แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


“ เกษตรอินทรีย์บนความพอเพียง บ้านสหกรณ์ ”

บ้านสหกรณ์ ม.8 ต.นาปะขอ อ.บางแก้ว จ.พัทลุง

หัวหน้าโครงการ
นาย สุพล เกตุแก้ว

ชื่อโครงการ เกษตรอินทรีย์บนความพอเพียง บ้านสหกรณ์

ที่อยู่ บ้านสหกรณ์ ม.8 ต.นาปะขอ อ.บางแก้ว จ.พัทลุง จังหวัด พัทลุง

รหัสโครงการ 58-03990 เลขที่ข้อตกลง 58-00-2238

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 15 กันยายน 2558 ถึง 15 ตุลาคม 2559


กิตติกรรมประกาศ

"เกษตรอินทรีย์บนความพอเพียง บ้านสหกรณ์ จังหวัดพัทลุง" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน บ้านสหกรณ์ ม.8 ต.นาปะขอ อ.บางแก้ว จ.พัทลุง

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
เกษตรอินทรีย์บนความพอเพียง บ้านสหกรณ์



บทคัดย่อ

โครงการ " เกษตรอินทรีย์บนความพอเพียง บ้านสหกรณ์ " ดำเนินการในพื้นที่ บ้านสหกรณ์ ม.8 ต.นาปะขอ อ.บางแก้ว จ.พัทลุง รหัสโครงการ 58-03990 ระยะเวลาการดำเนินงาน 15 กันยายน 2558 - 15 ตุลาคม 2559 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 174,410.00 บาท จาก เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 450 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

 

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. 1.เพื่อลดรายจ่ายการผลิตและรายจ่ายในครัวเรือน
  2. สร้างกระบวนการเรียนรู้ตระหนักถึงความสำคัญของเกษตรอินทรีย์เศรษฐกิจพอเพียงลดรายจ่าย เพิ่มรายได้
  3. เพื่อสนับสนุนปฏิบัติการสร้างเกษตรตามเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชน
  4. พัฒนากลไกให้เกิดสภาผู้นำ มีกฏกติกา ข้อตกลงร่วมกันในการแก้ไขปัญหาส่งเสริมคนในชุมชนให้มีส่วนร่วมสร้างชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง
  5. เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

     


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. การปฐมนิเทศโครงการร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่ภายใต้ ปี 2558

    วันที่ 29 กันยายน 2558 เวลา 09:00-16:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    รับฟังผู้บรรยาย
    1. ชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับเว็บไซต์เกี่ยวกับการบริหารจัดการโครงการ การรายงานผลเว็บไซต์ การบริหารจัดการความเสี่ยงของโครงการ 2. การสังเคราะห์ผลของโครงการร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่ภายใต้ ปี 2558 3. การบริหารติดตามสนับสนุนโครงการร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่ 4. ผู้รับผิดชอบโครงการกรอกข้อมูลรายละเอียดโครงการ ลงในเว็บไซต์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • เข้าใจเกี่ยวกับความรู้ในการทำเว็บไซต์และการบันทึกโครงการร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่ภายใต้ ปี 2558
    • ได้รับความรู้การจัดทำใบสำคัญรับเงิน การเขียนรายงานในเวบไซต์
    • ได้ลงปฏิทินแผนงานโครงการทุกกิจกรรม
    • ได้แลกเปลี่ยนกับพี่เลี้ยงและเครือข่ายในการทำโครงการ

     

    2 3

    2. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 1

    วันที่ 8 ตุลาคม 2558 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • เปิดการประชุมเวลา13.00 น. โดยนายสุพล เกตแก้ว
    • วาระที่1 นายสุพล เกตแก้ว ผู้ใหญ่บ้านชี้แจงที่มาของโครงการเกษตรอินทรีย์บนความพอเพียงบ้านสหกรณ์กล่าวถึงการได้มาของงบประมาณสนับสนุนโครงการที่เน้นให้มการทำำเกษตรแบบพอเพียงหรืิอเกษตรอินทรีย์เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายภายในครัวเรือน
    • วาระที่2 การบริหารงานของคณะกรรมการแบ่งหน้าที่ในการรับผิดชอบในแต่ละด้านตามความถนัดของแต่ละคน
    • วาระที่3 น.ส.จุฑาธิป ชูสงค์ พี่เลี้ยงจาก สสส.ได้กล่าวถึงการขับเคลื่อนโครงการกับทีมงานเครื่อข่ายร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่ให้ประสบความสำเร็จตามโครงการนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในชุมชนเป็นทาสงให้ชุมชนสามารถพึงตนเองได้คนในชุมชนมีสุขภาพดีขึ้นครัวเรือนมีความสุขความอบอุ่น

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • สมาชิกสภาผู้นำได้รับรู้เรื่องการทำเกษตรอินทรีย์บนความพอเพียงบ้านสหกรณ์ ได้ทราบถึงวัตถุประสงค์การดำเนินงาน การติดตามประเมินผลตลอดโครงการ การแบ่งงานรับผิดชอบในแต่ละด้าน และการบริหารเงินในกิจกรรมต่างๆ

     

    20 30

    3. เวทีเปิดโครงการและคัดเลือกอาสาสมัครเป็นครอบครัวต้นแบบ

    วันที่ 16 ตุลาคม 2558 เวลา 13:00 -15.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • วาระที่ 1 นายสุพลเกตแก้ว ผู้ใหญ่บ้านแจ้งให้ทราบเรื่องที่มาสของโครงการและแนะนำให้รู้จักกับทีมงาน สสส. ที่ได้เข้ามาดูและให้ความรู้กับชาวบ้าน
    • วาระที่ 2 นางปารีณา ภคโร ได้ชี้แจงเรื่องข้อมูลรายจ่ายของประชนนหมู่ 8 และการให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนให้โครงการเดินหน้าไปได้
    • วาระที่ 3 นายเสณี จ่าวิสูตร ให้ความร้เรื่องที่มาของโครงการวัตถุประสงค์ของโครงการคือการลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ในครัวเรือน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • สรุปการประชุมเปิดตัวโครงการ ประชาชนในชุมชนได้เเรียนรู้รับทราบถึงวัตถุประสงค์ของโครงการ ได้รับรู้ที่มาของเงิน สสส.การบริหารการเงินของคณะกรรมการการดำเนินงานในกิจกรรมต่างๆในการเข้าร่วมกิจกรรม
    • ได้ข้อสรุปการแก้ปัญหาการลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ คือ
    1. การทำบัญชีครัวเรือนเพื่อให้ได้รับรู้สถานะของแต่ลครัวเรือนเพื่อปรับลดในสื่งที่ไม่จำเป็น
    2. การมีอาชีพเสริม เช่น การปลูกผัก 25 ชนิด การเลี้ยงสััตว์ไว้กินเอง
    3. การทำผลิตภัณท์ขึ้นมาใช้เอง เช่น ยาสระผม น้ำยาปรับผ้านุ่ม
    4. การมีกองทุนข้าวสาร
    5. มีร้านค้าสวัสดิการในชุมชน

     

    100 69

    4. ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 2

    วันที่ 8 พฤศจิกายน 2558 เวลา 11.00-13.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ผู้ใหญ่ดำเนินการประชุมแจ้งวาระการประชุมเรื่องการปรับตำแหน่งรับผิดชอบของสภาผู้นำ และวางแผนการไปศึกษาดูงาน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • คณะทำงานเข้าร่วมประชุม จำนวน 20 คน ได้แลกเปลี่ยนรายงานการทำงานและวางแผนที่ประชุม จะไปเรียนรู้จากสถานที่ตัวอย่างด้านเกษตรอินทรีย์ เศรษฐกิจพอเพียง ณ บ้านไม้เรียง จ.นครศรีธรรมราช
    • ปรับตำแหน่งรับผิดชอบของสภาผู้นำ ให้นางจรรยา นิลพันธ์ มาเป็นผู้ช่วยเลขานุการ นางสุพิศ แสงจันทร์ ดูแลเรื่องอาหาร และผู้ช่วยทางการเงิน

     

    20 20

    5. ทำป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่

    วันที่ 20 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ทำป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่ จำนวน 1 ป้าย นำไปติดในชุมชนเพื่อประชาสัมพันธ์โครงการและรณรงค์พื้นที่งดสูบบุหรี่

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้ป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่จำนวน 1 ป้าย นำไปติดที่ศาลาประชาคมหมู่บ้าน ซึ่งเป็นพื้นที่ดำเนินกิจกรรมของโครงการ

     

    150 150

    6. อบรมการเขียนรายงานและจัดการเอกสารการเงิน สจรส.มอ

    วันที่ 21 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • เวลา 09.00 น ผู้เข้าอบรมพร้อมกันที่วิทยาลัยภูมิปัญญาชุมชน จ.พัทลุง
    • เวลา 09.30 น พี้เลี้ยงโครงการ คุณเสนีย์ กล่าวต้อนรับผู้เข้าอบรม และคุณฮามีด๊ะ จาก สจรส.ชี้แจงวัตถุประสงค์ของการจัดอบรม
    • เวลา 09.45 น อ.ไพฑูรย์ ชี้แจงการเขียนรายงาน และการหักภาษี ณ ที่จ่าย
    • เวลา 10.30 น คุณสุทธิพงษ์ ชี้แจงการใช้งานใน web และการทำเอกสารการเงิน
    • เวลา 13.30 น ฝ่ายการเงิน สจรส.ตรวจเอกสารการเงินของผู้รับทุน และให้คำแนะนำเพิ่มเติมในส่วนที่ยังไม่สมบูรณ์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผู้รับผิดชอบโครงการและฝ่ายการเงินของโครงการได้เข้ารับการฝึกอบรมจำนวน 3 คน
    • ผู้รับการฝึกอบรมมีความรู้ความเข้าใจในการทำรายงานเอกสารการเงิน เข้าใจรายการค่าใช้จ่ายที่ต้องหักภาษี และเริ่มหักภาษีเดือนธันวาคม 2558
    • ได้รับคำแนะนำการจัดทำเอกสารการเงิน ให้แก้ไขในส่วนที่ไม่ถูกต้อง เช่น การเขียนใบสำคัญรับเงิน การหักภาษี และแก้ไขการเขียนรายงานในเวบไซต์

     

    3 3

    7. เวทีพัฒนาศักยภาพการจัดทำข้อมูล

    วันที่ 30 พฤศจิกายน 2558 เวลา 10.00-16.00.น น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. นายสุพลเกตแก้ว เปิดเวทีการประชุมเวลา 10 .00 น. ชี้แจงให้ทราบถึงการจัดเก็บข้อมูลครัวเรื่อนเพื่อการปรับลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนให้ลดลง
    2. เจ้าหน้าที่จาก ธกส. นายสุธรรม ให้ความรู้กรอบการจัดทำข้อมูล การจัดทำบัญชีครัวเรือน
    3. นางปารีณา ภคุโล เจ้าหน้าที่เกษตรชี้แจ้งเกี่ยวกับการเพิ่มรายได้ลดรายในครัวเรือน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้คณะทำงานจำนวน 10 คน และ ผู้ที่เกี่ยวข้องและคนในชุมชนได้รับความรู้ความเข้าใจจากการดำเนินโครงการ
    • ได้เครื่องมือที่จะจัดเก็บข้อมูลจำนวน 1 ชุด และกำหนดช่วงเวลาในการจัดเก็บ ช่วงระยะเวลาเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์

     

    35 31

    8. ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 3

    วันที่ 8 ธันวาคม 2558 เวลา 13.008 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • เปิดการประชุมเวลา 13.00 น โดยนานสุพล เกตุแก้ว ผู้ใหญ่บ้าน
    • วาระที่1 นายสุพล เกตุแก้ว ผู้ใหญ่บ้านชี้แจงที่มาของโครงการเกษตรอินทรีย์บนความพอเพียง บ้านสหกรณ์ กล่าวถึงการได้มาของงบประมาณสนับสนุนโครงการ ที่เน้นให่้มีการทำเกษตรแบบพอเพียง หรือเกษตรอินทรีย์เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายในภาคครัวเรือน
    • วาระที่ 2 การบริหารงานของคณะกรรมการ แบ่งหน้าที่รับผิดชอบในแต่ละด้านตามความถนัดของแต่ละคน
    • วาระที่ 3 นางสาว จุฑาทิพย์ ชูสงค์ พี่เลี้ยงจาก สสส.ได้กล่าวถึง การขับเคลือนโครงการ กับทีมงานเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่ให้ประสบความสำเร็จตามโครงการเพื่อนำไสู่การเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดี มีการแลกเปลี่ยนความรู้ในชุมชนเป็นนำทางในชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้คนในชุมชนมีสุขภาพกายดี มีจิตใจดีขึ้น ครัวเรือนมีความสุขความอบอุ่น

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • คณะทำงานได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการและกิจกรรม การติดตามประเมินผลของ สสส.ให้โอกาสจัดทำโครงการ การสนับสนุนงบประมาณเป็นเวลา 3 ปี โดยการประเมินในแต่ละรอบปีให้ชุมชนสามารถเดินได้ย่างต่อเนื่องและปลดภาระหนี้สินได้ และการมีส่วนร่วมของคน 3 วัยในชุมชน และทราบวัตถุประสงค์ของการดำเนินงาน คือ ต้องการให้เกิดภาคการเกษตรระบบพอเพียง
    • การแลกเปลี่ยนความรู้ในชุมชนที่เป็นทางนำที่สามารถพึ่งพาตนเองได้ คือ ให้ครัวเรือนมีการจัดทำบัญชีครัวเรือน เพื่อให้รู้สถานะของครอบครัวตัวเอง และสามารถปรับลดในส่วนที่ไม่จำเป็นลงได้

     

    20 20

    9. ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 4

    วันที่ 8 มกราคม 2559 เวลา 13:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วาระที่ 1 เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ

    • ประธานเปิดการประชุมในเวลา 13.30 ผู้ใหญ่บ้านได้กล่าวถึงกิจกรรมของ อ.บางแก้ว เรื่องการเยี่ยมของคณะแพทย์ พอสว. ในวันที่ 21 มกราคม 2559 ณ โรงเรียนบางแก้วพิทยาคม
    • เรื่องของ สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.)  ว่าด้วยหลัการจ่ายเงินชดเชยชาวสวนยางพารา โดยให้ชาวสวนยางมายืนยันการใช้สิทธิ์ในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2559 และ 16 กุมภาพันธ์ 2559

    วาระที่ 2 เรื่องสืบเนื่องทางการเงินกองทุนต่างๆในหมู่บ้าน

    • ว่าด้วยเงิน กข.สจ มีการปล่อยเงินกู้จำนวนหนึ่ง สำหรับลูกหนี้ กข.ศจ ที่ยังค้างชำระจะให้เว้นอีก 1 เดือน
    • เงินกองทนหมุ่บ้าน อัตราอกเบี้ยในรอบที่ผ่านมาอยู่ที่ ร้อยละ 12% ต่อปี

    วาระที่ 3 เรื่องการเเงิน

    • ค่าใช้จ่ายในการประชุมสภาผู้นำประจำเดือนมีดังนี้ 1.ค่าอาหารว่าง 500 บาท 2.ค่าประสานงาน 100 บาท รวม 600 บาท

    วาระที่ 4 เรื่องอื่นๆ

    1. สถานบรการที่เข้ามาเปิดบริการในพื่นที่
    2. เรื่อง อสม.รพ.สต. บ้านเกาะเคียน

    ผญ.บ้านปิดการประชุม เวลา 15.30 น. 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้แผนการดำเนินงานและกำหนดแผนปฏิบัติการโครงการจำนวน 1 ชุด และปรับปรุงให้เหมาะสมกับสถานการณ์
    • มีแผนแบ่งบทบาทรับผิดชอบในการแลกเปลี่ยนดูงาน

     

    20 15

    10. แลกเปลี่ยนเรียนรู้ปฏิบัติการชุมชนน่าอยู่ ชุมชนสามารถจัดการตนเอง ต้นแบบชุมชนไม้เรียง

    วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 07.00-19.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • นัดรวมเวลา 07.00 น. เดินทางไปบ้านไม้เรียง เริ่่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับแกนนำศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจชุมชนไม้เรียง กล่าวต้อนรับโดย ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดไม้เรียง ได้แนะนำ ชุมชนได้ทำงานร่วมกับโรงเรียนเป็นโรงเรียนเศรษฐกิจพอเพียงครบวงจร เช่น เลี้ยงปลาปลูกผัก เพื่อปลูกฝังให้เด็กได้ศึกษา
    • อ.ประยงค์ รณรงค์ กล่าวต้อนรับและเป็นผู้ริเริ่มพึ่งตนเอง แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง การจัดทำแผนชุมชน และเล่าเรื่องสร้างชุมชนน่าอยู่ไม้เรียง การแก้ปัญหาและสร้างความเข้มแข็งชุมชน เชื่อว่าปัญหาทุกปัญหาแก้ได้โดยการขยันอดทนต่อการแก้ปัญหาใช้สติปัญญาในการแก้ปัญหาได้ถาวร
    • แลกเปลี่ยนเรื่องราคายางพารา
    • ผู้ใหญ่บ้านม.8 กล่าวขอบคุณทางศูนย์เรียนรู้และมอบของขวัญที่ระลึก
    • บ่ายลงเยี่ยมจุดสาธิตของแปลงเรียนรู้เรื่องของปลูกพืชหลากหลายมีการคัดพันธ์และขยายพันธ์ศูนย์รวบรวมกล้าไม้ของตำบล การปลูกผักข้างบ้าน
    • สรุปผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้ความรู้เรื่องแนวคิดการพึ่งตนเอง จากการพูดคุยกับลุงประยงค์ รณรงค์ ว่า การทำเกษตรโดยหลีกเลี้ยงการใช้สารเคมีและสามารถพึ่งตนเองได้ ชุมชนรู้ปัญหาของชุมชน คือ ความไม่รู้ แนวทางแก้ปัญหาจึงเน้นการให้ความรู้แก่คน รวบรวมคนที่มีความรู้ในตำบล และหน่วยงานมาแลกเปลี่ยนให้ความรู้นำความรู้มาใช้ร่วมเดินไปพร้อม ๆ กันเพื่อพัฒนาชุมชนไปในแนวทางเดียวกัน และสามารถทำได้ไม่เกินความสามารถของตนเอง ด้วยการทำแผนชุมชนถ้าเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง ต้องนำมาปฏิบัติด้วย เหตุผลประกอบการตัดสินใจคือ1.รู้จักตัวเอง2.รู้จักประมาณตน 3.รู้จักข้อมูลวิเคราะห์ข้อมูล เงื่อนไขความรู้ รอบรู้ รอบคอบ ความซื่อสัตย์สุจริตทรัพยากรบุคคลขยันอดทนและตั้งใจแก้ปัญหา
    • การสร้างความเข้มเข้มแข็งจะต้องแบ่งปัน เป็นการสร้างที่อยู่ถาวรและยั่งยืนชุมชนไม้เรียงมี 10 หมู่บ้าน มีแกนนำคน 20 เปอร์เซ็นต์ที่เห็นร่วมลงมือทำเห็นผลมาช่วยกันทำ อีก 65 เปอร์เซ็นต์ คอยจับตามองถ้าไม่สำเร็จคอยซ้ำเติมแต่ถ้าสำเร็จมีคนที่สนใจเพิ่มมาอีก 15่ เปอร์เซ็นต์
    • ข้อเสนอแนะได้ต้องรอให้คนส่วนใหญ่พร้อมแต่เริ่มจาก20 เปอร์เซ็นต์ ที่เห็นด้วยมาลงมือทำวางแผนให้รอบคอบเริ่มต้นในช่วงที่ชาวบ้านกำลังเดือดร้อน
    • แลกเปลี่ยนสถานการณ์ยางยางราคาถูกในอาเชียมีการปลูก 30 ประเทศ จีนปลูกได้เองแนวโน้มในอนาคตยางจะสูงขึ้นอีก 5-6 ปี ประมาณ กก.ละ 60-70 บาท ปรับเปลี่ยนปลูกยางแซมพืชอื่นไม่พึ่งยางอย่างเดียว ปรับปลูกยางไร่ละ 40ต้นปลูกห่างกัน 9 เมตร x 4 เมตรระหว่างแซมกล้วยผลไม้ไม้กินได้ ผักเหรียง ยางมีอายุ 2 ปีปลูกไม้ยืนต้นแซม
    • แหล่งเรียนรู้มีคนจัดการ 3 คนมีการบริหารจัดการทำให้ศูนย์เรียนรู้ยืนได้ด้วยตนเองกลุ่มต่าง ๆ ทำได้เองอย่างอิสระ ไม่ได้ขึ้นกับศูนย์เรียนรู้

     

    70 41

    11. ประชุมตรวจเอกสารและส่งรายงานการเงิน

    วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    พี่เลี้ยงอธิบายเกี่ยวกับเอกสารการเงิน การทำบัญชี การปิดงวด 1 การเสียภาษี และการรายงานในเวบไซต์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้รับความรู้ความเข้าใจในการทำบัญชี การจัดทำเอกสารการเงิน มีหลายรายการต้องแก้ไข เนื่องจากเขียนไม่ถูกต้อง เช่น ค่าอาหารต้องเขียนจำนวนรายคน คนละกี่บาท เข้าใจค่าใช้จ่ายที่ต้องไปจ่ายภาษีให้สรรพากร และต้องปรับข้อมูลรายงานในเวบไซต์ ก่อนส่งรายงานงวด 1 ให้ สจรส.ม.อ.ในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2559

     

    3 3

    12. จัดทำรายงานงวดที่ 1

    วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดทำรายงานความก้าวหน้า งวดที่ 1 โดยนำเอกสารการเงินค่าใช้จ่ายในงวดที่ 1 นำมาให้เจ้าหน้าที่ สจรส.ม.อ.ตรวจสอบความถูกต้อง และจัดทำรายงานกิจกรรมให้เสร็จเพื่อส่งรายงานงวด 1 ให้ สจรส.ม.อ.

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้รับคำแนะนำจากทีม สจรส.ม.อ.ต่อการจัดทำเอกสารการเงิน ให้คำแนะนำต่อการเขียนเอกสารการเงิน และเพิ่มเติมข้อมูลในรายงานเวบไซต์

     

    3 0

    13. คืนเงินเปิดบัญชี

    วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ถอนเงินค่าเปิดบัญชีจำนวน 200 บาท

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้เงินคืน และเข้าใจระบบการทำบัญชี

     

    2 2

    14. ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 5

    วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมทบทวนสรุปการทำงานที่ผ่านมา แลกเปลี่ยนสิ่งทำต่อ  ทำเกษตรอินทรีย์ช่วงฤดูแล้ง  วางแผนการปลูกผัก  เลี้ยงสัตว์  ถุงผัก 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สรุปการทำงานที่ผ่านมา แผนการทำงานเดือนต่อไปลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ทำเกษตรอินทรีย์บนความพอเพียงรับมือภัยแล้ง การพัฒนาอนุรักษ์คลองมีปลาอาหาร มีนำ้เพียงพอในการทำเกษตร

     

    20 13

    15. เวทีออกแบบ บัญชีครัวเรือน

    วันที่ 10 มีนาคม 2559 เวลา 10:00- 14.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • บอกเล่าที่มาของการออกแบบ
    • วิทยากรคุยแลกเปลี่ยนความสำคัญของการจัดทำบัญชีครัวเรือน
    • มีการคุยแบบสอบถามมีอะไรบ้างคู่กับการนำตัวอย่างแบบสอบถามมาดูเปรียบเทียบ
    • ตกลงตัดสินใจได้แบบสอบถาม
    • ร่วมกันกำหนดการทำบัญชีครัวเรือนทีมข้อมูลแผนทำบัญชีครัวเรือน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้ความรู้และตระหนักถึงความสำคัญของการทำบัญชีครัวเรือน ทำให้รู้จักตัวเองนำข้อมูลมาปรับเปลี่ยนเพื่อลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ปลูกผักอินทรีย์กินเอง ไม่ใช้สารเคมี
    • ได้แบบบันทึกบัญชีครัวเรือนที่ง่ายและสามารถทำได้
    • ได้คณะทำงานทำบัญชีครัวเรือน 5 คนมีผู้ใหญ่บ้านเป็นหัวหน้าทีม
    • ได้แผนการทำบัญชีครัวเรือนรวบรวมข้อมูลสรุปผลคืนข้อมูล

     

    22 22

    16. ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 6

    วันที่ 11 มีนาคม 2559 เวลา 08:00-12.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ผู้ใหญ่บ้านแจ้งเรื่องได้รับมอบหมายจากอำเภอ ขอความคิดเห็นพัฒนาหมู่บ้าน แผนทำต่อเรื่องเกษตรอินทรีย์ 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. ได้ติดตามความคืบหน้าของโครงการ และร่วมคิด วางแผนการทำงาน
    2. เกิดกลุ่มกิจกรรมทำถุงผักสำหรับทำอาหารพื้นบ้านนำผักส่วนที่เหลือจากกินแบ่งรวมผักใส่ถุงปันขายให้กับคน/ข้าราชการในตัวอำเภอบางแก้ว เพิ่มรายได้ให้สมาชิก 15คน
    3. ได้คณะทำงาน 1 ชุด
    4. ทุกคนมีหน้าที่รับผิดชอบในด้านต่างๆ
    5. ได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเรื่องต่างๆ
    6. ได้ร่วมกันแก้ปัญหาอุปสรรคต่างๆ

     

    20 20

    17. ประชุมสภาผู้นำ ครั้งที่ 1

    วันที่ 11 มีนาคม 2559 เวลา 09:00-12.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เวทีแลกเปลี่ยนสร้างการมีส่วนร่วมของแต่ละกลุ่มและคณะกรรมการหมู่บ้านและคณะกรรมการหมู่บ้าน กรรมการโครงการ มาร่วมในการวางแผน การกำหนดข้อตกลงร่วมของสภา หนุนเสริมสภาแก้ปัญหาชุมชน พัฒนาชุมชน และมีการติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. ประชาชนมาเข้าร่วมประชุมประจำเดือน จำนวน 37 คน
    2. ลงทะเบียนเข้าร่วมประชุม
    3. ประชาชนบางส่วนที่จะกู้เงินกองทุนหมุาบ้าน
    4. ผู้ใหญ่แจ้งให้ทราบเรื่องการบัญชีรายชื่อที่จะขึ้นทะเบียนทหารกองเกินภายใน พ.ค 59
    5. การปล่อยเงินกู้ เงินกองทุนหมู่บ้าน จำนวน 44 ราย
    6. เรื่องการขยายผลโครงการ สสส. ที่จะขับเคลื่อนในลำดับต่อไป
    7. บุตรหลานของประชาชนที่เป็นชายไทยที่เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2542 ไปขึ้นทะเบียนทหารกองเกินในเดือน พฤษภาคม 2559
    8. สมาชิกที่จะกู้เงินไปเพื่อทำการเกษตรในรูปแบบเศรษฐกิจพอเพียง เช่น การนำเงินไปลงทุนในการเลี้ยงสัตว์ นำเงินไปซื้อปุ๋ยใส่ยางพารา และผลไม้ เป็นต้น
    9. สรุปผลการศึกษาดูงานที่ชุมชน จัดการงานเอง บ้านไม้เรียง จ.นครศรีธรรมราช ประชาชนได้นำความรู้ที่ได้นำมาปรับให้เหมาะสมกับพื้นที่ของตนเองและได้แผนในแปลงของสมาชิกแต่ละคนที่จะไปเพิ่มความหลากหลายในแปลงเลี้่ยงปลา
      10.ร่วมกันกำหนดว่างแผนการทำงานในการรวมกลุ่มสมาชิกในการปลูกผักอินทรีย์เลี้ยงปลาเลี้ยวสัตว์ถุงผักอินทรีย์รวมกลุ่มทำปุ๋ยหมัก นัดทำปุ๋ยหมักอินทรีย์เดือนมีนาคม

     

    30 27

    18. ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 7

    วันที่ 8 เมษายน 2559 เวลา 13:00-15.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ผู้ใหญ่บ้านแจ้งผลการพัฒนาถนนและตรวจสอบความพึงพอใจของชุมชน การสร้างชุมชนเกื้อกูล เพิ่มพูลน้ำใจวิถีไทยสามัคคีทบทวนและขอมติกิจกรรมดำเนินการ 6 กิจกรรม กิจกรรมบางส่วนหนุนเสริมบูรณาการร่วมกับโครงการเกษตรอินทรีย์บนความพอเพียง
    กำหนดแผน/กิจกรรมดำเนินการต่อในเดือนถัดไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. คณะกรรมการ/ชาวบ้านเข้าร่วม  จำนวน  20  คน ได้ร่วมกันสรุปผลการดำเนินการ ร่วมแลกเปลี่ยนผลการดำเนินการ
      การเตรียมการขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์  ทบทวนเป้าหมายพึ่งตน  ทำอย่างไรให้มีอาหารที่ผลิตเองเพิ่ยงพอในชุมชน ได้มีการวางแผนร่วมกัน ปลูกผักพื้นบ้าน  กินเองในครัวเรือน  พอในชุมชน  ส่วนเหลือกิน  แบ่ง  ปัน  ขาย  มีการวางแผนในการรวมผักจำหน่าย ถุงผักอาหารพื้นบ้านอินทรีย์
    2. มีการร่วมกันกำหนดแผนในการพัฒนาด้วยจิตอาสา สร้างคนมีการเกื้อกูลกัน  มี 6 กิจกรรมหลักคือ  ลงแขก ช่วยกันตัดหญ้าริมทาง  ลอกคลอง  ปลูกต้นไม้เพิ่มพื้นที่สีเขียว  แยกขยะ  ไม่ทิ้งขยะข้างถนน /บนถนน  ดึงเยาวชนเข้ามามีส่วนร่วม
    3. คณะทำงาน ทุกคนทำงานเป็น แก้ปัญหาเป็น
    4. คณะทำงานมีความรู้ ความสามารถขับเคลื่อนโครงการได้
    5. มีการแก้ปัญหาอุปสรรคได้
    6. ได้คณะทำงานที่เข้มแข็ง 1 ชุด

     

    20 20

    19. ประชุมสภาผู้นำ ครั้งที่ 2

    วันที่ 12 เมษายน 2559 เวลา 13:00-15.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

      1. คุยเตรียมและประสานผู้เข้าร่วม 2. ผู้ใหญ่บ้านแจ้งเรื่องแจ้งเพื่อทราบ และรายงานความก้าวหน้าการดำเนินการของหมู่บ้าน คณะกรรมการที่รับผิดชอบประเด็นต่าง รายงาน 3. แลกเปลี่ยนการดำเนินการที่ผ่านมา 4. ร่วมกันกำหนดแนวทางและแผนการดำเนินงาน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. ประชาชนเข้าร่วมประชุมประจำเดือน จำนวน 34 คน
    2. ลงทะเบียนเข้าร่วมประชุม
    3. ประชุมเรื่องโครงการเพิ่มความเข้มเเข็งทางเศรษฐกิจฐานรากในแนวประชารัฐ ตำบลละ 500,000 บาท
    4. การจัดสร้างประปาดื่มได้
    5. ได้มีแผนในเรื่องของการลดรายจ่ายเพิ่มรายได้มาจัดทำแผนปฏิบัติการในเรื่องของการปลูกผัก ปลูกถั่วเลี้ยงปลาและเลี้ยงสัตว์ ลดละ เลิกการใช้สารเคมีเก็บเมล็ดพันธุ์เพื่อรับมือกับภัยแล้งการแปรรูปส่วนที่เหลือจากกินวางแผนรวบรวมและนำจำหน่ายให้พี่น้องในชุมชนหมู่บ้านใกล้เคียงซึ่งได้รับการสนับสนุนสมทบจากสำนักงานเกษตรอำเภอบางแก้ว
    6. มีการแบ่งงานกันรับผิดชอบในฝ่ายต่างๆ จำนวน 13 คน
    7. ประชุมเรื่องการจัดเก็บบัญชีครัวเรือนที่สมาชิกที่เข้าร่วมการจัดทำบัญชีครัวเรือนในเดือน พฤษภาคม 2559
    8. ที่ประชุมมีมติในการจัดสร้างโรงกรองน้ำ ประเภทน้ำประปาดื่มได้ 1 โรงเรือน
    9. ได้คณะกรรมการที่จะบริการจัดการโรงน้ำ 1 ชุด จำนวน 13 คน
    10. การบริหารจัดการจะอยู่ในรูปแบบกลุ่ม
    11. สมาชิกที่เข้าร่วมการจัดทำบัญชีครัวเรือนมีการกำหนด การนำบัญชีมาตรวจเพื่อนำไปวิเคราะห์หาสาเหตุ และร่วมกันแก้ปัญหาในเดือนถัดไป
    12. พัฒนาการอำเภอพุููดเรื่องโครงการสร้างชุมชนเกื้อกูลเพิ่มทุนน้ำใจสร้างวิถีไทยสามัคคี มี 6 ประการ คือ 12.1 การลงแขก วันที่ 12 ส.ค และ 5 ธ.ค กระทำกิจกรรมตัดหญ้าตกแต่งข้างถนน 12.2 มีการกำจัดผักตบชวาในวันที่ 25 ก.พ, 11 ส.ค, 5 ธ.ค. 12.3 มีการเก็บขยะข้างถนน และการปลูกต้นไม้เดือนมิถุนายน ถึง เดือน กรกฎาคม 12.4 ครัวเรือนมีการคัดเเยกขยะ เช่น ขยะเปียก-ขยะแห้ง และขยะรีไซเคิล 12.5 การสร้างครัวชุมชน คือ คนในชุมชนปลูกผักสวนครัว รั้วกินได้ เลี่ยงปลา, เลี้ยงไก่ไข่ไว้บริโภคและแบ่งปันกินในชุมชน

     

    30 34

    20. สนับสนุนกิจกรรมการเรียนรู้การปลูกผักอินทรีย์

    วันที่ 20 เมษายน 2559 เวลา 09:00-12.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประสานสมาชิกเข้าร่วม กำหนดแนวทางร่วมกัน/ข้อตกลง แผนการทำเกษตรพอเพียง เกษตรสมบูรณ์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้แนวทางและข้อกำหนดร่วมกัน ทำเกษตรสมบูรณ์มีพืช ผัก พอในครัวเรือนชุมชน ได้แผนปฏิบัติการเกษตรสมบูรณ์

     

    70 60

    21. ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 8

    วันที่ 8 พฤษภาคม 2559 เวลา 08:00-12.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วาระที่ 1 เรื่องที่ผู้ใหญ่บ้านแจ้งให้ที่ประชุมทราบ โครงการเพิ่มความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ

    วาระที่ 2 เรื่องเพื่อพิจารณา สมาชิกที่ประชุมได้เสนอโครงการตามความต้องการของชุมชน ขอรับเงินสนับสนุน งบประมาณจากรัฐบาลได้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. คณะทำงาน 20 คน
    2. ผู้ทีหน้้าที่รับลงทะเบียนโครงการกิจกกรรมที่ 4 เวทีออกแบบบัญชีครัวเรือน
    3. แบ่งงานรับผิดชอบ
    4. เชิญผู้เข้าร่วมประชุม
    5. การจัดตั้งการปรับปรุงกลุ่มแม่บ้านชุดใหม่
    6. เจ้าหน้าที่เกษตรอำเภอแจ้งเรื่องการขึ้นทะเบียนเรื่องเกษตรกร
    7. เจ้าหน้าที่รพสต.แจ้งเรื่องโรคระบาดเรื่องโรคฉี่หนูและไข้เลือดออก
    8. การดำเนินงานกิจกรรมสำเร็จด้วยดี
    9. ร่วมกันสรุปโครงการที่ดำเนินการไปแล้ว
    10. ร่วมกันแก้ปัญหาอุปสรรค

     

    20 47

    22. เวทีทำความเข้าใจในการทำบัญชีครัวเรือน/รับสมัครบัญชีครัวเรือน

    วันที่ 12 พฤษภาคม 2559 เวลา 10:00-12.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะทำงานงานประสานชาวบ้านเข้าร่วมกิจกรรมและประสานวิทยากร ความสำคัญและแนวทางการทำบัญชีครัวเรือน ผู้ใหญ่บ้านทำความเข้าใจที่มาของกิจกรรม วิทยากรพูดถึงความสำคัญของบัญชีครัวเรือนยกตัวอย่างการใช้ประโยชน์บัญชีครัวเรือนวางแผนปรับตัวเองของครัวเรือนชุมชน สาธิตการทำบัญชีครัวเรือน และแจกแบบบันทึกบัญชีครัวเรือนและกำหนดเวลาการเก็บกำหนดส่ง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • เห็นความสำคัญของข้อมูลครัวเรือนและการนำมาใช้มีข้อตกลงร่วมทำบันทึกข้อมูล
    • ได้สมาชิกเข้าร่วมทำบัญชีครัวเรือน 30 คนเก็บ 1 เดือน
    • กลไกทีมติดตามและประสานคนในชุมชนที่ไม่ได้เข้าร่วมสมัครเข้าร่วมเพิ่มและนำแบบบันทึก ให้กับคนที่ไม่เข้าร่วมแต่ได้สมัครเข้าร่วมทำบัญชีครัวเรือนแบ่งบทบาททีมข้อมูล

     

    10 80

    23. หนุนเสริมการเลี้ยงสัตว์ไว้บริโภคในครัวเรือน

    วันที่ 25 พฤษภาคม 2559 เวลา 13:00-15.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ประชาชนรวมกลุ่มนำเสนอโครงการเพื่อของบประมาณสนับสนุนจากสำนักงานเกษตรอำเภอบางแก้ว
    2. เมื่อได้รับการหนุนเสริมจากสำนักงานเกษตรในเรื่องการเลี้ยงปลาและไก่ไข่สำหรับการบริโภคในครัวเรือน
    3. จำนวนผู้เลี้ยงปลา 26 ครัวเรือน เลี้ยงไก่ไข่ จำนวน 15 ครัวเรือน และเลี้ยงหมู 7 ครัวเรือน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต

    1.การเลี้ยงปลาในบ่อดิน และกระชัง

    • ปลานิล 10 ราย, - เลี้ยงหมู 7 ราย
    • ปลาดุก 15 ราย

    2.การเลี้ยงไก่ไข่ 15 ราย จำนวน 350 ตัว

    3.คนในชุมชนรู้จักการเลี้ยงสัตว์ไว้บริโภคในครัวเรือน

    ผลลัพธ์ที่ได้

    1. เป็นการส่งเสริมอาชีพและสร้างรายได้อย่างยั่งยืนในครัวเรือน
    2. เป็นการลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ในครัวเรือน
    3. เป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
    4. เป็นการสร้างแหล่งอาหารแก่คนในชุมชนและคนทั่วไป
    5. เกิดกลุ่มเลี้ยงไก่กลุ่มเลี้ยงปลาดุกและแปรรูปปลาดุก

     

    15 20

    24. ประชุมสภาผู้นำ ครั้งที่ 3

    วันที่ 8 มิถุนายน 2559 เวลา 08:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เวทีแลกเปลี่ยนสร้างการมีส่วนร่วมของแต่ละกลุ่มและคณะกรรมการหมู่บ้านกรรมการโครงการ มาร่วมในการวางแผน การกำหนดกติกาข้อตกลงร่วมของสภา หนุนเสริมสภาแก้ปัญหาชุมชน พัฒนาชุมชน และมีการติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. ประชาชนเข้าร่วมประจำเดือน จำนวน 37 คน
    2. ประชุมเรื่อง การขุดคูคลองในสาย 2 และสาย 3
    3. เรื่องการลงประชามติ 7 ส.ค. 59 และอบรมครู ค. ตัวแทนของหมู่บ้านๆ ละ 4 คน
    4. ผลการสรุปการจัดทำบัญชีครัวเรือน
    5. กำจัดขยะประเภทหญ้า ผักตบชวาได้ดำเนินการในสาย2 และสาย 3 โดยกำนันเป็นผู้รับจ้าง
    6. การอบรมครู ค. คือ บุคคลที่มีความรู้ผ่านการอบรมแล้วสามารถนำความรู้นัั้นๆ มาถ่ายทอด ทำความเข้าใจให้คนในชุมชนมีความเข้าใจในการร่างรับธรรมนูญฉบับใหม่
    7. ผลจากการทำบัญชีครัวเรือนมาศึกษาดูในแต่ละครัวเรือน พบว่า รายจ่ายยังไม่สมดุลกับรายรับ จึงได้มีการแก้ปัญหาด้วยการปรับลดในส่วนที่ไม่จำเป็นออกไป และมีการประหยัดค่าใช้จ่ายด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองด้วยการ ปลูกผักกินเอง เลี้ยงสัตว์ไว้บริโภคเอง เป็นการออกกำลังกายไปด้วย เป็นการใช้เวลาว่างให้้เป็นประโยชน์ด้วย สรุปเป็นการลดรายจ่าย เพิ่มรายได้

     

    30 30

    25. ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 9

    วันที่ 8 มิถุนายน 2559 เวลา 08:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เวทีประชุมคณะทำงาน ร่วมกันทบทวนแนวทางการดำเนินการโครงการและร่วมกันคิด วางแผน แบ่งบทบาทการดำเนินงานของคณะทำงานและสมาชิกให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมในการดำเนินการโครงการและขับเคลื่อนงานชุมชนมีการทบทวนและติดตามประเมินผลการทำงานเป็นระยะ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. ได้คณะทำงานแกนหลักการดำเนินงานจำนวน 17คน และมีภาคีความร่วมมือเป็นที่ปรึกษา 3 คน มีส่วนร่วมในการวางแผน และกำหนดการปฏิบัติการ
    2. ได้สรุปทบทวนการดำเนินโครงการเป็นระยะและร่วมกันวางแผนดำเนินโครงการและปรับปรุงแผนให้เหมาะสม
    3. ติดตามประเมินปัญหาโครงการอย่างต่อเนื่อง
    4. ได้ผู้รับผิดชอบในด้านต่างๆในการไปศึกษาดูงานนอกสถานที่
    5. นำผลของการศึกษาดูงานมาปรับให้เข้ากับชุมชน
    6. วางแผนการดำเนินโครงการให้บรรลุวัตถุประสงค์
    7. สรุปผลโครงการ และร่วมกันแก้ปัญหา

     

    20 20

    26. ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 10

    วันที่ 8 กรกฎาคม 2559 เวลา 08:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เวทีประชุมคณะทำงาน ร่วมกันทบทวนแนวทางการดำเนินการโครงการและร่วมกันคิด วางแผน แบ่งบทบาทการดำเนินงานของคณะทำงานและสมาชิกให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมในการดำเนินการโครงการและขับเคลื่อนงานชุมชนมีการทบทวนและติดตามประเมินผลการทำงานเป็นระยะ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. คณะทำงานลงทะเบียนเข้าร่วมประชุม 20 คน
    2. ผู้ใใหญ่ ชี้แจงที่มาของการประชุม
    3. ได้คณะทำงานแกนหลักการดำเนินงานจำนวน 15 คน และมีภาคีความร่วมมือเป็นที่ปรึกษา 3 คน มีส่วนร่วมในการวางแผน และกำหนดการปฏิบัติการ
    4. ได้สรุปทบทวนการดำเนินโครงการเป็นระยะและร่วมกันวางแผนดำเนินโครงการและปรับปรุงแผนให้เหมาะสม
    5. ติดตามประเมินปัญหาโครงการอย่างต่อเนื่อง
    6. ร่วมกันนำข้อมูลบัญชีครัวเรือนมาศึกษาดูและร่วมกันวิเคราะห์ปัญหาและสาเหตุของแต่ละครัวเรือน
    7. ทำการเสนอความคิดในการแก้ปัญหาลดรายจ่าย เพิ่มรายได้

     

    20 20

    27. สำรวจข้อมูลชุมชนการทำเกษตรพอเพียงเปรียบเทียบเกษตรเคมีและผลกระทบ

    วันที่ 10 กรกฎาคม 2559 เวลา 08:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะทำงานข้อมูลแบ่งทีมเก็บข้อมูล รวบรวมข้อมูลมือสองด้านสุขภาพและการทำเกษตรต้นทุน และข้อมูลการใช้สารเคมี ผลกระทบจากสารเคมี ข้อมูลผลกระทบของราคาผลผลิตตกต่ำ เก็บข้อมูลตั้งแต่วันที่ 6-10 ก.ค.59 เก็บข้อมูลโดยการสำรวจตามสายถนน 5 สายในหมู่บ้าน สายละ 3 คน ใช้แบบสอบถามในการสำรวจข้อมูล เป้าหมายของการเก็บข้อมูล คือ เกษตรกรที่ทำสวน ปลูกผัก จำนวน 120 คน เก็บข้อมูลเพื่อนำไปวิเคราะห์ และนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้สารอินทรีย์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้ข้อมูลรายรับรายจ่ายในครัวเรือน จำนวน 120 คน ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มสตรีและผู้สูงอายุ รวมทั้งวัยทำงาน ส่วนใหญ่ยังใช้ปุ๋ยเคมีและอินทรีย์จำนวนเท่ากัน และจากการพูดคุยมีแนวโน้มในการปรับเปลี่ยน และยินดีเข้าร่วมกลุ่มในโครงการ ได้ข้อมูลด้านสุขภาพ ได้ข้อมูลการทำเกษตรและผลกระทบราคาผลผลิต

     

    15 15

    28. สนับสนุนกิจกรรมเรียนรู้การปลูกผักอินทรีย์

    วันที่ 11 กรกฎาคม 2559 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    แลกเปลี่ยนปลูกผักอินทรีย์  การใช้พันธุ์พื้นบ้าน เก็บพันธุ์  ใช้ปุ๋ยหมัก สนับสนุนชาวบ้านปลูกพืชผักอินทรีย์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลลัพธ์ที่ได้

    1. ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจในการปลูกผักกินเอง ร้อยละ 70 ของหมู่บ้าน
    2. ประชาชนรู้จักวิธีการกำจัดแมลงศัตรูพืชโดยสารสมุนไพรที่ทำขึ้นไว้ใช้เอง
    3. เป็นการลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน
    4. เป็นการอนุรักษ์พันธุ์ดั้งเดิมเอาไว้ เช่น ถั่วฝักยาว,ถั่วพู, กระเจี๊ยบแดง, พริกขี้หนู,
      มะเขือยาว, มะเขือเปราะ

     

    70 80

    29. ประชุมสภาผู้นำ ครั้งที่ 4

    วันที่ 11 กรกฎาคม 2559 เวลา 10:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เวทีแลกเปลี่ยนสร้างการมีส่วนร่วมของแต่ละกลุ่มและคณะกรรมการหมู่บ้านกรรมการโครงการ มาร่วมในการวางแผน การกำหนดกติกาข้อตกลงร่วมของสภา หนุนเสริมสภาแก้ปัญหาชุมชน พัฒนาชุมชน และมีการติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. ประชาชนเข้าร่วมประชุมประจำเดือน  จำนวน 39 คน
    2. ประชุมเรื่องการเพิ่มทุนระยะที่ 3 ของเงินกองทุนหมู่บ้าน
    3. เรื่องการสำรวจชุมชน สำรวจข้อมูลเปรียบเทียบการใช้สารเคมีในการทำการเกษตรและผลกระทบ
    4. การเพิ่มระยะที่ 3 คือการกู้เงินล้านที่ 3 จากธ.ก.ส. มาให้ประชาชนนำไปเป็นทุนในการประกอบอาชีพเพื่อสร้างรายได้เพิ่มเติม และการนำไปลงทุนในการทำการเกษตร
    5. ผลจากการทำการสำรวจชุมชนกับการใช้สารเคมีในการทำการเกษตร พบว่า ยังมีการใช้ปุ๋ยเคมีในบางส่วนและได้ทำการแก้ปัญหาด้วยการให้ความรู้ในด้านผลกระทบต่อสภาพดิน สภาพผลผลิตที่ได้และผลกระทบต่อสุขภาพ ทุกคนก็เห็นด้วย และสนใจที่จะเปลี่ยนมาใช้สารอินทรีย์ในการทำการเกษตรเพิ่มขึ้น

     

    30 39

    30. ประชุมสภาผู้นำ ครั้งที่ 5

    วันที่ 9 สิงหาคม 2559 เวลา 08:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เวทีแลกเปลี่ยนสร้างการมีส่วนร่วมของแต่ละกลุ่มและคณะกรรมการหมู่บ้านกรรมการโครงการ มาร่วมในการวางแผน การกำหนดกติกาข้อตกลงร่วมของสภา หนุนเสริมสภาแก้ปัญหาชุมชน พัฒนาชุมชน และมีการติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. ประชาชนเข้าร่วมประชุมประจำเดือน  จำนวน 40 คน ผู้ใหญ่บ้านทำการประชุม
    2. ประชุมเรื่องสรุปผลจากการประชุมเวทีคืนข้อมูล และกิจกรรมสนับสนุนการเรียนรู้การปลูกผักอินทรีย์และการใช้สารอินทรีย์ในการกำจัดศัตรูพืช
    3. การทำโครงการในเดือน สิงหาคม คือการทำรังผึ้ง และการทำปุ๋ยหมัก
    4. วิทยากรให้ความรู้เรื่องการปลูกผักอินทรีย์ให้เหมาะสมกับสภาพดิน และการใช้สารอินทรีย์ในการกำจัดศัตรูพืช สมาชิกสนใจที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยการปลูกผักกินเอง
    5. การแบ่งงานรับผิดชอบที่จะดำเนินงานกิจกรรมที่จะดำเนินการในเดือน สิงหาคม คือ ถุงผักอาหารพื้นบ้านด้วยการรวบรวมผลผลิตในท้องถิ่นที่สมาชิกปลูกด้วยการใช้สารเคมีมาบรรจุถุงในเมนูต่างๆ จำหน่ายในราคาย่อมเยาว์
    6. การแบ่งงานรับผิดชอบในการจัดเตรียมวัสดุที่ใช้ในการทำปุ๋ยหมัก และปุ๋ยน้ำ ตลอดถึงการเชิญวิทยากรมาสอนวิธีการทำ และวิธีการนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
    7. แบ่งงานรับผิดชอบต่างๆ ในการทำกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การทำบ้านผึ้ง ตลอดถึงการจัดเตรียมวัสดุและการนัดวันดำเนินกิจกรรม

     

    30 40

    31. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 11

    วันที่ 9 สิงหาคม 2559 เวลา 14:00-16.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. คณะทำงานลงทะเบียนเข้าร่วมประชุม
    2. สรุปผลเวทีคืนข้อมูลและแผนปฏิบัติการจากผลการสำรวจข้อมูล โดยคณะทำงานเก็บข้อมูล
    3. ได้คุยแนวทางการดำเนินงาน และกำหนดรายละเอียดการดำเนินการพร้อม แบ่งงานรับผิดชอบกิจกรรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. สรุปผลโครงการเวทีคืนข้อมูลและแผนปฏิบัติงาน
    2. คณะทำงานมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนปฏิบัติงานในระยะยาว
    3. ร่วมกันแก้ปัญหาอุปสรรค
    4. ช่วยกันขับเคลือนโครงการการทำปุ๋ยหมักและถุงผักอาหารพื้นบ้าน
    5. สรุปผลการสำรวจข้อมูลชุมชนเปรียบเทียบการใช้สารเคมีในการทำการเกษตร
    6. ร่วมกันแก้ปัญหาผลกระทบจากการใช้สารเคมีโดยการรณรงค์ให้ใช้สารอินทรีย์ที่ทำเอง เช่น ปุ๋ยหมัก ปุ๋บชีวภาพ และน้ำหมักในการทำการเกษตร
    7. สรุปผลโครงการเวทีคืนข้อมูลและแผนการปฏิบัติงาน
    8. คณะทำงานมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนปฏิบัติงานระยะยาว
    9. ร่วมกันแก้ปัญหาอุปสรรค
    10. ช่วยกันขับเคลื่อนโครงการทำปุ๋ยหมัก และ ถุงผักอาหารพื้นบ้าน

     

    20 20

    32. "ถุงผักอาหารพื้นบ้าน"

    วันที่ 13 สิงหาคม 2559 เวลา 13:00-15.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    รวบรวมผลผลิต(พืชผักพื้นบ้าน)ของสมาชิกใุนชุมชนในส่วนที่เหลือจากการบริโภคในครอบครัวและแบ่งปัน 1. เวทีแลกเปลี่ยนกำหนดเป้าหมาย แนวทาง และกระบวนการรวบรวมผลผลิตและการกระจายผลผลิต และแลกเปลี่ยนบทบาท หน้าที่ พร้อมรับคณะทำงาน 5 คน 1.คณะทำงานรวบรวมผักพื้นบ้านที่ปลอดสารพิษ มาบรรจุถุงเพื่อจำหน่ายเป็นผักพร้อมปรุงในเมนูต่างๆ เช่น ผักแกงเลียง(พระรามเดินดง) ผักแกงส้ม แกงจืด ฯลฯ พัฒนาฉลากผลผลิตชุมชน 2.คณะทำงานรวบรวมผักพื้นบ้านทำ ถุงผักอาหารพื้นบ้านพร้อมปรุง จัดทำฉลากสื่อสารรณรงค์ เช่น ผักแกงเลียง ผักแกงส้มพัฒนาฉลากผลลิตชุมชน 3.สรุปการดำเนินการของคณะทำงานทุกเดือน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต 1. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมถุงผัก จำนวน5คน มีนางสุพิศ แสงจันทร์ประธานผู้ดำเนินการจัดจำหน่ายถุงผักพื้นบ้าน 2. จัดทำถุงผักอาหารพื้นบ้านครั้งที่ 1 ได้จำนวน 20 ถุง ในราคา ถุงละ 10 บาท , 20 บาท 3. ได้รวบรวมผลผลิตในชุมชนที่เหลือจากการบริโภคในครัวเรือนและแบ่งปัน จำนวน 3 ครัว 4. ได้ผักปลอดสารพิษ 5. ได้คณะรวบรวมผลผลิต จำนวน 5 คน

    ผลลัพธ์ 1. ได้ทีม รวบรวมผลผลิตและจำหน่ายพืชผักของชุมชน 2. สมาชิกได้มีรายได้เพิ่มขึ้น 3. ได้มีเครือข่ายคนสนใจผักปลอดภัยจากการนำไปจำหน่าย 2 วัน/ครั้ง มีสติกเกอร์ฉลาก ถุงผักอินทรีย์และคนตื่นตัวปลุกผักกินเองในบ้าน 4. ได้ผลผลิตในชุมชนที่ปลอดภัยจากสารเคมี

     

    22 22

    33. กลุ่มปุ๋ยหมักและปุ๋ยน้ำ

    วันที่ 18 สิงหาคม 2559 เวลา 13:00-15.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.เตรียมวัสดุอุปกรณ์ 2. เชิญวิทยากรให้ความรุ้และสอนวิธีการทำและเทคนิคการนำมาใช้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.ได้สมาชิกครัวเรือนเป้าหมาย30ครัวเรือน 2.ได้เรียนรุ้การทำปุ่ยหมักแห้งและปุ๋ยหมักน้ำ 3.ได้รุ้ัจกการนำวัตถุดิบรอบๆตัวและเศษอาหารเหลือใช้ในครัวเรือนมาทำปุ๋ยหมักได้

     

    30 30

    34. แลกเปลี่ยนและปฏิบัติการสร้างบ้านผึ้ง

    วันที่ 20 สิงหาคม 2559 เวลา 10.00น.-14.ooน. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ประสานผู้เข้าร่วมสมาชิกสมัครใจทำบ้านผึ้ง
    2. ผู้ใหญ่บ้านเล่าที่มาของกิจกรรม
    3. วิทยากรคุยความสำคัญของการเลี้ยงผึ้งการทำบ้านผึ้ง
    4. วิทยากรอธิบายการทำบ้านผึ้ง ลงมือทำและให้สมาชิกได้ช่วยกันทำ
    5. แลกเปลี่ยนแผนการทำบ้านผึ้งของแต่ละครอบครัว

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลลัพธ์ที่ได้

    1. สมาชิกมีความรู้ในการเลี้ยงผึ้งตามธรรมชาติ
    2. สมาชิกสามารถนำความรู้ที่ได้ไปต่อยอดเพิ่มขึ้น
    3. สมาชิกจะได้นำผึ้งที่มี่คุณภาพไม่ปนเปื้อนสารเคมี
    4. ในอนาคตสามารถนำไปต่อยอดด้วยการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้

    ผลสรุป

    1. ผู้เข้าร่วมมีความรู้ความเข้าใจวิธีการทำบ้านผึ้งและนำกลับไปทำที่บ้านได้
    2. สมาชิกได้ตระหนักถึงความสำคัญของการเลี้ยงผึ้งทำให้มีน้ำผึ้งไว้บริโภคในครัวเรือน น้ำผึ้งเป็นอาหารเป็นยา ส่วนที่เหลือได้แบ่งปัน ขายเป็นการเพิ่มรายได้ลดรายจ่ายในครอบครัว
    3. การเลี้ยงผึ้งยังช่วยลดการใช้สารเคมีเป็นตัวชี้วัดถึงความสมบูรณ์ มีความหลากหลายและถ้าพื้นที่ใช้สารเคมีมากผึ้งจะอยู่ไม่ได้แต่ถ้าพื้นที่ไม่ใช้สารเคมีผึ้งชอบมาทำรังทำให้ชุมชนมีสุขภาพดีมีความสุข

     

    20 20

    35. ประชุมสภาผู้นำ ครั้งที่ 6

    วันที่ 8 กันยายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เวทีแลกเปลี่ยนสร้างการมีส่วนร่วมของแต่ละกลุ่มและคณะกรรมการหมู่บ้านกรรมการโครงการ มาร่วมในการวางแผน การกำหนดกติกาข้อตกลงร่วมของสภา หนุนเสริมสภาแก้ปัญหาชุมชน พัฒนาชุมชน และมีการติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. ประชาชนมาเข้าร่วมประชุมประจำเดือน
    2. ผู้ใหญ่บ้านทำการเปิดการประชุมเรื่องการจัดตั้งธนาคารเมล้ดพันธุ์/พันธุ์ไม้ และการติดตามประเมินผลโครงการ
    3. แบ่งงานรับผิดชอบในการติดตามประเมินผล
    4. การจัดตั้งคณะกรรมการในการดูแลเก็บเมล็ดพันธุ์และได้กำหนดข้อระเบียบว่าด้วยการเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้เพาะปลูกเองเพราะจะทำให้ทนทานต่อโรคการให้ผลผลิตจะยาวนาน
    5. ได้มีการแจกต้นกล้า ไม้สตอ เพราะสามารถขยายพันธุ์ได้ คนละ 5 ต้น
    6. คณะกรรมการติดตามผลประเมินผลจะแบ่งงานกันใน 5 สายถนนในการติดตามผลโครงการพร้อมกับการให้ความรู้ และแก้ไขปัญหาอุปสรรคไปด้วย
    7. ประชาชนให้ความรู้ความเข้าใจในตัวโครงการเพิ่มขึ้น ให้ความสนใจที่จะเข้าร่วมโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลด ละ เลิก เพิ่มขึ้น

     

    30 30

    36. ธนาคารเมล็ดพันธุ์/พันธุ์ไม้

    วันที่ 10 กันยายน 2559 เวลา 08:00-16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. จัดตั้งธนาคารเมล็ดพันธ์และพันธ์ไม้
    2. รับสมัครสมาชิก
    3. แต่งตั้งคณะกรรมการและกำหนดระเบียบข้อตกลงร่วมกับสมาชิก
    4. จัดซื้อเมล็ดพันธ์และจัดหากล้าไม้ที่สามารถขยายพันธ์ได้ในท้องถิ่น

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. จัดซื้อพันธุ์ไม้ที่สามารถนำมาปลูกร่วมกันยางพาราได้
    2. กำหนดระเบียบข้อตกลงมา 1 ฉบับ รายละเอียดคือ สนับสนุนเมล็ดพันธุ์และกล้าพันธุ์ ให้สมาชิกเก็บพันธุ์ คืนกลับธนาคารฯ สมาชิกมีเมล็ดพันธุ์ กล้าพันธุ์สามารถขยายพันธุ์ได้ เอามาฝาก ธนาคารกระจายให้กับสมาชิกที่สนใจต่อ
    3. เกิดธนาคารเมล็ดพันธุ์และพันธุ์ไม้เพื่อการขยายพันธุ์ได้ต่อไป
    4. ได้คณะกรรมการบริหารจัดการธนาคารต้นไม้ 1 ชุด5 คนได้แบ่งบทบาทการทำงาน ติดตาม
    5. มีการกำหนดแผนปฏิบัติการหนุนเสริมเพื่อเพิ่มความหลากหลายและการรักษาเมล็ด พันธุ์
    6. มีการคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพ และการนำมาแลกเปลี่ยนกันในชุมชน
    7. ได้คัดเลือกพันธุ์ไม้ที่สามารถขยายพันธุ์ได้ คือ ต้นสะตอ

     

    60 60

    37. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 12

    วันที่ 11 กันยายน 2559 เวลา 09:00-12.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เวทีแลกเปลี่ยนสร้างการมีส่วนร่วมของแต่ละกลุ่มและคณะกรรมการหมู่บ้านกรรมการโครงการ มาร่วมในการวางแผน การกำหนดกติกาข้อตกลงร่วมของสภา หนุนเสริมสภาแก้ปัญหาชุมชน พัฒนาชุมชน และมีการติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. ได้คณะทำงานแกนหลักการดำเนินงานจำนวน 15 คน และมีภาคีความร่วมมือเป็นที่ปรึกษา 3 คน มีส่วนร่วมในการวางแผน และกำหนดการปฏิบัติการ
    2. ได้สรุปทบทวนการดำเนินโครงการเป็นระยะและร่วมกันวางแผนดำเนินโครงการและปรับปรุงแผนให้เหมาะสม
    3. ติดตามประเมินปัญหาโครงการอย่างต่อเนื่อง
    4. คณะทำงานสรุปผลโครงการสนุบสนุนเรียนรู้การปลุกผักอินทรีย์, บ้านผึ้ง ธนาคารพันธุ์ไม้
    5. ร่วมกันแก้ปัญหาอุปสรรคต่างๆ
    6. ช่วยกันขับเคลื่อนโครงการให้มีการทำอย่างต่อเนื่อง
    7. จัดหาตลาดพืชผลทางการเกษตรอินทรีย์ของสมาชิก

     

    30 20

    38. การติดตามประเมินผล

    วันที่ 21 กันยายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ประชุมคณะทำงาน จำนวน 30 คน
    2. แบ่งทีมออกติดตามประเมินผล โดยแบ่งเป็น 5 สายถนน
    3. มีชุดประเมินผลติดตามผลจำนวน 10 คน
    4. นำผลการติดตามผลประเมินผลมาสรุปเพื่อวิเคราะและแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นและร่วมกันแก้ปัญหา

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต

    1. สำรวจการปลูกผักอินทรีย์และการเลี้ยงสัตว์
    2. สำรวจการใช้สารอินทรีย์ในการเพาะปลูก
    3. สำรวจการเปลี่ยนแปลงทางด้านสุขภาพ

    ผลลัพธ์

    1. ประชาชนสนใจปลูกผักปลอดสารพิษมากขึ้น
    2. ประชาชนสามรถลดการใช้สารเคมีและใชสารอินทรีย์เพื่อการเพาะปลูกเพิ่มขึ้น
    3. ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้น
    4. ประชาชนมีสุขภาพแข็งแรงขึ้น
    5. ประชาชนมีอาหารปลอดภัยไว้บริโภค

     

    100 100

    39. ประชุมสภาผู้นำ ครั้งที่ 7

    วันที่ 23 กันยายน 2559 เวลา 08:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เวทีแลกเปลี่ยนสร้างการมีส่วนร่วมของแต่ละกลุ่มและคณะกรรมการหมู่บ้านกรรมการโครงการ มาร่วมในการวางแผน การกำหนดกติกาข้อตกลงร่วมของสภา หนุนเสริมสภาแก้ปัญหาชุมชน พัฒนาชุมชน และมีการติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. ประชาชนเข้าร่วมการประชุมประจำเดือน  49  คน
    2. ผู้ใหญ่ทำการประชุมเรื่องการปล่อยกู้เงินสัจจะ
    3. เรื่องสรุปผลความก้าวหน้าโครงการ สสส. จากเวทีสรุปผลการดำเนินงานโครงการ
    4. การกำหนดวันทำกิจกรรมเวทีคืนข้อมูลโครงการให้กับครัวเรือนเป้าหมายและคนทั่วไป
    5. สมาชิกกลุุ่ม และประชาชนทั่วไปในหมู่บ้านได้ทำสัญญาเงินกู้ เพื่อนำเงินไปประกอบอาชีพของตนเองตามความถนัดและส่วนหนึ่งก็จะนำไปเป็นทุนในการเพิ่มผลผลิตทางเกษตรกรรม
    6. จากเวทีสรุปผลการดำเนินงานโครงการปรากฎว่าได้ดำเนินโครงการไปหมดทุกกิจกรรมแล้ว ประชาชนให้ความร่ววมมมือได้ดี และให้สัญญาที่จะลดละเลิกการใช้การใช้สารเคมี กลับมาใช้สารอินทรีย์ที่ทำเองมาใช้ในการทำการเกษตรเพิ่มขึ้น
    7. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจโครงการเพิ่มมากขึ้นวางแผนจัดกิจจกรรมการคืนข้อมูลโครงการให้ประชาชนในหมู่บ้านและบุคคลทั่วไปในวันที่ 13  เดือน ตุลาคม  พ.ศ2559 แบ่งบทบาทคณะทำงาน/ประสานผู้เข้าร่วม

     

    30 30

    40. เวทีสรุปบทเรียนการดำเนินงานโครงการฯ

    วันที่ 3 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00-14.00น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ผู้ใหญ่บ้านประชุมชี้แจงความก้าวหน้าของแต่ละโครงการ
    2. มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในที่ประชุม
    3. มีการพูดคุยถึงปัญหาและแก้ปัญหาร่วมกัน
    4. พัฒนาสภาผู้นำ 1 ชุด เพื่อบริหารโครงการเรื่องต่างๆภายในหมู่บ้าน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต

    1. มีผู้เข้าร่วมโครงการเวทีสรุปบทเรียนการดำเนินโครงการจำนวน 100 คน
    2. มีพืชผักปลอดสารพิษเพื่อการบริโภคในครัวเรือน ร้อยละ 70 จาก 200 ครัวเรือน
    3. มีการเลี้ยงสัตว์ จำนวน 50 ครัวเรือน จาก 200 ครัวเรือน

    ผลลัพธ์

    1. ประชาชนมีความรูเรื่องการปลูกผักอินทรีย์อย่างถูกวิธีและเหมาะสมกับสภาพดิน
    2. ประชาชนมีความรู้เรื่องการทำปุ๋ยหมักและน้ำหมักสามารถทำได้อย่างถูกวิธีและมีประสิทธืภาพสูง
    3. ประชาชนมีความรู้ในเรื่องการดูแลพืชผักจากการใช้สารอินทรีย์และสามารถใช้กำจัดศัตรูพืชได้
    4. ประชาชนรู้จักการแปรรูปดัดแปลงผลิตภัณฑ์ที่ได้ในรูปแบบของถุงผักอินทรีย์อาหารพื้นบ้าน

    สรุป

    1. ประชาชนสามารถลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ในครัวเรือน
    2. ประชาชนมีสุขภาพดีมีภูมิคุ้มโรค

     

    120 120

    41. ร่วมงานสร้างสุขภาคใต้

    วันที่ 3 ตุลาคม 2559 เวลา 12:00-1ุ6.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.ประสานตัวแทนเข้าร่วมจำนวน 2 คน แจ้งลงทะเบียนล่วงหน้า
    2.ชมนิทรรศการ นวัตกรรมในการสร้างเสริมสุขภาพ
    3.ร่วมพิธิเปิดงาน 4.เข้าร่วมห้องย่อยชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ 5.แลกเปลี่ยนทำแบบประเมินโครงการ 6.ปิดงาน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. ได้ความรู้เรื่องชุมชนจัดการตนเอง เรื่องลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ ของการทำเกษตรอินทรีย์ ปลูกพืชหลากหลาย สร้างความมั่นคงทางด้านอาหาร ข้าวพื้นบ้านท่องเที่ยวชิงนิเวศน์
    2. ได้ประเมินผลโครงการ ชุมชนได้ช่วยกันคิด ช่วยกันกำหนดแนวทางทำงาน มีปฏิบัติการ รูปธรรมการทดรายจ่ายเพิ่มรายได้รวมกลุ่ม มีความร่วมมือกับภาคีเสนอให้มีการภาคีส่งเสริมมีความร่วมมือขับเคลือนชุมชนน่าอยู่ นโนบายสาธารณะภาคใต้จัดการตนเองได้
    3. ได้เพื่อนและเครือข่ายแลกเปลี่ยนความรู้การช่วยเหลือกันร่วมนำผลผลิตมาเสนอในการเลี้ยงผึ้งมีกินในครอบครัวกินเพื่อสุขภาพ ส่วนที่เหลือจำหน่าย เห็นผลการจากการดำเนินงานมีสภาพแวดล้อมที่ดี ลด ละ เลิกสารเคมีทำให้มีผึ้ง บอกว่าชุมชนมีความสมบูรณ์พืชหลากหลาย ไม่ใช้สารเคมี มีน้อย
    4. นำความรู้ที่ได้รับมาปรับใช้กับชุมชนของตนเอง
    5. นำความรู้ที่ได้รับมาเผยแพร่ให้กับสมาชิกและกับบุคคลทั่วไป

     

    2 2

    42. ประชุมสภาผู้นำ ครั้งที่ 8

    วันที่ 11 ตุลาคม 2559 เวลา 08:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.ผู้ใหญ่บ้านแจ้งเพื่อทราบ
    2.วาระที่2 ปรึกษาหารือและพิจารณา เรื่องของการกองทุนและระเบียบการกู้ยืม 3. สรุปและประเมินการทำงานโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. สมาชิกกลุ่ม และประชาชนทั่วไปในหมู่บ้านได้ทำสัญญาเงินกู้ เพื่อนำเงินไปประกอบอาชีพของตนเองตามความถนัด และส่วนหนึ่งก็นำไปเป็นทุนในการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรกรรม
    2. จากเวทีสรุปผลการดำเนินงานโครงการปรากฎว่า ได้ดำเนินโครงการหมดทุกกิจกรรมแล้ว ประชาชนให้ความร่วมมือได้ดี และให้สัญญาที่จะลดละเลิกการใช้สารเคมี กลับมาใช้สารอินทรีย์ที่ทำเองมาใช้ในการทำการเกษตรเพิ่มขึ้น
    3. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจโครงการเพิ่มมากขึ้น
    4. ได้วางแผนดำเนินการพร้อมกำหนดการคืนข้อมูลโครงการให้ประชาชนในหมู่บ้านวันที่ 13 ตุลาคม2559

     

    30 41

    43. เวทีคืนข้อมูลและแผนการปฏิบัติการ

    วันที่ 13 ตุลาคม 2559 เวลา 10:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ผู้ใหญ่บ้านชี้แจงที่มาของโครงการและความก้าวหน้า
    2. ดำเนินการคืนข้อมูลโดยมีวิทยากรให้ความรู้เรื่องเกษตรอินทรีย์
    3. แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องเกษตรอินทรีย์
    4. ผู้ใหญ่บ้านสรุปโครงการและปิดเวที

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. ได้สมาชิกผู้เข้าร่วมโครงการจำนวน 180 คน
    2. ได้ความรู้ เรื่องการทำการเกษตรแปรรูปเศรษฐกิจพอเพียง การ ทำเกษตรอินทรีย์ เพื่อความปลอดภัยจากสารเคมีของตนเองและชุมชน ตระหนึกควา่มสำคัญเศรษฐกิจพอเพียง และได้วางแนวทางและแผนงานในการทำเกษตรอินทรีย์วิถีพอเพียง
    3. จากการลงสำรวจข้อมูลทำให้คนหมู่บ้านตระหนักตื่นตัว ปรับเปลี่ยนมาปลูกผักกินเองเลี้ยงสัตว์ เลี้ยงปลา เลี้ยงผผึ้ง มีการรวมกลุ่ม ลด ละเลิกการใช้สารเคมี/ปุ๋ยเคมี ทำปุ๋ยหมักใช้เอง
    4. ได้ทีมวิเคราะห์ข้อมูลผลกระทบจากการใช้สารเคมีละเปรียบเทียบการใช้อินทรีย์ใน การเพาะปลูก
    5. ประชาชนให้ความสำคัญและร่วมขบวนการปฏิบัติการลดรายจ่ายเพิ่มรายได้มีเพิ่มขึ้น
      ด้วยวิถีเกษตรพอเพียง

     

    100 100

    44. ถ่ายภาพกิจกรรม

    วันที่ 15 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดทำรูปภาพกิจกรรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้ภาพถ่ายจำนวน 10 ภาพ ประกอบการทำรายงานได้

     

    2 2

    45. จัดทำรายงาน

    วันที่ 15 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ทำเล่มรายงานฉบับสมบูรณ์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้รายงานฉบับสมบูรณ์ 1 เล่ม สามารถส่งรายงานให้ สสส.ได้ในเวลา

     

    2 2

    46. ประชุมจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์

    วันที่ 15 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. พี่เลี้ยงทำความเข้าใจที่มาของกิจกรรม
    2. ทีม สจรส. ชี้แจงรายละเอียดการปิดโครงการ และเอกสารรายงานและรายงานการเงินส่ง สสส.
    3. พื้นที่ทบทวนความเรียนร้อยของรายงานและเอกสารหลักฐานทางด้านการเงิน
    4. ทีม สจรส.มอ.ตรวจเอกสารหลักฐานทางด้านการเงิน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้ส่งเอกสารหลักฐานรายงานการเงินและหลักฐานรายงานการเงินให้ สจรส.มอ.ตรวจ พิมพ์รายงานส่งให้ สจรส.มอ. เพื่อส่งให้ สสส.
    • ได้รายงานการดำเนินงาน ซึ่งตรวจทีม สจรส. รายงานยังไม่สมบูรณ์ ได้มีการเพิ่มเติมรายละเอียดสรุปผลการดำเนินงานให้สมบูรณ์ส่งให้ สจรส.

    ปัญหาที่พบ

    • ปัญหาทีมงานบันทึกข้อมูล นั้นเป็นลูกหลาน ช่วยทำงานไม่ต่อเนื่อง ติดเรียน ทำให้การบันทึกรายงานลงเวปไซด์ช้า
    • แนวทางแก้ปัญหาให้มีการสรุปรายงาน และส่งให้ทีมบันทึก แต่ถ้าช่วงไม่มีเวลา ส่งให้ร้านอินเตอร์เน็ด ซึ่งเป็นทีมงานได้ลงเวปไซด์

     

    2 2

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

     

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 1.เพื่อลดรายจ่ายการผลิตและรายจ่ายในครัวเรือน
    ตัวชี้วัด : 1. เกษตรกรสามารถลดต้นทุนการผลิตโดยการลดใช้ปุ๋ยเคมี 70 ครัวเรือนจาก 315 ครัวเรือน 2. เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น 70 ครัวเรือน 3. ปลูกผักไว้เพื่อการบริโภคในครัวเรือน จำนวน 30 ครัวเรือน 4.มีการเลี้ยงสัตว์ จำนวน 20 ครัวเรือน 5. มีการเลี้ยงผึ้ง จำนวน 20 ครัวเรือน
    • การลดการใช้ปุ๋ยเริ่มมีครัวเรือนหันมาใช้ปุ๋ยอินทรีย์บางส่วนประมาณ 20 ครัวเรือน
    • มีเกษตรกรสามารถลดรายจ่ายได้ในกลุ่มที่ทำปุ๋ยใช้เองและปลูกพืชอายุสั้นเหลือจำหน่ายในชุมชน
    • กลุ่มเกษตรกรเกือบทุกครัวเรือนปลูกผักไว้บริโภคในครัวเรือน
    • มีเกษตรกรเลี้ยงสัตว์โดยเฉพาะเลี้ยงไก่ ไว้บริโภคในครัวเรือน
    • ยังไม่มีการเลี้ยงผึ้งเนื่องจากอยู่ในช่วงฤดูแล้ง
    2 สร้างกระบวนการเรียนรู้ตระหนักถึงความสำคัญของเกษตรอินทรีย์เศรษฐกิจพอเพียงลดรายจ่าย เพิ่มรายได้
    ตัวชี้วัด : 1. มีเวทีเรียนรู้ มีคนเข้าร่วมเวทีจำนวน 150 มีครัวเรือนตัวแทนของคน 3 วัย ที่ตัดสินเข้าร่วมเป็นครัวเรือนนำร่องจำนวน 70 ครัวเรือน 2. มีคณะทำงานข้อมูลมีส่วนร่วมของคน 3วัย 1 คณะ จำนวน 15 คน 2. มีชุดความรู้รายรับและรายจ่ายชุมชน และชุดความรู้การทำเกษตรอินทรีย์ การลดต้นทุนการผลิต และผลกระทบจากการใช้สารเคมี 1 ชุด 3. มีแผนครัวเรือนในการลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ในระดับครัวเรือน และชุมชน 1 แผน

    ยังอยู่ในระหว่างการบันทึกบัญชีครัวเรือน แต่ก็เริ่มเห็นรายจ่ายที่มีมากเท่าเดิม ในขณะที่รายรับยังคงน้อยลง เนื่องจากคนส่วนใหญ่กรีดยาง

    3 เพื่อสนับสนุนปฏิบัติการสร้างเกษตรตามเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชน
    ตัวชี้วัด : 1. มีครอบครัวต้นแบบในการปรับเปลี่่ยนทำเกษตรอินทรียวิถีพอเพียงร้อยละ 50 2. มีกลุ่มผลิตปุ๋ยอินทรีย์ 30 ครอบครัว 3. มีธนาคารต้นไม้และเมล็ดพันธุ์พืช และข้อตกลงร่วม 4. มีกองทุนข้าวสารชุมชน 1 กองทุน 5. มีกลุ่มเลียงผึ้ง 20 ครอบครัว

    ยังไม่สามารถประเมินได้

    4 พัฒนากลไกให้เกิดสภาผู้นำ มีกฏกติกา ข้อตกลงร่วมกันในการแก้ไขปัญหาส่งเสริมคนในชุมชนให้มีส่วนร่วมสร้างชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง
    ตัวชี้วัด : 1. ประชุมสภาผู้นำเดือนละ 1 ครั้ง 2. มีกฎกติกา ข้อตกลงร่วมชัดเจน1 ชุด 3. มีบันทึกการประชุม โดยมีสมาชิกเข้าร่วมร้อยละ80 4. มีคณะทำงานสามารถติดตามประเมินผลการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง จำนวน 30 คน 5. มีคณะทำงานและเกิดสภาหมู่บ้านที่สามารถบริหารจัดการให้ชุมชนจัดการตนเองได้

    มีการประชุมสภาฯกันทุกเดือน และสามารถใช้สภาฯในการบริหารโครงการและชุมชนได้

    5 เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ
    ตัวชี้วัด : 1. มีการเข้าร่วมการประชุมกับ สสส. สจรส.ม.อ. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของจำนวนครั้งที่จัด 2. มีการจัดทำป้าย "สถานที่นี้ปลอดบุหรี่" ติดตั้งในสถานที่จัดกิจกรรม 3. มีการถ่ายภาพการดำเนินงานทุกกิจกรรม 4. มีการจัดทำรายงานส่ง สสส. ตามระยะเวลาที่กำหนด
    • สามารถเข้าร่วมกิจกรรมกับทางสจรส.และพี่เลี้ยงได้ตามที่กำหนดไว้
    • จัดทำป้ายและสถานที่ปลอดบุหรี่ที่ศาลาประชุมหมู่บ้าน
    • มีภาพถ่ายประกอบรายงานทุกิจกรรม

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) 1.เพื่อลดรายจ่ายการผลิตและรายจ่ายในครัวเรือน (2) สร้างกระบวนการเรียนรู้ตระหนักถึงความสำคัญของเกษตรอินทรีย์เศรษฐกิจพอเพียงลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ (3) เพื่อสนับสนุนปฏิบัติการสร้างเกษตรตามเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชน (4) พัฒนากลไกให้เกิดสภาผู้นำ มีกฏกติกา ข้อตกลงร่วมกันในการแก้ไขปัญหาส่งเสริมคนในชุมชนให้มีส่วนร่วมสร้างชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง (5) เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    ส่วนที่ 3 ประเมินคุณค่าโครงการ

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ

    ชื่อโครงการ เกษตรอินทรีย์บนความพอเพียง บ้านสหกรณ์

    รหัสโครงการ 58-03990 รหัสสัญญา 58-00-2238 ระยะเวลาโครงการ 15 กันยายน 2558 - 15 ตุลาคม 2559

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นการคุณค่าที่เกิดจากโครงการในมิติต่อไปนี้

    • ความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพและนวัตกรรมเชิงระบบสุขภาพชุมชน
    • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีผลต่อสุขภาวะ
    • การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ
    • ผลกระทบเชิงบวกและนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาวะชุมชน
    • กระบวนการชุมชน
    • มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่

    1. เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้ใหม่ / องค์ความรู้ใหม่

    -

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สิ่งประดิษฐ์ / ผลผลิตใหม่

    การสร้างบ้านผึ้ง 20 หลังและถุงผักอินทรีย์

    บ้านผู้เข้าร่วมโครงการ

    พัฒนาบรรจุภัณฑ์ และการจัดการตลาด

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. กระบวนการใหม่

    -

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. วิธีการทำงาน / การจัดการใหม่

    -

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การเกิดกลุ่ม / โครงสร้างในชุมชนใหม่

    สภาผู้นำเพื่อการบริหารงานในการขับเคลื่อนงานของชุมชน

    • บ้านสหกรณ์
    • รายงานผลการดำเนินงาน

    พัฒนาศักยภาพแกนนำการบริหารหารจัดการและการขับเคลื่อนงานแบบมีส่วนร่วม

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. แหล่งเรียนรู้ใหม่

    ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงพึ่งตนเอง ทำเกษตรอินทรีย์ ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้

    • บ้านสหกรณ์

    สื่อประกอบการถ่ายทอด

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    99. อื่นๆ

    -

    -

    -

    2. เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล

    เลือกรับประทานผักและผลไม้ตามฤดูกาล กินผักอินทรีย์ปลูกกินเอง

    รายงานการดำเนินงาน

    รณรงค์การดูแลสุขภาพองค์รวมอาหารเป็นยา

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การบริโภค

    มีการบริโภคพืชผักปลอดสารพิษ

    บ้านสหกรณ์

    สร้างผลิตภัณฑ์ใหม่โดยเป็นผักชนิดพร้อมปรุง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การออกกำลังกาย

    มีการปั่นจักรยานเพื่อออกกำลังกายและประหยัดพลังงาน

    บ้านสหกรณ์

    ปั่นจักรยานอย่างต่อเนื่อง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. การลด ละ เลิก อบายมุข เช่น การพนัน เหล้า บุหรี่

    เขตปลอดบุหรี่ และมีการณรงค์ลดละ เลิกการสูบบุหรี่ และดื่มเหล้า

    รายงานการดำเนินงาน

    ขยายผลออกไปในชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การลดพฤติกรรมเสี่ยง เช่น พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การขับรถโดยประมาท

    -

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. การจัดการอารมณ์ / ความเครียด

    -

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. การดำรงชีวิต / วิถีชีวิต เช่น การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น / สมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเอง

    ใช้พืชผักสมุนไพรในการดูแลสุขภาพ

    บ้านสหกรณ์

    ขยายผลทั้งในและนอกชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    8. พฤติกรรมการจัดการตนเอง ครอบครัว ชุมชน

    -

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    9. อื่นๆ

    -

    -

    -

    3. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. กายภาพ เช่น มีการจัดการขยะ ป่า น้ำ การใช้สารเคมีเกษตร และการสร้างสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนที่ถูกสุขลักษณะ

    ปลูกผักอินทรีย์ ลด ละ เลิกการใช้สารเคมี ใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพ ไม่ใช้สารเคมี 69 ครอบครัว

    บ้านสหกรณ์

    ขยายผลในหมู่บ้านและหมู่บ้านใกล้เคียง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สังคม เช่น มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ลดการเกิดอุบัติเหตุ ครอบครัวอบอุ่น การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อเด็ก เยาวชน และกลุ่มวัยต่าง ๆ มีพื้นที่สาธารณะ/พื้นที่ทางสังคม เพื่อเอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชน มีการใช้ศาสนา/วัฒนธรรมเป็นฐานการพัฒนา

    มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน/ครอบครัวอบอุ่น

    บ้านสหกรณ์

    ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. เศรษฐกิจสร้างสรรค์สังคม /สร้างอาชีพ / เพิ่มรายได้

    สร้างอาชีพเสริมให้กับสมาชิกในชุมชน รวมกลุ่มเลี้ยงไก่ปลูกผักเลี้ยงปลา เลี้ยงผึ้ง ให้ผลผลิตบริโภคในครอบครัว ส่วนที่เหลือขายเป็นรายได้ให้กับแต่ละครอบครัว

    บ้านสหกรณ์

    รวบรวมและจัดหาตลาดหรือเครือข่ายผู้บริโภคในหมู่บ้าน อ.บางแก้ว

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการบริการสุขภาพทางเลือก และมีช่องทางการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ

    -

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. อื่นๆ

     

     

     

    4. การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. มีกฎ / กติกา ของกลุ่ม ชุมชน

    ประชาชนมีกฎกติการในการอยู่ร่วมกันอย่างสงบโดยไมีคิดถึงเพียงประโยชน์ส่วนตน รักษาประโยชน์ส่วนร่วม

    บ้านสหกรณ์

    รักษาและปฏิบัติตามกติการข้อตกลง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. มีมาตรการทางสังคมของกลุ่ม ชุมชน

    -

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. มีธรรมนูญของชุมชน

    -

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. อื่นๆ เช่น ออกเป็นข้อบัญญัติท้องถิ่น ฯลฯ

    -

    -

    -

    5. เกิดกระบวนการชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. เกิดการเชื่อมโยงประสานงานระหว่างกลุ่ม / เครือข่าย (ใน และหรือนอกชุมชน)

    เชื่อมโยงกลุ่มแลเครือข่ายอำเภอบางแก้วในการทำเกษตรอินทรีย์วิถีการพึ่งตนเอง มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันการรับมือกับภัยแล้ง น้ำท่วม

    • รายงานการดำเนินงาน
    • บ้านสหกรณ์

    เชื่อมโยงกลุ่มและเครือข่ายมีความเข้มแข็ง พึ่งตนเองได้

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเรียนรู้การแก้ปัญหาชุมชน (การประเมินปัญหา การวางแผน การปฏิบัติการ และการประเมิน)

    ร่วมกันประเมินปัญหา และจัดทำแผนลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ เกษตรอินทรีย์พึ่งตนเอง ลด ละ เลิกการใช้สารเคมีทางการเกษตร

    แผนรับมือกับภัยแล้งและทำเกษตรวิถีพอเพียง

    ขยายผลให้กับสมาชิกในชุมชน มีคุณภาพและประสิทธิภาพที่ดี

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ประโยชน์จากทุนในชุมชน เช่น การระดมทุน การใช้ทรัพยากรบุคคลในชุมชน

    คนในชุมชน ขับเคลื่อนงานและเป็นวิทยากรแลกเปลียนเรียนรู้ปุ๋ยหมักและเกษตรอินทรีย์มีการสะสมและเก็บเมล็ดพันธุ์ในชุมชนทำปุ๋ยหมักใช้วัตถุดิบในชุมชน

    • บ้านสหกรณ์
    • รายงานการดำเนินงาน

    ขยายผลและใช้ทรัพยากรจากทุนในชุมชนให้เป็นประโยชน์ พึ่งพาตนเองของชุมชนอย่างยั่งยืน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกลุ่มและชุมชนที่เกิดจากโครงการอย่างต่อเนื่อง

    มีการขับเคลื่อนงานของกลุ่มชุมชนอย่างต่อเนื่อง

    • บ้านสหกรณ์

    ดำเนินงานและขับเคลื่อนงานอย่างต่อเนื่อง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. เกิดกระบวนการจัดการความรู้ในชุมชน

    กระบวนการจัดการความรู้ในชุมชน พัฒนามีทีมจัดทำข้อมูล และให้เยาวชนคนรุ่นใหม่เข้ามามีส่วนร่วมสำรวจข้อมูล และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ส่งผ่านข้อมูลความรู้จากคนรุ่นเก่าสู่คนรุ่นต่อไป มีข้อมูลองค์ความรู้มาจัดนิทรรศการ

    • บ้านสหกรณ์
    • รายงานผลการดำเนินงาน

    เผยแพร่ความรู้ให้ชุมชนและเครือข่ายได้เรียนรู้และนำไปปรับใช้ขยายสมาชิก กลุ่ม เครือข่าย

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. เกิดทักษะในการจัดการโครงการ เช่น การใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ การทำแผนปฏิบัติการ

    การพัฒนาและจัดการโครงการแบบมีสวนร่วม ทบทวนมีปฏิบัติการสอดคล้องกับสถานการณ์ชุมชน

    • บ้านสหกรณ์
    • รายงานผลการดำเนินงาน

    นำทักษะในการจัดการโครงการปรับใช้กับการจัดการของชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. อื่นๆ

    -

    -

    -

    6. มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเอง / กลุ่ม / ชุมชน

    มีผลผลิตเกษตรวิถีพอเพียง ใช้บริโภคในครอบครัว ได้แจกจ่ายให้เพื่อนบ้าน ในส่วนที่เหลือมีสินค้าจากชุมชนออกสู่ตลาด เช่น ถุงผักอินทรีย์ไข่ไก่ปลา

    • บ้านสหกรณ์
    • รายงานการดำเนินงาน

    ขยายผลในชุมชน พัฒนาบรรจุภัณฑ์ ของชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเห็นประโยชน์ส่วนรวมและส่วนตนอย่างสมดุล

    ได้มีแกนนำจิตอาสา จัดแบ่งเวลาในการทำงานเพื่อส่วนรวมและส่วนตนให้สมดุลรักษาผลประโยชน์ส่วนตนและส่วนร่วมเท่าเทียมกัน

    บ้านสหกรณ์

    ขยายผลและพัฒนาทักษะให้สมาชิกเพื่อสร้างคนขับเคลื่อนงานเพิ่มขึ้น

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย และพอเพียง

    มีการปลูกผักเลี้ยงสัตว์กินเองในครอบครัวและชุมชน

    บ้านสหกรณ์

    ขยายผลในชุมชนต่อเนื่อง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. ชุมชนมีความเอื้ออาทร

    มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกันมาช่วยกันทำปุ๋ยหมัก แบ่งปันกันรวมผลผลิตคนถนัดไปช่วยขายให้สมาชิกและแลกแบ่งปันพืชผักที่ปลูกในครอบครัว

    บ้านสหกรณ์

    ขยายผลในชุมชนมีเพิ่มมากขึ้น

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. มีการตัดสินใจโดยใช้ฐานปัญญา

    -

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. อื่นๆ

    -

    -

    -

    เกษตรอินทรีย์บนความพอเพียง บ้านสหกรณ์ จังหวัด พัทลุง

    รหัสโครงการ 58-03990

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นาย สุพล เกตุแก้ว )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด