assignment
บันทึกกิจกรรม
ติดตามหนุนเสริมการดำเนินโครงการร่วมกับพี่เลี้ยง (จัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์)15 ตุลาคม 2559
15
ตุลาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางสาวมณีพร เนาว์ไพร
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อประชุมจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประชุมร่วมกับพี่เลี้ยงและ ทีม สจรส.ม.อ. จัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์ ได้นำเอกสารการเงินงวดที่ 2 มาให้ทีม สจรส.ม.อ.ตรวจสอบความถูกต้องในการเบิกจ่าย

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้รับคำแนะนำการจัดทำเอกสารการเงิน และการรายงานผลในเว็บไซต์ยังไม่เรียบร้อย ขาดรูปภาพในหลายกิจกรรม ต้องกลับไปแก้ไขและส่งให้พี่เลี้ยงดูอีกครั้ง ก่อนส่งรายงานมายัง สจรส.ม.อ.

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 1 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

เจ้าหน้าที่การเงินโครงการ

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

จัดทำรายงาน15 ตุลาคม 2559
15
ตุลาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางสาวมณีพร เนาว์ไพร
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ตรวจสอบเอกสารของแต่ละกิจกรรรมให้ครบถ้วน ปรับปรุงแก้ไขให้สมบูรณ์ เมื่อเอกสารเรียบร้อยก็จัดทำเป็นรูปเล่ม

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้รายงานฉบับสมบูรณ์ให้แก่ชุมชนบ้านไร่ทอน ได้แนวทางในการต่อยอดโครงการของปีต่อไปในอนาคต

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 3 คน จากที่ตั้งไว้ 3 คน
ประกอบด้วย

หัวหน้ารับผิดชอบโครงการ จำนวน 1 คน คณะทำงาน จำนวน 2 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
ถ่ายภาพกิจกรรม 15 ตุลาคม 2559
15
ตุลาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางสาวมณีพร เนาว์ไพร
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

จัดทำรูปภาพรายงานกิจกรรม

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้รูปภาพจำนวน 10 รูป ประกอบการทำรายงานฉบับสมบูรณ์

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 3 คน จากที่ตั้งไว้ 3 คน
ประกอบด้วย

หัวหน้ารับผิดชอบโครงการ จำนวน 1 คน คณะทำงานจำนวน 2 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
งานสร้างสุขภาคใต้3 ตุลาคม 2559
3
ตุลาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางสาวมณีพร เนาว์ไพร
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อเข้าร่วมประชุมกับ สสส.และ สจรส.ม.อ.

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันที่ 3-5 ตุลาคม 2559 ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองสิริราชสมบัติ 60 ปี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ร่วมงานสร้างสุขภาคใต้

วันที่ 3 ตุลาคม
เวลา 12.00-13.00 น.มีการแสดงโขน และพิธีเปิด โดยร่วมกันร้องเพลงชาติไทย กล่าวต้อนรับ นายทรงพล สวาสดิ์ธรรม ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา และกล่าวพิธีเปิด โดยนายแพทย์วีระพันธ์ สุพรรณไชยมาตร์ รองประธานคณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
เวลา 13.30-15.00 มีการปาฐกถา เรื่องบทบาทของประเทศไทยในการเป็นผู้นำการพัฒนานวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพในภูมิภาคอาเซียนโดยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี จากนั้นมีการเสวนาเรื่องมุมมองใหม่ในการพััฒนาระบบสุขภาพในอนาคตการพัฒนาที่มุ่งเน้นการเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจเป็นสำคัญโดยเฉพาะการพัฒนาในด้านอุตสาหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในช่วง4ทศวรรษที่ผ่านมาเป็นการพัฒนาที่ก่อให้เกิดผลกระทบและความเสียหายต่อทรัพยากรโลกเป็นอย่างมากเมื่อปี2543ดังนั้นเพื่อให้เกิดความต่อเนื่ององค์การสหประชาชาติจึงได้กำหนดเป้าหมายการพัฒนาขึ้นใหม่โดยอาศัยกรอบความคิดที่มองการพัฒนาเป็นมิติของเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อมให้มีความเชื่อมโยงเรียกว่าเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนซึ่งจะใช้เป็นทิศทางการพัฒนาตั้งแต่เดือนกันยายนปี2558ถึงเดือนสิงหาคม2573 ครอบคลุมระยะเวลา15ปีโดยประกอบไปด้วย17เป้าหมายคือองค์การสหประชาชาติได้กำหนดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน17เป้าหมายหลักเป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับมิติสุขภาวะของโลกและประเทศไทย

วันที่ 4 ตุลาคม 2559
เวลา 09.00-17.00 น.ประชุมห้องย่อย สานพลังขับเคลื่อนชุมชนน่าอยู่ สู่นโยบายสาธารณะ ชมวิดีทัศน์การขับเคลื่อนงานชุมชนน่าอยู่ หลังจากนั้นมีการเสวนา เรื่อง สานพลังชุมชนน่าอยู่สู่สาธารณะโครงการสร้างคนรักษ์สิ่งแวดล้อมที่บ้านทุ่งยาว ตำบลโคกม่วง อำเภอเขาชันสน จังหวัดพัทลุง โดยผู้ใหญ่บ้านทุ่งยาว นายกเทศมนตรีตำบลโคกม่วง สำนักงานปฏิรูปที่ดินจังหวัดพัทลุง สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จังหวัดพัทลุง เลขานายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพัทลุง จากนั้นมีการแสดงโขนคน ตอน เชิดพระอิศวร และต่อมาได้มีการนำเสนอกรณีศึกษา ในประเด็นต่างๆ เช่น ประเด็นการจัดการจัดการขยะ ประเด็นเศรษฐกิจพอเพียง ประเด็นเด็กและเยาวชน ประเด็น การจัดการทรัพยากรและการท่องเทียว และประเด็นการจัดการสุขภาพและอาหารปลอดภัย

วันที่5ตุลาคม2559 เวลา10.30-11.45น.หัวข้อเสวนาการขับเคลื่อนระบบสุขภาพของประเทศไทยสู่การเป็นผู้นำภูมิภาคอาเซียนภาคใต้มีกระบวนการขับเคลื่อนงานสุขภาพของประชาชนในพื้นที่โดยในทุกๆปีจะมีการจัดงานสร้างสุขภาคใต้ปีละครั้งมาตั้งแต่ ปี พ.ศ.2549 กิจกรรมประกอบด้วยการบรรยายหัวข้อที่หลากหลายโดยการเชิญผู้ทรงคุณวุฒิในระดับภูมิภาคอาเซียนและระดับประเทศมาเป็นวิทยากรนอกจากนี้ภายในงานยังมีการจัดนิทรรศการการประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยของบุคลากรจากหน่วยงานภาครัฐอาจารย์นักวิจัยนักศึกษาระดับบัณฑิตอาสาและบุคคลผู้สนใจทั่วไปการประชุมห้องย่อยตามประเด็นปัญหาของพื้นที่ซึ่งประเด็นสำคัญที่เป็นวิกฤตสุขภาพได้แก่1. ความมั่นคงทางมนุษย์2.ความมั่นคงทางอาหาร3.ความมั่นคงทางทรัพยากร4.ความมั่นคงทางสุขภาพ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ได้ทราบการดำเนินงานการทำกิจกรรมของแต่ละพื้นที่ซึ่งมีความแตกต่างกัน
  • การดำเนินการทำกิจกรรมของแต่ละพื้นที่แต่ละสำนักมีความแตกต่างกันแต่เกิดการสมดุล
  • ได้เรียนรู้การทำโครงการชุมชน 5 อยู่ในแต่ละพื้นที่ เห็นรูปธรรมและแนวทางในการดำเนินโครงการให้สำเร็จ เกิดเป็นความรู้ที่จะนำมาต่อยอดในหมู่บ้านต่อไป
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 1 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

เจ้าหน้าที่การเงินโครงการ

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
ประชุมสภาผู้นำ ครั้งที่ 114 กันยายน 2559
4
กันยายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางสาวมณีพร เนาว์ไพร
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อประชุมสภาผู้นำ ประจำเดือน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ประชุมสภาผู้นำ เรื่อง การจัดแข่งขันกีฬาตำบล
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. สรุปผลการดำเนินงานให้ที่ประชุมรับราบ
  2. ขอมติที่ประชุมในการทำโครงการในปีที่ 2 โดยมติที่ประชุมให้มุ่งเน้นด้านการกีฬา หรือสนับสนุนการส่งเสริมเรื่องปัญหายาเสพติด เน้นการสร้างจิตสำนึกให้เยาวชน และคนในชุมชน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 26 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย

สมาชิกสภาผู้นำ 

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
จัดตั้งร้านค้าชุมชน28 สิงหาคม 2559
28
สิงหาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางสาวมณีพร เนาว์ไพร
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อเป็นแหล่งจำหน่ายสินค้าของคนในชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

สภาเกษตรได้เชิญสมาชิกสภาเกษตรพร้อมกับแกนนำเกษตรพอเพียบ้านพรุสมภารมาประชุมเพื่อชีแจ้งหลักการจัดตั้งร้านค้าชุมชนขึ้น และให้สมาชิกที่มีสินค้าจะฝากจำหน่ายกับทางร้านค้าให้มาแจ้งชื่อไว้ และจะติดต่อไปเมื่อการออกร้านจำหน่ายงานต่าง ๆ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • สภาเกษตรบ้านพรุสมภาร ได้จัดให้มีการออกร้านค้าชุมชน ในงาน อบต.เทพกระษัตรีสัญจร จำนวน 2 ครัง ในปี 2559 คือ
  1. หมู่บ้านป่าครองชีพ
  2. หมู่บ้านพรุสมภาร ในวันที 25 สิงหาคม 2559
  • โดยได้นำเอาสินค้าทางการเกษตรของชาวบ้าน เช่น ผัก ต้นมะนาว ต้นผักเหมียง ไข่ไก่ ขนมพื้นบ้าน ผลิตภัณฑ์จากสมาชิก จำหน่าย โดยมีตัวแทนสมาชิกนำไปจำหน่าย ในราคาถูก เพื่อให้คนนอกหมู่บ้านได้รู้จักกับกลุ่มของเราก่อน ในช่วงแรก จะจำหน่าย โดยหักกำไรจากการขาย 20 % ให้กับผู้จำหน่าย
  • สมาชิกในสภาเกษตรมีแหล่งจำหน่ายสินค้าทางการเกษตรเพิ่ม คนนอกหมู่บ้าน ได้รู้จักกลุ่มสภาเกษตรบ้านพรุสมภาร ในฐานะที่มีสินค้าทางการเกษตร ราคาถูก ปลอดสารพิษจำหน่าย

ปัญหาที่พบ

  • เนื่องจากในโครงการ ระบุว่าจะจำหน่ายในตลาดนัดของชุมชน ในวันอาทิตย์ทุกอาทิตย์ แต่เนื่องจากกลุ่มเพิ่งเริ่มจัดตั้งจึงทำให้มีสินค้าไม่มากพอ จึงออกร้านได้เฉพาะ งาน อบต.เทพกระษัตรี สัญจร เท่านั้น
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 200 คน จากที่ตั้งไว้ 150 คน
ประกอบด้วย

ประชาชนทั่วไป

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
ประชุมสภาเกษตรกรบ้านพรุสมภาร ครั้งที่ 1021 สิงหาคม 2559
21
สิงหาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางสาวมณีพร เนาว์ไพร
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อแลกเปลี่ยนความความคิดเห็นของสมาชิกสภาเกษตร

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • เวลา 13.30 น. นายไกรสรพันธ์ทิพย์ ผู้ใหญ่บ้าน ได้เปิดการประชุม และเชิญนางสาวพเยาว์ประทีปไพศาลกุล พัฒนาการอำเภอถลาง พบปะพูดคุยกับสมาชิก โดยพัฒนาการอำเภแถลาง ได้พูดถึงผลสำเร็จของการทำงานตามโครงการเกษตรพอเพียงตามวิถีชุมชนบ้านพรุสมภาร ว่า ตอนนี้ชาวบ้านพรุสมภารที่ได้เข้าร่วมโครงการ มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น มีความรู้เพื่อการดำเนินชีวิตเพิ่มขึ้น รู้หลักของการใช้ชีวิตตามหลักปรัชญาพอเพียงของในหลวง
  • หลังจากนั้น นายพงษ์เทพ เนาว์ไพร ตัวแทนชาวบ้านพรุสมภารได้กล่าวคำขอบคุณ พัฒนาชุมชนอำเภอถลาง ทั้ง นางสาวพเยาว์ ประทีปไพศาลกุล พัฒนาการอำเภอ และนางจินตนาแหนมใส พัฒนากรประจำตำบลเทพกระษัตรี ที่ได้ให้ความร่วมมือด้วยดีมาตลอกในการทำงานตามโครงการ เป็นที่ปรึกษาให้ทั้งสาภผู้นำ สภาเกษตรกร และชาวบ้าน อีกทั้งยังให้การสนับสนุนด้านต่าง ๆ อีกมากมาย
  • เวลา 15.00 น. ปิดการประชุม
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • เกิดความร่วมมือในการพัฒนาหมู่บ้านระหว่างทีมสภาผู้นำบ้านพรุสมภาร และ หน่วยงานกรมการปกครอง
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 37 คน จากที่ตั้งไว้ 100 คน
ประกอบด้วย

สมาชิกสภาเกษตร 35 คน เจ้าหน้าที่จากพัฒนาชุมชนอำเภอถลาง 2 คย

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
ส่งเสริมอาชีพ กลุ่มเลี้ยงไก่บ้านย้ายคอกและไก่ไข่อารมณ์ดี15 สิงหาคม 2559
15
สิงหาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางสาวมณีพร เนาว์ไพร
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อให้คนในชุมชนเรียนรู้เรื่องการเลี้ยงไก่ ให้ได้รายได้เพิ่มขึ่น

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

จัดอบรมให้ความรู้ส่งเสริมอาชีพ กลุ่มเลี้ยงไก่บ้านย้ายคอกและไก่ไข่อารมณ์ดี ได้เชิญวิทยากรจากหน่วยงานเกษตรอำเภอถลางมาให้ความรู้ในการเลี้ยงไก่ไข่ เพื่อสร้างรายได้ให้กับแม่บ้านพรุสมภาร

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ชาวบ้านจำนวน 45 คน ที่เข้าร่วมอบรม ได้ความรู้ในเรื่องการเลี้ยงไก่ไข่เป็นอาชีพเสริม โดยเลี้ยงแบบปล่อยและให้อาหารที่เหลือในแต่ละวัน จะทำให้ไก่ไม่เครียดและให้ไข่ได้ในปริมาณที่มากต่อวัน ทั้งนี้การเลี้ยงไก่ไข่นั้นทำรายได้ให้ดีกับคนที่สนใจทำเป็นอาชีพเสริม
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 45 คน จากที่ตั้งไว้ 40 คน
ประกอบด้วย

ประชาชน 30 คน เยาวชน 5 คน สภาผู้นำและวิทยากร 10 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
สร้างศูนย์เรียนรู้ชุมชน 1 แห่ง10 สิงหาคม 2559
10
สิงหาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางสาวมณีพร เนาว์ไพร
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อจัดตั้งศูนย์เรียนรู้การเกษตรภายในโรงเรียน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • จากกิจกรรมต่าง ๆ ที่ผ่านมา ได้มีการนำเอาอุปกรณ์ในการฝึกอบรมมาไว้ในพื้นที่ของโรงเรียนบ้านพรุจำปา เพื่อให้แกนนำเศรษฐกิจพอเพียงเป็นผู้ดูแล
    สภาผู้นำจึงมีมติให้จัดตั้ง ศูนย์เรียนรู้ทางการเกษตรของชุมชน ไว้ในพื้นที่ของโรงเรียน จึงได้จัดทำป้ายมาติดตั้งเพื่อแสดงถึงความก้าวหน้าของโครงการ ทั้งนี้ ทางโรงเรียนบ้านพรุจำปา ได้จัดให้แกนนำเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนบ้านพรุจำปา จำนวน 40 คน เป็นผู้ดูแล รักษา ศูนย์นี้ต่อไป 
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ได้จัดตั้งศูนย์เรียนรู้ทางการเกษตรของชุมชน ณ โรงเรียนบ้านพรุจำปา 1 แห่ง เป็นศูนย์เรียนรู้การพึ่งพิงตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีการสาธิตการปลูกผักปลอดสารพิษ และสามารถนำไปขายในท้องตลาดได้ มีจุดสาธิตการทำปูุ๋ยหมัก ปุ๋ยอินทรีย์ การเลี้ยงปลา เลี้ยงแพะ และเลี้ยงไก่ เพื่อเป็นที่เรียนรู้ให้กับคนในชุมชน และคนนอกชุมชนที่สนใจ
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

เกือบได้ตามเป้าหมาย (2)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 15 คน จากที่ตั้งไว้ 15 คน
ประกอบด้วย

ติดตั้งป้ายศูนย์เรียนรู้ทางการเกษตร ในพื้นที่โรงเรียนบ้านพรุจำปา เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ของเยาวชน ประชาชนในหมู่บ้าน จำนวน 1 แห่ง

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ประชุมสภาผู้นำ ครั้งที่ 107 สิงหาคม 2559
7
สิงหาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางสาวมณีพร เนาว์ไพร
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อปรึกษาหารือเรื่องกิจกรรมหมู่บ้านและกิจกรรมโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ประชุมสภาผู้นำ เรื่อง การวางแผนทำกิจกรรมในเดือนสิงหาคม โดยเริ่มดำเนินการในอาทิตย์หน้า
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ในเดือนสิงหาคม จะมีกิจกรรมตามโครงการต้องทำ 4 กิจกรรม คือ
  1. สร้างศูนย์เรียนรู้ 1 แห่ง ในวันที่ 10 สิงหาคม 2559
  2. ส่งเสริมอาชีพ กลุ่มเลี้ยงไก่บ้านย้ายคอก และไก่ไข่อารมร์ดี วันที่ 15 สิงหาคม 2559
  3. ประชุมสภาเกษตร ครั้งที่ 10 วันที 21 สิงหาคม 2559
  4. จัดตั้งร้านค้าชุมชน วันที่ 28 สิงหาคม2559
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 15 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย

สภาผู้นำ จำนวน 15 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
น้องชอบร้อง อัลนาเชร30 กรกฎาคม 2559
30
กรกฎาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางสาวมณีพร เนาว์ไพร
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อให้เยาวชนใช้เวลว่างให้เป็นประโยชน์ ห่างไกลจากยาเสพติด

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • วันที่ 16 เมษายน 59 เวลา 09.00 น.เริ่มเปิดรับสมัครเยาวชน อายุตั้งแต่ 7-18 ปี เพื่อเข้าร่วมโครงการ น้องรักน้องชอบพี่จัดให้ ซึ่งในโครงการนี้จะเป็นการทำกิจกรรมที่น้องเยาวชนในหมู่บ้านต้องการ โดยให้น้อง ๆ บอกกิจกรรมที่อยากทำ
  • เวลา 12.00 น. ปิดการรับสมัคร
  • เวลา 13.00 น.สภาผู้นำ พร้อมด้วยคณะกรรมการชมรมกีฬาบ้านพรุสมภาร
  • เวลา 14.00 น. ได้แบ่งกลุ่มเยาวน เพื่อพบปะกับผู้ฝึกสอน และนัดเวลาซ้อม
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. ได้ทีมอัลนาเชร ของหมู่บ้าน โดยตั้งชื่อว่า PHRUSOMPAN BAND
  2. เยาวชนเกิดความสามัคคี ระหว่าง หญิงและชาย มากขึ้น จากการพูดคุยกับเยาวชนที่มาสมัครจากใบสมัคร สรุปกิจกรรมที่เยาวชนต้องการได้ คือ

  3. ฟุตบอล จำนวน 37 คน

  4. เปตอง จำนวน 8 คน
  5. อัลนาเชร 15 คน
  • เนื่องด้วยในช่วงเวลาที่ผู้นำสภากำหนดไว้ ครูผู้ฝึกสอนไม่สามารถสอนได้ จึงนัดวันเวลาตามที่ครูฝึกสอนสะดวก
  • เริ่มฝึกซ้อมใน วันที่ 27 มิถุนายน 2559 ถึงวันที่ 29 กรกฏาคม 2559 เวลา 19.00-21.00 น. ของทุกวัน ยกเว้นวันเสาร์และอาทิตย์
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 15 คน จากที่ตั้งไว้ 15 คน
ประกอบด้วย

เยาวชน จำนวน 15 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
พี่น้องชอบเปตอง29 กรกฎาคม 2559
29
กรกฎาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางสาวมณีพร เนาว์ไพร
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อให้เยาวชนใช้เวลว่างให้เป็นประโยชน์ ห่างไกลจากยาเสพติด

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • วันที่ 16 เมษายน 59 เวลา 09.00 น.เริ่มเปิดรับสมัครเยาวชน อายุตั้งแต่ 7-18 ปี เพื่อเข้าร่วมโครงการ น้องรักน้องชอบพี่จัดให้ ซึ่งในโครงการนี้จะเป็นการทำกิจกรรมที่น้องเยาวชนในหมู่บ้านต้องการ โดยให้น้อง ๆ บอกกิจกรรมที่อยากทำ ได้แบ่งกลุ่มเยาวน เพื่อพบปะกับผู้ฝึกสอน และนัดเวลาซ้อม
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. ในช่วงแรกฝึกซ้อม ก็มีเยาวชนที่สมัครเอาไว้มาฝึกซ้อม จำนวน 8 คน และชาวบ้านอีก 4-5 คน จัดทีมได้ 4 ทีม โดย มัสยิดดาวะตุ้ลงอิสลามีย๊ะบ้านพรุสมภาร อนุญาติให้ใช้สถานที่
  2. ครูฝึกสอน สอนพร้อมปฏิบัติ ให้เรียนรู้เรื่องกฏกติกา การเล่น น้ำใจนักกีฬา
  3. เมื่อฝึกซ้อมไปได้ 2-3 วัน ก็มีชาวบ้านสนใจมากขึ้น จึงจำเป็นต้องเพิ่มสนามเปตองมากขึ้น เพื่อให้พอกับจำนวนผู้เล่น
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 24 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย

เยาวชน จำนวน 8 คน ผู้ใหญ๋ จำนวน 16

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

งบประมาณไม่เพียง จะจัดซื้อลูดเปตอง ชาวบ้านที่มาเล่นจึงช่วยกันออกเงินเพื่อจัดซื้อลูกเปตองเพิ่มอีกชุด โดยมอบให้เป็นของหมู่บ้าน

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
ประชุมสภาเกษตรกรบ้านพรุสมภาร ครั้งที่ 916 กรกฎาคม 2559
16
กรกฎาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางสาวมณีพร เนาว์ไพร
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อพบปะพูดคุยของกลุ่มแกนนำเกษตรพอเพียงโรงเรียนบ้านพรุสมภาร

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • เรียนรู้การทำปุ๋ยหมักโดยแกนนำและกลุ่มเยาวชนบ้านพรุสมภาร มีปราชญ์ชาวบ้านคุณพงษ์เทพ เนาว์ไพร มาให้ความรู้เรื่องการทำปุ๋ย เริ่มจากการแนะนำวัสดุในการทำปุ๋นชย และลงมือปฏิบัติการ
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • แกนนำและกลุ่มเยาวชน เรียนรู้การทำปุ๋ยหมัก ดังนี้

อุปกรณ์ในการทำปุ๋ยหมัก จำนวน 3 บ่อ

  1. หน้าดิน 10 ถุง
  2. ขุยมะพร้าว 5 กระสอบ
  3. ปุ๋ยคอก (ขี้แพะ) 5 กระสอบ

วิธีการผสม

  1. นำดิน-ขุยมะพร้าว-ปุ๋ยคอก = 1-2-2
  2. นำมาผสมในเครื่องโม่ผสมดิน

วิธีการปลูก

  1. นำดินที่ผสมเสร็จแล้วใส่ลงในบ่อซีเมนต์จนเต็มบ่อ
  2. ขูดกลางบ่อให้เป็นหลุดขนาดเท่ากับดินเดิมของต้นพันธ์ุมะนาว
  3. ใส่ปุ๋ยเคมี 16-0-0 ลงก้นหลุด ประมาณ 1 กำมือ
  4. ผสมดินกับปุ๋ยให้เข้ากัน
  5. เอาตันพันธ์ุลงปลูก ให้กลบดินให้เสมอกันดินเดิมของต้นพันธุ์
  6. รดน้ำให้ชุ่ม

การเตรียมบ่อปลาดุก

  1. นำต้นกล้วย 1-2 ต้นต่อบ่อ มาสับหยาบ ๆ
  2. ใส่ลงในบ่อ เติมน้ำให้เต็มบ่อ
  3. ทิ้งไว้ 1 อาทิตย์ เพื่อกำจัดพิษปูนในบ่อซีเมนต์ใหม่
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 45 คน จากที่ตั้งไว้ 100 คน
ประกอบด้วย

นักเรียน 29 คน สภาผู้นำและอาจารย์ที่ปรึกษา ๅ16 คน

จำนวนจริง 45 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

เนื่องด้วยมีการอบรมการปลูกมะนาวในบ่อซีเมนต์และการเลี้ยงปลาดุกไปแล้ว ครั้งนี้งบประมารวัสดุอุปกรณ์จึงไม่มี ผู้ใหญ่บ้านได้อนุเคราะห์บ่อซีเมนต์สำหรับปลูกมะนาว จำนวน  3 บ่อ และบ่อซีเมนต์สำหรับเลี้ยงปลาดุก จำนวน 2 บ่อ
อุปกรณ์ในการผสมดิน ค่าอาหารและค่าวิทยากร จึงใช้งบประมาณของการประชุมสภาเกษตรจัดซื้อ 

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
ประชุมสภาผู้นำ ครั้งที่ 910 กรกฎาคม 2559
10
กรกฎาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางสาวมณีพร เนาว์ไพร
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อปรึกษาหารือเรื่องกิจกรรมหมู่บ้านและกิจกรรมโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ประชุมสภาผู้นำเตรียมการทำกิจกรรมในเดือนกรกฎาคม
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • กิจกรรมที่จะทำตามโครงการเกษตรพอเพียงตามวิถีชุมชนบ้านพรุสมภาร ในเดือนนี้
  1. ประชุมสภาเกษตรครั้งที่ 9 (แกนนำอบรมผสมดินและเตรียมบ่อปลาดุก) ในวันที่ 16 ก.ค. 2559
  2. กิจกรรมน้องรักน้องชอบพี่จัดให้ กิจกรรม น้องชอบเปตอง จบกิจกรรมวันที่ 29 ก.ค. 2559
  3. กิจกรรมน้องรักน้องชอบพี่จัดให้ กิจกรรม น้องชอบอัลนาเชร จบกิจกรรมวันที่ 30 ก.ค. 2559
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 22 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย

สภาผู้นำ 22 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
ประชุมสภาผู้นำ ครั้งที่ 85 มิถุนายน 2559
5
มิถุนายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางสาวมณีพร เนาว์ไพร
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อปรึกษาหารือเรื่องกิจกรรมหมู่บ้านและกิจกรรมโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • เริ่มประชุมเวลา ๒๐.๓๐ น. ผู้ใหญ่เปิดการประชุม

ระเบียบวาระที่ ๑ เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
ระเบียบวาระที่ ๒ เรื่องรับรองรายงานการประชุมครั้งที่แล้ว เลขาได้อ่านวาระการประชุมครั้งที่ผ่านมาให้ที่ประชุมรับฟัง มติที่ประชุมไม่มีใครคัดค้าน และเห็นด้วยกับทุกมติ

ระเบียบวาระที่ ๓เรื่องเสนอเพื่อทราบ ไม่มี

ระเบียบวาระที่ ๔ เรื่องเสนอเพื่อพิจารณา มติที่ประชุม เห็นชอบ   ระเบียบวาระที่ ๕ระเบียบวาระอื่น ๆ

ปิดประชุมเวลา ๒๒.๐๐ น.

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลการประชุม

วาระที่ 1

  • ผู้ใหญ่ขอขอบคุณกรรมการทุกท่าน ที่ช่วยงานเร่งด่วน เรื่องการประกวด “บ้านสวยเมืองสุข” ในวันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๕๙ ที่ผ่านมา และทำให้งานผ่านพ้นไปด้วยดี และจากการประกวด ผลปรากฏว่า “บ้านพรุสมภารได้อันดับ ๑ ระดับจังหวัดภูเก็ต” และได้เป็นตัวแทนจังหวัดแข่งระดับภาคต่อไป
  • โครงการยกระดับศักยภาพหมู่บ้านเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ (งบ ๒๐๐,๐๐๐บาท) ที่เสนอไปนั้นได้ผ่านการอนุมัติเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ให้ทุกฝ่ายที่มีหน้าที่รับผิดชอบดำเนินการได้เลย
    วาระที่ 4

  • โครงการประชารัฐรักสามัคคี ได้ดำเนินการมาถึงขั้นตอนที่ ๕ คือ ขั้นตอนการสรุปจำนวนผู้เสพและผู้ค้าที่มีในหมู่บ้าน จากการเสนอรายชื่อในทางลับ สรุปได้ว่า ผู้เสพ จำนวน ๑๕ คน ผู้ค้ายาบ้าจำนวน ๓ คน ผู้ค้ายาไอซ์จำนวน ๒ คน ผู้ค้าพืชกระท่อม จำนวน ๔ คนมติที่ประชุมเห็นชอบ ผู้ใหญ่จึงสั่งให้เลขา จัดพิมพ์เอกสารส่งให้กับปลัดศิริพงษ์

  • โครงการเกษตรพอเพียงตามวิถีชุมชนบ้านพรุสมภาร เดือนนี้เป็นเดือนรอมาฏอน จึงสมควรที่จะหยุดทำกิจกรรม ๑ เดือน มีมติให้หยุดกิจกรรมต่าง ๆ ช่วงเดือนรอมาฏอนทั้งเดือน

วาระที่ 5 ในวันที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๕๙ ผู้ว่าราชการจะให้เกียรติมาร่วมละศีลอดกับชาวบ้านพรุสมภาร จึงขอให้คณะกรรมการหมู่บ้านทุกท่านมาช่วยตระเตรียมสถานที่และอย่างอื่น ในวันที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๕๙ ณ มัสยิด

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

เกือบได้ตามเป้าหมาย (2)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 20 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย

สภาผู้นำ 20 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
ประชุมสภาเกษตรกรบ้านพรุสมภาร ครั้งที่ 827 พฤษภาคม 2559
27
พฤษภาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางสาวมณีพร เนาว์ไพร
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อพบปะพูดคุยของกลุ่มแกนนำเกษตรพอเพียงโรงเรียนบ้านพรุสมภาร

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • เริ่มประชุมเวลา ๑๔.๓๐ น. ประธานสภาผู้นำเปิดการประชุม

ระเบียบวาระที่ ๑ เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
ระเบียบวาระที่ ๒ เรื่องรับรองรายงานการประชุมครั้งที่แล้ว
ระเบียบวาระที่ ๓ เรื่องเสนอเพื่อทราบ

ระเบียบวาระที่ ๔ เรื่องเสนอเพื่อพิจารณา
ระเบียบวาระที่ ๕ระเบียบวาระอื่น ๆ ไม่มี

ปิดการประชุม เวลา ๑๖.๐๐ น.

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลการประชุม

วาระที่ 1

  • การจัดตั้งสภาเกษตรบ้านพรุสมภาร จัดตั้งโดยให้สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเสน่ห์ ซึ่งปัจจุบันจึงมีกลุ่มอาชีพย่อยรวม ๕ กลุ่ม คือ
    กลุ่มผู้เลี้ยงแพะ กลุ่มผู้ปลูกมะนาวในบ่อซีเมนต์ กลุ่มผู้เลี้ยงปลาน้ำจืด กลุ่มผู้เลี้ยงไกบ้านและไก่ไข่ และกลุ่มแม่บ้านเพื่อการแปรรูปผลิตภัณฑ์
  • ตอนนี้ได้ทำการลงทะเบียนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และจากมติที่ประชุมสภาเกษตร มีมติว่า ให้สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเสน่ห์โพธิ์ทั้งหมด จัดตั้งให้เป็นสภาเกษตรบ้านพรุสมภาร และแกนนำเกษตรพอเพียงโรงเรียนบ้านพรุจำปา ก็เป็นสมาชิกของสภาเกษตรด้วย

วาระที่ 2

  • เลขาได้อ่านวาระการประชุมครั้งที่ผ่านมาให้ที่ประชุมรับฟัง มติที่ประชุมไม่มีใครคัดค้าน และเห็นด้วยกับทุกมติ

ระเบียบวาระที่ 3
- หน้าที่หลักของ แกนนำเกษตรพอเพียงโรงเรียนพรุจำปา คือ การดูแลศูนย์เรียนรู้เกษตรพอเพียง ซึ่งจะประกอบด้วย การปลูกมะนาวในบ่อซีเมนต์ การเลี้ยงปลาดุกในบ่อซีเมนต์ และพืชอื่น ๆ ในแปลง โดยให้อาจารย์ที่ปรึกษาเป็นผู้แบ่งหน้าที่

วาระที่ 4

  • เนื่องจากเมื่อวันที่มีการอบรมการปลูกมะนาวในบ่อซีเมนต์และการเลี้ยงปลาดุกในบ่อซีเมนต์ นักเรียนแกนนำไม่สามารถไปร่วมการอบรมได้ อาจารย์ที่ปรึกษาจึงขอให้มีการให้ความรู้กับแกนนำฯก่อน สภาผู้นำจึงเสนอให้แกนนำฯ อบรมแบบลงมือปฏิบัติเองจริงทั้งหมด คือ การผสมดินสำหรับปลูกมะนาวในบ่อซีเมนต์ และการเตรียมบ่อซีเมนต์ก่อนเลี้ยงปลาดุก โดยนัดหมายกันในวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๕๙ เวลา ๑๓.๓๐ น. โดยใช้งบประมาณจากกิจกรรมการประชุมสภาเกษตร จากมมติที่ประชุม สมาชิกและสภาผู้นำเห็นด้วย
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 45 คน จากที่ตั้งไว้ 100 คน
ประกอบด้วย

นักเรียน 34 คน สภาผู้นำและอาจารย์ที่ปรึกษา 11 คน จำนวนจริง 45 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
ประชุมสภาเกษตรกรบ้านพรุสมภาร คร้งที่ 721 พฤษภาคม 2559
21
พฤษภาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางสาวมณีพร เนาว์ไพร
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อพบปะพูดคุยของกลุ่มผู้เลี้ยงปลาน้ำจืด

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประชุมสภาเกษตรบ้านพรุสมภาร มีการแลกเปลี่ยนในประเด็น ดังนี้

  • น้ำหมักสมุนไพร 7 รส ป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชผักได้ทุกชนิด
  • น้ำหมักสมุนไพร 7 รส เป็นสูตรที่ผสมขึ้นมาจากสมุนไพรที่มีรสจืด ขม ฝาด เบื่อเมา เปรี้ยว หอมระเหย และ เผ็ดร้อน หรือ อาจกล่าวได้ว่าเป็นสูตรที่รวมรสของสมุนไพรที่มีคุณสมบัติในการกำจัดแมลงศัตรูพืชเข้าไว้ในสูตรเดียวกัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชผัก ซึ่งมีความหลากหลายและสามารถพัฒนาความต้านทานสารกำจัดแมลงได้ภายในเวลาไม่นาน ดังนั้นการรวมพิษของพืชที่มีผลต่อระบบการทำงานของแมลงศัตรูพืช เอาไว้ภายในสูตรเดียว จึงเป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะลดปัญหาการดื้อยาของแมลงลงได้โดยการทำน้ำหมักสมุนไพร 7 รส นั้นเป็นการเลือกเอาสมุนไพรรสต่างๆ มาทำน้ำหมักจุลินทรีย์ชีวภาพ เพื่อประโยชน์ทางการเกษตร ซึ่งสามารถใช้ได้กับนาข้าว และพืชผักทุกชนิด น้ำหมักสมุนไพร 7 รส ประกอบด้วย
  1. สมุนไพรรสจืด ได้แก่ ใบกล้วย ผักบุ้ง รางจืด และพืชสมุนไพรที่มีรสจืดทุกชนิด
    สรรพคุณ :จะเป็นปุ๋ยบำรุงดิน ให้ดินมีความร่วนซุย โปร่ง และทำให้ดินไม่แข็ง และสามารถใช้บำบัดน้ำเสียได้ด้วย
  2. น้ำหมักสมุนไพรรสขม ได้แก่ ใบสะเดา บอระเพ็ด ใบขี้เหล็ก และพืชสมุนไพรที่มีรสขมทุกชนิด
    สรรพคุณ :สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้กับพืช
  3. สมุนไพรรสฝาด ได้แก่ ปลีกล้วย เปลือกมังคุด เปลือกฝรั่ง มะยมหวาน และพืชสมุนไพรที่มีรสฝาดทุกชนิด
    สรรพคุณ : ฆ่าเชื้อราในโรคพืชทุกชนิด
  4. น้ำหมักสมุนไพรรสเบื่อเมา ได้แก่ หัวกลอย ใบเมล็ดสบู่ดำ ใบน้อยหน่า และพืชสมุนไพรที่มีรสเบื่อเมาทุกชนิด
    สรรพคุณ :ฆ่าเพลี้ย หนอน และ แมลง ในพืชผักทุกชนิด
  5. น้ำหมักสมุนไพรรสเปรี้ยว ได้แก่ มะกรูด มะนาว กระเจี๊ยบ และพืชสมุนไพรที่มีรสเปรี้ยวทุกชนิด
    สรรพคุณ :ไล่แมลงโดยเฉพาะ
  6. น้ำหมักสมุนไพรรสหอมระเหย ได้แก่ ตะไคร้หอม ใบกะเพรา ใบเตย และพืชสมุนไพรที่มีรสหอมระเหยทุกชนิด
    สรรพคุณ :จะเป็นน้ำหมักที่เปลี่ยนกลิ่นของต้นพืช เพื่อป้องกันไม่ให้แมลงไปกัดกินทำลาย
  7. น้ำหมักสมุนไพรรสเผ็ดร้อน ได้แก่ พริก ขิง ข่า และพืชสมุนไพรที่มีรสเผ็ดร้อนทุกชนิด
    สรรพคุณ :ไล่แมลง และ ทำให้แมลงแสบร้อน

วิธีการทำ

  1. ใช้วัตถุดิบที่เป็นที่มาของแต่ละรส อย่างใดอย่างหนึ่งสับให้ละเอียด รวมแล้วให้ได้จำนวน 3 กิโลกรัม + กากน้ำตาล จำนวน 1 ลิตร + น้ำเปล่า จำนวน 10 ลิตร
  2. เทน้ำเปล่าใส่ถังพลาสติกแล้วเทกากน้ำตาลลงไปคนเรื่อยๆจนกากน้ำตาลละลายเป็นเนื้อเดียวกันกับน้ำ จากนั้นจึงเทวัตถุดิบที่สับละเอียดแล้วตามลงไป คนให้เข้ากันอีกครั้ง ปิดฝาให้สนิทตั้งไว้ในที่ร่ม นานประมาณ 3 เดือน จึงสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้

    การใช้ประโยชน์

  • ใช้ในอัตราส่วนเดียวกันสำหรับพืชผัก นาข้าว และไม้ผลทุกชนิด คือ น้ำหมัก 1 ลิตร+น้ำเปล่า 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่ว คือ ถ้าเป็นพืชผักทั่วไปฉีดพ่นทุก 3 วัน / ถ้าเป็นไม้ผลฉีดพ่นทุก 7 วัน
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • สมาชิกสภาเกษตรได้เรียนรู้ประโยชน์การนำน้ำหมักชีวภาพไปใช้
  • สมาชิกได้ซักถามปัญหาที่เกิดจากการเลี้ยงปลาดุกในบ่อซีเมนต์ กับปราญช์ชาวบ้าน ดังนี้
  1. ทำไมปลาเบื่ออาหาร ตอบไม่เปลี่ยนน้ำ ปล่อยให้น้ำเสีย
  2. ทำไมปลาตายและเป็นแผลตามตัว ตอบ อาจจะปลาในบ่อเยอะเกิน หรือปลาเป็นโรค แก้ไขโดย ใช้น้ำยาฆ่าเชื้อในน้ำมีขายตามท้องตลาด หรือ จะใช้สูตรน้ำหมักที่ที่ได้ให้ไปแล้ว
  3. อาหารแต่ละขนาด กินนานแค่ไหน ตอบ 1-2 เดือนแรก ใช้อาหารเล็ก 2-3 เดือน ใช้อาหารกลาง 3 จนขาย เดือนใช้อาหารใหญ่
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 100 คน
ประกอบด้วย

สมาชิกกลุ่มผู้เลี้ยงปลาน้ำจืด 25 คน สภาผู้นำ 5 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
ฟุตบอลที่น้องรัก20 พฤษภาคม 2559
20
พฤษภาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางสาวมณีพร เนาว์ไพร
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อให้เยาวชนใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ห่างไกลจากยาเสพติด

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • วันที่ 19 พ.ค. 2559 ได้มีจัดการแข่งขันฟุตบอลในหมู่บ้าน ซึ่งได้นำทีมเยาวชนร่วมแข่งขันด้วย จำนวน 2 ทีม จากทั้งหมด 4 ทีม โดยได้รับการสนับสนุนเสื้อกีฬาจาก บริษัทไทยแอร์เอเชีย ประจำท่าอากาศยานนานาชาติ จังหวัดภูเก็ต
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. เกิดทีมฟุตบอลเยาวชน 2 ทีม
  2. เยาวชนหันมาเล่นฟุตบอลมากขึ้น
  3. เยาวชนได้ชักชวนเพื่อนมาเพิ่มในระหว่างการฝึกซ้อมด้วย ทำให้เกิดความสัมพันธ์ร่วมกันระหว่างเยาวชนและชาวบ้านพรุสมภาร
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย
  1. เยาวชน อายุประมาณ 7-18 ปี จำนวน 37 คน
  2. วิทยากรและสภาผู้นำ จำนวน 8 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

งบประมาณไม่เพียงพอ ได้รับการสนับสนุนจากผู้ใหญ่บ้าน คณะกรรมหมู่บ้าน และหน่วยงานเอกชนหลายส่วน

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
ประชุมสภาเกษตรกรบ้านพรุสมภาร ครั้งที่ 615 พฤษภาคม 2559
15
พฤษภาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางสาวมณีพร เนาว์ไพร
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อพบปะพูดคุยของกลุ่มผู้เลี้ยงแพะ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

สมาชิกกลุ่มย่อยเลี้ยงแพะได้แลกเปลี่ยนถึงข้อดี ข้อเสียของหญ้าหมัก

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลจากการแลกเปลี่ยนเรื่องหญ้าหมัก

ข้อเสีย 1. ต้องมีความรู้ความชำนานในการทำหญ้าหมัก 2. เปลืองแรงงานและลงทุนสูง 3. ขาดวิตามินดี 4. เป็นราเสียหายง่ายเมื่อเปิดถังใช้ 5.หญ้าหมักมีฤทธิ์เป็นกรดจึงทำลายภาชนะที่เป็นโลหะ เพราะฉะนั้นต้องใช้ภาชนะที่เป็นพลาสติกเท่านั้น

ข้อดีของหญ้าหมัก

  1. สามารถทำได้ทุกฤดูกาล
  2. สามารถใช้ทุกส่วนของต้นพืชให้เป็นประโยชน์
  3. ใช้พื้นที่ในการเก็บรักษาน้อย
  4. หญ้าหมักมีลักษณะอวบน้ำสัตว์ชอบกิน
  5. ลดอันตรายจากอัคคีภัย
  6. สามารถเก็บรักษาได้นาน
  7. กรณีเริ่มใช้หญ้าหมัก เลี้ยงควรแบ่งให้วันละน้อยและเพิ่มขึ้นเมื่อสัตว์เคยชิน

- สมาชิกได้รับความรู้เรื่องการทำหญ้าหมัก ประโยชน์ ข้อดี ข้อเสียและได้ลงมือปฏิบัติ - ข้อควรระวังในการทำหญ้าหมัก

  1. การอัดหญ้าลงในภาชนะที่ใช้หมักต้องอัดให้แน่นเพื่อไล่อากาศที่มีอยู่ในภาชนะออกให้มากที่สุด ซึ่งจะช่วยให้การหมักเกิดได้ดี และหญ้าหมักเสียน้อยที่สุด
  2. การปิดภาชนะที่บรรจุต้องทำให้มิดชิดเพื่อป้องกันไม่ให้อากาศจากภายนอกเข้าไปในกองหญ้าหมัก
  3. เมื่อเปิดภาชนะควรใช้ให้หมดในระยะเวลาอันสั้น และเปิดภาชนะอย่าให้กว้างมาก เพื่อช่วยให้หญ้าหมักเสื่อมช้าลง
  4. หญ้าที่นำมาใช้หมักไม่ควรจะมีความชื้นสูงมากเพราะจะทำให้เกิดน้ำในภาชนะหมักมากเกินไป และหญ้าหมักเก็บได้ไม่นาน
  5. ระมัดระวังหนูหรือแมลงสาบที่จะมากัดภาชนะหรือพลาสติกที่ปิดให้เป็นรู อากาศจะเข้าไปทำให้หญ้าหมักเสียได้
  6. หมักไว้ 3-4 สัปดาห์ หญ้าเหล่านั้นจะกลายเป็นหญ้าหมัก นำมาใช้เลี้ยงสัตว์ได้
  7. ปิดฝาถังบรรจุหญ้าให้สนิท แล้วปิดทับด้วยแผ่นพลาสติกให้มิดชิดเพื่อป้องกันอากาศและน้ำเข้า
  8. ย่ำอัดให้แน่นเพื่อไล่อากาศออกให้หมด ในขณะที่บรรจุหญ้าลงในถัง ละลายกากน้ำตาล รำละเอียด มันเส้น ลงไปด้วย โดยทำเป็นชั้นๆ เพื่อช่วยให้การหมักดียิ่งขึ้น

วิธีการหมัก

  • เทคนิคการทำหญ้าหมักเพื่อเป็นเสบียงอาหารสัตว์ในถังพลาสติก การทำหญ้าหมักด้วยถังพลาสติก หญ้าที่เหมาะสำหรับทำหญ้าหมักหญ้าเนเปียร์หญ้ากินนีสีม่วง หญ้ารูซี่ต้นข้าวโพด

  • กิจกรรมนี้ได้รับการสนับสนุนอุปกรณ์ คือ ถังพลาสติก 200 ลิตร กากน้ำตาล ได้รับความอนุเคราะห์จาก พัฒนาที่ดินจังหวัดภูเก็ต จำนวน 1 ชุด

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 26 คน จากที่ตั้งไว้ 100 คน
ประกอบด้วย

สมาชิกกลุ่มย่อยผู้เลี้ยงแพะ 20 คน สภาผู้นำ 6 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

สมาชิกไม่มีเงินทุนในการจัดซื้อถังพลาสติก สภาผู้นำจะพยายามจัดหาให้

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
การทำปุ๋ยชีวภาพใช้เอง10 พฤษภาคม 2559
10
พฤษภาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางสาวมณีพร เนาว์ไพร
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อให้ชาวบ้านทำปุ๋ยใช้เองเพื่อลดค่าใช้จ่ายในครัวอรือน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เรียนรู้การทำปุ๋ยหมัก โดยมีวิทยากรจากเกษตรอำเภอเข้ามาให้ความรู้

ส่วนผสมของวัสดุ ในการกองปุ๋ยหมัก 1 ตัน ประกอบด้วย

  • เศษพืชแห้ง 1,000 กิโลกรัม
  • มูลสัตว์ 200 กิโลกรัม
  • ปุ๋ยไนโตรเจน 2 กิโลกรัม
  • สารเร่งซุปเปอร์ พด.1 1 ซอง

วิธีการกองปุ๋ยหมัก

  • การกองปุ๋ยหมัก 1 ตัน จะมีขนาดความกว้าง 2 เมตร ยาว 3 เมตร สูง 1.5 เมตร การกองมี 2 วิธี ขึ้นกับชนิดของวัสดุ วัสดุที่มีขนาดเล็กให้คลุกเคล้าวัสดุให้เข้ากันแล้วจึงกองเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ส่วนวัสดุที่มีชิ้นส่วนยาวให้กองเป็นชั้นๆ ประมาณ 3-4 ชั้น โดยแบ่งส่วนผสมที่จะกองออกเป็น 3-4 ส่วน ตามจำนวนชั้นที่จะกอง มีวิธีการกองดังนี้
  1. ผสมสารเร่งซุปเปอร์ พด.1 ในน้ำ 20 ลิตร นาน10-15 นาที เพื่อกระตุ้นให้จุลินทรีย์ออกจากสภาพที่เป็นสปอร์และพร้อมที่จะเกิดกิจกรรมการย่อยสลาย
  2. การกองชั้นแรกให้นำวัสดุที่แบ่งไว้ส่วนที่หนึ่งมากองเป็นชั้นมีขนาดกว้าง 2 เมตร ยาว 3 เมตร สูง 30-40เซนติเมตร ย่ำให้พอแน่นและรดน้ำให้ชุ่ม นำมูลสัตว์โรยที่ผิวหน้าเศษพืชให้ทั่ว โรยปุ๋ยไนโตรเจนทับบนชั้นของมูลสัตว์แล้วราดสารละลายสารเร่งให้ทั่ว โดยแบ่งใส่เป็นชั้นๆหลังจากนั้นนำเศษพืชมากองทับเพื่อทำชั้นต่อไป ปฏิบัติเหมือนการกองชั้นแรก ทำเช่นนี้อีก 2-3 ชั้น ชั้นบนสุดของการกองปุ๋ยควรปิดทับด้วยเศษพืชที่เหลืออยู่เพื่อป้องกันการสูญเสียความชื้น การทำปุ๋ยน้ำชีวภาพจากปลาสด

วิธีทำน้ำหมักชีวภาพ

  • การทำน้ำหมักชีวภาพจะเลือกใช้วัสดุใดในการหมักนั้น ควรเลือกใช้วัสดุหมักที่สามารถหาได้ง่ายในครัวเรือน แปลงเกษตรของตนเองหรือหาได้ง่ายในท้องถิ่น ส่วนหัวเชื้อสามารถเลือกใช้สารเร่งพด.2 หรือ พด.6 ตามวัตถุประสงค์ในการนำไปใช้เป็นหลัก
  • น้ำหมักชีวภาพ สูตร 1 หมักจากผักและผลไม้ จำนวน 50 ลิตร (หมัก 7 วัน) มีส่วนผสม ผัก หรือผลไม้ 4 ส่วน กากน้ำตาล 1 ส่วน น้ำ 1 ส่วน สารเร่ง พด.2 จำนวน 1 ซอง (25 กรัม)
  • น้ำหมักชีวภาพ สูตร 2 หมักจากปลาหรือหอยเชอรี่ จำนวน 50 ลิตร (หมัก 21 วัน) ปลา 3 ส่วน กากน้ำตาล 1 ส่วน ผลไม้ 1 ส่วนน้ำ 1 ส่วน สารเร่ง พด.2 จำนวน 1 ซอง (25 กรัม)
  • การใช้กากน้ำตาลเป็นส่วนผสมในตัวหมักจะทำให้ได้น้ำหมักที่มีสีน้ำตาลเข้ม แต่หากหมักด้วยอินทรีย์วัตถุเพียงอย่างเดียวจะได้น้ำหมักเป็นสีน้ำตาลอ่อนหรือตามสีของวัตถุที่เติมลงหมัก
  • คุณสมบัติของน้ำหมักชีวภาพ
  1. ประกอบด้วยฮอร์โมนที่นำมาใช้ต่อการเติบโตของพืชหลายชนิด เช่น ออกซิน ไซโตตไคนิน และจิบเบอร์เรลลิน
  2. กรดอินทรีย์ชนิดต่างๆ เช่น กรดอะซีติก กรดแลคติก กรดอะมิโน และกรดฮิวมิก
  3. มีวิตามินบี วิตามินซี วิตามินเอ และอื่นๆ ขึ้นอยู่กับชนิดของวัสดุหมัก
  4. มีความเป็นกรดที่ pH ประมาณ 3-4
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. ชาวบ้านได้ความรู้เกี่ยวกับการทำปุ๋ยหมักและปุ๋ยน้ำชีวภาพ และการใช้สารเร่ง พด. แบบต่าง ๆ
  2. ชาวบ้านได้ลงมือปฏิบัติจริงในการทำปุ๋ยหมักและปุ๋ยน้ำชีวภาพ
  3. ชาวบ้านได้สอบถามกับวิทยากรถึงเรื่องของการหมักปุ๋ยแบบต่าง ๆ โดยใช้สารเร่ง พด.
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 40 คน
ประกอบด้วย

ชาวบ้าน 25 คน สภาผู้นำและวิทยากร 5 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
ประชุมสภาผู้นำ ครั้งที่ 78 พฤษภาคม 2559
8
พฤษภาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางสาวมณีพร เนาว์ไพร
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อปรึกษาหารือเรื่องกิจกรรมหมู่บ้านและกิจกรรมโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เริ่มประชุมเวลา ๒๐.๓๐ น. ผู้ใหญ่เปิดการประชุม

ระเบียบวาระที่ ๑ เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ

๑.๑นายอำเภอได้กำชับให้เร่งทำงานโครงการยกระดับศักยภาพหมู่บ้านเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ (งบ ๒๐๐,๐๐๐บาท) โดยดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน ๓๐ วัน

ระเบียบวาระที่ ๒ เรื่องรับรองรายงานการประชุมครั้งที่แล้ว

๒.๑ เลขาได้อ่านวาระการประชุมครั้งที่ผ่านมาให้ที่ประชุมรับฟัง มติที่ประชุมไม่มีใครคัดค้าน และเห็นด้วยกับทุกมติ

ระเบียบวาระที่ ๓เรื่องเสนอเพื่อทราบ

๓.๑โครงการประชารัฐรักสามัคคี เป็นโครงการประชารัฐที่ดำเนินการเรื่องยาเสพติด โดยการจะดำเนินการโดยให้หมู่บ้านเป็นหมู่บ้านสีขาว ด้วยความสมัครใจ เพื่อให้หมู่บ้านเป็นหมู่บ้านสีขาว โดยจะมีปลัดประจำตำบลมาให้ความรู้และดำเนินการไปพร้อมกับหมู่บ้าน

๓.๒ โครงการที่ให้แต่ละกลุ่มอาชีพเสนอมา มีดังนี้คือ

  • กลุ่มผู้เลี้ยงแพะ ขอสนับสนุน อุปกรณ์การหมักหญ้า และหมักขี้แพะ งบประมาณ ๑๕,๐๐๐ บาท
  • กลุ่มผู้เลี้ยงปลาน้ำจืด ขอสนับสนุน กระชังพร้อมอุปกรณ์ งบประมาณ ๓๖,๙๐๐ บาท
  • กลุ่มผู้เลี้ยงไก่บ้านและไก่ไข่ ขอสนับสนุน ปรับปรุงคอกไก่ และพันธ์ไก่ 3 คอก งบประมาณ ๑๙,๒๕๐ บาท
  • กลุ่มผู้ปลูกมะนาวในบ่อซีเมนต์ ขอสนับสนุน อุปกรณ์การทำน้ำหมักชีวภาพ และการทำโฮโมนไข่งบประมาณ ๒๖,๔๐๐ บาท
  • กลุ่มแม่บ้านเพื่อการแปรรูปผลิตภัณฑ์ ขอสนับสนุน อุปกรณ์การทำขนมไทย และทำน้ำยาล้างจาน งบประมาณ ๓๐,๐๐๐ บาท
  • กลุ่มจักรสาน ขอสนับสนุน อุปกรณ์จักรสาน งบประมาณ ๒๒,๒๓๐ บาท

๓.๓ โครงการเกษตรพอเพียงตามวิถีชุมชนบ้าพรุสมภาร สภาเกษตรบ้านพรุสมภารเสนอว่า

๑. จากการประชุมสภาเกษตรกลุ่มย่อย ตามมติที่ประชุมสภาเกษตรครั้งที่ ๑ มีการเรียกกลุ่มย่อยประชุม ๓ กลุ่ม คือ ๑. กลุ่มผู้ปลูกมะนาวในบ่อซีเมนต์ ๒. กลุ่มผู้เลี้ยงปลาน้ำจืด ๓. กลุ่มไก่บ้านและไก่ไข่ แต่ละกลุ่มได้ได้มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้กัน และมีปราชญ์ชาวบ้าน คือนายพงษ์เทพ เนาว์ไพร เข้าร่วมพูดคุยและตอบข้อซักถามจากสมาชิก ได้ช่วยกันหาทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นร่วมกันกับสภาผู้นำ โดยสรุปความต้องการของแต่ละได้ดังนี้คือ

๑.กลุ่มผู้ปลูกมะนาวในบ่อซีเมนต์ ต้องการเรียนการทำปุ๋ยหมักและปุ๋ยน้ำชีวภาพ ซึ่งมีอยู่ในกิจกรรมของโครงการแล้ว สภาผู้นำได้แจ้งว่า จากการประสานงานกับเจ้าหน้าที่พัฒนาที่ดินจังหวัดภูเก็ต จะมีการอบรมให้ในวันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๕๙

๒.กลุ่มผู้เลี้ยงปลาน้ำจืด ต้องการเรียนรู้เรื่องการน้ำหมักสำหรับการฆ่าเชื้อในน้ำ จากการประสานงาน ผู้ที่มีประสบการณ์ในการเลี้ยงปลาน้ำจืด จะมีการให้ความรู้ในวันที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๕๙

๓.กลุ่มผู้เลี้ยงไก่บ้านและไกไข่ ต้องการเรียนรู้เรื่องการดูแลไก่ ซึ่งมีอยู่ในกิจกรรมของโครงการแล้ว จากการประสานงานกับปศุสัตว์ จะมีการวันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๕๙

  • ส่วนกลุ่มอื่น ได้เสนอความต้องการมาเหมือนกัน คือ กลุ่มผู้เลี้ยงแพะ ต้องการเรียนรู้เรื่องการหมักหญ้าสำหรับอาหารแพะ จะมีการอบรมกันในวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๙
  • สำหรับแกนนำเกษตรพอเพียงบ้านพรุสมภารยังไม่พร้อมที่จะประชุม เพราะอยู่ในช่วงปิดภาคเรียน

๓.๔ เรื่องงบประมาณที่จะใช้ในการอบรมของแต่ละกลุ่มย่อย ที่ไม่มีระบุไว้ในโครงการคือ กลุ่มผู้เลี้ยงแพะ และกลุ่มผู้เลี้ยงปลาน้ำจืด ประธานสภาเกษตรเสนอให้ถือเป็นการประชุมสภาเกษตรเลย เพื่อนำเงินส่วนนั้นมาใช้ จากมมติที่ประชุม สมาชิกและสภาผู้นำเห็นด้วย

ระเบียบวาระที่ ๔ เรื่องเสนอเพื่อพิจารณา

๔.๑ จากการประชุมครั้งก่อน ได้เสนอโครงการยกระดับศักยภาพหมู่บ้านเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ (งบ ๒๐๐,๐๐๐บาท) จำนวน ๒ โครงการ คือ

๑. โครงการปรับปรุงศูนย์รักษาความปลอดภัยหมู่บ้านและอุปกรณ์ตั้งด่าน

๒. โครงการขยายผลเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มอาชีพในหมู่บ้าน จำนวน ๖ กลุ่ม โดยครั้งนี้จะทำการพิจารณางบประมาณ แต่ละโครงการ สำหรับโครงการต่าง ๆ ที่เสนอมา รวมเป็นเงินทั้งสิ้น ๑๕๐,๐๐๐ บาท จึงเหลือเงินอีก ๕๐,๐๐๐ บาทสำหรับอีกโครงการ มติที่ประชุมเห็นชอบ งบประมาณที่เสนอมา

๔.๒ เสนอรายชื่อคณะกรรมการฝ่ายต่าง ๆ ตามโครงการงบ ๒๐๐,๐๐๐ บาท

๑. คณะกรรมการผู้รับผิดชอบในการเบิกจ่ายเงินและจัดทำบัญชี ๑.๑ นายอำนวย เจียมบุตร ประธานกรรมการ ๑.๒ นายวิศิษฐ์ สนิทเปรม กรรมการ ๑.๓ นายประสงค์บุญแต่ง กรรมการ

๒. คณะกรรมการรับผิดชอบในการจัดซื้อจัดจ้าง ๒.๑ นางสาวมณีพร เนาว์ไพร ประธานกรรมการ ๒.๒ นายอาคม พรมแดน กรรมการ ๒.๓ นายอมร คลองรั้ว กรรมการ

๓. คณะกรรมการรับผิดชอบในการตรวจรับพัสดุ ๓.๑ นายสมพงศ์ คงนุ่ม ประธานกรรมการ ๓.๒ นายณรงค์ ผลทวี กรรมการ ๓.๓ นายวุฒิชัย ชูศรี กรรมการ มติที่ประชุมเห็นชอบ

ปิดประชุมเวลา ๒๒.๐๐ น.

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

โครงการเกษตรพอเพียงตามวิถีชุมชนบ้าพรุสมภาร สภาเกษตรบ้านพรุสมภารเสนอว่า

๑. จากการประชุมสภาเกษตรกลุ่มย่อย ตามมติที่ประชุมสภาเกษตรครั้งที่ ๑ มีการเรียกกลุ่มย่อยประชุม ๓ กลุ่ม คือ ๑. กลุ่มผู้ปลูกมะนาวในบ่อซีเมนต์ ๒. กลุ่มผู้เลี้ยงปลาน้ำจืด ๓. กลุ่มไก่บ้านและไก่ไข่ แต่ละกลุ่มได้ได้มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้กัน และมีปราชญ์ชาวบ้าน คือนายพงษ์เทพ เนาว์ไพร เข้าร่วมพูดคุยและตอบข้อซักถามจากสมาชิก ได้ช่วยกันหาทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นร่วมกันกับสภาผู้นำ โดยสรุปความต้องการของแต่ละได้ดังนี้คือ
๑.กลุ่มผู้ปลูกมะนาวในบ่อซีเมนต์ ต้องการเรียนการทำปุ๋ยหมักและปุ๋ยน้ำชีวภาพ ซึ่งมีอยู่ในกิจกรรมของโครงการแล้ว สภาผู้นำได้แจ้งว่า จากการประสานงานกับเจ้าหน้าที่พัฒนาที่ดินจังหวัดภูเก็ต จะมีการอบรมให้ในวันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๕๙

๒.กลุ่มผู้เลี้ยงปลาน้ำจืด ต้องการเรียนรู้เรื่องการน้ำหมักสำหรับการฆ่าเชื้อในน้ำ จากการประสานงาน ผู้ที่มีประสบการณ์ในการเลี้ยงปลาน้ำจืด จะมีการให้ความรู้ในวันที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๕๙

๓.กลุ่มผู้เลี้ยงไก่บ้านและไกไข่ ต้องการเรียนรู้เรื่องการดูแลไก่ ซึ่งมีอยู่ในกิจกรรมของโครงการแล้ว จากการประสานงานกับปศุสัตว์ จะมีการวันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๕๙

  • ส่วนกลุ่มอื่น ได้เสนอความต้องการมาเหมือนกัน คือ กลุ่มผู้เลี้ยงแพะ ต้องการเรียนรู้เรื่องการหมักหญ้าสำหรับอาหารแพะ จะมีการอบรมกันในวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๙
  • สำหรับแกนนำเกษตรพอเพียงบ้านพรุสมภารยังไม่พร้อมที่จะประชุม เพราะอยู่ในช่วงปิดภาคเรียน

๓.๔ เรื่องงบประมาณที่จะใช้ในการอบรมของแต่ละกลุ่มย่อย ที่ไม่มีระบุไว้ในโครงการคือ กลุ่มผู้เลี้ยงแพะ และกลุ่มผู้เลี้ยงปลาน้ำจืด ประธานสภาเกษตรเสนอให้ถือเป็นการประชุมสภาเกษตรเลย เพื่อนำเงินส่วนนั้นมาใช้จากมมติที่ประชุม สมาชิกและสภาผู้นำเห็นด้วย

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

เกือบได้ตามเป้าหมาย (2)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 20 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย

สภาผู้นำ 20 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
ประชุมสภาเกษตรกรบ้านพรุสมภาร ครั้งที่ 528 เมษายน 2559
28
เมษายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางสาวมณีพร เนาว์ไพร
circle
วัตถุประสงค์

ประชุมสภาเกษตรกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเสน่ห์โพธิ์ เพื่อปรึกษาหารือถึงเรื่องกิจกรรมเกษตรขอหมู่บ้าน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • บันทึกการประชุมสภาเกษตรบ้านพรุสมภาร ครั้งที่ ๕ วันที่ ๒๘ เมษายน๒๕๕๙
  • เริ่มประชุมเวลา ๒๐.๓๐ น. ประธานสภาผู้นำเปิดการประชุม

ระเบียบวาระที่ ๑ เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ การลงทะเบียน กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเสน่ห์โพธิ์ จากเดิมที่มีสมาชิกกลุ่มผู้เลี้ยงแพะ เพียงกลุ่มเดียว หลังจากประชุมสภาผู้นำเมื่อเดือนมีนาคาม ได้มีมติให้เพิ่มกลุ่มอาชีพเพิ่มเติมอีก ๔ กลุ่ม ปัจจุบันจึงมีกลุ่มย่อยรวม ๕ กลุ่ม คือ ๑. กลุ่มผู้เลี้ยงแพะ ๒.กลุ่มผู้ปลูกมะนาวในบ่อซีเมนต์ ๓.กลุ่มผู้เลี้ยงปลาน้ำจืด ๔.กลุ่มผู้เลี้ยงไกบ้านและไก่ไข่ ๕. กลุ่มแม่บ้านเพื่อการแปรรูปผลิตภัณฑ์ ตอนนี้ได้ทำการลงทะเบียนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และจากมติที่ประชุมสภาเกษตร มีมติว่า ให้สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเสน่ห์โพธิ์ทั้งหมด จัดตั้งให้เป็นสภาเกษตรบ้านพรุสมภาร

ระเบียบวาระที่ ๒ เรื่องรับรองรายงานการประชุมครั้งที่แล้ว

๒.๑ เลขาได้อ่านวาระการประชุมครั้งที่ผ่านมาให้ที่ประชุมรับฟัง มติที่ประชุมไม่มีใครคัดค้าน และเห็นด้วยกับทุกมติ

ระเบียบวาระที่ ๓เรื่องเสนอเพื่อทราบ

๓.๑ จากการประชุมสภาเกษตรกลุ่มย่อย ตามมติที่ประชุมสภาเกษตรครั้งที่ ๑ มีการเรียกกลุ่มย่อยประชุม ๓ กลุ่ม คือ ๑. กลุ่มผู้ปลูกมะนาวในบ่อซีเมนต์ ๒. กลุ่มผู้เลี้ยงปลาน้ำจืด ๓. กลุ่มไก่บ้านและไก่ไข่ แต่ละกลุ่มได้ได้มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้กัน และมีปราชญ์ชาวบ้าน คือนายพงษ์เทพ เนาว์ไพร เข้าร่วมพูดคุยและตอบข้อซักถามจากสมาชิก ได้ช่วยกันหาทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นร่วมกันกับสภาผู้นำ โดยสรุปความต้องการของแต่ละได้ดังนี้คือ

๑.กลุ่มผู้ปลูกมะนาวในบ่อซีเมนต์ ต้องการเรียนการทำปุ๋ยหมักและปุ๋ยน้ำชีวภาพ ซึ่งมีอยู่ในกิจกรรมของโครงการแล้ว สภาผู้นำได้แจ้งว่า จากการประสานงานกับเจ้าหน้าที่พัฒนาที่ดินจังหวัดภูเก็ต จะมีการอบรมให้ในวันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๕๙

๒.กลุ่มผู้เลี้ยงปลาน้ำจืด ต้องการเรียนรู้เรื่องการน้ำหมักสำหรับการฆ่าเชื้อในน้ำ จากการประสานงาน ผู้ที่มีประสบการณ์ในการเลี้ยงปลาน้ำจืด จะมีการให้ความรู้ในวันที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๕๙

๓.กลุ่มผู้เลี้ยงไก่บ้านและไกไข่ ต้องการเรียนรู้เรื่องการดูแลไก่ ซึ่งมีอยู่ในกิจกรรมของโครงการแล้ว จากการประสานงานกับปศุสัตว์ จะมีการวันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๕๙

๓.๒ ส่วนกลุ่มอื่น ได้เสนอความต้องการมาเหมือนกัน คือ กลุ่มผู้เลี้ยงแพะ ต้องการเรียนรู้เรื่องการหมักหญ้าสำหรับอาหารแพะ จะมีการอบรมกันในวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๙

๓.๓ สำหรับแกนนำเกษตรพอเพียงบ้านพรุสมภารยังไม่พร้อมที่จะประชุม เพราะอยู่ในช่วงปิดภาคเรียน

ระเบียบวาระที่ ๔ เรื่องเสนอเพื่อพิจารณา

๔.๑ เรื่องงบประมาณที่จะใช้ในการอบรมของแต่ละกลุ่มย่อย ที่ไม่มีระบุไว้ในโครงการคือ กลุ่มผู้เลี้ยงแพะ และกลุ่มผู้เลี้ยงปลาน้ำจืด ประธานสภาเกษตรเสนอให้ถือเป็นการประชุมสภาเกษตรเลย เพื่อนำเงินส่วนนั้นมาใช้ จากมมติที่ประชุม สมาชิกและสภาผู้นำเห็นด้วย

ระเบียบวาระที่ ๕ระเบียบวาระอื่น ๆ ไม่มี

ปิดการประชุม เวลา ๒๑.๓๐ น.

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. ประธานที่ประชุมแจ้งว่าไม่ลงทะเบียนทุกกลุ่มอาชีพในนามกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเสน่ห์โพธิ์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
  2. กลุ่มผู้ปลกูมะนาวในบ่อซีเมนต์ ต้องการอบรมเรื่องการทำปุ๋ยหมักและปุ๋ยน้ำชีวภาพ ในวันที่ 10 พฤษภาคม 59 (งบโครงการ)
  3. กลุ่มผู้เลี้ยงปลาน้ำจืด ต้องการอบรมเรื่องการทำน้ำหมักเพื่อฆ่าเชื้อในบ่อเลี้ยงปลา ในวันที่ 21 พฤษภาคม 59 (งบสภาเกษตร)
  4. กลุ่มผู้เลี้ยงไก่บ้านและไก่ไข่ ต้องการอบรมเรื่องการเลี้ยงไก่ ในวันที่ 15 สิงหาคม 59 (งบโครงการ)
  5. กลุ่มผู้เลี้ยงแพะ ต้องการอบรมการหมักหญ้าสำหรับอาหารแพะ ในวันที่ 15 พฤษภาคม 59 (งบสภาเกษตร)
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 70 คน จากที่ตั้งไว้ 100 คน
ประกอบด้วย

ชาวบ้าน 60 คน สภาผู้นำ 10 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
ประชุมสภาผู้นำ ครั้งที่ 610 เมษายน 2559
10
เมษายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางสาวมณีพร เนาว์ไพร
circle
วัตถุประสงค์

ประชุมประจำเดือนของสภาผู้นำ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • บันทึกการประชุมประจำเดือน วันที่ ๑๐ เมษายน ๒๕๕๙
  • เริ่มประชุมเวลา ๒๐.๓๐ น. ผู้ใหญ่เปิดการประชุม

ระเบียบวาระที่ ๑ เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ

๑.๑ โครงการปลูกมะนาวในบ่อซีเมนต์และเลี้ยงปลาดุกในบ่อซีเมนต์ ได้รับการตอบรับจากชาวบ้านเป็นอย่างดี และยังมีชาวบ้านบางส่วนที่ยังไม่ได้เข้าร่วมสนใจที่จะเข้าร่วมโครงการ

๑.๒ ช่วงนี้อากาศร้อนจัด ช่วยกันดูแลและตักเตือนลูกหลานให้เล่นน้ำอย่างปลอดภัย

๑.๓ ให้กรรมการหมู่บ้านช่วยตักเตือนวัยรุ่นที่ขับรถเร็ว ให้ขับขี่อย่างปลอดภัย และให้สวมหมวกกันน็อค และอย่าขับรถย้อนศร

๑.๔ เรื่องการเรี่ยไรเงินในหมู่บ้าน ทางราชการไม่อนุญาตให้ทำ ผู้พบเห็นสามารถแจ้งกับ ผู้ใหญ่บ้านและสามารถจับกุมส่งดำเนินคดีได้ทันที

ระเบียบวาระที่ ๒ เรื่องรับรองรายงานการประชุมครั้งที่แล้ว

๒.๑ เลขาได้อ่านวาระการประชุมครั้งที่ผ่านมาให้ที่ประชุมรับฟัง มติที่ประชุมไม่มีใครคัดค้าน และเห็นด้วยกับทุกมติ

ระเบียบวาระที่ ๓เรื่องเสนอเพื่อทราบ

๓.๑เรื่องโครงการยกระดับศักยภาพหมู่บ้านเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ (งบ ๒๐๐,๐๐๐บาท) รัฐบาลให้เสนอโครงการเพื่อรับการสนับสนุนตามโครงการดังกล่าว โดยผู้ใหญ่บ้านได้อธิบาย วัตถุประสงค์ตามเอกสารคู่มือโครงการที่ได้รับมา

๓.๒ โครงการเกษตรพอเพียงตามวิถีชุมชนบ้านพรุสมภาร เดือนนี้มีกิจกรรมที่ต้องดำเนินการ คือ

๑. กิจกรรมน้องรักน้องชอบพี่จัดให้ กิจกรรมย่อย น้องรักฟุตบอล จะดำเนินการโดยชมรมฟุตบอลบ้านพรุสมภาร จะมีการเปิดรับสมัคร เยาวชนชั้น ป. ๔ – ป.๖ จะมีการเปิดรับสมัคร ในวันที่ ๑๖ เมษายน ๒๕๕๙ จะมีการฝึกการเล่นฟุตบอลอย่างถูกต้อง ในทุกวันเสาร์และอาทิตย์ เวลาช่วงบ่ายเป็นเวลา ๓ เดือน ในระหว่างนี้หากมีการจัดแข่งฟุตบอล ก็จะจัดให้ออกไปแข่งขันกันทีมอื่นด้วย ประธานในที่ประชุมขอช่วยให้คณะกรรมการโซนแจ้งให้ชาวบ้านทราบด้วย

๒. จากการประชุมครั้งที่ผ่านมาได้ให้มีการจัดตั้งสภาเกษตรขึ้น โดยให้สมาชิกทุกกลุ่มประชุมปรึกษาหารือถึงปัญหาที่เกิดขึ้นจากกลุ่มอาชีพที่ทำกัน มีการประชุมย่อยกัน ๓ ครั้ง เป็นของกลุ่มผู้ปลูกมะนาวในบ่อซีเมนต์, กลุ่มผู้เลี้ยงไก่บ้านและไก่ไข่ และกลุ่มผู้เลี้ยงปลาน้ำจืด ได้มีการคัดเลือกคณะกรรมการกลุ่มเพื่อเป็นตัวแทนในการประชุมร่วมกับหมู่บ้านและแต่ละกลุ่มได้พูดขึ้นถึงปัญหาที่เกิดขึ้นและหาวิธีแก้ไข และแจ้งให้ทราบความต้องการในการอบรมเพื่อหาความรู้เพิ่มเติม คือ

  • กลุ่มผู้ปลูกมะนาวในบ่อซีเมนต์ ต้องการ อบรมการทำปุ๋ยหมักและปุ๋ยน้ำชีวภาพ จากการติดต่อสอบถามกับเจ้าหน้าที่พัฒนาที่ดินจังหวัดภูเก็ตได้นัดหมายวันอบรมเป็นวันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๕๙
  • กลุ่มผู้เลี้ยงไก่บ้านและไก่ไข่ ต้องการ อบรมเรื่องการเลี้ยงไก่และการใช้วัคซีนไก่ ตอนนี้อยู่ระหว่างดำเนินการติดต่อกับปศุสัตว์จังหวัดภูเก็ต
  • กลุ่มผู้เลี้ยงปลาน้ำจืด ต้องการอบรมเรื่องการทำน้ำหมักสำหรับฆ่าเชื้อโรคในบ่อปลา ตอนนี้อยู่ระหว่างดำเนินการติดต่อผู้มีประสบการณ์ และจะมาให้ความรู้ในการประชุมสภาเกษตร กลุ่มย่อย ผู้เลี้ยงปลาน้ำจืด ในครั้งต่อไป

ระเบียบวาระที่ ๔ เรื่องเสนอเพื่อพิจารณา

๔.๑ ให้คณะกรรมการเสนอโครงการตามวัตถุประสงค์ของโครงการ งบ ๒๐๐,๐๐๐ บาท โดยมีผู้เสนอดังนี้ ๑. ผู้ใหญ่เสนอ โครงการส่งเสริมกลุ่มอาชีพต่าง ๆ ในหมู่บ้าน ทั้งหมด จำนวน ๖ กลุ่มอาชีพ โดยให้แต่ละกลุ่มทำโครงการเสนอมาอีกครั้ง ๒. นายวิศิษฎ์ เสนอ ให้ปรับปรุงศูนย์ชุมชนอุ่นใจ และอุปกรณ์การตั้งด่านของ ชรบ. ๓. นายสมพงศ์ เสนอ ให้ต่อยอดโครงการปลูกมะนาวในบ่อซีเมนต์ มติที่ประชุมเห็นชอบ ๒ โครงการ คือโครงการที่ ๑ และ ๒ และจะทำการพิจารณางบประมาณอีกที่ เมื่อแต่ละกลุ่มอาชีพส่งโครงการมา   ระเบียบวาระที่ ๕ระเบียบวาระอื่น ๆ

๕.๑ นายกำพล ได้บอกกล่าวให้คณะกรรมการทราบเรื่อง มีกลุ่มวัยรุ่นมั่วซุ่มขับรถมอเตอร์ไซค์ช่วงกลางคืน ผู้ใหญ่บ้านจึงมีคำสั่งให้ ชรบ.ช่วยสอดส่องดูแลให้เข้มงวด

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

โครงการเกษตรพอเพียงตามวิถีชุมชนบ้านพรุสมภาร เดือนนี้มีกิจกรรมที่ต้องดำเนินการ คือ

๑. กิจกรรมน้องรักน้องชอบพี่จัดให้ กิจกรรมย่อย น้องรักฟุตบอล จะดำเนินการโดยชมรมฟุตบอลบ้านพรุสมภาร จะมีการเปิดรับสมัคร เยาวชนชั้น ป. ๔ – ป.๖ จะมีการเปิดรับสมัคร ในวันที่ ๑๖ เมษายน ๒๕๕๙ จะมีการฝึกการเล่นฟุตบอลอย่างถูกต้อง ในทุกวันเสาร์และอาทิตย์ เวลาช่วงบ่ายเป็นเวลา ๓ เดือน ในระหว่างนี้หากมีการจัดแข่งฟุตบอล ก็จะจัดให้ออกไปแข่งขันกันทีมอื่นด้วย ประธานในที่ประชุมขอช่วยให้คณะกรรมการโซนแจ้งให้ชาวบ้านทราบด้วย

๒. จากการประชุมครั้งที่ผ่านมาได้ให้มีการจัดตั้งสภาเกษตรขึ้น โดยให้สมาชิกทุกกลุ่มประชุมปรึกษาหารือถึงปัญหาที่เกิดขึ้นจากกลุ่มอาชีพที่ทำกัน มีการประชุมย่อยกัน ๓ ครั้ง เป็นของกลุ่มผู้ปลูกมะนาวในบ่อซีเมนต์, กลุ่มผู้เลี้ยงไก่บ้านและไก่ไข่ และกลุ่มผู้เลี้ยงปลาน้ำจืด ได้มีการคัดเลือกคณะกรรมการกลุ่มเพื่อเป็นตัวแทนในการประชุมร่วมกับหมู่บ้านและแต่ละกลุ่มได้พูดขึ้นถึงปัญหาที่เกิดขึ้นและหาวิธีแก้ไข และแจ้งให้ทราบความต้องการในการอบรมเพื่อหาความรู้เพิ่มเติม คือ

  • กลุ่มผู้ปลูกมะนาวในบ่อซีเมนต์ ต้องการ อบรมการทำปุ๋ยหมักและปุ๋ยน้ำชีวภาพ จากการติดต่อสอบถามกับเจ้าหน้าที่พัฒนาที่ดินจังหวัดภูเก็ตได้นัดหมายวันอบรมเป็นวันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๕๙
  • กลุ่มผู้เลี้ยงไก่บ้านและไก่ไข่ ต้องการ อบรมเรื่องการเลี้ยงไก่และการใช้วัคซีนไก่ ตอนนี้อยู่ระหว่างดำเนินการติดต่อกับปศุสัตว์จังหวัดภูเก็ต
  • กลุ่มผู้เลี้ยงปลาน้ำจืด ต้องการอบรมเรื่องการทำน้ำหมักสำหรับฆ่าเชื้อโรคในบ่อปลา ตอนนี้อยู่ระหว่างดำเนินการติดต่อผู้มีประสบการณ์ และจะมาให้ความรู้ในการประชุมสภาเกษตร กลุ่มย่อย ผู้เลี้ยงปลาน้ำจืด ในครั้งต่อไป
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

เกือบได้ตามเป้าหมาย (2)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 16 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย

สภาผู้นำ 16 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
ประชุมสภาเกษตรกรบ้านพรุสมภาร ครั้งที่ 44 เมษายน 2559
4
เมษายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางสาวมณีพร เนาว์ไพร
circle
วัตถุประสงค์

ประชุมกลุ่มย่อย กลุ่มผู้เลี้ยงปลาน้ำจืด

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • บันทึกการประชุมสภาเกษตรบ้านพรุสมภาร ครั้งที่ ๔ วันที่ ๔ เมษายน๒๕๕๙
  • เริ่มประชุมเวลา ๒๐.๓๐ น. ประธานสภาผู้นำเปิดการประชุม

ระเบียบวาระที่ ๑ เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ ไม่มี

ระเบียบวาระที่ ๒ เรื่องรับรองรายงานการประชุมครั้งที่แล้ว

๒.๑ เลขาได้อ่านวาระการประชุมครั้งที่ผ่านมาให้ที่ประชุมรับฟัง มติที่ประชุมไม่มีใครคัดค้าน และเห็นด้วยกับทุกมติ

ระเบียบวาระที่ ๓เรื่องเสนอเพื่อทราบ

๓.๑ การรวมกลุ่มผู้เลี้ยงปลาน้ำจืด เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน เป็นที่ปรึกษา แลกเปลี่ยนความรู้ทางการเกษตร ทั้งนี้เพื่อช่วยให้การเลี้ยงปลาน้ำจืดได้ผลที่ดีขึ้น และมีปัญหาน้อยลง เพราะเมื่อใครปัญหาอะไรมา ก็จะนำมาแลกเปลี่ยนวิธีการแก้ไข ส่วนผู้ที่ยังเจอก็จะได้ มีแนวทางในการป้องกันเฝ้าระวัง

๓.๒ ในส่วนราชการ ได้มีการสนับสนุนการทำงานเป็นกลุ่มมากขึ้น เพราะการที่ประชาชนรวมตัวกันเป็นกลุ่ม สามารถประสบความสำเร็จได้ง่ายกว่าทำคนเดียว

ระเบียบวาระที่ ๔ เรื่องเสนอเพื่อพิจารณา

๔.๑ สมาชิกกลุ่ม ผู้เลี้ยงปลาน้ำจืด มีทั้งหมด ๕๑ คน วันนี้มาร่วมประชุม ๒๖ คนให้สมาชิกเสนอชื่อ เพื่อคัดเลือกคณะกรรมการกลุ่มฯ โดยสรุปได้ดังนี้ ๑. นายบุญเลิศ มานะบุตร ตำแหน่ง ประธานกลุ่ม ๒. นายวิศิษฏ์ สนิทเปรม ตำแหน่ง รองประธานกลุ่ม ๓. นางสาวมณีพร เนาว์ไพร ตำแหน่ง เลขานุการกลุ่ม ๔. นายไกรสร พันธ์ทิพย์ ตำแหน่ง ที่ปรึกษากลุ่ม

ระเบียบวาระที่ ๕ระเบียบวาระอื่น ๆ

๕.๑ จากการพูดคุยของสมาชิก ถึงปัญหาที่มีจากการเลี้ยงปลาดุกของสมาชิก ที่ได้รับการสนับสนุนอุปกรณ์และพันธุ์ปลาดุก จากโครงการตำบลละห้าล้านของรัฐบาล นั้นมีสมาชิกซักถามว่า ทำไมลูกปลาไม่ค่อยกินอาหาร จากการพูดคุยกันสรุปว่า เกิดจากสภาพของน้ำ นายบุญเลิศ จึงบอกว่า ควรเปลี่ยนน้ำให้บ่อย อย่างน้อยอาทิตย์ละ ๑ ครั้ง ถ้าเปลี่ยนน้ำบ่อย ปลาก็จะยิ่งโตไว แต่บางครั้งก็เกิดจากปลาเกิดโรคติดเชื้อ ก็จะทำให้ปลาไม่กินอาหารเหมือนกัน วิธีแก้โดยใช้น้ำยาฆ่าเชื้อในน้ำที่มีขายตามท้องตลาด หรือใช่น้ำหมักชีวภาพก็ได้

  • จากปัญหาดังกล่าว สมาชิกจึงร้องขอให้มีการอบรมการทำน้ำหมักชีวภาพเพื่อใช้ฆ่าเชื้อในบ่อปลา คณะสภาผู้นำรับทราบและจะติดต่อผู้มีประสบการณ์เพื่อมาให้ความรู้กับสมาชิก เมื่อไหร่พร้อมจะแจ้งให้สมาชิกทราบอีกที

  • ปิดการประชุม เวลา ๒๑.๓๐ น.

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. จัดตั้งคณะกรรมการกลุ่ม 1 ชุด
  2. สมาชิกได้พูดคุยหารือกับถึงปัญหาที่เกิดจากการเลี้ยงปลา
  3. สามชิกร้องขอให้มีการอบรมการทำน้ำหมักในการฆ่าเชื้อโรคในบ่อปลา 
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

เกือบได้ตามเป้าหมาย (2)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 27 คน จากที่ตั้งไว้ 100 คน
ประกอบด้วย

สมาชิกกลุ่มผู้เลี้ยงปลาน้ำจืด 20 คน สภาผู้นำ 7 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

สมาชิกเยอะ แต่มาร่วกันน้อยมาก ให้สมาชิกชักชวนให้สมาชิกท่านอื่นมาร่วมในครั้งต่อไป

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
ประชุมสภาเกษตรกรบ้านพรุสมภาร ครั้งที่ 33 เมษายน 2559
3
เมษายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางสาวมณีพร เนาว์ไพร
circle
วัตถุประสงค์

ประชุมกลุ่มย่อย กลุ่มผู้เลี้ยงไก่บ้านและไก่ไข่

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • บันทึกการประชุมสภาเกษตรบ้านพรุสมภาร ครั้งที่ ๓ วันที่ ๓ เมษายน๒๕๕๙
  • เริ่มประชุมเวลา ๒๐.๓๐ น. ประธานสภาผู้นำเปิดการประชุม

ระเบียบวาระที่ ๑ เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ ไม่มี

ระเบียบวาระที่ ๒ เรื่องรับรองรายงานการประชุมครั้งที่แล้ว

๒.๑ เลขาได้อ่านวาระการประชุมครั้งที่ผ่านมาให้ที่ประชุมรับฟัง มติที่ประชุมไม่มีใครคัดค้าน และเห็นด้วยกับทุกมติ

ระเบียบวาระที่ ๓เรื่องเสนอเพื่อทราบ

  • ในส่วนราชการ ได้มีการสนับสนุนการทำงานเป็นกลุ่มมากขึ้น เพราะการที่ประชาชนรวมตัวกันเป็นกลุ่ม สามารถประสบความสำเร็จได้ง่ายกว่าทำคนเดียว

ระเบียบวาระที่ ๔ เรื่องเสนอเพื่อพิจารณา

ระเบียบวาระที่ ๕ระเบียบวาระอื่น ๆ

๕ - ปิดการประชุม เวลา ๒๑.๓๐ น.

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลการประชุม

วาระที่ 3

  • การรวมกลุ่มผู้เลี้ยงไก่บ้านและไก่ไข่ เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน เป็นที่ปรึกษา แลกเปลี่ยนความรู้ทางการเกษตร ทั้งนี้เพื่อช่วยให้การปลูกมะนาวหรือพืชอื่นๆ ได้ผลที่ดีขึ้น และมีปัญหาน้อยลง เพราะเมื่อใครปัญหาอะไรมา ก็จะนำมาแลกเปลี่ยนวิธีการแก้ไข ส่วนผู้ที่ยังเจอก็จะได้ มีแนวทางในการป้องกันเฝ้าระวัง

วาระที่ 4

  • สมาชิกกลุ่ม ผู้เลี้ยงไก่บ้านและไก่ไข่ มีทั้งหมด ๑๕ คน วันนี้มาร่วมประชุม ๑๓ คนให้สมาชิกเสนอชื่อ เพื่อคัดเลือกคณะกรรมการกลุ่มฯ โดยสรุปได้ดังนี้ ๑. นางดาริณี บุญสพ ตำแหน่ง ประธานกลุ่ม ๒. นางสนิท วาหะรักษ์ ตำแหน่ง รองประธานกลุ่ม ๓. นางสายใจ ถิ่นทะเล ตำแหน่ง เลขานุการกลุ่ม ๔. นายพงษ์เทพ เนาว์ไพร ตำแหน่ง ที่ปรึกษากลุ่ม ๕. นางไกรสร พันธ์ทิพย์ ตำแหน่ง ที่ปรึกษากลุ่ม

วาระที่ 5

  • จากการพูดคุยของสมาชิก ถึงปัญหาที่มีจากการเลี้ยงไก่ของสมาชิก ส่วนใหญ่จะเป็นการเลี้ยงแบบปล่อยให้หากินเอง ให้อาหารเสริมบ้างเล็กน้อย จึงทำให้ไก่เกิดการตายอย่างไม่ทราบสาเหตุอยู่บ้าง จากการพูดคุยน่าจะเป็นเพราะการที่ไม่เคยเปลี่ยนพ่อพันธุ์ไก่เลยตั้งแต่เลี้ยงมา อาจเป็นเหตุผลให้ไก่ที่เกิดมารุ่นหลัง ๆ ไม่แข็งแรงเท่าที่ควร

  • จากปัญหาดังกล่าว คณะสภาผู้นำจึงแจ้งว่าในโครงการฯ มีการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงไก่อยู่แล้วและจะติดต่อเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์เพื่อมาให้ความรู้กับสมาชิก เมื่อไหร่พร้อมจะแจ้งให้สมาชิกทราบอีกที

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 23 คน จากที่ตั้งไว้ 100 คน
ประกอบด้วย

สมาชิกกลุ่มผู้เลี้ยงไก่บ้านและไก่ไข่ จำนวน 13 คน สภาผู้นำ จำนวน 10 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในเรื่องการออม24 มีนาคม 2559
24
มีนาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางสาวมณีพร เนาว์ไพร
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อให้ชาวบ้านมีความรู้เรื่องการทำบัญชีครัวเรือน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. เจ้าหน้าที่จากสำนักงานตรวจบัญชีจังหวัดภูเก็ต จำนวน 3 คน ได้มาเป็นวิทยากรให้ในการอบรมครั้งนี้
  2. แบ่งการอบรมเป็น 2 ส่วน คือส่วนของประชาชนทั่วไป และส่วนของนักเรียน
  3. ทางสภาผู้นำได้จัดทำเอกสารให้เพื่อให้สมาชิกได้ลงมือทำและทำความเข้าใจได้ง่ายขึ้น
  4. วิทยากรได้ให้ความรู้พื้นฐาน เรื่องประโยชน์ของการทำบัญชีครัวเรือน, ให้ผู้เข้าอบรมลงมือเขียนบัญชีครัวเรือนด้วยตัวเอง
  5. เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมอบรมแลกเปลี่ยนความรู้กัน และซักถามข้อสงสัยกับวิทยากร
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. ผู้เข้าร่วมอบรมได้ความรู้เกี่ยวกับการทำบัญชีครัวเรือน เพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
  2. ผู้เข้าร่วมอบรมได้รับบัญชีครัวเรือนคนละ 1 เล่ม สำหรับบันทึกค่าใช้จ่ายของตัวเอง
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 70 คน จากที่ตั้งไว้ 70 คน
ประกอบด้วย

ประชาชน 32 คน เยาวชน 28 คน สภาผู้นำและวิทยากร 10 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
จัดตั้งสภาเกษตรกรบ้านพรุสมภาร ครั้งที่ 220 มีนาคม 2559
20
มีนาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางสาวมณีพร เนาว์ไพร
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อพบปะพูดคุยของกลุ่มผู้ปลูกมะนาวในบ่อซีเมนต์

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เริ่มประชุมเวลา ๒๐.๓๐ น. ประธานสภาผู้นำเปิดการประชุม

ระเบียบวาระที่ ๑ เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ ไม่มี

ระเบียบวาระที่ ๒ เรื่องรับรองรายงานการประชุมครั้งที่แล้ว

๒.๑ เลขาได้อ่านวาระการประชุมครั้งที่ผ่านมาให้ที่ประชุมรับฟัง มติที่ประชุมไม่มีใครคัดค้าน และเห็นด้วยกับทุกมติ

ระเบียบวาระที่ ๓เรื่องเสนอเพื่อทราบ

ระเบียบวาระที่ ๔ เรื่องเสนอเพื่อพิจารณา
ระเบียบวาระที่ ๕ระเบียบวาระอื่น ๆ

ปิดการประชุม เวลา ๒๒.๐๐ น.

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลการประชุม

วาระที่ 3

  • การรวมกลุ่มผู้ปลูกมะนาวในบ่อซีเมนต์ เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน เป็นที่ปรึกษา แลกเปลี่ยนความรู้ทางการเกษตร ทั้งนี้เพื่อช่วยให้การปลูกมะนาวหรือพืชอื่นๆ ได้ผลที่ดีขึ้น และมีปัญหาน้อยลง เพราะเมื่อใครปัญหาอะไรมา ก็จะนำมาแลกเปลี่ยนวิธีการแก้ไข ส่วนผู้ที่ยังเจอก็จะได้ มีแนวทางในการป้องกันเฝ้าระวัง
  • ในส่วนราชการ ได้มีการสนับสนุนการทำงานเป็นกลุ่มมากขึ้น เพราะการที่ประชาชนรวมตัวกันเป็นกลุ่ม สามารถประสบความสำเร็จได้ง่ายกว่าทำคนเดียว

วาระที่ 4

  • สมาชิกกลุ่ม ผู้ปลูกมะนาวในบ่อซีเมนต์ มีทั้งหมด ๖๐ คน วันนี้มาร่วมประชุม ๓๕ คนให้สมาชิกเสนอชื่อ เพื่อคัดเลือกคณะกรรมการกลุ่มฯ โดยสรุปได้ดังนี้ ๑. นายสมพงศ์คงนุ่ม ตำแหน่ง ประธานกลุ่ม ๒. นายอาคม พรมแดน ตำแหน่ง รองประธานกลุ่ม ๓. นายวุฒิชัย ชูศรี ตำแหน่ง เลขานุการกลุ่ม ๔. นายพงษ์เทพ เนาว์ไพร ตำแหน่ง ที่ปรึกษากลุ่ม ๕. นางไกรสร พันธ์ทิพย์ ตำแหน่ง ที่ปรึกษากลุ่ม

วาระที่ 5

  • จากการพูดคุยของสมาชิก ถึงปัญหาที่มีจากการปลูกมะนาวตามโครงการตำบลละ ๕ ล้านบาทของรัฐบาล มาสักระยะแล้ว คือ ต้นไม่ค่อยสมบูรณ์ จากปัญหาดังกล่าวนายพงษ์เทพ ได้เสนอว่า ควรมีการใช้ปุ๋ยช่วย แต่แนะนำให้ใช้ปุ๋ยน้ำชีวภาพ และปุ๋ยหมัก เพราะเป็นการบำรุงดินไปในตัวด้วย สมาชิกทุกคนสนใจ และอยากให้มีการสอนทำปุ๋ยหมักและปุ๋ยน้ำชีวภาพ
  • จากข้อเสนอดังกล่าว คณะสภาผู้นำจึงแจ้งว่าในโครงการฯ มีการอบรมเรื่องนี้อยู่แล้วและจะติดต่อเจ้าหน้าที่พัฒนาที่ดินเพื่อมาสอนการทำปุ๋ยน้ำชีวภาพ และปุ๋ยหมัก เมื่อไหร่พร้อมจะแจ้งให้สมาชิกทราบอีกที
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

เกือบได้ตามเป้าหมาย (2)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 40 คน จากที่ตั้งไว้ 100 คน
ประกอบด้วย

สมาชิกกลุ่มผู้ปลูกมะนาวในบ่อซีเมนต์ จำนวนจริง 30 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

สมาชิกบางส่วนยังไม่เข้าใจในประโยชน์ของการทำงานเป็นกลุ่ม จึงไม่เข้าร่วมประชุม แก้ไขโดยการให้สมาชิกที่มาประชุมวันนี้ไปพูดคุยต่อ ๆ ไป

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
ประชุมสภาเกษตรกรบ้านพรุสมภาร ครั้งที่ 113 มีนาคม 2559
13
มีนาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางสาวมณีพร เนาว์ไพร
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อประชุมจัดตั้งสภาเกษตรบ้านพรุสมภาร

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • บันทึกการประชุมสภาเกษตรบ้านพรุสมภาร ครั้งที่ ๑ วันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๕๙
  • เริ่มประชุมเวลา ๒๐.๐๐ น. ประธานสภาผู้นำเปิดการประชุม

ระเบียบวาระที่ ๑ เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ

๑.๑ ประธานสภาผู้นำได้บอกกล่าวถึงวัตถุประสงค์ของโครงการเกษตรพอเพียงตามวิถีชุมชนบ้านพรุสมภาร

ระเบียบวาระที่ ๒ เรื่องรับรองรายงานการประชุมครั้งที่แล้ว ไม่มี

ระเบียบวาระที่ ๓เรื่องเสนอเพื่อทราบ

๓.๑ สภาเกษตรบ้านพรุสมภารประกอบด้วย

  • สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจบ้านพรุสมภาร มีกลุ่มย่อย จำนวน ๕ กลุ่ม คือ๑. กลุ่มผู้เลี้ยงแพะ จำนวน ๑๐ คน ๒. กลุ่มผู้เลี้ยงไก่บ้านและไก่ไข่ จำนวน ๑๕ คน ๓. กลุ่มผู้เลี้ยงปลาน้ำจืด จำนวน ๑๕ คน ๔. กลุ่มผู้ปลูกมะนาวในบ่อซีเมนต์ จำนวน ๒๐ คน ๕. กลุ่มแม่บ้านเพื่อการแปรรูปผลิตภัณฑ์ จำนวน ๑๕ คน
  • แกนนำเกษตรพอเพียง โรงเรียนพรุจำปา จำนวน ๔๐ คน
  • จากการปรึกษากับอาจารย์ที่รับผิดชอบแกนนำเกษตรพอเพียงโรงเรียนบ้านพรุจำปา สรุปว่ากลุ่มแกนนำขอเป็นสมาชิกสภาเกษตร ครั้งนี้ไม่สะดวกในการเข้าประชุม

๓.๒ คัดเลือกคณะกรรมการสภาเกษตรบ้านพรุสมภาร สรุปได้ดังนี้

๑. นายไกรสร พันธ์ทิพย์ ตำแหน่ง ประธาน

๒. นางนิตยา เนาว์ไพร ตำแหน่ง รองประธาน

๓. นายบุญเลิศ มานะบุตร ตำแหน่ง ปฏิคม

๔. นายวิศิษฏ์ สนิทเปรม ตำแหน่ง ประชาสัมพันธ์

๕. นายพงษ์เทพ เนาว์ไพร ตำแหน่ง นักวิชาการ

๖. นายณรงค์ ผลทวี ตำแหน่ง กรรมการ

๗. นางดาริณี บุญสพ ตำแหน่ง กรรมการ

๘. นายไกรเลิศ พันธ์ทิพย์ ตำแหน่ง กรรมการ

๙. นางสาวมณีพร เนาว์ไพร ตำแหน่ง กรรมการ

๑๐.นางวันดี ควรกล้า ตำแหน่ง กรรมการ

๑๑.นางสาวรัชติยา จันทร์ดี ตำแหน่ง เลขานุการ

ระเบียบวาระที่ ๔ เรื่องเสนอเพื่อพิจารณา

๔.๑ การดำเนินงานของสภาเกษตรบ้านพรุสมภาร จากการเสนอของผู้เข้าร่วมประชุมสรุปได้ว่า

๑. ให้มีการประชุมย่อยของแต่ละกลุ่มอาชีพ เพื่อสรรหาคณะกรรมการกลุ่ม ฯ สำหรับกลุ่มที่ยังไม่มี ส่วนกลุ่มที่มีคณะกรรมการแล้ว ก็ให้มีการพูดคุยปรึกษาหารือเพื่อพัฒนากิจกรรมกลุ่มฯให้ดีขึ้น และมาเสนอต่อที่ประชุมสภาเกษตรครั้งต่อไป

๒. แกนนำเกษตรพอเพียงบ้านพรุสมภาร ให้มีหน้าที่ดำเนินการเปิดศูนย์เรียนรู้เกษตรพอเพียง ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการเกษตรพอเพียงตามวิถีชุมชนบ้านพรุสมภาร โดยเสนอสิ่งที่ต้องการทำต่อสภาเกษตรบ้านพรุสมภาร

มติที่ประชุมเห็นชอบ ให้ดำเนินการต่อไป

ระเบียบวาระที่ ๕ระเบียบวาระอื่น ๆไม่มี

ปิดการประชุม เวลา 22.00 น.

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. ได้คณะกรรมการสภาเกษตรบ้านพรุสมภาร
  2. สมาชิกรู้วัตถุประสงค์ของโครงการ และการจัดตั้งสภาเกษตรบ้านพรุสมภาร
  3. สมาชิกทั้งหมดได้รับรู้หน้าที่ที่ต้องดำเนินการต่อไป
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

เกือบได้ตามเป้าหมาย (2)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 75 คน จากที่ตั้งไว้ 100 คน
ประกอบด้วย

สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจบ้านพรุสมภาร และสมาชิกสภาผู้นำ60 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

สมาชิกบ้างคนไม่เข้าใจในความสำคัญของการจัดตั้งสภาเกษตรบ้านพรุสมภาร โดยประธานได้อธิบายว่า เพื่อการพัฒนาหมู่บ้านอย่างเป็นระบบ และเพื่อเป็นช่องทางในการช่วยเหลือกันของสมาชิกกลุ่มและจาหน่วยงานราชาการ

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
ประชุมสภาผู้นำ ครั้งที่ 56 มีนาคม 2559
6
มีนาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางสาวมณีพร เนาว์ไพร
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อประชุมหารือเรื่องกิจกรรมต่าง ๆ ของหมู่บ้านและกิจกรรมของโครงการฯ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประธานในที่ประชุม ดำเนินการตามระเบียบวาระที่กำหนดไว้

บันทึกการประชุมประจำเดือน วันที่ ๖ มีนาคม ๒๕๕๙

เริ่มประชุมเวลา ๒๐.๓๐ น. ผู้ใหญ่เปิดการประชุม

ระเบียบวาระที่ ๑ เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ

๑.๑นายอำเภอแจ้งให้ทราบเรื่องที่หมู่บ้านต้องทำโดยเร่งด่วน

๑. สงครามขยะ เป็นนโยบายเคร่งครัดของ ผู้ว่าราชการจังหวัด มีคำสั่งให้แต่ละหมู่บ้านให้มีการทำความสะอาดภายในหมู่บ้านเดือนละครั้ง และส่งรายงานการปฏิบัติงานด้วย

๒. ให้ตรวจสอบ สายไฟ สายโทรศัพท์ สายเคเบิล ต่าง ๆ ที่ไม่เรียบร้อย ห้อยพรุงพรัง ดูแล้วไม่งานตา ให้แจ้งมายังอำเภอ เพื่อรายงานต่อจังหวัดให้มาจัดระเบียนให้เรียบร้อย ส่งภายในวันพฤหัส ที่ ๑๐ มี.ค. ๕๙

๓. เรื่องตรวจแคมคนงานชาวต่างชาติภายในหมู่บ้าน โดยมีแบบฟอร์มเพื่อกรอกรายละเอียดให้เรียบร้อย ส่งภายในวันพฤหัส ที่ ๑๐ มี.ค. ๕๙

๔. เรื่องส่งรายชื่อ ชรบ. เพื่อฝึกทบทวน และฝึกจัดตั้งใหม่ ส่งภายในวันพฤหัส ที่ ๑๐ มี.ค. ๕๙

ระเบียบวาระที่ ๒ เรื่องรับรองรายงานการประชุมครั้งที่แล้ว

๒.๑ เลขาได้อ่านวาระการประชุมครั้งที่ผ่านมาให้ที่ประชุมรับฟัง มติที่ประชุมไม่มีใครคัดค้าน และเห็นด้วยกับทุกมติ

ระเบียบวาระที่ ๓เรื่องเสนอเพื่อทราบ

๓.๑ โครงการการปลูกมะนาวในบ่อซีเมนต์ และการเลี้ยงปลาน้ำจืดในบ่อซีเมนต์ตอนนี้คณะทำงานได้ส่งมอบวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้ชาวบ้านประมาณ ๘๐% แล้ว คาดว่าอีกประมาณ ๒ อาทิตย์จะส่งมอบแล้วเสร็จ

๓.๒ วันที่ ๙ มีนาคม ๕๙ เป็นวัน คณะกรรมหมู่บ้านแห่งชาติ จะมีการจัดกิจกรรมที่อำเภอ โดยให้แต่ละหมู่บ้านจัดบอร์ดนิทรรศการไปแสดงกิจกรรมภายในหมู่บ้าน โดยนัดกับให้คณะกรรมการหมู่บ้านมาช่วยกันจัดบอร์ดในวันที่ ๘ มีนาคม ๕๙

๓.๓ ตามโครงการเกษตรพอเพียงตามวิถีชุมชนบ้านพรุสมภาร จะจัดให้มีการอบรมการออม ให้กับชาวบ้านในวันที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๕๙

ระเบียบวาระที่ ๔ เรื่องเสนอเพื่อพิจารณา

๔.๑ พิจารณากำหนดวันทำความสะอาดประจำเดือน โดยมีคณะกรรมการเสนอให้มีการทำความสะอาดมัสยิด แต่จะนัดวันกันอีกที่ที่ประชุมมีมติเห็นชอบ

๔.๒ เรื่องการจัดตั้งสภาเกษตรบ้านพรุสมภาร ตามโครงการเกษตรพอเพียงตามวิถีชุมชน บ้านพรุสมภารโดยประธานเสนอให้ผู้ที่ผ่านการอบรมมาและรับมอบสิ่งของ ตามโครงการปลูกซีเมนต์ในบ่อซีเมนต์ที่ทางรัฐบาลสนับสนุนมา นายพงษ์เทพ เสนอว่า บ้านพรุสมภารมีกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านพรุสมภาร ที่มีสมาชิกที่ทำอาชีพเกษตรกร ในหมู่บ้านร่วมตัวอยู่หลายกลุ่ม เช่น ผู้เลี้ยงแพะ ผู้เลี้ยงไก่บ้าน กลุ่มแม่บ้าน และจากโครงการของรัฐบาล ตำบลละห้าล้านบาท ที่มีสนับสนุนอุปกรณ์ในการปลูกมะนาวในบ่อซีเมนต์ และการเลี้ยงปลาดุกในบ่อซีเมนต์ จึงควรจัดตั้งกลุ่มอาชีพและให้เป็นสมาชิกอัตโนมัติและจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านพรุสมภาร เป็นสภาเกษตรเลย จากการเสนอของนายพงษ์เทพ สภาผู้นำส่วนใหญ่เห็นด้วย เพราะเมื่อจัดตั้งแล้ว ก็จะเป็นกลุ่มที่ได้รับการรับรองจากราชการทันที ประธานจึงสั่งให้เรียกกลุ่มวิสากิจชุมชน ประชุมเพื่อจัดตั้งเป็นสภาเกษตรบ้านพรุสมภารในวันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๕๙

ระเบียบวาระที่ ๕ระเบียบวาระอื่น ๆ ไม่มี

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. มีการนัดหมายเพื่อ ทำกิจกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในเรื่องการออม ในวันที่ 24 มีนาคม 2559 เวลา 09.00 - 12.00 น. ที่โรงเรียนบ้านพรุจำปา ให้คณะกรรมการโซนหมู่บ้านแจ้งกับชาวบ้านให้มาร่วมกิจกรรมนี้
  2. การจัดตั้งสภาเกษตร โดยสภาผู้นำมีมติส่วนใหญ่ให้ สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านพรุสมภาร ที่มีสมาชิกที่มีกิจกรรมดังนี้ คือ กลุ่มผู้เลี้ยงแพะ, กลุ่มผู้เลี้ยงไก่ไขและไก่บ้าน, กลุ่มแม่บ้านเพื่อการแปรรูปผลิตภัณฑ์, และเพื่อเดิมคือกลุ่มผู้ปลูกมะนาวในบ่อซีเมนต์ และกลุ่มผู้เลี้ยงปลาน้ำจืด และให้นัดหมายสมาชิกทั้งหมด ในวันอาทิตย์ที่ 13 มีนาคม 2559 เวลา 20.00 น. ณ ศูนย์ชุมชนอุ่นใจบ้านพรุสมภาร เพื่อจัดตั้งเป็นสภาเกษตรบ้านพรุสมภาร และขึ้นทะเบียนเพิ่มเดิมจากของเดิมด้วย
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 20 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย

สภาผู้นำ จำนวน 20 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
การสำรวจข้อมูล ครั้งที่ 21 มีนาคม 2559
1
มีนาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางสาวมณีพร เนาว์ไพร
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อสำรวจข้อมูลพื้นฐานคนในชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ตัวแทนประชาชนกลุ่มโซน พร้อมด้วย ตัวแทนเยาวชนกลุ่มโซน ลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลในชุมชนโซนที่ตัวเองรับผิดชอบ โดยกำหนดเวลาในการเก็บข้อมูล 2 อาทิตย์ หลังจากนั้นรวบรวมข้อมูลที่ได้มาเพื่อหาจุดขาดตกบกพร่อง และจัดเก็บเพิ่มเติม

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ตัวแทนประชาชนกลุ่มโซน พร้อมด้วย ตัวแทนเยาวชนกลุ่มโซน ลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลในชุมชนโซนที่ตัวเองรับผิดชอบ โดยกำหนดเวลาในการเก็บข้อมูล 2 อาทิตย์ หลังจากนั้นรวบรวมข้อมูลที่ได้มาเพื่อหาจุดขาดตกบกพร่อง และจัดเก็บเพิ่มเติม
  • ปัญหาที่ืพบ
  1. ชาวบ้านไม่ให้ความร่วมมือในการเก็บข้อมูล
  2. ชาวบ้านบางคนไม่เข้าใจคำถามของแบบสอบถาม
  3. ชาวบ้านตอบคำถามไม่ชัดเจน เนื่องจากไม่อย่างบอกขู้อมูลที่ไม่เป็นจริง
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 66 คน จากที่ตั้งไว้ 60 คน
ประกอบด้วย

ตัวแทนประชาชนกลุ่มโซน ๆ ละ 2 คน จำนวน 11 โซน รวมเป็น 22 คน ตัวแทนเยาวชนกลุ่มโซน ๆ ละ 4 คน จำนวน 11 โซน รวมเป็น 44 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
จัดทำรายงาน งวด1 (ปิดงวด ที่1)25 กุมภาพันธ์ 2559
25
กุมภาพันธ์ 2559รายงานจากพี่เลี้ยง โดย วารุณี ธารารัตนากุล ภูเก็ต
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อติดตามและปิดงวดโครงการ งวดที่ 1

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เจ้าหน้าที่ สจรส. ลงพื้นที่ ร่วมกับ พี่เลี้ยง หนุนเสริมและติดตามผลการทำงานของ 5 โครงการ
ตรวจการรายงานในหน้าเว๊ป พร้อมทั้งตรวจสอบเอกสารหลักฐานการเบิกจ่ายเงินของแต่ละโครงการ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.  มีโครงการที่ดำเนินการตามแผนงานกิจกรรมในงวดที่ 1 / มีการรายงานผลของกิจกรรมในหน้าเว๊ปไซด์ /  มีเอกสารหลักฐานการเบิกจ่ายครบถ้วน  และมีการปรับแก้ไขเล็กน้อย มีจำนวน 1 โครงการ "โครงการสานสายใยรักบ้านไม้ขาวร่วมจัดการโรคเรื้อรัง" 2.  มีโครงการที่ดำเนินการตามแผนงานกิจกรรมในงวดที่ 1 / มีการรายงานผลของกิจกรรมในหน้าเว๊ปไซด์ /  มีเอกสารการเบิกจ่ายไม่ครบถ้วน และต้องแก้ไขเพิ่มเติม จำนวน 1 โครงการ ได้แก่  โครงการจัดการท่องเที่ยววิถีชุมชน บ้านท่าฉัตรไชย 3.  มีโครงการที่ดำเนินการตามแผนงานกิจกรรมในงวดที่ 1 / มีการรายงานผลของกิจกรรมในหน้าเว๊ปไซด์ไม่ครบถ้วน  / ขาดเอกสารหลักฐานการเบิกจ่ายงบประมาณบางส่วน จำนวน  2 โครงการ ได้แก่ โครงการชุมชายฝั่ง สร้างพลังเศรษฐกิจพอเพียง บ้านยามู และ โครงการเกษตรพอเพียงตามวิถีชุมชนบ้านพรุสมภาร 4.  ขาดการพัฒนาโครงการให้เป็นที่แล้วเสร็จ ขาดรายงานผลตามกิจกรรมและไม่ครบถ้วน และ ไม่มีเอกสารหลักฐานใบลงทะเบียน และ ไม่มีเอกสารการเบิกจ่ายงบประมาณที่สมบูรณ์ ไม่สามารถตรวจสอบได้ จำนวน 1 โครงการ ได้แก่ โครงการอนุรักษ์ เพิ่ม สร้างทรัพยากรชายฝั่งเพือเศรษฐกิจชุมชนอ่าวหลังแดง

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 16 คน จากที่ตั้งไว้ 16 คน
ประกอบด้วย

ผู้รับโครงการ10คน เจ้าหน้าที่ สจรส. 4คน พี่เลี้ยงและผู้ช่วย 2คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ปัญหา
1.  บางโครงการขาดการรับผิดชอบ ตัวบุคคลไม่ชัดเจน ขาดการมีส่วนร่วมในการทำงานร่วม และ ขาดการเชื่อมโยงภาคีเครือข่าย
2.  ไม่มีปฏิทินปฏิบัติงานอย่างเห็นได้ชัด (บางโครงการ) มีการปรับเปลี่ยนวัน เวลา และ สถานที่ในการทำกิจกรรมและไม่แจ้งต่อพี่เลีี้ยง และ ไม่ลงในปฏิทินของแต่ละเดือน 3.  บางโครงการพี่เลี้ยงบอกให้ลงปฏิทินงานแต่ก็ทำเฉย ไม่ปฏิบัติตาม  และไม่ชี้แจงเหตุผลที่ชัดเจนว่าทำไมไม่ลงปฏิทินงาน 4.  บางพื้นที่กลัวพี่เลี้ยงจะลงไปติดตาม ทั้ง ๆ ที่พี่เลี้ยงมีหน้าที่หนุนเสริมการทำงาน
แนวทางแก้ไข
1.  ถ้าโครงการจะดำเนินการต่อจะต้องมีคน สถานที่ โครงสร้าง ที่ชัดเจน และร่วมกันทำงานมากกว่านี้ 2.  จะต้องเชื่อมโยงกับพี่เลี้ยงและกำหนดปฏิทินงานให้ชัด

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

เจ้าหน้าที่ติดตามของ สสส. ควรจะลงพื้นที่หนุนเสริมร่วมกับพี่เลี้ยง โครงการละ 1 ครั้ง (ในการทำกิจกรรมร่วมกับโครงการ ต่าง ๆ )

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

พื้นที่ไหนที่ดำเนินการดีอยู่แล้วก็ให้สนับสนุนการทำงาน และ ให้เบิกงบในงวดที่ 2 ได้ แต่พื้นที่ไหนที่ไม่พร้อม หรือดูแล้วไม่สามารถทำงานได้จริง ก็ให้ระงับโครงการ และ ระงับการเบิกงบประมาณงวดที่ 2 ไว้ก่อน หรือยกเลิกโครงการ

การจัดทำรายงาน งวดที่ 1(ปิดงวด 1)25 กุมภาพันธ์ 2559
25
กุมภาพันธ์ 2559รายงานจากพื้นที่ โดย ฮามีด๊ะ หวันนุรัตน์
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อจัดทำรายงานกิจกรรม งวดที่ 1
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • นำเอกสารการเงินที่จัดเก็บไว้ มาตรวจสอบความถูกต้อง และนำมาตรวจสอบความถูกต้องในเว็บไซท์ อีกครั้ง
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • เนื่องจากโครงการที่รับผิดชอบ ยังไม่ได้บันทึกกิจกรรมในเว็บไซร์ให้ครบถ้วน และเอกสารการเงินยังไม่เรียบร้อย พี่เลี้ยงจึงตรวจสอบความถูกต้องเฉพาะกิจกรรมที่เสร็จเรีบยร้อยแล้ว และให้คำแนะนำในส่วนที่ต้องแก้ไข และให้เวลาในการจัดการในส่วนที่เหลือภายใน 1 อาทิตย์
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

เกือบได้ตามเป้าหมาย (2)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 1 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

ผู้รับผิดชอบโครงการ 1 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ส่งเสริมอาชีพ กลุ่มปลูกมะนาวในวงบ่อซีเมนท์18 กุมภาพันธ์ 2559
18
กุมภาพันธ์ 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางสาวมณีพร เนาว์ไพร
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการปลูกมะนาวในบ่อซีเมนต์
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กำหนดการ

  • เริ่มกิจกรรมโดยมีผู้ใหญ่บ้านกล่าวต้อนรับ ท่านปลัดอำเภอถลาง ประจำตำบลเทพกระษัตรี นายสมพร อ่อนทองอินทร์ , กำนันตำบลเทพกระษตรี นายวิริยะสมบัติ, เจ้าหน้าที่เกษตรอำเภอ, วิทยากร และชาวบ้านบ้านพรุสมภาร และเชิญปลัดอำเภอถลาง พูดคุยกับชาวบ้าน โดยปลัดได้กล่าวถึงความเป็นมาของโครงการนี้และขอให้ชาวบ้านในความสำคัญกับโครงการนี้ เพื่อจะได้มีความรู้ด้านการเกษตรเพิ่มขึ้น สามารถที่จะเพิ่มรายได้ให้ครอบครัวได้ เมื่อปลัดกล่าวจบ ก็พักรับประทานอาหารว่าง และเข้าเรียนรู้เรื่องทฤษฎีของการปลูกมะนาวในบ่อซีเมนต์ และการเลี้ยงปลาในบ่อซีเมนต์ โดยปราญช์ชาวบ้าน 2 ท่าน คือ นายพงษ์เทพ เนาว์ไพร และนายบุญเลิศ มานะบุตร รับประทานอาหารเที่ยง
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ชาวบ้านได้ความรู้และฝึกปฏิบัติการปลูกมะนาวในบ่อชีเมนต์ การเลี้ยงปลาดุกในบ่อชีเมนต์ จากการฝึกปฏิบัติการ เรียนรู้การผสมดินที่จะใช้ในการปลูกมะนาว, การปลูกมะนาว, ดูแลรักษา, และการดูลักษณะโรคที่เกิดกับมะนาวและวิธีรักษา และจะนำไปทดลองปลูกมะนาวและเลี้ยงปลาดุกที่บ้านอีกครั้ง และจะนำผลที่ได้สรุปในช่วงประชุมสภาผู้นำ
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 90 คน จากที่ตั้งไว้ 40 คน
ประกอบด้วย

ประชาชน 70 คน สภาผู้นำและวิทยากร 20 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
ส่งเสริมอาชีพ การเลี้ยงปลาดุก18 กุมภาพันธ์ 2559
18
กุมภาพันธ์ 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางสาวมณีพร เนาว์ไพร
circle
วัตถุประสงค์
  • ให้ความรู้กับกลุ่มผู้สนใจเรื่องการเลี่ยงปลาดุก
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • จัดกิจกรรมในช่วงบ่าย การฝึกปฏิบัติการเลี้ยงปลาดุก การเตรียมบ่อซีเมนต์ก่อนเลี้ยงปลาดุก, วิธีการเลือกซื้อปลาดุก, โรคที่เกิดกับปลาดุกและวิธีรักษา และเทคนิคต่าง ๆโดยปราญช์ชาวบ้าน 2 ท่าน คือ นายพงษ์เทพ เนาว์ไพร และนายบุญเลิศ มานะบุตร โดยฝึกปฏิบัติการจริง
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ได้ความรู้เรื่องการเตรียมบ่อซีเมนต์ก่อนเลี้ยงปลาดุก การคัดเลือกพันธุ์ปลาดุก ซึ่งจะนำกลับไปเลี้ยงต่อที่บ้าน เพื่อทำเป็นอาชีพเสริมในครัวเรือน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 90 คน จากที่ตั้งไว้ 40 คน
ประกอบด้วย

ประชาชน 70 คน สภาผู้นำและวิทยากร 20 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

  -

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
การทำผลิตภัณฑ์ใช้เองเพื่อลดค่าใช้จ่าย13 กุมภาพันธ์ 2559
13
กุมภาพันธ์ 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางสาวมณีพร เนาว์ไพร
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อให้ความรู้เพื่อช่วยลดรายจ่ายและเพิ่มราได้ในครัวเรือน
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กำหนดการ

  • 08.30 น. ลงทะเบียน
  • 09.00 น. สอนวิธีการทำสบู่ก้อน
  • 10.00 น. รับประทานอาหารว่าง
  • 10.15 น. สอนวิธีการทำน้ำยาล้างจาน
  • 11.00 น. สอนวิธีการทำน้ำยาซักผ้า
  • 12.00 น. รับประทานอาหารเที่ยง ปิดการอบรม
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • นางนิตยาเนาว์ไพร วิทยากร การสอนทำผลิตภัณฑ์ใช้เอง เริ่มโดยการสอนทำสบู่ก้อนจากสมุนไพร, การทำน้ำยาล้างจานจากสมุนไพร และการทำน้ำยาซักผ้า โดยสอนทฤษฎีและปฎิบัติพร้อมกัน พร้อมทั้งสอนเทคนิคต่าง ๆ โดยการแบ่งกลุ่มกันทำ เป็น 3 กลุ่ม ประกอบด้วย
  1. นักเรียนและคณะครู
  2. ชาวบ้าน 2 กลุ่ม
  • ผลิตภัณฑ์ที่ทำผู้เข้าอบรมจะได้รับกลับบ้านคนละ 1 ชุด ทำให้ได้ความรู้เรื่องการทำน้ำยาล้างจาน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 50 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย

ประชาชน 20 คน เยาวชน 10 คน ตัวแทนสภาผู้นำ วิทยากรและครู  20 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
ประชุมสภาผู้นำ ครั้งที่ 47 กุมภาพันธ์ 2559
7
กุมภาพันธ์ 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางสาวมณีพร เนาว์ไพร
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อปรึกษาหารือเกี่ยวกับกิจกรรมโครงการฯ
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • เริ่มประชุมเวลา ๒๐.๓๐ น. ผู้ใหญ่เปิดการประชุม
  • ระเบียบวาระที่ ๑ เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ

๑.๑ผู้ใหญ่บ้านกล่าวคำขอบคุณคณะกรรมการหมู่บ้าน คณะกรรมการมัสยิด ชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน และคณะกรรมการองค์กรต่าง ๆ ในหมู่บ้าน ที่ร่วมมือกันทำงานจน พิธีเปิดศูนย์ชุมชนอุ่นใจ เอาชนะยาเสพติด บรรลุล่วงไปได้ด้วยดี

  • ระเบียบวาระที่ ๒ เรื่องรับรองรายงานการประชุมครั้งที่แล้ว

๒.๑ เลขาได้อ่านวาระการประชุมครั้งที่ผ่านมาให้ที่ประชุมรับฟัง มติที่ประชุมไม่มีใครคัดค้าน และเห็นด้วยกับทุกมติ

  • ระเบียบวาระที่ ๓ เรื่องเสนอเพื่อทราบ

๓.๑ ผู้ใหญ่บ้านได้ชี้แจ้งเรื่องค่าใช้จ่ายในการจัดพิธีเปิด ศูนย์ชุมชนอุ่นใจ เอาชนะยาเสพติด เมื่อวันศุกร์ที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ ที่ผ่าน โดยมีรายละเอียดดังนี้

  1. ค่าป้ายไวนิล จำนวน 6,908 บาท
  2. ค่าแพะข้าวหมก 35 กิโลกรัม X 120 บาท + 5 กิโลกรัม X 300 บาท จำนวน 5,700 บาท
  3. ค่าซื้อของข้าวหมก 8,566 บาท
  4. ค่าข้าวสาร ค่าเครื่อง และค่าแรง 5,000 บาท
  5. ค่าประกาศนียบัตร 850 บาท
  6. ค่ากรอบรูป 250 บาท
  7. ค่าดอกไม้ 750 บาท
  8. ค่าวัสดุสำนักงาน 1,200 บาท
  9. ค่าถ่ายเอกสารหนังสือเชิญชาวบ้าน 450 บาท
  10. ค่าเช่า เต็นท์ โต๊ะ เก้าอี้ 13,000 บาท
  11. ค่าเช่าเครื่องเสียง, เวที 10,000 บาท รวมทั้งสิ้น 52,674.00

๓.๒ ชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน ตอนนี้มีคำสั่งใช้ชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน โดยกำหนดวัน ออกตรวจภายในหมู่บ้าน ให้ ชรบ. ปฏิบัติตามโดยเคร่งครัด แต่ในช่วงเวลาที่ไม่มีการออกตรวจ ให้แต่ช่วยกันหาข่าว โดยเฉพาะจุดหล่อแหลม รถที่มาจากนอกหมู่บ้านผู้คนนอกหมู่บ้าน และอะไรที่น่าสงสัย และในกรณีฉุกเฉินก็พร้อมที่จะออกตรวจตามคำสั่งของผู้บังคับหมวด

  • ระเบียบวาระที่ ๔ เรื่องเสนอเพื่อพิจารณา

๔.๑ โครงการเกษตรพอเพียงตามวิถีชุมชนบ้านพรุสมภาร เดือนกุมภาพันธ์จะมีการเปิดฝึกอบรม มีจำนวนชาวบ้านที่สนใจได้ลงชื่อไว้จำนวนมาก โดยเฉพาะเรื่องการปลูกมะนาวในบ่อซีเมนต์ และการเลี้ยงปลาดุกในบ่อซีเมนต์จึงขอให้ที่ประชุมเสนอว่าจะจัดการฝึกอบรมวันไหนดี และจัดการอบรมแบบไหนดี ทั้งนี้เพื่อให้สะดวกกับชาวบ้าน และคณะวิทยากรที่จะมาให้ความรู้ มีที่ประชุม เสนอว่าให้เป็นวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ โดยการอบรมพร้อมกัน ทั้งวัน ให้วิทยากรซึ่งเป็นปราชญ์ชาวบ้านมีช่วยกันสอนทั้งสองคนที่ประชุมเห็นด้วย และให้ทำหนังสือแจ้งกับชาวบ้านที่ลงชื่อไว้ และประชาสัมพันธ์เสียงตามสาย

  • ระเบียบวาระที่ ๕ ระเบียบวาระอื่น ๆ

๕.๑ ผู้ใหญ่แจ้งถึงการแจ้งความประสงค์ของ การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดภูเก็ต จะเข้ามาศึกษาวิถีชีวิตของคนในหมู่บ้านเราจะมาค้างแรม ๑ คืน ๒ วัน ในวันที่ ๑๘-๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ ประมาณ ๑๐๐ กว่าคน

๕.๒ ส.อบต.สมชาติสาบุตร ได้แจ้งถึงการก่อสร้างสนามฟุตซอลที่โรงเรียนบ้านพรุจำปา จะเริ่มก่อสร้างภายในเดือนนี้ ขอให้ชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน ช่วยตรวจตราดูแลในช่วงเวลากลางคืนด้วย

๕.๓ ผู้ใหญ่แจ้งให้ที่ประชุมช่วยคัดกรองผู้ที่ต้องการมาสมัครเป็น ชรบ. จำนวน ๕ นาย

ปิดการประชุม เวลา ๒๑.๓๐ น.

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • เนื่องด้วยมีชาวบ้านที่สนใจเข้ารับการอบรมของโครงการเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะเรื่องการปลูกมะนาวในบ่อซีเมนต์ และการเลี้ยงปลาดุกในบ่อซีเมนต์ และมีบางคนอยากอบรมทั้งสองรายการ แต่ด้วยเวลาที่จำกัด จึงไม่สามารถเข้าร่วมได้ คณะกรรมการจึงลงความเห็นว่า ควารมีการอบรมในวันเดียวกันเลย เพราะเป็นการไม่เสียเวลาของคนที่สนใจ
  • มีการอบรมให้ความรู้ เรื่องการปลูกมะนาวในบ่อซีเมนต์ และการเลี้ยงปลาดุกในบ่อซีเมนต์ ในวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๑๕๕๙ เวลา ๐๘.๓๐ - ๑๖.๐๐ น.
  • จะมีการประชาสัมพันธ์ แจ้งให้กับชาวบ้านที่ได้ลงชื่อไว้ โดยผ่านหัวหน้าโซนแต่ละพื้นที่ ส่วนชาวบ้านที่ยังไม่ได้ลงชื่อไว้ ก็จะประชาสัมพันธ์ผ่านเสียงตามสายของหมู่บ้าน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 20 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย

สภาผู้นำและตัวแทนองค์กรต่าง ๆ ในหมู่บ้าน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
ประชุมสภาผู้นำ ครั้งที่ 310 มกราคม 2559
10
มกราคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางสาวมณีพร เนาว์ไพร
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อปรึกษาหารือเกี่ยวกับกิจกรรมโครงการฯ
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • บันทึกการประชุมประจำเดือน วันที่๑๐ มกราคม ๒๕๕๘
  • เริ่มประชุมเวลา ๒๐.๓๐ น. ผู้ใหญ่เปิดการประชุม
  • ระเบียบวาระที่ ๑ เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ

๑.๑ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ตได้ทำโครงการ “สงครามขยะ” โดยมีนโยบายว่าให้ทุกหมู่บ้านทำความสะอาดหมู่บ้านเดือนละครั้ง และทำรายงานส่งทุกเดือน

  • ระเบียบวาระที่ ๒ เรื่องรับรองรายงานการประชุมครั้งที่แล้ว

๒.๑ เลขาได้อ่านวาระการประชุมครั้งที่ผ่านมาให้ที่ประชุมรับฟัง มติที่ประชุมไม่มีใครคัดค้าน และเห็นด้วยกับทุกมติ

  • ระเบียบวาระที่ ๓ เรื่องเสนอเพื่อทราบ

๓.๑กิจกรรมวันเด็กของโรงเรียนบ้านพรุจำปา ในวันที่ ๘ มกราคม ๕๙ ที่ผ่านมา ในนามคณะกรรมการหมู่บ้านได้มีการจัดเลี้ยง

๑. ข้าวเหนียวไก่ทอด จำนวน ๖๐๐ ชิ้น โดยใช้งบประมาณจาก ผู้ใหญ่บ้าน และผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน จำนวน ๓,๖๐๐ บาท ,กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต จำนวน ๕๐๐ บาท และ นายไกรเลิศพันธ์ทิพย์ จำนวน ๕๐๐ บาท รวมเป็น ๕,๐๐๐ บาท และ นายอำนวย เจียมบุตร ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน บริจาคแป้งสำหรับหมักไก่ จำนวน ๕ กิโลกรัม

๒. นายเจริญ ยายี ชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน บริจาค ไอศกรีมวอลล์ จำนวน ๓๐๐ แท่ง

  • ระเบียบวาระที่ ๔เรื่องเสนอเพื่อพิจารณา

๔.๑ กิจกรรมชุมชนอุ่นใจบ้านพรุสมภาร ปี ๕๙ ได้รับจากคัดเลือกจากจังหวัดให้บ้านพรุสมภาร เป็นชุมชนอุ่นใจได้ลูกหลานกลับคืน โดยกิจกรรมนี้เป็นการต่อสู้กับยาเสพติดในหมู่บ้านอย่างจริงจัง และในการทำกิจกรรมนี้ หมู่บ้านจะต้องมีการเปิด “ศูนย์ปฏิบัติการชุมชนอุ่นใจ ได้ลูกหลานกลับคืน” ผู้ใหญ่บ้านขอความคิดเห็นว่าควรจัดให้มีกิจกรรมวันไหนดี ซึ่งโต๊ะอิหม่านได้เสนอให้เป็น วันที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๕๙ มติที่ประชุมเห็นชอบ ผู้ใหญ่บ้านจึงทำการแบ่งหน้าที่การทำงาน โดย

๑. ชุดรักษาความปลอดภัยหมูบ้าน ดูแลเรื่องสถานที่การจัดงาน

๒.นางสาวมณีพร เนาว์ไพร จัดทำเอกสารเชิญหน่วยงานราชการและเอกชนในพื้นที่ และเอกสารอย่างอื่นที่เกี่ยวข้อง และจัดทำป้านไวนิลต่าง ๆ ที่ต้องใช้ในกิจกรรม

๓.คณะกรรมการหมู่บ้านที่เหลือให้ช่วยกันทำความสะอาด โดยการตัดหญ้า เก็บขยะ สองข้างทาง จากปากซอย ถนนพรุสมภาร-งานทวี จนถึงหน้ามัสยิด

๔.กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต และกลุ่มสตรีบ้านพรุสมภาร รับผิดชอบจัดทำอาหารในงาน ผู้ใหญ่บ้านกล่าวต่อไปอีกว่า กิจกรรมในวันนั้น จะมีการโชว์ของดีของหมู่บ้าน โดยการจัดบู๊ทนิทรรศการขององค์กรต่าง ๆ ของหมู่บ้าน โดยให้แต่ละองค์กรจัดทำกันเองตามกำลัง และจะมีการเชิญองค์กรอื่น ๆ มาร่วมด้วย จะมีกิจกรรมบนเวที จากนักเรียนโรงเรียนบ้านพรุจำปา และเครือข่ายต่าง ๆ ของหมู่บ้าน

  • ระเบียบวาระที่ ๕ ระเบียบวาระอื่น ๆ

๕.๑ ผู้ใหญ่บ้านกำชับ ชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้านให้ปฏิบัติหน้าที่อย่างเคร่งครัด และระวังตัว

  • ปิดการประชุม เวลา ๒๒.๓๐ น.
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • เดือนมกราคม ไม่มีกิจกรรมของโครงการเกษตรพอเพียงตามวิถีชุมชนบ้านพรุสมภาร เนื่องจากต้องเตรียมงานของกิจกรรมการเปิดศูนย์ปฏิบัติการเอาชนะยาเสพติด ได้ลูกหลานกลับคืน ซึ่งจะมีกิจกรรมในวันที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ แต่เวทีประชุมสภาผู้นำเป็นเวทีที่ทำให้ได้เอาเรื่องกิจกรรมต่าง ๆ ในชุมชนมาคุยร่วมกัน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 25 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย

สภาผู้นำและตัวแทนองค์กรต่าง ๆ ในหมู่บ้าน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
คืนข้อมูลให้ชุมชน28 ธันวาคม 2558
28
ธันวาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย นางสาวมณีพร เนาว์ไพร
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อนำข้อมูลที่ได้ คืนกลับสู่ชุมชน เพื่อให้ประชาชนรับรู้สถานะการณ์ในชุมชน
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กำหนดการ

13.00 น. ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมกิจกรรม

13.30 น. เปิดเวทีประชาคม โดยผู้ใหญ่บ้าน

14.00 น. คืนข้อมูลสู่ชุมชน โดยวิทยากรที่เข้าร่วมกิจกรรม

16.00 น. รับประทานอาหารว่าง ปิดกิจกรรม

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ผู้ใหญ่บ้านได้กล่าวเปิดเวทีคืนข้อมูลสู้ชุมชน และได้เชิญวิทยากรที่ได้ช่วยในขกระบวนการจัดเก็บข้อมูล มาพูดคุยถึงผลที่ได้จากสำรวจข้อมูล โดยวิทยากรได้สรุปผลการสำรวจให้ฟังจากข้อมูลที่ได้ในเวทีวิเคราะห์ข้อมูล
  • ข้อมูลที่นำเสนอทำให้ชาวบ้านได้รับรู้ในเรื่องเศรษฐกิจของชุมชนว่าชาวบ้านส่วนใหญ่มีรายจ่ายมากว่ารายได้ และยังมีหนี้สินอีกหลายครัวเรือน ทำให้เกิดการนำเสนอแผนการเพิ่มรายได้ลดรายจ่ายให้กับคนในชุมชน โดยการส่งเสริมการปลูกผักในครัวเรือน ส่งเสริมการเลี้ยงปลาดุก ส่งเสริมการปลูกมะนาวในท่อซีเมนส์ ซึ่งจะสรุปแผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาอีกครั้งในเวทีประชุมสภาผู้นำ
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 180 คน จากที่ตั้งไว้ 200 คน
ประกอบด้วย
  • ประชาชนในชุมชน จำนวน 140 คน
  • สภาผู้นำจำนวน 30 คน
  • กลุ่มภาคีเครือข่าย 10 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
หนุนเสริมร่วมลงเวทีการคืนข้อมูลให้กับชุมชน28 ธันวาคม 2558
28
ธันวาคม 2558รายงานจากพี่เลี้ยง โดย วารุณี ธารารัตนากุล ภูเก็ต
circle
วัตถุประสงค์

ร่วมลงเวทีการคืนข้อมูลให้กับชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

แผนชุมชนในการแก้ปัญหาเศษรฐกิจชุมชน โดยเกิดโครงการ "เกษตรพอเพียงตามวิถีชุมชนบ้านพรุสมภาร" โดยมีทั้งสิ้น9  กิจกรรม 1.อบรมการปลูกมะนาวในบ่อซีเมนต์ 2.อบรมการเลี้ยงปลาดุกในบ่อซีเมนต์ 3.อบรมเลี้ยงไก้ย้ายคอกและไก่อารมณ์ดี 4.อบรมการทำบัญชีครัวเรือ 5.อบรมการทำน้ำยาล้างจาน น้ำยาซักผ้า 6.อบรมการทำปุ๋ยหมักจากมูลสัตว์ 7.อบรมการทำปุ๋ยน้ำชีวภาพ 8.จัดตั้งกลุ่มสภาเกษตรกร 9.จัดตั้งร้านค้าชุมชน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เกิดแผนกิจกรรมเพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจของชาวบ้าน

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 120 คน จากที่ตั้งไว้ 120 คน
ประกอบด้วย

ชาวบ้านในพื้นที่

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

วิเคราะห์ข้อมูล25 ธันวาคม 2558
25
ธันวาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย นางสาวมณีพร เนาว์ไพร
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อนำข้อมูลที่จัดเก็บมาวิเคราะห์เพื่อสรุปแนวทางแก้ไข
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ได้มีการวิเคราะห์ข้อมูล 2 ครั้ง เนื่องจากข้อมูลที่ได้บางส่วนไม่ครบถ้วน โดยเฉพาะเรื่องข้อมูลด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นชุมชน จึงให้สภาผู้นำมาให้ข้อมูลก่อนในครั้งแรกเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลคร่าว ๆ
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ครั้งที่ 1 ได้เฉพาะข้อมูลพื้นฐาน
  • ครั้งที่ 2 ได้ข้อมูลเฉพาะ จากแบบสำรวจทั้งหมด 315 ครัวเรือน
  1. ข้อมูลครัวเรือน ที่สำรวจได้ 315 หลังคาเรือน สมาชิกที่อยู่ร่วมกันในครอบครัว1,148 คน
  • แยกเป็น เด็กเล็ก 120 คน
  • เด็กในวัยเรียน 468 คน
  • อยู่ในวันชรา 85 คน
  • พิการหรือทำงานไม่ได้ 9 คน
  • ทำงานอยู่ในหมู่บ้าน 354 คน
  • ตกงานกลับมาอยู่บ้าน 48 คน
  • ไปทำงานต่างถิ่น64 คน

2.ข้อมูลอาชีพ 28.8% อาชีพการเกษตร 22% อาชีพค้าขาย 36.4% อาชีพรับจ้าง 4.5% รับราชการหรือลูกจ้าง 6.0% อาชีพงานบริการ 1.5% อาชีพการแปรรูป / ทำหัตถกรรม / งานโรงงาน 0.7% อาชีพอื่น ๆ ระบุอาชีพการเกษตร

  • พืชที่ปลูกไว้กิน 1.ผักสวนครัว เช่น ตะไคร้ พริก กระเพรา โหรพา ฯลฯ 2. ผลไม้ เช่น ลองกอง มะละกอ มะพร้าว ขนุน ฯลฯ
  • สัตว์ที่เลี้ยงไว้กิน เช่น ไก่ เป็ด ปลา
  • สัตว์ที่เลี้ยงไว้ขาย เช่น แพะ วัว ควาย
  • อาชีพค้าขาย เช่น ขายอาหารสด ขายผัก ขายเครื่องอุปโภคบริโภค และอื่น ๆ
  • อาชีพงานบริการ ช่างตัดผม ช่างซ่อมรถ ช่างก่อสร้าง ช่างไฟฟ้า ช่างประปา และอื่น ๆ
  • อาชีพรับราชการ/ลูกจ้างหน่วยงานรัฐ ครู หมอ พยาบาล เจ้าหน้าที่ของรัฐ
  • อาชีพรับจ้าง พนักงานบริษัท
  • อาชีพอื่นๆ

3.ข้อมูลทรัพยากร ข้อมูลที่ดินทำกิน กรรมสิทธิ์ โฉนด นส.3 สปก.4-01 จับจองทำกิน แบ่งทำจากคนอื่น เช่าจากคนอื่น อื่นๆ

  • ความชำนาญของคนในครอบครัวและเครือญาติ เรื่องที่ชำนาญ ทำขนม 2.2 % กรีดยาง 1.5 % วาดรูป 0.7 % ทำอาหาร 0.7 % นวดแผนไทย 1.5 % กักกระเป๋า 0.7 % สปา 0.7 %

4.ข้อมูลสุขภาพของครอบครัว ความเจ็บป่วยของสมาชิกในครอบครัวและการบำบัดรักษาฟื้นฟู อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ 3.8 % เบาหวาน1.5 % ความดัน 3.8 % ภูมิแพ้ 2.8% ขาหัก 0.7 % กระเพาะ 3.8 % หอบ 4.5%

  • หมอพื้นบ้านในชุมชนที่รู้จักและนิยมไปรักษา
  • นายยุทธนา เกตุรักษ์ หมอพื้นบ้าน รักษาไข้ไทยฟอร์ย
  • นายณรงค์ผลทวี หมอพื้นบ้าน รักษางูสวัด
  • นายสุขุมวารี หมอสุนัต ทำพิธิสุนัต
  • นายก่อเดชมานะบุตร ดูเรื่องไสยศาสตร์ รักษาโรค
  • นายสุไลหมานวงศ์สะอาด หมอจับเอ็น รักษาเอ็น
  • นางเจียว ชายเลี้ยง หมอตำแย รักษาดูแลคนท้อง
  1. ข้อมูลเศรษฐกิจ รายได้ของครอบครัวทุกครัวเรือน รายได้ของครอบครัว รายได้ต่อเดือน รายได้ทั้งปี
  • รายได้จากอาชีพการเกษตร 66,500 - 780,000
  • รายได้จากอาชีพหัตถกรรม - -
  • รายได้จากอาชีพค้าขาย 190,000 - 2,280,000
  • รายได้จากธุรกิจส่วนตัว 15,000 - 180,000
  • รายได้จากงานรับจ้างทั่วไป 198,000 - 2,376,000
  • รายได้จากงานลูกจ้างบริษัท 205,500 - 2,466,000
  • รายได้จากงานโรงแรม 176,500 - 2,118,000
  • รายได้จากงานราชการ 149,450 - 1,793,400
  • รายได้จากงานลูกจ้างรัฐวิสาหกิจ 10,000 - 120,000
  • หนี้สินของครอบครัวทุกครัวเรือน
  • แหล่งเงินกู้ เงินต้น อัตราดอกเบี้ย ธ.ก.ส 7 ครัวเรือน จำนวน 1,394,000 บาท
  • สหกรณ์ 6 ครัวเรือน จำนวน 1,430,000 บาท
  • กองทุนหมู่บ้าน 1 ครัวเรือน จำนวน 10,000 บาท
  • ธนาคาร 7 ครัวเรือน จำนวน 5,187,000 บาท
  • บัตรเครดิต3 ครัวเรือน จำนวน 130,000 บาท
  • บัตรอีออน4 ครัวเรือน จำนวน 70,000 บาท
  • นอกระบบ 2 ครัวเรือน จำนวน 45,000 บาท
  • ญาติพี่น้อง 7 ครัวเรือน จำนวน 722,000 บาท
  • อื่น ๆ1 ครัวเรือน จำนวน 60,000 บาท
  • รวม 38 ครัวเรือน จำนวน 9,048,000 บาท

ทรัพย์สินของครอบครัวทุกครัวเรือน

  • รถยนต์ 65 ครัวเรือน ตู้เย็น 88 ครัวเรือน รถจักรยานยนต์ 187 ครัวเรือน พัดลม 224 ครัวเรือน รถจักรยาน 73 ครัวเรือน เครื่องซักผ้า 73 ครัวเรือน เรือ-เครื่องยนต์ 2 ครัวเรือน เครื่องปรับอากาศ/แอร์บ้าน 41 ครัวเรือน เครื่องดูดฝุ่น 26 ครัวเรือน หม้อหุงข้าว 90 ครัวเรือน วิทยุ-เครื่องเสียง 36 ครัวเรือน เครื่องเล่นวีซีดี 49 ครัวเรือน โทรศัพท์บ้าน 17 ครัวเรือน คอมพิวเตอร์ 50 ครัวเรือนโทรศัพท์มือถือ 238 ครัวเรือน เตาแก๊ส 47 ครัวเรือน มอเตอร์สูบน้ำ 67 ครัวเรือน เตาไมโครเวฟ44 ครัวเรือน โทรทัศน์ 144 ครวเรือน เครื่องรับดาวเทียม 50 ครัวเรือน กระติกน้ำร้อน 80 ครัวเรือน อื่น ๆ ระบุ4 ครัวเรือน

  • ค่าใช้จ่ายประจำวัน ข้าวสาร 7,218 บาท ขนมห่อ 5 บาท 450 บาท เนื้อเป็ด 100 บาท กระทิงแดง 280 บาท เนื้อไก่ 1,230 บาท บุหรี่/ใบจาก 886 บาท เนื้อวัว 3,010 บาท ยาเส้น 135 บาท เนื้อควาย 583 บาท หวยหุ้น 100 บาท ปลา 5,715 ลูกไปโรงเรียน 8,230 บาท หมึก 1,500 บาท อาหารว่าง 2,810 บาท กุ้ง 380 บาท น้ำมันรถ 10,826 บาท หอย 1,752 บาท เหล้า/เบียร์ 3,445 บาท ไข่ไก่ 1,596 บาท อาหารเช้า 440 บาท ผักสวนครัว 1,175 บาท กับข้าวถุง 100 บาท ผักทั่วไป 1,185 อื่น ๆ - รวม/วัน 53,146 บาท

  • ค่าใช้จ่ายของครอบครัวแต่ละเดือน ค่าไฟฟ้า 83,130 บาท ค่าพริกแห้ง พริกไท 2,740บาท ค่าแชร์ 44,900 บาท ค่าโทรศัพท์บ้าน 5,073 บาท ค่าหัวหอม/กระเทียม 3,260 บาท ค่าประกันชีวิต 46,435 บาท ค่าโทรศัพท์มือถือ 33,169 บาท ค่ามาม่า 2,906 บาท ค่าซ่อมรถ 25,420 บาท ค่าผ่อนรถยนต์ 256,882 บาท นมถั่วเหลือง/นมเปรี้ยว 6,560 บาท ค่าเทอม 92,730 บาท ผ่อนอุปกรณ์ไฟฟ้า 7,280 บาท น้ำผลไม้ 2,673 บาท ค่ายาสีฟัน 9,246 บาท ผ่อนมอเตอร์ไซด์ 3,985 บาท น้ำหวาน 1,887 ค่าสบู่16,748 บาท เครื่องแบบนักเรียน 8,150 บาท น้ำอัดลม 9,655 บาท เครื่องสำอาง 10,180 บาท ค่ายาสระผม 8,778 บาท ค่าน้ำตาล 4,802 บาท ค่าโฟมล้างหน้า 3,036 บาท ค่าผงซักฟอก 9,352 บาท ค่าน้ำมันพืช 6,197 บาท ค่ายาแก้ปวด 8,015 บาท ค่าซอส 2,548 บาท น้ำยาล้างจาน 3,498 บาท ยาแก้ไข้ 3,241 บาท ค่าน้ำปลา/ซีอิ้ว 3,684 บาท ค่าน้ำประปา 4,030 บาท ยาแก้ปวดท้อง 1,030 บาท ค่ากะปิ 10,955บาท ค่าน้ำดื่ม 3,621 บาท ยาแก้โรค 2,970 บาท ค่าปลากระป๋อง 4,043 บาท ค่าภาษีสังคม 10,720 บาท ค่ากางเกง 7,694 บาท ค่าผงชูรส 1,602 บาท ค่ารถโรงเรียนลูก 37,460 บาท ค่าเสื้อ 7,652 บาท ค่าปลาฉิ้งฉ้าง 4,360 บาท ค่านมผง 8,510 บาท ค่าร้องเท้า 6,569 บาท ค่าน้ำชา-กาแฟ 11,440บาท ค่าถุงเท้า 2,599 บาท อื่น ๆ 23,500 รวม/เดือน 870,930 บาท

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 78 คน จากที่ตั้งไว้ 90 คน
ประกอบด้วย
  • กลุ่มแกนนำด้านข้อมูลชุมขน 11 กลุ่ม จำนวน 66 คน
  • สภาผู้นำ จำนวน 10 คน
  • วิทยากร จำนวน 2 คน รวมทั้งหมด 78 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ข้อมูลที่ได้บางชุดเชื่อถือไม่ได้ แก้ไขโดย การหาข้อมูลจากสภาผู้นำ

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
ประชุมสภาผู้นำ ครั้งที 23 ธันวาคม 2558
3
ธันวาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย นางสาวมณีพร เนาว์ไพร
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อปรึกษาหารือเกี่ยวกับกิจกรรมโครงการฯ
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • บันทึกการประชุมประจำเดือน วันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๕๘
  • เริ่มประชุมเวลา ๒๐.๓๐ น. ผู้ใหญ่เปิดการประชุม
  • ระเบียบวาระที่ ๑ เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ

๑.๑ไม่มี

  • ระเบียบวาระที่ ๒ เรื่องรับรองรายงานการประชุมครั้งที่แล้ว

๒.๑ เลขาได้อ่านวาระการประชุมครั้งที่ผ่านมาให้ที่ประชุมรับฟัง มติที่ประชุมไม่มีใครคัดค้าน และเห็นด้วยกับทุกมติ

  • ระเบียบวาระที่ ๓ เรื่องเสนอเพื่อทราบ

๓.๑ ขอความร่วมในการทำกิจกรรม “ชุมชนสะอาดเพื่อพ่อ ปี ๕๘”กำหนดให้มีการจัดกิจกรรม ในวันที่ ๖ ธันวาคม ๒๕๕๘โดยจะมีนักเรียนโรงเรียนบ้านพรุจำปา, กลุ่มพัฒนาบทบาทสตรีตำบลเทพกระษัตรี และชาวบ้านพรุสมภาร มาร่วมกิจกรรมนี้ด้วย กิจกรรมเริ่มเวลา ๑๔.๐๐ น. เริ่มจากถนนใหญ่ ลงมาตามถนนสายหลัก ไปจนถึง สามแยกบ้านโต๊ะอิหม่าม กิจกรรมมีการตัดหญ้าตลอดสองข้างทาง กวาดเศษหญ้าสองข้างทางและเก็บขยะ

  • ระเบียบวาระที่ ๔เรื่องเสนอเพื่อพิจารณา

๔.๑ ในเดือนมกราคม จะมีกิจกรรมวันเด็ก จึงขอให้เสนอว่าในนามคณะกรรมการหมู่บ้านจะทำอะไรเลี้ยงเด็กโรงเรียนบ้านพรุจำปา มีผู้เสนอ ให้ทอดไก่เหมือนทุกปี แต่เพิ่มจำนวนให้มากขึ้น เพราะเมื่อปีทีผ่านมาไม่พอกับจำนวนเด็กที่มาร่วมกิจกรรม ที่ประชุมมีมติเห็นชอบ ผู้ใหญ่บ้านจึงมอบหมายผู้รับผิดชอบดังนี้

๑. นางนิตยา เนาว์ไพร รับผิดชอบ จัดหาไก่ และอุปกรณ์การทอด

๒. นายอำนวย เจียมบุตร รับผิดชอบ จัดหาแป้งหมักไก่
๔.๒ เรื่องกิจกรรมโครงการเกษตรพอเพียงตามวิถีชุมชนบ้านพรุสมภาร จะมีกิจกรรมที่ต้องทำ ๒ กิจกรรมคือ ๑. กิจกรรมวิเคราะห์ข้อมูล๒. กิจกรรมคืนข้อมูลสู้ชุมชน

  • ระเบียบวาระที่ ๕ระเบียบวาระอื่น ๆ

๕.๑ ให้ชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน ออกตรวจในช่วง ๗ วันอันตรายในช่วงเทศกาลปีใหม่ให้บ่อยขึ้นและเคร่งครัดขึ้น

  • ปิดการประชุม เวลา ๒๑.๓๐ น.
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ทีมสภาผู้นำได้รับทราบความก้าวหน้าการทำกิจกรรมตามโครงการเกษตรพอเพียงตามวิถีชุมชนบ้านพรุสมภาร มี 2 กิจกรรม คือ

๑. กิจกรรมวิเคราะห์ข้อมูลซึ่งตอนนี้ได้มีการจัดเก็บข้อมูลเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และ วิทยากรกำลังทำการนำข้อมูลที่ได้ไปบันทึกข้อมูล และจะนำมาแจ้งให้ สภาผู้นำและแกนนำจัดเก็บข้อมูลทราบ เพื่อจะวิเคราะห์ถึงปัญหาที่มีในหมู่บ้านและหาวิธีแก้ไขต่อไป โดย นางสาวมณีพร เนาว์ไพร เสนอให้จัดกิจกรรมนี้วันที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๕๘ มติที่ประชุมเห็นชอบ

๒. กิจกรรมคืนข้อมูลสู่ชุมชน หลังจากมีการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้มาเรียบร้อยแล้ว ก็ต้องนำข้อมูลที่ได้แจ้งกับประชาชนรับทราบ เพื่อให้คนในชุมชนทราบถึงสถานการณ์ในชุมชน และช่วยกันแก้ไข โดย นางสาวมณีพร เนาว์ไพร เสนอให้จัดกิจกรรมนี้วันที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๕๘ มติที่ประชุมเห็นชอบ

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 35 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย

สภาผู้นำ จำนวน 35 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
การสำรวจข้อมูล30 พฤศจิกายน 2558
30
พฤศจิกายน 2558รายงานจากพื้นที่ โดย นางสาวมณีพร เนาว์ไพร
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อสำรวจข้อมูลพื้นฐานคนในชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ตัวแทนประชาชนกลุ่มโซน พร้อมด้วย ตัวแทนเยาวชนกลุ่มโซน ลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลในชุมชนโซนที่ตัวเองรับผิดชอบ โดยกำหนดเวลาในการเก็บข้อมูล 2 อาทิตย์ หลังจากนั้นรวบรวมข้อมูลที่ได้มาเพื่อหาจุดขาดตกบกพร่อง และจัดเก็บเพิ่มเติม
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ได้เก็บข้อมูลชุมชนได้ครบทั้ง 11 โซนของบ้านพรุสมภาร โดยใช้วิธีการสำรวจตามบ้านเรือน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือและสัมภาษณ์แต่ละครัวเรือน ทำให้กลุ่มเยาวชนได้เรียนรู้การเก็บข้อมูล และได้ข้อมูลคร่าว ๆ ข้อมูลชุมชน เรื่อง อาชีพ เศรษฐกิจ รายได้ และประวัติชุมชน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 66 คน จากที่ตั้งไว้ 60 คน
ประกอบด้วย

ตัวแทนประชาชนกลุ่มโซน ๆ ละ 2 คน จำนวน 11 โซน รวมเป็น 22 คน ตัวแทนเยาวชนกลุ่มโซน ๆ ละ 4 คน จำนวน 11 โซน รวมเป็น 44 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  1. ชาวบ้านไม่ให้ความร่วมมือในการเก็บข้อมูล
  2. ชาวบ้านบางคนไม่เข้าใจคำถามของแบบสอบถาม
  3. ชาวบ้านตอบคำถามไม่ชัดเจน เนื่องจากไม่อย่างบอกขู้อมูลที่ไม่เป็นจริง
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

การอบรมการเขียนรายงานและจัดการเอกสารการเงิน 17 พฤศจิกายน 2558
17
พฤศจิกายน 2558รายงานจากพื้นที่ โดย นางสาวมณีพร เนาว์ไพร
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อเพิ่มศักยภาพในการเขียนรายงานและจัดการเอกสารการเงิน
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

09.00-10.00 น. ระบบติดตามโครงการของสจรส.มอ.และการจัดทำรายงานโครงการ และหลักการ/สาระสำคัญของการจัดทำรายงานโครงการ

10.00-11.00 น. การเขียนรายงานผลการดำเนินโครงการ

11.00-12.00 น. การจัดการเอกสารการเงินและการทำรายงานการเงินที่ถูกต้อง

12.00-13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน

13.00-16.00 น. แบ่งกลุ่มปฏิบัติการจัดทำรายงานและเอกสารการเงิน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ผู้รับผิดชอบโครงการ จำนวน 1 คน ของโครงการเกษตรพอเพียงตามวิถีชุมชน บ้านพรุสมภาร มีความรู้ความเข้าใจและทักษะในการเขียนรายงานและการจัดการเอกสารการเงินที่ถูกต้อง ได้มีการซักถามถึง

  • ถามลักษณะใบเสร็จรับเงินที่ถูกต้อง
    ตอบ ใบเสร็จรับเงินให้มีที่อยู่ร้าน เลขที่ผุู้เสียภาษี เล่มที่ และเลขที่ แต่ถ้าหากไม่มีเลขที่ผู้เสียก็ไม่เป็นไร

  • ถามลักษณะของใบสำคัญรับเงินที่ถูกต้อง ตอบ ใบสำคัญรับเงิน ต้องมีชื่อ ที่อยู่ผู้รับเงินที่ชัดเจน พร้อมสำเนาบัตรประชาชนที่รับรองสำเนาถูกต้องแล้ว

  • มีการอธิบายถึงการจ่ายภาษีเพิ่มเติมในส่วนของค่าจ้างที่เกิน 1,000 บาท

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 1 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

ผู้รับผิดชอบโครงการ 

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ความเข้าใจในเอกสารการเงินยังไม่ชัดเจน ต้องสอบถามเอาที่ชัดเจนที่สุด

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
ร่วมอบรมการเขียนรายงานและการจัดทำเอกสารการเงิน17 พฤศจิกายน 2558
17
พฤศจิกายน 2558รายงานจากพี่เลี้ยง โดย วารุณี ธารารัตนากุล ภูเก็ต
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อเรียนรู้ขบวนการเขียนรายงานและการจัดทำเอกสารการเงิน ร่วมกับพื้นที่และ สสส.

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ช่วงเช้า ลงทะเบียนเข้าร่วมอบรมฯ พร้อมทั้งรับฟังการบรรยายจากเจ้าหน้า สจรส. เรื่อง การจัดทำรายงานการจัดทำเอกสารการเงิน การเสียภาษี ณ ที่จ่าย
ช่วงบ่ายแบ่งกลุ่มเพื่อตรวจความถูกต้องเอกสารการเงิน และ การจัดทำรายงานของแต่ละโครงการ โดยมีเจ้าหน้าที่ สจรส. และ พี่เลี้ยง รวมทั้งผู้รับผิดชอบโครงการ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ การสรุปและจัดทำรายงานโครงการ การจัดทำเอกสารการเงินที่เป็นระบบ และตรงตามที่แหล่งทุนกำหนด และ ตรงตามแผนงานโครงการที่ขอรับงบประมาณ
ทุกคนได้เรียนรู้เรื่องการจัดทำภาษี (หัก) ณ ที่จ่าย ให้กับสรรพากรพื้นที่ และ เข้าใจมากขึ้นพร้อมทั้งสามารถกลับไปดำเนินการได้อย่างถูกต้อง

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

จ.กระบี่ 11 โครงการ จ.ภูเก็ต5โครงการ พี่เลี้ยงโครงการฯ เจ้าหน้าที่ สจรส.

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ระบบ Wi Fi ไม่เอื้ออำนวย และ ไม่เสถียร แนวทางแก้ไขทาง สจรส.ควรจะมี Wi Fi ส่วนตัวหรือ ควรจะจัดหาสถานที่ในการอบรมที่มีความพร้อมในด้านต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความต่อเนื่อง

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ควรจัดอบรมอย่างต่อเนื่องอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้แต่ละโครงการสามารถแลกเปลี่ยนเติมเต็ม และพัฒนา ปรับปรุงแก้ไขในส่วนที่โครงการไม่สามารถดำเนินการเองได้

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
อบรมแกนนำด้านข้อมูลชุมชน14 พฤศจิกายน 2558
14
พฤศจิกายน 2558รายงานจากพื้นที่ โดย นางสาวมณีพร เนาว์ไพร
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อจัดทำเครื่องมือในการเก็บข้อมูลชุมชน
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. แบ่งเยาวชน ออกเป็น 11 กลุ่ม ตามกลุ่มโซนในหมู่บ้าน
  2. วิทยากรทำการอธิบายความสำคัญของการเก็บข้อมูลในชุมชน
  3. แกนนำเลือกเครื่องมือในการเก็บข้อมูล คือ แบบสอบสอบถาม
  4. วิทยากร อธิบายถึงส่วนประกอบที่สำคัญของแบบสอบถาม และแกนนำได้เสนอสิ่งที่ควรจะถาม จนสรุปออกมาเป็นแบบสอบถามจำนวน 1 ฉบับ
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ได้เครื่องมือเป็นแบบสอบถาม จำนวน 1ชุด มี 12 ข้อซักถาม ใช้ในการสำรวจทั้งสิ้น 385 ชุด
  • แผนการสำรวจ คือ ให้หัวหน้าโซนนำแกนนำเยาวชน แต่ละโซนลงสำรวจในพื้นที่ที่รับผิดชอบ โซนละ 35 ชุด ให้เวลาในการสำรวจ 2 อาทิตย์
  • การแบ่งกลุ่มการสำรวจโดยการ แบ่งตามกลุ่มโซนที่ สภาผู้นำแบ่งไว้เรีบยร้อยแล้ว เพื่อให้สามารถครอบคลุมได้ทั่วพื้นที่หมู่บ้าน
  • นัดเจอกันอีกที่หลังจากสำรวจ 2 อาทิตย์ นัดเจอกันอีกครั้ง ในวันที่ 28 พย. 58 เวลา 13.00 น.
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 75 คน จากที่ตั้งไว้ 75 คน
ประกอบด้วย

เยาวชนในหมู่บ้าน จำนวน 44 คน ผู้ใหญ่ในหมู่บ้าน จำนวน 22 คน สภาผู้นำ และคณะครูโรงเรียนบ้านพรุจำปา จำนวน 9 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
จัดเวทีประชาคม6 พฤศจิกายน 2558
6
พฤศจิกายน 2558รายงานจากพื้นที่ โดย นางสาวมณีพร เนาว์ไพร
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อชี้แจงวัตถุประสงค์โครงการ ฯกับชาวบ้าน
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. นายไกรสร พันธ์ทิพย์ เป็นประธานในพิธีเปิดเวทีประชาคม โดยได้ชี้แจงวัตถุประสงค์และขั้นตอนการทำงานของโครงการฯ
  2. พี่เลี้ยงได้อธิบายเพิ่มเติมจากผู้ใหญ่บ้านถึงที่มาของโครงการฯ และที่มาของเงินที่มาสนับสนุน
  3. คุณพเยาว์ ประทีปไพศาลกุล พัฒนาการอำเภอถลาง พูดคุยกับชาวบ้าน เพื่อสร้างมั่นใจและให้ชาวบ้านเล่งเห็นความสำคัญในการเข้าร่วมโครงการฯ นี้
  4. เปิดโอกาสให้ชาวบ้านซักถามข้อสงสัย โดยมีคณะบริหารโครงการคอยตอบคำถาม
  5. ตัวแทนธนาคาร ได้เสนอโครงการการทำประกันชีวิตกันธนาคารให้ชาวบ้านรับฟัง
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. ชาวบ้านได้รับฟังคำชี้แจง และได้ซักถามปัญหาต่าง ๆ เกี่ยวกับโครงการฯ ว่า ที่มาของโครงการคือการพูดคุยกันของผู้นำสภาถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในหมู่บ้าน โดยสรุปปัญหาได้ดังนี้
  • ปัญหายาเสพติด
  • ปัญหาโรคเรื้อรัง
  • ปัญหารายได้ตกต่ำ
  • จากปัญหาดังกล่าว ผู้นำสภาได้หาวิธีการแก้ไขไว้ เมื่อ โครงการ สสส.ได้เข้ามาเสนองบประมาณให้จึงมอบหมายให้ตัวแทนจากผู้นำสภา ไปศึกษาและทำโครงการเสนอเพื่อนำงบประมาณมาพัฒนาบ้านเรา โดยสภาผู้นำเลือกที่จะแก้ปัญหาเรื่องรายได้ตกต่ำก่อน

2.พี่เลี้ยงจาก สสส. ได้อธิบายเพิ่มเติมว่า ที่มาของงบประมาณที่ สสส.นำมาให้ในโครงการนี้ ได้มาจากภาษีอากร บุหรี่และสุรา โดยแต่ละโครงการจะของบประมาณได้ไม่เกิน 200,000 บาท และบ้านพรุสมภารก็ได้ทำโครงการในชื่อ "โครงการเกษตรพอเพียงตามวิถีชุมชนบ้านพรุสมภาร" ได้สนับสนุนงบประมาณ ทั้งสิ้น 199,770 บาท

3.พัฒนาการอำเภอถลาง คุณพเยาว์ ประทีปไพศาลกุล ได้กล่าวว่า การของบประมาณจาก สสส. ไม่ใชเรื่องง่ายเลย มีหมู่บ้านไม่มากที่ได้รับงบประมาณนี้ และการจัดทำเพื่อขอโครงการนี้ก็มีหลายขั้นตอน ซึ่งยุ่งยากมาก ให้ชาวบ้านจงภูมิใจถึงความสามารถในการขอโครงการครั้งนี้ และหาปีนี้เราทำได้ดี สามารถที่จะได้รับงบประมาณต่อเนื่องถึง 3 ปี ทั้งนี้เพื่อพัฒนาหมู่บ้านของเราให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น ช่วยกันแก้ปัญหาต่าง ๆ ไปพร้อม ๆ กับสภาผู้นำที่ตั้งใจแก้ปัญหาชุมชน
4.พัฒนาการอำเภอ ได้เปิดโอกาสให้ชาวบ้านซักถามข้อสงสัย โดยชาวบ้านซักถามเรื่อง

  • ถาม : โครงการนี้ชาวบ้านจะได้อะไรบ้าง ตอบ : โดยผู้ใหญ่บ้าน ว่าจะจัดการอบรมอาชีพเสริมให้กับชาวบ้านที่สนใจ

  • ถาม : โครงการนี้ชาวบ้านได้รับการสนับสนุนอะไรบ้าง ตอบ : โดยผู้ใหญ่บ้าน ว่า ไม่มีการสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ใด ๆ ทั้งสิ้น แต่จะจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ 1 แห่ง

5.ตัวแทนธนาคาร ได้เสนอโครงการการทำประกันชีวิตกันธนาคารให้ชาวบ้านรับฟัง

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 235 คน จากที่ตั้งไว้ 200 คน
ประกอบด้วย

ชาวบ้านและเยาวชนในชุมชน 

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
หนุนเสริมการประชุมพื้นที่6 พฤศจิกายน 2558
6
พฤศจิกายน 2558รายงานจากพี่เลี้ยง โดย วารุณี ธารารัตนากุล ภูเก็ต
circle
วัตถุประสงค์

  เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการทำงานของคณะกรรมการโครงการให้บรรลุตามที่วางไว้

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.  เป็นโครงการเกษตรพอเพียงตามวิถีชุมชนบ้านพรุสมภาร "กิจกรรม เวทีประชาคม และคืนข้อมูลแก่ชุมชนบ้านพรุสมภาร" 2.  รูปแบบการจัดเวที     2.1  ลงทะเบียนผู้เข้าร่วม     2.2  แต่ละหน่วยงานร่วมแลกเปลี่ยน  

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.การจัดกิจกรรมครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมประชุมฯ เกินความคาดหวัง และ มีการตอบสนอง และ ปฏิสัมพันธ์ร่วมกันทั้งทางด้าน การฟัง ทุกคนจะตั้งใจฟัง, สนใจ มีการตอบโต้ในการแลกเปลี่ยน
2.ภาคีและหน่วยงานที่เข้าร่วมฯ สร้างแรงกระตุ้นและสามารถทำให้ผู้เข้าร่วมในเวทีเกิดความสนใจในเนื้อหาข้อมูล ที่นำมาถ่ายทอด ได้เป็นอย่างดีพร้อมทั้งสามารถกระตุ้นให้สมาชิกสนใจเรื่องการทำกิจกรรม 3.คณะทำงานโครงการ ชี้แจงและทำความเข้าใจเรื่องโครงการฯ พร้อมทั้งชี้แจงงบประมาณที่ได้รับการสนับสนุนจาก สสส.จำนวน 199,770 บาท 4.เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนได้นำกิจกรรมมานำเสนอในที่ประชุม "จัดตั้งศูนย์เรียนรู้จำนวน 1 จุด ในพื้นที่ ม.8 บ้านพรุสมภาร เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง โดยจะมีการอบรมกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 30 ครัวเรือน ที่สนใจเข้าร่วมการอบรมการจัดทำบัญชีครัวเรือนและส่งเสริมอาชีพทางเลือกให้กับผู้ที่สนใจ โดยเน้นด้านเศรษฐกิจพอเพียง และศึกษาดูงานในจังหวัดภูเก็ตที่สำคัญ ต้องเป็นครอบครัวที่พร้อม และ ดำเนินการ สนใจเป็นสำคัญ 5.กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต ได้ชี้แจงข้อมูล และ ผลการดำเนินงานด้านสวัสดิการให้กับสมาชิกได้รับทราบ อนาคตทางคณะกรรมการกกลุ่มออมทรัพย์จะมีการดำเนินการเรื่อง โรงน้ำ เองในพื้นที่โดยใช้ชื่อว่า ทรัพย์ฮาลาล 6.กิจกรรมทางเลือกที่ส่งเสริมให้กับสมาชิกในชุมชน ประกอบด้วย 6.1กิจกรรมการส่งเสริมอาชีพด้านการเกษตร ได้แก่ ปลูกมะนาวในวงบ่อซีเมนต์, การเลี้ยงไก่บ้านย้านคอกและไก่ไข่อารมณ์ดี และการเลี้ยงปลาดุก 6.2การจัดตั้งสภาเกษตรบ้านพรุสมภาร เพื่อเป็นที่ปรึกษาด้านการทำเกษตร ประมง พืช และ อื่น ๆ
6.3กิจกรรมการลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ในครัวเรือนได้แก่ การทำน้ำยาล้างจาน, ทำน้ำยาซักผ้า, ทำปุ๋ยน้ำชีวภาพ , ทำปุ๋ยหมักจากมูลสัตว์ และ การทำบัญชีรับจ่ายครัวเรือน 6.4ตั้งร้านค้าชุมชน 6.5กิจกรรมน้องรักน้องชอบพี่จัดให้เน้นเยาวชนและผู้ที่สนใจ รักในการออกกำลังกาย เช่น สอนเยาวชนเล่นฟุตบอล
6.6จัดตั้งศูนย์เรียนรู้ด้านการเกษตรพอเพียง โรงเรียนบ้านพรุจำปา หมายเหตุ ที่ประชุมเสนอผู้เข้าร่วมประชุมกลับไปตัดสินใจในกิจกรรมต่าง ๆ ที่นำเสนอ แล้วแจ้งมายังผู้ใหญ่บ้าน หรือ ตัวแทนที่รับผิดชอบแต่ละโซน อีกครั้ง

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

เกือบได้ตามเป้าหมาย (2)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 235 คน จากที่ตั้งไว้ 235 คน
ประกอบด้วย

1.คณะครูและนักเรียนโรงเรียนบ้านพรุจำปา จำนวน 80 คน 2.ประชาชนในพื้นที่จำนวน108 คน 3.เจ้าหน้าที่ สกย. จำนวน 5 คน 4.เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนอำเภอถลาง จำนวน 2 คน 5.ฝ่ายติดตาม จำนวน 2 คน 6.ผู้ใหญ่บ้าน 7.ผู้สังเกตุการณ์2 คน 8.สภาผู้นำ 35 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

1.  สภาพดินฟ้าอากาศ คือ การจัดเวทีครั้งนี้มีฝนตก ทำให้บางคนไม่สามารถเข้าร่วมประชุมได้ 2.  ระบบเครื่่องขยายเสียงไม่ค่อยอำนวยมากนัก 3.  ควรจะมีคนรุ่นใหม๋เข้าร่วมโครงการด้วย เนื่องจากที่ประชุมส่วนใหญ่จะเป็นผู้สูงอายุ ส่วนวัยกลางคน หรือคนรุ่นใหม่น้อยมาก 4.  เอกสารที่ประกอบการประชุมน้อยเกินไป จนทำให้มองไม่ออกว่าการคืนข้อมูลให้กับสมาชิก คืนอย่างไร 5.  สภาพบรรยากาศในการประชุมไม่เหมาะสมมากนัก เนื่องจากเป็นพื้นที่ใต้อากาศแบบเปิด ทำให้เสียงวิทยากรกระจาย

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

การจัดประชุมครั้งต่อไป ควรมีคนรุ่นใหม่เข้าร่วมโครงการ
การจัดเวทีควรจะเป็นแบบปิดเล็กน้อย เพื่อป้องกันการกระจายของเสียง

ประชุมสภาผู้นำ ครั้งที่ 13 พฤศจิกายน 2558
3
พฤศจิกายน 2558รายงานจากพื้นที่ โดย นางสาวมณีพร เนาว์ไพร
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อปรึกษาหารือเกี่ยวกับกิจกรรมโครงการฯ
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ประชุมสภาผู้นำประจำเดือน เพื่อรายผลการดำเนินงานในเดือนที่ผ่านมา ปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นจากการทำงาน และประชุมวาระของหมู่บ้าน มีวาระการประชุมดังนี้
  • เริ่มประชุมเวลา ๒๐.๓๐ น. ผู้ใหญ่เปิดการประชุม
  • ระเบียบวาระที่ ๑เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ

๑.๑ขณะนี้ได้มีการก่อสร้าง ศูนย์พรุสมภารอุ่นใจ ที่สามแยกถนนริมคลองเสน่ห์โพธิ์ไปประมาณ ๘๐ เปอร์เซ็นต์ โดยมีการสนับสนุนงบประมาณ จากโรงงานน้ำดื่มแซนด์ ประมาณ ๖๐,๐๐๐ บาท และเงินกลางหมู่บ้านอีกประมาณ ๓๐,๐๐๐ บาท คาดว่าจะแล้วเสร็จประมาณ เดือนธันวาคม

๑.๒ หมู่บ้านพรุสมภารได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานรัฐบาล โดยในปี ๒๕๕๙ จะมี ๒ โครงการที่จะนำมาพัฒนาหมู่บ้านเราคือ๑. โครงการหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ๒.โครงการชุมชนอุ่นใจ ลูกหลานกลับคืน

  • ระเบียบวาระที่ ๒ เรื่องรับรองรายงานการประชุมครั้งที่แล้ว

๒.๑ เลขาได้อ่านวาระการประชุมครั้งที่ผ่านมาให้ที่ประชุมรับฟัง มติที่ประชุมไม่มีใครคัดค้าน และเห็นด้วยกับทุกมติ

  • ระเบียบวาระที่ ๓ เรื่องเสนอเพื่อทราบ

๓.๑ วันที่๗ -๘ และ ๑๔ – ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๕.๐๐ น. นักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคถลาง จะมาให้บริการ ซ่อมแซมอุปกรณ์ไฟฟ้า, เครื่องจักรกลการเกษตร, คอมพิวเตอร์, ก่อสร้าง และรถจักรยานยนต์ ตามโครงการก้าวใหม่เด็กไทย ประจำปี ๒๕๕๙ ณ โรงเรียนบ้านพรุจำปา

๓.๒ วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ องค์การบริหารส่วนตำบลเทพกระษัตรี ขอเชิญร่วมปลูกหญ้าแฝกเพื่อถวายเป็นราชกุศล ณ คลองเสน่ห์โพธิ์ เวลา ๐๙.๐๐ น.ใส่เสื่อสีชมพู

๓.๓ วันที่ ๒ ธันวาคม ๒๕๕๘ องค์การบริหารส่วนตำบลเทพกระษัตรี ขอเชิญชาวบ้านพรุสมภาร เข้าร่วมการจัดเวทีประชาคมเพื่อทำแผนชุมชน ประจำปี ๒๕๕๙ เวลา ๑๔.๐๐ น. ขอให้หัวหน้ากลุ่มโซนทุกโซนช่วยประชาสัมพันธ์ให้ชาวบ้านทราบทั่วกันด้วย   - ระเบียบวาระที่ ๔ เรื่องเสนอเพื่อพิจารณา

๔.๑กิจกรรมโครงการเกษตรพอเพียงตามวิถีชุมชนบ้านพรุสมภาร ในเดือน พฤศจิกายน ๒๕๕๘ มีกิจกรรมดังนี้ ๑. กิจกรรมจัดเวทีประชาคม เพื่อชี้แจงโครงการกับชาวบ้าน วันที่ ๖ พ.ย. ๕๘๒. กิจกรรมอบรมแกนนำด้านข้อมูลชุมชน วันที่ ๑๓ พ.ย. ๕๘มีวิทยากรมาให้ความรู้ ๓. การสำรวจข้อมูล วันที่ ๓๐ – ๑๔ พ.ย. ๕๘ผู้ใหญ่บ้านได้ซักถามกับสภาผู้นำว่าเห็นด้วยหรือไม่ สภาผู้นำเห็นด้วย และให้จัดการตามขั้นตอนต่อไป

๔.๒ กิจกรรม “ชุมชนสะอาดเพื่อพ่อปี ๕๘” กิจกรรมนี้หมู่บ้านได้ทำต่อเนื่องมาทุกปี จึงขอให้ที่ประชุมเสนอวันที่จะจัดกิจกรรมนี้ในเดือนธันวาคม โดย นายวิศิษฏ์ สนิทเปรม ได้เสนอให้ทำ ในวันอาทิตย์ ที่ ๖ ธันวาคม ๒๕๕๙ เวลา ๑๔.๐๐ น. และนายณรงค์ ผลทวี เสนอให้มีกิจกรรมการตัดหญ้าสองข้าง และเก็บขยะมติที่ประชุมเห็นด้วย ผู้ใหญ่จึงเสนอเพิ่มเติมว่า จะมีการปลูกมะนาวในบ่อซีเมนต์ ที่ได้งบประมาณสนับสนุนจากกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต บ้ายพรุสมภารมาด้วย

  • ระเบียบวาระที่ ๕ ระเบียบวาระอื่น ๆ ไม่มี
  • ปิดการประชุม เวลา ๒๒.๓๐ น.
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

จากการประชุมสรุปได้ว่า
1. วันที่ 6 พ.ย. 2558 เวลา 14.00 น. ณ ศูนย์จริยธรรมประจำมัสยิดดาว่ะตุ้ลอิสลามมีย๊ะ บ้านพรุสมาภาร จะมีการจัดเวทีประชาคมเพื่อชี้แจงรายละเอียดของโครงการได้แบ่งหน้าที่กันทำงาน
2. วันที่ 14 พ.ย. 2558 เวลา 09.00-15.00 น. ณ อาคารอเนกประสงค์โรงเรียนบ้านพรุจำปา อบรมแกนนำด้านข้อมูลชุมชน
3. วันที่ 30 พ.ย. - 14 ธ.ค. 58 กิจกรรมสำรวจข้อมูล

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 35 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย

สภาผู้นำบ้านพรุสมภาร

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
ทำป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่28 ตุลาคม 2558
28
ตุลาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย นางสาวมณีพร เนาว์ไพร
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อประชาสัมพันธ์งดสูบบุหรี่ในชุมชน
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์งดสูบบุหรี่ และป้ายสัญลักษณ์ สสส. จำนวน 2 แผ่น
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์งดสูบบุหรี่ และป้ายสัญลักษณ์ สสส. จำนวน 2 แผ่น เพื่อใช้ในการประชุม อบรม ตลอดโครงการ นำไปติดที่ศูนย์ชุมชนอุ่นใจบ้านพรุสมภาร ทำให้ไม่มีการสูบบุหรี่เกิดขึ้นในบริเวณนี้
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 200 คน จากที่ตั้งไว้ 200 คน
ประกอบด้วย

ชาวบ้านที่เข้าร่วมกิจกรรม

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
คัดเลือกแกนนำด้านข้อมูลชุมชน26 ตุลาคม 2558
26
ตุลาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย นางสาวมณีพร เนาว์ไพร
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อคัดเลือกแกนนำด้านการเก็บข้อมูลชุมชน
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • จากการประชุมจัดตั้งสภาผู้นำ เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2558 สภาผู้นำได้สรุปเรื่องการคัดเลือกแกนนำด้านข้อมูลชุมชนได้ว่า
  1. ทำการแบ่งโซนทั่วหมู่บ้านได้ทั้งหมด 11 โซน และคัดเลือกหัวหน้าโซน
  2. ประธานที่ประชุมได้มอบหมายให้หัวหน้าโซนคัดเลือกผู้ช่วยโซน อีก 1 คน และคัดเลือกเยาวชนในโซน จำนวน 4 คน รวมเป็น 6 คน เป็นแกนนำด้านข้อมูลชุมชน
  3. ประธานที่ประชุมได้มอบหมายให้หัวหน้าโซนจัดสำรวจบ้านเลขที่ที่ชัดเจนและถูกต้องในโซนที่ตนรับผิดชอบ โดยจัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการสำรวจให้โซนละชุด
  4. ได้นัดให้มีการประชุมหัวหน้าโซนและผู้ช่วยโซน และสภาผู้นำ ในวันที่ 26 ตุลาคม 2558 เพื่อติดตามผลการสำรวจและซักถามปัญหาเพื่อหาทางแก้ไขกันต่อไป จำนวน 35 คน
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • จากการประชุม วันที่ 26 ตุลาคม 2558 ตามที่ได้นัดหมาย สรุปได้ว่า
  1. แต่ละโซนได้คัดเลือกผู้ช่วยโซนมาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว มีบางโซนที่มีปัญหาเรื่องเด็ก ที่ไม่สามารถหาเด็กมาร่วมงานได้ แก้ปัญหาโดยให้ครูโรงเรียนบ้านพรุจำปาช่วยคัดเลือกเด็กในโรงเรียนมาช่วย
  2. ได้สรุปว่าจะมีการจัดเวทีประชาคมในวันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน 2558 ที่โรงเรียนบ้านพรุจำปา เวลา 14.00 น.
  3. การสำรวจบ้านเลขที่ของหัวหน้าโซน ได้ดำเนินไปด้วยดีในแต่ละโซน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 66 คน จากที่ตั้งไว้ 60 คน
ประกอบด้วย

แบ่งโซนทั่วหมู่บ้านได้ 11 โซน จำนวนสมาชิกแต่ละโซน 6 คน เป็นผู้ใหญ่ในชุมชน 2 คน และเด็กและเยาวชน 4 คน รวมเป็น 66 คน ทำงานร่วมกันในการเก็บข้อมูลชุมชน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

การพูดคุยกับชาวบ้านไม่ค่อยเข้าใจ เนื่องด้วยที่ผ่านมาไม่เคยมีการทำงานแบบนี้เกิดขึ้นในชุมชน แก้ไขโดย ค่อย ๆ พูดคุยทำความเข้าใจ

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ประชุมสภาผู้นำ16 ตุลาคม 2558
16
ตุลาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย นางสาวมณีพร เนาว์ไพร
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อชี้แจงรายละเอียดโครงการ และคัดเลือกสภาผู้นำ
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ประธานที่ประชุม คือ นายไกรสรพันธ์ทิพย์ (ผู้ใหญ่บ้าน) ชี้แจ้งที่มาขอโครงการให้กับผู้เข้าร่วมประชุมทราบ
  2. ผู้รับผิดชอบโครงการ คือ นางสาวมณีพรเนาว์ไพร ชี้แจงรายละเอียด หลักเกณฑ์และขั้นตอนการทำงานให้ผู้เข้าประชุมทราบ
  3. คัดเลือกสภาผู้นำ แต่เนื่องด้วยผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 3 คน ประธานจึงเสนอให้ทุกคนที่เข้าร่วมประชุมเป็น สภาผู้นำทุกคน มติที่ประชุมเห็นชอบ
  4. แต่งตั้งหัวหน้าโซน และมอบหมายให้คัดเลือกแกนนำด้านข้อมูลชุมชน โซนละ 6 คน
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. ได้สภาผู้นำ จำนวน 35 คน
  2. แบ่งโซนการทำงานได้ 11 โซน
  3. มอบหมายงานให้หัวหน้าโซน หาผู้ช่วยหัวหน้าโซน 1 คน และเยาวชน 4 คน โดยกำหนดให้เป็นผู้ที่อาศัยอยู่ในโซนที่ตนรับผิดชอบ
  4. สรุปได้ว่า แบ่งโซนทำงานได้ 11 โซน มีแกนนำด้านข้อมูลชุมชน โซนละ 6 คน รวมแกนนำด้านข้อมูลชุมชน 66 คน
  5. นัดหมายให้ประชุมแกนนำด้านข้อมูลชุมชน วันที่ 21 ตุลาคม 2558
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

เกือบได้ตามเป้าหมาย (2)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 35 คน จากที่ตั้งไว้ 40 คน
ประกอบด้วย
  1. คณะกรรมการหมู่บ้าน จำนวน 20 คน
  2. คณะกรรมการกลุ่มองค์กรอื่น ๆ ในหมู่บ้าน จำนวน 15 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

สภาผู้นำบางคนยังไม่เข้าใจขั้นตอนการทำงาน ผู้รับผิดชอบโครงการพยายามอธิบายให้ชัดเจน และไม่รีบเร่งในการทำความเข้าใจ

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
การประชุมปฐมนิเทศโครงการร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่ภายใต้ ปี 255829 กันยายน 2558
29
กันยายน 2558รายงานจากพื้นที่ โดย นางสาวมณีพร เนาว์ไพร
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับทุนด้านการบริหารจัดการโครงการ
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • เข้าร่วมประชุมปฐมนิเทศโครงการ มีการอบรมให้ความรู้เรื่อง หลักการบริหารจัดการโครงการ การรายงานกิจกรรม การจัดทำเอกสารการเงินและการลงปฏิทินกิจกรรม
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. ได้เรียนการสร้างปฏิทินกิจกรรม และสามารถวางแผนลงปฏิทินได้เสร็จ
  2. เรียนรู้การเขียนรายงานส่งออนไลน์ทางเว็บไซต์
  3. เรียนรู้การทำบัญชีการเงิน การจัดทำเอกสารการเงิน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 1 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

ผู้รับผิดชอบโครงการ

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

วิทยากรบรรยายเร็วไป ตามไม่ค่อยทัน 

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  1. ควรมีพี่เลี้ยงเยอะกว่านี้เพื่อจะได้สอนตัวต่อตัว
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-