่ 1 : วันที่ 5 สิงหาคม 2558 กิจกรรมเพิ่มพื้นที่สมุนไพรในชุมชนครั้งที่ 4 :ทุกคนร่วมกันปลูกต้นมะขามกั้นเป็นรั้วตามริมถนน ต้นมะขามเป็นสมุนไพรที่มีประโยชน์ ชุมชนมีความจำเป็นต้องใช้ประโยชน์จากใบมะขามมาทำเป็นลูกประคบสมุนไพร เพื่อใช้รักษาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และเป็นการลดค่าใช้จ่ายในการซื้อลูกประคบ

  • กิจกรรมที่ 2 : วันที่ 7 สิงหาคม 2558 กิจกรรมเสริมทักษะอาสาสมัครดูแลสุขภาพ :

  1. ครูภูมิปัญญาถ่ายทอดวิธีการทำลูกประคบเพื่อดูแลสุขภาพตนเองและคนในครอบครัว
  2. ครูภูมิปัญญาสอนทักษะการนวดและการประคบสมุนไพรเพื่อบรรเทาอาการปวดเบื้องต้นเกี่ยวกับโรคระบบกล้ามเนื้อ โดยนำผู้ที่ป่วยเป็นโรคจริงมาเป็นหุ่นในการสาธิต
  • กิจกรรมที่ 3 : วันที่ 22 สิงหาคม 2558 กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน ครั้งที่ 4 :อาสาสมัครดูแลสุขภาพและเยาวชนจิตอาสา จำนวน 20 คน ได้ร่วมกันทำชุดเยี่ยมบ้าน จำนวน 20 ชุด ซึ่ง 1 ชุดจะประกอบด้วยน้ำยาล้างจานสมุนไพรจำนวน 2 ขวด ยาหม่องสมุนไพรจำนวน 1 ขวดและยาดมสมุนไพรจำนวน 1 ขวด เพื่อมอบเป็นของขวัญให้กับผู้ป่วยโรคเรื้อรังเบาหวาน-ความดันโลหิตสูง เป็นการส่งเสริมให้ใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสมุนไพรในการดูแลสุขภาพ

วาระการประชุมครั้งที่ 2 : วางแผนการดำเนินกิจกรรมตามแผนงาน เดือน กันยายน 2558

  • กิจกรรมที่1 : วันที่ 5 กันยายน 2558 - กิจกรรมเพิ่มพื้นที่การปลูกสมุนไพรครั้งที่ 5
  • กิจกรรมที่2 : วันที่ 7 กันยายน 2558 - กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อนครั้งที่ 5
  • กิจกรรมที่3 : วันที่ 9 กันยายน 2558 - กิจกรรมจัดทำรายงาน

วาระการประชุมครั้งที่ 3 : กิจกรรมจัดนิทรรศกาลที่ มอ.สงขลา : เนื่องจากได้รับหนังสือจาก สสส. ให้ร่วมกิจกรรมจัดนิทรรศกาลที่ มอ.สงขลา ทางโครงการฯ ได้ส่งรายชื่อเข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 6 คน และนำผลิตภัณฑ์สมุนไพรไปร่วมจัดนิทรรศกาล จำนวน 8 ชนิด โดยออกเดินทาง ในวันที่ 3 กันยายน 2558 และกลับ วันที่ 6 กันยายน 2558

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 20 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย
  • คณะทำงานโครงการฯ จำนวน 20 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ปัญหา : เนื่องจากในหมู่บ้านโดนขโมยตัดสายโทรศัพท์ ไม่สามารถใช้งานอินเตอร์เน็ตได้ จึงทำให้ส่งรายงานล่าช้า

แนวทางแก้ไข : รอการแก้ไขปัญหาจาก TOT

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง / นางสาวรัตนา ชูแสง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน ครั้งที่ 422 สิงหาคม 2558
22
สิงหาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย nannza123
circle
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อสร้างเสริมการดูแลสุขภาพของคนในชุมชน 2. เพื่อส่งเสริมอาสาสมัครดูและสุขภาพให้สามารถดูแลสุขภาพคนในชุมชนได้อย่างทั่วถึง
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันที่ 22 สิงหาคม 2558 ณ.ศูนย์ศาธารณสุขมูลฐาน หมู่ 1 บ้านพรุกระแชง เวลา 09.00 น.-16.00 น.

  • กิจกรรมที่ 1: ทำชุดเยี่ยมบ้านด้วยผลิตภัณฑ์แปรรูปสมุนไพร เช่น น้ำยาล้างจาน ยาหม่อง ยาดมสมุนไพร
  • กิจกรรมที่ 2: เยี่ยมบ้านผู้ป่วยเรื้องรังเบาหวาน-ความดันโลหิตสูง
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • อาสาสมัครดูแลสุขภาพและเยาวชนจิตอาสา จำนวน 20 คน ได้ร่วมกันทำชุดเยี่ยมบ้าน จำนวน 20 ชุด ซึ่ง 1 ชุดจะประกอบด้วยน้ำยาล้างจานสมุนไพรจำนวน 2 ขวด ยาหม่องสมุนไพรจำนวน 1 ขวดและยาดมสมุนไพรจำนวน 1 ขวด เพื่อมอบเป็นของขวัญให้กับผู้ป่วยโรคเรื้อรังเบาหวาน-ความดันโลหิตสูง เป็นการส่งเสริมให้ใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสมุนไพรในการดูแลสุขภาพ
  • หลังจากรับประทานอาหารเที่ยงเสร็จ ได้ร่วมกันเยี่ยมบ้านผู้ป่วยโรคเรื้อรังฯ จำนวน 20 คน ดังนี้
  1. ตรวจสุขภาพทั่วไป วัดความดัน : เปรียบเทียบค่าความดันโลหิตในครั้งนี้และครั้งที่แล้ว
  2. ซักถามสภาพอาการปัจจุบัน : ประวัติความเจ็บป่วยปัจจุบัน เช่า ปวดเข่า ปวดหลัง ปวดไหล่หรือบ่า ปวดกล้ามเนื้อ
  3. วินิจฉัยโรค : โดยแพทย์แผนไทยโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านพรุกระแชง นางสาววิภารัตน์ชูแสง โดยทั่วไปผู้้ป่วยเรื้อรังมักจะมีปัญหามือเท้าชา ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อเป็นภาวะแทรกซ้อน
  4. การรักษา : จ่ายยาสมุนไพรตามอาการปัจจุบัน หรือนวดเพื่อการรักษาโรค
  5. การส่งเสริมสุขภาพ : ให้คำแนะนำ กับผู้ป่วยที่ไม่สามารถควบคุมระดันความดันฯหรือน้ำตาลในเลือดได้ เช่นเรื่องอาหารและการออกกำลังกาย
  • สรุปผลการลงพื้นที่เยี่ยมบ้านผู้ป่วยเรื้องรังฯ ผู้ป่วยกลุ่มวัยทำงานสามารถรักษาระดับความดันฯและระดับน้ำตาลได้ดีกว่าผู้ป่วยที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป เนื่องจากพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกาย ผู้ป่วยที่อยู่ในกลุ่มผู้สูงอายุชอบอาหารรสจัด หวาน มัน เค็ม เป็นต้น ทั้งนี้นอกจากได้แนะนำผู้ป่วยเองแล้วได้กำชับให้ผู้ดูแลผู้ป่วยเช่น ลูก ญาติพี่น้อง ช่วยดูแลเรื่องอาหาร ให้ลด หวาน มัน เค็ม เน้นการเดินออกกำลังกาย และรับประทานยาทุกมื้อ ไปพบหมอตามนัดทุกครั้ง
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 20 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย
  1. อาสาสมัครดูแลสุขภาพ 15 คน
  2. เยาวชนอาสาดูแลสุขภาพ 5 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ปัญหา : ผู้ป่วยเรื้อรังในกลุ่มผู้สูงอายุ ควบคุมระดับความดันฯและระดับน้ำตาลได้น้อย

การแก้ไขปัญหา : อบรมให้ความรู้ให้กับ "ผู้ดูแลผู้ป่วย" เพื่อช่วยกันดูแลไม่ให้เกิดโรคแทรกซ้อนกับผู้ป่วยเรื้อรังฯ

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง/นางสาวรัตน ชูแสง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ขอสนับสนุนโครงการต่อเนื่อง 

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

กิจกรรมเสริมทักษะอาสาสมัครดูแลสุขภาพ7 สิงหาคม 2558
7
สิงหาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย nannza123
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อถ่ายทอดภูมิปัญญาการใช้สมุนไพรและแพทย์แผนไทย
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันที่ 7 สิงหาคม 2558 ณ ห้องประชุมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านพรุกระแชง

  • เวลา 08.30 น. - ลงทะเบียน
  • เวลา 09.00 น. - ให้ความรู้เรื่อง "การนวดไทยเพื่อสุขภาพ"
  • เวลา 11.00 น. - การปฏิบัติการนวดไทยเพื่อสุขภาพ
  • เวลา 12.00 น. - พักรับประทานอาหารเที่ยง
  • เวลา 13.00 น. - ให้ความรู้เรื่อง "การทำลูกประคบสมุนไพร"
  • เวลา 15.00 น. - การปฏิบัติการประคบสมุนไพรเพื่อรักษาอาการปวดเบื้องต้น
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

กิจกรรมเสริมทักษะการทำลูกประคบและการนวดประคบเพื่อสุขภาพ ในวันที่ 7 สิงหาคม 2558 ณ.ห้องประชุมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านพรุกระแชงมีผู้ลงชื่อเข้าร่วมประชุม จำนวน 50 คน ประกอบด้วย ผู้ป่วยโรคเกี่ยวกับระบบกล้ามเนื้อ และผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน 25 คนและอาสาสมัครและเยาวชนอาสา 25 คน ต่อมาในเวลา 09.00 น. ผู้ใหญ่สมปอง วงศ์ศิลป์ ประธานโครงการฯ กล่าวเปิดการอบรมตามแผนงานโครงการฯดังนี้

  1. ให้ความรู้เรื่อง "การนวดไทยเพื่อสุขภาพ" โดย นางสาววิภารัตน์ ชูแสง แพทย์แผนไทยโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านพรุกระแชง
  • ประเภทการนวดไทย : การนวดไทย จะต้องให้บริการแก่ชนทุกระดับ จึงมีการพัฒนาวิชาการนวดขึ้น ให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายต่างๆ ซึ่งแบ่งกลุ่มเป้าหมายไว้เฉพาะ 2 กลุ่ม และแบ่งประเภทการนวดออกเป็น 2 แบบ เช่นกัน คือ

    • การนวดแบบราชสำนัก
    • การนวดแบบเชลยศักดิ์หรือทั่วไป
  • ประโยชน์ของการนวดไทย

    • ช่วยผ่อนคลายทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ และจิตใจ
    • ช่วยให้เลือดลมไหลเวียนได้คล่องแคล่ว ทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่ง
    • ช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบประสาทตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย
    • ช่วยลดอาการบาดเจ็บ ปวดเมื่อยจากการออกกำลังกายหรือจากการทำงาน
    • ช่วยให้ร่างกายและจิตใจเกิดความสมดุล ซึ่งเป็นผลดีต่อหน้าที่การงาน ครอบครัว และสังคม
    • เชื่อกันว่าการนวดแผนไทย มีส่วนช่วยในการรักษาโรคหลายชนิด เช่น อาการปวดศีรษะ ไมเกรน ปวดข้อและกระดูก เป็นต้น ฯลฯ

2.การปฏิบัติการนวดไทยเพื่อสุขภาพ : ผู้เข้าร่วมอบรมลงมือฝึกปฎิบัติจริง โดยให้จับคู่สลับกันเป็นผู้นวดและผู้ป่วย ครูภูมิปัญญากำหนดโรคเดียวกัน คือการนวดรักษาโรคลมปลายปัตฆาตสัญญาณ 3 หลัง อาการของโรคนี้คือ ผู้ป่วยมีอาการปวดหลัง เสียวร้าวลงสะโพก มีอาการชาปลายเท้าร่วมด้วย โดยมีขั้นตอนการนวด ดังนี้

  • นวดพื้นฐานขานอกและขาใน
  • นวดสัญญาณ 123 ขานอก
  • นวดสัญญาณ 123 ขาใน
  • นวดพื้นฐานหลังท่านอน
  • นวดสัญญาณ 1 3 หลัง เน้น 3

หลังจากที่ผู้เข้าร่วมอบรมได้ลองปฏิบัติจริง ได้มีการประเมินจากครูภูมิปัญญา ยังไม่มีผู้ที่ปฏิบัติได้ เนื่องจากการนวดต้องใช้ระยะเวลาในการเรียนรู้อย่างน้อยโรคละ 1 สัปดาห์ การนวดไทยนั้นจะต้องเรียนรู้หลักความรู้ทางกายวิภาคศาสตร์ ความรู้ด้านสรีรวิทยา และ ความรู้ทางด้านโรคภัยไข้เจ็บ

3.หลังจากรับประทานอาหารเที่ยง ได้ทำกิจกรรมให้ความรู้เรื่อง "การทำลูกประคบสมุนไพร" โดยนางสาวจิตรลัดดาวงศ์ศิลป์ อสม.รพ.สต.บ้านพรุกระแชง : ลูกประคบสมุนไพร เป็นภูมิปัญญาไทยที่มีมาแต่โบราณ เป็นการนำสมุนไพรพื้นบ้านชนิดต่างๆ มาใช้ประโยชน์ทางการรักษาโรค ลูกประคบโดยทั่วไปมีพืชสมุนไพรเป็นส่วนประกอบหลัก อย่างน้อย 3 ชนิด ได้แก่ ไพล ขมิ้นชันและตะไคร้ อาจผสมสมุนไพรชนิดอื่นๆ เช่นผิวมะกรูด ใบมะขาม การบูร พิมเสน โดยนำสมุนไพรมาบดและห่อด้วยผ้าดิบหรือผ้าฝ้าย แล้วมัดให้แน่นเป็นลูกกลมๆ นำไปนึ่งให้อุ่นๆ วางประคบตามส่วนต่างๆของร่างกาย ช่วยคลายกล้ามเนื้อ ลดการปวดเมื่อย นอกจากนี้กลิ่นของน้ำมันหอมระเหยในสมุนไพร การบูรและพิมเสน ช่วยทำให้รู้สึกสดชื่น ผ่อนคลายความเครียด ลูกประคบสมุนไพรมีอยู่ด้วยกันหลายสูตรทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสรรพคุณที่ต้องการ โดยมีสูตร ดังนี้

  • ไพล 500 กรัม
  • ขมิ้นชัน 100 กรัม
  • ตะไคร้บ้าน 100 กรัม
  • ผิวมะกรูด 200 กรัม
  • ใบมะขาม 200 กรัม
  • การบูร 30 กรัม
  • พิมเสน 30 กรัม
  • เกลือ 20 กรัม หรือ 1ช้อนโต๊ะ

หลังจากได้ลูกประคบก็ให้จับคู่สลับกันประคบสมุนไพร จากการประเมินผู้เข้าอบรมสามารถใช้ลูกประคบได้ดี และถูกวิธี จากนั้นก้ได้มีการแลกเปลี่ยนความคิด ผู้เข้าอบรมสนใจที่จะปลูกสมุนไพรที่ใช้ทำลูกประคบ สังเกตุได้ว่าในตอนแรกที่มีการรณรงค์ให้ปลูกสมุนไพรทุกบ้านชาวบ้านยังสนใจในระดับหนึ่ง แต่เมื่อมีกิจกรรมต่างๆ ให้ทำอยู่ตลอด ชาวบ้านก็มีความสนใจ กระตือรือร้น ที่จะทำอยู่เสมอ

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 50 คน จากที่ตั้งไว้ 50 คน
ประกอบด้วย
  1. ผู้ป่วยโรคเกี่ยวกับระบบกล้ามเนื้อ และผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน 25 คน
  2. อาสาสมัครและเยาวชนอาสา 25 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ปัญหา : ระยะเวลาในการอบรมให้ความรู้การนวดไม่เพียงพอ

การแก้ไขปัญหา : หาช่วงเวลาที่เหมาะสมสอนเพิ่มเติม

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง/นางสาวรัตน ชูแสง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

กิจกรรมเพิ่มพื้นที่สมุนไพรในชุมชน ครั้งที่ 45 สิงหาคม 2558
5
สิงหาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย nannza123
circle
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อส่งเสริมการใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพ
  2. เพื่อเพิ่มจำนวนสมุนไพรในชุมขน
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันที่ 5 สิงหาคม2558 ณ ศูนย์สาธารณสุขมูลฐาน หมู่ ๑ บ้านพรุกระแชง ได้ดำเนินงานกิจกรรมเพิ่มพื้นที่สมุนไพรครั้งที่ 4 ตามแผนงานโครงการฯ

  • เวลา 13.00 น. - กิจกรรมให้ความรู้เรื่อง"ความหลากหลายของสมุนไพรใช้ประโยชน์"
  • เวลา 14.00 น. - กิจกรรมพัฒนาสวนสมุนไพรในชุมชน
  • เวลา 15.00 น. - กิจกรรมเพิ่มพื้นที่สมุนไพรในชุมชน
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

กิจกรรมเพิ่มพื้นที่สมุนไพรครั้งที่ 4 ตามแผนงานโครงการฯ ในวันที่ 5 สิงหาคม 2558 ณ.ศูนย์สาธารณสุขมูลฐาน หมู่ ๑ บ้านพรุกระแชง มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 30 คน ประกอบด้วย คณะทำงานโครงการ จำนวน 5 คน พัฒนากรชุมชน จำนวน 1 คน เจ้าหน้าที่เทศบาลตำบลบ้านส้อง จำนวน 1 คน และคนในชุมชน จำนวน 23 คน ได้ดำเนินกิจกรรมต่างดังนี้

  • กิจกรรมให้ความรู้เรื่อง"ความหลากหลายของสมุนไพรใช้ประโยชน์ " โดยนางสาววิภารัตน์ชูแสง แพทย์แผนไทยโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านพรุกระแชง ได้ให้ความรู้เรื่องสมุนไพรที่ใช้ทำลูกประคบสมุนไพร ได้แก่ ไพล ขมิ้นชัน ใบมะขาม มะกรูด ตะไคร้หอม เป็นต้น และส่งเสริมให้คนในชุมชนปลูกสมุนไพรดังกล่าวไว้ในรั้วบ้าน เพื่อใช้ทำเป็นลูกประคบสามารถรักษาอาการปวดเมื่อยได้ หากทำไว้ใช้เองจะเป็นการประหยัดเพราะราคาค่อนข้างสูง ราคาขายปลีกลูกละ 70 บาท และการบริการด้านการประคบสมุนไพรในตอนนี้ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการซื้อลูกประคบสมุนไพรเดือนละ 500 บาท ต่อมาได้ร่วมกันพัฒนาสวนสมุนไพร ถากหญ้า ตัดหญ้า และร่วมกันวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น

1.ปัญหาไม่มีน้ำใช้รดสมุนไพรทำให้ต้นสมุนไพรตาย

  • การแก้ไขปัญหา : ยื่นเรื่องขอความอนุเคราะห์การติดตั้งมาตรน้ำจากเทศบาล แต่ในปัจจุบันได้รับความอนุเคราะน้ำจากบ้านนางชฎภรณ์แซ่หลี และจัดเวรกันรดน้ำสมุนไพร

2.ปัญหาไก่เข้ามรในสวนสมุนไพรเขี่ยหญ้าและสมุนไพรเสียหายจำนวนหนึ่ง

  • การแก้ไขปัญหา : จะนำตาข่ายมากั้น

กิจกรรมเพิ่มพื้นที่สมุนไพรในชุมชน : ทุกคนร่วมกันปลูกต้นมะขามกั้นเป็นรั้วตามริมถนน ต้นมะขามเป็นสมุนไพรที่มีประโยชน์ ชุมชนมีความจำเป็นต้องใช้ประโยชน์จากใบมะขามมาทำเป็นลุกประคบสมุนไพร เพื่อใช้รักษาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และเป็นการลดค่าใช้จ่ายในการซื้อลูกประคบ

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย
  1. คณะทำงานโครงการ จำนวน 5 คน
  2. พัฒนากรชุมชน จำนวน 1 คน
  3. เจ้าหน้าที่เทศบาลตำบลบ้านส้อง จำนวน 1 คน
  4. คนในชุมชน จำนวน 23 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง/นางสาวรัตนา ชูแสง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 827 กรกฎาคม 2558
27
กรกฎาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย nannza123
circle
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงงการฯ
  2. เพื่อวางแผนการดำเนินงานโครงการในช่วงต่อไป
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันที่ 27 กรกฎาคม2558 ณ ศาลาประชุมประจำหมู่บ้าน หมู่ 1 บ้านพรุกระแชง

วาระการประชุมที่ 1 : รายงานผลการดำเนินงาน กิจกรรมตามแผนงานที่ได้ดำเนินงานไปแล้ว

  • กิจกรรมที่1 : วันที่ 10 กรกฎาคม 2558 กิจกรรมเพิ่มพื้นที่สมุนไพรในชุมชนครั้งที่ 3 (เดิมวันที่ 5 กรกฎาคม 2558)
  • กิจกรรมที่2 : วันที่ 11 กรกฎาคม 2558 กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน ครั้งที่ 2
  • กิจกรรมที่3 : วันที่ 25 กรกฎาคม 2558 กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน ครั้งที่ 3

วาระการประชุมครั้งที่ 2 : วางแผนการดำเนินกิจกรรมตามแผนงาน เดือน สิงหาคม 2558

  • กิจกรรมที่1 : วันที่ 5 สิงหาคม 2558 กิจกรรมเพิ่มพื้นที่สมุนไพรในชุมชนครั้งที่
  • กิจกรรมที่2 : วันที่ 7 สิงหาคม 2558 กิจกรรมเสริมทักษะอาสาสมัครดูแลสุขภาพ
  • กิจกรรมที่3 : วันที่ 22 สิงหาคม 2558 กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน ครั้งที่ 4
  • กิจกรรมที่4 : วันที่ 25 สิงหาคม 2558 กิจกรรมประชุมคณะทำงานโครงการฯ ครั้งที่ 9
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คณะทำงานโครงการฯ เข้าประชุมเพื่อวางแผนการดำเนินงานตามแผนงานโครงการฯ เดือน สิงหาคม และสรุปผลการดำเนินกิจกรรมที่ได้ทำไปแล้ว เพื่อวิเคราะห์ ปัญหาและอุปสรรคในการทำงาน และ แนวทางการแก้ไขปัญหา

วาระการประชุมที่ 1 : รายงานผลการดำเนินงาน กิจกรรมตามแผนงานที่ได้ดำเนินงานไปแล้ว

  • กิจกรรมที่ 1 : วันที่ 10 กรกฏาคม 2558 กิจกรรมเพิ่มพื้นที่สมุนไพรในชุมชนครั้งที่ 3 : วึ่งเดิมกำหนดไว้วันที่ 5 กรกฏาคม 2558 แต่เนื่องจากมีปัญหาเรื่องฝนตกไม่สามารถดำเนินกิจกรรมตามแผนได้จึงเลื่อนมาเป็นวันที่ 10 กรกฎาคม 2558 แทน แต่ก็ยังประสบปัญหาเดิม จึงได้จัดกิจกรรมเสริมเรื่องการส่งเสริมให้คนในชุมชนหมักปุ๋ยชีวภาพใช้เองในครัวเรือน ซึ่งก็ตรงกับวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
  • กิจกรรมที่ 2 : วันที่ 11 กรกฎาคม 2558 กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อนครั้งที่ 2 : อสม. และเยาวชนจิตอาสา ได้รวมกลุ่มแปรรูปสมุนไพรเพื่อใช้เป็นของเยี่ยมบ้านผู้ป่วยเรื้อรังโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง เช่น น้ำยาล้างจานสมุนไพร ยาหม่องสมุนไพร และยาดมสมุนไพร ในวันที่ 11 กรกฎาคม2558 เริ่มเวลา 09.30 น. ณ.ศูนย์สาธารณสุขมูลฐาน หมู่ 1 บ้านพรุกระแชง จำนวน 20 คน เป็น อสม. จำนวน 10 คน และเยาวชนจิตอาสา จำนวน 5 คน และเจ้าหน้าที่จาก รพ.สต.บ้านพรุกระแชง 2 คน เจ้าหน้าที่จากเทศบาลตำบลบ้านส้องจำนวน 3 คน หลังจากนั้น และเวลา 13.00 น. ได้ลงพื้นที่เยี่ยมบ้านผู้ป่วยโรคเรื้องรังเบาหวานและความดันโลหิตสูง ได้ตรวจสุขภาพเบื้องต้นด้วยการวัดความดันฯ และมอบถุงสุขภาพ เพื่อใช้ดูแลสุขภาพ
  • กิจกรรมที่ 3 : วันที่ 25 กรกฎาคม 2558 กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อนครั้งที่ 3 : จากการติดตามเยี่ยมที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่ากลุ่มภาคีเครืองข่ายต่างๆทั้งในและนอกชุมชนให้ความสนใจกลุ่มผู้ป่วยเริ้อรังเพิ่มขึ้น ในการลงเยี่ยมบ้านครั้งแรกจะมีแค่อสม.และเยาวชน ส่วนครั้งที่ 2 มีผู้ใหญ่บ้าน เจ้าหน้าที่เทศบาล และเจ้าหน้าจาก รพ.สต. และในครั้งที่ 3 ยังมีเจ้าหน้าที่จาก โรงพยาบาลยุพราชเวียงสระเข้าร่วมด้วย ในการเยี่ยมจึงลงรายละเอียดเพิ่มขึ้น

กิจกรรมเสริม - เป็นตัวแทนของตำบลบ้านส้อง จัดนิทรรศกาลหมู่บ้านต้นแบบการจัดการขยะในชุมชน และการทำปุ๋ยหมักจากเศษอาหารจากการจัดกิจกรรมทำปุ๋ยหมักชีวภาพใช้รดพืชสมุนไพรในชุมชน ตรงกับวันที่ 28 กรกฏาคม 2558 จึงได้มีการทำเสื้อทีมมอบให้กับคณะทำงานโครงการฯ สนับสนุนโดยกลุ่มสตรีแม่บ้าน เพื่อเข้าร่วมงาน ณ.โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเวียงสระ ซึ่งหมู่บ้านได้รับรางวัลชมเชย

วาระการประชุมครั้งที่ 2 : วางแผนการดำเนินกิจกรรมตามแผนงาน เดือน กรกฎาคม 2558

  • กิจกรรมที่1 : วันที่ 5 สิงหาคม 2558 กิจกรรมเพิ่มพื้นที่สมุนไพรในชุมชนครั้งที่ 4
  • กิจกรรมที่2 : วันที่ 7 สิงหาคม 2558 กิจกรรมเสริมทักษะอาสาสมัครดูแลสุขภาพ
  • กิจกรรมที่3 : วันที่ 22 สิงหาคม 2558 กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน ครั้งที่ 4
  • กิจกรรมที่4 : วันที่ 25 สิงหาคม 2558 กิจกรรมประชุมคณะทำงานโครงการฯ ครั้งที่ 9
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 20 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย
  • คณะทำงาน และคณะกรรมการชุมชน จำนวน 20 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง/นางสาวรัตน ชูแสง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน ครั้งที่ 325 กรกฎาคม 2558
25
กรกฎาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย nannza123
circle
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อสร้างเสริมการดูแลสุขภาพของคนในชุมชน2. เพื่อส่งเสริมอาสาสมัครดูและสุขภาพให้สามารถดูแลสุขภาพคนในชุมชนได้อย่างทั่วถึง
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันที่ 25 กรกฎาคม 2558ณ.ศูนย์สาธารณมูลฐาน

  • เวลา 09.30 น. - 11.00 น. - ร่วมกันทำของขวัญเยี่ยมบ้านสำหรับผู้ป่วยเรื้อรังโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
  • เวลา 13.00 น. - 15.00 น. - อสม.และเยาวชนจิตอาสา ลงพื้นที่เยี่ยมบ้านผู้ป่วยเรื้อรังโรเบาหวานและความดันโลหิตสูง
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • อสม. และเยาวชนจิตอาสา ได้รวมกลุ่มแปรรูปสมุนไพรเพื่อใช้เป็นของเยี่ยมบ้านผู้ป่วยเรื้อรังโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง เช่น น้ำยาล้างจานสมุนไพร ยาหม่องสมุนไพร และยาดมสมุนไพร ในวันที่ 25 กรกฎาคม 2558 เริ่มเวลา 09.30 น. ณ.ศูนย์สาธารณสุขมูลฐาน หมู่ 1 บ้านพรุกระแชง จำนวน 20 คน เป็น อสม. จำนวน 10 คน และเยาวชนจิตอาสา จำนวน 10 คน และเจ้าหน้าที่จาก รพ.สต.บ้านพรุกระแชง 2 คน
  • หลังจากนั้น และเวลา 13.00 น. ได้ลงพื้นที่เยี่ยมบ้านผู้ป่วยโรคเรื้องรังเบาหวานและความดันโลหิตสูง ได้ตรวจสุขภาพเบื้องต้นด้วยการวัดความดันฯ และมอบถุงสุขภาพ เพื่อใช้ดูแลสุขภาพ จำนวน 10 คน
  • จากการติดตามเยี่ยมที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่ากลุ่มภาคีเครืองข่ายต่างๆทั้งในและนอกชุมชนให้ความสนใจกลุ่มผู้ป่วยเริ้อรังเพิ่มขึ้น ในการลงเยี่ยมบ้านครั้งแรกจะมีแค่อสม.และเยาวชน ส่วนครั้งที่ 2 มีผู้ใหญ่บ้าน เจ้าหน้าที่เทศบาล และเจ้าหน้าจาก รพ.สต. และในครั้งที่ 3 ยังมีเจ้าหน้าที่จาก โรงพยาบาลยุพราชเวียงสระเข้าร่วมด้วย ในการเยี่ยมจึงลงรายละเอียดเพิ่มขึ้น เช่น
  1. ขอดูสมุดประจำตัวผู้ป่วย ดูประวัติการไปตามนัด ดูประวัติการปรับเพิ่มหรือลดยา : ทำให้ได้ทราบพฤติกรรมควบคุมระดับอาการของผู้ป่วย
  2. ตรวจเครื่องปรุงในครัว และแนะนำเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร
  3. แพทย์แผนไทย ดูแลเรื่องการนวดเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน เนื่องจากผู้ป่วยโรคนี้มักจะมีอาการเท้าช้า เป็นสาเหตุให้เกิดตาปลา ซึ่งรักษายากมาก เป็นแล้วหายช้าบางรายถึงกับต้องตัดเท้าทิ้งเพราะแผลติดเชื้อง่ายมาก การดูและรักษานั้นต้องนวดบริกเวรใต้ฝ่าเท้าบ่อยๆ หรือให้ใช้นวัตกรรมลานหินนวดฝ่าเท้า
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 20 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย
  1. อาสาสมัครดูแลสุขภาพ 10 คน
  2. เยาวชนอาสาดูแลสุขภาพ 10 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง/นางสาวรัตน ชูแสง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน ครั้งที่ 211 กรกฎาคม 2558
11
กรกฎาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย nannza123
circle
วัตถุประสงค์

-

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันที่ 11 กรกฎาคม 2558ณ.ศูนย์สาธารณมูลฐาน

  • เวลา 09.30 น. - 11.00 น. - ร่วมกันทำของขวัญเยี่ยมบ้านสำหรับผู้ป่วยเรื้อรังโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
  • เวลา 13.00 น. - 15.00 น. - อสม.และเยาวชนจิตอาสา ลงพื้นที่เยี่ยมบ้านผู้ป่วยเรื้อรังโรเบาหวานและความดันโลหิตสูง
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

อสม. และเยาวชนจิตอาสา ได้รวมกลุ่มแปรรูปสมุนไพรเพื่อใช้เป็นของเยี่ยมบ้านผู้ป่วยเรื้อรังโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง เช่น น้ำยาล้างจานสมุนไพร ยาหม่องสมุนไพร และยาดมสมุนไพร ในวันที่ 11 กรกฎาคม2558 เริ่มเวลา 09.30 น. ณ.ศูนย์สาธารณสุขมูลฐาน หมู่ 1 บ้านพรุกระแชง จำนวน 20 คน เป็น อสม. จำนวน 10 คน และเยาวชนจิตอาสา จำนวน 5 คน และเจ้าหน้าที่จาก รพ.สต.บ้านพรุกระแชง 2 คน เจ้าหน้าที่จากเทศบาลตำบลบ้านส้องจำนวน 3 คน หลังจากนั้น และเวลา 13.00 น. ได้ลงพื้นที่เยี่ยมบ้านผู้ป่วยโรคเรื้องรังเบาหวานและความดันโลหิตสูง ได้ตรวจสุขภาพเบื้องต้นด้วยการวัดความดันฯ และมอบถุงสุขภาพ เพื่อใช้ดูแลสุขภาพ จำนวน 5 คน ยกตัวอย่าง เช่น

1.นางพรพิรมย์วงศ์ศิลป์อายุ 54 ปี ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง

  • ประวัติสุขภาพ : ระดับความดันฯ 124/82ชีพจร 74
  • สภาพ / อาการปัจจุบัน :มีอาการปวดเข่า ทั้ง 2 ข้าง เนื่องจากยืนและเดินเป็นเวลานานๆ
  • แนะนำ : ให้ผู้ป่วยดูแลสุขภาพด้วยการ หลีกเลี่ยงการเดินหรือยืนเป็นเวลานาน แนะนำให้ใช้นวัตกรรมสุขภาพ "ปลอดภัยเมื่อใช้ถุง" เป็นถุงทรายใช้บริหารหัวเข่า

2.นางฉวีวรรณศรนอง อายุ 54 ปี ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง

  • ประวัติสุขภาพ : ระดับความดันฯ 128/74ชีพจร 72
  • สภาพ / อาการปัจจุบัน :รักษาระดับความดันได้ดี ปวดกล้ามเนื้อทั่วร่างกาย
  • แนะนำ : ให้ผู้ป่วยดูแลสุขภาพด้วยหลัก 3 อ. 2ส.

เนื่องจากวันนี้มีเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานราชการลงพื้นที่ด้วย การพูดคุยซักถามใช้เวลานานพอสมควรในแต่คน จึงทำให้มีเวลาไม่เพียงพอ คณะทำงานจึงให้ความเห็นว่าจะเยี่ยมเพิ่มเติมในวัน12 กรกฏาคม2558 เวลา 13.00 น. เป็นต้นไป แต่ไม่ต้องทำชุุดของขวัญเพิ่มเติมแล้วให้ใช้ของที่เหลือในวันนี้

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 20 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย
  1. อาสาสมัครดูแลสุขภาพ 5 คน
  2. เยาวชนอาสาดูแลสุขภาพ 10 คน
  3. เจ้าหน้าที่ รพ.สต.บ้านพรุกระแชง 2 คน
  4. เจ้าหน้าที่เทศบาลตำบลบ้านส้อง 3 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัสจันทร์ทอง/นางสาวรัตนา ชูแสง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

กิจกรรมเพิ่มพื้นที่สมุนไพรในชุมชน ครั้งที่ 310 กรกฎาคม 2558
10
กรกฎาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย nannza123
circle
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อส่งเสริมการใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพ 2. เพื่อเพิ่มจำนวนสมุนไพรในชุมชน
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันที่ 10 กรกฎาคม 2558 เวลา 13.00 น. ศาลาประชุมประจำหมู่บ้าน หมู่ 1 บ้านพรุกระแชง

  • เวลา 13.00 น. - ลงทะเบียน
  • เวลา 13.30 น. - ให้ความรู็เรื่อง "การทำปุ๋ยหมักจากเศษอาหาร" โดย นายสมจิตร จันทร์แก้วประธาน อสม. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านพรุกระแชง
  • เวลา 15.00 น. - ให้ความรู้เรื่อง "การหมักดิน สำหรับปลูกสมุนไพร"
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • คนในชุมชนได้รับความรู้วิธีการทำปุ๋ยหมักจากเศษอาหาร เพื่อจะนำมาใช้ในการเกษตร ไม่ว่าจะเป็นใช้กับพืชสวนครัว สมุนไพร เป็นต้นเป็นการลดต้นทุนทางการผลิต ช่วยลดขยะมูลฝอยในชุมชน ลดรายจ่าย นอกจากการทำไว้เพื่อใช้เองส่วนที่เหลืออาจจะเอาไปขายเพื่อสร้างรายได้ให้กับครัวเรือน ด้วยหลักการแบบง่ายๆ คือ อาศัยการย่อยสลายเศษอาหารที่เกิดจากจุลินทรีย์ องค์ประกอบในการทำปุ๋ยหมักจากเศษอาหาร ประกอบด้วย 3 ส่วนคือ
  1. เศษอาหาร เป็นเศษอาหารที่เหลือจากการบริโภคในครัวเรือน เศษอาหารที่เหลือหรือเสียจากร้านอาหาร โรงอาหาร โรงครัว เช่น เศษข้าว เปลือกผลไม้ เปลือกไข่ กระดาษชำระ ก้างปลา เศษหมู ขนมปัง ฯลฯ หากเศษอาหารที่มีขนาดใหญ่ควรสับให้มีขนาดเล็กลงเสียก่อน เศษอาหารที่ใช้เฉพาะในส่วนที่เป็นกาก ควรแยกน้ำที่อยู่ในเศษอาหารออกก่อน
  2. จุลินทรีย์ ต้องเป็นจุลินทรีย์ประเภทที่ใช้ออกซิเจน เนื่องจากจุลินทรีย์ประเภทนี้จะไม่ส่งกลิ่นเหม็น ไม่ก่อให้เกิดน้ำเสีย แหล่ง จุลินทรีย์ที่หาได้ง่ายและมีความเหมาะสมคือมีอยู่ในมูลสัตว์ทุกชนิด เช่น มูลโค มูลไก่ มูลม้า มีจำนวนจุลินทรีย์มาก หลายประเภท เช่น รา แบคทีเรีย แอคติโนมัยซิส ช่วยให้กระบวนการย่อยสลายของเศษอาหารกลายเป็นปุ๋ยหมักเร็วขึ้น มีธาตุไนโตรเจนที่มีความจำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตและสร้างเซลล์ของจุลินทรีย์ด้วย
  3. ใบไม้ เศษของใบไม้จะช่วยให้เศษอาหารมีความโปร่งพรุน ไม่อัดแน่นเกินไป มีธาตุคาร์บอนที่มีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโตและสร้างเซลล์ของจุลินทรีย์ จากการวิจัยทั้ง 3 ส่วนนี้พบว่าอัตราส่วนที่เหมาะสมคือ 1:1:1 โดยปริมาตร
  • อุปกรณ์และต้นทุนทำปุ๋ยหมักแบบครัวเรือน
  1. ถังพลาสติกขนาด 20 ลิตร พร้อมฝาปิด จำนวน 2 ถัง ราคา 120 บาท
  2. ถุงมือ 2 คู่ ราคา 20 บาท
  3. ตาข่ายกันแมลงและเทปพันสายไฟ ราคา 50 บาท
  4. มูลโค 12 กระสอบ (สำหรับใช้ 1 ปี) ราคา 240 บาท
  • ขั้นตอนการหมัก
  1. ทำการเจาะถังพลาสติกด้วยการใช้เหล็กร้อนๆ ให้เป็นรูรอบ ๆ ถัง เพื่อเป็นช่องระบายอากาศ ใช้ตาข่ายพันโดยรอบ เพื่อป้องกันแมลงวันวางไข่และสร้างความรำคาญรบกวน
  2. นำเศษอาหารในส่วนที่แห้ง คือไม่เอาน้ำแกง จำนวน 1 ส่วน มูลโค 1 ส่วน และเศษใบไม้ 1 ส่วน ใส่ลงในถัง ใช้ถุงมือผสมคลุกเคล้าให้ทั่วแล้วปิดฝา ระยะแรกไม่ต้องเติมน้ำ เนื่องจากเศษอาหารมีความชื้นอยู่สูง (ในวันถัดไปหากมีเศษอาหารอีก ให้นำมาผสมอัตราส่วนเดิมคือ 1:1:1 ใส่ลงในถังแล้วคลุกเคล้าให้ทั่ว ปิดฝา)
  3. จากนั้นทำการพลิกกลับทุกวัน วันละ 1-2 ครั้ง หากไม่สะดวกหากใช้วิธีเทออกนอกถังเพื่อคลุกเคล้าในกะละมัง แล้วเทกลับลงถังพลาสติกภายหลัง ในระยะ 3-10 วัน แรกอาจมีความร้อนเกิดขึ้นภายในถัง เนื่องจากจุลินทรีย์คายความร้อนออกมาเพื่อทำปฏิกิริยาการย่อยสลาย หากความลดลงเกือบแห้งควรพรมน้ำเพิ่มความชื้น ใช้เวลาทั้งสิ้น 30 วัน จะได้ปุ๋ยหมักที่ได้จากเศษอาหารในปริมาตรที่ลดลงร้อยละ 40 หากมีความชื้นอยู่ควรทำให้แห้งสนิท เพื่อให้จุลินทรีย์เหล่านี้สงบตัว หรือไม่ทำปฏิกิริยาต่อไป ปุ๋ยหมักจะมีสีดำคล้ำ มีขนาดเล็กลง ยุ่ยและเปื่อย มีน้ำหนักเบา และที่สำคัญคือไม่มีกลิ่นเหม็น
  • วิธีที่ 2 วิธีทำขวดหมักปุ๋ยจากเศษอาหารในครัวเรือน
  1. นำขวดน้ำมาผ่าครึ่งตามขวาง ก็จะได้ขวดน้ำส่วนบนที่ฝา กับส่วนล่างซึ่งเป็นก้นขวด
  2. เจาะรูที่ฝาขวดด้วยเข็มกลัดหรือตะปู โดยให้เจาะหลายๆรูให้มีช่องไฟห่างกันพอสมควร เพื่อให้น้ำสามารถผ่านได้
  3. พลิกขวดคว่ำด้านฝาลงในขวดครึ่งล่างกลายเป็นขวดหมักปุ๋ยเรียบร้อย
  4. จากนั้น นำเศษอาหารมาคลุกเคล้ากับน้ำตาล เพื่อป้องกันปัญหาเรื่องกลิ่น เเนะนำว่าควรผสมเศษอาหารกับน้ำตาลในอัตราส่วนเท่าๆกัน ใครมีหัวเชื้อจุลินทรีย์ก็ผสมลงไปด้วยเล็กน้อย บรรจุใส่ขวดที่เตรียมไว้ ปิดฝาให้สนิท โดยอาจจะใช้กระดาษมาปิดเเล้วใช้เขือกมัดให้เเน่น ทิ้งไว้ ก็จะได้น้ำหมักชีวภาพซึ่งไหลลงมาจากเศษอาหารชั้นบนเป็นที่เรียบร้อย
  5. เวลาใช้เเนะนำว่าควรผสมน้ำให้อัตราส่วนประมาณ 1 ต่อ 500 เพราะน้ำหมักที่ได้ค่อนข้างเข้มข้น
  6. ส่วนเศษอาหารด้านบน ก็สามารถนำไปผสมดินเป็นปุ๋ยหมักได้อีกทาง
  • การหมักดิน สำหรับปลูกสมุนไพร

การหมักดินก็เพื่อย่นระยะเวลาที่ใช้ทำปุ๋ยหมักให้สั้นลงและสามารถใช้ได้ในระยะเวลาที่รวดเร็วกว่า ซึี่งจำเป็นมากเนื่องจากดินที่ซื้อตามร้านทั่วไปนั้น จำนวนไม่น้อยที่เป็นดินเปล่าไม่มีสารอาหารสำหรับพืช หลายคนจึงเกิดปัญหาว่าเมื่อซื้อดินถุงไปปลูกต้นไม้แล้วต้นไม้ไม่โต การหมักดินจะเป็นการเพิ่มธาตุอาหารที่พืชต้องการลงไปในดิน

  • ส่วนผสม :
  1. ดินถุง
  2. มูลสัตว์
  3. ใบไม้แห้ง
  4. เศษอาหารสด ผัก ผลไม้
  5. หัวเชื้อจุลินทรีย์
  6. น้ำตาล

วิธีทำ : นำดินที่ซื้อมาคลุกเค้ากับมูลสัตว์ เศษใบไม้แห้ง เศษอาหาร และหัวเชื้อจุลินทรีย์ จากนั้นเติมน้ำตาล คลุกเคล้าให้เข้ากัน เติมน้ำพอชุ่ม โดยให้กะปริมาณตามความเหมาะสม ไม่จำเป็นต้องมีอัตราส่วนที่เเน่นอน เเต่มีหลักสำคัญที่ควรทราบก็คือ

  1. มูลสัตว์ที่นำมาใช้ควรเป็นมูลสัตว์เเห้ง
  2. เศษใบไม้ควรเลือกใบเล็ก เเละหากเป็นพืชตระกูลถั่วก็ย่อยง่ายขึ้น
  3. เศษอาหาร ควรใส่ให้หลากหลายชนิด เพื่อให้ได้สารอาหารพืชหลายชนิด
  4. น้ำตาลทราย เป็นน้ำตาลอะไรก็ได้ ที่เราเติมลงไปเพื่อกระตุ้นให้หัวเชื้อจุลินทรีย์ที่เรานำมาผสมทำงานย่อยสลายได้เต็มประสิทธิภาพมากขึ้น
  5. น้ำที่ใส่ ควรกะความชื้นให้เหมาะสม โดยสังเกตได้ด้วยการทดลองกำดินที่ผสมเเล้วขึ้นมาหากจับกันเป็นก้อนไม่แตกและบีบไม่มีน้ำไหลเป็นใช้ได้

เมื่อผสมทุกอย่างเข้ากันเเล้ว ให้นำดินที่ผสมเเล้วใส่ถุงโดยถุงที่ใช้หมักดิน ควรเป็นถุงที่มีรูพรุนเล็กน้อยเพื่อให้สามารถระบายอากาศได้ ดังนั้นไม่ควรใช้ถุงพลาสติก และเพื่อให้จุลินทรีย์ทำงานได้เร็วขึ้นโดยที่ไม่ต้องกลับกอง แนะนำว่าควรเลือกใช้ถุงขนาดเล็กในการหมักดิน สำหรับระยะเวลาในการหมักนั้น เเนะนำให้หมักจนกว่าดินจะหายร้อน เเสดงว่ากระบวนการหมักสมบูรณ์เเล้ว

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย
  1. อสม. 10 คน
  2. เยาวชน 10 คน
  3. คนในชุมชน 10 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ปัญหา : เดิมกิจกรรมกำหนดไว้วันที่ 5 กรกฏาคม 2558 แต่มีผลกระทบจากฝนตกหนัก จึงจำเป็นต้องเลืื่อน เป็นวันที่ 10 กรกฎาคม 2558 แต่ก็ยังไม่สามารถรณรงค์ให้ปลูกสมุนไพรได้เนื่องจากเป็นช่วงฤดู

แนวทางแก้ไขปัญหา : ได้เชิญครูภูมิปัญญาให้ความรู้ เรื่องการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ และการเตรียมสำหรับการปลูกสมุนไพร ก็ถือได้ว่าตรงตามวัตถุประสงค์ของกิจกรรม

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง / นางสาวรัตนา ชูแสง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 729 มิถุนายน 2558
29
มิถุนายน 2558รายงานจากพื้นที่ โดย nannza123
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการฯ เพื่อวางแผนการดำเนินงานโครงการฯในช่วงต่อไป

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันที่ 29 มิถุนายน 2558 ณ ศาลาประชุมประจำหมู่บ้าน หมู่ 1 บ้านพรุกระแชง

วาระการประชุมที่ 1 : รายงานผลการดำเนินงาน กิจกรรมตามแผนงานที่ได้ดำเนินงานไปแล้ว

  • กิจกรรมที่1 : วันที่ 5 มิถุนายน 2558 กิจกรรมประชาสัมพันธ์ประโยชน์ของสมุนไพรในการดูแลสุขภาพ ครั้งที่ 2
  • กิจกรรมที่2 : วันที่ 6 มิถุนายน 2558 กิจกรรมเพิ่มจำนวนสมุนไพรในชุมชนครั้งที่ 2
  • กิจกรรมที่3 : วันที่ 13 มิถุนายน 2558 กิจกรรมการเรียนรู้สุขภาพเบื้องต้น
  • กิจกรรมที่4 : วันที่ 14 มิถุนายน 2558 กิจกรรมเสริมทักษะอาสาสมัครดูแลสุขภาพ
  • กิจกรรมที่5 : วันที่ 20 มิถุนายน 2558 กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน ครั้งที่ 1

วาระการประชุมครั้งที่ 2 : วางแผนการดำเนินกิจกรรมตามแผนงาน เดือน กรกฎาคม 2558

  • กิจกรรมที่1 : วันที่ 5 กรกฎาคม 2558 กิจกรรมเพิ่มพื้นที่สมุนไพรในชุมชนครั้งที่ ครั้งที่
  • กิจกรรมที่2 : วันที่ 11 กรกฎาคม 2558 กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน ครั้งที่ 2
  • กิจกรรมที่3 : วันที่ 25 กรกฎาคม 2558 กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน ครั้งที่ 3
  • กิจกรรมที่4 : วันที่ 27 กรกฎาคม 2558 กิจกรรมประชุมคณะทำงานโครงการฯ ครั้งที่ 8
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คณะทำงานโครงการฯ เข้าประชุมเพื่อวางแผนการดำเนินงานตามแผนงานโครงการฯ เดือน กรกฎาคม และสรุปผลการดำเนินกิจกรรมที่ได้ทำไปแล้ว เพื่อวิเคราะห์ ปัญหาและอุปสรรคในการทำงาน และ แนวทางการแก้ไขปัญหา

วาระการประชุมที่ 1 : รายงานผลการดำเนินงาน กิจกรรมตามแผนงานที่ได้ดำเนินงานไปแล้ว

  • กิจกรรมที่ 1 : วันที่ 5 มิถุนายน 2558 กิจกรรมประชาสัมพันธ์ประโยชน์ของสมุนไพรในการดูแลสุขภาพ : คนในชุมชนให้ความสำคัญกับการประชาสัมพันธ์ประโยชน์ของสมุนไพรเป็นอย่างมาก และมีการนำสมุนไพรมาถามอย่างสม่ำเสมอว่า มันคืออะไร มีสรรพคุณอะไรบ้าง และมีวิธีใช้อย่างไร ก็ได้ให้ครูภูมิปัญญาแนะนำ และให้ความรู้
  • กิจกรรมที่ 2 : วันที่ 6 มิถุนายน 2558 กิจกรรมเพิ่มจำนวนสมุนไพรในชุมชน : จากการที่ได้แจกยางล้อรถยนต์เพื่อให้ชาวบ้านได้ปลูกสมุนไพร เพื่อเป็นสัญญลักษ์ ว่านี่คือกิจกิจกรรมส่งเสริมการปลูกสมุนไพร ที่ได้รับงบประมาณจาก สสส. ผลจากการลงไปตรวจเยี่ยมชาวบ้านให้ความสนใจพอสมควร
  • กิจกรรมที่ 3 : วันที่ 13 มิถุนายน 2558 กิจกรรมการเรียนรู้สุขภาพเบื้องต้น : จากการได้นำเยาวชนจิตอาสาที่ผ่านการอบรมการตรวจสุขภาพเบื้องต้นลงเยี่ยมบ้าน สังเกตุได้ว่า เยาวชนยังขาดความชำนาญในการตรวจวัดความดันฯ บางคนหันผิดด้าน ทั้งนี้เนื่องจากขาดการใช้อย่างต่อเนื่อง คณะกรรมการจึงเสนอให้ มอบเครื่องวัดความดันฯ ให้กับโรงเรียน 1 เครื่อง ประจำไว้ห้องปฐมพยาบาล
  • กิจกรรมที่ 4 : วันที่ 14 มิถุนายน 2558 กิจกรรมเสริมทักษะอาสาสมัครดูแลสุขภาพ : คณะทำงานให้ความเห็นว่า เยาวชนมีความสนใจเป็นอย่างมากแต่กลัวจะเป็นแค่ระยะสั้นๆ เราจะทำอย่างไรให้เยาวชนสนใจแบบยั่งยืน จึงเสนอที่ประชุมให้ประชุมร่วมกับโรงเรียนบ้านพรุกระแชง เพื่อเสนอให้โรงเรียนสนับสนุนกิจกรรมเกี่ยวกับสมุนไพรเป็นวิชาหนึ่งในการเรียนการสอน เช่น ชมรม กลุ่ม หรือกิจกรรมเสริม
  • กิจกรรมที่ 5 : วันที่ 20 มิถุนายน 2558 กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน : เป็นกิจกรรมที่ ผู้ป่วยโรคเรื้อรังและผู้สูงอายุได้รับความสุขยิ้มแย้ม จะซักถามเรื่อง สมัยในอดีต เพราะบางคนไม่ได้พบปะ พูดคุยอะไรกันเลย และที่สำคัญได้แลปเปลี่ยนประสบการณืต่างๆ บ้างก็ให้สมุนไพร นำกลับมาปลูกไว้ที่ศูนย์ด้วย

วาระการประชุมครั้งที่ 2 : วางแผนการดำเนินกิจกรรมตามแผนงาน เดือน กรกฎาคม 2558

  • กิจกรรมที่ 1 : วันที่ 5 กรกฎาคม 2558 กิจกรรมเพิ่มพื้นที่สมุนไพรในชุมชนครั้งที่ 3 ในกิจกรรมนี้จะมีพิธีเปิดป้ายสวนสมุนไพรด้วย
  • กิจกรรมที่ 2 : วันที่ 11 กรกฎาคม 2558 กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน ครั้งที่ 2
  • กิจกรรมที่ 3 : วันที่ 25 กรกฎาคม 2558 กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน ครั้งที่ 3
  • กิจกรรมที่ 4 : วันที่ 27 กรกฎาคม 2558 กิจกรรมประชุมคณะทำงานโครงการฯ ครั้งที่ 8
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 20 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย
  • คณะทำงานโครงการฯ จำนวน 20 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง/นางสาวรัตนา ชูแสง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

กิจกรรมเสริมทักษะอาสาสมัครดูแลสุขภาพ26 มิถุนายน 2558
26
มิถุนายน 2558รายงานจากพื้นที่ โดย nannza123
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อส่งเสริมการใช้สมุนไพรเป็นยา และส่งเสริมการดูแลสุขภาพด้วยตนเองในครอบครัว
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันที่ 26 มิถุนายน 2558

  • เวลา 08.30 น.- 09.00 น. : ลงทะเบียน
  • เวลา 09.00 น.- 11.00 น. : ให้ความรู้เรื่อง "สมุนไพรในการดูแลสุขภาพ" โดย นางสาววิภารัตน์ ชูแสง
  • เวลา 11.00 น.- 12.00 น. : ให้ความรู้เรื่อง "การนวดไทยเพื่อสุขภาพ" โดย นางสาววิภารัตน์  ชูแสง
  • เวลา 12.00 น.- 13.00 น. : พักรับประทานอาหารเที่ยง
  • เวลา 13.00 น.- 13.30 น. : แลกเปลี่ยนประสบการณ์ การลงพื้นที่เยี่ยมบ้านผู้ป่วยเรื้อรัง เบาหวาน-ความดันโลหิตสูง
  • เวลา 13.30 น.- 16.00 น. : นักเรียนลงพื้นที่เรียนรู้พืชสมุนไพรในสวนสมุนไพร ศสมช. หมู่ 1 บ้านพรุกระแชง ที่ได้รับงบประมาณ จาก สสส.
  • เวลา 16.00 น.- 16.30 น. : ปิดการอบรม
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

กิจกรรมเสริมสร้างความรู้ด้านการใช้สมุนไพรและแพทย์แผนไทยในการดูแลเฉพาะโรค โดยแพทย์แผนไทย ถ่ายทอดความรู้เรื่องคุณค่าประโยชน์ของสมุนไพรแต่ละชนิดที่สามารถนำมาใช้และเผยแพร่ในการดูแลสุขภาพให้กับเยาวชน และอสม.พาเยาวชนลงไปเรียนรู้กับพื้นที่จริง ในวันที่ 26 มิถุนายน 2558 ณ.ห้องประชุมโรงเรียนบ้านพรุกระแชง สรุปได้ดังนี้

  • เวลา 08.30 น.- 09.00 น. : นักเรียนชั้นป.4 ป.5 และป.6 โรงเรียนบ้านพรุกระแชงร่วมลงทะเบียนเข้าอบรม จำนวน 40 คน และมีเจ้าหน้าที่อสม. 10 คน
  • เวลา 09.00 น.- 11.00 น. : นางสาววิภารัตน์ ชูแสง ตำแหน่งแพทย์แผนไทย รพ.สต. บ้านพรุกระแชง ได้ให้ความรู้เรื่อง "สมุนไพรในการดูแลสุขภาพ"โดยการนำภาพถ่ายสมุนไพรแต่ละชดให้นักเรียนได้ตอบชื่อสมุนไพรในภาพถ่าย ซึ่งนักเรียนตอบถูกประมาณ ร้อยละ 80 %เช่น ขมิ้น ตะไคร้ ใบมะกรูด ชุมเห็ดเทศ ดอกอัญชัน ว่านหางจระเข้ เป็นต้น และสมุนไพรที่นักเรียนตอบผิดทุกคนคนคือ รางจืด เสลดพังพอน ว่านชักมดลูก เป็นต้น และแพทย์แผนไทยได้อธิบายสรรพคุณ และวิธีใช้ ของสมุนไพรแต่ละชนิด นักเรียนให้ความสนใจเป็นอย่างมาก และยกมือถามข้อที่สงสัยเป็นระยะ ในครั้งนี้แพทย์แผนไทยจะสอนการจำแนกสมุนไพรตามรส ซึ่งแบ่งออกเป็น 9 รส ดังนี้
  1. รสฝาด - สมานแผล แก้ท้องร่วง ร้อนใน เช่น กล้วยน้ำว้าแก่ เปลือกมังคุด ลูกฉิ่ง มะตูม
  2. รสหวาน - ซึมซาบไปตามเนื้อ บำรุงหัวใจ แก้พิษตานซาง เช่น ดอกคำฝอย อ้อยแดง
  3. รสเมาเบื่อ - แก้พิษ แก้พยาธิ เช่น ชุมเห็ด เถากระไดลิง ทองพันชั่ง
  4. รสขม - ทางเดินดีและโลหิต เจริญอาหาร ขับเสมหะ บำรุงน้ำดี เช่น ฟ้าทะลายโจร เถามะระ ประคำดีควาย บอระเพ็ด
  5. รสเผ็ดร้อน - แก้ลม ขับลม ปวดท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ เช่น พริก ขิง กานพลู
  6. รสมัน - แก้เส้นเอ็น บำรุงเส้นเอ็น แก้ปวดเมื่อย บำรุงไขข้อ เช่นเมล็ดงา และตระกูลถั่ว
  7. รสหอมเย็น - บำรุงหัวใจเช่นต้นเตยหอม กฤษณา เกษรทั้ง 5 หญ้าฝรั่น
  8. รสเค็ม - ซึบซาบไปตามหัวใจ ขับปัสสาวะ โรคผิวหนัง ขับน้ำคาวปลา เช่น แก่นแสมทะเล ใบหอมแดง
  9. รสเปรี้ยว - กัดเสมหะ แก้ไอ เช่น มะขามป้อม ใบมะยม ใบมะขาม ใบส้มป่อย น้ำมะนาว
  • เวลา 11.00 น.- 12.00 น. : ให้ความรู้เรื่อง "การนวดไทยเพื่อสุขภาพ" โดย นางสาววิภารัตน์ชูแสง ได้สอนการนวดด้วยตนเอง 4 ท่า
  1. การนวดขาท่านั่งแก้อาการปวดขา ตะคริวน่อง - คือการนวดขาด้วนใน บริเวรน่อง เริ่มด้วยการนั่งพับเพียบ ใช้ส้นมือกดลงไป ขึ้น-ลง 3 รับ 2 ข้างสลับกัน
  2. การนวดฝ่าเท้าแก้อาการเท้าชา - นวดในท่านั่ง โดยนั่งพับเพียบใช้นิ้วโป้วกดลงไปที่ฝ่าเท้า ตามแนวเส้น นิ้วก้อย นิ้วกลาง และน้ิ้วโป้ง ทั้ง2 ข้าง
  3. การนวดใบหน้า 7 ท่าย่อย แก้อาการ ปวดหัว บริหารกล้ามเนื้อหน้า
  4. การนวด ไหล่ และบ่าทั้ง2ข้าง แก้อาการปวด เนื่องจากการทำงานหนัก ยกของหนัก เป็นต้น
  • เวลา 13.00 น.- 13.30 น. : แลกเปลี่ยนประสบการณ์ การลงพื้นที่เยี่ยมบ้านผู้ป่วยเรื้อรัง เบาหวาน-ความดันโลหิตสูง โดยตัวแทนนักเรียน ด.ญ.สุดา สำราญจิตต์ หรือน้องจอย ได้เล่าว่า ได้มีโอกาสลงไปเยี่ยมบ้านกับทีมอสม. หลังจากได้รับความรู้จากการได้เรียนรู้เรื่องการตรวจสุขภาพเบื้องต้น เมื่อไปถึงบ้านที่มีผู้ป่วยเรื้อรัง ขั้นตอนแรก ก็ได้แนะนำตัว

"สวัสดีค่ะ หนูชื่อ ด.ญ.สุดา สำราญจิตต์ หรือน้องจอย เป็นเยาวชนจิตอาสาดูแลสุขภาพ วันนี้ได้มาเยี่ยมป้า วันนี้หนูจะวัดความดันฯ ให้ป้านะคะ เมื่อวัดความดันเสร็จก็ได้บอกผลให้กับผู้ป่วยทราบ หากมีความดันสูงผิดปกติก็จะแนะนำให้ ลด หวาน มัน เค็ม รับประทานยาให้ครบตามที่หมอสั่ง และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และได้มอบของเยี่ยมบ้านให้ผู้ป่วยเรื้องรัง ทุกครั้งค่ะ หนูดีใจที่ได้ลงเยี่ยมบ้านค่ะ หนูดีใจที่ได้เอาความรู้ที่เรียนมาไปใช้ และในวันนี้หนูได้รับความรู้เรื่องการนวดไทย ในการลงพื้นที่เยี่ยมครั้งต่อไป หนูจะนวดให้ผู้ป่วยด้วยค่ะ ขอบคุณค่ะ" หลังน้องจอยเล่าจบ เพื่อนๆก็ตบมือให้กำลังใจ

  • เวลา 13.30 น.- 16.00 น. : อสม. นำตัวแทนนักเรียนลงพื้นที่เรียนรู้พืชสมุนไพรในสวนสมุนไพร ศสมช. หมู่ 1 บ้านพรุกระแชง ที่ได้รับงบประมาณ จาก สสส. จำนวน 10 คน เนื่องจากไม่สามารถนำนักเรียนลงพื้นที่ได้ทั้งหมด จึงขอตัวแทนนักเรียน ลงพื้นที่จริงและจะเก็บรวบรวมข้อมูลจัดเป็นนิทรรศกาลให้เพื่อนๆ ได้เรียนรู้ครั้งต่อไป
  • เวลา 16.00 น.- 16.30 น. : ปิดการอบรม
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 50 คน จากที่ตั้งไว้ 50 คน
ประกอบด้วย
  1. เยาวชนในโรงเรียนบ้านพรุกระแชง ป.4-ป.6 จำนวน 40 คน
  2. อสม. จำนวน 10 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ปัญหา :ไม่สามารถนำนักเรียน ทั้ง 40 คน ลงพื้นที่ได้ทั้งหมด สาเหตุดังต่อไปนี้
  1. นักเรียนจำนวนมาก กลัวดูแลไม่ทั่วถึง
  2. กลัวนักเรียนได้รับอุบัติเหตุระหว่างการเดินทาง
  3. ไม่ทำหนังสืออนุญาตผู้ปกครองให้นำนักเรียนออกนอกสถานที่
  • แนวทางการแก้ไข : ได้ขอตัวแทนนักเรียน จำนวน 10 คน ที่เป็นลูก-หลาน ของอสม. เพื่อจะได้ดูแลอย่างทั่วถึง และจะเก็บข้อมูลจัดบอร์ดความรู้ให้นักเรียน
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง/นางสาวรัตน ชูแสง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน ครั้งที่ 120 มิถุนายน 2558
20
มิถุนายน 2558รายงานจากพื้นที่ โดย nannza123
circle
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อให้คนในชุมชนได้รับการดูแลทั้งร่างกายและจิตใจอย่างทั่วถึง 2. เพื่อให้อาสาสมัครดูแลสุขภาพได้ใช้ความรู้ในการสร้างเสริมสุขภาพในชุมชน
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันที่ 20 มิถุนายน 2558

  • เวลา 08.30 น. - ร่วมกันทำของขวัญเยี่ยมบ้านสำหรับผู้ป่วยเรื้อรังโรเบาหวานและความดันโลหิตสูง
  • เวลา 13.00 น. - อสม.และเยาวชนจิตอาสา ลงพื้นที่เยี่ยมบ้านผู้ป่วยเรื้อรังโรเบาหวานและความดันโลหิตสูง
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

อสม.และเยาวชนจิตอาสา ได้รวมกลุ่มแปรรูปสมุนไพรเพื่อใช้เป็นของเยี่ยมบ้านผู้ป่วยเรื้อรังโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง เช่น น้ำยาล้างจานสมุนไพร ยาหม่องสมุนไพร และยาดมสมุนไพร ในวันที่ 20 มิถุนายน 2558 เริ่มเวลา 08.30 น. ณ.ศูนย์สาธารณสุขมูลฐาน หมู่ 1 บ้านพรุกระแชง จำนวน 20 คน เป็น อสม. จำนวน 10 คน และเยาวชนจิตอาสา จำนวน 10 คน

หลังจากนั้น ได้ร่วมรับประทานอาหารเที่ยงร่วมกัน และเวลา 13.00 น. ได้ลงพื้นที่เยี่ยมบ้านผู้ป่วยโรคเรื้องรังเบาหวานและความดันโลหิตสูง ได้ตรวจสุขภาพเบื้องต้นด้วยการวัดความดันฯ และมอบถุงสุขภาพ เพื่อใช้ดูแลสุขภาพ จำนวน 18 คน ยกตัวอย่าง เช่น

1.นางปรีดา บุญเรือง อายุ 61 ปี ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง

  • ประวัติสุขภาพ : ระดับความดันฯ 138/82  ชีพจร 74
  • สภาพ / อาการปัจจุบัน :เมื่อ1 วันก่อนมีอาการหน้ามืดเป็นลม ปวดมึนท้ายทอย และมีอาการ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อทั่วร่างกาย
  • แนะนำ : ให้ผู้ป่วยดูแลสุขภาพด้วยการ งด หวาน มัน เค็ม รับประทานผักและผลไม้ และออกกำลังกายอย่างน้อย อาทิตย์ละ 3-5 ครั้ง ครั้งละ 15-20 นาที

2.นางหนูพลัด พรหมศรีแก้ว อายุ 68 ปี ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง

  • ประวัติสุขภาพ : ระดับความดันฯ 132/80  ชีพจร 72
  • สภาพ / อาการปัจจุบัน :ปกติ
  • แนะนำ : ให้ผู้ป่วยดูแลสุขภาพด้วยหลัก 3 อ. 2ส.

3.นางหนูนาศ  ถิ่นพิบูลย์  อายุ 60 ปี ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง

  • ประวัติสุขภาพ : ระดับความดันฯ 128/80  ชีพจร 68
  • สภาพ / อาการปัจจุบัน :เมื่อ 3 วันก่อนมีอาการปวดไหล่และบ่าทั้ง 2 ข้าง เนื่องจากออกแรงขุดดิน และมีอาการชามือร่วมด้วย
  • แนะนำ : หลีกเลีี่ยงการยกของหนัก และทำงานหนัก ประคบสมุนไพร อย่างน้อย 10-15 นาที ทุกวัน และนวดอย่างน้อยวันละ 30 นาที

4.นางพรทิพย์  ถิ่นพิบูลย์  อายุ 54 ปี ผู้ป่วยโรคเบาหวาน

  • ประวัติสุขภาพ : ระดับความดันฯ 107/74  ชีพจร 82
  • สภาพ / อาการปัจจุบัน :ปกติ
  • แนะนำ : ให้ผู้ป่วยดูแลสุขภาพด้วยการ งด หวาน มัน เค็ม รับประทานผักและผลไม้ และออกกำลังกายอย่างน้อย อาทิตย์ละ 3-5 ครั้ง ครั้งละ 15-20 นาที

โดยบันทึกข้อมูลในสมุดสุขภาพประจำตัวของผู้ป่วย หลังจากได้แนะนำให้ผู้ป่วยได้ปฏิบัติตาม จะได้นำข้อมูลมาวิเคราะห์ วางแผน กาารติดตามเยี่ยมและประเมินติดตามอย่างต่อเนื่อง

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 20 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย
  1. อาสาสมัครดูแลสุขภาพ 10 คน
  2. เยาวชนอาสาดูแลสุขภาพ 10 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง/นางสาวรัตน ชูแสง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

กิจกรรมเรียนรู้การตรวจสุขภาพเบื้องต้น13 มิถุนายน 2558
13
มิถุนายน 2558รายงานจากพื้นที่ โดย nannza123
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อสร้างอาสาสมัครรุ่นใหม่ในการดูแลสุขภาพคนในชุมชน
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันที่ 13 มิถุนายน 2558 ณ. โรงอาหารบ้านพรุกระแชง โรงเรียนบ้านพรุกระแชง

  • เวลา 08.30 น. ลงทะเบียน
  • เวลา 09.00 น. กิจกรรมให้ความรู้ "การเรียนรู้การตรวจสุขภาพเบื้องต้น"
  • เวลา 11.00 น. กิจกรรมให้คววามรู้ "การป้องกันโรคไข้เลือดออก"
  • เวลา 12.00 น. พักรับประทานอาหารเที่ยง
  • เวลา 13.00 น. กิจกรรม "เสริมทักษะ การตรวจสุขภาพ ด้วยการลองปฏิบัติจริง"
  • เวลา 15.00 น. ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านพรุกระแชงกล่าวปิดการอบรม
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

วันที่ 13 มิถุนายน 2558  ได้จัดกิจกรรมเรียนรู้การตรวจสุขภาพเบื้องต้น เพื่อสร้างอาสาสมัครรุ่นใหม่ในการดูแลสุขภาพคนในชุมชน ณ.โรงเรียนบ้านพรุกระแชง ซึ่งมีคณะทำงานโครงการฯ จำนวน 3 คน อสม. 4 คน เจ้าหน้าที่โรงพยาบยาลส่งเสริมสสุขภาพตำบลบ้านพรุกระแชง จำนวน 5 คน เข้าร่วามทำกิจกรรม

เวลา 08.30 น. - มีนักเรียนชั้น ป.5 และ ป.6 จำนวน 50 คน ร่วมลงทะเบียนอบรม

เวลา 09.00 น. - กิจกรรมให้ความรู้ "การเรียนรู้การตรวจสุขภาพเบื้องต้น" โดย นางดารุณี  ผุดผาด เจ้าหน้าที่สาธารณสุขปฏิบัติงาน ให้ความรู้เรื่อง

1.การตรวจวัดค่าความดันโลหิตสูง : เป็นกิจกรรมอบรมให่้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพไม่ให้เป็นโรค
1.1 เราควรจะวัดความดันเมื่อไหร่บ้าง

  • เมื่อรู้สึกว่า มีอาการผิดปกติต่างๆ เช่น ปวดหัว วิงเวียน หน้ามืด ใจสั่น อ่อนเพลีย เป็นลม หมดสติ ปวดท้อง ตกเลือด บวมตามร่างกาย ท้องเดิน อาเจียนมากๆ หรือ ตามัว
  • เมื่อเป็นโรคเบาหวาน หรือ ต่อมธัยรอยด์โต (คอพอก)
  • เมื่อได้รับอุบัติเหตุ หรือร่าวกายได้รับบาดเจ็บ อาจพบความดันต่ำในคนที่มีอาการตกเลือดจนเกิดภาวะ “ช็อค”
  • ถึงแม้จะไม่มีอาการผิดปกติอะไรก็ควรจะตรวจวัดความดันเลือด ปีละ 1-2 ครั้ง โดยเฉพาะในคนที่มีอายุ มากกว่า 40 ปีขึ้นไป เพราะคนที่เป็นความดันเลือดสูง บางครั้งอาจไม่มีอาการอะไรมากก่อนเลยก็ได้

1.2 ขั้นตอนการวัดความดันโลหิต

  • นั่ง หรือ นอนพัก ให้สบาย หายตื่นเต้น ประมาณ 5-10 นาที
  • วัดความดันท่านอน ให้นอนหงาย วางแขนขนานกับลำตัวตามสบาย หงายฝ่ามือขึ้น / วัดความดันท่านั่ง นั่งบนเก้าอี้ วางแขนที่จะวัดบนโต๊ะ หงายฝ่ามือขึ้น ท่านี้สะดวกในการวัดความดันด้วยตัวเอง
  • วางเครื่องวัดความดัน ให้อยู่ในระดับเดียวกับหัวใจ หันหน้าปัทม์ที่อ่านให้อยู่ในระดับเดียวกับสายตา ไม่ควรวางไกลเกิน 3 ฟุต
  • พันผ้ารอบแขน โดยจับปลายด้านที่มีสายยาง วางบนแขนด้านชิดกับลำตัว แล้วจึงพันส่วนที่เหลือไปเรื่อยๆ จนรอบแขน ให้ขอบล่างของผ้าพันแขน อยู่เหนือข้อศอกประมาณ 2 นิ้ว กรณีที่สวมเสื้อมีแขน ให้พับแขนเสื้อข้างนั้นขึ้นเหนือข้อศอก ประมาณ 5 นิ้ว ก่อนพันผ้าพันแขน
  • กดปุ่ม START/STOP บนเครื่องวัดความดัน รอจนตัวเลขหยุดลงแล้วจึงอ่านค่า
  • ภายหลังที่วัดความดันครั้งแรก แล้ว เพื่อความแน่นอนให้วัดซ้ำดูอีกครั้ง โดยเฉพาะถ้าพบว่า ความดันสูงหรือต่ำกว่าปกติ  โดยปกติแล้วการวัดค่าความดันโลหิตจะแสดงผลออกมา 2 ค่า บันทึกค่าเป็นสัดส่วน เช่น 120/80 mmHg (ซึ่งเป็นค่าความดันฯที่ปกติ) Systolic คือ ตัวเลขตัวบนซึ่งมีค่ามากกว่า เป็นการวัดค่าความดันของหลอดเลือดแดงในขณะที่หัวใจบีบตัว Diastolic คือ ตัวเลขตัวล่างซึ่งมีค่าน้อยกว่า เป็นการวัดค่าความดันในหลอดเลือดแดงในขณะที่หัวใจคลายตัว Pulse rate คือ อัตราการเต้นของหัวใจใน 1 นาที

2.การคำนวน ค่าดัชนีมวลกายที่เหมาะสม BMI : คำนวณหาค่า BMI วัดความอ้วน เพื่อประเมินหาไขมันส่วนเกินในร่างกาย เพื่อคำนวณความเสี่ยงในการเป็นโรค ประโยชน์ใช้เพื่อดูอัตราการเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ ถ้าค่าที่คำนวนได้ มากหรือน้อยเกินไป เพราะถ้าเป็นโรคอ้วนแล้ว จะมีภาวะเสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจขาดเลือด และโรคนิ่วในถุงน้ำดี แต่ในขณะเดียวกัน ผู้ที่ผอมเกินไป ก็จะเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ประสิทธิภาพในการทำงานของร่างกายลดลง ดังนั้นควรรักษาระดับน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ สูตรการคำนวนหาค่า BMI ก็คือ = น้ำหนัก(กิโลกรัม) หาร ส่วนสูง(เมตร)ยกกำลังสอง เมื่อได้ค่ามา ก็เอามาเทียบตามค่าดังนี้

  • ต่ำกว่า 17 = ผอม กินให้เยอะกว่านี้หน่อยจะดีกว่านะ
  • 17-18.4 = สมส่วน ทำตัวให้เหมือนเดิมอ่ะ ดีแล้ว ^ ^
  • 18.5-24.9 = เริ่มจะอวบ (ยังไม่อ้วนนะ) ระวังหน่อยๆ ช่วงนี้เริ่มกินเยอะขึ้นแล้วใช่ไหมเรา?
  • 25-29.9 = อวบระยะสุดท้ายหรืออ้วนแล้วล่ะ แต่ยังไม่ถึงกะเป็นอันตราย ให้รีบลด
  • มากกว่า 30 = อ้วนแบบอันตรายแล้วล่ะ รีบลดด่วนๆ

เวลา 11.00 น. - กิจกรรมให้คววามรู้ "การป้องกันโรคไข้เลือดออก" โดย นายสมจิตร  จันทร์แก้ว ได้ให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก โรคไข้เลือดออก เกิดจากเชื้อไวรัส มียุงลายเป็นพาหะนำโรค พบได้ในทุกกลุ่มอายุ พบมากในเด็กวัยเรียน

  1. สาเหตุ เกิดจากเชื้อไวรัส มี 4 ชนิด ดังนั้นถ้ามีการติดเชื้อชนิดใดแล้วจะทำให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อชนิดนั้นไปตลอดชีวิต  และจะมีภูมิคุ้มกันต่อไวรัสเดงกี อีก 3 ชนิดในช่วงสั้นๆ ไม่ถาวร ประมาณ 6-12 เดือน หลังจากระยะนี้แล้ว คนที่เคยติดเชื้อไวรัสเดงกี ชนิดหนึ่งอาจติดเชื้อไวรัสเดงกี ชนิดอื่นที่ต่างไปจากครั้งแรกได้ เป็นการติดเชื้อซ้ำ ซึ่งถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดโรคไข้เลือดออก
  2. การติดต่อ โรคไข้เลือดออกติดต่อถึงกันได้โดยมียุงลายบ้าน เป็นพาหะนำโรคที่สำคัญ โดยยุงตัวเมียกัดและดูดเลือดผู้ป่วยในระยะไข้สูง และฟักตัวในยุงประมาณ 8-12 วัน จากนั้นเมื่อยุงตัวนี้ไปกัดคนปกติ ก็จะปล่อยเชื้อไวรัสไปยังผู้ที่ถูกกัด เมื่อเชื้อเข้าสู่ร่างกายคน และผ่านระยะฟักตัวประมาณ 5-8 วัน (สั้นที่สุด 3 วัน - นานที่สุด 15 วัน) ก็จะทำให้เกิดอาการของโรคได้  สำหรับเชื้อเดงกีนี้จะอยู่ในตัวยุงนั้นตลอดชีวิตของยุง คือ ประมาณ 45 วัน
  3. อาการ หลังจากได้รับเชื้อจากยุงประมาณ 5-8 วัน ผู้ป่วยจะมีอาการค่อนข้างเฉพาะ 4 ประการ ดังนี้
  • ไข้สูงเฉียบพลัน (38.5 – 40 องศาเซลเซียส) ประมาณ 2-7 วัน หน้าแดง ปวดกระบอกตา เบื่ออาหาร อาเจียน ส่วนใหญ่จะไม่มีน้ำมูกไม่ไอ
  • มีอาการเลือดออก เส้นเลือดเปราะ แตกง่าย มีจุดเลือดออกเล็ก ๆ ตามแขน ขา ลำตัว รักแร้ มีเลือดกำเดา เลือดออกตามไรฟัน อาจมีอาเจียนและอุจจาระสีดำ
  • มีปวดท้อง  ส่วนใหญ่จะคลำพบตับโตได้ประมาณวันที่ 3-4 นับแต่เริ่มป่วย
  • มีภาวะช็อก ประมาณ 1 ใน 3 ของผู้ป่วยจะมีอาการรุนแรง เนื่องจากมีการรั่วของเลือด ออกไปยังช่องปอดและช่อง ท้อง ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นพร้อมๆ กับไข้ลดลงอย่างรวดเร็ว อาจเกิดได้ตั้งแต่วันที่ 3 ของโรค ผู้ป่วยจะมีอาการ กระสับกระส่าย มือเท้าเย็น ชีพจรเบาเร็ว  ส่วนใหญ่ จะรู้สติ พูดรู้เรื่อง กระหายน้ำ อาจมีอาการปวดท้องกะทันหันก่อนเข้าสู่ภาวะช็อก ถ้ารักษาไม่ทัน จะมีอาการ ปากเขียว ผิวสีม่วง ๆ ตัวเย็นชืด จับชีพจรและวัดความดันไม่ได้ ความรู้สติเปลี่ยนไป และจะเสียชีวิตภายใน 12 - 24 ชั่วโมง ในรายที่ไม่รุนแรง เมื่อให้การรักษาในช่วงระยะสั้นๆ ก็จะดีขึ้นอย่างรวดเร็ว

4.การรักษา ไม่มีการรักษาที่เฉพาะและไม่มีวัคซีนป้องกัน ให้การรักษาแบบประคับประคอง ตามอาการ โดยให้ยาลดไข้ แนะนำให้ใช้ยาพาราเซตามอล ให้น้ำให้เพียงพอ และพักผ่อน ถ้าอาการไม่ดีขึ้นให้ส่งต่อผู้ป่วยไปพบแพทย์  เมื่อผู้ป่วยไข้เลือดออก จะมีไข้สูง 4-5 วัน (พบร้อยละ 70)  ซึ่งวันที่เป็นระยะวิกฤต/ช็อกจะตรงกับวันที่ไข้ลง หรือไข้ต่ำกว่าเดิม จึงพึงระลึกเสมอว่าวันที่ 3 ของโรค เป็นวันที่เร็วที่สุดที่ผู้ป่วยไข้เลือดออกมีโอกาสช็อกได้  และระหว่างที่ผู้ป่วยมีอาการช็อก จะมีสติดีสามารถพูดจาโต้ตอบได้ จะดูเหมือนผู้ป่วยที่มีแต่ความอ่อนเพลียเท่านั้น ให้รีบนำผู้ป่วยส่งต่อโรงพยาบาลระดับสูงทันที

5.การป้องกัน โรคไข้เลือดออก สามารถแพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็ว การป้องกันควบคุมโรคที่สำคัญ จึงต้องไม่ให้ยุงกัด โดยเฉพาะในผู้ป่วย โดยการลดจำนวนยุงตัวเต็มวัย และกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ ซึ่งจะต้องทำให้ครอบคลุม  ทุกครัวเรือน ต่อเนื่องและสม่ำเสมอตลอดทั้งปี  มีวิธีปฏิบัติ  ดังนี้

  • วิธีการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย คือ สร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน เพื่อลดจำนวนยุงตัวเต็มวัยและแหล่งเพาะพันธุ์ให้ได้มากที่สุด ดำเนินการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในสถานศึกษา ทุก 7 วัน
  • ให้ความรู้และคำแนะนำแก่นักเรียนเกี่ยวกับ วงจรชีวิตของยุง การแพร่เชื้อและวิธีป้องกัน

เวลา 12.00 น. พักรับประทานอาหารเที่ยง

เวลา 13.00 น. กิจกรรม "เสริมทักษะ การตรวจสุขภาพ ด้วยการลองปฏิบัติจริง" กิจกรรมเข้าฐานเพื่อลงมือปฏิบัติจริง โดยแบ่งนักเรียนออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้

  • ฐานที่ 1 การวัดความดันโลหิตสูง / การชั่งน้ำหนัก /
  • ฐานที่ 2 การคำนวณค่า BMI
  • ฐานที่ 3 การคิดค่า HI และ CI

เวลา 15.00 น. เมื่อจบกิจกรรม ได้ให้นักเรียนทำแบบทดสอบหลังอบรม และสุดท้ายผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านพรุกระแชงกล่าวปิดการอบรม ด้วยการกล่าวขอบคุณ คณะทำงานโครงการฯ อสม. และเจ้าหน้าที่ทุกคน ในการร่วมกิจกรรมในวันนี้ เป็นสิ่งที่มีประโยชน์กับนักเรียนมาก รวมถึงต้องกล่าวขอบคุณ สสส. ที่ให้งบสนับสนุนให้ชุมชนมีกิจกรรมที่ดี มีประโยชน์ต่อสุขภาพคนในชุมชน และทางโรงเรียนจะให้ความร่วมมือ ในทุกเรื่องทุกกิจกรรม ขอบคุณครับ

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 50 คน จากที่ตั้งไว้ 50 คน
ประกอบด้วย
  • นักเรียนโรงเรียนบ้านพรุกระแชง ป.5 และ ป.6 จำนวน 50 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง/นางสาวรัตนา ชูแสง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

กิจกรรมเพิ่มพื้นที่สมุนไพรในชุมชน ครั้งที่ 26 มิถุนายน 2558
6
มิถุนายน 2558รายงานจากพื้นที่ โดย nannza123
circle
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อส่งเสริมการใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพ
  2. เพื่อเพิ่มจำนวนสมุนไพรในชุมขน
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ให้อสม. และเยาวชนที่เข้าร่วมโครงการฯ เพาะชำกล้าสมุนไพรที่มีประโยชน์และสามารถใช้ในการดูแลสุขภาพไว้สำหรับแจกคนในชุมชน
  2. รณรงค์ ส่งเสริมให้คนในชุมชนปลูกพืชสมุนไพรที่เหมาะสมกับการดูแลสุขภาพของตนเองไว้ใช้เองในครัวเรือน อย่างน้อย ครัวเรือนละ 5 ชนิด 
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

กิจกรรมที่ 1 ให้ อสม. และเยาวชน ในชุมชนคนพรุกระแชง ได้ร่วมกันเพาะชำต้นกล้าสมุนไพร เพื่อแจกจ่ายให้กับประชาชนในโอากสต่อไป ในครั้งนี้ได้เพาะชำต้นมะขามและ ว่านหางจระเข้

กิจกรรมที่ 2 ได้รณรงค์ให้ความรู้เรื่อง การปลูกสมุนไพร และการดูแลสมุนไพรแต่ละชนิด

  • การจำแนกสมุนไพรสามารถจำแนกได้หลายวิธี ซึ่งเอกสารนี้จะทำการจำแนกพืชสมุนไพรพอสังเขป ดังนี้

1.การจำแนกตามลักษณะการใช้ประโยชน์

1.1 (น้ำมันหอมระเหย) พืชสมุนไพรหลายชนิดสามารถนำมาสกัด น้ำมันหอมระเหยได้โดยวิธีการกลั่น ซึ่งจะได้น้ำมันหอมระเหยมีกลิ่นหอมแตกต่างกันไปตามชนิดของพืชสมุนไพร น้ำมันหอมระเหยนี้มีสารสำคัญที่สกัดออกมาซึ่งจะใช้ประโยชน์ได้ตรงตามวัตถุประสงค์มากกว่า รวมทั้งการใช้ในปริมาณที่น้อยกว่าเมื่อเทียบกับการนำพืชสมุนไพรมาใช้ในรูปอื่น ตัวอย่างของพืชสมุนไพรที่นำมาสกัดน้ำมันหอมระเหย

  • น้ำมันตะไคร้หอม ใช้ในอุตสาหกรรมผลิตสบู่ แชมพู น้ำหอมหรือใช้ทำสารไล่แมลง
  • น้ำมันไพล ใช้ในผลิตภัณฑ์ครีมทาภายนอก ลดการอักเสบจากการฟกช้ำ
  • น้ำมันพลู ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอางค์ หรือใช้เป็นเจลทาภายนอกแก้คัน

1.2 ยารับประทาน พืชสมุนไพรหลายชนิด สามารถนำมาใช้รับประทานเพื่อรักษาอาการของโรคได้ อาจใช้สมุนไพรชนิดเดียว หรือหลายชนิดรวมกันก็ได้ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสารสำคัญที่มีอยู่ในพืชสมุนไพรชนิดนั้น ๆ ที่ออกฤทธิ์เพื่อการบำบัดรักษา เช่น

  • แก้ไข้ : บอระเพ็ด ฟ้าทะลายโจร
  • แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ : กระเพรา ไพล ขิง
  • ลดไขมันในเส้นเลือด : คำฝอย กระเจี๊ยบแดง กระเทียม

1.3 ยาสำหรับใช้ภายนอก เป็นพืชสมุนไพรที่สามารถนำมาบำบัดโรคที่เกิดขึ้นตามผิวหนัง แผลที่เกิดขึ้นตามร่างกายรวมทั้งแผลในปาก อาจใช้สมุนไพรชนิดเดียวหรือหลายชนิดรวมกันก็ได้ ลักษณะของการนำมาใช้มีหลายลักษณะมีทั้งใช้สด บดเป็นผง ครีม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสารสำคัญที่มีอยู่ในพืชสมุนไพร และความสะดวกในการนำมาใช้ ตัวอย่างของพืชสมุนไพรที่นำมาใช้เป็นยาสำหรับใช้ภายนอก เช่น

  • รักษาแผลน้ำร้อนลวก : บัวบก ยาสูบ ว่านหางจระเข้
  • ระงับกลิ่นปาก : ฝั่ง กานพลู

2.สภาพแวดล้อมที่ต้องการ การปลูกพืชสมุนไพรเป็นสิ่งจำเป็น เนื่องจากในอดีตการใช้สมุนไพรเป็นการเก็บจากธรรมชาติแต่ไม่มีการปลูกทดแทน ทำห้พืชสมุนไพรมีจำนวนลดลง ปัจจุบันเริ่มมีการนำเอาพืชสมุนไพรมาใช้ประโยชน์มากขึ้น จึงจำเป็นต้องมีการปลูกให้ได้จำนวนมากขึ้นให้เพียงพอกับความต้องการ ดังนั้นเพื่อให้พืชเจริญเติบโตได้ดีและให้ผลผลิตที่มีคุณภาพ จึงต้องคำนึงถึงสิ่งสำคัญต่อไปนี้

  • พื้นที่ การเลือกสภาพพื้นที่ให้เหมาะสมกับการปลูกพืชสมุนไพรแต่ละชนิดเป็นสิ่งจำเป็น เนื่องจากพืชสมุนไพรเป็นพืชที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ แต่ละพื้นที่เหมาะที่พืชสมุนไพรจะขึ้นแตกต่างกัน การเลือกพื้นที่ให้เหมาะสมจะช่วยให้พืชนั้น ๆ เจริญเติบโตดี ผลผลิตสูงและมีคุณภาพ ทั้งยังลดค่าใช้จ่ายในการจัดการและการดูแลรักษา
  • แสง มีความสำคัญในการสังเคราะห์แสงของพืช ความต้องการในปริมาณของแสงเพื่อนำไปใช้ขึ้นแยู่กับพืชแต่ละชนิด พืชสมุนไพรบางชนิดสามารถเจริญเติบโตและให้ผลผลิตดีเมื่อปลูกในสภาพกลางแจ้ง แต่บางชนิดต้องการแสงน้อย จึงต้องมีการดูแลให้เหมาะสม เพื่อให้พืชมีการเจริญเติบโตเต็มที่ซึ่งจะมีผลต่อปริมาณสารสำคัญอีกด้วย
  • อุณหภูมิ การที่พืชได้รับอุณหภูมิที่เหมาะสม มีผลต่อการเจริญเติบโตแตกต่างกันไปตามชนิดของพืช บางชนิดชอบร้อน แห้งแล้ง บางชนิดชอบอากาศหนาว นอกจากนี้ยังรวมถึงความร้อนเย็นของดินและบรรยากาศรอบ ๆ ต้นพืชสมุนไพรด้วย เช่น พืชเขตร้อนทั่วไป อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต คือ 18 - 35 องศาเซลเซียส ถ้าพืชได้รับอุณหภูมิที่ไม่เหมาะสม จะทำให้ชะงักการเจริญเติบโต
  • น้ำ เป็นปัจจัยสำคัญในการเจริญเติบโตของพืช ช่วยให้ต้นพืชดูดแร่ธาติอาหารจากดินได้ ช่วยการสังเคราะห์แสงและการหายใจของพืช นอกจากความชุ่มชื้นในดินแล้ว ความชุ่มชื้นในอากาศก็จำเป็น ช้วยให้ต้นไม้สดชื่นไม่เหี่ยวเฉา ดังนั้นถ้าพืชขาดน้ำจะเกิดอาการเหี่ยวเฉา ถ้ารุนแรงก็อาจตายได้ พืชบางชนิดต้องการความชื้นสูง เช่น กระวาน กานพลู เป็นต้น

3.วิธีการปลูกมีหลายวิธีขึ้นแยู่กับส่วนของพืชที่นำมาปลูกและชนิดของพืช

  • การปลูกด้วยเมล็ด สามารถทำให้โดยการหว่านลงแปลง แล้วใช้ดินร่วนหรือทรายหยาบ โรยทับบาง ๆ แล้วรดน้ำให้ชื้นตลอดทั้งวัน เมื่อเมล็ดงอกเป็นต้นอ่อน ถอนต้นที่อ่อนแอออก ให้มีระยะห่างระหว่างต้นพอสมควร ส่วนการหยอดลงหลุมโดยตรงมักใช้กับพืชที่มีเมล็ดใหญ่ โดยหยอดเมล็ดให้มีจำนวนมากกว่าที่ต้องการและถอนออกภายหลัง
  • การปลูกด้วยกิ่งชำหรือกิ่งตอน ปลูกโดยการนำเอากิ่งชำมาปลูกในถุงพลาสติกให้แข็งแรงดีก่อน แล้วจึงย้ายไปปลูกในพื้นที่ที่ต้องการ เตรียมหลุมปลูกให้มีขนาดกว้างกว่าถุงพลาสติกเล็กน้อย เมื่อนำต้นอ่อนลงปลูกแล้ว กลบด้วยดินร่วนหรือดินปนทราย กดดินให้แน่นพอประมาณ คลุมด้วยเศษฟางหรือหญ้าแห้งเพื่อรักษาความชุ่มชื้น
  • การปลูกด้วยหัว ควรปลูกในที่ระบายน้ำดี ปลูกโดยฝังหัวให้ลึกพอประมาณ กดดินให้แน่นพอสมควร คลุมแปลงปลูกด้วยฟางหรือหญ้าแห้ง
  • การปลูกด้วยหน่อหรือเหง้า ในกรณีที่มีต้นพันธุ์อยู่แล้วทำการแยกหน่อที่แข็งแรง โดยตัดแยกหน่อจากต้นแม่ นำหน่อที่ได่มาตัดรากที่ช้ำหรือใบที่มากเกินไปออกบ้าง แล้วจึงนำไปปลูกในดินที่เตรียมไว้ กดดินให้แน่นและรดน้ำให้ชุ่ม ควรบังร่มเงาให้จนกว่าต้นจะแข็งแรง

  • ประชาชนที่มาร่วมกันเพาะชำสมุนไพรในวันนี้ก็จะได้รับความรู้เรื่องการปลูกและการดูแลสมุนไพรด้วย

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย
  1. อสม. จำนวน 16 คน
  2. เยาวชน จำนวน 10 คน
  3. คณะทำงานโครงการ จำนวน 4 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

เผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ประโยชน์ของสมุนไพรในการดูแลสุขภาพ ครั้งที่ 25 มิถุนายน 2558
5
มิถุนายน 2558รายงานจากพื้นที่ โดย nannza123
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์โครงการ และข้อมูลเกี่ยวกับการนำสมุนไพรมาใช้ประโยชน์
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันที่ 5 มิถุนายน 2558
1. กิจกรรมรณรงค์การใช้ยาสมุนไพรในการดูแลสุขภาพ และรักษาโรค 2. กิจกรรมจัดบอร์ดความรู้ การสำรวจปริมาณน้ำตาลในเครื่องดื่ม

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้ประชาสัมพันธ์ประโยชน์ของสมุนไพรในการดูแลสุขภาพ ที่มีจุดมุ่งเน้นให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับข้อมูลสุขภาพที่ถูกต้อง กระชับ และทันต่อเหตุการณ์ ดังนั้นในวันที่ 5 มิถุนายน 2558 ได้จัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้รับความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพด้วยยาสมุนไพร ด้วยการจัดกิจกรรม ดังนี้

1.กิจกรรมรณรงค์การใช้ยาสมุนไพรในการดูแลสุขภาพ และยาสมุนไพรรักษาโรค เป็นยาที่มีอยู่ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านพรุกระแชง ซึ่งได้แนะนำให้ประชาชน หันมาใช้ยาสมุนไพรในการดูแลสุขภาพและรักษาโรคแทนการซื้อยาชุดมากินเองซึ่งอันตรายและผลข้างเคียงมากมาย ในการนี้ได้จัดทำใบปลิวตัวอย่างยาสมุนไพร ที่บ่งบอกสรรพคุณของยา และวิธีใช้ เช่น

  • มะขามแขก : มีสรรพคุณใช้เป็นยาระบาย หรือแก้อาการท้องผูก รับประทานวันละ 1 ครั้ง ก่อนนอน ครั้งละ 2-3 แคปซูล
  • ขมิ้นชัน : มีสรรพคุณ แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด เคลือบแผลในกะเพาะอาหารรับประทานวันละ 3 ครั้งครั้งละ 2-3 แคปซูล ก่อนอาหาร
  • เถาวัลย์เปรียง : มีสรรพคุณ แก้อาการปวดเมื่อย ช่วยขับปัสสาวะรับประทานวันละ 3 ครั้งครั้งละ 1-2 แคปซูล หลังอาหาร
  • เพชรสังฆาต : แก้ริดสีดวงทวารหนัก รับประทานวันละ 3 ครั้งครั้งละ 3-4 แคปซูล ก่อนอาหาร
  • ฟ้าทะลายโจร : แก้ไข้ แกหวัด แก้เจ็บคอ รับประทานวันละ 3 ครั้งครั้งละ 3-4 แคปซูล ก่อนอาหาร
  • สหัศธารา : มีสรรพคุณ แก้อาการปวดเมื่อยกล้ามเนืื้อ แก้ชาปลายมือรับประทานวันละ 3 ครั้งครั้งละ 2-3 แคปซูล ก่อนอาหาร
  • ยาหอมเทพจิตร : มีสรรพคุณ แก้อาการใจสั่น ช่บำรุงดวงจิตรให้ชุ่มชื่น รับประทานเมื่อมีอาการ ไม่ควรวันละ 3 ครั้ง

2.กิจกรรมจัดบอร์ดความรู้ แสดงผลการสำรวจปริมาณน้ำตาลในเครื่องดื่ม ซึ่งเป็นการประชาสัมพันธ์ ให้ประชาชน ในชุมชนเลือกรับประทานเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลน้อยๆ เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาสุขภาพ เช่นโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 50 คน จากที่ตั้งไว้ 154 คน
ประกอบด้วย
  • ประชาชนในชุมชน จำนวน 50 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง / นางสาวรัตนา ชูแสง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 631 พฤษภาคม 2558
31
พฤษภาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย nannza123
circle
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการฯ2. เพื่อวางแผนการดำเนินงานโครงการฯในช่วงต่อไป
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันที่ 31 พฤษภาคม 2558

วาระการประชุมที่ 1 : รายงานผลการดำเนินงาน กิจกรรมตามแผนงานที่ได้ดำเนินงานไปแล้ว

กิจกรรมที่ 1  กำจัดลูกน้ำยุงลายด้วยสมุนไพร

กิจกรรมที่ 2 เพิ่มพิ้นที่สมุนไพรในชุมชนครั้งที่ 1

วาระการประชุมที่ 2 : กิจกรรมชุมชนร่วมกับภาคีเครือข่ายสุขภาพ

  • เป็นตัวแทนหมู่บ้านต้นแบบ "เดินตามรอยเท้าพ่อ อยู่อย่างพอเพียง" ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ในการดำเนินงานโครงการที่ได้รับงบประมาณของ สสส. โครงการคนพรุกระแชงสุขภาพด้วยภูมิปัญญาแพทย์แผนไทย
  • เป็นตัวแทนหมู่บ้านการดำเนินงานโรงเรียน อสม.รพสต.บ้านพรุกระแชง ห้องเรียน ม.1/16  หลักสูตร การแพทย์แผนไทยและภูมิปัญญาท้องถิ่น
  • ได้รับการประเมินคัดเลือกเพื่อเป็นตัวแทนหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ระดับอำเภอเวียงสระ

วาระการประชุมครั้งที่ 3 : วางแผนการดำเนินกิจกรรมตามแผนงาน เดือน มิถุนายน 2558

  • กิจกรรมที่ 1 : วันที่ 5 มิถุนายน 2558 กิจกรรมประชาสัมพันธ์ประโยชน์ของสมุนไพรในการดูแลสุขภาพ ครั้งที่ 2
  • กิจกรรมที่ 2 : วันที่ 6 มิถุนายน 2558 กิจกรรมเพิ่มจำนวนสมุนไพรในชุมชนครั้งที่ 2
  • กิจกรรมที่ 3 : วันที่ 13 มิถุนายน 2558 กิจกรรมการเรียนรู้สุขภาพเบื้องต้น
  • กิจกรรมที่ 4 : วันที่ 14 มิถุนายน 2558 กิจกรรมเสริมทักษะอาสาสมัครดูแลสุขภาพ
  • กิจกรรมที่ 5 : วันที่ 20 มิถุนายน 2558 กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน ครั้งที่ 1
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

การประชุมคณะทำงานโครงการฯครั้งที่ 6 ในวันที่ 31 พฤษภาคม 2558 มีคณะทำงานโครงการฯ จำนวน 20 คน

  • เวลา 13.00 น. ประธานโครงการฯ นายสมปอง  วงศ์ศิลป์ กล่าวเปิดประชุม กล่าวถึงการดำเนินที่ผ่านมา ประชาชนได้รับความรู้และประโยชน์จากการได้รับบประมาณจาก สสส. อย่างมากมาย ที่นำมาพัฒนาและแก้ไขปัยหาสุชภาพให้กับคนในชุมชน ทำให้คนในในชุมชนมีสุขภาวะที่ดีขึ้น สิ่งแวดล้อมในชุมชนอน่าอยู่ และมีผลลัพธ์ที่ดีเกิดขึ้นหลายๆ อย่างหลายๆด้าน จนเราได้รับโอกาส เป็นที่สนใจของชุมชนอื่นเข้ามาศึกษาดูงาน เป็นต้นแบบด้านการแก้ไขปัญหาสุขภาพในชุมชน และขอขอบคุณคณะทำงานที่ทำงานกันอย่างเหน็ดเหนื่อย
  • เวลา 13.30 น. นางสาวจิตรลัดดา วงศ์ศิลป์ ผู้รับผิดชอบโครงการฯ ได้รายงานผลการดำเนินงาน

วาระการประชุมที่ 1 : รายงานผลการดำเนินงาน กิจกรรมตามแผนงานที่ได้ดำเนินงานไปแล้ว

  • กิจกรรมที่ 1  กำจัดลูกน้ำยุงลายด้วยสมุนไพร : การออกรณรงค์ให้คนในชุมชนหันมาใส่ใจ เรื่องการกำจัดลูกน้ำยุงลาย ในชุมชนและโรงเรียน เพื่อเตรียมรับโรงเรียนเปิดทอม ป้องกันโรคไข้เลือดออก ที่จะแพร่กระจายในโรงเรียน จากผลการรณรงค์ ในปีนี้ยังไม่ได้รับรายงานเด็กป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก
  • กิจกรรมที่ 2 เพิ่มพิ้นที่สมุนไพรในชุมชนครั้งที่ 1 : จากสภาพปัญหาเรื่องอากาสร้อน ทำให้กิจกรรมนี่เลื่อนมาหลายครั้ง และสมุนไพรที่มีอยู่ในชุมชนตาย และหายาก ในการนำสมุนไพรมาเพาะชำเพื่อขยายพันธ์ุให้กับชุมชนจึงต้องซื้อจากโรงเพาะชำ

วาระการประชุมที่ 2 : กิจกรรมชุมชนร่วมกับภาคีเครือข่ายสุขภาพ

  • ในวันที่ 15 พฤษภาคม 2558 หมู่ 1 บ้านพรุกระแชง ได้รับโอกาส เป็นตัวแทนหมู่บ้านต้นแบบ "เดินตามรอยเท้าพ่อ อยู่อย่างพอเพียง" ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อต้อนรับคณะกรรมการประเมิน ทั้งนี้ทางหมู่บ้านได้นำเสนอหมู่บ้านต้นแบบมิติด้านสุขภาพ ที่มีการดำเนินงานโครงการที่ได้รับงบประมาณของ สสส. โครงการคนพรุกระแชงสุขภาพด้วยภูมิปัญญาแพทย์แผนไทย การใช้สมุนไพรและภูมิปัญญาท้องถิ่นในการดูแลสุขภาพ และการดูแลสุขภาพด้วยหลัก 3อ. 2ส. ซึ่งเป็นตัวแทนของตำบลบ้านส้อง
  • ในวันที่ 19 พฤษภาคม 2558 หมู่ 1 บ้านพรุกระแชง ได้รับความสนใจจาก หน่วยงาน สาธารณสุข เรื่องการแก้ไขปัญหาสุขภาพของคนในชุมชน จึงได้เสนอให้เป็นตัวแทนต้อนรับคณะ อสม. อำเภอเวียงสระประกอบด้วย 4 ตำบล ได้แก่ ตำบลคลองฉนวน ตำบลเวียงสระ ตำบลเขานิพันธ์ และตำบลทุ่งหลวง  มาศึกษาดูงาน โดยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในกิจกรรมโรงเรียน อสม.รพสต.บ้านพรุกระแชง ห้องเรียน ม.1/16  หลักสูตร การแพทย์แผนไทยและภูมิปัญญาท้องถิ่น การใช้การใช้สมุนไพรและภูมิปัญญาท้องถิ่นในการดูแลสุขภาพ และการดูแลสุขภาพด้วยหลัก 3อ. 2ส. และใช้พื้นที่ ที่ได้งบประมาณจาก สสส. มาเป็นกิจกรรมฐานให้ความรู้เรื่อง
  1. ความรู้เรื่องสมุนไพรในชุมชน
  2. การทำอาหารเพื่อสุขภาพจากสมุนไพร
  3. การนวดไทยเพื่อสุขภาพ
  • ในวันที่ 20 พฤษภาคม 2558 ได้รับการประเมินคัดเลือกเพื่อเป็นตัวแทนหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ระดับอำเภอเวียงสระ

วาระการประชุมครั้งที่ 3 : วางแผนการดำเนินกิจกรรมตามแผนงาน เดือน มิถุนายน 2558

  • กิจกรรมที่ 1 : วันที่ 5 มิถุนายน 2558 กิจกรรมประชาสัมพันธ์ประโยชน์ของสมุนไพรในการดูแลสุขภาพ ครั้งที่ 2 : เผยแพร่ประโยชน์ของสมุนไพรในการดูแลสุขภาพ
  • กิจกรรมที่ 2 : วันที่ 6 มิถุนายน 2558 กิจกรรมเพิ่มจำนวนสมุนไพรในชุมชนครั้งที่ 2 : เพื่อส่งเสริมให้คนในชุมชนดูแลสุขภาพด้วยสมุนไพร
  • กิจกรรมที่ 3 : วันที่ 13 มิถุนายน 2558 กิจกรรมการเรียนรู้สุขภาพเบื้องต้น : ประสานงานกับเจ้าหน้าที่ รพ.สต. บ้านพรุกระแชง เป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ในการตรวจสุขภาพเบื้องต้นให้กับเยาวชนในโรงเรียน เช่นการชั่งน้ำหนัก การตรวจวัดความดันฯ การหาค่าดัชนีมวลกาย
  • กิจกรรมที่ 4 : วันที่ 14 มิถุนายน 2558 กิจกรรมเสริมทักษะอาสาสมัครดูแลสุขภาพ: ครูภูมิปัญญา และแพทย์แผนไทย ถ่ายทอดความรู้เรื่องคุณค่าประโยชน์ของสมุนไพร แต่ละชนิดที่สามารถนำมาใช้ในการดูแลสุขภาพ
  • กิจกรรมที่ 5 : วันที่ 20 มิถุนายน 2558 กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน ครั้งที่ 1 : ส่งเสริมให้อาสาสมัครดุแลสุขภาพดุแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 20 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย
  • คณะทำงานโครงการ จำนวน 20 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง/นางสาวรัตนา ชูแสง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

กิจกรรมเพิ่มพื้นที่สมุนไพรในชุมชน ครั้งที่ 130 พฤษภาคม 2558
30
พฤษภาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย nannza123
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อส่งเสริมการใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพ - เพื่อเพิ่มจำนวนสมุนไพรในชุมชน
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันที่ 25 พฤษภาคม 2558

  • ปรับพื้นที่สร้างโรงปลูกสมุนไพร

วันที่ 26 พฤษภาคม 2558

  • ได้แจกยางรถยนต์ที่ไม่ใช้แล้วให้กับครัวเรือนที่สนใจปลูกสมุนไพรในครัวเรือน จำนวน 50 ครัวเรือน

วันที่ 27 พฤษภาคม 2558

  • กิจกรรมรณรงค์ปลูกสมุนไพรในครัวเรือน

วันที่ 30 พฤษภาคม 2558

  • กิจกรรมเพาะชำสมุนไพรใช้ประโยชน์
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ให้ อสม. และเยาวชนที่เข้าร่วมโครงการเพาะชำกล้าสมุนไพรที่มีประโยชน์และสามารถใช้ในการดูแลสุขภาพไว้สำหรับแจกคนในชุมชน ซึ่งสมุนไพรมีประโยชน์ ดังนี้
  1. สามารถรักษาโรคบางชนิดได้ โดยไม่ต้องใช้ยาแผนปัจจุบัน ซึ่งบางชนิดอาจมีราคาแพง และต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก อีกทั้งอาจหาซื้อได้ยากในท้องถิ่นนั้น
  2. ให้ผลการรักษาได้ดีใกล้เคียงกับยาแผนปัจจุบัน และให้ความปลอดภัยแก่ผู้ใช้มากกว่าแผนปัจจุบัน
  3. สามารถหาได้ง่ายในท้องถิ่นเพราะส่วนใหญ่ได้จากพืชซึ่งมีอยู่ทั่วไปทั้งในเมืองและ ชนบท
  4. มีราคาถูก สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในการซื้อยาแผนปัจจุบัน ที่ต้องสั่งซื้อจากต่าง ประเทศเป็นการลดการขาดดุลทางการค้า
  5. ใช้เป็นยาบำรุงรักษาให้ร่างกายมีสุขภาพแข็งแรง
  6. ใช้เป็นอาหารและปลูกเป็นพืชผักสวนครัวได้ เช่น กะเพรา โหระพา ขิง ข่า ตำลึง
  7. ใช้ในการถนอมอาหารเช่น ลูกจันทร์ ดอกจันทร์และกานพลู
  8. ใช้ปรุงแต่ง กลิ่น สี รส ของอาหาร เช่น ลูกจันทร์ ใช้ปรุงแต่งกลิ่นอาหารพวก ขนมปัง เนย ไส้กรอก แฮม เบคอน
  9. สามารถปลูกเป็นไม้ประดับอาคารสถานที่ต่าง ๆ ให้สวยงาม เช่น คูน ชุมเห็ดเทศ
  10. ใช้ปรุงเป็นเครื่องสำอางเพื่อเสริมความงาม เช่น ว่านหางจระเข้ ปรนะคำดีควาย
  11. ใช้เป็นยาฆ่าแมลงในสวนผัก, ผลไม้ เช่น สะเดา ตะไคร้ หอม ยาสูบ
  12. เป็นพืชที่สามารถส่งออกทำรายได้ให้กับประเทศ เช่น กระวาน ขมิ้นชัน เร่ว
  13. เป็นการอนุรักษ์มรดกไทยให้ประชาชนในแต่ละท้องถิ่น รู้จักช่วยตนเองในการ นำพืชสมุนไพรในท้องถิ่นของตนมาใช้ให้เกิดประโยชน์ตามแบบแผนโบราณ
  14. ทำให้คนเห็นคุณค่าและกลับมาดำเนินชีวิตใกล้ชิดธรรมชาติยิ่งขึ้น
  15. ทำให้เกิดความภูมิใจในวัฒนธรรม และคุณค่าของความเป็นไทย  เช่น
    • ฟ้าทะลายโจร ที่มีสรรพคุณ แก้ปวดลดไข้
    • มะกรูด  เป็นพืชที่มีกลิ่นที่หอมมากโดยเฉพาะใบของต้นมะกรูด ซึ่งในการประกอบอาหารสามารถนำใบมะกรูดไปหั่นซอยให้เป็นชิ้นเล็กๆ หรือฉีกเพื่อเติมลงไปในอาหารก็ได้ นอกจากนั้นยังสามารถนำไปผสมในการทำเครื่องแกงได้อีกด้วย สรรพคุณของมะกรูดคือ ช่วยไล่แก๊สและบรรเทาอาการวิงเวียนศีรษะ น้ำมะกรูดยังใช้เป็นยารักษาโรคลักปิดลักเปิด
    • ใบกะเพรา กะเพรามีอยู่สองชนิด คือ ชนิดที่ใบมีสีเขียว และชนิดที่มีสีออกม่วงปนแดง ซึ่งชนิดหลังจะให้กลิ่นที่หอมและรสชาติเผ็ดกว่าชนิดที่ใบสีเขียว สรรพคุณของกะเพราคือช่วยไล่แก๊สและบรรเทาอาการปวดท้อง ช่วยขับเหงื่อและลดการวิงเวียนศีรษะ อาการอาเจียน
    • ชมิ้น ที่ใช้ปรุงอาหารไทยมีสีออกส้มเหลืองและมีกลิ่นและรสชาติที่รุนแรง ควรเก็บในถุงพลาสติกและแช่ไว้ในตู้เย็นเพื่อเก็บไว้ได้นานขึ้น มีสรรพคุณช่วยลดและบรรเทาแผลพุพอง ช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานดีขึ้นและลดอาการหดเกร็งของลำไส้ ลดอาการจุกเสียดและปวดท้อง
    • พริกไทยอ่อน มีสีเขียว รสชาติดีแต่เผ็ดร้อน พริกไทยอ่อนมีสรรพคุณช่วยในการย่อย และลดอาการปวดหัว ลดอาการปวดไขข้อ และยังใช้เป็นยารักษาโรคท้องร่วงได้อีกด้วย รวมถึงการรณรงค์ ส่งเสริมให้คนในชุมชนปลูกพืชสมุนไพรที่เหมาะสมกับการดูแลสุขภาพของตนเองไว้ใช้เองในครัวเรือน อย่างน้อย ครัวเรือนละ 5 ชนิด
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 31 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย
  1. เยวชนและ อสม. จำนวน 30 คน
  2. ครูภูมิปัญญา จำนวน 1 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง/นางสาวรัตน ชูแสง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

กิจกรรมกำจัดลูกน้ำยุงลายด้วยสมุนไพร5 พฤษภาคม 2558
5
พฤษภาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย nannza123
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อสอนการแปรรูปสมุนไพรใช้เองในเครัวเรือน และสามารถจำหน่าย เพื่อสร้างรายได้ให้คนในชุมชนได้
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กิจกรรม กำจัดลูกน้ำยุงลายด้วยสมุนไพร

  • เวลา 09.00 น. ลงทะเบียนเข้าอบรม และตรวจสุขภาพ
  • เวลา 10.00 น. สาธิตการทำสเปรย์สมุนไพรไล่ยุง
  • เวลา 11.00 น. ให้ความรู้เรื่องการกำจัดลูกน้ำยุงลายด้วยสมุนไพรในชุมชน
  • เวลา 13.00 น. รณรงค์ การกำจัดลูกน้ำยุงลาย ด้วยหลัก 5 ป.
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

วันที่ 5 พฤษภาคม 2558 ณ.ศาลา ประชุมประจำหมู่บ้าน หมู่ 1 บ้านพรุกระแชง
กิจกรรม กำจัดลูกน้ำยุงลายด้วยสมุนไพร

  • เวลา 09.00 น. มีผู้ลงทะเบียนเข้าอบรม จำนวน 50 คน เป็นคนในชุมชนจำนวน 40 คน และเยาวชนจำนวน 10 คน  และตรวจสุขภาพด้วยการวัดความดันฯ ให้กับผู้ที่มาร่วมอบรม
  • เวลา 10.00 น. สาธิตการทำสเปรย์สมุนไพรไล่ยุง โดย นางสาววิภารัตน์  ชูแสง  แพทย์แผนไทย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านพรุกระแชง โดยมีวิธีการดังนี้

วัสดุ / อุการณ์

  1. น้ำมันหอมระเหย กลิ่นตะไคร้หอม 10 มล.
  2. เอทิลแอลกอฮอล์ 50 มล.
  3. น้ำเปล่า 100 มล.
  4. พิมเสนน้ำ 10 มล.
  5. หม้อ ผ้าขาวบาง
  6. ขวดบรรจุ

วิธีทำน้ำมันหอมระเหย

  1. นำแอลกอฮอล์ เทใส่ภาชนะ
  2. นำตะไคร้หอมสดที่เตรียมไว้ ที่หั่นและทุบ นำไปหมักกับแอลกอฮอล์ 1 อาทิตย์
  3. นำผ้าขาวบางมากรองเพื่อแยกกากออก จำได้น้ำมันหอมระเหย

วิธีทำสเปรย์สมุนไพรไล่ยุง

  1. นำน้ำเปล่า 100 มล. เทใส่ภาชนะ
  2. ใส่น้ำมันหอมระเหย และพิมเสนน้ำ ผสมให้เข้ากัน
  3. บรรจุขวด
  • เวลา 11.00 น. ให้ความรู้เรื่องการกำจัดลูกน้ำยุงลายด้วยสมุนไพรในชุมชน โดย นางสาวจิตรลัดดา  วงศ์ศิลป์ อสม.หมู่ 1 บ้านพรุกระแชง โดยมีรายละเอียด ดังนี้
  1. ผลมะกรูด : นำผลมะกรูด จำนวน 4-5 ผล คลึงให้น้ำมันหอมระเหยออก นำไปใส่ในภาชนะที่มีลูกน้ำ
  2. ใบกระเพราแดง : นำใบกระเพราะแดง สับให้ละเอียด จำนวน 50 กรัม หมักไว้กับ แอลกอฮอล์ 500 มล. ทิ้งไว้ 1 อาทิตย์ แล้วกรองเอากากออกด้วยผ้าขาว นำน้ำใบกระเพราสกัด ใส่ลงในภาชนะที่มีน้ำ
  3. ปูนแดง : นำปูนแดง ปั้นเป็นลูกกลมๆ 4-5 ลูก นำไปตากแดดให้ปูนแห้ง แล้วจึงในไปใส่ภาชนะ
  • เวลา 13.00 น. หลังจากรับประทานอาหารเที่ยง อสม. จำนวน 14 คน ร่วมกัน รณรงค์ ส่งเสริมให้คนในชุมชนกำจัดลูกน้ำยุงลาย โดยมีวิธีการ  ดังนี้
  1. ปิด : ปิดฝาภาชนะใส่น้ำ
  2. เปลี่ยน : ถ่ายน้ำทุก 7 วัน เช่น แจกันดอกไม้ ภาชนะใส่น้ำอาบ
  3. ปล่อย : ปล่อยปลาหางนกยูง และสมุนไพรกำจัดลูกน้ำ ลงในอ่างน้ำ อ่างบัว หรือที่เก็บกักขังน้ำ ที่ไม่มีฝาปิด
  4. ปรับปรุง : ปรับปรุงสิ่งแวดล้อม ไม่ให้มีน้ำขัง เช่น กระถางต้นไม้ ยางรถยนต์
  5. ปฏิบัติ : ปฏิบัติดังกล่าวข้างต้นให้เป็นประจำ ทุกวัน หรือทุกสัปดาห์
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 50 คน จากที่ตั้งไว้ 50 คน
ประกอบด้วย
  1. คนในชุมชน จำนวน 40 คน
  2. เยาวชน จำนวน 10 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง/นางสาวรัตนา ชูแสง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 527 เมษายน 2558
27
เมษายน 2558รายงานจากพื้นที่ โดย nannza123
circle
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการฯ
  2. เพื่อวางแผนการดำเนินงานโครงการฯในช่วงต่อไป
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันที่ 27 เมษายน 2558 ประชุมคณะทำงานโครงการฯ ครั้งที่ 5

  • เวลา 13.00 น. ออกเดินทาง (ประชุมคณะทำงานโครงการฯ นอกสถานที่)
  • เวลา 14.00 น. ประชุมคณะทำงานโครงฯ
  • เวลา 15.00 น. ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวทางการดำเนินงานโครงฯ
  • เวลา 16.30 น. เดินทางกลับ
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

วันที่ 27 เมษายน 2558 ประชุมคณะทำงานโครงการฯ ครั้งที่ 5

เวลา 13.00 น. ออกเดินทางเพื่อไปประชุมนอกสถานที่ ณ บ้านคลองเสียว หมู่ 10 ต. เวียงสระ อ.เวียงสระ จ.สุราษฎร์ธานี ซึ่งได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ปี 2557

เวลา 14.00 น. ประชุมคณะทำงานโครงฯ เมื่อถึงสถานที่ ผู้รับผิดชอบโครงการฯ ได้ชี้แจงวาระการประชุม ดังต่อไปนี้

1.รายงานผลการเงิน-การบัญชี

  • รายงานยอดเงินยืมที่ได้สำรองจ่ายในกิจกรรมที่ผ่านมา จำนวน 5 กิจกรรม เป็นเงิน  26,800  บาท
  • รายงานรับเงินโอนจากสสส. งวดที่ 2 ในวันที่ 16 เมษายน 2558 จำนวนเงิน 102,575.00 บาท และได้ถอนเงิน จำนวน 26,800 บาท ในวันที่ 17 เมษายน  2558 เพื่อจ่ายคืนเงินยืม

2.รายงานผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการฯ ที่ผ่านมา ในเดือน เมษายน 2558

  • กิจกรรม แลกเปลี่ยนเรียนรู้การดูแลสุขภาพด้วยสมุนไพรในพื้นที่ตัวอย่าง
  • จะนำความรู้ ที่ได้รับจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มาเผยแพร่ให้กับประชาชนในชุมชน ในวันประชุมหมู่บ้าน ในวันที่ 5 พฤษภาคม 2558 นี้
  • เรียนรู้ : ให้ความรู้เรื่องสมุนไพรในการดูแลสุขภาพ  การแปรรูปสมุนไพร และการรักษาโรคด้วยการนวดไทย อบและประคบสมุนไพร
  • ส่งเสริม : ส่งเสริมการดูแลสุขภาพด้วยสมุนไพร การปลูกสมุนไพรในครัวเรือน
  • รักษา : การรักษาอาการเจ็บป่วยเกี่ยวโรคกล้ามเนื้อ ด้วยการ นวด และประคบสมุนไพร
  • ปรับเปลี่ยน : การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้วยหลัก 3 อ. 2 ส. โดยยึดหลัก "กินปลาเป็นหลัก กินผักเป็นยา"
  • กิจกรรมงานวันสร้างเสริมสุขภาพชุมชน (ประกวดนวัตกรรมเพื่อส่งเสริมสุขภาพ)
  • ภายหลังจากกิจกรรมงานวันสร้างเสริมสุขภาพชุมชน (ประกวดนวัตกรรมเพื่อส่งเสริมสุขภาพ) ได้นำนวัตกรรมที่ชนะการประกวด มาใช้ในศูนย์ ศสมช. เพื่อให้คนในชุมชนได้ใช้อย่างทั่วถึง ซึ่งมีประชาชนให้ความสนใจเป็นอย่างมาก

3.การดำเนินงานแผนงาน โครงการฯ ในเดือน พฤษภาคม 2558

  • กิจกรรม เพิ่มพื้นที่สมุนไพรในชุมชน ครั้งที่ 1 : จำเป็นต้องเลื่อนกิจกรรมนี้ออกไปอีก เพราะเนื่องจากสภาะอากาศที่ร้อนมาก ซึ่งมีผลกระทบต่อการปลูกพืชสมุนไพรเป็นอย่างมาก
  • กิจกรรมกำจัดลูกน้ำยุงลายด้วยสมุนไพร : ตามแผนที่วางไว้ จัดกิจกรรมในวันทที่ 5 พฤษภาคม  2558
  • กิจกรรมเรียนรู้การตรวจสุขภาพเบื้องต้น และกิจกรรมเสริมทักษะอาสาสมัครดูแลสุขภาพ : จำเป็นต้องเลื่อออกไปเพราะมีปัญหาเรื่องนักเรียรโรงเรียนบ้านพรุกระแชงปิดภาคเรียน

เวลา 15.00 น. ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวทางการดำเนินงานโครงฯ กับผู้ใหญ่บ้านหมู่ 10 ต.เวียงสระ บ้านคลองเสียว ถึงแนวทางการ ดำเนินชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง และได้รับรางวัลชนะเลิศ หมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤตกรรมสุขาภาพ ปี 2557 เพื่อเป็นแนวทางการดำเนินงานตามโครงการคนพรุกระแชงสุขภาพด้วยภูมิปัญญาแพทย์แผนไทย

1.แลกเปลี่ยนความรู้ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้านคลองเสียว

  • แรงบัลดาลใจ
  • วิสัยทัศน์ในการทำงาน
  • เป้าหมาย / วิธีการ
  • ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

2.แนวความคิดการพัฒนาการปรับเปลี่ยน พฤติกกรรมสุขภาพ ด้วย 3 อ. 2ส.

  • การออกำลังกาย
  • อาหาร
  • การ ลด ละ เลิกการสูบบุหรี่ และสุรา

3.แนวความคิดตามหลักแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง

  • การเลี้ยงปลาหลุม
  • การเพาะเห็ด
  • การปลูกผัก และสมุนไพรปลอดสารพิษ

เวลา 16.30 น.  เดินทางกลับ

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 20 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย
  • คณะทำงาน และคณะกรรมการชุมชน จำนวน 20 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

1.กิจกรรม เพิ่มพื้นที่สมุนไพรในชุมชน ครั้งที่ 1

  • จำเป็นต้องเลื่อนกิจกรรมนี้ออกไปอีก เพราะเนื่องจากสภาะอากาศที่ร้อนมาก ซึ่งมีผลกระทบต่อการปลูกพืชสมุนไพรเป็นอย่างมาก

2.กิจกรรมเรียนรู้การตรวจสุขภาพเบื้องต้น และกิจกรรมเสริมทักษะอาสาสมัครดูแลสุขภาพ

  • จำเป็นต้องเลื่อออกไปเพราะมีปัญหาเรื่องนักเรียรโรงเรียนบ้านพรุกระแชงปิดภาคเรียน
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง/นางสาวรัตน ชูแสง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

กิจกรรมงานวันสร้างเสริมสุขภาพชุมชน (ประกวดนวัตกรรมเพื่อส่งเสริมสุขภาพ)11 เมษายน 2558
11
เมษายน 2558รายงานจากพื้นที่ โดย nannza123
circle
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อสร้างนวัตกรรมในการดูแลสุขภาพ2. เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนในการดูแลสุขภาพ
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันที่ 11 เมษายน 2558

  • เวลา 08.30 น. ลงทะเบียน ตรวจสุขภาพเบื้องต้น ช่างน้ำหนัก ตรวจวัดความดันฯ ตรวจสุขภาพด้วยวิธีหัตถการด้านแพทย์แผนไทย โดย ทีม อสม. และแพทย์แผนไทย รพ.สต.บ้านพรุกระแชง
  • เวลา 09.30 น.  -ชมนิทรรศการความรู้

    • เรื่องการดูแลสุขภาพด้วยการแพทย์แผนไทย
    • ผลงานนวัตกรรมเพื่อสุขภาพ
    • สาธิตอาหารเพื่อสุขภาพ และน้ำสมุนไพรเพื่อสุขภาพ
  • เวลา 10.30 น. ร่วมพิธีพระ

  • เวลา 12.00 น.  ร่วมรับประทานอาหารเที่ยง
  • เวลา 13.00 น. รดน้ำขอพรผู้สูงอายุ
  • เวลา 14.00 น.  ลงคะแนน โหวตนวัตกรรมเพื่อสุขภาพ
  • เวลา 15.00 น. ประกาศผล การตัดสินการประกวดนวัตกรรมสุขภาพ
  • เวลา 16.30 น.  พิธีปิด
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

กิจกรรมงานวันสร้างเสริมสุขภาพชุมชน (ประกวดนวัตกรรมเพื่อส่งเสริมสุขภาพ) เพื่อสร้างนวัตกรรมในการดูแลสุขภาพ และสร้างการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนในการดูแลสุขภาพ ในวันที่ 11 เมษายน 2558

  • เวลา 08.30 น.ณ.ลานนวัตกรรมนวดฝ่าเท้า หมู่ 1 บ้านพรุกระแชง มีผู้ลงทะเบียนเข้าร่วมงาน 100 คน ส่วนใหญ่เป็นประชาชนในชุมชน และภาคีเครือข่ายสุขภาพ เช่น

    • นากยกเทศบาลตำบลบ้านส้อง และทีม สท. จำนวน 5 คน
    • ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านพุรกระแชง จำนวน 1 คน
    • เจ้าหน้าที่ รพ.สต. บ้านพรุกระแชง จำนวน 4 คน
    • ผู้ใหญ่บ้าน และผู้ช่วย หมู่บ้านใกล้เคียง จำนวน 6 คน
    • เป็นคนในชุมชน จำนวน 84 คน
  • หลังจากลงทะเบียนเข้าร่วมงาน ได้ตรวจสุขภาพเบื้องต้น ช่างน้ำหนัก ตรวจวัดความดันฯ โดย ทีมอาสาดูแลสุขภาพ อสม. มีผู้ใช้บริการ 42 คน และ ตรวจสุขภาพด้วยวิธีหัตถการด้านแพทย์แผนไทย โดย แพทย์แผนไทย รพ.สต.บ้านพรุกระแชง มีผู้ใช้บริการ 42 คน

  • ผลจาการตรวจสุขภาพ พบว่า

    • ปกติ 32 คน : แนะนำการดูแลสุขภาพด้วย 3อ. 2ส.
    • ความดันสูง 4 คน (มีประวัติเป็นดรคความดันดลหิตสูง) : แนะนำการดูแลสุขภาพด้วย 3อ. 2ส. โดยเน้น อาหารสุขภาพด้วยสมุนไพร ลดหวาน มัน เค็ม รับประทานยาให้ตรวเวลา ไปตามหมอนัด
    • กลุ่มเสียง 6 คน : มีความเสี่ยงความดันสูง : แนะนำการดูแลสุขภาพด้วย 3อ. 2ส. โดยเน้น อาหารสุขภาพด้วยสมุนไพร ลดหวาน มัน เค็ม และการออกกำลังกาย นวด อาทิตย์ละ 1 ครั้ง เพื่อสุขภาพ
  • เวลา 09.30 น. ชมนิทรรศกาลความรู้ เรื่องการดูแลสุขภาพด้วยการแพทย์แผนไทย

    • การนวดไทยเพื่อสุขภาพ ลดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ แทนใช้ยาชุดมากินเอง
    • ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากสมุนไพร เช่น ยาหม่องสมุนไพร ยาดมสมุนไพร และยาน้ำล้างจาน ที่จำหน่ายในราคาประหยัด ลดค่าใช้จ่าย ส่งเสริมให้ชุมชนมีรายได้
    • ชมและทดลองใช้นวัตกรรมสุขภาพ ที่ได้ประชาสัมพันธ์ ให้ส่งผลงาน ในวันที่ 3 เมษายน 2558 และได้ตัดสินการประกวดเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2558
    • นวัตกรรม : เก้าอี้มหัศจรรย์ : ส่งผลงานโดย นายสมจิตร  จันทร์แก้ว โดยใช้แผ่นไม้ที่เหลือใช้ มาประกอบเป็นเก้าอี้ยืนเพื่อออกกำลังกาย สามารถปรับท่ายืนได้ 40 - 50 องศา ประโชยน์เพื่อยืดเส้นผ่อนคลายกล้ามเนื้อ บริเวณ น่องขา และหัวเข่า แก้อาการปวดเข่า
    • นวัตกรรม : พรหมนวดเท้าเพื่อสุขภาพ : ส่งผลงานโดย นางสาวนัยนา  บุญเรือง โดยใช้พรหมเช็ดเท้า และหิน เป็นลานนวดเท้าแบบพกพา วางในบ้านก็ได้ ประโยชน์เพื่อ นวดฝ่าเท้าลดอาการเท้าชา และยังสามารถลดอาการปวดศีรษะได้
    • นวัตกรรม : ปลดภัยเมื่อใช้ถุง ส่งผลงานโดย ชมรมผู้สูงอายุ โดยใช้ทราย หยาบ ประมาณ 1.2 กิโลกรัม บรรจุด้วยผ้าที่ตัดเย็บเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยนผื้นผ้า ประโยชน์ ใช้วางบนเท้า ทั้ง 2 ข้าง ขณะที่นั่งบนเก้าอี้เหรือดูทีวี โดยกระดกเท้าขึ้นลงด้วยจังหสะที่เท่ากัน ข้างละ 10 ครั้ง เพื่อลดอาการปวดเข่า
  • ร่วมชมการสาธิตการทำเมนูอาหารเพื่อสุขภาพ

    • ข้าวยำสมุนไพร : ประกอบด้วยมุนไพรที่มีประโยชน์ ที่หาได้ในชุมชน เช่น ใบชะพลู ใบมะกรูด ตะไคร้ ถั่วพลู ถั่วฝักยาว เป็นต้น
    • น้ำสมุนไพร เช่น น้ำกระเจี๊ยบ น้ำเก๊กฮวย น้ำตะไคร้ เป็นต้น
  • เวลา 10.30 น. ร่วมพิธีทางศาสนา

  • เวลา 12.00 น. ร่วมรับประทานอาหารเที่ยง
  • เวลา 13.00 น. รดน้ำขอพรผู้สูงอายุ โดย รดนำ้ขอพรผู้สูงอายุในชุมชน เพื่อศิริมงคล
  • เวลา 14.00 น. ลงคะแนน โหวตนวัตกรรมเพื่อสุขภาพ โดย คนในชุมชนและเยาวชน  จำนวน 50 คน ที่มาร่วมงาน
  • เวลา 15.00 น. ประกาศผล การตัดสินการประกวดนวัตกรรมสุขภาพ : ประกาศผลการตัดสินการประกวดนวัตกรรมเพื่อสุขภาพ และมอบเงินรางวัล

    • รางวัลที่ 3 "นวัตกรรมปลอดภัยเมื่อใช้ถุง" มอบเงินรางวัล จำนวน 500 บาท โดย ผอ.รพ.สต.บ้านพรุกระแชง
    • รางวัลที่ 2 "นวัตกรรมพรหมนวดฝ่าเท้าเพื่อสุขภาพ" มอบเงินรางวัล จำนวน 1000 บาท โดย ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านพรุกระแชง
    • รางวัลที่ 1 "นวัตกรรมเก้าอี้มหัศจรรย์" มอบเงินรางวัล จำนวน 1,500 บาท โดย นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลบ้านส้อง
    • รางวัลขวัญใจมหาชน ได้แก่ นวัตกรรม เก้าอีมหัศจรรย์  มอบเงินรางวัลจำนวนเงิน 500 บาท โดยผู้ใหย่บ้านหมู่ 1 บ้านพรุกระแชง
  • เวลา 16.30 น. พิธีปิด โดยผู้รับผิดชอบโครงการฯ นางสาวจิตรลัดดา วงศ์ศิลป์ ได้กล่าวขอบคุณ ทุกคนที่เข้าร่วมกิจกรรม และขอบคุณ  ท่านผู้ใหญ่ ที่ให้โอกาส ได้ร่วมจัดงานประกวดนวัตกรรมเพื่อสุขภาพ ขึ้นในวันเดียวกับวันรดน้ำขอพรผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นประเพณีของหมู่บ้าน และได้กำหนดให้วันนี้ของทุกปี เป็นวัน "วันสร้างเสริมสุขภาพชุมชน" ตามวัตถุประสงค์ของ สสส. ที่ร่วมส่งเสริมให้ชุมชนมีกิจกรรมดีๆ เกิดขึ้นในชุมชน ถึงแม้ว่าโครงการฯนี้จะสิ้นสุดลง พวกเราจะสืบทอดกิจกรรมนี้ต่อไป

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 100 คน จากที่ตั้งไว้ 100 คน
ประกอบด้วย
  • คนในชุมชน 100 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง/นางสาวรัตนา ชูแสง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

แลกเปลี่ยนเรียนรู้การดูแลสุขภาพด้วยสมุนไพรในพื้นที่ตัวอย่าง3 เมษายน 2558
3
เมษายน 2558รายงานจากพื้นที่ โดย nannza123
circle
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้การใช้ประโยชน์จากสมุนไพร รู้จักวิธีการที่ถูกต้องในการใช้สมุนไพรรักษาอาการเจ็บป่วยเบื้องต้น โดยเน้นการนำเอาสมุนไพรมาใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น สมุนไพรเป็นยา อาหารและเครื่องดื่ม
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กิจกรรมศึกษาดูงานในโรงพยาบาลท่าฉาง ที่ใช้แพทย์แผนไทยในการรักษา / บำบัดผู้ป่วย

  • เวลา 08.00 น. ออกเดินทางจากหมู่ 1 บ้านพรุกระแชง
  • เวลา 10.00 น. ลงทะเบียน ห้องประชุมโรงพยาบาลท่าฉาง
  • เวลา 10.00 น. - 12.00 น. ให้ความรู้เรื่อง การใช้ประโยชน์จากสมุนไพร
  • เวลา 12.00 น. - 13.00 น. พักรับประทานอาหารเที่ยง
  • เวลา 13.00 น. - 14.00 น. ชม ลานตากสมุนไพร
  • เวลา 14.00 น. - 15.00 น. ชม ห้องจำหน่ายยาสมุนไพร
  • เวลา 15.00 น. เดินทางกลับ
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

กิจกรรมศึกษาดูงานในโรงพยาบาลท่าฉาง ที่ใช้แพทย์แผนไทยในการรักษา / บำบัดผู้ป่วย มีผู้เข้าร่วม จำนวน 30 คน

  • กิจกรรม ให้ความรู้เรื่อง การใช้ประโยชน์จากสมุนไพร โดย นางสาวอรุณรัตน์ เนืองคีบ ตำแหน่งแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลท่าฉาง เริ่มต้นด้วยการแนะนำตัว และจุดประสงค์ของการมาศึกษาดูงานในครั้งนี้ ว่าด้วยโครงการคนพรุกระแชงสุขภาพดีด้วยภูมิปัญญาแพทย์แผนไทย ได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก สสส สำนักงานส่งเสริมการสร้างเสริมสุขภาพ โดยวิธีการที่สำคัญของโครงการฯ คือ การส่งเสริมให้ชุมชนมีความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพด้วยสมุนไพรและการแพทย์แผนไทย โดยวิธีการดังนี้

    • เรียนรู้ : ให้ความรู้เรื่องสมุนไพรในการดูแลสุขภาพ  การแปรรูปสมุนไพร และการรักษาโรคด้วยการนวดไทย อบและประคบสมุนไพร
    • ส่งเสริม : ส่งเสริมการดูแลสุขภาพด้วยสมุนไพร การปลูกสมุนไพรในครัวเรือน
    • รักษา : การรักษาอาการเจ็บป่วยเกี่ยวโรคกล้ามเนื้อ ด้วยการ นวด และประคบสมุนไพร
    • ปรับเปลี่ยน : การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้วยหลัก 3 อ. 2 ส. โดยยึดหลัก "กินปลาเป็นหลัก กินผักเป็นยา"

จากนั้น วิทยากร ก็ได้ให้ความรู้เรื่องสมุนไพรในการดูแลสุขภาพ (การใช้สมุนไพรในการรักษาโรค) โดยยกตัวอย่าง 6 กลุ่มอาการ

  1. กลุ่มยาแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ได้แก่ กานพลู โหรพา มะรุม ว่านน้ำ อบเชยเทศ
  2. กลุ่มยารักษาโรคผิวหนัง กลากเกลื้อน ได้แก่ ทองพันชั่ง เหงือกปลาหมอ
  3. กลุ่มยาขับเสมหะ แก้ไอ ได้แก่ มะขามป้อม มะแว้งเครือ
  4. กลุ่มยาแก้ไข้ ลดความร้อน ได้แก่ ฟ้าทะลายโจร ปลาไหลเผือก แก้ไขห้าราก
  5. กลุ่มอาการแก้ฟกช้ำ ปวดข้อ ได้แก่ ว่านนางคำ ไพล กำลังพญาเสือโคร่ง
  6. กลุ่มยารักษาริสีดวงทวาร ได้แก่ เพชรสังฆาต
  • กิจกรรม ชมโรงตากสมุนไพรด้วยพลังงานแสงอาทิตย์  ในการใช้ " พืชสมุนไพร " มาทำเป็นยารักษาโรคต่างๆ นั้น แพทย์แผนโบราณใช้ " พืชสมุนไพร " นี้ได้ทั้งสดๆ และตากแห้งแล้ว ในการใช้ " พืชสมุนไพร " ขณะที่ยังสดๆ อยู่เป็นวิธีการที่สะดวกมากใช้ก็ง่ายแต่ฤทธิ์ของตัวยาที่มีอยู่ใน " พืชสมุนไพร " อาจจะไม่คงที่ ในบางครั้งการออกฤทธิ์อาจจะดี  แต่บางครั้งก็ออกฤทธิ์ไม่ดีนัก " พืชสมุนไพร " ที่ใช้กันสดๆ นั้นมีอยู่หลายชนิดด้วยกัน เช่น ว่านหางจระเข้ รากหญ้าคา เป็นต้น  แต่การใช้ยาสมุนไพรส่วนมากนิยมาใช้แห้งเพราะจะได้คุณภาพของยาที่คงที่  โดยเลือกเก็บยาสมุนไพรที่ต้องการตามฤดูกาลเก็บของพืช แล้วนำเอามาแปรสภาพโดยผ่านขบวนการที่เหมาะสมเพื่อเก็บยาเอาไว้ได้เป็นเวลานาน ในการแปรสภาพนั้น  โดยทั่วไปก็จะต้องนำส่วนที่ใช้เป็นยามาผ่านการคัดเลือก ผ่านการล้าง  การตัดเป็นชิ้นที่เหมาะสมแล้วใช้ความร้อนทำให้แห้ง  เพื่อสะดวกในการเก็บรักษา  วิธีการแปรสภาพยาสมุนไพรนั้นแตกต่างไปตามชนิดของ " พืชสมุนไพร " ส่วนที่ใช้เป็นยาและความเคยชินของแต่ละท้องที่ วิธีการที่ใช้บ่อยและจะเอาส่วนไหนของพืชที่เป็นยามาใช้  คือ
  1. รากและส่วนที่อยู่ใต้ดิน : ก่อนอื่นจะต้องคัดเอาขนาดที่พอๆ  กันเอาไว้ด้วยกันเพื่อจะได้สะดวกในการแปรสาพต่อไปนั่นเอง  ต่อจากนั้นก็ล้างดินและสิ่งสกปรกที่ติดอยู่ เอารากฝอยออกไปให้หมด  หากว่าเป็นพืชที่มีเนื้อแข็งแห้งได้ยากจะต้องหั่นเป็นชิ้นที่เหมาะสมก่อน  ถ้าเป็นพืชที่ไม่แข็งนำมาผ่านขบวนการให้ความร้อนตามแต่ชนิดของพืชนั้นๆ  พืชที่ใช้หัวและรากประกอบด้วย โปรตีน แป้ง เอนไชม์  หากผ่านความร้อนตามแบบต้มหรือนึ่งจะทำให้สะดวกในการเอาไปทำให้แห้ง หลังจากผ่านความร้อนแล้ว นำเอามาติดเป็นชิ้นๆ แล้วอบให้แห้งในอุณภูมิที่เหมาะสม
  2. การเก็บรักษาพืชสมุนไพร : การเก็บรักษาพืชสมุนไพรเอาไว้เป็นเวลานาน  มักจะเกิดการขึ้นราหรือเกิดมีหนอน  เกิดการเปลี่ยนลักษณะของสี  กลิ่น  ทำให้ยาสมุนไพรเสื่อมคุณภาพลงได้  ทำให้เกิดไม่ออกฤทธิ์ในการบำบัดรักษา สูญเสียฤทธิ์ของยาไปเลย  ด้วยเหตุนี้เอง  จะต้องมีการเก็บรักษาที่ดีเพื่อประกันคุณภาพและฤทธิ์การรักษาของสมุนไพรนั้น ในการเก็บรักษานั้นควรปฏิบัติดังนี้
  • ยาที่เก็บรักษาเอาไว้จะต้องทำให้แห้ง  เพื่อป้องกันการขึ้นราและการเปลี่ยนลักษณะเกิดภาวะ " ออกชิไดซ์ " ยาที่ขึ้นราง่าย จะต้องเอาออกตากแดดอยู่เสมอ
  • สถานที่ ที่เก็บรักษาจะต้องแห้ง เย็น  การถ่ายเทอากาศจะต้องดี
  • ควรแบ่งเก็บรักษาเป็นสัดเป็นส่วน  ยาที่มีพิษ  ยาที่มีกลิ่นหอมควรเก็บแยกเอาไว้อย่างมิดชิด ป้องกันการสับสนปะปนกัน
  • จะต้องคอยหมั่นดูแลอย่าให้มีหนอน หนู  แมลงต่างๆ มารบกวนรวมทั้งระวังเรื่องความร้อน ไฟ ที่อาจจะเกิดขึ้นก็ได้
  • กิจกรรม เยี่ยมชมอาคารแพทย์แผนไทยหลังใหม่และ ร้านจำหน่ายยาสมุนไพร
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย

ผู้เข้าร่วม 30 คน ประกอบด้วย

  1. คณะทำงานโครงการฯ 10 คน
  2. อสม. 14 คน
  3. ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 6 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • หลังจากรายงานปิดบัญชีงวดที่ 1 ยังไม่ได้รับงบประมาณจาก สสส. ผู้รับผิดชอบโครงการฯ จึงได้ขอยืมเงินจากชมรม อสม.
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง / นางสาวรัตนา ชูแสง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • อยากให้ทาง สสส. ได้แจ้งกำหนด วันโอนเงิน หรือ เหตุที่ล่าช้า เพราะโครงการฯ ต้องทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 425 มีนาคม 2558
25
มีนาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย nannza123
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการฯ - เพื่อวางแผนการดำเนินงานโครงการฯในช่วงต่อไป
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันที่ 25 มีนาคม 2558 เวลา 13.00 น. ณ ลานนวัตกรรมนวดฝ่าเท้า มีผู้เข้าร่วมประชุมคณะทำงานครั้งที่ 4 จำนวน 20 คน

วาระที่ 1 เรื่องประธานแจ้งที่ประชุมทราบ โดยนางสาวจิตรลัดดา  วงศ์ศิลป์ ผู้รับผิดชอบโครงการฯ ได้กล่าวรายงานผลการดำเนินงาน ตามแผนงาน/โครงการฯ

  • กิจกรรม แปรรูปสมุนไพรใช้ประโยชน์
  • กิจกรรม งานวันสร้างเสริมสุขภาพชุมชน (ประกวดนวัตกรรมเพื่อส่งเสริมสุขภาพ)
  • กิจกรรม ประชาสัมพันธ์การประกวดนวัตกรรมเพื่อสุขภาพ

วาระที่ 2 เรื่องเสนอเพื่อพิจารณาดำเนินการ กิจกรรมตามแผนงาน/โครงการฯ เดือนเมษายน

  • แลกเปลี่ยนเรียนรู้การดูแลสุขภาพด้วยสมุนไพรในพื้นที่ตัวอย่าง
  • กิจกรรมงานวันสร้างเสริมสุขภาพชุมชน (ประกวดนวัตกรรมเพื่อส่งเสริมสุขภาพ)
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลการประชุมคณะทำงานครั้งที่ 4 เดือนมีนาคม ได้รายงานผลการดำเนินงาน ตามแผนงาน/โครงการฯ ให้คณะทำงานรับทราบ

วาระที่ 1 เรื่องประธานแจ้งที่ประชุมทราบผลการดำเนินงาน ตามแผนงาน/โครงการฯ เดือนมีนาคม

  • กิจกรรม แปรรูปสมุนไพรใช้ประโยชน์ ในวันที่ 8 มีนาคม 2558 ชาวบ้านได้รับความรู้จากครูภูมิปัญญาสมุนไพรและกลุ่มสตรีแม่บ้านเกษตรกร เรื่องการแปรรูปสมุนไพรใช้ประโยชน์ ในวันนั้นได้ผลิตสมุนไพร จำนวน 3 รายการ ได้แก่
  1. ยาหม่องสมุนไพร จำนวน 120 ขวด
  2. ยาดมสมุนไพร จำนวน 50 ขวด
  3. น้ำยาล้างจานสมุนไพร จำนวน 55 ขวด

ส่วนที่เหลือจากการแบ่งปันให้ชาวบ้านนำกลับไปใช้แล้ว นำวางขายที่ศูนย์ ศสมช. สร้างรายได้ให้กับศูนย์ เป็นเงินจำนวน 2,500 บาท เพื่อไว้เป็นค่าใช้จ่ายสาธารณูปโภค และได้รับคำแนะนำจากหัวหน้างานพัฒนากรชุมชน ให้ขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์เป็นสินค้า O-Top เพื่อจำหน่ายให้กับชุมชน ผู้รับผิดชอบโครงการฯ ได้ชี้แจงว่า ในส่วนของการแปรรูปสมุนไพร งบประมาณที่ได้รับมานั้น เป็นจำนวนเงิน แค่ 3,000 บาท ใช้เป็นค่าวัสดุและอุปกรณ์ในการสาธิตเท่านั้น ในการที่จะใช้ลงทุนผลิตเพื่อจำหน่ายนั้น ต้องใช้งบลงทุนประมาณ 20,000 บาท ที่เพียงพอต่อการผลิตเพื่อจำหน่ายในแต่ละครั้ง ทั้งนี้ต้องเสนอคณะกรรมการหมู่บ้าน และหน่วยงานอื่นเพื่อของบประมาณสบับสนุน

  • กิจกรรม  งานวันสร้างเสริมสุขภาพชุมชน (ประกวดนวัตกรรมเพื่อส่งเสริมสุขภาพ) ได้กำหนดกติกา ของรางวัล และวันเวลาสถานที่การประกวตไว้เรียบร้อยแล้วเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2558 แต่ในวันที่ 25 มีนาคม 2558 ได้รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่ รพ.สต.บ้านพรุกระแชง ในการตัดสินการให้คะแนนในวันที่ 10 เมษายน 2558 นั้น ต้องขอเลื่อนเป็นวันที่ 7 เมษายน 2558 เนื่องจากเจ้าหน้าที่ ติดภารกิจอยู่เวรช่วงเทศกาลวันสงกรานต์ ตั้งแต่ วันที่ 9-16 เมษายน 2558
  • กิจกรรม ประชาสัมพันธ์การประกวดนวัตกรรมเพื่อสุขภาพ มีการเปลี่ยนแปลง การตัดสินผลการประกวดนวัตกรรมสุขภาพ เดิมจากวันที่ 10 เมษายน 2558 เป็นวันที่ 7 เมษายน 2558 ทั้งนี้ ได้ประชาสัมพันธ์เปลี่ยนแปลงวัน ดังกล่าวเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
  • รายงานการเงิน เนื่องการปิดงวดบัญชี งวดที่ 1 ระหว่างรอการโอนเงินจาก สสส. ในส่วนของกิจกรรมที่เกิดขึ้น ผู้รับผิดชอบโครงการฯ ได้ขอสนับสนุนเงินยืมจากกลุ่มสตรีแม่บ้านเกษตรกร เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน/โครงการฯ  เมื่อได้รับเงินจาก สสส. จะจ่ายคืนให้

วาระที่ 2 เรื่องเสนอเพื่อพิจารณาดำเนินการ กิจกรรมตามแผนงาน/โครงการฯ เดือนเมษายน

1.แลกเปลี่ยนเรียนรู้การดูแลสุขภาพด้วยสมุนไพรในพื้นที่ตัวอย่าง ในวันที่ 3 เมษายน 2558

  • จัดกิจกรรมศึกษาดูงานในโรงพยาบาลที่ใช้แพทย์แผนไทยในการรักษา/บำบัดผู้ป่วย (โรงพยาบาลท่าฉาง หรือ รพ.สต.ตะเคียนทอง)

2.กิจกรรมงานวันสร้างเสริมสุขภาพชุมชน (ประกวดนวัตกรรมเพื่อส่งเสริมสุขภาพ) ในวันที่ 11 เมษายน 2558

  • ประกาศผลการตัดสินการประกวดนวัตกรรมเพื่อสุขภาพ และแสดงการใช้นวัตกรรมเพื่อสุขภาพอื่นๆ ที่มี โดยผลการตัดสินใช้วิธีการตัดสินจากคณะกรรมการ และผลการร่วมโหวตเลือกของคนในชุมชนและเยาวชน จำนวน 50 คน
  • จัดนิทรรศการสาธิตการดูแลสุขภาพ รักษาโรคด้วยแพทย์พื้นบ้าน ยาสมุนไพร
  • สาธิตเมนูอาหารเพื่อสุขภาพ
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 20 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย
  • คณะทำงาน และคณะกรรมการชุมชน จำนวน 20 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  1. การแปรูปผลิตภัณฑ์ สมุนไพร เพื่อจำหน่าย ยังขาดงบประมาณลงทุน ในเบื้องต้นจะนำเรื่องเสนอที่ประชุมหมู่บ้าน เพื่อขอแนวทางการแก้ไขปัญหา ในส่วนของการใช้ในหมู่บ้านจะนำเงินส่วนที่เป็นรายได้ จำนวน 2,500 บาท ผลิตและแปรรูปเพื่อไว้ใช้ในชุมชน
  2. ในการดำเนินงานตามแผนงาน / โครงการฯ  ที่ได้จัดทำไปแล้ว แต่ยังไม่ได้รับเงินโอนจาก สสส. ในการแก้ไขปัญหา ผู้รับผิดชอบโครงการฯ ได้ขอสนับสนุนยืมเงินจากกลุ่มสตรีแม่บ้านเกษตรกร เป็นค่าใช้ใช้จ่ายในปัจจุบัน
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง/นางสาวรัตนา ชูแสง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ประชาสัมพันธ์การประกวดนวัตกรรมเพื่อสุขภาพ10 มีนาคม 2558
10
มีนาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย nannza123
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อประชาสัมพันธ์การประกวดนวัตกรรมเพื่อสุขภาพ
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ประชาสัมพันธ์เสียงตามสาย
  2. แจ้งในที่ประชุม
  3. ประกาศรายชื่อคณะกรรมการให้ชุมชนทราบ
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

วันที่ 10 มีนาคม 2558 เวลา 13.00 น. ผู้รับผิดชอบโครงการฯ นางสาวจิตรลัดดา  วงศ์ศิลป์ ได้ใช้หอกระจายเสียงในชุมชน เพื่อประชาสัมพันธ์ กิจกรรมงานวันสร้างเสริมสุขถาพ ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 11 เมษายน 2558 ในงานจะประกอบด้วยกิจกรรมต่างๆมากมาย ด้านความรู้การดูแลสุขภาพด้วยภูมิปัญญาแพทย์แผนไทย ดังนี้

  • กิจกรรม จัดนิทรรศกาลให้ความรู้ด้านการแพทย์แผนไทย
  • กิจกรรม สาธิตการแปรรูปสมุนไพรเป็นอาหารเพื่อสุขภาพ
  • กิจกรรม จัดนิทรรศกาลผลิตภัณฑ์แปรูรูปจากสมุนไพร เป็นยารักษาโรค
  • กิจกรรม ประกวด "นวัตกรรมเพื่อสุขภาพ" และในส่วนของการจัดกิจกรรม ประกวดนวัตกรรมเพื่อสุสขภาพ นั้น ขอให้ประชาชนที่สนใจส่งผลงานเข้าประกวด ส่งผลงานได้ตั้งแต่วันนี้ จนถึงวันที่ 10 เมษายน 2558 และจะติดสินการประกวดในช่วงเช้าของวันที่ 11 เมษายน 2558 และจะประกาสผลการประกวด ช่วงบ่ายในวันเดียว โดยมีกฏ กติกา เกณฑ์การให้คะแนน และรายชื่อคณะกรรมการตัดสิน ดังนี้

  • กติกา การรับสมัครผลงานนวัตกรรมเพื่อสุขภาพ

  1. ผู้ร่วมส่งผลงานเข้าประกวด เป็นหญิง หรือ ชาย ก็ได้ อายุ 15 ปีขึ้นไป
  2. มีชื่อ อยู่ในทะเบียนบ้าน หมู่ 1 บ้านพรุกระแชง
  3. เป็นนวัตกรรมที่ไม่เคยมีมาก่อน
  • เกณฑ์การให้คะแนน รวม 100  คะแนน
  1. ความเป็นไปได้ในการใช้ประโยชน์ 40 คะแนน
  2. แหล่งที่มาของความคิด 20 คะแนน
  3. การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากร 20 คะแนน
  4. โอกาสในการขยายผล 20 คะแนน
  • ของรางวัล
  1. รางวัลที่ 1 ได้รับเงินสดจำนวน 1,500 บาท
  2. รางวัลที่ 2 ได้รับเงินสดจำนวน 1,000 บาท
  3. รางวัลที่ 3 ได้รับเงินสดจำนวน  500 บาท
  4. รางวัล Popular Vote คะแนนโหวตสูงสุดจาก เยาวชน จำนวน 50 คน ( 50 คะแนน ) ได้รับเงินสด จำนวน 500 บาท
  • แต่งตัั้งคณะกรรมการตัดสินการประกวด โดยแต่งตั้งบุคคลดังต่อไปนี้
  1. นางพรนภา  รู้จำ  ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านพรุกระแชง
  2. นางดารุณี  ผุดผาด เจ้าหน้าที่สาธารณสุขปฎิบัติงาน รพ.สต. บ้านพรุกระแชง
  3. นางสาววิภารัตน์  ชูแสง แพทย์แผนไทย รพ.สต. บ้านพรุกระแชง
  4. นายสิทธิพร  ส้มเกลีี้ยง ผู้ช่วยแพทย์แผนไทย รพ.สต. ทุ่งหลวง
  5. นางจันทณา เพ็ชรเชนทร์ ประธาน อสม. หมู่ 11 บ้านถาวรราษฎร์
  • หลังจากนั้นได้แจกใบปลิวให้กับคนในชุมชนทราบ และปิดประกาศประชาสัมพันธ์ ตามสถานที่ที่มีคนรวมกลุ่ม เช่น ร้านกาแฟ ลานกีฬาเปตอง บอร์ดประชาสัมพันธ์หมู่บ้าน  ศูนย์ ศสมช. เป็นต้น
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 154 คน จากที่ตั้งไว้ 154 คน
ประกอบด้วย
  • คนในชุมชน จำนวน 154 ครัวเรือน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง/นางสาวรัตนา ชูแสง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

กิจกรรมงานวันสร้างเสริมสุขภาพชุมชน (ประกวดนวัตกรรมเพื่อส่งเสริมสุขภาพ)9 มีนาคม 2558
9
มีนาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย nannza123
circle
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อกำหนดกติกาในการประกวดนวัตกรรมเพื่อสุขภาพ
  2. เพื่อแต่งตั้งคณะกรรมการตัดสินการประกวด
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันที่ 9 มีนาคม 2558 เวลา 13.00 น. ณ.ห้องประชุมชั้น 2 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านพรุกระแชง

  1. ประชุมคณะทำงาน คณะกรรมการชุมชน แกนนำชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ช่วยกันกำหนดกติกา เกณฑ์ในการตัดสินให้คะแนนในการประกวดนวัตกรรมในการดูแลสุขภาพ
  2. แต่งตัั้งคณะกรรมการตัดสินการประกวด และวิธีการตัดสินการประกวด
  3. กำหนดวันตัดสินและประกาศผลการตัดสิน
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ณ ห้องประชุมชั้น 2 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านพรุกระแชง วันที่ 9 มีนาคม 2558 เวลา 13.00 น. มีคณะทำงาน คณะกรรมการชุมชน แกนนำชุมชน โครงการคนพรุกระแชงสุขภาพดีด้วยภูมิปัญญาแพทย์แผนไทย เข้าร่วมประชุม จำนวน 30 คน เพื่อกำหนดกติกาในการประกวดนวัตกรรม ในวัน "วันสร้างเสริมสุขภาพชุมชน" และเพื่อแต่งตั้งคณะกรรมการตัดสินการประกวด มีรายละเอียด ดังนี้

  • ประชุมคณะทำงาน คณะกรรมการชุมชน แกนนำชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ช่วยกันกำหนดกติกา เกณฑ์ในการตัดสินให้คะแนนในการประกวดนวัตกรรมในการดูแลสุขภาพ และวิธีการตัดสินการประกวด
  • กติกา การรับสมัครผลงานนวัตกรรมเพื่อสุขภาพ
  1. ผู้ร่วมส่งผลงานเข้าประกวด เป็นหญิง หรือ ชาย ก็ได้ อายุ 15 ปีขึ้นไป
  2. มีชื่อ อยู่ในทะเบียนบ้าน หมู่ 1 บ้านพรุกระแชง
  3. เป็นนวัตกรรมที่ไม่เคยมีมาก่อน
  • เกณฑ์การให้คะแนน รวม 100  คะแนน
  1. ความเป็นไปได้ในการใช้ประโยชน์ 40 คะแนน
  2. แหล่งที่มาของความคิด 20 คะแนน
  3. การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากร 20 คะแนน
  4. โอกาสในการขยายผล 20 คะแนน
  • ของรางวัล
  1. รางวัลที่ 1 ได้รับเงินสดจำนวน 1,500 บาท
  2. รางวัลที่ 2 ได้รับเงินสดจำนวน 1,000 บาท
  3. รางวัลที่ 3 ได้รับเงินสดจำนวน  500 บาท
  4. รางวัล Popular Vote คะแนนโหวตสูงสุดจาก เยาวชน จำนวน 50 คน ( 50 คะแนน ) ได้รับเงินสด จำนวน 500 บาท
  • แต่งตัั้งคณะกรรมการตัดสินการประกวด โดยแต่งตั้งบุคคลดังต่อไปนี้
  1. นางพรนภา  รู้จำ  ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านพรุกระแชง
  2. นางดารุณี  ผุดผาด เจ้าหน้าที่สาธารณสุขปฎิบัติงาน รพ.สต. บ้านพรุกระแชง
  3. นางสาววิภารัตน์  ชูแสง แพทย์แผนไทย รพ.สต. บ้านพรุกระแชง
  4. นายสิทธิพร  ส้มเกลีี้ยง ผู้ช่วยแพทย์แผนไทย รพ.สต. ทุ่งหลวง
  5. นางจันทณา เพ็ชรเชนทร์ ประธาน อสม. หมู่ 11 บ้านถาวรราษฎร์
  • กำหนดวันตัดสินและประกาศผลการตัดสิน

    • วันที่ 11 เมษายน 2558 (ช่วงเช้า) ตัดสินการประกวดนวัตกรรม
    • วันที่ 11 เมษายน 2558 (ช่ววงบ่าย) ประกาศผลการประกวดนวัตกรรม
  • ตามมติที่ประชุม เสนอให้วันจัดกิจกรรม "วันสร้างเสริมสุขภาพชุมชน" ตรงกับวันอาบน้ำขอพรผู้สูงอายุประจำปี ซึ่งทางหมู่บ้านหมู่ที่ 1 จัดเป็นประเพณีประจำหมู่บ้าน ซึ่งในปีนี้ตรงกับวันที่ 11 เมษายน 2558 และมีกิจกรรมต่างๆ ดังนี้

    • กิจกรรม จัดนิทรรศกาลให้ความรู้ด้านการแพทย์แผนไทย
    • กิจกรรม สาธิตการแปรรูปสมุนไพรเป็นอาหารเพื่อสุขภาพ
    • กิจกรรม จัดนิทรรศกาลผลิตภัณฑ์แปรูรูปจากสมุนไพร เป็นยารักษาโรค
    • กิจกรรม ประกวด "นวัตกรรมเพื่อสุขภาพ"
  • ประชาสัมพันธ์ เปิดรับสมัครผลงาน ตั้งแต่วันที่ 10 มีนาคม 2558 - 10 เมษายน 2558 โดยการทำสื่อใบปลิว ประชาสัมพันธ์เสียงตามสายในหมู่บ้านและโรงเรียน

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย
  1. คณะทำงานโครงการฯ คณะกรรมการชุมชน 26 คน
  2. เจ้าหน้าที่ รพ.สต. 4 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง/นางสาวรัตน ชูแสง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

แปรรูปสมุนไพรใช้ประโยชน์8 มีนาคม 2558
8
มีนาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย nannza123
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อส่งเสริมการใช้สมุนไพรเป็นยา และส่งเสริมการดูแลสุขภาพด้วยตนเองในครอบครัว
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันที่ 8 มีนาคม 2558

  • เวลา 08.30 น. ลงทะเบียน
  • เวลา 09.00 น. กิจกรรมแปรรูป ยาดมสมุนไพร
  • เวลา 10.00 น. กิจกรรมแปรรูป น้ำยาล้างจานสมุนไพร
  • เวลา 11.00 น. กิจกรรมแปรรูป ยาหม่องสมุนไพร
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

วันที่ 8 มีนาคม 2558

  • เวลา 08.30 - 09.00 น. มีผู้ลงมาลงทะเบียนเข้าอบรมให้ความรู้และการสาธิต การแปรรูปสมุนไพรใช้ประโยชน์ จำนวน 50 คน เป็นผู้ป่วยโรคเกี่ยวกับระบบกล้ามเนื้อจำนวน 40 คน และอสม.10 คน
  • เวลา 09.00 - 10.00 น. นางสาวยินดี  ตรีศรี ประธานกลุ่มสตรีแม่บ้านเกษตรกร ถ่ายทอดความรู้ด้านการใช้สมุนไพรเป็นยา โดยการแปรรูปสุมนไพรเป็นยาดม มีสมุนไพรและขั้นตอนดังนี้

ส่วนประกอบ

  1. กานพลู : มีกลิ่นหอมจัด มีน้ำมันระเหยมาก มีสพรรคุณช่วยขับลม แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ จุดเสียด แน่นท้อง
  2. ดอกจันทร์เทศ : ใช้แก้ลม ขับลม แก้บิด
  3. พริกไทยดำ : ช่วยขับลม ขับเสมหะ ขับเหงื่อ แก้อาการอาหารไม่ย่อย
  4. โกศหัวบัว : แก้ลมในกองริดสีดวง ขับลมในลำใส้ บำรุงโลหิต
  5. กระวาน : ยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียบางชนิด แก้ลมเจริญอาหาร
  6. พิมเสน : มีกลิ่นหอมเย็น แก้วิงเวียน
  7. การบูร : แก้เคล็ดบวม ขัดยอก
  8. แมลทอล : ลดอาการปวดเมื่อย ฆ่าเชื้อ

วิธีทำ

  1. นำสมุนไพร 5 ชนิด ผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน แล้วบรรจุขวด
  2. นำน้ำพิมเสน (ประกอบด้วย พิมเสน การบูรและเทลทอล ผสมให้เข้ากัน) ใส่ลงในขวดที่บรรจุสมุนไพรไว้แล้ว ปิดฝาทิ้งไว้ 1 คืน ก่อนนำไปใช้ประโยชน์

ประโยชน์ของยาดมสมุนไพร

  1. ใช้สูดดม บรรเทาอาการวิงเวียนศีรษะ (ส่งเสริมการดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง)
  2. ใช้ทาท้อง เมื่อมีอาการปวด
  3. ใช้เป็นของชำร่วยในงานศพ
  4. เป็นการเพิ่มรายได้หรือทำเป็นอาชีพเสริม
  • เวลา 10.00 น. นางสุนันทา  จันทร์แก้ว รองประธานกลุ่มสตรีแม่บ้านเกษตรกร สาธิตการทำน้ำยาล้างจาน จากสมุนไพร

ส่วนประกอบ

  1. ผลมะกรูด
  2. น้ำเปล่า
  3. N 70
  4. เกลือแกง
  5. ขี้เถ้า

วิธีทำ

  1. นำขี้เถ่ามาร่อนให้เหลือแต่ผงไม่มีเศษถ่าน (ทำไว้ก่อนล่วงหน้า 7 วัน ให้ตกตะกอน เรียกว่า น้ำด่าง)
  2. นำมะกรูดล้างน้ำให้สะอาดผ่า 2 ซีก แล้วนำไปต้ม เมื่อต้มเสร็จ เทมะกรูดใส่กะละมังทิ้งไว้กนกว่จะเย็น
  3. เมื่อมะกรูดเย็น บีบเอาน้ำ กรองด้วยผ้าขาวเอาเมล็ดออก
  4. เทน้ำ N 70 (ซื้อได้จาก ธนาคาร ธกส. หรือ รพสต.) ลงใส่กะละมัง กวนให้ไปทางเดียวกัน 5 นาที
  5. เมื่อครบ 5 นาที ค่อยๆ ใส่เกลือ น้ำด่าง น้ำมะกรูด เทลงไปกวนให้เข้ากัน
  6. ทิ้งไว้ 6 ชั่วโมง ให้ฟองหมด หลังจากนั้นตักใส่ขวดพลาสติกเพื่อนำไปใช้
  • ประโยชน์ของน้ำยาล้างจานสมุนไพร ไม่ทำให้สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ ประหยัดค่าใช้จ่ายและทำเป็นอาชีพเสริมสร้างรายได้

  • เวลา 11.00 น. นางสาวจิตรลัดดา  วงศ์ศิลป์ ให้ความรู้เรื่องการใช้ยาหม่องสมุนไพรเพื่อส่งเสริมการดูแลสุขภาพ และสาธิตการทำยาหม่องสมุนไพร

ส่วนประกอบ

  1. สมุนไพร 5 ชนิด
  2. พาราฟิน
  3. วาสลิน
  4. เมลทอล
  5. การบูร
  6. น้ำมันระกำ

วิธีทำ

  1. นำสมุนไพรทั้งหมด หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ สกัดให้เข้ากัน
  2. ละลาย พาราฟิน วาสลิน เมลทอล การบูร และน้ำมันระกำ จากนั้นนำสมุนไพรสะกัดเทลงไปกวนให้เข้ากัน
  3. นำบรรจุขวดแล้วปิดฝา ทิ้งให้ตัวยาเย็นและแข็ง

ประโยชน์ของยาหม่องสมุนไพร

  1. ใช้ทาภายนอก นวดบรรเทาอาการปวดเมื่อย แมลงกัด ต่อย แก้เคล็ด ขัดยอก
  2. ทำเป็นอาชีพเสริมเพิ่มรายได้
  • เมื่อจบกิจกรรมการให้ความรู้และสาธิตการแปรรูปสมุนไพร ผู้ใหญ่สมปอง  วงศ์ศิลป์ ได้กล่าวขอบคุณผู้ที่เข้าอบรมและหวังเป็นอย่างยิ่งว่า จะสามารถนำความรู้ไปใช้ป้องกันและบรรเทาอาการเจ็บป่วย เพื่อดูแลสุขภาพด้วยตนเองเบื้องต้นได้  และได้มอบน้ำยาล้างจานสมุนไพรให้เป็นของที่ละลึก นำไปใช้ประโยชน์ที่บ้าน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 52 คน จากที่ตั้งไว้ 50 คน
ประกอบด้วย
  1. ผู้ป่วยโรคเกี่ยวกับระบบกล้ามเนื้อ จำนวน 40 คน
  2. อสม.จำนวน 10 คน
  3. วิทยากร จำนวน 2 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • การแปรรูปสมุนไพรใช้ประโยชน์ ซึ่งตามปฎิทินแผนงาน/โครงการฯ เป็นกิจกรรมของเดือนอื่น แต่เนื่องจากกิจกรรมเพิ่มพื้นที่สมุนไพรไม่สามารถทำได้ในเดือนนี้เนื่องจากสาภพอากาศที่ร้อนจัด ผู้รับผิดจึงจำเป็นต้องเปลี่ยนแผนงาน
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง/นางสาวรัตนา ชูแสง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผู้รับทุน โครงการร่วมสร้างชุมชนและท้องถิ่นน่าอยู่ภาคใต้26 กุมภาพันธ์ 2558
26
กุมภาพันธ์ 2558รายงานจากพื้นที่ โดย nannza123
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อถอดบทเรียนโครงการปี 2557 และทำแบบประเมินคุณค่า 6 ประเด็น
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ช่วงเช้า

  1. คุณถนอม  ขุนเพ็ชร ชี้แจงวัตถุประสงค์การจัดเวทีประชุมแลกเปลีั่ยนเรียนรู้โครงการฯ
  2. ทีมสื่อจาก สสส.ทำการพูดคุยสัมภาษณ์ อัดวิดีโอ เพื่อบันทึกภาพและเสียง

ช่วงบ่าย

  1. เล่าสู่กันฟังแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และนำเสนอเรื่องราวดีๆ ที่เกิดขึ้น
  2. ประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ 6 ด้าน
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2558 เข้าร่วมประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผู้รับทุน โครงการร่วมสร้างชุมชนและท้องถิ่นน่าอยู่ภาคใต้

  • คุณถนอม  ขุนเพ็ชร ชี้แจงวัตถุประสงค์การจัดเวทีประชุมแลกเปลีั่ยนเรียนรู้โครงการฯ และแนวทางการถอดบทเรียน คุณค่าที่เกิดขึ้นในโครงการ 6 ด้าน ในการดำเนินโครงการในชุมชน ได้เล่าประสบการณ์จากการลงพื้้นที่ต่าง ๆ เพื่อจัดทำสื่อ ประสบการณ์การเขียนหนังสือจากการเก็บเกี่ยวประสบการณ์การลงพื้นที่และเครื่องมือแบบประเมินคุณค่า  6 ด้าน

    • ความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพและนวัตกรรมที่มีผลต่อสุขภาวะ ความรู้ การะบวนการ วีธีการทำงาน ที่เกิดขึ้นใหม่
    • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีผลต่อสุขภาวะ พฤติกรรมการบริโภค การออกกำลังกาย หรือหลักการดูแลสุขภาพด้วย 3อ. 2ส.
    • การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ กาย ใจ สังคม และเศรษฐกิจ
    • ผลกระทบเชิงบวกและนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาวะชุมชน กฎ ข้อตกลง มาตรการของชุมชน
    • กระบวนการชุมชน การเรียนรู้ การใช้ประโยชน์ การขับเคลื่อนการดำเนินงาน และการมีส่วนร่วมกับภาคีเครือข่าย
    • มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวัญญาณ ความภาคภูมิใจ  ความเอื้ออาทร เสียสละ และการตัดสินใจโดยใช้ฐานปัญญา
  • ทีมสื่อจาก สสส.ทำการพูดคุยสัมภาษณ์ อัดวิดีโอ เพื่อบันทึกภาพและเสียง โดยพี่ถนอม ขุนเพ็ชร ทำการสัมภาษณ์พูดคุย เรื่องราวที่เด่นที่เกิดขึ้นในช่วงทำโครงการฯ

  • เล่าสู่กันฟังแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และนำเสนอเรื่องราวดีๆ ที่เกิดขึ้น โดยผู้รับทุน โครงการร่วมสร้างชุมชนและท้องถิ่นน่าอยู่ภาคใต้ ปี 2557 จำนวน 7 โครงการ

    • โครงการอยู่อย่างวิถีไทย ชาวควนสินชัยสุขภาพดี จังหวัดสุราษฎร์ธานี
    • โครงการผัก:สายสัมพันธ์สู่่ทับคริสต์วิถีชีวิตที่พอเพียง จังหวัดสุราษฎร์ธานี
    • โครงการคนพรุกระแชงสุขภาพดีด้วยภูมิปัญญาแพทย์แผนไทย จังหวัดสุราษฎร์ธานี
    • โครงการพื้นที่สร้างสรรค์ สานสัมพันธ์คนสองวัยชุมชนหัวแหลมพัฒนา จังหวัดสุราษฎร์ธานี
    • โครงการบ้านเหนือสะอาด ชุมชนสดใส ประชาร่วมใจพัฒนา จังหวัดสุราษฎร์ธานี
    • โครงการส่งเสริมการเรียนรู้เยาวชน ตามหลักวิถีเศรษฐกิจพอเพียง บ้านไสยง จังหวัดกระบี่
    • โครงการปรับพฤติกรรมการกิน สร้างสุขคนควนทัง จังหวัดชุมพร
  • ประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ 6 ด้าน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย
  1. ผู้รับผิดชอบโครงการฯ 1 คน
  2. คณะทำงานโครงการฯ 1 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง/นางสาวรัตนา ชูแสง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 325 กุมภาพันธ์ 2558
25
กุมภาพันธ์ 2558รายงานจากพื้นที่ โดย nannza123
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการฯ
  • เพื่อวางแผนการดำเนินงานโครงการฯในช่วงต่อไป
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วาระที่ 1 เรื่องประธานแจ้งที่ประชุมทราบ โดยนางสาวจิตรลัดดา  วงศ์ศิลป์ ผู้รับผิดชอบโครงการฯ ได้กล่าวรายงานผลการดำเนินงาน ตามแผนงาน/โครงการฯ

1.1 กิจกรรมสร้างอาสาสมัครรุ่นใหม่ดูแลสุขภาพ 1.2 กิจกรรมส่งเสริมการใช้สมุนไพรเพื่อทำ "อาหารเพื่อสุขภาพ" 1.3 กิจกรรมเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ประโยชน์ของสมุนไพรในการดูแลสุขภาพครั้งที่ 1 1.4 กิจกรรมตรวจสอบเอกสารทางการเงิน

วาระที่ 2 เรื่องเสนอเพื่อพิจารณาดำเนินการ กิจกรรมตามแผนงาน/โครงการฯ เดือนมีนาคม

  • 2.1 ผู้รับผิดชอบโครงการฯได้ชี้แจง รายละเอียดการทำรายงานและส่งรายงาน เพื่อปิดบัญชีงวดที่ 1 และรายงานความเคลื่อไหวทางการเงิน
  • 2.2 กิจกรรมงานวันสร้างเสริมสุขภาพชุมชน
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2558
เนื่องจากเวลาเดิมที่กำหนดไว้ เวลา 13.00 น. ซึ่งตรงกับการประชุมประจำเดือนของอสม. ผู้รับผิดชอบโครงการฯจึงขอเลื่อนเวลาประชุมเป็น 16.00 น. ซึ่งมีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 20 คน ในครั้งนี้ได้เปลี่ยนสถานที่ประชุม เป็นที่ลานหินนวดฝ่าเท้า ประธานในที่ประชุม นายสมปอง  วงศ์ศิลป์ ประธานโครงการฯ ได้กล่าวเปิดการประชุม

เวลา 16.15 น. วาระที่ 1 เรื่องประธานแจ้งที่ประชุมทราบ โดยนางสาวจิตรลัดดา  วงศ์ศิลป์ ผู้รับผิดชอบโครงการฯ ได้กล่าวรายงานผลการดำเนินงาน ตรมแผนงาน/โครงการฯ

1.1 กิจกรรมสร้างอาสาสมัครรุ่นใหม่ดูแลสุขภาพ

  • เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2558 ที่ผ่านมา ได้จัดกิจกรรมจัดตั้งชมรมอาสาสมัครดูแลสุขภาพคนในชุมชน ได้เยาวชนจิตอาสา จำนวน 30 คน ซึ่งตามแผนงาน จะต้องจัดให้มีการอบรมให้ความรู้เรื่องการตรวจสุขภาพเบื้องต้น และกิจกรรมเสริมทักษะอาสาสมัครดูแลสุขภาพ ตามมติที่ประชุมเห็นสมควรให้จัดกิจกรรมในเดือนพฤษภาคม เนื่องจากตามแผนเดิมที่กำหนดไว้เดือนเมษายน ตรงกับช่วงปิดภาคเรียน

1.2 กิจกรรมส่งเสริมการใช้สมุนไพรเพื่อทำ "อาหารเพื่อสุขภาพ"

  • หลังจากได้ความรู้เรื่องการทำอาหารเพื่อสุขภาพแล้ว ในวันนี้หลังจบการประชุม คณะทำงานโครงการฯ ได้รับประทานอาหารเย็นร่วมกันด้วยเมณูที่ได้ อบรมและชมการสาธิตมา พร้อมด้วยน้ำดื่มสมุนไพร เพื่อสุขภาพ น้ำมะขามหวานเย็น แก้กระหายครายร้อน และ แก้โรคท้องผูก

1.3 กิจกรรมเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ประโยชน์ของสมุนไพรในการดูแลสุขภาพครั้งที่ 1

  • ผลการจากดำเนินงานให้บริการฟรี ด้วยการนวดและประคบสมุนไพรเพื่อสุขภาพให้กับประชาชนในชุมชน ที่เจ็บป่วยด้วยโรคเกี่ยวกับระบบกล้ามเนื้อ ที่ศูนย์ ศสมช. มีผู้มารับบริการ ตั้งแต่วันที่ 10-24 กุมภาพันธ์ 2558 จำนวน 45 คน เป็นคนในเขตชุมชนหมู่ 1 บ้านพรุกระแชง 40 คน และนอกเขต 5 คน มีรายได้จากการให้บริการ จำนวนเงิน 1,800 บาท ซึ่งเป็นเงินที่ผู้มารับบริการให้เพื่อช่วยเหลือเป็น ค่าน้ำ ค่าไฟ
  • ผลจากการดำเนินงานเปิดให้บริการด้านการแพทย์แผนไทยในศูนย์ ศสมช. ตามกิจกรรมแผนงานโครงการฯ ที่ได้รับสนับสนุนจากสสส. ทำให้นายสมจิตร  จันทร์แก้ว ได้รับคัดเลือกเป็นตัวแทนอสม.ดีเด่น สาขา การบริการใน ศสมช. เพื่อส่งเป็นตัวแทนส่งเข้าประกวดในระดับอำเภอ
  • จากการสนับสนุนงบประมาณจาก สสส. ให้มีโครงการคนพรุกระแชงสุขภาพดีด้วยภูมิปัญญาแพทย์แผนไทย ที่มีกระบวนการทำงานร่วมกันด้วยภาคีเครือข่าย ผู้รับผิดชอบโครงการฯ ได้รับเชิญร่วมเข้าประชุมกับสาธารณสุขอำเภอเวียงสระ เพื่อรับฟังแผนการรับนิเทศและเยี่ยมชม การดำเนินงานจากทีมงานด้านการแพทย์แผนไทย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุราษฎร์ธานี ตามกำหนด ในวันที่ 13 มีนาคม 2558
  • และทางหมู่บ้านได้รับคัดเลือกให้เป็นหมู่บ้านตัวแทนเข้าประกวดหมู่บ้านปรับเปลี่บนพฤติกรรมสุขภาพ เพื่อแข่งขันในระดับอำเภอ ประจำปี 2558

1.4 กิจกรรมตรวจสอบเอกสารทางการเงิน

  • เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2558 ผู้รับผิดชอบโครงการฯ ได้นำเอกสารทางการเงิน ไปตรวจสอบกับพี่เลี้ยง สจรส .ม.อ. ที่มอ.สุราษฎร์ธานี ได้รับคำแนะนำในเรื่องการจัดทำรายงานทางการเงิน และการแยกหมวดหมู่ ค่าใช้จ่ายให้ถูกต้อง

วาระที่ 2 เรื่องเสนอเพื่อพิจารณาดำเนินการ กิจกรรมตามแผนงาน/โครงการฯ เดือนมีนาคม

  • 2.1 ผู้รับผิดชอบโครงการฯได้ชี้แจง รายละเอียดการทำรายงานและส่งรายงาน เพื่อปิดบัญชีงวดที่ 1 และรายงานความเคลื่อไหวทางการเงิน งบประมาณที่ได้รับสนับสนุนในงวดที่ 1 จำนวน 82,560 บาท ค่าใช้จ่ายในกิจกรรมต่างๆ ตามแผนงานโครงการฯ ทั้งหมด 74,820 บาท คงเหลือในสมุดบัญชี จำนวนเงิน 7,740 บาท

  • 2.2 กิจกรรมงานวันสร้างเสริมสุขภาพชุมชน : ที่กำหนดไว้เดือน สิงหาคม 2558 เนื่องจากทางหมู่บ้านได้จัดงานประเพณีประจำหมู่บ้าน งานอาบน้ำขอพรผู้สูงอายุ ผู้รับผิดชอบโครงการฯจึงขอเสนอให้จัดกิจกรรมวันสร้างเสริมสุขภาพให้ตรงกับวันนี้ เพื่อได้กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพให้กับกลุ่มผู้สูงอายุในชุมชนด้วย ทั้งนี้ผู้รับผิดชอบโครงการฯจะต้องปรึกษากับทีมพี่เลี้ยง และจะรายงานผลให้ทางคณะทำงานโครงการฯ ทราบ

เวลา 18.00 น. ประธานฯ กล่าวขอบคุณคณะทำงานโครงการฯ  และทุกคนที่ได้สละเวลา แรงกาย แรงใจ สิ่งของ ในการดำเนินงานครั้งนี้ผ่านได้ด้วยดี โดยอาศัยพลังสามัครคี เพื่อให้คนในชุมชน หมู่ 1 บ้านพรุกระแชง มีสุขภาพทีดี สามรถดูแลสุขภาพตนเองได้ ด้วยภูมิปัญญาที่มีอยู่ในชุมชน ประกอบด้วย บุคคลากร สมุนไพร สถานที่ สิ่งแวดล้อม องค์ความรู้ และหวังอย่างยิ่งว่าการนำเอา องค์ความรู้ จากกิจกรรมต่างๆ ที่พี่น้องในชุมชนได้รับ นำไปปรับปรับใช้ในชีวิตประจำวันให้เป็นประโยชน์มากที่สุดด้วยการพึ่งพาตนเองให้มากที่สุด ทั้งนี้ต้องขอขอบพระคุณ สสส. สำนักงานสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณ และพี่เลี้ยงทีมงานที่คอยให้คำแนะนำปรึกษา ทำให้เกิดโครงการฯ

  • จากการพูดคุยการดำเนินงานตามกิจกรรมที่ผ่านมา และปรึกษาหาแนวทางในการดำเนินครั้งต่อไป นำเอาปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นมาปรับปรุง หาแนวทางแก้ไข เพื่อการพัฒนา และหลังจากได้แจ้งข่าว เรื่องที่หมู่บ้านได้รับคัดเลือกเพื่อเป็นตัวแทนประกวดในกิจกรรมต่างๆ คณะทำงานโครงการฯ มีความดีใจ และภาคภูมิใจ มีแรงผลักดันและมีแนวคิดใหม่ๆ เกิดขึ้นเสมอ และที่ขาดไม่ได้เลย เรื่องเล่าจาก คณะทำงานโครงการฯ มีข้อเสนอแนะในเวที ดังนี้
  1. นายนิยม วงษ์ศิลป์ ได้เสนอให้ทุกวันอาทิตย์ ตอนเย็น ร่วมรับประทานอาหารร่วมกัน และจะต้องเป็นเมณูเพื่อสุขภาพเท่านั้น และทุกคนก็นเห็นด้วย
  2. นางสุนันทา  จันทร์แก้ว บอกว่าแปลงดอกไม้หน้าบ้าน ที่รื้อถอนไป ได้นำผักมาปลูก ตามหลัก "กินปลาเป็นหลัก กินผักเป็นยา" จากแปลงดอกไม้เป็นแปลงผักกาดปลอดสารพิษ ในเนื้อที่ไมีกี่ตารางเมตร มีผักสดกินทุกวัน และได้แบ่งให้เพื่อนบ้านกินด้วย  แล้วนางจินตนา วงษ์ศิลป์ ก็บอกว่า ที่บ้านจากแปลงดอกไม้ก็เป็นแปลงผักคะน้า ทำอาหารกินทุกวันประหยัดค่าผักไปหลายบาท
  3. นายอำพล ถิ่นพิบูลย์ บอกว่า ตอนนี้น้ำหนักขึ้น 2 กิโลแล้ว กินข้าวได้เยอะขึ้น ไม่ปวดหัวเหมือนแต่ก่อน หลังจากที่ได้เลิกดื่มเหล้า มาเป็นเวลา 2 เดือน และตอนนี้ลด บุหรี่ด้วยแล้ว เหลือตังติดกระเป๋าเยอะขึ้น
  4. นายสมพร ตรีศรี ที่ได้รับการตรวจความดันฯ ในกิจกรรมตรวจสุขภาพก่อนประชุม ซึ่งนายสมพร ตรีศรี มีระดับความดันฯ สูงถึง 166/102 และได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้วยหลัก 3 อ. และ3 ส. อยู่เสมอ ปัจจุบัน ลดลง 146/74
  • จะเห็นได้ว่า จากเดิมที่คนในชุมชนไม่ค่อยสนใจเรื่องสุขภาพ แต่หลังจากมีโครงการฯ เกิดขึ้น ประชาชนที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆตามแผนงานโครงการฯ สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน สามารถดูแลสุขภาพเบื้องต้นด้วยตัวเองได้
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 20 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน และคณะกรรมการชุมชน จำนวน 20 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง/นางสาวรัตนา ชูแสง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ตรวจสอบเอกสารการเงินและการจัดทำรายงาน14 กุมภาพันธ์ 2558
14
กุมภาพันธ์ 2558รายงานจากพื้นที่ โดย nannza123
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อการจัดทำเอกสารการเงิน การจัดทำรายงาน และการเขียนรายงานโครงการฯ ได้อย่างถูกต้อง
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ตรวจสอบเอกสารการเงินโครงการฯ
  • ตรวจสอบการงานการเงิน
  • ตรวจสอบการเขียนรายงานกิจกรรม
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 10.00 น. ผู้รับผิดชอบโครงการ ฯ นางสาวจิตรลัดดา  วงศ์ศิลป์ ได้นำเอกสารการเงินโครงการฯ ให้พี่เลี้ยง ที่ มอ.สุราษฎณ์ธานี ตรวจสอบความถูกต้อง ก่อนจัดส่งให้ สจรส. มอ. จากการตรวจสอบเอกสารทางการเงิน ตรวจสอบการรายงานการเงิน และตรวจสอบการเขียนรายงานกิจกรรม พบว่า ยังมีความผิดพลาด จึงได้รับคำแนะนำจากพี่เลี้ยง เพื่อนำไปปรับปรุงและแก้ไขให้ถูกต้อง ดังนี้
  1. เอกสารการเงินโครงการฯ
    • ใบเสร็จรับเงิน(ที่ทางร้านออกให้) : การออกใบเสร็จรับเงินจากร้านค้า ให้ใช้ใบเสร็จรับเงินที่มีเลขใบกำกับภาษี / หากร้านค้าออกบิลเงินสดให้ ให้ทางร้านประทับตราประจำร้านให้ชัดเจน หรือ หากเขียนด้วยมือ ควรระบุข้อมูลร้านให้ครบถ้วน เช่น ชื่อร้าน ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ เป็นต้น
    • ใบเสร็จรับเงิน (ที่ทางโครงการฯ ออกให้ผู้รับเงิน ในกรณีที่ผู้รับเงินไม่สามารถออกใบสำคัญรับเงินได้ เช่น ค่าอาหาร) : ควรระบุ ชื่อ-สกุล ผู้รับเงิน, เลขบัตรประชาชน, ที่อยู่,เบอร์โทรศัพท์ ให้ถูกต้องครบถ้วน ห้ามมีรอยขีดฆ่า หรือน้ำยาลบคำผิด / หากผู้รับเงินไม่สามารถเขียน รายการค่าใช้จ่ายได้ หรือเขียนผิด หรือไม่ถูกต้อง แนะนำให้ เจ้าหน้าที่การเงินโครงการฯ เป็นผู้เขียนให้ แล้วให้ผู้รับเงินเขียนชื่อกำกับว่าได้รับเงินแล้ว / ในกรณีที่ จำนวนเงิน เกิน 5,000 บาท ควรแนบสำเนาบัตรประชาชนผู้รับเงินด้วยพร้อมลงชื่อสำเนาถูกต้อง
  2. รายงานการเงิน
    • การแยกประเภทค่าใช้จ่ายไม่ถูกต้อง เช่น ค่าไวนิลโครงการฯ จากเดิมที่บันทึกเป็นค่าจ้าง พี่เลี้ยงได้แนะนำให้บันทึกเป็นค่าใช้จ่าย เนื่องจากไวนิล ไม่ใช่วัสดุที่ใช้สิ้นเปลือง และเป็นของที่ใช้ได้นานกว่าวัสดุ จึงจัดอยู่ในหมวดค่าใช้จ่าย ส่วนค่าจ้างจะเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายประเภท ค่าแรง เป็นต้น และได้ปรับแก้เรียบร้อยแล้ว
  3. การเขียนรายงานกิจกรรม
    • วิธีการเขียนรายงานกิจกรรม เนื่องจากตอนเขียนรายงานผู้รับผิดชอบโครงการฯ ได้พิมพ์ ใน Word แล้วจึง Coppy มาวาง ทำให้เกิดความผิดพลาด (การอ่านข้อมูลของโปรแกรมที่ไม่รู้จักกัน) ทำให้ข้อความที่รายงาน ขยายหน้าจอใหญ่ขึ้นผิดปกติ อ่านข้อมูลรายงานได้ยาก  ทางพี่เลี้ยงได้แนะนำวิธีการแก้ไขปัญหาเบื้องต้น และให้ผู้รับผิดชอบนำไปปรับปรุงแก้ไข
  4. การจัดชุดเอกสาร
    • การจัดชุดเอกสารให้ง่ายต่อการตรวจสอบ ให้จัดเรียงหลักฐานทางการเงิน ใบเสร็จรับเงิน ไว้ก่อน และตามด้วยใบลงทะเบียนผู้เข้าร่วมกิจกรรม เพื่อง่าย สะดวก และรวดเร็วในการตรวจสอบ
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 1 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย
  • นางสาวจิตรลัดดา  วงศ์ศิลป์ ผูู้รับผิดชอบโครงการฯ
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง/นางสาวรัตนา ชูแสง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ตรวจสอบเอกสารการเงิน14 กุมภาพันธ์ 2558
14
กุมภาพันธ์ 2558รายงานจากพี่เลี้ยง โดย kannapat janthong
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อตรวจสอบเอกสารการเงินโครงการ
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ตรวจสอบความถูกต้องเอกสารการเงิน
  • ปรับหมวดหมู่รายงานการเงิน
  • ตรวจสอบเนื้อหาการเขียนรายงานผลการดำเนินงานโครงการ
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • จากการตรวจสอบเอกสารการเงินโครงการ พบว่า ผู้รับผิดชอบโครงการ สามารถจัดทำเอกสารการเงินได้อย่างครบถ้วน สมบูรณ์ มีการจัดการข้อมูลในเอกสารชัดเจน ตรวจสอบได้
  • ผู้รับผิดชอบโครงการยังมีความสับสนเรื่องการแบ่งหมวดหมู่ค่าใช้จ่าย เกี่ยวกับหมวดค่าจ้าง ค่าตอบแทน ค่าวัสดุ ได้มีการชี้แจงให้เข้าใจ และปรับแก้หมวดหมู่ค่าใช้จ่ายการเงินให้ถูกต้องแล้ว สามารถจัดส่งรายงานการเงินโครงการได้
  • จากการตรวจสอบเนื้อหารายงาน พบว่า สามารถจัดทำรายงานกิจกรรมได้อย่างละเอียด เนื้อหาสมบูรณ์ มีการบรรยายขั้นตอนการทำงานที่ชัดเจน เห็นเนื้อหาสาระของการจัดกิจกรรมในแต่ละครั้ง สามารถจัดส่งรายงานผลการดำเนินงานโครงการ ในงวดที่ 1 ได้
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 1 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย
  • นางสาวจิตรลัดดา  วงศ์ศิลป์
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • มีปัญหาเรื่องการแยกหมวดหมู่ค่าใช้จ่าย แต่ได้ทำความเข้าใจและปรับแก้เรียบร้อยแล้ว
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ทำเอกสารการเงินละเอียดเรียบร้อยดีมาก 
เผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ประโยชน์ของสมุนไพรในการดูแลสุขภาพ ครั้งที่ 110 กุมภาพันธ์ 2558
10
กุมภาพันธ์ 2558รายงานจากพื้นที่ โดย nannza123
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์โครงการฯ และข้อมูลเกี่ยวกับการนำสมุนไพรมาใช้ประโยชน์
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2558

  • เวลา 12.00 น. พิธีเปิดศูนย์ ศสมช. หมู่ 1 บ้านพรุกระแชง โดยนากยกเทศมนตรีเทศบาลตำบลบ้านส้อง นายคนองศิลป์  ชิตกุล
  • เวลา 12.30 น. ชมและรับฟังการสาธิตการประชาสัมพันธ์ ข้อมูลเกี่ยวกับการนำสมุนไพรมาใช้ประโยชน์
  • เวลา 13.00 น. ชมลานนวัตกรรมลานนวดฝ่าเท้าเพื่อสุขภาพ
  • เวลา 13.30 น. ชมนิทรรศกาลการเผยแพร่ข้อมูลคุณค่า คุณประโยชน์ของสมุนไพร และภาพถ่ายกิจกรรมต่างๆ ของโครงการฯ
  • เวลา 14.00 น. ชมการสาธิต การส่งเสริมสุขภาพด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย ด้วยการ การตรวจสุขภาพด้วยวิธีหัตการ การนวดไทยเพื่อสุขภาพ และการประคบสมุไพร
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.เวลา 12.00 น. พิธีเปิดศูนย์ ศสมช. หมู่ 1 บ้านพรุกระแชง เริ่มต้นพิธีเปิดด้วยการกล่าวรายงานโดยผู้ใหญ่สมปอง วงศ์ศิลป์ ประธานโครงการฯ กล่าวถึงความเป็นมาของโครงการคนพรุกระแชงสุขภาพด้วยภูมิปัญญาแพทย์แผนไทย และได้แบ่งเขตในหมู่บ้านเป็นพื้นที่ตัวอย่างในการดูแลสุขภาพเป็น 3 เขต ดังนี้

  • เขตถนนสายผัก "กินปลาเป็นหลัก กินผักเป็นยา" ส่งเสริมให้คนในเขตปลูกผักและสมุนไพร
  • เขตถนนสายสุขภาพ ประกอบด้วย
    • สนามเปตองเพื่อสุขภาพ
    • ลานนวัตกรรม ลานหินนวดฝ่าเท้า
    • ลานออกกำลังกายแอโรบิก
    • ศูนย์ ศสมช. สถานที่ให้บริการ การนวดไทยเเพื่อสุขภา่พ และการประคบสมุนไพร
    • แหล่งเรียนรู้สมุนไพร และประชาสัมพันธ์องค์ความรู้เรื่องสมุนไพร
    • ที่คัดแยกขยะประจำหมู่บ้าน
  • เขต รณรงค์ ลด ละ เลิกบุหรี่ และสุรา "เลิกสูบบุหรี่เพื่อภรรยา เลิกดื่มสุราเพื่อลูก" ทั้งนี้ เพื่อสุขภาพที่ดีของคนในชุมชน การนำความรู้ ประโยชน์ ที่ได้รับจา่กกิจกรรมต่างๆ
    ที่ได้ดำเนินมาตามแผนงานโครงการฯ มาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่คนในชุมชนให้มากที่สุด

2.นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลบ้านส้อง นายคนองศิลป์  ชิตกุล ประธานในพิธีเปิด ได้กล่าวชมเชยคณะทำงานโครงการฯและคนในชุมชน ถึงความสมัครคี ร่วมแรงร่วมใจให้งานออกมาได้สำเร็จ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ศูนย์ ศสมช.นี้ จะเป็นประโยชน์กับคนทุกคน และที่ขาดไม่ได้คือ สสส. สำนักงานสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ที่ได้ให้โอกาส ให้เงินสนับนุน พี่น้องชาวพรุกระแชง ได้จัดทำโครงการฯ เพื่อส่งเสริมสุขภาพคนในชุมชน สุดท้ายประธานในพิธีทำการเปิดป้าย

3.เวลา 12.30 น. ชมและรับฟังการสาธิตการประชาสัมพันธ์ข้อมูลเกี่ยวกับการนำสมุนไพรมาใช้ประโยชน์ ในขณะที่ทุกคนร่วมรับประทานอาหารร่วมกัน อสม.และหมอพื้นบ้าน ได้จัดรายการเสียงตามสาย ประชาสัมพันธ์ข้อมูล ความรู้สมุนไพร เรื่อง ยาสมุนไพรดีอย่างไร  สมุนไพร ได้มีการใช้เป็นยามามากกว่า 3,000 ปี นับตั้งแต่บรรพบุรุษชาวจีนที่มีการใช้สมุนไพรพื้นบ้านมารักษาโรค
กระนั้นไม่ใช่มีแต่เพียงประเทศจีนประเทศเดียวเท่านั้นที่ได้นำภูมิปัญญาเหล่านี้มาใช้ ประเทศไทยเองก็เช่นกัน บรรพบุรุษชาวไทยของเราได้มีการนำสมุนไพรมาใช้ในการบรรเทาและรักษาโรค ร่วมด้วยกับการนวด และปรับวิธีการรับประทานอาหารและความเป็นอยู่ ซึ่งเรียกการรักษาแบบนี้ ว่าการรักษาแบบองค์รวม ประเทศไทย ซึ่งเป็นประเทศที่กำลังพัฒนา ประชาชนในชนบทจะใช้สมุนไพรในการรักษาและบรรเทาอาการเจ็บป่วย ยังมีคนในชนบทอีกเป็นจำนวนมากที่ยังไม่รู้จักยาที่ทำหรือสังเคราะห์ขึ้นมาจากสารเคมี คนเหล่านั้นยังคงต้องอาศัยยาสมุนไพรแผนโบราณเพื่อรักโรคษากันอยู่ ยาสมุนไพรจึงมีบทบาทสำคัญเพราะถือเป็นภูมิปัญญาประจำชาติ และเป็นอีกทางเลือกหนึ่งให้กับผู้ป่วยที่ยาแผนปัจจุบันไม่สามารถทำให้อาการของคนเหล่านั้นดีขึ้นได้ และผลข้างเคียงที่พึงจะได้รับก็คือ ความเสี่ยงต่อตับและไตในระยะยาว

4.เวลา 13.00 น. ชมลานนวัตกรรมลานนวดฝ่าเท้าเพื่อสุขภาพ "นวัตกรรมลานหินนวดฝ่าเท้า" ลานนวดฝ่าเท้าเป็นนวัตกรรมที่มีมานาน แต่คนในชุมชนพรุกระแชง ยังไม่ค่อยรู้ จึงได้นำนวัตกรรมนี้ เพื่อให้คนในชุมชนได้ใช้นวดฝ่าเท้าเพื่อสุขภาพ เช่น ลดอาการชาเท้าในผู้ป่วยโรคเบาหวาน ลดอาการปวดหัวช่วยให้เลือดหมุนเวียนดี เป็นต้น และใช้เป็นนวัตกรรมต้นแบบ เพื่อให้คนในชุมชนพัฒนาความคิด
ก่อให้เกิดนวัตกรรมเพื่อสุขภาพใหม่ ๆ ขึ้น

5.เวลา 13.30 น. ชมนิทรรศกาลการเผยแพร่ข้อมูลคุณค่า คุณประโยชน์ของสมุนไพร และภาพถ่ายกิจกรรมต่างๆ ของโครงการฯ การรวบรวมข้อมูลด้านความรู้สมุนไพร และการแพทย์แผนไทย ในรูปแบบของการจัดบอร์ด แสดงข้อมูลต่างๆ ดังนี้

  • ภาพกิจกรรมต่างๆ ที่ผ่านมา
  • ตัวอย่างสมุนไพรแห้ง เช่น ลูกกระวาน ดอกบุญนาค เพชรสังฆาต เป็นต้น
  • กายบริหารท่าฤาษีดัดตน 15 ท่า ลดอาการปวดเมื่อย
  • เคล็ด ไม่ลับ เรื่องสมุนไพร เช่น สีย้อมผ้าจากสมุนไพร ดอกอัญชัญ น้ำสมุนไพร เป็นต้น

6.เวลา 14.00 น. ชมการสาธิต การส่งเสริมสุขภาพด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย ด้วยการตรวจสุขภาพด้วยวิธีหัตการ การนวดไทยเพื่อสุขภาพ และการประคบสมุไพร สาธิตการตรวจจับชีพจรด้วยนิ้ว
และการตรวจร่างกายด้วยวิธีหัตการ การนวดเพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อ โดยท่านยกเทศมนตรีเทศบาลตำบลบ้านส้อง เป็นคนไข้ตัวอย่าง และท่านได้มอบเงิน จำนวน 1,000 บาท เพื่อซื้อพัดลม ที่ยังขาดในศูนย์ ศสมช.

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 136 คน จากที่ตั้งไว้ 154 คน
ประกอบด้วย
  1. คนในชุมชน 98 คน
  2. อสม. จำนวน 20 คน
  3. เจ้าหน้าที่จากสำนักงานสาธารณสุขอำเภอเวียงสระ จำนวน 4 คน
  4. เจ้าหน้าที่จากเทศบาลตำบลบ้านส้อง จำนวน 4 คน
  5. ปลัดอำเภอเวียงสระ จำนวน 1 คน
  6. ผู้ใหญ่บ้าน จำนวน 2 คน
  7. กำนันผู้ใหญ่บ้าน จำนวน 1 คน
  8. ผอ.โรงเรียนบ้านพรุกระแชง จำนวน 1 คน
  9. เจ้าหน้าที่ รพ.สต.บ้านพรุกระแชง จำนวน 4 คน
  10. หมอพื้นบ้าน จำนวน 1 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ด้วยอากาศที่ร้อนจัด และดินที่แข็งมาก จึงไม่สามารถปลูกสมุนไพรตัวอย่างได้ ทำให้มีสมุนไพรตัวอย่างไม่กี่ชนิด
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง/ นางสาวรัตนา ชูแสง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ขอสนับสนุน ให้ทางเทศบาลติดตั้งน้ำประปาให้
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ส่งเสริมใช้สมุนไพรเพื่อการทำอาหารเพื่อสุขภาพ5 กุมภาพันธ์ 2558
5
กุมภาพันธ์ 2558รายงานจากพื้นที่ โดย nannza123
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อส่งเสริมการใช้สมุนไพรเพื่อการทำอาหารเพื่อสุขภาพ
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • เวลา 12.30 น. คณะทำงานฯ นำโดย อสม. ให้บริการ การตรวจสุขภาพเบื้องต้นแก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ตรวจวัดความดัน คำนวณดัชนีมวลกาย แนะนำการดูแลสุขภาพกลุ่มประชาชนที่มีความดันฯสูง ด้วยหลัก 3 อ. 2 ส.
  • เวลา 13.00 น. ประธานโครงการฯ กล่าวนำสวดมนต์ไหว้พระ และกล่าวเปิดประชุมตามแผนงาน/โครงการในกิจกรรมส่งเสริมการใช้สมุนไพรเพื่อการทำอาหารสุขภาพ และกล่าวขอบคุณพี่น้องชาวพรุกระแชงที่สละเวลา และให้ความร่วมมือในการจัดกิจกรรมทุกกิจกรรม
  • เวลา 13.10 น.-14.10 น. นางดารุณี ผุดผาด เจ้าหน้าที่สาธารณสุขปฏิบัติงาน ได้ถ่ายทอดความรู้การดูแลสุขภาพ กินอย่างไรไม่ป่วย
  • เวลา 14.10 น. 15.20 น. นางสาววิภารัตน์  ชูแสง แพทย์แผนไทย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านพรุกระแชง ได้ถ่ายทอดความรู้เรื่องการนำสมุนไพรทำอาหารเพื่อสุขภาพ
    "กินปลาเป็นหลัก กินผักเป็นยา"
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. เวลา 12.30 น. คณะทำงานฯ นำโดย อสม. ให้บริการ การตรวจสุขภาพเบื้องต้นแก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ตรวจวัดความดัน คำนวณดัชนีมวลกาย แนะนำการดูแลสุขภาพกลุ่มประชาชนที่มีความดันฯสูง ด้วยหลัก 3 อ. 2 ส.
  2. เวลา 13.00 น. ประธานโครงการฯ กล่าวนำสวดมนต์ไหว้พระ และกล่าวเปิดประชุมตามแผนงาน/โครงการในกิจกรรมส่งเสริมการใช้สมุนไพรเพื่อการทำอาหารสุขภาพ และกล่าวขอบคุณพี่น้องชาวพรุกระแชงที่สละเวลา และให้ความร่วมมือในการจัดกิจกรรมทุกกิจกรรม และเพื่อเป็นการขอบคุณ และเป็นการส่งเสริมเรื่องสุขภาพของพี่น้องชาวพรุกระแชง จะเปิดให้บริการ ศูนย์ ศสมช. ให้บริการเรื่องการดูแลสุขภาพ แบบครบวงจร เช่น การให้บริการตรวจสุขภาพเบื้องต้น การจ่ายยาบรรเทาอาการเจ็บป่วยเบื้องต้น และการส่งเสริมสุขภาพด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย นวด และประคบสมุนไพร ในผู้ป่วยด้วยโรคเกี่ยวกับระบบกล้ามเนื้อ และในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2558 จะทำพิธีเปิดใช้ นวัตกรรมลานนวดฝ่าเท้า ที่ล่าช้า โดยตามกำหนดเดิมจะแล้วเสร็จในวันนี้ แต่เกิดควา่มล่าช้า เนื่องจากการขาดความชำนาญในการทำ จึงต้องไปศึกษาแลกเปลี่ยนความรู้จากสถานที่ตัวอย่าง ที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเวียงสระ และคณะทำงานหลายคนติดภารกิจ
    หลายอย่าง จึงจำเป็นต้องเลื่อนออกไป

  3. เวลา 13.10 น.-14.10 น. นางดารุณี ผุดผาด เจ้าหน้าที่สาธารณสุขปฏิบัติงาน ได้ถ่ายทอดความรู้การดูแลสุขภาพ กินอย่างไรไม่ป่วย ในหัวข้อ ดังต่อไปนี้

  • กินหวาน แค่ไหน ไม่ป่วย : หยุดเติมน้ำตาล เป็นวิธีง่ายที่สุดและเห็นผลในการลดน้ำหนักและพลังงาน แต่การหยุดกินน้ำตาลทันทีอาจทำได้ยาก จึงควรลดปริมาณน้ำตาลลงทีละน้อย เช่น ลดปริมาณน้ำตาลในชา กาแฟและนมที่ดื่มอยู่ หรืออาจใช้น้ำตาลเทียมซึ่งให้แคลอรีน้อยแทนน้ำตาล เลี่ยงอาหารที่มีน้ำตาลสูง เช่น ขนมจุบจิบ ลูกอม ช็อคโกแลต เป็นต้น
  • กินเค็ม แค่ไหน ไม่ป่วย : น 1 วัน ไม่ควรกินโซเดียมคลอไรด์ (เกลือ) เกิน 2,000 มิลลิกรัม (ไม่ควรบริโภคเกลือเกิน วันละ 1 ช้อนชา)
  • แหล่งของโซเดียม
    • อาหารธรรมชาติ
    • การปรุงแต่งรสชาติอาหาร โดยเฉพาะการเติมเครื่องปรุง เช่น เกลือ น้ำปลา ซีอิ้ว ผงปรุงรส
    • อาหารแปรรูป เช่น ผักดอง ไข่เค็ม ปลาร้า หมูยอ ไส้กรอก บูดู ไตปลา
    • อาหารสำเร็จรูป เช่น บะหมีกึ่งสำเร็จรูป อาหารกระป๋อง โจ๊กสำเร็จรูป
    • ขนมคบเคี้ยวต่างๆ เช่น มันฝรั่งทอด สาหร่ายปรุงรส ปลาเส้น
  • "กินเค็มมากมีผลต่อสุขภาพ" เสี่ยงต่อภาวะความดันโลหิตสูง มีโรคแทรกซ้อนตามมา เช่น ไตวาย เส้นเลือดหัวใจตีบ เส้นเลือดสมองแตก

4.เวลา 14.10 น. 15.20 น. นางสาววิภารัตน์  ชูแสง แพทย์แผนไทย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านพรุกระแชง ได้ถ่ายทอดความรู้เรื่องการนำสมุนไพรทำอาหารเพื่อสุขภาพ
"กินปลาเป็นหลัก กินผักเป็นยา" โดยแนะนำการใช้สมุนไพรในชุมชน ทำยารักษาโรค : ดังนี้

  • "ฟ้าทะลายโจร" วิธีการนำไปใช้ในรูปยาต้ม โดยใช้ใบและกิ่งสดล้างสะอาด สับเป็นท่อนสั้นๆ ประมาณ 1 กำมือ ต้มกับน้ำ 10 - 15 นาที ดื่มก่อนอาหารวันละ 3 ครั้ง แก้เจ็บคอ ใช้แก้ท้องเสีย แก้บิด ใช้ 2 - 3 กำมือ ใช้ในรูปยาลูกกลอน โดยนำใบและกิ่งมาล้างให้สะอาดผึ่งลมให้แห้ง บดให้เป็นผง ปั้นผสมกับน้ำผึ้งเป็นเม็ดขนาดเท่าปลายนิ้วก้อย ผึ่งให้แห้ง รับประทานครั้งละ 3 - 6 เม็ด วันละ 3 - 4 ครั้ง ก่อนอาหารและก่อนนอน ใช้ในรูปยาแคปซูล โดยใช้ผงใบและลำต้นบรรจุลงในแคปซูล ใช้รับประทานก่อนอาหารและก่อนนอน เนื่องจากฟ้าทะลายโจรมีรสขมมาก จึงนิยมใช้ในรูปยาลูกกลอนและรูปยาแคปซูล ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ฟ้าทะลายโจรจำหน่ายในรูปยาแคปซูล ใช้ในรูปยาดองเหล้า นำใบฟ้าทะลายโจรแห้งขยำให้เป็นชิ้นเล็กๆ ใส่ในขวดแก้ว แช่ด้วยเหล้าโรงพอท่วมยา ปิดฝาให้แน่น เขย่าขวดหรือคนยาวันละครั้ง เมื่อครบ 7 วัน กรองเอาแต่น้ำเก็บไว้ในขวดที่มิดชิดและสะอาด รับประทานครั้งละ 1 - 2 ช้อนโต๊ะ วันละ 3 - 4 ครั้งก่อนอาหาร ใช้ใบค่อนข้างแก่ประมาณ 1 กำมือ
    ตำผสมเกลือเล็กน้อย เติมเหล้าครึ่งถ้วยยา น้ำครึ่งช้อนชา คนให้เข้ากันดีริน เอาน้ำดื่มกากที่เหลือใช้พอกแผล - ฝีแล้วใช้ผ้าสะอาดพันไว้
  • ชาชงสมุนไพร : "ชาชงกระเจี๊ยบ" กระเจี๊ยบแดง (Hibiscus) เป็นสมุนไพรอีกชนิดที่นิยมนำมาทำเป็นเครื่องดื่ม เพราะหาซื้อง่าย ทำง่าย และมีรสชาติเปรี้ยวเล็ก ๆ สรรพคุณทางยาของกระเจี๊ยบคือ ช่วยขับปัสสาวะ แก้ร้อนใน ดับกระหาย และป้องกันการจับตัวของเลือดซึ่งเป็นการลดไขมันในเลือดนั่นเอง วันนี้กระปุกดอทคอม มีวิธีการทำชากระเจี๊ยบแดงไว้ให้คุณชงดื่มให้ชุ่มคอกัน ดีต่อสุขภาพ วิธีทำสับดอกกระเจี๊ยบแดงเป็นชิ้นเล็ก ๆ คั่วในกระทะจนแห้งกรอบ เตรียมไว้ เวลาดื่มให้ใส่ลงในแก้ว เทน้ำร้อนใส่ลงไป ชงดื่มเป็นชา (หรือนำไปใส่ในกาสำหรับชงชา) แช่ทิ้งไว้สักครู่  บีบน้ำมะนาว หรือฝานชิ้นเลมอนลงไปเพื่อเพิ่มรสชาติ หากต้องการความหวานก็เติมน้ำตาลทรายลงไปตามความชอบ
  • การสาธิตเมนูสุขภาพ :"ปลานึ่งสมุนไพร" ปลานั้น เป็นอาหารที่มีความสำคัญ และมีบทบาทในการดำรงชีวิต ของคนไทยมานาน นับแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน นับว่าคนไทย รู้จักเลือกอาหารจากแหล่งธรรมชาติมาบริโภคได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ปลานั้น เป็นอาหารที่มีคุณค่ามากมาย มีคุณค่าโภชนาการสูง มีไขมันต่ำหาง่าย ทำอาหารได้อร่อยหลายอย่าง จึงเหมาะสม สำหรับนำมาประกอบเป็นอาหารของคนทุกเพศ ทุกวัย ตั้งแต่ทารกอายุ 4 เดือน ขึ้นไปจนถึง ผู้สูงอายุ คุณค่าทางโภชนาการของปลาที่สำคัญ ได้แก่ โปรตีน ไขมัน วิตามิน และแร่ธาตุ และสมุนไพรในปลานึ่งนั้นมีประโชยน์ก็มีกมายเช่นกัน เช่น ตะไคร้ ช่วยขับลม ขับปัสสาวะ ใบมะกรูด ขับลม ทำให้เลือดลมไหลเวียนดี ช่วยบำรุงหัวใจ ระบบการไหลเวียนของโลหิต แก้ไอ ลดอาการอักเสบของกล้ามเนื้อ แก้ช้ำใน อาการเกร็ง แก้ฝีภายใน ขับเสมหะ น้ำมันหอมระเหยของมะกรูดทำให้ผมดกดำ
  • กระเทียม เมื่อกระเทียมมีฤทธิ์ต้านอาการอักเสบ ดังนั้นจึงช่วยบรรเทาอาการอักเสบจากผื่นแดงได้ดี โดยเฉพาะผื่นแดงที่เกิดจากโรคสะเก็ดเงิน ให้ทาน้ำมันกระเทียมบริเวณที่เป็นแผล เพื่อให้สะเก็ดหลุดไป และลดผื่นแดงบนผิวหนังก็ได้สุดท้ายแพทย์แผนไทย ยังให้ความรู้เรื่อง อาหารแสลง หรืออาหารต้องห้าม กับผู้ป่วยด้วยโรคเกี่ยวกับระบบกลา้มเนื้อและผู้ป่วยเรื้องรัง เช่น ปวดข้อปวดกล้ามเนื้อ และปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ไม่ควรกิน ยาแก้ปวด ข้าวเหนียว หน่อไม้ เครื่องในสัตว์ และเหล้า-เบียร์ เป้นต้น

5.จากการดำเนินงานตามแผนงาน/โครงการฯ ประชาชนที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรม ได้รับการตรวจสุขภาพทุกเดือน และได้รับการแนะนำจากคณะทำงานโครงการฯ ซึ่งคณะทำงานฯส่วนใหญ่เป็น อสม. ประจำหมู่บ้าน จากการร่วมกิจกรรมไม่กี่ครั้ง ประชาชนที่มีความดันฯสูง จำนวนมาก ก็ค่อยๆ ลดลง  และนายอำพล ถิ่นพิบูลย์ หัวหน้าเขตรณรงค์ ลด ละ เลิก บุหรี่ และสุรา ได้หยุด ดื่มสุรา นานถึง 1 เดือน  ปรากฎว่าค่าดวามดันฯ ต่ำลง สุขภาพร่างกายแข็งแรงขึ้น รับประธานอาหารได้ดีกว่าเดิมถือว่าเป็นตัวอย่างที่ดีการตั้งใจ และใส่ใจสุขภาพอย่างดีเยี่ยม และผลจากการดำเนินงานในกิจกรรมกินอาหารให้เป็นยาผู้เข้าอบรม มีความรู้เรื่อง  กินหวาน แค่ไหน ไม่ป่วย กินค็ม แค่ไหน ไม่ป่วย และความรู้เรื่องการทำสมุนไพรเป็นยารักษาโรค โดยวิทยากรครูภูมิปัญญา ด้านสมุนไพร ผู้เข้าร่วมกิจกรรมสามารถนำความรู้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ เช่น

  • การทำอาหารเพื่อสุขภาพ ไม่กินอาหารที่เสี่ยงต่อการเกิดโรค
  • การทำน้ำสมุนไพรไว้กินเอง หลีกเลี่ยงน้ำอัดลม ที่ส่งผลร้ายต่อสุขภาพ
  • การทำยาสมุนไพรไว้ใช้เอง เช่น ยาลูกกลอนฟ้าทลายโจร ยาลูกกลอนขมิ้นชัน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 50 คน จากที่ตั้งไว้ 50 คน
ประกอบด้วย
  • ผู้ป่วยโรคเกี่ยวกับระบบกล้ามเนื้อ และผู้ป่วยเรื้อรัง จำนวน 50 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง/ นางสาวรัตนา ชูแสง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

สร้างอาสาสมัครรุ่นใหม่ในการดูแลสุขภาพคนในชุมชน28 มกราคม 2558
28
มกราคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย nannza123
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อสร้างอาสาสมัครรุ่นใหม่ในการดูแลสุขภาพคนในชุมชน
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ประชุมครุ นักเรียน ชี้แจงการดำเนินงานโครงการ
  • รับสมัครเยาวชนอาสา
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • เวลา 13.00 น. ประชุมครู อสม. ร่วมกับนักเรียนในโรงเรียนบ้านพรุกระแชงมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งหมด 72 คน ผู้รับผิดชอบโครงการได้ชี้แจงวัตถุประสงค์เพื่อจัดตั้งชมรมเยาวอาสา สมัครดูแลสุขภาพขึ้นในโรงเรียน รวมถึงชี้แจงขั้นตอนการทำงานและกำหนดบทบาทหน้าที่  ดังนี้
  1. เข้ารับการอบรมเสริมทักษะ
  2. มีความรู้เบื้องต้นเรื่องการดูแลสุขภาพด้วยสมุนไพร นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับชื่อและสรรพคุณของสมุนไพร วิธีใช้ โดยสมุนไพรที่มีอยู่ในชุมชน
  3. มีความรู้เบื้องต้นเรื่องการดูแลสุขภาพด้วยหลัก 3อ. 2ส. นักเรียนสมารถนำความรู้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันและแนะนำสมาชิกในครอบครัว เพื่อนนักเรียนได้
  4. มีความรู้และทักษะเรื่องการตรวจสุขภาพเบื้องต้น ให้กับเพื่อนนักเรียน ครอบครัวและผู้ป่วยเรื้อรัง ในชุมชน นักเรียนมีความรู้และมีทักษะ การคำนวลดัชนีมวลกาย การตรวจวัดความดัน
  5. มีความรู้และทักษะการรักษาอาการเจ็บเบื้องต้นด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย ด้วยการนวด และประคบสมุนไพร นักเรียนสามารถรักษาโรคเบื้องต้นด้วยการนวดเพื่อสุขภาพในผู้ป่วยที่มีอาการปวด กล้ามเนื้อ เป็นลม และสามารถใช้ลูกประคบรักษาในผู้ป่วยที่มีอาการ เท้าเพลง กล้ามเนื้อแข็งเกร็งได้
  6. การติดตามเยี่ยมผู้ป่วยเรื้องรัง ร่วมกับอสม.แบบ "เพื่อนช่วยเพื่อน" จิตอาสา โดยติดตามเยี่ยมผู้ป่วยที่บ้าน แนะนำและส่งเสริมความรู้ในการดูแลสสุขภาพให้กับผู้ป่วยได้
  7. ร่วมเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ เรื่องการดูแลสุขภาพด้วยสมุนไพร โดยใช้เสียงตามสายในโรงเรียน ประชาสัมพันธ์ เกี่ยวกับความรู้สมุนไพร กิจกรรมต่างๆของโครงการฯ
  8. เพิ่มจำนวนสมุนไพร โดยการจัดทำสวนสมุนไพรในโรงเรียน โดยให้นักเรียนเพาะชำสมุนไพรเพื่อแจกจ่ายให้กับชุมชน และครอบครัวนำไปปลูกและขยายพันธ์ุต่อไป
  9. นักเรียนที่ได้รับผ่านการอบรม จะได้รับเกียรติบัตรเพื่อเชิดชูเกียรติ
  • หลังจากการชี้แจงวัตถุประสงค์ของกิจกรรมตามแผนงาน/โครงการฯ จึงได้รับสมัครเยาวชนอาสาสมัครดูแลสุขภาพ ปรากฎว่าได้สมาชิกทั้งหมด จำนวน 30 คน และได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบ
    หากมีการจัดอบรมและกิจกรรมครั้งต่อไป ทางคณะทำงานโครงการฯ จะแจ้งให้ทราบ และขอเสนอในปีการศึกษาหน้า ให้โรงเรียนจัดตั้งชมรมสมุนไพร เป็นกิจกรรมหนึ่งวิชาชุมนุม  ก่อนปิดการประชุม ครูตัวแทนของโรงเรียนกล่าวขอบคุณที่ทางหมู่บ้าน และ สสส. นำสิ่งที่ดีมาให้กับนักเรียน และขอชุดสำหรับการดูแลสุขภาพ เช่น เครื่องวัดความดันฯ ปรอทวัดไข้ เพื่อใช้ดูแลสุขภาพครูและนักเรียนในโรงเรียน
  • จากการประชุมร่วมกับครู อสม.และนักเรียน โรงเรียนบ้านพรุกระแชง ได้เยาวชนอาสาสมัครดูแลสุขภาพจำนวน 30 คน ในขั้นตอนชี้การแจงวัตถุประสงค์ของกิจกรรมตามโครงการฯ ได้สาธิตการตรวจวัดความดันฯ ซึ่งนักเรียนให้ความสนใจเป็นอย่างดี และให้นักเรียนลองปฎิบัติด้วย นักเรียนก็สามารถทำได้ และมีความสุข ตื่นเต้น กับสิ่งที่ได้ทำ
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 72 คน จากที่ตั้งไว้ 50 คน
ประกอบด้วย
  1. เยาวชนในชุมชน จำนวน 5 คน
  2. นักเรียนชั้นป.4 และป.5 จำนวน 60 คน
  3. ครูประจำชั้น จำนวน 2 คน
  4. อสม. จำนวน 5 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ปัญหา:ตามที่ทางโรงเรียนได้ขอสนับสนุนเครื่องวัดความดันฯและปรอทวัดไข้ กับโครงการฯ แต่ทั้งนี้ตามแผนงาน/โครงการฯ ไม่มีงบประมาณในส่วนนี้
  • แนวทางแก้ไข:ขอแนวทางความเห็นจากพี่เลี้ยง สจรส.มอ.
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นนางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง/ นางสาวรัตนา ชูแสง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ขอแนวทางการแก้ไขปัญหาจากพี่เลี้ยง สจรส.มอ. เนื่องจากทางโรงเรียนได้ขอสนับสนุนเครื่องวัดความดันฯและปรอทวัดไข้
    กับโครงการฯ แต่ทั้งนี้ตามแผนงาน/โครงการฯ ไม่มีงบประมาณในส่วนนี้
ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 226 มกราคม 2558
26
มกราคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย nannza123
circle
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการฯ
  2. เพื่อวางแผนการดำเนินงานโครงการฯในช่วงต่อไป
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • เวลา 13.00 น.- 13.15 น. ประธานโครงการฯนายสมปอง วงศ์ศิลป์ กล่าวเปิดประชุมและขอบคุณคณะทำงานที่สละเวลาเข้าร่วมประชุม
  • เวลา 13.15 น.- 14.30 น. ผู้รับผิดชอบโครงการฯ นางสาวจิตรลัดดา  วงศ์ศิลป์ ชี้แจงวาระการประชุม

วาระที่ 1 เรื่องแจ้งที่ประชุมทราบ รายงานผลการดำเนินงานกิจกรรม ตามแผนงาน/กิจกรรม กิจกรรมที่ดำเนินการแล้ว เดือน มกราคม 2557 วาระที่ 2 เรื่องเสนอเพื่อพิจารณาเพื่อดำเนินการ ผู้รับผิดชอบโครงการฯ ได้ชี้แจงกิจกรรมตามแผนงานโครงการฯ กิจกรรมเดือน กุมภาพันธ์ 2558 กิจกรรมเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ประโยชน์ของสมุนไพรในการดูแลสุขภาพ / กิจกรรมเพิ่มพื้นที่สมุนไพรในชุมชน

  • เวลา 15.00 น. ปิดการประชุม
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. เวลา 13.00 น.- 13.15 น. ประธานโครงการฯนายสมปอง วงศ์ศิลป์ กล่าวเปิดประชุมและขอบคุณคณะทำงานที่สละเวลาเข้าร่วมประชุม ทั้งนี้เพื่อการพัฒนาสุขภาพของประชาชนตามแนวทางของโครงการฯ โดยการส่งเสริมให้ทุกคนหันมาให้ความสำคัญและรู้จักปฏิบัติตนในการดูแลสุขภาพของตนเอง ตลอดจนสามารถควบคุมมูลเหตุปัจจัยและสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อสุขภาพ รวมถึงการสร้างสุขภาพแก่สมาชิกในชุมชนเพื่อช่วยให้ทุกคนมีสุขภาพที่ดี สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข
  2. เวลา 13.15 น.- 14.30 น.  ผู้รับผิดชอบโครงการฯ นางสาวจิตรลัดดา  วงศ์ศิลป์ ชี้แจงวาระการประชุม

วาระที่ 1 เรื่องแจ้งที่ประชุมทราบ มีการ รายงานผลการดำเนินงานกิจกรรม ตามแผนงาน/กิจกรรม กิจกรรมที่ดำเนินการแล้ว เดือนมกราคม 2557 ได้แก่

  • กิจกรรมเวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์การดูแลสุขภาพด้วยสมุนไพรและแพทย์แผนไทย จากการจัดจัดกิจกรรมที่ผ่านมา "คู่มื่อการดูแลสุขภาพด้วยศาสตร์การแพทยแผนไทยในชุมชน" ได้รับคำชื่นชม และเป็นที่ต้องการของเพื่อนบ้าน " และนายโสภณ ปรีชา หนึ่งในคณะทำงานได้เสนอว่า หน้าปกควารจะมีรูปการจัดกิจกรรมที่ผ่านมาด้วยเพื่อสร้างความสะดุดตา และเป็นที่สนใจมากยิ่งขึ้น
  • ต้องเลื่อนวันจัดกิจกรรมสร้างอาสาสมัครรุ่นใหม่ในการดูแลสุขภาพคนในชุมชน ออกไป จากวันที่ 23 มกราคม 2558 เป็นวันที่ 28 มกราคม 2558 เนื่องจากครูและนักเรียนโรงเรียนบ้านพรุกระแชง ไปศึกษาดูงาน
  • ชี้แจงรายงานทางการเงิน รายงานการเบิก-จ่ายเงิน ในกิจกรรมต่างๆ ครั้งนี้จำเป็นต้องถอนทั้ง 3 กิจกรรม จำเป็นต้องถอนในวันศุกร์ เนื่องจากกิจกรรมจัดในวันจันทร์ เป็นช่วงติดวันหยุดธนาคาร
    และในกิจกรรม อื่นๆ ค่าวัสดุและอุปกรณ์ ต้องซื้อในตัวเมือง ซึ่งเป็นระยะทางที่ไกลและจำเป็นต้องซื้อล่วงหน้าก่อนวันถึงกิจกรรม เพราะคณะทำงานฯเข้าตัวเมืองในวันที่ 26-27 มกราคม 2558
    เพื่อเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง และกิจกรรมสร้างนวัตกรรมลานนวดฝ่าเท้าต้องใช้ระยะเวลาค่อนข้างมาก จึงจำเป็นต้องทำก่อนล่วงหน้า ในการถอนเงินครั้งนี้จึงมียอดเงินสดในมือเกินความจำเป็น โดยขอถอนเงิน ดังนี้
    • กิจกรรมประชุมคณะทำงาน 1,000 บาท
    • กิจกรรม สร้างเยาวชนจิตอาสา 6,250 บาท
    • กิจกรรมเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ 21,000 บาท รวมเป็นจำนวนเงิน 28,250 บาท

วาระที่ 2 เรื่องเสนอเพื่อพิจารณาเพื่อดำเนินการ

  • ผู้รับผิดชอบโครงการฯ ได้ชี้แจงกิจกรรมตามแผนงานโครงการฯ กิจกรรมเดือน กุมภาพันธ์ 2558 กิจกรรมเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ประโยชน์ของสมุนไพรในการดูแลสุขภาพ
    • รณรงค์ให้เห็นถึงประโยชน์ของการใช้สมุนไพร ด้วยหอกระข่าวในชุมชนเวทีประชุมหมู่บ้าน ตามมติที่ประชุมได้เสนอในการจัดรายการทางหอกระจายข่าวในชุมชนให้มีการเชิญบุคคลตัวอย่างด้านสมุนไพรจากข้างนอกมาร่วมพูดคุยด้วย
    • จัดนิทรรศการกาลเผยแพร่ข้อมูลคุณค่า คุณประโยชน์ของสมุนไพรแต่ละชนิดในส่วนของกิจกรรมสร้างลานนวตกรรมลานหินนวดฝ่าเท้านั้น ทางคณะทำงานมีปัญหาคือเคยเห็นแต่ในโทรทัศน์และสื่อหนังสือพิมพ์ ไม่เคยเห็นของจริง จึงขอให้ผู้รับผิดชอบโครงการฯ พาไปดูสถานที่จริง ดังนั้นจึงเสนอให้ไปดูที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเวียงสระ เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการทำ
  • กิจกรรมเพิ่มพื้นที่สมุนไพรในชุมชน ให้ อสม.และเยาวชนที่เข้าร่วมโครงการเพาะชำกล้าสมุนไพรที่มีประโยชน์ โดยใช้สถานที่ของโรงเรียนบ้านพรุกระแชง และ รพ.สต. บ้านพรุกระแชงในการเพาะชำพันธุ์ไม้ ในกิจกรรมนี้คณะทำงานวิตกกังวลว่า เป็นกิจกรรมที่จัดทำในช่วงฤดูแล้ง กลัวเป็นอุปสรรคในการเจริญเติบโตของพืชสมุนไพร เช่น เรื่องน้ำ และความร้อน
    • รณรงค์ ส่งเสริมการปลูกสมุนไพรในครัวเรือน อย่างน้อยครัวเรือนละ 5 ชนิด และแนะนำการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ

3.เวลา 15.00 น. ปิดการประชุม

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 20 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย
  • คณะทำงานโครงการฯ 20 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ปัญหา:เนื่องจากตามแผนงานโครงการฯ ได้กำหนดให้วันที่ 23 มกราคม 2558 เป็นวันจัดกิจกรรมสร้างอาสาสมัครรุ่นใหม่ในการดูแลสุขภาพคนในชุมชน แต่ต้องเลื่อนออกไปเนื่องจากครูและนักเรียนโรงเรียนบ้านพรุกระแชง ไปศึกษาดูงาน
  • แนวทางแก้ไขปัญหา : เลื่อนเป็นวันที่ 28 มกราคม 2558 เนื่องจาก วันที่ 24-25 เป็นวันหยุด และวันที่ 26 มกราคม 2558 คณะทำงานฯ ส่วนใหญ่ ติดประชุมประจำเดือน อสม. และตรงกับวันรณรงค์ฉีดวัคซีนป้องกันโรคคอตีบ และยาทะยัก
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง/ นางสาวรัตนา ชูแสง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

แลกเปลี่ยนประสบการณ์การดูแลสุขภาพด้วยสมุนไพรและแพทย์แผนไทย5 มกราคม 2558
5
มกราคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย nannza123
circle
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อให้ความรู้ด้านการดูแลสุขภาพ
  2. เพื่อเผยแพร่ข้อมูลการใช้ประโยชน์จากสมุนไพรและภูมิปัญญาในการดูแลสุขภาพด้วยแพทย์แผนไทย
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • เวลา 12.30 น.- 13.00 น. ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม แบบทดสอบก่อนอบรม
  • เวลา 13.00 น.- 14.00 น. กิจกรรม แลกเปลี่ยนประการณ์การดุแลสุขภาพด้วยสมุนไพรและแพทย์แผนไทย โดยปราชญ์ชุมชน  (หมอพื้นบ้าน) นายสวัสดิ์ พรหมจันทร์ ได้เล่าประสบการณ์
    ที่ได้รับคัดเลือกจากสาธารณสุขจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นหมอพื้นบ้านด้านสมุนไพร ปี พ.ศ. 2556 ตลอดจนประสบการณ์การรักษาผู้ป่วยด้วยสมุนไพร ยกตัวอย่าง สมุนไพรและสรรพคุณที่ใช้รักษาโรค เช่น อ้อยแดง โหรพา และสมุนไพรที่มีอยู่ในชุมชน
  • เวลา 14.00 น.– 15.00 น. กิจกรรม ให้ความรู้เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้วย 3 อ. 2 ส. โดยแพทย์แผนไทย รพ.สต.บ้านพรุกระแชง น.ส.วิภารัตน์ ชูแสง ด้วยหลักการเสริมสร้างความรู้ อ.ที่ 1 อารมณ์ อ.ที่ 2 ออกกำลังกาย อ.ที่ 3 อาหารเพื่อสุขภาพ และ 2 ส. ลดอาการอยากบุหรี่และสุรา ด้วยสมุนไพรหญ้าดอกขาว
  • เวลา 15.00 น.– 16.00 น. กิจกรรม สาธิตเมนูอาหารเพื่อสุขภาพ “ขนมจีบสมุนไพรเพื่อสุขภาพ” โดย ผอ.รพ.สต. บ้านพรุกระแชง
  • เวลา 16.00 น.– 16.30 น. กิจกรรม ทำแบบทดสอบหลังการอบรม
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.ผู้เข้าร่วมกิจกรรม มีความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพด้วยสมุนไพรและการแพทย์แผนไทย จากปราชญ์ชุมชน(หมอพื้นบ้าน) แพทย์แผนไทย และคู่มือดูแลสุขภาพด้วยการแพทย์แผนไทย ด้วยหลักการรักษาโรคเบื้องต้น ประกอบด้วย

  • การนวดไทยเพื่อบรรเทาอาการปวด การอบสมุนไพรเพื่อสุขภาพ การประคบสมุนไพรเพื่อลดอาการ ร้อน ตึง และบวมของกล้ามเนื้อ หลักการดูแลสุขภาพด้วย 3อ. และ 2ส. - อ.ที่ 1 อามรมณ์ การนั่งสมาธิก่อนนอน 5 นาที ประโยชน์ทางด้านสุขภาพจิตและอารมณ์ คือ ทำให้จิตใจผ่องใส สะอาด บริสุทธิ์ สงบ เยือกเย็น ปลอดโปร่ง สติปัญญาดีขึ้นส่งเสริม สมรรถภาพทางใจ คิดอะไรได้รวดเร็ว ถูกต้อง และเลือกคิดแต่สิ่งที่ดี หนังสือดีขึ้น
  • อ.ที่ 2 ออกกำลังกาย ด้วยท่าฤๅษีดัดตัน 15 ท่า แก้อาการปวดเมื่อย
    - อ.ที่ 3 อาหารเพื่อสุขภาพ ด้วยนำสมุนไพรทำอาหารลดเบาหวาน ความดันฯ
  • 2ส. ลดอาการอยากบุหรี่ ด้วยสมุนไพรชาชงหญ้าดอกขาว
  1. ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ได้ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ จากปราชญ์ชาวบ้าน เรื่องการนำพืช สมุนไพรในชุนมาใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น การทำอาหาร เครื่องดื่ม สีย้อมผ้า ยาจุดกันยุง และยารักษาโรค เป็นต้น

3.ผู้เข้าร่วมกิจกรรม มีความรู้เรื่องการนำพืชสมุนไพรมาใช้ประโยชน์ในการดูแลสุขภาพ โดยการนำสมุนไพรมาใช้ประกอบในเมนูอาหารเพื่อสุขภาพ ที่อร่อย ประหยัด ที่เหมาะสำหรับสมาชิกทุกคนในครอบครัว สำหรับวันนี้ได้นำเสนอเมนู ขนมจีบสมุนไพรเพื่อสุขภาพ และน้ำกระเจี๊ยบสมุนไพร ที่ทำง่ายๆ และมีประโยชน์ ดังนี้

  • ขนมจีบสมุนไพร ประกอบด้วย - แครอท สรรพคุณ ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในร่างกาย
  • มันฝรั่ง สรรพคุณ ต้านอนุมูลอิสระที่เชื่อว่าช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจและโรคมะเร็ง - หอมใหญ่ สรรพคุณ  ช่วยรักษาโรคภูมิแพ้ หอบหืด - ข้าวโพด สรรพคุณ ช่วยบำรุงหัวใจ ปอด ทำให้รับประทานอาหารได้มากขึ้น
  • น้ำกระเจี๊ยบสมุนไพร ประกอบด้วย - ดอกกระเจี๊ยบ สรรพคุณ ลดน้ำตาลในเลือด และขับปัสสาวะ

4.การแพทย์แผนไทย เป็นการแพทย์แบบองค์รวม มีองค์ความรู้ ครอบคลุมการบำบัดรักษาโรคอย่างครบถ้วน คือ

  • รู้การเกิดของโรค รู้สาเหตุของโรคจากปัจจัยต่างๆ
  • รู้จักโรค ทราบถึงอาการโรค และชื่อสมมติของโรคตามอาการ
  • รู้จักยารักษาโรค ทราบถึงสรรพคุณและวิธีปรุงยา
  • รู้วิธีรักษาโรค ทราบว่ายาชนิดใด วิธีรักษาแบบใด เหมาะสำหรับโรคใดๆ
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 110 คน จากที่ตั้งไว้ 120 คน
ประกอบด้วย
  • ผู้ป่วยด้วยโรคเกี่ยวกับระบบกล้ามเนื้อ  จำนวน 87 คน
  • เยาวชนในชุมชน จำนวน 18  คน
  • ครูภูมิปัญญา (หมอพื้นบ้าน) จำนวน 1 คน
  • เจ้าหน้าที่ รพ.สต.บ้านพรุกระแชง จำนวน 2 คน
  • เลขานายกเทศมนตรี เทศบาลตำบลบ้านส้อง จำนวน 1 คน
  • ผอ. โรงเรียนบ้านพรุกระแชง จำนวน 1 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • วันที่จัดกิจกรรม มีฝนตกทำให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเดินทางไม่สะดวก ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจึงไม่ครบตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง/ นางสาวรัตนา ชูแสง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 129 ธันวาคม 2557
29
ธันวาคม 2557รายงานจากพื้นที่ โดย nannza123
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการฯ
  • เพื่อวางแผนการดำเนินงานโครงการฯในช่วงต่อไป
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • เวลา 13.00 น.- 13.15 น. ประธานโครงการฯ นายสมปอง วงศ์ศิลป์ กล่าวเปิดประชุมและขอบคุณคณะทำงานที่สละเวลาเข้าร่วมประชุม
  • เวลา 13.15 น.- 14.30 น. ผู้รับผิดชอบโครงการ ฯ นางสาวจิตรลัดดา  วงศ์ศิลป์ ชี้แจงวาระการประชุม
    • วาระที่ 1 เรื่องแจ้งที่ประชุมทราบ
    • วาระที่ 2 เรื่องเสนอเพื่อพิจารณาเพื่อดำเนินการ
    • วาระที่ 3 เรื่องอื่น ๆ แลกเปลี่ยนความคิด และ แนวทางการทำงานของโครงการฯ เรื่อง เขตรับผิดชอบต่าง ๆ
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • เวลา 13.00 น.- 13.15 น. ประธานโครงการฯนายสมปอง วงศ์ศิลป์ กล่าวเปิดประชุมและขอบคุณคณะทำงานที่สละเวลาเข้าร่วมประชุมทั้งนี้เพื่อการพัฒนาสุขภาพของประชาชนตามแนวทางของโครงการฯ โดยการส่งเสริมให้ทุกคนหันมาให้ความสำคัญและรู้จักปฏิบัติตนในการดูแลสุขภาพของตนเอง ตลอดจนสามารถควบคุมมูลเหตุปัจจัยและสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อสุขภาพ รวมถึงการสร้างสุขภาพแก่สมาชิกในชุมชนเพื่อช่วยให้ทุกคนมีสุขภาพดี สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข
  • เวลา 13.15 น.- 14.30 น. ผู้รับผิดชอบโครงการฯ นางสาวจิตรลัดดา วงศ์ศิลป์ ชี้แจงวาระการประชุม

วาระที่ 1 เรื่องแจ้งที่ประชุมทราบ รายงานผลการดำงานกิจกรรม ตามแผนงาน

  1. กิจกรรมประชุมชี้แจงโครงการฯ ผลจากการดำเนินงาน แกนนำสุขภาพในชุมชน เข้าใจหลักการทำงานของโครงการฯ รู้แนวทางการดำเนินงานกิจกรรมตามแผนงาน โครงการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของโครงการฯ
  2. กิจกรรมประชาสัมพันธ์เขตปลอดบุหรี่ ผลจากการดำเนินงาน ประชาชนในหมู่บ้าน รับทราบและยึดเป็นแนวทางปฏิบัติให้ศาลาประจำหมู่บ้านและ ศูนย์ศสมช. เป็นสถานที่ปลอดบุหรี่
  3. กิจกรรมสร้างการเรียนรู้สมุนไพรในชุมชน ผลจากการดำเนินงานของโครงการฯ อสม.และเยาวชนจิตอาสา มีความรู้เรื่องการนำพืชสมุนไพรมาใช้ประโยชน์ในการดูแลสุขภาพ การนำ สมุนไพรมาใช้รักษาโรคนั้น ใช้ได้หลายรูปแบบ เช่น การใช้สมุนไพรสดๆใช้ในรูปยาต้ม ยาชง ยาลูกกลอน ยาดองเหล้า และยาพอก เป็นต้น นอกจากนำมาใช้ประโยชน์เป็นยารักษาโรคแล้ว ยังสามารถนำมาใช้ประโยชน์ทางด้านอื่นๆอีก เช่น นำมาบริโภคเป็นอาหาร อาหารเสริมสุขภาพ เครื่องดื่ม สีผสมอาหาร และสีย้อม ตลอดจนใช้ทำเครื่องสำอางอีกด้วย

วาระที่ 2 เรื่องเสนอเพื่อพิจารณาเพื่อดำเนินการ ผู้รับผิดชอบโครงการฯ ได้ชี้แจงกิจกรรมตามแผนงานโครงการฯ ประจำเดือน มกราคม 2557 ดังนี้

1.กิจกรรม เวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การดูแลสุขภาพด้วยสมุนไพร/แพทย์แผนไทย ในวันที่ 5 มกราคม 2558 ประกอบด้วยกิจกรรม

  • การนำปราชญ์ชุมชนด้านการแพทย์แผนไทย มาแลกเปลี่ยนความรู้ แนะนำ การดูแลสุขภาพด้วยสมุนไพรและแพทย์แผนไทยในชุมชน
  • การสาธิตเมนูอาหารว่างเพื่อสุขภาพ
  • ให้ความรู้ด้วย คู่มือการดูแลสุขภาพด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยในชุมชน

2.กิจกรรม จัดตั้งชมรมเยาวชนอาสาสมัครดูแลสุขภาพในโรงเรียน ในวันที่ 23 มกราคม 2558

  • ประชุม ครู อสม. นักเรียนในโรงเรียนบ้านพรุกระแชง เพื่อจัดตั้งชมรมเยาวชนอาสาสมัครดูแลสุขภาพขึ้นในโรงเรียน และรับสมัครเยาวชนอาสาสมัครดูแลสุขภาพ

3.กิจกรรม ประชุมคณะทำงานโครงการฯ วันที่ 26 มกราคม 2558

วาระที่ 3 เรื่องอื่นๆ แลกเปลี่ยนความคิด และ แนวทางการทำงานของโครงการฯ เรื่อง เขตรับผิดชอบต่าง ๆ

  • เขตชุมชนถนนสายผัก “กินปลาเป็นหลัก กินผักเป็นยา”
  • เขตถนนสายสุขภาพ
  • เขต รณรงค์ ลด ละ เลิก บุหรี่และสุรา “เลิกสูบบุหรี่เพื่อภรรยา เลิกดื่มสุราเพื่อลูก”
  • จากการประชุมคณะทำงานโครงการฯ ทำให้ได้รับทราบถึงความก้าวหน้าของโครงการฯ และได้รับทราบถึงข้อบกพร่องในขั้นตอนการทำงานในแต่ละกิจกรรมที่ผ่านมาเพื่อการปรับปรุงแก้ไข  นอกจากนี้ได้ร่วมกันวางแผนเพื่อการทำงานครั้งต่อไปได้ดียิ่งขึ้น และสิ่งที่สำคัญที่สุด ได้ร่วมแลกเปลี่ยนความคิด และแนวทางการทำงานตามบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบ และร่วมพูดคุยเรื่องเล่า จากการนำความรู้และประสบการณ์จากการร่วมกิจกรรมต่างๆ ของโครงการฯ เช่น การนำคู่มือความรู้ภูมิปัญญาสมุนไพรในชุมชน ที่เกิดจากกิจกรรมสร้างการเรียนรู้สมุนไพรในชุมชน ไปมอบให้กับเพื่อนบ้านเพื่อเป็นของที่ระลึก ซึ่งได้รับความสนใจและชื่นชมเป็นอย่างมาก
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 20 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย
  • คณะทำงานโครงการฯ จำนวน 20 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง/ นางสาวรัตนา ชูแสง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

สร้างการเรียนรู้พืชสมุนไพร แพทย์แผนไทยในชุมชน20 ธันวาคม 2557
20
ธันวาคม 2557รายงานจากพื้นที่ โดย nannza123
circle
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อรวบรวมข้อมูลพืชสมุนไพรที่มีในชุมชนทั้งหมด
  2. เพื่อรวบรวมข้อมูลครูภูมิปัญญา และภูมิปัญญาการใช้สมุนไพรในการดูแลรักษาโรค
  3. เพื่อส่งเสริมให้มีการนำพืชสมุนไพรมาใช้ประโยชน์ในการดูแลสุขภาพ
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันที่ 20 ธันวาคม 2557

  • เวลา 08.30 น.- 10.00 น. อสม.และเยาวชน ร่วมลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม
  • เวลา 10.00 น.- 10.30 น. กิจกรรม ทำแบบทดสอบความรู้ เรื่อง สมุนไพรใกล้ตัว โดยการยกตัวอย่าง สมุนไพร 10 ชนิด ให้เยาวชน บอกสรรพคุณของสมุนไพรแต่ชนิดให้ถูกต้อง
  • เวลา 10.30 น. – 16.30 น. กิจกรรม จับคู่ อสม. กับเยาวชนเป็นคู่ๆ ลงพื้นที่ร่วมกันสำรวจข้อมูลสมุนไพรในชุมชน โดยใช้แบบสำรวจการปลูกสมุนไพรในครัวเรือน จำนวน 100 ครัวเรือน เป็นการเก็บข้อมูลแบบผู้ใหญ่สอนเด็ก และสร้างการเรียนรู้เรื่องสมุนไพรให้เยาวชนไปพร้อมๆ กัน โดยวิธีการถ่ายภาพและสอบถามข้อมูล  จากผู้รู้ เจ้าของบ้าน ครูภูมิปัญญา (หมอพื้นบ้าน)


    วันที่ 21 ธันวาคม 2557

  • เวลา 08.30 น.- 10.00 น. อสม. และเยาวชน ร่วมลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม

  • เวลา 10.00 น.- 12.00 น. กิจกรรม รวบรวมข้อมูลจากการลงพื้นที่สำรวจข้อมูลสมุนไพรในชุมชน โดยใช้แบบสำรวจการปลูกสมุนไพรในครัวเรือน จำนวน 100 ครัวเรือน
  • เวลา 13.00 น.- 15.00 น. กิจกรรม ครูภูมิปัญญาถ่ายทอดความรู้ ภูมิปัญญาการใช้สมุนไพรในการดูแลรักษาโรค และประโยชน์ในการใช้สมุนไพรดูแลสุขภาพ ครูภูมิปัญญาได้เล่าถึงประสบการการณ์ใช้สมุนไพรรักษาโรค เช่น โรคเริม-งูสวัด โรคตาลเด็ก เป็นต้น และได้ถ่ายทอดความรู้สรรพคุณของสมุนไพรแต่ละชนิด ที่เยาวชนและ อสม. ได้ร่วมสำรวจ
  • เวลา 15.00 น.- 16.30 น. กิจกรรม สร้างการเรียนรู้เรื่อง “สมุนไพรใกล้ตัว” โดยการยกตัวอย่างสมุนไพร 10 ชนิด ให้เยาวชนอธิบายสรรพคุณของสมุนไพรให้ถูกต้อง
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. จากกิจกรรม ทำแบบทดสอบความรู้ เรื่อง สมุนไพรใกล้ตัว โดยการยกตัวอย่าง สมุนไพร 10 ชนิด ให้เยาวชน บอกสรรพคุณของสมุนไพรแต่ชนิดให้ถูกต้อง จากการทำแบบทดสอบ เยาวชนตอบถูกสูงสุด 4 ข้อ จำนวน 5 คน ตอบถูก 3 ข้อ 7 คน และตอบถูก 2 ข้อจำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 31.3 % ทำให้ อสม. และเยาวชนจิตอาสา ได้รวบรวมข้อมูลพืชสมุนไพรที่มีในชุมชนทั้งหมดได้รู้จักสมุนไพรในชุมชน ว่ามีอะไรบ้าง มีสรรพคุณอะไรบ้าง  และมีวิธีใช้อย่างไร
  2. จากกิจกรรม รวบรวมข้อมูลจากการลงพื้นที่สำรวจข้อมูลสมุนไพรในชุมชน โดยใช้แบบสำรวจการปลูกสมุนไพรในครัวเรือน จำนวน 100 ครัวเรือน ปรากฏว่าจากแบบสำรวจการปลูกสมุนไพรในครัวเรือนจำนวน 15 ชนิด ตะไคร้ เป็นสมุนไพรที่นิยมปลูกมากที่สุดในครัวเรือน และ ฟ้าทะลายโจรเป็นสมุนไพรที่คนในชุมชนสนใจต้องการปลูกมากที่สุด และในชุมชนมีสมุนไพรฟ้าทะลายโจรน้อยที่สุด ในการนี้ อสม. และเยาวชนจิตอาสา ได้รวบรวมข้อมูลภูมิปัญญาการใช้สมุนไพรในการดูแลรักษาโรค เกิดเป็นคู่มือ “ความรู้ภูมิปัญญาสมุนไพรในชุมชน”
  3. จากการถ่ายทอดภูมิปัญญาโดยครูภูมิปัญญาที่ได้เล่าถึงประสบการการณ์ใช้สมุนไพรรักษาโรค เช่น โรคเริม-งูสวัด โรคตาลเด็ก เป็นต้น และได้ถ่ายทอดความรู้สรรพคุณของสมุนไพรแต่ละชนิด
    ที่เยาวชนและ อสม. ได้ร่วมสำรวจ เกิดการปลูกพืช ผักสมุนไพรตามรั้วบ้าน อสม. และเยาวชนจิตอาสา มีความรู้เรื่องการนำพืชสมุนไพรมาใช้ประโยชน์ในการดูแลสุขภาพ การนำ สมุนไพรมาใช้รักษาโรคนั้น ใช้ได้หลายรูปแบบ เช่น การใช้สมุนไพรสดๆ ใช้ในรูปยาต้ม ยาชง ยาลูกกลอน ยาดองเหล้า และยาพอก เป็นต้น นอกจากนำมาใช้ประโยชน์เป็นยารักษาโรคแล้ว ยังสามารถนำมาใช้ประโยชน์ทางด้านอื่นๆอีก เช่น นำมาบริโภคเป็นอาหาร อาหารเสริมสุขภาพ เครื่องดื่ม สีผสมอาหาร และสีย้อม ตลอดจนใช้ทำเครื่องสำอางอีกด้วย การใช้สมุนไพรเป็นยาบำบัดโรคนั้น อาจใช้ในรูปยาสมุนไพรเดี่ยวๆ หรือใช้ในรูปตำรับยาสมุนไพร ปัจจุบันตำรับยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณที่กระทรวงสาธารณสุขอนุญาตให้ใช้รักษาโรคได้ มีทั้งหมด 28 ขนาน เช่น ยาจันทน์ลีลา ใช้แก้ไข้แก้ตัวร้อนยามหานิลแท่งทอง ใช้แก้ไข้ แก้หัด อีสุกอีใส ยาหอมเทพพิจิตร บำรุงหัวใจ ยาเหลืองปิดสมุทร แก้ท้องเสีย ยาประสะมะแว้ง แก้ไอ ขับเสมหะ ยาตรีหอม แก้ท้องผูกในเด็กระบายพิษไข้
  4. อสม.และเยาวชนจิตอาสา ที่ได้เข้าร่วมในแต่ละกิจกรรมเกิดความใส่ใจตระหนัก เห็นความสำคัญ และร่วมมือกันอนุรักษ์ สืบทอดภูมิปัญญาการใช้ประโยชน์จากพืชสมุนไพรให้คงอยู่ไปจนรุ่นลูกหลาน
  5. จากกิจกรรม สร้างการเรียนรู้เรื่อง “สมุนไพรใกล้ตัว” โดยการยกตัวอย่างสมุนไพร 10 ชนิด ให้เยาวชนอธิบายสรรพคุณของสมุนไพรให้ถูกต้อง จากแบบทดสอบความรู้ เยาวชนตอบคำถามถูกทั้งหมด เยาวชน มีความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 68.7 % ทำให้ อสม.และเยาวชนจิตอาสา สามารถนำความรู้ที่ได้ไปบอกต่อ และเป็นตัวอย่างการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชิวิตประจำวันให้กิจกรรม ครูภูมิปัญญาถ่ายทอดความรู้ ภูมิปัญญาการใช้สมุนไพรในการดูแลรักษาโรค และประโยชน์ในการใช้สมุนไพรดูแลสุขภาพ
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 31 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย
  1. อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.)  จำนวน 15 คน
  2. เยาวชนในชุมชน จำนวน 15  คน
  3. ครูภูมิปัญญา (หมอพื้นบ้าน) จำนวน 1 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง / นางสาวรัตนา ชูแสง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ประชุมชี้แจงโครงการ5 ธันวาคม 2557
5
ธันวาคม 2557รายงานจากพี่เลี้ยง โดย kannapat janthong
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อชี้แจง ทำความเข้าใจโครงการให้คนในชุมชนทราบ - เพื่อประชุมจัดตั้งคณะทำงาน แบ่งหน้าที่รับผิดชอบ
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • 12.30 น. ลงทะเบียน แกนนำสุขภาพในชุมชนและอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ให้บริการตรวจสุขภาพ (วัดความดันโลหิต)พร้อมให้คำแนะนำสำหรับผู้ที่มีภาวะเสี่ยงในกลุ่มแกนนำสุขภาพที่มี ระดับความดัน มากกว่า 160/90
  • 13.00 น. ผู้ใหญ่สมปอง วงศ์ศิลป์ประธานในที่ประชุม นำสวดมนต์ไหว้พระและกล่าวเปิดประชุม โดยนำวาระอำเภอเวียงสระ มาพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ พร้อมปรึกษาหารือเป็นไปตาม วาระการประจำเดือนของหมู่บ้าน
  • 13.30 น. นางสาวจิตรลัดดา วงศ์ศิลป์ผู้รับผิดชอบโครงการคนพรุกระแชงสุขภาพดีด้วยภูมิปัญญา แพทย์แผนไทยชี้แจงวัตถุประสงค์และแนวทางการดำเนินงานตามแผนงานโครงการฯ

    • ความเป็นมากว่าจะเป็นโครงการคนพรุกระแชงสุขภาพดีด้วยภูมิปัญญาแพทย์แผนไทย
    • เป้าหมายการดำเนินงาน
    • กระบวนการและแผนการดำเนินงาน
  • 14.00 น. นางสาวรัตนา  ชูแสง  ตัวแทนพี่เลี้ยงโครงการชี้แจงแนวทางการติดตามสนับสนุนโครงการ โดยการประสานงานของโครงการร่วมสร้างชุมชนและท้องถิ่นน่าอยู่ภายใต้การสนับสนุน งบประมาณจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

  • 14.15 น. แลกเปลี่ยน/ข้อเสนอแนะในการดำเนินงานโครงการ
    • สาธารณสุขอำเภอเวียงสระ
    • ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านพรุกระแชง
    • ผู้เข้าร่วมในเวที
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ควรมีการประสานงานกับโรงเรียนในเขตพื้นที่เพื่อให้นักเรียนในพื้นที่ได้มีโอกาสเรียนรู้เรื่องสมุนไพรและภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยที่มีอยู่ในชุมชน  โดยการประสานงานกับทางผู้บริหารและจัดตั้งอาจารย์ที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมที่ทางโครงการกำหนดไว้เพื่อกระตุ้นให้ครูมีความสนใจและสามารถนำเรื่องสมุนไพรและภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยไปปรับใช้สอนในโรงเรียนได้
  • การขยายแนวคิดเรื่องการดูแลสุขภาพด้วยสมุนไพรและภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยต้องมีการทำงานอย่างต่อเนื่องผ่านกิจกรรมต่างๆ  เช่น การบอกเล่าในเวทีประชุมหมู่บ้าน  การเยี่ยมบ้าน  การทำเอกสารเผยแพร่  การประชาสัมพันธ์อกเล่ากิจกรรมผ่านหอกระจายข่าวประจำหมู่บ้าน เพื่อให้คนในชุมชนได้รีบทราบข้อมูลข่าวสารทำให้เกิดความสนใจและสามารถนำไปปรับใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันได้
  • การขยายกลุ่มแกนนำอาสาสมัครในการทำงานเรื่องสุขภาพ  ผู้รับผิดชอบโครงการและคณะทำงานโครงการสามารถประสานงานกับสาธารณสุขอำเภอเวียงสระและเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านพรุกระแชง เพื่อช่วยประชาสัมพันธ์ให้ผู้สนใจเข้าร่วมเป็นอาสาสมัครเพิ่มเติม
  • ควรมีการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครให้มีความพร้อมในการดำเนินงาน  เช่น ส่งเสริมในเรื่องความรู้ความเข้าใจเรื่องสมุนไพรและการแพทย์แผนไทยรวมถึงการนำไปใช้จริงการเสริมทักษะด้านการตรวจสุขาภาพ ส่งเสริมทักษะการนวดเพื่อสุขภาพ  นอกจากนี้ควรให้อาสาสมัครได้มีโอกาสไปศึกษาดูงานเรื่องสมุนไพรและภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยที่มีการดำเนินการอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียง  เพื่อให้อาสาสมัครเกิดแรงบันดาลใจเห็นความสำคัญในการทำงานและอยากจะทำงานในชุมชนเพิ่มขึ้น
  • ควรมีการส่งเสริมกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเรื่องสมุนไพรและการแพทย์แผนไทย  เช่น การแปรรูปสมุนไพรเพื่อสามารถนำไปใช้ได้จริงในชุมชน (ยาหม่องไพล ยาดม พิมเสนน้ำ) การทำแปลงสมุนไพรในแต่ละครอบครัว  การทำอาหารจากพืชสมุนไพร เป็นต้น
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 150 คน จากที่ตั้งไว้ 150 คน
ประกอบด้วย
  • แกนนำสุขภาพประจำครอบครัวจำนวน 139 คน
  • สาธารณสุขอำเภอเวียงสระ 1 คน
  • ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านพรุกระแชง 1 คน
  • เลขานุการ นายกเทศมนตรีเทศบาลบ้านส้อง 1 คน
  • เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านพรุกระแชง 1 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • สถานที่ประชุมเป็นศาลาประชุมหมู่บ้าน  เป็นสถานที่เปิดมีเสียงรบกวนจากรถเพราะอยู่ติดถนน  และอากาศร้อน  หากการประชุมมีผู้เข้าร่วมจำนวนมากคณะทำงานต้องมีการจัดเตรียมเครื่องเสียง  พัดลม  เพื่ออำนวยความสะดวกกับผู้เข้าร่วมประชุม
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • อาหารว่างในการจัดประชุม  ควรเป็นขนมที่สามารถทำเองได้ในหมู่บ้าน  และควรเน้นน้ำสมุนไพรที่หาได้ในชุมชนเพื่อเป็นการนำความรู้ที่ได้จากการดำเนินโครงการมาใช้จริง  เพราะทางโครงการทำงานเรื่องการดูแลสุขภาพด้วยสมุนไพรและภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยหากมีการนำสมุนไพรมาทำน้ำสมุนไพรจะทำให้ผู้เข้าร่วมได้มีโอกาสเรียนรู้เรื่องประโยชน์ของสมุนไพรแต่ละชนิดไปด้วย  ซึ่งนอกจากการทำน้ำสมุนไพรแล้วคณะทำงานควรมีการจัดทำนิทรรศการเล็ก ๆ เพื่อบอกเล่าถึงประโยชน์สรรพคุณต่าง ๆ และวิธีการทำน้ำสมุนไพรในแต่ละครั้ง  เพื่อให้ผู้เข้าร่วมสามารถนำไปทำที่บ้านได้เช่น นำอัญชัน  น้ำใบเตย  น้ำเสาวรส  น้ำกระเจี๊ยบ  เป็นต้น
  • บอร์ดที่ว่างอยู่ในบริเวณศาลาประชุมหมู่บ้าน(บอร์ดกลาง)  ทางคณะทำงานควรประสานกับทางผู้ใหญ่บ้านเพื่อขอใช้เป็นที่จัดนิทรรศการ  บอกเล่าการดำเนินงานในโครงการเพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ให้คนในชุมชนได้รับทราบและติดตามข่าวสารข้อมูลความรู้ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องการดูแลสุขภาพด้วยสมุนไพรและภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยได้
  • คณะทำงานควรมีการประสานกับกลุ่มแกนนำชุมชนเพื่อขอความร่วมมือกับพี่น้องในชุมชนจัดกิจกรรมการร่วมปลูกพืชสมุนไพรที่บ้านและพื้นที่สาธารณะซึ่งยังเป็นพื้นที่ว่างอยู่ในหมู่บ้าน  เพื่อเป็นการทำกิจกรรมร่วมกันและสร้างรูปธรรมโดยการทำแปลงสมุนไพรเพื่อนำมาใช้ในการดูแลสุขภาพของคนในชุมชนได้จริงทั้งการนำมาทำอาหารและเป็นยารักษาโรค
ประชุมชี้แจงโครงการและจัดตั้งคณะทำงานด้านการสร้าง เสริมสุขภาพ5 ธันวาคม 2557
5
ธันวาคม 2557รายงานจากพื้นที่ โดย nannza123
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อชี้แจงแนวทางการทำงานให้แกนนำสุขภาพในชุมชนทราบ และจัดตั้งคณะทำงาน
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • เวลา 13.00 น. แกนนำสุขภาพในชุมชน ลงทะเบียนเข้าร่วมประชุม และอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ได้ให้บริการตรวจสุขภาพ (วัดความดันโลหิต) พร้อมให้คำแนะนำสำหรับผู้ที่มีภาวะเสี่ยง
    ในกลุ่มแกนนำสุขภาพที่มีระดับความดัน มากว่า 160/90
  • เวลา 13.00 น. ประธานในที่ประชุม ผู้ใหญ่มปอง วงศ์ศิลป์ ได้นำสวดมนต์ไหว้พระ และกล่าวเปิดประชุม โดยนำวาระอำเภอเวียงสระ มาพูดคุย แลกเปลี่ยนเรียนรู้ พร้อมปรึกษาหารือ
    เป็นไปตามวาระการประจำเดือนของหมู่บ้าน
  • เวลา 13.30 น. นางสาวจิตรลัดดา วงศ์ศิลป์ ผูู้รับผิดชอบโครงคนพรุกระแชงสุขภาพดีด้วยภูิมปัญญาแพทย์แผนไทย ได้ชี้แจงแนวทางการทำงานของโครงการฯ ให้แกนนำสุขภาพ
    และภาคีเครือข่ายทราบ
  • เวลา 14.00 น. พี่เลี้ยงโครงการ ฯ พบปะพูดคุยกับแกนนำสุขภาพ ชี้แจงความเป๋็นมา แนวทางการทำงาน ของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น
  • เวลา 14.30 น. หัวหน้าส่วนภาคีเครือข่าย เช่น สาธารณสุขอำเภอเวียงสระ  เลขานายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลบ้านส้อง ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านพรุกระแชง  ร่วมกันแลกแปลี่ยนแนวทางในการทำงาน  และให้กำลังใจรวมถึงควมช่วยเหลือในด้านต่างๆ และยินดีสนับสนุนช่วยเหลือโครงการ ฯ อย่างเต็มที่
  • เวลา 15.30 น. แต่งตั้งคณะทำงานโครงการฯ และกำหนดวันประชุม ให้วันที่ 26 ของทุกเดือนเป็นวันประชุมคณะทำงาน และประกาศพื้นที่ศาลาหมู่บ้าน ศูนย์ศสมช.เป็น "สถานที่นี้ปลอดบุหรี่"
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • เวลา 13.00 น. แกนนำสุขภาพในชุมชน ลงทะเบียนเข้าร่วมประชุม และอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ได้ให้บริการตรวจสุขภาพ (วัดความดันโลหิต) พร้อมให้คำแนะนำสำหรับผู้ที่มีภาวะเสี่ยง
    ในกลุ่มแกนนำสุขภาพที่มีระดับความดัน มากว่า 160/90
  • เวลา 13.00 น. ประธานในที่ประชุม ผู้ใหญ่มปอง วงศ์ศิลป์ ได้นำสวดมนต์ไหว้พระ และกล่าวเปิดประชุม โดยนำวาระอำเภอเวียงสระ มาพูดคุย แลกเปลี่ยนเรียนรู้ พร้อมปรึกษาหารือ เป็นไปตามวาระการประจำเดือนของหมู่บ้าน
  • เวลา 13.30 น. นางสาวจิตรลัดดา วงศ์ศิลป์ ผูู้รับผิดชอบโครงคนพรุกระแชงสุขภาพดีด้วยภูิมปัญญาแพทย์แผนไทย ได้ชี้แจงแนวทางการทำงานของโครงการฯ ให้แกนนำสุขาภาพ และภาคีเครือข่ายทราบ  ทำให้แกนนำสุขภาพในชุมชน เข้าใจหลักการทำงานของโครงการฯ รู้แนวทางการดำเนินงานกิจกรรมตามแผนงาน/โครงการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของโครงการฯ ซึ่งมีการชี้แจงดังนี้
  1. ทบทวนความเป็นมาของโครงการ ฯ การเสนอโครงการกับแหล่งทุนซึ่งมาจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.)  ซึ่งหมู่ 1 บ้านพรุกระแชง ได้รับการสนับสนุนจากแหล่งทุนประมาณจำนวน 205,150 บาท โดยกิจกรรมหลักของโครงการเน้นการส่งเสริมการดูแลสุขภาพด้วยภูมิปัญญาแพทย์แผนไทย โดยอาศัยทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชน เช่น บุคคล สิ่งแวดล้อม กลุ่ม ชมรม ในการดูแลสุขภาพแบบพึ่งพาตนเอง
  2. ชี้แจงรายละเอียดของกิจกรรมตามแผนงาน/โครงการฯ ที่จะต้องอาศัยความร่วมมือจาก แกนนำสุขภาพ อสม. เยาวชน และภาคีเครือข่าย ร่วมกันทำงานเพื่อให้โครงการ ฯ บรรลุเป้าหมายตามที่กำหนดไว้ เพื่อประโยชน์สูงสุดของชุมชน เพื่อส่งเสริมให้ชุมชนสามารถดูแลสุขภาพตนเอง คนในครอบครัว และรักษาโรคเบื้องต้นด้วยการแพทย์แผนไทยและการใช้สมุนไพรที่มีในชุมชน รวมถึงการสร้างอาสามัครรุ่นใหม่ดูแลสุขภาพคนในชุมชน แบบเพื่อนช่วยเพื่อน  ในกิจกรรมต่างๆ เช่น กิจกรรมสร้างการเรียนรู้พืชสมุนไพร การแพทย์แผนไทยในชุมชน / กิจกรรมเพิ่มพื้นที่สมุนไพรในชุมชน / กิจกรรมส่งเสริมการใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพ การแปรรูปสมุนไพร เช่น ยาหม่องไพล ยาดม พิมเสนน้ำ เป็นต้น / กิจกรรมสร้างอาสาสมัครรุ่นใหม่ในการดูแลสุขภาพคนในชุมชน โดยการเสริมทักษะด้านการตรวจสุขาภาพ ส่งเสริมความรู้เรื่องสมุนไพร ทักษะการนวดเพื่อสุขภาพ เป็นต้น
  3. ส่งเสริมให้ชุมชนดูแลสุขภาพด้วย 3 อ. 2 ส. โดยให้ชุมชนเป็นชุมชนต้นแบบ "กินปลายเป็นหลัก กินผักเป็นยา" ให้ชุมชนลดรายจ่ายโดยการปลูกผักและสมุนไพรไว้กินเอง รวมถึงการสนับสนุนให้ลด ละ เลิก การสูบบุหรี่ และสุรา โดยยึดหลัก "เลิกบุหรี่เพื่อภรรยา เลิกดื่มสุราเพื่อลูก" ให้เยาวชนเป็นแกนนำด้านการออกกำลังกาย
  • แกนนำสุขภาพในชุมชน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างๆ ของโครงการ ฯ และยินดีส่งเสริมให้เยาวชนคนรุ่นใหม่ เป็นอาสาสมัครในการดูแลสุขภาพคนในครอบครัวและชุมชน
    "เพื่อนช่วยเพื่อน"
  • แกนนำสุขภาพให้ความร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมใจ เสนอความคิด การสร้างลานสุขภาพ  ถนนสายสุขภาพ  รวมถึงการปลูกผักริมรั้ว  และปลูกผักสมุนไพรในรั้วบ้าน อย่างน้อย 5 ชนิด ทุกครัวเรือน
  • คณะทำงานและภาคีเครือข่าย ชื่นชมการทำงาน ความร่วมมือร่วมใจของคนในชุมชน การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชนอย่างคุ้มค่าและมีประโยชน์ เป็นชุมชนต้นแบบพึ่งพาตนเองได้ และการให้กำลังใจในการทำงาน  สนับสนุนช่วยเหลือโครงการ ฯ อย่างเต็มที่
  • ประกาศโดยทราบทั่วกันให้ศาลาประชุมหมู่บ้านและศูนย์ศสมช. เป็น "สถานที่นี้ปลอดบุหรี่" และได้ติดป้ายไวนิลรณรงค์ ไว้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
  • ได้คณะทำงาน คณะทำงานเข้าใจในบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ สามารถนำความรู้ไปปฏิบัติกับกลุ่มเป้าหมายได้ มีการกำหนดวันประชุมคณะทำงานเพื่อได้แนวทางในการดำเนินงานร่วมกัน 20 คน แบ่งบทบาทหน้าที่กันทำตามความถนัดของแต่ละบุคคล/วางแผนและเตรียมการดำเนินงาน ตามแผนกิจกรรมโครงฯ
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 143 คน จากที่ตั้งไว้ 150 คน
ประกอบด้วย
  1. แกนนำสุขภาพประจำครอบครัวจำนวน 139 คน
  2. สาธารณสุขอำเภอเวียงสระ 1 คน
  3. ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านพรุกระแชง 1 คน
  4. เลขานุการ นายกเทศมนตรีเทศบาลบ้านส้อง 1 คน
  5. เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านพรุกระแชง 1 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ในที่ประชุมไม่มีสัญญาณอินเตอร์ ไม่มีโปรเจคเตอร์ หากผู้เข้าร่วมประชุมได้เห็นภาพที่ชัดเจน จะสามารถทำความเข้าใจได้ดียิ่งขึ้น และมีค่าใช้จ่ายสูงในการจ้างถ่ายเอกสารภาพสี
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง/ นางสาวรัตนา ชูแสง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • หาแนวทางแก้ไข/หรืองบประมาณสนุบสนุน
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ประชาสัมพันธ์ เขตปลอดบุหรี่ "สถานที่นี้ปลอดบุหรี่"4 ธันวาคม 2557
4
ธันวาคม 2557รายงานจากพื้นที่ โดย nannza123
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อประชาสัมพันธ์ รณรงค์ และขอความร่วมมือให้ ศาลาประชุมประจำหมู่บ้าน และศสมช. เป็นพื้นที่ ปลอดบุหรี่
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ผู้รับผิดชอบโครงการฯ พร้อมด้วยคณะทำงาน ได้ประชาสัมพันธ์ ผ่านสื่อหอกระจ่ายข่าวหมู่บ้านเพื่อให้ประชาชนในหมู่บ้านได้รับทราบโดยทั่วกันและถือเป็นแนวทางปฏิบัติโดยทั่วกัน ให้ศาลาประจำหมู่บ้านและ ศูนย์ ศสมช. เป็นสถานที่ปลอดบุหรี่
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ประชาชนในหมู่บ้าน รับทราบและยึดถือเป็นแนวทางปฏิบัติให้ศาลาประจำหมู่บ้านและ ศูนย์ศสมช. เป็นสถานที่ปลอดบุหรี่
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 150 คน จากที่ตั้งไว้ 150 คน
ประกอบด้วย
  • ประชาชนทุกคนในหมู่บ้าน จำนวน 150 ครัวเรือน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง/ นางสาวรัตนา ชูแสง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ประชุมปฐมนิเทศโครงการร่วมสร้างชุมชนและท้องถิ่นให้น่าอยู่29 พฤศจิกายน 2557
29
พฤศจิกายน 2557รายงานจากพี่เลี้ยง โดย kannapat janthong
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงานโครงการร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่่นน่าอยู่ภาคใต้
  • เพื่ออบรมให้ความรู้เรื่องการจัดทำรายงานผลการดำเนินงานโครงการทางเว็บไซด์
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • กระบวนการและระบบการติดตามประเมินผล เพื่อการหนุนเสริมโครงการร่วมสร้างชุมชนและท้องถิ่นให้น่าอยู่พื้นที่ภาคใต้ โดย ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ สถาบันการจัดการระบบสุขภาพภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • ความคาดหวัง ประสบการณ์ และแนวทางในการจัดทำรายงานผล และรายงานการเงิน โดย คุณปรีดารัตน์ ศรัทธานนท์กุล สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
  • การบริหารจัดการโครงการ (ทีมงาน/ชุมชน) และวิธีการจัดการปัญหา โดยคุณกำไล สมรักษ์ - การบริหารการจัดการงบประมาณ  (การเก็บหลักฐาน และเอกสารการเงิน) โดยคุณสมบูรณ์ ขวัญสงค์ และคุณจุรีย์ หนูผุด - การทำรายงานโครงการ และ รายงานการเงิน โดยคุณกัญนภัส จันทร์ทอง
  • การจัดทำรายงานผ่านเวบไซต์คนใต้สร้างสุข www.happynetwork.org โดย คุณภานุมาศ นนทพันธ์
  • ผู้รับผิดชอบโครงการฝึกปฏิบัติการ ในหัวข้อ • การป้อนข้อมูลรายละเอียดโครงการในเว็บไซต์
    • ทบทวนและออกแบบเชิงระบบของโครงการ
    • การวางแผนการดำเนินงาน และการป้อนแผนการดำเนินงานในปฏิทินโครงการ
    • การรายงานผลการจัดกิจกรรม และรายจ่ายในกิจกรรม
    • การจัดทำรายงาน
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ชุมชนเข้าใจแนวทางการบริหารจัดการโครกการมากขึ้น เช่น การเขียนใบสำคัญรับเงิน การจัดกิจกรรม การออกใบเสร็จค่าห้องพักที่ถูกต้อง
  • ชุมชนสามารถลงรายงานการปฐมนิเทศโครงการในเว็บไซด์ได้ ทำให้แน่ในว่า ชุมชนสามารถจัดทำรายงานกิจกรรมอื่นๆ ตามแผนการดำเนินงานโครงการได้
  • ชุมชนสามารถจัดทำปฏิทินโครงการได้เสร็จเรียบร้อย แะสามารถกลับไปบันทึกกิจกรรมรายงานผลการดำเนินงานได้ หากมีการจัดกิจกรรมในพื้นที่
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย
  • นางสาวจิตลดา ผู้รับผิดขอบโครงการ
  • คณะทำงาน 1 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ระบบอินเตอร์ล่าช้า ทำให้บางคนต้องใช้ระบบอินเตอร์เน็ตส่วนตัว
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • จัดทำรายงานกิจกรรมอย่างสม่ำเสมอ รายงานกิจกรรมหลังการจัดกิจกรรมเสร็จในทันที
ปฐมนิเทศโครงการ29 พฤศจิกายน 2557
29
พฤศจิกายน 2557รายงานจากพื้นที่ โดย nannza123
circle
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อสร้างความเข้าใจแนวทางการทำงาน
  2. เพื่อทำความเข้าใจกระบวนการและระบบการติดตามประเมินผล
    เพื่อการหนุนเสริมโครงการร่วมสร้างชุมชน
  3. เพื่อทำความเข้าใจแนวทางในการจัดทำรายงานผล และรายงานการเงิน
  4. เพื่อทำความเข้าใจแนวทางการจัดทำรายงานผ่านเวบไซต์คนใต้สร้
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันที่ 29 พฤศจิกายน 2557

เป้าหมาย

  • ชี้แจงโครงการร่วมสร้างชุมชนและท้องถิ่นให้น่าอยู่ ปี2557
  • ทำความเข้าใจเรื่องการบริหารจัดการโครงการร่วมสร้างชุมชนและท้องถิ่นให้น่าอยู่ ปี2557
  • ทำความรู้จักกลุ่มเครือข่าย
  • ทำความเข้าใจโครงการคนพรุกระแชงสุขภาพดีด้วยภูมิปัญญาแพทย์แผนไทย
  • เรียนรู้การบันทึกและการฐานข้อมูลผ่านระบบเว็บไซร้
  • เรียนรู้กระบวนการและระบบการติดตามประเมินผล เพื่อการหนุนเสริมโครงการร่วมสร้างชุมชนและท้องถิ่นให้น่าอยู่พื้นที่ภาคใต้

กระบวนการ ช่วงเช้า

  • 08.30 - 09.00 น. ลงทะเบียน
  • 09.00 - 10.00 น. กระบวนการและระบบการติดตามประเมินผล เพื่อการหนุนเสริมโครงการร่วมสร้างชุมชนและท้องถิ่นให้น่าอยู่พื้นที่ภาคใต้ โดย ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ สถาบันการจัดการระบบสุขภาพภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • 10.00 - 11.00 น  ความคาดหวัง ประสบการณ์ และแนวทางในการจัดทำรายงานผล และรายงานการเงิน โดย คุณปรีดารัตน์ ศรัทธานนท์กุล สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
  • 11.00 - 12.00 น. การบริหารจัดการโครงการ (ทีมงาน/ชุมชน) และวิธีการจัดการปัญหา โดยคุณกำไล สมรักษ์ การบริหารการจัดการงบประมาณ  (การเก็บหลักฐาน และเอกสารการเงิน)
    โดยคุณสมบูรณ์ ขวัญสงค์ และคุณจุรีย์ หนูผุด การทำรายงานโครงการ และ รายงานการเงิน โดยคุณกัญนภัส จันทร์ทอง

กระบวนการ ช่วงบ่าย

  • 13.00 - 14.00 น. การจัดทำรายงานผ่านเวบไซต์คนใต้สร้างสุข www.happynetwork.org โดยคุณภานุมาศ นนทพันธ์
  • 14.00 – 21.00 น. ผู้รับผิดชอบโครงการฝึกปฏิบัติการ ในหัวข้อ

    • การป้อนข้อมูลรายละเอียดโครงการในเว็บไซต์
    • ทบทวนและออกแบบเชิงระบบของโครงการ
    • การวางแผนการดำเนินงาน และการป้อนแผนการดำเนินงานในปฏิทินโครงการ
    • การรายงานผลการจัดกิจกรรม และรายจ่ายในกิจกรรม
    • การจัดทำรายงาน 


      30 พฤศจิกายน 2557
  • 08.00-09.00น. ลงทะเบียน

  • 09.00 - 12.00 น. ผู้รับผิดชอบโครงการฝึกปฏิบัติการ ในหัวข้อ (ต่อ)

    • การป้อนข้อมูลรายละเอียดโครงการในเว็บไซต์
    • ทบทวนและออกแบบเชิงระบบของโครงการ
    • การวางแผนการดำเนินงาน และการป้อนแผนการดำเนินงานในปฏิทินโครงการ
    • การรายงานผลการจัดกิจกรรม และรายจ่ายในกิจกรรม
    • การจัดทำรายงาน
  • 13.00 - 15.00 น. ประชุมพี่เลี้ยงร่วมกับ สสส. เพื่อการพัฒนาระบบการติดตามประเมินผลโดยคุณภานุมาศ นนทพันธ์

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.ผู้รับผิดชอบโครงการและทีมงาน มีความเข้าใจแนวทางการทำงาน การใช้เงินโครงการให้เกิดประโยชน์กับชุมชนและโปร่งใส

  • การทำรายงานการเงิน/เอกสาร/หลักฐาน
  • ใบลงทะเบียนต้องมีรายชื่อผู้ร่วมกิจกรรม อย่างน้อย มากกว่าหรือ เท่ากับ 5-10 % ของกลุ่มเป้าหมาย พร้อมด้วยเอกสารประกอบการประชุมพร้อมภาพถ่ายกิจกรรม
  • ค่าอาหาร ต้องมีหลักฐานทางการเงิน หรือใช้ใบสำคัญรับเงินแทนบิลเงินสดได้  ในกรณีเกิน 5000 บาท ต้องแนบสำเนาบัตรประชาชนทุกครั้ง
  • การจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ วัสดุสำนักงาน หรือวัสดุสิ้นเปลืองในการทำกิจกรรม เช่น วัสดุเครื่องเขียน วัสดุโฆษณาและเผยแพร่  ต้องมีหลักฐานทางการเงิน ได้แก่ใบสำคัญรับเงิน/บิลเงินสด
    โดยออกจากร้านมีชื่อที่อยู่ของร้านชัดเจน มีเลขกำกับภาษี/เลขบัตรประชาชน ของเจ้าของร้าน  บิลออกในนามโครงการ มีเบอร์โทรของร้าน
  • ค่าพาหนะ ค่าที่พัก ค่าถ่ายเอกสาร ค่าอาหารและเครื่องดื่ม ให้บันทึกในหมวดค่าใช้สอย
  • ประเภทค่าตอบแทน เช่น ค่าตอบแทนวิทยากร  คิดเป็นรายชั่วโมงๆ ละ 600 บาท แต่ในกรณีเป็นคนต่างพื้นที่ สามารถเบิกได้ 1000 บาท/วัน

2.ผู้รับผิดชอบโครงการและทีมงานมีความเข้าใจกระบวนการและระบบการติดตามประเมินผล การติดตามงานของพี่เลี้ยง เข้าไปเยี่ยมชมกิจกรรม ให้กำลังใจ สนับสนุนโครงการให้บรรลุวัตถุประสงค์ และผู้รับทุนจะต้องเตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้องทั้งเอกสารและสัญญา

3.ผู้รับผิดชอบโครงการและทีมงานมีความเข้าใจเรื่องแนวทางการจัดทำรายงานผ่านเวบไซต์คนใต้สร้างสุข

  • การรายงานข้อมูลรายละเอียดโครงการในเว็ปไซต์
  • การเขียนกิจกรรม/แผนงานในปฏิทินโครงการ
  • การรายงานผลการจัดกิจกรรม และรายจ่ายในกิจกรรมในเว็ปไซต์
  • การส่งรายงานประจำงวด ในเว็ปไซต์
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย
  1. นางสาวจิตรลัดดา  วงศ์ศิลป์ ผูู้รับผิดชอบโครงการ
  2. นางสาวยินดี ตรีศรี ประชาสัมพันธ์โครงการ
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ปัญหาการใช้อินเตอร์เน็ต เนื่องจากผู้เข้าร่วมประชุมมีจำนวนมากและ ใช้อินเตอร์เน็ตพร้อมกัน ทำให้ไม่สามารถใช้สัญญาณอินเตอร์เน็ตได้ ส่งผลให้การทำงานเกิดความล้าช้า
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง/ นางสาวรัตนา ชูแสง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-