task_alt

ร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่บ้านศาลาคงจันทร์ปี 3 : ชุมชนจัดการตนเองตามวิถีพอเพียง

แบบรายงานผลการดำเนินโครงการประจำงวด 1

ชื่อโครงการ ร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่บ้านศาลาคงจันทร์ปี 3 : ชุมชนจัดการตนเองตามวิถีพอเพียง

ชุมชน บ้านศาลาคงจันทร์ ม.2 ต.ควนรู อ.รัตภูมิ จ.สงขลา

รหัสโครงการ 57-02591 เลขที่ข้อตกลง 58-00-0073

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 15 ตุลาคม 2557 ถึง 15 พฤศจิกายน 2558

รายงานงวดที่ : 1 จากเดือน ตุลาคม 2557 ถึงเดือน มีนาคม 2558

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินโครงการ (แสดงผลการดำเนินงานรายกิจกรรมที่แสดงผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ประชุมปฐมนิเทศผู้รับผิดชอบโครงการร่วมสร้างชุมชนและท้องถิ่นให้น่าอยู่

วันที่ 29 พฤศจิกายน 2557 เวลา 09:00-17.00 น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อทำความรู้จักกับพี่เลี้ยงและทีมงาน  ทำความเข้าใจเรื่องการปฏิบัติงาน  การกำหนดกิจกรรม และการรายงานกิจกรรม

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

● รู้จักพี่เลี้ยงสองประเภท และทีมงาน สจรส.

● ทบทวนโครงงาน ทำแผนกิจกรรมที่ชัดเจน กำหนดวันที่แน่นอน

● การอบรมเลี้ยงดูและลงข้อมูลในระบบติดตามประเมินผล และระบบรายงานผ่าน www.happynetwork.org.
● ทำความเข้าใจเรื่องรายงานและการเงิน

การสนับสนุนของพี่เลี้ยง การลงพื้นที่อย่างน้อย 3  ครั้ง ครั้งที่ 1 การประชุมกับชุนชนทั้งชุมชน  เพื่อทำความเข้าใจกับชุมชน เรื่องความร่วมมือการดำเนินโครงการ การปรับและเพิ่มรายละเอียดของโครงการ

ครั้งที่ 2 การติดตามเพื่อการหนุนเสริม  ปรับปรุง  การดำเนินงานของโครงการ

ครั้งที่ 3 การสรุปผลการดำเนินงาน ช่วยสังเคราะห์ และแนะนำการเขียนรายงาน

การลงติดตามสนับสนุนของ  สจรส.และพี่เลี้ยง - ทุก  2  เดือน  เพื่อช่วยทบทวนโครงการและให้การหนุนเสริมการมีปัญหา - ทุกโครงการนำเอกสารรายงานกิจกรรม รูปถ่าย เอกสารการเงิน  เพื่อให้ทาง สจรส.และพี่เลี้ยง  ช่วยตรวจสอบความถูกต้อง

ข้อตกลงระหว่างกัน
- ทุกโครงการต้องมีการลงบันทึกทุกกิจกรรม  และรายงานการเงินทุกครั้ง - โครงการต้องจัดกิจกรรมให้เสร็จสิ้นก่อนสัญญา  1-2  เดือน - หากโครงการไม่มีการดำเนินกิจกรรมภายใน  2  เดือน  โดยไม่มีเหตุผลเพียงพอ  จะต้องยุติโครงการและเรียกเงินคืน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

● รู้จักพี่เลี้ยงสองประเภทและทีมสจรส. ● ทบทวนโครงงาน ทำแผนกิจกรรมที่ชัดเจน กำหนดวันที่ที่แน่นอน ● อบรมเลี้ยงดูและลงข้อมูลในระบบติดตามประเมิณผล และระบบรายงานผ่าน www.happynetwork.org.
● ทำความเข้าใจเรื่อรายงานและการเงิน

กิจกรรมที่ทำจริง

ผู้รับผิดชอบโครงการ และผู้เกี่ยวข้อง เข้าร่วมปฐมนิเทศทำความเข้าใจแนวทางการปฏิบัติงาน  การรายงานผลการปฏิบัติงานผ่านเว็บไซด์  รายงานการเงิน  เงื่อนไขและระเบียบการทำงาน ใช้ระยะเวลาในการอบรม เป็นเวลา  2  วัน 

 

2 2

2. ประชุมจัดตั้งสภาผู้นำชุมชน ที่มาจากกลุ่มองค์กร และกลุ่มต่างๆในชุมชน

วันที่ 3 ธันวาคม 2557 เวลา 09:00-15.30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อจัดตั้งตัวแทนกลุ่มองค์กรมาเป็นตัวแทนชุมชนในการขับเคลื่อนโครงการมอบหมายงานของคณะทำงานโครงการในแต่ละด้านที่ได้รับมอบหมายเป๊นตัวแทนมาประชุมโครงการและประชุมสมาชิกสภาผู้นำ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

-ที่ประชุมได้นัดหมายประชุมสภาผู้นำทุกวันที่13ของทุกเดิอน -กำหนดแผนงานการทำงานโครงการและงานอื่นๆที่ประชุมได้มอบหมาย -และให้ผู้รับผิดชอบแต่ละแผนงานรายงานผลการทำงานในการประชุมครั้งต่อไป -ให้นำเสนอครัวเรือนขยายที่มาร่วมกิจกรรมกับโครงการที่ได้รับมอบหมายไปแต่ละเขตความรับผิดชอบ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมจัดตั้งสภาผู้นำชุมชน ที่มาจากกลุ่มองค์กร และกลุ่มต่างๆในชุมชน จำนวน 23 คน โดยการคัดแลือก และแต่งตั้งตามความเหมาะสมของพื้นที่ ที่มาจาก -ผู้นำชุมชนที่เป็นทางการ ผู้ใหญ่บ้าน คณะกรรมการหมู่บ้าน -ปราชญ์ชุมชน -กลุ่มกองทุน -กลุ่มอาชีพ -เด็ก เยาวชน
-ประชาชนทั่วไป เพื่อกำหนดแนวทางการดำเนินกิจกรรมร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่บ้านศาลาคงจันทร์ปี 3 : ชุมชนจัดการตนเองตามวิถีพอเพียง ผ่านกลไกสภาผู้นำชุมชน ในการติดตาม ประเมินผลการดำเนินงานโครงการ

กิจกรรมที่ทำจริง

-ที่ประชุมเสนอตัวแทนกลุ่มมาทำหน้าที่สมาชิกสภาผู้นำ -ได้สภาชิกสภาผู้นำตัวแทนกลุ่มองค์กรของชุมชน 20คน -ที่ประชุมคัดเลือกคณะทำงานโครงการขึ้น 15คน -ที่ประชุมมอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบของตัวแทนกลุ่มองค์กรที่เป็นสมาชิกสภาผู้นำบ้านศาลาคงจันทร์

 

45 45

3. สภาผู้นำชุมชนจัดประชุมชี้แจงโครงการร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่บ้าน

วันที่ 21 ธันวาคม 2557 เวลา 09:00-15.30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

ชี้แจงโครงการร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่บ้านศาลาคงจันทร์ ปี๓  เพื่อให้คนในชุมชนให้มีตระหนักและรับผิดชอบต่อการทำของโครงการ และได้เข้าร่วมกิจกรรมที่จะดำเนินการตลอดปี 2558

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  มอบหมายผู้รับผิดชอบตามภาระหน้าที่ของแต่ละกิจกรรม คณะทำงานโครงการทำตามแผนงานที่วางไว้เพื่อประสานงานกลุ่มเป้าหมายและสมาชิก คณะทำงานและผู้มีส่วนเกียวข้องต้องมาสุปการทำงานกิจกรรมโครงการทุกวันที่๑๓ของทุกเดือน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

สภาผู้นำชุมชนจัดประชุมชี้แจงโครงการร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่บ้านศาลาคงจันทร์ปี 3 : ชุมชนจัดการตนเองตามวิถีพอเพียง วิธีการ เชิญเจ้าหน้าที่ ผู้ที่เกี่ยวข้องและประชาชนในหมู่บ้านรับฟังการชี้แจงรายละเอียดโครงการร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่บ้านศาลาคงจันทร์ปี 3 : ชุมชนจัดการตนเองตามวิถีพอเพียง เพื่อให้คนในชุมชนได้รับรู้และเข้าใจความเป็นมาของโครงการฯและประชาสัมพันธ์รณรงค์การจัดพื้นที่ในการดำเนินกิจกรรมเป็นเขตปลอดเหล้าและบุ

กิจกรรมที่ทำจริง

ประชุมชี้แจงโครงการ และการดำเนินการกิจกรรมของโครงการ ในแต่ละกิจกรรมของโครงการ เพื่อการดำเนินกิจกรรมในแต่ละกิจกรรมให้ประชาชนในพื้นที่ได้มีส่วนร่วมในการทำงานของผู้รับผิดชอบเป็นไปได้โดยสะดวก และเข้ามามีส่วนร่วมกับกิจกรรมแต่ละกิจกรรม และให้ทั้งอง๕ืกรเครื่อข่ายที่เกียวข้องได้เข้าใจถึงวัตุประสงค์ เป้าหมาย ของโครงการเช่น ที่พักสงฆ์เกาะบก สถานีวิทยุ 101.00mkz. โรงเรียน อสม รพสต.

 

300 120

4. สภาผู้นำชุมชน ขับเคลื่อนการดำเนินงาน การประชุมติดตาม ประเมินผล(ครั้งที่ 1)

วันที่ 28 ธันวาคม 2557 เวลา 13:00-16.00น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

-ทบทวนแผนงานของคณะทำงาน-มอบหมายงานแต่ละเดือน-คระทำงานวางแผนงานการออกเยียมครัวเรือนนำร่องในการจัดการขยะ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

-สรุปงาน และขอบเขตของการทำงานในแต่ละกิจกรรมที่ได้รับมอบหมาย -ได้ปลูกจิตรสำนึกของสมาชิกที่ได้ร่วมโครงการเพื่อขยายกิจกรรมไปในครัวเรือนอื่นๆ -ได้แบ่งงานกันทำตามความถนัดของแต่ลัด้าน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

สภาผู้นำชุมชน คณะทำงานโครงการ ขับเคลื่อนการดำเนินงาน การประชุมติดตาม ประเมินผลการดำเนินงานโครงการในแต่ละกิจกรรม และร่วมกันปรึกษาหารือ เสนอแนะ เพื่อแก้ปัญหาสิ่งที่ผิดพลาดต่างๆในแต่ละกิจกรรม

กิจกรรมที่ทำจริง

ประชุมประจำเดือนของคณะทำงานโครงการ และสมาชิกสภาผู้นำที่ได้รับมอบหมายงานมาสรุป และประเมินกิจกรรมต่า่งๆของโครงการและกิกรรมต่างๆของหมู่บ้าน

 

23 23

5. ประชาสัมพันธ้ผ่นรายการวิทยุชุมชนและเสียงตามสาย

วันที่ 14 มกราคม 2558 เวลา 10:00-11.00น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อให้ชุมชนได้รับข่าวสารจากโครงการได้อย่างต่อเนื่องและทันเหตุการณ์

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

-เป็นการประชาสัมพันธ์โครงการเพื่อให้คนในชุมชนใด้รับข่าวสาร ความรู้จากโครงการอย่างต่อเนื่องและทันต่อข่าวสารที่ทันสมัยของทุกๆอาทิตย์

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชาสัมพันธืโดยการจัดรายการวิทยุในรายการของคณะทำงานโครงการและทีมงานอาสาสมัครชุมของเยาวชน

กิจกรรมที่ทำจริง

มีการจัดรายการทางวิทยุชุมชน ของเยาวชนอาสาในเวลา10.00-11.00 (ทุกวันพุธ)

 

200 200

6. นิทรรศการตลาดนัดกองทุนกลุ่มอาชีพทางเลือกใหม่ของชุมชน โดยการจัดเป็นบู๊ธแสดงให้ความรู้และสิทธิประโยชน์ของการเข้าร่วมเป็นสมาชิกกลุ่มกองทุนชุมชน ฯ

วันที่ 18 มกราคม 2558 เวลา 09:00-17.00น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

-เสริมสร้างทักษะและการปรับเปลียนชีวิตโดยนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและวิถีวัฒนธรรมชุมชนใช้ในการดำเนินชีวิต

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

กลุ่มองกรต่างๆได้จัดแผนงานของกลุ่มในการทำงานแต่ละปี เช่นกลุ่มปลูกไม้ร่วมยาง กำหนดให้ปี2558มีการขยายพื้นที่ปลูกไม้ร่วมยางให้ได้200ไรต่อปีและมีต้นไม้อย่าง20,000ต้นเป็นต้นและกลุ่มปลูกผักอินทรีย์ได้มีการจัดทำแผนในการร่วมกลุ่มกันจำหน่ายผักปลอดสารพิษในตลาดนัดชุมชนทุกวันเสาร์

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

วิธีการ 4.1 รับสมัครประชาชนที่สนใจเข้าร่วมโครงการกองทุนกลุ่มอาชีพ กลุ่มละ 15-30 คน กล่าวคือ กลุ่มปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพ, กลุ่มสวนสมรม(พืชร่วมยาง),กลุ่มธนาคารขยะรีไซร์เคิ่ล,กลุ่มพลังงานทางเลือก,กลุ่มกองทุนต้นกล้าเมล็ดพันธุ์/พันธุ์ไม้ 4.2 สมาชิกกลุ่มกองทุนร่วมกำหนดกติกาในการทำงานร่วมกันในรูปแบบซอแรง หรือ การลงแขกบ้านเธอบ้านฉัน (การซอแรง หมายถึง การรวมกลุ่มกันทำงาน ซึ่งมีข้อตกลงร่วมกันของสมาชิกกลุ่มในการหมุนเวียน กันไปทำในแต่ละครัวเรือน เช่น เกี่ยวข้าว ,ดำนา ,ปลูกยาง ปลูกต้น ถางป่า เป็นต้น )

กิจกรรมที่ทำจริง

จัดนิทรรศการสุ่มต่างๆ เช่นอาหารปลอดภัย มีผู้มาสมัครเป็นสมาชิก ประมาณ 30คน สมาชิกธนาคารต้นไม้ 40คน สมาชิกปุ๋ยหมักน้ำชีวภาพ 30คน ุ่มพลังงานชุมชน 30คน รายชื่อสมชิกกลุ่มอาหารปลอดภัย นายธีรวิชญ์ จันทกูล นางยุพิน กิตติลีลา นางจำเนียร สะมะบุบ นายพชรฌน จันทกูล นางอมิตา ประกอบชัยชนะ นายเสรี จันทกูล นางวิลัยลักษณ์ จันทกูล นางสาววิไล ยอดเกลี้ยง นางประภา สุวรรณชาตรี นายธนชัย จันทกูล นายนิกร จันทกูล นายเจริญ ศรีสุวรรณ นายนิตย์ จันทกูล นางละออ สะมะบุบ นายจำนงค์ วรรณศรียพงษ์ นายนิพนธ์ สะมะบุบ นางเฟือง ขุนทองเพ็ชร นายสมปอง ทองเอื้อย นายสมบัติ บัวสม นางสุภาพร สะมะบุบ นายวัฒนา วรรณศรียพงษ์ นางฐิติมนฑ์ กิเจริญ นายโชติ ฉิมสี น.ส.จุฑารัตน์ ทองเอื้อย รายชื่อกลุ่มธนาคารต้นไม้(พืชร่วมยาง) นายศักดิ์ชัย พูลผล นายสมนึก หนูเงิน นางแพรว ขันทอง นายแพรว จันทกูล นางรัตติยา ขุนทองเพ็ชร นางเฟือง ขุนทองเพ็ชร

นายแอบ ขำจิตร น.ส.สุภาวิดาวรรณ  บุญรัตน์ นางธนัชพร ทองรักษ์ นางอุไร เกตุมาก นายสมพงศ์ ยอดเกลี้ยง นายวีระ แสงพรหม นางรัชนี เจ๊กแช่ม นางจำเนียร สะมะบุบ น.ส.อ่อนอรุณ       บุญรัตน์ รายชื่อกลุ่มพลังานชุมชน นายอำนวย สะมะบุบ นางละออ สะมะบุบ นางอำนวย ริกชู นางละเอียง นมรักษ์ นายบรรจง ทองเอื้อย นางประภา สุวรรณชาตรี นางเสริม จันทกูล นางพัชรี ทองอำพล นางผอบ พรหมศรี นางดอกแก้ว บุบผา นางวรรณี แก้วเรือง น.ส.นงลักษณ์ ประกอบชัยชนะ นายคะนอง แก้วอัมพร นางนภาพร บุญรัตน์ นางอบ ขำจิตร นายคำนึง ศรีสุวรรณ นายภาพ (เนย) แก้วเรือง นายนิกร จันทกูลนางฟอง วรรณศรียพงษ์ นายวันดี ธรรมสะระ นางสำรวย จันทกูล นายมานพ ชูจิตร นายปรีชา ชูวิจิตร นางลัดดา ชูใจ นายจรูญ บุญรัตน์ นางอมิตา ประกอบชัยชนะ นายประพันธ์ แก้วเรือง นายเฉลิม บุญรัตน์ นายเจริญ ศรีสุวรรณ นายประพาส อินทมุณี นางละมัยพร แก้วเรือง นางนอง ทองมาก นางจิตร์ ยอดเกลี้ยง นางหิ้ม ชุมน้อย นายเสรี จันทกูล นายนิตย์ ทองมาก น.ส.ฐิติเนย์ ก่อประเสริฐ

รายชื่อกลุ่มปุ๋ยน้ำชีวภาพนางประโลม สุวรรณศรี นางนิตย์ เรืองดำ นางจิตร อินทมุณี นางสุปราณี เกษมสุข นางเหียน ทองมีขวัญ นางจุไร ธุลี นางเขียว อินทมุณี นางวิมลวรรณ จันทกูล นางนันทนภัส ทองมาก นายประสิทธิ์ ชูสงค์ นายวิชาญ  ประกอบชัยชนะ
นายสมพร แสงมณี นางสุดา พลภากิจ นางละออง ทิพแก้ว นางปนัดดา จันทกูล นายสมมิตร ทองมาก นางสมนึก ศรีสุวรรณ นายสมปอง ทองเอื้อย นายชอบ จิตรณรงค์ ชึ่งแต่ละกลุ่มได้กำหนดการจัดทำแผนการทำงานของกลุ่มเอง

 

200 150

7. ประชุมสภาผู้นำและคณะทำงานโครงการ(ครั้งที่2)

วันที่ 25 มกราคม 2558 เวลา 13:00-17.00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

-ปรึกษาหารือและประเมินการทำงานของคณะทำงานโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

-เกิดการเรียนรู้กันระหว่างคณะทำงานร่วมกัน มีคณะทำงานโครงการแ่งหน้ากันทำงานตามภารหน้าของคณะทำงานกันเอง เกิดการบูรณาการในโครงการของแต่ละแผนงาน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

สภาผู้นำชุมชน ขับเคลื่อนการดำเนินงาน การประชุมติดตาม ประเมินผลการดำเนินงานโครงการทุกเดือน จำนวน 10 ครั้ง

กิจกรรมที่ทำจริง

-ร่วมประชุมปรึกษาหารือ และร่วมกันประเมินการทำงานของคณะทำงานโครงการ เพื่อติดตามโครงการและร่วมกันแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในการดำเนินโครงการ

 

23 23

8. ประชาสัมพันธ์และรณรงค์ผ่าวิทยุชุมชน และเสียงตามสาย

วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 11:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

-ให้สมาชิกมาฝากขยะ-คณะทำงานเตรียมพร้อมที่จะบริการสมาชิก-ประชาสัมพันธ์ให้สมชิกทราบวันที่ธนาคารขยะรับฝาก

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

-ได้ให้ประชาชนในพื้นที่และพื้นที่ไกล้เคียงได้รับทราบความเคลื่อนไหวของโครงการและกิจกรรมต่างของหมู่บ้าน ชุมชน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

-ประชาสัมพันธ์ในการจัดรายการวิทยุของคณะทำงานโครงการ ทุกเดือน

กิจกรรมที่ทำจริง

-ประชาสัมพันธ์ทางวิทยุชุมชน และเสียงตามสายในชุมชน

 

200 200

9. กิจกรรม”ซอแรงบ้านเธอ บ้านฉัน สานสัมพันธ์คน 2 วัย

วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

-ร่วมแรงร่วมใจสร้างการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนในการรักษาความสะอาดเรียบร้อยของหมู่บ้านชุมชน-สร้างจิตสำนึกในการมีส่วนร่วมของทุกคนในการดูแลความสะอาดเรียบร้อยในพื้นที่

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

-ได้เห็นความเอื้ออาทรต่อกันและกันในชุมชน ร่วมพัฒนาในพื้นที่เป็นสาธารณะของสว่นร่วม ความเอื้ออารีย์ต่อกัน การเห็นอกเห็นกันเมื่อเข้ามาร่วมกิจกรรมร่วมกับคนในชุมชนอย่างเต็มใจและพร้อมที่ให้ความร่วมมือกับชุมชนตลอดเวลา

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

กิจกรรมซอแรง : กลุ่มกองทุนพืช ผัก สวนสมรม (ปลุกพืชร่วมยางและปลูกผัก) ปฎิบัติการเกษตรเขียวโดยสมาชิกร่วมกันปลูกพืชร่วมในแปลงยางสมาชิก ลดการทำเกษตรเชิงเดี่ยว และการปลูกผักไม่น้อยกว่า 15 ชนิด ในพื้นที่ครัวเรือน,โรงเรียนบ้านโคกค่าย

กิจกรรมที่ทำจริง

ซอแรงพัฒนาบริเวณพื้นที่สาธารณะ เพื่อความสามัคีในชุมชนและความเป้นระเบียบเรียบร้อยในชุมชนพร้อมที่จะอญุ่ร่วมกันอย่างเข้าใจและมีความสุขโดยร่วมกันพัฒนาบริเวณการสัญจรไปมาภายในชุมชนให้สะดวก สะอาด ปลอดภัยและพร้อมที่ช่วยกันพัฒนาเมื่อชุมชนต้องการซอแรง

 

100 50

10. ประชุมสภาผู้นำและคณะทำงานโครงการ(ครั้งที่3)

วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 13:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

-ให้สมาชิกมาฝากขยะ-คณะทำงานเตรียมพร้อมที่จะบริการสมาชิก-ประชาสัมพันธ์ให้สมชิกทราบวันที่ธนาคารขยะรับฝาก

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

-ปรึกษาหารือกิจกรรมที่ได้ดำเนินการไปในแต่ละกิจกรรม เพื่อประเมินการทำงานของแต่ละฝ่ายและได้ดำเนินการเคลื่อนต่อไป

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

สภาผู้นำชุมชน ขับเคลื่อนการดำเนินงาน การประชุมติดตาม ประเมินผลการดำเนินงานโครงการทุกเดือน จำนวน 10 ครั้ง

กิจกรรมที่ทำจริง

ประชุมคณะกรรมการ คณะทำงาน โครงการ สมาชิกสภาผู้นำ

 

23 30

11. ทำป้ายเขตปลอดบุหรี

วันที่ 7 มีนาคม 2558 เวลา 09:00-16.00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

-เพื่อเป็นการสร้างกติกาในการร่วมและเคารพสถานที่ที่ทุกคนเข้ามาร่วมกิจกรรม

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

เพื่อให้เห็นถึงกฎกติกาของการให้เคารพสถานที่ในการเข้ามาทำกิจกรรมแต่ละสถานที่ในการเข้าร่วม

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

จัดทำป้ายขตปลอดบุหรี และติดป้ายเขตปลอดบุหรีตามจุด -จุด ที่ประชุมคณะทำงาน ที่ศูนย์เรียนรู้พลังงานชุมชน ห้องประชุมพุธบารมี

กิจกรรมที่ทำจริง

จัดทำป้ายปลอดเขตบุหรี และติดตั้งป้ายเขตปลอดบุหรี3จุด ที่ประชุมคณะทำงานโครงการ ที่ศูนย์เรียนรู้พลังงานชุมชนและที่หอประชุมพุธบารมี

 

2 330

12. กิจกรรมซอแรง: กลุ่มกองทุนปุ๋ย สมาชิกร่วมกันทำปุ๋ยหมัก, น้ำหมัก(, ครั้งที่1) แบ่งปันผลผลิตให้กับสมาชิกไปใช้แปลงสมาชิ

วันที่ 8 มีนาคม 2558 เวลา 09:00-16 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

-เพื่อนำปัญหาการจัดการขยะของชุมชนมาแก้ปัญหาร่วมกัน-พัฒนาความรู้ในการจัดการขยะของชุมชน -เพื่อให้เห็นความจำเป็นในการจัดการขยะในครัวเรือนและสิ่งที่เหลือใช้ได้นำมาใช้ประโยน์ เพื่อการลดภาระในครัวเรือน พร้อมกับการเรียนรู้การทำน้ำยางเอนกประสงค์ใช้ในครัวเองด้วย

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ได้ประหยัดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน รู้วิธีการทำน้ำหมักในสูตรต่างๆ แนะนำและสูตรเพื่อนได้ นำไปปรับใช้ให้ประโยชน์ต่อต้นไม้ได้ และได้ปริมาณปุ๋ยอินทาีย์ที่ได้จากการชอแรงและแบ่งปันกันใช้แต่ละครัวเรือนได้ครบทั้ง30ครัวเรือนได้ปริมาณปุ๋ยประมาณ5ตันโดยผลัดกันทำและช่วยกัยดูแลกองปุ๋ยชึ่งมีค่ามากสำหรับสมาชิกที่ได้ร่วมกันทำ และจากการทำกิจกรรมสมาชิกในกลุ่มได้รู้จักแบ่งปันกันร่วมกันทำ ร่วมกันหาวัสดุ ร่วมกันรับผิดชอบ ร่วมกันแก้ปัญหา สุดท้ายร่วมกันรับปุ๋ยที่ช่วยกันทำไปใชี่บ้านอย่างภาคภูมิใจ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ปุ๋ยสูตรมูลสัตว์ 1.ส่วนผสมในการทำปุ๋ย เช่น มูลวัว,ขี้ไก่ไข่,แกลบ,เศษใบไม้ ,เศษพืช ฟางข้าว,รำข้าว (ซึ่งมีอยู่แล้วในชุมชน) โดยให้ครัวเรือนนำมาเอง คนละ 1 กระสอบ 2.กากน้ำตาล
3.หัวเชื้อจุรินทรีย์เข้มข้น วิธีทำ 1)นำมูลสัตว์ แกลบ ขี้เถ้าแกลบ และรำอ่อน มาผสมคลุกเคล้าให้เป็นเนื้อดียวกัน 2)ผสมน้ำ 10 ลิตร กับหัวเชื้อจุรินทรีย์ 1 ลิตร ราดลงบนกองวัสดุ โดยทดสอบความชื้นประมาณ 35 % (โดยทดลองกำดู ) จะสามารถเกาะเป็นก้อนแต่ไม่เหนียว
3) ตักปุ๋ยใส่กระสอบ ทิ้งไว้ 7 วัน ตรวจดูว่ามีกลิ่นหอมและไม่มีไอร้อน สามารถนำไปใช้ได้ โดยจะแจกจ่ายให้กับสมาชิกนำไปใช้ในแปลงเกษตร และจำหน่ายในร้านค้ารีไซร์เคิ่ลของตลาดเสาร์และธนาคารขยะ เพื่อเป็นกองทุนให้กับสมาชิก

**ปุ่ยหมักน้ำ 1.ส่วนผสมในการทำปุ๋ยเศษอาหาร ,เศษผัก,เศษหัวปลา 2. กากน้ำตาล 3. หัวเชื้อจุรินทรีย์เข้มข้น ผสมทุกอย่างในสัดส่วน 3:1:10 และหมักทิ้งไว้ 3 เดือน

กิจกรรมที่ทำจริง

เรียนรู้การทำน้ำหมักในสูตรต่างๆ เพื่อแบ่งกันใช้ในแต่ละครัวเรือนและช่วยกันทำปู๋ยอินทรีย์เพื่อแบ่งปันให้กับสมาชิกในกลุ่มโดยการช่วยกันเอาส่วนผสมมารวมกันทำเป็นปุ๋ยหมักเพื่อใช้กับพืชผักในครัวเรือน แต่ละครัวเรือยช่วยกันเอาส่วนผสมตามสูตรมาผสมร่วมกันโดยผสมเสร็จแล้วหมักไว้20วันมาดูว่ากองปู๋ยเย็นแล้วยัง ถ้าเย็นแล้วก็นำไปใช้ได้เลย โดยการให้สมาชิกมาเอาเฉลียคนละเท่ากันเพราะปุ๋ยหมักที่ทำมีมากพอต่อการตองการให้กับสมาชิก

 

20 250

13. เยาวชนฝึกร้องเพลงลิเกป่า จำนวน 10 ชั่วโมง โดยการนำเรื่องราวจากการสำรวจชุมชนทั้งด้านขยะ,วิถีชีวิต

วันที่ 14 มีนาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

-ร่วมแรงร่วมใจสร้างการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนในการรักษาความสะอาดเรียบร้อยของหมู่บ้านชุมชน-สร้างจิตสำนึกในการมีส่วนร่วมของทุกคนในการดูแลความสะอาดเรียบร้อยในพื้นที่ด้วยสื่อวัฒนธรรมประเพณีของชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

เยาวชนได้รู้จักประเพณีวัฒนธรรม และการละเล่นพื้นบ้านของชุมชน ประยุกต์มาเป็นบทกลอนในการแสดงออกให้เห็นประโยชน์กับชุมชนสือถึงการเป็นการรักและหวงแหนวัฒนธรรมพื้นบ้านที่เกิดจากการอนุรักษ์จากรุ่นสู่รุ่น

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

เยาวชนฝึกร้องเพลงลิเกป่า จำนวน 10 ชั่วโมง โดยการนำเรื่องราวจากการสำรวจชุมชนทั้งด้านขยะ,วิถีชีวิตชุมชน,ทรัพยากรสิ่งแวดล้อมในชุมชน มาร่วมแต่งบทเพลงร่วมกับปราชญ์ชุมชนนายปฎิหาร บุญรัตน์ สมาชิกสภาองค์กรชุมชนควนรูเพื่อเป็นปัจจัยในการคืนข้อมูลชุมชนในด้านรณรงค์ประชาสัมพันธ์วิทยุชุมชนและเรียนรู้ศิลป วัฒนธรรมพื้นบ้านที่มีอยู่ในชุมชน เช่นลิเกป่า คนตรีสวรรค์ มโนราห์ ที่มีอยู่ในพื้นที่

กิจกรรมที่ทำจริง

ร่วมเรียนรู้และการเขียนบทของการเล่นลิเกป่า และแสดงออกถึงการหวงแหนประเพณีบ้านเรา โดยการสาธิตจากปราชญ์และแสดงให้เห็นถึงการแสดงของดนครีสวรรค์ ลิเกป่า มโนราห์เป็นต้น โดยการเรียนรู้จากการแสดงในงานจริงหลังจากนันก็มาทบทวนและปฏิบัติตามขันตอนที่วิทยากรได้มาให้ความรู้กับเด็ดแลเยาวชนในชุมชน โดยการฝึกหัดการแต่งบทกลอนต่างๆและเรียนรู้สาระของลิเกป้่าเช่นประว้ตืลิกาป่าลิเกป่าหรือลิเกรำมะนาเป็นการเล่นพื้นเมืองที่น่าสนใจอย่างหนึ่งของชาวเมืองนครศรีธรรมราชและชาวภาคใต้ทั่วไป ไม่ทราบแน่ชัดว่าการละเล่นชนิดนี้มีมาตั้งแต่เมื่อใดคนเก่าคนแก่ของชาวภาคใต้ซึ่งมีอายุมากกว่า 70 ปีแล้วเล่าให้ฟังว่ามีคณะลิเกป่าเล่นกันมานานและเกือบจะพูดได้ว่ามีอยู่เกือบจะทุกหมู่บ้าน โดยเฉพาะที่อำเภอเมืองมีลิเกป่ามากกว่าที่อื่นใดทั้งสิ้น แต่ในปัจจุบันนี้จะหาดูลิเกป่าจากที่ใดในเมืองนครศรีธรรมราชไม่ได้อีกแล้ว

          มีผู้กล่าวว่าลิเกป่าได้แบบอย่างมาจากพวกแขก กล่าวคือ คำว่า "ลิเก" มาจากการร้องเพลงสรรเสริญพระเป็นเจ้าของแขกเจ้าเซ็นที่เรียกว่า "ดิเกร์" ซี่งเป็นภาษาเปอร์เซีย เพราะนิกายเจ้าเซ็นนี้มาจากเปอร์เซีย พวกเจ้าเซ็นที่เข้ามาอยู่ในเมืองไทยเคยได้รับพระราชูปภัมถ์มากมายตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นต้นมา เพราะพวกเจ้าเซ็นมีเสียงไพเราะ ร้องเพลงเป็นที่นิยมฟังกันทั่วไป ต่อมาไม่นานนอกจากพวกเจ้าเซ็นแท้ๆ แล้วก็มีคนไทยหัดร้องเพลงดิเกร์ขึ้น ขั้นแรกก็มีทำนองการใช้ถ้อยคำเหมือนกับเพลงสวด ต่อมาเมื่อคนไทยนำมาร้องก็กลายเป็นแบบไทย และคำว่าดิเกร์ก็เพี้ยนมาเป็นลิเกหรือยี่เก แต่อย่างไรก็ตามถ้าหากพิจารณาถึงเครื่องดนตรี รำมะนาที่ลิเกป่าใช้ประโคมประกอบการเล่นนั้น ชวนให้เข้าใจว่าการเล่นลิเกป่าน่าจะได้แบบอย่างมาจากมลายู เพราะมลายูมีกลองชนิดหนึ่งเรียกว่า "ระบานา" (Rebana) ซึ่งมีสำเนียงคล้ายกับรำมะนาของไทยเราดังกล่าวแล้ว

          ลิเกป่าหรือลิเกรำมะนาซึ่งเคยมีเล่นกันแพร่หลายในนครศรีธรรมราช เล่นได้เกือบทุกงานเช่นงานแต่งงาน บวชนาค งานวัด งานศพ โรงสำหรับแสดงคล้ายกับโรงมโนห์ราคือปลูกเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนาดกว้างและยาวเท่าๆ กับโรงมโนห์รา มีหลังคา ยกพื้นหรือไม่ยกพื้นก็ได้ ใช้เสื่อปู หน้าโรงโปร่งทั้งสามด้าน ตรงกลางมีฉากหรือม่านกั้น ส่วนหลังโรงใช้เป็นที่แต่งตัวและเก็บเครื่องใช้ไม้สอย ตะเกียงที่ใช้ใช้เป็นตะเกียงเจ้าพายุ หรือไม่ก็ใช้ไต้จุดช่วย

          การแต่งกายของตัวแสดงส่วนใหญ่มีชุดอย่างไรก็แต่งกันอย่างนั้น คือตามมีตามเกิด มีมากแต่งมากมีน้อยแต่งน้อย แต่พระเอกจะแต่งกายงามเป็นพิเศษ คือนุ่งผ้าโจรงกระเบน ใส่เสื้อแขนยาว ใส่ทองกร สวมสายสร้อย สังวาล ทับทรวง ถ้ามีชฎา ซึ่งอาจจะทำด้วยกระดาษหรือหนัง ประดับประดาด้วยพลอยหรือกระจกให้แวววาว ส่วนนางเอกก็นุ่งผ้าถุงจีบใส่เสื้อแขนสั้น กำไลเท้า มีผ้าห่มคลุมห้อยพาดหลัง อาจจะสวมใสชฎา หรือใส่กระบังหน้าหรือไม่ใส่ก็ได้ เครื่องประดับอื่นๆ ก็มีสร้อยร้อยลูกปัด ถ้าเป็นตัวตลก หรือเสนาอำมาตย์ก็แต่งกายอย่างง่ายๆ คือไม่สวมเสื้อ นุ่งผ้าถุง แต้มหน้าทาคิ้วให้ดูแล้วน่าขัน

          ผู้แสดงลิเกป่าคณะหนึ่งๆ มีไม่เกิน 8 คน แต่ถ้ารวมลูกคู่เข้าไปด้วยก็มีจำนวนคนเท่าๆ กัน กับมโนห์ราคณะหนึ่งทีเดียว
          การแสดงลิเกป่าจัดแสดงได้ในเกือบทุกงานดังกล่าวแล้ว ก่อนลงมือแสดงจะต้องโหมโรงก่อนประมาณ 15-20 นาที การโหมโรงจะใช้กลองรำมะนาตีประโคมเพื่อให้จังหวะ กับมีบทเพลงคล้ายๆ กับลำตัดร้องไปด้วย โดยผลัดกันร้องทีละคน เวียนเป็นรูปวงกลม ขณะที่ร้องเพลงจะต้องขยับท่าให้เข้ากับคำร้องและจังหวะของกลอง บางทีอาจจะมีลูกคู่ออกมารำสมทบด้วย ผลัดเปลี่ยนกันไปทีละคู่ ๆ การร้องเพลงและประโคมดนตรีเช่นนี้เรียกว่า "เกริ่นวง" ตัวอย่างเพลงเกริ่นของลิเกป่ามีดังนี้

"น้ำขึ้นเต็มคลอง
แม่ไม่ใส่เสื้อ
"น้ำเอยเจ้าไหลรี่
ลอยมาข้างนี้
"โอ้เจ้าช่อมะม่วง
ถ้าน้องลวงพี่
เรือล่องไปติดซัง
ถ่อเรือไปแลหนัง
ไอ้ปลากระดี่ลอยวน
มารับเอาพี่ไปด้วยคน"
โอ้เจ้าพวงมะไฟ
พี่จะหนีไปแห่งใด"
หลังจากร้องเพลงเกริ่นแล้วก็เป็นการออกแขก แขกที่ออกมาจะแต่งกายและแสดงท่าทางตลอดจนสำเนียงพูดเลียนแขกอินเดียทุกอย่าง อาจจะมีเพียงตัวเดียวหรือ 2 ตัวก็ได้โดยผลัดกันออกมาคือแขกขาวกับแขกแดง ออกมาเต้นหน้าเวทีพร้อมกับแสดงท่าทางและร้องประกอบโดยมีลูกคู่รับไปด้วย หลังจากแขกเข้าโรงแล้ว จะมีผู้ออกมาบอกกับผู้ดูว่าจะแสดงเรื่องอะไร และหลังจากนั้นก็เป็นการแสดงเรื่องราว
          เรื่องที่ลิเกป่านิยมเล่นกันมากได้แก่วรรณคดีเก่าๆ เช่น อิเหนา โคบุตร สุวรรณหงส์ ลักษณวงศ์ เป็นต้น หรือไม่ก็เป็นเรื่องที่แต่งขึ้นเองตามยุคสมัยที่นิยมกันก็มี
          ภาษาที่พวกลิเกป่าใช้ ไม่ว่าจะเป็นบทร้องหรือบทเจรจาพวกลิเกป่าจะใช้ภาษาของชาวพื้นเมืองที่ตถนัดกันเป็นส่วนใหญ่ แต่ถ้าเป็นตัวเอกทั้งฝ่ายหญิงฝ่ายชายจะใช้ภาษาที่ชาวพื้นเมืองเรียกว่าภาษาข้าหลวง คือเป็นภาษากลาง แต่สำเนียงพูดแปร่งๆ ผิดๆ ถูกๆ หรือที่เรียกกันว่า "พูดทองแดง"
          จากที่กล่าวมาแล้วน่าจะสรุปได้ว่า ที่เรียกการละเล่นชนิดนี้ว่าลิเกป่านั้นคงจะเนื่องมาจากเล่นไม่ยึดถือแบบฉบับ ขาดความสมบูรณ์ในทุกๆ ด้านและเล่นกันเป็นงานบันเทิงสมัครเล่นเพื่อความสนุกสนานตามประสาชาวบ้านป่า ไม่ได้ยึดถือเป็นอาชีพแน่นอนนั่นเอง
          ในปัจจุบันการเล่นลิเกป่าที่จังหวัดนครศรีธรรมราชหาดูไม่ได้อีกแล้ว ทั้งนี้เพราะมีเหตุหลายประการที่ทำให้การละเล่นชนิดนี้เสื่อมสูญไป เช่น เนื่องจากการเล่นลิเกของภาคกลาง ซึ่งเผยแพร่เข้ามาดูน่าชมกว่า เล่าเรื่องที่น่าสนใจกว่า การขับร้องและท่ารำก็แปลกและพิสดารกว่า และสาเหตุอีกประการหนึ่งก็คือลิเกป่าเป็นลิเกสมัครเล่น ไม่ได้ยึดเป็นอาชีพจริงจังดังกล่าว พร้อมกันนั้นอิทธิพลวัฒนธรรมตะวันตกได้เผยแพร่เข้ามามากลิเกป่าจึงเสื่อมหายไปในที่สุดจนเกือบจะหาชมไม่ได้อีกเลย

          ลิเกป่านิยมเล่นกันแถบชนบท บ้านนาบ้านป่า เป็นการหาความสนุกสนานในยามว่างงาน เป็นลิเกสมัครเล่นไม่ได้ยึดถือเป็นอาชีพหลัก นิยมเล่นกันแถบชนบท บ้านนาบ้านป่า เป็นการหาความสนุกสนานในยามว่างงาน เป็นลิเกสมัครเล่นไม่ได้ยึดถือเป็นอาชีพหลัก แต่ถ้าใครรับไปแสดงในงานต่างๆ ก็จะรวมสมัครพรรคพวกไปเล่นได้ อัตราค่าแสดงก็ไม่แน่นอนแล้วแต่ข้อตกลงกับเจ้าภาพ เช่น ระยะเวลาที่แสดง ระยะทางและค่าพาหนะในการเดินทาง เป็นต้น

 

30 30

14. คืนเงินค่าเปิดบัญชีธนาคาร

วันที่ 16 มีนาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

คืนเงินค่าเปิดบัญชีธนาคาร

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

คืนเงินค่า้เปิดบัญชีธนาคาร

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

คืนเงินค่าเปิดบัญชีธนาคาร

กิจกรรมที่ทำจริง

คืนเงินค่าเปิดบัญชีธนาคาร

 

2 2

15. จัดทำรายงานงวดที่1

วันที่ 16 มีนาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

-ประชุมสรุปงานประจำเดือน-รายกิจกรรมที่ได้ดำเนินการไปในเดือนตุลาคมให้คณะทำงานและดำเนินการวางแผนกิจกรรมในครั้งต่อไป

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

-จัดทำรายงานเพื่อรายงานการทำกิจกรรมงวดที่1ตามแผนงาน ปฏิทิน ที่ได้กำหนดไว้และดำเนินการครั้งต่อไป

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

จัดทำรายงาน ส1 ส2 ง1 ตรวจสอบเอกสารการเงิน การดำเนินกิจกรรม

กิจกรรมที่ทำจริง

  จัดทำรายงาน ส1 ส2 ง1 ตรวจสอบเอกสารการเงิน การดำเนินกิจกรรม

 

2 2

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น

ส่วนที่ 2 ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการและปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินโครงการ

ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ

การดำเนินงานเมื่อเทียบกับการดำเนินงานทั้งโครงการทั้งหมดทำแล้ว10%20%30%40%50%60%70%80%90%100%
การทำกิจกรรม 68 15                  
การใช้จ่ายงบประมาณ 213,000.00 41,430.00                  
คุณภาพกิจกรรม 60 51                  

ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ)

ประเด็นปัญหา/อุปสรรคสาเหตุเพราะแนวทางการแก้ไขของผู้รับทุน

 

 

 

แผนงาน/กิจกรรม ที่จะดำเนินการในงวดต่อไป

  1. คืนเงินค่าเปิดบัญชีธนาคาร ( 16 มี.ค. 2558 )
  2. จัดทำรายงานงวดที่1 ( 16 มี.ค. 2558 )
  3. ยาวชนร่วมเดินรณรงค์แจกแผ่นพับ /โปสเตอร์ลดขยะพลาสติก ( 21 มี.ค. 2558 )
  4. ซอแรงปลูกต้นไม้ในชุมชน ( 22 มี.ค. 2558 )
  5. ร่วมคัดเมล็ดพันธ์ุพืชและแลกเปลียนพันธ์พืช (ครั้งที่2) ( 22 มี.ค. 2558 )
  6. ซอแรงกลุ่มกองทุนต้นกล้าเมล็ดพันธุ์(แลกเปลียนพันธืไม้ ผัก)ครั้งที่11 ( 27 มี.ค. 2558 )
  7. อบรมบัญชีครัวเรือน ( 28 มี.ค. 2558 )
  8. ประชุมสภาผู้นำและคณะทำงานโครงการ(ครั้งที่4) ( 29 มี.ค. 2558 )
  9. ร่วมถางป่า พัฒนาในชุมชนบ้านศาลาคงจันทร์(ครั่งที่3) ( 30 มี.ค. 2558 )
  10. ลงพื้นที่เก็บข้อมูล รายรับ-รายจ่าย 1 ( 31 มี.ค. 2558 )
  11. บ้านชุมชน โรงเรียนร่วมแลกเปลียนเรียนรู้และซอแรงปลูกต้นไม้(ครั้งที่4) ( 4 เม.ย. 2558 )
  12. สภาผู้นำชุมชน ยกร่างการกำหนดพื้นที่ และกติกาการบริหารจัดการทรัพยากร สิ่งแวดล้อมและการจัดการขยะใน ( 5 เม.ย. 2558 )
  13. ร่วมกันปลุฏผักครัวเริอนต้นแบบ(ครั่งที่12 ( 8 เม.ย. 2558 )
  14. ร่วมแลกเปลียนเรียนรู้ บ้าน โรงเรียน ชุมชน ชอแรงปลูกต้นไม้(ครังที่5) ( 11 เม.ย. 2558 )
  15. ร่วมกันปลูกผักกับเด็กเยาวชนโรงเรียนชุมชนบ้านโคกค่าย(ครังที่13) ( 13 เม.ย. 2558 )
  16. ลงพื้นที่เก็บข้อมูล รายรับ-รายจ่าย 2 ( 15 เม.ย. 2558 )
  17. สภาผู้นำชุมชนเปิดเวทีประชาคม เพื่อหาข้อตกลงกติกาการบริหารจัดการทรัพยากร สิ่งแวดล้อมและการจัดการ ( 18 เม.ย. 2558 )
  18. กิจกรรมซอแรงกลุ่มกองทุนต้นกล้าเมล็ดพันธุ์ /กล้าไม้ /กลุ่มผัก(ครังที่6) ( 19 เม.ย. 2558 )
  19. กิจกรรมเรียนรู้การทำทะเบียนพืชหาอยากและพันธุ์กรรมพื๙ท้องถิ่น 14 ( 23 เม.ย. 2558 )
  20. ตลาดนัดขยะรีไซร์เคิ่ล ( 25 เม.ย. 2558 )
  21. ประชุมสภาผู้นำและคณะทำงานโครงการ(ครั้งที่5) ( 26 เม.ย. 2558 )
  22. ลงเก็บข้อมูลพันธุ์กรรมพืชครั้งที่1 ( 28 เม.ย. 2558 )
  23. "ค่ายเยาวชน" สำรวจสถานการณ์ขยะโดยทีมนักสืบน้อยของกลุ่มเยาวชนรักษ์ถิ่น อนุรักษ์สิ่งแว ดล้อม (รุ่นที่1) ( 28 เม.ย. 2558 - 29 เม.ย. 2558 )
  24. ลงพื้นที่เก็บข้อมูล รายรับ-รายจ่าย 3 ( 29 เม.ย. 2558 )
  25. ร่วมซอแรงปลูกพืชในโรงเรียน(ครังที่7) ( 30 เม.ย. 2558 )
  26. ร่วมซอแรงพัฒนาถางป่าพัฒนาบริเวณป่าชาโหละยาว ม3 ควนรู(ครั้งที่8) ( 3 พ.ค. 2558 )
  27. กิจกรรมซอแรงกลุ่มกองทุนต้นกล้าเมล็ดพันธุ์ /กล้าไม้ /กลุ่มผัก ( 9 พ.ค. 2558 )
  28. เก็บข้อมูลพันธุ์กรรมพืชท้องถิ่น ครั้งทร่2 ( 10 พ.ค. 2558 )
  29. กิจกรรมเก็บข้อมูลพันธุ์กรรมพืชหายากครั้งที่3 ( 14 พ.ค. 2558 )
  30. ลงพื้นที่เก็บข้อมูล รายรับ-รายจ่าย 4 ( 14 พ.ค. 2558 )
  31. ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อสังเคราะห์ความรู้ โครงการร่วมสร้างชุมชนและท้องถิ่นน่าอยู่ ภาคใต้ ปี 2557 รุ่น 1 และรุ่น 2 ( 16 พ.ค. 2558 )
  32. กิจกรรมซอแรงกลุ่มกองทุนต้นกล้าเมล็ดพันธุ์ /กล้าไม้ /กลุ่มผัก ( 17 พ.ค. 2558 )
  33. กิจกรรมซอแรงกลุ่มกองทุนต้นกล้าเมล็ดพันธุ์ /กล้าไม้ /กลุ่มผัก ( 23 พ.ค. 2558 )
  34. กิจกรรมซอแรงกลุ่มกองทุนต้นกล้าเมล็ดพันธุ์ /กล้าไม้ /กลุ่มผัก ( 24 พ.ค. 2558 )
  35. สรุปข้อมูลจัดทำเป็นเอกสาร ( 28 พ.ค. 2558 )
  36. ลงพื้นที่เก็บข้อมูล รายรับ-รายจ่าย 5 ( 29 พ.ค. 2558 )
  37. ประชุมสภาผู้นำและคณะทำงานโครงการ(ครั้งที่6) ( 30 พ.ค. 2558 )
  38. ซอแรง สร้างโรงเรือนเพาะชำกล้าไม้ ( 31 พ.ค. 2558 )
  39. ลงพื้นที่เก็บข้อมูล รายรับ-รายจ่าย 6 ( 1 มิ.ย. 2558 )
  40. สรุปข้อมูลและจัดทำเป็นเอกสารชุดความรู้ชุมชน ( 6 มิ.ย. 2558 )
  41. ประชุมคณะทำงานโครงการ ( 7 มิ.ย. 2558 )
  42. ประชุมคณะทำงานและติดตามประเมินผลโครงการ(ครั้งที่8) ( 7 มิ.ย. 2558 )
  43. ร่วมซอแรงและหิวปินโตมาร่วมพัฒนาที่พักสงฆ์เกาะบก(ครังที่9) ( 13 มิ.ย. 2558 )
  44. ลงพื้นที่เก็บข้อมูล รายรับ-รายจ่าย 7 ( 17 มิ.ย. 2558 )
  45. "ค่ายเยาวชน " สำรวจขยะกลุ่มเยาวชนรักษ์ถิ่น อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ครั้งที่ 2 ( 20 มิ.ย. 2558 - 21 มิ.ย. 2558 )
  46. ประชุมสภาผู้นำและคณะทำงานโครงการ(ครั้งที่9) ( 28 มิ.ย. 2558 )
  47. ร่วมซอแรงพัฒนาชุมชนบ้านโคกค่าย ( 30 มิ.ย. 2558 )
  48. ประชุมสภาผู้นำและคณะทำงานโครงการ ( 3 ก.ค. 2558 )
  49. ลงพื้นที่เก็บข้อมูล รายรับ-รายจ่าย 7 ( 4 ก.ค. 2558 )
  50. งานสร้างสุขโครงการร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ภาคใต้ ( 11 ก.ค. 2558 )
  51. เวทีกลุ่มย่อยวิเคราะห์ข้อมูลครัวเรือน ( 16 ก.ค. 2558 )
  52. ลงพื้นที่เก็บข้อมูล รายรับ-รายจ่าย 8 ( 19 ก.ค. 2558 )
  53. ประชุมคณะทำงาน ประเมินผลกิจกรรม (ครั้งที่10) ( 20 ก.ค. 2558 )
  54. สรุปปิดโครงการในเวทีประชุมหมู่บ้านเพื่อรายงานผลการดำเนินงาน ( 25 ก.ค. 2558 )

(................................)
นายธีรวิชญ์ จันทกูล
ผู้รับผิดชอบโครงการ