แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


“ รักษ์สุขภาพ รักษ์สิ่งแวดล้อม ที่บ้านเขากอย ”

บ้านเขากอย หมู่ที่ 3 ตำบลเขาพระทอง อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช

หัวหน้าโครงการ
นายสุวัฒน์ ชูเกิด

ชื่อโครงการ รักษ์สุขภาพ รักษ์สิ่งแวดล้อม ที่บ้านเขากอย

ที่อยู่ บ้านเขากอย หมู่ที่ 3 ตำบลเขาพระทอง อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัด นครศรีธรรมราช

รหัสโครงการ 57-02581 เลขที่ข้อตกลง 58-00-0081

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 20 ตุลาคม 2557 ถึง 20 พฤศจิกายน 2558


กิตติกรรมประกาศ

"รักษ์สุขภาพ รักษ์สิ่งแวดล้อม ที่บ้านเขากอย จังหวัดนครศรีธรรมราช" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน บ้านเขากอย หมู่ที่ 3 ตำบลเขาพระทอง อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
รักษ์สุขภาพ รักษ์สิ่งแวดล้อม ที่บ้านเขากอย



บทคัดย่อ

โครงการ " รักษ์สุขภาพ รักษ์สิ่งแวดล้อม ที่บ้านเขากอย " ดำเนินการในพื้นที่ บ้านเขากอย หมู่ที่ 3 ตำบลเขาพระทอง อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช รหัสโครงการ 57-02581 ระยะเวลาการดำเนินงาน 20 ตุลาคม 2557 - 20 พฤศจิกายน 2558 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 132,950.00 บาท จาก เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 150 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

 

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ของคนในชุมชนให้เห็นความสำคัญเกิดความตระหนักในผลกระทบต่อแม่น้ำลำคลอง
  2. เพื่อหนุนเสริมให้คนในชุมชนสำนึกถึงการใช้วิถีชีวิตแบบเดิมในอดีตโดยมีกลุ่มเด็กและเยาวชนเป็นกลุ่มเป้าหมายที่ต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการ
  3. เพื่อฟื้นฟูกลไกในการจัดการและบริหารทรัพยากรธรรมชาติรวมถึงมีการคิดค้นกิจกรรมจากบรรพบุรุษที่ใช้ชีวิตประจำวันในอดีตกลับมาศึกษา
  4. การติดตามประเมินผล

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

     


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. อบรมโครงการร่วมสร้างชุมชนและท้องถิ่นให้น่าอยู่ ปี2557 รอบที่ 2

    วันที่ 29 พฤศจิกายน 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ลงทะเบียน เข้าร่วมการประชุมปฐมนิเทศผู้รับผิดชอบโครงการ ร่วมสร้างชุมชน และท้องถิ่นน่าอยู่ ปี 2557 รอบ 2 วันที่ 29-30 พ.ย. 2557 ณ สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ รับฟังข้อชี้แจง กระบวนการและระบบติดตามประเมินผล
    -การจัดทำรายงานโครงการและรายงานการเงิน -วางแผนการดำเนินงานและป้อนแผนการดำเนินงาน ในปฏิทินโครงการ การรายงานผลการจัดกิจกรรม และรายจ่ายในกิจกรรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้ลงมือกรอกรายละเอียดโครงการทางเวบไซด์  ทำปฏทินกิจกรรมโครงการ ทำรายงานโครงการได้ และเสร็จทันตามเวลาที่กำหนด ได้รู้แผนงานการทำกิจกรรมตลอดโครงการ มีความเข้าใจ ในการจัดทำรายงาน ทุกขั้นตอน ได้เข้าใจถึงกระบวนการติตดามหนุนเสริมของพี่เลี้ยงจังหวัด และ สจรส. ได้เข้าใจรายงานผ่านเวบไซด์โครงการคนใต้สรา้งสุข การเก็บเอกสาร หลักฐานทางการเงิน

     

    2 2

    2. ประชุมสภาผู้นำชุมชนคณะทำงานโครงการเพื่อทำความเข้าใจโครงการฯและแบ่งบทบาทหน้าที่

    วันที่ 7 ธันวาคม 2557 เวลา 10.00 - 12.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เวลานัดหมาย 09.00 น. เริ่มตั้งคุยการประขุมเวลา 09.15 น.ของวันที่ 7 ธันวาคม 2557 ณ หอประชุมหมู่บ้าน หมู่ที่ 3 บ้านเขากอย นำโดยนายสุวัฒน์ ชูเกิด แนะนำเกี่ยวกับโครงการ และแนะนำผู้รับผิดชอบโครงการ และอธิบายทำความเข้าใจความเป็นมาของโครงการ การเสนอโครงการกับแหล่งทุนซึ่งมาจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.)โครงการร่วมสร้าชุมชนและท้องถิ่นให้น่าอยู่ เป็นการทำโครงการแรกของชุมชน โดยมีเนื้อหาโครงการจะเน้นลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ ทำอย่างไรให้คนในชุมชนอยู่อย่างพอเพียง เพื่อที่ชุมชนจะได้มีรายได้ที่เพิ่ม รายจ่ายที่ลด มีการแลกเปลี่ยนแบ่งปันกัน โดยมีคณะทำงานโครงการร่วมกันแลกเปลี่ยนความคิด แนวทางการทำงานตามกิจกรรมของโครงการรักษ์สุขภาพ รักษ์สิ่งแวดล้อม ที่บ้านเขากอย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ชี้แจงโครงการ แบ่งงานรับผิดชอบ มีผู้รับผิดชอบทุกกิจกรรม คณะทำงานโครงการเข้าใจที่มาของโครงการและที่มาของแหล่งทุน ได้แบ่งบาทหน้าที่ความรับผิดชอบตามความถนัดของคณะทำงานแต่ละคน ชี้แจงเป้าหมายหลักของโครงการ อธิบายจุดประสงส์ของโครงการ แบ่งบทบาทตามหน้าที่ของแต่ละคน ตามความถนัด เพื่อให้ตัวแทนอธิบายจุดมุ่งหมายของโครงการให้คนในชุมชนเข้าใจรายละเอียดของโครงการ

     

    20 20

    3. ประชุมทำความเข้าใจโครงการ เปิดตัวโครงการกับคนในชุมชน

    วันที่ 21 ธันวาคม 2557 เวลา 08:00-12.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    แนะนำผู้รับผิดชอบโครงการ  แนะนำพี่เลี้ยงโครงการ แนะนำตัวผู้ร่วมรับผิดชอบโครงการ แนะนำตัวเยาวชน ชี้แจงโครงการและงบประมาณที่ได้ดำเนินการ พี่เลี้ยงบรรยายความเป็นมาของกองทุนสนับสนุนสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) วิทยากรได้บรรยายถึงเรื่องปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาพ และการสร้างจิตสำนึกร่วมอนุรักษ์ลำคลอง กลุ่มเป้าหมายรู้ที่มาของโครงการ เข้าใจถึงแนวทางการดำเนินงานตามโครงการ มีการสมัครเข้าร่วมโครงการครบตามที่กำหนดไว้ในโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    พี่เลี้ยง วิทยากร ผู้รับผิดชอบโครงการชี้แจงรายละเอียดของโครงการ แนะนำหลักเศรษฐกิจพอเพียง การปลูกผักปลอดสารพิษภายในครัวเรือน การปลูกพืชสมุนไพร และการอนุรักษ์แม่น้ำลำคลอง คณะทำงานและผู้รับผิดชอบโครงการ เยาวชน และ  ตัวแทนครัวเรือน จำนวน 150 คน มีความเข้าใจขั้นตอนและกิจกรรมของโครงการ และสมัครใจในการเข้าร่วมโครงการ

     

    150 150

    4. ทำป้ายสถานที่นี้ปลอดบุหรี่ โดยมีตราสัญลักษณ์ สสส.

    วันที่ 22 ธันวาคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ตามแผนงาน สสส. เพื่อรณรงค์ให้คนในชุมชนงดสูบบุหรี่ในพื้นที่ที่แสดงป้าย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ป้ายแสดงการงดสูบบุหรี่เพื่อเป็นไปตามแผนงาน สสส. และให้ประชาชนในหมู่บ้านปฏิบัติร่วมกันไม่สูบบุหรี่ในพื้นที่ที่แสดงป้าย

     

    2 2

    5. ประชุมสภาผู้นำชุมชนคณะทำงานโครงการเพื่อทำความเข้าใจโครงการฯและแบ่งบทบาทหน้าที่ ครั้งที่ 2

    วันที่ 7 มกราคม 2558 เวลา 9.00-12.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมที่คณะทำงานประจำเดือน วางแผนเตรียมงานการดำเนินงานในอนาคต เวทีพูดคุยแลกเปลี่ยนของคณะทำงาน ชี้แจงเป้าหมายหลักของโครงการ อธิบายจุดประสงส์ของโครงการ เพื่อให้ตัวแทนเข้าใจรายละเอียดของโครงการ เวลานัดหมาย 09.00 น. ณ หอประชุมหมู่บ้าน หมู่ที่ 3 บ้านเขากอย พูดคุยถึงการเปิดตัวโครงการของครั้งที่ผ่านมา ความสมัครใจของคนในชุมชน การให้ความร่วมมือ ปัญหาที่พบในการเปิดตัวโครงการครั้งที่ผ่านมา และเตรียมการคิดหาข้อมูลในการทำงานและชักจูงคนในชุมชนให้เข้าร่วมกิจกรรมครั้งต่อไปให้มากขึ้น

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ประชุมที่คณะทำงานประจำเดือน เพื่อสรุปงานกิจกรรมที่ผ่านมา วางแผนเตรียมงานการดำเนินงานในอนาคต เวทีพูดคุยแลกเปลี่ยนของคณะทำงาน สภาผู้นำชุมชนและคณะทำงานโครงการ เห็นถึงความสำคัญในการแก้ปัญหาของแม่น้ำลำคลอง และมีจิตสำนึกในการรักษ์แม่น้ำลำคลอง

     

    20 20

    6. ประชุมคณะทำงาน เยาวชน และตัวแทนครัวเรือน ระดมความคิดออกแบบสำรวจคลองเขากอย

    วันที่ 24 มกราคม 2558 เวลา 09:00-16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ทบทวน บทบาทคณะทำงาน
    2. ชี้แจงกิจกรรมตามโครงการ
    3. ระดมความคิด ลักษณะแบบสำรวจที่ต้องการ
    4. แบบสำรวจจากหน่วยงานต่างๆ
    5. ทำแบบสำรวจ และทดลองใช้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้แบบสำรวจในการจัดเก็บข้อมูล เวลา สถานที่จะลงสำรวจอย่างชัดเจน ว่าจะสำรวจข้อมูลอะไร ที่ไหน และเมื่อไร เพื่อรวบรวมข้อมูลในการวิเคราะห์ข้อมูลและรวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบสำรวจที่จัดทำขึ้น จะได้รู้ถึงการเปลี่ยนแปลงก่อนและหลังการทำโครงการ

     

    50 50

    7. ประชุมสภาผู้นำชุมชนคณะทำงานโครงการเพื่อทำความเข้าใจโครงการฯและแบ่งบทบาทหน้าที่ ครั้งที่ 3

    วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 09:00- 12.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    สภาผู้นำชุมชนคณะทำงานโครงการจำนวน 20 คน ประชุม ทำความเข้าใจโครงการ แบ่งหน้าที่รับผิดชอบ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สภาผู้นำชุมชนและคณะทำงานโครงการ มีหน้าที่ในการรับผิดชอบ และได้รู้แผนงานแนวทางการดำเนินงานของโครงการในขั้นต่อไป

     

    20 20

    8. สำรวจข้อมูลโดยเยาวชน ครั้งที่ 1

    วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 09:00 - 16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ชี้แจงรายละเอียดกิจกรรมการลงสำรวจพื้นที่
    2. ทำความเข้าใจแบบสำรวจ
    3. ลงสำรวจพื้นที่จริง

    - ข้อมูลจากการสำรวจพบว่ากลุ่มเป้าหมายริมฝั่งคลองเขากอยประกอบอาชีพกรีดยางเป็นส่วนใหญ่ มีรายได้เฉลี่ยเดือนละประมาณ 15000 บาทต่อเดือน มีสมาชิกในครัวเรือน 3-4 คน
    - จากการสำรวจทรัพยากร บริเวณคลองเขากอยพบทรัพยากรธรรมชาติดังนี้   ริมตลิ่ง มีสวนยางพาราและไม้ผล เช่น เงาะ มังคุด ทุเรียน ลองกองและพืชผัก   ในน้ำ พบสัตว์น้ำ เช่น กุ้ง หอย ปู ปลา

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. ทราบปัญหาการใช้ทรัพยากรของริมฝั่งคลอง
    2. ทราบข้อมูลปัจจุบันเกี่ยวกับการใช้พื้นที่บริเวณริมฝั่งคลองให้เกิดประโยชน์สูงสุด
    3. ทราบการเดินทางวันเวลา สถานที่

     

    50 50

    9. ประชุมสภาผู้นำชุมชนคณะทำงานโครงการเพื่อทำความเข้าใจโครงการฯและแบ่งบทบาทหน้าที่ ครั้งที่ 4

    วันที่ 7 มีนาคม 2558 เวลา 09:00-12.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    นัดหมายตอน 09.00 น. ที่หอประชุมหมู่บ้าน โดยมีสภาผู้นำชุมชนคณะทำงานโครงการจำนวน 20 คน เพื่อประชุม วิเคราะห์ปัญหา และแสดงความความคิดเห็นเกี่ยวการทำงานแต่ละขั้นตอน การทำงานแต่ละเดือน วางแผนเตรียมงานการดำเนินงานในอนาคต

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สภาผู้นำชุมชนและคณะทำงานโครงการ ช่วยกันระดมความคิดในการแก้ปัญหาริมฝั่งคลองให้มีความอุดมสมบูรณ์ วิเคราะห์ปัญหาที่พบ แสดงความความคิดเห็นเกี่ยวการทำงานว่าควรจะปรับปรุงแก้ไขอะไรบ้าง หรือปรับเปลี่ยนให้ดีขึ้นได้อย่างไร และวางแผนเตรียมงานการดำเนินงานในอนาคตต่อไป

     

    20 20

    10. สำรวจข้อมูลโดยเยาวชน ครั้งที่ 2

    วันที่ 8 มีนาคม 2558 เวลา 09:00-16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ชี้แจงข้อมูล ถ่ายทอดความรู้สู่เด็กและเยาวชน เกิดการเรียนรู้ภายในชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ทราบปัญหาการใช้ทรัพยากรของริมฝั่งคลอง ข้อมูลปัจจุบันเกี่ยวกับการใช้พื้นที่บริเวณริมฝั่งคลองให้เกิดประโยชน์สูงสุด เกิดการเรียนรู้ร่วมกันภายในชุมชน ถ่ายทอดความรู้แก่เด็กและเยาวชน

     

    50 50

    11. เตรียมการนำเสนอข้อมูลโดยมีเด็ก เยาวชน จัดทำสื่อนำเสนอแก่ชุมชน

    วันที่ 14 มีนาคม 2558 เวลา 09:00-16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมเตรียมการนำเสนอ จัดทำสื่อการนำเสนอ และซักถามความเข้าใจ เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมของชุมชนประ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ชุมชนเกิดการมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น และเสนอแนะ

     

    50 50

    12. ติดตามผลดำเนินงาน เพื่อปิดรอบที่ 1

    วันที่ 21 มีนาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จำนวนคน/ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจริง 5 คน รายละเอียดกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม นายสุวัฒน์ ชูเกิด นายนิพนธ์ ขำถนอม นางชฎารัตน์ ขำถนอม นางสายสุณี มากนุ่น นางสาวนิศานาถ ชูเกิด รายละเอียดขั้นตอน กระบวนการ กิจกรรมปฎิบัติจริง นำเอกสารรายงานการเงิน เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง และแก้ไขรายละเอียดของโครงการตามคำแนะนำของพี่เลี้ยงโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ตรวจความถูกต้องของเอกสารการเงิน ใบสำคัญรับเงิน ใบเสร็จ ใบลงทะเบียนผู้เข้าร่วมประชุมตามกิจกรรมที่ผ่านมา นำส่งเอกสารเพื่อตรวจพิจารณา และแก้ไขปรับเปลียนข้อมูลให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์

     

    2 5

    13. คืนเงินค่าเปิดบัญชี 500 บาท

    วันที่ 21 มีนาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คืนเงินค่าเปิดบัญชี 500 บาท แก่นายสุวัฒน์ ชูเกิด แทนเงินที่เสียไปตอนเปิดบัญชีครั้งแรก

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คืนเงินค่าเปิดบัญชี ปิดงวดที่ 1 ก่อนที่งบเงินจะถูกปิด

     

    3 3

    14. ติดตามการดำเนินโครงการร่วมกับโดยพี่เลี้ยงประจำจังหวัด

    วันที่ 27 มีนาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ผู้รับผิดชอบโครงการร่วมกับคณะทำงานและพี่เลี้ยงประจำจังหวัด ประชุมเพื่อติดตามผลการดำเนินงานกิจกรรมตามโครงการและได้จัดทำรายงานผ่านระบบรายงานเว็ปไซต์ การจัดทำเอกสารการเงิน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผู้รับผิดชอบโครงการร่วมกับคณะทำงานและพี่เลี้ยงประจำจังหวัด ติดตามผลการดำเนินงานกิจกรรมตามโครงการและได้จัดทำรายงานผ่านระบบรายงานเว็ปไซต์ ได้ครบทุกกิจกรรม มีการตรวจสอบเอกสารหลักฐานการเงิน การใช้จ่ายเงินกิจกรรมตามโครงการ มีความครบถ้วน สมบูรณ์ มีบางกิจกรรมผู้รับผิดชอบโครงการไม่ระบุวันที่จัดกิจกรรม ไม่ระบุรายละเอียดกิจกรรม ทางพี่เลี้ยงประจำจังหวัดได้แนะนำให้ผู้รับผิดชอบทำการแก้ไขให้แล้วเสร็จและจะนำมาให้ตรวจสอบอีกครั้งตอนปิดโครงการ

     

    2 2

    15. ประชุมสภาผู้นำชุมชนคณะทำงานโครงการเพื่อทำความเข้าใจโครงการฯและแบ่งบทบาทหน้าที่ ครั้งที่ 5

    วันที่ 7 เมษายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุม ทำความเข้าใจโครงการ แบ่งหน้าที่รับผิดชอบ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สภาผู้นำชุมชนและคณะทำงานโครงการ แบ่งหน้าที่ในการรับผิดชอบในการชี้แจงผลสรุปจากการทำโครงการที่ผ่านมาแก่คนภายในชุมชน และได้รู้แผนงานแนวทางการดำเนินงานของโครงการในขั้นต่อไป 

     

    20 20

    16. คืนข้อมูลให้กับชุมชน แลกเปลี่ยนความรู้กัน

    วันที่ 18 เมษายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เวทีคืนข้อมูลแก่ชุมชน เป็นการคืนความรู้และความเข้าใจในการใช้ชีวิตของคนภายในชุมชน ไม่ว่าจะเป็นการชี้แจงปัญหาภายในชุมชน จำนวนทรัพยากรที่มีอยู่ และสิ่งที่ควรจะมีภายในชุมชน เพื่อให้คนในชุมชนช่วยกันคิดและวิเคราะห์พิจารณาและช่วยแก้ไข ฟื้นฟู ไปในทางที่ดีที่ควรจะเป็น และเหมาะสม สมบูรณ์มากขึ้น

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    กลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้และร่วมกิจกรรมต่างๆ พร้อมปฏิบัติและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและธรรมชาติให้เกิิดขึ้น พร้อมกับช่วยกันแก้ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในการงานที่รับผิดชอบร่วมกัน ที่สำคัญคือ

    1. มีความผูกพันธ์กันภายใจชุมชนมากขึ้น
    2. สมาชิกในชุมชนมีความสามัคคีกันมากขึ้น
    3. เกิดแกนนำที่ดีในชุมชนและเป็นต้นแบบให้กับเยาวชนรุ่นหลังได้
    4. คนในชุมชนมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และปรับเปลี่ยนทัศนคติในทางที่ดีในการอนุรักษ์ทรัพยากรภายในชุมชน

    ผลที่ได้รับจากกิจกรรม กลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้ ได้พัฒนาศักยภาพ ครัวเรือนและชุมชนสภาผู้นำและกลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้และการตื่นตัวในการพัฒนาชุมชนของตนเอง มีความพร้อมในการช่วยแรง กำลังใจ ในการสร้างสิ่งที่ดีให้เกิดภายในชุมชน และปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตเป็นอยู่แบบเศษฐกิจพอเพียงตามรอยพ่อหลวงของแผ่นดิน

     

    300 220

    17. ประชุมสภาผู้นำชุมชนคณะทำงานโครงการเพื่อทำความเข้าใจโครงการฯและแบ่งบทบาทหน้าที่ ครั้งที่ 6

    วันที่ 7 พฤษภาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะทำงานชุมชน พูดคุยถึงกิจกรรมที่เคยทำมาแล้ว และพอรู้ข้อบกพร่องของการทำงาน โดยรอบนี้จะต้องทำให้ดีขึ้นกว่าที่ผ่านมา โดยกิจกรรมต่อไปจะเป็นกิจกรรมพัฒนา 2 ฝั่งคลอง การปลูกผักริมคลองเขากอย และการหาปราชญ์มาให้ความรู้เกี่ยวกับการปลูกผักและการทำน้ำหมักชีวภาพ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สภาผู้นำชุมชนและคณะทำงานโครงการ แบ่งบทบาทหน้าที่กันรับผิดชอบ และมอบหมายหน้าที่ในการรับผิดชอบแต่ละคน ไม่ว่าจะเป็นการซื้อพันธุ์พืช การจัดเตรียมอุปกรณ์และเรียนชิญปราชญ์มาให้ความรู้ในวันเวลาที่กำหนด และได้รู้แผนงานแนวทางการดำเนินงานของโครงการในรอบ 2 ขั้นต่อไป

     

    20 20

    18. ฟังคำแนะนำจากปราชญ์ชาวบ้านในชุมชนแนะนำวิธีการปลูกพืชพันธ์

    วันที่ 23 พฤษภาคม 2558 เวลา 09:00-16.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    กลุ่มเป้าหมายฟังคำแนะนำจากปราชญ์ชาวบ้านในชุมชนแนะนำวิธีการปลูกพืชพันธุ์ต่างๆ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ปราชญ์ชาวบ้านในชุมชนแนะนำวิธีการปลูกพืชพันธุ์และสรรพคุณของพืชพันธุ์แต่ละชนิด

     

    150 150

    19. พัฒนา 2 ฝั่งคลอง พื้นที่ยาว 4000 เมตร

    วันที่ 23 พฤษภาคม 2558 เวลา 09:00-16.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    กลุ่มเป้าหมายมาพร้อมเพรียงกันตอนเก้าโมง พูดคุยกันและแบ่งหน้าที่กันในการรับผิดชอบพื้นที่ต่างๆ เพื่อพัฒนาให้บริเวณริมฝั่งคลองสบายหูสบายตาขึ้น โดยมีการเลี้ยงอาหารว่างและอาหารเที่ยง ช่วงเช้าได้ที่ข้างๆหอประชุม ส่วนช่วงบ่ายอากาศไม่ค่อยเป็นใจเลยทำให้งานที่ทำไม่ค่อยคืบหน้า แต่ทุกคนก็ช่วยกันทั้งแรงกายแรงใจ บางคนตัด บางคนถางหญ้า ส่วนผู้หญิงก็ช่วยเสริฟน้ำ เลยทำให้กิจกรรมนี้ก็ผ่านไปด้วยดี และสำเร็จ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    บริเวณริมฝั่งคลองดูสบายตาขึ้น เหมาะแก่การเพราะปลูกพืชผัก พืชสมุนไพร คนในชุมชนเกิดความสามัคคี ร่วมแรง ร่วมใจในการทำงาน

     

    150 141

    20. ปลูกผักริมคลอง ได้แก่ ผักเขลียง ผักกูด ชะอม

    วันที่ 23 พฤษภาคม 2558 เวลา 13:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ปลูกพันธุ์พืช ได้แก่ ผักกูด ผักเขลียง บริเวณริมคลองเขากอย แจกพันธ์พืชไปปลูกบริเวณพื้นที่ริมคลอง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ปลูกพันธุ์พืช ได้แก่ ผักกูด ผักเขลียง บริเวณริมคลองเขากอย แจกพันธ์พืชไปปลูกบริเวณพื้นที่ริมฝั่งคลอง โดยคนในชุมชนสามารถเก็บพืชพันธุ์ไปใช้เป็นอาหารโดยประหยัดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน

     

    150 150

    21. ประชุมสภาผู้นำชุมชนคณะทำงานโครงการเพื่อทำความเข้าใจโครงการฯและแบ่งบทบาทหน้าที่ ครั้งที่ 7

    วันที่ 7 มิถุนายน 2558 เวลา 09:00 - 11.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมคณะทำงาน เกี่ยวกับการปลูกผัก ต้นไม้ ริมฝั่งคลอง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะทำงานโครงการแบ่งหน้าที่กันได้อย่างลงตัว โดยแต่ละคนได้รับหน้าที่ที่ตนถนัด 

     

    20 20

    22. จัดทำแปลงสาธิตการปลูกพืชผักสนครัวจำนวน 2 แปลง และทำป้ายบอร์ดและคู่มือความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรและผักพื้นบ้าน

    วันที่ 20 มิถุนายน 2558 เวลา 14:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    สภาผู้นำชุมชนและเยาวน ชาวบ้านภายในชุมชนสร้างแปลงสาธิตผักสวนครัว และสมุนไพรจำนวน 2 แปลง แปลงที่ 1 บ้านนานสุคนธ์ พลเกษตร แปลงที่ 2 นายสันติ ภักดีชนะ และมีนางสาวนิศานาถ ชูเกิดนางสาวสิตานันสุวรรณภักดี ช่วยกันออกแบบและสั่งทำป้ายบอร์ดสมุนไพรและพืชพันธุ์ต่างๆเพื่อเป็นความรู้แก่ผู้ที่สนใจ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    แต่ละคนเตรียมอุปกรณ์การสร้างแปลงสาธิตกันมาเอง โดยนัดกันทำตอนเย็น วันนึงสองชั่วโมง มีการติดป้ายสมุนไพรและพืชพันธุ์ต่างๆที่บอกสรรพคุณของพืชพันธ์นั้นๆ การสร้างแปลงสาธิตผักสวนครัว และสมุนไพรจำนวน 2 แปลง แปลงที่ 1 บ้านนานสุคนธ์ พลเกษตร แปลงที่ 2 นายสันติ ภักดีชนะ โดยแต่ละแปลงก็มอบหมายให้เจ้าสถานที่รับผิดชอบ โดยไม่สามารถทำให้เสร็จภายในวันเดียว ทำกันประมาณ 3 วัน แต่ทุกคนก็มาช่วยกันทำจนเสร็จ

     

    30 30

    23. ประชุมสภาผู้นำชุมชนคณะทำงานโครงการเพื่อทำความเข้าใจโครงการฯและแบ่งบทบาทหน้าที่ ครั้งที่ 8

    วันที่ 7 กรกฎาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมคณะทำงาน แบ่งหน้าที่การติดต่อประสานงานพูดคุยเกี่ยวกับการเตรียมอุปกรณ์ต่างๆในการทำน้ำหมักชีวภาพ โดยมอบหมายให้นายสันติ ภักดีชนะ เป็นปราชญ์ชาวบ้านมาให้ความรู้ และการเพิ่มพันธุ์ปลาน้ำจืดนายสุวัฒน์ ชูเกิดเป็นผู้ติดต่อซื้อพันธุ์ปลาที่ ต.เกาะขันธุ์ จำนวนหนึ่งพันตัว เพื่อนำพันธุ์ปลามาเพิ่มในลำคลอง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ประชุมคณะทำงาน เกี่ยวกับการติดต่อประสานงานพูดคุยเกี่ยวกับการเตรียมอุปกรณ์ต่างๆ การจัดซื้ออุปกรณ์ในการทำน้ำหมักชีวภาพและการหาซื้อพันธุ์ปลามาเพิ่มในลำคลอง และชี้แจงวันเวลาต่างๆในการจัดกิจกรรมต่างๆ

     

    20 20

    24. ปล่อยปลาน้ำจืดในลำคลอง

    วันที่ 11 กรกฎาคม 2558 เวลา 17.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ติดต่อประสานงานกับร้านเพาะพันธุ์ปลาและสั่งจำนวนปลาไว้ก่อนประมาณหนึ่งอาทิตย์สอบถามราคาก่อนเรียบร้อยนัดไปรับปลาบ่ายสามโมงครึ่งไปถึงเจ้าของร้านก็รีบนับจำนวนปลาให้ทันที แต่กว่าจะเสร็จก็ปาไปสี่โมงกว่าเกือบห้าโมง มีผู้ที่มาช่วยปล่อยช่วยขน 8 คน โดยนำปลาที่ได้มาลอยในน้ำก่อนก่อนจะปล่อยลงในกระชังที่เตรียมไว้ เพื่อปรับอุณหภูมิให้ปลาที่ซื้อมาปรับให้ใกล้เคียงกับน้ำที่เราจะปล่อย และเหตุผลที่ปล่อยปลาในกระชัง เพราะถ้าไม่ปล่อยลงกระชังก่อน กลัวว่าพันธ์ปลาที่ซื้อมาจะรอดน้อย อาจจะเพราะตัวค่อนข้างเล็ก กลัวจะโดนปลาตัวใหญ่กว่ากินเป็นอาหาร

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    พันธุ์ปลาที่ซื้อมา1000 ตัว ปล่อยลงในกระชังที่เตรียมไว้เรียบร้อย และปลาไม่ลอยตายให้เห็นเลย

     

    0 8

    25. เรียนรู้การทำน้ำหมักจากปราชญ์ชาวบ้านและเตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการลงมือทำน้ำหมักชัวภาพ

    วันที่ 18 กรกฎาคม 2558 เวลา 15.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดเตรียมอุปกรณ์ในการทำน้ำหมักให้เรียบร้อย โดยมีอปกรณ์ที่เตรียมคือ กากน้ำตาล หัวเชื้อถังผสม ถังหมักฝาเกลียว และก็พืชผล พืชผักและเศษอาหารหรือเศษหัวปลาต่างๆ ที่เตรียมไว้มาเตรียมความพร้อมก่อนการทำ และฟังบรรยายการทำโดยปราชญ์เกี่ยวกับการทำน้ำหมักชีวภาพและช่วยกันผสมสัดส่วนของการทำน้ำหมัก

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผู้ที่สนใจสามารถรู้ขั้นตอนการเตรียม การทำน้ำหมักชีวภาพอีกครั้งพอสังเขป เพราะปราชญ์ชาวบ้านเคยให้ความรู้อย่างละเอียดแล้วในวันประชุมครั้งก่อนวิธีการใช้ของน้ำหมักชีวภาพการทำทุกขั้นตอน ตั้งแต่ส่วนผสมไปยังการใช้ประโยชน์ และสามารถไปถ่ายทอดและสามารถนำไปแจกจ่ายให้ใช้เองภายในครัวเรือนได้

     

    15 15

    26. ประชุมสภาผู้นำชุมชนคณะทำงานโครงการเพื่อทำความเข้าใจโครงการฯและแบ่งบทบาทหน้าที่ ครั้งที่ 9

    วันที่ 7 สิงหาคม 2558 เวลา 09:00 - 11.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมสภาผู้นำชุมชน เกี่ยวกับการร่างกฎกติกาที่จะใช้ในการอนุรักษ์ต้นน้ำลำคลอง สัตว์น้ำ และอนุรักษ์ริมฝั่งคลอง และการติดต่อประสานงานให้มีเยาวชนและผู้ที่อยุ่อาศัยริมฝั่งคลองมารับฟังกฏกติการและร่างกฏ โดยให้สภาผู้นำแต่ละคนชักชวนเยาวชและตัวแทนครัวเรือนที่อยู่ละแวกใกล้เคียงมาพร้อมกันในวันร่างกฏกติกา

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ประชุมสภาผู้นำชุมชน การติดต่อประสานงานให้มีเยาวชนและผู้ที่อยุ่อาศัยริมฝั่งคลองมารับฟังกฏกติการและร่างกฏกติกา

     

    20 20

    27. ประชุมแกนนำและร่างกฏกติกาชุมชนในการอนุรักษ์ลำคลอง

    วันที่ 15 สิงหาคม 2558 เวลา 09:00 - 16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ชี้แจงงานต่างๆ และกิจกรรมในวันนี้ให้ผู้ที่มาเข้าร่วมรับทราบ โดยมีวิทยากรซักถามและมีการเสนอกฏที่จะสามารถนำมาปรับใช้ในการช่วยกันอนุรักษ์ลำคลอง และพืชพันธุ์ และพันธุ์ปลาที่ปล่อยในลำคลอง โดยช่วยกันอุดมความคิดบางคนบอกว่าห้ามจับปลาไม่ว่ากรณีใดๆ แต่คนส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วย เลยเจรจากันแล้วได้ข้อลงตัวคือ จับได้แต่ต้องไม่ใช้อปกรณืการจับที่ส่งผลเสียมากกับลำคลอง โดยหากมีการฝ่าฝืนก็ต้องมีบทลงโทษ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    มีการซักถามและมีการเสนอกฏที่จะสามารถนำมาปรับใช้ในการช่วยกันอนุรักษ์ลำคลอง และพืชพันธุ์ และพันธุ์ปลาที่ปล่อย เพื่อให้ลำคลองอุดมสมบูรณ์ โดยได้กฏและบทลงโทษดังนี้ 1.ไมทิ้งขยะมูลฝอยหรอของเสียลงในคลองเขากอย 2. ไม่ฉีดยาฆาหญ้าสองข้างคลองเขากอยข้างละ 5 เมตร 3. ไม่จับสัตว์น้ำด้วนอวนตาถี่ กัดตาถี่ การเบื่อปลาและการช๊อตปลาในคลองเขากอย บทลงโทษ
    1. ตักเตือน 2. ปรับขั้นต่ำ 500 บาท ไม่เกิน 5000 บาท

     

    50 50

    28. ประชุมสภาผู้นำชุมชนคณะทำงานโครงการเพื่อทำความเข้าใจโครงการฯและแบ่งบทบาทหน้าที่ ครั้งที่ 10

    วันที่ 7 กันยายน 2558 เวลา 13.00-15.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมคณะทำงานโครงการ และติดตามกิจกรรมต่างๆที่ดำเนินการผ่านไปแล้วและแบ่งบทบาทหน้าที่ของกิจกรรมต่อไปที่กำลังจะมาถึง โดยมีการติดต่อประสานงาน จัดซื้อของรางวัล จัดการประกวดอาหาร และหาวิทยากรมาให้ประกาศกฏกติการแก่ชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ประชุมคณะทำงานในการแบ่งหน้าที่การทำงานและติดต่อประสานงานให้กลุ่มเป้าหมายมาร่วมกิจกรรมตามกำหนด โดยระบุวันที่จะชี้แจงกฏและผลทั้งหมดของโครงการแก่คนในชุมชนคือ วันที่ 29 กันยายน โดยมีการแบ่งหน้าที่ให้มีการจัดการประกวดอาหารให้นางสายสุณี มากนุ่น ไปจัดการหากลุ่มประกวด เมนูสุขภาพ จัดแบ่งบทบาทหน้าที่ของกิจกรรมต่อไปที่กำลังจะมาถึง โดยมีการติดต่อประสานงาน จัดซื้อของรางวัล เตรียมสถานที่ และหาวิทยากรมาชี้แจงกิจกรรม

     

    20 20

    29. สรุปผลการดำเนินการโครงการและประกาศการใช้กฏการอนุรักษ์ลำคลอง เพื่อเสนอเป็นนโยบายชุมชน

    วันที่ 29 กันยายน 2558 เวลา 13:00-16.30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    มีการจัดเตรียมสถานที่และเตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการทำเมนูสุขภาพ โดยแบ่งเป็นสามกลุ่ม กลุ่มละสี่คน โดยการเตรียมอุปกรณ์มาทำกันในหอประชุม โดยมีคณะกรรมการตัดสิน และมอบของรางวัล มีการพูดคุยเกี่ยวกับที่มาของโครงการและกิจกรรมต่างๆของโครงการอีกครั้งโดยมีนายสุวัฒน์ชูเกิด และมีวิทยากรคือนายสุชาติ มีเสน และนายสมยศ จันทร์ขาวมาพูดคุยเกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฏและการปฏิบัติผิดกฏให้กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการรับทราบ และมีการขอความสมัครใจของคนในชุมชนในการคัดค้านหรือจะยอมรับกฏกติการที่ตั้งขึ้น โดยกฏกติกามีทั้งหมด 3 ข้อ คือ

    1. ไม่ทิ้งขยะมูลฝอยหรอของเสียลงในคลองเขากอย
    2. ไม่ฉีดยาฆาหญ้าสองข้างคลองเขากอยข้างละ 5 เมตร
    3. ไม่จับสัตว์น้ำด้วนอวนตาถี่ กัดตาถี่ การเบื่อปลาและการช๊อตปลาในคลองเขากอย

    บทลงโทษ
    1. ตักเตือน 2. ปรับขั้นต่ำ 500 บาท ไม่เกิน 5000 บาท
    โดย 100 % ของผู้ที่มาเข้าร่วมยอมรับกฏกติกานี้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    กลุ่มเป้าหมายที่นัดไว้ให้ความสนใจดีในการเข้าร่วมกิจกรรมและก็ยอมรับการใช้กฏกติกาของชุมชนในการอนุรักษ์คลองเขากอย และมีการประกวดเมนูสุขภาพและมีการแจกของรางวัล

     

    120 126

    30. ประชุมสภาผู้นำและคณะทำงานโครงการสรุปผลการทำโครงการและรวบรวมข้อมูลเพื่อสรุปผลโครงการ

    วันที่ 7 ตุลาคม 2558 เวลา 15:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    นัดประชุมคณะทำงานเพื่อติดต่อประสานงานและจ่ายค่าตอบแทนให้ผู้ที่ช่วยทำโครงการไม่ว่าจะเป็นค่าถ่ายภาพ  ค่าอื่นๆ และเก็บรวบรวมค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการทำโครงการกิจกรรมทุกกิจกรรม เพื่อสรุปผลโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะทำงานนัดประชุมคณะทำงานเพื่อติดต่อประสานงานและจ่ายค่าตอบแทนให้ผู้ที่ช่วยทำโครงการไม่ว่าจะเป็นค่าถ่ายภาพ  ค่าอื่นๆ และเก็บรวบรวมค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการทำโครงการกิจกรรมทุกกิจกรรม และรวบรวมเอกสารเพื่อปิดโครงการ

     

    20 20

    31. กิจกรรมการถ่ายภาพการทำโครงการตลอดโครงการ

    วันที่ 10 ตุลาคม 2558 เวลา 15.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จ่ายค่าตอบแทนในการถ่ายรูปการทำงานโครงการ แก่ นางสาวนิศานาถ ชูเกิด

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จ่ายค่าตอบแทนในการถ่ายรูปการทำงานโครงการ แก่ นางสาวนิศานาถ ชูเกิด จำนวน 1000 บาท

     

    1 1

    32. ติดตามผลการดำเนินงาน/ตรวจสอบเอกสารการเงิน ครั้งที่ 2

    วันที่ 6 พฤศจิกายน 2558 เวลา 13.00- 16.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ผู้รับผิดชอบโครงการร่วมกับคณะทำงานและพี่เลี้ยงประจำจังหวัด นัดประชุมเพื่อติดตามผลการดำเนินกิจกรรมโครงการและได้จัดทำรายงานผ่านระบบรายงานเว็ปไซต์ และการตรวจสอบการจัดทำเอกสารการเงิน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผู้รับผิดชอบโครงการร่วมกับคณะทำงานและพี่เลี้ยงประจำจังหวัด ติดตามผลการดำเนินงานกิจกรรมตามโครงการและได้จัดทำรายงานผ่านระบบรายงานเว็ปไซต์ ให้ได้ครบทุกกิจกรรม มีการตรวจสอบเอกสารหลักฐานการเงิน การใช้จ่ายเงินกิจกรรมตามโครงการ มีความครบถ้วน สมบูรณ์ ให้ตรงตามเงินที่ไดรับอนุมัติ แลพการเขียนเล่มการเงินให้เรียบร้อย มีบางกิจกรรมผู้รับผิดชอบโครงการไม่ระบุเงินการจัดกิจกรรม ไม่ระบุรายละเอียดกิจกรรมครบถ้วน ทางพี่เลี้ยงประจำจังหวัดได้แนะนำให้ผู้รับผิดชอบทำการแก้ไขให้แล้วเสร็จและจะนำมาให้ตรวจสอบอีกครั้งตอนปิดโครงการ

     

    3 3

    33. ติดตามผลการดำเนินงานโครงการ (ปิดโครงการ)

    วันที่ 7 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ผู้รับผิดชอบโครงการ  ผู้จัดทำรายงาน คณะทำงาน ผู้รับผิดชอบการเงินของโครงการเดินทางไปพบพี่เลี้ยง คือ นายเสณี  จ่าวิสูตร ที่ มอ.สงขลานครินทร์ เพื่อปรึกษาการจัดกิจกรรมทั้งหมดที่ผ่านมา  และให้พี่เลี้ยงตรวจสอบตัวกิจกรรม ภาพถ่าย รายงาน  และเอกสารทางการเงิน เพื่อแก้ไขให้ถูกต้องและสรุปปิดงวด

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผู้รับผิดชอบโครงการ  ผู้จัดทำรายงาน คณะทำงาน ผู้รับผิดชอบการเงินของโครงการเดินทางไปพบพี่เลี้ยง คือ นายเสณี  จ่าวิสูตร ที่ มอ.สงขลานครินทร์  เพื่อแก้ไขเอกสารให้ถูกต้องและสรุปปิดโครงการ

     

    3 4

    34. กิจกรรมจัดทำรายงานกิจกรรมฉบับสมบูรณ์

    วันที่ 8 พฤศจิกายน 2558 เวลา 15:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ผู้รับผิดชอบโครงการและผู้จัดทำรายงาน เข้าร่วมติดตามผลการดำเนินงานร่วมกับพี่เลี้ยงเพื่อจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์ที่ใช้ประกอบรายงานปิดโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผู้รับผิดชอบและผู้จัดทำรายงาน ได้เข้าร่วมติดตามผลการดำเนินงานร่วมกับพี่เลี้ยงที่ สจรส.มอ.จัดขึ้น เพื่อจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์ ที่มีเอกสารประกอบดังนี้..

    • ง.1
    • ง.2
    • ส.4
    • แบบประเมินคุณค่าฯ

    ซึ่งเอกสารประกอบรายงานดังกล่าว ทางผู้รับผิดชอบได้จัดทำและตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์เรียบร้อย ครบถ้วน พร้อมจัดส่งรายงานปิดโครงการได้ทันตามระยะเวลาที่ สสส.กำหนด

     

    2 2

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

     

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ของคนในชุมชนให้เห็นความสำคัญเกิดความตระหนักในผลกระทบต่อแม่น้ำลำคลอง
    ตัวชี้วัด : 1. คนในชุมชนมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมโครงการร้อยละ 80 ของคนในชุมชนทั้งหมด 2. เด็กและเยาวชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรม อย่างน้อย 20 คน 3. มีชุดข้อมูลเรื่องคลองเขากอย จำนวน 1 ชุด 4. มีเวทีเรียนรู้ข้อมูลจำนวน 1 ครั้ง

    ตัวชี้วัด 1 คนในชุมชนทั้งหมดในชุมชนเข้าร่วมกิจกรรมร้อยละ 80 ตัวนี้ไม่ผ่านตัวชี้วัด แต่ถ้าร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายจะผ่าน เพราะในแต่ละครั้งของการทำกิจกรรมจะมีผู้มีส่วนร่วมเกินร้อยละ 90 ทุกครั้งไป

    ตัวชี้วัดที่ 2 ผ่านตัวชี้วัด เด็กและเยาวชนมีส่วนร่วมต่อการดำเนินกิจกรรม มากกว่า 20 คน

    ตัวชี้วัดที่ 3 ผ่านตัวชี้วัด มีชุดข้อมูลคลองเขากอย 1 ชุด

    ตัวชี้วัดที่ 4 ผ่านตัวชี้วัด คือมีเวทีเรียนรู้ข้อมูล 1 ครั้ง

    2 เพื่อหนุนเสริมให้คนในชุมชนสำนึกถึงการใช้วิถีชีวิตแบบเดิมในอดีตโดยมีกลุ่มเด็กและเยาวชนเป็นกลุ่มเป้าหมายที่ต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการ
    ตัวชี้วัด : 1. เด็กและเยาวชนมีส่วนร่วมดำเนินงานกิจกรรมอย่างน้อยจำนวน 20 คน 2. มีแผนที่ลำคลองเขากอย จำนวน 1 ชุด 3. มีพื้นที่ผลิตอาหาร จำนวน 3 จุด

    ตัวชี้วัดที่ 1 ผ่านตัวชี้วัด เด็กและเยาวชนมีส่วนร่วมดำเนินงานกิจกรรมมากกว่า 20 คน

    ตัวชี้วัดที่ 2 ผ่านตัวชี้วัด มีแผนที่คลองเขากอย 1 ชุด

    ตัวชี้วัดที่ 3 ผ่านตัวชี้วัด มีพื้นที่ผลิตอาหาร 3 จุด

    สรุปผลกิจกรรม ผ่านตัวชี้วัดทั้ง3 กิจกรรม

    3 เพื่อฟื้นฟูกลไกในการจัดการและบริหารทรัพยากรธรรมชาติรวมถึงมีการคิดค้นกิจกรรมจากบรรพบุรุษที่ใช้ชีวิตประจำวันในอดีตกลับมาศึกษา
    ตัวชี้วัด : 1. มีกลไกสภาผู้นำชุมชนในการจัดการบริหารชุมชน จำนวน 20 คน 2. มีข้อมูล มีแผนงานในการบริหารจัดการชุมชน จัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีระบบ จำนวน 1 ชุด 3. มีกฎ มีกติกาชุมชนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติในชุมชนเอง

    ตัวชี้วัดที่ 1 ผ่านตัวชี้วัด มีกลไกสภาผู้นำชุมชนในการจัดการบริหารชุมชน จำนวน 20 คน

    ตัวชี้วัดที่ 2 ไม่ผ่านตัวชี้วัด

    ตัวชี้วัดที่ 3 ผ่านตัวชี้วัด มีกฎ มีกติกาชุมชนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติในชุมชนเอง

    4 การติดตามประเมินผล
    ตัวชี้วัด : จำนวนครั้งที่เข้าร่วมกิจกรรม

    เข้าร่วมการประชุมกับสจรส.ม.อ. ครบทุกครั้งที่มีการเรียกประชุม

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ของคนในชุมชนให้เห็นความสำคัญเกิดความตระหนักในผลกระทบต่อแม่น้ำลำคลอง (2) เพื่อหนุนเสริมให้คนในชุมชนสำนึกถึงการใช้วิถีชีวิตแบบเดิมในอดีตโดยมีกลุ่มเด็กและเยาวชนเป็นกลุ่มเป้าหมายที่ต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการ (3) เพื่อฟื้นฟูกลไกในการจัดการและบริหารทรัพยากรธรรมชาติรวมถึงมีการคิดค้นกิจกรรมจากบรรพบุรุษที่ใช้ชีวิตประจำวันในอดีตกลับมาศึกษา (4) การติดตามประเมินผล

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    ส่วนที่ 3 ประเมินคุณค่าโครงการ

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ

    ชื่อโครงการ รักษ์สุขภาพ รักษ์สิ่งแวดล้อม ที่บ้านเขากอย

    รหัสโครงการ 57-02581 รหัสสัญญา 58-00-0081 ระยะเวลาโครงการ 20 ตุลาคม 2557 - 20 พฤศจิกายน 2558

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นการคุณค่าที่เกิดจากโครงการในมิติต่อไปนี้

    • ความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพและนวัตกรรมเชิงระบบสุขภาพชุมชน
    • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีผลต่อสุขภาวะ
    • การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ
    • ผลกระทบเชิงบวกและนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาวะชุมชน
    • กระบวนการชุมชน
    • มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่

    1. เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้ใหม่ / องค์ความรู้ใหม่

    ความรู้ในการทำข้าวยำ7สี ความรู้ในการทำน้ำหมักชีวภาพ

    ข้าวยำ7สี ผู้ที่เป็นแกนนำในการคิด คือ นางสายสุณี มากนุ่น ส่วนน้ำหมักชีวภาพนายสันติ ภักดีชนะ

    การนำความรู้ไปคิดต่อยอดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆเพื่อคนในหมู่บ้านต่อไป

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สิ่งประดิษฐ์ / ผลผลิตใหม่

    1.ข้าวยำ7สีเป็นการคิดขึ้นของคนในหมู่บ้านในการผลิตสีขึ้นจากพืชผักธรรมชาติมาบีบคั่นให้ออกเป็นสีต่างๆ ได้หลากสีเพื่อดึงดูดให้น่ารับประทาน ให้ดูน่าสนใจขึ้น 2.น้ำหมักชีวภาพเป็นการคิดผลิตใหม่ภายในหมู่บ้านไม่เคยทำกันก่อนเลยมีแต่ทำปุ๋ยหมักชีวภาพเพื่อใช้ในหมู่บ้าน แต่รอบนี้ปรับเปลี่ยนมาเป็นน้ำหมักชีวภาพโดยส่วนผสมสามารถที่จะสะสมในแต่ครัวเรือนเพื่อที่จะได้ใช้กันได้โดนการลดค่าใช้จ่ายได้บ้าง

    ข้าวยำ7สี ผู้ที่เป็นแกนนำในการคิด คือ นางสายสุณี มากนุ่น ส่วนน้ำหมักชีวภาพนายสันติ ภักดีชนะ

    ควรมีการปลูกพืชผักผลไม้ที่ใช้ในการทำเมนูสุขภาพข้าวยำเจ็ดสี เผื่อเวลามีใครมาชมหมู่บ้านหรือเวลาไปประกวดอาหารเราจะได้ใช้เมนูข้าวยำเจ็ดสีโดยที่เราไม่ต้องลงทุนค่าวัสดุเยอะ เพราะสามารถหาได้ในหมู่บ้านของเราเอง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. กระบวนการใหม่

    กระบวนการปรึกษาหารืออย่างต่อเนื่องของคณะทำงานและมีส่วนร่วมทำให้ชุมชนเกิดการร่วมทำกิจกรรม และตระหนักในความสำคัญของทรัพยากร การจัดการทัพยากรที่มีอยู่ การพัฒนาลำคลองที่อยู่มาชั่วอายุคน รวมถึงเห็นประโยชน์ของการปรึกษาหารือกันภายในกลุ่ม

    กลุ่มคณะทำงาน และความสามัคคีของคนในชุมชน

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. วิธีการทำงาน / การจัดการใหม่

    เป็นการทำงานแบบกลุ่ม โดยการรวบรวมคณะทำงานโครงการและการจัดผสานงานกันภายในกลุ่มเพื่อผสานงานการทำงานต่างๆให้ผลของกรรมออกมาดีทุกกิจกรรม

    คณะทำงานโครงการรักษ์สุขภาพ รักษ์สิ่งแวดล้อมที่บ้านเขากอย

    คณะทำงานโครงการนี้สามารถที่จะทำโครงการอื่นต่อได้และสามารถไปช่วยงานอื่นในหมู่บ้านได้เพราะคณะทำงานมีความสามัคคีกัน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การเกิดกลุ่ม / โครงสร้างในชุมชนใหม่

    1.กลุ่มทำน้ำหมักชีวภาพ เกิดจากการรวมตัวกันของคนในหมู่บ้าน โดยมีแกนนำคือนายสันติ ภักดีชนะ 2.เกิดกลุ่มคณะทำงานโครงการในการทำงานขึ้นโดยเป็นกลุ่มที่เข้มแข็งและสามัคคีในการทำงาน

    1.กลุ่มน้ำหมักชีวภาพบ้านนายสันติ ภักดีชนะ 2.กลุ่มคณะทำงานโครงการโดยมีนายสุวัฒน์ ชูเกิดเป็นหัวหน้า

    มีการพัฒนาสูตรการทำน้ำหมักแบบอื่นบ้าง และควรมีการเพิ่มจำนวนสมาชิกเพิ่มขึ้น

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. แหล่งเรียนรู้ใหม่

    แปลงปลูกพืชผักสมุนไพรบ้านนายสุคนธ์ พลเกษตร และนายสันติ ภัดดีชนะ

    แปลงปลูกพืชผักสมุนไพรบ้านนายสุคนธ์ พลเกาตร และนายสันติ ภักดีชนะ

    สานต่อแปลงสาธิตให้มีหลายแปลงและมีพืชพันธุ์พืชสมุนไพรมากขึ้น

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    99. อื่นๆ

     

     

     

    2. เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล

    คนในชุมชนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม หันมาปลูกผักปลอดสารพิษกินเองภายในครัวเรือน หันมาใส่ใจเกี่ยวกับพืช สมุนไพรที่มีสรรพคุณต่อร่างกาย

    บริเวณรอบๆรั้ว สถานที่ พื้นที่บ้านคนในชุมชน

    มีการสนับสนุนพืชพันธุ์แจกจ่ายให้ชาวบ้านเพิ่ม หรือมีการแนะนำการปลูกผักหลากหลายชนิดขึ้น

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การบริโภค

    การปลูกผักกินเองเป็นการลดรายจ่ายภายในครัวเรือน และสามารถบริโภคผักปลอดสารพิษที่ตนเองปลูกภายในครัวเรือนได้

    บ้านของแกนนำและชาวบ้านที่ติดริมฝั่งคลอง

    ควรมีการทำโครงการเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงปลูกผักกินเองภายในครัวเรือนให้เด่นชัดขึ้น เพื่อที่บ้านแต่ละหลังหรือผู้ที่สนใจเกี่ยวกับกิจกรรมแต่ไม่ได้รับพันธุ์ผักแจกจ่ายไม่ทั่วถึงได้รับพันธุ์ผักด้วยย

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การออกกำลังกาย

    การทำกิจกรรมต่างๆไม่ว่าจะเป็นการพัฒนา 2 ฝั่งคลอง การปลูกผัก การสร้างแปลงสาธิต ล้วนเป็นกิจกรรมที่ต้องใช้หยาดเหงื่อแรงงานและความสามัคคี เพื่อให้งานเสร็จรวดเร็ว โดยกิจกรรมล้วนถือว่าเป็นการออกกำลังกายเพื่อพัฒนาเพื่อหมู่บ้านของตน

    ริมฝั่งคลองเขากอยทั้งสองฝั่งคลองและบริเวณหอประชุม และแปลงสาธิตที่บ้านนายสันติ ภักดีชนะ และนายสุคนธ์ พลเกษตร

    อาจจะเพ่มการอกกำลังกายแบบจริงจังที่มีการติดตามผู้เข้าร่วมอาจมีการจัดทำโครงการออกกำลังกายให้สอดคล้องกับกิจกรรมขงโครงการเพ่อให้คนในชุมชนได้มีแบบอย่างและมีการรวมกลุ่มเพ่อที่จะได้สนุกนการออกกำลังกายแบบกลุ่มดีกว่าการออกกำลังกายคนเดียว

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. การลด ละ เลิก อบายมุข เช่น การพนัน เหล้า บุหรี่

    มีการจัดทำป้ายรณรงค์ห้ามสูบบุหรี่บริเวณหอประชุม

    หอประชุมหมู่บ้าน หมู่ที่ 3 บ้านเขากอย

    ติดตามตรวจสอบสภาพของป้ายเพื่อปรับเปลี่ยนใหม่หากชำรุด

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การลดพฤติกรรมเสี่ยง เช่น พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การขับรถโดยประมาท

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. การจัดการอารมณ์ / ความเครียด

    มีการรวมตัวของคนภายในชุมชนเพื่อที่แต่ละคนมารับฟังข่าวสารความรู้และร่วมกันทำกิจกรรมต่างๆโดยจะทำให้ลดอารมณ์และจัดการความเครียด ผ่อนคลายเกิดความสามัคคีภายในชุมชน

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. การดำรงชีวิต / วิถีชีวิต เช่น การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น / สมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเอง

    มีการสร้างแปรงสาธิต และมีปราชญ์ชาวบ้านมาให้ความรู้เกี่ยวกับสรรพคุณของสมุนไพรและพืชพันธุ์ที่ใช้ประจำวัน

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    8. พฤติกรรมการจัดการตนเอง ครอบครัว ชุมชน

    เป็นการสร้างความสามัคคีภายในครัวเรือน เพราะส่วนใหญ่แต่ละครอบครัวไม่ว่าจะเป็น พ่อ แม่ ลูก หรืออาจจะมี ปู่ ย่า ตา ยาย มาร่วมกิจกรรมด้วย

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    9. อื่นๆ

     

     

     

    3. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. กายภาพ เช่น มีการจัดการขยะ ป่า น้ำ การใช้สารเคมีเกษตร และการสร้างสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนที่ถูกสุขลักษณะ

    1.มีการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ มีการปลูกพืชพันธุ์เพิ่มและมีการปลูกพืชผักเพื่อปรับสภาพแวดล้อมบริเวณหอประชุมและบริเวณริมฝั่งคลอง 2.ส่วนสำหรับการศึกษาเรียนรู้และส่วนที่เกี่ยวข้องกับการนำมาใช้ประโยชน์ในครัวเรือน ชุมชนเริ่มมีความตระหนักในการรักแม่น้ำริมคลอง พืชสมุนไพร น้ำหมักชีวภาพ การปฏบัติตามกฎกตกาการอนุรักษ์แม่น้ำลำคลอง

    ลำคลองเขากอย แปลงสาธิต กลุ่มน้ำหมักชีวภาพ

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สังคม เช่น มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ลดการเกิดอุบัติเหตุ ครอบครัวอบอุ่น การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อเด็ก เยาวชน และกลุ่มวัยต่าง ๆ มีพื้นที่สาธารณะ/พื้นที่ทางสังคม เพื่อเอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชน มีการใช้ศาสนา/วัฒนธรรมเป็นฐานการพัฒนา

    มีการจัดแปลงสาธิตเพื่อให้เด็ก เยาวชนที่สนใจไปดูงานและสรรพคุณเพื่อปรับใช้ในชีวิตประจำวัน

    แปลงสาธิต 2 แปลง

    ควรมีสถานที่การจัดแปลงสาธิตที่ใหญ่กว่านี้และควรสรรหาพืชสมุนไพรมาปลูกเพิ่ม

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. เศรษฐกิจสร้างสรรค์สังคม /สร้างอาชีพ / เพิ่มรายได้

    มีการปลูกผักกินเอง เลยทำให้มีการลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ คือถ้าพืชผักที่ปลูกเกิดผลผลิตก็สามารถกินภายในครัวเรือน ถ้าเหลือใช้ก็แบ่งปันหรือแบ่งขายเพื่อเพิ่มรายได้

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการบริการสุขภาพทางเลือก และมีช่องทางการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. อื่นๆ

     

     

     

    4. การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. มีกฎ / กติกา ของกลุ่ม ชุมชน

    มีกฏการอนุรักษ์คลองเขากอยและบทลงโทษดังนี้ 1.ไมทิ้งขยะมูลฝอยหรอของเสียลงในคลองเขากอย 2. ไม่ฉีดยาฆาหญ้าสองข้างคลองเขากอยข้างละ 5 เมตร 3. ไม่จับสัตว์น้ำด้วนอวนตาถี่ กัดตาถี่ การเบื่อปลาและการช๊อตปลาในคลองเขากอย บทลงโทษ
    1. ตักเตือน 2. ปรับขั้นต่ำ 500 บาท ไม่เกิน 5000 บาท

    หอประชุมหมู่ที่ 3 บ้านเขากอยและภาพถ่ายของกิจกรรมโครงการ

    การสร้างความรู้ความเข้าใจอย่างต่อเนื่องทั้งคนในชุมชนและนอกชุมชนเพื่อการปฏิบัติตามกฏที่เคร่งครัดขึ้น

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. มีมาตรการทางสังคมของกลุ่ม ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. มีธรรมนูญของชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. อื่นๆ เช่น ออกเป็นข้อบัญญัติท้องถิ่น ฯลฯ

     

     

     

    5. เกิดกระบวนการชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. เกิดการเชื่อมโยงประสานงานระหว่างกลุ่ม / เครือข่าย (ใน และหรือนอกชุมชน)

    มีการผสานงานภายในกลุ่มคือภายในคณะทำงานและชาวบ้านภายในชุมชน เข้าร่วมพัฒนา อบต.เขาพระทอง โดยนายกประดับ หมื่นจร เข้าร่วมกิจกรรมของชุมชนเพราะให้ความสำคัญกับจิกรรมชุมชนรพ.สต.เขาพระทอง ให้การสนับสนุนบุคลากรและวิทยากรในการถ่ายทอดความรู้

    ภาพถ่ายของกิจกรรมโครงการ

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเรียนรู้การแก้ปัญหาชุมชน (การประเมินปัญหา การวางแผน การปฏิบัติการ และการประเมิน)

    มีการวางแผนการทำงานทุกขั้นตอน มีการจัดการกิจกรรมต่างๆให้ทันเวลา มีการปรับเปลี่ยนวันเวลาตามความเหมาะสม ตามความพร้อมของชุมชน

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ประโยชน์จากทุนในชุมชน เช่น การระดมทุน การใช้ทรัพยากรบุคคลในชุมชน

    เชิญวิทยากรจาก รพสต.เขาพระทอง มาเป็นวิทยากร และเชิญปราชญ์ชาวบ้านในชุมชนเป็นวิทยากรในกิจกรรมในชุมชน

    ภาพถ่ายของกิจกรรมโครงการ

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกลุ่มและชุมชนที่เกิดจากโครงการอย่างต่อเนื่อง

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. เกิดกระบวนการจัดการความรู้ในชุมชน
    1. มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเวทีประชุมประจำเดือน
    2. มีการสร้างแปลงสาธิตจำนวน 2 แปลง
    3. กลุ่มน้ำหมักชีวภาพที่สามารถถ่ายทอดความรู้ต่อไปได้

    สถานที่ทำแปลงสาธิตและการทำน้ำหมักชีวภาพ บ้านานสุคนธ์ พลเกษตร และนายสันติภักดีชนะ

    ต้องมีการดำเนินการต่อเพื่อให้ได้ผลของกิจกรมที่ดีขึ้น

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. เกิดทักษะในการจัดการโครงการ เช่น การใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ การทำแผนปฏิบัติการ

    เกิดการติดตามการทำกิจกรรม ได้พูดคุย เสนอแนะเพิ่มเติม โดยคณะทำงาน ได้ติดตามการทำกิจกรรมไม่มว่าจะเป็นการปฏิบัติตามกฏกติการหรือการปลูกผักกินเองว่าคนในชุมชนมีการปฏิบัติกันมากน้อยเพียงใด

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. อื่นๆ

     

     

     

    6. มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเอง / กลุ่ม / ชุมชน

    เกิดความภาคภูมิใจในการที่ทำโครงการนี้สำเร็จและผลออกมาดีน่าพอใจ และมีความภาคภูมิใจในคณะทำงานที่ช่วยกันทำให้กิจกรรมต่างๆผ่านไปด้วยดีโดยแต่ละคนก็ทุ่มเทเวลาและแรงกายแรงใจเพื่อให้งานออกมาตามที่ตั้งไว้ และก็ต้องขอบคุณความสามัคคีของคนในชุมชนที่มาช่วยกันทำกิจกรรม มาตามวันที่นัดหมาย เสียเวลาพักผ่อนแต่ทุกๆคนก็มาเพื่อร่วมกิจกรรมทุกกิจกรรมให้ผลออกมาดี ถ้าไม่ได้ทุกกลุ่มกิจกรรมก็คงไม่เสร็จและไม่ผ่านไปด้วยดี

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเห็นประโยชน์ส่วนรวมและส่วนตนอย่างสมดุล

    ทุกคนเห็นประยชน์ของส่วนรวมในการร่วมการทำกิจกรรมพัฒนาสองฝั่งคลอง การปลูกผัก การสร้างแปลงสาธิต และการเห็นประโยชน์ส่วนตนคือการปลูกผักส่วนครัวกินเอง และการไม่ปฏิบัติผดกฏขงส่วรรวม

    หอประชุมบ้านเขากอย ลำคลองเขากอย บ้านของชาวบ้านในชุมขน

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย และพอเพียง

    การปลูกผักกินเอง ลดการใช้ปุ๋ยเคมี การประหยัดรายจ่ายเพื่อไว้ใช้จ่ายสิ่งที่จเป็น

    บริเวณบ้านของชาวบ้าน

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. ชุมชนมีความเอื้ออาทร

    คนในชุมชนมีความรักใคร่สมัคคีกัน ร่วมกันทำกิจกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะพัฒนาสองฝั่งคลอง การทำแปลงสาธิต หรือการร่วมไม้ร่วมมือกันมาเข้าร่วมกิจกรรม

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. มีการตัดสินใจโดยใช้ฐานปัญญา

    มีการสอบถามความร่วมมือความเห็นปล้องต้องกัน ในการทำกิจกรรมแต่ละกิจกรรม และผลของการทำกิจกรรม โดยเกิดจากการเห็นด้วยของคนในชุมชน

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. อื่นๆ

     

     

     

    รักษ์สุขภาพ รักษ์สิ่งแวดล้อม ที่บ้านเขากอย จังหวัด นครศรีธรรมราช

    รหัสโครงการ 57-02581

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นายสุวัฒน์ ชูเกิด )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด