directions_run

รู้จักจ่าย รู้จักออม ร่วมสร้างงานที่บ้านม่วงเตี้ย

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


“ รู้จักจ่าย รู้จักออม ร่วมสร้างงานที่บ้านม่วงเตี้ย ”

ชุมชนบ้านม่วงเตี้ย หมู่ที่ 1 ต.แพรกหา อ.ควนขนุน จ.พัทลุง

หัวหน้าโครงการ
นาย แวว ทับชุม

ชื่อโครงการ รู้จักจ่าย รู้จักออม ร่วมสร้างงานที่บ้านม่วงเตี้ย

ที่อยู่ ชุมชนบ้านม่วงเตี้ย หมู่ที่ 1 ต.แพรกหา อ.ควนขนุน จ.พัทลุง จังหวัด พัทลุง

รหัสโครงการ 58-03983 เลขที่ข้อตกลง 58-00-1911

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 15 กันยายน 2558 ถึง 15 ตุลาคม 2559


กิตติกรรมประกาศ

"รู้จักจ่าย รู้จักออม ร่วมสร้างงานที่บ้านม่วงเตี้ย จังหวัดพัทลุง" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ชุมชนบ้านม่วงเตี้ย หมู่ที่ 1 ต.แพรกหา อ.ควนขนุน จ.พัทลุง

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
รู้จักจ่าย รู้จักออม ร่วมสร้างงานที่บ้านม่วงเตี้ย



บทคัดย่อ

โครงการ " รู้จักจ่าย รู้จักออม ร่วมสร้างงานที่บ้านม่วงเตี้ย " ดำเนินการในพื้นที่ ชุมชนบ้านม่วงเตี้ย หมู่ที่ 1 ต.แพรกหา อ.ควนขนุน จ.พัทลุง รหัสโครงการ 58-03983 ระยะเวลาการดำเนินงาน 15 กันยายน 2558 - 15 ตุลาคม 2559 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 190,290.00 บาท จาก เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 240 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

 

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อให้มีสภาผู้นำชุมชนที่เข้มแข็ง
  2. เพื่อสนับสนุนการลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ เพิ่มการออม อย่างต่อเนื่อง
  3. เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

     


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. การประชุมปฐมนิเทศโครงการร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่ภายใต้ ปี 2558

    วันที่ 29 กันยายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. รับฟังบรรยายการบริหารจัดการโครงการ
    2. รับฟังบรรยายการบริหารจัดการเงิน
    3. รับฟังบรรยายการเเนะนำเวปไซด์
    4. รับฟังบรรยายการทำงานด้วยความโปร่งใสและความซื่อสัตย์
    5. ฝึกการลงรายละเอียดกิจกรรมและแผนดำเนินงาน
    6. ฝึกปฏิบัติการการทำงานจริง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผู้รับผิดชอบโครงการและคณะทำงานเข้าใจถึงการรู้จักการจัดการโครงการ การจัดการการเงิน การใช้เวปไซด์ การทำงานด้วยความโปร่งใสและซื่อสัตย์และสามารถนำข้อมูลที่ได้นำมาลงข้อมูลได้ถูกต้องและครบถ้วนตามหลักการจัดการข้อมูลของการประชุมในโครงการร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่

     

    2 2

    2. ทำป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่

    วันที่ 3 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ผู้รับผิดชอบโครงการนำป้าย ลด ละ เลิก บุหรี่ ไปติดที่ศาลาหมู่บ้าน จำนวน 1 ป้าย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • จากการติดป้ายรณรงค์เขตปลอดบุหรี่อย่างชัดเจน เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนที่เข้าร่วมทำกิจกรรมกับโครงการไม่สูบบุหรี่ ในเขตพื้นที่ปฏิบัติการไม่พบบุคคลที่มีพฤติกรรมการสูบบุหรี่ในพื้นที่่หรือบริเวณใกล้เคียง

     

    264 264

    3. ประชุมประชาชนในชุมชนเพื่อคัดเลือกสภาผู้นำ

    วันที่ 3 พฤศจิกายน 2558 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. รับฟังคำบรรยายจากนายสมนึก นุ่นด้วง
    2. คณะทำงานชี้แจงรายละเอียดโครงการ
    3. คัดเลือกสภาผู้นำชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. ได้สภาผู้นำที่ผ่านการคัดเลือกจากประชาชนในชุมชน โดยมี 1. นายหลบ คงศรีทอง เป็นหัวหน้าสภาผู้นำ 2. นางบุญราย อินแป้น 3.นางนันท์ คงวุ่น 4. นางดวงพร อุตมะพงค์ 5. นางมาลิวัล ยอดแก้ว 6. นางสร้อย ดำเอียด 7. นางจารุวรรณ ชูแก้ว 8. นางเจิม ชูเอียด 9. นางละเอียด พูลชุม
    2. ประชาชนเข้าใจรายละเอียดของกิจกรรมที่จัด

     

    160 163

    4. ถอนเงินค่าเปิดสมุดบัญชี

    วันที่ 5 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ไปถอนเงินออกจากธนาคาร เป็นเงินที่เบิกบัญชีจำนวน 500 บาท

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • เข้าใจการจัดทำการเงินโครงการ สามารถลงบัญชีการเงินในสมุดย่อยที่ควบคุมเงินสดได้ถูกต้อง

     

    2 2

    5. สภาผู้นำและคณะทำงานประชุมวางแผนขับเคลื่อนโครงการและงานอื่นๆของชุมชนเดือนละ 1 ครั้ง (ครั้งที่ 1)

    วันที่ 14 พฤศจิกายน 2558 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. คณะทำงานและสภาผู้นำ เข้าร่วมประชุมพร้อมกัน
    2. คณะทำงานและสภาผู้นำช่วยกันแชร์ความรู้เพื่อที่จะเป็นประโยชน์ให้กับชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. สภาผู้นำ เข้าใจบทบาทและหน้าที่ของตัวเอง
    2. คณะทำงานและสภาผู้นำกำหนดรูปแบบในการจัดประชุมประชาชน เพื่อจัดเวทีประชุมทำความเข้าใจในการเปิดโครงการโดยมีประชาชนทั้งชุมชนรับทราบ

     

    24 23

    6. จัดเวทีประชุมทำความเข้าใจเปิดโครงการ

    วันที่ 15 พฤศจิกายน 2558 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • เวลา 10.00 น.ประชาชนมาพร้อมกันที่ศาลาหมู่บ้าน นายแวว ทับชุม ดำเนินรายการเป็นลำดับแรกด้วยการแนะนำนักวิชาการติดตามประเมินผล ซึ่งมีนายเสณี จ่าวิสูตร และนายสมนึก นุ่นด้วง แนะนำและเชิญนายปรารภ อดีตกำนันตำบลแพรกหา เป็นประธานให้โอวาทและกล่าวเปิดเวทีสร้างความเข้าใจโครงการ กิจกรรมจึงดำเนินการไปตามลำดับดังนี้ นายสมนึก นุ่นด้วง กล่าวทักทายที่ประชุมและได้ชี้แจงแก่ที่ประชุมในรายละเอียดต่อปนี้

    1.1 แนะนำ สสส. วัตถุประสงค์และภารกิจของ สสส ที่มาของรายได้กิจกรรมที่ สสส. สนับสนุน กิจกรรมที่ สสส ไม่สนับสนุน

    1.2 การเข้าถึงงบประมาณของ สสส.

    1.3 แนะนำโครงการ และเป้าประสงค์ตามโครงการ แก่คณะทำงาน ประชาชน

    1.4 ชี้แจงวัตถุประ กิจกรรม ตัวชี้วัด การตรวจสอบดูแลการใช้เงิน การทำรายงาน และเอกสารหลักฐานประกอบรายงานผ่านเวป

    • นายเสณี จ่าวิสูตร ชี้แจงสร้างความเข้าใจเรื่องการวิเคราะห์เศรษฐกิจครัวเรือน ชุมชน การสำรวจข้อมูล การวิเคราะห์รายได้ รายจ่าย หนี้สินของครัวเรือน ชุมชน

    • พอถึงเที่ยงวัน ทุกคนรับประทานอาหารกลางวันพร้อมกัน

    • เวลา 13.00 น นายแวว ทับชุม ชี้แจงสร้างความเข้าใจโครงการในรายละเอียดกิจกรรมต่างๆ และการสร้างความร่วมมือในการทำกิจกรรมโครงการ การสมัครร่วมกลุ่มอาชีพตามแนว เศรษฐกิจพอเพียง และการนัดหมายการจัดกิจกรรมในครั้งต่อไปพัฒนาแบบและลงสำรวจข้อมูลตรัวเรือน เลิกประชุมเวลา 15.00

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. มีคณะกรรมการ สภาผู้นำและประชาชนในชุมชนเข้าร่วมเวที ประชุมชี้แจงและสร้างความเข้าใจเปิดโครงการจำนวน 247 คน
    2. ได้ร่วมชี้แจงและสร้างความใจโครงการจากพี่เลี้ยงโครงการ และได้มีการกำหนดขั้นตอน แนวทาง การดำเนินโครงการ ต่อไป โดยผู้รับผิดชอบโครงการ ทำให้ชาวบ้านเข้าใจเป้าหมายการทำโครงการ ว่าเป็นการทำโครงการที่ต่อเนื่องเป็นการพัฒนาศักยภาพคนในชุมชนให้มาร่วมกันจัดการปัญหาในพื้นที่ ไม่ใช่โครงการที่มาทำชั่วคราว ผลจากการจัดเวทีในวันนี้ทำให้ชาวบ้านให้ความสนใจและสมัครเข้าร่วมโครงการ

     

    264 247

    7. อบรมการเขียนรายงานและการจัดการเอกสารการเงิน

    วันที่ 22 พฤศจิกายน 2558 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ชี้แจงแนวทางการเขียนรายงานผลการดำเนินโครงการ
    2. ชี้แจงการจัดการเอกสารการเงินและการทำรายงานการเงินที่ถูกต้อง
    3. ชี้แจงการหักภาษีโครงการ
    4. อธิบายการแยกประเภทหมวดค่าใช้จ่าย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต

    1. ผู้เข้าร่วมอบรม จำนวน 2 คน

    ผลลัพธ์

    1. ผู้เข้าร่วมได้เรียนรู้ขั้นตอนการเขียนรายงานผลการดำเนินโครงการ ต้องเขียนให้เห็นผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการทำกิจกรรม
    2. ผู้เข้าร่วมได้เรียนรู้การจัดการเอกสารการเงินและการทำรายงานการเงินที่ถูกต้อง
    3. ผู้เข้าร่วมได้เรียนรู้การหักภาษีโครงการ ในรายการค่าใช้จ่ายที่เกิน 1,000 บาทขึ้นไปต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย 1 เปอร์เซ็นต์ โดยเริ่มหักในเดือนธันวาคม 2559
    4. ผู้เข้าร่วมได้เรียนรู้การแยกประเภทหมวดค่าใช้จ่าย ประกอบด้วย 6 หมวด คือ ค่าตอบแทน ค่าจ้าง ค่าใช้สอย ค่าวัสดุ ค่าครุภัณฑ์ และอื่น ๆ

     

    2 2

    8. สภาผู้นำชุมชนและคณะทำงานออกแบบฟอร์มการเก็บข้อมูล

    วันที่ 25 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. สภาผู้นำชุมชนและคณะทำงานร่วมกันออกแบบฟอร์มเก็บข้อมูล
    2. ได้แบบฟอร์มแล้วเสนอในที่ประชุม
    3. คัดเลือกแบบฟอร์มที่เหมาะสม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • สภาผูนำชุมชนและคณะทำงานได้ช่วยกันแสดงความคิดเห็น เพื่อที่จะได้รูปแบบของแบบฟอร์มการเก็บข้อมูลที่ครอบคลุมทุกประเด็น คือ แบบฟอร์มการเก็บข้อมูลเศรษฐกิจครัวเรือน

     

    24 21

    9. การเก็บข้อมูลสภาวเศรษฐกิจครัวเรือน

    วันที่ 3 ธันวาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. แจกจ่ายแบบฟอร์มให้กับคณะทำงานจำนวน 14 คนๆ ละ 10 ชุด
    2. ทำการเดินเก็บสำรวจตามบ้านเรือน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • คณะทำงานได้ทำการลงเก็บข้อมูลของครัวเรือนของคนในชุมชน ใช้เวลาเก็บข้อมูล 1 วัน เก็บข้อมูลได้ทั้งหมด 140 ครัวเรือน สำหรับคนที่เก็บข้อมูลไม่เสร็จทั้ง 10 ครัวเรือนใน 1 วัน จะทำการเก็บต่อในอีกวัน

     

    140 140

    10. สภาผู้นำและคณะทำงานประชุมวางแผนขับเคลื่อนโครงการและงานอื่นๆของชุมชนเดือนละ 1 ครั้ง (ครั้งที่ 2)

    วันที่ 5 ธันวาคม 2558 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. คณะทำงานและสภาผู้นำ เข้าร่วมประชุมพร้อมกัน
    2. คณะทำงานและสภาผู้นำช่วยกันแชร์ความรู้เพื่อที่จะเป็นประโยชน์ให้กับชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. คณะทำงานและสภาผู้นำได้ช่วยกันแสดงความคิดเห็นในโครงการที่ผ่านมา
    2. คณะทำงานและสภาผู้นำได้กำหนดรูปแบบในการจัดประชุมประชาชนและเตรียมการทำกิจกรรมวิเคราะห์ข้อมูลที่เก็บมาได้ในวันที่ 20 ธันวาคม 2558

     

    24 23

    11. การวิเคราะห์ข้อมูลและจัดทำแผนลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ครัวเรือน

    วันที่ 20 ธันวาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. คณะทำงานมาประชุมพร้อมกัน
    2. ช่วยกันรวบรวมข้อมูลที่ได้
    3. นักวิชาการ(นายภูวดล ทับชุม)โดยมาจากคณะทำงานหนึ่งคน บันทึกข้อมูลที่ได้ให้กับคณะทำงานรับทราบ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. ได้เรียนรู้การวิเคราะห์ข้อมูลและจัดทำแผนลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ครัวเรือนแต่ละครอบครัว จำนวน 140 ครัวเรือน
    2. ได้ค่าเฉลี่ยออกมา/ปี/เดือน/วัน โดยคิดคำนวนจากรายรับ รายจ่าย หนี้สิน และคงเหลือ
    3. ได้ค่าต่างๆดังต่อไปนี้ โดยคิดคำนวนมาจาก 140 ครัวเรือน

    3.1. รายรับรวม 24,712,700 /รายรับต่อปี 176,519 /รายรับต่อเดือน 14,710 /รายรับต่อวัน 490

    3.2. รายจ่ายรวม 22,485,000 /รายจ่ายต่อปี 1ุ60,607 /รายจ่ายต่อเดือน 13,384 /รายจ่ายต่อวัน 446

    3.3. รายหนี้สินรวม 1,238,000 /รายหนี้สินต่อปี 8,842 /รายรับหนี้สินต่อเดือน 737 /รายหนี้สินต่อวัน 25

    3.4. รายได้คงเหลือรวม 2,227,700 /รายได้คงเหลือต่อปี 15,912 /รายได้คงเหลือต่อเดือน 1,326 /รายได้คงเหลือต่อวัน 44

     

    15 15

    12. สภาผู้นำและคณะทำงานประชุมวางแผนขับเคลื่อนโครงการและงานอื่นๆของชุมชนเดือนละ 1 ครั้ง (ครั้งที่ 3)

    วันที่ 26 ธันวาคม 2558 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • 13.00 น.โดยมีนายแวว ทับชุม เจ้าของโครงการ ได้ชี้แจงถึงกิจกรรมต่างๆที่จัดมาทั้งหมดและได้มีการพูดถึงอาชีพเสริมเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับชาวบ้านในชุมชนได้ชี้แจงถึงกิจกรรมต่างๆที่จัดมาทั้งหมดซึ่งกิจกรรมล่าสุดเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลได้รายงานสภาพเศรษฐกิจครัวเรือนของชุมชนที่สำรวจมาทั้งหมด 140 หลังคาเรือนจะเห็นได้ว่าชุมชนของเราจะมีหนี้สินซึ่งเราจะมีการลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นลงและจะมีการเพิ่มอาชีพเสริมเพื่อเพิ่มรายได้ และทุกคนต้องมีบัญชีครัวเรือนเป็นตัวคุมการใช้จ่ายเพื่อจะช่วยแก้ปัญหาได้อีกทางหนึ่ง หลังจากนั้นก็มีการซักถามข้อสงสัย 17.00 น.ปิดการประชุม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผู้เข้าร่วมประชุม  มีความรู้  ความเข้าใจ ในการดำเนินงานตามโครงการ และมีส่วนร่วมในการช่วยกันคิดที่จะจัดเวทีประชุมคืนข้อมูลสู่ชุมชน

     

    24 20

    13. จัดเวทีประชุมคืนข้อมูลสู่ชุมชน

    วันที่ 29 ธันวาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วาระที่ 1
    1. เปิดโครงการ นายแวว ทับชุม เปิดการประชุมเรื่อง การอยู่แบบเศรษฐกิจพอเพียง การใช้ปุ๋ยชีวภาพ ลดการใช้ปุ๋ยเคมี การใช้ปุ๋ยเคมีจะหมดคุณภาพภายใน 45 วัน ถึง 60 วัน แต่การใช้ปุ๋ยชีวภาพจะใช้ได้ถึง 2-3 ปี 2. หมอนึก พี่เลี้ยง คุยถึงวิถีทางการอยู่รอดของชุมชน การลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ยกตัวอย่างถึงหมู่บ้านท่าข้าม ของตำบลตะแพน การทำข้าวสารลอยฟ้า การรวมกลุ่ม การเก็บข้อมูล รายรับรายจ่าย ทุกวันนี้ก็ยังมีข้าวลอยฟ้าอยู่ภายในชุมชน การจ่ายคืนก็ต้องให้เกิดประโยชน์มากที่สุด แต่ไม่ใช่เป็นเงินที่นำไปซื้อสิ่งของ แต่ใช้เงินนี้สำหรับการเรียนรู้ของคนในชุมชน ถ้าเอาเงินไปใช้ในทางที่ไม่เกิดประโยชน์ เกิดการเรียนรู้ ผลเสียก็จะเกิดขึ้นตามมา

    วาระที่ 2 การเกิดข้อมูลที่วัดได้

    1. ข้อมูลรายได้ของหมู่ที่ 1 มีดังนี้

    1.1 การทำ 1,440,000 บาท 1.2 ยางพารา 1,300,000 บาท 1.3 ค้าขาย 2,500,000 บาท 1.4 รับจ้าง 7,200,000 บาท 1.5 ข้าราชการ 5,000,000 บาท 1.6 อื่นๆ 2,200,000 บาท

    รวมรายได้ทั้งหมด 19,870,000 บาท (270) 74,000 ต่อครัว6,100 ต่อเดือน

    2.หนี้สิน มีดังนี้

    2.1 ธ.ก.ส 1,800,000 บาท 2.2 สหกรณ์ 5,000,000 บาท 2.3 ธนาคารอื่น 1,200,000 บาท 2.4 เงินในชุมชน 4,500,000 บาท

    รวมหนี้สินทั้งหมด 12,550,000 ต่อปี

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. ผู้เข้าร่วมประชุม ได้ร่วมกันดำเนินกิจกรรม ในการประชุมครั้งนี้
    2. ได้ร่วมแสดงบทบาทหน้าที่ของแต่ละคนในชุมชน
    3. ผู้เข้าร่วมประชุมได้เรียนรู้จากการจัดป้ายนิทรรศการในการแสดงบทบาทของชุมชน และทราบหนี้สินที่เกิดขึ้นทำให้เกิดแนวคิดการลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ให้กับคนในหมู่บ้าน
    4. ได้เรียนรู้ในหน้าที่ในการดำเนินการพัฒนาในการทำกิจกรรม

     

    264 198

    14. สภาผู้นำและคณะทำงานประชุมวางแผนขับเคลื่อนโครงการและงานอื่นๆของชุมชนเดือนละ 1 ครั้ง (ครั้งที่ 4)

    วันที่ 5 มกราคม 2559 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • คณะทำงานและสภาผู้นำชุมชน สรุปผลความคืบหน้าในการดำเนินโครงการและแนวทางของกิจกรรมที่ผ่านมา

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. ได้ผลสรุปการจัดเวทีคืนข้อมูล เกิดการทำแผนปฏิบัติการลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ร่วมกัน
    2. ผู้เข้าร่วมประชุม  มีความรู้  ความเข้าใจ ในการดำเนินงานตามโครงการ และมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมในครั้งต่อไป

     

    24 21

    15. สภาผู้นำและคณะทำงานประชุมวางแผนขับเคลื่อนโครงการและงานอื่นๆของชุมชนเดือนละ 1 ครั้ง (ครั้งที่ 5)

    วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • คณะทำงานและสภาผู้นำชุมชน ประชุมร่วมกัน 13.00 น.โดยมีนายแวว ทับชุม เจ้าของโครงการ ได้ชี้แจงถึงกิจกรรมต่างๆที่จัดมาทั้งหมดและได้มีการพูดถึงอาชีพเสริมเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับชาวบ้านในชุมชน หลังจากนั้นก็มีการซักถามข้อสงสัย 17.00 น.ปิดการประชุม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. คณะทำงานและสภาผู้นำชุมชนได้รับความรู้เพิ่มเติมการการทำงานร่วมกันเพื่อเสนอความคิดของแต่ละคน
    2. คณะทำงานและสภาผู้นำชุมชน มีความรู้  ความเข้าใจ ในการดำเนินงานตามโครงการ และมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมในครั้งต่อไป

     

    24 19

    16. การประชุมร่วมกับพี่เลี้ยงผู้ติดตาม

    วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. เรียนรู้การรายงานผลกิจกรรมใน web ให้ถูกต้องและครบถ้วน
    2. เรียนรู้การปรับปฏิทินกิจกรรมให้เป็นปัจจุบัน
    3. ทำการตรวจเอกสารทางการเงินกับใน web ให้ตรงกันทีละโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. ผู้รับผิดชอบโครงการได้ให้ความรู้เรื่องการทำรายงานใน web และเอกสารการเงินที่ถูกต้อง
    2. ทีมพี่เลี้ยงได้แนะนำเพิ่มเติมเพื่อให้เอกสารสมบูรณ์ยิ่งขึ้น โดยปรับแก้เอกสารการเงินและรายงานในเว็บไซต์
    3. ผู้รับผิดชอบโครงการและฝ่ายการเงินจะได้นำเอกสารการเงินกลับไปแก้ไขให้ถูกต้อง ก่อนจะนำไปตรวจที่ฝ่ายการเงินของ สจรส.เพื่อส่งรายงานปิดงวดที่ 1

     

    2 2

    17. จัดทำรายงานงวดที่ 1

    วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. พี่เลี้ยงตรวจสอบเอกสาร
    2. ฟังคำบรรณยายของคุณเสณี
    3. ทำการแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้อง
    4. นำข้อมูลที่ได้ไปตรวจสอบกับ สจรส มอ.
    5. นำข้อมูลที่ผิดพลาดหลังจากการตรวจมาแก้ไขต่อ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. ได้ปิดงวดถูกต้อง
    2. สามารถนำความรู้ที่ได้ไปแก้ไขในครั้งต่อไป( โดยมีการทักทวงจาก สจรส เรื่องการลงข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์ การไม่บอกถึงหน้าที่ของสภาผู้นำที่ได้เลือก)
    3. เข้าใจในหลักการทำงานมากขึ้น

     

    2 2

    18. สภาผู้นำและคณะทำงานประชุมวางแผนขับเคลื่อนโครงการและงานอื่นๆของชุมชนเดือนละ 1 ครั้ง (ครั้งที่ 6)

    วันที่ 5 มีนาคม 2559 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ผู้เข้าร่วมประชุมลงทะเบียนพร้อมเมื่อเวลา 13.30 น
    2. เปิดประชุมโดยนายแวว ทับชุมผู้ช่วยฝ่ายปกครอง เป็นประธานได้เปิดประชุมตามวาระต่อไปนี้

    2.1 วาระที่ 1
    2.1.1 เรื่อง มีการไม่ให้ชาวบ้านเผาซังข้าวหลังจากการเก็บเกี่ยวและมีการให้ชาวบ้านปลูกปอเทืองเพื่อบำรุงดิน (เป็นปุ๋ยพืชสด)และมีการปลูกถั่วต่าง ๆ เพื่อจะได้มีรายได้หลังจากฤดูเก็บเกี่ยวข้าว

    2.1.2 เรื่อง นายแวว ทับชุม ผู้รับผิดชอบโครงการได้ชี้แจงรายละเอียดกิจกรรมตามโครงการกล่าวประชุมต่อหลังจากประชุมประจำเดือนของหมู่บ้าน โดยได้ขอความคิดเห็นของชาวบ้าน ว่าเราน่าจะทำปุ๋ยหมัก เพื่อจะได้ไว้ใช้ในการปลูกพืช ซึ่งชาวบ้านก็ให้การสนับสนุนการดำเนินการและหลังจากนั้นก็ได้บอกต่อถึงปัญหาว่าทำไม่ถึงไม่ได้ดำเนินโครงการต่อ ( เพราะเงินยังไม่เข้า )

    1. ปิดประชุมเวลา 16.00 น.จบการประชุม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. ประชาชนได้รู้ข่าวสารทางราชการจากผู้ช่วยฝ่ายปกครอง
    2. ได้รับรู้ข่าวสารความเคลื่อนไหวของชุมชน
    3. ได้พบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในกลุ่ม
    4. ได้ทราบผลลัพธ์ของการจัดกิจกรรมโครงการ
    5. เกิดความสามัคคีในหมู่คณะมากขึ้นมีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

     

    24 20

    19. สภาผู้นำและคณะทำงานประชุมวางแผนขับเคลื่อนโครงการและงานอื่นๆของชุมชนเดือนละ 1 ครั้ง (ครั้งที่ 7)

    วันที่ 5 เมษายน 2559 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. เริ่มการประชุมเวลา 13.00 น.
    2. นายแวว ทับชุม ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านเป็นประธานกล่าวสวัสดีผู้เข้าประชุม แล้วดำเนินการประชุมตามระเบียบวาระดังนี้

    2.1 วาระที่ 1

    2.1.1 เรื่อง กำนันเจริญ ชูสังข์ ประสบอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ชนกัน ตอนนี้กำลังรักษาตัวอยู่โรงพยาบาลพัทลุง

    2.1.2 เรื่อง โครงการตำบล 5 ล้านบาท อำเภอควนขนุนดำเนินโครงการทั้งหมด 244 โครงการ แล้วเสร็จ 146 โครงการ

    2.1.3 เรื่อง โครงการแก้ปัญหาภัยแล้ง อดีตกำนันหลบ คงศรีทอง กำลังดำเนินการ โครงการที่เสนอไปในครั้งก่อนมีปัญหาการใช้ที่ดินแปลงใหญ่ต้องการแยกเป็นหมู่บ้าน

    2.1.4 เรื่อง เดินทอดพระเกียรติสมเด็จพระเทพ ฯ เนื่องในวันคล้ายวันประสูติ 2 เมษายน โดยเริ่มเดินจากโรงเรียนจุงฮั่วไปถึงสวนสาธารณะเทศบาลเมืองพัทลุง

    2.1.5 เรื่อง อุบัติเหตุทางถนนเพราะจะเข้าช่วงเทศกาลสงกรานต์และหมู่บ้านกำลังจัดงานรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุอีกด้วย

    2.1.6เรื่อง ประธานโครงการ ได้กล่าวเชิญชวน ชาวบ้านมาปลูกพืชไว้รับประทานเองที่บ้าน เพื่อจะได้ปลอดสารพิษและลดรายจ่ายภายในครอบครัว เช่น ผักบุ้ง กวางตุ้ง คะน้า ถั่วต่าง ๆ เป็นต้น

    1. ปิดการประชุม เวลา 16.00 น.

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. ประชาชนได้รับรู้ข่าวสารความเคลื่อนไหวของทางราชการ
    2. ประชาชนได้ทราบผลลัพธ์ของการจัดกิจกรรมโครงการ
    3. เกิดความสามัคคีในหมู่คณะมากขึ้นมีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
    4. ทำให้ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการทำงาน ประสานงาน และติดต่อกับหน่วยงานต่าง ๆ พร้อมทั้งมีการวางแผนการทำงาน
    5. ทำให้กล้าคิด กล้าแสดงออก ต่อที่ประชุมชนมากขึ้น
    6. ทำให้รู้จักหน้าที่ และมีความรับผิดชอบมากขึ้น
    7. ทำให้รู้จักการแก้ปัญหาต่าง ๆ โดยเฉพาะการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า
    8. ทำให้รู้จักการเป็นผู้นำ และผู้ตามที่ดี
    9. ทำให้เกิดการพัฒนาความคิด และรู้จักรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
    10. ทำให้รู้จักการแบ่งเวลา และการตรงต่อเวลา

     

    24 20

    20. สภาผู้นำและคณะทำงานประชุมวางแผนขับเคลื่อนโครงการและงานอื่นๆของชุมชนเดือนละ 1 ครั้ง (ครั้งที่ 8)

    วันที่ 5 พฤษภาคม 2559 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. เริ่มการประชุมเวลา 13.00 น.

    2. กำนันเจริญ ชูสังข์ เป็นประธานกล่าวสวัสดีผู้เข้าประชุมแล้วดำเนินการประชุมตามระเบียบวาระดังนี้

    2.1 วาระที่ 1

    2.1.1 เรื่อง เงินโครงการช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยางพารา คงจะโอนเข้าบัญชีเกือบทุกคนแล้ว ใครที่ยังไม่เข้าให้ติดต่อกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง

    2.1.2 เรื่อง ข้าราชการย้ายตำแหน่ง คือ นางสาวมลลิกา อาคาสุวรรณ (เสมียนตรา) ย้ายไปที่ทำการปกครองอำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา แล้วมีข้าราชการย้ายมา คือ นายประจำ เพชรบุญ จากอำเภอศรีบรรพต มาดำรงตำแหน่งเกษตรอำเภอ

    2.1.3 เรื่อง ปัญหาภัยแล้ง ให้ชาวบ้านกักเก็บน้ำไว้ ไม่จำเป็นไม่ควรสูบน้ำออกจากบ่อหรือสูบน้ำเพื่อจับปลา ระวังเรื่องการจุดไฟ เรื่อง การติดตั้งเสาไฟส่องสว่างข้างทาง ตอนนี้ผู้รับเหมากำลังขุดหลุมเพื่อวางเสาไฟให้ช่วยกันดูแลความเรียบร้อยด้วย หากหน้าบ้านใครได้รับความเสียหายให้แจ้งให้กำนันทราบ

    2.1.4 เรื่อง โครงการตำบล 5ล้านบาท ของตำบลแพรกหายังไม่เรียบร้อย ส่วนของหมู่ 1 ดำเนินการเสร็จเรียบร้อยทั้งโครงการแล้ว เรื่อง ร่างรัฐธรรมนูญ กำลังเตรียมความพร้อม การออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ในวันที่ 7 สิงหาคม ให้ติดตามข่าวบ้านเมืองบ้าง เพื่อจะได้ทราบการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ

    2.1.5 เรื่อง โครงการยกระดับศักยภาพหมู่บ้าน เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจตามแนวทางประชารัฐหรือเรียกว่าหมู่บ้านโครงการละ 2 แสนบาท จะทำประชาคมเพื่อแสดงความคิดเห็น

    2.1.6 เรื่อง นางมาลีวัล ยอดแก้ว เสนอโครงการกำจัดวัชพืชในแหล่งน้ำ ซึ่งมีมากและทำให้น้ำเน่าเสีย

    2.1.7 เรื่อง ประธานโครงการ ขอประชุมต่อหลังจากการประชุมหมู่บ้าน เรื่องที่จะไปศึกษาดูงานนอกสถานที่ของหมู่บ้านต้นแบบ (เงินโครงการยังไม่มา)

    1. ปิดการประชุม เวลา 16.00 น.

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. ประชาชนได้รับรู้ข่าวสารทางราชการ
    2. ทำให้ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการทำงาน ประสานงาน และติดต่อกับหน่วยงานต่าง ๆ พร้อมทั้งมีการวางแผนการทำงาน
    3. ทำให้รู้จักหน้าที่ และมีความรับผิดชอบมากขึ้น
    4. ทำให้รู้จักการทำงานร่วมกันเป็นหมู่คณะ
    5. ทำให้รู้จักการเป็นผู้นำ และผู้ตามที่ดี
    6. ทำให้เกิดการพัฒนาความคิด และรู้จักรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
    7. ทำให้รู้จักการแบ่งเวลา และการตรงต่อเวลา
    8. ทำให้รู้จักการแก้ปัญหาต่าง ๆ โดยเฉพาะการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า
    9. ทำให้กล้าคิด กล้าแสดงออก ต่อที่ประชุมชนมากขึ้น

     

    24 20

    21. สภาผู้นำและคณะทำงานประชุมวางแผนขับเคลื่อนโครงการและงานอื่นๆของชุมชนเดือนละ 1 ครั้ง (ครั้งที่ 9)

    วันที่ 5 มิถุนายน 2559 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. เริ่มการประชุมเวลา 13.00 น.

    2. กำนันเจริญ ชูสังข์ เป็นประธานกล่าวสวัสดีผู้เข้าประชุมแล้วดำเนินการประชุมตามระเบียบวาระดังนี้

    2.1วาระที่ 1

    2.1.1 เรื่อง ผู้ว่าพัทลุงคนใหม่ นายวันชัย คงเกษม มาแทน ผู้ว่า ดร.วินัย บัวประดิษฐ์ จากตำแหน่งฝ่ายนโยบายและแผนของกระทรวงมหาดไทย จะเริ่มเข้าทำงาน

    2.1.2 เรื่อง ข้าราชการมาใหม่ 1 ราย คือ นางสาวสุพรรนีย์ เนี้ยมแก้ว ตำแหน่งนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการประจำตำบลควนขนุน

    2.1.3 เรื่อง การเตรียมความพร้อมการออกเสียงประชามิร่างรัฐธรรมนูญ (ฝ่ายปกครอง) ส่งรายชื่อครู ค ของหมู่บ้านจำนวน 4 คน

    2.1.4 เรื่อง รายชื่อการลงทะเบียนหมู่บ้านรักษาศีล ๕

    2.1.5 เรื่อง โครงการหมู่บ้านละ 2 แสน เงินจะเข้าบัญชี เมื่อเข้าแล้วจะดำเนินการต่อไป

    2.1.6 เรื่อง สมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ อำเภอควนขนุนแจ้งยอดสมาชิกเสียชีวิตเมื่อเดินที่ผ่านมา

    2.1.7 เรื่อง เกษตรอำเภอควนขนุนโครงการอบรมเพื่อเพิ่มผลิตภาพการผลิตของเกษตรที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง

    2.1.8 เรื่อง การไฟฟ้าอำเภอควนขนุน ชี้แจงการใช้ไฟฟ้าว่าถ้าใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 50 หน่วย จะไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย

    2.1.9 เรื่อง ประธานโครงการได้เชิญชวนชาวบ้านและกรรมหมู่บ้านรวมทั้งสภาผู้นำเรื่องการเรียนรู้ดูงานของชุมชนต้นแบบในวันที่ 12 มิถุนายน 2559 โดยไป 3 สถานที่ มีหูยาน โงกน้ำและท่าช้างและได้เชิญชวนชาวบ้านและกรรมการหมู่บ้าน สภาผู้นำ มาทำปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพ ในวันที่ 25 มิถุนายน 2559 เพราะว่าหลังจากไปดูงานมาแล้วเราจะได้มาทำใช้เลย

    1. ปิดการประชุม เวลา 16.00 น.

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. ประชาชนได้ทราบข่าวสารทางราชการ
    2. ได้ฝึกทักษะกระบวนการทำงานด้วยตนเอง หรือร่วมทำงานเป็นกลุ่ม
    3. ได้ฝึกความกล้าในการแสดงออกและกล้าคิด
    4. นำความรู้ที่ได้ไปใช้ได้ในชีวิตจริง
    5. ทำให้เกิดการพัฒนาความคิด และรู้จักรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
    6. ทำให้รู้จักการเป็นผู้นำ และผู้ตามที่ดี

     

    24 19

    22. เรียนรู้ดูงานการจัดการสร้างอาชีพของชุมชนต้นแบบ

    วันที่ 12 มิถุนายน 2559 เวลา 08:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ลงทะเบียน
    2. เดินทางไปชมโครงการตามแผนพัฒนาอาชีพเกษตรกร ของกลุ่มเลี้ยงผึ้งบ้านหูยาน ( นางบุญเรือน กล่าวว่า การสร้างหีบหรือรังเลี้ยงผึ้งของกลุ่มฯ จะนิยมใช้ไม้เก่าๆ มาสร้างเป็นรังขนาด กว้าง 50 ยาว 50 และสูง 30 เซนติเมตร ส่วนความสูงของเสาหรือขาตั้งรังผึ้งสูงประมาณ 1.5-2 ม.หรือแล้วแต่ความเหมาะสมของพื้นที่ โดยนำไปติดตั้งตามใต้ต้นไม้ที่มีร่มเงา และปลอดภัยจากศัตรู โดยเฉพาะมด จะเป็นศัตรูที่สำคัญโดยเฉพาะช่วงที่ผึ้งอ่อนแอซึ่งสามารถป้องกันได้โดยใช้เศษผ้าชุบน้ำมันเครื่องเก่าพันรอบเสาหรือขาตั้งรังผึ้ง การเลี้ยงผึ้งเป็นมรดกทางภูมิปัญญาตกทอดมาจากรุ่นสู่รุ่น ชื่อนายนิกร อรุณกิจ กับการเลี้ยงผึ้ง เป็นชื่อที่ติดหูมาตั้งแต่จำความได้ของคนในชุมชน ผู้เฒ่าผู้แก่บอกเล่าต่อกันมาว่า น้ำผึ้งเป็นยาอายุวัฒนะ กินแล้วอายุยืน ไม่แก่เร็วและนำมาใช้ประโยชน์ได้อีกหลายอย่างตัวชี้วัดอีกอย่างหนึ่งของสถานที่ที่ผึ้งอาศัยอยู่ คือการไม่ใช้สารเคมีของคนชุมชนในการกำจัดศัตรูพืช โดยการเลี้ยง ปีหนึ่งสามารถเก็บน้ำผึ้งได้ 2 ครั้ง ในช่วยระหว่างเดือน เม.ย.-มิ.ย. และจะไม่เก็บในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-เดือน มีนาคม เพราะเป็นช่วงที่ผึ้งมีลูกอ่อน การเก็บก็ต้องแต่งกายมิดชิดเพื่อป้องกันผึ้งต่อย มีการสวมใส่ถุงมือ สองชั้น ใส่อุปกรณ์คลุมใบหน้าและลำตัว สำหรับการเลี้ยงผึ้งของชุมชน บ้านหูยาน หมู่ 8 ต นาท่อม อ.เมือง จ.พัทลุง ถือเป็นอาชีพเสริมจากการทำสวนยางพาราของชาวบ้าน สามารถสร้างรายให้กับคนในชุมชนได้เป็นอย่างดี และที่สำคัญชาวบ้านชุมชนแห่งนี้เลิกใช้สารเคมี ไม่มีสารพิษตกค้างเพราะหันมาบริโภคพืชผักที่ชุมชนปลูกเอง ผึ้งบ้านหูยานจึงเป็นผลพลอยได้ที่มีทั้งคุณค่าและมูลค่าที่ไม่สามารถประเมินได้ของชุมชน)
    3. เดินทางต่อบ้านโงกน้ำ(ชุมชนบ้านโงกน้ำ” หมู่ที่ 8 ต.นาขยาด อ.ควนขนุน จ.พัทลุง เป็นหนึ่งในหลายๆ ชุมชนที่ได้น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจไปปฏิบัติตาม ผนวกกับพลังความสามัคคีรักใคร่กันของคนในชุมชนทำให้วันนี้ “ชุมชนบ้านโงกน้ำ” ได้รับการคัดเลือกให้เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ของจังหวัดพัทลุง จากกรมการพัฒนาชุมชน นายแฉล้ม เรืองเพ็ง ที่ปรึกษากลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านโงกน้ำ ต.นาขยาด อ.ควนขนุน จ.พัทลุง และหนึ่งในผู้นำหมู่บ้าน เล่าถึงสภาพปัญหาของชุมชนก่อนพัฒนาจนได้รับการคัดเลือกเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงว่า เมื่ออดีตประมาณ 30 ปีที่แล้ว บ้านโงกน้ำ เป็นหมู่บ้านหนึ่งในจังหวัดพัทลุงที่ถือได้ว่าล้าหลัง ทั้งในด้านความคิด การศึกษา การประกอบอาชีพ ซึ่งส่วนใหญ่จะทำสวนยาง ทำนา ปลูกผัก เลี้ยงโค เลี้ยงสุกร และรับจ้าง ปัญหาที่สำคัญที่ของชุมชน คือ ประชาชนส่วนใหญ่ยังขาดรายได้ กลุ่มผู้นำหมู่บ้านจึงมีแนวคิดที่จะร่วมกันพัฒนาหมู่บ้านให้เป็นหมู่บ้านที่น่าอยู่ อยู่ดีกินดี และมีคุณธรรม ประกอบกับได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานของรัฐ ทั้งกรมการพัฒนาชุมชน องค์การสวนยาง กรมพัฒนาที่ดิน ได้เข้ามาช่วยเหลือและให้คำแนะนำ จึงเริ่มต้นด้วยการรวมกลุ่มกันจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต โดยยึดหลักที่ว่า “ได้เงินมา ถ้าเหลือให้นำฝาก” จนปัจจุบันจากสมาชิกในชุมชนที่มีกว่า 570 คน 152 ครัวเรือน มีเงินออมถึง 18.1 ล้านบาท และแต่ละปีมีผลกำไรราว 2 ล้านบาท สามารถนำมาจัดสรรปันผล และจัดสวัสดิการดูแลสมาชิกในด้านต่างๆ ตั้งแต่เกิด แก่ เจ็บ ตาย โดยไม่ต้องพึ่งงบประมาณจากรัฐ นายแฉล้ม กล่าวถึงหลักของหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงว่า “ชุมชนนั้นจะอยู่สบายได้ หนึ่งต้องมีรายได้ สองต้องมีเงินออม ถ้าไม่มีเงินออมก็ไม่มีความสุข สิ่งไหนที่ทำได้เองทำ เหลือให้แจกจ่าย และถ้าประหยัดรายจ่ายได้ยิ่งดี” ซึ่งนับเป็นหลักง่ายๆ ที่จะสร้างให้ชุมชนมีความสุขและอยู่ได้อย่างพอเพียงนอกจากนั้น นายแฉล้ม ยังกล่าวต่ออีกว่า สิ่งที่น่าภูมิใจของชุมชนบ้านโงกน้ำอีกประการหนึ่ง คือ วัตถุดิบที่เหลือใช้ในท้องถิ่น เช่น มูลสุกร มูลโค มูลไก่ ได้นำมาทำปุ๋ยชีวภาพเพื่อใช้กันเองภายในครัวเรือน สามารถช่วยลดต้นทุนได้ถึงกว่า 50% ในขณะเดียวกลุ่มผู้เลี้ยงสุกรที่มีกว่า 70 ครัวเรือน รวมกลุ่มกันนำมูลสุกรมาแปลงเพื่อผลิตเป็นแก๊สชีวภาพ แจกจ่ายให้ชุมชนได้ใช้ ครอบครัวละ 1 ลูก ลูกละ 16,000 บาท ชุมชนไม่ต้องซื้อแก๊สใช้ในขณะเดียวกันนายแฉล้มกล่าวด้วยความภาคภูมิใจว่า ปัจจุบันชุมชนบ้านโงกน้ำอยู่สบาย เป็นผลมาจากที่ได้ปูรากฐานให้คนมีวินัย มีสัจจะ และมีความซื่อสัตย์ ซึ่งทั้ง 3 สิ่งนี้จะเป็นทุนทางสังคมที่ยั่งยืนตลอดไป ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ได้ทรงพระราชทานไว้เมื่อ 25 ปีก่อน หลังจากนั้น ในปี 2526 ชุมชนบ้านโงกน้ำได้ยึดนำมาเป็นแนวทางการดำเนินชีวิต และจากวันนั้นถึงวันนี้รู้สึกว่าประสบความสำเร็จ ก็เพราะแนวพระราชดำริของพระองค์ท่าน ซึ่งนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างล้นพ้น” นายแฉล้มกล่าว ทั้งหมดที่กล่าวล้วนแล้วเป็นสิ่งหนึ่งที่ชี้ชัดได้ว่า “ชุมชนบ้านโงกน้ำ” นับเป็นชุมชนตัวอย่างที่อยู่อย่างพอเพียง และมีความสุขอย่างแท้จริง)
    4. เดินทางต่อวิทยาลัยรวงข้าว บ้านท่าช้าง(ได้เรียนรู้การทำนาโดยปราศจากการใช้สารเคมีและได้มีการผลิตปุ๋ยขึ้นใช้เองภายในหมู่บ้าน โดยการรวมกลุ่มของสมาชิกภายในหมู่บ้าน)
    5. เสร็จกิจกรรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. ชาวบ้านได้เรียนรู้วิถีชีวิตแบบพอเพียงของในแต่ละสถานที่
    2. ชาวบ้านบ้างคนนำกลับมาปฏิบัติที่บ้านของตนเอง( เช่น การปลูกพืชปลอดสารพิษ การทำเกษตรพอเพียง การทำปุ๋ยหมัก เป็นต้น)
    3. ทำให้มีความรู้จากการไปศึกษาดูงานและพัฒนางานเกษตรอย่างต่อเนื่อง(เช่น ใช้ปุ๋ยหมักแทนปุ๋ยเคมี ใช้สารสกัดจากพืชแทน สารเคมี เป็นต้น)
    4. ช่วยให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นจากการไปศึกษาดูงานแล้วนำกลับมาปฏิบัติตามแนวทฤษฎีเศรษฐกิจแบบพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

     

    104 105

    23. สร้างและพัฒนาอาชีพเสริม กลุ่มปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพ

    วันที่ 25 มิถุนายน 2559 เวลา 09:00 - 16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ลงทะเบียน
    2. ฟังบรรยาย

    2.1ปุ๋ยหมักแห้ง (ปุ๋ยหมักจากปุ๋ยคอก วัสดุ และส่วนผสม – ปุ๋ยคอก 1 ส่วน ประมาณ 10 ปี๊ป – แกลบเผา/แกลบดำ 1 ส่วน – รำละเอียด 1 ส่วน – เชื้อ EM 20 ซีซี – กากน้ำตาล 100 ซีซี – น้ำ 10 ลิตร วิธีทำ – ผสมปุ๋ยคอก แกลบดำ และวัสดุทุกอย่างให้เข้ากัน – นำไปกองบนพื้นซีเมนต์ แล้วใช้ผ้าคลุมหรือหากทำปริมาณน้อย ให้บรรจุใส่ถังหรือถุงกระสอบ – หมักทิ้งไว้ 30 วัน ก่อนนำใส่ต้นไม้หรือแปลงผัก โดยนายแปลกเป็นผู้ที่ให้ความรู้เรื่องการทำปุ๋ยหมักแห้ง)

    2.2 ปุ๋ยหมักน้ำ (วัสดุและอุปกรณ์ - เศษพืชผัก ผลไม้ หรือเศษอาหารที่ยังไม่บูดเน่า - กากน้ำตาลหรือน้ำตาลทรายแดง - ถังสำหรับหมัก - มีด วิธีการทำน้ำหมักชีวภาพ - นำวัตถุดิบมาสับ บด โขลก หรือหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ - บรรจุลงในภาชนะ - เติมกากน้ำตาล หรือน้ำตาลทรายแดง และส่วนผสมอื่น ๆ ลงไป ตามอัตราส่วน - คนหรือคลุกเคล้าให้เข้ากัน ปิดฝาภาชนะ หมักไว้ 7-15 วัน - ครอบตามกำหนดปุ๋ยหมักน้ำชีวภาพจะมีกลิ่นหอม - สำหรับปุ๋ยหมักน้ำชีวภาพถั่วเหลือง และปุ๋ยหมักน้ำชีวภาพปลาสดหรือหอยเซลรี่ ควรหมักอย่างน้อย 1 เดือน จึงนำไปใช้ได้ และระหว่างหมักให้หมั่นคนส่วนผสมทุกวัน - หากมีกลิ่นเหม็นหรือบูดเน่าให้เติมกากน้ำตาลหรือน้ำตาลทราย แล้วคนให้เข้ากันทิ้งไว้ 3-7 วัน กลิ่นเหม็นหรือกลิ่นบูดเน่าจะหายไป - การแยกกากและน้ำชีวภาพ โดยใช้ถุงอาหารสัตว์ ถุงปุ๋ยเคมี หรือมุ้งเขียว รองรับกากและน้ำชีวภาพจะไหลลงภาชนะที่เตรียมไว้ และกากที่เหลือนำไปคลุมโคนพืช หรือคลุมแปลงต่อไปได้อีก โดยนายจิมเป็นผู้ที่ให้ความรู้เรื่องการทำปุ๋ยหมักน้ำ)

    1. เสร็จกิจกรรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน ทั้งปริมาณอินทรีย์วัตถุ แร่ธาตุอาหาร ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม
    2. ช่วยในการย่อยสลายซากพืช ซากสัตว์ในดิน ทำให้ธาตุอาหารถูกพืชนำไปใช้ได้รวดเร็วขึ้น
    3. ช่วยเพิ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในดิน
    4. ช่วยต้านการแพร่ของจุลินทรีย์ก่อโรคพืชชนิดต่างๆในดิน
    5. ทำให้ดินมีความร่วนซุย จากองค์ประกอบของดินที่มีดิน อินทรีย์วัตถุ น้ำ และอากาศในสัดส่วนที่เหมาะสม
    6. ช่วยปรับสภาพ pH ของดิน ให้เหมาะสมกับการปลูกพืช
    7. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดึงแร่ธาตุของพืชจากปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยอื่นที่เกษตรกรใส่
    8. ช่วยดูดซับความชื้นไว้ในดินให้นานขึ้น ทำให้ดินชุ่มชื้นตลอดเวลา
    9. ชาวบ้านได้เรียนรู้ จนเกิดเป้นความรุ้ใหม่ในการทำปุ๋ยอินทรีย์ใช้เองในชุมชน อย่างภาคภูมิใจ

     

    104 85

    24. สมาชิกโครงการ ทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย ครัวเรือนปฏิบัติตามแผนลดรายจ่ายเพิ่มรายได้

    วันที่ 28 มิถุนายน 2559 เวลา 09:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. แจกจายเอกสารให้กับสมาชิก
    2. ให้สมาชิกโครงการเดินแจกตามบ้านพร้อมทั้งให้ความรู้ในการลงข้อมูล

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. ชาวบ้านม่วงเตี้ย หมู่ที่ 1 จำนวน 100 ครัวเรือน ได้ทำบัญชีรายรับ - รายจ่ายของครัวเรือน
    2. ทำให้ลดค่าใช้จ่ายที่ฟุ่มเฟือยออกไป
    3. ทำให้มีเงินเก็บมากขึ้น
    4. ทำให้รู้จักการใช้จ่ายตามความจำเป็น
    5. ทำให้รู้จักการประหยัดอดออม
    6. ทำให้เรารู้จักคิดก่อนซื้อ
    7. ทำให้เราทราบการใช้จ่ายของเราแต่ละวัน
    8. ทำให้เรารู้จักแยกแยะได้ว่าสิ่งใดคือสิ่งที่จำเป็นและสิ่งใดคือสิ่งที่ฟุ่มเฟือย
    9. ทำให้เป็นคนตระหนี่ถี่ถ้วน
    10. สอนให้เราได้ทบทวนว่าวันนี้เราใช้จ่ายอะไรไปบ้างเหมาะสมไหม
    11. ทำให้เรารู้ถึงประโยชน์ของการทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย

     

    100 100

    25. สร้างและพัฒนาอาชีพเสริม กลุ่มไม้ดอกไม้ประดับและการปลูกพืชปลอดสารพิษ

    วันที่ 3 กรกฎาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ลงทะเบียน
    2. ฟังบรรยาย

    2.1 (สอนโดยนางจาเร ส่วนใหญ่เป็นการบอกอุปกรณ์ต่างๆ ในการจัด พานดอกไม้ พวงมาลา แจกัน และหลังจากนั้นก็ลงมือปฏิบัติจริงโดยให้ชาวบ้านลงมือทำจริงแล้วเข้าไปช่วยเสริม)

    2.2 (สอนโดยนางเจิม โดยการพูดตั้งแต่วิธีการเตรียมดินตลอดจนถึงปลูกเมล็ดพันธุ์ การให้น้ำ การใส่ปุ๋ยที่ทำขึ้นเอง การดูแลรักษาต่าง ๆ และการปลูกพืชอย่างไรให้โตไวและไร้สารพิษเพื่อไว้กินเองภายในครัวเรือน ถ้ามีเหลือก็แบ่งขาย เพื่อเพิ่มรายได้ )

    2.3 (เป็นการรวมตัวของคนที่ร้อยมาลัยมาแสดงวิธีการร้อยมาลัยในแบบต่าง ๆ มี พวงมาลัยกลม พวงมาลัยยาว ช่อไม้ดอก )

    3 . เสร็จกิจกรรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. ชาวบ้านได้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการต่างๆ เช่น การจัดดอกไม้ การร้อยมาลัย และการปลูกพืชปลอดสารพิษ
    2. ชาวบ้านบ้างคนนำไปประชอบอาชีพเป็นอาชีพเสริม

     

    104 71

    26. สภาผู้นำและคณะทำงานประชุมวางแผนขับเคลื่อนโครงการและงานอื่นๆของชุมชนเดือนละ 1 ครั้ง (ครั้งที่ 10)

    วันที่ 5 กรกฎาคม 2559 เวลา 13.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. เริ่มการประชุมเวลา 13.00 น.

    2. นายแวว ทับชุม ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านเป็นประธานกล่าวสวัสดีผู้เข้าประชุม แล้วดำเนินการประชุมตามระเบียบวาระดังนี้

    2.1 วาระที่ 1

    2.1.1 เรื่อง กำนันเจริญ ชูสังข์ มาประชุมไม่ได้เนื่องจากติดประชุมที่ศาลากลางจังหวัดพัทลุง ไม่สามารถมาร่วมประชุมได้ จึงได้มอบหมายให้ผู้ช่วยเป็นประธานแทน

    2.1.2 เรื่อง การก่อสร้างที่ว่าการอำเภอหลังใหม่ โดยได้มีการวางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2559 ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการ

    2.1.3 เรื่อง การออกพระราชบัญญัติ การประเมินผลการปฏิบัติงาน ของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และเริ่มมีผลบังคับใช้แล้ว

    2.1.4 เรื่อง การดำเนินการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญในวันที่ 7 สิงหาคม 2559 เนื่องจากมีเจ้าพนักงานของตำบลลงมาชี้แจง ประชาสัมพันธ์การลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ

    2.1.5 เรื่อง การรับบริจากโลหิต สำนักงานเหล่ากาชาดจังหวัดพัทลุง ออกรับบริจากโลหิตในวันที่ 14 กรกฎาคม 2559 เวลา 08.30 น. ณ ศาลาประชาคมอำเภอควนขนุนให้แต่ละหมู่บ้าน จัดหาผู้บริจาก

    2.1.6 เรื่อง เรียนรู้ดูงานชุมชนต้นแบบ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2559 โดยชาวบ้านได้ความรู้ เรื่องอาชีพเสริม เรื่องการปลูกพืช เรื่องการทำปุ๋ย ซึ่งแต่ละที่ที่ได้ไปดูล้วนแต่มีประโยชน์ วิทยากร ก็ให้ความรู้แน่น มีการให้ดูตัวอย่าง และแสดงวิธีการทำ

    2.1.7 เรื่อง กล่าวขอบคุณชาวบ้านที่ร่วมร่วมกันมาทำปุ๋ยกันอย่างมากมายในวันที่ 25 มิถุนายน 2559 ชาวบ้านให้การร่วมมือกันอย่างดีมากและได้ปุ๋ยกลับไปใช้กันทุกคน

    2.1.8 เรื่อง กล่าวขอบคุณกลุ่มทำไม้ดอกไม้ประดับ เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2559 ก็มีความร่วมมือกันอย่างดี มีการเรียนการสอนถึง 6 แบบ มี พวงมาลา พวงกลม พวงมาลัยช่อไม้ดอก พานดอกไม้ แจกัน และการปลูกพืชอย่างไรให้โตไวและไร้สารพิษเพื่อไว้กินเองภายในครัวเรือน ถ้ามีเหลือก็แบ่งขาย เพื่อเพิ่มรายได้

    1. ปิดการประชุม เวลา 16.00 น.

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. ประชาชนได้รับรู้ข่าวสารทางราชการ
    2. ได้รับรู้ข่าวสารความเคลื่อนไหวของชุมชน
    3. ได้ทราบผลลัพธ์ของการจัดกิจกรรมโครงการ
    4. เกิดความสามัคคีในหมู่คณะมากขึ้นมีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

     

    24 21

    27. เรียนรู้และทำบัญชีรายจ่าย ของเด็กนักเรียน

    วันที่ 7 กรกฎาคม 2559 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. อาจารย์ เริ่มการบรรยายการจัดการกับข้อมูลและวิธีการกรอกข้อมูล
    2. อาจารย์เริ่มให้นักเรียนลองกรอกข้อมูลตามที่อาจารย์สอน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. นักเรียนได้เรียนรู้การทำบัญชีและใช้ในการออมเงินของนักเรียน
    2. นักเรียนได้เรียนรู้กระบวนการลงข้อมูลที่ถูกต้อง
    3. อาจารย์สามารถต่อยอดและนำไปใช้ในการเรียนอีกด้วย

     

    30 33

    28. สภาผู้นำและคณะทำงานประชุมวางแผนขับเคลื่อนโครงการและงานอื่นๆของชุมชนเดือนละ 1 ครั้ง (ครั้งที่ 11)

    วันที่ 5 สิงหาคม 2559 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. เริ่มการประชุมเวลา 13.00 น.

    2. นายแวว ทับชุม ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านเป็นประธานกล่าวสวัสดีผู้เข้าประชุม แล้วดำเนินการประชุมตามระเบียบวาระดังนี้

    2.1 วาระที่ 1

    2.1.1 เรื่อง กำนันเจริญ ชูสังข์ มาประชุมไม่ได้เนื่องจากติดประชุมและร่วมกิจกรรมชนโคของชมรมผู้ใหญ่ กำนัน จึงไม่สามารถมาร่วมประชุมได้ จึงได้มอบหมายให้ผู้ช่วยเป็นประธานแทน

    2.1.2 เรื่อง การเดินรณรงค์เชิญชวนให้ไปลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ในวันที่ 4 สิงหาคม 2559 เวลา 08.00 น.โดยให้รวมตัวและเดินจากโรงเรียนบ้านควนขนุน

    2.1.3 เรื่อง การฝึกอบรมคณกรรมการประจำหน่วยการออกเสียงลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ได้ฝึกอบรมทั้ง 2 รุ่นเสร็จเรียบร้อยแล้ว

    2.1.4 เรื่อง โครงการสร้างความปรองดอง สร้างความสมานฉันท์ (ผู้ว่าพาเข้าวัด) ในวันที่ 3 สิงหาคม 2559 ตั้งแต่เวลา 07.00 น. ณ วัดท้ายวัง ตำบลชะมวง การแต่งกายนุ่งผ้าไทย ใส่ผ้าพื้นเมือง

    2.1.5 เรื่อง ประธานโครงการขอประชุมต่อโดยขอบคุณชาวบ้าน ทุกคนที่มีส่วนร่วมในโครงการ และได้มอบพันธุ์มะเขือและพันธุ์พริกมาให้ชาวบ้านปลูก

    1. ปิดการประชุม เวลา 16.00 น.

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. ประชาชนได้รับรู้ข่าวสารจากทางราชการ
    2. ได้รับรู้ข่าวสารความเคลื่อนไหวของชุมชน
    3. ได้พบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในกลุ่ม
    4. เกิดความสามัคคีในหมู่คณะมากขึ้นมีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
    5. ชาวบ้านได้พันธุ์พืชนำกลับไปปลูกที่บ้าน

     

    24 18

    29. การประชุมร่วมกับพี่เลี้ยงผู้ติดตาม

    วันที่ 21 สิงหาคม 2559 เวลา 10:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ลงทะเบียน
    2. คุณเสณีจ่าวิสูต กล่าวต้อนรับผู้ร่วมโครงการ
    3. คุณเสณีจ่าวิสูต ชี้แจงรายละเอียดการติดตามความหน้าของโครงการ
    4. พักเที่ยง
    5. คุณจุรี หนูผุด ชีแจงรายละเอียดการลงรายงานในเวปไซส์ การเงินและการแยกประเภทค่าใช้จ่าย
    6. ส่งเอกสารหลักฐานการเงินดูความถูกต้องโดยพี่เสี้ยงโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. ได้เรียนรู้การลงรายงานผ่านทางเว็บไซต์
    2. เกิดการเสนอแนวคิดและความคิดใหม่ๆ
    3. ได้เรียนรู้การแยกประเภทของการใช้จ่าย

     

    2 2

    30. สมาชิกกลุ่มออมเงินกับกลุ่มสัจจะ จำนวน 100 คน

    วันที่ 5 กันยายน 2559 เวลา 09:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ลงทะเบียนพร้อมแจกสมุดในวันที่มาฝากเงิน
    2. จ้างทำสมุดเงินออมกองทุนสัจจะ การเขียนข้อมูลใหม่จากสมุดเล่มเก่า

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. ส่งเสริมให้ประชาชนมีการออมเงิน และนำเงินไปใช้ในการพัฒนาอาชีพ โดยลดภาระการกู้ยืมเงินจากแหล่งอื่น ๆ ที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง
    2. พัฒนาคนให้มีคุณธรรม 5 ประการ คือ ซื่อสัตย์ เสียสละ รับผิดชอบ เห็นอกเห็นใจ และไว้วางใจซึ่งกันและกัน
    3. ฝึกประสบการณ์การบริหารเงินทุน ให้กับบุคคลในชุมชน
    4. พัฒนาศักยภาพของคนในด้านต่าง ๆ เช่น การเป็นผู้นำ การปกครอง ตามระบบประชาธิปไตย
    5. ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนา คิดและแก้ปัญหาของตนเองด้วยวิธีการทำงานร่วมกัน
    6. ชาวบ้านได้สมุดเล่มใหม่

     

    100 101

    31. สภาผู้นำและคณะทำงานประชุมวางแผนขับเคลื่อนโครงการและงานอื่นๆของชุมชนเดือนละ 1 ครั้ง (ครั้งที่ 12)

    วันที่ 5 กันยายน 2559 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. เริ่มการประชุมเวลา 13.00 น.

    2. นายแวว ทับชุม ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านเป็นประธานกล่าวสวัสดีผู้เข้าประชุม แล้วดำเนินการประชุมตามระเบียบวาระดังนี้

    2.1 วาระที่ 1

    2.1.1 เรื่องแม่ของกำนันเจริญ ชูสังข์ ได้ถึงแก่กรรมเมื่อวันเสาร์ที่ 3 กันยายน 2559 ที่ผ่านมา จึงได้จัดงานตั้งบำเพ็ญกุศลที่บ้านข้างป้อม

    2.1.2 เรื่อง การก่อสร้างอาคารที่ว่าการอำเภอ การก่อสร้างค่อนข้างล่าช้า

    2.1.3 เรื่อง กรมส่งเสริมวัฒนธรรม ได้คัดเลือกให้ศูนย์เรียนรู้ปราชญ์ชาวบ้าน บ้านโงกน้ำเป็นองค์กรดีเด่นด้านการส่งเสริมทางภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ประจำปี 2559 ได้รับมอบโล่โดยนายกและได้รับเงินรางวัล 1 แสนบาท

    2.1.4 เรื่อง การออกเสียงลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ประการผลการออกเสียงและการมอบโล่รางวัลในการออกเสียงลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2559

    2.1.5 เรื่อง การประชุมประจำเดินของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วย แพทย์ สารวัตร ถือเป็นหน้าที่ การไม่เข้าประชุมโดยไม่มีเหตุอันควรถือเป็นความผิดทางวินัย

    2.1.6 เรื่อง เตรียมความพร้อมในการประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้านตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย พ.ศ. 2559 ซึ่งผู้ใหญ่บ้านที่ดำรงตำแหน่งครบ 4 ปีก่อนที่ระเบียบนี้มีผลใช้บังคับตาม ข้อ 16 ต้องเข้ารับการประเมินวันที่ 20 ธันวาคม 2559 และประเมินให้เสร็จภายในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2560 ผู้ใหญ่บ้านต้องเตรียมหลังฐานต่าง ๆไว้

    2.1.7 เรื่อง การพาและการใช้อาวุดปืนของพนักงานฝ่ายปกครองให้พาด้วยความระมัดระวังอย่าให้เป็นที่หวาดเสียวของคนทั่วไป

    2.1.8 เรื่อง ให้ชาวบ้านช่วยกันคิดวันที่จะปิดโครงการ

    2.1.9 เรื่อง ได้ขอสรุปว่าจะจัดสรุปปิดโครงการในวันที่ 11 กันยายน 2559

    1. ปิดการประชุมเวลา 16.00 น.

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. ได้รับรู้ข่าวสารความเคลื่อนไหวของชุมชน
    2. ได้พบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในกลุ่ม
    3. ได้ทราบผลลัพธ์ของการจัดกิจกรรมโครงการ
    4. เกิดความสามัคคีในหมู่คณะมากขึ้นมีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

     

    24 17

    32. สรุปบทเรียนโครงการ

    วันที่ 11 กันยายน 2559 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ลงทะเบียนเวลา 13.00 น.สมาชิกโครงการมาพร้อมกัน นายแววทับชุม ผู้รับผิดชอบโครงการได้กล่าวต้อนรับสมาชิกผู้เข้าร่วมเวทีสรุป และให้สมาชิกได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันเองในการทำอาชีพเสริมตามลำดังดังนี้

    1. การจัดบูธสาธิตการสร้างอาชีพเสริม
      1.1บูธกิจกรรมสาธิตการทำปุ๋ยหมักและทำน้ำหมักชีวภาพ ของกลุ่มทำหมัก โดยสาธิตการทำปุ๋ยหมักแห้ง ซึ่งใช้วัสดุ และส่วนผสม
    • ปุ๋ยคอก 1 ส่วน ประมาณ 10 ปี๊ป

    • แกลบเผา/แกลบดำ 1 ส่วน

    • รำละเอียด 1 ส่วน

    • เชื้อ EM 20 ซีซี

    • กากน้ำตาล 100 ซีซี

    • น้ำ 10 ลิตร

      วิธีทำ

    • ผสมปุ๋ยคอก แกลบดำ และวัสดุทุกอย่างให้เข้ากัน

    • นำไปกองบนพื้นซีเมนต์ แล้วใช้ผ้าคลุมหรือหากทำปริมาณน้อย ให้บรรจุใส่ถังหรือถุงกระสอบ

    • หมักทิ้งไว้ 30 วัน ก่อนนำใส่ต้นไม้หรือแปลงผัก โดยนายแปลกเป็นผู้ที่ให้ความรู้เรื่องการทำปุ๋ยหมักแห้ง

      2.2 ปุ๋ยหมักน้ำ วัสดุและอุปกรณ์ดังนี้

    • เศษพืชผัก ผลไม้ หรือเศษอาหารที่ยังไม่บูดเน่า

    • กากน้ำตาลหรือน้ำตาลทรายแดง

    • ถังสำหรับหมัก

    • มีดสับ

      วิธีการทำน้ำหมักชีวภาพ

    • นำวัตถุดิบมาสับ บด โขลก หรือหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ

    • บรรจุลงในภาชนะ

    • เติมกากน้ำตาล หรือน้ำตาลทรายแดง และส่วนผสมอื่น ๆ ลงไป ตามอัตราส่วน

    • คนหรือคลุกเคล้าให้เข้ากัน ปิดฝาภาชนะ หมักไว้ 7-15 วัน

    • ครอบตามกำหนดปุ๋ยหมักน้ำชีวภาพจะมีกลิ่นหอม

    • สำหรับปุ๋ยหมักน้ำชีวภาพถั่วเหลือง และปุ๋ยหมักน้ำชีวภาพปลาสดหรือหอยเซลรี่ ควรหมักอย่างน้อย 1 เดือน จึงนำไปใช้ได้ และระหว่างหมักให้หมั่นคนส่วนผสมทุกวัน

    • หากมีกลิ่นเหม็นหรือบูดเน่าให้เติมกากน้ำตาลหรือน้ำตาลทราย แล้วคนให้เข้ากันทิ้งไว้ 3-7 วัน กลิ่นเหม็นหรือกลิ่นบูดเน่าจะหายไป

    • การแยกกากและน้ำชีวภาพ โดยใช้ถุงอาหารสัตว์ ถุงปุ๋ยเคมี หรือมุ้งเขียว รองรับกากและน้ำชีวภาพจะไหลลงภาชนะที่เตรียมไว้ และกากที่เหลือนำไปคลุมโคนพืช หรือคลุมแปลงต่อไปได้อีก โดยนายจิมเป็นผู้ที่ให้ความรู้เรื่องการทำปุ๋ยหมักน้ำ

      1.2บูธสาธิตการแปรรูปจากอาชีพปลูกไม้ดอกไม้ประดับ สมาชิกกลุ่มอาชีพปลูกไม้ดอกไม้ประดับ มาสาธิตการร้อยมาลับในรูปแบบต่างๆ

    • มาลัยพวงกลม(มาลัยข้อมือ)

    • มาลัยพวงยาว (มาลัยตุ้ม)

    • ดอกไม้ช่อ

    1. การจัดป้านนิทรรศการกิจกรรมโครงการ

      2.1 ข้อมูลเศรษฐกิจครัวเรือนจากการทำบัญชีครัวเรือน

    • ข้อมูลจาการทำบัญชีครัวเรือน 100 ครัวเรือน

    • ผลพบว่า มีรายรับจากอาชีพเสริมเพิ่มขึ้น 70 ครัวเรือน

    • มีรายรับจากอาชีพเสริม 3,000 - 4,000 บาท / เดือน

    • มีรายจ่ายประเภทอบายมุขลดลง 5 ครัวเรือน

      2.2 ข้อมูลการออม จากการออมทรัพย์ของสมาชิก

    • ข้อมูลของสมาชิกที่ทำการออมจำนวน 101 คน

    • คนที่มีการออมเยอะสุดจำนวน 7,300 บาท (อยู่ที่การออมของแต่ละคน)

    • คนที่มีการออมน้อยสุดจำนวน 5,800 บาท (อยู่ที่การออมของแต่ละคน)

      2.3 กิจกรรมไม้ดอกไม้ประดับและผักปลอดสารพิษ

    • ข้อมูลจากการทำไม้ดอกไม้ประดับและผักปลอดสารพิษจำนวน 90 คน

    • มีการทำไม้ดอกไม้ประดับจำนวน 42 คน

    • มีการปลูกผักปลอดสารพิษจำนวน 28 คน

    • มีการทำทั้งไม้ดอกไม้ประดับและผักปลอดสารพิษจำนวน 20 คน

    หลังจากชุมกิจกรรมจากบูธ จากป้ายนิทรรศ ทุกคนกลับมารวมกัน นายแวว ทับชุมได้เปฺิดโอกาสให้มีการสอบถามเพิ่มเติมประชาชนได้สอบถามจนเป็นที่หายสงสัย จนได้เวลาปิดเวทีคืนข้อมสรุปบทเรียนจากโครงการ เวลา 16.00 น.

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. คณะทำงาน สภาผู้นำ และสมาชิกในชุมชนจำนวน 232 คน สรุปบทเรียน แลกเปลี่ยนประสบการณ์การดำเนินการ
    2. สมาชิกโครงการได้เรียนรู้ข้อมูลจากโครงการที่นำมาเสนอในรูปของบูธสาธิต และป้ายนิทรรศ
    3. เกิดเครือข่าย เพิ่มรายได้จากการทำอาชีพเสริมในชุมชนจัดการตนเองของกลุ่มอาชีพดอกไม้และผักปลอดสารพิษ
    4. มีสมาชิกปรับเปลี่ยนมาทำเกษตรอินทรีย์ ทำน้ำหมัก ปุ๋ยหมักชีวภาพใช้เอง
    5. เกิดแนวทางและแผนปฏิบัติการร่วมกลุ่มกลุ่มทำปุ๋ยหมักกลุ่มไม้ดอกไม้ประดับ กลุ่มจัดดอกไม้ เพื่อรวมกันจัดการช่วยเหลือกัน
    6. คณะทำงานมีความร่วมมือในการทำโครงการแต่คณะทำงานบางคนยังไม่เข้าใจกระบวนการทำงานคิดว่าเป็นภาระ

     

    264 232

    33. ร่วมงานสร้างสุขภาคใต้

    วันที่ 3 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ลงทะเบียน
    2. ชมนิทรรศการชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่
    3. นำเสนอผลการประชุม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้กับสมาชิก ในชุมชนทราบ ดังรายละเอียดต่อไปนี้ • พิธีเปิด การแสดงโขนโดยศูนย์ส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยสงขลานครรินทร์ร่วมกันร้องเพลงชาติไทย • กล่าวต้อนรับโดยนายทรงพล สวาสดิ์ธรรม ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา • กล่าวเปิดโดย นายแพทย์วีระพันธ์สุพรรณไชยมาตร์ รองประธานคณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ • ปาฐกถา เรื่อง บทบาทของประเทศไทยในการเป็นผู้นำการพัฒนานวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพในภูมิภาคอาเซียน โดย นายอภิสิทธ์เวชชาชีวะ • รายงานสุขภาวะคนใต้และสรุปภาพรวมการดำเนินงานสร้างสุขภาคใต้ปีที่ผ่านมาบทบาทศูนย์วิชาการสร้างเสริมสุขภาพ ในการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาคคนใต้ โดย ผศ.ดร.ภก.พงศ์เทพ สุธีรวุฒิ ผู้อำนวยการ สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ ภาคใต้ -เสวนา มุมมองใหม่ในการพัฒนาระบบสุขภาพในอนาคต โดยผศ.ดร.อิสมาอีลลุตฟิจะปะกียานายพงษ์ศักดิ์ยิ่งชนม์เจริญ นายทวีวัตร เครือสาย นายแพทย์ยอร์น จิระนคร ดำเนินรายการเสวนาโดย นายแพทย์ บัญชา พงษ์พานิช • ลานปัญญาสร้างสุข แลกเปลี่ยนความรู้ นวัตกรรม โดย นายอานนท์ มีศรี และนายฮารีส มาศชาย วันที่ 4 ตุลาคม 2559 • ลานสร้างสุขแลกเปลี่ยนความรู้ นวัตกรรม • ประชุมห้องย่อย เข้าห้องประเด็นชุมชนน่าอยู่ เสวนาเรื่อง สานพลังชุมชนน่าอยู่สู่นโยบายสาธารณะ โครงการสร้างคนรักษ์สิ่งแวดล้อมที่บ้านทุ่งยาว ตำบลโคกม่วง อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุงโดย คุณมนูญ สุขรัตน์ ผู้ใหย่บ้านทุ่งยาว คูณวิศิษฐ ชูสง นายกเทศมนตรีตำบลโคกม่วงคูณจำเรียง นิธิกรกุลนักวิชาการปฏิรูปที่ดินชำนาญการ สำนักงานปฏิรูปที่ดินจังหวัดพัทลุงดำเนินการเสวนาโดย คูทวีชัย อ่อนนวน การแสดงโขนคน ตอน เชิดพระอิศวรนำเสนอกรณีศึกษา ประเด็นการจัดการขยะโครงการร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่บ้านห้วยลึกจัดการขยะชุมชน ตำบลทรายขาว อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ โดยคุณ สมยศบรรดา และทีมงานโครงการ นำเสนอ กรณีศึกษา ประเด็นเด็กและเยาวชน โครงการปันตงสร้างสุขบ้านสี่แยกวัดโหนด ตำบลโพธิ์ทอง อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช โดย คุณ วณิชญา ฉันสำราญ และทีมงานโครงการ นำเสนอกรณีศึกษาประเด็น เศรษฐกิจพอเพียง โครงการแหลมยางนาพึ่งพาเศรษฐกิจ ตำบลตะโก อำเภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพรนำเสนอกรณีศึกษาประเด็นการจัดการทรัพยากรและการท่องเที่ยวโครงการจัดการท่องเที่ยววิถีชุมชนบ้านท่าฉัตรไชย ตำบลไม้ขาว อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต โดยคุณสมพร แทนสกุล และทีมงาน นำเสนอกรณีศึกษา ประเด็นการจัดการสุขภาพและอาหารปลอดภัยโครงการชุมชนหูยานบ้านน่าอยู่สู่การจัดการตนเอง ตำบลนาท่อม อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง โดยนายอนุชาเฉลาชัย และทีมงาน ผู้ทรงคูณวุฒิให้คำแนะนำการขับเคลื่อนชุมชน สู่ข้อเสนอเชิงนโยบาบโดย คุณสุริยายีขุน นายกเทศมนตรีตำบลปลีก คุณสัมฤทธิ์เลียงประสิทธิ์นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสตูลนายแพทย์ไพศาลเกื้ออรุณ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดกระบี่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน การขับเคลื่อนงานชุมชนน่าอยู่สู่การยกระดับเชิงนโยบาย โดยคุณ กำไลสมรักษ์ สำนักวิชาการพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ • ลานปัญญาเสวนา • ลานสื่อ นำเสนอผลงานวิชาการของชุมชน เรื่องเล่า เร้าพลัง วันที่ 5 ตุลาคม 2559 • ลานสร้างสุข แลกเปลี่ยนความรู้นวัตกรรม • กิจกรรมกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสานพลังเครือข่าย • เสวนาเรื่อง การขับเคลื่อนระบบสุขภาพของประเทศไทยสู่การเป็นผู้นำภูมิภาคอาเซี่ยน โดย นายแพทย์ภักดิ์ชัยกาญจนวัฒนา รักษาการเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ดร. สุปรีดา อดุยยานนท์ ผู้จัดการกองทุนสำนักงานสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ นายพลากร วงศ์กองแก้ว ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน นายแพทย์พลเดช ปิ่นประทีป เลขาธิการคณะกรรมการสุภาพแห่งชาติ รศ.ดร.วิลาสินี พิพิธกุล รองผู้อำนวยการสถานีโทรศัศน์ ไทย พี บี เอส ดำเนินการอภิปราย คุณณาตยา แวววีรคุปต์ • พิธีปิด โดยผู้ร่วมเสวนาทุกท่านและผู้เข้าร่วมทุกคน
    4. ปิดโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. ผู้เข้าร่วมประชุม เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ได้ทราบแนวคิดการดำเนินงานกับชุมชนต้นแบบดีเด่น
    2. ผู้เข้าร่วมประชุม ได้แนวคิดเพื่อนำไปพัฒนา ต่อยอดการดำเนินกิจกรรมโครงการต่อไป
    3. ได้เพิ่มเครือข่ายการดำเนินงานชุมชนต้นแบบด้านเศรษฐกิจพอเพียง
    4. ส่งเสริม สนับสนุน การดำเนินงานสร้างสุขคนใต้ เจ้าของโครงการคณะกรรมการจำนวน 2 คน ร่วมงานสร้างสุขภาคใต้ ร่วมรับฟังปาฐกถา เรื่อง บทบาทของประเทศไทยในการเป็นผู้นำการพัฒนานวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพในภูมิภาคอาเซียน โดย นายอภิสิทธ์เวชชาชีวะ รับฟังรายงานสุขภาวะคนใต้และสรุปภาพรวมการดำเนินงานสร้างสุขภาคใต้ปีที่ผ่านมาบทบาทศูนย์วิชาการสร้างเสริมสุขภาพ ในการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาคคนใต้ โดย ผศ.ดร.ภก.พงศ์เทพ สุธีรวุฒิ ผู้อำนวยการ สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ
    5. ได้รับความรู้ในการทำงานเพื่อสร้างชุมชนให้น่าอยู่ ทั้งด้านแนวคิด และวิธีการ
    6. ได้เรียนรู้นวัตกรรมต่าง ๆ ของโครงการที่มานำเสนอผลงานในรูปแบบนิทรรศการ ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับชุมชนของตนเองได้
    7. ได้เรียนรู้ข้อมูลต่าง ๆ ของหน่วยงานในภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการสร้างชุมชนให้น่าอยู่ เช่น สสส./ สช./ สปสช. เป็นต้น
    8. เกิดเครือข่ายในการทำงานเพื่อส่วนรวม สนับสนุนให้เกิดการรวมกลุ่ม เกิดการแบ่งปันความรู้ ประสบการณ์ และกำลังใจให้แก่กันเมื่อเกิดอุปสรรคและปัญหา
    9. มีความรู้สึกภาคภูมิใจ และมีกำลังใจในการพัฒนาชุมชนของตนเองให้น่าอยู่ต่อไป
    10. เกิดสายสัมพันธ์ที่ดีระหว่างทีมพี่เลี้ยงของโครงการ และทีมงานในการจัดงานสร้างสุขภาคใต้
    11. ได้เพื่อนใหม่

     

    2 2

    34. ถ่ายภาพกิจกรรม

    วันที่ 14 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    การถ่ายรูปภาพกิจกรรม ตลอดทั้งโครงการ เพื่อใช้ประกอบการรายงานผ่านเว็ปไซส์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้รูปภาพประกอบกิจกรรมโครงการในการรายงานกิจกรรรมผ่านเว็ปไซส์ครบถ้วนสมบรูณ์ในทุกกิจกรรมพร้อมตรวจสอบความถูกต้อง

     

    2 1

    35. จัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์

    วันที่ 14 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดเตรียมเอกสารหลักฐานการเงินประกอบเป็นชุดกิจกรรม โดยมอบหมายให้นายภูวดล เป็นผู้จัดทำรายงานทุกครั้งหลังจากเสร็จกิจกรรมตามโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. ได้จัดเตรียมเอกสารหลักฐานการเงิน ตรวจสอบความถูกต้องรายละเอียดในใบสำคัญรับเงิน บิลเงินสด รายละเอียดการหักภาษี ณ ที่จ่าย เอกสารประกอบใบสำคับรับเงิน
    2. ได้จัดทำเอกสารหลักฐานการเงินประกอบเป็นชุดกิจกรรม ทุกกิจกรรมเป็นที่เรียบร้อย
    3. ได้ตรวจสอบรายงานกิจกรรมผ่านเว็ปไซส์ มีความสมบรูณ์ของเนื้อหาสารที่สำคัญ มีภาพประกอบกิจกรรมทุกกิจกรรม
    4. ได้ลงบันทึกรายงานผ่านเว็ป ให้ถูกต้อง ครบถ้วน ในทุกเนื้อหาสาระของกิจกรรม พร้อมสรุปสาระสำคัญ

     

    3 2

    36. การประชุมร่วมกับพี่เลี้ยงผู้ติดตาม

    วันที่ 14 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ลงทะเบียน
    2. ตรวจสอบความถูกต้องเอกสารหลักฐานการเงิน รายงานกิจกรรมผ่านเว็ปไซส์ โดย ผู้รับผิดชอบโครงการและการเงินโครงการ
    3. พักเที่ยง
    4. ส่งเอกสารหลักฐานการเงิน รายงานกิจกรรมผ่านเว็ปไซต์ ตรวจสอบโดยพี่เสี้ยงโครงการคุณสมนึกนุ่นด้วง
    5. ส่งเอกสารหลักฐานการเงิน ร่วมกับรายงานกิจกรรมผ่านเว็ปไซต์ ตรวจสอบโดย คุณ จุรีย์หนูผุด

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. ได้เรียนรู้การลงข้อมูลในเว็บไซต์
    2. ได้ปรับปรุงเอกสารการเงินและเนื้อหาในโครงการให้ถูกต้อง

     

    2 2

    37. ประชุมจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์ ปี 2558

    วันที่ 15 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ลงทะเบียน ส่งเอกสารการเงิน การรายกิจกรรมผ่านเว็บไซต์ ตรวจสอบความถูกต้อง กับเจ้าหน้าที่ สจรส.

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

      - ส่งเอกสารหลักฐานเงิน ตรวจสอบความถูกต้อง - ส่งรายงานกิจกรรมผ่านเว็บไซต์ ตรวจสอบความถูกต้อง

    • สรุปการตรวจเอกสารหลักฐานการเงินถูกต้อง รายงานกิจกรรมผ่านเว็บไซต์ถูกต้องสมบูรณ์ พร้อมออกรายงานฉบับสมบูรณ์

     

    2 2

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

     

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 เพื่อให้มีสภาผู้นำชุมชนที่เข้มแข็ง
    ตัวชี้วัด : 1. มีสภาผู้นำชุมชนที่มาจากการคัดเลือกของที่ประชุมหมู่บ้านร่วมกับคณะกรรมการหมู่บ้านอย่างน้อย 24 คน 2. มีการประชุมอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง 3. แต่ละครั้งมีผู้เข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 4. การประชุมแต่ละครั้งมีการปรึกษาหารือเรื่องโครงการและเรื่องอื่นๆของชุมชน 5. สภาผู้นำชุมชนได้รับการพัฒนาโดยการอบรมอย่างน้อย 1 ครั้ง

    มีสภาผู้นำ 1 กลุ่ม จำนวน 24 คน มีการประชุมทุกเดือน เพื่อสรุปผลการทำกิจกรรม ติดตามวางแผนการทำกิจกรรมในเดือนถัดไป และเป็นเวทีประชุมวาระของหมู่บ้าน

    2 เพื่อสนับสนุนการลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ เพิ่มการออม อย่างต่อเนื่อง
    ตัวชี้วัด : 1. มีฐานข้อมูลชุมชนที่มีรายละเอียดเศรษฐกิจ ด้านรายรับ รายจ่าย หนี้สิน 2. มีบัญชีรายรับ รายจ่าย หนี้สินของครัวเรือนและชุมชน 3. มีแผนปฏิบัติการ ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ 3. มีกลุ่มอาชีพเสริมรายได้ กลุ่มไม้ดอกไม้ประดับและการปลูกพืชปลอดสารพิษ กลุ่มทำปุ่ยหมักและน้ำหมักชีวภาพ 4. มีการออม กับกองทุนสัจจะที่มีอยู่แล้ว 6. มีการคืนข้อมูลสู่ชุมชน

    มีฐานข้อมูลชุมชน 1 ชุด

    3 เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ
    ตัวชี้วัด : 1. มีการเข้าร่วมการประชุมกับ สสส. สจรส.ม.อ. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของจำนวนครั้งที่จัด 2. มีการจัดทำป้าย "สถานที่นี้ปลอดบุหรี่" ติดตั้งในสถานที่จัดกิจกรรม 3. มีการถ่ายภาพการดำเนินงานทุกกิจกรรม 4. มีการจัดทำรายงานส่ง สสส. ตามระยะเวลาที่กำหนด

    คณะทำงานโครงการเข้าร่วมประชุมร่วมกับพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ. ทุกครั้ง มีป้ายปลอดบุหรี่เกิดขึ้น 1 ป้าย และสามารถส่งรายงานให้ สสส.ได้ทันในเวลา

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้มีสภาผู้นำชุมชนที่เข้มแข็ง (2) เพื่อสนับสนุนการลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ เพิ่มการออม อย่างต่อเนื่อง (3) เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    ส่วนที่ 3 ประเมินคุณค่าโครงการ

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ

    ชื่อโครงการ รู้จักจ่าย รู้จักออม ร่วมสร้างงานที่บ้านม่วงเตี้ย

    รหัสโครงการ 58-03983 รหัสสัญญา 58-00-1911 ระยะเวลาโครงการ 15 กันยายน 2558 - 15 ตุลาคม 2559

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นการคุณค่าที่เกิดจากโครงการในมิติต่อไปนี้

    • ความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพและนวัตกรรมเชิงระบบสุขภาพชุมชน
    • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีผลต่อสุขภาวะ
    • การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ
    • ผลกระทบเชิงบวกและนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาวะชุมชน
    • กระบวนการชุมชน
    • มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่

    1. เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้ใหม่ / องค์ความรู้ใหม่

    เกิดความรู้ใหม่ในการทำปุ๋ย และความมั่นใจในการใช้ปุ๋ยอินทรีย์หมักเอง

    การดูงานการเสี้ยงผึ้งจากพื้นที่ต้นแบบ บ้านหูยาน หมู่ที่8 ตำบลนาท่อม อำเภอเมือง จังพัทลุง

    ส่งเสริมจัดตั้งกลุ่มเป็นอาชีพสร้างรายได้ให้คนในชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สิ่งประดิษฐ์ / ผลผลิตใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. กระบวนการใหม่

    กระบวนการประชุมกลุ่มจัดการกลุ่มอาชีพเสริมรายได้ และกระบวนการมีส่วนร่วมของสภาผู้นำชุมชนในการส่งเสริมการกิจกรรมของกลุ่ม และการประชุมสภาผู้นำในการจัดการชุมชน

    การประชุมสมาชิกกลุ่ม และคณะทำงานและสภาผู้นำชุมชนเป็นประจำทุกเดือน มีบันทึกการประชุมทุกครั้ง

    พัฒนาความรู้ ทักษะ สภาผู้นำอย่างต่อเนื่อง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. วิธีการทำงาน / การจัดการใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การเกิดกลุ่ม / โครงสร้างในชุมชนใหม่

    เกิดกลุ่มอาชีพเสริมรายได้ในชุมชน กลุุ่มปลูกดอกไ้ม้ร้อยมาลัย กลุ่มทำปุ๋ย กลุ่มปลูกผักปลอดสารเคมี

    มีการจัดตั้งกลุ่ม แต่ละๆกลุ่มมีประธานกลุ่มเป็นผู้ดูแลบริหารจัดการกลุ่ม

    พัฒนาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชน โดยใช้กลไกภาครัฐเข้ามาช่วยเหลือสนับสนุนต่อไป

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. แหล่งเรียนรู้ใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    99. อื่นๆ

     

     

     

    2. เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การบริโภค

    มีการปรับเปลี่ยนพฤษติกรรมในการบริโภคในครัวเรือน

    มีกลุ่มปลูกผักปลอดสารเคมีบริโภคในครัวเรือน

    ส่งเสริมขยายการปลูกผักปลอดสารเคมี ลด ละ เลิก การใช้สารเคมีในชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การออกกำลังกาย

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. การลด ละ เลิก อบายมุข เช่น การพนัน เหล้า บุหรี่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การลดพฤติกรรมเสี่ยง เช่น พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การขับรถโดยประมาท

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. การจัดการอารมณ์ / ความเครียด

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. การดำรงชีวิต / วิถีชีวิต เช่น การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น / สมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเอง

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    8. พฤติกรรมการจัดการตนเอง ครอบครัว ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    9. อื่นๆ

     

     

     

    3. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. กายภาพ เช่น มีการจัดการขยะ ป่า น้ำ การใช้สารเคมีเกษตร และการสร้างสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนที่ถูกสุขลักษณะ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สังคม เช่น มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ลดการเกิดอุบัติเหตุ ครอบครัวอบอุ่น การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อเด็ก เยาวชน และกลุ่มวัยต่าง ๆ มีพื้นที่สาธารณะ/พื้นที่ทางสังคม เพื่อเอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชน มีการใช้ศาสนา/วัฒนธรรมเป็นฐานการพัฒนา

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. เศรษฐกิจสร้างสรรค์สังคม /สร้างอาชีพ / เพิ่มรายได้

    กิจกรรมโครงการมีการส่งเสริมการสร้างงานเป็นอาชีพรายได้ให้กับคนในชุมชน

    มีกลุ่มอาชีพทำปุ๋ยอินทรีย์ มีกลุ่มปลูกผักปลอดสารเคมี กลุ่มดอกไม้ มีการรายกิจกรรมผ่านเวต์และมีรูปประกอบ

    พัฒนากลุ่มอาชีพในการจัดการด้านการขาย ขยายตลาด โดยการหนุนเสริมจากเจ้าที่รัฐ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการบริการสุขภาพทางเลือก และมีช่องทางการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. อื่นๆ

     

     

     

    4. การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. มีกฎ / กติกา ของกลุ่ม ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. มีมาตรการทางสังคมของกลุ่ม ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. มีธรรมนูญของชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. อื่นๆ เช่น ออกเป็นข้อบัญญัติท้องถิ่น ฯลฯ

     

     

     

    5. เกิดกระบวนการชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. เกิดการเชื่อมโยงประสานงานระหว่างกลุ่ม / เครือข่าย (ใน และหรือนอกชุมชน)

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเรียนรู้การแก้ปัญหาชุมชน (การประเมินปัญหา การวางแผน การปฏิบัติการ และการประเมิน)

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ประโยชน์จากทุนในชุมชน เช่น การระดมทุน การใช้ทรัพยากรบุคคลในชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกลุ่มและชุมชนที่เกิดจากโครงการอย่างต่อเนื่อง

    การประชุมคณะทำงานสมาชิกกลุ่มกำหนดทิศทางการดำเนินงานโครงการร่วมกัน

    มีการประชุมคณะทำงานและสมาชิกตลอดโครงการ เป็นจำนวน 12 ครั้ง อย่างเนื่องมีรายงายการบันทึกและรายงานในเว็บไซต์

    พัฒนาศักยภาพคณะทำงานให้มีประสินธิภาพในการเป็นผู้นำมาขึ้น

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. เกิดกระบวนการจัดการความรู้ในชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. เกิดทักษะในการจัดการโครงการ เช่น การใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ การทำแผนปฏิบัติการ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. อื่นๆ

     

     

     

    6. มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเอง / กลุ่ม / ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเห็นประโยชน์ส่วนรวมและส่วนตนอย่างสมดุล

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย และพอเพียง

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. ชุมชนมีความเอื้ออาทร

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. มีการตัดสินใจโดยใช้ฐานปัญญา

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. อื่นๆ

     

     

     

    รู้จักจ่าย รู้จักออม ร่วมสร้างงานที่บ้านม่วงเตี้ย จังหวัด พัทลุง

    รหัสโครงการ 58-03983

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นาย แวว ทับชุม )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด