แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


“ ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ให้คนสำนักกอ ”

ชุมชนสำนักกอ หมู่ที่ 3 ต.ปันแต อ.ควนขนุน จ.พัทลุง

หัวหน้าโครงการ
น.ส. จริยา แก้วนพรัตน์

ชื่อโครงการ ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ให้คนสำนักกอ

ที่อยู่ ชุมชนสำนักกอ หมู่ที่ 3 ต.ปันแต อ.ควนขนุน จ.พัทลุง จังหวัด พัทลุง

รหัสโครงการ 58-03981 เลขที่ข้อตกลง 58-00-1913

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 15 กันยายน 2558 ถึง 15 ตุลาคม 2559


กิตติกรรมประกาศ

"ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ให้คนสำนักกอ จังหวัดพัทลุง" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ชุมชนสำนักกอ หมู่ที่ 3 ต.ปันแต อ.ควนขนุน จ.พัทลุง

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ให้คนสำนักกอ



บทคัดย่อ

โครงการ " ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ให้คนสำนักกอ " ดำเนินการในพื้นที่ ชุมชนสำนักกอ หมู่ที่ 3 ต.ปันแต อ.ควนขนุน จ.พัทลุง รหัสโครงการ 58-03981 ระยะเวลาการดำเนินงาน 15 กันยายน 2558 - 15 ตุลาคม 2559 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 174,104.00 บาท จาก เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 200 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

 

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อให้มีสภาผู้นำชุมชนที่เข้มแข็ง
  2. เพื่อการลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ เพิ่มการออมกับกลุ่มที่มีในชุมชนด้วยการเรียนรู้จากสถานะเศรษฐกิจครัวเรือน
  3. เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

     


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. การประชุมปฐมนิเทศโครงการร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่ภาคใต้ปี 2558

    วันที่ 29 กันยายน 2558 เวลา 09:00-16.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ประชุมปฐมนิเทศโครงการชุมชนน่าอยู่ ปี 2558 ณ โรงแรมธรรมรินทร์ธนา จ.ตรัง โดยมีการพูดคุยในเรื่อง

    • ทำความเข้าใจขั้นตอนการบริหารจัดการโครงการ

    1. ทีม/คณะทำงาน
    2. แบ่งบทบาทความรับผิดชอบ
    3. แผนการดำเนินงาน
    4. วงคุยประจำเดือน/สภากาแฟ
    5. ทบทวนสรุปบทเรียน
    • การบริหารจัดการความเสี่ยง
    1. กิจกรรม/รายงานโครงการไม่เคลื่อนไหว
    2. การจ่ายเงิน/รายงานการเงินไม่โปร่งใส
    3. การบริหารจัดการไม่โปร่งใส
    • การเงิน
    1. ผู้ทำหน้าที่หลัก
    2. ใบสำคัญรับเงินที่ไม่สมบูรณ์
    • การใช้งานเวบไซด์ การลงปฏิทินโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • คณะทำงานโครงการได้เข้าใจถึงขั้นตอนการทำงานได้แบ่งบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบรู้แผนการดำเนินงานรู้การบันทึกเอกสารข้อมูล สามารถนำไปใช้ในการทำโครงการของหมู่บ้านตัวเองได้

     

    2 2

    2. อบรมการเขียนรายงานและการจัดการเอกสารการเงิน

    วันที่ 22 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00-16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • อบรมให้ความรู้การเขียนรายงานและการจัดการเอกสารการเงิน ณ วิทยาลัยภูมิปัญญา มหาวิทยาลัยทักษิณ โดย สจรส.ม.อ. ให้ความรู้เรื่องการเขียนรายงาน การจัดการเอกสารการเงิน และให้คำแนะนำการจัดเก็บใบเสร็จรับเงิน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.ได้ความรู้เรื่องขั้นตอนการเขียนรายงานผลการดำเนินโครงการอย่างถูกต้อง 2.ได้ความรู้เรื่องการจัดเอกสารการเงินและทำรายงานการเงินอย่างถูกวิธี 3.ได้ความรู้เรื่องภาษี การหักภาษีโครงการ

    • การหักภาษี ณที่จ่าย โดยการหักภาษี ณที่จ่าย 1% สำหรับค่าใช้จ่ายหมวดค่าจ้าง ค่าตอบแทน ค่าเช่าที่มีมูลค่าตั้งแต่ 1,000 บาทขึ้นไปตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2558 เป็นต้นไป
    • ขั้นตอนการเขียนหนังสือรับรองภาษี

    4.ได้ความรู้เรื่องการแยกประเภทหมวดค่าใช้จ่ายประกอบด้วยหมวด 6 หมวดมี - ค่าตอบแทน - ค่าวิทยากร,เจ้าหน้าที่ช่วยจัดการประชุม,การประสานงาน - ค่าจ้าง - ค่าถ่ายเอกสาร,ค่าเดินทาง,ค่าเช่ารถ,ค่าน้ำมัน
    - ค่าวัสดุ - ค่าใช้สอย - ค่าที่พัก ,ค่าอาหาร,ค่าห้องประชุม - ค่าสาธารณูปโภค - ค่าส่งไปรษณีย์,ค่าโทรศัพท์ - อื่นๆ

     

    3 2

    3. ประชุมประชาชนในชุมชน

    วันที่ 20 ธันวาคม 2558 เวลา 13:00-17.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • เริ่มประชุมเวลา 13.00 น.มีผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 3 นายสุทิน อินยอด เป็นประธานกล่าวเปิดการประชุมได้คุยเรื่องโครงการ(สสส.)ที่ได้รับอนุมัตงบประมาณมาและช่วงนี้ก็มีนโยบายรัฐบาลที่ส่งเสริมให้ประชาชนประกอบอาชีพเสริมในสวนยาง ปลูกพืชทดแทนยางพาราที่ราคาตกต่ำ ขอความร่วมมือในการทำกิจกรรมร่วมกันเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของคนในชุมชนและจำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องมีกลุ่มผู้นำในการขับเคลื่อนและวางแผนการทำงาน จึงได้มีการคัดเลือกสภาผู้นำชุมชนขึ้นจากกลุ่มอาชีพต่างๆตามความเหมาะสมจำนวน 12 คน รวมกับชุดกรรมการหมู่บ้านเดิมและคณะทำงานทั้งหมดรวมเป็น 27 คนและได้แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบแล้วเสร็จ หลังจากนั้นเจ้าของโครงการ น.ส.จริยา แก้วนพรัตน์ ได้ชี้แจงที่มาและรายละเอียดของโครงการให้ชาวบ้านได้รับทราบรวมทั้งการทำกิจกรรมในครั้งต่อไป โครงการมีระยะเวลาที่กำหนด 1 ปี เริ่มโครงการ 15 ก.ย. 58 - 15 ต.ค. 59 แต่เนื่องจากโครงการของเราได้รับเงินล่าช้าทำให้กิจกรรมที่จัดเลยช้ากว่าปฏิทินที่กำหนดครั้งแรก ซึ่งชาวบ้านให้ความสนใจเป็นอย่างดี 17.00 น ปิดการประชุม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • มีสมาชิกเข้าร่วมประชุมจำนวน 115 คนได้สภาผู้นำจำนวน 27 คนได้แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบดังนี้

    1 . น.ส.จริยา แก้วนพรัตน์ ผู้รับผิดชอบโครงการ เป็นประธาน 2.นางอนัญพัสว์ แก้วนพรัตน์ ผู้บันทึกข้อมูล 3.นายอ่ำ สังข์หนู การเงิน 4.นางเครือพันธ์ อินทะเสโน ข้อมูลวิชาการ 5.นางหทัยทิพย์ สุขทอง ประสานงาน 6.นางอัมพร แก้วนพรัตน์ ประสานงาน 7.น.ส.จารุณี แก่นทอง ประสานงาน 8.นางสำรวย ศรีเงิน ประสานงาน 9.นายมานะชัย ดวงสุวรรณ ประสานงาน 10.นางจุรีพร อ่อนแก้ว ประชาสัมพันธ์ 11.นางบัวงาม บุญยัง ประชาสัมพันธ์ 12.นายสนิท รักเกิด ประชาสัมพันธ์ 13.นางสำเริง ชูหนู ประชาสัมพันธ์ 14.น.ส.ประภา แก้วนพรัตน์ ถ่ายภาพกิจกรรม 15. นางปราณี แก้วนพรัตน์ ฝ่ายสถานที่ 16. นายประนอม ชูหนู ฝ่ายสถานที่ 17. นางกระแส อินยอด ฝ่ายสถานที่ 18. น.ส.ปริศนา เกลี้ยงแก้ว ฝ่ายสถานที่ 19. นางทวีพันธ์ ฉิมเงิน 20. นางประคิ่น หนูขาว 21. นายชำนาญ แก้วน้อย 22. น.ส.สายชล พรหมคง 23. นางสุดารัตน์ เพชรทองเกลี้ยง 24. นางจตุพร อินยอด 25. น.สเพ็ญศรี ทองจับหลัก 26. น.ส.กิ่งแก้ว ทองอินไข่ 27. นายสุทิน อินยอด

    ทั้ง 27คนพร้อมที่จะขับเคลื่อนการทำงานให้บรรลุเป้าหมาย

     

    130 115

    4. ประชุมสภาผู้นำครั้งที่ 1

    วันที่ 25 ธันวาคม 2558 เวลา 13:00-17.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • เวลา 13.00 น. ผู้รับผิดชอบโครงการได้เปิดการประชุม มีผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมด 29 คน เป็นสภาผู้นำ 27 คน และสมาชิกในชุมชน 2 คน มาประชุมร่วมกันอย่างพร้อมเพรียงที่หอประชุมศาลาหมู่บ้านบ้านสำนักกอ
    • ผู้รับผิดชอบโครงการน.ส.จริยา แก้วนพรัตน์ ได้กล่าวชี้แจงรายละเอียดของโครงการ เรื่องของบทบาทหน้าที่ในการจัดกิจกรรมแต่ละครั้ง เพื่อสร้างความเข้าใจให้กับประชาชนในการประชุมเปิดตัวโครงการครั้งต่อไปและได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซักถามในเรื่องการดำเนินงานว่าจะทำแบบไหน อย่างไรและจะมีการรับสมาชิกเพิ่มหรือไม่ ผู้รับผิดชอบโครงการได้ชี้แจงจนเข้าใจวัตถุประสงค์ของโครงการ 17.00 น. ปิดการประชุม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • สภาผู้นำเข้าใจบทบาทการวางแผนและกำหนดรูปแบบในการจัดประชุมประชาชนเพื่อสร้างความเข้าใจโครงการนี้แก่ประชาชนทั้งชุมชนรับทราบและพร้อมที่จะขับเคลื่อนการทำงานไปด้วยกัน

     

    27 27

    5. ถอนเงินค่าเปิดบัญชี

    วันที่ 25 ธันวาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ผู้รับผิดชอบโครงการกับเจ้าหน้าที่การเงินไปถอนเงินที่เปิดบัญชีคืน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ถอนเงินคืน 500 บาท และจัดทำรายงานการเงินถูกต้อง

     

    2 1

    6. ประชุมสภาผู้นำครั้งที่ 2

    วันที่ 4 มกราคม 2559 เวลา 13:00-17.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • เวลา 13.00 น.ผู้รับผิดชอบโครงกา รน.ส.จริยา แก้วนพรัตน์ ได้กล่าวชี้แจงถึงโครงการที่ได้รับอนุมัติงบประมาณ และการดำเนินโครงการแต่ละกิจกรรมโดยสภาผู้นำจะต้องเป็นผู้เสียสละเพื่อผลปประโยชน์ของสมาชิก
    • และได้พูดถึงการจัดกิจกรรมประชุมสร้างความเข้าใจโครงการที่จะจัดในวันที่ 6 มกราคม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    แบ่งบทบาทความรับผิดชอบในวันที่ 6 มกราคม 2559 พร้อมทั้งมอบหมายหน้าที่ให้

    • น.ส.ประภา แก้วนพรัตน์, น.ส.สายชล พรหมคง เป็นฝ่ายลงทะเบียน
    • นางปรานี แก้วนพรัตน์, นางอัมพร แก้วนพรัตน์ ฝ่ายอาหาร
    • น.ส.ปริศนา เกลี้ยงแก้ว ,นางบัวงาม บุญยัง ฝ่ายประสานงาน
    • นางหทัยทิพย์ สุขทอง, น.ส.เพ็ญศรี ทองจับหลัก ฝ่ายประชาสัมพันธ์
    • น.ส.กิ่งแก้ว ทองอินไข่ ถ่ายภาพกิจกรรม
    • ส่วนที่เหลือก็ดูแลทั่วไป หลังจากนั้นช่วยกันพัฒนาบริเวณหอประชุมจนเสร็จเรียบร้อย
    • สภาผู้นำได้เข้าใจบทบาทในการวางแผนการกำหนดรูปแบบในการจัดกิจกรรม และทุกคนให้ความสำคัญกับกิจกรรมที่จัดขึ้นโดยทุกคนให้ความร่วมมือด้วยดีและพร้อมที่จะขับเคลื่อนการทำงานไปด้วยกันตลอดโครงการ

     

    27 25

    7. ทำป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่ ถ่ายภาพกิจกรรม และจัดทำรายงาน

    วันที่ 6 มกราคม 2559 เวลา 09:00-16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • สภาแกนนำชุมชนและผู้เข้าร่วมประชุมได้ร่วมกันปิดป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่ที่หอประชุมศาลาหมู่บ้านหมู่ที่ 3 บ้านสำนักกอ และมีการประชุมเปิดโครงการในวันเดียวกัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • จากการติดป้ายรณรงค์เขตปลอดบุหรี่ จะเห็นพฤติกรรมได้ชัดเจนจากผู้ที่เข้าร่วมประชุมเมื่ออ่านป้าย จะไม่สูบบุหรี่ที่หอประชุมและบริเวณใกล้เคียงเลย

     

    130 130

    8. จัดประชุมสร้างความเข้าใจโครงการ

    วันที่ 6 มกราคม 2559 เวลา 09:00-16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    09.00-10.00น. ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 3 นายสุทิน อินยอด ได้กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุม 10.00-10.30น. นายกองค์การบริหารส่วนตำบลปันแต นายสาโรจน์ บุญเรืองขาว ได้กล่าวเปิดการประชุมและให้ข้อคิดในการดำรงชีพในยุคปัจจุบันให้เหมาะสมกับภาวะเศรฐกิจตกต่ำเพื่อความอยู่รอด 10.30-11.00น. นักวิชาการติดตามประเมินผลโครงการฯ นายถาวร คงศรีได้กล่าวชี้แจงที่มาของโครงการให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้เข้าใจ 11.00-11.50น. นักวิชาการติดตามประเมินผลโครงการฯ นายสมนึก นุ่นด้วงได้กล่าวชี้แจงถึงวิธีการดำเนินงานของโครงการฯและรายละเอียดต่างๆของกิจกรรมให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้เข้าใจ 11.50-12.00น. ผู้รับผิดชอบโครงการน.ส.จริยา แก้วนพรัตน์ ได้กล่าวสรุปกิจกรรมและชี้แจงถึงกิจกรรมในภาคบ่ายและเปิดรับสมัครสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการฯ 12.00-13.00น. รับประทานอาหารกลางวัน 13.00-14.00น. ผู้ใหญ่บ้านนายสุทิน อินยอด ได้กล่าวประชุมถึงวาระอื่นๆ 14.00-1ุ6.00น. รับสมัครสมาชิกที่เข้าร่วมกิจกรรมเพาะเห็ดในร่องสวนยาง และเลี้ยงผึ้ง 16.00น. ปิดการประชุม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • สภาแกนนำชุมชนพร้อมทั้งสมาชิก 110 คน ได้รับรู้และเข้าใจเป้าหมาย วัตถุประสงค์ แผนงานกิจกรรม กระบวนการของโครงการ และสมาชิกได้สมัครเข้าร่วมเรียนรู้การประกอบอาชีพเสริมได้สมาชิกกลุ่มเลี้ยงผึ้งจำนวน 60 คน และกลุ่มเพาะเห็ด 45 คน รวมทั้งหมด 105 คนและได้แจ้งให้สมาชิกทราบถึงกิจกรรมที่ต้องทำครั้งต่อไป

     

    130 110

    9. จัดทำแบบเก็บข้อมูล

    วันที่ 10 มกราคม 2559 เวลา 09:00-16.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • สภาผู้นำ มีการเสนอแนะแลกเปลี่ยนความคิด ร่วมกันออกแบบสำรวจข้อมูลครัวเรือน เพื่อให้ได้รูปแบบแบบฟอร์มการเก็บข้อมูลครัวเรือนที่สมบูรณ์ ซึ่งจะมีรายละเอียดดังนี้จำนวนสมาชิกในครัวเรือนทั้งหมดกี่คน กำลังศึกษากี่คน ทำงานได้กี่คน แหล่งที่มาของรายได้จากไหนบ้าง รายได้ของครอบครัวทั้งหมดต่อเดือน รายจ่ายทั้งหมดของครอบครัวต่อเดือน เงินคงเหลือของครอบครัวทั้งหมดต่อเดือน หนี้สินของครอบครัวทั้งหมดต่อเดือน ปัญหาของครอบครัวมีอะไรบ้าง ความต้องการอื่นๆต้องการรายได้เสริมจากอาชีพเสริมอะไรบ้าง พร้อมทั้งข้อเสนอแนะและอื่นๆ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้แบบฟอร์มสำรวจข้อมูลครัวเรือนที่สามารถจัดเก็บข้อมูลได้ครอบคลุมทั้งรายรับ รายจ่าย หนี้สิน และเงินคงเหลือ จำนวน 1 ชุด
    • สภาผู้นำมีความรู้ความเข้าใจในการจัดทำแบบสำรวจข้อมูลครัวเรือน

     

    27 26

    10. ชี้แจงการใช้แบบจัดเก็บข้อมูลเศรษฐกิจครัวเรือน

    วันที่ 13 มกราคม 2559 เวลา 09:00-16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • สภาผู้นำ 7 คน ได้ร่วมชี้แจงการใช้แบบสำรวจข้อมูลให้กับกลุ่มนักเรียนจำนวน 10 คน และกลุ่มบัณฑิตอาสาในชุมชนจำนวน 8 คน โดยแบ่งจำนวนคนออกเป็น 3 กลุ่ม โดยกลุ่มที่ 1 ไปแถวสะพานเรือก กลุ่มที่ 2 ไปป่ายูง กลุ่มที่ 3 ไปไสโดน และสำรวจประชากรในครัวเรือนต้องเก็บหมดทุกคนทั้งเด็กและผู้ใหญ่ จะแยกคนทำงานในครัวเรือนมีกี่คน ที่กำลังเรียนมีกี่คน ส่วนรายได้ต้องลงบันทึกให้หมดทุกคนโดยให้สอบถามรายได้แต่ละคนเท่าไรก็เอามารวมเป็นรายได้ทั้งหมดของครัวเรือนส่วนรายจ่ายก็เหมือนกันเอารายได้ลบรายจ่ายก็จะเป็นเงินคงเหลือของครัวเรือนตามแบบฟอร์มเพื่อให้เข้าใจและสามารถใช้แบบฟอร์มเก็บข้อมูลได้อย่างถูกต้องและครบถ้วนทุกข้อ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ทุกคนได้รับรู้และเข้าใจ เกี่ยวกับการใช้แบบฟอร์มเป็นอย่างดีและพร้อมที่จะลงพื้นที่ไปสำรวจข้อมูล

     

    20 25

    11. การจัดเก็บข้อมูลเศรษฐกิจครัวเรือน

    วันที่ 14 มกราคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • แจกแบบสำรวจข้อมูลให้กับกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมจำนวน 130 ชุด เพื่อลงสำรวจตามครัวเรือน
    • กลุ่มเป้าหมายลงพื้นที่เดินสำรวจครัวเรือนตามที่กำหนดผู้รับจ้างเก็บข้อมูล น.ส.ประภา แก้วนพรัตน์ น.ส.วิไลลักษณ์ สังข์หนูและ ว่าที่ร้อยตรีหญิงกาญจนา แก้วนพรัตน์
    • ได้แบ่งพื้นที่ในการไปจัดเก็บโดย น.ส.ประภา จะไปบ้านสะพานเรือกและบ้านป่ายูง ส่วน น.ส.วิไลลักษณ์ ไปบ้านสำนักกอและ น.ส.กาญจนาไปบ้านไสโดน ทุกคนได้เอกสารเก็บข้อมูลไปครบจำนวนครัวเรือนที่จะสำรวจจำนวน 130 หลังคาเรือน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้ข้อมูลเศรษฐกิจครัวเรือนจำนวน 130 หลังพร้อมข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วนทุกข้อ

     

    130 18

    12. ประชุมสภาผู้นำครั้งที่ 3

    วันที่ 20 มกราคม 2559 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • 13.00 น. น.ส.จริยา แก้วนพรัตน์ ได้เปิดการประชุมชี้แจงถึงกิจกรรมที่ผ่านมาทั้งหมดพร้อมทั้งชี้แจงเรื่องงบประมาณที่จ่ายไปและเงินคงเหลือ และจะมีการจัดกิจกรรมครั้งต่อไปคือการประชุมวิเคราะห์ข้อมูลซึ่งข้อมูลเศรฐษกิจครัวเรือนได้จัดเก็บเรียบร้อยแล้วจำนวน 130 ครัวเรือน ได้คุยเรื่องบทบาทสภาผู้นำชุมชนที่จะร่วมกันทำงานให้ลุล่วงพร้อมทั้งขอความร่วมมือในการทำงานให้มีความสามัคคี มีการปรึกษาหารือกันเพื่อให้โครงการดำเนินไปด้วยดี

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • สภาผู้นำได้เข้าใจรายละเอียดและวิธีการดำเนินโครงการมากยิ่งขึ้นและพร้อมที่จะร่วมมือทำงานให้โครงการลุล่วงไปด้วยดี

     

    27 26

    13. ประชุมวิเคราะห์ข้อมูล

    วันที่ 28 มกราคม 2559 เวลา 09:00-16.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • เวลา 09.00 น เจ้าหน้าที่นายสมนึก นุ่นด้วง และสภาผู้นำทั้ง 27 คน มาประชุมพร้อมเพรียงกัน และได้ช่วยกันรวบรวมข้อมูลเศรษฐกิจครัวเรือนทั้ง 130 ครัวเรือนและวิเคราะห์พฤติกรรมของครัวเรือนในด้าน รายรับ รายจ่าย หนี้สิน และเงินคงเหลือของครัวเรือนและมีการหาค่าเฉลี่ยรายปี,รายเดือน,รายวัน โดยคิดคำนวนจากรายรับ,รายจ่าย,หนี้สินและเงินคงเหลือ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้รายงานสภาพเศรษฐกิจครัวเรือนซึ่งสภาผู้นำได้รับรู้สภาพเศรษฐกิจครัวเรือนเพื่อเตรียมวางแผนคืนข้อมูลชุมชน
    • ได้เรียนรู้การวิเคราะห์ข้อมูล
    • ได้ค่าเฉลี่ยต่างๆโดยคิดคำนวนจาก 130 ครัวเรือนดังต่อไปนี้

    • รายรับรวม 27,413,559/ รายรับต่อปี 210,873 /รายรับต่อเดือน17,572 /รายรับต่อวัน585

    • รายจ่ายรวม 25,191,802/รายจ่ายต่อปี 193,783/รายจ่ายต่อเดือน 16148 /รายจ่ายต่อวัน 538
    • หนี้สินรวม 2,590,740 / หนี้สินต่อปี 19,928 /หนี้สินต่อเดือน 1,660 /หนี้สินต่อวัน 55
    • เงินคงเหลือรวม 2,221,757 /เงินคงเหลือต่อปี 17,090 /เงินคงเหลือต่อเดือน1,424 /เงินคงเหลือต่อวัน 47

     

    27 27

    14. ประชุมสภาผู้นำครั้งที่ 4

    วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 13:00-17.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • 13.00 น.ผู้ใหญ่บ้าน ม.3 นายสุทิน อินยอด ได้ชี้แจงวาระการประชุม
    • วาระที่ 1 การขุดลอกหนองน้ำเป็นโครงการตำบลละ 5 ล้าน
    • วาระที่ 2 การทำโฉนดที่ดิน เนื่องจาก ม.3 บ้านสำนักกอ มีเขตแดนไม่แน่นอนต้องยอมเสียที่ให้ตำบลบ้านพร้าว 100 ก่วาไร่แต่คนที่มีต้นยางพาราก็จะได้รับค่าชดเชย
    • วาระที่ 3 ยาเสพติดใบกระท่อมซึ่งทางอำเภอได้เข้มงวดในเรื่องนี้มากจึงขอความร่วมมือช่วยสอดส่องดูแลเพื่อความสงบสุขของชุมชนเรา
    • วาระที่ 4 การดำเนินงานของโครงการ สสส.ผู้รับผิดชอบโครงการ น.ส.จริยา แก้วนพรัตน์ ได้ชี้แจงถึงกิจกรรมต่างๆที่จัดมาทั้งหมดซึ่งกิจกรรมล่าสุดเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลได้รายงานสภาพเศรษฐกิจครัวเรือนของชุมชนที่สำรวจมาทั้งหมด 130 หลังคาเรือนจะเห็นได้ว่าชุมชนของเราจะมีหนี้สินเกือบทุกครัวเรือนซึ่งเราจะมีการลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นลงและจะมีการเพิ่มอาชีพเสริมเพื่อเพิ่มรายได้ และทุกคนต้องมีบัญชีครัวเรือนเป็นตัวคุมการใช้จ่ายจะช่วยแก้ปัญหาได้อีกทางหนึ่ง ซึ่งกิจกรรมต่อไปเราจะมีการทำอาชีพเสริมเพาะเห็ดในร่องสวนยางและเลี้ยงผึ้งโพรงผู้เข้าร่วมประชุมพอใจและเข้าใจกิจกรรมมากยิ่งขึ้น หลังจากนั้นก็มีการซักถามข้อสงสัย 17.00 น.ปิดการประชุม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • สภาผู้นำทั้ง 25 คนได้เข้าใจรายละเอียดและวิธีการดำเนินโครงการมากยิ่งขึ้น และพร้อมที่จะทำกิจกรรมตามวัตถุประสงค์

     

    27 25

    15. การประชุมร่วมกับ สสส. สจรส.ม.อ. และพี่เลี้ยงผู้ติดตาม

    วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00-16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ประชุมร่วมกับพี่เลี้ยง ได้นำเอกสารค่าใช้จ่ายในงวดที่ 1 ให้พี่เลี้ยงทำการตรวจสอบควาถูกต้อง ก่อนที่จะส่งรายงานให้ สจรส.ม.อ.

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้รับคำแนะนำการจัดทำเอกสารการเงินให้ถูกต้อง ต้องเขียนรายการให้ชัดเจน และเพิ่มข้อมูลในรายงานกิจกรรม ได้เอกสารที่ถูกต้องครบถ้วนก่อนไปประชุมร่วม สจรส.ที่ ม.อ.หาดใหญ่ เพื่อปิดงวดโครงการ งวดที่ 1

     

    2 2

    16. จัดทำรายงานปิดงวดที่ 1

    วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00-16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • นำเอกสารการเงินในงวดที่ 1 ที่เรียบร้อยส่งให้ทีม สจรส.ม.อ.ตรวจความถูกต้อง และได้ตรวจการรายงานกิจกรรมในเวบไซต์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • มีการตรวจสอบเอกสารทางการเงินของทุกกิจกรรมที่จัดแล้ว ตรวจผลการดำเนินงานของกิจกรรมทุกกิจกรรมที่ทำมาแล้วเพื่อความถูกต้อง ได้เอกสารที่ถูกต้องครบถ้วนสมุดบันทึกการดำเนินงานถูกต้อง การรายงานผลงานครบถ้วนทุกกระบวนการ

     

    2 2

    17. ประชุมสภาผู้นำครั้งที่ 5

    วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 13:00-16.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เปิดประชุมเวลา 13.00 น.โดยนายสุทิน อินทร์ยอดประธานสภาผู้นำชุมชุน เปิดประชุมตามวาระต่อไปนี้

    วาระที่1. เรื่องยาเสพติดใบกระท่อม ตอนนี้ใบกระท่อมระบาดในหมู่วัยรุ่น หากบ้านใครมียาเสพติดชนิดนี้ไว้ในครอบครองจะโดนโทษทั้งจำทั้งปรับขอให้ทุกคนทำลายให้หมดโดยด่วน

    วาระที่2. เรื่องกองทุน กขคจ. ทางพัฒนากรอำเภอควนขนุนแจ้งด่วนจะมีการประชุมร่วมกับกรรมการทั้งหมดในวันที่ 26กุมภาพันธ์ 2559 ขอให้ทุกคนมาร่วมประชุมโดยพร้อมเพรียงกัน

    วาระที่3. เรื่องกลุ่มสัจจะออมทรัพย์บ้านสำนักกอ จะมีการประชุมใหญ่สามัญประจำปีในวันที่ 25 กุมภาพันธ์พร้อมทั้งแบ่งเงินปันผลแต่สืบเนื่องจากทางพัฒนากรแจ้งเรื่องประชุมด่วนในวันที่26 กุมภาพันธ์จึงขอเลื่อนการประชุมมาเป็นวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2559 พร้อมกันเพื่อเป็นการประหยัดเวลาไปหนึ่งวันช่วยบอกต่อคนที่ไม่มาร่วมประชุมด้วย

    วาระที่4. เรื่องรายงานการดำเนินงานตามโครงการ ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ให้คนสำนักกอโดยที่ น.ส.จริยา แก้วนพรัตน์ ได้พูดคุยถึงกิจกรรมเวทีคืนข้อมูลสภาพเศรษฐกิจครัวเรือนสู่ชุมชนซึ่งเป็นกิจกรรมที่จะจัดในวันที่ 28/02/59 ซึ่งทุกคนต้องช่วยกันและจะแบ่งหน้าที่กันรับผิดชอบ น.ส.ปริศนาได้นำเสนอในการแสดงละครสะท้อนข้อมูลชุมชนจะให้ลุกชายกับทีมงานซึ่งเป็นนักเรียนโรงเรียนบ้านสำนักกอรับผิดชอบ เรื่องอาหารนางปราณี แก้วนพรัตน์ เป็นคนรับผิดชอบ ป้ายนิทัศนการสถานเศรฐกิจชุมชนให้นายอ่ำ สังข์หนูรับผิดชอบ ส่วนป้ายประชาสัมพันธ์ประกาศ ลด ละ เลิกได้มอบหมายให้น.ส.เพ็ญศรี ทองจับหลักเป็นผู้รับผิดชอบและได้มอบหมายให้จัดหาของขวัญสำหรับครอบครัวต้นแบบการจัดการเศรษฐกิจครัวเรือนจำนวน 3 ชุดด้วยหลังจากนั้นก็มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นนำเสนอโดยนางกระแส อินยอดในการจะไปศึกษาดูงานว่าเราจะไปที่ใกล้ๆบ้านได้ไหมซึ่งเป็นวิสาหกิจชุมชนของตำบลปันแตในการเลี้ยงผึ้งโพรงทางน.ส.จริยา แก้วนพรัตน์ ก็ได้สรุปว่าเราทำโครงการมาก่อน สถานที่กำหนดไว้เรียบร้อยแล้วแต่เราสามารถไปรับความรู้ในเรื่องการเลี้ยงผึ้งโพรงที่จะมีการอบรมให้ความรู้โดยทางศูนย์เทคโนโลยีแมลงของจังหวัดชุมพรจะมาให้ความรู้ที่วิสาหกิจชุมชนบ้านท่าฉ้อเป็นบ้านของนายวีระพล ห้วนแจ่ม เราจะมีความรู้มากขึ้นซึ่งทุกคนก็เข้าใจและพร้อมที่จะดำเนินงานให้ลุล่วง เวลา 16.00 น.ปิดการประชุม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สภาผู้นำได้รับทราบในทุกวาระ และเข้าใจบทบาทหน้าที่ของตัวเองและมีความรับผิดชอบร่วมกันวางแผนการทำงานอย่างมีระบบต่อเนื่อง และมีการเสนอความคิดเห็นอันจะนำไปสู่ความสำเร็จในการดำเนินงานครั้งต่อไป และมีความสามัคคีในหมู่คณะที่แน่นแฟ้นขึ้นกว่าเดิม มีจิตอาสาในทุกๆด้าน จะเห็นว่ามีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปในทิศทางบวก

     

    27 22

    18. เวทีคืนข้อมูลสภาพเศรษฐกิจครัวเรือนสู่ชุมชน

    วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00-16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เวลา 09.00 น.

    นายสุทิน อินยอด ผู้ใหญ่บ้านได้กล่าวต้อนรับนักวิชาการติดตามประเมินผลโครงการฯ ท่านนายกองค์การบริหารส่วนตำบลปันแต และผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมด พร้อมทั้งได้คุยสภาพเศรษฐกิจครัวเรือนโดยทั่วๆไปของหมู่ที่ 3
    เวลา 09.30 น.

    นายสมนึก นุ่นด้วง นักวิชาการติดตามประเมินผลโครงการฯได้กล่าวนำในเรื่องโครงการว่าทางหมู่บ้านสำนักกอได้รับการอนุมัติงบประมาณปีแรกขอให้ทางหมู่บ้านให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมแต่ละครั้งผลงานก็จะเกิดขึ้นเพื่อลดปัญหาครัวเรือนอยากให้มีงบประมาณปีที่ 2,3 ตามมาด้วย และการจัดกิจกรรมในวันนี้ชื่อกิจกรรมเวทีคืนข้อมูลสภาพเศรษฐกิจครัวเรือนสู่ชุมชนซึ่งจากการสำรวจข้อมูลแล้วนำมาวิเคราะห์จะเห็นได้จากหนี้สินที่เกือบทุกครัวเรือนเป็นหนี้เราจะแก้ปัญหาได้อย่างไรจากนั้นก็ได้กล่าวเชิญท่านนายกองค์การบริหารส่วนตำบลปันแต

    เวลา 10.00 น.

    นายสาโรจน์ บุญเรืองขาว ได้คุยจากการวิเคราะห์ข้อมูลจะเห็นว่ารายได้คนที่ได้มากที่สุดกับคนที่ได้น้อยที่สุดส่วนต่างจะเหลื่อมล้ำกันมากเนื่องจากทุนทางสังคมอาจจะไม่เท่ากัน ท่านได้ให้แนวคิดแนวทางในการดำรงชีพให้เหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันต้องปรับตัวให้ได้พยายามชี้ให้คนทั่วไปใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นชุมชนที่พึ่งตัวเองให้ได้ และที่สำคัญเราต้องลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นลงหันมาปลูกผักสวนครัวเพื่อใช้ในการปรุงอาหารแทนการซื้อของคนอื่นที่เหลือกินก็อาจจะขาย สร้างอาชีพเสริมให้กับครอบครัวอย่างการเพาะเห็ดฟางซึ่งทางหมู่ที่ 3 ได้รวมกลุ่มทำกันอยู่แล้วอยากให้เพิ่มสมาชิก และส่วนหนึ่งก็มีนโยบายรัฐบาลในเรื่องของภัยแล้งที่จะสร้างรายได้เสริมให้กับประชาชนในหมู่บ้านช่วงหน้าแล้งท่านยังได้แนะนำอาชีพเสริมจากแผ่นป้ายที่จัดทำขึ้น มีการปลูกผักปลอดสารพิษ การเพาะเห็ดฟาง การเพาะเห็ดนางฟ้า การเลี้ยงไก่หลุม การเลี้ยงผึ้งโพรงฯและการไปศึกษาดูงานที่หมู๋บ้านต้นแบบเพื่อจะได้นำมาพัฒนาตนเองและชุมชนต่อไป

    เวลา 11.30 น.

    มีการแสดงละครสะท้อนข้อมูลชุมชนซึ่งใช้ผู้แสดง 6 คนใช้เวลาประมาณ 30 นาที

    เวลา 12.00 น.

    รับประทานอาหารกลางวัน

    เวลา 13.00 น.

    นักวิชาการติดตามโครงการนายสมนึก นุ่นด้วง ได้กล่าวสรุปจากการวิเคราะห์ข้อมูลและได้ชื่นชมกับเยาวชนที่กล้าแสดงออกและมีส่วนร่วมกับกิจกรรมในครั้งนี้ซึ่งต่อไปเด็กจะมีบทบาทที่สำคัญยิ่งในการแก้ปัญหาครัวเรือนได้

    หลังจากนั้นนักวิชาการติดตามโครงการนายถาวร คงศรี ได้วิเคราะห์ข้อมูลโดยรวมและวิธีการแก้ปัญหาเบื้องต้นของชุมชน การจัดการรายรับ รายจ่าย การทำบัญชีครัวเรือนจะทำให้เราได้ใช้จ่ายอย่างประหยัดขึ้นและการจัดตั้งกลุ่มอาชีพที่สามารถหารายได้เพิ่มให้กับครอบครัวเป็นการแก้ปัญหาอีกทางหนึ่งซึ่งทางชุมชนบ้านสำนักกอได้มีกิจกรรมเพาะเห็ดฟางในร่องสวนปาล์มและเลี้ยงผึ้งโพรงซึ่งจะมีชุมชนต้นแบบที่นาท่อมและบ้านโคกม่วงที่เราจะไปศึกษาดูงานในกิจกรรมต่อไปและสามารถที่จะนำความรู้จากการไปศึกษาดูงานมาพัฒนาชุมชนของตนเองได้ พร้อมทั้งให้กำลังใจในการทำงาน

    คณะทำงานได้ออกเยี่ยมครอบครัวนายอ่ำ สังข์หนู และได้มอบรางวัลให้กับนายสุเมธ จันทรัตน์ ซึ่งเป็น บุคคลตัวอย่างในการใช้ชีวิตเศษฐกิจพอเพียงสามารถพี่งพาตัวเองได้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • สภาแกนนำและสมาชิกชุมชนได้รับรู้ข้อมูลสภาพเศรษฐกิจปัจจุบันของชุมชน
    • ได้ร่วมแลกเปลี่ยนและวิเคราะห์ปัญหาของครัวเรือนแล้วนำไปปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเอง

     

    210 147

    19. ประชุมสภาผู้นำครั้งที่ 6

    วันที่ 6 มีนาคม 2559 เวลา 13.00 -16.30 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เปิดประชุมเวลา 13.00 น.โดยนายสุทิน อินทร์ยอดประธานสภาผู้นำชุมชุน เปิดประชุมตามวาระต่อไปนี้

    วาระที่ 1.การขับเคลื่อนวิถีชีวิตแบบประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขทางอำเภอให้มีอาสาสมัครประชาธิปไตยจำนวน 20 คน เลือก 12 คนเป็นกรรมการเพื่อให้ความรู้ในการเลือกตั้งในปี 60 ที่จะถึง

    วาระที่ 2. การเข้าเวรที่ว่าการอำเภอของผู้ใหญ่บ้านทุกหมู่บ้านสำหรับหมู่ที่ 3 เข้าเวรวันที่ 10 ของทุกเดือน

    วาระที่ 3. การช่วยกันรักษาทรัพย์สินของตนเอง ตอนนี้ทางหมู่บ้านจะมีของหายบ่อยให้พวกเราทุกคนช่วยกันสอดส่องดูแลหากพบคนแปลกหน้าให้แจ้งเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยฯ

    วาระที่ 4. การระวังอัคคีภัย หน้าแล้งให้ระวังฟืนไฟช่วงนี้อากาศร้อน ลมแรง อาจจะเกิดอัคคีภัยได้ง่ายให้ช่วยกันระวัง

    วาระที่ 5. วันสตรีสากลซึ่งตรงกับวันที่ 8 มีนาคมของทุกๆปี ทางอำเภอควนขนุนจะจัดงานในวันที่ 6 มีนาคมที่ ร.ร.บ้านควนขนุน เวลา 16.00 น. ส่วนที่จังหวัดจะจัดวันที่ 8 มีนาคม

    วาระที่ 6. โครงการ สสส.ซึ่งทางเจ้าหน้าที่คุณสมนึก นุ่นด้วง และทีมงานพร้อมด้วยท่านนายกองค์การบริหารส่วนตำบลปันแตนายสาโรจน์ บุญเรืองขาวได้มาร่วมกิจกรรมคืนข้อมูลสภาพเศรษฐกิจครัวเรือนสู่ชุมชน ท่านนายกฯสรุปได้ว่าการครองชีพรายรับ -รายจ่าย แต่ละครัวเรือน รายรับน้อยกว่ารายจ่ายให้ผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมดปรับตัวให้เข้ากับภาวะเศรษฐกิจเวลานี้ให้ใช้จ่ายประหยัด จากข้อมูลครัวเรือนที่มีรายรับมากที่สุด 500,000 บาทและสำหรับครัวเรือนที่รายรับน้อยที่สุด 12,000 บาทโดยมีรายรับ เป็นรายวัน ,เดือน,ปี ซึ่งจะมีหนี้สินทุกครัวเรือน จากการแสดงละครสะท้อนสภาพเศรษฐกิจท่านได้ชื่นชมเยาวชนของเราที่ได้แสดงความกล้าหาญได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมและตัวเยาวชนเองได้เข้าใจสภาพเศรษฐกิจปัจจุบันด้วยสามารถที่จะร่วมวางแผนกับครอบครัวในการดำเนินชีวิตกับยุคเศรษฐกิจนี้และจะได้ช่วยเหลือครอบครัวในหลายๆด้าน การจัดกิจกรรมคืนข้อมูลทำให้สมาชิกได้รับทราบและเข้าใจตรงกันและหลังจากเสร็จสิ้นกิจกรรมต้องสรุปทำอะไรบ้าง อะไรที่ยังไม่ได้ทำ หรือที่ทำแล้วมีข้อบกพร่องไม่สมบูรณ์ก็จะได้มีการแก้ไข น.ส.จริยา แก้วนพรัตน์ได้ชี้แจงในเรื่องของงบประมาณงวดที่ 2 ที่จะได้รับจำนวน 87,050 บาทซึ่งยังไม่ได้รับโอนที่จะทำกิจกรรมในงวดต่อไป

    วาระที่ 7. อื่นๆ เวลา 16.45 น. เลิกประชุม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ชุมชนได้พบกันทุกวันที่ 6 ได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ของทุกเดือน
    • ประชาชนได้รู้ข่าวสารทางราชการจากผู้ใหญ่บ้าน
    • ประชาชนได้รับรู้ขั้นตอน ความเคลื่อนไหวของแต่ละกิจกรรมในโครงการที่ทำอยู่
    • สภาผู้นำได้มีความรู้ความเข้าใจในการจัดกิจกรรมโครงการมากยิ่งขึ้นและพร้อมที่จะขับเคลื่อนให้สำเร็จตลอดโครงการ

     

    27 22

    20. เรียนรู้ดูงานการจัดการชุมชนต้นแบบด้านการสร้างอาชีพเสริม

    วันที่ 10 มีนาคม 2559 เวลา 08:00-17.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    9.00 น. สภาแกนนำ 22 คนและสมาชิก 57 คน เดินทางไปศึกษาดูงานการเลี้ยงผึ้งของชุมชนบ้านหนองปริงหมู่ที่ 5 ตำบลนาท่อม อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง เป็นกลุ่มเลี้ยงผึ้งซึ่งมีนายปวเรศน์ สมสุรินทร์ เป็นวิทยากรให้ความรู้ในเรื่องการเลี้ยงผึ้งในสวนผลไม้โดยเริ่มต้นจากวัฏจักรของผึ้งเริ่มจากการทำลังผึ้งเอาไปวางในที่ร่มใต้ต้นไม้ คอยดูแลอย่าให้ศัตรูไปรบกวน ศัตรูของผึ้งมี มด,จิ้งจก,แมลงสาบ,ตัวต่อฯ ครั้นถึงช่วงเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน ผึ้งจะมีการแยกรังก็จะไปอาศัยในลังที่วางไว้จะมีการเลี้ยงแบบธรรมชาติ ซึ่งในสวนจะไม่ใช้สารเคมีตั้งแต่ผึ้งมาอาศัยทำรังมีน้ำผึ้งใช้เวลาประมาณ 2-3 เดือนจึงเก็บน้ำผึ้ง ที่แหล่งเลี้ยงผึ้งนี้วางลังล่อไว้เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ จำนวน 13 ลัง มีผึ้งเข้ามาอยู่ 10 ลัง เก็บน้ำผึ้งไปแล้ว 1 ครั้ง ได้น้ำผึ้ง 10 ขวด ราคาขวดละ 500 บาท ซึ้่งจะเก็บน้ำผึ้งได้ปีละ 2 ครั้ง จะเห็นว่าต้นทุนต่ำแทบจะไม่ต้องลงทุนเลย แต่ที่สำคัญเราต้องไม่ใช้สารเคมีเพราะจะทำให้ผึ้งตายได้ และอาจจะตายยกรังถ้าผึ้งงานติดสารเคมีเข้าไปในรัง เคล็ดลับในการตั้งลังล่อวิทยากรแนะนำให้ตั้งหันทางเข้าออกของผึ้้งไว้ทางทิศตะวันออก หรือตะวันตก ซึ่งเป็นแนวดวงอาทิตย์

    หลังจากนั้นเดินทางต่อ ไปศึกษาเรื่องการทำนาอินทรีย์ที่บ้านโคกแย้ม หมู่ที่ 2 ตำบลนาท่อม อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุงโดยมีผู้ใหญ่บ้านนายถาวร คงนิล ประธานกลุ่มฯ และคณะสมาชิกกลุ่มทำนาอินทรีย์ให้การต้อนรับ ได้รายงานว่า เดินนั้นเราทำงานขายข้าวให้พ่อค้าตั้งแต่ในนา ปีนี้ราคา 7000- 8000 บาทต่อตัน แต่เมื่อเราเอาข้าวมาตาก สีเป็นข้าวสาร ขายได้ราคา 25 บาทต่อกิโล ข้าวเปลือก 1 ตันได้ข้าวสารประมาณ 600 กฺิโลกรัม จึงขายได้ 15000 บาท หักค่าใช้จ่ายหรือทุนที่เพิ่มขึ้น 4000 บาท ยังได้เงินเพิ่มที่ตันละ 3000 บาทและทำให้ชุมชนได้บริโภคข้าวปลอดสารพิษ ขณะนี้พัฒนาชุมชนได้ให้ความสนใจกิจกรรมของกลุ่ม และได้สนับสนุนให้กลุ่มเสนอของบประมาณผ่านทางพัฒนาชุมชน เพื่อพัฒนาข้าวสารให้มีคุณภาพมากขึ้น

    จากนั้นรับประทานอาหารกลางวันที่บ้านโคกแย้ม ก่อนจะเดินทางเดินทางไปที่ศูนย์เรียนรู้ชุมชนบ้านทุ่งยาวหมู่ 11 ตำบลโคกม่วง ซึ่งเป็นหมู่บ้านชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง มีกลุ่มอาชีพเช่น กลุ่มทำเครื่องแกง, กลุ่มทำกล้วยทอด กลุ่มผูกผ้า, กลุ่มทำปลาดุกร้าปลาแดดเดียว,กลุ่มเลี้ยงผึ้ง กลุ่มกลองยาว ฯลฯ โดยมีผู้ใหญ่บ้านนาย มนูญ สุขรัตน์ กับคณะให้การต้อนรับ ได้บรรยายการบริหารจัดการของชุมชน เริ่มจากการเอาแผนพัฒนามาบรรจุไว้ในแผนชุมชน ผลจากการประชุมและจัดกิจกรรมหมู่บ้าน บ่อยๆ ทำให้เกิดผู้มีจิตอาสาเพิ่มขึ้น หลักการบริหารมีการประชุมทุกเดือน ทุกรูปแบบมีคณะกรรมการเพื่อปรึกษาปัญหาในการบริหารจัดการของกลุ่ม การทำบัญชีการเงินให้ถุกต้องเป็นปัจจุบัน รายงานงบดุลทุกเดือนประชุมคณะทำงานมีคณะกรรมการ แกนนำ ประธานแต่ละกลุ่มจะเข้ามาปรึกษาหารือ โดยใช้คนในการขับเคลื่อนงาน แบ่งหน้าที่กันรับผิดชอบ จึงเกิดชุมชนเข้มแข็งเช่นทุกวันนี้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • สภาผู้นำและสมาชิกกลุ่มได้มีความรู้เพิ่มขึ้นและสร้างความกระตือรือร้นในการไปศึกษาดูงานและสามารถนำมาพัฒนากลุ่มอาชีพของตนเองได้
    • สภาผู้นำและสมาชิกได้เรียนรู้และเข้าใจในเรื่องหลักคิด วิธีการ กระบวนการซึ่งสอดคล้องกับ ลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ให้คนสำนักกอ ได้ศึกษาต้นแบบนำมาปรับใช้ให้สอดคล้องกับปัญหาของพื้นที่ซึ่งบ้านสำนักกอมีลักษณะภูมิศาสตร์ใกล้เคียงกับพื้นที่ต้นแบบมาก ในช่วงแรกเป็นการเริ่มต้น รวมคน รวมกลุ่ม สมาชิกเมื่อมีรายได้เห็นเป็นรูปธรรมก็จะมีการพัฒนาขั้นต่อไป
    • จำนวนครัวเรือนสภาผู้นำและสมาชิกมีการเพาะเห็ดเพิ่มขึ้นจากเดิมและสามารถสร้างรายได้ในครอบครัวจำนวน 11 ครัวเรือน
    • มีสมาชิกใหม่เพิ่มขึ้น 3 ราย

     

    80 72

    21. การทำบัญชีครัวเรือน

    วันที่ 15 มีนาคม 2559 เวลา 09:00-10.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    มีการประชุมสภาผู้นำทั้งหมดเพื่อปรึกษาหารือในเรื่องการทำสมุดบัญชีครัวเรือน แผนเพื่อลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ของครัวเรือน โดยการออกแบบง่ายๆไม่สลับซับซ้อนคนที่จดบันทึกจะไม่ยุ่งยากทุกคนลงมติว่า มีช่องวัน/เดือน/ปี มีรายการ รายรับ รายจ่าย หมายเหตุ ข้างล่างสุดจะมีช่องรวมทั้งหมดซึ่งจะมีการอธิบายการจดบันทึกสมุดบัญชีครัวเรือน (รายรับ-รายจ่าย) ประจำครอบครัว

    1.ช่องวัน/เดือน/ปี ใช้บันทึกวันที่ เดือน และปี พ.ศ.ที่มีรายการรับเงินและรายการจ่ายเงินเกิดขึ้น

    2.ช่องรายการ ใช้บันทึกรายละเอียดของรายการรับเงิน เช่น รับเงินค่าขายน้ำยางสด รับเงินค่าขายปาล์มน้ำมัน รับเงินจากค่าจ้าง รับเงินที่ลูกส่งให้ หรือใช้บันทึกรายละเอียดของรายจ่าย เช่น จ่ายเงินค่าอาหาร จ่ายเงินค่าน้ำมันรถ จ่ายเงินค่าโทรศัพท์ จ่ายเงินค่าซื้อปุย จ่ายเงินให้ลูกไปโรงเรียน เป็นต้น

    3.ช่อง"รายรับ"ใช้บันทึก "จำนวนเงิน" ที่ได้รับเข้ามาให้ตรงกับรายละเอียดในช่องรายการ

    4.ช่อง"รายจ่าย" ใช้บันทึกจำนวนเงินที่จ่ายออกไปเป็นเงินสดและเงินเชื่อทุกรายการ ให้ตรงกับรายละเอียดในช่องรายการ

    5.การสรุปบัญชีครัวเรือน (รายรับ-รายจ่าย) ใช้บันทึกยอดเงินรวมของจำนวนเงินที่ได้รับและจำนวนเงินที่จ่ายของแต่ละเดือน

    จากการทำบัญชีครัวเรือนจำนวน 110 ครัวเรือน จะเห็นได้ว่าประโยชน์ของการทำบัญชีครัวเรือน

    1. เพื่อแสดงให้เห็นที่มาที่ไปของรายรับรายจ่ายในแต่ละช่วงเวลาอันจะนำไปสู่การลดต้นทุนการผลิตและสร้างรายได้ให้กับตนเอง
    2. เพื่อควบคุมค่าใช้จ่ายภายในครัวเรือน
    3. การจดบันทึกสมุดบัญชีครัวเรือนสามารถนำมาใช้เป็นข้อมูลลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นลงได้
    4. บัญชีครัวเรือนเป็นการบริหารการเงินในครอบครัวถ้าเรารู้จักควบคุมค่าใช้จ่ายให้พอเพียงเราก็จะไม่มีหนี้สินและจะมีเงินเหลือเก็บ

    การทำบัญชีครัวเรือนนั้น ทำให้เรารู้การใช้จ่ายของเราในแต่ละเดือน ช่วยให้สามารถตัดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นในออกไปทำให้มีเงินเหลือมากขึ้น เช่น ค่ากาแฟ ค่าชอปปิ้งของที่ไม่จำเป็น ทำให้รู้จักคิดให้รอบคอบก่อนจะใช้จ่าย รู้ว่าค่าใช้จ่ายไหนเหมาะสมหรือไม่เหมาะสม เพราะถ้าเรารู้จักตัวเอง และมองเห็นพฤติกรรมการใช้จ่ายของตนเองแล้ว การละเลิกกิจกรรมที่สร้างความฟุ่มเฟือยทั้งปวง จะเป็นจุดเริ่มต้นของการออมที่เพิ่มขึ้นด้วยการทำบัญชีรายรับรายจ่าย เริ่มต้นบันทึกรายการใช้จ่ายในแต่ละเดือนไว้ แล้วสำรวจดูว่า มีรายจ่ายส่วนไหนที่สามารถลดลงได้บ้าง อะไรคือสิ่งไม่จำเป็น แม้ไม่มีครอบครองหรือได้มา ชีวิตก็ยังดำรงอยู่ได้ เราต้องรีบทำการตัดรายจ่ายเหล่านั้นทิ้งไปให้หมด เพื่อที่เราจะได้มีเงินเหลือเพิ่มขึ้นในแต่ละเดือน หรือไม่ก็ลองดัดนิสัยตัวเองก็ได้ ในทุกครั้งที่คิดจะใช้จ่ายไปกับเรื่องที่ไม่สำคัญ ให้ลองเปลี่ยนมาเป็น “ออมเงิน” แทนในทุกๆครั้ง เราก็จะรู้ได้เลยว่าเราจะได้เหลือเงินเก็บมากแค่ไหน หลังจากการจดบันทึกสมุดบัญชีครัวเรือนครบ 3 เดือนแล้ว สมาชิกในชุมชนได้เรียนรู้และมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของการจดบันทึกบัญชีครัวเรือนละเอียดมากขึ้นและสามารถนำมาบริหารจัดการครัวเรือนในเรื่องรายรับ รายจ่าย เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น สามารถพึ่งตัวเองได้ในระยะยาว

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • สมาชิกในชุมชนได้มีความรู้ความเข้าใจในการบันทึกสมุดบัญชีครัวเรือนมากยิ่งขึ้น
    • ครัวเรือนได้ทราบสถานะตนเองเกี่ยวกับรายรับรายจ่าย
    • เกิดภูมิคุ้มกันระดับครัวเรือน มีวินัยในการจ่าย การออมเพิ่มมากขึ้น

     

    110 110

    22. สนับสนุนการพัฒนาอาชีพเพาะเห็ดในร่องสวนยาง

    วันที่ 16 มีนาคม 2559 เวลา 09:00-16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เวลา 9.00 น.

    นายสุทิน อินยอดได้กล่าวต้อนรับเจ้าหน้าที่เกษตรตำบลที่รับผิดชอบในพื้นที่ตำบลปันแตกับตำบลชะมวงนายนฤเทพ บุญเรืองขาว และผู้เข้าร่วมประชุมกิจกรรมการสนับสนุนการพัฒนาอาชีพเพาะเห็ดในร่องสวนยาง
    เวลา 9.30 น.

    นายนฤเทพ บุญเรืองขาวได้คุยถึงเรื่องที่สำนักงานเกษตรอำเภอควนขนุนมีงบประมาณส่งเสริมสนับสนุนกลุ่มอาชีพเพาะเห็ดเป็นเงินจำนวน 5,000 บาทโดยให้กลุ่มนำมาบริหารจัดการกันเองและอยากให้ต่อยอดเพิ่มขึ้นและถ้าทางกลุ่มมีอะไรให้ช่วยเหลือไม่ว่าจะเป็นวิชาการ เรื่องงบประมาณสนับสนุนทางสำนักงานการเกษตรยินดีช่วยเหลือ สมาชิกได้ถกเรื่องตลาดเมื่อสมาชิกทำไปแล้วจะมีปัญหาเรื่องตลาดแม่ค้ากดราคาสินค้า ตลาดไม่แน่นอนทางเกษตรตำบลก็ยินดีช่วยเหลือ

    เวลา 10.30 น.

    ท่านวิทยากรนายเจริญ ดำแก้ว ให้ความรู้เรื่องการเพาะเห็ดฟางในสวนยาง เพาะเห็ดฟางสามารถใช้วัสดุได้หลายชนิดเช่นเปลือกถั่วเขียว ผักตบชวา ชานอ้อย ขี้เลื่อยไม้ยางพารา และทลายปาล์มน้ำมันก็เป็นวัสดุชนิดหนึ่งที่นิยมใช้มาก โดยเฉพาะในภาคใต้หาได้ง่าย ตนเองจึงทดลองนำทะลายปาล์มมาเพาะเห็ดฟางดูและก็ได้ผลจริงๆทะลายปาล์มสามารถนำมาเพาะเห็ดฟางได้ดีไม่แพ้กับการเพาะด้วยฟางข้าวและที่สำคัญที่สุดตนเองได้นำทลายปาล์มมาเพาะเห็ดในสวนยางพารา และสวนปาล์มน้ำมัน เป็นการใช้พื้นที่ที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดและเป็นการเกื้อกูลกันของพืชได้ผลประโยชน์ร่วมกันระหว่างยางพารา,ปาล์มและเห็ดเพราะต้นยางพาราหรือปาล์มน้ำมันสามารถสร้างร่มเงาและแสงแดดรำไรช่วยให้เห็ดเจริญเติบโตได้ดีขึ้น และเมื่อเห็ดหมดดอก ทะลายปาล์มก็จะกลายมาเป็นอาหารการอย่างดีให้กับต้นยางพาราหรือปาล์มน้ำมันอีกด้วย ซึ่งในการเพาะเห็ดแต่ละรอบใช้ต้นทุนไม่มากแต่ให้ผลผลิตเร็วแรกเริ่มลงทุนซื้อทะลายปาล์มน้ำมันประมาณ 5,000 บาท ต่อหนึ่งคันรถหกล้อรวมทั้งซื้อเชื้อเห็ดฟางจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ ในราคาเฉลี่ยก้อนละ 20 บาทผ้าพลาสติกคลุม และไม้ไผ่ทำโครงหลังคาสำหรับคลุมผ้าพลาสติก หลังจากที่เราโรยเชื้อเห็ดแล้วทิ้งไว้ประมาณ 12-15 วันก็สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ ส่งขายแม่ค้าในราคากิโลกรัมละ 60 บาท ซี่งผลผลิตที่เก็บได้ตกวันละ 1,500-2,000 บาท โดยเพาะสัปดาห์ละหนึ่งครั้ง ในหนึ่งเดือนได้ 4 รอบ หักค่าใช้แล้วมีรายได้เดือนหนึ่งเฉลี่ยประมาณ25000-30000 บาท ซึ่งเป็นอาชีพเสริมที่มีรายได้น่าพอใจ

    ขั้นตอน

    -เริ่มจากการสั่งทลายปาล์มน้ำมันมากองไว้ 2-3 วัน

    -รดน้ำให้ชุ่มประมาณ 2-3 ชั่วโมง

    -ใช้ผ้าใบคลุมให้มิดชิดประมาณ 6-7 วัน รอให้ทลายปาล์มนิ่ม

    -เรียงทลายปาล์มให้เป็นร่องแถวยาวประมาณ 3-4 เมตร ล้างน้ำให้สะอาด

    -โรยเชื้อเห็ดฟางลงไปบนร่องแถว โดยใช้ 1 ร่องแถวต่อเชื้อ 3 ก้อน

    -ใช้ผ้าพลาสติกหนา .1 มิลลิเมตรปิดคลุมไว้ร่องแถวยาว 4 เมตรใช้ผ้าพลาสติกยาว 5 เมตร

    -6-7 วันขึ้นโครงไม้ไผ่โดยใช้ไม้ไผ่ยาว 1.5 เมตร

    -4-5 วันเก็บผลผลิต

    ซึ่งการเพาะปลูกแต่ละครั้งให้ผลผลิต 15-20 วัน หลังจากท่านวิทยากรบรรยายเสร็จก็มีการซักถามเล็กน้อย ท่านวิทยากรก็ตอบปัญหาให้ทุกคนที่มาร่วมรับฟังกระจ่าง ตอนเที่ยงพักรับประทานอาหารกลางวัน

    เวลา 13.00 น.

    สมาชิกไปดูที่กองทลายปาล์มที่ใช้เพาะเห็ด และไปเยี่ยมชมผลงานของสมาชิกกลุ่มซึ่งตอนนี้มีสมาชิกที่ทำประจำจำนวน 20 ราย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • สภาผู้นำและสมาชิกมีความรู้เรื่องการเพาะเห็ดฟางเพิ่มมากยิ่งขึ้น
    • ทำให้มีสมาชิกเพิ่มขึ้น
    • สำหรับคนที่ทำอยู่แล้วสามารถนำไปปรับปรุงเพื่อเพิ่มผลผลิตให้มากขึ้น
    • ปัญหา ทลายปาล์มเริ่มขาดตลาดเนื่องจากทางบริษัทประมูลทำพลังงานชีวมวลให้ราคาที่สูงกว่า ค่าใช้จ่ายค้างจ่ายเนื่องจากเงินยังไม่โอนเข้าบัญชี

     

    60 53

    23. ประชุมสภาผู้นำครั้งที่ 7

    วันที่ 6 เมษายน 2559 เวลา 13.00-16.30 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เปิดประชุมเวลา 13.00 น.โดยนายสุทิน อินทร์ยอดประธานสภาผู้นำชุมชุน เปิดประชุมตามวาระต่อไปนี้


    วาระที่ 1. เรื่องการสมโภชน์พระพุทธนิรโรฯและงานกาชาด เนื่องจากจะมีการเสด็จของสมเด็จพระเทพฯมาเยือนจังหวัดพัทลุงจึงมีการจัดงานกาชาดก่อนโดยเริ่มงานวันที่ 29 เมษายน

    วาระที่ 2. เรื่องเทศกาลวันสงกรานต์ ในปีนี้เป็นนโยบายรัฐบาลเน้นย้ำให้ใช้น้ำอย่างประหยัดโดยกำหนด 7 วันอันตรายตั้งแต่ 11-17 เม.ย

    วาระที่ 3. งานประเพณีรดน้ำผู้สูงอายุ จะมีหมู่ที่ 3,11,12 รวม 3 ชุมชนในปีนี้กำหนดจัดวันที่ 7 เม.ย จำนวนผู้สูงอายุหมู่ที่ 3 จำนวน 15 คนหมู่ 11 จำนวน 7 คน หมู่ที่ 12 จำนวน 6 คน โดยทาง อบต. ปันแตให้เงินสนับสนุน 2,500 บาท

    วาระที่ 4. ลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ให้คนสำนักกอ น.ส.จริยา แก้วนพรัตน์ผู้รับผิดชอบโครงการได้พูดคุยกับผู้เข้าร่วมประชุม จากการไปศึกษาดูงานที่ชุมชนบ้านหูยานตำบลนาท่อมและบ้านทุ่งยาวตำบลโคกม่วงจะเห็นได้ว่าสมาชิกกลุ่มจะมีความกระตือรือร้นมานั่งปรึกษาปัญหาและมีแนวคิดใหม่ๆเกิดขึ้นและจากการที่มีวิทยากรมาให้ความรู้ในเรื่องการเพาะเห็ดฟางทำให้สมาชิกในชุมชนเกิดการเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองจากผลผลิตของคนที่ทำอยู่ก่อนแล้วสร้างรายได้ให้ครอบครัวอย่างงดงามเป็นคำตอบให้หลายคนคิดจะหารายได้เพิ่มจากอาชีพนี้ มีการนำเสนอในเรื่องของตลาดถ้ากลุ่มของเรามีสินค้าอย่างต่อเนื่องเราสามารถจะหาพ่อค้าคนกลางมารับซื้อถึงที่ โดยที่เราไม่ต้องไปขายเองจะลดต้นทุนไปได้อีก มีการนำเสนอการแปรรูปผลิตภัณฑ์เห็ดในรูปแบบต่างๆแต่เนื่องจากทางกลุ่มยังไม่พร้อมจึงต้องชลอไว้ก่อน

    วาระที่ 5. อื่นๆ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • สมาชิกได้รับข่าวสารทางราชการจากผู้ใหญ่บ้าน
    • สมาชิกได้พบกันได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นทำให้ชุมชนรวมตัวง่ายขึ้น
    • ครัวเรือนในชุมชนมีงานทำอย่างต่อเนื่องนำมาสู่การมีรายได้

     

    27 25

    24. ประชุมสภาผู้นำครั้งที่ 8

    วันที่ 6 พฤษภาคม 2559 เวลา 13:00-16.30 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เปิดประชุมเวลา 13.00 น.โดยนายสุทิน อินทร์ยอดประธานสภาผู้นำชุมชุน เปิดประชุมตามวาระต่อไปนี้

    วาระที่ 1. โครงการหมู่บ้านละ 200,000เป็นงบประมาณภัยแล้งนโยบายรัฐบาลต้องการให้ประชาชนอยู่ดีกินดีให้หมู่บ้านขับเคลื่อนไปให้ได้ โดยให้ประชาชนแสดงความคิดเห็นว่าจะเอามาทำอะไรให้เกิดประโยชน์สูงสุดให้มาทำประชาคมวันที่ 7

    วาระที่ 2. งบประมาณ 500,000 ของกทบ. รัฐบาลให้งบประมาณมาพัฒนาหมู่บ้านทางสมาชิกชุมชนเห็นพ้องว่าทำโรงน้ำหยอดเหรียญขึ้นหนึ่งจุดเพื่อคนในหมู่บ้านจะได้บริโภคน้ำที่สะอาดและราคาถูก

    วาระที่่ 3. เรื่องป่าไม้ชุมชน (บ้านหนองยาง) ตามมติคณะกรรมการหมู่บ้านลงมติว่าไม้ที่ใหญ่ได้ขนาดให้นายทุนเข้ามาประมูลเพื่อจะขายเนื่องจากกิ่ง ก้าน กีดขวางทางจราจรของชาวบ้านแต่จะมีการประชุมร่วมกับป่าไม้จังหวัดอีกครั้งหนึ่งว่าจะตัดโค่นได้หรือไม่

    วาระที่ 4. โครงการลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ให้คนสำนักกอ น.ส.จริยา แก้วนพรัตน์ ผู้รับผิดชอบโครงการได้ชี้แจงถึงกิจกรรม"สนับสนุนการพัฒนาอาชีพการเลี้ยงผึ้งในสวนปาล์ม"ซึ่งจะมีวิทยากรมาให้ความรู้การเลี้ยงผึ้งโพรงในสวนปาล์ม สวนยาง หรือสวนผลไม้ อยากให้ทุกคนสละเวลาเพื่อรับฟังข้อมูลความรู้ให้มากที่สุดเพื่อนำไปทำ สร้างรายได้ให้กับครอบครัวพร้อมทั้งสรุปกิจกรรมที่ผ่านมาให้เห็นประโยชน์ที่สมาชิกได้รับคือกิจกรรมการเพาะเห็ด จะเห็นได้จากการมีสมาชิกเพิ่มขึ้น คนมีรายได้เพิมขึ้น หลายคนมีความกระตือรือร้นอยากทำบ้างเมื่อเห็นคนอื่นมีรายได้ทำให้ชุมชนเริ่มตื่นตัว คนในชุมชนมีงานทำ คนในชุมชนก็เริ่มมีสุขภาพจิตดีและได้ชี้แจงในเรื่องงบประมาณงวดที่ 2 ซึ่งยังไม่ได้รับต้องรอไปก่อน

    วาระที่ 5. อื่นๆ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • สมาชิกได้รับรู้ข่าวสารทางราชการจากฝ่ายปกครอง
    • สภาผู้นำมีความรู้ความเข้าใจในการจัดกิจกรรมโครงการ แบ่งหน้าที่กันรับผิดชอบ
    • ได้ร่วมแลกเปลี่ยน วิเคราะห์ปัญหาเพื่อจะได้ร่วมกันแก้ไขต่อไป

     

    27 24

    25. สนับสนุนการพัฒนาอาชีพการเลี้ยงผึ้งในสวนปาล์ม

    วันที่ 7 พฤษภาคม 2559 เวลา 09:00-16.30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เวลา 8.00-9.00น.
    ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมฝึกอบรมการเลี้ยงผึ้่ง

    เวลา 9.00 น.

    นายสุทิน อินยอด ผู้ใหญ่บ้านกล่าวต้อนรับนายวีระพล ห้วนแจ่มและนายอ่ำ สังข์หนู วิทยากรอบรมการเลี้ยงผึ้ง นายสมนึก นุ่นด้วง นักวิชาการติดตามประเมินผลโครงการ และผู้เข้าร่วมประชุม

    เวลา 9.30น.

    นายวีระพล ห้วนแจ่ม ได้คุยให้ความรู้เรื่องการเลี้ยงผึ้งโพรง ผึ้งโพรงเป็นผึ้งที่มีอยู่ตามธรรมชาติทั่วไปทุกภาคในประเทศไทย ผึ้งโพรงจะทำรังซ้อนเรียงกันอาจจะอยู่ในโพรงไม้หรือโพรงหิน โดยมีทางเข้าออกค่อนข้างเล็กเพื่อป้องกันศัตรูจากภายนอกแต่ข้างในโพรงจะกว้างพอให้ผึ้งสร้างรวงได้ ผึ้งโพรงเป็นผึ้งที่มีอัตราการแยกรังสูงและจะทิ้งรังเดิมเมื่อสภาวะแวดล้อมไม่เหมาะสมเช่นขาดแคลนอาหารหรือศัตรูรบกวน การเลี้ยงผึ้งโพรงให้ประสบความสำเร็จนั้นผู้เลี้ยงต้องมีใจรัก อดทน มีเวลา มีความรู้ในเรื่องชีววิทยาของผึ้ง พฤติกรรมของผึ้ง การจัดการรังผึ้งและอาศัยประสบการณ์ในการเลี้ยง ท่านวิทยากรได้คุยวงจรชีวิตของผึ้ง - ระยะไข่ - ระยะตัวหนอน - ระยะดักแด้ - ระยะตัวเต็มวัย วรรณะของผึ้งจะมี - ผึ้งนางพญา จะวางไข่ ควบคุมผึ้งทั้งหมด - ผึ้งงาน จะมีหน้าที่ทำความสะอาดรัง,ให้อาหารตัวอ่อน,สร้างและซ่อมแซมรวง,ป้องกันรัง,หาอาหารและน้ำ - ผึ้งตัวผู้ ผสมพันธ์

    การเริ่มต้นเลี้ยงผึ้งโพรง

    1. การล่อผึ้ง เป็นการหาพันธ์ผึ้งโดยเลียนแบบธรรมชาติโดยการนำกล่องหรือรังเลี้ยงไปวางล่อผึ้งตามธรรมชาติในสถานที่ร่มรื่นมีแหล่งน้ำและอาหารที่สมบูรณ์ เพื่อล่อผึ้งที่หนีรัง แยกรัง หรือผึ้งที่หาที่อยู่ใหม่จะได้เข้ามาอาศัยในรังล่อผึ้งที่ตั้งล่อไว้ก่อนที่จะย้ายไปที่ที่ต้องการเลี้ยงหรือตัดรวงผึ้งบังคับเข้าคอนต่อไป

    ปัจจัยที่สำคัญในการล่อผึ้ง

    • รังล่อผึ้ง ควรทำจากไม้เก่า ใบมะพร้าว ใบจาก หรือวัสดุที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น
    • ไขผึ้ง ก่อนจะนำรังล่อผึ้งไปวางในสถานที่ที่เตรียมไว้ให้นำไขผึ้งมาทาที่ฝาด้านในรังล่อผึ้ง เพื่อดับกลิ่นยางไม้และเป็นการกระตุ้นให้เกิดกลิ่นเสน่ห์ในการเรียกผึ้งเข้ารังล่อผึ้ง
    • สถานที่ตั้ง สถานที่ตั้งรังล่อผึ้งควรมีพืช อาหารสำหรับผึ้ง มีผึ้งอาศัยอยู่ เช่น ในสวนมะพร้าว ,สวนปาล์มน้ำมัน,เงาะ,ทุเรียน ฯ และต้องเป็นที่ร่มใกล้แหล่งน้ำ
    • การจัดการ หมั่นตรวจดูรังล่อผึ้งอย่างสม่ำเสมอเพื่อไม่ให้ มด แมลงสาบ แมงมุม ปลวก และศตรูอื่นๆเข้าไปในรัง เสารังล่อผึ้งควรใช้เสาไม้ความสูงประมาณ 1 เมตรใช้ผ้าชุบน้ำมันเครื่องพันรอบเสาเพื่อป้องกันมดแมลง
    1. การบังคับผึ้งเข้าคอน คือการนำผึ้งที่อาศัยอยู่ตามธรรมชาติเช่นซอกหิน โพรงไม้ ชายคาบ้าน ในห้องน้ำ ฯลฯ หรือผึ้งที่ได้จากการรังล่อผึ้ง นำมาตัดรวงบังคับเข้าคอนแล้วนำไปวางเลี้ยงในกล่องที่เตรียมไว้โดยมีขั้นตอน
      • การเตรียมเครื่องมือ อุปกรณ์ต่างๆให้พร้อมผู้ปฏิบัติต้องแต่งกายชุดจับผึ้งให้รัดกุม
      • ลักษณะของผึ้งที่เข้าคอนได้ รังต้องสมบูรณ์ต้องมีน้ำผึ้ง เกษร ไข่ หนอน ดักแด้ และมีประชากรหนาแน่น รวงต้องไม่ต่ำกว่า 25 วันและต้องมีรวง 5-8 รวง
      • ใช้เครื่องพ่นควันพ่นใส่เบาๆ ไม่ยืนหน้ารังโดยยืนด้านข้างรังแล้วเปิดฝารังผึ้งออก
      • ทำการตัดรวงผึ้งทีละรวงจากชั้นนอกก่อนโดยใช้มีดบางๆ หรือคัดเตอร์
      • นำรวงผึ้งที่ตัดมาเข้าคอนโดยการทาบกับคอนที่ขึงลวดแล้ว 1 รวงต่อ 1 คอนใช้มีดกรีดที่รวงผึ้งลึกประมาณครึ่งหนึ่งของความหนาของรวงผึ้งตามแนวเส้นลวดและกดเส้นลวดลงไปตรงกึ่งกลางของรวงผึ้งที่กรีดร่องไว้แล้ว
      • นำรวงผึ้งที่เข้าคอนเรียบร้อยแล้วไปวางในกล่องที่เลี้ยงผึ้งที่เตรียมไว้เรียงลำดับของรวงผึ้งตามธรรมชาติ
      • จับนางพญาใส่กลักขังนำไปแขวนในกล่องผึ้งตรงกลางระหว่างคอน
      • นำกล่องผึ้งใหม่ที่ได้ไปวางบริเวณที่เดิมก่อน 1-3 วันแล้วค่อยปล่อยนางพญาผึ้ง ก่อนที่จะเคลื่อนย้ายกล่องเลี้ยงผึ้งไปไว้ที่ต้องการเลี้ยงต่อไป

    อุปกรณในการเลี้ยงผึ้ง

    • รังล่อผึ้งโพรง

    • ไขผึ้ง

    • เครื่องพ่นควัน

    • รังเลี้ยงผึ้งมาตรฐาน

    • คอนผึ้ง

    • ลวดแสตนเลส

    • ชุดป้องกันผึ้งต่อย

    • หมวกตาข่ายกันผึ้งต่อย

    • แปรงปัดตัวผึ้ง

    • กลักขังนางพญา

    • มีด

    • อุปกรณ์อื่นๆ เช่น ค้อน ตะปู เลื่อย ฯ

    พืชอาหารผึ้งโพรงที่สำคัญ * มะพร้าว ให้น้ำหวานและเกษรตลอดทั้งปี ช่วงที่มีน้ำหวานอุดมสมบูรณ์ที่สุดคือช่วงเดือนมีนาคม-สิงหาคม * เงาะ ให้เฉพาะน้ำหวาน * ยางพาราให้เฉพาะน้ำหวาน น้ำหวานจะมีมากช่วงยางพาราผลัดใบและเป็นใบเพสลาด * ปาล์มน้ำมันให้เฉพาะเกสรตลอดทั้งปี * พืชตระกูลผัก พืชไร่ ให้เฉพาะเกสรตลอดทั้งปี * ต้นเสม็ด ให้ทั้งน้ำหวานและเกสร * ต้นตำเสา ให้น้ำหวานมากช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน

    การเก็บน้ำผึ้งโพรง

    1. กรณีเลี้ยงผึ้งแบบเก่า คือเลี้ยงแบบไม่มีคอนผึ้งมาอยู่ในกล่องได้ 1-2 เดือนหรือมีรวงไม่ต่ำกว่า 4 รวง ให้ใช้มีดตัดรวงผึ้งออกจากรังประมาณ 1- 3 รวงให้เหลือรวงผึ้งไว้ในรังประมาณ 3- 4 รวงนำรวงผึ้งที่ตัดเอาเฉพาะส่วนที่เป็นน้ำผึ้งมาสับบนตะแกรงไม่ควรใช้วิธีบีบด้วยมือหรือคั่นรวงผึ้งเพราะจะทำให้เศษผงหรือชิ้นส่วนของรวงผึ้งและตัวอ่อนผสมกับน้ำผึ้งการเก็บน้ำผึ้งแบบนี้จำเป็นต้องตัดทั้งรวง ทำให้ส่วนของผึ้งอ่อนเสียไป

    2. กรณีเลี้ยงผึ้งแบบใหม่ คือเลี้ยงแบบมีคอนผึ้ง ให้ตัดเอาเฉพาะส่วนของน้ำผึ้งทั้งหมดด้านบนคอนผึ้งโดยเหลืออาหารไว้ให้ 3-4 คอน การเก็บน้ำผึ้งแบบนี้จะไม่ทำลายส่วนที่เป็นตัวอ่อนผึ้งเลย และคอนผึ้งที่เก็บน้ำผึ้งแล้วสามารถเอามาใส่กล่องเลี้ยงผึ้งต่อไปได้อีก

    การเก็บไขผึ้ง

    • นำเศษรวงผึ้งที่เหลือจากการเอาน้ำผึ้งไปใส่น้ำต้มเดือด ไขผึ้งโพรงบริสุทธิ์จากรวงผึ้งจะหลอมละลายออกมา ใช้ตะแกรงลวดตักเศษผงต่างๆให้หมด แล้วใช้ผ้าขาวบางกรอง แล้วนำไปเทใส่หล่อพิมพ์ก็จะได้ไขผึ้งโพรงบริสุทธิ์ตามต้องการ

    ศัตรูของผึ้งโพรงที่สำคัญๆ

    -พวกสัตว์ที่กินผึ้งต่างๆเช่น จิ้งจก คางคก แมงมุม นก ฯลฯ -พวกแมลงต่างๆ เช่นตัวต่อ มดแดงฯลฯ

    ท่านวิทยากรให้ความรู้ในด้านทฤษฎีเสร็จพักรับประทานอาหารกลางวัน

    เวลา 13.00 น.

    ท่านวิทยากรนายอ่ำ สังข์หนู ใด้สาธิตวิธีการจับผึ้งโพรง และสมาชิกได้ฝึกปฏิบัติการจับผึ้งโพรงด้วยตนเอง มีการคั้นน้ำผึ้งบริสุทธ์ ได้มีการซักถามหลายๆเรื่องเกี่ยวกับการเลี้ยงผึ้งโพรง ท่านวิทยากรตอบข้อซักถามอย่างละเอียดสมาชิกทุกคนเข้าใจหลังจากนั้นได้ลงเยี่ยมกลุ่มสมาชิกพร้อมทั้งปฏิบัติจริงโดยมีเจ้าหน้าที่ติดตามโครงการไปด้วย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • สมาชิกทั้ง 48 คนได้รับความรู้ในเรื่องการเลี้ยงผึ้งโพรงอย่างละเอียด และสามารถนำไปทำและปรับปรุงให้เกิดกลุ่มอาชีพที่มีรายได้กับตนเองและชุมชน
    • เกิดความสามัคคีอันแน่นแคว้นในหมู่คณะยิ่งขึ้นจากการลงไปเยี่ยมเยียนสมาชิก
    • มีผู้สนใจอาชีพสมัครเป็นสมาชิกเพิ่มอีก 2 ราย

     

    50 48

    26. ประชุมสภาผู้นำครั้งที่ 9

    วันที่ 6 มิถุนายน 2559 เวลา 13:00-16.30 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เปิดประชุมเวลา 13.00 น.โดยนายสุทิน อินทร์ยอดประธานสภาผู้นำชุมชุน เปิดประชุมตามวาระต่อไปนี้

    วาระที่ 1. ติดตามและรายงานผลการดำเนินการของโครงการต่างๆในหมู่บ้าน มีการขุดลอกหนองน้ำหนองยางเพิ่มเติม

    วาระที่ 2. ทาง ร.พ.ส.ปันแตได้เข้าร่วมประชุมกับชาวบ้านโดยมีเรื่องชี้แจง 2 เรื่อง คือโรคไข้เลือดออก กับไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ุใหม่ จะมีกลุ่มเสี่ยงกลุ่มนักเรียน กับกลุ่มเกษตรกร ให้ช่วยกันทำลายลูกน้ำยุงลาย

    วาระที่ 3. เรื่องเสนอโครงการเพื่อขอกู้ยืมเงินโครงการเศรษฐกิจชุมชน จากองค์การบริหารส่วนตำบลปันแต เพื่อเลี้ยงโคพันธ์พื้นเมืองของกลุ่มเลี้ยงโคซึ่งมีอยู่แล้ว

    วาระที่ 4. ลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ให้คนสำนักกอ นายสุทิน อินยอดได้กล่าวนำเรื่องที่ไปศึกษาดูงานมาจากบ้านหูยานตำบลนาท่อม และที่บ้านควนยวนตำบลโคกม่วงทำให้เราได้เรียนรู้ได้สัมผัสหลายสิ่งหลายอย่างจากชุมชนอื่นที่เขาประสพความสำเร็จในความเป็นอยู่ของครัวเรือน เราสามารถเอามาเป็นต้นแบบ ซึ่งทางบ้านสำนักกอเองก็มีกลุ่มต่างๆหลายกลุ่มแต่มีจุดอ่อนหลายด้านจึงจำเป็นที่เราต้องหันเข้าหากันช่วยกันปรับปรุงแก้ไข ค่อยเป็นค่อยไปเราก็สามารถที่จะเข้มแข็งเหมือนชุมชนอื่นได้ ที่สำคัญแกนนำต้องเข้มแข็ง และจากการมีโครงการ สสส.เข้ามาในหมู่บ้านทำให้เกิดกลุ่มเพาะเห็ดฟาง และกลุ่มเลี้ยงผึ้งโพรงขึ้นและชาวบ้านเริ่มมีรายได้เพิ่มถือว่าเป็นสิ่งที่ดีและคิดว่าจะนำ 2 กลุ่มนี้เข้าแผนชุมชนต่อไป

    วาระที่5. อื่นๆ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้พบปะและรับรู้ข่าวสารประจำทุกเดือน
    • สมาชิกส่วนหนึ่งที่ยังไม่มีส่วนร่วมได้เห็นผลลัพธ์
    • สภาผู้นำได้เข้าใจในการจัดกิจกรรมแต่ละครั้งและได้ข้อสรุป และผลลัพธ์ตามมา

     

    27 23

    27. ประชุมสภาผู้นำครั้งที่ 10

    วันที่ 6 กรกฎาคม 2559 เวลา 13:00-16.30 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เปิดประชุมเวลา 13.00 น.โดยนายสุทิน อินทร์ยอดประธานสภาผู้นำชุมชุน เปิดประชุมตามวาระต่อไปนี้

    วาระที่ 1. เรื่องที่ประชุมแจ้งให้ทราบคณะกรรมการศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตยมาให้ความรู้ในเรื่องการลงประชามติ

    วาระที่ 2. เรื่องการขุดลอกแหล่งน้ำในหมู่บ้านโดยโครงการหมู่บ้านละ 200,000 มีความยาว 300 เมตร กว้าง 15 เมตร ลึก 4 เมตร

    วาระที่ 3. เรื่องกฎหมายเกี่ยวกับการประมงการจับปลา โดยผิดกฎหมายมาตรา 58 โดนปรับ 300,000 -500,000 บาท

    วาระที่ 4. เรื่องยาเสพติดและการขโมยทรัพย์สิน

    วาระที่ 5. เรื่องลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ให้คนสำนักกอ นายสุทิน อินยอดได้กล่าวถึงการที่ตนเองและสมาชิกได้ไปศึกษาดูงานที่ชุมชนต้นแบบที่ประสบความสำเร็จ อยากให้หมู่บ้านของสำนักกอได้เอามาพัฒนาและรวมกลุ่มให้เข้มแข็งให้ได้และจากการมีการสนับสนุนกลุ่มอาชีพ 2 กลุ่มจะเห็นได้ว่าชุมชนของเรามีความกระตือรือร้น ประชาชนในหมู่บ้านมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการเพาะเห็ดฟางและเป็นการสร้างรายได้อย่างต่อเนื่อง อยากให้หลายๆคนลองทำดู ถ้ามีปัญหาหรือไม่เข้าใจขั้นตอนทางกลุ่มก็ยินดีช่วยเหลือ"พี่สอนน้อง"ส่วนการเลี้ยงผึ้งโพรงอาจต้องใช้เวลานานหน่อย จึงจะเห็นผลผลิต และตอนนี้ทางหมู่ที่ 3 เป็นหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ตอนเย็นชาวบ้านมีการออกกำลังกายทุกวัน มีการปลูกผักสวนครัวปลอดสารพิษกินเอง มีการตำเครื่องแกงกินเอง ทำให้ชาวบ้านมีสุขภาพดีขึ้น สุขภาพจิตก็ดี ปัญหาโรคร้ายก็จะลดลง และอยากให้ชุมชนของเราเป็นชุมชนที่พึ่งตัวเองได้โดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

    วาระที่6. อื่นๆ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • สมาชิกได้พบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
      • สมาชิกได้รู้ข่าวสาร
      • สภาผู้นำได้รู้เข้าใจระบบการทำงานยิ่งขึ้น

     

    27 24

    28. ประชุมสภาผู้นำครั้งที่ 11

    วันที่ 6 สิงหาคม 2559 เวลา 13:00-16.30 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เปิดประชุมเวลา 13.00 น.โดยนายสุทิน อินทร์ยอดประธานสภาผู้นำชุมชุน เปิดประชุมตามวาระต่อไปนี้

    วาระที่ 1. ประธานชี้แจงให้ที่ประชุมทราบ 1.1. การออกมาลงประชามติในวันที่ 7 สิงหาคม 2559 ผู้ใหญ่บ้านได้เน้นย้ำให้ทุกคนที่มีสิทธิออกมาใช้สิทธิให้มากที่สุดและทำเครื่องหมายกากบาทเท่านั้น 1.2. ห้ามจำหน่ายสุราบริเวณเขตลงประชามติ 1.3. ห้ามเมาสุราในบริเวณเขตลงประชามติ

    วาระที่ 2. วันที่ 12 สิงหาคม วันแม่แห่งชาติ จะมีการปลูกต้นไม้ขอให้พี่น้องม. 3 ทุกคนร่วมแรงร่วมใจปลูกต้นไม้เฉลิมพระเกียรติที่แหล่งน้ำบ้านหนองยางในเวลา 13.00 น.โดยพร้อมเพรียงกัน

    วาระที่ 3. เรื่องการขึ้นทะเบียนผู้มีรายได้ต่ำ ซึ่งเฉลี่ยต่อปีไม่เกิน 100,000 บาท โดยที่ทุกคนที่มีรายได้ตามหลักเกณฑ์สามารถไปขึ้นทะเบียนได้ที่ ธ.ออมสิน,ธ.ธกส.,ธ.กรุงไทยซึ่งจะหมดเขตในวันที่ 15 สิงหาคม 2559 นี้

    วาระที่ 4. เรื่องการขึ้นทะเบียนเกษตรกรเพิ่มเติม ในกรณีที่เกษตรกรเปลี่ยนแปลงการปลูกพืชเช่นเดิมปลูกยางพาราแล้วเปลี่ยนมาปลูกปาล์มน้ำมันแทนให้ไปขึ้นทะเบียนใหม่หรือใครที่ตกค้างการขึ้นทะเบียนครั้งก่อนให้ไปรับเอกสารแบบฟอร์มที่บ้านผู้้ใหญ่บ้าน

    วาระที่ 5. ลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ให้คนสำนักกอ น.ส.จริยา แก้วนพรัตน์ ผู้รับผิดชอบโครงการได้ชี้แจงเรื่องงบประมาณว่าตอนนี้เรามีอีก 2 กิจกรรมที่ยังต้องทำร่วมกันคือกิจกรรมสรุปบทเรียนของกลุ่มอาชีพกับประชุมสภาผู้นำครั้งที่ 12 ซึ่งตอนนี้ ได้ใช้จ่ายเงินทั้งหมด 139,067 บาทในงวดนี้เงินคงเหลือ 17,633 บาท ซึ่งการที่จะจัดกิจกรรมครั้งต่อไปต้องสำรองจ่ายและเมื่อปิดบัญชีงวดที่ 2 แล้วก็จะมีการโอนงวดสุดท้ายให้จำนวน 17,404 บาท และจากการดำเนินงานตามโครงการ มาทั้งหมดเราจะเห็นว่ากิจกรรมจะเน้นลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนและเพิ่มรายได้ในครัวเรือนโดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงจากการทำบัญชีครัวเรือนจะเห็นได้ว่าเราสามารถลดสิ่งที่ไม่จำเป็นลงได้และสามารถสร้างรายได้เพิ่มจากกลุ่มอาชีพ มีการเปลี่ยนแปลงของคนในหมู่บ้านจากความเป็นอยู่เริ่มดีขึ้น มีสภาพคล่องในการใช้เงิน และบวกกับกลู่ม อสม.เรื่องสุขภาพจะเห็นกลุ่มเสี่ยงลดลง สมาชิกในหมู่บ้านสุขภาพดีขึ้นจากอาหารการกิน ปลูกผักกินเอง "ผักสวนครัวรั้วกินได้"และเป็นผักปลอดสารพิษ จากการออกกำลังกายทุกวัน ผู้สูงอายุก็สบายใจจะมาทำบุญที่ศาลาหมู่บ้าน ทุกเดือนจะมีการทำบุญเลี้ยงพระ ถ้าเป็นอย่างนี้หมู่บ้านของเราก็จะมีแต่ความสุขตลอดไป

    วาระที่ 6. วาระอื่นๆ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

      - สภาผู้นำและสมาชิกได้พบปะกันทุกเดือนได้รู้ข่าวสารแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน   - สภาผู้นำได้รู้และเข้าใจในการจัดกิจกรรมแต่ละครั้งและร่วมรับผิดชอบวางแผนในการจัดกิจกรรมครั้งต่อไป  

     

    27 23

    29. การประชุมร่วมกับ สสส. สจรส.ม.อ. และพี่เลี้ยงผู้ติดตาม

    วันที่ 21 สิงหาคม 2559 เวลา 09:00-16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ลงทะเบียน

    • คุณเสณี จ่าวิสูตร กล่าวต้อนรับผู้ร่วมโครงการ

    • คุณเสณี จ่าวิสูตร ชี้แจงรายละเอียดการติดตามความหน้าของโครงการ

    • พักเที่ยง

    • คุณจุรีย์ หนูผุด ชีแจงรายละเอียดการลงรายงานในเวปไซส์ การเงินและการแยกประเภทค่าใช้จ่าย

    • ส่งเอกสารหลักฐานการเงินดูความถูกต้องโดยพี่เลี้ยงโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้เรียนรู้การลงรายละเอียดการรายงานกิจกรรมผ่านทางเว็ปไซส์เพิ่มมากขึ้น
    • ได้เรียนรู้การลงรายละเอียดในเอกสารการเงิน การแยกประเภทค่าใช้จ่ายและสามารถนำไปใช้ในการทำเอกสารด้านการเงินได้อย่างถูกต้อง

     

    3 2

    30. สรุปบทเรียนของกลุ่มอาชีพ

    วันที่ 5 กันยายน 2559 เวลา 09:00-16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เวลา 09.00-09.30 ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมกิจกรรม

    เวลา 09.30 น. นายอัมพล อินยอด ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านกล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุมและพัฒนากรอำเภอ นางวิภา เอกหิรัณยราษฎร์ ซึ่งให้เกียรติมาร่วมกิจกรรมสรุปบทเรียนของกลุ่มอาชีพในวันนี้ และได้กล่าวนำการจัดเวทีสรุปบทเรียนของสมาชิกโครงการ และนำเสนอรูปแบบลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ การเพาะเห็ด การเลี้ยงผึ้งโพรง ให้สมาชิกในชุมชนและประชาชนทั่วไปได้เรียนรู้พร้อมทั้งสรุปผลงานตลอดโครงการ เราจะได้อะไรบ้างจากการจัดโครงการทั้งหมด ชุมชนของเรามีความเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง จะมีการต่อยอดโครงการได้อย่างไร และได้เชิญนางวิภา เอกหิรัณยราษฎร์ พัฒนากรอำเภอพบปะกับพี่น้องท่านได้กล่าวถึงหมู่บ้านสำนักกอเป็นหมู่บ้านที่มีความพร้อมมีการร่วมมือที่ดี มีกลุ่มอาชีพหลายกลุ่ม พร้อมทั้งมีงบประมาณอุดหนุนหลายโครงการอย่างโครงการภัยเแล้งก็สามารถสร้างรายได้ให้กับสมาชิกในชุมชนได้ระดับหนึ่งสมาชิกในหมู่บ้านมีการปลูกผักปลอดสารพิษกินเองเพื่อลดต้นทุนซึ่งทางหมู่บ้านยังได้รับการคัดเลือกเป็นเมืองเกษตรสีเขียวจะเห็นถึงความอุดมสมบูรณ์อยากให้สมาชิกที่ยังไม่ได้ทำลงมือทำดูซึ่งตอนนี้ก็มีเงินทุนสนับสนุนในส่วนกองทุนหมู่บ้าน ล้านที่สอง ถ้าเรานำมาต่อยอดคิดว่าทุกคนก็จะประสพความสำเร็จในระดับหนึ่งพร้อมทั้งให้กำลังใจยินดีให้คำปรึกษาจากนั้นพิธีกรแนะนำสมาชิกนางเครือพันธ์ อินทเสโณ ที่ประสบความสำเร็จในการทำอาชีพเสริมดังนี้

    1.การเพาะเห็ดฟาง นางเครือพันธ์ อินทเสโณได้แชร์ประสบการณ์ให้สมาชิกรับฟังว่า ตนเองเริ่มต้นจากการไปดูคนอื่นทำก่อนแล้วสอบถามรายละเอียด ขั้นตอน วิธีการทุกอย่าง แล้วกลับมาทำของตนเองในช่วงแรกได้รับผลไม่เต็มที่ แต่ทำไปก็มีประสบการณ์งานจะสอนตัวเอง แล้วได้พัฒนาปรับปรุงไปเรื่อยๆจนผลออกมาเป็นที่น่าพอใจการเพาะเห็ดฟางสามารถใช้วัสดุได้หลายชนิดเช่นเปลือกถั่วเขียว ผักตบชวา ชานอ้อย ขี้เลื่อยไม้ยางพารา และทลายปาล์มน้ำมันก็เป็นวัสดุชนิดหนึ่งที่นิยมใช้มาก โดยเฉพาะในภาคใต้หาได้ง่าย ตนเองและสมาชิกจึงทดลองนำทะลายปาล์มมาเพาะเห็ดฟางดูและก็ได้ผลจริงๆทะลายปาล์มสามารถนำมาเพาะเห็ดฟางได้ดีไม่แพ้กับการเพาะด้วยฟางข้าวและที่สำคัญที่สุดตนเองกับสมาชิกได้นำทะลายปาล์มมาเพาะเห็ดในสวนยางพารา และสวนปาล์มน้ำมัน เป็นการใช้พื้นที่ที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดและเป็นการเกื้อกูลกันของพืชได้ผลประโยชน์ร่วมกันระหว่างยางพารา,ปาล์มและเห็ดเพราะต้นยางพาราหรือปาล์มน้ำมันสามารถสร้างร่มเงาและแสงแดดรำไรช่วยให้เห็ดเจริญเติบโตได้ดีขึ้น และเมื่อเห็ดหมดดอก ทะลายปาล์มก็จะกลายมาเป็นอาหารอย่างดีให้กับต้นยางพาราหรือปาล์มน้ำมันอีกด้วย ซึ่งในการเพาะเห็ดแต่ละรอบใช้ต้นทุนไม่มากและเห็ดก็ให้ผลผลิตเร็วโดยมีวัสดุอุปกรณ์ดังนี้

    • ทะลายปาล์มน้ำมัน 1 คันรถหกล้อ ทำร่องเห็ดได้ 40 ร่องยาวร่องละ 4 เมตร เป็นเงิน3,000 บาท
    • เชื้อเห็ดฟางจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ ในราคาเฉลี่ยก้อนละ 20 บาท ใช้ 160 ก้อน เป็นเงิน 3200 บาท
    • ผ้าพลาสติกคลุม 3 ม้วๆ ละ 550 บาท และไม้ไผ่หาได้จากชุมชนทำโครงหลังคาสำหรับคลุมผ้าพลาสติก เป็นเงิน 1650 บาท

    รวมการทำเห็ 1 ครั้ง ต้องใช้เงินลงทุน 7,850 บาท ไม่รวมค่าแรง หลังจากที่เราโรยเชื้อเห็ดแล้วทิ้งไว้ประมาณ 12-15 วันก็สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ ส่งขายแม่ค้าในราคากิโลกรัมละ 60 บาท ซี่งผลผลิตที่เก็บได้ตกวันละ 1,500-2,000 บาท โดยเพาะสัปดาห์ละหนึ่งครั้ง ในหนึ่งเดือนได้ 4 รอบ หักค่าใช้จ่ายแล้วมีรายได้เดือนหนึ่งเฉลี่ยประมาณ 25000-30000 บาท ซึ่งเป็นอาชีพเสริมที่มีรายได้น่าพอใจ จากนั้นทางพิธีกรได้เชิญสมาชิกกลุ่มเลี้ยงผึ้งโพรง


    2. การเลี้ยงผึ้งโพรง นายอ่ำ สังข์หนู ได้แชร์ประสบการณ์การเลี้ยงผึ้งโพรงว่า ว่าตนเองเลี้ยงผึ้งโพรงมาหลายปีแล้วประกอบกับตนเองมีอาชีพทำสวนยางพาราและสวนผลไม้ผสมผสานจะมีมังคุด,เงาะ,ส้มโอ,กระท้อน,ลองกองแล้ววันหนึ่งได้เห็นผึ้งมาอาศัยอยู่ที่ต้นกระท้อนทำรังค่อนข้างใหญ่ประมาณหนึ่งเดือนตนเองก็ตีผึ้งได้น้ำผึ้งบริสุทธ์ 3 ขวด ขายได้ 900 บาทช่วงนั้นน้ำผึ้งขวดละ 300 บาทตนเองคิดว่ามีกำไร 100 % แต่ไม่ได้มีประสบการณ์หรือความรู้ในการเลี้ยงผึ้งเลยหลังจากตนเองได้ไปเรียนรู้ดูงานการเลี้ยงผึ้งตามโครงการนี้ที่ตำบลนาท่อมแล้วกลับมาเลี้ยงผึ้งอย่างจริงจังโดยอาศัยความรู้ที่ได้จากการดูงานจึงคิดว่าการเลี้ยงผึ้งไม่ได้ลงทุนอะไรมากเลยนอกจากลังครั้งแรกตนเองจึงได้ทำลังไม้สี่เหลี่ยมแบบง่ายๆไปวางไว้ในสวนหลายลังซึ่งเป็นช่วงที่ไม้ผลออกดอกมีตัวผึ้งเยอะ วางไว้หลายวันก็มีผึ้งเข้าไปทำรังในลังที่วางไว้เมื่อได้เวลาเก็บเกี่ยว ตนเองก็ได้น้ำผึ้งบริสุทธ์มาขาย และช่วงไม่นานก็สามารถเก็บน้ำผึ้งได้อีก ซึ่งต้นทุนในการเลี้ยงผึ้งแทบจะไม่มีเลยอาศัยเวลาจะช้าหน่อยแต่ให้ผลตอบแทนที่งดงามหลังจากวันนั้นก็ได้หาความรู้เพิ่มเติมด้วยการไปปรึกษากับคนที่เขามีประสบการณ์ในการเลี้ยงผึ้ง ที่ไหนมีการให้ความรู้ตนเองก็จะไปเข้ารับฟังการอบรม และได้มาปรับปรุงพัฒนาของตนเองจนทุกวันนี้ตนเองมีกล่องรังผึ้งประมาณ 25 ลังซึ่งมีตัวผึ้งเข้าไปอาศัยอยู่ 17 ลัง ตนเองจะมีรายได้จากการเลี้ยงผึ้งปีนี้ประมาณ 30,000 บาท(ขวดละ 500 บาท) ซึ่งเป็นรายได้เสริมที่น่าพอใจเหมือนเรามีบ้านเช่าแล้วเดินเก็บค่าเช่าเป็นรายปี

    นายอ่ำยังเสริมความรู้การเลี้ยงผึ้งต่อไปอีกว่า เราจะเห็นได้ว่าผึ้งโพรงมีอยู่ทั่วไปทุกพื้นที่ที่มีอาหารคือน้ำหวาน เกสรดอกไม้ โดยธรรมชาติแล้วผึ้งโพรงจะทำรังสร้างรวงซ้อนเรียงกันอยู่ในโพรงไม้หรือโพรงหิน มีปากทางเข้าค่อนข้างเล็กเพื่อป้องกันศัตรู ผึ้งโพรงเป็นผึ้งที่มีอัตราการแยกรังค่อนข้างสูงและจะทิ้งรังเดิมไปหาที่อยู่ใหม่ต่อเมื่อสิ่งแวดล้อมไม่เหมาะสม เช่นขาดแคลนอาหารหรือมีศัตรูรบกวนการเลี้ยงผึ้งโพรงให้ประสบความสำเร็จนั้น ผู้เลี้ยงจะต้องมีใจรัก อดทน มีเวลาและมีความรู้ในเรื่องชีววิทยาของผึ้ง พฤติกรรมของผึ้ง การจัดการรังผึ้ง และอาศัยประสบการณ์ในการเลี้ยงผึ้ง เพื่อจะได้จัดการรังผึ้งอย่างมีประสิทธิภาพและประสบความสำเร็จอยากให้สมาชิกในหมู่บ้านหันมาสนใจการเลี้ยงผึ้งโพรงเพิ่มขึ้นเพื่อรายได้ของครอบครัว

    น.ส.จริยา แก้วนพรัตน์ ผู้รับผิดชอบโครงการได้สรุปกิจกรรมทั้งหมดของโครงการที่ได้ดำเนินการมาเป็นเวลาหนึ่งปี จะเห็นได้จากการไปศึกษาดูงานจากหมู่บ้านชุมชนต้นแบบ เราสามารถมาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตัวเอง และจากการทำบัญชีครัวเรือนทำให้เรามีการวางแผนในการจ่าย ลดสิ่งที่ไม่จำเป็นลงทำให้เราลดปัญหาหนี้สินลงด้วย ทุกคนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม สมาชิกสนใจที่จะมีส่วนร่วมกิจกรรมมากขึ้น และสนใจที่จะเรียนรู้ในเรื่องการเพาะเห็ดฟาง,การเลี้ยงผึ้งโพรงซึ่งทั้งสองกลุ่มอาชีพนี้ ได้ผลลัพธ์เป็นที่น่าพอใจและทั้งหมดเกิดจาก ความร่วมมือ การร่วมแรง ร่วมใจกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จนเกิดความสำเร็จในระดับหนึ่ง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • สมาชิกในชุมชนเห็นความสำคัญของกลู่มอาชีพมีความกระตือรือร้น
    • มีรายได้เกิดขึ้นกับครัวเรือนที่เข้าร่วมกลุ่มอาชีพเพาะเห็ด,เลี้ยงผึ้งโพรง
    • ทำให้เกิดกลุ่มอาชีพที่มั่นคงขึ้นในชุมชนและสามารถพึ่งตัวเองได้ในระยะยาว

     

    130 113

    31. ประชุมสภาผู้นำครั้งที่ 12

    วันที่ 6 กันยายน 2559 เวลา 13:00-16.30 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เปิดประชุมเวลา 13.00 น.โดยนายสุทิน อินยอดประธานสภาผู้นำชุมชุน เปิดประชุมตามวาระต่อไปนี้

    วาระที่ 1. เรื่องแจ้งให้ทราบ กองทุนหมู่บ้านได้รับอนุมัติงบประมาณเพิ่มอีก 1,000,000 บาท ซึ่งจะมีการประชุมสามัญประจำปีในวันที่ 20 /9/59 และรับคืนเงินกู้ทั้งหมดในวันที่15 /9/59 ขอให้สมาชิกทุกคนรับทราบและบอกต่อคนที่ไม่ได้มาประชุมวันนี้ด้วย

    วาระที่ 2. เรื่องการแก้ปัญหาน้ำท่วม ซึ่งทางกองพันทหารช่าง 4502 ค่ายอิงคยุทธ ได้มีงบประมาณสนับสนุนในการขุดลอกคูระบายน้ำจากหนองทุงไปถึงบ้านศาลากองเกวียนเพื่อเป็นการเตรียมการในหน้าฝนที่จะมาถึง

    วาระที่ 3. เรื่องการทำบุญในวันสารทเดือนสิบ จะมีการจัดงานบุญสารทเดือนสิบที่โรงเรียนบ้านสำนักกอซึ่งมีการจัดทุกปีจะจัดวันที่ 14 จะมีการตั้งหมรับด้วยขอให้ทุกคนช่วยบอกบุญต่อๆกันไปและมาทำบุญร่วมกัน

    วาระที่ 4. ลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ให้คนสำนักกอ จากการจัดกิจกรรมสรุปบทเรียนของกลุ่มอาชีพการเพาะเห็ดและการเลี้ยงผึ้ง และจากการทำบัญชีครัวเรือนเป็นแผนเพื่อลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ให้ครัวเรือนเมื่อวันที่ 5 ที่ผ่านมาทำให้สมาชิกในชุมชนได้เข้าใจการทำสมุดบัญชีครัวเรือนมากยิ่งขึ้นและสามารถทราบสถานะของตนเองเกี่ยวกับรายรับรายจ่ายทำให้เกิดภูมิคุ้มกันในครัวเรือนของตนเอง จะเห็นจากกลุ่มเพาะเห็ดจะมีรายได้ทุกวันหลายคนเมื่อเห็นคนอื่นทำแล้วได้รับผลเป็นที่น่าพอใจก็อยากทำบ้างจึงทำให้เกิดกลุ่มเพาะเห็ดที่ใหญ่ขึ้นจากสมาชิกที่เริ่มต้นเพียงไม่กี่คนตอนนี้สมาชิกหลายสิบคน อยากให้ชุมชนสำนักกอเป็นชุมชนเข้มแข็งใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสามารถพึ่งตนเองได้ในระยะยาวหลังจากนั้น น.ส.จริยา แก้วนพรัตน์ได้ชี้แจงในเรื่องงบประมาณทั้งหมดที่จัดกิจกรรมมาจวบปิดโครงการและได้กล่าวขอบคุณพี่น้องชาวสำนักกอที่ร่วมแรงร่วมใจในการทำงานจนกิจกรรมทั้งหมดลุล่วงมาด้วยดีและได้เห็นความเปลี่ยนแปลงหลายอย่างเกิดขึ้นในชุมชนอยากให้รักษาความสามัคคีนี้ไว้ตลอดไป 16.30 น. ปิดการประชุม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้รับรู้ข่าวสารความเคลื่อนไหวของชุมชน

    • ได้พบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในกลุ่ม

    • ได้ทราบผลลัพธ์ของการจัดกิจกรรมโครงการ

    • เกิดความสามัคคีในหมู่คณะมากขึ้นมีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

     

    27 23

    32. ร่วมงานสร้างสุขภาคใต้

    วันที่ 3 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ลงทะเบียน วันจันทร์ ที่ ๓ ตุลาคม ๒๕๕๙ ๑๒.๐๐ - ๑๓.๐๐ น. การแสดงโขน ตอน ศึกพรหมาสตร์ ศูนย์ส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พิธีเปิด การร่วมกันร้องเพลงชาติไทย ๑๓.๐๐ - ๑๓.๑๐ น. กล่าวต้อนรับ โดย นายทรงพลสวาสดิ์ธรรม ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ๑๓.๑๐ - ๑๓.๒๐ น. กล่าวเปิดโดย นายแพทย์วีระพันธ์สุพรรณไชยมาตร์ รองประธานคณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ๑๓.๓๐ - ๑๕.๐๐ น. ปาฐกถา เรื่อง “บทบาทของประเทศไทยในการเป็นผู้นำการพัฒนานวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพในภูมิภาคอาเซียน”โดย นายอภิสิทธิ์เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี ๑๕.๐๐ - ๑๕.๓๐ น. รายงานสุขภาวะคนใต้ สรุปภาพรวมการดำเนินงานสร้างสุขภาคใต้ปีที่ผ่านมา โดย ผศ.ดร.ภก.พงค์เทพสุธีรวุฒิ ผู้อำนวยการสถาบันการจัดการระบบสุขภาพ (สจรส.ม.อ.) ๑๕.๓๐ - ๑๗.๐๐ น. เสวนา “มุมมองใหม่ในการพัฒนาระบบสุขภาพในอนาคต” โดย ผศ.ดร.อิสมาอีลลุตฟี จะปะกียา อธิการบดีมหาวิทยาลัยฟาฏอนี นายพงษ์ศักดิ์ยิ่งชนม์เจริญนายกเทศมนตรีนครยะลา นายทวีวัตรเครือสาย ตัวแทนภาคประชาสังคมจังหวัดชุมพร นายแพทย์ยอร์นจิระนครสาธารณสุขนิเทศก์ เขตสุขภาพที่ ๑๒ ผู้ดำเนินรายการเสวนา : นายแพทย์บัญชาพงษ์พานิช ๑๘.๐๐ - ๒๐.๐๐ น. ลานปัญญาสร้างสุข แลกเปลี่ยนความรู้ นวัตกรรม วันอังคาร ที่ ๔ ตุลาคม ๒๕๕๙ ๐๘.๐๐ - ๐๙.๐๐ น. ลานปัญญาสร้างสุข แลกเปลี่ยนความรู้ นวัตกรรม ๐๙.๐๐ - ๑๒.๐๐ น.การประชุมห้องย่อย ๑. การพัฒนาและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วม พื้นที่ ๑๔ จังหวัดภาคใต้ ๒. การท่องเที่ยวชุมชนเพื่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ๓. กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น ๔. สานพลังขับเคลื่อนชุมชนน่าอยู่ สู่นโยบายสาธารณะ ๕. ความมั่นคงทางมนุษย์ : การลดปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ • ๐๙.๐๐ - ๑๒.๐๐ น.การนำเสนอผลงานวิชาการ ห้องนำเสนอผลงานวิชาการกลุ่ม ๑ ห้องนำเสนอผลงานวิชาการของชุมชน เรื่องเล่าเร้าพลังลานสื่อสร้างสุข ๑๒.๐๐ - ๑๔.๐๐ น. ลานปัญญาเสวนา แลกเปลี่ยนเรียนรู้นวัตกรรม ลานศาลาเรือนไทย ๑๔.๐๐ - ๑๗.๐๐ น. การประชุมห้องย่อย ๑. การพัฒนาและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วม พื้นที่ ๑๔ จังหวัดภาคใต้ (ต่อ) ๒. ความมั่นคงทางอาหาร ๓. กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น (ต่อ) ๔. สานพลังขับเคลื่อนชุมชนน่าอยู่ สู่นโยบายสาธารณะ (ต่อ) ๖.การพัฒนาเด็ก เยาวชนและครอบครัว ๗.ระบบสุขภาพการแพทย์พหุวัฒนธรรม ๑๔.๐๐ - ๑๗.๐๐ น. การนำเสนอผลงานวิชาการ ห้องนำเสนอผลงานวิชาการกลุ่ม ๑ (ต่อ) ห้องนำเสนอผลงานวิชาการกลุ่ม ๒ (ต่อ) ห้องนำเสนอผลงานวิชาการของชุมชน เรื่องเล่าเร้าพลัง (ต่อ) ๑๘.๐๐ - ๒๐.๐๐ น. ลานปัญญาเสวนา แลกเปลี่ยนเรียนรู้นวัตกรรม ซึ่งในวันนี้ก็ได้เข้าร่วม การประชุมห้องย่อย สานพลังขับเคลื่อนชุมชนน่าอยู่สู่นโยบายสาธารณะ โดยในเวลา 09.00 น. เริ่มกิจกรรม เริ่มด้วยการร่วมสนุกเต้นเพลงchicken dance ร่วมกันก่อน และหลังจากนั้น ก็ได้มีการเสวนา ในหัวข้อเรื่อง สานพลังชุมชนน่าอยู่สู่นโยบายสาธารณะ โครงการสร้างคนรักษ์สิ่งแวดล้อมที่บ้านทุ่งยาวตำบลโคกม่วงอำเภอเขาชัยสนจังหวัดพัทลุงซึ่งจากปัญหาในหมู่บ้านในเรื่องวิกฤติภัยแล้งทำฝาย ปลูกป่า ขยะ ไฟไหม้ป่าซึ่งจะใช้ฐานข้อมูลพื้นที่กำหนดทิศทางในการทำงาน ซึ่งคนในชุมชนมีส่วนร่วมกัน มีการแบ่งภาระงานเป็นหุ้นส่วน ร่วมกันทำงานในชุมชน ซึ่งมีโครงการจาก สสส เป็นฐานโดยมีอบต. สนับสนุนงบ ประมาณและนักวิชาการ ช่วยเสริม หัวหน้าสำนักปลัด นวก.สาธารณสุขจนท.อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (ทสจ.) ราชการช่วยจัดการขยะซึ่งจะทำให้ตื่นตัวมากขึ้นซึ่งมีปัจจัยแห่งความสำเร็จโดยการมีผู้นำ ซึ่งนำแบบมีส่วนร่วม ใช้ความรู้ เกิดความร่วมมือ แบ่งภารกิจ และการหนุนเสริมข้อมูลเด่นเฉพาะชุมชน คือ มีพื้นที่ป่าสงวนเต็มพื้นที่ โดยการกำหนดกติกาชุมชน คือ ใช้พื้นที่แล้วต้องปลูกป่าเพิ่ม กันเขตพื้นที่ เป็นพื้นที่ฟื้นฟูมีการเชื่อมโยงเครือข่าย จาก ทสม. (อาสาจัดการทรัพยากรและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม) ภาควิชาการ (มอ.ปัตตานี ม.ทักษิณ) หลังจากจบการเสวนาก็ ชม การแสดงโขนคนตอน เชิดพระอิศวร 10.10 น. นำเสนอกรณีศึกษาประเด็นการคัดแยกขยะโครงการร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่บ้านห้วยลึกจัดการขยะชุมชนตำบลทรายขาวอำเภอคลองท่อมจังหวัดกระบี่ 10.30น. นำเสนอกรณีศึกษาประเด็นเศรษฐกิจพอเพียงโครงการแหลมยางนาพึ่งพาเศรษฐกิจพอเพียงตำบลตะโกอำเภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร 11.50น.นำเสนอกรณีศึกษาประเด็นเด็กและเยาวชนโครงการปันตงสร้างสุขบ้านสี่แยกวัดโหนดตำบลโพธิ์ทอง อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช 11.20 น. ผู้ทรงคุณวุฒิให้คำแนะนำการขับเคลื่อนชุมชนสู่ข้อเสนอเชิงนโยบาย 14.00 น. นำเสนอกรณีศึกษาประเด็นการจัดการทรัพยากรและการท่องเที่ยวโครงการการจัดการท่องเที่ยววิถีชุมชน บ้านท่าฉัตรชัยตำบลนาท่อม ตำบลไม้ขาวอำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต 14.20 น.นำเสนอกรณีศึกษาประเด็นการจัดการสุขภาพและอาหารปลอดภัยโครงการชุมชนหูยานบ้านน่าอยู่สู่การจัดการตนเองตำบลนาท่อมอำเภอเมืองจังหวัดพัทลุง 14.40 น. ผู้ทรงคุณวุฒิให้คำแนะนำการขับเคลื่อนชุมชนสู่ข้อเสนอเชิงนโยบาย 15.30 แลกเปลี่ยนเรียนรู้ การขับเคลื่อนงานชุมชนน่าอยู่ สู่การยกระดับเชิงนโยบายโดย อ.กำไล สารักษ์ และ อ.สุวิทย์ เมื่อเสร็จกิจกรรมการเสวนาแลกเปลี่ยนกันก็คนที่เข้าร่วมกิจกรรมในห้องประชุมย่อยก็ได้มาจับมือร่วมกันเป็นวงกลม และร้องเพลงศรัทธาร่วมกัน วันพุธที่ ๕ ตุลาคม ๒๕๕๙ ๐๘.๐๐ - ๐๙.๐๐ น. ลานสร้างสุข แลกเปลี่ยนความรู้ นวัตกรรม ลานศาลาเรือนไทย ๐๙.๐๐ - ๑๐.๓๐ น. สรุปข้อเสนอเพื่อการขับเคลื่อนการสร้างเสริมสุขภาพของภาคใต้ ๑๐.๓๐ - ๑๑.๔๕ น. เสวนาเรื่อง “การขับเคลื่อนระบบสุขภาพของประเทศไทยสู่การเป็นผู้นำภูมิภาคอาเซียน”โดย  นายแพทย์ศักดิ์ชัยกาญจนวัฒนารักษาการเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ  ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ผู้จัดการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ  นายแพทย์พลเดชปิ่นประทีป เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ  รศ.ดร.วิลาสินีพิพิธกุล รองผู้อำนวยการองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยสถานีโทรทัศน์ (TPBS)ผู้ดำเนินการอภิปราย นางสาวณาตยา แวววีรคุปต์ ๑๑.๔๕ - ๑๒.๐๐ น. พิธีปิด

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สถานการณ์สุขภาวะและได้เรียนรู้ถึงกระบวนการประสานงานภาคีเครือข่ายในการขับเคลื่อนงานในหน่วยงานต่่างๆที่เกี่ยวข้องกับเรื่องสุขภาพ ได้เข้าร่วมรับฟังการเสนวนาของพื้นที่ชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่หลายๆพื้นที่มาพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการทำงาน แนวทางการทำงาน การวางแผนงาน การบริหารจัดการคน พบเจออุปสรรคอะไร แก้ไขอย่างไร ที่จะให้โครงการดำเนินงานได้ตามแผนงาน ตามวัถถุประสงค์ ให้เห็นผลต่อชุมชน และได้พบปะแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับพื้นที่ต่างๆที่มาออกบูธ เห็นถึงความร่วมมือร่วมใจของแต่ละพื้นที่ ความตั้งใจที่จะมานำเสนอพื้นที่ให้คนที่เข้าร่วมงานได้รู้จัก ถึงกระบวนการทำงาน และผลงานเด่นมีอะไรบ้าง เป็นสร้างแรงจูงใจที่ดีสำหรับคนทำงานด้วยกัน.กลุ่มเป้าหมายได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน ได้สร้างเครือข่ายกันระหว่างกลุ่มเป้าหมาย ได้แนวคิดในการจัดทำแผนชุมชนต่อไป

     

    2 3

    33. รายงานโครงการ

    วันที่ 14 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00-16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดเตรียมเอกสารหลักฐานการเงินประกอบเป็นชุดกิจกรรมพร้อมทั้งลงรายงานในเว็ปไซส์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้จัดเตรียมเอกสารหลักฐานการเงิน ตรวจสอบความถูกต้องรายละเอียดในใบสำคัญรับเงิน บิลเงินสด รายละเอียดการหักภาษี ณ ที่จ่าย เอกสารประกอบใบสำคับรับเงิน ได้จัดทำเอกสารหลักฐานการเงินประกอบเป็นชุดกิจกรรม ทุกกิจกรรมเป็นที่เรียบร้อย ได้ตรวจสอบรายงานกิจกรรมผ่านเว็ปไซส์ มีความสมบรูณ์ของเนื้อหาสารที่สำคัญ มีภาพประกอบกิจกรรมทุกกิจกรรม ได้ลงบันทึกรายงานผ่านเว็ป ให้ถูกต้อง ครบถ้วน ในทุกเนื้อหาสาระของกิจกรรม พร้อมสรุปสาระสำคัญ

     

    3 2

    34. การประชุมร่วมกับ สสส. สจรส.ม.อ. และพี่เลี้ยงผู้ติดตาม

    วันที่ 14 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00-16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ช่วงเช้า เตรียมข้อมูลให้พี่เลี่ยงตรวจเอกสารคือ ตรวจความเรียบร้อยของการบันทึกบัญชีและการรายงานผลลงเว็ป/พร้อมรูป
      • ช่วงบ่าย ส่งเอกสารให้พี่เลี้ยงตรวจความเรียบร้อยก่อนส่งให้การเงินกลางตรวจความถูกต้อง เพื่อส่งเอกสารปิดโครงการวันที่ 30 ตุลาคม 2559

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผู้รับผิดชอบโครงการและการเงินได้เรียนรู้ และการเตรียมเอกสารปิดโครงการการทำรายงานความก้าวหน้า การบัญทึกข้อมูล
    • คณะทำงานได้รับรู้ แก้ไขปรับปรุง เอกสารโครงการให้ถูกต้องตามผู้ตรวจกลาง
    • เอกสารยังไม่เรียบร้อยต้องแก้ไขเล็กน้อยก่อนส่งงาน

     

    2 2

    35. ถ่ายภาพกิจกรรม

    วันที่ 14 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    การประชุมจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์เพื่อปิดโครงการโดยในวันนีได้เดินทางมาที่ รพ. นาท่อมเพื่อมาทำรายงานฉบับสมบูรณ์ เพื่อเตรียมปิดโครงการได้ตรวจเช็คเอกสารด้านการเงิน การบันทึกข้อมูลในเว็บไซต์บันทึกข้อมูลกิจกรรมต่างๆ รายละเอียดของกิจกรรมการบันทึกรูปในเว็ปไซส์ให้ครบถ้วนสมบูรณ์และให้พี่เลี้ยงได้ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสาร และข้อมูลในเว็ปไซส์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1 . สามารถจัดทำเอกสารและหลักฐานทางการเงินได้ถูกต้อง 2.  สามารถปิดโครงการและสรุปผลการดำเนินงานได้

     

    2 2

    36. ประชุมจัดทำรายงานผลงานฉบับสมบูรณ์ปี 2558

    วันที่ 15 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ลงทะเบียน ส่งเอกสารการเงินการรายงานกิจกรรมผ่านเว็บไซต์ ตรวจโดย สจรส.มอ.

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ส่งเอกสารหลักฐานเงิน ตรวจสอบความถูกต้อง
      • ส่งรายงานกิจกรรมผ่านเว็บไซต์ ตรวจสอบความถูกต้อง
      • สรุปการตรวจเอกสารหลักฐานการเงินถูกต้อง รายงานกิจกรรมผ่านเว็บไซต์ถูกต้องสมบูรณ์ พร้อมออกรายงานฉบับสมบูรณ์

     

    2 2

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

     

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 เพื่อให้มีสภาผู้นำชุมชนที่เข้มแข็ง
    ตัวชี้วัด : 1. มีสภาผู้นำชุมชนที่มาจากการคัดเลือกของที่ประชุมหมู่บ้านร่วมกับคณะกรรมการหมู่บ้านอย่างน้อย 25 คน 2. มีการประชุมอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง 3. มีการประชุมแต่ละครั้งจะมีผู้เข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่า 80 % 4. การประชุมแต่ละครั้งมีการปรึกษาหารือเรื่องโครงการและอื่นๆของชุมชน 5. มีการพัฒนาสภาผู้นำ

    มีสภาผู้นำชุมชนที่ได้ประชุมทุกเดือน

    2 เพื่อการลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ เพิ่มการออมกับกลุ่มที่มีในชุมชนด้วยการเรียนรู้จากสถานะเศรษฐกิจครัวเรือน
    ตัวชี้วัด : 1. มีข้อมูลรายรับรายจ่ายหนี้สินของครัวเรือนและชุมชน 2. มีแผนปฏิบัติการเพื่อลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ 3. มีข้อมูลบัญชีครัวเรือน 4. มีกลุ่มอาชีพเสริมรายได้(เลี้ยงผึ้ง การเพาะเห็ด) 5. มีการออมกับกลุ่มสัจจะ 6. มีข้อตกลงของชุมชนเพื่อเป็นมาตรการลดรายจ่าย 7. มีการคืนข้อมูลสู่ชุมชน

    จากการเก็บข้อมูลเศรษฐกิจครังเรือน 130 ครอบครัว เพื่อวิเคราะแนวโน้มเศรษฐกิจชุมนซึ่งพบว่าชุมชนมีรายรับ 27.4 ล้านบาทมีรายจ่าย 25.2 ล้านบาท มีรายได้ 2.2 ล้าน มีหนี้สิน 2.6 ล้านบาท

    3
    ตัวชี้วัด :

     

    4 เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ
    ตัวชี้วัด : 1. มีการเข้าร่วมการประชุมกับ สสส. สจรส.ม.อ. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของจำนวนครั้งที่จัด 2. มีการจัดทำป้าย "สถานที่นี้ปลอดบุหรี่" ติดตั้งในสถานที่จัดกิจกรรม 3. มีการถ่ายภาพการดำเนินงานทุกกิจกรรม 4. มีการจัดทำรายงานส่ง สสส. ตามระยะเวลาที่กำหนด
    • เข้าร่วมประชุมกับพี่เลี้ยง และ สจรส.ม.อ.ทุกครั้ง ร้อยละ 100
    • มีป้ายปลอดบุหรี่ในชุมชน 1 ป้าย
    • มีภาพถ่ายรูปกิจกรรมประกอบการทำรายงาน และสามารถส่งรายงานได้ทันในเวลาที่กำหนด

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้มีสภาผู้นำชุมชนที่เข้มแข็ง (2) เพื่อการลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ เพิ่มการออมกับกลุ่มที่มีในชุมชนด้วยการเรียนรู้จากสถานะเศรษฐกิจครัวเรือน (3)  (4) เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    ส่วนที่ 3 ประเมินคุณค่าโครงการ

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ

    ชื่อโครงการ ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ให้คนสำนักกอ

    รหัสโครงการ 58-03981 รหัสสัญญา 58-00-1913 ระยะเวลาโครงการ 15 กันยายน 2558 - 15 ตุลาคม 2559

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นการคุณค่าที่เกิดจากโครงการในมิติต่อไปนี้

    • ความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพและนวัตกรรมเชิงระบบสุขภาพชุมชน
    • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีผลต่อสุขภาวะ
    • การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ
    • ผลกระทบเชิงบวกและนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาวะชุมชน
    • กระบวนการชุมชน
    • มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่

    1. เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้ใหม่ / องค์ความรู้ใหม่

    ความรุ้ใหม่ในการเลี้ยงผึ้ง ที่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมของชุมชน เลี้ยงง่าย ต้นทุนน้อย การลงทุนเพียงครั้งเดียวโดยการทำลังซึ่งใช้วัสดุทั้งหมดจากในชุมชน เลี้ยงแล้วมีรายได้ดี ผลผลิตมีความยืดหยุ่นสูง ไม่เสียหายเก็บได้นาน

    กลุ่มเลี้ยงผึ้งที่เกิดขึ้นใหม่ และควใส่ใจของประธานกลุ่มที่สามารถถ่ายทอดความรู้การเลี้ยงผึ้งให้กับคนในชุมชนได้

    ส่งเสริมเป็นอาชีพเสริมของชุมชนต่อไป

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สิ่งประดิษฐ์ / ผลผลิตใหม่

    น้ำผึ้ง ที่ได้จากกลุ่มเลี้ยงผึ้ง ราคาขายขวดละ 500 บาท ไม่พอต่อความต้องการของตลาด

    กลุ่มเลี้ยงผึ้ง ติดต่อที่นายอ่ำสังข์หนู ประธานกลุ่ม

    พัฒนาเป็นสินค้าชุมชน ระบุชื่อ มีตรา แหล่งที่มาและจะประสานกับเครือข่ายผู้เลี้ยงผึ้งของบ้านควนปันแต เพื่อพัฒนาผลผลิตและบรรจุภัณฑ์

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. กระบวนการใหม่

    ใช้กระบวนการประชุมกลุ่มจัดการกลุ่มเลี้ยงผึ้ง และกระบวนการมีส่วนร่วมของสภาผู้นำชุมชนในการส่งเสริมการกิจกรรมของกลุ่ม และการการประชุมสภาผู้นำในการจัดการชุมชน

    มีการประชุมสภาผู้นำทุกเดือน ปรากฏตามรูปภาพแต่สมาชิกยังขาดทักษะการใช้การกระบวนการประชุมเพื่อพัฒนาชุมชน

    พัฒนาความรู้ ทักษะ สภาผู้นำอย่างต่อเนื่อง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. วิธีการทำงาน / การจัดการใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การเกิดกลุ่ม / โครงสร้างในชุมชนใหม่

    เกิดกลุ่มอาชีพเสริมการเลี้ยงผึ่้ง และกลุ่มอาชีพเสริมการเพาะเห็ด

    มีโครงสร้างการจัดการกลุ่ม และปฏิบัติการอย่างต่อเนื่อง ติดต่อที่ นายอำ่สังข์หนู

    ขยายฐานการผลิต และพัฒนาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชน โดยใช้กลไกภาครัฐเข้ามาช่วยเหลือสนับสนุนต่อไป

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. แหล่งเรียนรู้ใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    99. อื่นๆ

     

     

     

    2. เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การบริโภค

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การออกกำลังกาย

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. การลด ละ เลิก อบายมุข เช่น การพนัน เหล้า บุหรี่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การลดพฤติกรรมเสี่ยง เช่น พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การขับรถโดยประมาท

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. การจัดการอารมณ์ / ความเครียด

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. การดำรงชีวิต / วิถีชีวิต เช่น การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น / สมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเอง

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    8. พฤติกรรมการจัดการตนเอง ครอบครัว ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    9. อื่นๆ

     

     

     

    3. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. กายภาพ เช่น มีการจัดการขยะ ป่า น้ำ การใช้สารเคมีเกษตร และการสร้างสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนที่ถูกสุขลักษณะ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สังคม เช่น มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ลดการเกิดอุบัติเหตุ ครอบครัวอบอุ่น การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อเด็ก เยาวชน และกลุ่มวัยต่าง ๆ มีพื้นที่สาธารณะ/พื้นที่ทางสังคม เพื่อเอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชน มีการใช้ศาสนา/วัฒนธรรมเป็นฐานการพัฒนา

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. เศรษฐกิจสร้างสรรค์สังคม /สร้างอาชีพ / เพิ่มรายได้

    การสร้างอาชีพเสริมรายได้ด้วยการเลี้ยงผึ้ง

    และการเพาะเห็ดฟางด้วยกากทลายปาล์มน้ำมัน

    กลุ่มเลี้ยงผึ้ง ที่นายอ่ำสังข์หนู

    กลุ่มเพาะเห็ด ที่นางเครือพันธ์ อินทเสโณ

    ประสานกลไกรัฐมาสนับสนุนต่อยอด

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการบริการสุขภาพทางเลือก และมีช่องทางการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. อื่นๆ

     

     

     

    4. การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. มีกฎ / กติกา ของกลุ่ม ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. มีมาตรการทางสังคมของกลุ่ม ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. มีธรรมนูญของชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. อื่นๆ เช่น ออกเป็นข้อบัญญัติท้องถิ่น ฯลฯ

     

     

     

    5. เกิดกระบวนการชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. เกิดการเชื่อมโยงประสานงานระหว่างกลุ่ม / เครือข่าย (ใน และหรือนอกชุมชน)

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเรียนรู้การแก้ปัญหาชุมชน (การประเมินปัญหา การวางแผน การปฏิบัติการ และการประเมิน)

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ประโยชน์จากทุนในชุมชน เช่น การระดมทุน การใช้ทรัพยากรบุคคลในชุมชน

    ใช้ภูมิปัญญาชุมชนในการส่งเสริมความรู้การเลี้ยงผุ้ง การเพาะเห็ด

    การเลี้ยงผึ้งนายอ่ำสังข์หนุเป็นวิทยากร

    การเพาะเห็ด นางเครือพันธ์ อินทเสโณ เป็นวิทยากร

    ส่งเสริมให้มีการเรียนรู้จากการปฏิบัติและให้ชุมชนใช้ประโยชน์จากภูมิปัญญา อย่างต่อเนื่อง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกลุ่มและชุมชนที่เกิดจากโครงการอย่างต่อเนื่อง

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. เกิดกระบวนการจัดการความรู้ในชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. เกิดทักษะในการจัดการโครงการ เช่น การใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ การทำแผนปฏิบัติการ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. อื่นๆ

     

     

     

    6. มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเอง / กลุ่ม / ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเห็นประโยชน์ส่วนรวมและส่วนตนอย่างสมดุล

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย และพอเพียง

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. ชุมชนมีความเอื้ออาทร

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. มีการตัดสินใจโดยใช้ฐานปัญญา

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. อื่นๆ

     

     

     

    ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ให้คนสำนักกอ จังหวัด พัทลุง

    รหัสโครงการ 58-03981

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( น.ส. จริยา แก้วนพรัตน์ )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด