แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


“ สร้างคลอง สร้างฅน สร้างสุขภาวะชุมชนฅนหนองบัว ”

ชุมชนบ้านหนองบัว ม.5 ตำบลท่าข้าม อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

หัวหน้าโครงการ
นายอับดนหร้อซักฮ์ จันทการักษ์

ชื่อโครงการ สร้างคลอง สร้างฅน สร้างสุขภาวะชุมชนฅนหนองบัว

ที่อยู่ ชุมชนบ้านหนองบัว ม.5 ตำบลท่าข้าม อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา จังหวัด สงขลา

รหัสโครงการ 57-02564 เลขที่ข้อตกลง 58-00-0130

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 20 ตุลาคม 2557 ถึง 20 พฤศจิกายน 2558


กิตติกรรมประกาศ

"สร้างคลอง สร้างฅน สร้างสุขภาวะชุมชนฅนหนองบัว จังหวัดสงขลา" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ชุมชนบ้านหนองบัว ม.5 ตำบลท่าข้าม อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
สร้างคลอง สร้างฅน สร้างสุขภาวะชุมชนฅนหนองบัว



บทคัดย่อ

โครงการ " สร้างคลอง สร้างฅน สร้างสุขภาวะชุมชนฅนหนองบัว " ดำเนินการในพื้นที่ ชุมชนบ้านหนองบัว ม.5 ตำบลท่าข้าม อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา รหัสโครงการ 57-02564 ระยะเวลาการดำเนินงาน 20 ตุลาคม 2557 - 20 พฤศจิกายน 2558 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 211,450.00 บาท จาก เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 160 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

 

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อให้มีสภาผู้นำชุมชนที่เข้มแข็ง โดยทำหน้าที่เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อน ติดตามและประเมินผลโครงการและมีการประชุมอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง
  2. เพื่อให้เยาวชนและคนในชุมชนร่วมกันอนุรักษ์คลองสายต้นตะเคียน
  3. เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมเยาวชนและคนในชุมชนในการจัดการปัญหาขยะ
  4. เพื่อติดตามและสนับสนุนโครงการ

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

     


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. ปฐมนิเทศโครงการ ฯ

    วันที่ 29 พฤศจิกายน 2557 เวลา 09:00 - 16.30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ทราบแนวทางในการจัดทำรายงานผล และรายงานการเงิน โดยการทำรายงานการเงินแยกรายกิจกรรม/ครั้ง
    • กระบวนการและระบบการติดตามประเมินผล
    • การทำรายงานโครงการ และ รายงานการเงิน  การป้อนข้อมูลรายละเอียดโครงการในเว็บไซต์ การป้อนแผนการดำเนินงานในปฏิทินโครงการ
    • การรายงานผลการจัดกิจกรรม และรายจ่ายในกิจกรรมและการจัดทำรายงาน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.ทราบแนวทางในการจัดทำรายงานผล และรายงานการเงิน โดยการทำรายงานการเงินแยกรายกิจกรรม/ครั้ง ดังนี้  

    • ใบลงทะเบียนต้องมีรายชื่อผู้ร่วมกิจกรรม  
    • บันทึกการประชุม วาระการประชุม เอกสารประกอบการประชุมพร้อมภาพถ่ายกิจกรรม  
    • กรณีมีค่าอาหาร ต้องมีหลักฐานทางการเงิน ได้แก่ใบสำคัญรับเงินหรือใบบิลเงินสด  (ถ้าเกิน 5000 บาท ต้องแนบสำเนาบัตรประชาชนทุกครั้ง)  
    • กรณีจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ (ค่าวัสดุ คือ ค่าใช้จ่ายเพื่อวัสดุสิ้นเปลืองในการทำกิจกรรม ได้แก่ วัสดุเครื่องเขียน วัสดุสำนักงาน วัสดุโฆษณาและเผยแพร่) ต้องมีหลักฐานทางการเงิน ได้แก่ใบสำคัญรับเงิน/บิลเงินสด โดยออกจากร้านมีชื่อที่อยู่ของร้านชัดเจน มีเลขกำกับภาษี/เลขบัตรประชาชน ของเจ้าของร้าน  บิลออกในนามโครงการของพื้นที่ตนเอง (โครงการสร้างคลองสร้างฅน สร้างสุขภาวะชุมชนฅนหนองบัว บ้านหนองบัว หมู่ที่ 5 ตำบลท่าข้าม อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา)    
    • ค่าใช้สอย ได้แก่ ค่าพาหนะ ค่าที่พัก ค่าถ่ายเอกสาร ค่าอาหารและเครื่องดื่ม    
    • ค่าตอบแทน ได้แก่ ค่าตอบแทนวิทยากร  กรณีเป็นรายชั่วโมง ต้องมีความรู้ความชำนาญ  กรณีเป็นปราญชชาวบ้าน หรือ เจ้าหน้าที่ รพ.สต. คิดเป็นรายชั่วโมง 600 บาท,กรณีเป็นคนต่างพื้นที่ สามารถเบิกได้ 1000 บาท/วัน    
    • ใบสำคัญรับเงินจะต้องไม่มีรอยลบ รอยขูดหรือรอยขีดเขียน  **ห้ามใช้ใบส่งของแทนบิลเงินสดหรือใบสำคัญรับเงิน

    2.รายชื่อผู้เข้าร่วมกิจกรรม จะต้องมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมอย่างน้อย มากกว่า หรือเท่ากับ 5-10 % ของเป้าหมายที่วางไว้

    3.รับรู้การบริหารจัดการโครงการ (ทีมงาน/ชุมชน) และวิธีการจัดการปัญหา การทำรายงานโครงการ และ รายงานการเงิน  การป้อนข้อมูลรายละเอียดโครงการในเว็บไซต์     - ทุกกิจกรรมจะต้องมีการบันทึกรายละเอียดกิจกรรมและรายละเอียดทางการเงิน ในเว็ปไซต์ www.happynetwork.org

    4.สามารถรับรู้ถึงกระบวนการและระบบการติดตามประเมินผล เพื่อการหนุนเสริมโครงการร่วมสร้างชุมชนและท้องถิ่นให้น่าอยู่พื้นที่ภาคใต้ ทบทวนและออกแบบเชิงระบบของโครงการ

    5.การวางแผนการดำเนินงาน และการป้อนแผนการดำเนินงานในปฏิทินโครงการ • การรายงานผลการจัดกิจกรรม และรายจ่ายในกิจกรรมและการจัดทำรายงาน

     

    3 2

    2. ประชุมคณะทำงาน เดือนละ 1 ครั้ง

    วันที่ 21 มกราคม 2558 เวลา 20.00-21.30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ที่ปรึกษาโครงการ (นายสุรเชษ  บิลสัน) ได้จัดกระบวนการจัดตั้งสภาผู้นำชุมชน 20 คน ตามแบบแผน โดยมีหน้าที่คอยติดตามและประเมินผมโครงการและร่วมกันดำเนินการโครงการอย่างต่อเนื่อง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • เกิดสภาผู้นำชุมชนขึ้นมา และมีจัดตั้งคณะบุคคลผู้ติดตามสถานการณ์คลองในชุมชนอย่างต่อเนื่อง และทุกคนต่างก็มีความยินดีเพื่อรับหน้าที่และรับผิดชอบติดตามโครงการอย่างต่อเนื่องร่วมกัน ซึ่งในที่ประชุมนั้นต่างคนต่างแสดงความคิดเห็นในเรื่องของกิจกรรมต่างๆ ของโครงการ ว่า ให้มีแบบแผนและร่างให้ละเอียดมากยิ่งขึ้น เช่น ในกิจกรรมต่างๆนั้นใครสามารถเป็นวิทยากรในกิจกรรมนั้นๆ และในกิจกรรมนั้นมีกระบวนดำเนินการอย่างไร เป็นต้น เพื่อที่จะสะดวกในการทำกิจกรรมต่อไป

     

    20 20

    3. จัดทำป้ายปลอดบุหรี่

    วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ผู้รับผิดชอบโครงการดำเนินการจัดทำป้ายเขตปลอดบุหรี่ เพื่อดำเนินการติดบริเวณพื้นที่ที่ดำเนินกิจกรรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จัดทำป้ายเขตปลอดบุหรีมาติดบริเวณที่ดำเนินกิจกรรมของโครงการ

     

    2 2

    4. เวทีชี้แจงโครงการ

    วันที่ 12 มีนาคม 2558 เวลา 20.00-21.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ที่ปรึกษาโครงการ (นายสุรเชษ บิลสัน) ได้ดำเนินการบอกความเป็นมาในการจัดโครงการนี้ขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาสภาพคลองในชุมชนและการจัดการปัญหาคลอง
    • พี่เลี้ยง สจรส (นายอานัติ หวังกุหลำ) ได้ชี้แจงถึงเป็นมาของโครงการ สสส ให้ชาวบ้านได้รับทราบโดยทั่วกัน
    • ผู้รับผิดชอบโครงการ (นายศักดริน บินหรีม)ได้ชี้แจงกิจกรรมต่างๆ และการดำเนินการกิจกรรมต่างๆ ในโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ที่ปรึกษาโครงการ (นายสุรเชษ บิลสัน) ได้ดำเนินการบอกความเป็นมาในการจัดโครงการนี้ขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาสภาพคลองในชุมชนและการจัดการปัญหาคลองโดยต้นเหตุมาจากมือของประชาชนไม่ว่าจะเป็นขยะจากครัวเรือน และการทิ้งขยะเพ่นพ่านข้างๆถนนของเด็กๆในชุมชนเมื่อฝนตกทำให้ฝนชะล้างขยะจากแหล่งจากต่างๆทำให้เกิดอุดตันหรือไปรวมที่คลองอันเป็นเหตุก่อให้เกิดน้ำในคลองเน่าเสีย ระบบนิเวศเสื่อม และรวมไปถึงไม่สามารถนำทรัพยากรมาใช้ได้ เช่น นำน้ำในช่วงฤดูแล้งมาทำการเกษตรไม่ว่าจะเป็นการรดน้ำพืชผัก เป็นต้น
    • พี่เลี้ยง สจรส (นายอานัติ หวังกุหลำ) ได้ชี้แจงถึงเป็นมาของโครงการ สสส ให้ชาวบ้านได้รับทราบโดยทั่วกันในการเป็นหน่วยงานสนับสนุนโครงการสร้างคลองสร้างฅน สร้างสุขภาวะชุมชน ฅนหนองบัว
    • ผู้รับผิดชอบโครงการ (นายศักดริน บินหรีม)ได้ชี้แจงกิจกรรมต่างๆ และการดำเนินการกิจกรรมต่างๆ ในโครงการเพื่อให้ผู้ที่เข้าร่วมได้รับทราบและสามารถร่วมกันมองปัญหาและหาวิธีแก้ไขร่วมกัน
    • เมื่อดำเนินการชี้แจงโครงการเสร็จเป็นที่เรียบร้อยทางผู้รับผิดชอบโครงการได้ซักถามไปยังผู้เข้าร่วมทุกคนว่า ท่านใดมีข้อสงสัยและช่วยเสนอความคิดเห็นได้ ต่างคนต่างก็ไม่มีข้อสงสัยใดๆทุกคนเข้าใจและรับทราบกันอย่างทั่วถึงและในขณะเป็นที่ประทับใจของคนทุกคนเห็นรอยยยิ้มและทุกคนให้ความร่วมมือเป้นอย่างดี
    • ผู้เข้าร่วมได้รับทราบถึงโครงการ ลงความเห็นและเห็นชอบกับกิจกรรมเป็นอย่างมาก เป็นที่ประทับใจของทุกคน และช่วยกันติดตามดูแลอนุรักษ์คลองสายต้นตะเคียนร่วมกันต่อไป

     

    100 105

    5. เยาวชนนักสืบสายน้ำ

    วันที่ 13 มีนาคม 2558 เวลา 08:00 - 13.30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • เชิญวิทยากรมาให้ความรู้เรื่องการจัดเก็บข้อมูลทรัพยากรทางบกและทางน้ำ  วิทยากร คือ นายสินธพ อินทรัตน์ นายก อบต.ท่าข้าม  โดยท่านให้ข้อมูลในการการจัดการขยะในครัวเรือนและชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของขยะในการจัดการด้วยตนเอง
    • วิทยาการอีกท่านหนึ่งคือ นายโฉด ฤทธิโต  ได้ให้ข้อมูลในการจัดเก็บข้อมูลทรัพยากรทางบกและทางน้ำโดยแจกกระดาษคนละ 1 แผ่น ให้มองถึงปัญหาและสิ่งที่พบในการเดินสำรวจคลองว่าในการสำรวจของเราพบปัญหาใดบ้างตามบริเวณคลอง และหลังจากนั้นเรามีวิธีการกำจัดปัญหานั้นได้อย่างไร
    • หลังจากนั้น วิทยากรทั้งสองคนและแกนนำนำเด็กและเยาวชนร่วมกันเดินสำรวจทรัพยากรทางบกและทางน้ำตามบริเวณคลอง ภายใต้ กิจกรรมเยาวชนนักสืบสายน้ำ โดยให้แต่ละคนบันทึกสิ่งที่พบเห้นในคลองสายต้นตะเคียน เช่น ขยะประเภทต่างๆ สัตว์ต่างๆ ต้นไม้ ด้วยเขียนลงในกระดาษที่เตรียมไว้ให้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ทำให้ได้รับทราบถึงสภาพปัญหาของลำคลอง และกลุ่มอนุรักษ์ให้ความสำคัญของลำคลองกับชุมชนเป้นอย่างมาก เมื่อทราบปัญหาหรือได้บันทึกในสิ่งที่ค้นพบจากนั้นก็สามารถแก้ไขปัญหานั้นๆได้อย่างตรงจุด ซึ่งในการทำกจกรรมทุกคนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีและเห็นรอยยิ้ม ความสุข ในขณะทำกิจกรรม และทำให้แกนนำรวมไปถึงเด็กและเยาวบนผู้เข้าร่วมได้รู้วิธีการกำจัดขยะในครัวเรือนด้วยตัวเอง และมีความรู้ในการจัดเก็บข้อมูลทรัพยากรทางบกและทางน้ำได้เป็นอย่างดีและสามารถนำความรู้ไปใช้ได้อย่างต่อเนื่องอีกด้วย

     

    60 65

    6. เวทีแผนที่คลองสายต้นตะเคียน

    วันที่ 13 มีนาคม 2558 เวลา 17.00 - 18.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • แกนนำโครงการ 2 คน (นายสุรเชษ บิลสัน และนายศักดริน บินหรีม) ได้ชี้แจงในการจัดทำแผนที่คลองสายต้นตะเคียน โดยแบ่งกลุ่ม 4 กลุ่ม กลุ่มละ 7 คน ให้ร่วมกันวาดแผนที่ที่บ่งบอกถึงสายน้ำลำคลองต้นตะเคียนและทรัพยากรที่อยู่ในคลอง แล้วให้แต่ละกลุ่มเสนอแผนที่คลองตามที่แต่ละกลุ่มวาดไว้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้แผนที่คลองสายต้นตะเคียน เพื่อใช้เป็นแผนที่ในการจัดการทรัพยากรที่อยู่ในคลองได้อย่างแม่นยำยิ่งขึ้นและสามารถแก้ไขปัญหาได้ตรงจุด และสะดวกต่อการตดตามการเฝ้าระวังสถานการณ์คลองในชุมชนของคณะทำงานติดตามโครงการ
    • ในขณะทำกิจกรรมทุกคนให้ความร่วมมือและมีความสามัคคีขึ้นภายในกลุ่มในการทำงานและเพิ่มทักษะการวางแผนของตัวของแกนนำและผู้เข้าร่วมได้อย่างกระฉับกระเฉงมากยิ่งขึ้น และที่สำคัญทำให้ทุกคนให้ความสำคัญของลำคลองกับชุมชนมากยิ่งขึ้นอีกด้วย

     

    30 30

    7. อบรมการทำงานเป็นทีมและมีส่วนร่วม

    วันที่ 14 มีนาคม 2558 เวลา 20.00-22.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • วิทยากร (นายรชดี้ บินหวัง) นักพัฒนาชุมชน อบรมการการทำงานเป็นทีมและการมีส่วนร่วมให้กับสภาผู้นำชุมชน และผู้เข้าร่วมทุกคน โดยเน้นเรื่องการลงมือปฎิบัติ เป็นขั้นเป็นตอนและ ร่วมด้วยช่วยกันพัฒนาชุมชนและอื่นๆอีกมากมาย หลังจากนั้นมีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการทำงานของแต่ละคน เพื่อให้ได้ข้อสรุปและมีแนวทางในการทำงานเป็นทีมและมีส่วนร่วมอย่างเป็นระบบ และมีทักษะในการทำงานได้ดีอีกด้วย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • จากการอบรมการทำงานเป็นทีมและการมีส่วนร่วม ทำให้ผู้เข้าร่วม เข้าใจ หรือรู้วิธีการ ขั้นตอน ในการทำงานเป็นทีมและการมีส่วนร่วม ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถนำหลักการที่ได้ไปประยุกต์นำไปใช้ได้อย่างมีคุณภาพต่อไป ซึ่งในการจัดกิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่มีประโยชน์เป็นอย่างมากและวิทยากรให้ความรู้ แสดงพลังออกมาได้อย่างเต็มที่ โดยเล็งเห็นถึงตัวของสภาผู้นำและผู้รับผิดชอบโครงการเป็นสำคัญในการขับเคลื่อนโครงการและที่ขาดไม่ไ้คือต้องมีแรงหนุนเสริมอยู่เบื้องหลังโดยเฉพาะองค์กรต่างๆที่เกี่ยวข้อง ซึ่งสามารถทำให้โครงการมีการขับเคลื่อนอย่างการเป็นระบบ และอีกทางปฏิบัติหนึ่งคือทุกคนต้องยอมเสียสละเวลา อดทน ฝ่าฝันไปด้วยกัน และต้องเป็นพื้นฐานการขับเคลื่อนอย่างเป็นทีมยอมรับความคิดเห็นของคนอื่นแล้วมาเป็นข้อสรุปอย่างชัดเจน อันทำให้การทำงานของทุกคนทุกกระบวนสามารถสำเร็จไปได้ด้วยดี

     

    20 30

    8. คืนเงินเปิดบัญชีธนาคาร

    วันที่ 15 มีนาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คืนคืนเงินเปิดบัญชีธนาคาร 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คืนเงินเปิดบัญชีธนาคาร 

     

    2 2

    9. จัดทำรายงานงดฃวดที่ 1

    วันที่ 16 มีนาคม 2558 เวลา 09:00 - 12.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    แกนนำโครงการจัดทำรายงานโครงการ ในงวดที่ 1

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ส่งรายงานงวดที่ 1

     

    2 2

    10. ให้ความรู้เรื่องการอนุรักษ์คลอง

    วันที่ 12 เมษายน 2558 เวลา 09:00 - 12.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เชิญวิทยากร (นางสาวปาลิกา วงศ์วาสนา) ให้ความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์คลอง โดยวิทยากรเน้นหนักในเรื่องของการแก้ไขปัญหาต้นทาง คือ การกำจัดขยะจากครัวเรือนเป็นสำคัญ เพราะปัญหาหนึ่งที่ทำให้คลองเกิดการเน่าเสียหรือสกปรกนั่นมาจากครัวเรือน และวิทยากรได้ชี้ให้เห็นถึงปัญหาต่างๆในชุมชนที่มีผลกระทบของคลองต่อสุขภาวะคนในชุมชนอีกด้วย และผู้เข้าร่วมได้ร่วมกันเสนอความคิดเห็นเพื่อหาแนวทางการอนุรักษ์คลองร่วมกันอย่างเต็มที่ 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จากการที่วิทยากรให้ความรู้ถึงวิธีการอนุรักษ์คลอง ทำให้ผู้เข้าร่วม เข้าใจ หรือรู้วิธีการ ขั้นตอน ในการอนุรักษ์คลองสายต้นตะเคียนในชุมชน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถนำหลักการที่ได้ไปประยุกต์นำไปใช้ได้อย่างมีคุณภาพต่อไป ซึ่งในการจัดกิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่มีประโยชน์เป็นอย่างมากและวิทยากรให้ความรู้ แสดงพลังออกมาได้อย่างเต็มที่ หลังจากนั้นที่ทุกคนได้ร่วมกันเสนอแนวทางการอนุรักษ์คลอง ทุกคนได้ลงมติความเห็นว่าให้แต่ละครัวเรือนร่วมกันนำแนวทางอนุรักษ์คลองที่ได้จากการอบรมนี้ไปดำเนินการในชีวิตประจำวัน เด็กและเยาวชนและคนในชุมชนมีทัศนคติต่อคลองมากยิ่งขึ้น โดยช่วยกันยับยั้งในเรื่องขยะในครัวเรือนกันมากขึ้นซึ่งมีการกำจัดขยะด้วยตัวเองไม่ทิ้งเพ่นพานอันเป็นต้นเหตุที่ทำให้คลองมีความเสื่อมโทรมไม่สามารถนำไปใช้ในทางการเกษตรได้ นับเป็นวิธีหนึ่งที่ทุกคนช่วยกันอนุรักษ์คลองสายต้นตะเคียน และทุกคนได้เสนอให้มีการปลูกต้นไม้รอบๆคลอง ซึ่งจะมีการปฏิบัติการในกิจกรรมต่อไป

     

    100 100

    11. ประกวดคำขวัญการอนุรักษืคลอง/รณรงค์การจัดการขยะในชุมชน

    วันที่ 18 เมษายน 2558 เวลา 09.00 - 12.30 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ทางแกนนำโครงการได้แบ่งกลุ่มให้ผู้เข้าร่วมทุกคน โดยทั้งหมดแบ่งเป็น 5 กลุ่ม กลุ่มละ 6 คน โดยให้แต่ละกลุ่มร่วมกันระดมความคิดคำขวัญ คำคม หรือประโยคที่สะท้อนถึงการแก้ไขปัญหาเรื่องการจัดการขยะในชุมชน จากนั้นทางแกนนำโครงการให้แต่ละกลุ่มได้นำเสนอต่อผู้เข้าร่วมทุกคน โดยมีคณะกรรมการ 2  ท่าน คือ นายหวังหมัด ฤทธิ์โต (คณะกรรมการมัสยิดบ้านหนองบัว) และมานิตย์ บิลสัน (คณะกรรมการโรงเรียนสอนภาคฟัรฎูอีนบ้านหนองบัว) เป็นคณะกรรมการตัดสินของแต่ละกลุ่ม หลังจากนั้นมอบรางวัลรางวัลให้แก่กลุ่มที่ชนะในการประกวดคำขวัญการอนุรักษ์คลอง ซึ่งการประกวดคำขวัญนี้จะใช้ในการติดป้ายตามบริเวณหมู่บ้านและริมคลองสายต้นตะเคียนในกิจกรรมต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ในการทำกิจกรรมประกวดคำขวัญการอนุรักษ์คลอง/รณรงค์การจัดการขยะในชุมชน ทุกคนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี และมีความสุขสนุกสนานในการทำกิจกรรม และเกิดทัศนคติต่อผู้เข้าร่วมเป็นอย่างมาก และผู้เข้าร่วมส่วนใหญ่ได้เสนอให้มีการกิจกรรมแบบนี้ต่อไปเพื่อสร้างฝันกำลังใจให้เด็กๆและคนในชุมชนในการจัดการขยะในครัวเรือนของตนเอง

     

    60 60

    12. ศึกษาเส้นทางขยะนชุมชน

    วันที่ 25 เมษายน 2558 เวลา 09.00 - 11.30 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ทางแกนนำโครงการและทีมงานกลุ่มเยาวชนรักษ์หนองบัว ได้ร่วมกันดำเนินการทำกิจกรรมโดยมี นายศักดริน  บินหรีม (ประธานกลุ่มเยาวชนรักษ์หนองบัว) ได้ชี้แจงให้ผู้เข้าร่วมทุกคนได้ทราบถึงการรูปแบบการลงพื้นที่ศึกษาเส้นทางขยะในชุมชน โดยจะบันทึกจากการลงพื้นที่ไปดูต้นเหตุของเส้นทางขยะว่ามีกี่แห่ง แห่งใดบ้าง และสิ่งที่ค้นพบ และที่มาที่เกิดขึ้นมาจากแห่งใดบ้าง หลังจากนั้นทางแกนนำโครงการและทีมงานกลุ่มเยาวชนรักษ์หนองบัว ได้แบ่งกลุ่ม 5 กลุ่ม กลุ่มละ 20 คนโดยเฉลี่ย และให้แต่ละกลุ่มเดินทั่วทั้งหมู่บ้านแล้วร่วมกันบันทึกจากสิ่งได้จากการลงพื้นที่ศึกษาเส้นทางขยะในชุมชนบ้านหนองบัว โดยมีให้ 2 กลุ่ม ร่วมกันศึกษาเส้นทางขยะทางด้านบ้านหนองบัวออก และอีก 3 กลุ่มร่วมกันศึกษาเส้นทางขยะทางด้านบ้านหนองบัวตก หลังจากนั้นทุกคนก็เก็บข้อมูลเพื่อนำมาทำแผนที่เส้นทางขยะในกิจกรรมต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ในการทพกิจกรรมศึกษาเส้นทางขยะในชุมชนบ้านหนองบัว เด็กและคนในชุมชนให้ความร่วมมือกันอย่างเต็มที่ และอย่างดี ในขณะทำกิจกรรมทำให้ทุกคนได้รู้ถึงต้นเหตุของเส้นทางขยะจากการที่ได้ลงพื้นที่ศึกษา และรู้ถึงที่มาเป็นอย่างดี แล้วมาร่วมกันเสนองานร่วมกัน มีดังนี้ เส้นทางขยะในชุมชนบ้านหนองบัว มีทั้งหมด 4 สาย ประกอบด้วย ดังนี้ เส้นทางที่ 1 อยู่ตรงกันข้ามกับบ้านตาวิน ทางด้านทิศตะวันออกของบ้านหนองบัว เส้นทางที่ 2 อยู่ตรงกันข้ามกับมัสยิดบ้านหนองบัว เส้นทางที่ 3 อยู่ทางด้านทิศเหนือของบ้านหนองบัว เส้นทางที่ 4 อยู่ทางด้านทิศตะวันออกของบ้านหนองบัว
    ซึ่งเส้นทางทั้งหมดนี้จะเป็นรอยต่อระหว่างคูหน้าบ้านของชุมชนกับคลองสายต้นตะเคียน ซึ่งเป็นต้นเหตุที่สำคัญของขยะที่สามารถไปรวมตัวหรือลงสู่คลองสายต้นตะเคียน แต่สิ่งที่น่าประทับใจมากที่สุด คือ ในขณะเดินทางกลับจากศึกษาเส้นทางขยะในชุมชนเด็กๆ เห็นขยะข้างถนนโดยช่วยกันเก็บขยะไว้ที่ตัวเองแล้วนำมาทิ้งที่ถังขยะมัสยิด นี่ถือเป้นเด็กๆมีจิตสาธารณะ มีจิตสำนึกมากยิ่งขึ้น 

     

    100 100

    13. ประชุมคณะทำงาน เดือนละ 1 ครั้ง

    วันที่ 30 พฤษภาคม 2558 เวลา 13:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ไม่มี

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    กิจกรรมการประชุมคณะกรรมการสภาผู้นำชุมชน ประจำเดือนพฤษภาคม 2558 ทางกรรรมการไม่ได้จัดประชุม เนื่องทีมงานแกนนำโครงการเป็นนักศึกษาเรียนมหาวิทยาลัยคนละสถาบันกัน มีภารกิจและบางส่วนต้องไปเรียน และเหตุผลอื่นๆที่เป็นจริงในพื้นที่เราจึงไม่ได้มีการจัดประชุมในครั้งนี้

     

    20 0

    14. ประชุมคณะทำงาน เดือนละ 1 ครั้ง

    วันที่ 12 มิถุนายน 2558 เวลา 13:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ไม่มี

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    กิจกรรมการประชุมกรรมการสภาผู้นำชุมชน ประจำเดือน มิถุนายน 2558 ทางกรรมการโครงการไม่ได้จัดประชุม เนื่องจากทีมงานคณะกรรมการมีภารกิจและบางส่วนต้องไปเรียนและอยู่ในช่วงสอบปลายภาคของมหาวิทยาลัย หรือมีเหตุผลอื่นๆที่เป็นจริงในพื้นที่เรา และทางแกนนำโครงการได้พูดคุยกันจะมีการประชุมในเดือนถัดไป

     

    20 0

    15. ประชุมคณะทำงาน เดือนละ 1 ครั้ง

    วันที่ 26 กรกฎาคม 2558 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ไม่มี

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    กิจกรรมการประชุมคณะกรรมการสภาผู้นำชุมชน ประจำเดือนกรกฎาคม 2558 ทางกรรรมการไม่ได้จัดประชุม เนื่องทีมงานแกนนำโครงการเป็นนักศึกษาเรียนมหาวิทยาลัยคนละสถาบันกัน มีภารกิจและบางส่วนต้องไปเรียน และเหตุผลอื่นๆที่เป็นจริงในพื้นที่เราจึงไม่ได้มีการจัดประชุมในครั้งนี้

     

    20 0

    16. ประชุมคณะทำงาน เดือนละ 1 ครั้ง

    วันที่ 14 สิงหาคม 2558 เวลา 13:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ไม่มี

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    กิจกรรมการประชุมคณะกรรมการสภาผู้นำชุมชน ประจำเดือนสิงหาคม 2558 ทางกรรรมการไม่ได้จัดประชุม เนื่องด้วยทางผู้ดำเนินโครงการเห็นว่าการดำเนินโครงการเป็นไปอย่างเรียบร้อยและทางหมู่บ้านมีการจัดกิจกรรมทางศาสนาของผู้นำชุมชนตลอดทั้งเดือน เลยทางผู้ดำเนินการโครงการจึงของดการประชุมในครั้งนี้แล้วจะมีวาระประชุมในลำดับเดือนถัดไป และเหตุผลอื่นๆที่เป็นจริงในพื้นที่เราจึงไม่ได้มีการจัดประชุมในครั้งนี้

     

    20 0

    17. ประชุมคณะทำงาน เดือนละ 1 ครั้ง

    วันที่ 21 กันยายน 2558 เวลา 13:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ไม่มี

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    กิจกรรมการประชุมคณะกรรมการสภาผู้นำชุมชน ประจำเดือนกันยายน 2558 ทางกรรรมการไม่ได้จัดประชุม เนื่องทีมงานแกนนำโครงการเป็นนักศึกษาเรียนมหาวิทยาลัยคนละสถาบันกัน มีภารกิจและบางส่วนต้องไปเรียน และเหตุผลอื่นๆที่เป็นจริงในพื้นที่เราจึงไม่ได้มีการจัดประชุมในครั้งนี้

     

    20 0

    18. จัดทำกติกาชุมชนในการอนุรักษ์คลองสายต้นตะเคียน

    วันที่ 23 กันยายน 2558 เวลา 19:00 - 22:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ก่อนวันทำกิจกรรมมีการประชาสัมพันธ์เสียงตามสายของหมู่บ้าน โดยให้เด็กๆและชาวบ้านมาร่วมกันแสดงความคิดเห็น ร่วมตั้งกติกาในชุมชนในวันที่ 23 กันยายน 2558 ในเวลา 19.00 เป้นต้นไป ที่มัสยิดบ้านหนองบัว และในคืนทำกิจกรรมมีการชี้แจงรายละเอียดโครงการและกิจกรรมจัดตั้งกติกาอนุรักษ์คลองสายต้นตะเคียน โดย นายศักดรินบินหรีม (หัวหน้ากลุ่มเยาวชนรักษ์หนองบัวและผู้ดำเนินโครงการนี้) โดยได้ให้คำชี้แจงในการจัดตั้งกฎกติกาในการอนุรักษ์คลองโดยให้เด็กๆและชาวบ้านลงแสดงความคิดเห็นในกระดาษที่ทางโครงการได้ให้เขียนในลักษณะเป็นข้อบังคับหรือข้อห้ามและมีบทลงโทษในรูปแบบต่างๆที่ชาวบ้านแต่ละคนต้องการที่สมควรจะมีเป็นตัวบังคับใช้ หลังจากนั้นทางกลุ่มแกนนำโครงการเก็บรวบรวมเอกสารกระดาษจากที่เด็กๆและชาวบ้านได้เขียนแล้ว มาสรุปและใช้ข้อความที่ชาวบ้านลงความคิดเห็นเป็นส่วนใหญ่มติและบันทึกไว้เป็นข้อกติกาชุมชนในการอนุรักษ์คลองสายต้นตะเคียน และจะมีการเป็นกิจกรรมเปิดกฎกติกาบังคับใช้ในวันต่อไป

    และหลังจากนั้นจะมีการแสดงละครสะท้องถึงคลองต่อชีวิตของมนุษย์ 2 ชุด คือ ชุดที่ 1 จะเป็นการแสดงละครของเด็กๆ ละครปัญหาคลอง คือ ปัญหาชีวิต ชุดที่ 2 เป็นการแสดงของเด็กๆและเยาวชน คือ แสดงละครสุขภาวะดี ต้องรู้รักษาสิ่งแวดล้อม และมีการแสดงโชร์ลิเกฮูลูของเด็กๆในชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ในการทำกิจกรรมในครั้งนี้เป็นกิจกรรมที่เด็กๆและชาวบ้านได้ลงความคิดเห็นโดยยึดหลักประชาธิปไตย โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมากเกินตามเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้ ซึ้งผู้เข้าร่วมมาทั้งหมด 82 คน มีทั้งเด็กๆ เยาวชนและชาวบ้านผู้หลักผู้ใหญ่ มาให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมในครั้งนี้

    โดยสรุปความรวมในข้อความในการจัดตั้งกฎกติการชุมชนส่วนใหญ่ทุกคนจะเล็งถึงในเรื่องของขยะในชุมชนดดยให้มีการจัดการขยะในชุมชนอย่างถูกวิธีและถูกต้องตามสุขลักษณะ เรื่องการร่วมมือการดูแลคลองโดยทุกคนมีส่วนร่วม เรื่องให้ชาวบ้านทุกคนร่วมกันติดตามและที่สำคัญในแต่ละข้อจะมีบทลงโทษ เช่น ห้ามทิ้งลงคู-คลอง หากพบเห็นจะมีบทลงโทษ ดังนี้

    1. ตักเตือน ครั้งที่ 1

    2. ตักเตือนครั้งที่ 2

    3. แจ้งทางคณะกรรมการหมู่บ้านมีบทลงโทษด้วยวิธีต่างๆ เป้นต้น

    ทุกคนไม่ว่าจะเป็นเด็กๆเยาวชนและชาวบ้านให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีและได้เสนอแนวคิดที่มีผลดีต่อการดูและรรมชาติในชุมชนบ้านหนองบัวเป็นที่สนใจ เช่น ในแต่ละให้ทางคณะกรรมการหมู่บ้านและหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องมาเสริมสภาพรอบๆข้างคลองให้เป็นจุดสถานที่พักผ่อน และออกกำลังกาย (นายสันติชัยสะระยะ กล่าว) ให้ทางองค์การปกคลองส่วนท้องถิ่นมาร่วมด้วยช่วยกันพัฒนาดูแลอย่างใกล้ชิดในทุกๆปี อย่างน้อยปีละ 1-2 ครั้ง (นางตีฉ๊ะ เปลี่ยนพงศ์ กล่าว) การทำกิจกรรมนี้สำเร็จตามวัตุประสงค์และได้รับการชื่นชมจากชาวบ้านที่มาเข้าร่วมเป็นที่พอใจมากๆ

     

    60 82

    19. 1. ติดป้ายคำขวัญรณรงค์ และป้ายทรัพยากรริมคลอง

    วันที่ 10 ตุลาคม 2558 เวลา 08:30 - 12.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    แกนนำโครงการและที่ปรึกษาโครงการเดินสังเกตพื้นที่ติดป้ายคำขวัญรณรงค์ และป้ายทรัพยากรริมคลอง หลังจากนั้นพาเด็กและเยาวชนและประชาชนร่วมกันเดินในชุมชนบ้านหนองบัวเพื่อติดป้ายตามบริเวณจุดต่างๆเพื่อให้คนในชุมชนเห็นด้ง่ายและสามารถอ่านได้สะดวกเพื่อสร้างจิตสำนึกและให้มีความรักต่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยกำหนดเป็นคำขวัญ คำคม เขียนหรือแกะสลักในแผ่นป้ายจำนวน 35 แผ่น ซึ่งทางแกนนำได้แจกให้ผู้เข้าร่วมโครงการ 1 แผ่นต่อสามถึงสี่คนตามความเหมาะสมที่สามารถช่วยกันผูกตามบริเวณนั้นจุดๆโดยมีการติดป้ายทั่วในชุมชนและคลองสายต้นตะเคียน และหลังจากที่เดินติดป้ายให้ทั่วในชุมชนแล้วนั้นมีการพูดคุยหรือร่วมแสดงความคิดเห็นหรือข้อคิดในการทำกิจกรรมติดป้ายคำขวัญรณรงค์ และป้ายทรัพยากรริมคลองลงในแผ่นกระดาษ แล้วร่วมกันแชร์ความคิดเห็นกัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    แกนนำโครงการและที่ปรึกษาโครงการเดินสังเกตพื้นที่ติดป้ายคำขวัญรณรงค์ และป้ายทรัพยากรริมคลอง หลังจากนั้นพาเด็กและเยาวชนและประชาชนร่วมกันเดินในชุมชนบ้านหนองบัวเพื่อติดป้ายตามบริเวณจุดต่างๆเพื่อให้คนในชุมชนเห็นด้ง่ายและสามารถอ่านได้สะดวกเพื่อสร้างจิตสำนึกและให้มีความรักต่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยกำหนดเป็นคำขวัญ คำคม เขียนหรือแกะสลักในแผ่นป้ายจำนวน 35 แผ่น ซึ่งทางแกนนำได้แจกให้ผู้เข้าร่วมโครงการ 1 แผ่นต่อสามถึงสี่คนตามความเหมาะสมที่สามารถช่วยกันผูกตามบริเวณนั้นจุดๆโดยมีการติดป้ายทั่วในชุมชนและคลองสายต้นตะเคียน และหลังจากที่เดินติดป้ายให้ทั่วในชุมชนแล้วนั้นมีการพูดคุยหรือร่วมแสดงความคิดเห็นหรือข้อคิดในการทำกิจกรรมติดป้ายคำขวัญรณรงค์ และป้ายทรัพยากรริมคลองลงในแผ่นกระดาษ แล้วร่วมกันแชร์ความคิดเห็นกัน อย่างสนุกสนานและทุกข้อคิดทุกท่านได้แสดงความคิดเห็นกันอย่างถือว่าเป็นข้อคิดที่ดีมากๆ และได้รับการกล่าวขานจากผู้คนในชุมชนในขณะทำกิจกกรมว่า เป็นกิจกรรมที่ดีมาก กิจกรรมนี้สามารถสร้างแรงกระตุ้นให้คนในชุมชนเกิดการลดขยะในชุมชนโดยการมีการคัดแยกขยะในครัวเรือนมากขึ้นรวมทั้งช่วยสร้างจิตสำนึกของคนในชุมชนจากการอ่านป้ายต่างๆที่ติดตามบริเวณต่างๆ (นายสุรินทร์ บิลสัน อดีตผู้ใหญ่บ้านกล่าว)
    จากการทำกิจกรรมในครั้งนี้ทุกท่านให้ความร่วมมือกันเป้นอย่างดีและสร้างสิ่งสร้างสรรค์ในการทำกิจกรรมอย่างสนุกสนานทุกคนมีรอยยิ้มและมีความสุขในการทำกิจกรรมเพื่อได้มีส่วนร่วมในการทำความดีตอบแทนแผ่นดิน ตอบแทนชุมชน และถือเป็นการสร้างจิตอาสาของเด็กและเยาวชนได้เป็นอย่างดี

     

    60 62

    20. 2. คืนต้นไม้สู่ป่า ปลูกต้นไม้ ครั้งที่ 1

    วันที่ 17 ตุลาคม 2558 เวลา 15:00 - 17.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ทางแกนนำโครงการได้จัดกิจกรรมคืนต้นไม้สู่ป่า ปลูกต้นไม้ ครั้งที่ 1 ขึ้นโดยเปิดงานกิจกรรมโดยประธานกลุ่มเยาวชนรักษ์หนองบัว (นายศักดริน บินหรีม) ได้กล่าวถึงสิ่งสำคัญของชุมชนที่มีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมโดยได้เน้นย้ำให้เด็กและเยาวชนรวมถึงชาวบ้านผู้ใหญ่ช่วยกันฟื้นฟูสภาพคลองโดยวิธีการทุกคนสามารถทำได้ไม่ว่าจะเป็นการร่วมกันดูแลคลองติดตามสภาพคลองเป้นระยะๆ ช่วยกันแก้ปัญหาต้นทาง ร่วมกันสร้างจิตสำนึกที่ดีต่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพราะฑรรมชาติคือชีวิต และอื่นๆอีกมากมาย หลังจากนั้นแกนนำโครงการได้แจกพันธุ์พืชให้ผู้เข้าร่วมโครงการคนละต้น จำนวน 60 ต้น โดยให้ปลูกตามบริเวณขอบๆคลองเป็นระยะที่พอเหมาะสมควรโดยมีหลักเกณฑ์ว่า
    -ให้ทุกคนร่วมกันดูแลต้นไม้ของตนเองที่ปลูกไว้อย่างใกล้ชิด รดน้ำ หรืออื่นๆ

    -แกนนำโครงการจะติดตามดูแล เดือนละครั้ง
    ซึ่งที่ว่าให้ผู้เข้าร่วมดูแลต้นไม้เป็นของตนเองที่ปลูกไว้นั้นอันเป็นการฝึกความรับผิดชอบ และการรู้จักหน้าที่ ของตนเองอีกด้วย รวมถึงเป็นการสร้างขวัญกำลังใจให้เด็กและเยาวชนมีความจงรัก ภักดีต่อธรรมชาติ ไม่ทำลายธรรมชาติ เป็นต้น

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ในการทำกิจกรรมคืนต้นไม้สู่ป่า ครั้งที่ 1 เด็กและคนในชุมชนให้ความร่วมมือกันอย่างเต็มที่ และอย่างดี ในขณะทำกิจกรรมทำให้ทุกคนเกิดจิตสำนึกรักษ์บ้านเกิด และมีขวัญกำลังใจในการอนุรักษ์คลองที่ได้ปลูกต้นไม้ และเป็นการช่วยแก้ปัญหาคลองได้อย่างดี ช่วยให้คลองมีความอุดมสมบูรณ์ คลองมีระบบนิเวศที่สมบูรณ์ อีกทั้งเป็นผลพลอยได้ที่ทำให้เป้นผลผลิตจากการผลิ ดอก ออกผล ของต้นไม้นั้นคนในชุมชนสามารถเก็บเกี่ยวผลนำมารับประทานได้ และสิ่งที่น่าประทับใจ คือ เด็กๆมีความสนุกสนานมากอยากทำกิจกรรมดีๆอย่างดีต่อไป

     

    60 60

    21. คืนปลาสู่คลอง ครั้งที่ 1

    วันที่ 17 ตุลาคม 2558 เวลา 08:00 - 11.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ทางแกนนำโครงการได้จักกิจกรรมคืนปลาสู่คลอง ครั้งที่ 1 ครั้งที่ 1 ขึ้นโดยเปิดงานกิจกรรมโดยนผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 5  (นายสุรเชษ บิลสัน) ได้กล่าวถึง การดูแลคลองที่มีคุณภาพ การทำให้คลองมีความอุดมสมบูรณ์ในระยะยาว แลพให้มีธรรมชาติบริสุทธิ์ปราศจากมลพิษต่างๆตามบริเวณคลอง ให้ได้ให้ความสำคัญของการอนุรักษ์พันธู์พืชและสัตว์ ช่วยกันดูแลเอาใจใส่ต่อสิ่งนี้เหมือนดูแลเอาใจใส่ตัวเอง และอื่นๆ ซึ่งทางแกนนำได้จัดกิจกรรมนี้โดยให้เด็กและเยาวชนตลอดจนถึงชาวบ้านมาร่วมกันปล่อยปลาในคลองสายต้นตะเคียน โดยปล่อยปลาครั้งที่ 1 คือปลานิล ซึ่งเป้นปลาที่สามารถแพร่พันธ์ุได้อย่างรวดเร้วและมีความเหมาะกับการอยู่อาศัยในคลองสายต้นตะเคียน หลังจากที่ได้ปล่อยปลาเสร็จก็ได้ให้ผู้เข้าร่วมมาสรุปสิ่งที่ได้ในการทำกิจกรรมในวันนี้และมีการตกลงกันในการดูแลอนุรักษ์พันธุ์ปลาให้อยู่รอดและไม่ให้สูญพันธ์ุไปโดยแบ่งกลุ่มให้แต่กลุ่มร่วมกันดูแลบริเวณตามคลองเป็นโซนๆ เพื่อสะดวกในการดูแลพันธุ์ปลาอย่างทั่วถึงและมีการติดตามอยู่เรื่อยๆ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผู้เข้าร่วมทุกคนได้ร่วมกันสรุปสิ่งที่ได้จากการทำกิจกรรมในครั้งนี้โดยสรุปประเด็นได้ต่อไปนี้

    1. ทำให้เด็กและเยาวชนเกิดจิตสำนึกในการอนุรักษ์คลองมากยิ่งขึ้น เพราะคลองถือเป็นแหล่งสำคัญของคนในชุมชนที่มีการใช้เป็นแหล่งทำมาหากินหรือใช้เป็นแหล่งเพื่อทำการเกษตร

    2. ทำให้เกิดแรงกระตุ้นไม่ให้คนในชุมชนมีความมมักง่ายในการทิ้งขยะเพิ่มมากขึ้น

    3. สร้างทัศนคติที่ดีต่อธรรมชาติ เพราะ ธรรมชาติ คือ ชีวิต ถ้าธรรมชาติหรือบริเวณคลองนั้นๆไม่มีความบริสุทธิ์ ไม่อุดมสมบูรณ์ก็ทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพของคน

    4. ทุกคนภูมิใจและมีรอยยิ้มในการทำกิจกรรมในครั้งนี้เป้นอย่างมาก

    และผู้เข้าร่วมได้ตกลงกันในการดูแลอนุรักษ์พันธุ์ปลา ดังนี้ 1. ติดป้ายหรือทำเป็นสัญลักษณ์ในการห้ามจับปลาทุกชนิดในบริเวณคลองในช่วงเวลาที่ปลากำลังเป้นตัวอ่อนหรืออยู่ในช่วงแพร่พันธ์ุ

    1. ให้คณะกรรมการหมู่บ้านควบคุนพฤติกรรมของคนในชุมชนอย่างใกล้ชิด

    2. ให้ทุกคนร่วมกันดูแลติดตามอยู่ตลอดเวลา

    3. ให้หน่วยงานทุกฝ่ายให้การสนับสนุนในการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างเต็มที่

    ในการทำกิจกรรมคืนปลาสู่คลอง ครั้งที่ 1 ในครั้งนี้ทุกคนให้ความร่วมมือกันเป้นอย่างดีและเต็มที่ และช่วยกันทำกิจกรรมให้มีความสร้างสรรค์เกิดความสนุกสนานร่าเริงในการทำกิจรรม และได้รับการตอบรับจากสังคมรอบข้างในการทำกิจกรรมแบบนี้ถือเป็นกิจกรรมสำคัญในการอนุรักษ์พันธ์ปลาที่มีคุณภาพ

     

    60 60

    22. 2. คืนต้นไม้สู่ป่า ครั้งที่ 2

    วันที่ 23 ตุลาคม 2558 เวลา 15:00 - 17.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ทางแกนนำโครงการได้จัดกิจกรรมคืนต้นไม้สู่ป่า ปลูกต้นไม้ ครั้งที่ 2 ซึ่งแกนนำโครงการได้แจกพันธุ์พืชให้ผู้เข้าร่วมโครงการคนละต้น จำนวน 60 ต้น โดยให้ปลูกตามบริเวณขอบๆคลองเป็นระยะที่พอเหมาะสมควรโดยมีหลักเกณฑ์ว่า

    -ให้ทุกคนร่วมกันดูแลต้นไม้ของตนเองที่ปลูกไว้อย่างใกล้ชิด รดน้ำ หรืออื่นๆ

    -แกนนำโครงการจะติดตามดูแล เดือนละครั้ง

    ซึ่งที่ว่าให้ผู้เข้าร่วมดูแลต้นไม้เป็นของตนเองที่ปลูกไว้นั้นอันเป็นการฝึกความรับผิดชอบ และการรู้จักหน้าที่ ของตนเองอีกด้วย รวมถึงเป็นการสร้างขวัญกำลังใจให้เด็กและเยาวชนมีความจงรัก ภักดีต่อธรรมชาติ ไม่ทำลายธรรมชาติ เป็นต้น

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ในการทำกิจกรรมคืนต้นไม้สู่ป่า ครั้งที่ 2 เด็กและคนในชุมชนให้ความร่วมมือกันอย่างเต็มที่ และอย่างดี ในขณะทำกิจกรรมทำให้ทุกคนเกิดจิตสำนึกรักษ์บ้านเกิด และมีขวัญกำลังใจในการอนุรักษ์คลองที่ได้ปลูกต้นไม้ และเป็นการช่วยแก้ปัญหาคลองได้อย่างดี ช่วยให้คลองมีความอุดมสมบูรณ์ คลองมีระบบนิเวศที่สมบูรณ์ อีกทั้งเป็นผลพลอยได้ที่ทำให้เป้นผลผลิตจากการผลิ ดอก ออกผล ของต้นไม้นั้นคนในชุมชนสามารถเก็บเกี่ยวผลนำมารับประทานได้ และสิ่งที่น่าประทับใจ คือ เด็กๆมีความสนุกสนานมากอยากทำกิจกรรมดีๆอย่างดีต่อไป

     

    60 60

    23. 1. คืนปลาสู่คลอง ครั้งที่ 2

    วันที่ 24 ตุลาคม 2558 เวลา 15:30 - 18.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ทางแกนนำโครงการได้จักกิจกรรมคืนปลาสู่คลองครั้งที่ 2 ขึ้นโดยเปิดงานกิจกรรมโดยนผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 5(นายสุรเชษ บิลสัน) ได้กล่าวถึง การดูแลคลองที่มีคุณภาพ การทำให้คลองมีความอุดมสมบูรณ์ในระยะยาว แลพให้มีธรรมชาติบริสุทธิ์ปราศจากมลพิษต่างๆตามบริเวณคลอง ให้ได้ให้ความสำคัญของการอนุรักษ์พันธู์พืชและสัตว์ ช่วยกันดูแลเอาใจใส่ต่อสิ่งนี้เหมือนดูแลเอาใจใส่ตัวเอง และอื่นๆ ซึ่งทางแกนนำได้จัดกิจกรรมนี้โดยให้เด็กและเยาวชนตลอดจนถึงชาวบ้านมาร่วมกันปล่อยปลาในคลองสายต้นตะเคียน โดยปล่อยปลาครั้งที่ 2 คือปลานิล ซึ่งเป้นปลาที่สามารถแพร่พันธ์ุได้อย่างรวดเร้วและมีความเหมาะกับการอยู่อาศัยในคลองสายต้นตะเคียน หลังจากที่ได้ปล่อยปลาเสร็จก็ได้ให้ผู้เข้าร่วมมาสรุปสิ่งที่ได้ในการทำกิจกรรมในวันนี้และมีการตกลงกันในการดูแลอนุรักษ์พันธุ์ปลาให้อยู่รอดและไม่ให้สูญพันธ์ุไปโดยแบ่งกลุ่มให้แต่กลุ่มร่วมกันดูแลบริเวณตามคลองเป็นโซนๆ เพื่อสะดวกในการดูแลพันธุ์ปลาอย่างทั่วถึงและมีการติดตามอยู่เรื่อยๆ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผู้เข้าร่วมทุกคนได้ร่วมกันสรุปสิ่งที่ได้จากการทำกิจกรรมในครั้งนี้โดยสรุปประเด็นได้ต่อไปนี้

    1. ทำให้เด็กและเยาวชนเกิดจิตสำนึกในการอนุรักษ์คลองมากยิ่งขึ้น เพราะคลองถือเป็นแหล่งสำคัญของคนในชุมชนที่มีการใช้เป็นแหล่งทำมาหากินหรือใช้เป็นแหล่งเพื่อทำการเกษตร

    2. ทำให้เกิดแรงกระตุ้นไม่ให้คนในชุมชนมีความมมักง่ายในการทิ้งขยะเพิ่มมากขึ้น

    3. สร้างทัศนคติที่ดีต่อธรรมชาติ เพราะ ธรรมชาติ คือ ชีวิต ถ้าธรรมชาติหรือบริเวณคลองนั้นๆไม่มีความบริสุทธิ์ ไม่อุดมสมบูรณ์ก็ทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพของคน

    4. ทุกคนภูมิใจและมีรอยยิ้มในการทำกิจกรรมในครั้งนี้เป้นอย่างมาก

    และผู้เข้าร่วมได้ตกลงกันในการดูแลอนุรักษ์พันธุ์ปลา ดังนี้ 1. ติดป้ายหรือทำเป็นสัญลักษณ์ในการห้ามจับปลาทุกชนิดในบริเวณคลองในช่วงเวลาที่ปลากำลังเป้นตัวอ่อนหรืออยู่ในช่วงแพร่พันธ์ุ

    1. ให้คณะกรรมการหมู่บ้านควบคุนพฤติกรรมของคนในชุมชนอย่างใกล้ชิด

    2. ให้ทุกคนร่วมกันดูแลติดตามอยู่ตลอดเวลา

    3. ให้หน่วยงานทุกฝ่ายให้การสนับสนุนในการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างเต็มที่

    ในการทำกิจกรรมคืนปลาสู่คลอง ครั้งที่ 1 ในครั้งนี้ทุกคนให้ความร่วมมือกันเป้นอย่างดีและเต็มที่ และช่วยกันทำกิจกรรมให้มีความสร้างสรรค์เกิดความสนุกสนานร่าเริงในการทำกิจรรม และได้รับการตอบรับจากสังคมรอบข้างในการทำกิจกรรมแบบนี้ถือเป็นกิจกรรมสำคัญในการอนุรักษ์พันธ์ปลาที่มีคุณภาพ

     

    60 60

    24. ติดตามการอนุรักษ์คลอง

    วันที่ 28 พฤศจิกายน 2558 เวลา 16:00 - 17:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    สำรวจทรัพยากรรอบๆคลอง ไม่ว่าจะเป็นระบบนิเวศในคลอง รอบๆคลอง และสภาพน้ำ และ ตรวจซ่อมแซมต้นไม้ที่ปลูก ตลอดแนวของคลองสายต้นตะเคียนในชุมชนบ้านหนองบัว

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ทรัพยากรในคลองมีความอุดมสมบูรณ์ขึ้น ไม่ว่าจะเป็นวัชพืช หรือสิ่งที่อยู่รอบๆคลองมีสีเขียวขจีและยังเห็นว่าปลาในคลองมีการเติบโตเร็วมาก อันส่งผลให้เห็นถึงความสมบูรณ์และสะอาดของน้ำในคลอง และต้นไม้ที่ปลูกแล้วที่ไม่รอดก็มีไม่กี่ต้น ทางแกนนำโครงการได้ซ่อมแซมปลูกทดแทนเป็นที่เรียบร้อย ซึ่งการติดตามการอนุรักษ์คลองในครั้งนี้ได้เป็นไปตามเป้าหมายและได้ผลสรุปในการตรวจสอบคลองได้ชัดเจนมาก และจะมีการติดตามผลในวันเวลาถัดไปเป็นระยะๆ

     

    60 7

    25. ทำแผนที่เส้นทางขยะ

    วันที่ 14 ธันวาคม 2558 เวลา 13:00 - 16:00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ทางแกนนำโครงการได้ชี้แจงเกี่ยวกับขั้นตอนการทำแผนที่ขยะในชุมชน (นายศักดริน บินหรีม ผู้ดำเนินโครงการ)จากการที่ได้เดินสำรวจมาก่อนหน้านี้และได้สรุปการมาขยะหรือจุดเริ่มต้นของขยะจากแหล่งต่างๆ เช่น มาจากคูหน้าบ้าน มาจากพฤติกรรมของเด็ก และมาจากธรรมชาติที่พัดพาขยะลงในคู ซึ่งทางแกนนำได้เล็งเห็นถึงจุดหลักๆขยะในชุมชน นั่นคือ จากคูหน้าบ้านของชาวบ้านในชุมชน โดยมีการแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5-6 คน โดยให้แต่ละคนร่วมกันวาดแผนที่ขยะในรูปลักษณะเป็นเส้นทางการเดินมาของขยะจากคูหน้าบ้าน และหลังจากนั้นให้แต่ละกลุ่มได้เสนอผลงานของแต่ละกลุ่มเพื่อที่จะนำเป็นข้อสรุปแผนที่อีกต่อไป และได้แผนที่ที่มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จากการเดินทางสำรวจมาก่อนหน้านี้ พบว่าเส้นทางขยะของขยะในชุมชนมีทั้งหมด 4 จุด ซึ่งแต่ละจุดนั้นเป็นต้นเหตุที่ทำให้คลองเกิดปัญหา และทำให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้รู้ถึงเส้นทางการมาของขยะได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้นและผู้เข้าร่วมทุกคนสามารถนความรู้หรือสิ่งต่างๆที่ได้จากกิจกรรมนี้ไปแก้ปัญหาขยะในชุมชนได้ตรงจุดมากยิ่งขึ้น และผู้เข้าร่วมทุกกลุ่มได้เสนอจากการที่ได้ช่วยกันทำแผนที่ขยะได้อย่างชัดเจนและเห็นภาพชัดมากยิ่งขึ้นโดยการชี้ถึงจุดสำคัญๆของขยะที่ลงสู่คลอง  และสิ่งที่น่าประทับใจทุกคนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี และได้สะท้อนสิ่งที่ได้รับจากเข้าร่วมกิจกรรมนี้ได้อย่างชัดเจนและมีผลต่อการพัฒนาคลองในชุมชนในเวลาต่อไป

     

    60 60

    26. ธนาคารความดี (ธนาคารขยะ)

    วันที่ 23 มกราคม 2559 เวลา 09:00 - 16.30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ทางผู้ดำเนินโครงการได้จัดกิจกรรมจัดตั้งธนาคารความดี(ธนาคารขยะ) ซึ่งมีการจัดขึ้นในวันที่ 23 มกราคม เวลา 09.00-16.30 น. โดยมีน้องๆเด็กและเยาวชน แกนนำโครงการรวมถึงนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา ได้ร่วมกันพัฒนาจัดภูมิทัศน์ศูนย์ทำการรับซื้อขยะแลกเป็นสิ่งของภายในชุมชนบ้านหนองบัว โดยแบ่ง 2 ช่วง คือภาคเช้าและภาคบ่าย ดังนี้

    -ภาคเช้า เวลา 09.00-11.00 น. จะเป็นการทำความสะอาดรอบๆศูนย์ธนาคารความดี (ธนาคารขยะ) หรือดัดแปลงสถานที่ให้อยู่เป็นที่เป็นทางให้เรียบร้อย โดยให้เด็กๆและเยาวชนในชุมชนทำร่วมกัน คือ ร่วมกันถางหญ้า ตัดกิ่งไม้ที่พาดพิงหรือไต่ตามผนัง ปลูกต้นไม้ประดับริเวณด้านหน้าและด้านข้าง กวาดขยะ เก็บขยะแล้วจัดเป็นประเภทขยะต่างๆ

    -ภาคบ่าย เวลา 13.30-16.30 น. จะเป็นการทาสีฝาผนังตกแต่งภายในและภายนอกศูนย์ธนาคารความดี (ธนาคารขยะ) โดยให้เยาวชน แกนนำโครงการ และนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลาร่วมทาสีศูนย์ดังกล่าวร่วมกัน เพื่อตกแต่งให้สวยงาม เพื่อใช้เป็นสถานที่ในการรับซื้อขยะภายในชุมชนและทำกิจกรรมต่างๆของเด็กๆ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เกิดศูนย์ธนาคารความดี(ธนาคารขยะ)ทุกคนให้ความร่วมมือและมีรอยยิ้มในการทำกิจกรรม สนุกสนาน ทำด้วยความเต็มที่เต็มใจ ทำให้ภูมิทัศน์ของศูนย์ธนาคารความดี (ธนาคารขยะ) สวยงาม เกิดเป็นที่ทำการรับซื้อขยะภายในชุมชน ซึ่งได้รับการกล่าวขานจากชาวบ้านว่าเป็นกิจกรรมที่ดี สร้างคุณค่า สร้างสิ่งที่ดีให้กับชุมชน ถือเป็นตัวผลักดันให้คนในชุมชนมองเห็นคุณค่าของขยะมากขึ้นโดยทางผู้จัดทำโครงการได้จัดตั้งศูนย์ฯนี้เป็นศูนย์ที่รับซื้อขยะในชุมชน สามารถสร้างรายได้อีกทางหนึ่งโดยเริ่มจากสิ่งเล็กกลายเป็นสิ่งใหญ่ของตนเองเห็นคุณค่าของเงินตรา อีกทั้งเป็นการช่วยลดขยะในชุมชนได้อีกด้วย ลดมลพิษในชุมชน ลดพฤติกรรมที่ไม่เห็นค่าของขยะ เนื่องด้วยคนในชุมชนมีแรงผลักดันหรือตัวกระตุ้นในการแยกขยะในครัวเรือนเพื่อที่นำไปแลกเปลี่ยนเป็นสิ่งของไม่ว่าจะเป็นสิ่งของเครื่องใช้ อุปกรณ์ต่างๆ หรือเมล็ดพันธ์ุพืช ที่ศูนย์ดังกล่าว
    กิจกรรมนี้ขอการสนับสนุนจากองค์กรภายนอก เช่น องค์การบริหารส่วนตำบลท่าข้ามซึ่งขอสนับสนุนอุปกรณ์ทาสีบ้าน(ศูนย์ฯ) และได้รับสนับสนุนเรื่องอาหารการกิน และอื่นๆจากคณะกรรมการหมู่บ้านหนองบัวรวมถึงผู้หลักผู้ใหญ่ใจดีในหลายๆท่าน

     

    60 62

    27. กิจกรรมขยะแลกพันธุ์ผัก

    วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 13:00 - 16:00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    แกนนำโครงการและทีมงานเยาวชนในชุมชนได้ประชาสัมพันธ์ให้ชาวบ้านในชุมชนบ้านหนองบัวนำขยะที่คัดเลือกในครัวเรือนแล้ว โดยนำมาแลกเป็นสิ่งของ ที่ศูนย์ธนาคารขยะ (ธนาคารความดี) ที่ทางแกนนำการจัดตั้งขึ้นเมื่อกิจกรรมที่ผ่านมา  โดยจะมีการรับซื้อในวันเสาร์ ที่ 13 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 13.00 - 16.00 น. ซึ่งสิ่งของที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนนั้นคือ อุปกรณ์ใช้ในบ้าน เช่น จาน แก้วน้ำ และน้ำยาล้างจาน โดยมีอัตราการแลกเปลี่ยนเป็นไปตามการกำหนดของทางผู้ดำเนินโครงการซึ่งจะให้มีความเหมาะสมกับขยะที่นำมาแลก  โดยมีอัตราการแลกเปลี่ยน ดังนี้

    1. ขวดพลาสติดใส จำนวน 2 กิโลกรัมต่อจาน/แก้วน้ำหนึ่งลูก และขวดพลาสติกขุ่น จำนวน 3 กิโลกรัมต่อจาน/แก้วน้ำหนึ่งลูก

    2.ถุงพลาสติก จำนวน 200 ถุงต่อน้ำยาล้างจาน 1 ขวด

    3.โลหะ จำนวน 1 กิโลกรัมต่อจาน/แก้วน้ำหนึ่งลูก

    4.อลูมิเนียม จำนวน 0.5 กิโลกรัมต่อจานหนึ่งลูกหรือแก้วน้ำสองลูก

    5.กระดาษธรรมดา จำนวน 7 กิโลกรัมต่อจาน/แก้วน้ำหนึ่งลูก  และกระดาษลัง จำนวน 5 กิโลกรัมต่อจาน/แก้วน้ำหนึ่งลูก

    ซึ่งทางผู้ดำเนินการโครงการจากที่ได้ตกลงกันซึ่งจะมีการรับซื้อขยะแลกเปลี่ยนเป็นสิ่งของสองเดือนละครั้ง โดยจะมีการประชาสัมพันธ์ก่อนวันรับซื้อขยะ 2 วัน และมีการรับซื้ออย่างนี้ต่อไป ซึ่งจะมีการจดบันทึกทุกครั้งในการรับซื้อขยะในทุกๆสองเดือน และจะมีการสรุปผลเมื่อครบรอบ 1 ปี 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จากการทำกิจกรรมนี้ส่งผลเห็นได้ว่าคนในชุมชนเห็นความสำคัญของขยะมากยิ่งขึ้นและให้ความสำคัญตระหนักถึงการคัดแยกขยะในครัวเรือนทำให้พฤติกรรมของคนในชุมชนรวมทั้งเด็กๆเปลี่ยนไปจากเดิมที่ไม่ค่อยให้ความสนใจกับขยะ และในการจัดกิจกรรมในครั้งนี้คนในชุมชนให้ความร่วมมือกันเป็นอย่างดีนำขยะที่สามารถขายได้ไม่ว่าจะเป็นพวกกระดาษ พลาสติก อลูมิเนียม เหล็ก/โลหะ รวมทั้งถุงพลาสติก มากันอย่างล้มหลาม จึงปรากฎว่าได้ขยะเป็นจำนวนมาก อันทำให้เกิดจิตสำนึกและสนุกสนานในการทำกิจกรรม และทางผู้ดำเนินโครงการได้เห็นแนวทางหรือกลวิธีที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้นในการสร้างแรงจูงใจให้คนในชุมชนลดขยะในครัวเรือน สร้างรายได้ให้กับตนเอง/ครอบครัวเป็นส่วนหนึ่ง อีกทั้งยังช่วยให้แกนนำได้เรียนรู้กระบวนการทำงาน ทักษะในการทำงานร่วมกันเป็นทีมและกิจกรรมนี้สามารถสร้างความรับผิดชอบต่อหน้าที่ทั้งคนในชุมชนและแกนนำ สร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ซึ่งจะมีการรับซื้อขยะแลกเป็นสิ่งของในทุกๆสองเดือน จะมีการสรุปผลเมื่อครบรอบ 1 ปี

     

    60 60

    28. กิจกรรมหนองบัวปลอดถังขยะ

    วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00 - 11.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ผู้ใหญ่บ้าน (นายสุรเชษ บิลสัน) กล่าวเปิดกิจกรรมหนองบัวปลอดถังขยะ โดยได้เชิญนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้ให้ความรู้เรื่องการจัดการตนเองในด้านสิ่งแวดล้อม โดยทางคณะกรรมการหมู่บ้านได้เล็งเห็นการจัดการขยะด้วยตัวเองเป็นสำคัญซึ่งถือว่าเป็นเรื่องไม่ยากยิ่งนักที่ให้คนในชุมชนรู้จักการกำจัดขยะในครัวเรือนซึ่งได้จัดกิจกรรมนี้ขึ้นในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 09:00 - 11:00 น.  ณ มัสยิดบ้านหนองบัว ซึ่งทางคณะกรรมการหมู่บ้านและทางผู้ดำเนินโครงการให้ชี้แจงเส้นทางขยะขยะนั้นมาจากที่ใดบ้าง ที่สำคัญอะไรที่เป็นสิ่งทำให้เกิดขยะในชุมชน และเกี่ยวกับเรื่องชุมชนปลอดถังขยะนั้นเป็นอย่างไร โดยได้นำแนวคิดจากโครงการของตำบลท่าข้าม ในโครงการ "มิติใหม่ ท่าข้ามไร้ถังขยะ" หลังจากนั้นให้นักศึกษาพยาบาลทำกิจกรรมให้กับผู้เข้าร่วมในครั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นให้ความรู้เรื่องขยะ การรู้จักขยะอย่างแท้จริงที่สามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ได้อีก และอื่นๆ และช่วงท้ายมีการระดมความคิดให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้เสนอแนวทางการพัฒนาชุมชนที่ทำให้ชุมชนของเราไม่มีขยะหรือไม่มีถังขยะหน้าบ้านโดยให้จัดการขยะด้วยตนเองในครัวเรือนต่อไปอย่างถูกต้องและยั่งยืน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผู้เข้าร่วมได้รู้ถึงสถานการณ์ขยะปัจจุบันและแหล่งที่มาของขยะที่ได้อย่างถูกต้อง และได้แนวคิดที่จะนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันในด้านสิ่งแวดล้อม อีกทั้งได้ร่วมมือกันเห็นด้วยที่ให้ชุมชนบ้านหนองบัวปลอดถังขยะจากการเล็งเห็นความสำคัญของการกำจัดขยะด้วยตนเองในครัวเรือนเพื่อเป็นประโยชน์ต่อชุมชนและคลองสายต้นตะเคียนและผู้เข้าร่วมโครงการได้นำความรู้ต่างๆจากการจัดกิจกรรมอื่นๆก่อนหน้านี้มาใช้ในกิจกรรมย่อยในกิจกรรมครั้งนี้ได้ซึ่งยือว่าได้ใช้ความรู้ได้อย่างต่อเนื่องและให้ความสำคัญในการจัดการขยะมากยิ่งขึ้น และช่วยผู้ดำเนินโครงการได้มีทักษาะการทำงานได้ดี ทักษะการวางแผนงานได้มีความกระชับมากยิ่งขึ้น ได้ประสบการณ์และความรู้มากมาย 

     

    100 105

    29. เวทีถอดบทเรียนการทำงาน

    วันที่ 28 เมษายน 2559 เวลา 19.00 - 20.30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ผู้ใหญ่บ้าน (นายสุรเชษ บิลสัน) พบปะผู้เข้าร่วมและพูดคุยประเด็นในเรื่องการทำโครงการในการจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่องของโครงการนี้ ถือเป็นกิจกรรมที่ดีในการปลูกฝังจิตใต้สำนึกเด็กให้อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้นพร้อมทั้งสร้างจิตใจให้รักษ์บ้านเกิดมากยิ่งขึ้นอีกด้วยและอื่นๆ หลังจากนั้นแกนนำเยาวชนได้แบ่งกลุ่มผู้เข้าร่วมออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ โดยให้เด็กๆร่วมกับประชาชนช่วยกันสะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงก่อนทำโครงการและเทียบกับหลังทำโครงการ และรับข้อเสนอแนะจากประชาชนในหลายๆประเด็นที่เห็นควรให้มีกิจกรรมดีๆอย่างนี้ต่อไปและเห็นควรบางประเด็นหรือบางกิจกรรมที่ต้องมีการปรับปรุงกันต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผู้เข้าร่วมได้สะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงออกเป็นสองหัวข้อใหญ่คือ การเปลี่ยนแปลงก่อน-หลังทำโครงการในระดับชุมชน และในระดับตัวเอง โดยภาพรวมในระดับชุมชน คือ ชุมชนมีความสะอาดมากยิ่งขึ้น ระบบนิเวศคลอเกิดความสมบูรณ์และทรัพยากรในคลองเริ่มมีเยอะขึ้น อีกทั้งคนในชุมชนรู้จักการคัดแยกขยะในครัวเรือน ให้ความสำคัญกับเรื่องขยะมากและเห็นมาปลูกผักกินเองในการช่วยให้สุขภาพดีขึ้น
    โดยภาพรวมในระดับตัวเอง คือ ทำให้ตนเองมีความรับผิดชอบ มีจิตใรักสิ่งแวดล้อมในชุมชน รักษ์บ้านเกิด ช่วยใจกันรักษาคลองสายต้นตะเคียนพร้อมทั้งได้สร้างพัฒนาทักษะการทำงานเป็นทีมและการทำกิจกรรมต่างๆได้ฝึกหรือพัฒนาตัวเองให้มีความกล้าแสดงออกมากยิ่งขึ้น
    ซึ่งในการกิจกรรมในครั้งนี้ผู้เข้าร่วมให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีและผู้นำองค์กร ผู้นำชุมชนที่ร่วมกันแนะนำสิ่งดีๆของโครงการนี้และเป็นที่น่าชื่นชนของคนในชุมชนที่มีกิจกรรมดีๆที่พัฒนาให้คนในชุมชนหันมาเห็นความสำคัญของขยะและอนุรักษ์คลองในชุมชนของตัวเอง

     

    100 98

    30. จัดงานนิทรรศการเสนอผลงานของโครงการต่อ อบต.ท่าข้าม

    วันที่ 28 เมษายน 2559 เวลา 21.00 - 22.30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    แกนนำโครงการได้เสนอผลงานการจัดกิจกรรมโครงการตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ให้ผู้เข้าร่วมได้รับฟังและรับฟังความคิดเห็นจากผู้เข้าร่วมเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาโครงการต่อไปอย่างยั่งยืน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เด็กและเยาวชนปละประชาชนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีในการเข้าร่วมในกิจกรรมในครั้งนี้ซึ่งเป็นผลประโยชน์และส่งนำความรู้มาแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน ได้ข้อเสนอแนะจากผู้หลักผู้ใหญ่ในหลายๆประเด็นและได้คำชื่นชมของการทำงานของทีมงานในการทำงานในสิ่งดีๆเพื่อชุมชน และสังคม และกิจกรรมผ่านไปได้ด้วยดีตาม

     

    200 186

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

     

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 เพื่อให้มีสภาผู้นำชุมชนที่เข้มแข็ง โดยทำหน้าที่เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อน ติดตามและประเมินผลโครงการและมีการประชุมอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง
    ตัวชี้วัด : เชิงปริมาณ 1. เกิดสภาผู้นำชุมชน จำนวน 20 คน ที่ขับเคลื่อนงานชุมชน 2. ติดตามและประเมินผลโครงการและมีการประชุมอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง เชิงคุณภาพ 1. สภาผู้นำชุมชนสามารถดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่อง 2. สภาผู้นำชุมชนสามารถทำงานเป็นทีมและมีส่วนร่วม

    ทำให้เกิดสภาผู้นำชุมชน จำนวน 20 คนเพื่อเป็นการขับเคลื่อนและติดตามดูแล ประเมินผลของคลองอยู่เสมอ และได้ข้อสรุปในแต่ละเดือนละครั้ง บางทีอาจสองเดือนครั้งแล้วแต่สถานการณ์ อีกทั้งสภาผู้นำชุมชนทำงานได้อย่างต่อเนื่องและร่วมกันทำงานให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี

    2 เพื่อให้เยาวชนและคนในชุมชนร่วมกันอนุรักษ์คลองสายต้นตะเคียน
    ตัวชี้วัด : เชิงปริมาณ 1 เกิดกลุ่มอนุรักษ์คลองสายต้นตะเคียน จำนวน 1 กลุ่ม 2 ร้อยละ 60 ของคนในชุมชนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์คลองสายต้นตะเคียน 3 ทรัพยากรในคลองเพิ่มขึ้น ได้แก่ ปลา อย่างน้อย 10,000 ตัว 4 เกิดกติกาชุมชนในการจัดการคลองสายต้นตะเคียน เชิงคุณภาพ 1 เกิดการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนในการช่วยกันดูแลรักษา อนุรักษ์คลองสายต้นตะเคียนให้สามารถกลับมาใช้ประโยชน์ได้ 2 ทรัพยากรธรรมชาติในคลองเพิ่มขึ้น พันธุ์ปลาเพิ่มขึ้น

    เกิดกลุ่มอนุรักษ์คลองสายต้นตะเคียน 1 กลุ่มซึ่งมีหน้าที่ในการติดตามดูสภาพแวดล้อมของคลอง และประสานคนในชุมชนให้มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์คลอง อีกทั้งส่งเสริมให้เกิดระบบทรัพยากรนิเวศให้ดีขึ้น
    ปลามีจำนวนมากขึ้น และมีกฎกตกาชุมชนในการจัดการคลองสายต้นตะเคียนโดยทำเป็นไวนิลและติดตามในชุมชน

    3 เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมเยาวชนและคนในชุมชนในการจัดการปัญหาขยะ
    ตัวชี้วัด : เชิงปริมาณ 1 เกิดธนาคารความดี (ธนาคารขยะ) 1 แห่ง 2 ครัวเรือนสามารถจัดการปัญหาขยะ ทำให้ขยะในครัวเรือนลดลง อย่างน้อย 20 ครัวเรือน 3 สามารถลดปริมาณขยะ โดยการแปลงขยะเป็นปุ๋ยเพื่อใช้ในการปลูกผักบริโภคในครัวเรือนได้ (*เพิ่มเติม) อย่างน้อยร้อยละ 50 ของครัวเรือนที่มีอยู่ในชุมชน เชิงคุณภาพ 1 สามารถจัดการปัญหาขยะในชุมชน โดยการทำให้มีการแปลงขยะเป็นทุน 2 ปัญหาขยะลดน้อยลง 3 ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานด้านการจัดการขยะของ อบต. ลดลง

    เกิดธนาคารขึ้นในชุมชนซึ่งเป็นสถานที่ในการรับแลกขยะเป็นพันธุ์พืชหรือสิ่งของ และคนในชุมชนรู้จักการคักแยกขยะได้อย่างถูกวิธีในการคัดแยกขยะในครัวเรือนได้มากขึ้น รวมถึงมีความรู้ในการจัดการขยะในแต่ละประเภทได้อย่างถูกวิธี เพื่อนำไปแลกเปลี่ยนฯที่ศูนย์ดังกล่าว ทำให้สร้างรายรับให้ตนเองได้อีกด้วย


    ขยะในชุมชนเริ่มน้อยลง คนในชุมชนสนใจและตระหนักในเรื่องขยะกันมากขึ้น

    4 เพื่อติดตามและสนับสนุนโครงการ
    ตัวชี้วัด : 1.รายงานผลการดำเนินงานโครงการ 2.รายงานการเงิน

    ตัวรายงายผลการดำเนินงานโครงการ และเอกสารการเงิน

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้มีสภาผู้นำชุมชนที่เข้มแข็ง โดยทำหน้าที่เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อน ติดตามและประเมินผลโครงการและมีการประชุมอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง (2) เพื่อให้เยาวชนและคนในชุมชนร่วมกันอนุรักษ์คลองสายต้นตะเคียน (3) เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมเยาวชนและคนในชุมชนในการจัดการปัญหาขยะ (4) เพื่อติดตามและสนับสนุนโครงการ

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    ส่วนที่ 3 ประเมินคุณค่าโครงการ

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ

    ชื่อโครงการ สร้างคลอง สร้างฅน สร้างสุขภาวะชุมชนฅนหนองบัว

    รหัสโครงการ 57-02564 รหัสสัญญา 58-00-0130 ระยะเวลาโครงการ 20 ตุลาคม 2557 - 20 พฤศจิกายน 2558

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นการคุณค่าที่เกิดจากโครงการในมิติต่อไปนี้

    • ความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพและนวัตกรรมเชิงระบบสุขภาพชุมชน
    • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีผลต่อสุขภาวะ
    • การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ
    • ผลกระทบเชิงบวกและนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาวะชุมชน
    • กระบวนการชุมชน
    • มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่

    1. เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้ใหม่ / องค์ความรู้ใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สิ่งประดิษฐ์ / ผลผลิตใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. กระบวนการใหม่

    การพัฒนากลุ่มเด็ก/เยาวชนให้เข้ามามีส่วนร่วมในการดูแล อนุรักษ์คลอง

    บันทึกออนไลน์และภาพถ่ายกิจกรรม

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. วิธีการทำงาน / การจัดการใหม่

    เด็กเยาวชนแต่ละคน ปลูกต้นไม้และดูแลต้นไม้ที่ตัวเองปลูกให้เติบโต

    บันทึกออนไลน์ ภาพถ่ายกิจกรรม และต้นไม้ริมคลอง

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การเกิดกลุ่ม / โครงสร้างในชุมชนใหม่

    กรรมการที่ดูแลด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีเยาวชนร่วมอยู่ด้วย

    บันทึกการประชุม

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. แหล่งเรียนรู้ใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    99. อื่นๆ

     

     

     

    2. เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล

    การคัดแยกขยะภายในครัวเรือน

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การบริโภค

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การออกกำลังกาย

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. การลด ละ เลิก อบายมุข เช่น การพนัน เหล้า บุหรี่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การลดพฤติกรรมเสี่ยง เช่น พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การขับรถโดยประมาท

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. การจัดการอารมณ์ / ความเครียด

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. การดำรงชีวิต / วิถีชีวิต เช่น การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น / สมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเอง

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    8. พฤติกรรมการจัดการตนเอง ครอบครัว ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    9. อื่นๆ

     

     

     

    3. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. กายภาพ เช่น มีการจัดการขยะ ป่า น้ำ การใช้สารเคมีเกษตร และการสร้างสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนที่ถูกสุขลักษณะ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สังคม เช่น มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ลดการเกิดอุบัติเหตุ ครอบครัวอบอุ่น การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อเด็ก เยาวชน และกลุ่มวัยต่าง ๆ มีพื้นที่สาธารณะ/พื้นที่ทางสังคม เพื่อเอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชน มีการใช้ศาสนา/วัฒนธรรมเป็นฐานการพัฒนา

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. เศรษฐกิจสร้างสรรค์สังคม /สร้างอาชีพ / เพิ่มรายได้

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการบริการสุขภาพทางเลือก และมีช่องทางการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. อื่นๆ

     

     

     

    4. การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. มีกฎ / กติกา ของกลุ่ม ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. มีมาตรการทางสังคมของกลุ่ม ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. มีธรรมนูญของชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. อื่นๆ เช่น ออกเป็นข้อบัญญัติท้องถิ่น ฯลฯ

     

     

     

    5. เกิดกระบวนการชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. เกิดการเชื่อมโยงประสานงานระหว่างกลุ่ม / เครือข่าย (ใน และหรือนอกชุมชน)

    มีการทำงานร่วมกันระหว่างเด็กเยาวชนกับทีมผู้ใหญ่ และมีการเชื่อมโยงกับนักศึกษา

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเรียนรู้การแก้ปัญหาชุมชน (การประเมินปัญหา การวางแผน การปฏิบัติการ และการประเมิน)

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ประโยชน์จากทุนในชุมชน เช่น การระดมทุน การใช้ทรัพยากรบุคคลในชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกลุ่มและชุมชนที่เกิดจากโครงการอย่างต่อเนื่อง

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. เกิดกระบวนการจัดการความรู้ในชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. เกิดทักษะในการจัดการโครงการ เช่น การใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ การทำแผนปฏิบัติการ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. อื่นๆ

     

     

     

    6. มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเอง / กลุ่ม / ชุมชน

    เด็กเยาวชนเกิดความรู้สึกผูกพันธ์กับชุมชนบ้านเกิด และภฺมิใจในตัวเองที่มีส่วนในการพัฒนาหมู่บ้าน

    เยาวชน

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเห็นประโยชน์ส่วนรวมและส่วนตนอย่างสมดุล

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย และพอเพียง

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. ชุมชนมีความเอื้ออาทร

    จากการทำกิจกรรมด้วยกันบ่อยมากขึ้น ทำให้เกิดบรรยากาศที่เอื้ออาทร

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. มีการตัดสินใจโดยใช้ฐานปัญญา

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. อื่นๆ

     

     

     

    สร้างคลอง สร้างฅน สร้างสุขภาวะชุมชนฅนหนองบัว จังหวัด สงขลา

    รหัสโครงการ 57-02564

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นายอับดนหร้อซักฮ์ จันทการักษ์ )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด