แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


“ เกษตรกรบ้านบางไทรนนท์ร่วมใจลดภัยสารเคมี ”

บ้านบางไทรนนท์ หมู่ที่ 3 ตำบลบ้านใหม่ อำเภอปากพนัง

หัวหน้าโครงการ
นางอวยศรี รัตนมณี

ชื่อโครงการ เกษตรกรบ้านบางไทรนนท์ร่วมใจลดภัยสารเคมี

ที่อยู่ บ้านบางไทรนนท์ หมู่ที่ 3 ตำบลบ้านใหม่ อำเภอปากพนัง จังหวัด นครศรีธรรมราช

รหัสโครงการ 57-02585 เลขที่ข้อตกลง 58-00-0077

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 20 ตุลาคม 2557 ถึง 20 พฤศจิกายน 2558


กิตติกรรมประกาศ

"เกษตรกรบ้านบางไทรนนท์ร่วมใจลดภัยสารเคมี จังหวัดนครศรีธรรมราช" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน บ้านบางไทรนนท์ หมู่ที่ 3 ตำบลบ้านใหม่ อำเภอปากพนัง

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
เกษตรกรบ้านบางไทรนนท์ร่วมใจลดภัยสารเคมี



บทคัดย่อ

โครงการ " เกษตรกรบ้านบางไทรนนท์ร่วมใจลดภัยสารเคมี " ดำเนินการในพื้นที่ บ้านบางไทรนนท์ หมู่ที่ 3 ตำบลบ้านใหม่ อำเภอปากพนัง รหัสโครงการ 57-02585 ระยะเวลาการดำเนินงาน 20 ตุลาคม 2557 - 20 พฤศจิกายน 2558 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 186,400.00 บาท จาก เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 125 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

 

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อให้เกษตรกร ที่ใช้สารเคมีมีการป้องกันตนเองและลดการสัมผัสสารเคมีโคยตรง
  2. เพื่อให้เกิดการรวมกลุ่มเกษตรกร ลดการใช้สารเคมีโดยปลูกผักปลอดสารพิษเป็นแปลงต้นแบบเกิดกลไกให้เกษตรกรที่ปลูกขายได้มาเรียนรู้
  3. เพื่อบริหารจัดการและติดตามผลการดำเนินงานโครงการ

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

     


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. ปฐมนิเทศโครงการ

    วันที่ 29 พฤศจิกายน 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ลงทะเบียนร่วมประชุมปฐมนิเทศ ณ สจรส.มอ. ชั้น 14 อาคารศูนย์ทรัพยากรณ์การเรียนรู้ (LRC) มอ.อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา
    • กระบวนการและระบบกาาฃรติดตามประเมินผลเพื่อการหนุนเสริมโครงการร่วมสร้างชุมชนและท้องถิ่นให้น่าอยู่ โดย ผศ.ดร.พงศ์เทพ สุธีรวุฒิ  ผอ.สจรส.มอ.
    • ความคาดหวัง ประสบการณ์ และแนวทางในการจัดทำรายงานผล และรายงานการเงิน โดย คุณปรีดารัตน์  ศรัทธานนท์กุล
    • การบริการจัดการโครงการและวิธีการจัดการปัญหา โดยคุณกำล  สมรักษ์
    • การบริหารจัดการงบประมาณ โดย คุณสมบูรณ์ ขวัญสงค์ และคุณจุรีย์  หนูผุด
    • การทำรายงานโครงการและรายงานการเงิน  โดยกัญนภัส  จันทร์ทอง
    • การจัดทำรายงานผ่านแวปไซด์คนใต้สร้างสุข www.happynetwork.org  โดย คุณภานุมาศ  นนทพันธ์
    • ผู้รับผิดชอบโครงการฝึกปฏิบัติการในหัวข้อ
          1)การป้อนข้อมูลรายละเอียดโครงการในแวปไซด์     2)ทบทวนและออกแบบเชิงระบบของโครงการ     3)การวางแผนการดำเนินงานและการป้อนแผนการดำเนินงานในปฏิทินโครงการ     4)การรายงานผลการจัดกิจกรรม และรายจ่ายในกิจกรรม     5)การจัดทำรายงาน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ทีมงานเข้าใจในวัตถุประสงค์ของโครงการของ สสส.
    • ได้ปฏิทินแผนปฏิบัติการโครงการ
    • ได้ทักษะเบื้องต้นและความเข้าใจในการจัดทำรายงานผ่านเว็บไซต์ที่ถูกต้อง

     

    2 3

    2. จัดทำป้ายรณรงค์เขตปลอดบุหรี่

    วันที่ 1 ธันวาคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ปิดแผ่นป้ายประกาศในที่ชุมชน เพื่อประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนในพื้นที่ตระหนักถึงพิษภัยของการสูบบุหรี่

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • มีแผ่นป้ายประกาศในที่ชุมชน เพื่อประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนในพื้นที่ตระหนักถึงพิษภัยของการสูบบุหรี่

     

    5 5

    3. ประชุมคณะกรรมการ คร้งที่1

    วันที่ 8 ธันวาคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมคณะทำงาน ประธานโครงการ ชี้แจงงบประมาณที่ได้รับจัดสรร และการวางแผนปฏิทินโครงการ ที่ได้ไปทำกับทีมงานที่ สจรส มอ.  3 คน ในวันปฐมนิเทศ ที่ประชุมรับทราบและเห็นชอบแผนปฏิบัติการตามปฏิทินที่ได้วางเอาไว้ และมอบหมายภาระกิจเพื่อทำการชี้แจงโครงการในวันจัดเวทีชี้แจงโครงการกับชุมชน มอบหมายเลขา จัดเตรียมเอกสารแบบลงทะเบียน ประชาสัมพันธ์ ทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์ ให้กลุ่มเป้าหมายทราบและเข้าร่วมประชุมในวันจัดเวทีชี้แจง มอบหมายผู้ติดต่อจัดเตรียมอาหาร ทุกคนรับทราบภาระกิจ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ที่ประชุมคณะทำงานได้รับทราบแผนการปฏิบัติตามแผนปฏิทินที่ได้วางเอาไว้ และพร้อมที่จะร่วมกันดำเนินการตามโครงการให้บรรลุผลตามวัตถุประสงค์ของโครงการตามงบประมาณที่ได้รับการสนับสนุน

     

    15 15

    4. จัดเวทีชี้แจงกิจกรรมโครงการ

    วันที่ 13 ธันวาคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ลงทะเบียน,
    • ผู้ดำเนินเวทีการประชุมกล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุม ละลายพฤติกรรมผู้เข้าร่วมประชุมเล็กๆน้อยๆ,
    • แนะนำคณะทำงานโครงการและที่ปรึกษา,  - เกริ่นนำที่มาของโครงการพอสังเขป
    • แนะนำพี่เลี้ยงและให้พี่เลี้ยงอธิบายถึงที่มาของโครงการและ สสส.
    • ผู้ดำเนินการได้ให้กำนันตำบลบ้านใหม่พบพี่น้องประชาชนเล่าประสบการณ์การดำเนินการโครงการของหมู่ที่ 1 ซึ่งเป็นหมู่บ้านของกำนันเอง
    • ผู้ดำเนินการเวทีประชุมเริ่มอธิบายถึงการดำเนินการตามโครงการโดยลำดับขั้นตอนในการปฏิบัติการตามโครงการปฏิทินการดำเนินการตามโครงการ ที่ไปที่มาของปัญหาของชุมชนหมู่บ้านที่มีความจำเป็นในการของบประมาณมาเพื่อพัฒนาสุขภาวะของหมู่บ้านให้ทุกคได้มีสุขภาพที่ดี สิ่งแวดล้อมที่ดี เป็นต้น
    • รับประทานอาหารเที่ยง
    • พบหน่วยงานพัฒนาชุมชนอำเภอปากพนังที่รับผิดชอบในหมู่บ้านถึงแนวทางการพัฒนาไปพร้อม ๆ กัน
    • พบนายก อบต.บ้านใหม่ ได้พูดถึงการพัฒนาร่วมกันระหว่างหมู่บ้านและ อบต.ทำดีมีงบประมาณอุดหนุนให้บ้างในเรื่องการประกอบอาชีพของประชาชนในหมู่บ้าน
    • ที่ปรึกษาได้ให้ข้อคิดกับประชาชนให้ทุกคนร่วมมือกันดำเนินการโครงการนี้ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ ตัวชี้วัด และกิจกรรมของโครงการเพื่อให้ชุมชนหมู่บ้านได้มีสุขภาวะที่ดี ชุมชนเข้มแข็งให้เกิดความยั่งยืน
    • ผู้เข้าร่วมประชุมได้เขียนใบสมัครเพื่อเข้าร่วมโครงการตามเอกสารที่ได้จัดทำขึ้น
    • ผู้ดำเนินการเวทีประชุมได้กล่าวเน้นย้ำโครงการนี้เป็นโครงการของทุกนในหมู่บ้านไม่ได้เป็นโครงการกิจกรรมของคณะทำงาน
    • ผู้ดำเนินการประชุมได้กล่าวขอบคุณทุกหน่วยงานที่เข้ามาร่วมประชุม และขอบคุณชาวบ้านทุกคนที่ให้ความร่วมมือในการประชุมครั้งนี้
    • ปิดเวทีประชุมเวลา 15.10 น.

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผู้ดำเนินเวทีการประชุมกล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุม ละลายพฤติกรรมผู้เข้าร่วมประชุมเล็กๆน้อยๆ
    • แนะนำคณะทำงานโครงการและที่ปรึกษา
    • เกริ่นนำที่มาของโครงการพอสังเขป
    • แนะนำพี่เลี้ยงและให้พี่เลี้ยงอธิบายถึงที่มาของโครงการและ สสส.
    • ผู้ดำเนินการได้ให้กำนันตำบลบ้านใหม่พบพี่น้องประชาชนเล่าประสบการณ์การดำเนินการโครงการของหมู่ที่ 1 ซึ่งเป็นหมู่บ้านของกำนันเอง
    • ผู้ดำเนินการเวทีประชุมเริ่มอธิบายถึงการดำเนินการตามโครงการโดยลำดับขั้นตอนในการปฏิบัติการตามโครงการปฏิทินการดำเนินการตามโครงการ ที่ไปที่มาของปัญหาของชุมชนหมู่บ้านที่มีความจำเป็นในการของบประมาณมาเพื่อพัฒนาสุขภาวะของหมู่บ้านให้ทุกคได้มีสุขภาพที่ดี สิ่งแวดล้อมที่ดี เป็นต้น
    • พบหน่วยงานพัฒนาชุมชนอำเภอปากพนังที่รับผิดชอบในหมู่บ้านถึงแนวทางการพัฒนาไปพร้อม ๆ กัน
    • พบนายก อบต.บ้านใหม่ ได้พูดถึงการพัฒนาร่วมกันระหว่างหมู่บ้านและ อบต.ทำดีมีงบประมาณอุดหนุนให้บ้างในเรื่องการประกอบอาชีพของประชาชนในหมู่บ้าน
    • ที่ปรึกษาได้ให้ข้อคิดกับประชาชนให้ทุกคนร่วมมือกันดำเนินการโครงการนี้ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ ตัวชี้วัด และกิจกรรมของโครงการเพื่อให้ชุมชนหมู่บ้านได้มีสุขภาวะที่ดี ชุมชนเข้มแข็งให้เกิดความยั่งยืน
    • ผู้เข้าร่วมประชุมได้เขียนใบสมัครเพื่อเข้าร่วมโครงการตามเอกสารที่ได้จัดทำขึ้น - ผู้ดำเนินการเวทีประชุมได้กล่าวเน้นย้ำโครงการนี้เป็นโครงการของทุกนในหมู่บ้านไม่ได้เป็นโครงการกิจกรรมของคณะทำงาน
    • ผู้ดำเนินการประชุมได้กล่าวขอบคุณทุกหน่วยงานที่เข้ามาร่วมประชุม และขอบคุณชาวบ้านทุกคนที่ให้ความร่วมมือในการประชุมครั้งนี้

     

    125 122

    5. ประชุมคณะกรรมการครั้งที่ 2

    วันที่ 12 มกราคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ทบทวน ถอดบทเรียน รายงานผลการดำเนินการทั้งการเงิน  เอกสารหลักฐานที่เก็บไว้เป็นหลักฐาน  เสียงสะท้อนจากชาวบ้านและข้อเสนอแนะต่างๆ
    • วางแผนการจัดกิจกรรมครั้งต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้ทบทวนการจัดกิจกรรมครั้งที่ผ้่านมา มีเสียงสะท้อนจากชาวบ้านที่เข้าร่วมกิจกรรมทั้งในทางที่เป็นประโยชน์ ข้อเสนอแนะต่าง ๆ ที่ได้ฝากมากับคณะทำงาน และทุกคนยังเข้าร่วมกิจกรรมต่อไป
    • ได้ให้เหรัญญิกรายงานการใช้จ่ายเงินในการจัดกิจกรรมของเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ก็ได้ใช้จ่ายไปตามแผนกิจกรรมการใช้จ่ายตามโครงการ ในที่ประชุมรับทราบและไม่มีใครสงสัยอะไร
    • เลขานุการโครงการ ได้สรุปการจัดเก็บและการจัดทำเอกสารรายงานงวดเงินในแต่ละกิจกรรมที่ได้ดำเนินการมาแล้ว ตามที่ทางกองทุนฯกำหนดไว้เป็นปัจจุบันเรียบร้อย พร้อมรับการตรวจสอบจากผู้เข้าร่วมโครงการและภาคีต่างๆ
    • ที่ประชุมได้วางแผนการทำกิจกรรมต่อไปในเดือนมกราคม มี 2 กิจกรรม เพื่อเตรียมความพร้อมทั้งคณะทำงาน วัสดุอุปกรณ์ที่ต้องใช้ในวันจัดกิจกรรม มอบหมายหน้าที่ภารกิจให้กับคณะทำงานทุกคนได้รับผิดชอบในวันที่จัดกิจกรรม

     

    15 12

    6. จัดเวทีเรียนรู้ ผู้ป่วยเล่าประสบการณ์

    วันที่ 25 มกราคม 2558 เวลา 09:00-16.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ลงทะเบียน
    • วิทยากรกล่าวเปิดประชุม
    • แชร์ประสบการณ์กรณีตัวอย่างที่ใช้สารเคมีไม่ถูกต้อง (แพ้สารเคมี)
    • สาธิตจำลองเหตุการณ์การรับสารเคมี (การแพร่กระจายของสารเคมี)
    • สาธิตการแต่งกายเมื่อทำงานเกี่ยวกับสารเคมี (ฉีดยาหญ้า ฉีดยาฆ่าแมลง)
    • แบ่งกลุ่มจัดโซนการติดตามเพื่อกระตุ้นการใช้อุปกรณ์ป้องกันสารเคมี

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • วิทยากรได้กล่าวเปิดเวทีการประชุมสัมมนา เกริ่นนำถึงสาเหตุของการได้รับสารเคมีทางร่างกายของเราว่าทางไหนบ้างเช่น ทางรูขุมขน การหายใจ การกิน การอุปโภคบริโภค เป็นต้น -  นางสาวอัญชลี  เรืองประพันธ์ ซึ่งเป็นเกษตรกรในหมู่บ้านที่เกิดอาการแพ้สารเคมีอย่างรุนแรงถึงกับต้องเข้าโรงพยาบาล ได้มาเล่าแชร์ประสบการณ์ที่เกิดขึ้นกับตัวเองถึงสาเหตุ อาการที่เกิดการแพ้จากการใช้สารเคมีที่ไม่ถูกต้องโดยไม่ได้ทำการป้องกัน และได้ให้ข้อคิดกับผู้เข้าร่วมประชุมได้ตระหนักถึงอันตรายที่เกิดขึ้นจากการไม่ป้องกันในการใช้สารเคมี
    • ได้ทำการสาธิตถึงการแพร่กระจายของสารเคมีที่ผ่านเข้าร่างกายในช่องทางต่างๆ ได้รู้ว่าสารเคมีที่ตกค้างในร่างกายที่อยู่ในยาเคมีว่ามีอะไรบ้าง ที่จะทำให้เกิดโรคเรื้อรังที่ไม่ติดต่อ เช่น ความดันโลหิต เบาหวาน หัวใจ มะเร็ง ไต เป็นต้น
    • ได้ให้ผู้ที่มีประสบการณ์ตรงที่ทำอาชีพเกี่ยวกับฉีดยาหญ้ารับจ้างมาสาธิตการแต่งกายที่ถูกวิธีในการใช้อุปกรณ์ป้องกัน คือ สวมเสื้อแขนยาว กางแกงขายาว แว่นตา แว่นตา ถุงเท้า รองเท้าบูท หมวกคลุมผม  และวิธีการฉีดให้อยู่เหนือลม ถ้าวันใดที่ลมพัดแรงไม่สมควรฉีด
    • จากนั้นได้ร่วมกันจัดกลุ่มแบ่งโซนรับผิดชอบให้คณะกรรมการได้ติดตามประเมิน เป็น ๔ สาย คือ  ๑.สายหลัง รพ.สต. มีนายเอนก  มุสิแดง รับผิดชอบ  ๒.สายบ้านหนองเกาะเสือ นายจรัญ  ทองคำ รับผิชอบ  ๓.สายถนนคอนกรีตไปทางทิศตะวันตก มีนางปรีดา  บุญที่สุด รับ  ๔.สายถนนหลักหมู่บ้านไปทางทิศตะวันออก มีนายพินิจ  สุวรรณเลิศ เป็นผู้รับผิดชอบ

     

    125 123

    7. กำหนดกติกาลดการใช้เคมี

    วันที่ 30 มกราคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ลงทะเบียน
    • เจาะเลือดเพื่อตรวจสารเคมีตกค้างในเลือด
    • ร่วมกันกำหนดกติกาเพื่อกำจัดวัสดุบรรจุสารเคมีให้มีความปลอดภัยต่อผู้ใช้และสิ่งแวดล้อม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ในช่วงเช้าได้ให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้เจาะเลือดเพื่อนำไปตรวจสารเคมีตกค้างในเลือด
    • เกนมาตรฐานในการวัดค่าระดับสารเคมีตกค้างในร่างกายมี 4 ระดับ ดังนี้  1)สีเหลือง ระดับปกติ  2)สีเขียวแกมเหลือง ระดับปลอดภัย  3)สีเขียว ระดับเสี่ยง  4)สีเขียวเข้มแกมดำ  ระดับไม่ปลอดภัย และมีผู้เข้าร่วมตรวจหาสารเคมีในเลือดทั้งหมด 108 คน มีผลการวัดค่าระดับสารเคมีตกค้างดังนี้       1)สีเหลืองค่าระดับปกติ  จำนวน  7 คน คิดเป็นร้อยละ 6.48       2) สีเขียวแกมเหลือง ระดับปลอดภัย  จำนวน  28 คน คิดเป็นร้อยละ 25.93       3)สีเขียว ระดับเสี่ยง  จำนวน  52  คน คิดเป็นร้อยละ 48.15       4)สีเขียวเข้มแกมดำ  ระดับไม่ปลอดภัย  จำนวน  21  คน  คิดเป็นร้อยละ  19.44
    • ได้อธิบายถึงระดับเกนมาตรฐานของระดับสารเคมีที่ตกค้างในร่างกายให้ผู้ร่วมกิจกรรมได้เข้าใจว่าของตัวเองอยู่ในระดับใด จะได้นำผลที่ได้ไปปรับเปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิตตามปรกติของตัวเองและครอบครัว
    • ได้ร่วมกันกำหนดกติกาข้อตกลงในการวางมาตรการในการกำจัดวัสดุบรรจุสารเคมีให้มีความปลอดภัยต่อผู้ใช้และสิ่งแวดล้อม
    • ได้ร่วมกันกำหนดหลุมที่ฝังเศษวัสดุบรรจุสารเคมีทั้ง 3 จุด  คือ จุดที่ 1 นอกนาและถนนซอยหนองเกาะเสือ บริเวณบ้านนายธนกฤต  เพชรรัตน์  หน้าถนนใหญ่ตลอดแนว  บ้าน นายวิรัตน์  อโนทัย  ซอยหลัง รพ.สต.บ้านบางไทรนนท์ ที่บริเวณ รพ.สต.บ้านบางไทรนนท์

     

    95 114

    8. ประชุมกรรมการครั้งที่ 3

    วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ได้ดำเนินการประชุมตามวาระการประชุม 1)  สรุปผลการประชุมครั้งที่ผ่านมา 2)  สรุปค่าใช้จ่ายในกิจกรรมของเดือนมกราคม 2558

      3) วางแผนการดำเนินการกิจกรรมในเดือนกุมภาพันธ์ 2558

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ในการดำเนินการครั้งที่ผ่านมาในเดือน มกราคม 2558 มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมตามเป้าหมายที่ได้วางเอาไว้ และชาวบ้านให้ความร่วมมือที่ดีมาก ทำให้การดำเนินการตามกิจกรรมเป็นไปได้ด้วยดี ไ้ดมีข้อเสนอจากชาวบ้านว่าขอให้ดำเนินการให้จริงให้เกิดผลเป็นรูปธรรมที่สามารถปรับเปลี่ยนไปในทางที่ดีให้ได้
    • เจ้าหน้าที่การเงินได้สรุปค่าใช้จ่ายว่าได้ใช่จ่ายงบประมาณตามกิจกรรมที่วางเอาไว้และได้จัดทำบัญชีที่ทุกคนอ่านแล้วสามารถเข้าใจได้
    • เลขานุการได้จัดทำเอกสารตามแบบรายงานไว้เป็นปัจจุบันเรียบร้อยสามารถตรวจสอบได้
    • กิจกรรมในเดือน กุมภาพันธ์ 2558 มีด้วยกัน 3 กิจกรรม คือ ร่วมเรียนรู้เรื่องการจัดตั้งกลุ่มเกษตรกรปลอดสารพิษ  การลงแขกทำแปลง 2 ครั้ง จำนวน 30 แปลง ยังกำหนดวันเวลาเดิมไม่เปลี่ยนแปลง
    • เพื่อให้การดำเนินการตามกิจกรรมได้ต่อเนื่องกิจกรรมในเดือนมีนาคม เรื่องการเรียนรู้การทำปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ ให้เลื่อนมาเป็นวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2558 ในช่วงเดือนมีนาคมจะได้สรุปผลการดำเนินการตามกิจกรรมในงวดที่ 1 และดำเนินการทำเอกสารขอเบิกงวดที่ 2 ต่อไป เพื่อความต่อเนื่องของโครงการ

     

    15 13

    9. จัดตั้งกลุ่มเกษตรกรปลอดสารพิษ

    วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ลงทะเบียน
    • บรรยายเรื่องเกษตรธรรมชาติตามวิถีพอเพียง
    • บรรยายเกษตรอินทรีย์ปลอดสารพิษ
    • แบ่งกลุ่มตามโซนภูมินิเวศพื้นที่

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • เรียนรู้เรื่องเกษตรธรรมชาติตามวิถีพอเดียง เป็นการทำเกษตรตั้งแต่บรรพบุรุษของเราที่ปลูกทุกอย่างที่กินและกินทุกอย่างที่ปลูก โดยไม่มีการใช้สารเคมีแต่อย่างใด เป็นการรักษาสุขภาพของคนกินพืชที่ปลูกและเป็นการรักษาสภาพแวดล้อมให้สมดุลกับธรรมชาติ เป็นการทำแบบธรรมชาติ อยู่กับธรรมชาติ โดยใช้ปุ๋ยที่เป็นธรรมชาติ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋พืชสด เป็นต้น เพื่อเป็นการสืบทอดวัฒนธรรมการเกษตรธรรมชาติ พวกเราต้องถอยหลังกลับคนละเก้าเพื่อกลับไปใช้ธรรมชาติที่อยู่รอบตัวเราให้เกิดประโยชน์สูงสุดเหมือนกับอดีตรุ่นปู่ รุ่นยาของได้ดำเนินการมา
    • เรียนรู้เรื่องเกษตรอินทรีย์ปลอดสารพิษ เป็นการทำการเกษตรที่ไม่ใช่สารเคมี ให้พวกเราใส่ปุ๋ยที่อยู่ในธรรมชาติ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด มาปรับใช้กันอย่างจริงจัง นำมาใส่พืชผักที่เราปลูกเอาไว้กิน โดยไม่ต้องใช้สารเคมี เพื่อให้สุขภาพของเราดีขึ้น สิ่งแวดล้อมดีขึ้น และในครั้งต่อไปเราจะได้มาเรียนรู้เรื่องการทำปุ๋ยชีวภาพ (น้ำหมักชีวภาพ) ที่จะทำมี 4 ชนิดด้วยกันคือ ผลไม้สีเหลือง  ยอดผักต่างๆ สมุนไพรและหอยเชอรี่ นำมาทำน้ำหมักและจะได้นำไปใส่พืชผักที่เราปลูกกินกันต่อไป
    • การแบ่งกลุ่มการเรียนรู้เกษตรปลอดสารพิษตามภูมิเวศน์ในชุมชนแบ่งออกได้ 4 กลุ่มดังนี้ 1) กลุ่มทางสายกลาง (ถนนสายกลางในหมู่บ้าน)มีสมาชิกดังนี้     1.นางชุติการญจน์  ชายแก้ว (หัวหน้ากลุ่ม) 2.นางวรรณา  บ่มไล่  3.นางประภา  หนูคง  4.นางอารีย์  นิยมญาติ  5.นางประจวน  บัวคำ  6.นางพนิตา  รักษ์ศิลป์  7.นายสีทอน  คำยอด  8.นายธนกฤต  เพชรรัตน์  9.นายณัฐพล  จันทร์เสน 10.นายจรัญ  ทองคำ 2) กลุ่มหลังอนามัย (ถนนซอยหลัง รพ.สต.) มีสมชิกดังนี้     1.นายไพบูลย์  เงินนุช (หัวหน้า) 2.นายอานนท์  ปลอดวงค์  3.นางอุไรวรรณ  บัวคำ  4.นายเอนก  มุสิแดง  5.นางนงลักษณ์  ศรีคำ  6.นางร่าน  คงไสยะ 7.นางปรีชา  คงไสยะ 8.นางวารี  คำหนู 9.นายสุกล  อ่อนแก้ว  10.นางอารมย์  เงินนุช  11.นางถ้วน  กะลาสี  12.นางเลขา  เมืองแก้ว 13.นางอาภรณ์  หนูคง  14.วันเพ็ญ 3)กลุ่มหนองเกาะเสือ (ซอยหนองเกาะเสือ) มีรายชื่อดังนี้     1.นางชูชีพ  ไกรวงค์ (หัวหน้า)  2.นางหวง  เกตุไทย 3.นายดวน  หนูคง  4.นางอัญชลี  เรืองประพันธ์  5.นางหนูพิศ  กลิ่นสัมผัส  6.นายเจริญ  คำดวง 7.นางอุทัย  พวงมณี  8.นางสุดา  หมื่นเดช  9.นางสุภานี  อ่างแก้ว  10.นายวินิจ  แก้วเถื่อน  11.นางสาวชฎาภรณ์  คำยอด 4) กลุ่มถนนดำรวมใจ (ถนนสายหลักของตำบล) มีรายชื่อดังนี้     1.นางรัตนา  เรืองรัตน์ (หัวหน้า) 2.นางธันยภรณ์  เพชรรัตน์  3.นางสุชัญญา  สุขเอก  4.นางสุภานีย์  คมเกลี้ยง  5.นางแถลง  บัวคำ  6.นางปรีดา  บุญที่สุด  7.นายพินิจ  สุวรรณเลิศ  8.นางวิรัตน์  อโนทัย  9.นางช่อกลิ่น  บัวรสชง  10.นายละมุล  เพชรหนองชุม  11.นายทิวากร  รัตนมณี  12.นางประคอง  สุขสวัสดิ์

     

    45 45

    10. ลงแขกปรับพื้นที่แปลงเกษตรปลอดสารพิษจำนวน 15 แปลง ครั้งที่ 1

    วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ลงทะเบียน
    • แบ่งกลุ่มเป้าหมายตามลักษณะภูมินิเวศพื้นได้ 4 กลุ่ม
    • ลงพื้นที่ช่วยกันปรับพื้นที่ตามที่ได้รับมอบหมาย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • วิทยากรได้พูดคุยในที่ประชุมถึงผลประโยชน์ที่ได้จากการใช้น้ำหมักชีวภาพ และการทำเกษตรอินทรีย์ ดีต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมเป็นการลดภาวะเสี่ยงโรคเรื้อรังที่ไม่ติดต่อรายใหม่
    • ได้แบ่งกลุ่มตามภูมินิเวศพื้นที่ได้ 4 กลุ่มดังนี้ -  กลุ่มบ้านเกาะเสือ มีนายจรัญ  ทองคำ เป็นหัวหน้ากลุ่ม  - กลุ่มหลังอนามัย มีนายไพบูลย์  เงินนุช  เป็นหัวหน้ากลุ่ม  - กลุ่มทางสายกลาง มีนางชุติกาญจน์  ชายแก้ว  เป็นหัวหน้ากลุ่ม  - กลุ่มถนนดำรวมใจ มีนางรัตนา  เรืองรัตน์  เป็นหัวหน้ากลุ่ม
    • จากนั้นเมื่อได้แบ่งกลุ่มกันเรียบร้อยแล้วสมาชิกทุกคนในแต่ละกลุ่มก็ได้ร่วมกันปรับพื้นที่ที่ใช้ในการเพาะปลูกผักปลอดสารพิษของสมาชิกแต่ละคน
    • สมาชิกทุกคนมีความสนุกสนานกับการได้ทำงานร่วมกันโดยไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย ใครเหนื่อยก็พัก ให้คนอื่นมาทำต่อสับเปลี่ยนหมุนเวียนกันไปจนเสร็จภารกิจในวันนี้

     

    45 48

    11. ลงแขกปรับพื้นที่แปลงเกษตรปลอดสารพิษจำนวน 15 แปลง ครั้งที่ 2

    วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ลงทะเบียน
    • ลงพื้นที่ช่วยกันปรับพื้นที่ตามที่ได้รับมอบหมาย ตามกลุ่มเป้าหมายตามลักษณะภูมินิเวศพื้นได้ 4 กลุ่ม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • สมาชิกได้ช่วยเหลือปรับปรุงแลงสมาชิกที่เหลือในแต่ละกลุ่มก็ได้ร่วมกันปรับพื้นที่ที่ใช้ในการเพาะปลูกผักปลอดสารพิษของสมาชิกแต่ละคนจนแล้วเสร็จที่เหลือตกค้างอยู่จากวันที่ 14 ก.พ.58
    • สมาชิกทุกคนมีความสนุกสนานกับการได้ทำงานร่วมกันโดยไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย ใครเหนื่อยก็พัก ให้คนอื่นมาทำต่อสับเปลี่ยนหมุนเวียนกันไปจนเสร็จภารกิจในวันนี้ และในระหว่างที่เตรียมพื้นที่กันอยู่นี้ก็ได้มีการแลกเปลี่ยนทัศนคติและประสบการณ์เล่าสู่กันฟังเพื่อเป็นแนวทางให้การดำเนินการร่วมกันต่อไป

     

    45 45

    12. ทำน้ำหมัก ปุ๋ยชีวภาพ สมุนไพรไล่แมลง

    วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ลงทะเบียน
    • ความเป็นมาของน้ำหมัก ประเภทของปุ๋ย  ชนิดของน้ำหมัก ประโยชน์ของน้ำหมักชีวภาพ
    • แนะนำวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำน้ำหมักแต่ละชนิด
    • สาธิตการทำน้ำหมักแต่ละชนิด

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • วิทยากรได้แนะนำความเป็นมาของของน้ำหมัก อธิบายประเภทของปุ๋ยที่เหมาะสมกับดินในแต่ละชนิด  และวิธีการใช้น้ำหมักชีวภาพ ประโยชน์ของการใช้น้ำหมักชีวภาพ
    • วิทยากรได้แนะนำวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ทำน้ำหมักชีวภาพในแต่ละชนิด 1)น้ำหมักหอยเชอรี่ 2)น้ำหมักผลไม้ 3)น้ำหมักผัก 4)น้ำหมักสมุนไพร ให้สมาชิกช่วยกันหั่นวัตถุดิบที่เตรียมมาให้เป็นชิ้นเล็ก โดยแยกกันทำตามกลุ่มที่ได้จัดตั้งก่อนหน้านี้แล้ว
    • วิทยากรได้ให้สมาชิกเริ่มปฏิบัติจริงตามวิธีการทำน้ำหมักแต่ละชนิด
    • สรุปผลารปฏิบัติและแนะนำการนำน้ำหมักชีวภาพนำไปใช้ และการนำไปขยายเชื้อต่อที่จะนำไปทำใช้เองที่บ้านครัวเรือน

     

    45 45

    13. ประชุมคณะกรรมการครั้งที่ 4

    วันที่ 9 มีนาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • สรุป ประเมินผลกิจกรรมที่ได้ดำเนินการที่ผ่านมา
    • วางแผนกาดำเนินกิจกรรมต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ในการดำเนินการครั้งที่ผ่านมาในเดือน กุมภาพันธ์ 2558 มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมตามเป้าหมายที่ได้วางเอาไว้ และชาวบ้านให้ความร่วมมือที่ดีมาก ทำให้การดำเนินการตามกิจกรรมเป็นไปได้ด้วยดี ได้มีข้อเสนอจากชาวบ้านว่าขอให้ดำเนินการให้จริงให้เกิดผลเป็นรูปธรรมที่สามารถปรับเปลี่ยนไปในทางที่ดีให้ได้ และสมาชิกได้นำความรู้ที่ได้ในการทำน้ำหมักแต่ละชนิดไปทำที่บ้าน
    • เจ้าหน้าที่การเงินได้สรุปค่าใช้จ่ายว่าได้ใช่จ่ายงบประมาณตามกิจกรรมที่วางเอาไว้และได้จัดทำบัญชีที่ทุกคนอ่านแล้วสามารถเข้าใจได้
    • เลขานุการได้จัดทำเอกสารตามแบบรายงานไว้เป็นปัจจุบันเรียบร้อยสามารถตรวจสอบได้
    • กิจกรรมในเดือน มีนาคม 2558 มีด้วยกัน 3 กิจกรรม คือ 1)สรุปงวดแรกรายงานผลให้พี่เลี้ยง พี่เลี้ยงจะได้นำส่งทาง สสส.เพื่อขอรับงบประมาณในงวดที่  2 ต่อไป ตามแบบที่ต้องรายงาน 2) การลงแขกปลูกผักตามแปลงสาธิต  2 ครั้ง จำนวน 30 แปลง ยังกำหนดวันเวลาเดิมไม่เปลี่ยนแปลง
    • เพื่อให้การดำเนินการตามกิจกรรมได้ต่อเนื่องกิจกรรมในเดือนมีนาคม ให้เลขานุการและผู้ประสานงานโครงการเร่งดำเนินการสรุปงวดที่ 1 ให้แล้วเสร็ก่อนวันที่ 20 มีนาคม 2558 เพื่อนำรายงานให่พี่เลี้ยงนำส่งขอเบิกงวด 2 ต่อไป จได้ทำให้กิจกรรมได้ดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง

     

    15 13

    14. ร่วมกันลงแขกปลูกผักสวนครัว จำนวน 15 แปลง ครั้งที่ 1

    วันที่ 28 มีนาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ประชุมวางแผนการลงพื้นที่ร่วมกันปลูกพืชผักปลอดสารพิษวางแผนขั้นตตอนการลงพื้นปลูกผักปลอดสารพิษให้กับสมาชิก ในวันที่ 28 มี.ค.58 ครั้งที่หนึ่งโดยลงพื้นที่ทางกลุ่มสมาชิกสายกลาง และ กลุ่มหลังอนามัยก่อน วันที่ 29 มี.ค.58 ครั้งที่ 2 ให้ลงพื้นที่อีกสองกลุ่มที่เหลืออีกวัน
    • สมาชิกได้ร่วมกันปลูกพืชลงแปลงผักที่เจ้าของแปลงได้เตรียมต้นกล้าพืชเอาไว้แล้ว เช่น ฟักเขียว พริก ถั่วฟักยาว แตงกวาว มะเขือ คะน้า กวางตุ้ง เป็นต้น
    • เมื่อปลูกเสร็จช่วยกันรดน้ำ เพื่อให้ผักที่ปลูกเจริญเติบโต
    • ลงพื้นที่ปฏิบัติจริง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • สรุปวางแผนขั้นตตอนการลงพื้นปลูกผักปลอดสารพิษให้กับสมาชิก ในวันที่ 28 มี.ค.58 ครั้งที่หนึ่งโดยลงพื้นที่ทางกลุ่มสมาชิกสายกลาง และ กลุ่มหลังอนามัยก่อน วันที่ 29 มี.ค.58 ครั้งที่ 2 ให้ลงพื้นที่อีกสองกลุ่มที่เหลืออีกวัน
    • สมาชิกได้ร่วมกันปลูกพืชลงแปลงผักที่เจ้าของแปลงได้เตรียมต้นกล้าพืชเอาไว้แล้ว เช่น ฟักเขียว พริก ถั่วฟักยาว แตงกวาว มะเขือ คะน้า กวางตุ้ง เป็นต้น
    • เมื่อปลูกเสร็จช่วยกันรดน้ำ เพื่อให้ผักที่ปลูกเจริญเติบโต

     

    45 45

    15. ลงแขกปลูกผักสาธิต จำนวน 15 แปลง ครั้งที่ 2

    วันที่ 29 มีนาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ประชุมวางแผนการลงพื้นที่ร่วมกันปลูกพืชผักปลอดสารพิษวางแผนขั้นตตอนการลงพื้นปลูกผักปลอดสารพิษให้กับสมาชิก วันที่ 29 มี.ค.58 ครั้งที่ 2 ให้ลงพื้นที่อีกสองกลุ่มที่เหลือ คือ กลุ่มหนองเกาะเสือและกลุ่มถนนดำรวมใจ เป็นวันที่ 2
    • สมาชิกได้ร่วมกันปลูกพืชลงแปลงผักที่เจ้าของแปลงได้เตรียมต้นกล้าพืชเอาไว้แล้ว เช่น ฟักเขียว พริก ถั่วฟักยาว แตงกวาว มะเขือ คะน้า กวางตุ้ง เป็นต้น
    • เมื่อปลูกเสร็จช่วยกันรดน้ำ เพื่อให้ผักที่ปลูกเจริญเติบโต
    • แลกเปลี่ยนประสบการณ์ถึงการปลูกผักปลอดสารโดยเน้น ทบทวนอดีต ค้นหาปัจจุบัน มองหาอนาคต
    • ลงพื้นที่ปฏิบัติจริง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • สรุปวางแผนขั้นตตอนการลงพื้นปลูกผักปลอดสารพิษให้กับสมาชิก วันที่ 29 มี.ค.58 ครั้งที่ 2 ให้ลงพื้นที่อีกสองกลุ่มที่เหลือ คือ กลุ่มหนองเกาะเสือและกลุ่มถนนดำรวมใจ เป็นวันที่ 2
    • สมาชิกได้ร่วมกันปลูกพืชลงแปลงผักที่เจ้าของแปลงได้เตรียมต้นกล้าพืชเอาไว้แล้ว เช่น ฟักเขียว พริก ถั่วฟักยาว แตงกวาว มะเขือ คะน้า กวางตุ้ง เป็นต้น
    • เมื่อปลูกเสร็จช่วยกันรดน้ำ เพื่อให้ผักที่ปลูกเจริญเติบโต
    • แลกเปลี่ยนประสบการณ์ถึงการปลูกผักปลอดสารโดยเน้น ทบทวนอดีต ค้นหาปัจจุบัน มองหาอนาคต

     

    45 45

    16. ทำหลุมกำจัดขยะพิษ จำนวน 3 หลุม

    วันที่ 4 เมษายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ประชุมกำหนดพื้นที่ทำหลุม 3 หลุม เพื่รวบรวมขยะพิษในหมู่บ้าน คือ บ้านนายวิรัตน์อโณทัยจุดที่ 2 บ้านนายธนกฤตเพชรรัตน์จุดที่ 3 รพ.สต.บ้านบางไทรนนท์ และได้กำนดสมาชิกออกเป็น 3 กลุ่ม เพื่อร่วมด้วยช่วยกันทำหลุมกำจัดวัสดุที่ใช้ใส่สารเคมีตามจุดที่กำหนด
    • ได้พื้นที่ตามกำหนดแล้วสมาชิกที่เข้าร่วมประชุมทั้งหมดได้เดินทางลงพื้นที่เพื่อช่วยกันทำหลุมดังกล่าว
    • แยกกลุ่มเพื่อช่วยกันทำหลุมพื้นที่ที่ที่กำหนด
    • ลงพื้นที่ปฏิบัติการทำหลุมขยะพิษ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    กำหนดพื้นที่ในการทำหลุมเพื่อรรวบรวมขยะพิษในหมู่บ้าน คือ บ้านนายวิรัตน์อโณทัยจุดที่ 2 บ้านนายธนกฤตเพชรรัตน์จุดที่ 3 รพ.สต.บ้านบางไทรนนท์ และได้กำนดสมาชิกออกเป็น 3 กลุ่ม เพื่อร่วมด้วยช่วยกันขุดหลุมกำจัดวัสดุที่ใช้ใส่สารเคมีตามจุดที่กำหนด สมาชิกที่เข้าร่วมประชุมทั้งหมดได้เดินทางลงพื้นที่เพื่อทำหลุมดังกล่าว

     

    125 121

    17. ประชุมคณะกรรมการ ครั้งที่ 5

    วันที่ 20 เมษายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ประชุม สรุป ติดตาม ประเมินตามกิจกรรมวางแผนการดำเนินกิจกรรมต่อไป
      • ทบทวนกิจกรรมที่ได้ดำเนินการในงวดที่ 1 ถึงข้อดีข้อเสีย อุปสรรคและโอกาสในการดำเนินการของโครงการ
      • สรุปผลการดำเนินการกิจกรรมในเดือนเมษายน ที่ทำกิจกรรมลงแปลงปลูกผักปลอดสารพิษ โดยร่วมด้วยช่วยกันทั้ง 30 แปลง สมาชิกให้ความสำคัญโดยการวางแผนการปลูกว่ากลุ่มใดจะปลูกพืชชนิดใหนเมื่อได้ผลผลิตออกมาจะได้แลกเปลี่ยนกัน เป็นการสร้างความสามัคคี และสร้างจิตสำนึกให้สมาชิกมีความเอื้ออาทรต่อกัน
      • สรุปผลการทำหลุมฝังวัสดุที่เป็นบรรจุภัณฑ์สารเคมีได้ดำเนินการทั้ง 3 จุดที่กล่าวมาแล้วในกิจกรรมที่ได้ดำเนินการ สมาชิกรับทราบและพร้อมที่จะทำตามกติกาที่ได้วางเอาไว้
      • วางแผนงานในการดำเนินการในกิจกรรมต่อไปในเดือนพฤษภาคม
    • สรุปยอดเงินที่ได้ดำเนินการในงวดที่ 1 ดำเนินการได้ตามวัตถุประสงค์ที่วางเอาไว้ในโครงการ ได้เช็คยอดเงินงวดที่ 2 ยังไม่ได้รับการโอนมาแต่อย่างใด งบประมาณที่ใช้ในการดำเนินการกิจกรรมในเดือนนี้โดยการยืมสำรองจ่ายจากกลุ่มออมทรัพย์ฯ เมื่อได้รับงบประมาณสนับสนุนมาจะต้องคืนให้โดยทันที

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ทบทวนกิจกรรมที่ได้ดำเนินการในงวดที่ 1 ถึงข้อดีข้อเสีย อุปสรรคและโอกาสในการดำเนินการของโครงการ
    • สรุปผลการดำเนินการกิจกรรมในเดือนเมษายน ที่ทำกิจกรรมลงแปลงปลูกผักปลอดสารพิษ โดยร่วมด้วยช่วยกันทั้ง 30 แปลง สมาชิกให้ความสำคัญโดยการวางแผนการปลูกว่ากลุ่มใดจะปลูกพืชชนิดใหนเมื่อได้ผลผลิตออกมาจะได้แลกเปลี่ยนกัน เป็นการสร้างความสามัคคี และสร้างจิตสำนึกให้สมาชิกมีความเอื้ออาทรต่อกัน
    • สรุปผลการทำหลุมฝังวัสดุที่เป็นบรรจุภัณฑ์สารเคมีได้ดำเนินการทั้ง 3 จุดที่กล่าวมาแล้วในกิจกรรมที่ได้ดำเนินการ สมาชิกรับทราบและพร้อมที่จะทำตามกติกาที่ได้วางเอาไว้
    • วางแผนงานในการดำเนินการในกิจกรรมต่อไปในเดือนพฤษภาคม
    • สรุปยอดเงินที่ได้ดำเนินการในงวดที่ 1 ดำเนินการได้ตามวัตถุประสงค์ที่วางเอาไว้ในโครงการ ได้เช็คยอดเงินงวดที่ 2 ยังไม่ได้รับการโอนมาแต่อย่างใด งบประมาณที่ใช้ในการดำเนินการกิจกรรมในเดือนนี้โดยการยืมสำรองจ่ายจากกลุ่มออมทรัพย์ฯ เมื่อได้รับงบประมาณสนับสนุนมาจะต้องคืนให้โดยทันที

     

    15 15

    18. ประชุมคณะกรรมการ ครั้งท่ี่ 6

    วันที่ 11 พฤษภาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุม สรุปผลการการดำเนินกิจกรรมครั้งที่ผ่านมา และวางแผนการปฏิบัติกิจกรรมต่อไป ตามวาระการประชุม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สรุปผลการประชุมได้ดังนี้ 1. ประธานแจ้งที่ประชุมทราบ เรื่องการดำเนินการตามงวดงบประมาณในงวดที่ 1 ได้ดำเนินการเสร็จเรียบร้อยและได้ดำเนินการขอเบิกงวดที่ 2 เรียบร้อยแล้ว 2. ฝ่ายการเงินได้สรุปค่าใช้จ่ายตามกิจกรรม และงบประมาณที่ต้องใช้จ่ายในกิจกรรมต่อไป 3. เน้นย้ำถึงแผนงานในการดำเนินกิจกรรมในเดือนพฤษภาคม

     

    15 15

    19. ติดตามผลเลือดที่มีสารพิษตกค้าในร่างกายของเกษตรกรและสรุปผล

    วันที่ 12 พฤษภาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ทำการตรวจเลือดหาสารเคมีตกค้างในร่างกายครั้งที่ 2
      • สรุปผลที่ตรวจได้เทียบกับครั้งที่ 1
      • สรุปผลจากการติดตามผลการปฏิบัติโดยคณะกรรมการและตัวแทนครัวเรือนที่เข้าร่วมกิจกรรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้ทำการตรวจเลือดเพื่อหาสารเคมีตกค้างในร่างกายครั้งที่ 2 เพื่อนำมาเปรียบเทียบแต่ละคนว่าได้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตัวเองหรือไม่อย่างไร ซึ่งผลที่ได้เมื่อเปรียบเทียบกันแล้วมีผู้ที่มีการปรับเปลี่ยนผลที่ออกมาปริมาณสารเคมีตกค้างในร่งกายลดลงคิดเป็นร้อยละ 22
      • จากการดำเนินการตามกิจกรรมเพื่อให้เกษตรกรได้ลดการใช้สารเคมีหันมาใช้อินทรีย์ผลที่ได้ยังอยู่ในเกณฑืที่พอใช้ จะต้องทำการรณรงค์กันต่อไปเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายที่ได้วางเอาไว้
      • จากการติดตามผลการปฏิบัติโดยคณะกรรมการและตัวแทนครัวเรือนที่เข้าร่วมกิจกรรม พบว่าสมาชิกได้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้มีความปลอดภัยในการใช้สารเคมี

     

    95 105

    20. ประชุมคณะกรรมการครั้ืั้งที่ 7

    วันที่ 8 มิถุนายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อสรุปผล และวางแผน ในการดำเนินกิจกรรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ประธานที่ประชุมแจ้งงบประมาณในงวดที่2 ได้รับการโอนเข้าบัญชีกลุ่มแล้วเมื่อวันที่ 14 พ.ค.58 เป็นเงินจำนวน 93,200 บาท และให้ทำการเบิกจ่ายตามกิจกรรมรายเดือน
      • สรุปผลการดำเนินกิจกรรม และนำเสียงสะท้อนและข้อเสนอแนะจากชาวบ้านมาเล่าสู่กันฟังเพื่อเป็นแนวทางในการทำกิจกรรมอื่นๆ ต่อไป
      • เหรัญญิกรายงานการใช้จ่ายเงินในกิจกรรมเดือนที่ผ่านมา และให้ดำเนินการคืนเงินยืมสำรองจ่ายกลุ่มออมทรัพย์ด้วยในเดือนนี้
      • วางแผนในการดำเนินกิจกรรมครั้งต่อไปโดยการมอบหมายหน้าที่ให้กรรมการแต่ละคนร่วมกันรับผิดชอบ

     

    15 13

    21. จัดเวทีเรียนรู้ให้คนที่ปฏิบัติได้ดีเป็นตัวอย่าง ชักชวนทำต่อ

    วันที่ 9 มิถุนายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ลงทะเบียน
    • วิทยากรกล่าวนำการดำเนินชีวิตตามวิถีพอเพียง
    • คนทำจริงเล่าประสบการณ์
    • สะท้อนปัญหาที่เกิดขึ้น
    • หาวิธีแก้ไขปัญหาร่วมกัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • การดำเนินวิถีชีวิตแบบพอเพียง พออยู่พอกินเป็นหนทางสู่ความยั่งยืนได้ และเป็นการปรับวิธีคิดให้เกิดจิตสำนึกที่ให้เกิดผลต่อสุขภาพที่ดี และสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัย
    • คนที่ลงมือทำจริงเล่าประสบการณ์ในการปลูกผักเอาไว้กินเองและที่เหลือนำไปขายหรือแลกเปลี่ยนซึ่งและกันกับคนในชุมชน เพื่อให้เกิดความเอื้ออาทรต่อกันของคนในชุมชน ซึ่งได้ทำให้วิถีชีวิตเปลี่ยนไป ได้ลดค่าใช้จ่ายในการซื้อผักในท้องตลาดมากิน
      อยากจะกินอะไรเราก็ปลูก การปลูกไม่ใช้สารเคมีใช้เฉพาะน้ำหมักชีวภาพ ถึงแม้ว่าจะมีแมลงหรือศรัตรูพืชรบกวนบ้างแต่ก็ปลอดภัยกับตัวเรา สามารถลดโรคเรื้อรังลงได้ระดับหนึ่ง เมื่อเปรียบเทียบน้ำตาลในเลือดลดลง ความดันที่เคยสูงก็ลดลง โรคที่เจ็บตามข้อปวดเมื่อยก็ลดลง ฉะนั้นขอให้ทุกคนทำเถอะเพื่อสุขภาพของเรา
    • ปัญหาที่เกิดขึ้นในการปลูกผักกินเอง 1)ไม่มีเมล็ดพันธุ์เองต้องซ้ือจากตลาด 2)ช่วงนี้แล้งขาดน้ำรดต้นผัก3)มีแมลงศรัตรูพืชกัดกิน4)พืชที่ปลูกได้คุณภาพไม่ดีเพราะอาจจะยังขาดความรู้ในการทำ เป็นต้น
    • แนวทางแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำประสานทาง อบต.ให้สูบน้ำเข้ามาในคูส่งน้ำแล้วแมลงศรัตรูพืชให้ใช้นำ้หมักสมุนไพรฉีดพ่น 5 วันครั้งเพื่อขับไล่และทำหมันแมลงควรจัดอบรมให้ความรู้เรื่องการจัดการการเพาะปลูกที่ถูกต้องและถูกวิธี
    • สรุปผลการดำเนินการในเบื้องต้นของการดำเนินการของโครงการ คนที่ทำจริงสามารถเปลี่ยนชีวิตของตนเองได้และทำให้สิ่งแวดล้อมรอบข้างน่าอยู่ยิ่งขึ้น ใครสนใจก็สามารถเข้าร่วมโครงการได้

     

    125 121

    22. ประชุมคณะกรรมการครั้งท่ี 8

    วันที่ 13 กรกฎาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • สรุปผลการดำเนินการที่ผ่านมา รวมถึงการจัดเก็บเอกสารต่าง ๆ
    • วางแผนงานที่จะดำเนินการต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ที่ประชุมได้สะท้อนถึงความสำเร็จและปัญหาที่เกิดขึ้นในการดำเนินการของโครงการ และมีความตั้งใจที่จะดำเนินการโครงการนี้ให้เกิดผลสัมฤทธิ์
    • เจ้าหน้าที่การเงินสรุปค่าใช้จ่ายที่ดำเนินการในกิจกรรมที่ผ่านมา และได้เสนอค่าใช้จ่ายที่จะนำมาจ่ายในกิจกรรมที่จะดำเนินการต่อไป
    • ได้ร่วมกันเสนอความคิดเห็นการดำเนินการในกิจกรรมต่อไปให้เกิดเป็นรูปธรรมและแบ่งหน้าที่กันดำเนินการตามกิจกรรมที่วางเอาไว้
    • เลขานุการโครงการ ได้เสนอการทำและการจัดเก็บเอกสารได้ครบตามกิจกรรมที่ดำเนินการผ่านมาตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด

     

    15 15

    23. แลกเปลี่ยนเรียนรู้และร่วมแก้ปัญหาการปลูกผักสวนรัวครั้งที่ 1

    วันที่ 14 กรกฎาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ลงทะเบียน
    • แบ่งกลุ่มเล่าประสบการณ์ ผลสำเร็จ ปัญหา แนวทางแก้ไข
    • สรุป เพื่อนำไปดำเนินการต่อ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • วิทยากรกระบวนการกลุ่มได้แบ่งกลุ่มออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ15 คน โดยให้แต่ละกลุ่ม ดำเนินการตามโจทย์ที่กำหนดให้ คือ เล่าประสบการณ์ผลสำเร็จ ปัญหา แนวทางแก้ไข
    • สรุปผลการดำเนินการได้ดังนี้
      1) ผลสำเร็จ ปลูกทุกอย่างที่กินและกินทุกอย่างที่ปลูก ที่เหลือจากกินนำไปแลกกันและขายบ้างเป็นผลกำไรทำให้สุขภาพแข็งแรงดีขึ้น เกิดความเอื้ออาทรต่อกันของคนในชุมชนทำน้ำหมักเป็นและรู้วิธีการใช้น้ำหมักที่ถูกต้อง เกิดจิตสำนึกในการช่วยเหลือแบ่งบันกันการทำงานเป็นทีมการยอมรับมติของสังคมลดค่าใช้จ่าย
      2) ปัญหา น้ำแล้งแมลงศัตรูพืช ผักไม่สวย ขายไม่ได้ราคาขาดความรู้ในการจัดการที่ดี คนส่วนใหญ่ในชุมชนยังไม่ให้ความสนใจเท่ที่ควรไม่มีเมล็ดพันธ์ุในชุมชนต้องซ้ือมาจากท้องตลาด

      3) แนวทางแก้ไข เรื่องน้ำประสาน อบต.เพื่อสูบน้ำมาใช้ในการเกษตร แมลงศัตรูพืชให้ทำน้ำสมุนไพรที่หลากหลายชนิดขึ้นผักที่ปลูกควรฉีดพ่นน้ำหมักให้บ่อยขึ้นเพื่อสร้างภูมิต้านทานกับโรคที่เกิดขึ้น ให้ศึกษาการจัดตั้งเป็นธนาคาร เมล็ดพันธุ์ในชุมชนขึ้นถ้าเป็นไปได้ให้ปลูกผักแบบกางมุ้งเพื่อเป็นจุดเรียนรู้ในหมู่บ้านสัก 5 จุดจะสามารถขยายผลในอนาคตได้

     

    45 45

    24. ประชุมคณะกรรมการครั้งที่ 9

    วันที่ 10 สิงหาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • สรุปผลการดำเนินกิจกรรมครั้งที่ผ่านมา
    • ปัญหา ทางแก้ไข ข้อเสนอแนะ สรุปยอดค่าใช้จ่ายในกิจกรรม
    • วางแผนในการดำเนินกิจกรรมต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ประธานที่ประชุม ได้สรุปผลการดำเนินกิจกรรมให้ที่ประชุมรับทราบ และได้มีการแสดงความคิดเห็นกันเพื่อหาแนวทางและมติในการถือปฏิบัติกันต่อไป
    • การดำเนินกิจกรรมที่ผ่านมาในการปลูกผักมีปัญหาเกี่ยวกับแมลงศัตรูพืช และน้ำที่ใช้ในการรดผัก โรคระบาดที่เกิดขึ้นกับผักที่ปลูกแนวทางที่สมาชิกได้ใช้คือใช้น้ำหมักสมุนที่ได้ทำขึ้นนำไปฉีดพ่นสามารถแก้ปัญหาได่ระดับหนึ่ง และมีข้อเสนอแนะว่าถ้าให้ดีต้องปลูกแบบกางมุ้ง เป็นแปลงสาธิตก่อนสัก 5 แปลง
    • ทางผู้รับผิดชอบทางการเงินได้สรุปค่าใช้จ่ายงบประมาณตามกิจกรรมให้ที่ประชุมทราบและที่ประชุมไม่มีข้อสงสัยแต่อย่างใด
    • เหลือระยะเวลาในการดำเนินกิจกรรมของโครงการอีกประมาณ 2 เดือน ให้ใช้งบประมาณตามกิจกรรมที่ได้กำหนดเอาไว้ให้เกิดประโยชน์กับสมาชิกสูงสุด และเป็นแนวทางในการขอสนับสนุนงบประมาณมาต่อยอดได้ในอนาคต

     

    15 15

    25. แลกเปลี่ยนเรียนรู้และร่วมแก้ไขปัญหาการปลูกผักสวนครัว ครั้งที่ 2

    วันที่ 11 สิงหาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • แลกเปลี่ยนในเวทีที่ประชุม ถึงปัญหาและค้นหาทางแก้ไข ข้อเสนอแนะ
    • ลงพื้นที่สมาชิกดูแปลง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ในที่ประชุมได้เล่าประสบการณ์ในการปลูกผักปลอดสารพิษหรือปลอดสารเคมี ซึ่งกันและกัน ทำให้เกิดความรู้ภูมิปัญญาดั้งเดิมและความรู้ใหม่ ได้นำมาประยุกต์บูรณาการเข้าด้วยกันและนำไปปรับใช้กับแปลงผักของตนให้เกิดเป็นผลสัมฤทธิ์ที่เป็นรูปธรรมต่อไป
    • หลังจากนั้นได้ลงแปลงผักของสมาชิกที่เป็นตัวแทนครัวเรือนที่ร่วมโครงการจำนวน 5 ราย ดูสภาพพื้นที่ในแปลงปลูกผักของแต่ละราย ได้แลกเปลี่ยนกันถึงถึงปัญหาอุปสรรคและความสำเร็จของการดำเนินการกิจกรรมตามโครงการ และจะได้นำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้กับแปลงของตน เป็นการสร้างความสามัคคีของคนในชุมชนได้ในระดับหนึ่งและยังสร้างเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับผู้สนใจคนอื่นๆ ได้และชุมชนอื่นใกล้เคียงมาร่วมเรียนรู้ด้วยกันได้ในอนาคต
    • ที่ประชุมได้มีข้อเสนอแนะมายังคณะทำงานโครงการว่า ถ้าหากว่าได้ดำเนินการปลูกแบบกางมุ้งเป็นจุดสาธิตคงจะดีมาก ให้ได้สัก 5 จุดหรือแปลง สาเหตุเนื่องจากในพื้นที่บ้านบางไทรนนท์มีศัตรูพืชมากหลายชนิด ถ้าหากว่าได้ปลูกในระบบปิดผลผลิตที่ออกมาเป็นที่ต้องการของตลาด และเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคโดยทั่วไป ดังคำวลีที่ว่า "ผู้ผลิตปลอดโรคผู้บริโภคปลอดภัย"

     

    45 45

    26. ร่วมกิจกรรมคนใต้สร้างสุข

    วันที่ 4 กันยายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะทำงานเข้าร่วมประชุมเสวนาในงานสานพลัง  สร้างสุขภาวะคนใต้ ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้นวตกรรมใหม่ๆ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • คณะทำงานได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้
    • ได้ทราบแนวทางในการร่วมงานกับ สสส. ในโอกาสต่อไป

     

    2 2

    27. ประชุมคณะกรรมการครั้งที่ 10

    วันที่ 14 กันยายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • สรุปผลการดำเนินกิจกรรมครั้งที่ผ่านมา
    • ปัญหา ทางแก้ไข ข้อเสนอแนะ สรุปยอดค่าใช้จ่ายในกิจกรรม
    • วางแผนในการดำเนินกิจกรรมต่อไป
    • ตัวแทนที่ไปร่วมงานคนใต้สร้างสุขเล่าสิ่งที่ได้ไปเรียนรู้ในวันที่จัดงานคนใต้สร้างสุขเมื่อวันที่4-ุุ6กันยายน 2558

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ประธานที่ประชุม ได้สรุปผลการดำเนินกิจกรรมให้ที่ประชุมรับทราบ และได้มีการแสดงความคิดเห็นกันเพื่อหาแนวทางและมติในการถือปฏิบัติกันต่อไป
    • ให้เลขานุการโครงการ จัดทำแบบสรุปกิจกรรม ใบเสร็จค่าใช้จ่ายตามกิจกรรมในงวดที่ 2 ให้เสร็จเรียบร้อยเพื่อนำเสนอเพื่อขอเบิกงบงวดที่ ๓ ต่อไป
    • ทางผู้รับผิดชอบทางการเงินได้สรุปค่าใช้จ่ายงบประมาณตามกิจกรรมให้ที่ประชุมทราบและที่ประชุมไม่มีข้อสงสัยแต่อย่างใด
    • เหลือระยะเวลาในการดำเนินกิจกรรมของโครงการอีกประมาณ 2 เดือน และในประมาณวันที่ 15 -18 ต.ค. 58 ตามปฏิทิน ของ สสส. จะทำการสัมมนาการปิดโครงการรุ่นที่ 2 ปี งบประมาณ 57
    • ให้ใช้งบประมาณตามกิจกรรมที่ได้กำหนดเอาไว้ให้เกิดประโยชน์กับสมาชิกสูงสุด และเป็นแนวทางในการขอสนับสนุนงบประมาณมาต่อยอดได้ในอนาคต
    • และเอกสารรูปเล่มที่จัดทำขึ้นสรุปโครงการนั้นทำให้แล้วเสร็จในวันที่ 31 ต.ค.58 ซึ่งเป็นวันสิ้นสุดโครงการ

     

    15 15

    28. ติดตาม สรุปผล

    วันที่ 15 กันยายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • สรุปกิจกรรมที่ได้ดำเนินการทั้งหมด
    • ติดตามคนที่ปลูกจริงทำจริงเป็นกิจกวัตรประจำวันให้รางวัล
    • ลงตรวจแปลงที่ทำจริงงได้ผลจริง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้สรุปผลการดำเนินการการปฏิบัติตามกิจกรรมทั้งหมดของโครงการที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณมาทั้งในงวดที่ ๑ และที่ ๒ และได้ร่วมกันจัดทำแผนการปฏิบัติที่ทำให้เกิดการต่อเนื่องเพื่อรองรับการพัฒนาของหน่วยงานต่างๆ ที่เข้ามาเป็นภาคีร่วมพัฒนาในหมู่บ้าน
    • จัดทำเอกสารที่ยังไม่สมบูรณ์ให้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยเพื่อรอรับการตรวจสอบความถูกต้องจากพี่เลี้ยงและส่งผลการดำเนินการตามกิจกรรมให้กับทาง สสส.ต่อไป
    • ทำการคัดเลือกตัวแทนครัวเรือนที่ได้ทำจริงเป็นกิจกวัตรประจำวันที่ทำให้วิถีชีวิตประจำวันเปลี่ยนตั้งตัวเองและครอบครัวได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการลดสารเคมีมาพึ่งพาอินทรีย์มากขึ้น
    • ลงตรวจเยี่ยมครอบครัวที่ทำจริงได้ผลจริงเพื่อให้กำลังใจในการดำเนินการต่อไปให้เกิดเป็นนิสัยที่ดี มีสุขภาพที่แข็งแรง ลดการใช้สารเคมีในการทำการเกษตรอินทรีย์ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

     

    45 45

    29. ถอดบทเรียนโครงการ

    วันที่ 5 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ถอดบทเรียนกิจกรรมทั้งหมดที่ได้รับการสนับสนับงบประมาณจาก สสส. ให้มาทั้งโครงการ
    • วิทยากรได้เกริ่นนำที่มาของโครงการเป็นการทบทวนความจำ
    • สรุปผลการดำเนินการกิจกรรมทั้งหมดที่ได้ดำเนินการตามกิจกรรม
    • ตัวแทนครัวเรือนเล่าความสำเร็จและความพึงพอใจของการดำเนินการตามกิจกรรมที่ได้เข้ามาร่วมกันทำกิจกรรม
    • ตอบปัญหาผลที่ได้ทำกิจกรรมกันมาว่าได้ทำอะไรและเกิดผลอย่างไร
    • ผู้เข้าร่วมได้ให้ความรู้และชื่นชมการในการร่วมกันทำกิกจรรมตามโครงการที่ประสบความสำเร็จมีครอบครัวที่สามารถเปลี่ยนพฤติกรรมของตัวเองได้และใช้ชีวิตประจำวันตามวิถีพอเพียง
    • มอบของรางวัลตัวแทนครัวเรือนที่มีกิจกวัตรประจำวันและการทำเกษตรที่ลดสารเคมีและปรับมาเป็นเกษตรอินทรีย์
    • สรุปผลการดำเนินกิจกรรมทั้งหมด ตามวัตถุประสงค์และตัวชี้วัดของโครงการได้ดังนี้

    วัตถุประสงค์

    ข้อที่ 1 เพื่อให้เกษตรกร ที่ใช้สารเคมีมีการป้องกันตนเองและลดการสัมผัสสารเคมีโคยตรง

    มีตัวชี้วัด

    1.1 ครัวเรือนมีพื้นที่ปลูกผักสวนครัวขายมีความรู้และความตระหนักในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้มีความปลอดภัยในการใช้สารเคมีไม่น้อยกว่า 50 ครัวเรือน ผลจากการดำเนินโครงการ ครัวเรือนมีพื้นที่ปลูกผักสวนครัวขายมีความรู้และความตระหนักในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้มีความปลอดภัยในการใช้สารเคมี จำนวน 52ครัวเรือน

    1.2. ครัวเรือนที่ใช้สารเคมีในการปลูกผักสวนครัวเก็บวัสดุหรือขยะพิษในหลุมขยะพิษของชุมชนไม่น้อยว่า 50 ครัวเรือน ผลจากการดำเนินโครงการ ครัวเรือนที่ใช้สารเคมีในการปลูกผักสวนครัวเก็บวัสดุหรือขยะพิษในหลุมขยะพิษของชุมชนจำนวน 40 ครัวเรือน

    1.3. ผลการตรวจสารเคมีตกค้างในเลือดลดลงจากเดิมไม่น้อยกว่า ร้อยละ 20 ของกลุ่มเป้าหมาย ผลจากการดำเนินโครงการ ผลการตรวจสารเคมีตกค้างในเลือดลดลงจากเดิมร้อยละ22 ของกลุ่มเป้าหมาย

    1.4. มีหลุมเก็บขยะพิษในชุมชน อย่างน้อย 3 หลุม ผลจากการดำเนินโครงการ มีหลุมเก็บขยะพิษในชุมชน จำนวน3 หลุม

    ข้อที่ 2เพื่อให้เกิดการรวมกลุ่มเกษตรกร ลดการใช้สารเคมีโดยปลูกผักปลอดสารพิษเป็นแปลงต้นแบบเกิดกลไกให้เกษตรกรที่ปลูกขายได้มาเรียนรู้

    มีตัวชี้วัด

    2.1 ครัวเรือนมีพื้นที่ปลูกผักสวนครัวไว้รับประทานไม่น้อยกว่า 30 ครัวเรือน ผลจากการดำเนินงานครัวเรือนมีพื้นที่ปลูกผักสวนครัวไว้รับประทาน จำนวน45 ครัวเรือน

    2.2 ครัวเรือนที่ปลูกผักไว้รับประทานใช้น้ำหมักชีวภาพแทนการใช้สารเคมี 100%ของกลุ่มเป้าหมาย ผลจากการดำเนินงานครัวเรือนที่ปลูกผักไว้รับประทานใช้น้ำหมักชีวภาพแทนการใช้สารเคมี ร้อยละ100 ของกลุ่มเป้าหมาย

    2.3 มีแปลงผักสวนครัวปลอดสารพิษต้นแบบขนาด 5X10 เมตร ไม่น้อยกว่า 30 แปลงในชุมชน ผลจากการดำเนินงานมีแปลงผักสวนครัวปลอดสารพิษต้นแบบขนาด 5X10 เมตร จำนวน40แปลงในชุมชน

    ด้านคุณภาพ

    • คนในชุมชนมีความรู้ในการดูแลสุขภาพสมาชิกที่เข้าร่วมมีความรู้และตระหนักในการดูแลสุขภาพ ทั้งด้านเสี่ยงการสัมผัสสารเคมีโดยตรงและการป้องกันตนเองจากสารเคมีตกค้าง
    • คนมีความตระหนักในการเปลี่ยนพฤติกรรมในการใช้สารเคมี และมีการปลูกผักปลอดสารพิษไว้รับประทานเอง และแลกเปลี่ยนกับเพื่อนบ้านรู้จักการใช้สารอินทรีย์แทนสารเคมี
    • คนมีความรู้ในการเลือกซื้อและการประกอบอาหาร
    • สภาพแวดล้อมบริเวณบ้านมีการปลูกผักปลอดสารพิษและสมุนไพรเพื่อบรืโภคในครัวเรือนประชาชนใช้ปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพแทนการใช้สารเคมี
    • คนในชุมชนมีความรู้เรื่องการเกษตรที่เอื้อต่อสุขภาพและสามารถถ่ายทอดสู่เยาวชนในชุมชนได้
    • เกิดกระบวนการบริหารจัดการของคนในชุมชนเพื่อร่วมกันพัฒนาชุมชน
    • คนในชุมชนสามารถพึ่งตนเองได้ในเรื่องการบริโภค

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ตัวแทนครัวเรือนเล่าความสำเร็จและความพึงพอใจของการดำเนินการตามกิจกรรมที่ได้เข้ามาร่วมกันทำกิจกรรม
    • ตอบปัญหาผลที่ได้ทำกิจกรรมกันมาว่าได้ทำอะไรและเกิดผลอย่างไร
    • ผู้เข้าร่วมได้ให้ความรู้และชื่นชมการในการร่วมกันทำกิจกรรมตามโครงการที่ประสบความสำเร็จมีครอบครัวที่สามารถเปลี่ยนพฤติกรรมของตัวเองได้และใช้ชีวิตประจำวันตามวิถีพอเพียง
    • มอบของรางวัลตัวแทนครัวเรือนที่มีกิจกวัตรประจำวันและการทำเกษตรที่ลดสารเคมีและปรับมาเป็นเกษตรอินทรีย์
    • สรุปผลการดำเนินกิจกรรมทั้งหมด

     

    130 130

    30. ตรวจเอกสารรายงานร่วมกับพี่เลี้ยงโครงการ

    วันที่ 16 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะทำงานร่วมกับพี่เลี้ยงช่วยกันตรวจสอบความถูกต้องเรียบร้อยของเอกสารหลักฐานในแต่ละกิจกรรม ทุกกิจกรรมยังมีเอกสารหลักฐานบางกิจกรรมไม่ครบถ้วนพี่เลี้ยงให้ทีมงานช่วยรวบรวมเอกสารเพิ้มเติมเพื่อให้ครบถ้วนและถูกต้องพร้อมกับดำเนินกิจกรรมที่ยังไม่ดำเนินการให้เรียบร้อบภายในวันที่30 ตุลาคม 2558และจะนัดตรวจสอบเอกสารอีกครั้งก่อนนำส่ง สสส

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เอกสารต่างๆยังไม่เรียบร้อย มีหลักฐานบางกิจกรรมยังไม่ครบ ต้องเก็บรวบรวมเพิ่มเติม

     

    2 2

    31. จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้คืนข้อมูลศุ่ชุมชน

    วันที่ 19 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะทำงานร่วมสรุปผลการดำเนินงานให้ชุมชนได้รับทราบโดยชี้แจงผ่านตัวแทนครัวเรือนและฝากให้ตัวแทนครัวเรือนที่ร่วมรับฟังช่วยประชาสัมพันธ์ต่อและร่วมกันคิดหาแนวทางดำเนินการทำกิจกรรมต่อยอดในปีต่อไปและหาแนวร่วมเพิ่มเติมช่วยกันขยายกิจกรรมสู่ครัวเรือนที่ไม่เป็นเป้าหมายในปีนี้ให้ได้ร่วมมาเรียนรู้ด้วย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สรุปผลการดำเนินกิจกรรมทั้งหมด ตามวัตถุประสงค์และตัวชี้วัดของโครงการได้ดังนี้

    วัตถุประสงค์

    ข้อที่ 1 เพื่อให้เกษตรกร ที่ใช้สารเคมีมีการป้องกันตนเองและลดการสัมผัสสารเคมีโคยตรง

    มีตัวชี้วัด

    1.1 ครัวเรือนมีพื้นที่ปลูกผักสวนครัวขายมีความรู้และความตระหนักในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้มีความปลอดภัยในการใช้สารเคมีไม่น้อยกว่า 50 ครัวเรือน ผลจากการดำเนินโครงการ ครัวเรือนมีพื้นที่ปลูกผักสวนครัวขายมีความรู้และความตระหนักในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้มีความปลอดภัยในการใช้สารเคมี จำนวน 52ครัวเรือน

    1.2. ครัวเรือนที่ใช้สารเคมีในการปลูกผักสวนครัวเก็บวัสดุหรือขยะพิษในหลุมขยะพิษของชุมชนไม่น้อยว่า 50 ครัวเรือน ผลจากการดำเนินโครงการ ครัวเรือนที่ใช้สารเคมีในการปลูกผักสวนครัวเก็บวัสดุหรือขยะพิษในหลุมขยะพิษของชุมชนจำนวน 40 ครัวเรือน

    1.3. ผลการตรวจสารเคมีตกค้างในเลือดลดลงจากเดิมไม่น้อยกว่า ร้อยละ 20 ของกลุ่มเป้าหมาย ผลจากการดำเนินโครงการ ผลการตรวจสารเคมีตกค้างในเลือดลดลงจากเดิมร้อยละ22 ของกลุ่มเป้าหมาย

    1.4. มีหลุมเก็บขยะพิษในชุมชน อย่างน้อย 3 หลุม ผลจากการดำเนินโครงการ มีหลุมเก็บขยะพิษในชุมชน จำนวน3 หลุม

    ข้อที่ 2เพื่อให้เกิดการรวมกลุ่มเกษตรกร ลดการใช้สารเคมีโดยปลูกผักปลอดสารพิษเป็นแปลงต้นแบบเกิดกลไกให้เกษตรกรที่ปลูกขายได้มาเรียนรู้

    มีตัวชี้วัด

    2.1 ครัวเรือนมีพื้นที่ปลูกผักสวนครัวไว้รับประทานไม่น้อยกว่า 30 ครัวเรือน ผลจากการดำเนินงานครัวเรือนมีพื้นที่ปลูกผักสวนครัวไว้รับประทาน จำนวน45 ครัวเรือน

    2.2 ครัวเรือนที่ปลูกผักไว้รับประทานใช้น้ำหมักชีวภาพแทนการใช้สารเคมี 100%ของกลุ่มเป้าหมาย ผลจากการดำเนินงานครัวเรือนที่ปลูกผักไว้รับประทานใช้น้ำหมักชีวภาพแทนการใช้สารเคมี ร้อยละ100 ของกลุ่มเป้าหมาย

    2.3 มีแปลงผักสวนครัวปลอดสารพิษต้นแบบขนาด 5X10 เมตร ไม่น้อยกว่า 30 แปลงในชุมชน ผลจากการดำเนินงานมีแปลงผักสวนครัวปลอดสารพิษต้นแบบขนาด 5X10 เมตร จำนวน40แปลงในชุมชน

    ด้านคุณภาพ

    • คนในชุมชนมีความรู้ในการดูแลสุขภาพสมาชิกที่เข้าร่วมมีความรู้และตระหนักในการดูแลสุขภาพ ทั้งด้านเสี่ยงการสัมผัสสารเคมีโดยตรงและการป้องกันตนเองจากสารเคมีตกค้าง
    • คนมีความตระหนักในการเปลี่ยนพฤติกรรมในการใช้สารเคมี และมีการปลูกผักปลอดสารพิษไว้รับประทานเอง และแลกเปลี่ยนกับเพื่อนบ้านรู้จักการใช้สารอินทรีย์แทนสารเคมี
    • คนมีความรู้ในการเลือกซื้อและการประกอบอาหาร
    • สภาพแวดล้อมบริเวณบ้านมีการปลูกผักปลอดสารพิษและสมุนไพรเพื่อบรืโภคในครัวเรือนประชาชนใช้ปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพแทนการใช้สารเคมี
    • คนในชุมชนมีความรู้เรื่องการเกษตรที่เอื้อต่อสุขภาพและสามารถถ่ายทอดสู่เยาวชนในชุมชนได้
    • เกิดกระบวนการบริหารจัดการของคนในชุมชนเพื่อร่วมกันพัฒนาชุมชน
    • คนในชุมชนสามารถพึ่งตนเองได้ในเรื่องการบริโภค

     

    31 31

    32. ปิดโครงการ

    วันที่ 20 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ช่วยกันสรุปผลการดำเนินกิจกรรม พร้อมทั้งช่วยกันตรวจสอบและเก็บรวบรวมเอกสารหลักฐานการดำเนินงานรายกิจกรรมแยกจัดเก็บเป็นระบบเพื่อรวบรวมจัดทำรูปเล่มและเตรียมคืนข้อมูลให้ชุมชนได้รับทราบผลหลังการดำเนินกิจกรรมตลอดโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • กิจกรรมทุกกิจกรรมสามารถดำเนินได้ตามแผนและเสร็จสิ้นทุกกิจกรรม
    • เอกสารหลักฐานต่างๆในแต่ละกิจกรรมถูกต้องครบถ้วน
    • เก็บเอกสารหลักฐานไว้เป็นระเบียบพร้อมรับการตรวจสอบจากทุกหน่วยที่เกี่ยวข้อง

     

    15 15

    33. ล้างอัดภาพกิจกรรม

    วันที่ 21 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    นำภาพถ่ายกิจกรรมมาคัดเลือกในแต่ละกิจกรรม และ ล้างอัดรูป  เคลือบพลาสติก เก็บภาพไว้จัดบอร์ดนิทรรศการนำเสนอผลงานสู่ชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คนในชุมชนได้เห็นภาพกิจกรรมที่นำเสนอตลอดกิจกรรมของโครงการ

     

    15 15

    34. จัดทำรายงานสรุปโครงการ

    วันที่ 24 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • รวบรวมเอกสาร
    • ร่วมกันตรวจสอบความถูกต้อง โดยคณะกรรมการ
    • จัดทำรูปเล่ม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ทำการรวบรวมเอกสารหลักฐานในการดำเนินกิจกรรมตั้งแต่เริ่มโครงการจนเสร็จสิ้นโครงการ
    • ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารหลัหฐาน ทั้งเอกสารรายงานตามแบบฟอร์มและเอกสารทางการเงิน และนำเสนอต่อพี่เลี้ยงเพื่อตรวจสอบความถูกต้อง
    • จัดทำเป็นรูปเล่มจำนวน3เล่ม แจกจ่ายให้ สสส. 1 เล่มพี่เลี้ยง1เล่มเก็บไว้ที่หมู่บ้าน 1 เล่ม

     

    16 16

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

     

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 เพื่อให้เกษตรกร ที่ใช้สารเคมีมีการป้องกันตนเองและลดการสัมผัสสารเคมีโคยตรง
    ตัวชี้วัด : 1.1 ครัวเรือนมีพื้นที่ปลูกผักสวนครัวขายมีความรู้และความตระหนักในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้มีความปลอดภัยในการใช้สารเคมีไม่น้อยกว่า 50 ครัวเรือน 1.2. ครัวเรือนที่ใช้สารเคมีในการปลูกผักสวนครัวเก็บวัสดุหรือขยะพิษในหลุมขยะพิษของชุมชนไม่น้อยว่า 50 ครัวเรือน 1.3. ผลการตรวจสารเคมีตกค้างในเลือดลดลงจากเดิมไม่น้อยกว่า ร้อยละ 20 ของกลุ่มเป้าหมาย 1.4. มีหลุมเก็บขยะพิษในชุมชน อย่างน้อย 3 หลุม

    1.1 ครัวเรือนมีพื้นที่ปลูกผักสวนครัวขายมีความรู้และความตระหนักในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้มีความปลอดภัยในการใช้สารเคมีจำนวน52ครัวเรือน

    1.2. ครัวเรือนที่ใช้สารเคมีในการปลูกผักสวนครัวเก็บวัสดุหรือขยะพิษในหลุมขยะพิษของชุมชนจำนวน 40 ครัวเรือน

    1.3. ผลการตรวจสารเคมีตกค้างในเลือดลดลงจากเดิมจำนวน ร้อยละ 22 ของกลุ่มเป้าหมาย

    1.4. มีหลุมเก็บขยะพิษในชุมชน อย่างน้อย 3 หลุม

    2 เพื่อให้เกิดการรวมกลุ่มเกษตรกร ลดการใช้สารเคมีโดยปลูกผักปลอดสารพิษเป็นแปลงต้นแบบเกิดกลไกให้เกษตรกรที่ปลูกขายได้มาเรียนรู้
    ตัวชี้วัด : 2.1ครัวเรือนมีพื้นที่ปลูกผักสวนครัวไว้รับประทานไม่น้อยกว่า 30 ครัวเรือน 2.2. ครัวเรือนที่ปลูกผักไว้รับประทานใช้น้ำหมักชีวภาพแทนการใช้สารเคมี 100%ของกลุ่มเป้าหมาย 2.3. มีแปลงผักสวนครัวปลอดสารพิษต้นแบบขนาด 5X10 เมตร ไม่น้อยกว่า 30 แปลงในชุมชน

    2.1ครัวเรือนมีพื้นที่ปลูกผักสวนครัวไว้รับประทานไม่น้อยกว่า 45 ครัวเรือน

    2.2. ครัวเรือนที่ปลูกผักไว้รับประทานใช้น้ำหมักชีวภาพแทนการใช้สารเคมี 100%ของกลุ่มเป้าหมาย

    2.3. มีแปลงผักสวนครัวปลอดสารพิษต้นแบบขนาด 5X10 เมตร จำนวน 40 แปลงในชุมชน

    3 เพื่อบริหารจัดการและติดตามผลการดำเนินงานโครงการ
    ตัวชี้วัด : 1.จำนวนครั้งที่เข้าร่วมกิจกรรมกับ สสส หรือ สจรส.มอ 2.การติดตามในพื้นที่ 3.รายงานสรุปโครงการ

    1.เข้าร่วมกิจกรรมกับ สสส หรือ สจรส.มอ ทุกครั้งที่ทาง สสส และ สจรส มอ จัดกิจกรรม

    2.การติดตามในพื้นที่ จำนวน4 ครั้ง

    3.มีรายงานสรุปโครงการ

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้เกษตรกร ที่ใช้สารเคมีมีการป้องกันตนเองและลดการสัมผัสสารเคมีโคยตรง (2) เพื่อให้เกิดการรวมกลุ่มเกษตรกร ลดการใช้สารเคมีโดยปลูกผักปลอดสารพิษเป็นแปลงต้นแบบเกิดกลไกให้เกษตรกรที่ปลูกขายได้มาเรียนรู้ (3) เพื่อบริหารจัดการและติดตามผลการดำเนินงานโครงการ

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    ส่วนที่ 3 ประเมินคุณค่าโครงการ

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ

    ชื่อโครงการ เกษตรกรบ้านบางไทรนนท์ร่วมใจลดภัยสารเคมี

    รหัสโครงการ 57-02585 รหัสสัญญา 58-00-0077 ระยะเวลาโครงการ 20 ตุลาคม 2557 - 20 พฤศจิกายน 2558

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นการคุณค่าที่เกิดจากโครงการในมิติต่อไปนี้

    • ความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพและนวัตกรรมเชิงระบบสุขภาพชุมชน
    • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีผลต่อสุขภาวะ
    • การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ
    • ผลกระทบเชิงบวกและนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาวะชุมชน
    • กระบวนการชุมชน
    • มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่

    1. เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้ใหม่ / องค์ความรู้ใหม่

    การปลูกทุกสิ่งทุี่กินและกินทุกอย่างที่ปลูก โดยใช้สารชีวภาพในครัวเรือน

    พืชผ้กในครัวเรือนในชุมชน

    ขยายพื้นที่ปลูกและหาตลาดวางจำหน่ายเพิ่อเพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สิ่งประดิษฐ์ / ผลผลิตใหม่

    มีแปลงผักที่ปลูกผักปลอดสารพิษในชุมชนจำนวน 30 แปลง สามารถให้คนในชุมชนไว้รับทานเอง ส่วนที่เหลือสามารถแบ่งขายได้

    แปลงผักในครัวเรือนจำนวน 30ครัว ขนาดแปลง5x10เมตร

    ขยายสู่ครัวเรือนในชุมชนที่มีพื้นที่ว่าเปล่าทุกครัวเรือน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. กระบวนการใหม่

    ชุมชนมีกระบวนการเรียนรู้ใหม่ ไม่ว่าจะดำเนินกิจกรรมอะไรต้องเรียนรู้เรื่องนั้นให้รู้จริงถึงเริ่มดำเนินการและร่วมกันหาวิธีการแก้ไขร่วมกัน

    จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในชุมชน

    จัดทำเป็นหลักสูตรให้คนในชุมชนได้เรียนรู้อย่างต่อเนื่องในกิจกรรมที่คนในชุมชนต้องใช้ในชีวิตประจำวัน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. วิธีการทำงาน / การจัดการใหม่

    มีการทำงานเป็นทีม มีคณะทำงานของชุมชน นอกเหนือจากคณะกรรมหมู่บ้านซึ่งชุมชนคัดเลือกมาเป็นคณะกรรมการชองชุมชนเองเพื่อร่วมกันวางแผนแก้ไขปัญหาของชุมชน

    คณะกรรมการชุดใหม่ของชุมชน จำนวน 20 คน

    พัฒนาศักยภาพคณะกรรมการ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การเกิดกลุ่ม / โครงสร้างในชุมชนใหม่

    มีกลุ่มเกษตรปลอดสารพิษเกิดขึ้นในชุมชนมีจำนวนสมาชิกจำนวน 45 ครัวเรือน

    มีแปลงผักที่ปลอดสารพิษในชุมชน จำนวน45 ครัวในชุมชน

    ขยายรับสมาชิกเพิ่ม ให้สมาชิกมาร่วมเรียนรู้

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. แหล่งเรียนรู้ใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    99. อื่นๆ

     

     

     

    2. เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล

    คนในชุมชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหันมาใช้สารชีวภาพแทนสารเคมี และรู้วิธีการปลอดกันตนเองให้ปลอดภัยจากสารเคมี

    ผลการตรวจเลือดหลังร่วมกิจกรรมมีสารตกค้างลดลง

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การบริโภค

    คนในชุมชนมีความรู้ในการเลือกซื้ออาหารมาบริโภคและปลูกพืชผักปลอดสารพิษไว้รับประทานเอง

    มีแปลงปลูกผักปลิดสารพิษในครัวเรือน

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การออกกำลังกาย

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. การลด ละ เลิก อบายมุข เช่น การพนัน เหล้า บุหรี่

    ในการทำกิจกรรมทุกครั้งคนในชุมชนที่มาร่วมกิจกรรม มีการงดการสูบบุหรี่ซึ่งแสดงให้เห็นว่ามีการลดการสูบบุหรี่ลง

    สังเกตในวันจัดกิจกรรม

    สร้างเป็นมาตราของชุมชนในการจัดงานของชุมชนให้งดการเลี้ยงเหล้า

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การลดพฤติกรรมเสี่ยง เช่น พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การขับรถโดยประมาท

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. การจัดการอารมณ์ / ความเครียด

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. การดำรงชีวิต / วิถีชีวิต เช่น การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น / สมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเอง

    ครัวเรือนมีการปลูกสมุนไพรไว้ใช้ในครัวเรือนและนำมาใช้เช่นหวานหางจระเข้

    ครัวเรือนในชุมชนปลูกสมุนไพรไว้ประจำบ้าน

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    8. พฤติกรรมการจัดการตนเอง ครอบครัว ชุมชน

    เกษตรในชุมชนลดการใช้สารสารเคมีในการทำเกษตรหันมาใช้สารชีวภาพแทน ลดรายจ่ายและลดสารเคมีตกค้าง

    สารเคมีตกค้างในเลือดกลุ่มเกษตรกรลดลงร้อยละ22

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    9. อื่นๆ

     

     

     

    3. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. กายภาพ เช่น มีการจัดการขยะ ป่า น้ำ การใช้สารเคมีเกษตร และการสร้างสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนที่ถูกสุขลักษณะ

    มีการสร้างหลุ่มขยะพิษไว้ในชุมชนจำนวน 3 หลุ่มเพื่อให้คนในชุมชนมีที่ทิ้งขยะที่มีพิษเพื่อรอการกำจัดที่ถูกต้องในโอกาสต่อไป

    หลุ่มชยะพิษในชุมชนจำนวน3 หลุ่ม

    เสนอให้ อบต ดำเนินการกำจัดให้ถูกต้อง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สังคม เช่น มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ลดการเกิดอุบัติเหตุ ครอบครัวอบอุ่น การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อเด็ก เยาวชน และกลุ่มวัยต่าง ๆ มีพื้นที่สาธารณะ/พื้นที่ทางสังคม เพื่อเอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชน มีการใช้ศาสนา/วัฒนธรรมเป็นฐานการพัฒนา

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. เศรษฐกิจสร้างสรรค์สังคม /สร้างอาชีพ / เพิ่มรายได้

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการบริการสุขภาพทางเลือก และมีช่องทางการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. อื่นๆ

     

     

     

    4. การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. มีกฎ / กติกา ของกลุ่ม ชุมชน

    มีกติกาการลดการใช้สารเคมี การจัดเก็บพิษ

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. มีมาตรการทางสังคมของกลุ่ม ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. มีธรรมนูญของชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. อื่นๆ เช่น ออกเป็นข้อบัญญัติท้องถิ่น ฯลฯ

     

     

     

    5. เกิดกระบวนการชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. เกิดการเชื่อมโยงประสานงานระหว่างกลุ่ม / เครือข่าย (ใน และหรือนอกชุมชน)

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเรียนรู้การแก้ปัญหาชุมชน (การประเมินปัญหา การวางแผน การปฏิบัติการ และการประเมิน)

    มีคณะกรรมการของชุมชนจัดเวทีให้ชุมชนได้ร่วมกันวิเคราะห์และประเมินปัญหาของชุมชนเพื่อร่วมกันวางแผนเสนอ กรรมการหมูบ้านนำเข้าแผนของหมู่บ้านตำบล

    เวทีประชุมประจำเดือนของชุมชน

    เสนอแผนสู่ อบต

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ประโยชน์จากทุนในชุมชน เช่น การระดมทุน การใช้ทรัพยากรบุคคลในชุมชน

    นำพื้นที่ว่างเปล่ามาทำเป็นแปลงผัก

    มีแปลงผักปลอดสารพิษในครัวเรือน

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกลุ่มและชุมชนที่เกิดจากโครงการอย่างต่อเนื่อง

    กลุ่มเกษตรกรปลูกพืชผักปลอดสารพิษหมุนตลอดปี

    แปลงผักในชุมชนตามฤดูการ

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. เกิดกระบวนการจัดการความรู้ในชุมชน

    ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเวทีประชุมประจำเดือนของชุมชน

    เวที่ประชุมประเดือนบันทึกการประชุม

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. เกิดทักษะในการจัดการโครงการ เช่น การใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ การทำแผนปฏิบัติการ

    ชุมชนมีข้อมูลและสามารถนำข้อมูลมาใช้ในการจัดทำโครงการวางแผนกิจกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาตามข้อมูลของชุมชน

    โครงการต่างๆที่เกิดขี้นในชุมชน

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. อื่นๆ

     

     

     

    6. มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเอง / กลุ่ม / ชุมชน

    คณะกรรมการมีความภูมิใจที่สามารถช่วยให้คนในชุมชนมีความรู้และสามารถร่วมกลุ่มกันทำกิจกรรมได้

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเห็นประโยชน์ส่วนรวมและส่วนตนอย่างสมดุล

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย และพอเพียง

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. ชุมชนมีความเอื้ออาทร

    คนในชุมชนมีความรักใคร่สามารถกัน ร่วมกันลงแขกในกิจกรรมต่างๆ

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. มีการตัดสินใจโดยใช้ฐานปัญญา

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. อื่นๆ

     

     

     

    เกษตรกรบ้านบางไทรนนท์ร่วมใจลดภัยสารเคมี จังหวัด นครศรีธรรมราช

    รหัสโครงการ 57-02585

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นางอวยศรี รัตนมณี )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด